อยากทราบว่าสมัยนั้นพระพุทธเจ้าสอนให้มีการบริกรรมหรือปล่า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 21 กันยายน 2012.

  1. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    การที่คุณตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาแสดงว่า เจ้าของกระทู้ก้ไม่ใช่ธรรมดาครับ ตอนเข้าฌานสี่แล้วตรึงไว้ได้นั้น ส่วนใหญ่จะเชื่อมั่นในตนเองนั้นสูงมากครับ เพราะมันเข้ายากครับ การดูเวทนานั้นส่วนใหญ่จะตกฌานสามครับ แสดงว่าผู้ถามนั้นถือศลีแปดได้ โดยเฉพาะข้อสามที่ห้ามเกี่ยวกับการเสพเมถุนครับ ตอนเข้าฌานสี่ ก็ไม่ค่อยสนใจเรื่องแบบนี้หรอกครับ สนใจแต่อย่างอื่น เช่น เพราะว่าจะสัมผัสได้ในสิ่งที่คนอื่นสัมผัสไม่ได้ครับ การเข้าฌานสามได้แต่ไปต่อไม่ได้นั้น เรียกว่าขาดผู้นำทางครับ พระอาจารย์ มั่น กล่าวไว้ประโยคหนึ่งว่า ผุ้ใดเสวยธรรม ผู้นั้นสำคัญผิดครับ
     
  2. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    การบริกรรมก้เปนเครื่องมือนำพาไปสู่จิตสงบ คนเราอย่จะนั่งแล้วให้จิตสงบมันเปนไปไม่ได้
    ต้องหาอุบายมาหลอกล่อจิตตัวเอง ให้อยู่กับที่ แล้วค่อยสงบตามลำดับ คำบริกรรมหรือคำภาวนาจะช่วยในส่วนตรงนี้ เปนการเชื่อมจิต โยงจิตมาอย่กับภาวนา หรือมาอยู่กับกองลม
    หรืออยู่กับกายที่เราร้สึกขณะปฏิบัติ จะไม่ทิ้งคำภาวนา จนกว่าจิตจะสงบ
    แม้ตัวท่านเอง บอกใช้อุเบกขาภาวนา ยึดความเปนกลางในใจเข้าไว้ ไม่สนใจส่ิงใด การทำเช่นนี้ก้เหมือนภาวนา คืออย่กับคำภาวนาอย่างเดียว เพื่อไม่สนใจสิ่งใดๆ จิตมันก้ว่างจากทุกส่ิง แล้วเข้าสู่ธรรมชาติคือความสงบจิต
    การใช้คำบริกรรม อาจไม่ใช่หนทางที่ทำให้ถึงจุดหมายจริงๆ แต่ว่าการบริกรรมบ่อยๆ จิตมันจะตื่นตัว มีสติ และสัมผัสถึงความสงบได้ จิตมันก้ตั้่งมมั่นเปนสมาธิ การที่จิตเปนเช่นนี้นี่เองสามารถนำจิตไปฝึกด้วยทางสายเอกต่อได้ คนที่จิตเปนสมาธิ สงบดี จิตว่าง จะฝึกทางไหนต่อก้ทำได้ ถ้าเรียนทางโลกก้ย่อมได้เกรดเฉลี่ยดี สอบวิชายากๆผ่าน แต่ถ้าเปนทางโมกขธรรม
    ก้ย่อมนำมาเจริญสติปัฏฐานต่อ ให้เหนความจริงของการผันกลับของรูปกับนามที่มันหลอกใจเราอยู่ได้เช่นกัน ถ้าถึงตอนนี้ผู้นั้นจะมีปัญญารู้เหนในกองสังขาร มีการพิจารณาความจริงจากขันธ์5 เปนอารมณ์กรรมฐาน ซึ่งจะให้เข้าถึงภาวะสัจจธรรมคือความหลุดพ้นได้ในที่สุด ตามแต่กำลังของปัญญาของผู้ปฏิบัิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2012
  3. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    อย่าเรียกว่าไม่ธรรมดาเลยครับรู้สึกว่ามันดูแปลกๆนะครับ เพียงแต่ผมรับการอบรมครั้งแรก ให้อยู่กับความรู้สึกจริงๆให้ดูลมหายใจตามปกติ เมื่อดูลมหายใจตามปกตินั้นก็เกิดสมาธิได้เหมือนกัน เมื่อเกิดสมาธินั้นเกิดอาการเบาสบายก็ให้ดูเฉยๆไม่เข้าไปปรุงแต่งยินดี เท่ากับเราได้วางเฉยกับสิ่งน่าใคร น่าปรารถนา น่ายินดีเท่ากับเราไม่สร้างความหน้าพอใจให้เกิดความยึดติดกับสิ่งที่น่าปรารถนา

