พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.crma.ac.th/msdept/nana_sara01.htm

    <TABLE id=table3 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffff00>ประวัติธงชาติไทย

    </TD></TR><TR><TD>ธงชาติไทยจะมีตั้งแต่เมื่อใดไม่ปรากฏแน่ชัด เท่าที่พบหลักฐานเชื่อกันได้ว่าน่าจะเกิดขึ้น ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพราะปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุของฝรั่งเศสกล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2223 เรือรบของฝรั่งเศสชื่อ เลอรโวตูร์ มีมองซิเออร์ คอนูแอน เป็นนายเรือ ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อเจริญพระราชไมตรีและการค้า นายเรือได้สอบถามทางกรุงศรีอยุธยา ถ้าจะยิงสลุตให้แก่ชาติไทย เมื่อเรือผ่านป้อมวิไชเยนทร์ ( ปัจจุบันคือป้อมวิชัยสิทธิ์ ) ตามประเพณีของชาวยุโรป จะขัดข้องหรือไม่สมเด็จพระนารายณ์ทรงอนุญาต และรับสั่งให้เจ้าเมืองบางกอก คือ ออกพระศักดิ์สงคราม ให้ทางป้อมยิง สลุตตอบด้วย ในการที่เรือรบฝรั่งเศลจะยิงสลุตให้นั้น ทางป้อมจะชักธงชาติขึ้น แต่เวลานั้นธงชาติไทยยังไม่มี จึงชักธงชาติฮอลันดาขึ้นแทน แต่ฝรั่งเศสไม่ยอมยิงสลุต เพราะเห็นว่าไม่ใช่ธงประจำชาติไทย และแจ้งให้ทราบว่า หากไทยประสงค์จะให้ฝรั่งเศสยิงสลุตให้เอาธงฮอลันดาลง แล้วชักธงอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้นแทน เผอิญในสมัยนั้นผ้าแดงเป็นผ้าที่หาได้ง่ายกว่าผ้าอื่น ไทยจึงทำธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วชักขึ้น ฝรั่งเศสจึงยิงสลุตให้นับตั้งแต่นั้นมาไทยก็ถือเอาธงสีแดงเป็นธงชาติไทย

    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table4 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงพระราชดำริว่า เรือราษฎรควรจะมีเครื่องหมายสำคัญให้เห็นแตกต่างกัน จึงมีพระบรมราชโองการเหนือกล้าฯ สั่งให้บรรดาเรือหลวงทำรูปจักรอันเป็นนามสัญญาพระบรมราชวงศ์ไว้กลางธงพื้นแดง เป็นเครื่องหมายสำหรับเรือหลวง
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table5 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดให้สร้างเรือกำปั่นหลวง 2 ลำ สำหรับการค้าของรัฐบาล ระหว่างกรุงเทพฯ กับสิงคโปร์และมาเก๊า เรือสองลำนี้ชักธงแดงเป็นสัญลักษณ์ เจ้าเมืองสิงคโปร์ซึ่งเป็นชาวอังกฤษบอกให้นายเรือเข้ามากราบทูลว่า เรือของชวาและมลายูก็ชักธงแดงเหมือนกัน ขอให้เปลี่ยนไปใช้ธงอย่างอื่น ประกอบกับในรัชสมัยของพระองค์ได้ช้างเผือกถึง 3 เชือก นับเป็นปรากฏการณ์พิเศษจึงโปรดฯ ให้ทำรูปช้างเผือกลงไว้กลาง วงจักรในเรือหลวงด้วย ส่วนเรือพ่อค้าอื่น ยังคงใช้ธงแดงตามเดิม
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table6 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ครั้นถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2398 ทรงดำริถึงการใช้ธงแดงว่าไม่เป็นการสมควรให้มีธงเหมือนอย่างเรือหลวง แต่รูปจักรเป็นของสูงไม่สมควรใช้ทั่วไป จึงโปรดฯ ให้ยกรูปจักรออกเสียเหลือแต่รูปช้างเผือกบนพื้นแดงและโปรดฯ ให้ทำธงสำหรับพระองค์ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง พื้นนอกสีแดง พื้นในสีขาบ กลางมีมหาพิชัยมงกุฎ และเครื่องสูง 7 ชั้นสองข้าง สำหรับชักขึ้นบนเสาเรือพระที่นั่ง และใช้ชักบนเสาในพระบรมมหาราชวังด้วย
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table7 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ลงวันที่ 25 มีนาคม ร.ศ.110 (พ.ศ.2434) กำหนดธงต่าง ๆ ถึง 13 ชนิด นับเป็นพระราชบัญญัติธงฉบับแรกของประเทศไทย ในพระราชบัญญัตินี้ได้กำหนดธงชาติไทยไว้เป็นที่แน่นอน เรียกว่า " ธงชาติสยาม " มีลักษณะเป็นรูปธงช้างเผือก พื้นสีแดง ใช้สำหรับเรือกำปั่นและเรือทั้งหลายของพ่อค้าทั่วไป ส่วนเรือหลวงใช้ธงช้างเผือกทรงเครื่องยืนแท่น ที่มุมธงข้างบนมีจักรสำหรับชักท้ายเรือพระที่นั่ง
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table8 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ใน พ.ศ.๒๔๖๐ ได้มีการแก้ไขลักษณะธงชาติอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากขณะนั้น ประเทศไทยได้ประกาศตนเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรเพื่อรบกับเยอรมันนี ออสเตรีย และฮังการี ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า การประกาศสงครามครั้งนี้ นับเป็นความเจริญก้าวหน้าขั้นหนึ่งของประเทศ สมควรจะมีสิ่งเตือนใจสำหรับวาระนี้ไว้ในภายหน้า สิ่งนั้นควรได้แก่ธงชาติ ทรงเห็นว่าลักษณะที่ได้แก้ไขไปแล้วใน พ.ศ.๒๔๕๙ นั้น ยังไม่สง่างามเพียงพอ จึงโปรดเกล้าฯ ให้เพิ่มแถบสีน้ำเงินขึ้นอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของนานาประเทศที่ใช้กันอยู่โดยมากในขณะนั้น เพื่อให้เป็นเครื่องหมายว่าประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับฝ่ายสัมพันธมิตร เพื่อต่อต้านปราบปรามฝ่ายอธรรม อีกประการหนึ่ง สีน้ำเงินก็เป็นสีประจำพระชนมวารเฉพาะของพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรจะประกอบไว้ในธงชาติไทยด้วยประการทั้งปวง
    การเปลี่ยนธงชาติในครั้งนี้ จมื่นอมรดรุณารักษ์ (แจ่ม สุนทรเวช) ซึ่งรับราชการใกล้ชิดพระยุคลบาทในขณะนั้น ได้เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะของธงชาติว่า พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริจะเปลี่ยนธงช้างเป็นธงแถบสี เพราะทรงเห็นความลำบากของราษฎรที่ต้องสั่งซื้อธงผ้าพิมพ์รูปช้างมาจากต่างประเทศ และบางครั้งเมื่อเกิดความสะเพร่าติดธงผิด รูปช้างกลับเอาขาชี้ขึ้น เป็นที่น่าละอาย หากเปลี่ยนเป็นธงแถบสี ราษฎรก็สามารถทำธงใช้ได้เอง และจะช่วยขจัดปัญหาการติดผิดพลาด ได้ทรงพยายามเลือกสีที่มีความหมายในทางความสามัคคีและมีความสง่างาม
    ก่อนออกพระราชบัญญัติฉบับใหม่ ได้ทรงทดลองใช้ธงริ้วขาวแดงติดอยู่ที่สนามเสือป่าหลายวัน ภายหลัง จึงตกลงพระทัยใช้สีน้ำเงินแก่ เพิ่มขึ้นอีกสีหนึ่ง

