ทำบุญ 9 วัดเพื่อเสริมดวงชะตา

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย pagorn, 8 ตุลาคม 2012.

  1. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    1. วัดพระแก้วมรกต อธิษฐานขอแก้วแหวนเงินทองความร่ำรวย ตั้ง นะโม 3 จบ ท่อง 'วาละลุกัง สังวาตังวา' 3 จบ

    [​IMG]

    2. ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อธิษฐาน ขอหลักทรัพย์ที่มั่นคง

    [​IMG]

    3. วัดโพธิ์ บูชาพระพุทธเทวปฏิมากรเป็นพระพุทธปางสมาธิ อธิษฐานขอความมั่นคงแห่งจิตใจ มีสติปัญญาที่เฉียบแหลม คิดทำการงานใดๆ ขอให้ปลอดโปร่ง ราบรื่น

    [​IMG]


    4. ศาลเจ้าพ่อเสือ อธิษฐาน ขอพลังความสำเร็จ ขอครอบครัวที่อยู่เย็นเป็นสุข และขอให้เจ้าพ่เสือคุ้มครองด้วย

    [​IMG]

    5. วัดสุทัศน์ ไหว้หลวงพ่อพระศรีศากยมุนี ที่เสาชิงช้า อธิษฐาน ขอสติปัญญา ให้ท่านช่วยชี้แนะ ทรรศนะ ที่ถูกต้องในการดำรงชีวิต และการดำเนินงาน

    [​IMG]

    6. วัดบวรนิเวศวิหาร ถนนตะนาว อธิษฐานขอให้ชีวิตปราศจากอันตรายทั้งปวง ถ้ามีเคราะห์กรรมใดๆ ก็ขอให้ผ่อนหนักเป็นเบา

    [​IMG]

    7. วัดชนะสงคราม ถนนจักรพงศ์ บางลำพู อธิษฐานขอชัยชนะ ขอให้ชนะศัตรูหมู่มาร ชนะอุปสรรคทั้งปวง

    [​IMG]

    8. วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ริมแม่น้ำเจ้าพระยา โบราณว่า การทำบุญลำบากเท่าใด ยิ่งไบญเท่านั้น เพราะฉะนั้นควรนั่งเรือข้ามฟากไป ให้ไปสักการะ สมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังษี และ กราบไหว้พระประธาน ขอพรม่านว่า เวลาเดินทางไปทิศแห่งหนตำบลใดขอให้ปลอดภัย เดินทางโดยสวัสดิภาพ โชคดี มีชัย ตลอดไป

    [​IMG]

    9. ภูเขาทองวัดสระเกศ เดินขึ้นไปไหว้ยอดดอยเพื่อบูชาพระมหาเจดีย์ อธิษฐานให้มีชีวิตที่สูง ไม่ตกต่ำ ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนา

    [​IMG]

    ที่มาโดย...

    ทำบุญ 9 วัดเพื่อเสริมดวงชะตา Mglobemall.com : Social Shopping Lifestyle




     
  2. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]

    วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    พระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหารัตนปฏิมากรหรือพระแก้วมรกต ภายในวัดพระแก้วนี้มีสิ่งสำคัญและสวยงามอยู่มากมาย เช่น
    พระอุโบสถหรือโบสถ์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทย มีระเบียงเดินได้รอบพระอุโบสถ

    ผนังอุโบสถสวยงามมากเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ปูนปั้นปิดทองประดับกระจก ซุ้มประตูหน้าต่างเป็นทรงมณฑปปิดทองประดับกระจก บานประตูหน้าต่างทั้งหมดประดับมุกโดยฝีมือช่างในสมัยรัชกาลที่ ๑ ภายในพระอุโบสถนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพนับถือของชาวไทย คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือที่คนไทยรียกกันจนติดปากว่า พระแก้วมรกตเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งแกะสลักมาจากหยกสีเขียวเข้มที่มีค่าและหายากมาก ถ้าใครเคยไปแถวสนามหลวง จะมองเห็นกำแพงยาวสีขาวล้อมรอบวัดอยู่วัดหนึ่ง ซึ่งเป็นวัดที่ใหญ่โตและสวยงามมากทีเดียว ทราบไหมว่าเป็นสัตว์อะไร ก็วัดพระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั่นไง เรามาดูกันดีกว่าวัดนี้มีความสำคัญและมีประวัติความเป็นมากันอย่างไร

    วัดพระแก้ว เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในเขตพระบรมมหาราชวัง จึงทำให้มีลักษณะที่แปลกกว่าวัดอื่นๆ คือ ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดนี้เลยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับหลายคนคงเคยไปนมัสการพระแก้สมรกตกันมาแล้ว เคยสังเกตไหมว่าพระแก้วมรกตจะมีเครื่องทรงที่แตกต่างกันไปในแต่ละฤดู ทราบหรือไม่ว่ามีเครื่องทรงฤดูอะไรบ้าง และจะเปลี่ยนเครื่องทรงเมื่อไร
    เครื่องทรงของวัดพระแก้วมรกตมีเครื่องทรงฤดูร้อน เครื่องทรงฤดูฝน เครื่องทรงฤดูหนาว ซึ่งเครื่องทรงเหล่านี้ทำด้วยทองคำประดับเพชรและสิ่งมีค่าชนิดต่าง ๆ ถือเป็นพระราชกรณียกิจสำคัญประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑

