จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ตอนนี้จะขอคุยเรื่อง สติค่ะ เมื่อมีสติกับปัญญากำกับความเพียร จิตจะได้รับความสงบสุขไม่เนิ่นนาน เมื่อใจสงบลงได้แล้ว จงเร่งความเพียรในบทธรรมของตนตามแต่ถนัดด้วยสติ จนเป็นความสงบได้ทุกโอกาสที่ต้องการ เมื่อจิตถอนขึ้นมาจงเริ่มพิจารณาโดยทางปัญญา โดยถืออาการของกายเป็นที่ท่องเที่ยวของปัญญา ในอาการของกาย เราจะพิจารณาไปหมดหรือเฉพาะแล้วแต่จิตของเรา ไตร่ตรองดูส่วนแห่งกายลงในไตรลักษณ์ใดมากน้อยแล้วแต่ความถนัด แต่ให้เห็นชัดด้วยปัญญาเป็นใช้ได้ การแยกส่วนแบ่งส่วนของร่างกายให้เป็นต่างๆ ตามความหยาบคายของปัญญานั้นจะเป็นหน้าที่ของจิต ซึ่งเห็นกายชัดจะทำให้การพิจารณาในเวลานั้น. คำว่า อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ซึ่งการติดใจเพราะการได้ยินได้ฟังมา จะปรากฎเป็นความจริงประจักษ์ใจขึ้นในเวลานั้น ไตรลักษณ์ที่เคยจำได้ กับ ไตรลักษณ์จริงๆ ที่ปรากฎขึ้นกับใจในขณะนั้นจะรู้สึกแปลกกันมาก สมาธิและปัญญาที่เคยทำความเข้าใจไว้ กับ สมาธิปัญญาที่ปรากฎขึ้นในขณะนั้น แม้จะยังไม่ถึงชั้นละเอียดเต็มที่ แต่ปรากฏแปลกต่างกันมากในความรู้สึกของผู้ที่กำลังได้รับปรากฏการณ์อยู่ในเวลานั้น. ธรรมะคำตอบนี้ เป็นธรรมะของครูบาร์อาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งท่านได้ให้ธรรมะฝากไว้ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2505 ดิฉันได้ขออนุญาติอันเชิญ นำมาเขียนลงให้ท่านได้นำมาศึกษา เพื่อการปฎิบัติของเราๆท่านๆต่อไป เพราะว่าท่านบอกพวกเราอย่างสว่างจ้าเลย.ขอกราบขอบพระคูณนักบูญผู้เสียสระด้วย เศียรเกล้าเจ้าค่ะ สาธุ สาธุ สาธุ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ธันวาคม 2012
  2. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ใช่เลย!!หลวงตาท่านบริกรรมพุทโธ จนจิตสว่างกระจ่างเเจ้ง.
    ไ่ป3 เเดนโลกธาตุ เเละท่านเมตตาชี้ทางให้เดิน
    ผู้มีบุญ มีสติปัญญา ศรัทธาเเละความเพียรเดินตามรอยท่านไป
    สู่มรรคสู่ผลได้ โมทนาสาธุ
     
  3. fein

    fein เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +463
    อนุโมธนากับธรรมทานของคุณอุษาวดี และคำแนะนำของครูผึ้งด้วยค่ะ
    อ่านไปสามรอบเลย 555
    คือฝ้ายก็สงสัยมากกกกน่ะค่ะ ว่าเค้าให้เกาะพระแล้วไหง๋ยิ่งเกาะยิ่งหาย แล้วพอครูบอกว่าพระอาจจะหายถ้าเรามีสมาธิมาก เราก็เออเพิ่งทำแล้วจะเกาะติดได้ไง ปรากฎว่าเกิดความสงสัย แล้วก็เกิดกิเลสโดยเราไม่รู้ตัว แต่พอมันเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีก (หลังจากกลับไปทำใหม่อีกรอบ) ก็เลยหายสงสัย รู้ว่ามันเป็นอย่างนี้เอง ตอนนี้ก็เลยไม่ติดเรื่องภาพพระแล้วค่ะ แต่อาจจะติดเรื่องความเพียรน้อย นึกถึงพระไม่ถี่ เวลาที่ลืม 555 สรุปก็คือสติมันตามไม่ทัน ตอนนี้ก็ยังตามไม่ทัน เอาแต่ง่วง เอาแต่ลืมนึกถึงพระ แหะ ๆ ๆ

    แต่ทุกวันรายงานภาพพระเพราะว่าติดนิสัยน่ะค่ะ ฝ้ายจะพยายามสังเกตตัวเองทุกวันแล้วก็รายงาน และด้วยความที่สมัยเด็ก ๆ ชอบเขียนไดอารี่ พอโตขึ้นมาเขียน Blog ทำให้สามารถเขียนรายงานแบบไดอารี่ได้ค่อนข้างเยอะ (การบ้านมันถูกจริตน่ะค่ะ) ทำให้ครูต้องอ่านเยอะมากๆ อิอิ ส่วนตัวก็ชอบกลับมาอ่านไดอารี่หรือ Blog น่ะค่ะ จะได้เห็นความเป็นไปและพัฒนาการของตัวเอง บางเรื่องก็เป็นข้อมูลที่สามารถแบ่งปันให้คนอื่นได้น่ะค่ะ