    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE id=table9 width="78%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ต่อมาโปรดให้ตราพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 116 และพระราชบัญญัติธง รัตนโกสินทร์ศก 129 ได้กำหนดธงไว้ถึง 20 ชนิด ธงชาติยังคงมีลักษณะเดิม ธงชาติดังกล่าวนี้ใช้เรื่อยมาจนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยเข้าร่วมสงครามโดยเข้ากับฝ่ายสัมพันธมิตร คือ ยุโรป อเมริกา และเอเชีย ประกาศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรียและฮังการี รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าประเทศไทย ได้ก้าวขึ้นสู่ความเจริญสมควรมีอภิลักขิตวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงสมัยนี้ จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสำหรับชาติสยามที่มียังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรเพิ่ม
    สีน้ำเงินอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตร คือ ยุโรป อเมริกา และเอเชีย ประเทศสงครามกับเยอรมนี ออสเตรีย และฮังการี รัชกาลที่ 6 ทรงเห็นว่าประเทศไทย ได้ก้าวขึ้นสู่ความเจริญสมควรมีอภิลักขิตวัตถุ เพื่อเป็นเครื่องเตือนให้ระลึกถึงสมัยนี้ จึงทรงพระราชดำริว่า ธงสำหรับชาติสยามที่มียังไม่เป็นสง่างามพอสำหรับประเทศ สมควรเพิ่มสีน้ำเงินอีกสีหนึ่งเป็นสามสี ตามลักษณะธงชาติของประเทศที่เป็นสัมพันธมิตรใช้อยู่โดยมาก เพื่อเป็นเครื่องหมายว่าประเทศสยามได้เข้าร่วมทุกข์ร่วมสุข เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับสัมพันธมิตรหมู่ใหญ่ ช่วยกันปราบปราม ประกอบกับสีน้ำเงินเป็นสีอันเป็นสิริแก่พระชนวาร นับว่าเป็นสีเครื่องหมายเฉพาะพระองค์ด้วย จึงเป็นสีที่สมควรประกอบไว้ในธงชาติด้วย จึงทรงตราพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2460 เรียกว่า ธงชาติสยาม มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนาดกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน มีแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 3 ของขนาดกว้าง แห่งธงอยู่ตรงกลาง มีแถบขาวกว้าง 1 ส่วน ซึ่งแบ่ง 6 ของขนาดกว้างแห่งธงข้างละแถบ แล้วมีแถบสีแดงกว้างเท่ากับสีขาว ประกอบชั้นนอกอีกข้างละแถบ ธงชาติสยามอย่างนี้ให้เรียกว่า " ธงไตรรงค์ " และถึงแม้จะมี พระราชบัญญัติธง พุทธศักราช 2479 แก้ไขเปลี่ยนแปลงพระราชบัญญัติธงอีก แต่ธงชาติ ก็มีลักษณะเหมือนกับธงไตรรงค์เพียงแต่ใช้คำพูดให้รัดกุมยิ่งขึ้นว่า
    " ธงชาติ รูปสี่เหลี่ยม มีขนาดกว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้าง 2 ใน 6 ส่วน ตรงกลางเป็นสีขาบ ( สีขาบ คือ สีน้ำเงินเข้มอมม่วง ) ต่อจากสีขาบออกไปทั้งสองข้างข้างละ 1 ใน 6 ส่วน เป็นแถบสีขาว ต่อจากสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้าง เป็นสีแดง ธงชาตินี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ "
    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    <TABLE id=table10 width="70%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>ที่มา : สำนึกศิลปวัฒนธรรม (http://www.rits.ac.th/service/office/art/thong-chart.html#two)</TD></TR></TBODY></TABLE>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • flag-red1.gif
      flag-red1.gif
      ขนาดไฟล์:
      393 bytes
      เปิดดู:
      85
    • flag-red2.gif
      flag-red2.gif
      ขนาดไฟล์:
      3 KB
      เปิดดู:
      55
    • flag-red3.gif
      flag-red3.gif
      ขนาดไฟล์:
      3.4 KB
      เปิดดู:
      53
    • flag-red4.gif
      flag-red4.gif
      ขนาดไฟล์:
      6.2 KB
      เปิดดู:
      60
    • flag-red5.gif
      flag-red5.gif
      ขนาดไฟล์:
      3.6 KB
      เปิดดู:
      55
    • flag-redwhite.gif
      flag-redwhite.gif
      ขนาดไฟล์:
      929 bytes
      เปิดดู:
      57
    • flag-trirong.gif
      flag-trirong.gif
      ขนาดไฟล์:
      1,007 bytes
      เปิดดู:
      52
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sudadeesiri&month=25-06-2007&group=2&gblog=1

