อานิสงฆ์การสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

ในห้อง 'บทสวดมนต์ - คาถา' ตั้งกระทู้โดย ธิญาดา, 16 สิงหาคม 2011.

  1. ธิญาดา

    ธิญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    80
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +582
    อานิสงส์ของการสวดมนต์มีอานุภาพยิ่งใหญ่มาก

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ไว้สำหรับสวดและภาวนาทุกเช้าคำ เพื่อความสวัสดีเป็นสิริมงคลแก่ผู้สาธยาย อันเป็นบ่อเกิด มหาเตชัง มีเดชมาก มหานุภาวัง มีอานุภาพมาก และมีลาภยศ สุขสรรเสริญ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัย อุปัทวันตราย และความพินาศทั้งปวง ตลอดทั้งหมู่มารร้ายและศัตรูคู่อาฆาตไม่อาจแผ้วพานได้

    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง เป็นต้น ถ้าสาธยายหรือภาวนาแล้วจะนำมาซึ่งลาภยศ สุขสรรเสริญและปราศจากอันตรายทั้งปวง ตลอดทั้งเป็นการระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญพระพุทธานุสติ วิปัสสนากัมมัฏฐานเป็นแดนเกิดของสมาธิอีกด้วย

    อะระหันตัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว เป็นการมอบกายถวายชีวิตไว้กับองค์พระพุทธเจ้า หรือเอาองค์พระพุทธเจ้าเป็นตาข่ายเพชรคอยปกป้องคุ้มครองรักษาชีวิตให้ปราศ จากเวรภัย

    อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเราเพื่อให้เกิดพระ ไตรลักษณญาน อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป

    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะวีธาตุสะมาธิญาณสัมปันโน เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนา ขออำนาจสมาธิญาณของพระพุทธองค์เป็นไปในธาตุ ในจักรวาล ในเทวโลกหรือในกามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ และในโลกุตรภูมิ ขอจงมาบังเกิดในขันธสันดานของข้าพเจ้าหรือเรียกว่าเป็นการเจริญสมถภาวนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งรูปฌาน อรูปฌาน อภิญญา เป็นการเจริญวิปัสสนา อันเป็นบ่อเกิดแห่งมรรคผลนิพพาน เป็นการหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ

    กุสลา ธัมมา อิติปิโส ภะคะวา เป็นต้น เป็นการสาธยายหัวใจพระวินัยปิฎก หัวใจพระสุตตันตปิฎก หัวใจพระอภิธรรมปิฎก และเป็นหัวใจพระเจ้า ๕๐๐ ชาติ พระเจ้า ๑๐ ชาติ และหัวใจ อิติปิ โส ตลอดทั้งหัวใจอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก เมื่อภาวนาแล้วจะนำลาภ ยศ ฐาบรรดาศักดิ์ ทั้ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ และจะป้องกันสรรพภัย ต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและบุตรหลานสืบไป

    อินทะสาวัง มหาอินทะสาวัง เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้วมีทั้งอำนาจ ตบะ เดชะ ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองทุกประการ

    พระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายต่างก็กล่าวเน้นว่า พระพุทธศาสนาเป็นของจริงของแท้ที่เรายึดมั่นเป็นหลักชัยแห่งชีวิตได้ ยิ่งมีการปฏิบัติธรรมทั้งทาน ศีล ภาวนา สม่ำเสมอความสุขความเจริญเกิดขึ้นแก่ตนแน่ อย่าสงสัย การรวยทรัพย์สินเงินทองไม่ได้ก่ออานิสงส์ ไม่เท่ากับรวยบุญรวยกุศล ซึ่งจะบังเกิดความสุขความเจริญในปัจจุบัน และตามติดวิญญาณไปทุกภพทุกชาติด้วย

    ฉะนั้น ชาวพุทธทั้งหลาย จงเจริญภาวนา ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกทุกเช้าค่ำเถิด จะบังเกิดความสวัสดิมงคลแก่ตนและครอบครัว ให้มีความร่มเย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้า



