พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    เอาธรรมะไปอ่านกันเน้อ....

    <center> [SIZE=+2]บทที่ 3[/SIZE]
    [SIZE=+2]ความรู้ที่ต้องเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติธรรม[/SIZE]

    </center>
    ก่อนการปฏิบัติธรรมเราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตให้ถูกต้องตามความเป็นจริงเสียก่อน เพราะตลอดทางของการปฏิบัติธรรม เราจะต้องละสิ่งที่เป็นสมมุติต่าง ๆ มาอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตแทน จึงจะเห็นธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิต อันเป็นความจริงที่ไม่ขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ ไม่ว่าอดีต ปัจจุบัน หรือในอนาคต ชาตินี้ ชาติหน้า หรือชาติไหน ๆ ณ ที่แห่งใดในโลกนี้ หรือโลกอื่น ความจริงนี้ก็ยังปรากฏอยู่อย่างนี้เสมอไม่เปลี่ยนแปลง ความจริงที่ว่านี้เรียกว่า ปรมัตถธรรม หรือ ปรมัตถสัจจะ ส่วนเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา และสถานที่เรียกว่า สมมุติสัจจะ
    ปรมัตถธรรมกล่าวถึงความจริงของชีวิตว่า ชีวิตประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ 5 ส่วน ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ 5 อันได้แก่
    1. รูป หมายถึง ร่างกาย
    2. เวทนา หมายถึง การรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง 6
    3. สัญญา หมายถึง ความจำ
    4. สังขาร หมายถึง การปรุงแต่
    5. วิญญาณ หมายถึง จิต หรือใจ
    รูป จัดเป็นรูปธรรม ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จัดเป็นนามธรรม รูปธรรม หมายถึง สสารและพลังงาน สามารสัมผัส จับต้องได้ ส่วน นามธรรม หมายถึง ธรรมชาติ อีกชนิดหนึ่งที่ไม่ใช่สสาร ไม่ใช่พลังงาน สัมผัสแตะต้องไม่ได้ แต่มีอยู่จริง ดังนั้นบางครั้งเราจึงเรียกชีวิตว่า ขันธ์ 5 รูป-นาม รายละเอียดเกี่ยวกับขันธ์ 5 มีดังนี้
    บางครั้งก็เรียกชีวิตว่า ​

