อุปทานกับอุปทานขันธ์5คืออะไรอะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tokyoo2, 10 กันยายน 2012.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผมสงสัยว่ามันค่างกันยังไงครับ ไงก็ขอท่านผู้รู้มาชี้เเจหน่อยนะครับ สาธุๆ
     
  2. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    มันต่างกันตรงที่ เข้าใจ ขันธ์5 หรือเปล่า

    ถ้ามีความเข้าใจ ขันธ์5 พอสมควร ก็จะแยก อุปทานขันธ์ ได้

    พอแยกอุปทานขันธ์ได้ ว่าต่างจาก อุปทาน แบบ ฟ้า กับ เหว

    ก็จะเลิกสนใจ มีจิตแล่นไปกับคำว่า อุปทาน ทันที

    คนที่มีสัมมาทิฏฐิพอสมควร จะพูดแค่คำว่า อุปทานขันธ์
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    อุปาทาน เป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยคือ ความยึดมั่นถือมั่น ความถือเอา ความสำคัญตน

    อุปาทานขันธั5 เป็นภาษาบาลี แปลเป็นไทยคือ

    ความยึดมั่นถือมั่นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิณญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา
     
  4. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ^

    เรียนท่านเล่าปังครับ

    ช่วยขยายความให้ทีครับ
     
  5. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เรียนท่านปราบเทวดาครับ

    ผมเข้าใจตามที่ท่านว่า

    อุปทานขันธ์5 เป็นความยึดมั่นถือมั่น ใน รูป ฯลฯ

    เเล้วเค้าเเยกกันไมอะครับ งง เเถวๆนี้อะคระบ
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^
    เรียนท่านโตกี้

    ก็ดูจังหว่ะการสนทนาละการ โตกี้ฉลาดอยุ่แล้ว
     
  7. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ผมเข้าใจเเบบนี้ครับ ขันธ์5 คือ รูปขันธ์ ฯ วิญญาณขันธ์

    อย่างที่คุณเล่าปังบอก มันเเยกกัน อย่างฟ้ากับเหวนั่น
    นั่นเเละครับผมไม่เข้าใจตรงนี้ มันเเยกกันยังไงครับ ก็อย่างคุณปราบเทวดาก็บอกผมว่า มันรวมๆกันอยู่
     
  8. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    ยัง พูด หรือ ถาม อยู่ที่ ประเด็นคำว่า อุปทาน อะเป่า

    คำถามไม่ชัด ขอแบบ ชัดๆ
     
  9. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^

    ก็ต้อง รอ คุณเล่าปังล่ะครับ คุณโตกี้
     
  10. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    อุปาทานแปลว่ายึดมั่นถือมั่น

    โดยทุกข์ในพระพุทธศาสนาว่าโดยย่อแล้วเกิดจาก มีอุปาทานในขันธ์๕
    ขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    มีพระสูตรหนึ่งที่พระเข้าไปหาพระสารีบุตรเพื่อขอคำแนะนำก่อนจะเข้าป่าไปเจริญพระกรรมฐาน
    พระถามพระสารีบุตรว่า จะทำยังไงถึงจะเป็นพระโสดาบัน
    พระสารีบุตรก็ตอบว่า ให้พิจารณาละขันธ์๕ ให้ละอุปาทานในขันธ์ ๕
    แล้วพระก็ถามเรื่อยไป สกิทาคามี อานาคามี อรหันต์ทำยังไง
    พระสารีบุตรก็ตอบเหมือนเดิมคือละอุปาทานขันธ์๕
    หลังจากเป็นพระอรหันต์แล้ว พระสารีบุตรก็กล่าวว่าพระอรหันต์ก็พิจารณาขันธ์๕ เหมือนกัน

    คือถ้าปฏิบัติดีๆจริงจังแล้ว มันจะรู้เองว่า ถ้าละอุปาทานขันธ์๕ แล้ว มันละได้หมดทั้งโลก
    ถ้าลองอ่านพระสูตรไปเรื่อยๆ จะพบว่าพระพุทธเจ้าก็เทศน์ให้ละขันธ์๕ บ่อยมาก
    ตรัสจบก็จบกิจกันเป็นแถวๆ
     
