แผ่นดิน พระพุทธเจ้าหลวง

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย สร้อยฟ้ามาลา, 20 กันยายน 2008.

  1. บัวมรกต

    บัวมรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    812
    ค่าพลัง:
    +1,071
    ภาพสวยค่ะ บางภาพไม่เคยเห็นมาก่อนเลยด้วยซ้ำ ^__^
     
  2. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    ทั้ง 2 ภาพบน พระพุทธเจ้าหลวงทรงเรียกว่า ท่านั่งนก
    ฉายที่เขาหน่อ จ.นครสวรรค์ ร.ศ.125
    และภาพล่างนี่ก็นั่งนก เหมือนกัน แต่ ฉายที่ ไร่บางแขม กําแพงเพชร ร.ศ.125 เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่อง ในคราวเสด็จประพาสต้น พ.ศ.2449 ครับ

    [​IMG]
     
  3. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พนักงานห้องบรรทม

    หนังสือสกุลไทย
    ฉบับที่ ๒๔๑๓ ปีที่ ๔๗ ประจำวันอังคารที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๔๔
    บทความ-สารคดี
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์​

    พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ ไกรฤกษ์) ได้ตามเสด็จ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จประพาสเกาะสิงคโปร์และชวา ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๓๙ เมื่อครั้งที่ยังเป็นนายสุจินดา ได้รับใช้สนองพระยุคลบาทใกล้ชิดพระองค์ในตำแหน่งพนักงานห้องพระบรรทม ถวายเครื่องแต่งพระองค์ และรับใช้การเบ็ดเตล็ดในพระองค์ทั่วไป เป็นที่ทรงพระมหากรุณาโปรดปรานอย่างยิ่ง โปรดเกล้าฯพระราชทานพระบรมรูป ทรงพระอักษรลายพระราชหัตถ์ใต้พระบรมรูปว่า “ให้นายสุจินดา (นพ) เป็นที่ระลึกในการที่ได้รับใช้ ได้ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อไปยาวา ในรัตนโกสินทรศก ๑๑๕” ในเวลาที่ยังเสด็จฯอยู่ชวา ทรงมีพระกระแสรับสั่งกับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ แต่ครั้งยังเป็นพระเจ้าน้องยา เธอกรมหมื่นฯ ว่า “ฉันได้นายสุจินดาเป็นคนใช้เป็นที่เรียบร้อยพอใจมาก เห็นจะไปเที่ยวยุโรปได้แน่”

    ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา ก็โปรดฯให้พระยาบุรุษฯ ตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรก (พ.ศ.๒๔๔๐) ครั้งนี้เลื่อนจากนายสุจินดา เป็นจ่ายวด (นพ)

    ถึง พ.ศ.๒๔๔๔ ตามเสด็จประพาสชวาเป็นครั้งที่ ๒ (ในการเสด็จฯครั้งที่ ๓ ครั้งแรกนั้นเสด็จฯ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๓ พระยาบุรุษฯ เพิ่งจะอายุได้ ๔ ขวบ) ครั้งนี้ พระยาบุรุษฯ เป็นเจ้าหมื่นสรรพเพธภักดี
    พ.ศ.๒๔๕๐ ขณะเป็นพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ โปรดเกล้าฯให้ตามเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒

    ส่วนเจ้าจอมมารดาชุ่ม ผู้เป็นพี่สาว ได้ตามเสด็จประพาสเกาะสิงคโปร์และชวา ในหน้าที่นางสนองพระโอษฐ์ สมเด็จพระอัครราชเทวี พ.ศ.๒๔๓๙ ดังที่เล่าแล้วและได้ตามเสด็จประพาสเกาะชวาอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๔ ห่างจากครั้งแรก ๕ ปี

    เจ้าจอมมารดาชุ่ม มีพระองค์เจ้าหญิงสองพระองค์ คือพระองค์เจ้าหญิงอาทรทิพยนิภา และพระองค์เจ้าหญิงสุจิตราภรณี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงตรัสเรียกว่า “อาทร” และ “สุจิตรา”
    เมื่อตามเสด็จครั้งแรก พระองค์เจ้าหญิงสองพระองค์ ยังทรงพระเยาว์ พระชันษาเพียง ๗ และ ๖ พรรษาเท่านั้น มิได้เสด็จไปด้วย
    แต่เมื่อเสด็จประพาสชวาครั้งหลัง พ.ศ.๒๔๔๔ พระองค์เจ้าหญิงทั้งสองพระองค์ได้ตามเสด็จ พร้อมเจ้าจอมมารดาของพระองค์

    เสด็จประพาสชวา พ.ศ.๒๔๔๔ นี้ เป็นขบวนเสด็จ ซึ่งผู้ตามเสด็จต่างพระองค์ และต่างคน เมื่อกลับมาแล้ว พากันเล่าอย่างสนุกและตื่นเต้น ไม่ว่าจะเป็นพระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ หรือเล่าสู่กันฟังด้วยวาจาต่อกันมาเป็นทอดๆ

    ครั้งนั้น พระมเหสีเทวีพระอัครชายา ตามเสด็จด้วยกันสามพระองค์ คือ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ พระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี และพระอัครชายาเธอ กรมขุนสุทธาสินีนาฏ ส่วนสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี กำลังอยู่ในระยะทรงพระประชวร

    เวลานั้น สมเด็จเจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ พระชันษา ๒๔ พระราชธิดาในพระนางเจ้าฯ พระราชเทวี ตามเสด็จด้วย เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่พระองค์เดียวที่ทรงเป็นผู้ใหญ่แล้ว

    เจ้าจอมพระสนมเอก ที่โปรดฯให้ตามเสด็จครั้งนั้น นอกจากเจ้าจอมมารดาชุ่มแล้ว ก็มีเจ้าจอมพระสนมเอกอีกเพียง ๒ ท่าน คือ เจ้าจอมเอี่ยม และเจ้าจอมเอิบ “ก๊กออ”ในสกุลบุนนาค เจ้าจอมเอี่ยมนั้นเป็นพนักงานถวายงานนวดซึ่งโปรดปรานว่ามีฝีมือไม่มีผู้เสมอเหมือน ส่วนเจ้าจอมเอิบเป็นพนักงานแต่งพระองค์ และเป็นเจ้าจอมคนโปรดมาแต่แรกเริ่มรับราชการ เป็นที่ทราบกันว่า “ขึ้น” ไม่เคย “ตก” แต่ทั้งสองท่านไม่มีพระองค์เจ้า