    จนถึงรัชกาลปัจจุบันที่จะต้องเสด็จ ฯ ไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูด้วยตนเองซึ่งกำหนดวันเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตมีดังนี้
    วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
    วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูฝน
    วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ เปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาวเป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

    นอกจากพระอุโบสถซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตแล้ว ภายในวัดพระแก้วก็ยังมีพระระเบียงที่งดงามมาก ผนังด้านในของพระระเบียงมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องรามเกียรติ์ตั้งแต่ต้นจนจบ และมีคำโคลงจารึกบนแผ่นศิลาเพื่ออธิบายแต่ละภาพติดไว้ที่เสาระเบียงอีกด้วย
    สิ่งสำคัญและสวยงามในวัดพระแก้วอีกอย่างหนึ่งคือ ปราสาทพระเทพบิดร เป็นปราสาทจัตุรมุขยอดปรางค์ ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับหอพระมนเทียรธรรม สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔

    ภายในประดิษฐานพระบรมรูปพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักกรีตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๘ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จ ฯ ไปทรงถวายราชสักการะพระบรมรูปพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ในวันที่ ๖ เมษายนของทุกปี อันเป็นวันที่ระลึกถึงพระมหาจักรีวงศ์ หรือที่เราเรียกว่า “ วันจักรี ”
    ในบริเวณวัดพระแก้วนี้ยังมีสถานที่สำคัญและงดงามอีกมากมาย เช่น พระมณฑป ซึ่งตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร เป็นพระมณฑปที่มีรูปทรงงามมาก มีซุ้มประตูทางเข้า ๔ ด้าน หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดงประดับกระจก ภายในพระมณฑปประดิษฐานตู้พระไตรปิฎก เป็นตู้ยอกมณฑปประดับมุกที่ใช้เก็บรักษาพระไตรปิฎกฉบับทอง

    สถานที่งดงามซึ่งทุกคนจะได้พบเห็นนอกจากนี้ก็ยังมี พระศรีรัตนเจดีย์ วิหารยอดหอมณเทียรธรรม นครวัดจำลอง หอระฆัง ศาลาราย ฯ ถ้าอยากเห็นสถานที่สำคัญและสิ่งสวยงามต่าง ๆ เหล่านี้ก็ต้องไปชมกันที่วัดพระแก้ว
     
  3. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]

    การทำบุญ ไหว้พระ ขอพร เพื่อเป็นสิริมงคล ที่ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีคติ ความเชื่อว่า เพื่อ "ตัดเคราะห์ ต่อชะตา เสริมวาสนาบารมี"

    การสักการะบูชา สักการะ พระหลักเมือง ไหว้พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง เจ้าพ่อเจตคุปต์ พระเทพไชยศรี เจ้าหอ-กลอง ประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ตามธรรมเนียม

    เวลาที่เปิดให้เข้าสักการะบูชา เวลา 08.30 - 16.30 น.

    สถานที่ตั้ง ถนนหลักเมือง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

    การแต่งกาย สุภาพ

    การเดินทางไปทำบุญโดยข.ส.ม.ก. สาย 1, 3, 9, 15, 25, 30, 32, 33, 39, 43, 44, 47, 53, 64, 80, 82, 91, 201, 203


    >>>>>.... ��
     
  4. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

    <SECTION id=block-system-main class="block block-system"><SCRIPT type=text/javascript src="http://static.ak.fbcdn.net/connect.php/js/FB.Share"></SCRIPT>


    <!--FRONT-->[​IMG]


    สถานที่ตั้ง:
    วัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร



    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกว่า วัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่าง ๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

    นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว ๔๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย

    [​IMG]

    ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่มีสิ่งก่อสร้างค่อนข้างแน่น เนื่องจากการบูรณะแบบใส่คะแนน (แข่งกันบูรณะ) ส่งผลให้มีอาคารและสิ่งก่อสร้าง รวมถึง พระพุทธรูปมากมายภายในวัดแห่งนี้ โดยสามารถแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

    เขตวัดโพธาราม (เดิม)

    เขตวัดโพธารามเดิม ได้แก่ ส่วนตะวันตกของวัด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่นี้เป็นที่ตั้งของ วิหารพระพุทธไสยาส ศาลาการเปรียญ(ซึ่งเป็นพระอุโบสถเดิม ของวัดโพธาราม) พระมณฑป และพระมหาเจดีย์สี่รัชกาล

    [​IMG]วิหารพระพุทธไสยาส สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราวที่ทรงโปรดฯ ให้ขยายพระอารามออกมาทางทิศเหนือ (เข้ามาซ้อนทับเขตวัดโพธารามเดิม ที่ถูกยุบไปก่อนหน้านี้) โดยพระองค์ทรงโปรดให้พระองค์เจ้าลดาวัลย์เป็นแม่กองในการก่อสร้าง โดยได้สร้างพระพุทธไสยาสขึ้นก่อน แล้วจึงสร้างพระวิหารภายหลัง โดยมีขนาดเท่ากับพระอุโบสถ บริเวณผนังของวิหารนั้น ด้านบนมีภาพเขียนสีเรื่อง มหาวงศ์ และผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนภาพสีเกี่ยวกับพระสาวิกาเอตทัคคะ 13 องค์ อุบาสกเอตทัคคะ 10 ท่านและอุบาสิกาเอตทัคคะ 10 ท่าน อยู่ด้วย

    ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธไสยาส ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ก่ออิฐ ถือปูน ปิดทองทั่วทั้งองค์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ โดยมีลักษณะพิเศษ ได้แก่ พระบาทซ้ายและขวาซ้อนเสมอกัน โดยที่พระบาทประดับมุกภาพมงคล 108 ประการ ตรงกลางเป็นรูปกงจักรตามตำรามหาปุริสลักขณะ โดยลวดลายของมงคล 108 ประการนั้น เป็นการผสมผสานกันระหว่างคติความเชื่อที่รับมาจากชมพูทวีปและจีน

    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
    พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล เป็นมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้ว สถาปัตยกรรมบริเวณซุ้มประตูมีลักษณะเป็นไทยประยุกต์แบบจีน โดยจะมีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละ 1 คู่ องค์พระเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสอง ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ

    [​IMG]เดิมทีรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณ จากวัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ด้วยทรงประสงค์จะหล่อพระศรีสรรเพชญองค์นี้ขึ้นมาใหม่ แต่หลังจากทรงปรึกษากับคณะสงฆ์แล้ว คณะสงฆ์ได้ทูลถวายว่า การนำโกลนพระศรีสรรเพชญดาญาณมาหลอมใหม่นั้น ถือเป็นขีด เป็นกาลกิณี ไม่เป็นมงคลแก่บ้านเมือง จึงทรงตัดสินพระทัยสร้างพระเจดีย์ขนาดใหญ่ แบบย่อมุมไม้ยี่สิบ ครอบโกลนพระศรีสรรเพชญนี้ไว้ และพระราชทานพระนามเจดีย์ว่า "พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ" องค์พระเจดีย์ประด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่พระมหาเจดีย์ ล้อมรอบด้วยพระมหาเจดีย์อีก 3 องค์ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 1

    ต่อมาในรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงมีพระประสงค์ทะนุบำรุงวัดพระเชตุพนฯ ทรงสร้างพระมหาเจดีย์ขนาบข้างกับพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ ดังนั้น จึงเป็นเจดีย์สามองค์เรียงกันจากเหนือจรดใต้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้ยี่สิบ ขนาดและความสูงเหมือนกันทุกประการ ต่างเพียงสีกระเบื้องที่มาประดับเท่านั้น โดยพระมหาเจดีย์ทางทิศเหนือของ พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณประดับด้วย กระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า "พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรรกนิทาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อ พระราชอุทิศถวายแด่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศ หล้านภาลัย พระบรมราชชนก ซึ่งนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 2 ส่วนพระมหาเจดีย์ทางทิศใต้ของพระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณนั้น ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า "พระมหาเจดีย์มุนีบัติบริขาน" ซึ่งพระองค์ทรงสร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา โดยนับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 3 ด้วย

    เมื่อรัชกาลที่ 4 ทรงขึ้นครองราชย์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้ถ่ายแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย มาจากวัดสวนหลวงสบสวรรค์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อสร้างขึ้นเป็นพุทธบูชา โดยองค์พระมหาเจดีย์มีลักษณะที่แตกต่างจากพระมหาเจดีย์ทั้ง 3 องค์ คือ มีซุ้มคูหาเข้าไปภายในองค์พระมหาเจดีย์ได้ ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือสีน้ำเงินเข้ม มีนามว่า "พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย" นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ 4

    หลังจากนั้น รัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำรัสว่า "ต่อไปในรัชกาลหลังอย่าให้เอาเป็น แบบอย่างที่จำเป็นจะต้องสร้างพระเจดีย์ ประจำรัชกาลในวัดพระเชตุพนต่อไปเลย เพราะสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 4 รัชกาลแต่แรกนั้นได้เคยทรงเห็นกันทั้ง 4 พระองค์ ผิดกับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินพระองค์อื่น" ดังนั้น การสร้างพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลจึงได้ยุติลงตั้งแต่นั้นมา

    ศาลาการเปรียญ

    เดิมเป็นพระอุโบสถของวัดโพธารามตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ภายหลังการสถาปนาพระอุโบสถหลังใหม่ของวัดพระเชตุพนแล้ว จึงได้ลดฐานะเป็นศาลาการเปรียญ โดยภายในมี "พระพุทธศาสดา" ประดิษฐานเป็นพระประธาน

    เขตพระอุโบสถ

    เขตพระอุโบสถเป็นเขตที่สถาปนาขึ้นใหม่นอกเขตวัดโพธารามเดิม สร้างตามคติไตรภูมิ โดยให้พระอุโบสถเป็นเสมือนเขาพระสุเมรุ และให้วิหารทิศทั้งสี่ เป็นเสมือนทวีปหลักทั้งสี่

    พระอุโบสถ

    ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงอัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้า ด้วยประสงค์ตั้งมั่นแน่วแน่ว่า นี่จะเป็นพระนครอย่างถาวร (ปางสมาธิ สื่อถึงการตั้งจิตมั่นแน่วแน่)

    พระวิหารทิศ

    ส่วนพระวิหารทิศทั้ง 4 นั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปสำคัญจากหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ โดยแบ่งออกเป็นมุขหน้าและมุขหลัง โดยมุขหน้า คือ มุขที่หันสู่ทิศต่าง ๆ ส่วนมุขหลังนั้น คือ มุขที่หันหน้าเข้าสู่พระอุโบสถ โดยพระวิหารทิศแบ่งออกเป็น 4 ทิศ ได้แก่