    [SIZE=+2] 1. รูป[/SIZE]
    รูป หมายถึง ร่างกาย ซึ่งประกอบด้วยสสาร และพลังงาน มองเห็นได้ด้วยตาเป็นที่ตั้งของ ทวาร หรือ อายตนะ ต่าง ๆ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูปหรือร่างกายนี้สามารถเคลื่อนไหวไปตามคำสั่งของจิต เกิดเป็นท่าทางต่าง ๆ ได้ เช่น กายอยู่ในท่ายืน กายอยู่ในท่าเดิน นั่ง นอน ก้ม เงย เหยียด คู้ เป็นต้น คนเราทุกคนย่อมมีร่างกาย เทวดาก็มีกาย แม้สัตว์เดรัจฉานเช่นสุนัขก็มีกาย เพียงแต่มีลักษณะของการแตกต่างกันออกไป
    [​IMG]
    [SIZE=+2] 2. เวทนา[/SIZE]
    เวทนา หมายถึง การรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง 6 ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การรู้รส การสัมผัส การนึกคิด ถ้าได้รับอารมณ์ดี หรืออารมณ์ที่น่าพอใจ เรียกว่าได้รับ สุขเวทนา เช่น ได้ฟังเสียงดนตรีไพเราะ ได้รับคำชม ได้กินอาหารรสดี ได้กลิ่นหอม หรืออยู่ในที่อากาศเย็นสบาย เหล่านี้เรียกว่าได้รับสุขเวทนา ถ้าได้รับอารมณ์ไม่ดี ไม่น่าพอใจ เรียกว่า ได้รับ ทุกขเวทนา เช่น ได้ยินเสียงคนทะเลาะกัน ได้กินอาหารรสไม่ดี ได้กลิ่นเหม็น หรืออยู่ในอากาศร้อนอบอ้าว เหล่านี้เรียกว่าได้รับทุกขเวทนา ถ้าได้รับอารมณ์ที่เป็นกลาง ๆ ไม่สบายหรือไม่ลำบากเกินไป ก็เรียกว่าได้รับ อุเบกขาเวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นแต่ละทวาร มีดังนี้
    2.1 การเห็น เป็นการรับรู้อารมณ์ทางตา ปรากฏเป็นรูปหรือภาพ ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับรูปร่างหรือรูปทรงสัณฐานของภาพ สีสัน และความมืดความสว่างของภาพ
    2.2 การได้ยิน เป็นการรับรู้อารมณ์ทางหู ปรากฏเป็นเสียงมีลักษณะเป็น เสียงสูง-ต่ำ ดัง-ค่อย
    2.3 การได้กลิ่น เป็นการรับรู้อารมณ์ทางจมูกปรากฏเป็นกลิ่นต่าง ๆ
    2.4 การรู้รส เป็นการรับรู้อารมณ์ทางลิ้น ปรากฏเป็นรสต่าง ๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม ขม จืด เป็นต้น
    2.5 การสัมผัส เป็นการรับรู้อารมณ์ทางกาย ทำให้เกิดความรู้สึก เย็น ร้อน นุ่ม อ่อน แข็ง เจ็บ แสบ คัน ปวด เมื่อย เป็นต้น
    2.6 การนึกคิด เป็นการรับรู้อารมณ์ทางใจ ปรากฏเป็นความคิดต่าง ๆ
    คนเราทุกคนย่อมมีเวทนา เช่น เห็นได้ ได้ยินได้ เทวดาก็มีเวทนา เห็นได้ ได้ยินได้ แม้สัตว์เดรัจฉานเช่นสุนัขก็มีเวทนา เห็นได้ ได้ยินได้เช่นกัน เพียงแต่มีความสามารถในการรับรู้อารมณ์แตกต่างกัน เช่น สุนัขมีความสามารถในการฟังเสียงและการดมกลิ่นดีกว่ามนุษย์
    [SIZE=+2]3. สัญญา[/SIZE]
    สัญญา หมายถึง ความจำ เช่น จำชื่อตนเองได้ จำหน้าพ่อแม่ได้ จำได้ว่าเมื่อวานนี้ทำอะไร คนเราทุกคนย่อมมีสัญญา คือความจำ เทวดาก็มีความจำ แม้สัตว์เดรัจฉาน เช่นสุนัขก็มีความจำ เพียงแต่ความจำแตกต่างกัน บางคนก็มีความจำดี บางคนความจำไม่ดี จำอะไรไม่ค่อยได้
    [SIZE=+2]4. สังขาร[/SIZE]
    สังขาร หมายถึง สภาพที่มีการปรุงแต่ง เช่น ร่างกายของเราประกอบขึ้นจากอวัยวะต่าง ๆ คือ แขน ขา ตา หู ตับ ไต ฯลฯ ประกอบกันขึ้น จึงมีลักษณะเป็นร่างกายอย่างที่เห็น ฉะนั้นร่างกายก็เป็นธรรมชาติที่มีการปรุงแต่ง การปรุงแต่งที่เกี่ยวกับกายเรียกว่า กายสังขาร ที่เรามีความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ ก็เพราะมีเจตสิกปรุงแต่งจิต เช่น ขณะที่เรารู้สึกโกรธ ก็เพราะขณะนั้นมีโทสะเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตจึงโกรธ ขณะที่เรารู้สึกดีใจ ก็เพราะขณะนั้นมีโลภะเจตสิกปรุงแต่งจิต จิตจึงดีใจ ฉะนั้นจิตก็เป็นธรรมชาติที่มีการปรุงแต่ง การปรุงแต่งที่เกี่ยวกับจิตเรียกว่า จิตสังขาร คนเราทุกคนย่อมมีสังขาร เทวดาก็มีสังขาร แม้สัตว์เดรัจฉานก็มีสังขาร