    อานิสงส์การสร้างและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
    โบราณท่านว่า ผู้ใดได้พบยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้แล้ว ท่านว่าเป็นบุญอันประเสริฐนัก เมื่อพบแล้วให้พยายามสวดภาวนาอยู่เป็นนิตย์ตราบเท่าชีวิต จนทำลายขันธ์จากมนุษย์โลก แล้วก็จะไปยังเกิดในสัมปรายภพสวรรค์สุคติภพด้วยพระอานิสงส์เป็นแน่แท้

    โบราณว่าผู้ใดสร้างบุญกุศลและได้สวดภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นประจำจะมีอานิสงส์มาก เมื่อป่วยหนักให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ครั้นกำลังจะสิ้นใจผู้อยู่ใกล้บอกนำว่า อะระหัง หรือ พุทโธ เรื่อย ๆ เมื่อถึงแก่กรรม จงเขียน จิ. เจ. รุ. นิ. บนแผ่นทองหรือแผ่นเงิน ใบลาน, กระดาษ แล้วม้วนเป็นตะกรุด (ห้ามคลี่) ใส่ปากให้ไปสู่สุคติในสัมปรายภพสวรรค์ด้วย


    ถ้าผู้ใดจะสวดขออานุภาพให้ผู้ป่วยไข้อาการจะดีขึ้น จะสวดแผ่กุศลอุทิศไปให้ บิดา มารดา หรือครูบาอาจารย์ อุปัชฌาย์ ผู้มีพระคุณของท่านแล้ว ให้เขียน จิ เจ รุ นิ และชื่อท่านนั้น ๆ ใส่กระดาษก่อนสวดทุกครั้ง เมื่อสวดกี่จบครบตามที่เราต้องการแล้วให้นำกระดาษนั้นเผาไฟ และกรวดน้ำโดยคารวะ บอกชื่อฝากพระแม่ธรณีนำกุศลอันนี้ให้ท่านผู้นั้น ได้ตามความปรารถนาของเราทุกครั้ง
    1. ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวร
    2. กิจการงานเจริญรุ่งเรือง อุดมด้วยโภคทรัพย์
    3. ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา บุตร ที่อยู่เบื้องหลังมีความเจริญรุ่งเรือง
    4. บิดา มารดา จะมีอายุยืน
    5. สามีภรรยา รักใคร่ดีต่อกัน บุตรหลานเป็นคนดี
    6. บุตร เกิดมาเฉลียวฉลาด ปัญญาดี เลี้ยงง่าย สุขภาพดี
    7. วิญญาณของบรรพบุรุษจะสู่สุคติภพ
    8. เสริมบุญบารมีให้ตนเอง
    9. แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง ๆ
    เมื่อสิ้นอายุขัยจะไปสู่สุคติภูมิ
    ขอตั้งสัตยาธิษฐาน ขอความเจริญรุ่งเรือง จงบังเกิดแก่ท่านผู้สร้าง ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ เพื่อความงอกงามในพระพุทธศาสนาสืบไป.

    หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก ต้นฉบับเดิม
    เปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก มีคำกล่าวในหนังสือนำว่า ผู้ใดมีไว้ประจำบ้านเรือนมีอานิสงส์ยิ่งกว่าได้สร้างเจดีย์ทองคำสูงเทียมเทวโลก และป้องกันภยันตรายต่างๆ ทำมาหากินเจริญ ฯ

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
    ผู้ใดได้สร้างยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และไว้สดมนต์สักการบูชา ผลานิสงส์สุดจะพรรณาให้ทั่วถึงได้ เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีความสุขสิริสวัสดิ์เจริญต่อไปทั้งปัจจุบันกาลและอนาคตภายภาคหน้าตลอดบุตรหลานสืบไป ด้วยอำนาจของความเคารพในพระคาถานี้