     
  4. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    จะขอกล่าวถึงจิตค่ะ จิตอวิชชาก็ดี ขันธ์ทั้งหลายก็ดี ไตรลักษณ์ทั้งสามก็ดี จะเป็นเป้าหมายและเป็นที่ทำงานของสติปัญญาขึ้นมาโดยหลักธรรมชาติ ปราศจากการกดขี่บังคับและความคาดคะเนใดๆ ทั้งสิ้น มีสติกับปัญญาเป็นผู้ทำหน้าที่ในวงแห่งธรรมทั้งสามไม่ขาดวรรคขาดตอนในความเพียร เช่นเดียวกับน้ำซับน้ำซึมอันไหล่รินอยู่ทั้งหน้าแล้งและหน้าฝน จนสามารถรื้อถอนอวิชชาอันเป็นรากเหง้าของทุกข์ออกจากใจได้โดยสิ้นเชิง เรื่องในไตรโลกธาตุที่เกี่ยวกับใจอันเป็นจุดรวมก็จะยุติลงในขณะเดียวกัน. ทีนี้จะขอกล่าวถึงบ้านของเรา บ้านในที่นี้คือตัวเรา.เมื่อดิฉันได้ฟังธรรมะ ของท่านพระอาจารย์จรัล ซึ่งท่านเป็นลูกศิษ ของหลวงปู่สังวาล เขมโก ท่านพระอาจารย์จรัล เป็นเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดดอยหลวงขุนวัง อยู่ที่อำเภอ สันป่าตอง เชียงใหม่ ดิฉันได้ไปปฎิบัติธรรมอยู่ที่นั่นหลายวันค่ะแต่ตอนนั้นก็พึ่งจะเข้าเรียน ก.ไก่ ข.ใข่ อยู่ แต่การไปคราวนั้นดูเหมือนว่าอยากไปเห็นอยากไปเที่ยวมากกว่า.เพราะที่นั่นสวยมากอยู่บนดอยสูงรถเล็กๆขึ้นไม่ได้ แต่ท่านพระอาจารย์ท่านมีเมตตามากให้คนเอารถใหญ่มารับข้างล่าง วันต่อมาท่านได้ให้ธรรมะเรื่องบ้านของเราฟังไปใจมันก็คิดว่าเรารู้ดีว่าบ้านเราเป็นอย่างไร ทำไมท่านมาเทศเรื่องนี้ แต่ฟังไปฟังมามันไม่ใช่บ้านที่เราอาศัยอยู่กินหลับนอน แต่มันเป็นบ้านในตัวเรา ซึ่งมีแต่สิ่งที่ไม่ดี มีแต่ขี้ ทั้งนั้น มีขี้หู ขี้ตา ขี้ปาก ขี้ฟัน ขี้หัว ขี้เล็บ ขี้มูก มีแต่ขี้ ที่เราเห็นอยู่ข้างนอกข้างในยังมีอีกมากมายจะไม่เอ๋ยถึงแล้วนะเพราะปัญญามันเกิดแล้ว และมันก็ทะลุปุโป่ง ร้องอ่อเลยล่ะทีนี้ หลังจากนั้นมาดิฉันก็จะเอาบ้านของฉันเองมาเป็นการปฏิบัติจนถึงทุกวันนี้. และแล้วดิฉันก็ได้รับฟังธรรมะของ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน เรื่องมีจุดไดบ้างในส่วนร่างกายที่เราถือว่าเป็นของเรา โดยการเสกสรรปั้นยอเอาเอง โดยไม่คำนึงว่า ร่างนี้เป็นสถานที่อยู่หรือเรือนของทุกข์เต็มไปหมดไม่มีอวัยวะส่วนใดจะเป็นอิสรภาพปราศจากไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา ที่ฝั่งจมอยู่ในนั้น และมีอยู่ตลอดกาล ผู้ใช้สติปัญญาพนิจพิจารณาจะไม่เลือกกาล สถานที่แง่ความรู้ที่จะเกิดขึ้นจากการพิจราณา ต้องรู้ต้องเห็นกายที่ท่านเรียกว่า ก้อนสัจธรรม หรือ กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน.ธรรมะนี้หลวงตาได้เทศเพื่อสั่งสอนลูกหลาน เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2508 ขอกราบขอบพระคุณพ่อแม่ครูอาจารย์ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน.หลวงปู่สังวาล เขมโก และท่านพระอาจารย์จรัลด้วยเจ้าค่ะที่ให้ธรรมะเปิดทางให้ลูกได้มีปัญญา สาธุ สาธุ สาธุอนุโมทามิ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม ​

    "สักกายทิฏฐิ"
    ความกลัวทุกสิ่งทุกอย่างก็ลงที่สักกายฏิฐิตัวเดียว
    ในเวลาหิว ในเวลาป่วย ในเวลาหนาว ในเวลาร้อน
    อะไรมันหิว มันป่วย มันร้อน มันหนาว
    เป็นเรื่องของกายทั้งสิ้น
    ไม่ใช่เรื่องของจิต

    "นิพพานัง ปรมัง สุขัง"
    นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    สาวก พุทธบุตรทั้งหลาย
    หรือ ผู้ใดอยากจะเป็นลูก เป็นหลานของพระพุทธเจ้านั้น


    จะต้องเป็นผู้ที่มีปัญญาเลิศ มิใช่เลิศด้วยฤทธิ์เดชต่างๆ
    เพราะพระพุทธองคืไม่ทรงสรรเสริญ
    พระพุทธองค์ท่านสรรเสริฐให้เราสร้างสติก่อน ปัญญาจึงจะตามมาทีหลัง
    และใช้สติปัญญานี้ เข้าไปชำระล้างกิเลสขนาดหยาบ กลาง และละเอียดของตนเองต่อไป
    แต่ชำระล้างกิเลสอย่างหยาบ เช่น สติหรือศีล
    ก็คือความตั้งใจของผู้กระทำดีหรือคุณสมบัติของคนดี
    ชำระกิเลสขนาดกลาง เช่น สมาธิหรือฌาน
    ส่วนชำระกิเลสขนาดละเอียด เช่น จิตเราจะต้องสอบให้ผ่านวิปัสสนาญาณหรือปัญญาญาณ

