คำว่า ' ถิ่นกาขาว '

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย karan20, 15 เมษายน 2012.

  1. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ล้ำลึก.. มิใช่ธรรมดาเลย.. นับถือๆ
     
  2. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    ถึงกับแอบอ้างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมาข่มขวัญคนอื่น
    ศีล 5 น่ะ รักษาได้สักข้อหรือยัง
     
  3. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    การยกพระสูตรมาอ้างนี้ไม่สมเหตุผล

    การจะแปลหรือตีความอย่างไรนั้น บางท่านอาจจะบอกว่า ใครจะคิดว่า " กาขาว " ดีอย่างไรก็ตาม
    แต่เขาผู้นั้นจะว่า " กาขาว " ไม่ดีซะอย่าง เขาจะยืนยันกระต่ายขาเดียว
    เช่นนั้นก็เป็นสิทธิของเขา หากเขาผู้นั้นเป็นคนเขียนคำทำนายนั้นเอง

    แต่ที่ผู้เขียนชี้แจงอยู่นี้คือ แสดงหลักฐานและหลักการให้เห็นว่า
    ผู้เขียนคำทำนายนี้ คือพระพุทธโฆษาจารย์ (ลำใย) ท่านมีเจตนาอย่างไรต่างหาก
    การจะดูเจตนาของท่านในเมื่อท่านไม่อยู่ให้ถามแล้ว
    เราก็ต้องดูบริบทแวดล้อม คือความเชื่อในอดีต หรือของคนในยุคนั้น

    การจะตีความอะไรนั้น ตามธรรมดาย่อมต้องพิจารณาที่บริบทรอบด้าน
    ไม่ใช่เลือกเอาเฉพาะที่เข้ากันได้กับความเชื่อของตน
    เช่นที่ท่านยกพระสูตรมาอ้าง แต่ท่านกลับจงใจตัดเรื่องตำนานแม่กาขาวและเรื่องวัดกาขาวทิ้ง
    โดยไม่ได้ชี้แจงหรือให้เหตุผลหักล้างใดๆทั้งสิ้น

    ขอให้ท่านโปรดชี้แจงเพื่อเป็นการหักล้างว่า " กาขาว " นั้นเป็นคำอัปมงคลอย่างไร โดยตอบคำถามนี้
    1. มีตำนาน " แม่กาขาว " ต้นกำเนิดพระพุทธเจ้าในภัทรกัปป์นี้
    กาขาวจะเป็นคำอัปมงคลไปได้อย่างไร

    2. ทำไมคนโบราณจึงตั้งชื่อวัดว่า " วัดกาขาว " ซึ่งดูจะเป็นการยกย่อง
    มากกว่าจะเป็นการประณาม " กาขาว "

    3. จากข้อ 1 และ 2 แสดงว่าคนโบราณในพระพุทธศาสนายกย่อง " กาขาว " ใช่หรือไม่ใช่

    4. ดังนั้นพระสงฆ์ คือ พระพุทธโฆษาจารย์ (ลำใย) ผู้มีความรู้ในพระพุทธศาสนา
    ย่อมจะไม่ดูหมิ่นคำว่า " กาขาว " ต้นกำเนิดของพระพุทธเจ้า ใช่หรือไม่


    ( อ้างอิงจากคำบอกเล่าของหลวงพ่อพระราชพรหมยานว่า....
    พระพุทธโฆษาจารย์ (ลำใย) เขียนไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุทธยา )

    ระหว่างที่รอท่านมาหักล้างเหตุผลของผู้เขียนนี้
    ผู้เขียนจะขอหักล้างเหตุผลของท่านไปพลางๆก่อนดังนี้


    ตามที่ท่านยกพระสูตรในพระไตรปิกมาเพื่อสนับสนุนความเห็นของตนนั้น
    ต่อไปนี้ผู้เขียนจะขอหักล้างเหตุผลของท่านว่า....

    ข้าพเจ้าไม่หักล้างคำของพระพุทธเจ้า แต่ท่านก็โปรดอย่าตู่ อย่าแต่งเติม
    ผู้เขียนขอถามท่านว่าในพระสูตรที่ท่านยกมานั้น
    มีคำกล่าวใดที่ว่า " กาขาว " เป็นสัตว์ชั่วร้าย ?
    เห็นมีแต่พระสูตรท่านบรรยายถึง กา หรือ อีกา ซึ่งปกติ เราหมายถึง กาดำ นั่นเอง
    ดังนั้นการนำพระสูตรนี้มาอ้างจึงไม่สมเหตุผล

    ขอย้ำอีกครั้งว่า " กาขาว " นั้นต่างจาก " อีกา " ปกติทั่วไปที่มีสีดำ
    ไม่ใช่อีกาเอามาย้อมสี ไม่เหมือนการย้อมแมวขาย จึงไม่ควรจะมาแปลว่า อีกาชั่วแสร้งทำตัวว่าดี
    เวลาเรากล่าวถึงช้างขาว (ช้างเผือก) ม้าขาว มีใครแปลไปในทางว่าช้างม้ามันแกล้งทำตัวดีบ้าง

