ความดี ความชั่ว วัดกันจากสิ่งใดคะ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย thumachatshawan, 17 ตุลาคม 2012.

  1. อริยะ ชน

    อริยะ ชน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +1,042
    เกิดที่ใจ...ก็ดับที่ใจครับ
    ดีชั่ว. .มันก็อยู่ที่นี่หละครับไม่ได้ขึ้นกับอะไรทั้งนั้น
    ชั่วคือมืด..ดีคือสว่าง..กุศล..อกุศล
    พ่อแม่ครูอาจารย์บอกไว้
    เก้าอี้ตัวเดียว..นั้งได้ทีละคน
    มีกุศล..อกุศลย่อมไม่มี
    เช่นเดียวกับความมืด..จุดไฟขึ้นก็สว่าง
    และมันก็สว่างที่ที่มันเคยมืดนั่นแหละครับ
     
  2. vaddee

    vaddee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +443
    ความดี ทำแล้วมีความสุขจากข้างใน ทำแล้วสบายใจ ทำแล้วไม่ผิดศีล
    ความชั่ว ทำแล้วรู้สึกทุกข์ข้างใน

    ฉะนั้น ดี หรือ ชั่ว วัดกันจากข้างในจิตใจของคน แค่พูดออกมาก็รู้ว่าคนนี้เป็นคนยังไง แม้กระทั่งที่เขียนๆเม้นกันอยู่ไม่เห็นตัวก็รู้คนใจกว้าง♥ หรือคนมีอคติ เพราะทุกคำพูดที่เขียนออกมาจะผ่านสมอง ผ่านการนึกคิด ผ่านขบวนการทำงานจากข้างในก่อน ถึงจะส่งออข้างนอก ไม่ได้ลอกใครมา.......>>>>เหมือนพระอรหันต์ ที่ท่านเทศน์สอนเราออกเป็นคำพูด ซึ่งไม่มีในตำรานั่นเรียกว่า *ปัญญา*
     
  3. เขตปกครอง230

    เขตปกครอง230 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +324
    อันบ่วงกรรมทำไว้ในปางหลัง
    เป็นเครื่องยังปางนี้จึงมีผล
    หว่านพืชดีผลดีมีแก่ตน
    หว่านพืชชั่วกลั้วผลที่ข้นแค้น
    อันความจริงข้อนี้มีมาแล้ว
    ไม่คลาดแคล้วเป็นอื่นทุกหมื่นแสน
    จะเปลี่ยนชั่วให้ดีมีมาแทน
    ถึงแม้นมอดม้วยมีเปลี่ยนได้เอย
     
  4. วิหคอิสระ

    วิหคอิสระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    758
    ค่าพลัง:
    +1,318
    วัดกันที่ การกระทำ ความคิด การพูดจา (กายวาจาใจ)ยิ่งจิตมีความบริสุทธิ์มากเท่าใด ทั้งสามสิ่งที่กล่าวมาก็จะสอดคล้องกันมากเท่านั้น

    .............................
    อย่าเถียงผม ผมรู้ ผมเรียนมา
     
  5. twat

    twat สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    การกระทำใดที่ถีงหร้อมด้วยความไม่ประมาทเป็นประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านย่อมเป็นกูศล(ความดี)
     
  6. dearestguardian

    dearestguardian เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +1,418
    ดี ชั่ว วัดกันที่ เจตนาในการละเมิดศีลของการกระทำ แต่เจตนา(หรือเหตุผลประกอบการกระทำใด ๆ นั้น) มีองค์ความรู้หรือปัญญา เป็นตัวกำกับ อยู่

    ความหมายคือ ถ้าเรามีความรู้ไม่พอ เราอาจคิดว่า สิ่งนั้นดี แต่มันอาจดีไม่จริง ทำไป อาจได้รับผลไม่ดี เพราะไม่ครบองค์ประกอบความดี นั่นเอง

    ปัญญา ต้องอาศัยการอบรบบ่มเพาะสั่งสมอย่างถูกต้องตามธรรมจึงจะกลายเป็น ปัญญาในพุทธศาสนา

    พูดง่าย ๆ คือ ความรู้เราอาจไม่พอเป็นเหตุ ทำให้เจตนาที่เราคิดว่าดี มันดีไม่จริง ผลจึงไม่สมบูรณ์

    ลองฟังตัวอย่างการพิจารณาประกอบเหตุผล(เจตนา) ของพระพุทธเจ้า

    พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจา ตามหลัก 6 ประการ คือ :-

    คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง, เป็นประโยชน์, ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น- เลือกกาลตรัส
    คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ไม่ถูกต้อง, ไม่เป็นประโยชน์, ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
    คำพูดที่จริง ถูกต้อง, แต่ไม่เป็นประโยชน์, เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส *

    ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็น

    กาลวาที
    สัจจวาที
    ภูตวาที
    อัตถวาที
    ธรรมวาที
    วินัยวาที

    ถ้ามองจากตัวอย่างจะเห็นว่าผู้มีความรู้เต็มอย่างสมเด็จพระจอมไตรคงใช้ปัญญาอย่างถ้วนถี่ในการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด พร้อมทั้งพระองค์ทรงเลิศด้วยปัญญาจนรู้เจนจบว่าผลวิบากนี้ ๆ เกิดขึ้นจากอะไรเป็นเหตุ