    และเมื่อความสงบหายไปก็เกิดทุกข์เวทนาสลับเปลี่ยนให้การเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ตลอดเท่ากับเราได้เกิดปัญญาถึงความไม่เทียงไปในตัว และเมื่อเกิดความทุกข์เวทนานั้น ก็ต้องไม่เข้าไปยินร้านในทุกข์เวทนานั้นด้วย เท่ากับเราได้ฝึกการวางเฉยกับสิ่งไม่น่าปรารถนาหรือเรียกว่าฝึกระงับความไม่น่าพอใจ ในการนั่งสมาธินั้นรู้สึกว่าจะมีอยู่3ความรู้สึกเท่านั้นคือความสุข ความทุกข์และเฉยๆ ความสุขก็น่าจะสร้างโลภะ ความทุกข์ก็น่าจะสร้างโทษะ ความรู้สึกเฉยๆก็น่าจะสร้างโมหะ ทั้งโลภะโทษะโมหะนี้เป็นกิเลสทั้ง3ตัวที่เราควรจัดการ

    และการที่เรามีสติและอุเบกขาอยู่กับความรู้สึกทั้ง3อย่างก็น่าจะเพียงพอต่อการปฎิบัติกิจในพระศาสนาแล้ว ส่วนความสงบนั้นที่หมายความว่าสมาธิระดับฌานนั้นผมว่ามันน่าจะเป็นผลพลอได้ดีกว่า เพราะใครจะรู้ตัวเองเองว่า เราอาจจะหลงอยู่กับความสงบนั้นจนเราอาจไม่ก้าวหน้าในการปฎิบัติเพราะความสงบในฌานนั้นมันละเอียดอ่อนจนแยกความรู้สึกได้บางครั้งเราอาจจะคิดว่าเราสำเร็จธรรมทั้งๆเราอาจติดอยู่แค่ฌานเท่านั้น

    และคำว่าระโชหะระณัง มองดูดีๆแล้วน่าจะเป็นการดูความจริงที่ปรากฎแก่ผ้าผืนนั้นมองให้เห็นความเปลี่ยนแปลง จิตน้อมเห็นความไม่เทียงเปลี่ยนแปลง จนเกิดความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่ยึดติด บรรลุธรรมขั้นสูงได้ในที่สุดเพราะท่านสะสมมาในอดีตชาติมากพอแล้ว แรกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุยกันะครับอย่าถือว่าเป็นการอวดตนนะครับ
     
  4. Enjjoy

    Enjjoy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    72
    ค่าพลัง:
    +184
    เนื้อแท้อันตรธาน/เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน

    เนื้อแท้อันตรธาน๑
    ภิกษุ ท. ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ
    เรียกว่า อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตก หรือลิ, พวก
    กษัตริย์ทสารหะ ได้หาเนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น
    (ทุกคราวไป). ภิกษุ ท. ! เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้นนานเข้า
    ก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่ง เนื้อไม้เดิมของตัวกลองหมดสิ้นไป เหลืออยู่แต่เนื้อไม้
    ที่ทำเสริมเข้าใหม่ เท่านั้น ;
    ภิกษุ ท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,
    สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง) เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก
    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ
    สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ ; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิต
    เพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วน
    สุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย 
    กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็น
    คำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่ ;
    เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่
    ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุ ท. ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของตถาคต
    เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา
    จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.
    ---------------------------
    ๑. บาลี พระพุทธภาษิต นิทาน. สํ. ๑๖/๓๑๑/๖๗๒-๓, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.

