พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet07.htm

    ๗. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์เจ้าวาสุกรี) วัดพระเชตุพน
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=172 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>เป็นพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๕ ค่ำ ปีจอ จ.ศ. ๑๑๕๒
    พ.ศ. ๒๓๓๓
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>วันศุกร์ เดือน ๙ ขึ้น ๔ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ วันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู ในรัชกาลที่ ๔</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=299 height=34>๖๓ พรรษากับ ๔ วัน</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=459 colSpan=3 height=2>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๑ ปี ๔ เดือน
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
    พระองค์ที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นเจ้านายพระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช องค์พระประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทย นับเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ในการปกครองของคณะสงฆ์ไทย เพราะแต่ก่อนมานับแต่ยุคต้นแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ย้อนไปจนถึงยุคกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ไม่ปรากฏว่ามีเจ้านายพระองค์ใด แม้ทรงผนวชอยู่จนตลอดพระชนมชีพ ได้รับสถาปนาในตำแหน่งที่ สมเด็จพระสังฆราช เพราะฉะนั้น พระประวัติและพระเกียรติคุณของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสจึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
    พระประวัติเบื้องต้น
    สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๒๘ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจุ้ย เมื่อวันเสาร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือนอ้าย ปีจอ ตรงกับวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๓๓ มีพระนามว่าพระองค์เจ้าวาสุกรี ทรงผนวชเป็นสามเณรแต่เมื่อพระชนมายุ ๑๒ พรรษา โดยทรงผนวชเป็นหางนาค ในคราวที่ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระอนุรักษ์เทเวศร์ กรมพระราชวังบวรสถานพิมุข (กรมพระวังหลัง) ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อทรงผนวชแล้ว เสด็จไปประทับ ณ วัดพระเชตุพน ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของสมเด็จพระพนรัต ผู้เป็นอธิบดีสงฆ์ วัดพระเชตุพนในขณะนั้น
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงศึกษาเล่าเรียนหนังสือไทย และภาษาบาลีตลอดทั้งวิธีลงยันต์เลขไสยในสำนักสมเด็จพระพนรัต ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางอักษรสมัยและเวทย์มนต์ยิ่งนัก โดยเฉพาะภาษาบาลีนั้น สมเด็จพระพนรัตน รอบรู้แตกฉานมาก ได้รจนาหนังสือเป็นภาษาบาลีหรือภาษามคธไว้ ๓ เรื่อง คือ สังคีติยวงศ์ พงศาวดารการสังคายนา ๑ จุลยุทธการวงศ์ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ๑ มหายุทธการวงศ์ พงศาวดารมอญเรื่องราชาธิราช ๑ กล่าวกันว่า ตำรับตำราพิชัยสงครามและพระคัมภีร์ต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาซึ่งอยู่กับสมเด็จพระพนรัตน วัดป่าแก้ว ก็ตกมาอยู่ที่วัดพระเชตุพนนี้ด้วย ฉะนั้น สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส คงจักได้ทรงศึกษาเล่าเรียนตำรับตำราต่างๆ ดังกล่าวเหล่านี้ จึงได้ทรงมีพระปรีชาสามารถทั้งทางด้านคดีโลกและคดีธรรม ดังเป็นที่ประจักษ์จากผลงานอันเป็นบทพระนิพนธ์เรื่องต่างๆมากมา


    ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
    สมเด็จฯกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงผนวชเป็นสามเณรอยู่จนตลอดรัชกาลที่ ๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๕๔ ในรัชกาลที่ ๒ จึงทรงผนวชเป็นพระภิกษุเข้าใจกันว่า สมเด็จพระสังฆราช (ศุข) วัดมหาธาตุทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระพนรัต พระอาจารย์ของพระองค์ ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ ทรงได้พระนามฉายาว่า
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จบครับ


    พระอัจฉริยภาพในทางพระศาสนาและวรรณกรรม
    สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงมีพระอัจฉริยภาพในหลายด้าน สาเหตุหนึ่งคงเนื่องมาจาก ทรงได้รับการศึกษาเล่าเรียนมาเป็นอย่างดีจากพระอาจารย์ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์แห่งยุค ทั้งทางคดีโลก และคดีธรรม คือ สมเด็จพระพนรัต วัดพระเชตุพน ประกอบกับพระปรีชาสามารถส่วนพระองค์ จึงทำให้พระองค์ทรงเป็นที่ปรากฏโดดเด่น ทั้งในด้านการพระศาสนาและด้านวิทยาการของบ้านเมืองมาจนตราบเท่าทุกวันนี้
    กล่าวเฉพาะในด้านการพระศาสนา แม้ว่าในทางการปกครองจะไม่มีเหตุการณ์พิเศษให้กล่าวขวัญถึงพระองค์มากนัก เพราะทรงรับภาระ ธุระทางการปกครองว่ากล่าวเฉพาะวัดต่างๆ ในกรุงเทพฯ มาจนเกือบตลอดพระชนม์ชีพ ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระมหาสังฆปริณายก ที่สมเด็จพระสังฆราชอยู่เพียงปีเศษในช่วงสุดท้ายแห่งพระชน มายุเท่านั้น
    แต่การที่ทรงมีพระภาระกิจทางการปกครองไม่มากนั้น กลับเป็นผลดี เพราะเป็นโอกาสให้พระองค์ได้ทรงศึกษาพิเคราะห์พระธรรมวินัยและใช้พระปรีชาสามารถสร้างสรรค์ผลงานอัน ทรงคุณค่าแก่การพระศาสนาและชาติบ้านเมืองเป็นจำนวนมาก กล่าวคือ ในทางพระสัทธรรม ปรากฏว่าทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญ ทรงเป็นที่ปรึกษาและถวายวิสัชนาพระราชปุจฉาต่างๆ ในรัชกาลที่ ๓ มาโดยตลอด
    ในทางรจนา นับว่าทรงพระปรีชาเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องพระปฐมสมโพธิกถา ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก หรือร่ายยาวมหาชาติ เป็นต้น ที่ถือกันว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกทางพระพุทธศาสนาในยุคกรุง รัตนโกสินทร์
    ในทางพุทธศิลป์ ได้ทรงคิดแบบพระพุทธรูปปางต่างๆ ถวายพระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระราชประสงค์จะทรงบำเพ็ญพระราชกุศลให้เหมือนอย่างโบราณกษัตริย์ครั้งกรุงศรีอยุธยาได้เคยทรงบำเพ็ญ โดยทรงคิดเลือกพุทธอิริยาบถต่างๆ จากเรื่องพุทธประวัติ เป็นจำนวน ๓๗ ปาง ได้เป็นต้นแบบพระปางสมัยรัตนโกสินทร์สืบมา
    ในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้ทรงพระนิพนธ์เรื่องต่างๆ ไว้มาก ที่สำคัญเช่นลิลิตตะเลงพ่าย พระราชพงศาวดารฉบับความสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส เทศนาพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ลิลิตกระบวนพยุหยาตรา พระกฐินทางสถลมารคและชลมารค เป็นต้น
    ในทางอักษรศาสตร์ ก็เช่นบทพระนิพนธ์เรื่องฉันท์มาตราพฤติและวรรณพฤติ ตำราโคลงกลบทคำกฤษฎี เป็นต้น
    นอกจากนี้ ยังมีบทพระนิพนธ์ประเภทบทกวีเบ็ดเตล็ดอีกมาก ซึ่งล้วนเป็นผลงานที่ถือกันว่าเป็นเพชรน้ำเอกทางวรรณกรรมของไทยทั้งนั้น
    พระอวสานกาล
    เมื่อสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษกเป็นที่ สมเด็จพระสังฆราชนั้น ทรงมีพระชนมายุ ๖๑ พรรษา ทรงประชวรพระโรคชรา พระสุขภาพจึงไม่สู้แข็งแรงนัก ทรงประชวรหนักคราวหนึ่ง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้มีพิธีเสดาะพระเคราะห์ตามพิธีไสยศาสตร์ถวาย ทรงเจริญพระชนมายุอยู่ในรัชกาลที่ ๔ เพียง ๒ ปี ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันศุกร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๙ ค่ำ ปีฉลู เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๕ เวลาบ่าย ๓ โมง ตรงกับวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๙๖ สิริรวมพระชนมายุได้ ๖๓ พรรษากับ ๔ วัน ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลา ๑ ปี ๔ เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระโกษทองใหญ่ ทรงพระศพเป็นพระเกียรติยศยิ่ง
    ครั้นปีขาล เบญจศก จ.ศ. ๑๒๑๖ (พ.ศ. ๒๓๙๗) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดฯ ให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงแล้วเชิญพระโกศพระศพสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตั้งกระบวนแห่แต่วัดพระเชตุพนไปเข้าพระเมรุท้องสนามหลวง มีการมหรสพ ๓ วัน ๓ คืน ครั้นเดือน ๕ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ตรงกับวันเสาร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๗ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชทานเพลิงพระศพ
    หลังจากสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้โปรดสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกจนตลอดรัชกาล ในรัชกาลที่ ๔ จึงมีสมเด็จพระสังฆราชเพียงพระองค์เดียว คือสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์แล้ว ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชก็ว่างอยู่ตลอดจนรัชกาลที่ ๔ เป็นเวลา ๑๕ ปี เหตุที่ไม่ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดในตำแหน่งที่สมเด็จพระสังฆราชนั้น คงเป็นเพราะไม่มีพระเถระรูปใดอยู่ในฐานะที่จะทรงสถาปนาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวมาแล้วข้างต้น
    อาจมีผู้สงสัยว่าการที่ว่างสมเด็จพระสังฆราชหรือไม่มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นเวลานานนั้นการปกครองคณะสงฆ์จะ ดำเนินการกันอย่างไรจึงขออธิบายไว้ตรงนี้สั้น ๆ ว่า แต่โบราณมา องค์พระมหากษัตริย์ทรงถือเป็นพระราชภาระในการปกครองดูแลคณะสงฆ์ โดยทรงโปรดฯให้เจ้านายผู้ใหญ่ หรือขุนนางผู้ใหญ่ในตำแหน่งเจ้ากรมสังฆการี (บางยุคเรียกว่ากรมสังฆการีธรรมการ ซึ่งภายหลังเป็นกระทรวงธรรมการ) เป็นผู้กำกับดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อมีกิจอันใดเกิดขึ้นในคณะสงฆ์ เจ้ากรมสังฆการีก็จะเป็นผู้รับสั่งการไปทางเจ้าคณะต่างๆ เพื่อดำเนินการต่อไป สมเด็จพระสังฆราชมิได้ทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยตรง ด้วยพระองค์เองทรงดำรงอยู่ในฐานะปูชนียบุคคล ของปวงพุทธบริษัทเท่านั้น การปกครองคณะสงฆ์ได้ดำเนินมาในลักษณะนี้ จนกระทั่งถึงรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง
    สำหรับคณะกลาง ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงเป็นเจ้าคณะอยู่เดิมนั้นแม้สมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรสสิ้นพระชนม์แล้ว ก็ยังโปรดฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระอัฐิสมเด็จฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีถานานุกรมพระอัฐิบังคับบัญชาว่ากล่าวตลอดมาจนถึงรัชกาลที่ ๕
    สถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
    มาในรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่าตำแหน่ง พระมหาสังฆปริณายก ประธานาธิบดีแห่ง สังฆมณฑล ซึ่งมีสมณศักดิ์ว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณนั้นมีนามอย่างสังเขปว่า
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/buddhism/somdet/somdet09.htm

    ๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสสเทว) วัดราชประดิษฐ์
    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top width=200 height=204 rowSpan=6>[​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>ภูมิลำเนาเดิม</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>แขวงบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันประสูติ

    </TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๓๕๖ วันพฤหัสบดี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ ปีระกา
    จ.ศ. ๑๑๗๕
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสถาปนา</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>วันสิ้นพระชนม์</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ในรัชกาลที่ ๕</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle width=100 height=34>พระชนมายุ</TD><TD vAlign=top align=middle width=10 height=34></TD><TD vAlign=top align=middle width=290 height=34>๘๗ พรรษา</TD></TR><TR><TD vAlign=top width=450 colSpan=3 height=34>ทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๕ ปี ๒ เดือน
    [NEXT]


    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    <HR width="50%" color=#0000ff SIZE=1>พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ
    สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)
    พระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

    เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) เป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวมด้วยกัน ๕ คน
    กล่าวกันว่า โยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี ได้เคยบวชเรียน จนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย แม้เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสแล้วก็ยังเรียกกันติดปากว่า
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จบครับ

    ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ให้พิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อน ๆ มา คือทรงสถาปนาเลื่อนขั้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีนิตยภัตรเดือนละ ๑๑ ตำลึง มีถานานุกรมได้ ๑๒ รูป มากกว่าสมเด็จพระราชาคณะตำแหน่งอื่น ๆ (ซึ่งมีนิตยภัตร ๖ ตำลึงบ้าง ๗ ตำลึงบ้าง ๑๐ ตำลึงบ้าง และมีถานานุกรมได้ ๘ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง) เพื่อเป็นการเฉลิมพระราชศรัทธาปสาทะที่ได้ทรงมีในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ทรงยกย่องเป็น
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รายละเอียดพระพิมพ์และวัตถุมงคล ที่มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ( http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=68899 ) จะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    ส่วนยอดคงเหลือ ผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ และกระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้เป็นระยะครับ

    *************************************************
    เรื่องการร่วมทำบุญก็คงเหมือนเดิม ท่านใดที่เคยร่วมทำบุญมาแล้ว ก็ได้ร่วมทำบุญด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญมาเลย จะมีทั้งพระสมเด็จวังหน้า ,พระพิมพ์อื่นๆของวังหน้า ,พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานครับ

    *************************************************
    หนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จและสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) ซึ่งเขียนโดยปรัชนี ประชากร(ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร) ผมจะแจกให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง 3 ท่านแรก(ตามกติกา) จำนวน 3 เล่ม(ท่านละ 1 เล่ม) โดยมีหลักเกณฑ์ตามนี้ ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนพระสมเด็จกลักไม้ขีด ผมมอบให้ผู้ร่วมทำบุญ จำนวน 5 องค์ สำหรับ 5 ท่านแรก (ผ่านพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ในการพุทธาภิเษกผ้ายันต์ที่พระอาจารย์นิลนำลงไปแจกผู้ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้) องค์ผู้อธิษฐานจิต หลวงปุ่บรมครูเทพโลกอุดร 4 พระองค์(หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า ,หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า ,หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) ,หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) ) ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ,หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ,หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ,หลวงปู่โพกสะเม็ก(หลวงปู่ขี้หอม) ,สำเร็จลุน ประเทศลาว ,หลวงปู่สีทัตถ์ ฯลฯ โดยมีหลักเกณฑ์ตามนี้ ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โดยท่านผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ) สามารถขอรับหนังสือวิเคราะห์ฯ และร่วมทำบุญเพื่อขอรับพระสมเด็จกลักไม้ขีดได้พร้อมกันครับ แต่หนังสือมีจำนวน 3 เล่มเท่านั้น ส่วนพระสมเด็จกลักไม้ขีดมีจำนวน 5 องค์ ดังนั้นท่านที่ 4 และท่านที่ 5 จะไม่ได้รับหนังสือแต่ผมจะมอบพระพิมพ์สมเด็จกลักไม้ขีดเพิ่มให้อีก 1 องค์ครับ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผมขอสิ้นสุดการมอบหนังสือและพระสมเด็จกลักไม้ขีดในการร่วมทำบุญ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวนเงิน 50,000 บาท(รวมทั้งการร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป 5 พระองค์(สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกกุสันโธ ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามโกนาคมน์ ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกัสสป ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามสมณโคดม ,พระศรีอาริยเมตไตร) ซึ่งผมจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป พร้อมมณฑปรอบพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง) ผมขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงระยะเวลา ถ้าหากว่าพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งสร้างเสร็จสมบูรณ์ก่อน และถ้าหากท่านใดได้ร่วมทำบุญและประสงค์ที่จะรับหนังสือและพระสมเด็จกลักไม้ขีด ผมขอพิจารณาเป็นรายๆครับ และผมให้สิทธิ์ในการจองหนังสือวิเคราะห์ฯและพระสมเด็จกลักไม้ขีดได้นะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โมทนาบุญทุกประการครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หมายเหตุ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพิธีพุทธาภิเษก วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2550<O:p</O:p
    กระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้<O:p</O:p
    หลวงปู่สุภา กันตสีโล โพสที่ 6010 หน้าที่ 601<O:p</O:p
    หลวงปู่สุภา กันตสีโล โพสที่ 6034 หน้าที่ 604<O:p</O:p
    สำเร็จลุน โพสที่ 6138 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) โพสที่ 6139 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6140 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6141,6142,6143 หน้าที่ 615<O:p</O:p
    พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) โพสที่ 6176,6178,6179,6180 หน้าที่ 618<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6181,6182,6183,6184,6185 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) โพสที่ 6186,6187,6188 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) โพสที่ 6189 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณเพชร<O:p</O:p
    โพสที่ 6017 หน้าที่ 602<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณพันวฤทธิ์<O:p</O:p
    โพสที่ 6022 หน้าที่ 603
    โพสที่ 6103 หน้าที่ 611
    โพสที่ 6105 หน้าที่ 611

