ขอถามเกียวกับเรื่องเวทนาครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย tokyoo2, 10 กันยายน 2012.

  1. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เวทนา มี3อย่างคือ สุข ทุกข์ อุเบกขา

    เเต่ในหนังสือเรียน ม.ต้น เเละ ม.ปลาย ของโรงเรียน มีสอนว่า คนเรามีความรู้สึกที่เเสดงออกมามี2ส่วนใหญ่ๆคือ สุข เเละ ทุกข์ เเต่ไม่มีเฉยๆ

    อยากทราบว่า อุเบกขาเกียวอะไรด้วยหรอครับ ทำไมต้องบอกถึงอุเบกขาด้วยว่าเป้นอาการ1ที่มันเเสดงหรืออะไรออกมา มันก็เห็นๆอยู่ว่ามีอยู่ ประมาณนี่ครับ


    ใครพอเข้าใจช่วยตอบทีครับ

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  2. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ผมจะไปทำการบ้านวันนี้แต่แวะมานี่ก่อนขอรับ

    ทั้งหมดคืออุเบกขา ไม่ยากนะเอาเรื่องนี้เรื่องเดียวก่อน

    หากเราไม่มีกลางมาก่อนแล้วเราจะแบ่งสั้นแบ่งยาวมาจากไหนขอรับ
    แบ่งสูงแบ่งต๋ำอย่างไร
    แล้วจะไปแบ่งอย่างไรอีกเมื่อเขามารวมกันเป็นทีมเป็นธัม

    หรือแบ่งสุขแบ่งทุกข์
    มนุษย์เราแบ่งเขาไม่เท่ากันเองเพราะความโลภ
    จึงไม่โลและไม่เลที่จะเลือกทางชั่วทางดี

    อย่างไรก็ต้องแบ่ง ปัน นะขอรับ
    อมคนละแผ่นตอนหลวงพ่อใส่ปากเข้าโบสถ์
    อาหารธรรมหายากหรือไม่อย่างไร เดี่ยวนี้มีเลย์เป็นถุงเลย เลยลืม
    ว่าที่ได้มาชิ้นเดียวนั้นคือยา ปันยา

    เอ้าเดี๋ยวปันยาว

    เอาเท่านี้ละนะครับ

    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วขอรับ

    แล้วอย่าลืมทำขานะขอรับ
    ตรงกลางที่แบ่งได้เท่ากันทุกท่านทุกคนเป็นธรรมคืออุเบกขาต้องมีจุดอยู่ตรงกลางด้วยขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 กันยายน 2012
  3. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    จิตเดิมแท้ของเรานั้นเป็นธาตุรู้ ไม่สุข ไม่ทุกข์ มันเฉยๆ(อุเบกขา)อยู่ แต่ด้วยความที่มันไม่มีสติและปัญญารู้เท่าทันตามความเป็นจริง เลยมีความอยาก(ตัณหา) นำไป อยากสุข (เวทนา) เกิดเป็นสัญญา(ความจำได้หมายรู้ขึ้น) แล้วคิดปรุงแต่งยึดมั่นเรียกสังขาร มีการรับรู้การสัมผัสเป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เรียกวิญญาณ สุดท้ายนำพาให้เกิดเพราะสาเหตุหลักมาจากตัณหาความทะยานอยากเป็นหลัก แก้ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ให้จิตมันรู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร จะได้ไม่ทุกข์อีก หลุดพ้นเข้านิพพานไป เจริญในธรรมทุกท่าน สาธุ
     
  4. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    เวทนา มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา
    เมื่อใดที่กำลังมีความสุขอยู่...ความทุกข์ หรือ ความเฉยๆ ก็ไม่เกิดขึ้น...มีแต่ความสุขอย่างเดียว
    เมื่อใดที่กำลังมีความทุกข์อยู่...ความสุข หรือ ความเฉยๆ ก็ไม่เกิดขึ้น...มีแต่ความทุกข์อย่างเดียว
    เมื่อใดที่กำลังมีความเฉยๆ (ไม่ทุก-ไม่สุข) อยู่...ความสุข หรือ ความทุกข์ ก็ไม่เกิดขึ้น...มีแต่ความเฉยๆ อย่างเดียว