    ภาพทรงผนวชในอดีต


    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพถ่ายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม[/SIZE]




    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพถ่าย ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๖ [/SIZE]
    [SIZE=-1]จากซ้ายไปขวา[/SIZE]
    [SIZE=-1]๑. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งทรงผนวช[/SIZE]
    [SIZE=-1]๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค็เจ้าอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ[/SIZE]
    [SIZE=-1]๓. พระสุคุณคณาภรณ์ (นิ่ม) วัดเครือวัลย์[/SIZE]
    [SIZE=-1]๔. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์ (สมเด็จท่านนี้ สร้างพระกริ่งปวเรศฯ เป็นที่โด่งดัง หายากและมีราคาแพงมาก)[/SIZE]
    [SIZE=-1]๕. พระจันทรโคจรคุณ (ยิม จันทรังสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม[/SIZE]
    [SIZE=-1]๖. พระพิมลธรรม(สมเด็จพระวันรัต ทับ พุทธสิริ) วัดโสมนัสวิหาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]๗. พระอริยมุนี (พระพรหมมุนี เหมือน สุมิตฺโต) วัดบรมนิวาส[/SIZE]
    [SIZE=-1]๘. พระพรหมมุนี (สมเด็จพระพุฒาจารย์ ศรี) วัดปทุมคงคา[/SIZE]
    [SIZE=-1]๙. พระสาสนโสภณ (สมเด็จพระสังฆราชสา ปุสฺสเทโว) วัดราชประดิษฐ์ พระราชกรรมวาจาจารย์[/SIZE]




    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ปี พ.ศ. ๒๔๔๗[/SIZE]




    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐[/SIZE]




    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]</CENTER>[/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (พระบิดาของในหลวงองค์ปัจจุบัน) เมื่อครั้งทรงผนวชเป็นสามเณร ปี พ.ศ. ๒๔๔๗ และสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นพระอุปัชฌาจารย์[/SIZE]




    [SIZE=-1]<CENTER>[​IMG][/SIZE]
    [SIZE=-1]ภาพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฏราชกุมาร[/SIZE]
    [SIZE=-1]ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๑</CENTER><!-- End main-->[/SIZE]

    [SIZE=-1]<TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="50%">[SIZE=-1]Last Update : 7 กรกฎาคม 2550 19:39:00 น. [/SIZE]</TD><TD><TD>
    [SIZE=-1]0 comments[/SIZE] ​


    </TD></TR></TBODY></TABLE>[/SIZE]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 1182745377.jpg
      1182745377.jpg
      ขนาดไฟล์:
      28.8 KB
      เปิดดู:
      47
    • 1182745664.jpg
      1182745664.jpg
      ขนาดไฟล์:
      61.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • 1182746732.jpg
      1182746732.jpg
      ขนาดไฟล์:
      41.2 KB
      เปิดดู:
      57
    • 1182746886.jpg
      1182746886.jpg
      ขนาดไฟล์:
      38.1 KB
      เปิดดู:
      47
    • 1182746978.jpg
      1182746978.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.8 KB
      เปิดดู:
      57
    • 1183811772.jpg
      1183811772.jpg
      ขนาดไฟล์:
      39.6 KB
      เปิดดู:
      52
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet08.htm