    * พระวิหารทิศตะวันออก (ทิศพระโลกนาถ) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย อัญเชิญมาจากวัดเขาอินทร์ เมืองสวรรคโลก ส่วนบริเวณมุขหลังประดิษฐานพระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์ ซึ่งสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้อัญเชิญมาจากวิหารพระโลกนาถ ภายในวัดพระศรีสรรเพชญ (ซึ่งทรุดโทรมไม่มากนัก)
    * พระวิหารทิศตะวันตก (ทิศนาคปรก) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินศรี เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก เดิมประดิษฐานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยได้อัญเชิญมาพร้อมกับพระพุทธชินราช
    * พระวิหารทิศเหนือ (ทิศป่าเลไลย) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธปาลิไลย เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลย ซึ่งรัชกาลที่ 1 ทรงสร้างขึ้นใหม่เมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ
    * พระวิหารทิศใต้ (ทิศปัญญจวัคคีย์) ที่มุขหน้าประดิษฐานพระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา ซึ่งอัญเชิญมาจากเมืองสุโขทัย

    พระเจดีย์

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มาก ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งสามารถแบ่งพระเจดีย์ต่าง ๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล 4 องค์ซึ่งประดิษฐานอยู่ในเขตวัดโพธารามเดิม ส่วนที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถนั้น ได้แก่ พระเจดีย์ราย 71 องค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวรวม 20 องค์ และพระเจดีย์ทรงปรางค์หรือพระมหาสถูป 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 99 องค์ โดยพระเจดีย์ที่ประดิษฐานในเขตพระอุโบสถ มีรายละเอียดดังนี้

    พระเจดีย์ราย

    [​IMG]พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่บริเวณโดยรอบของพระระเบียงชั้นนอกมีจำนวนทั้งสิ้น 71 องค์ สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเดิมมีพระราชประสงค์ให้เป็นให้เป็น ที่บรรจุพระอัฐิของเจ้านายเชื้อพระ วงศ์ พระเจดีย์ประดับด้วยกระเบื้องถ้วยเคลือบสีและศิลาเขียว นับเป็นพระเจดีย์ที่มีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับพระเจดีย์อื่น ๆ พระเจดีย์รายในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารนั้น ได้รับยกย่องว่าเป็น พระเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ที่งามที่สุดของยุค รัตนโกสินทร์

    พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว

    พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นพระเจดีย์ 5 องค์ที่ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยองค์ตรงกลางนั้นจะมีขนาดใหญ่กว่าอีก 4 องค์ที่ล้อมรอบอยู่ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้ง 4 ด้าน นับรวมได้ 20 องค์ ลักษณะพระเจดีย์นั้นเป้นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง 4 องค์ล้อมรอบองค์กลางซึ่งเป็นเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม ภายในพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์

    พระมหาสถูป

    พระมหาสถูป เป็นพระเจดีย์ทรงปรางค์ หรือที่เรียกว่า พระอัคฆีย์เจดีย์ มีจำนวน 4 องค์ ประดิษฐานอยู่ตรงมุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง 4 ด้าน บริเวณซุ้มของพระเจดีย์มีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลหล่อด้วยดีบุก แล้วลงรักปิดทอง ประดิษฐานทั้ง 4 ด้าน ด้านบนมีรูปยักษ์ซึ่งหล่อด้วยดีบุกแบกยอดปรางค์ พระมหาสถูปมีชื่อเรียกที่ต่างกันดังนี้

    * องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป
    * องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป
    * องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ มีนามว่า พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป
    * องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ มีนามว่า พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป

    ประติมากรรมต่าง ๆ ในวัดโพธิ์

    นอกจาก อาคาร พระวิหาร พระเจดีย์ต่าง ๆ แล้ววัดโพธิ์ยังมีสิ่งน่าสนใจอีกหลายอย่าง อาทิเช่น

    [​IMG]

    รูปปั้นฤๅษีดัดตน

    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม พระองค์ทรงได้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและ ศิลปวิทยาการของกรุงศรีอยุธยาเอาไว้ รวมทั้ง ได้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ ไว้ด้วย ซึ่งจำนวนของรูปปั้นฤๅษีดัดตนที่สร้างในรัชกาลที่ 1 นั้น ไม่ทราบจำนวนแน่ชัด ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ได้หล่อรูปปั้นฤๅษีดัดตนในท่าต่าง ๆ รวม 80 ท่า โดยใช้สังกะสีและดีบุก แทนการใช้ดินที่เสื่อมสภาพได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีการแต่งโครงสี่สุภาพ เพื่อบรรยายสรรพคุณท่าต่างของฤๅษีดัดตน ทั้ง 80 บทด้วย เนื่องจากมีการเคลื่อนย้ายรูปปั้น รวมทั้งมีการลักลอบเอารูปปั้นไปขายบางส่วน ดังนั้น รูปปั้นที่อยู่ภายในวัดโพธิ์จึงมีเหลือเพียง 24 ท่าเท่านั้น