    เอาเป็นว่าเรื่องการยกพระสูตรมาอ้างนี้ไม่สมเหตุผล

    ระหว่างรอคำชี้แจงจากท่าน
    ผู้เขียนขอชี้แจงว่าที่ต้องมาแสดงหลักฐานและหลักการชี้แจงเรื่อง " กาขาว " นี้
    ก็เพื่อไม่ให้คนบางกลุ่มนำไปใช้ประโยชน์บิดเบือนใส่ร้าย มุ่งทำลายสถาบัน
    แม้บางคนจะบอกว่าเค้าไม่ได้ดึงไปเป็นเรื่องการเมืองในที่นี้ก็ตาม แต่ตามที่อื่น ๆ ยังมีผู้บิดเบือน
    แม้ท่านที่มาแสดงความเห็นว่า " กาขาว " ไม่ดีนั้น จะไม่มีเจตนาทางการเมือง
    แต่ผู้เขียนค่อนข้างเชื่อว่าจะมีคนนำเอาเหตุของท่านไปอ้างเพื่อบิดเบือนใส่ร้ายโจมตีสถาบัน

    บางท่านอาจจะสงสัยว่า ถ้าคำว่า " ถิ่นกาขาว" นั้นเป็นคำที่มีความหมายไปในทางที่ดี
    เหตุใดบ้านเมืองจึงวุ่นวายไม่สงบ
    ผู้เขียนขอวิเคราะห์ว่า คำว่า " กาขาว " นั้นมีความหมายไปในทางที่ดีก็จริง
    แต่คำว่า " ถิ่นกาขาว" นั้น แสดงถึงความหดหู่อยู่ในที กล่าวคือความดีหรือคนดีที่หาได้ยากขึ้นทุกวัน
    เหมือนกับการที่เราจะหากาที่เป็น " กาขาว " นั้นหาได้ยาก นับวันจะใกล้สูญพันธ์

    ท่านผู้ทำนายไม่ได้ตำหนิ " กาขาว " แต่ท่านตำหนิ " กาดำ "
    และสะื้ท้อนให้เห็นความจริงบางอย่างของยุค
    เปรียบเทียบกาขาวก็เหมือนกับคนดีที่มีอยู่น้อย กลายเป็นคนส่วนน้อยในสังคม
    นอกจากนี้กาขาวยังกลายเป็นตัวประหลาดท่ามกลางฝูงกาดำที่มีมากด้วยปริมาณและอำนาจในมือ
    บางทีกาดำก็อาจว่าร้ายโจมตีว่า ขนสีขาวของกาขาวนั้นเป็นสิ่งไม่ดี ไม่เป็นไปตามกระแสกิเลสทุนนิยมทั่วโลก

    แต่ถึง " กาขาว " จะมีอยู่น้อย ก็ยังน่ายินดีว่า นี่คือ " ถิ่นกาขาว "
    ย่อมจะมีกาขาวมากกว่าในถิ่นอื่นๆ เช่น ถิ่นอธรรม เป็นต้น

    ความดีหาได้ยากพอ ๆ กับ " กาขาว "
    ความไม่ดีมีมากเหมือนอีกาสีดำ ตามพระสูตรที่ท่านยกมาอ้างนั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 เมษายน 2012
  4. jk_noom

    jk_noom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +2
    ก็ว่ากันไป เฮ้อ..
    :':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)':)'(
     
  5. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    ของดีๆถูกใช้เป็นเครื่องมือทำความชั่ว "ถิ่นกาขาว" มีความหมายที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่ของเล็กๆน้อยๆ ว่างๆจะมาเฉลยให้ฟัง
     
  6. IkqShung

    IkqShung สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +1
    เห็นด้วยกับคุณ karan20 คับ ปล.ตามความคิดเห็นของผมนะคับ : )
     