    ๘. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ รัชกาลที่ ๒</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ วันจันทร์ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเส็ง
    จ.ศ. ๑๑๗๑
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๔ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๓ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑๑ เดือนเศษ
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
    พระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    นับแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์ เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๖ ในรัชกาลที่ ๔ แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล เป็นเวลา ๑๕ ปี ฉะนั้น ในรัชกาลที่ ๔ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชจนเกือบตลอดรัชกาล เพราะสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษตอนต้นรัชกาลเท่านั้น
    เมื่อสมเด็จฯ กรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชนั้น สมเด็จพระมหา สมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ ทรงดำรงสมณฐานันดรเป็นที่สองจาก สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    มาในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตลอดช่วงต้นแห่งรัชกาล เป็นเวลาถึง ๒๓ ปี ฉะนั้น ในช่วงต้น รัชกาลที่ ๕ จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๒๓ ปี จึงได้ทรงสถาปนา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระ เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับเป็นพระองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    พระประวัติในเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ และเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน ๕ ขึ้น ๗ ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๕๒ ตรงกับวันที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ อันเป็นวันเริ่มสวดมนต์ ตั้งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงได้พระราชทานนามว่า พระองค์เจ้าฤกษ์
    ทรงผนวช
    พ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๑๓ พรรษา ทรงผนวชเป็นสามเณร ณ วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราช (มี) เป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักพระญาณสมโพธิ (รอด) ครั้งทรงผนวชเป็นสามเณรได้ ๔ พรรษา ประชวรไข้ทรพิษต้องลาผนวชออกมารักษาพระองค์ เมื่อหายประชวรแล้ว สมเด็จกรมพระราชบวรมหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ ๓ ทรงจัดการให้ทรงผนวชเป็นสามเณรอีกครั้งหนึ่ง
    พ.ศ. ๒๓๗๒ พระชนมายุครบทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ทรงลาผนวชออกสมโภช แล้วแห่พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๒ เจ้าฟ้าอาภรณ์ ที่จะทรงผนวชเป็นเป็นสามเณรในเวลานั้น ในการทรงผนวชเป็นพระภิกษุนั้น สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นนุชิตชิโนรส กับพระวินัยรักขิต วัดมหาธาตุ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    เมื่อทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้วทรงศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุอยู่ ณ วัดมหาธาตุนั้น เช่นกัน ในเวลานั้น (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงพระเจริญพระชนมายุกว่า ๕ พรรษา) เป็นเหตุให้ทรงเลื่อมใสในลัทธิธรรมวินัยตามอย่างพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ภายหลังจึงได้ทรงอุปสมบทซ้ำอีกครั้งหนึ่งในนทีสีมา โดยพระสุเมธาจารย์ (พุทธวังสะ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนทรงแตกฉานในภาษาบาลี แต่ไม่ทรงเข้าสอบเพื่อเป็นเปรียญ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพัดยศสำหรับเปรียญเอก ที่เคยพระราชทานแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เมื่อครั้งยังมิได้ทรงเป็นพระราชาคณะให้ทรงถือเป็นเกียรติยศ สืบมา พระนิพนธ์อันเป็นเครื่องแสดงถึงพระปรีชาสามารถในภาษาบาลีของพระองค์ก็คือ พระนิพนธ์เรื่อง สุคตวิทัตถิวิธานซึ่งทรงนิพนธ์เป็นภาษาบาลีว่าด้วยเรื่องการวิเคราะห์คืบพระสุคตอันเป็นมาตราวัดที่มีกล่าวถึงในทาง พระวินัย นอกจากนี้ ก็ได้ทรงนิพนธ์เรื่องเบ็ดเตล็ดอื่นๆ เป็น ภาษาบาลีไว้อีกหลายเรื่อง นับว่าทรงเป็นปราญ์ทาง ภาษาบาลีที่สำคัญพระองค์หนึ่งในยุครัตนโกสินทร์
    ในรัชกาล ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะสมณศักดิ์ เสมอพระราชาคณะสามัญ พระราชทานตาลปัตรแฉกถมปัดเป็นพัดยศ
    พ.ศ. ๒๓๙๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะยังทรงผนวชอยู่ ทรงเป็นพระเถราจารย์ประธานแห่งพระสงฆ์ธรรมยุตินิกายทรงลาผนวชเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ เป็นรัชกาลที่ ๔ จึงได้ทรงสถาปนาพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าฤกษ์ เป็นกรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ทรงอิศริยยศเป็นประธานาธิบดีแห่งพระสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ซึ่งขณะนั้นเรียกว่า
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์
    พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ขณะทรงพระอิศริยยศเป็นกรมหมื่นบวรรังษี สุริยพันธุ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช (สาปุสฺ สเทโว) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จประทับที่พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน โดยทรงเชิญเสด็จสมเด็จฯ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ต่างวัดเข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์ ทรงผนวชอยู่ ๑๕ วันก็ทรงลาผนวช
    หลังจากเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภที่จะถวายมหาสมณุตมาภิเษกพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรรังษี สุริยพันธุ์ในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราช แต่สมเด็จมหาสมณเจ้าฯ พระองค์นั้นไม่ทรงรับ ทรงถ่อมพระองค์อยู่ว่า เป็นพระองค์เจ้าในพระราชวังบวรฯ จักข้ามเจ้านายที่เป็นพระเจ้าบรมวงศ์เธอทั้งทรงเจริญพระชนมายุกว่าก็มี จักเป็นที่ทรงรังเกียจของท่าน จึงทรงรับเลื่อนเพียงเป็นกรมพระ เสมอด้วยเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ในชั้นเท่านั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนพระ อิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๖
    การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อนพระอิศริยยศ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์ ครั้งนี้ แม้ว่าพระองค์จะไม่รับถวายมหาสมณุตมาภิเษก ในที่สมเด็จพระสังฆราช แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ถวายพระเกียรติยศในทางสมณศักดิ์สูงสุดเท่ากับทรงเป็นสมเด็จ พระสังฆราชดังปรากฏในคำประกาศเลื่อนกรมว่า
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รายละเอียดพระพิมพ์และวัตถุมงคล ที่มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ( http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=68899 ) จะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    ส่วนยอดคงเหลือ ผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ และกระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้เป็นระยะครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03bud05130850&day=2007-08-13&sectionid=0307


    วันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 17 ฉบับที่ 6101​

    พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี


    คอลัมน์ พันธุ์แท้พระเครื่อง

    โดย....ราม วัชรประดิษฐ์



    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=0><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>ในกระบวนพระปิดตาของพระเกจิอาจารย์แต่โบร่ำโบราณที่ขึ้นชื่อลือเลื่องจากหลายๆ สำนัก พระปิดตาเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสุดยอดของพระปิดตาด้วยกันก็คือ "พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์" ซึ่งน่าจะคุ้นหูท่านผู้อ่าน แต่จะคุ้นหน้าคุ้นตาหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล มาทำความรู้จักกันครับผม

    ผู้สร้าง "พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว" ก็คือ หลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี อัตโนประวัติโดยย่อของหลวงพ่อแก้ว ท่านถือกำเนิดจากครอบครัวชาวประมงจังหวัดเพชรบุรี ในราวปลายรัชกาลที่ 2 บางตำราก็ระบุว่า ท่านเป็นคนบ้านบางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดพระทรง จ.เพชรบุรี ก่อนที่จะธุดงค์ไปบูรณะวัดเครือวัลย์ แขวงบางปลาสร้อย จ.ชลบุรี ซึ่งที่นั่นเองเป็นจุดกำเนิดของสุดยอดพระปิดตาอันดับหนึ่งของประเทศไทย

    พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อผงคลุกรักหรือจุ่มรัก นับเป็นราชาแห่งพระปิดตาเนื้อผง สูงด้วยความนิยมและมูลค่า โดยเฉพาะคำร่ำลือทางด้านมหาเสน่ห์ และเมตตามหานิยม มีเรื่องเล่าขานสืบทอดกันมาว่า ในการจัดสร้างพระปิดตาของหลวงพ่อนั้น มีเศษผงที่เหลือจากการจัดสร้างปลิวไปตกในตุ่มน้ำ สาวแก่แม่ม่ายที่วักน้ำลูบเนื้อตัวเป็นอันต้องมนต์ลุ่มหลงเกิดเสน่หาถ้วนทั่วทุกตัวตน จนมีผู้พยายามขูดเนื้อขององค์พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เพื่อนำไปใช้ล่อหลอกหญิงสาวจนเกิดเรื่องราวกันมาแล้วมากมาย หลวงพ่อแก้วท่านจึงดำริให้นำพระมาจุ่มรักหรือคลุกรักเสีย เพื่อมิให้ผู้ใดขูดนำไปใช้ในทางมิชอบ

    พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว เนื้อผงคลุกรัก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 พิมพ์ คือ 1) พิมพ์ใหญ่ ให้สังเกตจะเห็นกำไลข้อพระบาทและส้นพระบาท พระนาภีจะนูนขึ้นมาเล็กน้อย พิมพ์ด้านหลัง มีทั้งหลังแบบ คือ ด้านหลังเป็นรูปองค์พระเหมือนด้านหน้ากดเว้าลึกลงไป พระเศียรด้านหลังที่เว้าลึกจะไม่ลึกมาก และจะรีคล้ายไข่เป็ด สำหรับองค์ที่ติดชัดจะเห็นนิ้วขึ้นเป็นไรๆ บริเวณพระหัตถ์ทั้งสองข้าง หลังเรียบ และหลังยันต์ (อุทับถม) ซึ่งพบน้อยมาก 2) พิมพ์กลาง หลังแบบ หลังเรียบ หลังยันต์ และ 3) พิมพ์เล็ก

    เนื้อของพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว ส่วนมากจะพบเป็นเนื้อละเอียด และมักปรากฏเม็ดสีน้ำตาล สีแดง ซึ่งเกิดจาก "ว่าน" ขึ้นประปราย ถ้าหากลึกเนื้อในจะละเอียดเป็นสีน้ำตาลอมดำ คนโบราณเรียกหลวงพ่อแก้วเนื้อกะลา เพราะจะเห็นเป็นจุดเล็กๆ คล้ายกะลาเก่าขัดมัน บางองค์มีการปิดทอง ซึ่งต้องพิจารณาทองเก่าให้เป็น เพราะทองเก่าเนื้อจะออกสีแดงอมเหลืองและด้าน ไม่เหมือนกับทองใหม่ซึ่งจะเป็นมันวาว

    การพิจารณาพระปิดตาหลวงพ่อแก้วนั้น เนื่องจากองค์พระผ่านกาลเวลาเนิ่นนานทำให้มักมีข้อถกเถียงกันพอสมควร ต้องอาศัยความชำนาญและประสบการณ์การเห็นพระแท้มามากๆ แต่การที่พิมพ์ทรงมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานรวมทั้งเนื้อหามวลสารจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงยากที่ของเทียมเลียนแบบจะทำได้เหมือน และขอโทษนะครับ ที่จะแจ้งว่าของแท้ ณ ปัจจุบัน ราคาเป็นล้านๆ แล้วครับผม

    [​IMG]

    ************************************************

    ความเห็นของผม

    พระหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์นั้น จริงๆแล้วเป็นพระที่มีทั้งการสร้างขึ้นที่วังหน้า และที่วัดเครือวัลย์ ถ้าสร้างขึ้นที่วัดเครือวัลย์ พิมพ์และเนื้อหาจะแตกต่างกันกับสร้างที่วังหน้า

    พระที่สร้างที่วังหน้า หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร(หลวงปู่......) เป็นผู้อธิษฐานจิต และหลวงพ่อแก้วเอง ชื่อท่านก็ไม่ใช่ชื่อแก้ว ท่านชื่อสุข ต้องเอ่ยนามท่านว่า หลวงพ่อสุข วัดเครือวัลย์จึงจะถูกต้อง

    .
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมเด็จปิลันทร์ เป็นพระพิมพ์ที่ เจ้าอาวาสวัดระฆังองค์สืบต่อจากท่านเจ้าประคุณ สมเด็จโต ซึ่งก้อคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ทัด (พระนามเดิม หม่อมเจ้าทัด เสนียวงศ์ ณ อยุธยา) ศิษย์เอก ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี เป็นผู้สร้างบรรจุกรุเอาไว้ ณ.วัดระฆัง
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.amuletsinthai.com/mybb/printview.php?t=2227&start=20&sid=31e3a41102a74090caeb237b4dfc6dcd

    ความรู้วิชาการ - *เจาะลึก ตำนานพระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามา วัดจักวรรดิราชาวาส*

    [​IMG]



    พระชัยวัฒน์ของท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม หรือ วัดจักรวรรดิราชาวาส ถือเป็น พระชัยวัฒน์ที่มีค่านิยมสูงสุดในวงการพระเครื่องของเรา แต่เท่าที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า ตำนานการสร้าง หรือ ประวัติเลือนรางเหลือเกิน ไม่ค่อยมีการกล่าวถึงกันนัก วันนี้ไปศึกษาหาความรู้ในแนววิชาการด้านนี้กันต่อดีกว่าครับ ผมมั่นใจว่าเท่าที่เคยอ่านหนังสือหลายๆเล่มไม่มีหนังสือเล่มใดรวบรวมตำนานการสร้างพระชัยวัฒน์เจ้ามาได้อย่างสมบูรณ์เลย ผมได้รอเวลานี้มานานหลังจากรวบรวมหนังสือหลายๆเล่มที่มีการกล่าวถึงพระของท่านเอาไว้อย่างละเล็กน้อย นำมารวมกันในส่วนบางส่วนที่ขาดหายไป ประกอบกันขึ้นใช้เวลานานนับอาทิตย์ เมื่อวานนั่งพิมพ์ก็ตัดตอนตกแต่งอีกร่วม 4 ชั่วโมงกว่าๆ ถ้ามีขาดตกบกพร่อง ก็ต้องขออภัยต่อเพื่อนๆด้วย แต่คิดว่า นี่ก็คือ สิ่งที่ตั้งใจทำ และ ดีที่สุด เท่าที่ผมจะทำได้ครับ คงทำได้ดีกว่านี้อีกไม่ได้แล้ว หวังว่า คงมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ที่สนใจในการศึกษาหาความรู้ในสายนี้ได้พอสมควร