    ยักษ์วัดโพธิ์บริเวณซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑป
    โดยมีสีกายเป็นสีแดงและสีเขียว ลักษณะคล้ายยักษ์ในวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ ซึ่งมักมีผู้เข้าใจผิดว่าตุ๊กตาสลักหินรูปจีน หรือ ลั่นถัน นายทวารบาลที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าประตูวัดนั้นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ นอกจากนี้ ยังมีตำนานเกี่ยวกับยักษ์วัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำให้เกิดท่าเตียนใน ปัจจุบัน นั่นคือ ยักษ์วัดโพธิ์ซึ่งทำหน้าที่ดูแลวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งซึ่งทำหน้าที่ดูแล วัดแจ้งนั้น ทั้ง 2 ตนเป็นเพื่อนรักกัน วันหนึ่งยักษ์วัดแจ้งไปขอยืมเงินจากยักษ์วัดโพธิ์ เมื่อถึงกำหนดส่งเงินคืนยักษ์วัดโพธิ์กลับไม่ยอมจ่าย ดังนั้น ยักษ์ทั้ง 2 ตนจึงเกิดทะเลาะกัน แต่เพราะรูปร่างที่ใหญ่โต และพละกำลังที่มหาศาลของยักษ์ทั้ง 2 ตน เมื่อเกิดต่อสู้กันจึงทำให้บริเวณนั้นราบเรียบโล่งเตียนไปหมด เมื่อพระอิศวรทราบเรื่องนี้ จึงได้ลงโทษให้ยักษ์วัดโพธิ์ยืนเฝ้าพระอุโบสถวัดโพธิ์ และยักษ์วัดแจ้งยืนเฝ้าวิหารวัดแจ้งตั้งแต่นั้นมา


    <IFRAME id=fb_xdm_frame_http src="http://static.ak.facebook.com/connect/xd_arbiter.php?version=11#channel=f1b5360d5a7ab5b&origin=http%3A%2F%2Fpalungjit.org&channel_path=%2Ff36%2F%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D-9-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B2-363571.html%3Ffb_xd_fragment%23xd_sig%3Df38c54284d14a58%26" name=fb_xdm_frame_http></IFRAME><IFRAME id=fb_xdm_frame_https src="https://s-static.ak.facebook.com/connect/xd_arbiter.php?version=11#channel=f1b5360d5a7ab5b&origin=http%3A%2F%2Fpalungjit.org&channel_path=%2Ff36%2F%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%8D-9-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B2-363571.html%3Ffb_xd_fragment%23xd_sig%3Df38c54284d14a58%26" name=fb_xdm_frame_https></IFRAME>
     
  5. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]

    ศาลเจ้าพ่อเสือนั้น มีความเชื่อทางคติว่า หากได้มาทำบุญไหว้กราบแล้ว จะถือเป็นการ "เสริมอำนาจบารมี"

    ศาลเจ้าพ่อเสือ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๖๘ ถนนตะนาว ใกล้เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นศาลเจ้าจีนแต้จิ๋วที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่ง ​
     
  6. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    วัดสุทัศนเทพวราราม


    [​IMG]

    [​IMG]

    วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า "พระศรีศากยมุนี" "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ "พระพุทธเสรฏฐมุนี"
    ภายในวัดสุทัศนเทพวรารามเป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร และได้อัญเชิญ พระบรมราชสรีรางคารของพระองค์ มาบรรจุที่ผ้าทิพย์ด้านหน้าพุทธบัลลังก์พระศรีศากยมุนีเมื่อ พ.ศ. 2493 และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี

    ภาพพระประธานทั้ง 3 องค์

    [​IMG]

    พระศรีศากยมุนี

    เป็นพระประธานในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม หล่อด้วยโลหะสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 3 วา 1 คืบ นับเป็นพระพุทธรูปหล่อที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ในยุคก่อน 25 พุทธศตวรรษ เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย
    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ให้อัญเชิญมายังกรุงเทพ ฯ ได้ทรงมีพระราชดำริจะสร้างพระอาราม ที่มีพระวิหารใหญ่อย่างวัดพนัญเชิงที่อยุธยา โดยประดิษฐานไว้กลางพระนคร เมื่อชลอพระศรีศากยมุนีมาถึงกรุงเทพ ฯ แล้วให้ประทับท่าสมโภช 7 วัน แล้วจึงทรงชักเลื่อนองค์พระทางสถลมารค และพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินตามขบวนแห่พระในรัชสมัยของพระองค์ ทำได้เพียงอัญเชิญองค์พระขึ้นตั้งไว้ ตัววิหารลงมือสร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
    ตรงใต้ฐานที่ผ้าทิพย์บรรจุพระบรมอัฐิของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8)
    ส่วนด้านหลังบัลลังก์พระพุทธรูปมีแผ่นศิลาสลัก เป็นศิลปะแบบทวารวดี เป็นรูปสลักปิดทอง ปางยมกปาฏิหารย์ และ ปางประทานเทศนาในสวรรค์ เป็นของเก่าและหาดูได้ยาก เข้าใจว่าจะมีอยู่เพียงชิ้นเดียวในโลก

    [​IMG]