    ถ้ามีแต่ สุขเวทนา กับ ทุกขเวทนา เพียง 2 อัน นั่นแสดงว่า
    ตราบใดที่ไม่มีความสุข - ตราบนั้นจะเป็นทุกข์ทันที...นั้นจริงหรือไม่
    ก็ไม่เสมอไปเราอาจจะเฉยๆ ไม่เป็นทุกข์ก็ได้

    ตราบใดที่ไม่มีความทุกข์ - ตราบนั้นจะเป็นสุขทันที...นั้นจริงหรือไม่
    ก็ไม่เสมอไปเราอาจจะเฉยๆ ไม่มีความสุขก็ได้
     
  5. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    แล้วที่ผมเคยได้ยินว่า ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

    หมายความว่าไงละคับ:'(

    แล้วสุขกับเฉยๆละ?? งงละฮะ:'(
     
  6. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เคยอ่านตำราอยู่ ผู้ที่มีปัญญาเห็นตามนั้นได้ คือ
    มีปัญญา ระดับพระอนาคามีแล้ว

    แต่คงไม่ใช้ ท่องจำเอา คงต้องมีซักวันที่เห็นตามนั้นได้สำหรับผู้ฝึกฝน


    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

    เพราะฉะนั้น

    สุขในโลก
    ทุกข์ในโลก
    เฉยๆในโลก ล้วนไม่เที่ยง
    เมื่อไม่เที่ยง มันจึงมีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

    กำหนดรู้ทุกข์ จึงเป็นประตูออกของพระอรหันต์ทั้งหลาย
     
  7. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    เวทนา สุข ทุกข์ เฉย

    ตรงทุกข์นี่พอเข้าใจได้นะครับ

    สุขกับเฉย มันก็ไม่ได้ตั้งอยู่ได้ตลอด มีสุขก็อยากสุขนาน สุขตลอด พอไม่พบสุข ได้ได้สุข สุดท้ายลงทุกข์อยู่ดี

    เฉยไม่ยินดียินร้ายก็เช่นเดียวกัน ไม่สามารถทนได้ตลอด ก็ลงทุกข์อยู่

    เฉยในเวทนา อุเบกขาเวทนา ไม่ใช่อุเบกขาในองค์ธรรมนะครับ ต่างเหตุปัจจัยกัน

    เวลาพิจารณาก็เห็นทุกข์ลงสู่ไตรลักษณ์

    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ

    ไม่รู้พอช่วยได้บ้างไหม
     
  8. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    อ้างคำของตถาคต

    ปัญหา เวทนาน่าจะมีเพียง ๒ คือ สุขเวทนา และทุกขเวทนา ส่วนความรู้สึกไม่สุขไม่ทุกข์ คือ อทุกขมสุขเวทนา นั้น จัดเป็นสุขอันประณีตน่าจะจัดเข้าไว้ในสุขเวทนา พระพุทธองค์ทรงจำแนกเวทนาไว้เท่าไรแน่ ? (ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะถามพระอุทายี) ?

    พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนอานนท์ โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๒ ก็มี โดยปริยายหนึ่ง เรากล่าวเวทนา ๓ ก็มี.... เวทนา ๕ ก็มี.... เวทนา ๖ ก็มี.... เวทนา ๑๘ ก็มี.... เวทนา ๓๖ ก็มี.... เวทนา ๑๐๘ ก็มี....
    “ดูก่อนอานนท์ เมื่อธรรมอันเราแสดงไว้โดยปริยายอย่างนี้แล ชนเหล่าใดจักไม่เห็นตาม จักไม่รู้ตาม จักไม่พลอยยินดีตาม แม้ธรรมที่กล่าวดีแล้ว พูดดีแล้วแก่กันและกัน ชนเหล่านั้นจักเป็นอันหวังได้ว่า จักบาดหมางกัน เกิดการทะเลาะกัน วิวาทกัน จักทิ่มแทงกันด้วยหอก คือ ปาก....
    “ชนเหล่าใดจักเห็นตาม รู้ตาม พลอยยินดีตาม ชนเหล่านั้นจักเป็นอันหวังได้ว่า จักพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน กลมเกลียวดุจน้ำเจือด้วยน้ำนม มองกันและกันด้วยจักษุอันเปี่ยมด้วยความรักอยู่....”