    พระราชโอรสธิดา นอกจากชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งเพิ่งจะเสด็จกลับจากยุโรป ๔ พระองค์ และสมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร์ แล้ว
    ก็มีพระราชโอรสธิดาที่ยังทรงพระเยาว์ ซึ่งโปรดฯ ให้เสด็จพร้อมพระราชชนนี พระชนนี และเจ้าจอมมารดาอีก ๖ พระองค์ คือ สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ (ทูนหม่อมเอียดเล็ก) ๑๑ พรรษา สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ (ทูนหม่อมเอียดน้อย) ๘ พรรษา ทั้งสองพระองค์ในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา (สมเด็จหญิงกลาง) ๑๔ พรรษา เจ้าฟ้านิภานภดล (สมเด็จหญิงน้อย ขณะนั้นพระบรมชนกนาถ ตรัสเรียกว่า หญิงเล็กนิภา) ๑๓ พรรษา ทั้งสองพระองค์ในพระอัครชายาเธอ และพระองค์หญิงสองพระองค์ของเจ้าจอมมารดาชุ่ม พระชันษา ๑๒ ๑๑ ตามลำดับ พระราชโอรสธิดาทั้ง ๖ นี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงรับสั่งเรียกว่า “กรมซน”

    สมเด็จหญิงกลาง สมเด็จหญิงน้อย และพระองค์อาทรฯ พระองค์สุจิตราฯ ทรงเป็นพี่น้องที่ทรงสนิทสนมกันอยู่แล้ว เนื่องจากเจ้าจอมมารดาชุ่มเข้ามาอยู่ในตำหนักสมเด็จฯ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร ซึ่งต่อมาเท่ากับสังกัดสำนักพระอัครชายาเธอฯ เมื่อตามเสด็จชวา ครั้งหลังนี้ จึงปรากฏว่าเวลาไปไหนมาไหน มักจะโปรดฯให้ตามเสด็จพระอัครชายาเธอฯ ไปในรถคันเดียวกันเสมอๆ

    การตามเสด็จประพาสชวาครั้งนั้น ทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงฯ ทรงประจักษ์ในพระอัชฌาศัยของสมเด็จหญิงนิภานภดล ทำให้ทรงโปรดปรานยิ่งขึ้นกว่าที่โปรดอยู่แล้ว

    เวลานั้นสมเด็จหญิงน้อย ยังไม่ทรงอยู่ในวัย “สาว” แต่ก็มิใช่จะทรงพระเยาว์เสียทีเดียว ทรงวางพระองค์อย่างเด็กๆ ตามธรรมดาธรรมชาติ ทรงช่างพูดช่างคุย เล่ากันว่าฉลาดนัก ทรงเข้ากับทุกคนได้ดี ไม่ว่าแขกหรือ ฝรั่ง (ขณะนั้นชวายังเป็นอาณานิคมของเนเธอร์แลนด์หรือดัทช์) ซึ่งน่าอัศจรรย์ที่เพิ่งจะเสด็จออกต่างประเทศเป็นครั้งแรก และพระชันษาก็เพิ่งจะ ๑๓ พรรษาเท่านั้นเอง

    พระคุณสมบัตินี้ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงถวายคำนิยามไว้สั้นๆ ในพระนิพนธ์เรื่อง เที่ยวเมืองพม่า ว่า “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า” โดยทรงสรรเสริญว่า“ทรงพระคุณอย่างเป็นขัติยนารีแท้ทุกสถาน ทรงพิสูจน์ให้ปรากฏแล้ว ทั้งในเวลาที่มีความสุข และในเวลาได้รับความทุกข์ยาก สมควรกับที่ทรงสร้อยพระนามกรมว่า“ขัติยนารี” เป็นอนุสรณ์อยู่กับพระนามตลอดไป”

    “ทั้งในเวลาที่มีความสุข” คือ เมื่อเสด็จฯอยู่ในยุคสมัยก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในรัชกาลที่ ๕ นั้น ทรงเป็น “ลูกรัก” ของพ่อมาแต่ยังทรงพระเยาว์ เป็น “ลูกหญิงน้อย” ในพระราชนิพนธ์เรื่อง “ไกลบ้าน” เมื่อทรงเป็นผู้ใหญ่ขึ้น ถึงรัชกาลที่ ๖ ทรงเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ ในรัชกาลที่ ๗ ทรงเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ ตลอดระยะเวลาเหล่านี้ ทรงพร้อมด้วยพระเกียรติยศ และ ความสุข มาทรงได้รับความทุกข์อยู่ระยะหนึ่ง เมื่อผู้เป็นที่รักต้องเสด็จจากไปตามๆ กัน คือ พระเชษฐภคินี สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา สิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๔๖๗ พระชนนี พระวิมาดาเธอฯ กรมพระสุทธาสินีนาฏ สิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๔๗๓ และพระเชษฐา สมเด็จเจ้าฟ้ายุคลทิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ สิ้นพระชนม์ พ.ศ.๒๔๗๕ ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียง ๓-๔ เดือน

    จากนั้นก็ทรงเป็นดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ท่านว่า ทรงอยู่ใน “เวลาที่ได้รับความทุกข์ยาก” เรื่อยมานับแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ทรงอยู่เสมือนเหลือเพียงพระองค์เดียว บรรดา “พี่น้อง” ก็ล้วนแต่อยู่ในฐานะตกต่ำ ต่างองค์ต้องทรงประคองตัวอยู่ เจ้านายผู้ใหญ่ที่จะทรงพึ่งได้ ส่วนมากเสด็จ
    หลบภัยการเมืองไปประทับนอกประเทศ ที่ทรงอยู่ในเมืองไทย ก็ไม่อยู่ในฐานะจะทรงเป็นที่พึ่ง ในที่สุด สมเด็จเจ้าฟ้าซึ่งทรงเป็น “ลูกรัก” ของสมเด็จพระปิยมหาราช ก็ทรงตัดสินพระทัย เสด็จไปประทับ ณ ประเทศชวา ต่างประเทศเดียวที่พระองค์เคยเสด็จฯไปและทรงรู้จัก
    ก่อนสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชันษาเพียง ๔๙ นับว่าเป็นเวลาที่ทรงได้รับความทุกข์ยาก ด้วยเหตุอันมิใช่เพราะพระองค์เอง หากแต่เกิดจากอุบัติการณ์อันไม่อาจทรงหลีกเลี่ยงได้ ทว่าก็ทรงรักษาพระเกียรติยศอย่าง “ทรงพระคุณของขัติยนารีแท้” ถวายสมเด็จพระบรมชนกนาถให้ปรากฏจนบัดนี้



    [​IMG]
    พระราชธิดา ๔ พระองค์ ทรงฉายพระรูปร่วมกัน เมื่อตามเสด็จประพาสชวา จากซ้าย - สมเด็จหญิงน้อย เสด็จพระองค์สุจิตราฯ สมเด็จหญิงกลาง เสด็จพระองค์อาทรฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 61.jpg
      61.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.2 KB
      เปิดดู:
      11,553
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  4. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    "น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า"

    โดยจุลลดา ภักดีภูมินทร์
    หนังสือสกุลไทย
    ฉบับที่ ๒๕๓๓ปีที่ ๔๙ประจำวันอังคารที่ ๖พฤษภาคม ๒๕๔๖​

    เป็นพระดำรัสของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เชิญมาจากพระนิพนธ์ เรื่องเที่ยวเมืองพม่าตอนหนึ่ง

