อาการหลับลึก และฝันทุกวัน เกิดจากจิตฟุ้งซ่านใช่หรือไม่

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nongkaikuk, 23 ตุลาคม 2012.

  1. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    การนอนหลับแล้วฝัน เที่ยวไปสถานที่ต่างๆ บางคราังเหมือนมี บางสิ่งพาไปพอถึงเวลาก็มาพาส่ง จนจิตคิดว่าเป็นเรื่องจริงจัง เกิดจากจิตฟุ้งซ่านหรือเปล่า

    เคยฝันเห็นหมู่บ้านจัดงานบุญบั้งไฟ ต่อมาสักประมาณ 1 อาทิตย์ก็จะคนในหมู่บ้านเสียชีวิต เท่าที่จำได้ ฝัน2 ครั้ง เป็นเรื่องจริงถึง 2 ครั้ง

    แล้วทุกอย่างที่เล่ามาเกิดจาก งานของจิตหรือเปล่า ช่วยไขปัญหาที

    ถ้าวันไหนไม่หลับลึก จะไม่มีการฝัน แต่จะมีอาการกึ่งหลับกึ่งตื่น เหมือนรู้สึกตัวตลอดเวลา
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้พิจารณา ธรรม สองอย่าง

    อันแรก คือ ความยินดี ยินร้าย ที่ แนบสนิท

    ยินดีแบบแนบสนิทคือ พอกลับมายังโลกปรกติ เราจะรู้สึกถึง ความจริง เหมือนมัน
    จริงเสียยิ่งกว่าโลกปรกติ อันนี้คือ จิตมันไปยินดีกับการเห็นจนแนบสนิท พอมัน
    แนบสนิมความสมบูรณ์ของสัญญา มันก็พาเราสำคัญว่าจริงสุดๆ

    เรื่องราวที่ไปเห็นนั้นยกไว้ ให้พิจารณา จิตที่ยินดีแบบแนบสนิท มีไหม มีก็รู้ว่ามี
    นิมิตไหมไม่มี ตื่นมาแล้วจืด หรือ ลืมสนิท ก็รู้ไปว่าไม่มี

    กรณีที่มีแล้วแนบสนิท อันนี้ให้เรียกว่า ฝุ้งซ่าน ต้องทำสมาธิเพิ่ม ไม่งั้นจะถอน
    จิตออกมายาก จะกลายเป็นคนติดการนอน ยินดีกับการเคลิ้มๆ ซึ่งเป็น ภวังค์
    ไม่ใช่จิตที่มีกำลังฌาณ

    ************************

    ส่วนเรื่องฝันแล้วไปเห็น อะไรที่มาปรากฏภายหลัง ตรงนี้จะต้องดู
    ธรรมที่ชื่อ "การหมั่นประกอบสมาธิ" หากก่อนหน้าจะไปเห็นนิมิตล่วง
    หน้าอะไรแบบนี้ เหตุเพราะ ก่อนหน้านั้น เราทำสมาธิ ทำกรรมฐานมาก
    ก็ยกไว้ ปล่อยให้มันเห็นไปอย่างนั้น แล้ว ตามด้วยการดูยินดี ยินร้าย
    อีกที

    แต่ถ้า ก่อนหน้านั้นไม่ได้ หมั่นประกอบสมาธิอะไร เป็นการพูดคุยสัพเพเหระ
    กับเพื่อนๆ หรือ ดูหนังมาก อ่านหนังสือมาก อันนี้ จะไม่ให้ถือเอาเป็นนิมิต
    เห็นล่วงหน้า เพราะมัน ฟลุ๊คเกินไป ถ้าเราไปสำคัญว่า มันใช่ จะทำให้เรา
    ติดการเอ้อระเหย ติดการดูหนัง ติดการอ่านหนังสือ ....มันถอยห่างจากการ
    "หมั่นประกอบสมาธิ" อันนี้จัดว่า "น่าเกลียด" คือ มันจะน่าอายเวลาไปเสวนา
    ธรรมะ แล้วเขาถามว่า "เธอทำสมาธิมาหรือเปล่า" จะเห็นเลยว่า "มันจะเก้อๆ"
    ถ้าหาก ลืมดูยินดี ยินร้าย ก็จะทำให้ เลือกกลุ่มเสวนาธรรมผิด ...แย่เลย
     
  3. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณค่ะ สำหรับคำชี้แนะ

    พักหลังไม่ได้นั่งสมาธิค่ะ

    แค่เจริญสติ จับลมหายใจเท่านั้นค่ะ

    อาการที่กล่าวมา จะช่วยได้ ต้องเิกดจากากรนั่งสมาธิใช่หรือเปล่าค่ะ
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ไม่ใช่อยู่ที่ นั่งสมาธิ หรือ ไม่นั่ง