    เนื้อแท้ที่ไม่อันตรธาน๑
    ภิกษุ ท. ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้น
    ใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอัน
    วิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่า
    นั้นมากล่าวอยู่ ; เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง
    และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
    ภิกษุ ท. ! ส่วน สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อ
    ความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา,
    เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ ; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง
    ย่อมตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน
    จึงพากันเล่าเรียน ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร ?
    มีความหมายกี่นัย ?” ดังนี้. ด้วยการทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้,
    ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลาย
    ประการที่น่าสงสัย เธอก็บรรเทาลงได้.
    ภิกษุ ท. ! ภิกษุบริษัทเหล่านี้ เราเรียกว่า บริษัทที่มีการลุล่วงไปได้
    ด้วยการสอบถามแก่กันและกันเอาเอง, หาใช่ด้วยการชี้แจงโดยกระจ่างของ
    บุคคลภายนอกเหล่าอื่นไม  ; จัดเป็นบริษัทที่เลิศแล.
    ---------------------------
    ๑. บาลี พระพุทธภาษิต ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ /๒๙๒, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
     
  5. firstini

    firstini เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    1,213
    ค่าพลัง:
    +3,770
    ก็มีคำบริกรรมนะครับ อย่างเช่นเรื่องของท่าน จูฬปันถก เป็นต้น

    จริงๆแล้วคำบริกรรมก็คือคำบริกรรม
    ผมรู้แค่เขาบริกรรมกันจนเป็นพระอรหันต์มาเยอะแล้ว

    อย่างพุทธานุสตินี่พระพุทธเจ้าก็สอนเองเลยนะครับว่าให้ระลึกตามอย่างไร
    พละ๕ ต้องเอามาใช้ โดยเฉพาะว่าด้วยเรื่องปัญญา
    อย่าทื่อๆ ต้องรู้จักใช้รู้จักพิจารณา
     
  6. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    พระองค์ท่านมีปกติสอนให้พ้นทุกข์ครับ ส่วนบริกรรมหรือไม่บริกรรมนั้นหากเข้าไปในข่ายพระญาณของพระองค์ท่านแล้ว ย่อมจัดให้ไปตามวาสนาบารมีเฉพาะบุคคล...

    สำหรับปัจจุบันเราเข้าไปในข่ายพระครูบาอาจารย์ครับ เลยท่านจัดให้ไปตามวาสนาการบรรลุธรรมของท่าน มาตรฐานเดียวกันหมด ดังที่มีปรากฎคำบริกรรม ต่างๆ...

    อยู่ที่เราแล้วครับ มีศรัทธาปฎิบัติในรูปแบบใด ที่จะทำให้ วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เจริญถึงความบริบูรณ์ได้
     
  7. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ผมเห็นมาเยอะครับนั่งบริกรรมกันได้สมาธิใบ่หวยใบ่เบอร์กันมาก บ้างก็ออกทะเลเป็นบ้าเป็นหลังกัน บางคนสะสมปัญญามาก็ต่อยอดได้เอาตัวรอดไป บางคนจมปลักอยู่กับตัวเองนึกว่าเป็นผู้วิเศษเสกของขลังสร้างตระกรุด มันจะหลุดพ้นได้จริงเหรอครับ กิจในอริยสัจสำคัญที่สุด ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญขึ้น นี่แหละหัวใจเลย จะทำอะไรก็ให้เรียนรู้อริยสัจก่อนจิตใจจะได้เนี่ยวนำอยู่กับการต้องการออกจากทุกข์ เพราะในขณะเดินทางนั้นมันมีสิ่งหลอกล่อมากมาย และผมคิดว่าการบริกรรมท่องอะไรในใจนั้นเป็นการสร้างกระแสพลังสั่นสะเทือนขึ้นมาเคลือบจิตให้เกิดความสงบเท่านั้น ทำให้เราเข้าไม่ถึงความจริงถ้าใครติดอยู่ตรงนี้ก็จบกัน แต่ถ้าใครมีปัญญาก็เอาตัวรอดได้
     
  8. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    และเมื่อความสงบหายไปก็เกิดทุกข์เวทนาสลับเปลี่ยนให้การเปลี่ยนแปลงอยู่อย่างนี้ตลอดเท่ากับเราได้เกิดปัญญาถึงความไม่เทียงไปในตัว และเมื่อเกิดความทุกข์เวทนานั้น ก็ต้องไม่เข้าไปยินร้านในทุกข์เวทนานั้นด้วย เท่ากับเราได้ฝึกการวางเฉยกับสิ่งไม่น่าปรารถนาหรือเรียกว่าฝึกระงับความไม่น่าพอใจ ในการนั่งสมาธินั้นรู้สึกว่าจะมีอยู่3ความรู้สึกเท่านั้นคือความสุข ความทุกข์และเฉยๆ ความสุขก็น่าจะสร้างโลภะ ความทุกข์ก็น่าจะสร้างโทษะ ความรู้สึกเฉยๆก็น่าจะสร้างโมหะ ทั้งโลภะโทษะโมหะนี้เป็นกิเลสทั้ง3ตัวที่เราควรจัดการ