    เนื่องมาจากขณะเสด็จไปทรงท่องเที่ยวเมืองพม่าใน พ.ศ.๒๔๗๘ (หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.๒๔๗๕ ได้ ๓ ปี) ขณะนั้นก็ทรงได้รับข่าวจากเมืองบันดงประเทศชวา (อินโดนีเซีย) ว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี เสด็จสิ้นพระชนม์เสียแล้ว

    เท้าความเล็กน้อยว่าขณะเปลี่ยนแปลงการปกครอง สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ ทรงอยู่ในฐานะโดดเดี่ยวยิ่งนัก เนื่องจากทั้งพระชนนี ทั้งพระเชษฐาเพียงพระองค์เดียวและพระเชษฐภคินีต่างเสด็จสิ้นพระชนม์ไปในระยะเวลาใกล้ๆ กัน จึงทรงตัดสินพระทัยเสด็จตามครอบครัวของพระเชษฐาต่างพระมารดา คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ ไปประทับ ณ เมืองบันดุง ประเทศชวา

    อันประเทศชวานี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง โปรดเสด็จประพาสยิ่งนัก ได้เสด็จฯประพาสถึง ๓ ครั้ง คือ พ.ศ.๒๔๑๓ พ.ศ.๒๔๓๙ และ พ.ศ.๒๓๔๔


    [​IMG]
    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี (ประทับกลาง) ทรงฉลองพระองค์ ‘แหม่ม’ เมื่อตามเสด็จฯ ประพาสเกาะชวา พ.ศ.๒๔๔๔ ทรงยืนเรียงตามลำดับ
    ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
    ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี


    ในการเสด็จประะพาสครั้งหลังเมื่อ พ.ศ.๒๓๔๔ นั้น สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ พระชนม์ประมาณ ๑๓ พรรษา ได้ตามเสด็จด้วย และเป็นพระราชธิดา ‘เด็กๆ’ เพียงพระองค์เดียวที่ได้โดยเสด็จฯ ใกล้ชิดไปแทบทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเสด็จฯ ไปเมืองใดขณะประทับอยู่ ณ เมืองชวานั้น

    เมื่อทรงได้ข่าวจากเมืองบันดุงว่า สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอู่ทองฯ สิ้นพระชนม์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ จึงทรงพระนิพนธ์ด้วยพระอาลัยว่า

    “อาการประชวรของสมเด็จหญิงน้อยฉันก็รู้อยู่แล้วตั้งแต่ไปชวา เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗ ด้วยทูลกระหม่อมชาย (สมเด็จฯ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์ฯ) ท่านตรัสกระซิบบอกว่าหมอเขาว่าไม่มีทางที่จะหาย ได้แต่ระวังอย่าให้พระอาการทรุดลงรวดเร็ว ก็จะอยู่ช้าวันไปเท่านั้น สมเด็จหญิงน้อยเองก็ทรงทราบและมิได้ประมาท แต่เมื่อฉันไปชวา ดูยังทรงสบาย เสด็จไปไหนได้ แสดงพระเมตตาโปรดให้มีการเลี้ยงประทาน เมื่อตรงกับวันเกิดของฉันครบ ๖ รอบ ในเวลาที่อยู่เมืองบันดุงนั้น และวันหนึ่งฉันทูลชวนให้ทรง ‘รำลึกชาติ’ (คือระลึกถึงความหลัง จุลลดาฯ) เชิญเสด็จไปเสวยขนมด้วยกันที่ร้านขายขนมในเมืองบันดุง เหมือนอย่างที่ฉันได้เคยพาเสด็จไปแต่ยังทรงพระเยาว์เมื่อตามเสด็จสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไปชวาด้วยกัน ก็ทรงรื่นเริงบันเทิงพระหฤทัย ไม่ได้นึกเลยว่าจะได้เห็นสมเด็จหญิงน้อยเป็นครั้งที่สุดเมื่อไปชวาครั้งนั้น ฯลฯ ตัวฉันก็หวนไปคิดคำนึงถึงหนหลัง...คิดดูเห็นสมควรนักที่สมเด็จหญิงน้อยจะทรงสร้อยพระนามว่า ‘ขัตติยนารี’ ด้วยทรงพระคุณอย่างเป็นขัติยนารีแท้ทุกสถาน และได้ทรงพิศูจน์ให้เห็นปรากฏแล้ว ทั้งในเวลาที่มีความสุข และเวลาได้รับความทุกข์ยาก เพราะฉะนั้นจะมีแต่คำสรรเสริญว่า ‘น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า’ เป็นอนุสรณ์อยู่กับพระนามตลอดไป”


    ที่เชิญพระดำรัสมานี้ ก็ด้วยคิดว่า หากสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงพระชนมชีพยืนยาวมาจนถึงทุกวันนี้ เห็นจะต้องทรงมีพระดำรัสสรรเสริญเจ้าหญิงอีกพระองค์หนึ่งแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เฉกเช่นเดียวกันกับที่ทรงสรรเสริญ เจ้าหญิงพระองค์หนึ่งในอดีตมาแล้ว โดยเฉพาะที่ทรงกล่าวว่า “น่ารักน่าชม สมกับเป็นเจ้าฟ้า”

    เจ้าหญิงพระองค์นั้น คือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระสยามบรมราชกุมารีพระองค์แรกแห่งประเทศไทย
    ซึ่งพระคุณสมบัติวิเศษของ ‘ขัตติยนารี’ นั้นได้ประจักษ์แก่ใจคนไทยทั้งปวงมาตลอดเวลาจนถึงทุกวันนี้

    [​IMG]
    พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จฯขึ้นเมืองบเตเวีย สมเด็จหญิงน้อย (ทรงชุดแหม่มกางร่ม) ตามเสด็จ


    สมเด็จพระเทพรัตนฯ และสมเด็จหญิงน้อย ทรงมีหลายอย่างหลายประการที่มีส่วนลม้ายคล้ายคลึงกัน จนกระทั่งเมื่อยังทรงพระเยาว์อยู่และทรงพระเจริญขึ้นขณะทรงเป็นนักเรียน คนเฒ่าคนแก่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเวลานั้นยังมีชีวิตอดอุทานปรารภกันมิได้ว่า “ทำไมถึงได้ทรงลม้ายคล้ายกันนัก คล้ายกันจริงๆ”


    ที่สะดุดตาสะดุดใจท่านเหล่านั้นแต่ทรงพระเยาว์ คือ พระฉวีคล้ำกว่า พระเชษฐา พระเชษฐาภคินีทุกพระองค์ เพราะทุกพระองค์ทรงมีพระฉวีขาวมาก ทว่าทรงมีพระพักตร์คมคาย เครื่องพระพักตร์งดงามทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพระเนตร นาสิก พระโอษฐ์ไม่มีที่ติ อีกประการหนึ่งก็คือ พระอุปนิสัยร่าเริง และกล้าน่ารัก ทรงเข้ากับใครๆ ได้ แม้ชาวต่างประเทศที่ทรงพบปะเมื่อตามเสด็จ มีพระอารมณ์ขันเป็นที่ชื่นชมยินดี