    เพราะฉะนั้นพวกเราจะต้องเจริญอยู่ด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา เท่านั้น
    และเจริญรอยตามภารกิจของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ นั่นก็คือ เจริญมหาเมตตา
    คือ พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์นั้น ต้องการให้พวกเราออกจากทุกข์ตนเองก่อน
    แล้วค่อยพาผู้คนอื่นออกจากทุกข์ตามเรา
    เมื่อตัวเราเองและคนอื่น ต่างพากันออกจากทุกข์กันได้แล้ว
    ค่อยนำพากันออกจากสังสารวัฎในภายหลัง

    แต่ผู้ที่จะได้อย่างนั้นได้ จะต้องเป็นผู้ที่มีจิตแบบ พระโพธิสัตว์
    ก็คือ สงเคราะห์ผู้อื่น หรือ ทำเพื่อพระพุทธศาสนา หรือ ทำเพื่อคนอื่นๆ
    ไม่ใช่ทำเพื่อตนเอง และทำไปก็มิได้หวังผลอะไร หรือ ไม่ไปหวังผลประโยชน์ของผู้อื่น แต่อย่างใด
    ลองถามใจตนเองกันดูนะว่า...
    จิตใจของตนเอง เป็นแบบปุถุชน หรือ พระโพธิสัตว์

    (จิตปุถุชน ทำำเพื่อตนเองเป็นส่วนใหญ่)
    (จิตพระโพธิสัตว์ ทำเพื่อคนอื่นเป็นส่วนใหญ่)

    สัมปติสฉามิ นาสังสิโม
    พรหมมา จะมหาเทวา สัพเพยักขา พรายันติ
    พรหมมา จะมหาเทวา อภิลาภา ภวันตุเม
    มหาปุณโย มหาลาโภ ภวันตุเม มิเตพาหุหติ
    พุทธะมะอะอุ นะโมพุทธายะ
    วิระทะโย วิระโคนายัง วิระหิงสา วิระทาสี
    วิระทาสา วิระอิสถีโย พุทธัสสะ มานีมามะ
    พุทธัสสะ สวาโหม สัมปติสฉามิ.
    เพง เพง พา พา หา หา ฤา ฤา


    ขอให้ร่ำรวยทั้งทางโลกและทางธรรม
    ขอให้แคล้วคลาดจากเภทภัย หรือสิ่งไม่ดี ทั้งปวง
    ขอให้มีแต่สิ่งดีๆ เข้ามาหาลูกหลานของพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ด้วยเทอญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ธันวาคม 2012
  7. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089

    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    อย่าทำอารมณ์จิตให้หดหู่ไปกับอาการของขันธ์ ๕ นี้
    ทุกข์ของกายเป็นเรื่องของกาย ย่อมเป็นไปตามกฎของกรรม
    จักฝืนกายไม่ให้มีเวทนาย่อมไม่ได้



    ปล.เพราะฉะนั้น ผู้ใดยังละหรือตัดขันธ์๕ ไม่เด็ดขาด ก็ต้องทุกข์อยู่ร่ำไป
    เพราะจิตตนเองไม่ยอมรับความจริง
    ความจริงนั้น ก็คือ ขันธ์๕(ร่างกาย)นี้ เป็นสมบัติของโลก
    เพราะขันธ์๕นี้ เป็นที่อยู่ชั่วคราวของดวงจิตเท่านั้น

    แต่การจะละขันธ์๕ ได้นั้น จักต้องนำจิตไปเรียนรู้ความจริงเรื่อง อริยสัจจ์
    และไปเดินตามรรคมีองค์๘
    ไม่ใช่ให้เราไปวิ่งหาสุข วิ่งหนีทุกข์กัน
    เพราะความจริงเราหนีทุกข์ไม่พ้น ตราบใดพวกเรายังมีขันธ์๕
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ธันวาคม 2012
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม
    จงอย่าสนใจในคำพูดของบุคคลอื่น
    ให้รู้วาระจิตของตนเองเป็นสำคัญ
    เอาเท่านั้นเป็นพอ


    จงดูร่างกายเข้าไว้
    แล้วหมั่นพิจารณารูป-เวทนา-สัญญา-สังขาร-วิญญาณนี้ไม่ใช่เรา-ไม่ใช่ของเรา
    เราไม่มีในขันธ์ 5- ขั้นธ์ 5 ไม่มีในเรา
    ถ้าคิดได้อย่างนี้เป็นปกติจักไปที่ไหน จักอยู่ที่ไหน ก็เป็นสุข
    เพราะความห่วงใยอาลัยในขันธ์ 5 หรือ ร่างกายก็จักไม่มีเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ธันวาคม 2012
  9. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำสอนสมเด็จองค์ปฐม

    ดูพรหมวิหาร ๔ เอาไว้ให้ดี พยายามเจริญให้มากๆ
    หากมีสิ่งใดมากระทบทางทวารทั้ง ๖ หรืออายตนะสัมผัสทั้ง ๖
    หากจิตหวั่นไหวเกิดอารมณ์ ๒ พอใจกับไม่พอใจเข้า ก็ถือว่าสอบตก
    เพราะอารมณ์ทั้ง ๒ เกิดแล้วล้วนเป็นทุกข์
    ปิดกั้นความดี ในการตัดสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ โดยตรง