    [SIZE=+2]5. วิญญาณ[/SIZE]
    วิญญาณ หมายถึง จิตหรือใจ ซึ่งมีหน้าที่สั่งให้กายทำงาน และทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ คนเราทุกคนย่อมมีจิต เทวดาก็มีจิต แม้สัตว์เดรัจฉานก็มีจิต
    การที่เราศึกษาความจริงของชีวิต ว่าชีวิตประกอบด้วยขันธ์ 5 นั้น อาจจะเข้าใจยากหรือทำความรู้สึกให้ตรงตามความเป็นจริงได้ยาก เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ เราอาจจะศึกษาในลักษณะที่ว่า ชีวิตประกอบด้วย กาย จิต และเจตสิก ดังนี้
    1. กาย ก็คือ ร่างกาย เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ เป็นที่ตั้งของทวารต่าง ๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ส่วนที่เป็นร่างกายไม่สามารถรับรู้อารมณ์ได้ ไม่สามารถทำงานได้เอง ต้องมีจิตคอยสั่งงานจึงจะทำงานได้
    2. จิต เป็นนามธรรม มองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง ทำหน้าที่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ และทำหน้าที่สั่งให้กายทำงาน เช่น สั่งให้หัวใจเต้น สั่งให้ตับไตทำงาน สั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวไปมาได้
    3. เจตสิก เป็นนามธรรม มองไม่เห็น แต่มีอยู่จริง เจตสิกมีหน้าที่ปรุงแต่งจิต แบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายดีหรือฝ่ายบุญ เรียก กุศลเจตสิก ฝ่ายชั่วหรือฝ่ายบาป เรียก อกุศลเจตสิก และฝ่ายกลาง ๆ
    3.1 กุศลเจตสิก มีหลายชนิด เช่น สติเจตสิก ปัญญาเจตสิก ศรัทธาเจตสิก ฯลฯ ขณะใดที่เราระลึกได้ แสดงว่าขณะนั้นมีสติเจตสิกปรุงแต่งจิต ขณะใดที่เรารู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง แสดงว่าขณะนั้นมีปัญญาเจตสิกปรุงแต่งจิต
    3.2 อกุศลเจตสิก ได้แก่กิเลสซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
    1). โลภะ คือความรู้สึกพอใจในอารมณ์ เช่น ชอบ อยากได้ ดีใจ สนุก สวย อร่อย มีตัณหา ขณะใดที่เรามีความรู้สึกเหล่านี้ แสดงว่าขณะนั้นมีโลภะเจตสิกปรุงแต่งจิต
    2). โทสะ คือความรู้สึกไม่พอใจในอารมณ์ เช่น ไม่ชอบ โกรธ เกลียด พยาบาท เสียใจ กลัว ประหม่า เบื่อ เซ็ง หงุดหงิด รำคาญ ไม่สวย ไม่อร่อย ขณะใดที่เรามีความรู้สึกเหล่านี้ แสดงว่าขณะนั้นมีโทสะเจตสิกปรุงแต่งจิต
    3). โมหะ คือความไม่รู้ หรือเข้าใจผิดในอารมณ์ เช่น ฟุ้งซ่าน เหม่อ ใจลอย เผลอ มีอวิชชา (การรู้สภาวธรรมผิดจากความเป็นจริง) ขณะใดที่เรามีความรู้สึกเหล่านี้ แสดงว่าขณะนั้นมีโมหะเจตสิกปรุงแต่งจิต
    3.3 เจตสิกฝ่ายกลาง ๆ มีหลายชนิด เช่น สัญญาเจตสิก (ความจำ) เวทนาเจตสิก (การรับรู้อารมณ์) วิริยเจตสิก (ความเพียร) ฯลฯ
    เจตสิกแต่ละอย่างจะผลัดกันปรุงแต่งจิต ตามเหตุปัจจัย เช่น เมื่อเรามองดอกกุหลาบแล้วรู้สึกสวย อธิบายได้ว่าที่เราระลึกได้ในภาพที่ปรากฏแก่สายตา ก็เพราะขณะนั้นมีสติเจตสิกและเวทนาเจตสิกปรุงแต่งจิต หรือเรียกว่ามีสติอยู่กับการเห็น ที่เรารู้ว่าเป็นภาพดอกกุหลาบ ก็เพราะขณะนั้นมีสัญญาเจตสิปรุงแต่งจิต ที่เรารู้สึกว่าสวยก็เพราะขณะนั้นมีโลภะเจตสิกปรุงแต่งจิต
    เราสามารถเลือกเจตสิกให้มาปรุงแต่งจิตได้โดยอาศัยความเพียรหรือความตั้งใจ เช่นถ้าเราต้องการให้สติปรุงแต่งจิต เราก็ต้องตั้งใจระลึกในอารมณ์ที่มากระทบ เช่น เวลามองก็ให้ตั้งใจมอง เวลาฟังเสียงก็ตั้งใจฟังเสียง ถ้าเราต้องการให้ปัญญาเจตสิกปรุงแต่งจิต เราก็ต้องตั้งใจมีสติอยู่กับปรมัตถ์
    ถ้าเราไม่ได้ตั้งใจเจตสิกที่มาปรุงแต่งจิตจะเป็นไปตามความเคยชิน เช่น ถ้าเราเป็นคนโกรธง่าย โทสะเจตสิกก็จะคอยปรุงแต่งจิตอยู่เสมอด้วยความเคยชิน แต่ถ้าเราปฏิบัติธรรมได้ผลก้าวหน้ามีสติสัมปชัญญะอยู่เสมอ ๆ เราก็จะเปลี่ยนเป็นคนโกรธยาก แม้เราอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไร โทสะเจตสิกก็เข้าปรุงแต่งจิตได้ยาก เพราะความไม่เคยชิน
    <center>[​IMG] [​IMG]
    [​IMG]
    </center>