    พระพุทธตรีโลกเชษฐ์

    เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย วัสดุโลหะ หน้าตักกว้าง 3 วา 17 นิ้ว สูง 4 วา 18 นิ้ว ปัจจุบัน ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม พระอุโบสถเริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2377 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ต่อมาคือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองงาน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเป็นพระอุโบสถที่มี ความยาวที่สุดในประเทศไทย ผนังภายในเขียนภาพจิตรกรรมฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 3
    เมื่อสถาปนาพระอารามแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงจักร กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ สร้างพระพุทธประธาน เป็นพระ พุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โปรดอัญเชิญพระศรีศาสดาซึ่งอยู่บนฐานเดิมไปยังวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปหล่อใหม่ขึ้นประดิษฐานแทน รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถวายพระนามว่า "พระพุทธตรีโลกเชษฐ์" และ พ.ศ. 2407 โปรดสร้างพระอสีติมหาสาวกจำนวน 80 องค์ สร้างด้วยปูนปั้นลงสี นั่งพนมมือฟังพระ บรมพุทโธวาทเบื้องพระพักตร์องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

    [​IMG]

    พระพุทธเสฏฐมุนี

    เป็นพระพุทธรูปพระประธานในศาลาการเปรียญ
    พุทธลักษณะเป็นศิลปรัตนโกสินทร์ ปางมารวิชัย
    ขนาดหน้าตัก ๔ ศอก ๔ คืบ ๔ นิ้ว วัสดุทองเหลือง
    หล่อในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓
    เมื่อปีกุน เอกศก จุลศักราช ๑๒๐๑ (พุทธศักราช ๒๓๘๒)

    ในยุคสมัยที่สังคมโลกเริ่มตื่นตัวใส่ใจ
    กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเช่นปัจจุบัน
    การนำวัสดุที่ยังใช้ได้กลับมาใช้อีก
    เป็นหนทางหนึ่งที่มีการรณรงค์กันทั่วไปในเมืองไทย
    ของเมื่อเกือบสองร้อยปีที่แล้วก็มีแนวความคิดในการทำเช่นว่านี้
    และปรากฏวัตถุพยานมาจวบจนถึงทุกวันนี้
     
  7. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    วัดบวรนิเวศวิหาร



    [​IMG]

    [​IMG]

    วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
    พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร

    พระอารามหลวง
    วัด” ทั้งหมดทั่วประเทศ แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และสำนักสงฆ์ วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาคือวัดที่มีอุโบสถเป็นที่ทำสังฆกรรม คำว่า วิสุงคามสีมา ในที่นี้หมายถึงเขตที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่สงฆ์เพื่อใช้เป็นที่สร้างอุโบสถ ส่วน “สำนักสงฆ์” คือ วัดที่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา จึงไม่มีอุโบสถ

    ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา สถานที่ชุมนุมสำคัญของพุทธศาสนาสนิกชนหรือสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนา ก็คือ วัด ในประเทศไทยมีวัดเป็นจำนวนมาก ประเภทของวัดแบ่งตามสภาพฐานะมี ๓ ประเภท คือ (๑) พระอารามหลวงหรือวัดหลวง (๒) วัดราษฎร์ และ (๓) วัดร้าง

    พระอารามหลวงหรือวัดหลวง คือ วัดที่พระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือทรงบูรณปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ พระราชทานเพื่อเป็นเกียรติยศแก่ผู้ต่ำศักดิ์ลงมาหรือแก่วัดเอง หรือมีผู้สร้างน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นพระอารามหลวง รวมทั้ง วัดที่ประชาชนทั่วไปสร้างหรือบูรณปฏิสังขรณ์ และขอพระราชทานให้ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวงด้วย เช่น วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร กรุงเทพฯ วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เป็นต้น
     
  8. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]

    วัดชนะสงคราม

    เป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง เดิมเรียกว่าวัดกลางนา
    เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างขึ้นให้คล้ายคลึงกับกรุงศรีอยุธยามากที่สุด วัดที่ตั้งอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวังได้ทรงปฏิสังขรณ์ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนชื่อวัดให้เหมาะสม โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อวัดกลางนาเป็นวัดตองปุ และให้เป็นวัดพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ เช่นเดียวกับวัดตองปุที่กรุงศรีอยุธยา เพื่อเทิดเกียรติทหารชาวรามัญในกองทัพสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับพม่าในสงครามเก้าทัพ เมื่อ พ.ศ. 2328 สงครามที่ท่าดินแดงและสามสบ เมื่อ พ.ศ. 2329 และสงครามที่นครลำปางป่าซาง เมื่อ พ.ศ. 2330
    สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดตองปุแล้วถวายเป็นพระอารามหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดชนะสงคราม เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท ทรงมีชัยชนะต่อพม่าในการรบทั้ง 3 ครั้ง
    วัดชนะสงครามได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์มาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งได้ทรงเริ่มดำเนินการก่อสร้างที่บรรจุพระอัฐิเจ้านายฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคลที่เฉลียงพระอุโบสถด้านหลังตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวงทรงพระราชอุทิศพระราชทรัพย์ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ดำเนินการ แต่การก่อสร้างมาแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ราชบัณฑิตยสภาดำเนินการก่อสร้าง ขณะนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเป็นนายกราชบัณฑิตยสภาและสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จสิ้น ได้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระราชวังบวรสถานมงคลไปประดิษฐานใน พ.ศ. 2470
     
  9. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    วัดระฆังโฆสิตาราม


    [​IMG]


    [​IMG]

    พระประธานในพระอุโบสถวัดระฆัง

    วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1
    วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา
    วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2012
  10. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]

    เจดีย์ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

    [​IMG]