    หลักๆ มันอยู่ที่ ใจ ว่า "มั่นใจว่าประกอบกรรม" อะไร อยู่

    ถ้า ทำอะไรอยู่ ตัวเองไม่รู้ มันก็จะทำไป โลเล ไป หาคะแนนสนับสนุนไป
    แบบนี้ก็จะพลั้งได้ง่ายๆ เพราะ สุดท้าย ไม่กล้าพอที่จะ บริหาร งานจิตใจ
    ด้วยตัวเอง

    ถ้า บริหารเองได้ เวลากล่าวประโยคข้างบน มันจะ เข้าถึง สภาพ
    ธรรมบางประการด้วยว่า "เท่านั้น" นี่ เป็นเพราะอะไร

    ถ้า เท่านั้น มันรู้ได้แค่ว่า หนูทำได้แค่นี้ อันนี้ เหยาะแหยะไป

    แต่ถ้า

    "เท่านั้น" เพราะรู้ชัดว่า การปฏิบัติมันมีแค่นี้แหละ อันนี้ ขยันสุดๆ เลยนะ
    ทำแค่ "จับลมหายใจ" "ตามรู้ลมหายใจ" นี่ มันเป็นเรื่องคนขยันสุดๆเท่า
    นั้นที่ทำได้ ส่วนใหญ่แล้ว เขาหายใจทิ้ง

    **********

    ทั้งนี้ พึงทราบว่า พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญ อานาปานสติว่า เป็นกรรม
    ฐานที่ทำให้ผู้ปฏิบัติ พึงหวังนิพพานได้ในชาตินี้
     
  5. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณค่ะ ที่เคาะกะโหลกที่หนา

    ตั้งใจเจริญสติทุกขณะค่ะ มันชอบยังไงไม่รู้

    บางที่จะมีอาการคันบริเวณผิวหนังเหมือนมีอะไรมาไต่ มันเกืดจากสมาธิหรือเปล่าค่ะ
     
  6. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    และการต่อยอดจากการเจริญสติ มีอะไรบ้างค่ะ
     
  7. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ทดลอง พิสูจน์ได้เองนะ ไม่ต้องถามก็ได้

    เช่น

    เลิกทำกรรมฐาน เอาจิตใจไปทำอย่างอื่นๆ แล้วสังเกตว่า มี อะไรไต่ไหม

    หลังจากนั้น ก็ระลึกกรรมฐาน แล้วสมาทาน แล้วสังเกตว่า มี อะไรไต่ไหม

    ตรงนี้ จะมีอีกระดับนะ

    สมมติว่า ประกอมอานาปานสติมานานแล้ว จิตใจมันวิ่งไปเองทุกครั้งที่จิต
    ว่างจากภาระกิจแบบโลกๆ อันนี้ หากมันมา ไต่ เราจะมองว่า ถลำไปสู่
    สมถะกรรมฐาน ก็รู้ไปตามนั้นไม่แก้ พอไม่แก้ คราวนี้จะมีมากกว่านั้นแต่
    จะไม่ตกใจ หรือ ถามแล้วว่า เกิดจากอะไร

    แต่อาจะไปปริวิตกเรื่อง ความพยาบาท อาฆาต แค้น และการเยียดเบียน ขึ้นมา

    แล้วก็จะถามคำถามคล้ายๆกันคือ "มันมีอะไรแปลกๆเพราะ ทำกรรมฐานหรือ
    เปล่าค่ะ" วนรอบซ้ำเหมือน โคที่เขาเอาแอกใส่แล้วให้หมุนรหัสวิดน้ำ เลยนะ

    ก็ใช้วิธีเดิม คือ เลิกทำกรรมฐานไป ( จะยากสักหน่อย) แล้ว พิจารณาว่า มัน
    มาเพราะกรรมฐาน หรือว่า มาเพราะอะไรอย่างอื่น ถ้าคนฉลาดก็จะพึงทราบ
    ว่ามันมาก็เพราะเราประกอบกรรมฐาน แต่ถ้า ไม่ฉลาด นู้น ไปนู้น ไปองค์ลง
    ไปเป็นพลังจักรยาน คอสมิก คอสโม โพรมีทิอุส ซารุสะ บริหารจิตใจไม่ได้
    ก็เลยประเคนให้คนอื่นมาเป็นนาย ซะงั้น