    ถ้าดูโครงสร้างของชีวิตจะเห็นว่า กายเป็นกลาง ไม่ดี ไม่ชั่ว จิตก็เป็นกลาง ไม่ดีไม่ชั่ว ถ้าจิตถูกเจตสิกฝ่าชั่วคือกิเลสปรุงแต่งจิตก็จะชั่วด้วย เมื่อจิตชั่วสั่งให้กายทำงานกายก็ชั่วด้วย เช่น ที่เราถูกด่าแล้วรู้สึกโกรธจนหน้าแดงตัวสั่น เมื่อยั้งอารมณ์โกรธไม่อยู่ก็กำหมัดขึ้นชกหน้าคนที่ด่าเรา อธิบายได้ว่า ที่เรารู้สึกโกรธก็เพราะถูกโทสะเจตสิกปรุงแต่งจิต เมื่อจิตโกรธสั่งให้กายทำงาน กายก็จะทำงานผิดปรกติ ทำให้หน้าแดงตัวสั่น เมื่อจิตโกรธมากขึ้น ก็สั่งให้กายทำทุจริตเป็นความชั่ว คือ ชกตอบออกไป
    จิต และเจตสิก เป็นนามธรรม มองไม่เห็น เป็นของคู่กัน และมีธรรมชาติคล้ายกันคือ เกิดขึ้นพร้อมกัน ตั้งอยู่ที่เดียวกันและดับไปพร้อมกัน จิตและเจตสิกมีการเกิดดับเร็วมากนับล้านล้านครั้งต่อวินาที เมื่อจิตหนึ่งดับไปก็มีจิตใหม่เกิดขึ้นมาแทนอย่างต่อเนื่องมิได้ขาด ทำให้การรับรู้อารมณ์ของเรามีลักษณะต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลา ตำแหน่งที่จิตอยู่ก็เปลี่ยนแปลงไปไม่แน่นอน เช่น ขณะที่เราเห็นภาพแสดงว่าขณะนั้นจิตทำงานอยู่ที่ประสาทตา ขณะที่เราได้ยินเสียงแสดงว่าขณะนั้นจิตทำงานที่ประสาทหู ขณะที่เรากระดิกนิ้วแสดงว่าขณะนั้นจิตทำงานอยู่ที่นิ้ว จิตต้องทำงานตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ตลอดเวลาเพื่อให้ร่างกายดำรงชีวิตอยู่ได้ แม้ขณะหลับจิตก็ยังทำงานอยู่ เช่น สั่งให้หัวใจเต้น สั่งให้ปอดตับไตทำงาน เพียงแต่ไม่รับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ เท่านั้น
    ถ้าชีวิตของเราได้ตายลง ขณะตายจิตก็จะดับจากกายนี้ แล้วไปเกิดในกายใหม่ทันที จะไปเกิดเป็นอะไร อยู่ในภพภูมิใด มีความเป็นอยู่อย่างไร ก็ย่อมเป็นไปตามกฎแห่งกรรม ร่างเดิมเมื่อไม่มีจิตสั่งงานก็เน่าเปื่อยผุพังเปลี่ยนสภาพไป
    การศึกษาว่าชีวิตประกอบด้วยกาย-จิต-เจตสิกนี้ เป็นทฤษฎีที่ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างของชีวิตได้ถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตในอีกลักษณะหนึ่งเพื่อให้เหมาะสมกับการทำความรู้สึกในขณะที่ปฏิบัติธรรม คือเราจะมองโครงสร้างของชีวิตว่าประกอบด้วย กาย-จิต เท่านั้น โดยที่เราจะรวมเอาจิตและเจตสิกเข้าด้วยกัน เป็นจิต (ใจ) อย่างเดียว เช่น ขณะที่มีโทสะเจตสิกปรุงแต่งจิต เราจะทำความรู้สึกว่า จิตโกรธ จิตโลภ ไม่ต้องทำความรู้สึกว่าโลภะ เจตสิก ปรุงแต่งจิต ขณะที่มองเห็นภาพปรากฏอยู่ เราก็ไม่ต้องทำความรู้สึกว่าเวทนาเจตสิกกำลังปรุงแต่งจิต แต่ทำความรู้สึกว่า จิตเห็น ก็พอ ฉะนั้นเราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับชีวิตเสียใหม่ดังนี้
    ชีวิต ประกอบด้วย กาย-จิต (ใจ)
    - กาย เป็นรูปธรรม มองเห็นได้ กายสามารถเคลื่อนไหวได้ เป็นที่ตั้งของทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    - จิต เป็นนามธรรม มองไม่เห็น มีหน้าที่ 3 อย่าง คือ
    ไม่ต้องทำความรู้สึกว่าโทสะ เจตสิกปรุงแต่งจิต ขณะที่มีโลภะเจตสิกปรุงแต่งจิต เราก็จะทำความรู้สึกว่า
    1. มีเวทนา คือสามารถรับรู้อารมณ์ทางทวารทั้งหกได้ คือ
    1.1 มองเห็นรูปทางตา เป็นรูปทรงสีสันต่าง ๆ
    1.2 ได้ยินเสียงทางหู เป็นเสียง สูงต่ำ ดังค่อย
    1.3 ได้กลิ่นทางจมูก เป็นกลิ่นต่าง ๆ
    1.4 รู้รสทางลิ้น เป็นรส เปรี้ยว หวาน เค็ม จืด
    1.5 สัมผัสทางกาย เป็นเย็น ร้อน อ่อน แข็ง เจ็บ แสบ คัน
    1.6 นึกคิดทางใจ เป็นความคิดต่าง
    2. มีความรู้สึกเป็นบาปเป็นบุญได้ เช่น จิตโกรธ จิตโลภ จิตฟุ้งซ่าน จิตเผลอ จิตสงบ จิตสุข จิตทุกข์ จิตผ่องใส จิตหดหู่
    3. สั่งให้กายทำงานได้ เช่น สั่งให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงาน สั่งให้กายเคลื่อนไหวไปมาได้
    การทำงานของชีวิตจะเป็นไปตามขั้นตอบตามข้อ 1-2-3 เรียงกันเสมอ โดยปรกติเราจะได้รับเวทนา คือรับอารมณ์ทางทวารต่าง ๆ อยู่เสมอ (ข้อ 1) เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้นกับจิต จิตก็จะมีความรู้สึกที่เป็นบาปเป็นบุญ (ข้อ 2) แล้วก็สั่งให้กายทำงานตามสภาพจิตที่เป็นบาปเป็นบุญนั้น (ข้อ 3) ต่อเนื่องกันไปเสมอ ดังรูป
    [​IMG]
    เช่น เมื่อเราเดินไปเห็นไก่ย่าง ก็เรียกว่าได้รับสุขเวทนาในการเห็น เพราะได้รับอารมณ์ที่ดี ก็จะมีความรู้สึกอยากกิน จัดเป็นโลภะ จิตจึงสั่งให้กายเดินไปซื้อเพื่อสนองความอยากนั้น
    เมื่อเราได้ยินเสียงคนนินทา ก็เรียกว่าได้รับทุกขเวทนาในการได้ยิน เพราะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดี เราก็จะมีความรู้สึกโกรธ ไม่พอใจ จัดเป็นโทสะ จิตจึงสั่งให้กายทำชั่วเปล่งวาจาด่าว่าออกไป
    เราจะเห็นว่าชีวิตทุกชีวิต มีแต่กาย-ใจ เท่านี้เอง ไม่มีอะไรมากกว่านี้ เสื้อผ้าที่เราสวมอยู่ ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต ทรัพย์สินเงินทองที่เรามีอยู่ ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต บ้าน ที่ดิน ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต พ่อ แม่ ญาติ มิตร ก็เป็นเพียงชีวิตอื่น ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิตเรา ยศฐาบรรดาศักดิ์ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต สังคม ชาติ บ้านเมือง ก็ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของชีวิต ชีวิตมีแต่กายใจเท่านี้เอง นอกนั้นเป็นเพียงสมมุติทั้งสิ้น
    นอกจากนี้ความเป็น คน สัตว์ หญิง ชาย ฐานะ อาชีพการงานต่าง ๆ เช่น ความเป็นพ่อ แม่ ลูก เด็ก ผู้ใหญ่ เศรษฐี ยาจก พระ คนไทย คนฝรั่ง หมอ ครู ตำรวจ แม่ค้า เหล่านี้ก็เป็นเพียงสมมุติทั้งสิ้น