    ปล.อย่าไปหลงตามหาคนอื่น หรือ สิ่งอื่นๆ
    เพราะของจริงอยู่ที่ในจิต ในใจตนเอง ทั้งนั้น
    ไม่เชื่อก็ลองถามตนเองดูสิว่า..ทุกข์ของเราเกิดที่ไหน
    ความสุขเราอยู่ที่ไหน
    นั่นไง๊หล่ะ ชัดเจนไหม๊
     
  10. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ปล่อยให้กายนอนพักผ่อนเป็นเวลา
    คอยให้อาหารร่างกายเมื่อหิว
    คอยชำระร่างกายเมื่อสกปรก
    แม้นกระทั่ง อย่าลืมหน้าที่ของพ่อบ้านหรือแม่บ้านที่ดี

    แต่สำคัญที่สุดของคนเราก็คือ จิตใจ
    เพราะฉะนั้น เจ้าของดวงจิตจะต้องนำมาเรียนรู้ธรรมะ
    หรือ มารู้ความจริงของชีวิต
    เพื่อป้องกันความหลง หรือ มีความเห็นผิด(จิตเป็นมิจฉาทิฎฐิ)

    สรุปแล้ว
    เราจะต้องดูร่างกายให้ดีที่สุดไปจนกว่าจะหมดอายุขัย
    โดยเฉพาะดูแลจิตใจให้ดีๆ
    โดยนำจิตไปฝึกฝน หรือ ปฎิบัติธรรมกันซะนะ
    แต่ถ้าไม่ เราเองก็จะสงสัยอยู่แบบนั้น
    และจะทุกข์อยู่อย่างนั้น เพราะไม่เข้าใจตนเอง
    ก็เลยพาลว่าคนอื่นที่ทำให้เราเป็นทุกข์
    เห็นไหม๊? ยังไม่ได้ทันตั้งหลักเลย เริ่มทำผิดศีลละเอียดกันแล้ว
    ก็คือ ไปล่วงเกินผู้อื่นแล้ว คือ คิดไปเพ่งโทษคนอื่นแล้ว
    พวกเรารู้ตัวกันบ้างไหม?
     
  11. PlaiifarPP

    PlaiifarPP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    50
    ค่าพลัง:
    +1,194
    เจตสิก

    เจตสิก หมายถึง ธรรมชาติชนิดหนึ่งซึ่งประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิตให้มีความเป็นไปต่าง ๆ อาการที่ประกอบกับจิตนั้น มีลักษณะ 4 ประการ คือ
    - เกิดพร้อมกับจิต
    - ดับพร้อมกับจิต
    - มีอารมณ์เดียวกับจิต
    - อาศัยวัตถุเดียวกับจิต

    จิตและเจตสิกที่อิงอาศัยกันนี้ ถ้าเปรียบจิตเป็นน้ำ เจตสิกเป็นสีแดง ผสมกันเป็นน้ำแดง เมื่อผสมกันแล้วไม่สามารถแยกน้ำออกจากสีแดงได้ฉันใด จิตและเจตสิกก็ไม่สามารถแยกออกจากกันเป็นอิสระได้ฉันนั้น สภาวธรรม รวม 4 ประการของเจตสิก มีดังนี้
    -ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
    -กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
    -ผลงานของเจตสิกคือ เป็นอารมณ์ของจิต
    -เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

    เจตสิกนี้แม้ว่าจะเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ให้จิตมีพฤติกรรมเป็นไปตามลักษณะของเจตสิกก็ตาม แต่ก็ต้องถือว่าจิตเป็นใหญ่ เป็นประธาน เพราะเจตสิกเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยจิตเกิด
    ไม่ว่าจะเป็นความพอใจ ความไม่พอใจ ความรัก ความเกลียด ความสงบ หรือฟุ้งซ่าน ล้วนเป็นคุณสมบัติของเจตสิกทั้งสิ้น แต่เจตสิกเกิดขึ้นเอง และแสดงพฤติกรรมเองไม่ได้ ต้องอาศัยจิตเป็นตัวแสดงพฤติกรรมแทน
    เจตสิกสามารถแยกเป็นขันธ์ ได้ 3 ขันธ์คือ เวทนาเจตสิกเป็นเวทนาขันธ์ สัญญาเจตสิกเป็นสัญญาขันธ์ สังขารเจตสิกสังขารขันธ์

    เจตสิก 52 แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

    1. อัญญาสมานาเจตสิก 13 เจตสิกที่เป็นได้ทั้งกุศลและอกุศล
    1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง )

    1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ )
    2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ )
    3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ )
    4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ )
    5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว )
    6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง)
    7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ )

    2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เกิดกับจิตทั่วไปได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง)

    8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ )
    9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ )
    10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ )
    11. วิริยะ (ความเพียร)
    12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ )
    13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ )



    2. อกุศลเจตสิก 14 เจตสิกฝ่ายอกุศล
    1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง )

    14. โมหะ (ความหลง) ความโง่เขลา ความเข้าใจผิด เชื่อตามข้อมูลที่ผิดๆ
    15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป )ไม่ละอายต่อการทำชั่ว
    16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป) การกระทำความชั่วโดยไม่หวั่นกลัวต่อบาปกรรม
    17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ความคิดมากฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ

    2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต )

    18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ ) ความต้องการในสิ่งยั่วยุไม่รู้จักเต็ม
    19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด ) ความเห็นที่ทำให้ตนหลงยึดติดอย่างเหนียวแน่น
    20. มานะ (ความถือตัว) ความหยิ่งทะนงตนจนไม่ยอมรับคำแนะนำจากใคร
    21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย ) ความหงุดหงิดโมโหร้ายพยาบาทหรืออาฆาต
    22. อิสสา (ความริษยา) ความริษยาในใจอยากได้เหมือนของผู้อื่น
    23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ ) ตระหนี่หวงแหนยึดไว้แต่ผู้เดียวจนไม่เกิดคุณ
    24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ) ความกลุ้มใจ กังวลใจ กระวนกระวายใจ ร้อนใจ
    25. ถีนะ (ความหดหู่ ) ความหดหู่ เศร้าซึม ง่วงซึม จิตตก หมดกำลังทำงาน
    26. มิทธะ (ความง่วงเหงา ) ความท้อแท้ ถอดใจ หมดกำลังใจ
    27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย) ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจในคำสอนที่จะปฏิบัติตาม



    3. โสภณเจตสิก 25 เจตสิกฝ่ายดีงาม
    1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง )

    28. สัทธา (ความเชื่อ ) มีความมั่นใจในคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างมั่นคง
    29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ ) มีสติสัมปชัญญะอยู่อย่างไม่ประมาททั้งในเวลาจุติ (จุติแปลว่าตายนะคะ)
    30. หิริ (ความละอายต่อบาป ) ละอายต่อการทำชั่ว
    31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป) เกรงกลัวต่อบาปที่จะตามมาจากการกระทำของดัว
    32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์) ความโลภลดลง ไม่ต้องการตามสิ่งยั่วยุ
    33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย ) ความโกรธลดลง ไม่หงุดหงิดโมโหร้าย
    34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ ) จิตนิ่งเฝ้าสังเกตอยู่กับสิ่งที่ทำโดยไม่วอกแวก
    35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก) ผิวพรรณผ่องใส มีราศีดี ร่างกายไม่เกร็งตัว
    36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต ) จิตใจผ่องใส สุขภาพจิตดี สบายใจ
    37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก) ตัวเบา กายเบา ร่างกายผ่อนคลายทุกสัดส่วน
    38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต ) สบายใจ มีจิตร่าเริงเบิกบาน ไม่เคร่งเครียดในใจ
    39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก ) ร่างกายอากัปกิริยานุ่มนวลอ่อนโยน ไม่แข็งกระด้าง
    40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต ) จิตใจดีนุ่มนวลมีอัธยาสัยดี มีเมตตาจิต
    41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก ) ร่างกายเหมาะกับงานทุกอย่าง
    42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต ) จิตใจเหมาะกับการใช้งานทางสมอง
    43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก) ร่างกายทำงานได้คล่องแคล่วว่องไว
    44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต) มีความคิดรวดเร็วลึกซึ้งละเอียดในทุกเรื่อง
    45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก )คล่องแคล่ว มั่นคงอยู่กับการฝึกนั้นๆได้
    46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต) จิตมุ่งตรงไปกับสิ่งที่คิดอย่างมุ่งมั่น ไม่เสียสมาธิ

    2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น)
    47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) การพูดมีความสุภาพนุ่มนวล ไม่ไร้สาระ
    48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ) พฤติกรรมดี ไม่ก่อโทษให้ใครๆ
    49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ) มีการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่ทุจริตฉ้อโกง

    3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา)
    50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ ) มีความสงสารและช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความลำบาก
    51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข ) พลอยมีใจยินดีด้วยกับผู้อื่นที่ได้ดี ไม่ริษยา

    4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ )
    52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง ) ปัญญาที่รู้ความจริงของชีวิตได้อย่างถูกต้อง




    จิตกับเจตสิกเป็นคนละตัวกัน
    อารมณ์จิตตนเองก็คือเจตสิกหรือตัวถูกรู้
    ตัวรู้นั้นๆก็คือ จิตที่นิ่ง ที่มีสติ+ปัญญา หรือ จิตปัญญา
    จิตไม่นิ่งก็ดูเจตสิกไม่ได้ จิตปัญญาเท่านั้นที่จะตามทันกิเลสหรือสิ่งที่มากระทบได้ชัดเจน
    สติมากเท่านั้นที่จะทำให้จิตนิ่ง หรือจิตมีปัญญามาก
    สติมากเท่านั้นที่จะตามจิตทัน ถ้าเรารู้เท่าทันเจตสิกก็คือเราเห็นเกิด-ดับของจิต

    จิตเป็นผู้ดูเท่านั้น รู้ว่าเป็นเจตสิกไม่ดี..ก็วาง รู้ว่าเป็นเจตสิกดี..ก็วางเหมือนกัน
    แยกกันให้ออกนะ แยกกาย แยกจิต ---> แยกอารมณ์จิต แยกจิต
    ง่ายๆคือรู้ว่าอะไรคือจิต อะไรที่ไม่ใช่จิตแท้ เท่านั้นแหละ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  12. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    '
    "การตำหนิผู้อื่น จะผิดหรือถูกก็เลวทั้งสิ้น"
    (พระราชพรหมยานมหาเถระ หลวงพ่อฤาษีวัดท่าซุง)


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    คำขอขมาพระรัตนตรัย ​

    (ท่องนะโม 3 จบ)