    ตอบว่า มองต่างมุมแล้วกันครับ เมื่อความสงบหายไปแล้วเกิดทุกขเวทนา แสดงว่า จิตตกภวังค์ จิตนั้นก็จะคลายการรวมตัวเองครับ เป็นอาการที่บ่งบอกว่า ไม่สามารถใช้ความสามารถของ ใจ นั้น ควบคุมสภาวะนั้นได้ครับ เมื่อควบคุมไม่ได้ ก็จะถอยกลับมาที่ฌานหนึ่ง คือมีทุกขเวทนา แต่ถ้าควบคุมได้ คือสามารถกำหนดได้ว่า จะให้สงบนานแค่ไหนก้ได้นั้น จะแตกต่างกันมากครับ จะมีบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้น ซึ่งผู้ปฏิบัติควรจะสัมผัสได้ด้วยตนเอง เรียนรู้ได้ด้วยตนเองครับ แสดงว่าไปไม่ถึงจุดนั้นครับ
     
  9. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    ผมเห็นมาเยอะครับนั่งบริกรรมกันได้สมาธิใบ่หวยใบ่เบอร์กันมาก บ้างก็ออกทะเลเป็นบ้าเป็นหลังกัน บางคนสะสมปัญญามาก็ต่อยอดได้เอาตัวรอดไป บางคนจมปลักอยู่กับตัวเองนึกว่าเป็นผู้วิเศษเสกของขลังสร้างตระกรุด มันจะหลุดพ้นได้จริงเหรอครับ กิจในอริยสัจสำคัญที่สุด ทุกข์ควรกำหนดรู้ สมุทัยควรละ นิโรธควรทำให้แจ้ง มรรคควรทำให้เจริญขึ้น นี่แหละหัวใจเลย จะทำอะไรก็ให้เรียนรู้อริยสัจก่อนจิตใจจะได้เนี่ยวนำอยู่กับการต้องการออกจากทุกข์ เพราะในขณะเดินทางนั้นมันมีสิ่งหลอกล่อมากมาย และผมคิดว่าการบริกรรมท่องอะไรในใจนั้นเป็นการสร้างกระแสพลังสั่นสะเทือนขึ้นมาเคลือบจิตให้เกิดความสงบเท่านั้น ทำให้เราเข้าไม่ถึงความจริงถ้าใครติดอยู่ตรงนี้ก็จบกัน แต่ถ้าใครมีปัญญาก็เอาตัวรอดได้<!-- google_ad_section_end -->
    ตอบว่า มองต่างมุมแล้วกัน เมื่อเจริญกรรมฐาน จะสัมผัสได้ หลายรูปแบบ การที่กล่าวเช่นนั้นแสดงว่า ผู้กล่าวนั้น ยังทำไม่ได้ครับ อยากให้ไปอ่านในคืนวันตรัสรู้ดีกว่า ว่าทำไม สัญญาแรกที่พระองค์ทรงระลึกนั้น พระป่าที่มีชื่อเสียงก็ระลึกได้เช่นกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ คืออย่าเอาปลายทางมาพิจารณาเมื่อยังทำกิจของการเริ่มต้นนั้นยังไม่ได้ครับ
     
  10. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448



    ในเมื่อความจริงของชีวิตมันมีอยู่แค่นี้ เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป จะมีใครนั่งสมาธิได้ตลอดไปมั้ยก็ไม่มี เจ็บหายสบายเกิด สบายหายเจ็บเกิด เฉยๆก็มีอยู่แค่นี้ เรื่องของเรื่องมันมีอยู่แคนี้จริงๆสำคัญตรงที่ว่าเราวางใจเป็นกลางได้จริงๆกับสิ่งที่มันปรากฎหรือไม่ต่างหาก นั้นแหละครับความจริง

    ส่วนมากมนุษย์เราอันไหนไม่พอใจก็ผลักออก อันไหนพอใจก็ดึงเข้าหาตัวอยู่อย่างนี้ตลอดชีวิตมีเท่านี้ มองไม่เห็นสัจจะธรรมที่แท้จริง ว่ามันเป็นของมันอย่างนั้น การพัฒนาที่สุดแล้วก็เพื่อให้มีสติทุกเวลาอุเบกขทุกเมื่อ ส่วนใครจะได้สมาธินั้นก็ถือว่าได้สมบัติที่ดีเป็นเครื่องอยู่สบายไป