    ประวัติของวัดสระเกศ

    วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่า วัดสะแก มีตำนาน เนื่องใน พงศาวดารเมื่อปีขาลจัตวาศกจุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธ ศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายกรุงเทพมหานคร วัดสระเกศมีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

    [​IMG]

    เดิมมีชื่อว่า "วัดสะแก" เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็น ครั้งแรกมีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช๑๑๓๔ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖นั้นพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราช วังและพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพู เรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลอง หลอดแลขุดคลองใหญ่เหนือวัดสะแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อให้เป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาใน เทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุทธยาและวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหา นาค แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า"วัดสระเกศ"และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศ ทั้งพระอารามตั้งต้น แต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์และขุดคลองรอบวัดอีกด้วย คำว่า "สระเกศ" นี้ ตามรูปคำ ก็แปลว่าชำระหรือทำความสะอาดพระเกศานั่นเอง

    [​IMG]

    มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ ๑๑ ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณะปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า 'วัดสระเกศ'




    <HR>
    ประวัติของบรมบรรพต

    [​IMG]

    บรมบรรพตนี้ โดยมากเรียกกันว่า ภูเขาทอง สร้างเป็นรูปภูเขา มีพระเจดีย์อยู่บนยอด มีบันไดเวียนเ ป็นทางขึ้นไปถึงพระเจดีย์ ๒ ทางคือด้านเหนือทางหนึ่ง ด้านใต้ทางหนึ่ง สำหรับขึ้นและลงคนละทางเพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล และยังมีบันไดตรงด้านใต้อีกทาง หนึ่งแต่บันไดตรงได้รื้อเสียเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ พ.ศ ๒๔๙๓ ฐานโดยรอบวัดได้

    [​IMG]

    ๘ เส้น ๕ วา ส่วนสูง ๑ เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก บรมบรรพตนี้ นับว่าเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ ทางพระพุทธศาสนา แห่งหนึ่ง และเป็นสมบัติทรงคุณค่าของชาติอีกด้วยการสร้างบรม บรรพตนี้ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราช ประสงค์จะสร้างพระเจดีย์ให้เหมือนอย่างวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุทธ ยา ซึ่งที่วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นตั้งอยู่ที่ชายทุ่ง มีพระเจดีย์อยู่องค์หนึ่ง เป็นที่สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาลงไปประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลประจำปี จุดประสงค์เดิมก็เพื่อจะไปนมัสการพระเจดีย์ในปัจจุบันนี้ก็ยังมีการประชุม รื่นเริงโดยทาง เรือกันอยู่ทรงพิจารณาเห็นว่าที่วัดสระเกศเป็นสถานที่เหมาะสมจึงโปรดให้ สมเด็จ พระบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) เป็นแม่กองสร้างเมื่อแรกลงมือสร้างแล้ว พระราชทานนามว่า พระเจดีย์ภุเขาทอง

    [​IMG]


    [ ข้อมูลเพิ่มเติม และ การเดินทาง ]

    ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-621-0576

    เว็บไซต์ : http://www.watsrakesa.com

    เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 8.00 น. - 17.00 น.

    การเดินทาง : รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49
    เรือโดยสาร: ท่าผ่านฟ้าลีลาศ (คลองแสนแสบ), ท่าภูเขาทอง (คลองผดุงกรุงเกษม)
    รถส่วนตัว : จอดภายในบริเวณวัดได้

    ค่าใช้จ่าย : คนไทยไม่คิดเงิน, ชาวต่างชาติ 10 บาท

    เทศกาล : งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ 7 วัน 7 คืน ในช่วงวันลอยกระทง มีการจัดงานวัดที่ถือเป็นงานวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพฯ และทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนเป็น ช่วงเวลาพิเศษ

    สิ่งที่ไม่ควรพลาด : การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุ, ชมพระบรมบรรพต ภูเขาทองที่ชั้นบนสุด, การเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปและภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ

    [​IMG]
     
  11. nuchada

    nuchada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +711
    สวัสดีค่ะ คุณตะวัน ได้ความรู้มากเลยค่ะ ขออนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ กับการทัวร์บุญในครั้งนี้ด้วยค่ะ ที่กล่าวมาหญิงยังไปกราบไม่ครบเลยค่ะ ไว้ต้องมีโอกาสซักวันค่ะ
     
  12. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    สวัสดีค่ะ...ยินดีค่ะ คุณหญิง
    ทำแล้วสุขใจ ได้ทั้งผู้ให้ และ ผู้รับ ค่ะ

    [​IMG]
     
  13. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    วาละลุกัง เอาสตางค์ใส่ตู้ ยักษ์เฝ้าวัดไม่อยู่ งัดตู้เอาสตางค์ ครับ คาถาบทนี้ท่องแล้วรวย แต่.... นรก
     
  14. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848

    5555.....ตามนั้น คุณขา ใครอยากไปเชิญค่ะ.. !!!!
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ตุลาคม 2012
  15. heng21

    heng21 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +163
    อนุโมทนาบุญ สาธุ นะ. ตะวัน
    อ่านแล้วได้ความรู้มากเลย เม เหมือนพี่หญิงเลยอ่ะยังไปทัวร์ไม่ครบเก้าวัดเลย สักวันคงมีโอกาสเนอะ
     
  16. nuchada

    nuchada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    97
    ค่าพลัง:
    +711
    สวัสดีค่ะ คุณตะวัน น้องเมย์ น้องจุ๋ม คุณอาภากร(ใช้ชื่ออาภากรนี่ทร.ป่าวค่ะ ขอโทษค่ะ) มาร่วมอนุโมทนาด้วยกันค่ะ
     