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเตฯ ​


    ถ้าหากข้าพเจ้า(ชื่อ) จงใจหรือประมาทพลาดพลั้ง เคยกระทำความผิด หรือล่วงเกินใดๆ ต่อพระรัตนตรัย อันได้แก่
    พระพุทธ มีสมเด็จพ่อองค์ปฐมต้น สมเด็จองค์ปฐมปัจจุบัน องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระธรรม และพระสงฆ์ มีพระอรหันต์ทุกๆพระองค์หรือพระอริยเจ้าทุกๆองค์ ได้แก่ พระเดชพระคุณพระราชพรหมยาน เป็นต้น
    ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมไปถึงผู้มีพระคุณทุกๆท่าน มีครูบาอาจารย์ บิดามารดา และเจ้ากรรมนายเวร
    จะด้วยทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี หรือ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาติ
    ขอได้โปรดอโหิกรรม แก่ข้าพเจ้าด้วย หากข้าพเจ้ามีเจ้าของในตัวติดตามมาขออนุญาติมีคู่ มีครอบครัวได้เหมือนคนปกติทั่วไป
    ขอถอนคำอธิษฐาน คำสาบานใดๆ ที่จะติดตามคู่ในอดีตชาติ ขอให้ต่างฝ่ายต่างเป็นอิสระต่อกัน
    หากมีผู้ใดเคยสร้างเวร สร้างกรรมกับข้าพเจ้า ไม่ว่าจะภพใดชาติใดก็ตาม ข้าพเจ้ายินดีอโหสิกรรมให้ทั้งหมด
    ขอถอนความอาฆาต ความพยาบาท และคำสาปแช่งในทุกชาติทุกภพ
    ขอให้ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากคำสาผคำสาปแช่งของปวงชน ของเจ้ากรรมนายเวร ขอให้พ้นนรกภูมิ พบแต่แสงสว่างทั้งทางโลกและทางธรรม
    ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรบารมีมาดีแล้ว จงเป็นเกราะแก้วกำบังกายและใจของข้าพเจ้า พ้นทุกข์ พ้นโรคภัย อุปสรรค์หรืออันตรายใดๆ อย่าได้มาแพ้สพานแม้แต่เล็กน้อย ผู้ใดมีจิตคคิดร้าย หรือ คิดไม่ดีต่อข้าพเจ้า ก็ขอให้กลับร้ายกลายเป็นดี หรือผู้ที่เคยมีมิจฉาทิฎฐิ ก็ขอให้กลับกลายเป็นสัมมาทิฎฐิ
    ได้โปรดอดโทษ ให้แก่ข้าพระพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน ด้วยเทอญ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ขออีกทีๆ ธรรมะถูกจริต
    โมทนาสาธุๆๆ
     
  15. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    สังขารา


    ธรรมบรรยายอบรมสมาธิ
    ณ วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๖
    โดย
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ


    "สังขาร" แปลว่า "ความปรุงแต่ง"
    เราจำเป็นจะต้องเีรียนรู้ในเรื่องของสังขารให้รู้แ้จ้งเห็นจริง
    และรู้เท่าทันมันด้วย

    "สังขารโลก" ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ
    ความปรุงแต่งอันนี้เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป

    "สังขารธรรม" ได้แก่ ตัวเราเอง คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ
    เกิดแล้วก็เสื่อมไปเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อเรามีให้รีบใช้ให้เกดประโยชน์เสีย
    มิฉะนั้นมันจะกลับมาฆ่าเราเอง

    "สังขารธรรม" ก็อาศัยความปรุงแต่งส่งอาหารไปเลี้ยง
    เช่น ข้าวก็บำรุงธาตุดิน พริก บำรุงธาตุไฟ
    ขิง ข่า กระเทียม ไพล บำรุงธาตุลม

    สังขารนี้แบ่งออกเป็นสอง คือ รูปธรรม กับ นามธรรม
    ถ้าเราไม่ดัดแปลงแก้ไขมัน ก็เป็น "ธรรม" อยู่เฉยๆ
    ถ้าเราตกแต่งขัดเกลา มันก็สูงขึ้น ดีขึ้น
    เหมือนก้อนดินที่เรารู้จักใช้ ก็อาจมาทำเป็นหม้อหุงข้าวต้มแกงได้
    สูงขึ้นกว่าหม้อก็ทำเป็นกระเบื้องสำหรับมุงหลังคา
    ถ้าเราเคลือบสีด้วยก็ยิ่งมีราคาขึ้นอีก
    ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะมีปัญญารู้จักดัดแปลงของนั้นๆก็จะมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม

    "ตัวเรา" เปรียบเหมือนต้นไม้
    "ความยึดถือ" คือ เถาวัลย์
    ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา
    ยินดีในเสียงมันก็มัดหู ฯลฯ
    ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
    เมื่อเราถูกมันมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย
    บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี

    "ผู้ไม่มีความยึดถือ" ย่อมจะเข้าถึง "พุทธะ" มีอายุยืนไม่ตาย
    พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมาตั้งสองพันกว่าปี
    คนก็ยัง "สาธุ สาธุ" อยู่
    พระองค์ไม่ตอ้งการในวัตถุหรืออามิสใดๆ ตอบแทนเลย
    นอกจาก "ปฏิบัติบูชา"
    เหมือนกับตัวอาตมาเอง ก็ไม่อยากได้อะไรเป็นส่วนตัวเลย
    นอกจากจะมุ่งให้คนอื่นดีแท้ๆ
    ต้องการให้เขาทำจิตใจให้เป็นสมบัติของเขาเอง

    คนที่ไม่ทำหัวคันนาไว้ให้ดี น้ำก็จะพัดเข้านาพังหมด
    เรียนแล้วไม่ปฏิบัติ ไม่มีเครื่องมือพอ กิเลสมาตึงเดียวก็ล้มพินาศหมด
    จึงให้หมั่นหัดทำไว้บ่อยๆ จะได้เป็นนิสัย ตัวก็เบา ใจก็เบา
    ใครมาบอกบุญก็ไม่หนักอกหนักใจ ไม่กลัวยากกลัวจน