  7. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    ปรมัตถ์นาม "ถิ่นกาขาว"
    กาขาว คือ พระอริยะ
    ถิ่น คือ ดินแดนที่กำเนิด
    ถิ่นกาขาว จึงหมายถึงดินแดนที่กำเนิดพระอริยะ
    ในแผ่นดินตอนเหนือของประเทศไทย มีดินแดนแห่งหนึ่งนามว่า "ถิ่นกาขาว" เพราะในอดีตกาลมักมีกาขาวมาร้องและเกาะกิ่งไม้บนเนิน นับเป็นนิมิตหมายที่ดี ว่าแผ่นดินนี้เป็นแผ่นดินธรรม ที่ผู้คนจะมาปฏิบัติธรรม และเข้าถึงธรรม ได้มรรค ได้ผล สู่ความเป็นอริยะภูมิ ดังปรมัตถ์นามว่า "ถิ่นกาขาว" และประวัติแห่งองค์พุทธทั้งห้าของภัทรกัปป์ กล่าวถึงดินแดนภาคเหนือในอนาคตกาล จะเป็นเมืองเกิดของ องค์พระศรีอาริยเมตไตรย์ และบริเวณ "ถิ่นกาขาว" นี้จักเป็นสถานที่ตั้งแห่ง ปราสาท 3 หลัง ขององค์พระศรีอาริยะ ซึ่งเต็มไปด้วยแก้วมณี นับเป็นวาระมิ่งมงคลอันประเสริฐ ที่ชาวพุทธทั้งหลาย พึงรวมใจกันสร้างแผ่นดินธรรมแห่งนี้ เพื่อสืบสานสายธรรมได้ ซึ่ง ปรมัตถ์ "ร่มโพธิ์เงิน - ไทรทอง" เงาร่มโพธิ์ร่มไทรปกแผ่ไปทั่วอาณาจักรแห่งแผ่นดินสุวัณณภูมิ
    เพื่อสืบศาสนจักร อาณาจักร พุทธจักร มรรคผล นิพพาน กงล้อธรรมเคลื่อนเข้าสู่ยุคอริยะภูมิ วิมุติมั่นคง บนแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง ภายใต้ร่มโพธิ์เงิน-ไทรทอง เงาร่มโพธิ์ร่มไทรปกคลุมไปทั่ว ให้ทุกคน "กายเจริญอริยะ จิตเจริญเมตตา" คือความสำเร็จกิจทั้งโลกและธรรมสู่ชาวประชาดังนี้
    สถานที่แห่งนี้อยู่ที่ เวียงกาขาว บ้านเทอดไท ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พุทธศาสนิกชนผู้มีศรัทธาจึงดำริจัดสร้าง ให้เป็นศาสนาสถานแห่งการบำเพ็ญบุญบารมี

    Untitled Document

    ส่วนถิ่นกาขาวในอีกความหมายที่บางคนพยายามบิดเบือน ไปสู่การเมือง

    เมืองไทยใกล้พ้นยุคถิ่นกาขาวหรือยัง?
     
  8. ตุ้มโฮม

    ตุ้มโฮม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +497
    ถิ่นกาขาวอีกความหมายหนึ่ง มีที่มาที่ไปอย่างนี้นี่เอง..

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ....
     
  9. โคกผักหวาน

    โคกผักหวาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +1,041
    อนุโมทนาสาธุ กับคุณkaran20 ครับ พวกใดกระทบสถาบันก็จะถึงกาลวิบัติ
     
  10. thabot

    thabot สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    เห็นด้วยกับคุณ karan20
    บรรดาปักษีทั้งหลาย กาเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด คำนี้มันมีองค์ประกอบทั้งหมาจิ้งจอก กล่าวเท็จ และกาก็กล่าวเท็จ เลยทำให้มองว่าเลวกันทั้งคู่ ถ้าอ่านแต่คำว่าว่า กาเป็นสัตว์ที่เลวที่สุด แล้วไม่ได้มององค์ประกอบอื่นเลยผมว่าตีความหมายผิดนะครับ
     
  11. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    - รู้แต่ว่ากาขาวน่าจะมีความหมายที่ไม่ดี เพราะเป็นกลียุคก่อนถึงชาวศรีวิไล แต่ไม่เข้าใจว่าหมายที่แท้จริงคืออย่างไร
    อาจหมายถึงพวกฝรั่งที่เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ อาจหมายถึงคนชั่วที่แสร้งทำเป็นคนดี หรือจะหมายถึงคนผิวดำที่บ้าเรื่องผิวขาวฉีดกลูต้ากัน - -"
    - ส่วนเรื่องชื่อวัดคงไม่ได้เกี่ยวข้อง น่าจะเป็นคนละความหมายกับกาขาวในคำทำนาย ก็ไปดูประวัติวัดเอาละกัน
    ปล.
    1. ส่วนถ้าจะโยงการเมือง พวกเสื้อแดงก็จะมองความหมายกาขาวว่าดี พวกไม่แดงก็จะบอกว่าไม่ดี
    แต่สำหรับผมพิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐบาลนี้มีแต่คนชั่วจริงๆ แต่ประชาชนส่วนใหญ่กลับนิยมชมชอบเลือกเข้ามาได้
    2. ส่วนความหมายว่ากาขาวเป็นพระอริยะนี่ก็เพิ่งรู้แฮะ ขอที่มาหน่อยครับว่ามาจากไหน แต่โดยส่วนตัวไม่ได้มองว่าถิ่นกาขาวแปลว่าดินแดนพระอรหันต์ เพราะพระอรหันต์ก็มีอยู่ตลอด ไม่ได้เพิ่งมามี เรื่องจำนวนก็ไม่น่าจะต่างกัน หนำซ้ำยุคนี้อาจจะน้อยกว่าด้วย ครูบาอาจารย์ที่สำคัญก็ละสังขารไปหลายท่าน หรือจริงๆกาขาวหมายถึงพระที่ศีลไม่บริสุทธิ์มีมากขึ้นรึเปล่า เพราะเห็นเต็มบ้านเต็มเมือง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  12. โคกผักหวาน

    โคกผักหวาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    283
    ค่าพลัง:
    +1,041
    ใครว่า กาขาวกาเผือก เป็นความหมายไม่ดี ก็ให้พิจารณาบทความนี้ อย่าไปเชื่อพวกจานบินสี่เหลี่ยม

    นางพญากาเผือก

    เรื่องนางพญากาเผือกนี้ เป็นตำนานพื้นบ้านไทยภาคกลางที่พยายามอธิบาย

    ความเกี่ยวพันของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ ซึ่งเชื่อกันว่าในภัทรกัปนี้จะมีพระพุทธเจ้า

    มาตรัสรู้สั่งสอนมนุษยชาติ ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโคนาคมโน พระกัสสป พระ

    สมณโคดม และพระศรีอาริยเมตไตร ปัจจุบันเป็นศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่ มีระยะ

    เวลา ๕,๐๐๐ ปี ต่อไปก็จะถึงศาสนาพระศรีอาริย์จนสิ้นภัทรกัปนี้ ตอนจะสิ้นภัทรกัปสังคม

    จะเสื่อมเป็นกลียุค แล้วเกิดไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลกขึ้นครั้งหนึ่ง

    แต่อย่างไรก็ตาม ตำนานเรื่องนางพญากาเผือกนี้ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

    แต่ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่อยู่ในพุทธประวัติ เพียงนำชื่อพระพุทธเจ้ามาเกี่ยวข้องบางตอน โดย

    ใช้วิธีอธิบายแบบลากเข้าความซึ่งอาศัยเสียงของคำที่ใกล้เคียงกัน กกุสันโธ เป็นชื่อพระ

    โพธิสัตว์ที่แม่ไก่นำไปเลี้ยง จะเห็นว่า ๒ พยางค์แรก มีเสียงใกล้เคียงกับคำว่า กกุฏ ซึ่ง

    แปลว่านกเขา หรือนกพิราบ และใกล้เคียงเสียงแม่ไก่เวลาเรียกลูกมาหากิน องค์ที่นาค

    เลี้ยงเรียกว่า โคนาคมโน มีคำว่านาคอยู่กลางคำ องค์ที่เต่าเลี้ยงชื่อว่า กัสสปะ ก็ลากเข้า

    หาคำบาลีว่า กจฺฉปฺ แปลว่า เต่า องค์ที่วัวนำไปเลี้ยงชื่อโคดม มีคำว่า โค นำหน้า และองค์

    ที่ราชสีห์เก็บได้มีคำว่า ศรี นำหน้า คือ ศรีอาริยเมตไตร

    เนื้อเรื่องจึงเป็นจินตนาการของคนโบราณ ที่สร้างเรื่องราวขึ้นมา

    เล่าสู่กันฟังเพื่ออธิบายสาเหตุของพิธีลอยกระทง ซึ่งในบางท้องถิ่นอาจจะมีเรื่องราวแตก

    ต่างกันไปคัดลอกจาก หนังสือ ?นิทานพื้นบ้าน? โดย ธวัช ปุณโณทก

    นางพญากาเผือกทำรังอยู่บนต้นไม้ใกล้ฝั่งน้ำ มีไข่ห้าฟอง ครั้งหนึ่งเกิดพายุ

    และฝนตกหนักได้พัดต้นไม้โค่นลงแม่น้ำ ไข่ทั้งห้าฟองของนางพญากาเผือกลอยกระจัด

    กระจายไปตามกระแสน้ำ ฟองที่หนึ่งแม่ไก่เก็บได้ ฟองที่สองนาคเก็บได้ ฟองที่สามเต่า

    เก็บได้ ฟองที่สี่วัวเก็บได้ ส่วนฟองที่ห้าราชสีห์เก็บได้ สัตว์ทั้งห้าก็นำไข่ไปกกจนเกิดเป็น

    ตัวเมื่อไข่ฟักเป็นตัวกลับกลายเป็นเด็กชายทั้งห้าคน และสัตว์ที่เลี้ยงดูเด็กทั้งห้าก็ตั้งชื่อ

    ตามลำดับดังนี้

    กกุสันโธ โคนาคมโน กัสสปะ โคดม และศรีอาริยเมตไตร

    ครั้นเจริญวัย เด็กทั้งห้าก็พยายามถามหาพ่อแม่เดิมของตน สัตว์ที่เป็นแม่เลี้ยงก็เล่าได้แต่