    ผมเขียนและรวบรวมมาจากหนังสือ หลายเล่ม และ รวมทั้งจากที่เคยได้ฟังได้เล่ามาจากนักสะสมพระกริ่งพระชัยวัฒน์รุ่นเก่าหลายท่าน อยากจะขอกล่าวขอบคุณ ไว้ ณ ที่นี้ด้วย คือ
    1 ข้อมูลเอกสารเก่าที่ได้รับความเอื้อเฟื้อจากอาจารย์สุวรรณ สุวรรณประดิษฐ์ ซึ่งท่านนี้ ผมก็เคยกล่าวชื่อให้เพื่อนๆฟังกันมาบ้างแล้ว ว่าเป็นหนึ่งในอาจารย์รุ่นเก่า ที่ผมให้การนับถือมาก เพราะ ท่านมีความเชี่ยวชาญในพระกรุ พระเก่า และ พระสายวัดสุทัศน์และ เจ้ามาอย่างยิ่ง รู้จริงแบบไม่ใช่อวดตนครับ เป็นนักเขียนรับเชิญในหนังสือพระคุณภาพหลายๆเล่มครับ
    2 หนังสือ เพชร พระเครื่อง ที่เดี๋ยวนี้เปลี่ยนเป็น มหาโพธิ์ ที่ตีพิมพ์ เมื่อร่วม ยี่สิบปีก่อน คือ ในปี2527 ครับ
    3 หนังสือ ลานโพธิ์ ปักษ์แรก เดือนกค พศ2545
    4 ขอบคุณพี่Jili ที่กรุณาส่งหนังสือเก่าข้อมูลพระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามา มาให้ถึงต่างประเทศครับ เพื่อได้รวบรวมเผยเพร่ต่อเพื่อนๆชาวเวป amuletsinthai และ ขอบคุณรูปภาพบางภาพที่ได้ขอยืมมาจากเวป tumnan.com และ ของอาจารย์เล็ก รูปหล่อครับ

    <HR>เสี้ยนพระ - อา. 09 มี.ค. - 05:02
    ถาม:ตอบ เรื่อง:

    <HR class=sep width="95%">[​IMG]



    ประวัติ
    พระพุฒาจารย์ มา อินทโร หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ท่านเจ้ามา เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่7 แห่งวัดจักรวรรดิ หรือ วัดสามปลื้ม ท่านเกิดวันที่ 13 เมษายน พศ 2380 ที่อำเภอสามเพ็ง หรือ อำเภอสัมพันธวงศ์ในปัจจุบัน เมื่อเจริญวัยขึ้น บิดาตั้งชื่อว่า
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 สิงหาคม 2007
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.chakkrawat.com/abbot_07.asp

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR><TR vAlign=top><TD align=middle height=20>พระพุฒาจารย์ (ท่านเจ้ามา) เจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส องค์ที่ ๗</TD></TR><TR vAlign=top><TD id=contentfont> </TD></TR><TR vAlign=top><TD id=contentfont> พระพุฒาจารย์ เป็นพระราชาคณะฝ่ายอรัญวาสี มีสมณศักดิ์เสมอเจ้าคณะรอง นามเดิมว่า มา นามฉายาว่า อินฺทสโร บิดาชื่อว่า ทองอยู่ มารดา แช่ม เกิดในรัชกาลที่ ๓ วันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๓๘๐ ตรงกับวันจันทร์ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐ ปีระกานพศก จ.ศ.๑๑๙๙ ตำบลบ้านเข้าหลาม อำเภอสำเพ็ง กรุงเทพฯ

    ใน ร.๔ พ.ศ.๒๔๐๔ อายุ ๒๕ ได้บรรพชาอุปสมบท ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส พระอาจารย์นอง เป็นอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการแบน วัดบางกระสัน (วัดดิศหงษาราม) เป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดบางกระสัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ท่านชอบเดินธุดงค์ เรียนวิปัสสนา จึงเรียกกันว่า พระอาจารย์มา

    ท่านได้เป็นพระปลัดของพระวรญาณมุนี (พระโพธิวงศาจารย์ ) และท่านได้เป็นหัวหน้าสร้างพระพุทธบาทจำลอง เมื่อเสร็จแล้วท่านก็ทำการฉลองรอยพระบาทจำลองเดือน ๓ (กุมภา-มีนาคม)ของทุกปี จนถึงปัจจุบันนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเสด็จทอดพระเนตรรอยพระพุทธบาท และทรงโปรดสร้างมณฑปน้อย ที่สวมรอยพระพุทธบาทจำลอง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณยิ่งแก่วัดจักรวรรดิ

    สมณศักดิ์ เมื่ออายุได้ ๕๓ พรรษา ๒๘ ทรงโปรดพระราชทานสัญญาบัตรที่ พระครูภาวนาวิจารณ์ ท่านเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างหลายที่มากเช่น พระพุทธบาทจำลองสระบุรี และ พระพุทธบาทจำลอง เกาะสีชัง รัชกาลที่ ๕ ประมาณ พ.ศ.๒๔๓๕ ทรงโปรดพระราชทานสมณศักดิ์ท่านที่ พระมงคลทิพยมุนี ตำแหน่งเจ้าคณะ ใหญ่ เมืองสมุทรปราการ เป็นผู้รักษารอยพระพุทธบาทจำลอง (มีสำเนา)

    ท่านเจ้ามา ได้สนองงานในด้านนวกรรมของพระพุทธศาสนามาตลอด ทรงเป็นที่โปรดปรานของพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ครั้นถึง พ.ศ.๒๔๖๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหิรัญบัฎ เลื่อนขึ้นเป็นพระพุฒาจารย์

    เมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๗ กับวันศุกร์ แรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีขาล เวลา ๑๐ ทุ่ม ๓๐ นาที ท่าน ได้มรณภาพ สิริรวมอายุได้ ๗๗ ปี ๑ เดือน ๒๒ วัน มีพรรษาได้ ๕๒ พรรษา </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    พระสมเด็จพิมพ์อัศนี องค์ผู้อธิษฐานจิตคือ

    1.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
    3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ทัด (พระนามเดิม หม่อมเจ้าทัด เสนียวงศ์ ณ อยุธยา)
    4.พระพุฒาจารย์ มา อินทโร (ท่านเจ้ามา เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่7 แห่งวัดจักรวรรดิ หรือ วัดสามปลื้ม )

    เอาไว้ผมถ่ายรูปมาให้ชมกันนะครับ

    ส่วนหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เช่นกัน ไว้ผมจะให้น้องเขามาถ่ายรูปและนำมาให้ชมกัน พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดบางคลานท่านลบผงเอง และนำมาสร้างพระพิมพ์(พิมพ์ลอยองค์) และสร้างเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างน้อยมากครับ