    ***********

    เนี่ยะ ลองไปหาวิธี วิจัยกรรมฐาน วิจัยวิธีการพัฒนาจิตใจ ไปเรื่อยๆ

    แล้ว เราจะเข้าใจว่า จิตที่สมาทานสิกขาได้ ชื่อว่าเป็น บุตรของสมณะโคดม
    นั้น เป็นอย่างไร ได้ด้วยตัวเอง
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ให้ดี อย่าไปใช้คำว่า "ต่อยอด" มันเป็น ศัพท์ที่เป็นการปรารภการมี ภพ หาก
    ใช้คำนี้เรื่อยๆ เราจะค่อยๆ ถูกชักออกนอกแนว

    พระพุทธองค์ท่านจะอุปมาเหมือนการ ตัดยอด ตัดใบ ตัดกิ่ง ตัดก้าน ถาก
    เปลือก ตัดกระพี้ ทะลวงแก่น แล้วสุดท้ายก็ "ตัดราก" "ถอนโคน"

    สมมตินะสมมติ สมมติว่าลองเปลี่ยนดู

    "และการตัดรากจากการเจริญสติ ปรกติมีอะไรบ้างค่ะ"

    แบบนี้ ใครๆเจอคำถามนี้ก็จะตอบได้ทันทีเลย ว่า "ตัดตัณหา" ฮับ

    ***********

    สังเกตนะ ใช้คำของ ตถาคต นี่ มีแต่ นำออกแต่ส่วนเดียวเลยนะ ไม่ใช่
    เรื่องการพอกพูล ไม่ใช่เรื่องการสะสม ไม่ใช่เรื่องการคลุกคลี เป็นคำที่
    ชี้ทุกข์ อย่างเดียว ตรงดิ่งไปสู่ อมตะ นิพพาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2012
  9. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณค่ะ ขอนำความรู้ไปศึกษาต่อค่ะ
     
  10. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819

    ไม่เกี่ยวกับ จิตฟุ้งซ่าน หรอก

    ไม่เกี่ยวกับ งานของจิต อะไรที่ไหน หลับอยู่ ตกภวังค์อยู่ งานของจิต อะไรเนี้ย ..........


    จขกท. อ่านดูครับ จะได้เข้าใจ ถูกต้อง





    สาเหตุแห่งความฝัน ๔ ประการ คือ

    ๑. กรรมนิมิต-กรรมดีหรือชั่วในอดีต จะมาให้ผล
    ๒. จิตนิวรณ์ หรือ จิตอาวรณ์-จิตไปผูกพันอยู่กับสิ่งใดมากๆ ก็อาจฝันถึงสิ่งนั้นได้
    ๓. เทพสังหรณ์-เทวดานำข่าวมาบอก อาจเป็นข่าวดีหรือข่าวร้ายก็ได้
    ๔. ธาตุกำเริบ-ร่างกายไม่ปกติ อาจทำให้ฝันไปได้แปลกๆ

    อ้างอิงจาก...เหตุแห่งความฝัน (สุปินสูตร)

    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๔๓๓ - ๔๓๕

    อรรถกถา
    พึงทราบวินิจฉัยในสุปินสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้:-
    บทว่า มหาสุปินา ความว่า ชื่อว่า มหาสุบิน เพราะบุรุษผู้ใหญ่
    พึงฝัน และเพราะความเป็นนิมิตแห่งประโยชน์อันใหญ่. บทว่า ปาตุรเหสุ
    แปลว่า ได้ปรากฏแล้ว.
    ในบทนั้น ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ
    เพราะธาตุกำเริบ ๑
    เพราะเคยเป็นมาก่อน ๑
    เพราะเทวดาดลใจ ๑
    เพราะบุรพนิมิต ๑

    ในฝันเหล่านั้น คนธาตุกำเริบ เพราะ(น้ำ)ดีเป็นต้น เป็นเหตุทำให้กำเริบย่อมฝัน เพราะ
    ธาตุกำเริบ และเมื่อฝัน ย่อมฝันหลายอย่าง เช่น ฝันว่าตกจากภูเขา ว่าไปทางอากาศ
    ว่าถูกเนื้อร้าย ช้างและโจรเป็นต้นไล่ตาม.

    เมื่อฝันโดยเคยเป็นมาก่อน ย่อมฝันถึงอารมณ์เป็นมาแล้วในกาลก่อน.

    สำหรับผู้ฝันโดยเทวดาดลใจ ทวยเทพย่อมบรรดาลอารมณ์หลายอย่าง
    เพราะประสงค์ดีก็มี เพราะประสงค์ร้ายก็มี ผู้นั้นย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอานุภาพของทวยเทพ
    เหล่านั้น.