    ประวัติกล่าวไว้ในต้นฉบับเดิมว่า
    หนังสือยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ มีคำกล่าวไว้ในหนังสือนำว่า เป็นพุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ ถ้าผู้ใดได้สวดมนต์ภาวนาทุกค่ำเช้าแล้ว เป็นการบูชารำลึกถึงพระพุทธเจ้า ผู้นั้นจะไม่ไปตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาไว้กับบ้านเรือนก็ป้องกันอันตรายต่างๆ จะภาวนาพระคาถาอื่นๆสัก 100 ปี อานิสงส์ก็ไม่สูงเท่าภาวนาพระคาถานี้ ครั้งหนึ่ง ถึงแม้ว่า อินทร์ พรหม ยมยักษ์ ที่มีอิทธิฤทธ์ จะเนรมิตแผ่นอิฐเป็นทองคำ ก่อเป็นพระเจดีย์ ตั้งแต่มนุษยโลกสูงขึ้นไปจนถึงพรหมโลก อานิสงส์ก็ยังไม่เท่า ภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ และมีคำอธิบายคุณความดีไว้ในต้นฉบับเดิมนั้น อีกนานัปการฯ
    ต้นฉบับเดิมเปิดกรุได้ที่เมืองสวรรคโลก จารเป็นอักษรขอมจารึกไว้ในใบลาน โบราณาจารย์จึงได้แปลเป็นอักษรไทย หลวงธรรมาธิกรณ์(พระภิกษุแสง) ได้มาแต่แท่นศิลาอาสน์มณฑลพิษณุโลก
    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ถ้าผู้ใดบริจาคทรัพย์สร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ญาติ มิตรสหาย หรือสวดจนครบ 7 วัน ครบอายุปัจจุบันของตน จะบังเกิดโชคลาภทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรืองจะพ้นเคราะห์ ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและภัยพิบัติทั้งปวง
    ผู้ใดตั้งจิตเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกวันละ 3 จบ จะไม่มีบาปกรรม ทำสิ่งใดจะได้สมความปรารถนา สวดวันละ 7 จบกระดูกลอยน้ำได้

    พิธีไหว้พระและสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก
    ก่อนเข้าห้องบูชาพระ ควรอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดและนุ่งห่มให้เรียบร้อย เข้านั่งที่ด้วยความสำรวมกายใจ ตั้งจิตให้แน่วแน่เพ่งตรงยังพระพุทธรูป ระลึกถึงพระรัตนตรัย ค่อยกราบ ๓ หน แล้วสงบจิตระลึกถึงพระคุณของบิดามารดา ซึ่งเป็นพระอรหันต์ของบุตร จากนั้นจึงจุดเทียนบูชา ให้จุดเล่มด้านขวาของพระพุทธรูปก่อน แล้วจุดเล่มด้านซ้ายต่อไป จุดธูป ๓ ดอก เมื่อจุดเทียนธูปที่เครื่องสักการบูชาเสร็จแล้วเอาจิต (นึกเห็น) พระพุทธองค์มาเป็นประธาน พึงนั่ง ชายพึงนั่งคุกเข่า หญิงนั่งท่าเทพนม ประนมมือ ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย นมัสการพระรัตนตรัย นมัสการพระพุทธเจ้า ไตรสรณคมน์และนมัสการพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ แล้วจึงเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก จะเพิ่มความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น จะเกิดพลังจิตและมีความมั่นคงในชีวิต พึงทราบด้วยว่า การเจริญภาวนาทุกครั้งต้องอยู่ในสถานที่อันสมควร ขอให้ทำจิตตั้งมั่นในบทสวดมนต์ จะมีเทพยดาอารักษ์ทั้งหลายร่วมอนุโมทนาสาธุการขออย่าได้ทำเล่น จะเกิดโทษแก่ตนเอง
    เมื่อท่านเจริญภาวนายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกแล้ว หากเจริญวิปัสสนาสมาธิต่อ จะได้อานิสงฆ์สูงมาก