  11. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ก็คือ อุปทาน กับ อุปทานขันธ์5 ไง ครับ ที่ผมถาม ผมงงว่ามันต่างกันตรงไหน
    เเละคุณเล่าปังก็ตอบว่า มัน ต่างกันอยู่
    ที่ถามเพราะ ผมเห็นเค้า พูด เเบบนี้กัน ผมก็สงสัยว่าเค้าเเยกกันทำไมครับ
     
  12. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    คุณ F ศาสนาพุทธกล่าวย่อเเล้วว่า อุปทานขันธ์5หรอครับคือทุกข์
    ท่านFว่าอุปทานเป็นความยึดมั่นถือมั่น
    เเล้วอะไรมาเป็นผู้มีความยึดมั่นถือมั่นใน รูปฯลฯวิญญาณ อ่าครับ จึงเกิด

    ผมกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่นะครับ
     
  13. เล่าปัง

    เล่าปัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    4,787
    ค่าพลัง:
    +7,918
    เวลาถามแบบชัดๆ ก็ต้อง แจงออกมาว่า

    เข้าใจ อุปทาน ว่าคืออะไร

    แล้วก็ สำแดงโตกิยะบุตรต่อไปว่า เข้าใจ อุปทานขันธ์ อย่างไร

    คุณมีความเข้าใจ สองคำนี้ อยู่ประมาณหนึ่ง มีเท่าใด ก็แสดงออกมา

    *********

    แต่ถ้า พบความลำบากใจ ในการกล่าว เกรงว่า จะกล่าวผิด อันนี้เรา
    ไม่เอา เราอย่าเรียนธรรมะ แบบเรียนภาษาไทย

    ต้องยอมอนุโลม ทนต่อการเห็นผิด ที่มีอยู่ แล้วข้ามมันเสียบ้างก็ได้

    พอข้ามต่อ การทนต่อการเห็นผิด ได้ คราวนี้จะไม่สนใจแล้วว่า
    ที่เราเข้าใจคำศัพท์อยู่ผิดๆถูกๆ มันจะมีความหมายอะไร

    พอวางใจได้แบบนี้ ก็จะ แจกแจงออกมาได้ว่า อุปทาน ที่เรา
    เข้าใจอยู่นั้น เป็นอย่างไร

    และ อุปทานขันธ์ ที่เราเข้าใจอยู่นั้นเป็นอย่างไร

    หากยังยืนยันว่า อันตัวข้าพเจ้า สำแดงโตกียะบุตร ไม่เห็นต่าง

    ก็ในเมื่อ ตัวคุณไม่เห็นต่าง

    แล้ว จะมีปัญหาอะไรหละ

    ปัญหา อยู่ที่ใคร ตัวบุคคลๆไหน รึ ( โดนคนอื่น ใครก็ไม่รู้ เล่นงาน )

    หรือว่า อยู่ที่ขันธ์5 สัญญาไม่เที่ยง เป็นอาธิ ( โดนขันธ์5 เล่นงาน )
     
  14. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    กท นี้ๆๆๆเหนด้วยๆๆๆคับ
     
  15. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    อุปาทาน หมายถึง ความยึดมั่นถือมั่น ส่วนขันธ์5(รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) เรียกรวมๆ ว่า ร่างกาย อุปาทานขันธ์5 จึงหมายถึงว่า ยึดว่าร่างกายนี้เป็นเรา ซึ่งแท้จริงเราคือจิต ไม่ใช่ร่างกาย ร่างกายเกิดมาได้เพราะ กิเลส(รัก โลภ โกรธ หลง) ตัณหา(ความทะยานอยาก) อุปาทาน(ความยึดมั่น)และอกุศลกรรม ทำให้เกิดทุกข์ตามมาทุกครั้งที่เกิด แต่มีบางท่านเหมือนกัน ที่กดกิเลสได้สนิท ไม่มีตัณหาความทะยานอยากอันใดในโลกอีก อกุศลกรรมท่านก็ทำน้อยมากในชาติหลังๆ แต่ท่านยังต้องเกิดอีกเพราะท่านยังมีความยึดมั่นอีกนิดเดียวจริงๆ จะเรียกว่าอุปาทานก็เกรงใจ ท่านยึดมั่นว่า ท่านต้องไปเกิดอีก 1 ชาติเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ผมขอโมทนากับความตั้งใจอันมุ่งมั่นของพระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ สาธุ
     
  16. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    การศึกษาพระพุทธศาสนามีหลายแบบและหลายเหตุผล
    เหตุผลที่คุณต้องการศึกษาคืออะไรละครับ
    ถ้าผมทราบ ผมก็จะอธิบายได้ตรงจุด
     