    เมื่อฝันโดยบุรพนิมิต (ลางบอกล่วงหน้า) ย่อมฝัน อันเป็นบุรพนิมิต
    ของประโยชน์หรือของความพินาศที่ประสงค์จะเกิดด้วยอำนาจบุญและบาป
    ดุจพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ได้นิมิตในการได้พระโอรส
    ดุจพระเจ้าโกศล ทรงฝันเห็นสุบิน ๑๖
    และดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล
    ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงฝันเห็นมหาสุบิน ๕ ประการนี้.

    ในฝันเหล่านั้น ฝันเพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยเป็นมาก่อน ไม่จริง.

    ฝันเพราะเทวดาดลใจ จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะว่า เทวดาทั้งหลาย
    โกรธขึ้นมา ประสงค์จะให้ถึงความพินาศด้วยอุบาย จึงแสร้งทำให้ผิดปกติ.

    แต่ฝันเพราะบุรพนิมิต เป็นจริงโดยส่วนเดียวแท้.

    แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป
    ฝันแม้ทั้ง ๔ นั้นพระเสกขะและปุถุชน ย่อมฝัน เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้
    พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.

    ก็เมื่อฝันนั้น หลับฝัน ตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับไม่ตื่นฝัน. ในข้อนี้มี
    อธิบายไว้อย่างไร ผิว่าหลับฝันก็ผิดอภิธรรม ด้วยว่าสัตว์ย่อมหลับด้วยภวังคจิต
    ภวังคจิตนั้นหามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์ หรือสัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่
    จิตเช่นนี้ย่อมเกิดแก่ผู้ฝัน หากตื่นฝันก็ผิดวินัย เพราะว่าฝันที่ตื่นฝันด้วยจิต
    เป็นอัพโพหาริก (เห็นเหมือนไม่เห็น) จะไม่เป็นอาบัติไม่ได้ เพราะล่วงละเมิด
    ด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก เพราะแม้ผู้ฝันทำล่วงละเมิดก็ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียว
    เท่านั้น เมื่อไม่หลับ ไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าไม่ฝัน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงไม่มีฝัน
    และจะไม่มีก็ไม่ใช่. เพราะเหตุไร เพราะผู้ฝันเข้าสู่ความหลับดุจลิง. สมดังที่
    พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตรผู้ที่หลับดุจลิงแลย่อมฝัน. บทว่า กปิมิทฺธป
    เรโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยการหลับของลิง. เหมือนอย่างว่า การหลับของลิง
    เป็นไปเร็วฉันใด การหลับที่ชื่อว่า เป็นไปเร็ว เพราะแทรกแซงด้วยจิตมีกุศลจิต
    เป็นต้นบ่อย ๆ ก็ฉันนั้น ในความเป็นไปของการหลับใด จิตย่อมขึ้นจากภวังค์
    บ่อย ๆ ผู้ประกอบแล้วด้วยการหลับนั้น ย่อมฝัน.

    ด้วยเหตุนั้น ฝันนี้ จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง.
    ในฝันนั้นพึงทราบว่า เป็นกุศลแก่ผู้กระทำการไหว้เจดีย์ ฟังธรรม และ
    แสดงธรรมเป็นต้น เป็นอกุศลแก่ผู้ทำปาณาติบาตเป็นต้น พ้นจากสองอย่างนั้น
    เป็น อัพยากฤตในขณะอาวัชชนจิตนึก และขณะตทาลัมพนจิตยึดฝันนั้นเป็น
    อารมณ์. ฝันนี้นั้นเพราะมีวัตถุเป็นทุรพล จึงไม่สามารถจะชักปฏิสนธิของเจตนา
    มาได้ ก็เมื่อเป็นไปแล้ว ฝันอันกุศลและอกุศลอื่นอุปถัมภ์ไว้ย่อมให้วิบาก ให้
    วิบากก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในฝันก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวอ้างไม่ได้เลย
    เพราะเกิดในที่อันมิใช่วิสัย.