    ผู้ใดได้สร้างซึ่งพระพุทธมนต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้เป็นธรรมทาน และได้เจริญภาวนาบูชาพระพุทธมนต์ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ย่อมได้ผลานิสงส์สุดที่จะพรรณาให้ทั่วถึงได้ เป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่ จะมีแต่ความสุขสิริพิพัฒนสวัสดิมงคลเจริญต่อไปทั้งในปัจจุบันกาล และอนาคตกาลภายภาคหน้าตลอดไป ด้วยอำนาจในการเคารพพระพุทธมนต์บทนี้

    ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฏกนั้นว่าไว้ดังนี้
    ๑.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัมมาสัมพุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา วิชชาจะระณะสัมปันโน วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สุคะโต วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา โลกะวิทู วัจจะโส ภะคะวา
    ๒.
    อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง คัจฉามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ
    ๓.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนุตตะโร วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา ปุริสะธัมมะสาระถิ วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัตถา เทวะมะนุสสานัง วัจจะโส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา พุทโธ วัจจะโส ภะคะวา
    ๔.
    อะนุตตะรัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะนุตตะรัง สิระสา นะมามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สะระณัง คัจฉามิ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ สิระสา นะมามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง สิระสา นะมามิ
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    พุทธัง สิระสา นะมามิ
    ๕.
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา เวทะนาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สัญญาขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา สังขาระขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณะขันโธ อะนิจจะลักขะณะปาระมี จะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา
    ๖.
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะถะวีจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา เตโชจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วาโยจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อาโปจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสะจักกะวาฬะ จาตุมะหาราชิกา ตาวะติงสา
    ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๗.
    อิติปิ โส ภะคะวา ยามาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตุสิตาธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา นิมมานะระติธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา กามาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๘.
    อิติปิ โส ภะคะวา รูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปะฐะมะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ทุติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ตะติยะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา จะตุตถะฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา ปัญจะมาฌานะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๙.
    อิติปิ โส ภะคะวา อากาสานัญจายะตะนะเนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะอะรูปาวะจะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา วิญญาณัญจายะตะนะ เนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะอะรูปาวะ จะระธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อากิญจัญญายะตะนะ เนวะสัญญานา
    สัญญายะตะนะ อะรูปาวะ จะระธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๑๐.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาปะฏิมัคคะธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัตตะปะฏิมัคคะ ธาตุสัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๑๑.
    อิติปิ โส ภะคะวา โสตาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา สะกิทาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    อิติปิ โส ภะคะวา อะนาคาอะระหัตตะ ปะฏิผะละธาตุ สัมมาทิยานะ สัมปันโน
    ๑๒.
    กุสะลา ธัมมา
    อิติปิ โส ภะคะวา
    อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ชมภูทีปัญจะอิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นะโม พุทธายะ
    นะโม ธัมมายะ
    นะโม สังฆายะ
    ปัญจะ พุทธา นะมามิหัง
    อา ปา มะ จุ ปะ
    ที มะ สัง อัง ขุ
    สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
    อุ ปะ สะ ชะ สุ เห ปา สา ยะ
    โส โส สะ สะ อะ อะ อะ อะ นิ
    เต ชะ สุ เน มะ ภู จะ นา วิ เว
    อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ ภุ พะ
    อิ สวา สุ สุ สวา อิ
    กุสะลา ธัมมา
    จิตติวิอัตถิ
    ๑๓.
    อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง
    อะ อา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สา โพธิ ปัญจะ อิสาะโร ธัมมา
    ๑๔.
    กุสะลา ธัมมา
    นันทะวิวังโก
    อิติ สัมมาพุทโธ
    สุ คะ ลา โน ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    จาตุมะหาราชิกา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    อิติ วิชชาจะระณะสัมปันโน
    อุ อุ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตาวะติงสา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นันทะ ปัญจะ สุคะโต โลกะวิทู
    มะหาเอโอ ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ยามา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    พรหมมาสัททะ
    ปัญจะ สัตตะ
    สัตตาปาระมี
    อะนุตตะโร
    ยะมะกะขะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑๕.
    ตุสิตา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    ปุ ยะ ปะ กะ
    ปุริสะทัมมะสาระถิ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑๖.
    นิมมานะระติ อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    เหตุโปวะ
    สัตถา เทวะมะนุสสานัง
    ตะถา ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑๗.
    ปะระนิมมิตะ อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    สังขาระขันโธ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    รูปะขันโธ พุทธะปะผะ
    ยาวะชีวัง พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ๑๘.
    พรหมมา อิสสะโร
    กุสะลา ธัมมา
    นัจจิปัจจะยา วินะปัญจะ ภะคะวะตา ยาวะนิพพานัง สะระณัง คัจฉามิ
    นะโม พุทธัสสะ
    นะโม ธัมมัสสะ
    นะโม สังฆัสสะ
    พุทธิลา โลกะลา กะระกะนา
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ ฯ
    ๑๙.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    วิตติ วิตติ วิตติ มิตติ มิตติ จิตติ จิตติ
    อัตติ อัตติ มะยะสุ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
    ๒๐.
    อินทะสาวัง มะหาอินทะสาวัง
    พรหมะสาวัง มะหาพรหมะสาวัง
    จักกะวัตติสาวัง มะหาจักกะวัตติสาวัง
    เทวาสาวัง มะหาเทวาสาวัง
    อิสิสาวัง มะหาอิสิสาวัง
    มุนีสาวัง มะหามุนีสาวัง
    สัปปุริสาวัง มะหาสัปปุริสาวัง
    พุทธะสาวัง ปัจเจกะพุทธะสาวัง
    อะระหัตตะสาวัง สัพพะสิทธิวิชชาธะรานังสาวัง สัพพะโลกา
    อิริยานังสาวัง เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ
    ๒๑.
    สาวัง คุณัง วะชะพะลัง เตชัง วิริยัง สิทธิกัมมัง นิพพานัง
    โมกขัง คุยหะกัง
    ถานัง สีลัง ปัญญานิกขัง ปุญญัง ภาคะยัง ตัปปัง สุขัง
    สิริรูปัง จะตุวีสะติเสนัง
    เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ
    หุลู หุลู หุลู สะวาหายะ
    ๒๒.
    นะโม พุทธัสสะ นะโม ธัมมัสสะ นะโม สังฆัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม อิติปิโส ภะคะวา
    ๒๓.
    นะโม พุทธัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ๒๔.
    นะโม ธัมมัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม
    ๒๕.
    นะโม ธัมมัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ
    สัญญาขันโธ สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
    ๒๖.
    นะโม สังฆัสสะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา รูปะขันโธ เวทะนาขันโธ สัญญาขันโธ
    สังขาระขันโธ วิญญาณะขันโธ
    นะโม สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ วาหะปะริตตัง
    ๒๗.
    นะโม พุทธายะ
    มะอะอุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    ยาวะ ตัสสะ หาโย
    นะโม อุอะมะ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา
    อุ อะมะ อาวันทา
    นะโม พุทธายะ
    นะ อะ กะ ติ นิ สะ ระ นะ
    อา ระ ปะ ขุ ธัง มะ อะ อุ
    ทุกขัง อะนิจจัง อะนัตตา