    ปัญจกังคสูตร สฬา. สํ. (๔๑๒)
    ตบ. ๑๘ : ๒๗๘ ตท. ๑๘ : ๒๕๘
    ตอ. K.S. ๔ : ๑๕๑
     
  9. สุรีย์บุตร

    สุรีย์บุตร https://youtu.be/8qf8khXqUjU

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    1,559
    ค่าพลัง:
    +2,122
    เหอๆ ความสุขของผมหายไปในบัดดล:'(
     
  10. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^

    ยังไงเสีย เดี๋ยว หกนาริกา ก็วนมาที่เดิม ซ้ำๆเรื่อยไป
     
  11. ดูงาน

    ดูงาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    569
    ค่าพลัง:
    +2,671
    ทุกขสัจจะ

    สุขมีวันเสื่อมใหม อยากให้สุขอยู่กับเราตลอดได้ใหม สรุปเหลืออะไร

    แล้วเฉยๆตลอดได้ใหม สุดท้ายก็กลับมาที่เดิม

    เหลือแค่ ไตยลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    นี้แหละที่ว่าไร้แก่นสาร ไม่ใช่ว่างเปล่า แต่ไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสารให้ยึดเป็นตัวตน
     
  12. ธรรมานุภาพ

    ธรรมานุภาพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +122
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ...
    พระพุทธเจ้าท่านกล่าวเช่นนี้ เพราะสุขทางโลกทั้งหลายท่านบอกว่าทุกข์เหมือนกันแต่ทุกข์น้อยกว่า เหตุเพราะสุขทางโลกนั้นไม่เที่ยง จึงรวมความว่า ทุกอย่างในโลกทุกข์ทั้งหมด และเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ส่วนอริยสัจ 4 ก็เริ่มที่ ทุกข์ ไม่มีคำว่าสุขเลย ส่วนอารมณ์เฉยๆ ในอุเบกขาทางธรรม เป็นอารมณ์ที่ไม่หวั่นไหวในทุกข์(ทางโลก) ไม่ยินดีในสุข(ทางโลก) ปล่อยวางร่างกาย ยอมรับกฎแห่งกรรม เป็นอารมณ์พระอรหันต์ (สุขที่นักปฏิบัติแสวงหา คือ สุขที่เกิดจากการไม่ปรารถนาใดๆ ในโลก ความสุขนิพพานอยู่ตรงนั้น)หรือเรียกอีกอย่างว่า ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม 8 อุเบกขาบารมีเป็นบารมีตัวสุดท้าย ทุกขั้นตอนของนักปฏิบัติต้องผ่านอุเบกขาให้ได้เป็นขั้นๆ ไป จนกว่าจะถึงขั้นสังขารุเปกขาญาณ เป็นอุเบกขาขั้นสุดท้าย เมื่อถึงอุเบกขา ก็ทรงฌาน 4 อัตโนมัติ ยอมรับกฎธรรมดาของโลกและกฎแห่งกรรม <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความวางเฉย หรือ อุเบกขา เป็น ปีติอย่างหนึ่งขอรับ
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ต่อยอด จากผู้รู้ทั้งหลายครับผม--------------------พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย คนทั่วไปกล่าวกันว่า เวทนา เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย...เพราะกริยาที่รู้สึก(ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้มีอยู่ในสิ่งนั้น..ดังนั้นสิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา...สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ถึงอะไร..สิ่งนั้นย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง...ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง...และย่อมรู้สึกได้ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง(ดังนี้เป็นต้น) ภิกษุทั้งหลาย เพราะกริยาที่รู้สึก(ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ)ได้มีอยู่ ในสิ่งนั้น ดังนั้นสิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่า เวทนา----ขนธ.สํ.17/105/159..........(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าจะเอายาวหน่อย..ยังมีอุเทส ที่ลงกันได้อีกหลายปริยาย.....พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา พึงรู้จักความเป็นต่างกันของเวทนา พึงรู้จักผลของเวทนา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนา ดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงอะไรเล่า.............ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้น เรากล่าวหมายถึง เวทนาสามเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ทุกขืเวทนา และ อทุกขมสุขเวทนา..............