  17. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    ปัตตานุโมทนามัย... อนุโมทนากับคนที่ทำบุญ เราก็ได้บุญด้วย

    [​IMG]

    ผู้ถาม มีคนฝากให้มาถามหลวงพ่อว่า พ่อแม่ไม่ค่อยทำบุญแต่เป็นคนดี คนซื่อ ถ้าบุตรหลานทำให้แล้วจะใส่ชื่อเขาด้วย อยากทราบว่า ท่านจะได้หรือไม่ครับ

    หลวงพ่อ เขา โมทนาด้วยหรือเปล่า ถ้าลูกไปบอกว่า "พ่อ(หรือแม่) ฉันทำบุญให้แล้ว ถ้าท่านยินดีด้วย ท่านได้แน่นอน ถ้าบอก กูไม่รู้โว้ย ด่าตะเพิด อันนี้ไม่ได้แน่


    ผู้ถาม อย่างเวลาเลิกพระกรรมฐานแล้ว ก็มีคนไปถวายสังฆทานกับหลวงพ่อ แต่หนูไม่มีของก็ยกมืออนุโมทนาด้วย อย่างนี้จะมีอานิสงส์ไหมคะ...?

    หลวงพ่อ อานิสงส์ที่จะพึงได้ก็คือ ปัตตานุโมทนามัย เป็นผลกำไรจากการเจริญพระกรรมฐานไม่ต้องลงทุน ถ้าตั้งใจจริงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เจ้าของได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เราได้ครั้งละ 90 ผ่านไป 10 คนเราได้ 900 มากกว่าเจ้าของ เอ้า! เยอะจริงๆ มันทำบารมีให้เต็มเร็ว เร็วมาก

    การโมทนา เขาแปลว่า ยินดีด้วย ต้องยินดีด้วยความจริงใจนะ สักแต่ว่า สาธุ มันไม่ได้อะไร คำว่า "สาธุ" ไม่จำเป็นต้องออกเสียง ไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เอาใจยินดีใช้ได้เลย
    และ การแสดงความยินดีมันก็คือ มุทิตา เป็นตัวหนึ่งใน พรหมวิหาร 4 นี่บุญตัวใหญ่ ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า "จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา" ถ้าก่อนตายจิตผ่องใส ก็ไปสู่สุคติ หมายถึง สวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจเรา

    และ การโมทนานี่ทำให้ชุ่มชื่นใจ ใช่ไหม....เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขา ไม่ช้าเราก็ดีตามเขา เพราะเราเห็นเขาดี เราก็ชอบดีใช่ไหม... แต่อย่าไปชอบดีเฉยๆ นะ ต้องทำดีด้วยนะ ทำบุญด้วยตนเองบ้าง


    ผู้ถาม หลวงพ่อครับ ปัตตานุโมทนามัย กับ ไวยาวัจจมัย นี่เหมือนกันไหมครับ

    หลวงพ่อ ไวยาวัจจมัย เขาแปลว่า ขวนขวายในกิจการงาน เช่น เขาส่งสตางค์มาทำบุญ เราช่วยส่งต่อ หรือพวกที่ช่วยขนสังฆทานนี่ ก็พลอยได้บุญไปด้วย มีอานิสงส์ต่ำกว่าบวรเณรนิดหนึ่ง ไม่เบานะ
    แต่ ปัตตานุโมทนามัย ไม่ต้องลงทุน แต่พวกถือมานี่ ยังต้องออกแรงนะ พวกโมทนานี่ไม่ต้องออกแรงเลย แต่อย่าลืมนะเอาแค่โมทนาอย่างเดียวไม่ดีนะ ต้องอาศัยคนต้นตลอด ถ้าไม่ได้อาศัยคนต้นจริงๆ จะสำเร็จมรรคผลไม่ได้ เช่นเดียวกับ พระนางพิมพา ต้องอาศัยพระพุทธเจ้าตลอด


    ---------------------------------------------------------------


    อ่านต่อ
    คนร่ำรวยมีโอกาสสร้างกุศลผลบุญได้มากกว่าคนจนจริงหรือไม่?


    --------------------------------------------------------

    ข้อความด้านล่าง เขียนเพิ่มเติม โดย WebSnow

    สำหรับใครที่ตั้งกระทู้แล้วมีคนมา กดปุ่มอนุโมทนา
    ผู้ตั้งจะได้คะแนนชื่อเสียง 2 คะแนน
    ถ้า 2 คนกดใน1กระทู้ ผุ้ตั้งจะได้ 4 คะแนน
    ผล้วผู้ตั้งกระทู้สามารถรู้ว่าใครกดให้คะแนนบ้าง
    Reputation = ชื่อเสียง

    คะแนนชื่อเสียงคืออะไร ?
    อ่านต่อ
    http://palungjit.org/posts/124007
     
  18. teerangvat

    teerangvat สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +13
    ขออนุโมทนา สาธุ กับบุญกุศลในครั้งนี้ ร่วมด้วยคนนะครับ
     
  19. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    อนุโมทนา ด้วยค่ะ ท่าน ผอ.กาโต้แมน
    สาธุค่ะ

    _/l\_
     
  20. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    [​IMG]
     

แชร์หน้านี้

Loading...