    ก็สุบินนี้นั้น แม้ว่า โดยเวลาฝันในเวลากลางวัน ย่อมไม่จริง ใน
    ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ก็เหมือนกัน. แต่ตอนใกล้รุ่ง เมื่อ
    อาหารที่กิน ดื่ม และเคี้ยวย่อยดีแล้ว โอชะอยู่ตามที่ในร่างกาย พออรุณขึ้น
    ความฝันย่อมจริง เมื่อฝันอันมีอิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อิฏฐารมณ์ เมื่อ
    ฝันมีอนิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อนิฏฐารมณ์. ก็มหาสุบิน ๕ เหล่านี้
    โลกิยมหาชนไม่ฝัน มหาราชาทั้งหลายไม่ฝัน พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายไม่ฝัน
    อัครสาวกทั้งหลายไม่ฝัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ฝัน พระสัมมาสัม-
    พุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ฝัน พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้นย่อมฝัน.

    http://gigcomputer.net/board/index.php?topic=111.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ตุลาคม 2012
  11. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" height=50><TBODY><TR><TD bgColor=mistyrose vAlign=bottom width="100%" align=middle vspace="0">บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ </TD></TR><TR><TD bgColor=peachpuff height=1 width="100%" vspace="0" hspace="0"></TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=760 align=center vspace="0" valign="Bottom"><TBODY><TR><TD bgColor=white smoke>[​IMG]</TD><TD bgColor=white>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=white width=50></TD><TD bgColor=white borderColor=black width=660 border="1">
    <CENTER><BIG>อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕</BIG> <CENTER class=D>๖. สุบินสูตร</CENTER></CENTER><CENTER> อรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖ </CENTER> พึงทราบวินิจฉัยในสุปินสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-
    บทว่า มหาสุปินา ความว่า ชื่อว่า มหาสุบิน เพราะบุรุษผู้ใหญ่พึงฝัน และเพราะความเป็นนิมิตแห่งประโยชน์อันใหญ่. บทว่า ปาตุรเหสุ ํ แปลว่า ได้ปรากฏแล้ว.
    ในบทนั้น ผู้ฝันย่อมฝันด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ เพราะธาตุกำเริบ ๑ เพราะเคยเป็นมาก่อน ๑ เพราะเทวดาดลใจ ๑ เพราะบุรพนิมิต ๑.
    ในฝันเหล่านั้น คนธาตุกำเริบ เพราะดีเป็นต้น เป็นเหตุทำให้กำเริบย่อมฝัน เพราะธาตุกำเริบ และเมื่อฝัน ย่อมฝันหลายอย่าง เช่น ฝันว่าตกจากภูเขา ว่าไปทางอากาศ ว่าถูกเนื้อร้าย ช้างและโจรเป็นต้นไล่ตาม.
    เมื่อฝันโดยเคยเป็นมาก่อน ย่อมฝันถึงอารมณ์ที่เป็นมาแล้วในกาลก่อน.
    สำหรับผู้ฝันโดยเทวดาดลใจ ทวยเทพบันดาลอารมณ์หลายอย่าง เพราะประสงค์ดีก็มี เพราะประสงค์ร้ายก็มี
    เมื่อฝันโดยบุรพนิมิต (ลางบอกล่วงหน้า) ย่อมฝัน อันเป็นบุรพนิมิตของประโยชน์หรือของความพินาศที่ประสงค์จะเกิดด้วยอำนาจบุญและบาป ดุจพระชนนีของพระโพธิสัตว์ ได้นิมิตในการได้พระโอรส ดุจพระเจ้าโกศลทรงฝันเห็นสุบิน ๑๖ และดุจพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้แล ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ ทรงฝันเห็นมหาสุบิน ๕ ประการนี้.
    ในฝันเหล่านั้น ฝันเพราะธาตุกำเริบ และเพราะเคยเป็นมาก่อนไม่จริง. ฝันเพราะเทวดาดลใจ จริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพราะว่า เทวดาทั้งหลายโกรธขึ้นมา ประสงค์จะให้ถึงความพินาศด้วยอุบาย จึงแสร้งทำให้ผิดปกติ. แต่ฝันเพราะบุรพนิมิต เป็นจริงโดยส่วนเดียวแท้.