    "พรหม ๔ หน้า" คือ "เมตตา" ได้แก่ "ปฐมฌาณ"
    "กรุณา" ได้แก่ "ทุตยฌาณ"
    "มุทิตา" ได้แก่ "ตติยฌาณ"
    "อุเบกขา" ได้แก่ "จตุตถฌาณ"
    แต่เหล่านี้ก็เป็นเพียงกระพี้หรือเปลือก
    ต้องทำให้สุดยอดถึงจะถึงแก่น คือ "พระนิพพาน"

    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จที่ใจ ไม่ใช่ปฏิบัติที่ภายนอก
    คือ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ศีล บริสุทธิ์ก็พ้นทุกข์กาย
    สมาธิ พ้นทางวาจาไม่ต้องพูดพล่าม สงบปากสงบคอ
    ปัญญา พ้นทุกข์ใจ

    "ความยึดถือ" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษภัย
    ผู้ไม่มีปัญญาย่อมเห็นสังขารเป็นตัวเป็นตนและยึดถือไว้ไม่ปล่อยวาง

    "สติ" คือ ตัว "มรรค"
    จะอยู่ในอารมณ์ดีหรือชั่วก็ตาม ขอให้มีสติอยู่เป็นใช้ได้

    จิตที่พ้นโลก คืออยู่เหนือเหตุเหนือผล หมายถึงอารมณ์ ๕ ด้วย

    ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย
    ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ เหมือนคนที่เอามีดไปฟันเขาตาย
    เขาจะไม่จับมีดลงโทษ แต่เขาจะต้องจับคนที่ฆ่าไป

    "กายสุข" ระงับเวทนา "ใจสุข" ระงับนิวรณ์


    คัดลอกจากหนังสือ
    แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม
    โดย ชมรมกัลยาณธรรม
    ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
    กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๘๕-๘๙


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  16. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ตามหาธรรม จนสุดหล้าฟ้าเขียว ธรรมนั้นอยู่หนใด?

    .
    การดูกิเลสและแสวงธรรม ท่านทั้งหลายอย่ามองข้ามใจ
    ซึ่งเป็นที่อยู่ของกิเลสและที่สถิตอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย

    กิเลสก็ดี ธรรมก็ดี มิได้อยู่กับกาลสถานที่ใด ๆ ทั้งสิ้น
    แต่อยู่ที่ใจดวงรู้ ๆ นี้เท่านั้น

    การแก้กิเลสที่อื่นและแสวงหาธรรมที่อื่น
    แม้จนวันตายก็ไม่ก็ไม่พบสิ่งดังกล่าว

    ตายแล้วเกิดเล่า ก็จะพบแต่กิเลสที่เกิดจากใจ
    ซึ่งกำลังเสวยทุกข์เพราะมันนี้เท่านั้น

    แม้ธรรมถ้าแสวงหาที่ใจ ก็จะมีวันพบ
    โดยลำดับของความพยายาม...



    (ปฏิปทาพระธุดงค์กรรมฐาน
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  17. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    ถ้าเชื่อก็โง่

    ถ้าเชื่อก็โง่ (ธรรมหลวงพ่อชา สุภทฺโท)
    โดย พระไพศาล วิสาโล

    เมื่อ หลวงพ่อชา สุภทฺโท ก่อตั้งวัดหนองป่าพงเมื่อปี ๒๔๙๗ นั้น ท่านยังไม่เป็นที่รู้จักกว้างขวาง แต่ในชั่วเวลาไม่ถึงสิบปี กิตติศัพท์ของท่านก็เป็นที่เลื่องลือในหมู่ผู้ปฏิบัติธรรม จนต่อมาได้มีชาวต่างประเทศมาบวชและปฏิบัติกับท่าน ทั้งๆ ที่ท่านไม่สามารถพูดภาษาของเขาได้ แต่ปฏิปทาอันงดงามของท่าน รวมทั้งคำสอนที่ง่ายแต่ลึกซึ้ง ก็สามารถจูงใจให้เขาเกิดศรัทธาในพระรัตนตรัยและทุ่มเทให้กับการปฏิบัติแม้มีข้อวัตรที่เข้มงวดก็ตาม

    อย่างไรก็ตามในสายตาของคนไทยจำนวนไม่น้อย หลวงพ่อชาคือพระเกจิอาจารย์ที่มีอิทธิปาฏิหาริย์ ดังนั้น จึงมีคนมาถามท่านเรื่องทำนองนี้เสมอ แต่มักได้คำตอบที่คาดไม่ถึง

    ครั้งหนึ่งมีคนถามท่านว่า “เขาว่าหลวงพ่อเป็นพระอรหันต์ เป็นจริงเหาะได้หรือเปล่า”

    ท่านตอบว่า “เรื่องเหาะบินนี่ไม่สำคัญหรอก แมงกุดจี่มันก็บินได้”

    ครูคนหนึ่งถามท่านว่า จริงหรือไม่ที่พระอรหันต์สมัยพุทธกาลสามารถเหาะเหินเดินอากาศได้ คำตอบของท่านก็คือ “ถามไกลตัวเกินไปแล้วล่ะครู มาพูดถึงตอสั้นๆ ที่จะตำเท้าเรานี่ดีกว่า”

    คำถามอีกประเภทหนึ่งที่ท่านได้รับเป็นประจำก็คือ “ชาติหน้ามีจริงไหม”

    ท่านไม่ตอบ แต่ถามกลับว่า “ถ้าบอกจะเชื่อไหมล่ะ”

    “เชื่อครับ”