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->


    สำหรับไม้ครูที่หลายๆท่านประสงค์ที่จะมีไว้ป้องกัน,คุ้มครองตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

    ผมจะมอบให้ฟรีกับผู้ที่ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ มีรายละเอียดดังนี้

    1.ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ มาตั้งแต่ต้นหรือเป็นผู้ร่วมทำบุญใหม่ โดยทำบุญและขอรับพระพิมพ์ตามปกติ จำนวนเงินที่ร่วมทำบุญรวมกัน(หลายๆครั้งหรือครั้งเดียว) ตั้งแต่ 55,555 บาท

    2.เมื่อร่วมทำบุญครบ 55,555 บาท แล้วจะรับไม้ครู ต้องไปรับไม้ครูที่บ้านท่านอาจารย์ประถม อาจสาครเท่านั้น

    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องการร่วมทำบุญก็คงเหมือนเดิม ท่านใดที่เคยร่วมทำบุญมาแล้ว ก็ได้ร่วมทำบุญด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญมาเลย จะมีทั้งพระสมเด็จวังหน้า ,พระพิมพ์อื่นๆของวังหน้า ,พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานครับ
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://staff2.kmutt.ac.th/~techfair/index.html


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width="11%" height=369></TD><TD vAlign=top rowSpan=2>

    พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระนามเดิม "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎสมมติเทววงศ์พงศ์อิศวร กษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" เป็นพระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 เป็นพระราชโอรส องค์ที่ 43 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 และเป็นพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี พระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ในเวลานั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ยังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าหลานเธอมาตั้งแต่ประสูติจนสิ้นรัชกาลที่ 1 (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 48)

    เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จขึ้น ครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 พระองค์ทรงพระยศเป็นสมเด็จพระราชโอรส คนทั้งหลายเรียกกันว่า ทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ ทูลกระหม่อมใหญ่ เจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่หรือเจ้าฟ้าใหญ่ เรียกกันอย่างนี้สืบมาจนเสวยราชย์ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีเฉลิมพระเกียรติหลายครั้ง เช่นเมื่อ พ.ศ. 2355 ตรงกับปีวอก จัตวาศก จุลศักราช 1174 พระชนมายุได้ 9 พรรษา มีการพระราชพิธีลงสรง ซึ่งทำเป็นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ พระราชทานพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติเทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ขัตติยราชกุมาร" (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 56)

    พ.ศ. 2359 พระชนมายุได้ 13 พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถโปรดให้ตั้งการพระราชพิธีโสกันต์เต็มตามพระอิสริยยศของพระเจ้าลูกยาเธอ ชั้นเจ้าฟ้า คือ ตั้งเขาไกรลาสและที่สรงสนาน

    พ.ศ. 2360 ตรงกับปีฉลู ทรงผนวชเป็นสามเณร ประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์

    พ.ศ. 2367 ตรงกับปีวอก ฉศก จุลศักราช 1186 ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนศาสดารามภายในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระสังฆราช (ด่อน) วัดมหาธาตุฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ มีพระฉายาว่า "วชิรญาณมหาเถระ" (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 90) พอทรงผนวชได้ 15 วัน สมเด็จพระบรมชนกนาถ เสด็จสวรรคตและไม่ได้ดำรัสสั่งมอบเวนราชสมบัติพระราชทานแก่เจ้านายพระองค์ใดให้เป็นรัชทายาท พระราชวงศ์กับเสนาบดี จึงต้องประชุมปรึกษากันตามธรรมเนียมโบราณว่า ควรเชิญเจ้านายพระองค์ใดขึ้นเสวยราชย์ ครอบครองบ้านเมือง ในเวลานั้นว่าตามนิตินัยสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ สมควรได้รับราชสมบัติเพราะเป็นพระราชโอรสชั้นเจ้าฟ้าพระองค์ใหญ่ที่ประสูติจากพระอัครมเหสี โดยทั่วไปถือกันว่าทรงเป็นรัชทายาท แต่การสืบราชสันตติวงศ์นี้ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้แน่นอน เมื่อพระมหากษัตริย์เสด็จสวรรคต ที่ปรึกษาอันประกอบด้วย เจ้านายและข้าราชการชั้นสูง จะเลือกพระราชาองค์ใหม่ โดยทั่วไปจะเลือกสมเด็จพระราชโอรสองค์แรกที่ประสูติแต่พระอัครมเหสี ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกระทำดังนี้เสมอไป (กริสโวลด์ 2511 : 5) การสืบราชสมบัติของไทยนี้ ไม่ได้กำหนดไว้แน่นอนถึงคุณสมบัติของผู้เป็นรัชทายาท ในลายพระหัตถ์ฉบับหนึ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ มีไปถึงสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ระบุถึงเรื่องนี้อย่างชัดเจนว่า "รัชทายาทนั้นเมืองไทยดูเป็นเข้าใจน้อยเต็มที แม้เป็นในกฎมณเฑียรบาลก็มิได้กล่าวแย้มพรายไว้ที่ไหนเลย คงมีแต่หลักนิยมอยู่แน่นอนแต่เพียงว่า ผู้สืบราชสมบัติจะต้องเป็นเจ้าเท่านั้นจึงเกิดการชิงราชสมบัติขึ้นเนือง ๆ ใครมีอำนาจวาสนาอยู่ในเวลานั้นก็ได้ราชสมบัติ ตกเป็นว่าใครดีก็ได้กัน การที่ พระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งพระมหาอุปราชนั้น เพื่อทรงอุดหนุนให้มีกำลังได้สืบราชสมบัติก็มี ตั้งโดยเหตุอื่นบังคับก็มีบ้าง เพราะฉะนั้นจะถือว่ามหาอุปราชเป็นรัชทายาทนั้นไม่ถนัด"
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3 height=2>[​IMG]


    พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นประติมากรรมนูนต่ำ ( Bas Relief )
    ทำด้วยงาช้างแกะสลัก โดยหลวงกรกิจโปรแกรม ( ปาน )





    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width="9%" height=369></TD><TD vAlign=top width="83%" rowSpan=2>

    ตามข้อความข้างบนนี้ เจ้านายทุกพระองค์ก็มีสิทธิที่จะได้เป็นกษัตริย์ทั้งสิ้น ถ้าหากทรงมีคุณสมบัติและความสามารถ และที่สำคัญคือมีกำลังเหนือกว่าเจ้านายองค์อื่นๆ (สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชา นุภาพ 2504 : 33-34 อ้างถึงใน นฤมล ธีรวัฒน์ 2525 : 9-10)

    ในเวลานั้นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว) ซึ่งเป็นพระองค์เจ้าลูกยาเธอพระองค์ใหญ่ เจริญพระชันษากว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึง 17 ปี ทรงเปี่ยมด้วยประสบการณ์และความสามารถในการบริหารราชการแผ่นดิน และทรงบังคับบัญชาราชการต่างพระเนตรพระกรรณ เมื่อตอนปลายรัชกาลที่ 2 ผู้คนยำเกรงนับถือเป็นอันมาก ที่ประชุมราชวงศ์และเสนาบดี เห็นว่าควรถวายราชสมบัติแด่กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ และทูลถามสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ว่าทรงปรารถนาราชสมบัติหรือจะทรงผนวชต่อไป สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯทรงพิจารณาเห็นว่า ถ้าพระองค์ปรารถนาราชสมบัติในเวลานั้น พระราชวงศ์คงแตกสามัคคีกัน อาจจะเกิดเหตุร้ายขึ้นในบ้านเมือง จึงตรัสตอบว่ามีพระประสงค์จะทรงผนวชต่อไป ทำให้สิ้นความลำบากในการที่จะถวายราชสมบัติแด่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 62-63)

    เมื่อจะต้องทรงเพศเป็นสมณะต่อไปไม่มีกำหนด ทรงพระราชดำริว่าฐานะของพระองค์ไม่ควรจะเกี่ยวข้องกับการเมือง จึงทรงตั้งพระหฤทัยจำนงเรียนพระพุทธศาสนาให้รอบรู้อย่างถ่องแท้ ในระยะแรกทรงศึกษาทางวิปัสสนาธุระที่วัดสมอราย (วัด ราชาธิวาส) ต่อมาเสด็จไปประทับที่วัดมหาธาตุ ทรงศึกษาภาษามคธ (ภาษาบาลี) เพื่อเรียนทางด้านคันถธุระทรงรอบรู้ในภาษามคธสามารถอ่านพระไตรปิฎกโดยลำพังพระองค์เอง จนทราบเนื้อความ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงเห็นว่าพระสงฆ์ไทยประพฤติผิดไปจากพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ เมื่อได้ทรงทราบข่าวว่ามีพระเถรมอญรูปหนึ่ง ชื่อ ซาย มาอยู่ที่วัดบวรมงคลได้เป็นพระสุเมธมุนี ชำนาญพระวินัยปิฎก พระองค์จึงเสด็จไปศึกษาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย พ.ศ. 2372 พระองค์เสด็จไปประทับที่วัดราชาธิวาส ทรงตรวจสอบพระวินัยที่มีอยู่กับที่ปรากฏในพระไตรปิฎกของฝ่ายเถรวาท ต่อมาทรงตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย แก้ไขวัตรปฏิบัติของพระสงฆ์ไทยให้สมบูรณ์ทั้งพระธรรมและพระวินัย ทรงพระนิพนธ์แบบทำวัตรเช้าเย็นเป็นภาษาบาลีและวางระเบียบทำวัตร ทรงแสดงพระธรรมเทศนามุ่งผลให้คนทั้งหลายรู้หลักของพระพุทธศาสนา และปฏิบัติตามได้จริง พระองค์จึงทรงเป็นผู้นำในการปฏิรูปพระพุทธศาสนา
    หลังจากที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย พระเกียรติคุณที่ทรงเชี่ยวชาญพระไตรปิฎกและพระปฏิภาณ ในการแสดงพระธรรมเป็นที่เลื่องลือแพร่หลาย มีพระภิกษุสามเณรมาถวายตัวเป็นศิษย์ บรรดาคฤหัสถ์เลื่อมใสไปถือศีลฟังธรรมมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งให้เป็นพระราชาคณะ ณ วัดราชาธิวาส ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2379 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎ ฯ ขึ้นเสมอเจ้าคณะรอง แล้วเชิญเสด็จมาครองตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุได้ 32 พรรษา และทรงผนวชได้ 12 พรรษา พระองค์ทรงจัดระเบียบการคณะสงฆ์ การปกครองวัด การอบรมฆราวาสที่เข้าวัด ระเบียบสำคัญทั้งหลายดังกล่าวนี้ได้ยึดถือปฏิบัติกันสืบมาถึงปัจจุบัน ทรงปรับปรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างจริงจัง ปรากฏว่าพระสงฆ์ที่วัดบวรนิเวศวิหารสอบได้เปรียญประโยคสูง ๆ เป็นจำนวนมาก

    พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ มีตำแหน่งในคณะมหาเถระ ผู้สอบปริยัติธรรมในสนามหลวง ต่อมาได้ทรงมอบการสอบพระปริยัติธรรมเป็นสิทธิ์ขาดแก่พระองค์ตลอดรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อมใสในทางวัตรปฏิบัติ และความรู้ของพระสงฆ์คณะธรรมยุต ไม่โปรดอยู่อย่างเดียว คือการห่มผ้าแหวกอย่างพระมอญ จนใกล้จะสวรรคตจึงได้มีรับสั่งในเรื่องนี้ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงยอมแก้ไขตามพระราชประสงค์ จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนทางด้านศาสนาของสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เป็นอย่างดี และมีพระราชดำริว่าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ใฝ่พระหฤทัยศึกษาพระศาสนานั้นเป็นความดี อันสมควรจะทรงอุดหนุน จะได้เป็นกำลังช่วยทำนุบำรุงทางฝ่ายพุทธจักร และเป็นเกียรติแก่พระราชวงศ์ (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 71) และสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ก็ทรงกล่าวยกย่องพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "...ได้กระทำแล้วซึ่งความสงเคราะห์แก่พระญาติทั้งหลายแม้ทั้งปวงโดยชอบเทียว เปนผู้เปนไปกับด้วยความเคารพ กระทำราชกิจทั้งหลายให้เปนไปทั่วแล้วโดยชอบเทียว เปนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยพระคุณทั้งหลาย มีพระศรัทธาและพระญาณ เปนต้น เปนผู้เลื่อมใสแล้วในพระพุทธศาสนาให้กระทำแล้วซึ่งวิหารทั้งหลายเปนอันมาก ประณีตดีแล้ว เปนที่รื่นรมย์ใจเปนผู้มีพระคุณอันบุคคลพึงสรรเสริญ ด้วยพระคุณตามเหตุที่ได้เปนแล้ว" (พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 2457 : 17 อ้างถึงในวิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 14)

    ระหว่างที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวช เป็นเวลาที่มหาอำนาจตะวันตกเริ่มขยายอิทธิพลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมิชชันนารีอเมริกันเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ พระองค์ทรงตระหนักถึงความจำเป็นต้องเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เพื่อเป็นการนำทางไปสู่การศึกษาวิทยาการแขนงต่างๆ ต่อไป ทรงสนพระทัยในวิทยาการตะวันตกโดยเฉพาะด้านดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ทรงติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อจะได้ทรงทราบเรื่องราวของต่างประเทศมากขึ้น ทรงศึกษาหนังสือข่าวที่ฝรั่งพิมพ์ในเมืองจีน และสิงคโปร์ ปีนัง (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 101) ทรงให้เหตุผลในการศึกษาภาษาฝรั่ง ดังอ้างถึงในแนวพระราชดำริเก้ารัชกาล (2527 : 71) ว่า
    "... แต่แผ่นดินต่อมา พวกฯ ข้าฯ ยังไม่ได้เปนใหญ่ในราชการแผ่นดิน แต่เห็นว่าท่านผู้ครองแผ่นดินครั้งนั้น คิดการเป็น โบราณ ๆ ป่า ๆ นัก พูดเจรจากันไม่เข้าใจ กลัวว่า ทำไป ๆ กลัวจะล้มคว่ำ ล้มหงายลง แลเห็นว่าอายุตัวยังหนุ่มอยู่ จะอยู่ไปได้นาน จึงคิดอ่านร่ำเรียนหนังสือและภาสาอังกฤษรู้มา แต่ก่อนยังไม่ได้ว่าราชการแผ่นดิน เพราะไว้ใจว่าภาสาที่รู้จะเป็นที่พึ่งคุ้มแต่ตัวเองได้อย่างหนึ่ง ไม่รู้ว่าอย่างไรต่ออย่างไร จะอยู่ที่นี่ฤาจะนำไปข้างไหน ภาสากว้างดีกว่าภาสาแคบ..."
    การศึกษาหาความรู้อย่างกว้างขวางทางวิทยาการและความเป็นไปของโลกภายนอก ทำให้พระองค์ทรงมีความคิดเห็นก้าวหน้า และทรงเล็งเห็นความจำเป็นสองประการ คือ