    แม้เพราะความเกี่ยวข้องของมูลเหตุ ๔ อย่างเหล่านี้ต่างกัน ฝันจึงต่างกันไป ฝันแม้ทั้ง ๔ นั้น พระเสกขะและปุถุชนย่อมฝัน เพราะยังละวิปัลลาสไม่ได้. พระอเสกขะไม่ฝัน เพราะละวิปัลลาสได้แล้ว.
    ก็เมื่อฝันนั้น หลับฝัน ตื่นฝัน หรือว่าไม่หลับไม่ตื่นฝัน.
    ในข้อนี้มีอธิบายได้อย่างไร
    ผิว่าหลับฝันก็ผิดอภิธรรม ด้วยว่าสัตว์ย่อมหลับด้วยภวังคจิต ภวังคจิตนั้นหามีรูปนิมิตเป็นต้นเป็นอารมณ์ หรือสัมปยุตด้วยราคะเป็นต้นไม่ จิตเช่นนี้ย่อมเกิดแก่ผู้ฝัน หากตื่นฝันก็ผิดวินัย เพราะว่าฝันที่ตื่นฝันด้วยจิต เป็นอัพโพหาริก (เห็นเหมือนไม่เห็น) จะไม่เป็นอาบัติไม่ได้ เพราะล่วงละเมิดด้วยจิตเป็นอัพโพหาริก เพราะแม้ผู้ฝันทำล่วงละเมิดก็ไม่เป็นอาบัติโดยส่วนเดียวเท่านั้น. เมื่อไม่หลับไม่ตื่นฝัน ชื่อว่าไม่ฝัน ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงไม่มีฝันและจะไม่มีก็ไม่ใช่. เพราะเหตุไร เพราะผู้ฝันเข้าสู่ความหลับดุจลิง.
    สมดังที่พระนาคเสนกล่าวไว้ว่า มหาบพิตร ผู้ที่หลับดุจลิงแลย่อมฝัน.
    บทว่า กปิมิทฺธป เรโต ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยการหลับของลิง. เหมือนอย่างว่า การหลับของลิงเป็นไปเร็วฉันใด การหลับที่ชื่อว่าเป็นไปเร็ว เพราะแทรกแซงด้วยจิตมีกุศลจิตเป็นต้นบ่อยๆ ก็ฉันนั้น ในความเป็นไปของการหลับใด จิตย่อมขึ้นจากภวังค์บ่อยๆ ผู้ประกอบแล้วด้วยการหลับนั้นย่อมฝัน.
    ด้วยเหตุนั้น ฝันนี้จึงเป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง อัพยากฤตบ้าง. ในฝันนั้นพึงทราบว่า เป็นกุศลแก่ผู้กระทำการไหว้เจดีย์ ฟังธรรมและแสดงธรรมเป็นต้น เป็นอกุศลแก่ผู้ทำปาณาติบาตเป็นต้น พ้นจากสองอย่างนั้นเป็นอัพยากฤตในขณะอาวัชชนจิตนึก และขณะตทาลัมพนจิตยึดฝันนั้นเป็นอารมณ์. ฝันนี้นั้นเพราะมีวัตถุเป็นทุรพล จึงไม่สามารถจะชักปฏิสนธิของเจตนามาได้ ก็เมื่อเป็นไปแล้ว ฝันอันกุศลและอกุศลอื่นอุปถัมภ์ไว้ย่อมให้วิบาก ให้วิบากก็จริง ถึงอย่างนั้น เจตนาในฝันก็เป็นอัพโพหาริก คือกล่าวอ้างไม่ได้เลย เพราะเกิดในที่อันมิใช่วิสัย.
    ก็สุบินนี้นั้น แม้ว่า โดยเวลาฝันในเวลากลางวัน ย่อมไม่จริง. ในปฐมยาม มัชฌิมยามและปัจฉิมยามก็เหมือนกัน. แต่ตอนใกล้รุ่ง เมื่ออาหารที่กินดื่มและเคี้ยวย่อยดีแล้ว โอชะอยู่ตามที่ในร่างกาย พออรุณขึ้น ความฝันย่อมจริง. เมื่อฝันอันมีอิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อิฏฐารมณ์ เมื่อฝันมีอนิฏฐารมณ์เป็นนิมิต ย่อมได้อนิฏฐารมณ์.
    ก็มหาสุบิน ๕ เหล่านี้ โลกิยมหาชนไม่ฝัน มหาราชาทั้งหลายไม่ฝัน พระเจ้าจักรพรรดิทั้งหลายไม่ฝัน อัครสาวกทั้งหลายไม่ฝัน พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ฝัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายก็ไม่ฝัน พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียวเท่านั้นย่อมฝัน.
    ถามว่า ก็พระโพธิสัตว์ของเราทรงฝันเห็นสุบินเหล่านี้เมื่อไร.
    ตอบว่า ทรงฝันในเวลาราตรีกระจ่างของวันขึ้น ๑๔ ค่ำ โดยรู้พระองค์ว่า พรุ่งนี้เราจักเป็นพระพุทธเจ้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วันขึ้น ๑๓ ค่ำก็มี.
    พระองค์ทรงฝันเห็นสุบินเหล่านี้แล้ว ทรงลุกขึ้นประทับนั่งขัดสมาธิ ทรงดำริว่าถ้าเราฝันเห็นสุบินเหล่านี้ในกรุงกบิลพัสดุ์ จะกราบทูลพระชนก หากพระชนนีของเรายังทรงพระชนม์อยู่ เราก็จะทูลพระชนนี แต่ในที่นี้ไม่มีผู้จะทำนายสุบินเหล่านี้ได้ จำเราผู้เดียวจักทำนาย.