    “ถ้าเชื่อคุณก็โง่” คือคำตอบของท่าน

    แล้วท่านก็อธิบายว่า
    “ที่คุณเชื่อเพราะคุณเชื่อตามเขา คนเขาว่าอย่างไร คุณก็เชื่ออย่างนั้น คุณไม่รู้ชัดด้วยปัญญาของคุณเอง คุณก็โง่อยู่ร่ำไป ทีนี้ถ้าอาตมาตอบว่า คนตายแล้วเกิดหรือว่าชาติหน้ามี อันนี้คุณต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้ามีพาผมไปดูหน่อยได้ไหม เรื่องมันเป็นอย่างนี้ มันหาที่จบลงไม่ได้ เป็นเหตุให้ทะเลาะทุ่มเถียงกันไปไม่มีที่สิ้นสุด”

    แล้วท่านก็แนะว่า
    “คนตายแล้วจะเกิดหรือไม่เกิด อันนั้นไม่ใช่ปัญหา มันไม่ใช่หน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราคือ เราจะต้องรู้เรื่องราวของตนในปัจจุบัน เราต้องรู้ว่า เรามีทุกข์ไหม ถ้าทุกข์ มันทุกข์เพราะอะไร นี้คือสิ่งที่เราต้องรู้ และเป็นหน้าที่โดยตรงที่เราจะต้องรู้ด้วย”


    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.. สาธุสวัสดี
     
  18. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151

    ให้เราท่านทั้งหลายพึงฝึกสติของตน
    จะได้เป็นเกราะ ป้องกันอารมณ์เข้ามาสู่จิตใจของเรา


    ธรรมชาติทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป อารมณ์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน เป็นของที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แต่สิ่งที่มันยังคงอยู่ แล้วมันไม่ค่อยจะดับ นั่นคือจิตที่เข้าไปยึด จิตที่เข้าไปข้องเกี่ยว ไปพัวพันอยู่กับอารมณ์หลายอย่างที่เข้ามากระทบเรา บางครั้งกระทบยามเช้า แล้วก็ยังกระเทือนถึงยามค่ำคืน บางครั้งกระเทือนไปสองวันสามวัน ให้หวนให้นึกถึงอารมณ์เหล่านั้น กลายเป็นว่าจิตนี้หลงอารมณ์ เป็นทาสอารมณ์เหล่านั้นไม่รู้เนื้อรู้ตัว

    ให้เราท่านทั้งหลายพึงฝึกสติของตน จะได้เป็นเกราะ เป็นเครื่องกำบัง ต้านทาน ป้องกันอารมณ์ทั้งหลายที่เข้ามาสู่จิตสู่ใจของเรา อารมณ์ที่ยินดีก็ตาม อารมณ์ที่ยินร้ายก็ตาม ทั้งสองอย่างนี้ก็เป็นโลกธรรมทั้งคู่ เป็นของที่นำมาซึ่งความทุกข์ เมื่อเราเข้าไปเสพความสุขในโลกธรรมแล้ว มันก็ติดความสุขเหล่านั้น วิ่งแสวงหาดิ้นรนด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อต้องการสุขในโลกนี้ แท้ที่จริงมันเป็นยาเสพติด เมื่อเสพเข้าไปแล้วก็จะหลงงมงาย เป็นเบี้ยรับใช้โลก หาแต่ความสุขในโลกนี้ ทั้งๆ ที่โลกนี้แท้ที่จริงแล้วไม่มีความสุขเลย มีแต่ความทุกข์ที่เกิดขึ้น แล้วดับไป ความดับไปของความทุกข์จึงเรียกว่าสุข

    แต่ความเป็นจริงแล้ว โลกนี้มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป เหมือนอย่างว่าเราหิวข้าวเรากินข้าวก็เพื่อดับความหิว แล้วความหิวนั้นดับไปตลอดไหม ก็ไม่ตลอด สุดท้ายเราก็กินกัน กินจนหมดเนื้อหมดตัวก็ยังไม่อิ่ม ก็ยังไม่หยุดในการกิน จึงว่าความอิ่มในโลกไม่มี มีแต่ความหิวเท่านั้นที่เกิดขึ้น ความหิวเท่านั้นที่ดับไป แล้วก็เกิดขึ้นอีก ไม่มีความอิ่มในโลก...

    ฉะนั้นเราจะหาความสุขในโลกได้อย่างไร มันไม่มี ถ้าเราต้องการความสุขต้องหาที่ใจของเรานี้

    ตอนหนึ่งของพระธรรมเทศนา เรื่อง อิ่มใดในโลก
    โดย หลวงพ่อครูบาเจ้าเพชร วชิรมโน

    ขออนุโมทนาในธรรมทานจาก
    http://www.facebook.com/paron.yodkraisri
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 ธันวาคม 2012
  19. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089

    สวัสดีครับคุณหมอ
    ขอโมทนาสาธุกับธรรมาทานด้วยครับ

    สุขภาพร่างกายเป็นยังไงบ้าง?
    ยังเป็นห่วงเช่นเคย
    ขอให้หายไวๆนะครับ
    ขอเป็นกำลังใจให้คุณหมอตลอดไปนะครับ
     
  20. pporjai

    pporjai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    8,909
    ค่าพลัง:
    +16,491
    ธรรมะจากบทเพลง...

    รักและมีเมตตา -พรหมวิหาร 4
    รักแบบไม่หลง..หัวปักหัวปำ..รักอย่างมีสติ รู้ตัว..
    โลกอยู่ได้ด้วยรักและเมตตา หวังดีต่อกันและกันในฐานะเพื่อนมนุษย์ชาวโลก..


    ขอส่งความปรารถนาดีมายังเพื่อน ๆ ชาวจิตเกาะพระทุก ๆ ท่านค่ะ

    สิ้นคิด สิ้นโลก เหลือธรรม..

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.2391543/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • long9009.mp3
      ขนาดไฟล์:
      4.3 MB
      เปิดดู:
      348
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 9 ธันวาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...