    1. วิทยาการความเจริญตามแบบประเทศตะวันตกเป็นสิ่งที่ควรสนใจ มีประโยชน์ และจำเป็นอย่างยิ่งต่อประเทศในอนาคต ชาวไทยจะต้องศึกษาวิทยาการใหม่ ๆ เหล่านี้

    2. สถานการณ์ของประเทศใกล้เคียงที่เกี่ยวข้องกับคนต่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยต้องเปลี่ยนวิเทโศบายของประเทศ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของประเทศและเพื่อปรับปรุงประเทศให้ทันสมัย (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 13)

    ผลดีจากการที่สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงผนวชนานถึง 27 ปี เมื่อทรงอยู่ในฐานะของพระสงฆ์ทรงได้รับประโยชน์ต่างจากพระเจ้าแผ่นดินองค์ก่อน ซึ่งทรงใช้ชีวิตจำกัดอยู่เฉพาะในเขตพระราชวัง พระองค์เสด็จธุดงค์ไปตามหัวเมืองต่างๆ ทรงเห็นสภาพบ้านเมือง รู้จักความเป็นอยู่ของชาวเมือง รับรู้ความทุกข์ ความสุขของราษฎร การเสด็จออกบิณฑบาต การแสดงพระธรรมเทศนาเยี่ยงพระสงฆ์ทั่วไป เปิดโอกาสให้พบปะกับราษฎรทุกชนชั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่มีค่ายิ่ง และเป็นการเตรียมพระองค์อย่างดีสำหรับการปกครองประเทศในเวลาต่อมา (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 15)

    ในปีจอ พ.ศ. 2393 พระบาทสมเด็จพระ นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวร และพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้พระราชวงศ์กับเสนาบดี เลือกรัชทายาทเตรียมเปลี่ยนรัชกาลเสนาบดีไปเฝ้าสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ กราบทูลเชิญเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ สมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงศึกษาโหราศาสตร์ ทรงเชื่อตำราพยากรณ์ ตรัสว่า ถ้าจะถวายราชสมบัติแก่พระองค์ ขอให้ถวายแก่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ด้วย เพราะสมเด็จพระอนุชาดวงชะตาดีวิเศษถึงฐานะที่จะได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ความที่กล่าวมานี้เป็นมูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระมหาอุปราชให้ทรงศักดิ์พิเศษเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่สอง ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว" (สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 112-113)






    </TD><TD vAlign=top align=right width="8%" height=369></TD></TR><TR><TD vAlign=bottom align=left width="9%"></TD><TD vAlign=bottom align=right width="8%"></TD></TR></TBODY></TABLE>​



    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD colSpan=3>




    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left width="7%" height=369></TD><TD vAlign=top width="86%" rowSpan=2>

    การเชิญสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ เสด็จขึ้นครองราชย์นั้น นอกจากที่พระองค์ทรงมีสิทธิธรรมของการเป็นเจ้านายชั้นสูงที่ดำรงพระอิสริยยศชั้นเจ้าฟ้า และทรงเจริญวัยวุฒิ ถึง 47 พรรษา ยังมีเหตุผลอื่นประกอบอีกที่ทำให้ทรงได้รับการยินยอมและการสนับสนุนจากเจ้านายและข้าราชการผู้ใหญ่ ตลอดระยะเวลาที่ทรงผนวช ทรงสร้างสมบารมีในฐานะผู้ก่อตั้งคณะสงฆ์
    ธรรมยุติกนิกาย ทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างแตกฉาน และเคร่งครัด ในวัตรปฏิบัติ ทรงมีคุณธรรมของความเป็น "ธรรมราชา" ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการเป็นผู้ปกครองที่ดี ทรงมีพระเกียรติคุณแพร่หลายในหมู่พุทธศาสนิกชน ทั้งปวง ทรงสนพระทัย
    ศึกษาสถานการณ์ทางการเมืองของโลกภายนอกตลอดเวลา ทรงรอบรู้ในภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตกไม่น้อยกว่าเจ้านาย และขุนนางที่จัดว่าเป็น "กลุ่มก้าวหน้า" ทรงคบค้าสมาคมกับชาวตะวันตก ทำให้พระองค์ทรงได้รับการยกย่องว่า ทรงเป็นหนึ่งในบรรดาคนไทยที่มีความคิดเห็นก้าวหน้าทันสมัย
    ในด้านพระราชอัธยาศัย ของสมเด็จพระ อนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงนิยมวิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหา มีน้ำพระทัยเมตตา ทรงรักความยุติธรรม มิได้ทรงมีจิตคิดพยาบาทมาดร้าย แม้แต่กับผู้ที่ตั้งตัวเป็นศัตรู ทรงหลีกเลี่ยงที่จะมีข้อขัดแย้งรุนแรงกับฝ่ายใด และทรงพร้อมที่จะเป็นมิตรกับชนทุกชั้นทุกชาติสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ทรงสามารถผสมผสานลักษณะที่ขัดแย้งกันของผู้ปกครองที่ยึดมั่นในคุณธรรมดั้งเดิมตามแบบประเพณีตะวันออก และผู้ที่นิยมความคิดก้าวหน้าแบบตะวันตกได้อย่างกลมกลืน จนเป็นที่ยอมรับว่าพระองค์ทรงมีคุณสมบัติที่เหมาะสมที่สุดกับสภาพการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศในระยะนั้น คงจะเป็นด้วยเหตุผลดังกล่าวมานี้ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดีและข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ จึงอัญเชิญให้ พระองค์ลาผนวชขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ พระองค์ที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ (วิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 22)

    ครั้นถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตขุนนางผู้ใหญ่ซึ่งประกอบด้วย เจ้าพระยาพระคลังว่าที่สมุหพระกลาโหม พระยาราชสุภาวดี ว่าที่สมุหนายก (ม.จ. พูนพิศมัย ดิศกุล 2534 : 128) จึงเชิญเสด็จสมเด็จพระอนุชาธิราชเจ้าฟ้ามงกุฎฯ จากวัดบวรนิเวศวิหาร แห่เสด็จโดยกระบวนเรือมาขึ้นที่ท่าตำหนักแพ (ซึ่งขนานนามใหม่ในรัชกาลที่ 4 ว่า ท่าราชวรดิษฐ์) รับเสด็จทรงพระราชยานแห่เข้าพระราชวังหลวง เสด็จขึ้นพระมหามณเฑียร ถวายน้ำสรงพระบรมศพ สมเด็จพระเชษฐาธิราช จากนั้นเสด็จประทับที่ในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้านายและเสนาบดีเข้าเฝ้ากราบทูลเชิญเสด็จผ่านพิภพ จึงทรงลาผนวช เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2394 เวลา 1 นาฬิกา นับเวลาทรงผนวชอยู่ 27 พรรษา เมื่อพระองค์ทรงลาผนวชแล้วได้ประทับว่าราชการอยู่ ณ พลับพลา ระหว่างโรงแสงดั่นจนถึงฤกษ์ทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเฉลิมพระราชมณเฑียร (สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ 2514 : 114-115) ซึ่งประกอบขึ้นในวันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 ณ พระที่นั่งอมรินทร วินิจฉัย แล้วเสด็จออกเลียบพระนครทางสถลมารคและชลมารค เมื่อวันที่ 20 และ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 มีพระนามจารึกในแผ่นพระสุพรรณบัฏว่า

    "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ สุทธสมมติเทพยพงศ์ วงศาดิศวรกษัตริย์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราหณีจักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุจริตมูลสุสาธิต อุกฤษฐวิบูล บูรพาดูลกฤษฎาภินิหาร สุภาธิการรังสฤษฏิ์ ธัญญลักษณะวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณต บาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุ มาลยมหาบุรุษรัตน์ ศึกษาพิพัฒสรรพโกศล สุวิสุทธวิมลศุภศีลสมาจาร เพ็ชรญาณประภาไพโรจน์ อเนกโกฏิสาธุคุณวิบูลสันดาน ทิพยเทพาวตาร ไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ เอกอัครมหาบุรุษ สุตพุทธมหากวี ตรีปิฎกาทิโกศลวิมลปรีชามหาอุดมบัณฑิต สุนทรวิจิตรปฏิภาณ บริบูรณคุณสารสยามาธิโลกดิลก มหาบริวารนายก อนันตมหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษสิรินทร มหาชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณะมหาบรมราชา ภิเษกาภิสิตสรรพทศทิศวิชัตชัย สกล มไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหาราชาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวสัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อุกฤษฐศักดิ์อัครนเรศวราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปไมยบุญญการ สกลไพศาลมหารัษฎา ธิเบนทร์ ปรเมนทรธรรมิก มหาราชาธิราช บรมนาถบพิตรพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทรมหินทรายุธยา

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว โปรดเกล้าให้สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ เป็นพระมหาอุปราช แต่ให้มีพระเกียรติยศอย่างพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแก่พระอนุชา เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 เสด็จเลียบพระนครทางสถลมารค เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2394

    การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และการสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "พระเจ้าแผ่นดิน ที่สอง"

    เป็นที่พึงพอใจและชื่นชมยินดีอย่างมากของพสกนิกรในแผ่นดินและชาวต่างประเทศซึ่งได้ส่งข่าวไปยังสิงค์โปร์ว่าการเปลี่ยนรัชกาล ในวันที่ 2 เมษายน เป็นไปด้วยความสงบ เจ้านาย ขุนนาง ประชาชนไทยพอใจในพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ หนังสือพิมพ์ "สแตรทส์ ไทม์" (Straits Times) ที่สิงค์โปร์ลงข่าว "... เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ให้ความหวังอันยิ่งใหญ่แก่ประชาชนชาวสยามและเป็นที่น่าสนใจ แต่ประชาชาติภายนอก..." (William Bradley 1967 : 152 อ้างถึงในวิลาสวงศ์ พงศะบุตร 2525 : 28-29)
    เพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะกล่าวถึงสภาพทั่วไปทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมในสมัยนั้นโดยสังเขป คือ

    สภาพการเมือง ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเมืองในสมัยรัชกาลที่ 4 มีดังนี้ 1. การขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกิดจากการสนับสนุนของกลุ่มขุนนางตระกูลบุนนาค เป็นกลุ่มขุนนางที่มีอำนาจมากในยุคนั้น ได้ทรงตอบแทนขุนนางตระกูลนี้ด้วยตำแหน่งกลาโหมและการคลัง ซึ่งเป็นตำแหน่งทางการเมืองที่มีอำนาจและสำคัญต่อประเทศ และสำหรับพระราชวงศ์ได้ทรงบวรราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชอนุชาของพระองค์เป็นพระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สอง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระราชอำนาจที่แท้จริงยังมิได้อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์

    2. จักรวรรดินิยมและชนชาวตะวันตกในประเทศไทย เป็นกลุ่มสนับสนุนในการเลือกสรรพระมหากษัตริย์ เห็นได้จากกรณีที่ชาวตะวันตกสนับสนุนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ทรงขึ้นครองราชย์

    3. ภัยของจักรวรรดินิยม ซึ่งแย่งชิงและครอบครองแผ่นดินประเทศเพื่อนบ้านใกล้ชิดประเทศไทย และพยายามที่จะรุกรานอธิปไตยของประเทศไทย

    4. ในช่วงผลัดแผ่นดิน จากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มาเป็นแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเทศอังกฤษนำโดย เซอร์ เจมส์ บรุค (Sir James Brooke) พยายามที่จะขอแก้ไขสนธิสัญญาเบอร์นี่ ซึ่งลงนามต่อกันไว้เมื่อรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อต้องการ

    - เรียกร้องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่คนอังกฤษและคนในบังคับของอังกฤษ
    - เรียกร้องให้ประเทศไทยเปิดการค้าเสรี ยกเลิกสัมปทานและระบบผูกขาดใดๆ ทั้งสิ้น
    - ชักชวนให้รัฐบาลไทยอนุญาตส่งข้าวเป็นสินค้าออก โดยไม่เป็นสินค้าต้องห้ามอีกต่อไป

    สถานการณ์เช่นนี้ จะมีผลให้เกิดภัยต่อประเทศหรือไม่ ย่อมขึ้นกับการดำเนินพระวิเทโศบายของพระมหากษัตริย์องค์พระประมุขของประเทศ

    สภาพเศรษฐกิจ

    ประเทศไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าทรัพยากรเหล่านั้นรัฐบาลจะต้อง อาศัยแรงงานไพร่ในการจัดหาและผลิตขึ้น และมีปริมาณไม่มากนักในแต่ละปีราษฎรส่วนใหญ่ไม่รู้จักการค้าขาย เมื่อชาติมหาอำนาจตะวันตกเข้ามา และยื่นข้อเสนอในเรื่องการค้ากับไทย รัฐบาลไทยจึงไม่สามารถเป็นผู้กำหนดและวางนโยบายในการผลิตเองได้ นอกจากจะมีบทบาทในการสนองตอบความต้องการของประเทศมหาอำนาจตะวันตก และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้าระหว่างประเทศเท่านั้น ผลก็คือ

    1. ด้านการเกษตร มีการเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญ เพราะแต่เดิมนั้นไทยมีระบบการค้าแบบ ผูกขาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวซึ่งเป็นสินค้าต้องห้าม ห้ามการนำออกนอกประเทศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการค้า ทำให้มีการผลิตข้าวเพื่อส่งออกแทนการผลิตเพื่อกินเพื่อใช้แต่ภายในประเทศ มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากขึ้น และนอกจากนี้ยังเลิกปลูกพืชผลเกษตรอย่างอื่น เช่น อ้อยซึ่งเคยเป็นพืชเศรษฐกิจในสมัยรัตนโกสินทร์ มาปลูกข้าวกันมากขึ้น

    2. ด้านการค้า มีการเปลี่ยนแปลงการค้า มาเป็นการค้าเสรี และอาศัยระบบเงินตรา ดังจะเห็นกฎหมายตลอดจนประกาศทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเงินตราหลายฉบับในรัชกาลนี้

    สภาพสังคม

    รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่องที่ต้องการเน้นให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอารยธรรมประเทศหนึ่ง และเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ (กระทรวงศึกษาธิการ 2527 : 47-49)

    พระราชกรณียกิจ พระราชดำริ พระราชดำรัส ที่คัดลอกมานำเสนอในที่นี้ จะทำให้มองเห็นบทบาทของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแก้ไขเหตุการณ์ภายนอกประเทศและภายในประเทศด้วยพระปรีชาญาณอันสุขุมคัมภีรภาพอย่างลึกซึ้ง

    หมายเหตุ อักขระและตัวอักษรในพระราชดำรัส พระราชดำริ และพระราชกำหนดต่าง ๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ได้คัดลอกมาตามที่ใช้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    พระราชปณิธาน ของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    พระเจ้าแผ่นดินคนทั้งปวงยกย่องตั้งไว้เป็นที่พึ่ง ใครมีทุกข์ร้อนถ้อยความประการใด ก็ย่อมมาร้องให้ช่วย ดังหนึ่งทารกเมื่อมีเหตุแล้วก็มาร้องหาบิดา มารดา เพราะฉะนั้นพระเจ้าแผ่นดินชื่อว่าคนทั้งปวงยกย่องให้เป็นบิดา มารดาของตัวแล้วก็ มีความกรุณาแก่คนทั้งปวง ดังหนึ่งบิดา มารดา กรุณาแก่ผู้บุตรจริงๆ โดยสุจริต...