    ที่ว่า คน สัตว์ หญิง ชาย เป็นเพียงสมมุติก็เพราะลักษณะเหล่านี้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา และสถานที่ เช่น ถ้าชาตินี้เราเกิดมาเป็นคนผู้ชาย ความเป็นคน ความเป็นชายก็ปรากฏอยู่ แต่ถ้าชาติหน้าเราเกิดเป็นปลาตัวเมีย ความเป็นคนความเป็นชายก็ไม่ปรากฏอีกต่อไป มีแต่ความเป็นปลา เป็นสัตว์ เป็นตัวเมียที่เกิดขึ้นมาแทน แต่ไม่ว่าเราจะเป็นเกิดเป็นคนหรือสัตว์ชนิดใดก็ตาม กายก็ยังมีอยู่ จิตก็ยังมีอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลง ฉะนั้น จึงมีคำกล่าวที่ว่า คน สัตว์ หญิง ชายเป็นสมมุติ แต่กายใจเป็นปรมัตถ์
    มีการพิจารณาธรรมลักษณะหนึ่งที่ผมทำอยู่เป็นประจำในช่วงก่อนนอน คือขณะที่ผมนั่งอยู่ในมุ้ง ผมก็จะเอาสติอยู่ที่ร่างกายทั้งหมด แล้วพิจารณาสอนตนเองว่า ชีวิตมีแต่กายใจ เท่านี้เอง ไม่มีอย่างอื่นอีก ในวันหนึ่ง ๆ ชีวิตได้แต่ตื่นขึ้น เคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ รับรู้อารมณ์ทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางทวารอื่นบ้าง เมื่อได้รับอารมณ์ที่ดี คือมีสุขเวทนา ก็พอใจ เมื่อได้รับอารมณ์ที่ไม่ดี คือมีทุกขเวทนา ก็ไม่พอใจ เมื่อหิวก็กินอาหารเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ แล้วก็กลับมานอนพักผ่อน หมดไปวันหนึ่ง วันใหม่ชีวิตก็ตื่นขึ้นเคลื่อนที่ไปในที่ต่าง ๆ เสพอารมณ์ แล้วเกิดความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ตามอำนาจของกิเลสที่คอยปรุงแต่งจิตอยู่เสมอ เป็นเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกวันไม่มีเว้น ไม่ว่าตอนที่เราเป็นเด็กชีวิตของเราก็เป็นอย่างนี้ ตอนเป็นผู้ใหญ่ชีวิตก็เป็นอยู่อย่างนี้ แม้ตอนแก่ชีวิตก็ยังคงเป็นอยู่อย่างนี้ไม่เปลี่ยนแปลง
    ผมจะพิจารณาธรรมเช่นนี้อยู่เสมอ เพื่อให้มองเห็นภาพพจน์ของชีวิตได้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งยังช่วยลดการติดในสมมุติต่าง ๆ ได้ เช่น ถ้าเราอยากมีชื่อเสียง อยากร่ำรวย หรือมีความพอใจในฐานะความเป็นอยู่ของตน เมื่อพิจารณาธรรมเช่นนี้ ก็จะทำให้การติดในสมมุติต่าง ๆ เหล่านี้ลดลง
    ในการศึกษาเกี่ยวกับความจริงของชีวิตนี้ ไม่ใช่ศึกษาแบบท่องจำเหมือนกับท่องอาขยาน หรือท่องสูตรคูณ แต่จะต้องศึกษาทำความเข้าใจ เทียบเคียงให้มองเห็นจริง ๆ ว่าชีวิตที่แท้จริงเป็นอย่างนี้ เราอาจจะใช้วิธีดูของจริงแล้วถามตัวเองพร้อมกับหาคำตอบ เช่น พิจารณาดูชีวิตของเราแล้วถามตัวเองว่า กายมีอยู่จริงหรือไม่ แล้วหาคำตอบ ถ้าได้คำตอบว่ากายมีอยู่จริง ก็ถามดูซิว่ากายเป็นที่ตั้งของทวารทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จริงหรือไม่ ดูซิว่าจิตสั่งให้กายเคลื่อนไหวได้จริงหรือไม่ โดยการลองเคลื่อนไหว จิตสั่งให้หายใจ เปล่งเสียงได้จริงหรือไม่ โดยการลองหายใจ ลองพูด
    ดูซิว่าจิตรับรู้อารมณ์ทางทวารต่าง ๆ ได้จริงหรือไม่ โดยการเอาสติไปอยู่กับการเห็น ตั้งใจมองภาพที่เราชอบ เช่น ดอกไม้สวย ๆ แล้วถามตัวเองว่าจิตรับรู้อารมณ์ทางตาได้จริงหรือไม่ ปรมัตถ์คือรูปทรงสีสันในการเห็นมีอยู่จริงหรือไม่ สมมุติในการเห็นคือความรู้สึกว่าเป็นดอกไม้ มีอยู่จริงหรือไม่ กิเลสคือความรู้สึกชอบ พอใจ มีอยู่จริงหรือไม่
    ลองเอาสติไปอยู่กับการได้ยิน โดยการตั้งใจฟังเสียงเพลงที่เราชอบ แล้วถามตัวเองว่า จิตรับรู้อารมณ์ทางหูได้จริงหรือไม่ ปรมัตถ์คือเสียงสูงต่ำดังค่อย มีอยู่จริงหรือไม่ สมมุติ (คือความหมายในเสียงว่าเป็นเสียงเพลง เสียงคน เสียงผู้ชาย หรือผู้หญิง เนื้อความที่ร้อง) มีอยู่จริงหรือไม่ กิเลสคือความรู้สึกไพเราะ สนุก คึกคัก มีจริงหรือไม่ เวลาที่กิเลสเกิดขึ้นกับจิตแล้ว จิตสั่งให้กายทำงานผิดปรกติจริงหรือไม่ เช่น หัวใจเต้นแรงกว่าเดิมหรือไม่ มือเท้าขยับไปตามจังหวะหรือไม่
    เราลองเอาสติไปอยู่กับทวารอื่นบ้าง เช่น อยู่กับการสัมผัสทางกาย โดยการรับรู้ว่าอากาศร้อนเย็นอย่างไร ลองเอามือแตะน้ำแข็ง ดูซิว่าจิตรับรู้ความเย็นได้หรือไม่ ลองเอามือบีบแขนตนเองดูซิว่าจิตรับรู้ความนุ่มได้หรือไม่ ลองเอามือบีบเหรียญบาทดูซิว่าจิตรับรู้ความแข็งได้หรือไม่ ลองเอาสติอยู่กับการนึกคิดบ้างโดยนึกคิดถึงใบหน้าคนที่เรารู้จัก ลองนึกถึงภาพปากกา ลองนึกถึงตัว ก ดูสิว่าจิตสามารถรับรู้อารมณ์ทางใจหรือได้จริงหรือไม่
    เราลองดูชีวิตอื่นบ้าง เช่น มองดูคนอื่นแล้วถามตัวเองพร้อมกับหาคำตอบด้วยว่ามีกายอยู่จริงหรือไม่ มีจิตสั่งให้กายเคลื่อนไหวได้จริงหรือไม่ รับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ฯลฯ ได้จริงหรือไม่ มีกิเลสคือ ดีใจ เสียใจได้จริงหรือไม่
    เราลองมองดูสุนัขหรือสัตว์อื่น ๆ แล้วถามตัวเองพร้อมกับหาคำตอบด้วยว่ามีกายอยู่จริงหรือไม่ มีจิตสั่งให้กายเคลื่อนไหวได้จริงหรือไม่ สามารถรับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ฯลฯ ได้จริงหรือไม่
    ถ้าเราศึกษาชีวิตโดยดูของจริง แล้วถามตัวเองพร้อมทั้งพิจารณาหาคำตอบด้วย ก็จะทำให้เราเข้าใจชีวิตได้ดีขึ้น
    ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราไม่เคยมีสติอยู่กับปรมัตถ์เพียงอย่างเดียวเลย แต่จะอยู่กับสมมุติ และมีความพอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ในสมมุติเหล่านั้นตลอดเวลา ถ้าเราคิดที่จะปฏิบัติธรรมก็ต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับปรมัตถธรรมให้ดีเสียก่อน ถ้าเรามีความรู้เรื่องปรมัตถ์ดีพอ การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นของง่าย แต่ถ้าเราไม่มีความรู้เรื่องปรมัตถ์ การปฏิบัติธรรมก็จะเป็นของยาก เหมือนกับการหาขุมทรัพย์โดยไม่มีลายแทงอย่างนั้นแหละ