    เพียงว่าเก็บไข่ที่ลอยน้ำมา เด็กทั้งห้าจึงลาแม่เลี้ยงติดตามหาพ่อแม่เดิมของตน แต่ละคน

    ต่างก็เดินทางพเนจรติดตามหาพ่อแม่เลียบริมฝั่งแม่น้ำ

    ในที่สุดได้เดินทางมาพบกันและได้ไต่ถามความเป็นมา ซึ่งทุกคนต่างก็ทราบว่า

    ตนเกิดจากไข่ลอยน้ำเหมือนกันและเกิดในวันเดียวกัน เป็นที่อัศจรรย์ใจนักก็เลยคิดว่าน่า

    จะมีแม่เป็นคนคนเดียวกัน จึงร่วมเดินทางติดตามแม่ด้วยกันทั้งห้าคน เด็กทั้งห้าได้สืบเสาะ

    หาแม่เท่าใดก็ไม่มีใครทราบ จึงทำพิธีเซ่นสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้บอกทิศทางติดตามแม่

    ด้วยบุญบารมีของเด็กทั้งห้า นางพญากาเผือกซึ่งตายไปแล้วเกิดเป็นเทพอยู่บนสวรรค์

    ก็มาปรากฎตัวให้เห็น และบอกว่าตนเป็นแม่เด็กทั้งห้า นางได้บอกสาเหตุที่ลูกได้

    พลัดพรากกันเมื่อครั้งเกิดพายุใหญ่ เด็กทั้งห้าจึงถามว่าพวกเขาอยากจะตอบสนองคุณ

    มารดาจะกระทำได้โดยวิธีใด

    นางพญากาเผือกจึงบอกว่า ?ในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันที่พลัดพราก

    กัน ให้ลูกๆ ทำกระทงลอยน้ำไปหาแม่ โดยนำไข่สัตว์มาใส่ในกระทง และนำด้ายมาทำ

    เป็นรูปเครื่องหมายตีนกา จุดไฟลอยไปตามน้ำพระคงคา กระทงจะไปถึงแม่? หลังจากนั้น

    เด็กชายทั้งห้าก็ทำกระทงลอยน้ำในวันเพ็ญเดือนสิบสองทุกปี และผู้คนอื่นๆ ต่างก็ทำ

    กระทงลอยน้ำตามเด็กทั้งห้า จึงมีการทำพิธีลอยกระทงสืบมา

    ข้อคิดที่ได้การทดแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณกระทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ ผู้รำลึกถึงและทด

    แทนบุญคุณของบุพการีคือผู้เจริญ
     
  13. ตาดำดำ

    ตาดำดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    420
    ค่าพลัง:
    +732
    - ผมถึงได้บอกว่ากาขาวนั้นมีหลายความหมาย ไม่ว่าจะความหมายตรงตัว ความหมายเปรียบเทียบ
    ไม่รู้จะยกชื่อวัด ชื่อตำนานอะไรมาทำไม เค้าให้ตีความคำว่าถิ่นกาขาวในบทกลอน ส่วนกาขาวในบริบทอื่น ในบทความอื่นจะมีความหมายที่ดีก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ไม่เกี่ยวกับกลอนนี้
    จขกท.เค้าต้องการให้วิเคราะห์ ถิ่นกาขาว ในบทกลอนนี้ครับ ก็พิจารณาตามเหตุการณ์ในปัจจุบันก็ได้ ก็ในเมื่อกาขาวก็คือยุคนี้ไม่ใช่เหรอก็ดูเอาสิว่าเหมือนไม่เหมือนตรงไหน

    - คำว่าถิ่นกาขาวในกลอนนั้นจะมีความหมายที่ดีได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นยุดต่อไปที่เป็นชาวศรีวิไลจะมีความแตกต่างอย่างไร ในเมื่อทั้ง 2 ยุคคนดีเหมือนกันมีศีลธรรมเหมือนกัน แล้วจะแบ่งทำไม

    นี่แหละปัญหาของคำทำนาย มองได้หลายแง่ คนศรัทธาก็จะพยายามมองว่าตรง คนไม่ศรัทธาก็จะมองว่าไม่ตรง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  14. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    อีกความหมายก็อาจเป็นไปได้ เหมือนคุณตาดำดำว่า ตอนนี้มีคนชั่วช้าสามานย์ ต่ำยิ่งกว่าอีกาดำ แต่กลับมีอำนาจปกครองบ้านเมือง ทำให้สถานการณ์เกือบลุกเป็นไฟอยู่แล้ว ก่อนจะถึงยุคชาววิไล ก็ต้องมีเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ คนชั่วเยี่ยงอีกาดำต้องถูกกำจัดให้สิ้นซาก ไม่งั้นประเทศไทยจะไม่สงบ
     
  15. ZincOxide

    ZincOxide เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    366
    ค่าพลัง:
    +1,703

    สองพันห้าร้อยห้าสิบห้า ... ถิ่นกา"ชาด"


    Red Cross or Red Crow ?