    สมเด็จหญิงน้อยนั้น ด้วยพระนิสัยทรงเข้ากันได้กับพระเชษฐภคินี พระขนิษฐา ร่วมพระบรมราชชนก อย่างกลมเกลียว จึงทรงเป็นที่โปรดปรานในสมเด็จพระบรมชนกนาถอย่างยิ่ง

    อีกพระนิสัยโปรดปรานการศึกษาเรียนรู้ (เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระเทพรัตนฯ) ทรงเรียนภาษาอังกฤษจากครูฝรั่งบ้าง แล้วทรงอ่านทรงเรียนด้วยพระองค์เอง จนกระทั่งทรงรับใช้สมเด็จพระราชบิดาได้

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เสด็จฯประพาสยุโรป ครั้งที่ ๒ พ.ศ.๒๔๕๐ สมเด็จหญิงน้อย มิได้ตามเสด็จด้วย พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ทรงมีพระราชหัตถเลขา พระราชทานถึงพระราชธิดาตอนหนึ่งว่า

    “พ่อคิดถึงลูกเหลือประมาณทีเดียว สารพัดในการหนังสือที่เคยใช้ต้องทำเองทั้งสิ้น จนนอนฝันไปว่าให้หญิงน้อยอ่านหนังสือ Development of the European Nations ให้ฟัง (เพราะพ่อกำลังอ่านอยู่) นอนฟังสบาย (เพราะนอนจริงๆ) นึกเปลี่ยวใจที่ไม่มีใครช่วยในการหนังสือ ยังไม่เคยลืมคิดถึงแต่สักวันหนึ่งเลย”
    (พระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’)


    และเมื่อทรงเล่าถึงเมืองโบราณต่างๆ ก็ทรงมีพระราชหัตถเลขา ต่อไปว่า
    “เมืองเหล่านี้ พ่อเข้าใจว่าลูกรู้จักทั้งนั้น เพราะมีในหนังสือเช็คสเปียร์ที่เคยอ่าน ความรู้สึกมันขัน รู้สึกอี๋ๆ ปลื้มๆ คุ้นเคย เหมือนอย่างไปเมืองดาหา เมื่อสิงหัดส้าหรี เมืองกาหลังที่ชวา เกี่ยวด้วยเรื่องอ่านหนังสือเท่านั้น พูดกับคนที่ไม่เคยอ่านหนังสือไม่รู้สึก”
    (พระราชนิพนธ์ ‘ไกลบ้าน’)


    สมเด็จหญิงน้อย นอกจากเป็นพระราชธิดาที่ทรงรู้และร่วมพระราชหฤทัยแล้ว ยังทรงใกล้ชิดสมเด็จพระบรมชนกนาถ

    ในคืนที่ ๑๘๔ เมื่อประทับอยู่เพียงลำพังพระองค์ ในโรงแรมกรุงปารีส ทรงมีพระราชหัตถเลขาว่า

    “นั่งซึมอยู่คนเดียวรำคาญ คิดถึงลูกเหลือสติกำลัง เพราะอย่างไรๆ ก็ได้นั่งบดฝนพูดกันอยู่เสมอ ไม่มีเวลาที่ต้องซึม เจ็บฤาดีก็คงจะนั่งอยู่ด้วยได้ ทำงานก็นั่งอยู่ด้วยได้ ไม่เดือดร้อนทุรนทุรายที่จะต้องไปข้างไหน ไม่เหมือนผู้ชาย มันออกจะต้องแยกกันเป็นเจ้าคุณ มีท่ามีธุระของตัวไปตามๆ กัน”


    [​IMG]
    สมเด็จหญิงน้อย (พระองค์ขวาทรงพระภูษาซิ่นลายขวาง) ทรงฉายกับพระประยุรญาติ ในราว พ.ศ.๒๔๖๖ พระชันษาประมาณ ๓๗


    ....................................

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 0556.jpg
      0556.jpg
      ขนาดไฟล์:
      58.8 KB
      เปิดดู:
      12,963
    • 0557.jpg
      0557.jpg
      ขนาดไฟล์:
      43 KB
      เปิดดู:
      7,638
    • 0554.jpg
      0554.jpg
      ขนาดไฟล์:
      83.4 KB
      เปิดดู:
      9,186
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  5. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ความสนุกในพระบรมมหาราชวัง
    คัดจาก สารคดีที่น่ารู้ พระนิพนหม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล


    ในสมัยรัชกาลที่ ๕ การปล่อยลูกผู้หญิงออกจากบ้านตั้งแต่เช้าจนเย็นยังไม่มีใครนิยม แม้จะมีโรงเรียนอยู่แล้ว ๒ – ๓ โรงเรียนก็ดี การไปมาของเด็กก็จะต้องมีผู้ใหญ่เป็นผู้พาไปส่งและรับตามเวลา มีรถขึ้นกันเป็นพิเศษเรียกว่ารถโรงเรียน

    เด็กผู้หญิงส่วนมากได้รับการศึกษาในทางอ่านเขียนจากญาติหรือครูพิเศษมาสอนให้ที่บ้าน ส่วนวิชาช่าง กิริยามารยาท และความรู้รอบตัว มักจะส่งเข้าไปฝึกหัดในพระบรมมหาราชวัง ตามตำหนักพระมเหสีเจ้านายหรือเจ้าจอมต่างๆ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อถือกันอยู่ ฉะนั้นตามสำนักต่างๆ นี้จึงเป็นเสมือนคอลเล็จ Colleges ในสมัยนี้ และพระบรมมหาราชวังก็คือมหาวิทยาลัยนั่นเอง ที่จริงเสด็จพ่อของข้าพเจ้าไม่ได้ตั้งพระทัยจะให้ลูกๆ เข้าไปอยู่ในวังเลย เพราะพระองค์ท่านเป็นผู้จัดการศึกษามาแต่แรก จึงโปรดที่จะทดลองกับลูกๆ ก่อนผู้อื่น ที่วังมีโรงเรียนเล็กๆ ห้อง ๑ สำหรับให้พวกครูทดลองสอนเด็กๆ ก่อน ถ้าเป็นผลดีจึงจะทรงนำไปให้กระทรวงใช้ พวกลูกๆ เองเป็นผู้ขอเข้าไปอยู่ในวัง เพราะติดเจ้านายบ้าง ติดของเพชรบ้าง ติดพี่น้องเข้าไปบ้าง แม้เช่นนั้น เสด็จพ่อก็ทรงระวังเรื่องลูกไปทุกอย่าง แม้ในเวลาขัดสน มีเจ้านายบางพระองค์ตรัสว่า จะประทานยืมโดยไม่คิดดอกเบี้ย เสด็จพ่อก็ยังไม่ทรงรับ ด้วยตรัสกับพวกเราว่า “พ่อกลัวเป็นค่าตัวของพวกเธอ” ข้าพเจ้าเป็นลูกที่แม่ตั้งใจจะเลี้ยงเอง จนแม่เจ็บมาก จึงทูลขอให้เสด็จส่งเข้าไปในวังเสียให้สิ้นห่วง