    นำมาจาก http://www.geocities.com/RainForest/Jungle/2897/file3.html
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2007
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>พ่อขอดัดสันดาน "ผีพนัน" ในคุก
    http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9500000114953
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 กันยายน 2550 15:51 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ไชน่านิวส์ – ชายคนหนึ่งในมณฑลเจ้อเจียง เข้าพบทางตำรวจ ขอดัดสันดานการพนันตัวเองด้วยการนอนคุก เพราะ 3 ปีที่ผ่านมา ติดการพนันจนสูญเสียทุกอย่าง แม้แต่ลูกเมียก็ไม่ยอมอยู่ด้วย ซึ่งทุกวันนี้ยังคงพยายามหาทางเอาสมบัติของครอบครัวที่สูญไปกลับคืนมา

    แซ่เฉิน ชายวัย 39 ปี เป็นคนรุ่ยอันแต่กำเนิด แม้ว่าการศึกษาเพียงแค่มัธยมต้น แต่ก็ย่างก้าวอยู่วงการธุรกิจตั้งแต่วัยหนุ่ม ผ่านช่วงล้มลุกคลุกคลาน เก็บเล็กผสมน้อยจนกระทั่งมีกินมีใช้ โดยนายเฉินบอกว่า 3 ปีก่อนถ้าไม่นับรวมบ้าน สมบัติที่มีอย่างน้อยๆ ประมาณ 1 ล้านหยวน ซึ่งถ้าตอนนั้นไม่ติดการพนัน บางทีตอนนี้อาจจะกลายเป็นเศรษฐีไปแล้ว