    แต่นั้นพระโพธิสัตว์ทรงทำนายสุบินด้วยพระองค์เองว่า สุบินนี้จักเป็นบุรพนิมิตของสิ่งนี้ สุบินนี้จักเป็นบุรพนิมิตของสิ่งนี้แล้ว เสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาในอุรุเวลคามถวาย เสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน ทรงบรรลุสัมโพธิญาณ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันตามลำดับ เพื่อยังมหาสุบิน ๕ ที่พระองค์เห็นแล้วในมกุฬพุทธกาล (เวลาก่อนเป็นพระพุทธเจ้ามกุฏพุทธะ) ให้พิสดาร จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วทรงเริ่มเทศนานี้.
    ในบทเหล่านั้น บทว่า มหาปฐวี ได้แก่ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่เต็มท้องจักรวาล.
    บทว่า มหาสยนํ อโหสิ ได้แก่ เป็นที่สิริไสยาสน์.
    บทว่า โอหิโต คือ วางไว้แล้ว. ก็พระหัตถ์นั้นพึงทราบว่ามิได้วางไว้เหนือน้ำ ที่แท้พาดไปเบื้องบนๆ ของมหาสมุทรด้านทิศปราจีนแล้ววางลงที่สุดแห่งจักรวาลด้านทิศปราจีน.
    แม้ในบทเหล่านี้ว่า ปจฺฉิเม สมุทฺเท ทกฺขิเณ สมุทฺเท ดังนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.
    ท่านเรียกว่า ทัพพติณะ (คือหญ้าคา) ในบทว่า ติริยา นาม ติณชาติ.
    บทว่า นาภิยา อุคฺคนฺตฺวา นภํ อาหจฺจ ฐิตา อโหสิ (หญ้าผุดจากพระนาภีตั้งจดฟ้า) ความว่า หญ้าผุดขึ้นจากพระนาภีเป็นท่อนไม้สีแดงขนาดเท่าคันไถแล้วพุ่งขึ้นๆ อย่างนี้ คือคืบหนึ่ง ๓ ศอก วาหนึ่ง ยัฏฐิ (ไม้เท้า) หนึ่ง คาวุตหนึ่ง กึ่งโยชน์ โยชน์หนึ่งแล้วตั้งจดฟ้าหลายพันโยชน์ ทั้งที่เห็นอยู่นั่นแล.
    บทว่า ปาเทหิ อุสฺสกฺกิตฺวา ได้แก่ หนอนไต่พระบาทตั้งแต่ปลายพระนขา.
    บทว่า นานาวณฺณา ความว่า นกมีสีต่างๆ กันอย่างนี้คือตัวหนึ่งสีเขียว ตัวหนึ่งสีเหลือง ตัวหนึ่งสีแดง ตัวหนึ่งสีเหมือนใบไม้แห้ง.
    บทว่า เสตา ได้แก่ สีขาว คือ ขาวปลอด.
    บทว่า มหโต มิฬฺหปพฺพตสฺส ได้แก่ ภูเขาเต็มไปด้วยคูถ สูงประมาณ ๓ โยชน์.
    บทว่า อุปริ อุปริ จงฺกมติ ได้แก่ เสด็จจงกรมแต่บนยอดๆ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระชนม์ยืน ปรากฏดุจเสด็จเข้าไปประทับนั่งบนภูเขา เต็มไปด้วยคูถประมาณ ๓ โยชน์.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงบุรพนิมิตโดยฐานเท่านี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงการได้พร้อมด้วยบุรพนิมิตนั้นจึงตรัสคำมีอาทิว่า ยมฺปิ ภิกฺขเว ดังนี้.
    ในคำนั้น พระอรหัตมรรคของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เพราะให้คุณทุกอย่าง. เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นได้ทรงเห็นแผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลใดเป็นฟูกนอนอันเป็นสิริ แผ่นดินใหญ่แห่งจักรวาลนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งความเป็นพระพุทธเจ้า. ได้ทรงเห็นภูเขาหิมพานต์ใดเป็นหมอน ภูเขาหิมพานต์นั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งพระสัพพัญญุตญาณ ได้ทรงเห็นพระหัตถ์และพระบาททั้ง ๔ ประดิษฐานบนยอดจักรวาลอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตในการประกาศพระธรรมจักรซึ่งใครๆ ให้เป็นไปไม่ได้ ได้ทรงเห็นพระองค์บรรทมหงายอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งความที่สัตว์ทั้งหลายผู้คว่ำหน้าอยู่ในภพ ๓ หงายหน้าขึ้น ทรงเป็นดุจลืมพระเนตรเห็นอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งการได้ทิพยจักษุ. แสงสว่างได้ปรากฏเป็นอันเดียวกันตราบเท่าถึงภวัคคพรหมอันใด อันนั้นเป็นบุรพนิมิตแห่งอนาวรณญาณ (ญาณอันใดไม่มีเครื่องขัดข้อง).
    คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งพระบาลีนั้นแล. <CENTER>
    จบอรรถกถาสุปินสูตรที่ ๖
    ----------------------------------------------------- </CENTER>
    .. อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต จตุตถปัณณาสก์ พราหมณวรรคที่ ๕ ๖. สุบินสูตร จบ.
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  12. nongkaikuk