    ข้าพเจ้าจึงเข้าไปอยู่ในวังกับพระวิมาดาเธอ กรมพระสุทธาสินีนารถ และสมเด็จเจ้าฟ้าหญิงนิภานภดล เมื่อมารดาข้าพเจ้าตาย อายุข้าพเจ้าได้ ๗ ขวบ ข้าพเจ้ามีพี่เลี้ยง ๒ คน คนหนึ่งชื่อบุญส่อ อีกคนหนึ่งชื่อแม่เยื้อน เวลา ๙ น. ครูมาสอนอ่านเขียนหนังสือในห้องใหญ่รวมกันหลายคน ถึงเวลาเที่ยงหยุดรับประทานอาหารกลางวันกับครู ถ้าโรงเรียนหยุด รับประทานอาหารกับสมเด็จหญิงทุกเวลา ฉะนั้นการกินขิงเราจึงเลอะเทอะไมได้ เลิกเรียนบ่าย ๔ โมง แล้วอาบน้ำแต่งตัวขึ้นไปอยู่กับสมเด็จหญิง การอยู่กับท่านนั้น ไม่ใช่ไปนั่งเท้าแขนอยู่เฉยๆ อย่างน้อยต้องหัดถักลูกไม้คอเสื้อชั้นในใส่เอง ถ้ามีงานของผู้ใหญ่ต้องช่วยเป็นลูกมือ เช่นเขาปักสะดึงกันก็ต้องคอยสนเข็มบ้าง เข้าไปส่งเข็มใต้สะดึงบ้าง จนเขาใช้ให้ทำแทนได้บางตอน ถ้าเป็นงานทำดอกไม้ก็เช่นเดียวกัน ผู้ใหญ่เขาใช้ให้ทำง่ายๆ ก่อนจนทำได้ไปเอง

    ถึงเวลาบ่ายราว ๕ โมงเศษ สมเด็จหญิงก็เสด็จขึ้นเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง เราก็ตามเสด็จขึ้นไปด้วย ต่างพระองค์ต่างก็มีเด็กที่เลี้ยงติดตามไปด้วย เป็นที่แห่งหนึ่งได้พบกันมากๆ เจ้านายท่านก็ทรงสนุกอยู่กับเจ้านาย เราเด็กก็กับเด็ก มีเล่นซ่อนหาเล่นเอาเถิดวิ่งแข่งตีนเดียวกันเป็นต้น ถ้าวันใดพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จออกข้างหน้าเร็ว เจ้านายฝ่ายในทรงมีเวลาว่างมาก ก็เสด็จกันไปเยี่ยมเยียนกันตามตำหนัก บางทีก็เสวยด้วยกันบ้าง ฉะนั้นพอเย็นลงทุกคนก็แต่งตัวกันสวยๆ ออกเดินกันเต็มถนนในวัง ตามถนนของขายต่างๆ ตั้งแต่ขนมของกินไปจนร้านขายผ้าขายของใช้ แม้หาบเร่ร้องขายเพราะๆ ก็มี

    ยิ่งถึงเวลาการงานยิ่งสนุกมากขึ้น เพราะพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงโปรดคิดทำอะไรแปลกๆ และสนุกอยู่เสมอ เช่นงานปีใหม่งานขึ้นพระที่นั่งขึ้นพระตำหนัก แม้ต้นพยอมที่ทรงปลูกออกดอก ก็มีการออกร้านของกินฉลองกันอยู่ใต้ต้นพยอมนั้น ข้าพเจ้าจำได้ชัดเจนคือการแต่งแฟนซีปีใหม่ มีเจ้านายทรงแต่งเป็นพระยาวอกองค์หนึ่ง ถึงวันพระยาระกาจะมาถึง ก็มีการเสด็จออกรับรองกันสนุก ทั้ง ๒ ฝ่ายมีบริวารตกแต่งเป็นไทยด้วยกันทั้ง ๒ ข้างเดินกระบวนแห่มาพบกันที่พระที่นั่งอัมพรสถาน มีการทักทายปราศรัยถามทุกข์สุขและให้พรกันแล้ว พระยาวอกก็ลากลับ

    พวกเราเด็กๆ ก็ได้รับพระราชทานตุ๊กตาแจกปีใหม่ด้วยเหมือนกัน อีกครั้งหนึ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกสุกนัก คืองานขึ้นเรือนต้น พระตำหนักไทยอย่างโบราณตรงริมอ่างหยกหลังพระที่นั่งอุดร ทุกอย่างจัดเป็นไทยและโปรดให้เด็กๆ เป็นผู้ขายของ เพราะจะได้เดินขายได้ทั่วข้างหน้าข้างใน เด็กเล็กหน่อยก็จะให้กระจาดใบเดียว เด็กโตหน่อยให้หาบด้วยไม้คาน ข้าพเจ้ากระเดียดกระจาดขายทอดมันกุ้ง หญิงเหลือกระจากไส้กรอกปลาแนม แม่ช้องหาบข้าวเหนียวหน้าต่างๆ ที่จำได้เพราะแม่ช้องหกล้มข้าวเหนียวหกแล้วนั่งร้องไห้เลยจำได้ดี

    ครั้งหลังที่สุดในรัชกาลที่ ๕ คือทรงทอดผ้าป่าที่วัดราชาธิวาส เจ้านายผู้ชายทรงทำของถวายพระเป็นองค์ๆ ไป ที่ข้าพเจ้าจำได้คือโสมเฝ้าทรัพย์ เข้าใจว่าเป็นของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช มีเปรตสูงยืนอยู่ปากหลุมตาวาวด้วยไฟ เสียงร้องหวี้ดๆ เป็นระยะๆ ในหลุมนั้นมีของกินห่อเป็นทองตุ่มหนึ่งเป็นเงินตุ่มหนึ่งกำลังไหลออกจากปากตุ่มกองอยู่บนพื้นดินให้แลเห็น ของเสด็จพ่อเป็นที่เผาศพเชิงตะกอนทำด้วยอ้อย มีผีนอนอยู่ และพระกำลังเข้าไปชักบังสุกุล ทุกสิ่งทำด้วยของกินจัดขึ้นปั้นขึ้นเป็นรูปต่างๆ อีกแห่งหนึ่งที่เราเด็กๆ สนุกนัก คือป่าช้าเมืองนคร จำไม่ได้ว่าเป็นของใครทำ เอาต้นไม้มาปักเป็นป่าหมู่หนึ่ง แล้วมีศพห่อเฝือกห้อยอยู่ตามต้นไม้เป็นต้นๆ ในเฝือกนั้นเต็มไปด้วยของกิน มีน้ำตาลหม้อไหลเยิ้มออกมาเหมือนสิ่งปฏิกูลต่างๆ ใต้ต้นไม้เหล่านั้นบางต้นมีผีนั่งพิงต้นไม้อยู่ตัวดำๆ ตาโตแลบลิ้นแดงยาวลงมาถึงหน้าอก