    คัดจากหนังสือ แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล
    ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ จัดพิมพ์ พ.ศ. 2527





    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/practice/mk725.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#ffffcc>สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในสมัยปัจจุบันรู้สึกว่าประชาชนชาวพุทธทุกระดับชั้นมีความสนใจในการปฏิบัติธรรม ซึ่งคงจะเป็นที่เข้าใจและคงจะมีผู้พิสูจน์เห็นผลกันมาแล้วว่า การทำสมถะนั้นมีความจำเป็น คือมีความสำคัญเกี่ยวกับการแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน ความจริงการปฏิบัติกัมมัฏฐานนั้นเป็นหลักและวิธีการที่เราจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ และจะได้ยึดเป็นหลักแก้ไขปัญหาชีวิตประจำวัน
    เมื่อพูดถึงเรื่องสมถะก็คือเรื่องการทำสมาธินั่นเอง สมาธิก็คือการภาวนานั่นเอง บางทีก็เรียกกัมมัฏฐาน บางทีก็เรียกวิปัสสนา บางทีก็เรียกว่าการทำสมาธิ มีคำพูดที่จะใช้เรียกแทนกันหลายๆ อย่าง การปฏิบัติกัมมัฏฐาน ในสมัยปัจจุบันนี้เกิดปัญหายุ่งยากและนักปฏิบัติทั้งหลายมีความขัดแย้งกันอยู่ตลอดเวลา ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเหตุชาวพุทธไปติดภาษา ยกตัวอย่างเช่น บางท่านในเมื่อฝึกฝนอบรมบรรดาพุทธบริษัทให้ปฏิบัติก็ใช้คำว่าจงทำใจให้เป็นสมาธิ และบางท่านก็ว่าจงทำใจให้ว่าง เพียงคำพูด ๒ ประโยคนี้ นักปฏิบัติก็ยังต้องขัดแย้งกัน แต่ความจริงนั้น ทั้ง ๒ คำนี้ เมื่อพูดถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากการปฏิบัติแล้วมีผลเป็นอย่างเดียวกัน ในสายของท่านอาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ มักใช้คำว่าจงภาวนาทำจิตให้เป็นสมาธิ แต่ท่านพุทธทาสบอกว่าจงทำจิตให้ว่าง แล้วลองคิดดูซิว่า ทั้ง ๒ ท่านนี้ มีบุคคลบางคนเขายกปัญหาขึ้นมาโต้แย้งกัน ถึงขนาดที่ว่าพิมพ์เป็นเอกสารโจมตีกันขนาดหนัก เท่าที่ได้หยิบยกเอาปัญหา ๒ ข้อนี้ไปพิจารณาแล้วได้ความว่า การทำจิตให้เป็นสมาธิกับการทำจิตให้ว่างนั้นมันมีผลเท่ากัน เพราะเหตุว่าการทำจิตให้เป็นสมาธิ เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้วจิตก็ย่อมปราศจากอารมณ์ ถ้าหากว่าจิตยังมีอารมณ์จิตมันก็ไม่นิ่ง ในเมื่อนิ่งเป็นจิตที่ปราศจากอารมณ์แล้วก็เป็นจิตว่าง ท่านที่ใช้คำว่าจงทำจิตให้ว่าง เมื่อบริกรรมภาวนาหรือกำหนดอารมณ์ของกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อจิตสงบนิ่งลงไปแล้วก็เกิดความว่าง เป็นความหมายที่ตรงกัน เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรม นักปฏิบัติอย่าไปติดภาษา การพูดภาษาสมมติบัญญัตินั้น ในธรรมะข้อเดียวกัน หรือผลที่เกิดจากการปฏิบัติอย่างเดียวกัน เราอาจจะใช้โวหารคนละคำพูดได้ เช่นอย่างจิตเป็นสมาธิกับจิตว่าง เป็นต้น<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    การเจริญสมถกัมมัฏฐาน หรือการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน มีปัญหาสำคัญอยู่ตรงที่ว่า เราปฏิบัติธรรมะ เราจะเอาธรรมะมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และปฏิบัติเพื่อจะให้รู้ความจริงที่อยู่ในกายในใจของเรานี้ ส่วนความรู้ความเห็นอะไรต่างๆ นั้นเป็นเพียงเครื่องรู้ของจิต เป็นเพียงเครื่องระลึกของสติ เป็นเครื่องทำจิตให้มีความเจริญ เจริญด้วยพละ เจริญด้วยอินทรีย์ ทำสติให้มีพลัง ทำสติให้เป็นใหญ่ในธรรมทั้งปวง อันนี้คือวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติ
    การปฏิบัติในทางกัมมัฏฐานท่านได้แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ สมถกัมมัฏฐานอย่างหนึ่งและวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างหนึ่ง สมถะเป็นเครื่องอุบายความสงบใจ วิปัสสนาคืออุบายให้เกิดปัญญา ความย่อๆ มีอยู่เพียงแค่นี้
    การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน เฉพาะในตำราท่านได้เขียนไว้ถึง ๔๐ อย่าง ซึ่งจะไม่กล่าวถึง จะกล่าวถึงเฉพาะการทำสมถะด้วยการเจริญพุทธานุสติ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นในสายสมาธิของท่านอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น ส่วนมากท่านจะสอนให้ลูกศิษย์ลูกหาเจริญพุทธานุสติเป็นเบื้องต้น เคยได้เรียนถามท่านว่าทำไมจึงสอนให้เจริญพุทธานุสติเป็นเบื้องต้น ท่านก็ให้ความเห็นว่า พุทธานุสติคือพุทโธ แปลออกมาว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเป็นกิริยาของใจ เมื่อใครทำใจให้สงบนิ่ง สว่าง จิตเป็นสมาธิได้ ใจของผู้นั้นจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาที่เข้าถึงจิตพระพุทธเจ้า ยึดพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่ง นี้คือความหมายของพุทโธ
    ด้วยเหตุผลดังกล่าว ขอแนะนำให้นักปฏิบัติได้บริกรรมภาวนาว่า
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/Rama9-Buddhism.html

    พุทธศาสนาปฏิบัติอย่างไร
    * * * * * * * * *<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>

    พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
    * * * * * * * * *<O:p> </O:p>


    "... แต่ละคนจะต้องการอะไร ก็ต้องการความสุข... ความสุขและความสงบนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยตนเอง... อันนี้เป็นข้อที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา... "<O:p> </O:p>
    *<O:p></O:p>****
    "... เวลาพูดถึงปริยัติข้อใด เอามาคิดว่า ท่านหมายความว่าอย่างไร แล้วมาดูที่จิตใจของเราว่ามันตรงหรือไม่... อันนี้ก็หมายความว่า เป็นการปฏิบัติ... "<O:p> </O:p>
    *<O:p></O:p>****
    " ...สมาธินั้นเราอาจจะได้เป็นเวลาพียงครึ่งวินาที มันก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ว่าเป็นสมาธิที่อ่อนมาก แต่ก็เป็นสมาธิข้อสำคัญที่จะต้องได...สมาธินี้ถ้าเราเอามาใช้... ก็จะมาเห็นใจของเรา... และก็ใจนี้ทำให้เรามีความสุข มีความทุกข์... คือหมายความว่า แม้แต่มีความสุข ก็ทำให้มีความทุกข์ต่อไปได้" <O:p></O:p>
    *<O:p>**** </O:p>
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-BOOK/Rama9-Buddhism.html