  17. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    อันที่จริงก็มีคำตอบในพระไตรปิฏกถ้าตั้งใจค้นคว้าหาอ่าน แต่ที่จะอธิบายนี้เป็นความเข้าใจของผมเอง ผิดถูกยังไงก็อย่าได้ใส่ใจมากนัก อุปทานกับอุปทานขันธ์ห้า ว่ากันตามความเข้าใจของผมก็คือ ไม่แตกต่างกัน ก็แปลตามความเข้าใจของท่านทั้งหลาย ที่ได้ศึกษาอ่านมานั้นแหระคือความยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ส่วนคำว่าขันธ์ห้า นี้มาจากภพภูมิที่เป็นมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ที่เป็นมนุษย์ได้ต้องมีธาตุสี่ขันธ์ห้า และขันธ์ห้านี้ก็คือสิ่งที่มีอยู่ในมนุษย์นั่นเอง แต่เป็นส่วนนามธรรม ซึ่งมันไม่มีอยู่จริง แต่ที่ว่ามันมีอยู่ก็เพราะจิตไปยึดมันขึ้นมา ที่จิตไปยึดมันขึ้นมานั้นเพราะความไม่รู้ จิตจึงกระทำทางกาย วาจา และก็ใจ ด้วยความต้องการและไม่ต้องการ พอมีความต้องการกระทำทางกาย วาจา และใจแล้ว อุปทานทั้งห้าอย่าง ก็แสดงตนทำหน้าที่ของแต่ล่ะขันธ์ให้ปรากฏออกมา เมื่อเกิดความพอใจหรือไม่พอใจแม้แต่เฉยๆก็จะยึดถือ มันจึงแสดงวนเวียนกันอยู่อย่างนี้ตลอดไปตามธรรมชาติของมัน จิตไม่สามารถรู้ได้ว่า ต้องทำยังไงถึงจะไม่ยึดติดอุปาทานของขันธ์ห้าได้ จิตเองจึงต้องอาศัยวิธีการกระทำให้จิตปล่อยวางขันธ์ห้า ด้วยการทำตามธรรมชาติจนเกิดปัญญา ซึ่งสิ่งนี้ มีผู้ที่มีปัญญาบารมีสูง ที่สามารถรู้และปฏิบัติได้จริงแล้ว จึงนำมาบอกต่อ จนกระทั่งมีผู้เข้าถึงได้มากมาย ตั้งหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมา ธรรมชาติที่ว่านั้นก็คือ อริยสัจ4นั่นเอง อุปทานกับอุปทานขันธ์ห้าก็คือสภาวะการยึดติดในส่วนของขันธ์ห้านั่นเอง ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันในสภาวะของการยึดติด แต่จะยึดติดกับอะไรนั้นแล้วแต่ว่าลงท้ายด้วยอะไร ขออนุโมทนา
     
  18. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413

    เราไม่ใช่จิต มีเราเพราะอุปทานขันธ์5
     
  19. somchai_eee

    somchai_eee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    332
    ค่าพลัง:
    +413
    อุปาทานกับอุปาทานขันธ์มิใช่อันเดียวกัน


    "
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานนักขันธ์

    เหล่านั้น

    ? หรือว่าอุปทาน เป็นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลายเล่า? พระเจ้าข้า !"
    ภิกษุ


    ! ตัวอุปาทาน นั้น ไม่ใช่ตัว ปัญจุปาทานักขันธ์, แต่
    อุปาทาน นั้น ก็มิได้มีในที่อื่น นอกไป จาก ปัญจุปาทานักขันธ์ทั้งหลาย

    ;
    เพราะว่า ตัวฉันทราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธ์ นั่นแหละ คือ ตัวอุปาทาน
    ในที่นี้แล


    .
    -


    อุปริ. . ๑๔/๑๐๑/๑๒๑.
    อุ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2012
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อุปาทาน แปลว่า เข้าไปยึดมั่นว่าเป็นของเรา ได้แก่ (โลภะเจตสิก)
    ขันธ์ ๕ ก็ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ได้แก่ (จิต เจตสิก รูป)

    อุปาทานขันธ์ ๕ ก็คือเข้าไปยึด รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ว่าเป็นเรา
     

แชร์หน้านี้

Loading...