    .
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เตือนอย่าหลงเชื่อทำงานผ่านเน็ตรายได้สูงล่อใจ</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>13 สิงหาคม 2550 17:47 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000094915[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคงเคยเห็นโฆษณาบนเว็บไซต์ บางทีเป็นอีเมล์ส่งเข้ามาว่า อยากทำงานมีรายได้เสริมเดือนละ 5,000 - 500,000 บาท โดยทำงานใช้อินเตอร์เน็ตอยู่กับบ้าน หรือสำนักงาน วันละไม่กี่ชั่วโมง พอคลิกเข้าไปดูจะให้พิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป จากนั้นจะมีโทรศัพท์กลับมานัดให้ไปฟังอบรมวิธีการทำงาน พอไปถึงสถานที่จะพบว่าคนหลงกลจำนวนมาก ขบวนการโกงออนไลน์จะนำตัวอย่างคนที่ทำงานสำเร็จมาหว่านล้อมว่าเดือนที่แล้วมีรายได้เป็นหมื่นเป็นแสนบาท ดีกว่างานประจำ ไม่ต้องไปเดินขายของแต่ต้องใช้ผลิตภัณฑ์และแนะนำสมาชิกเพิ่มทางเน็ตไปด้วย คล้ายธุรกิจลูกโซ่ สุดท้ายจะมีพี่เลี้ยงเข้ามาจัดกลุ่มและเรียกเก็บเงินคนละ 500 - 700 บาท ค่าอบรมขั้นต่อไป ซึ่งขณะนี้มีผู้ตกเป็นเหยื่อจำนวนมาก
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    ในหนังสือปู่เล่าให้ฟังพระสมเด็จอัสนีย์ (สายฟ้าผ่า) หมายถึงพระสมเด็จเจ้าฟ้า หรือสมเด็จปูนสอ ซึ่งมีหลายพิมพ์เช่นพิมพ์วัดระฆัง พิมพ์วัดกลางคลองข่อย พิมพ์อะระหัง ฯลฯ เคยพิจารณาได้ด้วยตัวเองกระแสออกมาแรงมากจนนิ้วโป้งชา เลยแขวนติดตัวมาตลอดพี่ใหญ่บอกแขวนไว้ลูกน้องทั้งรักทั้งกลัวเว๊ย.. อ.ประถมบอกแรงกว่าวัดระฆังพิมพ์นิยมที่เล่นหากัน 3 เท่า พระมีน้อย หาวัดระฆังยังง่ายกว่า ในก๊วนได้รับแล้ว 5 คน (รวมน้องต้น น้องตั้ม ซึ่งพักหลังหายหน้าไปเลย) อ.ประถมบอกพระเลือกคนว๊ะ เหมือนอย่างหลวงปู่ใหญ่เลือกคุณนิพนธ์ เอ้า...รอบหน้าภาวนากันดีๆ เน้อ..ทำความเพียรให้มาก พระท่านจะได้อยากมาอยู่กับเราบ้าง ป๊ะกันคราวหน้าที่บ้าน อ.ประถม เผื่อหลวงปู่ใหญ่ หรือท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านอาจจะประทานให้บ้าง สาธุ..สำหรับผู้ที่เพียรชอบแล้ว และต้องให้รีบเร่งสำหรับผู้ที่ยังไม่เริ่ม บุญทานทำได้ด้วยลมหายใจเด้อ...
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สาระที่เปิดเผยได้คือ

    1. วัดไหนสายไหนไม่สำคัญรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม เดินตามสติปัฎฐาน 4 ตามพระไตรปิฎกให้ครบตามมรรควิธี ย่อลงเหลือ ศีล สมาธิ ปัญญา อย่างเดียว
    2. แล้วศีล สมาธิ ปัญญาคืออะไร
    ศีลคือคือข้อห้ามหรือเครื่องขจัดกิเลสที่เกิดจากกาย (ของหยาบ)
    สมาธิคือข้อห้ามหรือเครื่องขจัดกิเลสที่เกิดจากภายในคือจิต ปัญญาคือเครื่องขจัดกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดานขั้นละเอียดอันมี ราคะ โทสะ โมหะ ให้ขาดสะบั้นไปจะได้ตัดภพ ชาติ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดกันอีก

    เสร็จแล้วก็คุยกันเรื่องพระอริยเจ้า ซึ่งพี่ใหญ่ให้ไปกราบได้ในขณะนี้คือ
    1. ท่าน อ.ตั๋น อยู่ที่บ้านบึง จ.ระยอง (ลูกศิษย์ ลป.ชา) วันหลังจะบอกทางไปให้ องค์นี้คงไม่มาอีกแล้ว เพระรู้วิธีแล้ว
    2. ท่าน อ.นิพนธ์ อยู่วัดป่าศาลาน้อย จ.เลย ไปทางพระธาตุศรีสองรัก วัดน่าไปนอนค้างมาก ศาลาวัดทำด้วยไม้สักทั้งหลัง สวยมาก
    องค์ที่ 2 นี้ ญาณ เข้าเขตอรหัตภูมิแล้ว (ท่านอยู่ปลายสุดของอนาคามี)

    ส่วนสุดท้ายที่จะฝากน้องก็คือสำคัญคือ ใครบ่จี๊ ก็คงให้ ตั้งจิตขอบารมีจากพระโพธิสัตว์ทั้ง 2 องค์ตามนี้คือ
    1. ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ (โต) พรหมรังสี หรือปู่โต ของก๊วนเรา
    2. องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรานั่นเอง

    ให้ท่านช่วยทำมาหากินอย่าได้ติด อย่าได้ขัด ขอให้มีความเจริญในหน้าที่การงาน ไม่เหลือบ่ากว่าแรงต้องได้แน่นอนครับ ผมตอบคำถามได้แค่นี้แหละแทนทุกคนด้วยล่ะ ส่วนเรื่องอื่น ก็คงเป็นเรื่องอจินไตย บอกบ่ได้หนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 สิงหาคม 2007
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ sithiphong [​IMG]
    พระสมเด็จพิมพ์อัศนี องค์ผู้อธิษฐานจิตคือ