     
  16. อธิฎฐาน

    อธิฎฐาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    430
    ค่าพลัง:
    +1,610
    ถึงยุคภัยพิบัติอย่างนี้ มีอุบัติเหตุ การเจ็บ การตาย คงไม่แคล้วคงเห็นเครื่องหมายแบบนี้เต็มไปหมดค่ะ

    [​IMG]
     
  17. อ่อนหัดธรรม

    อ่อนหัดธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    488
    ค่าพลัง:
    +968
    ขำวะ แต่ละคน ตีความเข้าข้างตัวเองทั้งนั้น เจริญเถอะ ไอ้พวกการเมือง
     
  18. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    [​IMG]


    อาจจะเป็นเพราะเนื้อหาทีผู้เขียนนำมาอ้างอิงนี้มีอยู่มาก
    บางท่านคงอ่านไม่ครบถ้วน หรืออ่านแบบผ่านๆ จึงยังมีข้อสงสัยทั้งๆที่ผู้เขียนได้ชี้แจงแล้ว
    จึงขอกระชัึบเนื้อหาให้สั้นๆว่า

    คำว่า กาขาว นั้นเป็นความหมายที่ดี
    ที่อ้างอิงถึงตำนานและชื่อวัดนั้นเพราะมีที่มาเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา
    จะเห็นว่าคำว่า กาขาว นั้นไม่ได้มีการกล่าวกันบ่อย ๆ หรือใช้กันทั่วไป
    จนบางครั้ง คนยังคิดว่ากาขาวนั้นไม่มีอยู่จริง
    บางคนคิดไปว่าเป็นแค่คำเปรียบเปรยดุจว่า อีกาย้อมขนเป็นสีขาว
    มีเพียงในตำนานต้นกำเนิดพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และเป็นชื่อวัดแห่งหนึ่ง
    นั่นย่อมแสดงให้เห็นถึงความหมายที่ดีของคำว่า กาขาว
    เพราะหากเป็นสิ่งอัปมงคลย่อมไม่นำไปตั้งเป็นชื่อวัดในพระพุทธศาสนา

    อีกประการผู้เขียนคำทำนายก็เป็นพระสงฆ์ผู้มีความรู้ในทางพระพุทธศาสนา
    ดังนั้นคำว่ากาขาวในคำทำนายนั้นย่อมต้องมีความเกี่ยวข้องกับ กาขาว ในตำนาน
    ท่านย่อมไม่นำคำว่ากาขาวที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้ามาใช้ในทางที่เป็นการปรามาสหรือดูหมื่น

    คำว่า กาขาว มีความหมายที่ดีก็จริง
    แต่คำว่า ถิ่นกาขาว มันสะท้อนให้เห็นว่า
    ความดีหรือคนดีที่หาได้ยาก เปรียบเหมือนกับการหา กาขาว
    เพราะกาส่วนใหญ่จะเป็น อีกา หรือ กาดำ

    ผู้เขียนทักท้วงและแสดงหลักฐานและหลักการเรื่องนี้ไว้
    เพราะมีคนนำคำว่า กาขาว ไปใช้ในทางผิดๆ

    กาขาวนั้นดี แต่ที่ยุคนี้มันวุ่นวายเพราะกาดำนั้นมีมาก
    บางครั้ง กาขาวถูกมองว่าเป็นตัวประหลาดที่ไม่เป็นสีดำเหมือนอีกาส่วนใหญ่

    แต่ก็ยังน่าดีใจว่าถิ่นนี้เป็นถิ่นกาขาว แม้จะหากกาขาวได้ยาก แต่ก็ยังพอหาได้
    เป็นถิ่นที่เตรียมจะก้าวไปสู่ ยุคชาววิไล ที่คนดีหาง่าย คนชั่วหายาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  19. Vking

    Vking เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2011
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +1,555
    ขออนุญาต คุณkaran20 เข้ามาที่นี่ค่ะ

    เนื่องในวาระดิถีใหม่ ใหม่นี้ ประจวบกับข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปชำระสะสาง เคลียร์ตัวเองยังพุทธสถานมาค่ะ
    จึงขออนุญาตเข้ามาส่ง...พลังแห่งความสว่างไสว...ให้ได้รับทราบโดยทั่วถึงกัน

    ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าขอน้อมในองค์คุณเบื้องสูง องค์คุณแห่งมหาบารมี องค์คุณพระพุทธะ พระมหาโพธิสัตว์ ทรงเป็นประธาน