    nongkaikuk Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +97
    ขอบคุณค่ะ ทุกคำชีัแนะ
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    เรื่องของการฝันเป็นเรื่องที่แปลกประหลาด จะกล่าวได้ว่า เป็นได้ทั้งจิตฟุ้งซ่าน และอาจเป็นได้เพราะเกิดนิมิตในอดีต อนาคต ซึ่งในเรื่องนี้ ผู้ฝัน ต้องคิดพิจารณาด้วยตัวเองว่า อันไหน เกิดขึ้นเพราะจิตฟุ้งซ่าน ปรุงแต่งขึ้นเอง หรือ อันไหน เกิดจากจิตสัมผัสพิเศษ ที่อาจเป็นเหตุการณ์หรือนิมิตแห่งความจริงในอดีตหรืออนาคต
    แต่บางครั้ง สิ่งที่ฝันอาจเป็นการฟุ้งซ่านปรุงแต่งขึ้นเอง แต่กลับเกิดเป็นจริงก็เป็นได้
    คำแนะนำ ถ้าเป็นเรื่องจริงเมื่อได้ฝันไป แต่เป็นเรื่องไร้สาระ เช่นดังที่คุณเล่ามาว่าจะมีคนในหมู่บ้านเสียชีวิต ก็ไม่ควรสนใจหรือจดจำ หรือหลงในความฝันเหล่านั้น อันนี้คุณต้องพิจารณาให้ดีว่าจริงดังคำที่ข้าพเจ้าแนะนะหรือไม่
    อีกประการหนึ่ง ความฝันส่วนใหญ่จะเป็นการปรุงแต่งโดยอัตโนมัติของระบบการทำงานของร่างกายขณะนอนหลับ โดยการนำเอาข้อมูลที่มีในสมองและใจมาผสมปนเปให้เกิดเป็นเรื่องราวต่างๆ อาจจะเกิดมีขึ้นจริงก็ได้ หรืออาจจะเป็นการเพ้อเจ้อคิดเป็นภาพเรื่อยเปื่อยก็เป็นได้
    ยกตัวอย่าง เมื่อคืนนี้ วันที่ ๒๒ ตุลาคม ตอนกลางวัน ข้าพเจ้าเกิดคิดถึงหรือระลึกนึกถึง น้าของข้าพเจ้าซึ่งท่านเปรียบเป็นครูอาจารย์ทางด้านการซ่อมจักรยานสองล้อให้ข้าพเจ้า พอตกตอนกลางคืน นอนหลับข้าพเจ้าก็ฝันว่า น้าของข้าพเจ้ามาหาข้าพเจ้าและชักปืนสั้นออกมาจ้องมาที่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าก็ชักเอาปืนสั้นออกมาให้น้าข้่าพเจ้าดูบ้าง น้าของข้าพเจ้าพูดว่าอะไรก็ไม่รู้ พอสดุ้งตื่น ก็เลยคิดไปว่า น้าของข้าพเจ้าอาจจะเสียชีวิตไปเมื่อคืนนี้ก็เป็นได้ ตอนนี้ติดต่อทางโทรศัพท์ไม่ได้ก็เลยไม่รู้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า ดังนี้เป็นต้นขอรับ
     
  14. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    การหลับลึกจริงๆ ของคนปกติ จะไม่ฝัน ครับ

    การหลับลึก ของผู้ชำนาญในสมาธิมากๆ ก็จะเข้าฌานก่อนหลับ ไม่ฝัน เช่นกัน
     

แชร์หน้านี้

Loading...