    ต่อครับ

    ความจริงปฏิบัติพระพุทธศาสนาตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่ใช่ของยาก แต่ละคนทำได้ทั้งนั้น แต่ว่าก็จะต้องมีความตั้งใจ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    เมื่อเราอยากที่จะปฏิบัติธรรม มีความอยากแล้วก็หมายความว่าเรายินดี เราอยากที่จะปฏิบัติ มีข้อนี้ เป็นต้น ถ้าเราสนใจพระพุทธศาสนา และปฏิบัติธรรมของพระพุทธศาสนา เริ่มสนใจก็เริ่มทำได้แล้ว เพราะว่าคนเราไม่อยากปฏิบัติ ขี้เกียจปฏิบัติ หรือไม่คิดอ่านที่จะปฏิบัติ ก็ย่อมไม่ได้ปฏิบัติ เมื่อไม่ได้ปฏิบัติแล้วความมืดก็ครอบคลุม เพราะว่าไม่ได้เปิดไฟ แต่ถ้าเราอยากขึ้นมา อยากและก็เห็นว่าศาสนานี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ก็ย่อมเป็นการเปิดไฟ แม้จะริบหรี่ก็เป็นความสว่างให้เห็น อย่างเช่น เราเข้าไปในห้องที่มืดแล้ว เราก็ไม่รู้จักห้องนั้น ไม่ทราบว่าสวิทช์ไฟอยู่ที่ไหน เรามีไฟฉายแล้วก็เปิดไฟฉายอันริบหรี่นั้น หรือไม้ขีดไฟที่เป็นแสงสว่างไปหาสวิทช์ไฟ ถ้าเราไม่ไปหาสวิทช์ไฟ เราก็ไม่สามารถที่จะเปิดไฟที่อยู่ในห้องนั้น คือ มีหลอดไฟ มีสายไฟ มีสวิทช์ครบถ้วนในห้องนั้น เราไม่สามารถจะพบนอกจากบังเอิญ โดยบังเอิญเราไปแตะสวิทช์ไฟแล้วก็เปิดขึ้นมา แต่ว่าโดยมากก็ต้องทำ เมื่อหาได้แล้วด้วยไฟริบหรี่เรามีอยู่กับตัว ก็สามารถไปเปิดไฟได้ ไฟริบหรี่นี้คือ การสนใจเบื้องต้น เมื่อเราไปเปิดไฟได้แล้วก็จะสว่างขึ้นมา มันสว่าง ไฟที่อยู่ในห้องนั้นอาจจะไม่สว่างเต็มที่ อาจจะมีหลายแห่ง ก็เปิดไฟอันนั้น ก็มีความปิติยินดีแล้ว ก็เป็นอันว่า เราพอใจในการปฏิบัติเช่นนั้น คือเปิดสวิทช์ไฟมันมีความสว่างดี เปิดสว่างดีก็ย่อมมีความพอใจสบายใจ มีความร่าเริงใจ ความร่าเริงใจนี้ความสบายใจเบื้องต้นนี้ เป็นปัจจัยสำคัญของการปฏิบัติพุทธศาสนา ท่านเรียกว่า ฉันทะ คือ ความพอใจในการปฏิบัติ มีความพอใจในการค้นคว้า<O:p> </O:p>
    เมื่อมีความพอใจในการค้นคว้า เราก็ต้องค้นคว้าต่อไป ไม่ใช่พอใจเพียงแค่นั้น เพราะว่าความสว่าง ความดี ความสุข ความพอใจในการปฏิบัตินั้น ยังมีอีกมาก ก็ต้องเพียรที่จะปฏิบัติงานของพุทธศาสนา อันนี้ก็จะต้องมี วิริยะ<O:p> </O:p>
    วิริยะ สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อเริ่มต้นแล้วต้องมีวิริยะ หมายความว่า ต้องเพียร ต้องมีความขยัน วิริยะ นี้คู่กับ ขันติ คือ ความอดทน บางทีเวลาเราทำงานอะไรก็ตาม ในทางโลกทางธรรมเราทำงานแล้วเหนื่อย เมื่อเหนื่อยก็ต้องมีความอดทนในความเหนื่อยนั้น ก็ต้องมีความเพียรที่จะปฏิบัติต่อไป ฉะนั้น พูดไปก็ต้องเห็นว่า ความเพียร กับ ความอดทน นั้น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้งานใดๆ บรรลุผลได้ เมื่อมีความเพียรมีความอดทนแล้ว สิ่งอื่นก็มา แต่ในความเพียร ในความอดทนนี้ ก็ต้องมีการเอาใจใส่ เอาใจใส่นั้นคือ ติดตามอยู่ตลอดเวลาว่า งานของเราไปถึงไหน แล้วก็ไม่ควรจะเผลอ ต้องให้มีการดูติดตามไม่ฟุ้งซ่าน<O:p> </O:p>
    เมื่อปฏิบัติเช่นนั้นก็ยิ่งก้าวหน้าไปใหญ่ งานต่างๆ ก็จะมีความสำเร็จได้ ไม่ใช่งานทางพุทธศาสนาเท่านั้น งานอื่นๆ งานใดในโลก งานในหน้าที่ หรืองานในทางส่วนตัว งานทุกอย่างนั้น จะก้าวหน้าไปได้โดยดี จะไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะว่าราบรื่นได้ เพราะว่าแม้จะมีอุปสรรค อุปสรรคเหล่านั้นไม่ใช่อุปสรรคที่จะข้ามไม่ได้ ถ้ามีความเพียรความอดทนความเอาใจใส่<O:p> </O:p>
    การปฏิบัติงานจะต้องทบทวนอยู่เสมอ ดูให้ชัดว่างานที่เราทำไปมันไปถึงไหน งานนั้นไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะบางทีถ้ามีความอดทน มีความเพียร และมีความเอาใจใส่ อาจจะเอาใจใส่อย่างไม่ถูกต้องนัก คือ เช่นเดียวกับการเดินทางไปที่ไหน สมัยนี้ต้องแล่นรถ เราก็แล่นรถไปตามทาง มีทางแยกไหน เราก็เห็นว่าทางนี้ถูกต้องแล้ว แต่ว่าแท้จริงเราเลี้ยวผิด อาจจะเป็นได้ เพราะว่าดูทางเป็นเช่นนั้น ก็จะต้องทบทวนอยู่ว่าทางนั้นถูกต้องหรือไม่<O:p> </O:p>
    อย่างเมื่อครั้งไปภาคอีสาน ดูในแผนที่ว่า หมู่บ้านแห่งหนึ่งอยู่ในแผนที่แล้ว เราก็เห็นว่า ทางที่ควรจะไปหมู่บ้านหนองแคร่นั้นอยู่ข้างทาง ซึ่งบนแผนที่เขียนว่าเป็นทางประ หมายความว่า จะเรียกว่าเป็นทางเกวียนก็ได้ หรือเป็นทางเดิน แต่ว่าเราทราบว่ามีทาง รพช. มาผ่านใกล้แถวนั้น และก็มีทางอีกทางหนึ่งที่จะเชื่อมกับทาง รพช. ได้ เราก็แล่นไปทางถนนใหญ่ๆ ถึงที่ๆ จะเลี้ยว เราก็บอกเลี้ยวซ้าย แล้วก็เลี้ยวซ้ายไป ไปในถนนที่เป็นทางประอีกแห่งหนึ่ง ให้ไปถึงทาง รพช. เมื่อถึงทาง รพช. แล้ว ในแผนที่เขียนไว้ว่าให้เลี้ยวซ้าย แล้วก็ตรงไป ลงจากทาง รพช. เขียนไว้อย่างนั้น แต่ว่าเราก็แล่นรถไป แล่นไปขึ้นทาง รพช. แล้ว ทาง รพช. นั้นเลี้ยว เลี้ยวก็ไม่มีทางแยกประการใดก็แล่นต่อไป ต่อไปข้ามสะพานไป ถึงบ้านอีกบ้านหนึ่ง เราก็ฉงนว่าบ้านนี้มันอยู่ที่ไหน แล้วก็ทิศทางที่เราไปนั้น ไปทางเหนือประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งมันไม่ถูก แต่ว่าไม่รู้ตัว เพราะว่าไม่ได้ทบทวนตลอดทาง แต่ไปถึงนั้น เราก็ทราบว่า รู้สึกว่าต้องผิดแน่ จึงมาดูทิศทาง และแผนที่อีกที ก็เลยปรากฏว่า ต้องลงจากถนน รพช. ตรงที่ใกล้เลี้ยวนั่นเอง แล้วก็กลับหลังหัน กลับหลังหันประมาณ 2 กิโลเมตร แล่นมาถึงทางเลี้ยว ก็บอกว่าทางเลี้ยวตรงนั้น มีทางลงไป เลี้ยวขวาไปบ้านหนองแคร่ไม่มีทาง เราก็แล่นต่อไป ก็กลับเลี้ยวขวาลงไปตามทางที่เรามาแต่เดิม แล้วลงมาประมาณ 100 เมตร จึงเลี้ยวขวาอีกที แล้วก็ไปทางประนั้น ก็ไปถึงบ้านหนองแคร่ได้<O:p> </O:p>
    ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า เราต้องพิจารณาทุกฝีก้าวว่า ตรงเลี้ยวขวานั้น ความจริงยังไม่ถึงทาง รพช. มันเป็นเลี้ยวขวาที่อยู่ในแผนที่เดิม และก็ไปถึงหนองแคร่ได้ ถ้าตั้งแต่แรกมาพิจารณาดูชัดๆ ตลอด และคิดตามตลอดไป ก็จะไม่ต้องเสียเวลาไปต่อในทางที่ผิด แต่ถ้าเรามีความเพียร บอกว่ามีความเพียร อดทนกันไป ทางมันไกล แล้วไปตามทาง รพช. นั้น จะไปถึงไหน มันจะออกไปโน่น จะเข้าไปถึงถนนไปนครพนมไปเลย หมายความว่า ถ้าสมมติว่าเราเอาหัวชนฝา เราเพียร มีความอดทนแล่นรถไป 2 ชั่วโมง ไปถึงนครพนม มันจะมีประโยชน์อะไร มันจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย แล้วก็จะเสียหาย เพราะว่า เราจะเหน็ดเหนื่อยเปล่า และก็เสียน้ำมันซึ่งแพงนักในสมัยนี้ เพราะไกลมาก หมายความว่า ถ้าเรามีความเพียร ความอดทน และความจ้องดูถนนที่แล่นไปนั้นเท่านั้นเอง ไม่มีการทบทวนเป็นระยะๆ ว่าเราไปถึงไหน เราก็ไม่สามารถที่จะไปถึงจุดหมายที่ถูกต้อง นอกจากจะบังเอิญ เพราะฉะนั้น ก็จะต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้ได้ครบถ้วน ถึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี<O:p> </O:p>
    ที่กล่าวมานี้ ก็เป็นทางที่จะให้ได้ปฏิบัติงานของธรรม หรือปฏิบัติพุทธศาสนาในทางที่เรียกว่า ปฏิบัติ เริ่มต้นตรงนี้อย่างนี้ และที่ว่านี้ก็จะเป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานทุกอย่าง ไม่ใช่งานของการปฏิบัติธรรม เป็นประโยชน์สำหรับการปฏิบัติงานของตัว ทั้งเด็กทั้งผู้ใหญ่ ทั้งผู้หญิง ทั้งผู้ชาย มีประโยชน์ทั้งนั้น ใครมีหน้าที่อะไร มีงานอะไร ถ้าทำตามหลักนี้ ก็มีความสำเร็จแน่ๆ บอกว่าแน่ ไม่ใช่อาจจะ เป็นสิ่งที่แน่ เพราะว่า จิตใจของเราจะได้ปฏิบัติในทางที่ถูก<O:p> </O:p>
    คราวนี้ก็ยังไม่ได้พูดถึงว่า พุทธศาสนานี้ ปฏิบัติที่ไหน ปฏิบัติอย่างไร เพราะว่าคนที่ศึกษาพระพุทธศาสนา หรือมาตั้งเป็นพุทธสมาคม หรือเป็นกลุ่มศึกษาพุทธศาสนา บางทีก็ยังไม่ทราบว่า การปฏิบัตินั้นเริ่มที่ไหน เพราะที่พูดถึงวิธีการที่จะปฏิบัติได้นั้น ก็ไม่ได้บอกว่าเริ่มปฏิบัติตรงไหน นอกจากมาเปรียบเทียบว่า เข้าไปหาสวิทช์ไฟ เพื่อจะเปิดให้ความสว่าง และเมื่อมีความสว่างแล้ว ก็ดูทางได้ และไปดูทางที่จะทำให้สว่างยิ่งขึ้น และสวิทช์ไฟนั้นอยู่ที่ไหน คือ สวิทช์ไฟนั้น เราเอาแสงไฟเท่าที่ริบหรี่นั้นไปฉาย แล้วก็ไปเปิดสวิทช์ไฟ สวิทช์ไฟนี้คืออะไร เพราะว่า ท่านพูดอยู่เสมอว่า พระพุทธศาสนานั้น เมื่อได้ปัญญาก็มีความสว่าง เมื่อปฏิบัติธรรมก็ได้ปัญญา ได้แสงสว่าง ปัญญานั้นก็ดูจะเป็นสวิทช์ไฟ แต่ถ้าดูๆ ไป ปัญญานี้ปัญญาอะไร ก็ปัญญาในธรรมนี้ ปัญญาในธรรมไม่ใช่สวิทช์ไฟนั้นจะพบอย่างไร แต่การที่จะบอกว่า สวิทช์ไฟคืออะไรนั้น ก็คือใจเรา ใจหรือจิต จิตหรือใจก็ได้ แล้วบางทีท่านก็เรียกว่าจิต บางท่านก็เรียกว่าใจ บางท่านก็บอกว่าจิตคือใจ บางท่านก็บอกว่าใจคือจิต บางท่านก็บอกว่าจิตไม่ใช่ใจ หรือบางท่านก็บอกว่าจิตคือเป็นอาการของใจ อาการของใจนี้แปลว่าอะไร ใจเป็นสิ่งที่เรามีทุกคน เป็นสิ่งที่เราไม่เห็น เป็นสิ่งที่คนอื่นไม่เห็น แต่ว่าใจนี้จะเป็นผู้บงการการกระทำของเราทั้งหลาย จึงต้องพยายามดู แต่ถ้าใจนี้เราไม่ดูก็ไม่เห็น ถ้าดูด้วยตา ด้วยตาที่มองดูภูมิประเทศดูใครต่อใครนั้น ดูตึกดูอาคารนั้น ตานั้นจะไม่เห็น ท่านก็เรียกว่าตาใจ คือความรู้ ตาใจนั้นก็คือ เป็นสิ่งที่จะใช้สำหรับได้ปัญญา ได้เห็นแสงสว่างปัญญา<O:p> </O:p>
    คราวนี้เราก็เจอแล้ว่า ส่วนหนึ่งของสวิทช์ไฟ หรือส่วนหนึ่งของกลไก ที่จะทำให้มีความสว่างคือใจ ใจนี้เมื่ออยากทราบ ก็จะต้องปฏิบัติหลายอย่าง ตอนแรกเราจะไม่สนใจ เพราะว่า เมื่อเราดูไป เราก็เกิดความฟุ้งซ่าน เราเกิดความรู้สึกโลภ รู้สึกอาจจะโกรธด้วยซ้ำ จึงทำให้มีสิ่งที่มาปิดคือ ปิดในสิ่งที่ท่านเรียกว่า โมหะ คือความโง่ ความไม่รู้ หรือรู้ไม่จริง มันปิดบังใจ และปิดบังความจริง ฉะนั้น จะต้องหาทางที่จะเปิด เปิดม่านนั้น เมื่อเปิดม่านนั้น ก็จะต้องพยายามที่จะทำให้ใจนี้สงบ อันนี้ก็มาถึงเรียกว่า สมถะ หรือ สมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้น่ากลัวเท่าที่ว่า บางคนก็บอกว่า การนั่งสมาธินี้ ระวังดีๆ อาจจะเป็นบ้าก็ได้ อาจจะแย่ ลำบาก ไม่มีทางที่จะทำ น่ากลัว แต่ว่าสมาธินี้ก็ต้องเริ่มอย่างเบาๆ ก่อน คือว่าจะต้องมีความตั้งใจ ให้จิตใจนี้ไม่ไปเกาะเกี่ยวกับอะไรก็ตาม หมายความว่า จะต้องเริ่มต้นด้วยการปัดกวาดสิ่งที่เป็นม่าน หรือจะเป็นสิ่งที่คลุม ไม่ทำให้สงบได้ ไม่ทำให้เกิดความนิ่งแน่ได้<O:p> </O:p>
    การที่จะให้เกิดความสงบคือสมาธินี้ จึงต้องพยายามดูให้เห็นว่า อะไรมาปิดบัง เมื่อถอนสิ่งที่ปิดบังนั้น ทันใดก็ได้สมาธิ โดยมากเราจะทำอะไร เราก็คิดถึงอะไรสารพัดไม่แน่ คือหมายความว่า เราไปติดเรื่องอื่น อย่างสมมติว่าเราจะเดินไปไหน ถ้าสมมติว่าเราลุกขึ้นยืน แล้วก็เราอยากออกจากห้องโถงนี้ เราไม่เห็นประตู เราไม่เห็นอะไร เราจะต้องถอนสิ่งที่อยู่ข้างหน้าตาเราก่อน หันไปในทางที่จะเป็นสิ่งที่เหมาะสมในการกระทำคือ ประตู สมมติว่าเราดูฝาผนัง หรือดูม่าน หรือดูเพดาน สิ่งเหล่านั้นมันปิดบัง มันไม่เห็นประตู เราก็จะต้องเอาจิตใจของเรา เอาออกไปจากฝาผนัง หรือออกจากเพดาน หรือออกจากม่าน เอาไปไว้ที่ประตู หมายความว่า ขั้นแรกเราต้องการประตู เราก็จะต้องทิ้งฝาผนัง หรือเพดาน หรือม่านที่เรากำลังดู หมายความว่า สิ่งที่กีดขวางไม่ให้สามารถที่จะได้เห็นสิ่งที่เราต้องการ ถ้าเราบอกว่าเราดูฝาผนัง ดูเพดานบ้าง ดูม่านบ้าง แล้วก็เราไม่มีทางที่จะดูประตู แต่ว่าถ้าเราตัดสินใจปั๊บว่า ตอนนี้ไม่ใช่ภาระของเราที่จะดูเพดาน ดูฝาผนัง หรือดูอะไร เป็นภาระที่จะไปหาประตู เราก็จะถอนออกมาจากสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ ที่กำลังฟุ้งซ่านอยู่ ส่วนมากเราก็มีความชอบอะไร ก็เรียกว่า กามราคะ มีโทสะคือพยาบาท หรือบางทีก็ไม่ใช่โทสะ หรือราคะอะไร มีความฟุ้งซ่านแกว่งไกว ไปที่นั่นที่นี่ เดี๋ยวอันนี้ก็ไม่เอา อันโน้นก็ไม่เอา มันไม่มีทางที่จะมีความสงบ หรือบางที เราก็พยายามหาความสงบ เราไม่มีความเพียรพอ เรามันง่วง เรามันหาว บางทีเราก็เกิดมีสิ่งที่ทำให้ไม่สามารถ มันย่อหย่อน บางทีก็ไม่เชื่อว่ามีประตูด้วยซ้ำ ต้องปัดกวาดความลังเลสงสัยอะไรต่างๆ เหล่านี้ สิ่งที่ไม่ดีคือ สิ่งที่ทำให้ฟุ้งซ่าน ทำให้เราไม่สามารถที่จะทำใจให้นิ่งๆ เพราะว่ามีสิ่งที่มาปิดบังดังนี้ แต่ถ้าเราพยายามที่จะดูว่ามีสิ่งที่ปิด และก็บอกว่าเอาตอนนี้มันไม่ใช่เรื่อง ไม่ใช่เวลาที่จะเอาสิ่งมาปิดบัง ถอนปิดบัง เหล่านี้เราก็ได้สมาธิ ได้ทันทีเลย นี่เรียกว่า สมาธิ<O:p> </O:p>
    สมาธินั้นเราอาจจะได้เป็นเวลาเพียงครึ่งวินาที มันก็เป็นสมาธิแล้ว แต่ว่าเป็นสมาธิที่อ่อนมาก แต่ก็เป็นสมาธิข้อสำคัญที่จะต้องได้ อันนี้ให้เห็นว่าสมาธิคืออะไร โดยมากคนเราเมื่อเป็นเด็ก เป็นนักเรียน ท่านก็สอน คือหมายความว่า ครูบาอาจารย์หรือพ่อแม่ ก็สอนให้ตั้งจิตตั้งใจเรียน ก็หมายความว่า ทำสมาธินั้นเอง แล้วเราก็เรียนว่า ถ้าเราตั้งใจในสิ่งนั้นๆ ให้ดีมันก็ทำได้ เรียกว่ามีสมาธิ เพราะว่า จิตเราไปเพ่งอยู่อันเดียว แต่คนเราถ้าไม่มีสมาธิเสียเลย หมายความว่า เป็นคนฟุ้งซ่านจริงๆ เป็นคนที่ไม่ได้เรื่อง จะเรียนอะไรไม่ได้ จะพูดก็ไม่ได้ ไม่มีทางอะไรเลย คือว่าขึ้นชื่อว่าเป็นคนไม่มีสมาธิ ไม่ใช่ว่าคนเรา เราเสียใจเหลือเกินว่า เรามันขาดสมาธิ ถ้าคิดว่าเราขาดสมาธิ เท่ากับเรามีสมาธิอยู่แล้ว เพราะรู้ว่ามีคำว่าสมาธิ เราได้เรียนรู้แล้ว ถ้าไม่มีสมาธิในตัวเลยหมายความว่า ไม่มีความดีเลยในตัว ก็ไม่สามารถที่แม้จะคิด จะมีคำว่าสมาธิ<O:p>
    </O:p>
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/T-B...-Buddhism.html