    แต่ 3 ปีก่อน ด้วยคำชักชวนจากบุคคลอื่นทำให้นายเฉินเริ่มติดการพนัน เจ้าตัวเผยว่า ตอนแรกเริ่มเคยเสียไปประมาณ 1 แสนหยวน แต่ไม่ได้รู้สึกเสียดาย เพราะเอากลับคืนมาได้ ช่วงหลังยิ่งเล่นยิ่งได้ ทำให้หยุดไม่อยู่ ภรรยาเคยเตือนให้เลิกเล่น แต่ก็ยังดื้อดึง ซ้ำร้ายยังเล่นหนักกว่าเดิม ต่อมาก็ชักพกเงินสดเข้าบ่อนมากขึ้น
    “โชค”กลับแย่ลงเรื่อยๆ หลังจากเสียเงินสดไป ยังคงไม่หนำใจ ยังเอาสมบัติที่มีอย่างรถยนต์ออกขาย หนักเข้าก็หยิบยืมเงินจากคนใกล้ชิดบ้าง เพื่อนบ้าง จนกระทั่งยืมเงินในบ่อนการพนัน

    เฉินเสียการพนันมากเข้า ภรรยาจึงขอหย่า “ถึงแม้ว่าความรู้สึกที่มีต่อภรรยาจะลึกซึ้งมากแค่ไหน แต่ด้วยนิสัยการพนัน ทำให้รู้สึกผิดต่อเธอมาก และคงไม่รั้งเธอไว้” หลังจากหย่าร้างกันไป ก็เลือกมอบบ้านให้กับภรรยาและลูก

    ปัจจุบันนายเฉินเงินไม่มีเงินสักแดง มิหนำซ้ำเป็นหนี้เพื่อนสนิทถึง 150,000 หยวนกับเงินกู้นอกระบบ เฉินเล่าว่าตอนนี้ไม่กล้าไปเยี่ยมลูกแล้ว เพราะกลัวเจ้าหนี้นอกระบบจะตามไปราวีกับลูกเมียของตน

    “ตอนนี้เสียใจมาก รู้แล้วว่าการพนันมันเฮงซวย หวังว่าทางตำรวจจะช่วยลงโทษ ดัดสันดานการพนันให้หมดไปที” เฉินกล่าว

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรื่องของคุณ ( ต่อ 2 ) โดยปรัศนี ประชากร<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    อรหัตคุณ<O:p</O:p