    ถึงเวลาเดินเที่ยวดูกัน พวกผู้ใหญ่ท่านก็สนุกในทางความคิดทางฝีมือช่าง ว่าทำเหมือนหรือไม่ เหมือนด้วยวัตถุอะไรและเป็นการปลงสังเวชไปด้วย แต่พวกเราเด็กๆ ที่เดินตามกันไป สนุกในการอยากรู้อยากเห็น แต่กลัวเหลือกำลังเดินใจเต้นแทบกระโดดออกมาทางปาก ครั้นถึงป่าช้าอันนี้เราก็เดินตัวสั่นเพราะกลัวเจ้าตัวที่นั่งแลบลิ้นอยู่ใต้ต้นไม้ เผอิฐมีเด็กผู้ชายคนหนึ่งจำไม่ได้ว่าใคร เกิดเข้าไปดูว่าคนหรือตุ๊กตา ผีนั้นก็ทำตาแข็ง ทำให้เกิดเสียงกันขึ้นว่าคนหรือไม่ใช่ เด็กคนนั้นเกิดความคิดที่จะพิสูจน์ ฉวยเอากิ่งไม้อันหนึ่งจิ้มเข้าที่ท้อง เท่านั้นผีก็ถลึงตาเสียงดัง – ฮึ เราก็วิ่งร้องกันกรี๊ดกร๊าดเอะอะ เลยถูกเอ็ดกันทั้งกองว่าซนไม่เข้าเรื่อง ได้ความภายหลังว่าผีนั้นคือตาเกริ่นตลกนั่นเอง

    นอกจากของถวายพระเหล่านั้นแล้ว ยังมีละครตลกตอนแต่งงานพระไวย เล่นฉลองผ้าป่าด้วย เราชอบเสียจริงจัง ถึงลงนอนหัวเราะกลิ้งอยู่ข้าพระเก้าอี้ ส่วนทางน้ำก็มีแพจอดเป็นหลังๆ และมีเรือของวังเจ้านายต่างวังทำอาหารพายขาย วังไหนมีชื่อเสียงว่าทำอะไรดีก็ทำสิ่งนั้นมาขาย จำได้ว่าเรือหม่อมแช่มกรมหลวงอดิศรฯ ขายขนมเบื้องอ้าปาก เรือหม่อมละม้ายกรมหมื่นทิวากรฯ ขายขนมลูกชุบ เรือเจ้าจอมมารดาชุ่มรัชกาลที่ ๔ (คุณย่าของข้าพเจ้า) ขายไอศกรีมรังนก และมีอีกหลายลำทั้งคาวหวาน พวกซื้อรับประทานอยู่บนแพ ขายเท่าไรก็ส่งเข้าวัดหมด

    งานวัดเบญจมบพิตรนั้น มีออกเป็นร้านประจำปี เรียกว่าวัดเป็นงานหนึ่งที่หนุ่มสาวเขาไปทำความรู้จักกัน เพราะต่างคนมีร้านก็ต้องมีครอบครัวพวกพ้องไปประจำ เสร็จงานแล้วมักจะมีการพิธีสมรสหลายคู่ ส่วนเราเด็กๆ ก็สนุกในการได้แจกสตางค์ให้เที่ยววิ่งเล่น เสร็จงานแล้ว พี่เลี้ยงมักจะรวยเพราะเรายังไม่รู้จักใช้สตางค์ ข้าพเจ้ามีหน้าที่อย่างหนึ่งในงานนี้ คือต้องขายน้ำชาในเวลาพระเจ้าอยู่หัวเสวยอย่างนึ่ง และต้องนั่งละเลงขนมเบื้องไทยขายทางหน้าร้านอีกอย่างหนึ่ง เพราะพระวิมาดาเธอ (ข้าพเจ้าเรียกท่านว่า เจ้าพี่องค์เล็ก) ทรงว่าห้องเครื่องต้น จึงทรงออกร้านของกิน โปรดให้สาวๆ ละเลงขนมเบื้องขายทางฝ่ายใน และพวกเราเด็กๆ ขายทางฝ่ายหน้า ถ้าเจอะคนกินใจป้ำเช่นเจ้าคุณปฏิพัทธ์ภูบาล เรามักจะขายได้แผ่นละหลายๆ บาท เพราะคงเห็นว่าน่าเอ็นดูที่เด็กทำได้

    พวกอยู่ในสำนักพระวิมาดาเธอนี้ โดยมากมักจะทำอาหารกินเป็น เพราะต้องเห็นต้องช่วยอยู่เสมอ สำหรับข้าพเจ้านั้นพออายุได้ ๑๐ ขวบ เจ้าพี่องค์เล็กก็โปรดให้ไปทำขนมกับท่านอาของหวาน คือ หม่นเจ้าหญิงคอยท่าปราโมท ในห้องเครื่องต้น พอกลับจากเรียนหนังสือต้องไปในห้องเครื่องก่อน แล้วจึงจะกลับไปอาบน้ำขึ้นไปเฝ้า ถ้าถึงฤดูกุ้งก็ตั้งเตาหัดละเลงขนมเบื้องกันเป็น ๒ แถว แถวหนึ่งพวกสาวๆ แถวหนึ่งพวกเด็กๆ มีหม่อมเพื่อนเป็นอาจารย์ใหญ่เดินตรวจแถวเอ็ดไปว่าไปจนทำได้ เมื่อจบการช่างตอนกลางวันแล้ว ค่ำลงมักจะอ่านหนังสือถวายทรงฟังบ้าง บางทีสมเด็จหญิงก็ทรงเขียนลายพระหัตถไว้ให้ลอกตามแบบ ซึ่งในเวลานั้นมีแต่ ม.ร.ว. จิณ ลัดดาวัลย์ และข้าพเจ้า ๒ คนเท่านั้น ที่เขียนได้เหมือนลายพระหัตถ์สมเด็จหญิงเป็นอันมาก บัดนี้ข้าพเจ้าเลอะเลือนจนไม่เหมือนเสียแล้ว

    ในเวลาเสด็จไหนๆ ก็ตามเสด็จไปทุกแห่ง ได้พบเห็นได้ความรู้อยู่เสมอทุกวัน ถ้ากลับมาไม่รู้ไม่เห็นอะไร หรือไปทำอะไรผิดมาเช่นไหว้คนไม่ถูก หรือไปนั่งบังหน้าใครมา ก็ทรงติเตียนว่าเหลวไหลอย่างนั้นๆ ทำให้รู้จักสังเกตและมีไหวพริบดีขึ้นเสมอ แม้เวลานอนก็นอนอยู่หน้าพระที่สมเด็จหญิง ฉะนั้นเด็กสมัยข้าพเจ้าจึงไม่เคยห่างผู้ใหญ่เลยตั้งแต่เช้าจนค่ำ มีเด็กบางคนร้องไห้ดื้อดึงไม่ยอมเข้าวังอีก แต่สำหรับข้าพเจ้าแม้จะติดเสด็จพ่อเสียเหลือเกิน ก็ไม่เคยร้องไห้เลย อาจจะเป็นเพราะข้าพเจ้าได้ประทานอนุญาตให้ออกไปเฝ้าเสด็จพ่อได้ อย่างไรก็ดีเป็นสิ่งพิสูจน์ได้อย่างนึ่งว่าเจ้าพี่องค์เล็ก และสมเด็จหญิงของข้าพเจ้าได้ทรงพระกรุณาแก่ข้าพเจ้าอย่างเหลือล้น ทั้งทางกายและทางใจ ข้าพเจ้าไม่เคยรู้สึกเสียใจเลยว่าได้เข้าไปอยู่กับพระองค์ท่านจนบัดนี้