    แต่คนธรรมดาอย่างเรา ๆ ไม่มีความรู้เจนจบขนาดนั้น จึงทุกข์บ้างสุขบ้างเป็นธรรมดา ความน้อยใจ เสียใจมีบ้าง ก็เป็นปกติ แต่ขออย่าให้มันตัดกำลังใจในการทำความดีของเราเลย เพราะเมื่อไรก็ตามที่กำลังใจเราถดถอยจากความดี ความชั่วก็เข้าครอบงำได้ง่าย
    เมื่อกำลังใจเราตกไปสู่ความชั่ว นั่นคือ เราอยู่กับความทุกข์โดยไม่รู้ว่ามันเป็นทุกข์ หรือโมหะจิต หลงทุกข์ นั่นเอง

    เหมือนกับตอนนี้ ที่เราลังเลสงสัยอยู่ โดยไม่รู้ว่า ความลังเล หรือ วิจิกิจฉา ( ๑ ใน นิวรณ์ ๕ ) เป็นอาการของคนที่ขาดสมาธิ เราก็จะไม่ทราบว่าสิ่งที่เราต้องทำที่แท้จริง คือ พัฒนาสมาธิให้เกิดขึ้นและทรงตัวขึ้น และเมื่อ สมาธิทรงตัวและมั่นคง ดี แล้ว เราก็จะมีปัญญาดี เมื่อมีปัญญาดี ทำอะไรก็สำเร็จงดงามดี ไม่หวั่นปัญหา เพราะอารมณ์มั่นคง ตัดสินใจได้ถูกต้อง พร้อมเผชิญกับทุกอย่างได้อย่างทุกข์น้อยหรือไม่ทุกข์ใจเลย

    คำตอบคือ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นตัวชี้วัด ความดี ความชั่ว และผู้มี ศีล สมาธิ ปัญญาบริบูรณ์
    จึงเป็ผู้ที่ทรงคุณความดีสูงสุด คือพระอรหันต์นั่นเอง

    หากผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ตุลาคม 2012
  7. buakwun

    buakwun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    2,830
    ค่าพลัง:
    +16,613
    วัดกันที่เจตนาและการกระทำค่ะ ถ้าเจตนาดีกระทำดีก็ได้ดีเอง
    ถ้าเจตนาไม่บริสุทธิ์กระทำการอันไม่เป็นกุศลก็ได้ชั่วเอง
    อยากพ้นทุกข์ก็ต้องมีความเพียรและตั้งมั่นในจิตอันเป็นกุศลกันนะคะ
    อนุโมทนาให้ทุกท่านหลุดพ้นจากเวทนาด้วย สาธุ
     
  8. TPC

    TPC เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    474
    ค่าพลัง:
    +2,435
    เยาวชนรุ่นใหม่หรือแม้กระทั่งคนรุ่นเราๆรุ่นก่อน ยังแยกไม่ออกระหว่าง ความดี ความชั่ว ความทุกข์ ความสุข ความสนุกเพลิดเพลิน ความสะดวกสบาย

    แล้วเราจะหนีทุกข์พ้นทุกข์ ทำความดี ไม่ทำชั่ว ได้อย่างไร

    ผมขอเสริมว่าอันความดีและความไม่ดี หากจะวัดกันที่เหตุและวัดกันที่ผลลัพธ์ที่ได้
    ง่ายๆคืออะไรที่ทำแล้วมีประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู่อื่นไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ไม่ก่อกรรมทำบาบแก่ตนเองและผู้อื่น สิ่งนี้เรียกว่าความดี ทำแล้วย่อมเกิดความสุขทั้งตนเองและผู้อื่น
    ส่วนความชั่วอันไม่ดีนั้นก็ตรงกันข้าม ทำแล้วก่อให้เกิดโทษทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นการทำบาบก่อเวรกรรมทั้งกับตนเองและผู้อื่นเสมอ

    ก่อนทำความดีและความชั่ว ต้องใช้สติปัญญาคิดก่อนเสมอว่า สิ่งที่เรากำลังจะทำมันดีจริงหรือเปล่า ถูกเวลา ถูกบุคคล ถูกสถานที่หรือเปล่า อย่าประมาทเพราะอาจเป็นการทำบาบหรือทำผิดโดยไม่รู้ตัวนะครับ ดังนั้นทุกอย่างจึงเริ่มที่สติและความคิดหรือปัญญารู้ทันนี้เองครับ

    คนเราถ้ายังขาดปัญญาขาดสติสัมปชัญญะ ขาดวิชา ย่อมยังตกอยู่ในอำนาจของกิเลสย่อมทำบาบทำชั่วได้เสมอเพราะเหตุว่า ยังไม่รู้ว่าตนกำลังทำชั่วนั่นเองครับ

    สิ่งที่ทำไปแล้วไม่ได้ดังปราถนา ย่อมก่อให้เกิดทุกข์ และเป็นทุกข์ที่ขาดปัญญา เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนแปลเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงเสมอ ผู้มีปัญญาจึงควรพอใจและมีความสุขในการกระทำอันเป็นเหตุไว้่ดีแล้ว แน่นอนเมื่อถึงเวลาย่อมได้รับผลที่ดีสมปราถนา หากแต่เวลานี้ยังไม่ได้รับผลก็ให้สติไม่ประมาทและควรมีขันติอดทนมีความเพียรต่อไปครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...