    คำกรวดน้ำของยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎก

    อิมินา ปุญญะกัมเมนะ ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้า ได้สร้างและสวด ยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกนี้ ขอให้ค้ำชูอุดหนุน คุณบิดา มารดา พระมหากษัตริย์ ผู้มีพระคุณ ญาติกา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และมิตรรักสนิท เพื่อน สรรพสัตว์น้อยใหญ่ พระภูมิเจ้าที่ เจ้ากรุงพาลี แม่พระธรณี แม่พระคงคา แม่พระโพสพ พญายมราช นายนิริยบาล ท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ ศิริคุตอำมาตย์ ชั้นจาตุมหาราชิกา เบื้องบนสูงสุดจนถึงภวัคระพรหม และเบื้องล่างต่ำสุด ตั้งแต่ โลกันตมหานรก และอเวจีขึ้นมาจนถึงโลกมนุษย์ สุดรอบขอบจักรวาล อนันตจักรวาล คุณพระศรีรัตนตรัย และเทพยดา ทั้งหลาย ตลอดทั้งอินทร์ พรหม ยม ยักษ์ คนธรรพ์ นาคา พระเพลิง พระพาย พระพิรุณ ท่านทั้งหลายที่ต้องทุกข์ ขอให้ พ้นจากทุกข์ ท่านทั้งหลายที่ได้สุขขอให้ได้สุขยิ่งๆขึ้นไป
    ด้วยเดชะผลบุญแห่งข้าพเจ้าอุทิศให้ไปนี้ จงเป็นอุปนิสัยปัจจัย ให้ถึงพระนิพพานในปัจจุบัน และอนาคตกาล เบื้องหน้าโน้น เทอญ ฯ
    พุทธัง อะนันตัง ธัมมังจักกะวาลัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโย โหนตุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤศจิกายน 2011
  2. my favorite

    my favorite Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +82
    เป็นท่องเป็นคำๆ แต่ไม่ได้สวดแบบพระถือว่า เราได้สวดไหมคะ
     
  3. ttt2010

    ttt2010 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    1,754
    ค่าพลัง:
    +905
    อนุโมทนาบุญกับบทสวดยอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกด้วยนะครับ สาธุ

    ศิษย์พระอาจารย์บุญยง อภิลาโส ภิกขุ
    ท่องวัดและศาสนสถานที่สำนักสงฆ์พรหมรังศรี
    เปิดดวง พิธีกรรมแก้ดวงชะตา (สำนักสงฆ์พรหมรังศรี)
    ______________________________________________________
    บอกบุญแหล่งทำบุญ
    ขอเชิญร่วมบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดดอนพัฒนาราม พระนครศรีอยุธยา
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศูนย์วิปัสสนาศิริธรรม(นายาง)ต.นายาง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  4. Tamsc14

    Tamsc14 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    223
    ค่าพลัง:
    +204
    อนุโมนทนาบุญด้วยครับ
    ๒.
    อะระหัง ตัง สะระณัง คัจฉามิ
    อะระหัง ตัง สิระสา นะมามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    สัมมาสัมพุทธัง สิระสา นะมามิ
    วิชชาจะระณะสัมปันนัง สิระสา นะมามิ
    สุคะตัง สะระณัง คัจฉามิ
    สุคะตัง สิระสา นะมามิ
    โลกะวิทัง สะระณัง คัจฉามิ
    โลกะวิทัง สิระสา นะมามิ


    บทที่ 2 ขาด วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง นะมามิ
     
  5. tharushnu

    tharushnu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    897
    ค่าพลัง:
    +1,276
    อนุโมทนาบุญทุกประการครับ...สาธุ
    _____________________________________________

    <iframe src="http://www.facebook.com/plugins/likebox.php?href=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2FBuddhaPhothiyan&amp;width=500&amp;colorscheme=light&amp;show_faces=true&amp;border_color&amp;stream=true&amp;header=true&amp;height=427" scrolling="no" frameborder="0" style="border:none; overflow:hidden; width:500px; height:427px;" allowTransparency="true"></iframe>
     