    ............................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  6. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    สําหรับผู้ใช้งานเฟสบุ๊คส์ ฝากเพจ ราชสกุลอาภากร ด้วยนะครับ
    เป็นเพจอย่างเป็นทางการของทางมูลนิธิเพิ่งจัดทําเสร็จเมื่อวานนี้ครับ
    มูลนิธิราชสกุลอาภากร | Facebook

    ขอรบกวนพื้นที่ประชาสัมพันธ์ในส่วนนี้ก่อนแต่เพียงเท่านี้ ขอบคุณครับ

    <TABLE style="MARGIN: 10px 0px" class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 425><THEAD><TR><TD style="TEXT-ALIGN: center" class=tcat colSpan=2></TD></TR></THEAD><TBODY><TR><TD class=panelsurround align=middle><EMBED height=350 type=application/x-shockwave-flash width=425 src=http://www.youtube.com/v/vE0SVpN_ZmE wmode="transparent" allowfullscreen="true"></EMBED></TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <!-- google_ad_section_end -->
     
  7. อุตฺตโม

    อุตฺตโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1,688
    ค่าพลัง:
    +1,931
    ...........23 ตุลาคม 2554 ครบรอบวันสวรรคต.......

    .............น้อมถวายบังคมองค์พระปิยมหาราชา.......

    ............................ด้วยใจจงรักภักดีและเคารพอย่างสูงสุด.....................
     
  8. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]


    เนื่องในวันคล้ายวันเสด็จสวรรคตครบรอบ ๑๐๑ ปี
    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระปิยมหาราช

    [​IMG]<!-- google_ad_section_end -->​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • NDVD_061.jpg
      NDVD_061.jpg
      ขนาดไฟล์:
      179.3 KB
      เปิดดู:
      16,117
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  9. พรรณนา

    พรรณนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    415
    ค่าพลัง:
    +1,178
    ขอให้พระองค์เสด็จตามรอยองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ด้วยเทอญ.....

    น้อม รฤก ถึงพระมหากรุณาธิคุณมากล้น สุดประมาณมิได้

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอให้พระองค์ทรงพระเจริญ
     
  10. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ธรรมเนียมเจ้านายดำเนินตามลำดับยศ

    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ในเรื่อง "ธรรมเนียมราชตระกูลในสยาม" เมื่อเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปีที่ ๑๑ พ.ศ.๒๔๒๑ โดยทรงกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ ๒ ตอน คือ
    ตอนที่ ๑ (๘๘) เจ้านายดำเนินตามลำดับยศคำนำพระนามเจ้านายซึ่งต่างกรมทุกๆ ชั้น ต้องทรงศักดินาตามลำดับยศเดิมในคำนำพระนาม ที่ว่าอะไรเธอ ถึงจะเป็นกรมใหญ่เล็กเท่าใด ศักดินาก็คงเสมอกันตามยศนั้น ถึงจะเป็นต่างกรมแล้วฤาเป็นพระองค์เจ้าอยู่ ถ้าเวลาจะมีเดินไปข้างไหน พร้อมๆ กัน ก็ต้องเดินตามลำดับยศที่มีคำนำหน้าพระนามสูงต่ำ เดินตามลำดับกับพระชนมพรรษาในพวกเดียวกัน คือถ้าพี่ยังไม่ได้เป็นกรม น้องเป็นกรมก่อน ก็ต้องเดินตามหลัง พี่ที่ยังไม่ได้เป็นกรมนั้นตามเดิม
    ในตอนที่ ๒ พระราชนิพนธ์ข้อที่ ๙๔ ทรงลำดับยศเจ้านายที่จะต้องดำเนินเป็นลำดับกันอย่างละเอียด
    ซึ่งการดังกล่าวเป็นการสมควรฤาที่เคยเป็นธรรมเนียมรู้อยู่ด้วยกันทุกคนว่าต้องเดินดังนี้ แต่บางทีเจ้าฟ้าที่ท่านอยู่สำรับชั้นเอก ด้วยกันท่านยอมเดินหลังเจ้านายชั้นซึ่งท่านเป็นพี่ป้า น้าอา ผู้ใหญ่ เพื่อจะให้เป็นการเคารพ แลเป็นการอ่อนน้อมก็มี แต่ท่าน ผู้ที่เดินหน้าก็ไม่สู้จะเต็มใจ เมื่อเวลาถึงยศจริงๆ ก็ต้องเป็นไปตามลำดับดังนี้ ที่ลดหย่อนให้กันนั้นเป็นการภายใน แต่ที่จะยอมให้ไขว้กันคือชั้นเอกจะไปเดินหลังชั้นโท ชั้นตรีนั้นไม่ได้
    ทรงพระราชนิพนธ์ลงท้ายในเรื่องนี้เอาไว้ว่า ลำดับยศและธรรมเนียมต่างๆ ของเจ้านายฝ่ายในนั้นก็เช่นเดียวกันกับทางฝ่ายหน้า

    เรื่องชิงดำเนินหน้าหลังของเจ้านายฝ่ายในนี้ เคยมีอยู่ครั้งหนึ่ง สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถวายสมเด็จฯ เจ้าฟ้า กรมพระยา นริศรานุวัติวงศ์ ในสาสน์สมเด็จ ว่า
    "เพราะมีเหตุทางวังหลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแรกผ่านพิภพ พวกหม่อมเจ้าหญิงในกรมหลวงพิทักษ์มนตรีทะนงตัวขึ้นเดินหน้า พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อเจ้านายผู้หญิงออกไปเฝ้าที่พลับพลา ด้วยถือตัวว่าเป็นญาติสนิทกว่า ถูกพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกริ้ว"

    กรมหลวงพิทักษ์มนตรี คือ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรีเป็นพระอนุชา ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีในรัชกาลที่ ๒ ซึ่งเป็นสมเด็จพระพันปีหลวง รัชกาลที่ ๔ บรรดาหม่อมเจ้าหญิงตามในสาส์นสมเด็จ หากนับญาติอย่างชาวบ้านแล้วก็เป็นลูกผู้น้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทางมารดา จึงถือว่าสนิทกว่าพระราชบิดาในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นลูกผู้น้องของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทางมารดาจึงถือว่าสนิทกว่าพระราชธิดาในรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นลูกลุงทางบิดา

    ที่มา :
    จุลลดา ภักดีภูมินทร์. "ธรรมเนียมเจ้านายดำเนินตามลำดับยศ," สกุลไทย. ปีที่ ๕๔ ฉบับที่ ๒๘๐๑ : ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๑ : หน้า ๗๖ - ๗๗.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 010b.png
      010b.png
      ขนาดไฟล์:
      117.2 KB
      เปิดดู:
      10,718
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  11. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    งานแฟนซี

    [​IMG]


    ๑.หม่อมเจ้าจุลดิศ ดิศกุล
    ๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์ กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม
    ๔. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าไตรทศประพันธ์ กรมหมื่นเทววงศ์วโรทัย
    ๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์
    ๖. หม่อมเจ้าสุธาสิโนทัย เทวกุล
    ๗. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสมมติวงศ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธำรงฤทธิ์
    ๙. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    ๑๐. หม่อมเจ้าถาวรมงคลวงศ์ ไชยันต์
    ๑๑. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิพันธ์ภาณุพงศ์ กรมหมื่นภาณุพงศ์พิริยเดช
    ๑๒. พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดนัยวรนุช
    ๑๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยูรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
    ๑๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
    ๑๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน


    ..................................................................