    เนื่องด้วยการทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วม อันได้แก่
    การเข้าร่วมประชุมธรรม อันส่งผลโดยตรงต่อการชำระสะสาง เคลียร์ตัวเอง
    การสละแรงกายช่วยงานในการทำความสะอาดโรงครัว
    การได้มีส่วนร่วมถวายมหาสังฆทาน ซึ่งเป็น การสละร่วมกันในหมู่คณะใหญ่ โดยร่วมกันสละ ปัจจัยเป็นเงิน ข้าวของเครื่องใช้ในการอุปโภค-บริโภค รวมถึง การร่วมกันสละอธิวาสนา-บารมีของแต่ละรูป แต่ละนาม ทั้งนี้ก็เพื่อแบ่งปันให้เจ้ากรรมนายเวรของแต่ละรูป แต่ละนามได้มีส่วน และอีกทั้งแบ่งปันให้แก่ในทุกดวงจิต ทุกดวงวิญญาณ จิตญาณทั้งหลายทั้งปวงในทุกภูมิ ทุกชั้น ทุกหมู่ ทุกเหล่า ได้มีส่วนในการนี้โดยถ้วนหน้ากัน และก่อให้เกิดเป็นพลังแห่งความสว่างไสวอันยิ่งใหญ่ เชื่อมต่อกันไปให้แก่ ทุกดวงจิต ทุกดวงวิญญาณ จิตญาณทั้งหลายทั้งปวงได้มีส่วนใน ...อานุภาพของพลังแห่งการสละ พลังแห่งความสว่างไสว... โดยทั่วถึงกันอย่างกว้างขวาง ไร้ขอบเขต และไม่มีที่สุดไม่มีประมาณ ... สาธุ (i)(i)(i)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 เมษายน 2012
  20. karan20

    karan20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,297
    ค่าพลัง:
    +2,379
    พระครู 4 กา ผู้รักษาพระธาตุ นครศรีฯ
    ๐ตำนานเล่า แต่ต้น ได้ค้นหา
    "เรื่องพระครู สี่กา" มาสดับ
    คือองค์ผู้ ดูแล และน้อมรับ
    องค์กำกับ ความผันแปร แต่ละทิศ
    ๐หนึ่งทิศเหนือ "กาขาว" เฝ้ารักษา
    "ท้าวกุเวร" แปลงกายา มาสถิตย์
    ตะวันตก "กาดำ" พร่ำพินิจ
    "วิรุฬปักษ์" เจ้าชีวิต แห่งนาคา
    ๐ตะวันออก "กาเหลือง" ผู้เรืองศักดิ์
    "ธตรฐ" อารักษ์ ดีนักหนา
    ด้านทิศใต้ กาสีแดง แปลงกายมา
    "วิรุฬหก" พักตรา เป็นกุมภัณฑ์
    ๐ทั้งสี่ทิศ สถิตย์ครอบ รอบพระธาตุ
    ผู้อำนาจ ยิ่งใหญ่ ได้จัดสรร
    เจ้า ร.5 สายพระเนตร แบ่งเขตปัน
    ให้ช่วยกัน ดูแล แต่ละกา
    ๐ท่านกาแก้ว ทิศเหนือ เอื้อน้ำจิต
    ท่านกาเดิม ตะวันตกทิศ ปริศนา
    ท่านการาม ตะวันออก บอกศักดา
    ท่านกาชาด ทักษิณา รับดูแล
    ๐ทั้งสี่ทิศ ยึดพระธาตุ เป็นบาทบท
    น้อมประณต เอ่ยฝาก อยากเผยแผ่
    สี่กานี้ มิได้ปั้น ให้ผันแปร
    เรื่องเก่าแก่ ตำนานมี ที่เมืองคอน
    (อัง 11-6-54)

    ในตำนานพระครู 4 กา เล่าสืบต่อกันมาว่า มีพระอรหันต์สาวกรูปหนึ่งอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาริกธุดงค์มาจากประเทศ ลังกาเข้าสู่แคว้นสุวรรณภูมิ โดยเข้ามาทางเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองพัทลุง เพื่อหาสถานที่ก่อสร้าง “พระอุเทสิกเจดีย์” สำหรับเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อทำการก่อสร้างพระอุเทสิกเจดีย์ คือพระบรมธาตุนครศรีธรรมราชเสร็จ “ท้าวจตุโลกบาล ผู้มีหน้าที่พิทักษ์รักษาโลกทั้ง 4 ทิศ อาศัยอยู่ยอดเขายุคลธรทั้ง 4 ทิศ และทำหน้าที่รักษาภูเขาในแต่ละทิศด้วย แบ่งหน้าที่กันรักษาดังนี้
    ทิศเหนือ มี ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ ผู้เป็นจ้าวแห่งภูติผีปิศาจ
    ทิศตะวันตก มี ท้าววิรุฬปักข์ ผู้เป็นจ้าวแห่งนาคาหรือพญานาค งูมีหน้าที่รักษา
    ทิศตะวันออก มี ท้าวธตรฐ ผู้เป็นจ้าวแห่งคนธรรพ์ ซึ่งเป็นภาคหนึ่งของพระอินทร์มีหน้าที่รักษา
    ทิศใต้ มี ท้าววิรุฬหก ผู้เป็นจ้าวแห่งกุมภัณฑ์หรือพวกยักษ์มีหน้าที่รักษา
    ท้าวจตุโลกบาลหรือท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 องค์นี้ ต่างพากันแปลงกายเป็นกา 4 ตัว 4 สี มา ทำหน้าที่พิทักษ์รักษา
    องค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช โดยแบ่งหน้าที่กันรักษาองค์พระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ ดังนี้
    ทิศเหนือ ท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวัณ แปลงกายเป็น กาสีขาว ทำหน้าที่รักษา
    ทิศตะวันตก ท้าววิรุฬปักข์ แปลงกาย เป็น กาสีดำ ทำหน้าที่รักษา
    ทิศตะวันออก ท้าวธตรฐ แปลงกายเป็น กาสีเหลือง ทำหน้าที่รักษา
    ทิศใต้ ท้าววิรุฬหก แปลงกาย เป็น กาสีแดง ทำหน้าที่รักษา