    1.สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี
    2.สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ (พระองค์เจ้าฤกษ์) วัดบวรนิเวศวิหาร
    3.สมเด็จพระพุฒาจารย์ทัด (พระนามเดิม หม่อมเจ้าทัด เสนียวงศ์ ณ อยุธยา)
    4.พระพุฒาจารย์ มา อินทโร (ท่านเจ้ามา เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่7 แห่งวัดจักรวรรดิ หรือ วัดสามปลื้ม )

    เอาไว้ผมถ่ายรูปมาให้ชมกันนะครับ

    ส่วนหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ก็เช่นกัน ไว้ผมจะให้น้องเขามาถ่ายรูปและนำมาให้ชมกัน พิมพ์นี้เป็นพิมพ์ที่หลวงพ่อเงิน วัดบางคลานท่านลบผงเอง และนำมาสร้างพระพิมพ์(พิมพ์ลอยองค์) และสร้างเพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างน้อยมากครับ

    .
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องอื่นๆ ไว้ไปคุยที่บ้านท่านอาจารย์ประถมกันนะครับ

    .
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องของการเชิญหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หรือเชิญหลวงปุ่ ,หลวงพ่อ องค์อื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นท่านไหนก็ตาม หลวงปู่ หรือหลวงพ่อท่านย่อมรู้เจตนาของผู้เชิญว่า เจตนาเป็นอย่างไร ทุกๆท่านสามารถเชิญได้ทั้งนั้น แต่ว่าหลวงปู่ หรือหลวงพ่อ ท่านจะมาหรือไม่มานั้น อีกเรื่องนะครับ

    เคยมีผู้สร้างวัตถุมงคลหลวงปุ่บรมครูเทพโลกอุดรหลายๆแห่ง ทั้งผมและเพื่อนๆในคณะผม ได้มา ก็นำมาตรวจสอบ ผลปรากฎว่า หลวงปู่ท่านไม่ได้มาอธิษฐานจิตให้ก็มีมากอยู่

    ผมเคยบอกไปแล้วว่า การเชิญหลวงปู่ หรือหลวงพ่อองค์อื่นๆนั้น หากผู้เชิญไม่มีบุพกรรมร่วมกันมา หรือไม่มีวาสนาบารมีต่อกันมา และไม่มีเหตุผลอันควร(เหตุผลนี้ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของหลวงปู่ หรือหลวงพ่อองค์นั้นๆ ไม่ใช่เหตุผลของผู้เชิญ) หลวงปู่ หรือหลวงพ่อองค์อื่นๆท่านก็ไม่มานะครับ

    เวลาที่เราทำบุญต่างๆก็ดี เราจึงควรระลึกถึงหลวงปู่ หรือหลวงพ่อองค์ที่เรานับถือ ให้ท่านมาโมทนาบุญ และกรวดน้ำให้ท่าน เป็นการที่เราได้ร่วมสร้างกรรม(ดี) ร่วมกับท่าน ถึงแม้วันนี้จะยังไม่มีผลอะไรมากนัก แต่ก็ควรพยายามทำต่อๆไป ให้มีความเพียร ตามที่ในหลวงของเราสอนให้มีความเพียรกัน ผลย่อมเกิดขึ้นในภายภาคหน้า คนเราทำอะไร ย่อมได้อย่างนั้นเป็นธรรมดาครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องงานมหากฐิน ที่จะไปทอดกันที่ สนส.ผาผึ้ง ผมจะปรึกษาพี่แอ๊วก่อน ว่าถ้าจะไปกัน จะไปกันอย่างไร จะมีกำหนดการทอดกฐินกันในช่วงเวลาไหน ซึ่งเราจะไปกัน ก็คงต้องเดินทางไปกันในวันเสาร์ เท่าที่ผมคิดไว้ก็คือ จะแวะทำบุญไหว้พระกันระหว่างทางด้วย ส่วนจะแวะที่ไหน อย่างไร ว่าจะไปคุยกันที่บ้านท่านอาจารย์ประถม ในครั้งที่จะไปกันในเดือนหน้า ท่านใดมีความเห็นอย่างไร ก็ไปคุยกันได้ ผมอยากให้ช่วยกันหาข้อมูลว่า การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป ชัยภูมิ ผ่านที่ใดบ้าง จะไปกราบหลวงพ่อองค์ไหนดี ผมมีรายละเอียดเพิ่มเติมที่ได้คุยกับพี่แอ๊วแล้ว จะมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้งนะครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องการเรียกชื่อ พระพุทธเจ้า ,พระสงฆ์ หรืออื่นๆ ควรเรียกโดยให้เกียรติท่านเหล่านี้ ผมเห็นหลายๆที่แล้วเรียกชื่อหรือพระนามท่านห้วนๆ แต่ละพระองค์ท่าน สูงกว่าเรามากมายนัก

    พระพุทธเจ้า ผมจะเรียกว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม .....
    พระสงฆ์ หลายๆท่านก็คงเรียกกันเหมือนผมก็คือ หลวงปู่ ,หลวงพ่อ
    ส่วนพระมหากษัตริย์ นั้น ผมเห็นหลายๆคนเรียกชื่อท่านห้วนๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะเตือนกันอย่างไร ผมก็มาแจ้งในกระทู้นี้ดีกว่า
    ผมเองเรียกท่านก็จะใช้พระนามเต็มของพระองค์ท่านเช่น องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ,สมเด็จพระเอกาทศรส ,สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ผมไม่เคยเรียก พระนเรศวร ,พระเอกา หรือพระเจ้าตาก เลย เพราะเราไม่ใช่เพื่อนของพระองค์ท่านครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  19. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เรียนคุณ sithiphong
    เมื่อเช้านี้เวลา 8.28น. ผมได้ฝากเงินจำนวน 1000บาท ผ่านadm ktbนานา บัญชี 1890131288 เพื่อร่วมทำบุญสร้างเจดีย์ ศรีชัยผาผึ้ง ตามที่ได้บูชา ชุดล็อกเก็ต 3 งวดที่5ครับ
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
    nongnooo...
     
  20. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
     

แชร์หน้านี้

Loading...