    จบแล้วครับ

    ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมอยู่ที่ตัวสมาธินี้ ซึ่งเรามีทุกคน มีแต่ว่าให้เห็นว่า นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม คือ จากสมาธิที่เรามีธรรมดาๆ ที่เมื่อเด็กๆ ครูบาอาจารย์พ่อแม่ได้สั่งสอนบอกว่าต้องตั้งใจ แต่นี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของสมาธิ เพราะเหตุว่า การที่จะปัดกวาดสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิที่ท่านเรียกว่า นิวรณ์ การปิดกั้นนี้ เราจะเอาออก มันต้องมีสมาธิเพื่อให้มีสมาธิ อันนี้พวกเราที่อยากจะศึกษาสมาธิ และศึกษาการปฏิบัติธรรมติดอยู่ตรงนี้ เพราะเราไปหาอาจารย์ ท่านบอกว่าต้องทำสมาธิ มีนิวรณ์ 5 อย่างนั้นๆ มีสิ่งที่ปิดกั้น การที่จะทำให้สิ่งที่ปิดกั้นนั้นออก จะต้องตั้งใจ ต้องมีสมาธิเพื่อจะเอาเครื่องปิดกั้นนั้นออก เราก็งง โดยมากไม่มีที่ไหนที่จะสอนให้ทำสมาธิโดยได้บอกว่า ให้เอาเครื่องปิดกั้นนี้ออก บอกว่าต้องระงับนิวรณ์ทั้งสิ้น ก็หมายความว่า การระงับนิวรณ์นี้ต้องใช้อะไร ก็ต้องใช้สมาธิ จะทำอย่างไร ไก่มาก่อนไข่หรือไข่มาก่อนไก่ ความจริงใช้สมาธิระงับนิวรณ์ จริงๆ ท่านไม่ได้พูดผิด แต่ว่าเราไม่เข้าใจ ไม่เข้าใจว่าเราต้องการสมาธิ แล้วเราต้องใช้สมาธิ เพื่อระงับนิวรณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ปิดกั้นสมาธิ เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้ แต่ว่าถ้าเข้าใจแล้วว่า สมาธิเรามีอยู่ทุกคน มิฉะนั้น เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ถ้าเราไม่มีสมาธิ หรือไม่มีทุนเดิม เราไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ไม่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ที่มีความฉลาดมาก หรือน้อยก็แล้วแต่ แต่ว่ามีความฉลาด มีความดี มีวาสนา ทุกคนมีมากหรือน้อย เท่านั้นเอง หรือดี หรือชั่ว เท่านั้นเอง แต่เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เป็นสิ่งที่ประเสริฐยิ่งแล้ว เราเกิดมาเป็นมนุษย์ เราทำสมาธิได้ เพราะเหตุว่าเราได้ทำมาแล้ว เราทำมาถึงเกิดมาเป็นมนุษย์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็มีความดีอยู่ในตัว ความชั่วมี แล้วก็โดยมากใครๆก็ว่า มนุษย์มีกิเลส มีความชั่วเลวทรามต่างๆ ต้องขัดเกลา เราก็หัวหดเลย แต่ว่าความจริงไม่เป็นเช่นนั้น คือความจริงทั้งหมดที่ครบถ้วนไม่เป็นเช่นนั้น ความจริงเรามีความเลวทรามชั่วในตัวทุกคน มากหรือน้อย โดยมากก็มาก และเรามีความดีทุกคนมากหรือน้อย แต่โดยมากก็น้อย อย่างไรก็ตามมีน้อยๆ นี่มันเป็นทุนเดิมทั้งนั้น ไม่ใช่ว่าเราไม่มี ทุกคนสามารถที่จะปฏิบัติงานของธรรมนี้ได้ทุก ๆ คน ไม่เว้นสักคน แต่ว่าจะต้องหาหรือขุดความดีที่เรามีเป็นทุนเดิมนี้ มาทำให้เกิดความดีเพิ่มขึ้น ฉะนั้นก็ใช้สมาธิที่มีอยู่เดิม อาจจะสมาธิแย่ ๆ ก็ได้ แต่ว่าเป็นสมาธิ สมาธิมากระตุ้นทำให้เกิด สมาธิที่ดีขึ้น ฉะนั้น สมาธิที่ดีขึ้นนั้นก็มีได้ทุกคน ก็อาศัยความเพียร ความอดทน ที่อาจมีสมาธินี้ ก็เปรียบเทียบได้กับ ไฟฉายเล็ก ๆ หรือไม้ขีดไฟริบหรี่ ไฟริบหรี่นั้น ก็สามารถที่จะใช้ อันนี้สำหรับไปทำให้สมาธิใหญ่ขึ้น ดีขึ้น อันนี้ก็เป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อให้ได้สมาธิ<?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p> </O:p>
    สมาธินี้ถ้าเราเอามาใช้ คือสร้างสมาธิให้ดีขึ้นหน่อย แล้วเอามาใช้ ไม่ต้องทำสมาธิให้หนักแน่นมากนัก แต่ว่าเป็นสมาธิที่ควบคุมได้ เราจะมาเห็นใจ เราทำสมาธิให้นิ่ง จิตใจให้นิ่ง ก็จะมาเห็นใจของเรา ใจจะไม่เป็นสิ่งที่ลึกลับ ใจจะเป็นสิ่งที่เปิดเผย คือเราเปิดเผยตัวเราเอง ถ้ากลัวว่าคนอื่นจะมาเห็นใจเรา จะมาทะลุ ทะลวง เข้ามาในใจเรา ไม่ต้องกลัว เราทะลุทะลวงเข้าในใจของตัวเราเอง ดูใจนี้ก็จะเห็นได้ ต่อเมื่อใจนั้นได้รับ ที่เรียกว่า อารมณ์ คือ สิ่งที่เราเห็นได้ด้วยตา ได้ฟังด้วยหู เป็นต้น เวลาเข้ามาแล้วเราจะเห็นว่าใจนี้ อันนี้พูดอย่างลับ ใจนี้จะมีความรู้สึกอย่างไร คือ ตัวใจนี้เป็นรูปร่างอย่างไร ใจนี้จะชอบ ชอบใจหรือไม่ชอบใจ อันนี้ใช้สมาธิที่ทำให้ใจนี้นิ่งก่อน แล้วก็เมื่อมีอารมณ์ ซึ่งอารมณ์เข้ามาทุกเมื่อตลอดเวลา อารมณ์เข้ามา เรากั้นอารมณ์นั้นไว้ เท่าที่ความสามารถด้วยการระงับนิวรณ์ ใจนั้นจะกระเพื่อม ถ้าเปรียบเทียบได้จะเห็น จะเห็นในใจแต่ละคน ถ้าคิดจริง ๆ ดูว่า ใจนี้เป็นน้ำนิ่ง สมมุติว่าเราเอาน้ำมาใส่ ไม่ต้องมาก เอาน้ำมาใส่ชามอ่างก็ได้ กลับบ้านไปหาชามอ่าง เอาน้ำมาใส่ให้เต็ม เอาชามอ่างนั้นมาวางไว้ แห่งหนึ่ง แล้วน้ำนั้นจะนิ่ง ทิ้งไว้ให้นิ่ง สักครู่ คราวนี้เปรียบเทียบกับใจ ใจหรือน้ำนิ่งนั้นแล้วเราก็ไปหาอะไรอย่างหนึ่ง จะเป็นก้อนกรวด หรือ จะเป็นอะไรก็ตาม โยนลงไป น้ำนั้นเป็นอย่างไร น้ำนั้นจะกระเพื่อม หรือ ชามอ่างนั้นวางไว้ เราไปผลัก น้ำจะเป็นอย่างไร น้ำจะกระเพื่อม เราจะเห็นน้ำกระเพื่อม กระเพื่อมอย่างไร เราก็เห็น ถ้าเราโยนอะไรเล็ก ๆ ลงไป น้ำจะกระเพื่อมเหมือนเป็นคลื่นเล็ก ๆ เสร็จแล้วถ้าเราผลักเอา มันจะกระเพื่อม ๆ ไป อีกอย่างถ้าเราเอาน้ำใส่เต็มอ่าง ชามอ่างนั้นอาจจะทำให้น้ำกระฉอกออกมา หรือ ถ้าโยนอะไรที่ใหญ่ เราโยนลงไปน้ำต้องกระเซ็นออกมา ทำให้โต๊ะ หรือ อะไรที่เราวางไว้เปียกหมด ถ้าเราผลักน้ำก็อาจจะต้องหก นี่แหละใจ เราจะเห็นได้ว่า ใจของเรา เมื่อได้รับการกระทบอย่างไรก็ตาม ด้วยอารมณ์ใดก็ตาม ใจนั้นจะกระเพื่อม คือ ใจนั้นจะเหมือนน้ำ ใจนั้นจะมีคลื่น ใจนั้นจะทำให้มีความเคลื่อนไหว เราก็เห็นได้ ถ้าใจนั้นโดนอย่างแรง ก็อาจจะหกอาจจะออกมา หมายความว่า สมมุติว่าเราอยู่เฉย ๆ ใครเข้ามาตีหัว หรือ ต่อย เราก็โกรธ แล้วก็ต่อยตอบไปเลย นี่ใจมันหกออกมา เราก็ดู ในการดูใจนี้ ก็เป็นการดูปฏิกิริยาของใจ คราวนี้ก็ได้ถึงเห็นใจแล้ว ใจที่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวต่าง ๆ และก็ใจนี้ ทำให้เรามีความสุข มีความทุกข์ ใจนี้เอง เมื่อมีความสุข บางทีก็ลิงโลด ดีใจมาก อาจจะทำให้เสียก็ได้ กระโดดโลดเต้น หกคะเมนลง ขาหักได้ เป็นสิ่งธรรมดา คือ หมายความว่า แม้แต่มีความสุข ก็ทำให้มีความทุกข์ ต่อไปได้<O:p> </O:p>
    พุทธศาสนาศึกษาอะไร ก็ศึกษาความทุกข์นี่เอง ความทุกข์เป็นสิ่งที่คนไม่ชอบ จึงต้องการพ้นทุกข์ พ้นทุกข์สำหรับตัวเองแต่ละคน ๆ แต่ว่าการให้พ้นทุกข์นี้ยากมาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่า ไม่เป็นทุกข์ มีความรู้สึกว่า เป็นสุข อยากได้ อยากมีความสุข แล้วก็ใครมาทำให้เราเป็นทุกข์ หรือ แม้แต่มีความสุข แต่หากน้อยลงไป ก็ทำให้เราโกรธ ทำให้เราไม่พอใจ แล้วก็เดือดร้อน ฟุ้งซ่าน แล้วก็ไม่มีความสุข แล้วก็มีความทุกข์ ฉะนั้น การศึกษา พระพุทธศาสนา ก็คือ การศึกษาว่า ทุกข์นี้มาจากไหน ทำไมเราไม่ชอบความทุกข์ เราเป็นทุกข์ในทุกข์ เราก็จะต้องดูทุกข์นี้เป็นอะไร ให้เข้าใจว่าเป็นอะไร แล้วเราก็จะต้องเห็นว่า ทุกข์นี้มีเหตุผล มีต้นเหตุ เมื่อมีต้นเหตุแล้ว ก็ต้องดูว่า เราระงับทุกข์ได้ตรงไหน บอกว่ามีทุกข์ ต้องบรรเทาทุกข์ ความจริงทุกข์นั้น บรรเทาไม่ได้ ต้องปล่อยให้ไปตามเรื่องของมัน แล้วก็เสร็จ แล้วมันก็หายไป เพราะว่ามีทุกข์ มันก็ไม่มี มันก็หมดไปได้ สุขมี สุขก็หมดไปได้<O:p> </O:p>
    เหตุนี้ การที่พระพุทธศาสนา หรือ พระพุทธเจ้าให้เราศึกษา ก็คือ ศึกษาให้เห็นว่า ทุกข์นั้นมันมาจากไหน ให้รู้ว่าทุกข์เป็นอย่างไร เป็นอะไร แล้วก็ทุกข์มาจากไหน จะเห็นว่าทุกข์ ก็ต้องมีการไม่ทุกข์ก็ได้ เมื่อมีการไม่ทุกข์ ก็มีการหมดทุกข์ได้ มีการหมดทุกข์ได้แล้ว ก็เห็นได้ว่ามีทางจะหมดทุกข์ อันนี้ ท่านก็เรียกว่า อริยสัจ <O:p></O:p>
    ฉะนั้น การศึกษาพุทธศาสนา ก็คือ การศึกษาอริยสัจ นั้นเองแต่ก่อนที่จะศึกษาอริยสัจ หรือ ได้ทราบอริยสัจ ก็ย่อมต้องดูกลไก ของการศึกษาพระพุทธศาสนา เข้าใจว่าจะต้องเริ่มจาก ที่ได้กล่าวเมื่อตะกี้นี้ คือ จุดเริ่มต้น คือ ดูใจด้วยเครื่องมือที่มี คือ สมาธิ แล้วก็ในการนี้ ในตอนต้นนั้น ก็ต้องมีความพอใจในการที่จะปฏิบัติ คือ ชอบใจ มีฉันทะแล้วก็ความเพียรในการทำ มีความจดจ่อในการทำ มีความสำรวจในการทำ คือ ได้ศึกษาอริยสัจ และเข้าใจในอริยสัจ การศึกษาพระพุทธศาสนานี้ เป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้าจิตใจจดจ่อ ถ้ามีความตั้งใจจริง และมีความซึ่งเรียกกันทุกคนว่า ความสุจริต ทุกคนต้องสุจริต ถ้าทุจริตแล้วไม่มีทาง เพราะว่าไปในทางที่ผิดทุกครั้ง ไปในทางที่คิดว่าดี คิดว่าสะดวก แต่ว่ามืดมนไปในทางที่ผิดทั้งนั้น ฉะนั้นต้องมีความสุจริต เวลาให้โอวาทกับใคร หรือ ท่านผู้ใหญ่ให้โอวาทกับผู้อื่น ก็ต้องพูดว่าขอให้ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วางตัวด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริต อันนี้ก็เพื่อให้งานของส่วนราชการ หรือ ส่วนงานนั้น ดำเนินไปด้วยดี เพราะว่า ถ้าทุจริตแล้วก็พัง แต่ว่าการงานของ พระพุทธศาสนา เป็นการงานของแต่ละคน เป็นส่วนตัวแท้ ๆ ก็ต้องทำด้วยความสุจริตเหมือนกัน ถ้าไม่ทำด้วยความสุจริตแล้ว ตัวเองก็เท่ากับเอาก้อนหินมาถ่วงที่คอ แล้วโยนลงไปในนรก<O:p> </O:p>
    ได้พูดเมื่อ วันที่ 4 พูดถึงผี อันนี้พูดถึงผี อาจจะไม่ค่อยเข้าใจกัน นี่ขอพูดอีกสักนิดหนึ่ง เป็นเรื่องที่ตอนนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติพุทธศาสนานัก แต่เป็นสิ่งที่น่าจะเป็นความจริง คือคนเราไม่เห็นพอว่า เรามีกายและใจ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ ก็มีประโยชน์ทั้งนั้น เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็เท่ากับได้มีใจนี้ คือ ตัวเรามาประกอบกับกาย ซึ่งเราก็นึกว่าเป็นตัวเราเหมือนกัน แต่ว่ากายกับใจนี้ ก็สามารถที่จะนำมาใช้ มาทำงานทำการ มาประพฤติปฏิบัติตัวให้ดี เพื่อความสุขความเจริญ ของกายหรือใจ หรือของกายและใจ ฉะนั้นต่อไปเมื่อ กายและใจนี้แยกออกไปก็ว่าเป็นผี เพราะว่ากายที่ไม่มีใจ เขาก็เรียกว่าผี ผีความจริงก็เรียกว่า ศพ แต่เขาก็เรียกว่าผี ผีเป็นสิ่งที่ไม่มีใครชอบ โดยเฉพาะว่าเป็นกายที่ไม่มีใจแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาเลย เพราะว่าก็เป็นตามธรรมดา กายนี้เมื่อไม่มีใจอยู่แล้ว ก็ย่อมจะต้องสลายออกไปเป็นธาตุ แล้วก็เป็นผี แต่ใจนั้น เวลาไม่มีกายแล้ว ก็เป็นผีเหมือนกัน คือว่า ที่ว่าจิตวิญญาณ หรืออะไรก็ตามที่ตายแล้ว แล้วก็เรียกว่าผี บางทีผีมาหลอก ก็แปลกเหมือนกัน ที่ว่าทำไมจึงมาหลอกได้<O:p> </O:p>
    ที่ว่าผีหลอกได้นั้น ก็เพราะเหตุว่า ผีนั้นหมายความว่า จิตวิญญาณนั้นยังยึดมาก ยังยึดจนกระทั่งกำลังยึดนั้นกลับมา เหมือนมายึดจิตใจของผู้ที่เห็นผี มายึดได้ชั่วขณะ ก็ได้เห็นว่าเป็นผี แต่ว่าผีนั้น ผีจะเป็นผีกายที่ไม่มีใจ หรือใจที่ไม่มีกาย ผีนั้นไม่มีความสามารถที่จะประกอบความดี ถ้าหากว่าแยกไปแล้ว ไม่สามารถจะประกอบความดี ถ้าหากว่า เวลากายกับใจ ประกอบกันเป็นตัวบุคคล โดยเฉพาะเป็นมนุษย์ สามารถจะประกอบความดี แต่เมื่อประกอบกันแล้วก็ทำความดี ผีนั้นก็เป็นผี ที่เรียกว่าเป็นผีดี คือ เป็นผีที่มีคุณ เป็นเทวดา เป็นพรหม คือ เป็นผีที่ให้คุณ และเป็นคุณกับตัว ถ้าประกอบความไม่ดี คือ ทุจริต ไม่ได้ทำอะไรที่เป็นสิ่งสร้างสรรค์ ก็เป็นผีไม่ได้ ก็เป็นเปรต เป็นอสูรกาย ผีนั้น ความจริงก็ดูไม่มีกาย แต่ว่าอาจจะมาหลอกเราได้เช่นกัน เพราะว่า มายึดกายเรา มายึดตาเรา มายึดหูเราได้ แต่ว่าผีนั้นที่เมื่อมีกายทำไม่ดี เป็นผีไม่ดีนั้น เขาจะแก้อะไรไม่ได้เหมือนกัน จะต้องทนทุกข์ทรมาน จะทนทุกข์ทรมานได้อย่างไร เมื่อไม่มีกาย แต่ความที่เป็นผีนั่นเอง ก็เลยมีความยึด นึกว่าตัวมีกายอย่างเช่นพวกเราเอง ใจเรา เราก็นึกว่าตัวเรามีกาย แต่แท้ที่จริงก็เป็นสิ่งที่ประกอบเป็นกอง ๆ เท่านั้นเอง แต่ถ้าผีนั้นนึกว่าตัวมีกาย ตัวมีกายแต่ว่าจะต้องทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส อย่างเปรตหิวข้าวตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดเวลา การกินก็ต้องกินตลอดเวลา แต่กินไม่ได้มันก็ทรมานอย่างยิ่ง อย่างพวกเราเวลาไปไหน ๆ หรือเวลาแม่ครัวไม่ได้ทำกับข้าวให้กิน เราก็หิว มันทรมาน บางทีเราไปไหนไม่มีอาหาร เราไม่มีอาหาร ควรจะได้อาหารกลางวัน อาหารค่ำ ไม่มี เราหิวมันก็ทุกข์ทรมาน ผีนั้นก็นึกว่าตัวมีกาย ก็ต้องการอาหาร เมื่อกินไม่ได้อย่างเปรตที่ว่าปากเป็นรูเข็ม ไม่สามารถจะกินอะไรมันหิว ทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง นี่ก็เป็นทุกข์ที่ยังไม่มากนัก อย่างอื่นยังมากกว่าอีก เช่น เอาอะไรมาเสียบแทงทะลุหัวจนถึงทวารหนัก ที่ท่านว่าอย่างนั้น แทงด้วยเหล็กที่เป็นไฟ แล้วอาจจะลงกระทะทองแดง หรือ อะไรก็ตามนั่นน่ะเป็นความทุกข์ที่ผีมี ที่ผีไม่ดีมี เป็นความทุกข์อย่างแสนสาหัส แล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องให้หมดเวรหมดกรรม หมดเวร หมายความว่า หมดวาระเวลาที่จะหมดความทุกข์ทรมาน แล้วก็สามารถที่จะไต่เต้าขึ้นมาเป็นคนอีก ถ้าคนเช่นนั้นมา ก็หมายความว่า เป็นคนที่ยังไม่ค่อยขัดเกลานัก แต่ว่าขึ้นมาก็พอที่จะได้มาเป็นคน บางคนเราเห็นว่าเป็นคนเลวทรามมาก เราก็ว่า ไอ้พวกสัตว์นรก แต่ว่าเป็นคนขึ้นมา เกิดจากเป็นสัตว์นรก ก็เพราะว่าพวกนี้ จิตใจยังเสื่อม จิตใจยังไม่ได้ขัดเกลา แต่พวกนี้ที่ขึ้นมาได้แล้ว ก็สามารถที่จะมีสมาธิได้ และสามารถที่จะมีการขัดเกลา เรียนธรรมได้แน่นอน ไม่ใช่ไม่มี<O:p> </O:p>
    เพราะฉะนั้น ที่พูดถึงผีนี้ ไม่ใช่ที่จะชักชวนให้ท่านทั้งหลาย ได้สนใจเกี่ยวกับวิชาผี ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ว่านึกถึงว่า แต่ละคนก็เป็นผี ทุกคนเป็นผี เป็นผีมาแล้ว และเป็นผีต่อไป เมื่อเป็นผีแล้ว ก็ได้ประกอบกรรมดีมาพอสมควร ได้เกิดมาเป็นคนหรือมนุษย์ เราก็พยายามประกอบความดีขึ้น เพื่อให้เป็นผีดีต่อไป แต่ต้องระวังเหมือนกัน แม้จะเป็นผีดีแล้ว ไปหลงในความดี ความสบายของผีแล้ว ก็อาจจะตกนรกต่อไปได้มีเหมือนกัน ฉะนั้นก็ต้องพยายาม ที่จะต้องพิจารณาระหว่างนี้ ที่เรามีกายกับใจประกอบกัน ให้ดูกายให้ถูกต้อง ให้ดูใจให้ถูกต้อง แล้วก็จะสามารถที่แม้จะเป็นผีก็เป็นผีที่ดีได้ แต่ว่าถ้าความปรารถนาสูงสุด คือ ปรารถนาที่จะต้องให้หลุดพ้นจากการที่จะต้องเป็นผี อย่างพระพุทธเจ้า และพระอรหันต์สาวก ท่านไม่ต้องเป็นผี ท่านไม่ได้เป็นผี ท่านหลุดพ้น เรียกว่า พ้นไปได้ ต้องแยกกายกับใจ<O:p> </O:p>
    อย่างพวกเรา ๆ ที่ยังไม่ได้ความหลุดพ้น ถ้าหากว่าทำจิตใจให้ผ่องใสแล้ว ก็ได้เห็นจิตของเรา หรือใจของเรา แล้วก็ดำเนินให้จิตใจของเราพยายามที่จะเว้นจากสิ่งที่ทำให้ตกต่ำ เป็นผีไม่ดี พยายามทำอะไรที่จะทำให้ดีขึ้น ดีขึ้นมากขึ้น จะเรียกว่าทำให้ผ่องใสขึ้น ทำให้มีความสุขขึ้น ให้ทำอะไรที่สุจริต ก็จะเป็นผีดี คือ เทวดา และการเป็นเทวดา เท่ากับได้มีเวลาปพักผ่อนในที่ ๆ สบาย แล้วก็ต่อไปก็สามารถที่จะกลับมารับราชการโลกต่อ เป็นคนที่จะเป็นมนุษย์ที่ดี แล้วก็ขัดเกลาไป ขัดเกลามา ก็สามารถที่จะเป็นผู้ที่หลุดพ้น<O:p> </O:p>
    อันนี้ก็เป็นความปรารถนาของพุทธศาสนา