    ด้วยผู้พิทักษ์รักษาทั้ง 4 องค์ ที่รักษาในแต่ละทิศล้วนมีอิทธิฤทธิ์มาก พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช จึงปลอดภัยจากธรรมชาติและภัยมนุษย์ รวมทั้งภัยจากสัตว์ร้ายจนยืนยงมาได้ตราบทุกวันนี้ ความสำคัญของท้าวจตุโลกบาล หรือ ท้าวจตุมหาราชทั้ง 4 องค์ ที่แปลงกายมาเป็น “กา” ทำ หน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เมื่อมีการแต่งตั้งพระสงฆ์ให้ดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตร ทางคณะสงฆ์จึงทำการคัดเลือกเอาเฉพาะแต่พระสงฆ์ที่ทรงคุณวุฒิทางวิปัสสนา กรรมฐานและวิทยาคมในจังหวัดนครศรีธรรมราชและพัทลุง มาตั้งชื่อให้ตรงกับกาทั้ง 4 ที่ทำหน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เรียกพระราชทินนามว่า “พระครู” มีความหมาย ดังนี้
    พระครูกาแก้ว หมายถึง กาสีขาว ทำหน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุ ทิศเหนือ
    พระครูกาชาด หมายถึง กาสีแดง ทำหน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุ ทิศใต้
    พระครูการาม หมายถึง กาสีเหลือง ทำหน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุ ทิศตะวันออก
    พระครูกาเดิม หมายถึง กาสีดำ ทำหน้าที่รักษาองค์พระบรมธาตุ ทิศตะวันตก
    แต่จากบันทึกและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า อาณาจักรตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 24 ในสมัย พ.ศ.ที่ 18 โดยมี พระเจ้าจันทรภาณุหรือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช เป็นเจ้าผู้ครองเมืองอาณาจักร ตามพรลิงค์แห่งนี้รุ่งเรืองทางพระพุทธศาสนาสูงสุด เป็นเมืองแห่งนักปราชญ์มีแสนยานุภาพทางทหารมาก เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชสร้างพระบรมธาตุขึ้นมา
    ทั้งนี้ก็เนื่องจากเกิดโรคห่าระบาดอย่างหนัก
    ต่อมา พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 2 ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากองค์ที่ 1 ผู้เป็นพระเชษฐาทรงบูรณะพระบรมธาตุขึ้นมาใหม่ และนำพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ ได้จัดตั้งคณะสงฆ์ที่เมืองนครศรีธรรมราชเรียกว่า “พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์” พระสงฆ์ชาวลังกาได้ช่วยบูรณะสร้างเสริมสิ่งก่อสร้างต่างๆ เป็นไปตามแบบลังกา โดยก่อสถูปแบบลังกาครอบเจดีย์พระบรมธาตุองค์เดิม พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชที่ 2 กำหนดให้ บริเวณรอบๆ องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเขตพุทธาวาส จัดระเบียบคณะสงฆ์เป็น 4 คณะ ยึดเอาแบบแผนพยนต์ที่รักษาพระบรมธาตุมาเป็นนัย คือ คณะกาแก้ว กาชาด การาม และกาเดิม ตามแบบพระเถรานุเถระที่ได้รับสมณศักดิ์รักษาพระบรมธาตุทั้ง 4 ทิศ มาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 พระราชาคณะ กาแก้ว กาชาด การาม และกาเดิม ได้รับฐานานุกรมเป็น “พระครู” ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวของ พระครู 4 กา ทั้งที่เป็นตำนานและจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาผูกเข้าด้วยกัน พระครู 4 กา ผู้พิทักษ์พระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช

    ***ข้อมูลเพิ่มเติม1
    ***ข้อมูลเพิ่มเติม2


    คัดลอกจาก เล่าเรื่องเมืองคอน 50 |
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 มิถุนายน 2012

แชร์หน้านี้

Loading...