    [​IMG]

    พระราชธิดาในรัชกาลที่๕



    ๑. พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
    ๒. พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท
    ๓. สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์
    ๔. พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ
    ๕. พระองค์เจ้าทิพยาลังการ
    ๖. สมเด็จเจ้าฟ้านิภานภดล
    ๗. สมเจ้าฟ้าศิราภรณ์โสภณ
    ๘. พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา
    ๙. พระองค์เจ้าประภาพรรณพิไลย
    ๑๐. พระองค์เจ้าวาปีบุษบากร
    ๑๑. พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา
    ๑๒. พระองค์เจ้าเหมวดี
    ๑๓. สมเด็จเจ้าฟ้ามาลินีนพดารา
    ๑๔. พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี




    ..................................................................


    [​IMG]




    พระราชธิดาในรัชกาลที่ ๕

    แถวหน้า (ล่างสุด)
    ๑.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทิพยาลังการ
    แถวกลาง (นั่ง)
    ๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนพดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอดิศัยสุริยาภา
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทรทิพยนิภา
    แถวหลัง (ยืน)
    ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุจิตราภรณี
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชา
    ๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Royal-Child1.jpg
      Royal-Child1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      95.7 KB
      เปิดดู:
      9,122
    • 6932705-1.jpg
      6932705-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      254.5 KB
      เปิดดู:
      32,893
    • 9056_800.jpg
      9056_800.jpg
      ขนาดไฟล์:
      467.1 KB
      เปิดดู:
      17,705
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2013
  12. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๔

    [​IMG]

    จากซ้ายไปขวา

    แถวหลัง

    ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากนกวรรณเลขา
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา
    ๔. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุษบันบัวผัน
    ๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร
    ๖. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอรุณวดี
    ๗. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนงค์นพคุณ

    แถวกลาง

    ๑. สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีนาคสวาดิ
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมาวดี ศรีรัตนราชธิดา กรมหลวงสมรรัตนสิริเชษฐ์
    ๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณิการ์แก้ว กรมขุนขัตติยกัลยา
    ๕. สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

    แถวหน้า

    ๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประไพศรีสอาด
    ๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์
    ๓. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเสาวภาคย์พรรณ
    ๔. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประสานศรีใส
    ๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าแขไขดวง​
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 341.JPG
      341.JPG
      ขนาดไฟล์:
      125.2 KB
      เปิดดู:
      9,611
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  13. ddandhappy

    ddandhappy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +25
    ชอบรูปพระบรมรูปทรงม้ารูปนี้มาก เห็นมานานแล้ว (แอบ Save เก็บไว้ด้วย ) และมีโอกาสได้มาเห็นอีกครั้งพร้อมกาพย์ห่อโคลง ... ประทับใจค่ะ
     
  14. ddandhappy

    ddandhappy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +25
    ขออนุญาตลงภาพนี้ไว้ที่กระทู้ "แผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง" ด้วยนะคะ เพราะมีความประทับใจ มีความปลื้มใจ และ มีความซาบซึ้งใจเหลือเกิน

    สำหรับภาพนี้ ได้มีโอกาสไปพบเจอและเก็บเอาไว้ (ไม่ใช่ตัวเองที่เป็นคนถ่าย แต่ถึงอย่างไรก็ขอขอบพระคุณเจ้าของที่ถ่ายภาพนี้ไว้ ณ. ที่นี้)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    [​IMG]

    ขยายให้ ^^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2013
  16. ddandhappy

    ddandhappy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +25
    โอ้โห !! ดูดีขึ้นเยอะเลย รู้สึกเหมือนกันว่าเล็กเกิ๊นน เล็กไปมั้ย แต่หนูทำมิด้ายยที่ให้ขยายใหญ่ขึ้นน่ะ

    คุณพี่สร้อยฟ้าน่ารักที่สุดเลย.....

    ขอบคุณนะค้าาา
     
  17. ddandhappy

    ddandhappy Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 เมษายน 2012
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +25
    "ถ้าความเปนเอกราชของกรุงสยามได้สิ้นสุดไปเมื่อใด"<O:p</O:p
    ชีวิตฉันก็คงจะสุดสิ้นไปเมื่อนั้น"
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    <IFRAME height=480 src="http://www.youtube.com/embed/6u5PSvtSUjs" frameBorder=0 width=640 allowfullscreen></IFRAME>


    ..............................................​
    <!-- google_ad_section_end -->
     
  19. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    19,158
    ค่าพลัง:
    +43,837
    จุฬา ตรีคูณ


    ด้วยบทเพลง บรรเลงเงื่อน เตือนให้คิด
    ครวญพินิจ ตะขิดขวง น่าหน่วงว่า
    เปรยเป็นบท ละคร ซ่อนบังตา
    ช่างคลับคลา ว่าเรื่อง เนื่องสายธาร


    เหมือนเหลือเกิน ดำเนินการณ์ วารวันร้าย
    ตกต้องตาย ในสายชล โดนประหาร
    สายจุฬา มาประเทียบ เลียบลำธาร
    สุดพิจารณ์ ตรี อนงค์ ลงที่เรือ


    กระบวนใหญ่ ไพศาล อุฬารยศ
    ให้ปรากฎ เห็นตาม ช่างงามเหลือ
    พระนางน้อง พ้องสรรพ ประทับเรือ
    มิเคยเชื่อ เจือแฝง แสร้งอุบาย


    จึงปรากฎ สลดเจตน์ เหตุวิโยค
    ยังความโศก กำสรด มิปลดหาย
    สังเวยสิ้น อินทรีย์ นี้มลาย
    ว่ามิรู้ ผู้ปองร้าย หรือภัยพาล


    ..............................................

    ๓๑ พฤษภาคม ๒๔๒๓

    ...............................................

    สร้อยฟ้ามาลา แห่งเว็ปไซด์พลังจิต เป็นผู้ประพันธ์กลอนสุภาพนี้

    ประกาศให้ทราบไว้ ทั่วกัน


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2018
  20. Vatairat

    Vatairat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,675
    ค่าพลัง:
    +2,294
    ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
     

แชร์หน้านี้

Loading...