  6. ธิญาดา

    ธิญาดา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    80
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +582
    เราสวดทุกวันเลยค่ะ สวดแบบท่องเป็นคำๆไม่ได้ท่องเหมือนพระสวดนี่ล่ะค่ะ
    เมื่อก่อนสวด3จบต่อวัน ในหนังสือเขียนว่าดีเราจึงสวดไป แต่ตอนนั้นไม่ได้เป็นพิธีการอะไรมาก คือไม่ได้สวดต่อหน้าพระ และก็ไม่ได้ท่องคำอุทิศส่วนกุศลด้วย สวดก็รีบๆสวดเอาแค่ว่าสวดให้ครบ หลังจากสวดประมาณ 2 อาทิตย์ ไม่น่าเชื่อ เกิดความสุข ใจคิดได้ว่าเราอยากทำทาน เรามีข้าวของพอใช้แล้ว ถึงเอาของในห้องทั้งหมดไปบริจาค เราก็ไม่เสียดาย คิดอยากละความโลภตลอด เห็นผู้คนเกิดเมตตาอยากให้เขาพ้นทุกข์ เราจะช่วยอะไรเขาได้บ้างหนอ เป็นอย่างนี้ตลอดเวลา จิตใจมันแผ่เมตตาไปตลอดเวลา
    ไม่น่าเชื่อหลังจากนั้นเจอแต่สิ่งดีๆเข้ามาตลอด โชคลาภไม่คาดฝันประดังเข้ามา กัลยาณมิตรเข้ามาช่วยเหลือ ครอบครัวจากทะเลาะกันก็สามัคคี เทียบกับก่อนสวดจะเป็นคนเครียดง่าย เงินไม่พอใช้ โลภเพราะคิดว่าตัวเองไม่พอ อยากได้อยากมีเป็นในสิ่งที่เกินตัว เป็นทุกข์ตลอด ทะเลาะกับคนในบ้าน เจอเพื่อนไม่ดี ฯลฯ
    ทุกวันนี้ก็เลยยิ่งตั้งใจสวดมากกว่าเมื่อก่อน หลังสวดเสร็จก็ยินดีกล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ทั่วจักรวาล สวดต่อหน้าพระพุทธรูป ยินดีที่จะสวด สวดแล้วรู้สึกมีความสุข สบายใจ
    สวดแล้วเป็นมหามงคลต่อตัวเรา สวดไปเถอะค่ะ

    ปล.บทที่ 2 ขาด วิชชาจะระณะสัมปันนัง สะระณัง นะมามิ เราใส่เพิ่มเติมให้แล้วนะคะ<!-- google_ad_section_end -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 6 พฤศจิกายน 2011
  7. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,730
    ขออนุโมทนาบุญกับท่านเจ้าของกระทู้ และทุกๆท่านที่สวดพระคาถาบทนี้ค่ะ
     
  8. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916
    มีผู้ใดพอจะทราบไหมครับว่า ผู้ที่ค้นพบ "พระภิกษุแสง" เป็นพระเกจิอาจารย์ท่านใด เท่าที่หาประวัติ สืบค้นมายังไม่เจอคำตอบที่ต้องการเลยครับ


    ในส่วนตัวของผม "พระภิกษุแสง" น่าจะเป็นหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของหลวงปู่โต หรือขรัวตาของหลวงปู่โต คาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกเป็นคาถาที่หลวงปู่โต ใช้สยบย่านาค พระโขนง เป็นไปได้ว่าหลวงปู่โต คงได้คาถายอดพระกัณฑ์นี้มาจากหลวงปู่แสง แล้วพระภิกษุแสงที่เป็นผู้ค้นพบน่าจะเป็นหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน สำหรับหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์นั้น พระองค์ได้เสด็จดับขันปรินิพพานไปแล้ว เป็นพระอรหันต์ที่น่าเลื่อมใสอีกองค์

    คาถาบูชาหลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จังหวัดลพบุรี

    จินดามณี มณีจินดา
    สะพะระโตติ สะมะณีจิตตัง
    มหาเสจิตตัง เอหิ เอหิ เอหิ
    ปะละเทจิตตัง เจ เมตตา
    สัพพะเสน่หา จะปูชิโต
    สัพพะทุกขัง สัพพะโรคัง
    สัพพะภัยยัง วินาศสันติ

    ส่วนตัวผมเองยังไม่ได้ไปกราบท่านเลย คงจะหาเวลาไปแน่นอน ได้แต่ระลึกถึงท่านอย่างเดียว เพราะพระองค์ท่านคือพระอาจารย์ ของครูอาจารย์ของเรา ยังไงก็ต้องไปกราบท่านให้ได้