ภิกษุทั้งหลาย เหตุเป็นแดนเกิดของเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ผัสสะ(การประจวบกันแห่งอายตนะภายใน และอายตนะภายนอกและวิญญาน)เป็นเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา............ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นต่างกันของเวทนา เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาที่เจือด้วยอามิส(กามคุณห้า)ก็มี สุขเวทนา ที่ไม่เจือด้วยอามิส(ไม่มีกามคุณห้า)ก็มี ทุกขเวทนาที่เจือด้วยอามิสก็มี ทุกขเวทนาที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขเวทนาที่เจือด้วยอามิสก็มี อทุกขมสุขที่ไม่เจือด้วยอามิสก็มี ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ความเป็นต่างกันของเวทนา..............ภิกษุทั้งหลาย ผลของเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเสวยเวทนาใดอยู่ ยังอัตภาพซึ่งเกิดแต่เวทนานั้นนั้นให้เกิดขึ้น เป็นฝ่ายบุญก็ตาม เป็นฝ่ายไม่ใช่บุญก็ตาม ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าผลของเวทนา............ภิกษุทั้งหลาย ความดับไม่เหลือของเวทนาเป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ความดับไม่เหลือ ของเวทนา มีได้ เพราะความดับไม่เหลือ ของผัสสะ.....................ภิกษุทั้งหลาย อริยมรรคมีองค์แปดนี้นั้นเอง เป็นทางดำเนินให้ถึง ความดับไม่เหลือของเวทนา ได้แก่ ความเห้นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจมั่นชอบ............ภิกษุทั้งหลาย คำใด ที่เรากล่าวว่า พึงรู้จักเวทนา พึงรู้จักเหตุเป็นแดนเกิดของเวทนา พึงรู้จักความเป้นต่างกันของเวทนา พึงรู้จักผลของเวทนา พึงรู้จักความดับไม่เหลือของเวทนา และพึงรู้จักทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของเวทนาดังนี้นั้น เรากล่าวหมายถึงความข้อนี้แล---------------(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ยังไงก้ตามความรู้ก้ยังมี สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา..ยังมีหลายชั้น หยาบละเอียด..จากการฟัง จากการพิจารณา และจากการภาวนา...อย่าพึ่งหยุดรู้:cool:
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    มีผู้อธิบายอุเบกเวทนาไว้ได้ดีจึงยกมาแสดงอุปมาไว้ในที่นี้
    คือเหมือนพรานเมื่อเห็นรอยเท้าเนื้อก็ติดตามรอยเท้าเนื้อไป
    และรอยเท้านั้นก็หายไป เพราะเนื้อนั้นขึ้นไปเดินบนพลาญหิน รอยเท้าจึงหายไป
    พรานจึงเดินข้ามพลาญหินไปก็พบรอยเท้าอีกฟากหนึ่ง
    ในระหว่างรอยเท้าเนื้อบนพลาญหินหายไปนั้นได้แก่ อุเบกขาเวทนา
    คือเป็นช่วงระหว่างไม่สุข ไม่ทุกข์นั่นเอง
     
  19. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ
    ทุกข์อันนี้ไม่ได้หมายถึงทุกขเวทนา ทุกข์อันนี้หมายถึงความเปลิ่ยนแปลงของสภาพธรรมะ ดังที่กล่าวไว้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือธรรมทั้งหลายก็ตกอยู่ภายใต้กฎของไตรลักษณ์นั่นเอง ท่านจึงแสดงว่าธรรมทั้งหลายไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ ย่อมเปลี่ยนตลอดเวลา สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็ต้องดับเป็นธรรมดา รวมความว่า ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป



    สุขนั้นมันก็ไม่เที่ยง ทนสภาพอย่างนั้นไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนแปลง
    ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นเพราะว่ามันทุกข์ ก็คือทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับลง
    สุขก็คือทุกข์นั่นเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กันยายน 2012
  20. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เราเคยสังเกตุมั้ยล่ะว่าเราสุข หรือ ทุกข์
    ถ้าไม่สุข ไม่ทุกข์ ก็อันนั้นล่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...