    พูดมานานก็เพราะว่า พุทธศาสนานี้เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องสนใจ เป็นสิ่งที่ทุกคนจะได้ประโยชน์ถ้าเข้าในทางที่ถูก และเป็นสิ่งที่ไม่ยากที่จะปฏิบัติ พูดว่าไม่ยากในการปฏิบัติ ไม่น่าที่จะพูดนาน ถ้าเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ แต่ว่าจะง่ายถ้าตั้งจิตให้ถูกที่ถูกทาง ด้วยความเพียร และด้วยความจดจ่อ ด้วยความรู้รอบคอบ คือ การสำรวจให้ดี ก็จะเป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้าได้พูดให้ยาวก็เพราะว่า สิ่งที่ง่ายนี้ ทุกคนอาจจะยังไม่เห็นหรือเห็นยาก เห็นยากในสิ่งที่ง่ายจึงต้องพูดยาว แต่ถ้าทุกคนเห็นสิ่งที่ง่ายแล้วก็ไม่ต้องพูดยาว ถ้าสมมุติว่า ทุกคนเห็นว่าง่ายจริง ๆ หมายความว่า เห็นส่วนที่ง่าย จะพูดได้สั้นมาก คือ ท่านทั้งหลายขอให้มีความเพียรในการปฏิบัติจิตที่ถูกต้องที่ดี อันนี้ก็หมด พูดแค่นี้ก็พอ ไม่ต้องพูดอื่น หรือแม้จะบอกว่า ถ้าพูดอย่างนี้ก็ยังยาว ถ้าท่านทั้งหลายมาแล้วก็รู้ว่า ทุกคนรู้ว่าง่ายแล้วรู้จริง ไม่ใช่รู้เก๋ ๆ เฉย ๆ รู้จริงว่าง่าย ซึ่งง่าย บอกว่าสวัสดีเท่านั้นเองก็พอ ไม่ต้องมานั่ง มายืนให้เมื่อย ไม่ต้องมาพูดให้คอแห้งเปล่า ๆ ก็เพียงสวัสดี เพียงว่าปฏิบัติดีชอบก็พอ แต่มันยากที่ว่าไม่เห็นว่าง่าย ฉะนั้นในที่นี้ ก็พูดเกินไป พูดมากไป ก็จะเป็นอันตรายเหมือนกัน เพราะว่า อาจจะมีคนคัดค้านก็ได้ในคำพูดที่พูดออกไป ซึ่งอาจจะดูเหมือนว่าเป็นทฤษฎี ความจริงไม่ใช่ทฤษฎีแหวกแนวอะไร เป็นส่วนหนึ่งของการสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแท้ ๆ ไม่ใช่สิ่งที่คิดค้นขึ้นมา โดยไม่มีหลักฐาน<O:p> </O:p>
    ถ้าท่านทั้งหลายมาวันนี้มาให้พร คือ ตามที่บอกว่าเป็นทางการว่า มาให้พร ในโอกาสวันเกิดที่ผ่านมาแล้วเมื่อเร็ว ๆ นี้ ท่านมาที่นี่ แล้วท่านก็ต้องนั่งอยู่นาน แต่ก็ขอขอบใจที่ท่านมาด้วย ความปรารถนาดี และดีใจมากถ้าทุกคนที่อยู่ในกลุ่มสมาคม หรือ ชมรม หรือ ชุมนุม ที่จะศึกษาพุทธศาสนา จะไปคิดทบทวนหน้าที่ของกลุ่มต่าง ๆ ดังกล่าวมานี้ และ หน้าที่ของแต่ละคนที่ว่า ไม่ใช่ว่าจะบอกว่าจะเผยแพร่พระพุทธศาสนา สั่งสอนพระพุทธศาสนา ส่งเสริมพระพุทธศาสนา ขอให้ได้ไปปฏิบัติแต่ละคน ในจิตใจของแต่ละคน และทุกคนจะเป็นศาสนาใดก็ตาม ในประเทศไทย และจะเป็นศาสนาใดก็ตาม ชาติใด ก็จะได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติของท่าน คือว่าเป็นประโยชน์ผู้อื่น ในการปฏิบัติประโยชน์ของตน ฉะนั้น ถ้าทุกคนได้ปฏิบัติประโยชน์ของตนอย่างแท้จริง อย่างจริง ๆ ไม่ใช่เบี่ยงบ่ายไปในทางทุจริต ทำจริง ๆ ในประโยชน์ของตน ของธรรมของตัว หรือ ของโลกของตัว เป็นอันว่าได้ประโยชน์แล้ว สำหรับทุกคนในโลก อาจจะมีประโยชน์สำหรับผี ทั้งผีดีไม่ดี ถ้าเราทำดีแล้ว เป็นประโยชน์สำหรับทุกคน ทุกคนที่มีอยู่ในโลก หรือโลกอื่น เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นทั้งหมด เพราะว่าแผ่ความดี แผ่รัศมี เช่นเดียวกับที่เราว่า พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ท่านตรัสรู้แล้วก็แผ่รัศมีออกมา เราได้รับทั้งนั้น แม้จะเป็นคนที่ไม่ใช่พุทธศาสนา ก็ได้รับประโยชน์ของการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า<O:p> </O:p>
    อันนี้ก็เพียงแต่ต่อท้ายนิดหนึ่งว่า ที่ท่านมาให้พร ก็เพื่อประโยชน์ส่วนตัวของท่าน ที่ท่านมาบอกว่า ให้บารมีปกเกล้า ท่านก็ต้องเป็นผู้ทำ ถ้าผู้ทำเองได้ดี แล้วก็ดี มาให้พรก็เห็นว่า ถ้าท่านทำตนเองให้ดี ก็เป็นการให้พร เพราะฉะนั้น จะว่าขอขอบใจก็ไม่เชิง แทนจะบอกขอขอบใจ ก็ควรจะบอกว่าดีใจ ดีใจที่ท่านมาให้พร เพราะหมายความว่า ท่านตั้งจิตใจให้ดี แล้วพรนี้ก็จะแผ่ออกมา แผ่ออกไปทั่วทั้งหมด<O:p> </O:p>
    นี่ถ้าพูดต่อไป ก็อาจจะต้องพูดถึงแผ่เมตตาโดยไม่มีประมาณ ถ้าทำดี ศึกษาดี ปฏิบัติดี สงเคราะห์ดี ก็เป็นการแผ่เมตตาจนไม่มีประมาณ อันนี้ก็เป็นหัวข้อต่อไป คราวนี้พูดแค่นี้ แล้วมันก็รู้สึกว่ามากเกินไป ก็ถึงขอลาแล้ว ขอขอบใจท่านทั้งหลายที่มาชุมนุมกัน<O:p> </O:p>​
    <HR width="60%" color=#ffffff SIZE=1><TABLE height=29 cellSpacing=1 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" height=14>รายชื่อหนังสือธรรมะภาษาไทย | หน้าภาษาอังกฤษ | หน้าภาษาไทย| รายการหนังสือธรรมจักษุ | รายชื่อหนังสือธรรมะภาษาอังกฤษ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    E-mail : books@mahamakuta.inet.co.th
    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร. (66) 02-6291417 ต่อ 106 , 2811085 Fax. (66) 02-6294015
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.mahamakuta.inet.co.th/practice/mk727.html