    สำหรับผู้ที่รู้จริง ที่มาของผู้ที่ค้นพบพระคาถายอดพระกัณฑ์ รบกวนช่วยตอบให้หายสงสัยทีนะครับว่า พระภิกษุแสง ท่านนี้คือใครท่านใดกันแน่


    ขออนุโมทนาบุญแด่ผู้ที่ใฝ่ในธรรมมะทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  9. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    เมื่อผมบวชพระครบ9วัน บทยอดพระกัณฑ์เมื่อผมนำมาฝึกสวดมนต์อีก15วันผมก็สวดได้เป็นบทแรก ด้วยศรัทธาในอานิสงค์ และเมื่อสวดบ่อยๆ ค่อยๆเข้าใจความหมายจึงเข้าใจว่า
    หากเราเข้าถึงคำแปลหลักคำสอนในยอดพระกัณฑ์ ย่อมทำให้เราสำเร็จเป็นอรหันต์ได้ สามารถถึงพระนิพพานได้ มีอานุภาพมากทั้งในอิทธิฤทธิ์ ต่างๆ ปกติผมจะสวดทุกวันพระครับ
    ส่วนการสวดเป็นคำๆหรือทำนองแบบไหนก็ได้ได้เหมือนกันหมดครับ การสวดบทนี้ต้องใช้สมาธิมากเพราะยาวมาก แต่เมื่อสวดได้แล้วจะจำไปจดตลอดครับ แต่ต้องทรงสมาธิให้ดีครับ

    ขออนุโมทนาคนด้วยครับ
     
  10. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    อิติปิโส ภะคะวา รูปะขันโธ เป็นต้น เมื่อสาธยายหรือภาวนาแล้ว ขออาราธนาบารมีธรรมของพระพุทธองค์สิงสถิตในเบญจขันธ์ของเราเพื่อให้เกิดพระ ไตรลักษณญาน อันเป็นทางของพระนิพพานสืบต่อไป

    ดิฉันก็สวดค่ะ ทำสมถะภาวนาไปด้วยขณะสวด ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าท่อนนี้มีอานิสงส์
    อย่างนี้ มิน่าเวลาติดขัดทางธรรมทีไร ก็จะมีเหตุการณ์มาสอนเราตลอดเลยค่ะ ดีจริงๆ
    อนุโมทนานะคะ
     
  11. ้rose_1708

    ้rose_1708 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +26
    หยกจ้า

    ขอรบกวนถามค่ะสวดมนต์น่ะคะสวดแต่พระคาถายอดพระกัณฑ์ไตรปิฎกได้หรือป่าวคะ
     
  12. ้rose_1708

    ้rose_1708 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +26
    หยกจ้า

    แล้วบทอื่นต้องสวดด้วยหรือป่าวคะ
     
  13. na_krub

    na_krub "นโม ธรรมะสุขัง อรหังพุทโธ นโมพุทธายะ"

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +2,916

    ต้องถามตัวเองก่อนครับว่าเราสวดมนต์เพื่อต้องการอะไร ถ้าสวดแบบต้องมีการมีสมาธิบทธรรมดาที่สวดเป็นประจำก็น่าจะพอแล้ว เมื่อเราสวดไปเรื่อยๆแล้วเรารู้สึกว่า อยากสวดบทอื่นเราก็หาบทที่เราชอบมาสวดเพิ่มเติมก็ได้ การสวดมนต์ไม่ได้เน้นที่ว่ายิ่งสวดมากบทจะได้อานิสงฆ์มาก ขึ้นอยู่กับความตั้งใจในการสวดมนต์ บางคนสวดเน้นเอาจำนวนบทสวดแต่ก็กางหนังสือสวดดูตลอด กับบางคนที่สวดพาหุงอย่างเดียวแต่เอาจิตดูจากข้างใน โดยใช้ความจำ ผู้ที่ได้สมาธิมากกว่าก็คือผู้ที่ตั้งใจสวดแบบใช้ความจำ ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเจตนาเป็นหลัก


    อนุโมทนาบุญแด่ผู้ที่ใฝ่ในธรรมมะทุกๆท่านด้วยนะครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...