    แต่ปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นไม่จำเป็นต้องได้สมาธิในระดับสูงๆมากก็บรรลุธรรมได้เพียงเข้าไปประจักษ์ความจริงคือไตรลักษณะในมโนทวาร เห็นการเกิดดับที่แท้จริงก็บรรลุธรรมตามแต่สมควรแก่ธรรมนั้นๆ แต่ก็ไม่ง่ายนักต้องอาศัยการอดทนมากขนาดยอมตายเลยก็ว่าได้เวทนาที่เจ็บนั้นมักจะผ่านกันไม่ค่อยได้เพราะติดสบายชอบสมาธิกัน พอเจ็บเข้ามากๆก็ถอยออก

    สมาธินั้นมีทั้งคุณและโทษอันนี้ต้องทำความเข้าใจให้มากๆ วิปัสนาเลยทีเดียวน่าจะง่ายกว่าไม่ต้องเสี่ยงการเดินอ้อมนะครับ อยู่กับเวทนาและผ่านไปให้ได้ด้วยใจเป็นอุเบกขา ก็จะเห็นความจริงที่เหนือจากการคิดเอาครับ
     
  11. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,430
    แต่ปัญญาที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้นไม่จำเป็นต้องได้สมาธิในระดับสูงๆมากก็บรรลุธรรมได้เพียงเข้าไปประจักษ์ความจริงคือไตรลักษณะในมโนทวาร เห็นการเกิดดับที่แท้จริงก็บรรลุธรรมตามแต่สมควรแก่ธรรมนั้นๆ แต่ก็ไม่ง่ายนักต้องอาศัยการอดทนมากขนาดยอมตายเลยก็ว่าได้เวทนาที่เจ็บนั้นมักจะผ่านกันไม่ค่อยได้เพราะติดสบายชอบสมาธิกัน พอเจ็บเข้ามากๆก็ถอยออก

    ตอบว่า ไม่เห็นด้วยครับ ถ้างั้นตอนพระองค์บรรลุ อรูปฌานสี่ แล้วทำไม ไม่บรรลุ ทั้งๆที่ตั้งใจด้วยความเพียรครับ ให้ผู้รอบรู้ท่านอื่น อธิบายดีกว่า ไป หล่ะครับ
     
  12. BossTH

    BossTH Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    145
    ค่าพลัง:
    +89
    ผมอ่านมา 4 เล่มและ ยังไม่เคยเจอซักคำ แม้แต่คำว่า "พุทธโธ"

    ท่านสอนแค่ให้รู้ลมหายใจ
     
  13. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    หากปฏิบัติถึงระดับนึงแล้ว จะมีสมาธิอยู่กับตัวตลอดไปครับ
    ลองฝึกด้วยตัวเอง หาวิธีที่ตัวเองถนัดดูครับ
    หรือจะเจริญสติ จำลองอารมณ์อุเบกขา ตอนเจอเวทนา แล้วจับอารมณ์อุเบกขาตัวนั้น เข้าสมาธิก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าอารมณ์มันหยาบไป ก็ต้องไปปล่อยทิ้งทีหลังอีกทีนึง
     
  14. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    สมาธิที่แท้จริง คือ ไม่คิดสิ่งใด (ในที่นี้จะไม่กล่าวถึง ความมีอารมณ์เพียงอารมณ์เดียว) สงบ ได้ยิน แต่ไม่คิด ว่าเป็นเสียงใด คือได้ยินเสียง แต่ไม่คิดว่าเป็นเสียงนั่นเสียงนี้ เพียงแค่รู้แจ้งในอารมณ์ว่าเป็นเสียงใด นั่นก็คือ ฟุ้งซ่าน ระดับละเอียด ฯลฯ
    ส่วนวิธีการฝึกให้เกิด สมาธิที่แท้จริงนั้น ก็หาเอาในเวบฯนี้เแหละขอรับ
     
  15. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    โดยทั่วไปแล้ว...เริ่มต้นก็ต้องบริกรรมก่อนครับ เมื่อถึงจุดหนึ่งก็ปล่อยคำบริกรรม..
    (แต่ไม่จำเป็นเสมอไป บางคนก็ไม่ใช้คำบริกรรม)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2012
  16. โลกุตตระ

    โลกุตตระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    448
    ค่าพลัง:
    +2,624
    อนุโมทนาด้วยครับ..............
     

แชร์หน้านี้

Loading...