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD width="100%" bgColor=#c0c0c0>การรู้ธรรม เห็นธรรม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ส่วนมากเรามักจะเข้าใจกันว่า การรู้ธรรมเห็นธรรมคือต้องเห็นสังขารไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นโครงกระดูกแล้วรู้ว่า เป็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เราไปหมายเอาหมวดใหญ่ที่ท่านเขียนเอาไว้ในคัมภีร์
    การตีความหมายอย่างนั้นก็ไม่ผิด เป็นการถูกต้องกับการรู้ธรรมเห็นธรรมโดยธรรมชาติที่จิตมันจะรู้เองด้วยพลังของสติสัมปชัญญะ แต่เราจะไปรู้ในกฎเกณฑ์ที่ท่านวางไว้เป็นแบบฉบับเท่านั้นไม่ได้ การรู้ธรรมเห็นธรรมโดยธรรมชาติมันจะต้องรู้ขึ้นมาเอง เป็นกระท่อนกระแท่น ไม่ติดต่อสืบเนื่องกันเป็นเรื่องยืดยาว การรู้ธรรมเห็นธรรมขอกำหนดหมายอย่างนี้
    ๑. คือการรู้ว่าจิตของเราคืออะไร เห็นว่าจิตของเราคืออะไร เป็นเบื้องต้น
    ๒. เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์ก็รู้ว่าจิตสัมผัสรู้อารมณ์
    ๓. เมื่อจิตสัมผัสรู้อารมณ์แล้วมีอะไรเกิดขึ้น จิตของเรายินดีไหม จิตของเรายินร้ายไหม จิตของเราพอใจไหม หรือเกลียดในอารมณ์นั้น ในเมื่อรู้ว่ายินดีหรือยินร้ายเกลียดหรือชอบ ก็ดูต่อไปว่าความเกลียดและความชอบบังเกิดขึ้นภายในจิตเป็นอย่างไร ทำให้จิตร้อนหรือเย็น ทำให้จิตสุขหรือทุกข์ ถ้าหากว่าจิตรู้สึกสุขก็ผ่านไป แต่ถ้าจิตของเรารู้สึกทุกข์ ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมานั้นเป็นความร้อนภายในจิต เรารู้ความร้อนของจิตในเมื่อเรารู้ความร้อนของจิตแล้ว ความร้อนเป็นทุกข์ เราจะต้องถามหาเหตุว่าทุกข์นั้นเกิดมาจากอะไร
    ในเมื่อจิตรู้ว่าความทุกข์นั้นเกิดขึ้นมาจากอำนาจของโลภะ เกิดมาจากอำนาจของโทสะ เกิดมาจากอำนาจของโมหะ จิตมันก็จะยอมรับว่าไฟ คือ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอันว่าจิตรู้ธรรมเห็นธรรม คือเห็นทุกข์ในจิต เห็นสุขในจิต
    ในเมื่อจิตเห็นทุกข์คือจิตร้อน เพราะไฟโลภะ โทสะ โมหะ ผู้ปฏิบัติควรจะทำอย่างไร เราจะไล่ความร้อนของไฟโลภะ โทสะ โมหะ ให้หายไปอย่างนั้นหรือ เราไม่มีทางจะไปตั้งใจไล่ เพราะจิตของเราเกิดความชินชาต่อการปรุงกิเลส ให้เกิดไฟโลภะ โมหะ โทสะ แล้วถ้าไม่มีทางที่จะขับไล่ ไม่มีทางที่จะละ เราจะทำอย่างไร เราก็ทำสติกำหนดรู้ คือรู้ว่ามันเป็นไฟโลภะ โทสะ โมหะ รู้ว่าฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ มันทำจิตให้ร้อน ให้ดูความร้อนที่มีอยู่ในจิต ดูความเย็นที่มีอยู่ในจิต จนกระทั่งจิตรู้ซึ้งเห็นจริงลงไป แล้วจิตยอมรับความเป็นจริงว่า ฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะนี้เป็นไฟเผาให้ร้อน มันร้อนอย่างนี้หนอ เมื่อจิตยอมรับความจริงแล้วก็เกิดความเข็ดหลาบในตัวของมันเอง ภายหลังมันก็จะไม่สร้างเหตุเดือดร้อนให้เกิดขึ้นมาอีก เปรียบเหมือนคนเรา ที่เราว่าถ่านไฟมันร้อน เมื่อมีใครนำถ่านไฟร้อนมาวางไว้ตรงหน้าเรา แล้วบอกกับเราว่า ดูซิ ถ่านไฟนี้มันสวย ดูซิมันเย็น แต่เรารู้แล้วว่าถ่านไฟนี้มันร้อน เราก็จะไม่ไปจับถ่านไฟนั้น ในทำนองเดียวกัน ในเมื่อจิตมันรู้ฤทธิ์ของโลภะ โทสะ โมหะ อย่างแท้จริงแล้ว ยอมรับสภาพความเป็นจริงแล้ว มันก็จะไม่ก่อเรื่องให้เกิด โลภะ โทสะ โมหะ ขึ้นมาอีก มีแต่ค่อยพิจารณาปลดเปลื้องโลภะ โทสะ โมหะ ของเก่าที่มีอยู่ให้ลดน้อยลง เบาบางลงไป
    การปฏิบัติธรรมสำคัญอยู่ที่การทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก การภาวนาพุทโธก็ทำพุทโธให้เป็นสิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ การภาวนายุบหนอ-พองหนอ ก็ทำยุบหนอ-พองหนอให้เป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ การภาวนาสัมมาอรหัง ก็ทำสัมมาอรหังเป็นสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ ทั้งหลายเหล่านี้ หรืออย่างอื่นๆก็ตาม ใครภาวนาแล้ว เมื่อจิตเป็นสมาธิ ก็ต้องทำจิตให้เป็นวิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตาเหมือนกัน
    สมาธิเป็นสัจธรรม เป็นของจริง ในเมื่อสัจธรรมของจริงคือสมาธิมีอยู่ ใครจะรู้แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน เป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น นักปฏิบัติธรรมทั้งหลายอย่าไปยึดมั่นอยู่เพียงวิธีการเท่านั้น ขอให้ทุกท่านพิจารณาดูความจริงที่จะเกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา ในขณะที่เราภาวนา สมาธินี้เป็นของจริง ใครจะภาวนาแบบไหน อย่างไร จะเกิดมีแนวโน้มเป็นอย่างเดียวกันทั้งหมด และขอเตือนไว้อีกอย่างหนึ่งว่าการรู้ด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ก็ดี สิ่งที่เราเห็นในระหว่างจิตมีสมาธิ สงบ สว่าง เราเห็นนิมิตต่างๆ เกิดอุทานธรรมขึ้นมาก็ดี สิ่งนั้นเป็นเพียงสิ่งรู้ของจิต สิ่งระลึกของสติ เมื่อเหตุการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วให้เราทำสติไว้ให้ดี.

    <HR width="40%" color=#008080 SIZE=1>
    books@mahamakuta.inet.co.th

    มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
    241 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
    โทร. (66) 02-6291417 , 2811085 Fax. (66) 02-6294015
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    โอ้โห มีการโหลดรูปไปเยอะมากครับ

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    212.3 KB, ดาวน์โหลด 45 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197259]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    216.6 KB, ดาวน์โหลด 44 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197258]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    253.3 KB, ดาวน์โหลด 50 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197257]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    209.8 KB, ดาวน์โหลด 25 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197256]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    246.2 KB, ดาวน์โหลด 21 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197248]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    213.0 KB, ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197247]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    174.3 KB, ดาวน์โหลด 20 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197246]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    155.6 KB, ดาวน์โหลด 25 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    178.2 KB, ดาวน์โหลด 7 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197244]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    209.9 KB, ดาวน์โหลด 4 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197243]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    132.8 KB, ดาวน์โหลด 36 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197242]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    178.1 KB, ดาวน์โหลด 23 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD><TD class=alt1 style="PADDING-RIGHT: 0px; PADDING-LEFT: 0px; PADDING-BOTTOM: 0px; PADDING-TOP: 0px" align=middle><INPUT type=checkbox value=yes name=deletebox[197241]></TD></TR><TR><TD class=alt2>[​IMG]
    148.0 KB, ดาวน์โหลด 43 ครั้ง
    </TD><TD class=alt1>ชื่อกระทู้: พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    ส่งข้อความ: &laquo;ไม่มีข้อมูล&raquo;

    </TD><TD class=alt2>เมื่อวานนี้ 12:24 PM
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันนี้ ผมเปิดให้จองชุด พระสมเด็จวังหน้า จำนวน 7 ชุด(ชุดละ 5 องค์)
    (องค์บน ซ้าย - ขวา องค์ล่าง ซ้าย - กลาง พิธีในชุดพิเศษ 2 ส่วนองค์ล่างขวา พิธีในชุดพิเศษ 3)



    [​IMG]

    - ท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาแล้ว(ลำดับที่ 1 - 208 ) ผมมอบให้ท่านที่ร่วมทำบุญจำนวนเงิน 3,333 บาท ผมมอบพระพิมพ์ให้ 1 ชุด

    - แต่ถ้าไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาเลย หากท่านมีความประสงค์ที่จะได้ไว้ ผมมอบให้สำหรับการร่วมทำบุญจำนวนเงิน 7,777 บาท ผมมอบให้ 1 ชุดครับ

    ส่วนองค์เดี่ยวๆนั้น ผมจะมาแจ้งให้ทราบในครั้งต่อไปครับ

    โมทนาสาธุครับ
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    รายละเอียดพระพิมพ์และวัตถุมงคล ที่มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญในกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ ( http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=68899 ) จะอยู่ในหน้าแรกของกระทู้ ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ

    ส่วนยอดคงเหลือ ผมจะแจ้งให้ทราบในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ และกระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้เป็นระยะครับ

    *************************************************
    เรื่องการร่วมทำบุญก็คงเหมือนเดิม ท่านใดที่เคยร่วมทำบุญมาแล้ว ก็ได้ร่วมทำบุญด้วยจำนวนเงินที่น้อยกว่าท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญมาเลย จะมีทั้งพระสมเด็จวังหน้า ,พระพิมพ์อื่นๆของวังหน้า ,พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลานครับ
    *************************************************
    หนังสือวิเคราะห์พระพิมพ์สมเด็จและสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุญนาค) ซึ่งเขียนโดยปรัชนี ประชากร(ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร) ผมจะแจกให้กับผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง 3 ท่านแรก(ตามกติกา) จำนวน 3 เล่ม(ท่านละ 1 เล่ม) โดยมีหลักเกณฑ์ตามนี้ ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ส่วนพระสมเด็จกลักไม้ขีด ผมมอบให้ผู้ร่วมทำบุญ จำนวน 5 องค์ สำหรับ 5 ท่านแรก (ผ่านพิธีพุทธาภิเษกในวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 ในการพุทธาภิเษกผ้ายันต์ที่พระอาจารย์นิลนำลงไปแจกผู้ปฏิบัติงานในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้) องค์ผู้อธิษฐานจิต หลวงปุ่บรมครูเทพโลกอุดร 4 พระองค์(หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า ,หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า ,หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) ,หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) ) ,สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ,หลวงปู่ปาน วัดบางนมโค ,หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง ,หลวงปู่โพกสะเม็ก(หลวงปู่ขี้หอม) ,สำเร็จลุน ประเทศลาว ,หลวงปู่สีทัตถ์ ฯลฯ โดยมีหลักเกณฑ์ตามนี้ ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ)
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โดยท่านผู้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งไม่น้อยกว่า 50,000 บาท(โดยที่ท่านทำบุญและขอรับพระพิมพ์จากผมตามปกติ) สามารถขอรับหนังสือวิเคราะห์ฯ และร่วมทำบุญเพื่อขอรับพระสมเด็จกลักไม้ขีดได้พร้อมกันครับ แต่หนังสือมีจำนวน 3 เล่มเท่านั้น ส่วนพระสมเด็จกลักไม้ขีดมีจำนวน 5 องค์ ดังนั้นท่านที่ 4 และท่านที่ 5 จะไม่ได้รับหนังสือแต่ผมจะมอบพระพิมพ์สมเด็จกลักไม้ขีดเพิ่มให้อีก 1 องค์ครับ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ผมขอสิ้นสุดการมอบหนังสือและพระสมเด็จกลักไม้ขีดในการร่วมทำบุญ วันที่ 31 ธันวาคม 2552 จำนวนเงิน 50,000 บาท(รวมทั้งการร่วมทำบุญสร้างพระพุทธรูป 5 พระองค์(สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกกุสันโธ ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามโกนาคมน์ ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกัสสป ,สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามสมณโคดม ,พระศรีอาริยเมตไตร) ซึ่งผมจะแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป พร้อมมณฑปรอบพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง) ผมขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงระยะเวลา ถ้าหากว่าพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งสร้างเสร็จสมบูรณ์ก่อน และถ้าหากท่านใดได้ร่วมทำบุญและประสงค์ที่จะรับหนังสือและพระสมเด็จกลักไม้ขีด ผมขอพิจารณาเป็นรายๆครับ และผมให้สิทธิ์ในการจองหนังสือวิเคราะห์ฯและพระสมเด็จกลักไม้ขีดได้นะครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โมทนาบุญทุกประการครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หมายเหตุ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพิธีพุทธาภิเษก วันอังคารที่ 10 กรกฎาคม 2550<O:p</O:p
    กระทู้พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้<O:p</O:p
    หลวงปู่สุภา กันตสีโล โพสที่ 6010 หน้าที่ 601<O:p</O:p
    หลวงปู่สุภา กันตสีโล โพสที่ 6034 หน้าที่ 604<O:p</O:p
    สำเร็จลุน โพสที่ 6138 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) โพสที่ 6139 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6140 หน้าที่ 614<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6141,6142,6143 หน้าที่ 615<O:p</O:p
    พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) โพสที่ 6176,6178,6179,6180 หน้าที่ 618<O:p</O:p
    พระอาจารย์สีทัตถ์ วัดท่าอุเทน นครพนม โพสที่ 6181,6182,6183,6184,6185 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    พระครูวิหารกิจจานุการ (หลวงพ่อปาน) โพสที่ 6186,6187,6188 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) โพสที่ 6189 หน้าที่ 619<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณเพชร<O:p</O:p
    โพสที่ 6017 หน้าที่ 602<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คุณพันวฤทธิ์<O:p</O:p
    โพสที่ 6022 หน้าที่ 603
    โพสที่ 6103 หน้าที่ 611
    โพสที่ 6105 หน้าที่ 611

    [​IMG]
    <O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->


    สำหรับไม้ครูที่หลายๆท่านประสงค์ที่จะมีไว้ป้องกัน,คุ้มครองตนเองและสามารถช่วยเหลือผู้อื่นได้

    ผมจะมอบให้ฟรีกับผู้ที่ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ มีรายละเอียดดังนี้

    1.ต้องเป็นผู้ร่วมทำบุญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ มาตั้งแต่ต้นหรือเป็นผู้ร่วมทำบุญใหม่ โดยทำบุญและขอรับพระพิมพ์ตามปกติ จำนวนเงินที่ร่วมทำบุญรวมกัน(หลายๆครั้งหรือครั้งเดียว) ตั้งแต่ 55,555 บาท

    2.เมื่อร่วมทำบุญครบ 55,555 บาท แล้วจะรับไม้ครู ต้องไปรับไม้ครูที่บ้านท่านอาจารย์ประถม อาจสาครเท่านั้น

    โมทนาสาธุครับ
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  17. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พี่หนุ่มอย่าลืมนำหลวงพ่อเงินเนื้อปัญจสิริมาลงให้ชมนะครับ บอกได้เลยว่างามมาก
     
  18. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เรียนคุณ sithiphong
    เมื่อวันที่180850 เวลา 14.40น. ผมได้ฝาก เงินจำนวน 1000บาท ผ่าน เครื่อง adm ktb central city bangna เข้าบัญชี 1890131288 เพื่อร่วมทำบุญเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ตามที่ได้บูชาชุดล็อกเก็ต 4 ครังที่6(สุดท้าย)
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
    nongnooo...
     
  19. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    เปิดมา ตกใจหมดเลย คิดว่างานเลี้ยงเริ่มแล้ว ที่แท้ก็แค่อุ่นเครื่อง (ที่บ้านผมเว็บล่มเพิ่งจะเปิดได้ ไม่ทราบว่าที่เมืองหลวงก็เป็นเหมือนกันมั้ยครับ)
     
  20. drmetta

    drmetta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +752
    เรียน คุณ สิทธพงศ์ ที่นับถือ
    ผมขอจอง หนึ่ง ชุดนะครับ

    drmetta
     

แชร์หน้านี้

Loading...