    คือ พระอเสขะ ( ผู้ไม่ต้องศึกษา ) หรือ อนุปาทิเสสบุคคล ( ผู้ไม่มีเชื้อ คือ อุปาทานเหลืออยู่เลย คือ พระอรหันต์ ผู้ควร ( แก่ทักขิณาหรือการบูชาพิเศษ ) หรือ ผู้ฝ่ากำแพงแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอวะ เป็นผู้ทำได้บริบูรณ์ในสิกขาทั้งสามคือ สมาธิ และปัญญา ละสังโยชน์เบื้องสูงได้อีก 5 ข้อ ( รวมเป็นละสังโยชน์ทั้งหมด 10 ข้อ )<O:p</O:p
    อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ( สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด ) 5 อย่าง คือ<O:p</O:p
    1. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันปราณีต เช่น ติดใจอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปารถนาในรูปภพ เป็นต้น<O:p</O:p
    2. อรูปราคะความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูป เป็นต้น<O:p</O:p
    3. มานะ ความถือตัว หรือสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่าสูงกว่าเขา เท่าเทียมเขา ต่ำกว่าเป็นต้น<O:p</O:p
    4. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย ติดพล่านไป<O:p</O:p
    5. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าในกฎธรรมดาแห่งเหตุและผลหรือไม่อริยสัจจ์
    <O:p</O:p

    จำแนกอรหัตคุณ<O:p</O:p

    1. พระปัญญาวิมุต คือ ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ท่านผู้มุ่งหน้าบำเพ็ญแต่วิปัสสนา อาศัยสมเพียงใช้สมาธิเท่าที่จำเป็น พอเป็นบาทฐานของวิปัสสนาให้บรรลุอาสวักขยญาณเท่านั้น ได้สมถะไม่เกินรูปฌาน 4 ไม่มีความสามารถพิเศษ เช่น เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ ไม่ได้โลกียอภิญญา 5 เป็นต้น จำแนกได้ดังนี้<O:p</O:p
    ก. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน ได้สมาธิถึงระดับฌานต่อเนื่องถึงขณะแห่งมรรค<O:p</O:p
    ข. พระปัญญาวิมุติได้ฌาน 4 อย่างน้อยขั้นหนึ่งก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาที่ให้บรรลุอรหัตต<O:p</O:p
    ค. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4 คือ ได้ปัญญาแตกฉาน 4 ประการ<O:p</O:p
    1) อัตถปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในอรรถ หรือปรีชาแจ้งเจนในความหมาย<O:p</O:p
    2) ธัมมปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในธรรม ปรืดปรีชาแจ้งเจนในหลัก <O:p</O:p
    3) นิรุตติปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ หรือปรีชาแจ้งเจนในภาษา<O:p</O:p
    4) ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ หรือปรีชาแจ้งเจนในความคิดทันการ<O:p</O:p
    2. พระอุภโตภาควิมุต แปลว่า ผู้หลุดพ้นโดยส่วนทั้งสอง คือ หลุดพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมบัติ และหลุดพ้นจากนามกายด้วยอริมรรค เป็นการหลุดพ้น 2 วาระ คือ ด้วยวิกขัมภนะ ( กดข่มกิเลสในด้วยกำลังสมาธิของฌาน ) หนหนึ่ง และด้วยสมุจเฉท ( ตัดกิเลสถอนรากเง่าด้วยปัญญา ) อีกหนหนึ่ง จำแนกได้ดังนี้<O:p</O:p
    ก. พระอุภโตภาควิมุต คือ พระอรหันต์ผู้ได้สมถะถึงอรูปฌานอย่างน้อยหนึ่งขั้น แต่ไม่ได้วิชชา โลกียอภิญญา<O:p</O:p
    ข. พระเตวิชชะ พระอรหันต์ผู้ได้วิชชา 3 คือ พระอุภโตภาควิมุตนั้น ผู้ได้วิชา 3 ด้วย<O:p</O:p
    1) ปุพเพนิวานานุสติญาณ ญาณเป็นเหตุระลึกได้ซึ่งขั้นที่เคยอยู่อาศัยในก่อนคือ การระลึกชาติได้<O:p</O:p
    2) จุตูปปาตญาณ ญาณหยั่งรู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ถือว่า ตรงกับ ทิพพจักขุ หรือ ทิพยจักษุ<O:p</O:p
    3) อาสวักขยญาณ ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายหรือความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ<O:p</O:p
    ค. พระฉฬภิญญะ พระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา 6 คือ พระอุภโตภาควิมุตผู้ได้อภิญญา 6 ด้วย คือ<O:p</O:p
    1) อิทธิวิธา หรืออิทธิวิธี ความรู้ที่ทำให้แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้<O:p</O:p
    2) ทิพพโสต ญาณที่ทำให้เกิดหูทิพย์<O:p</O:p
    3) เจโตปริยญาณ ญาณที่ทำให้กำหนดใจคนอื่นได้ คือทายใจเขาได้<O:p</O:p
    4) ปุพเพนิวาสานิสุติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้<O:p</O:p
    5) ทิพพจักขุ ญาณที่ทำให้เกิดตาทิพย์<O:p</O:p
    6) อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป<O:p</O:p
    ช. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ พระอรหันต์อุภโตภาควิมุตผู้บรรจุปฏิสัมภิทา 4 อย่างที่กล่าวแล้วข้างต้น เมื่อรวมเข้าเป็นชุดเดียวกัน และเรียงตามชื่อที่ใช้เรียกมี 6 ประเภทดังนี้<O:p</O:p
    1. พระสุกขวิปัสสก ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน<O:p</O:p
    2. พระปัญญาวิมุต ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา ( ที่นอกจากสุกขวิปัสสก )<O:p</O:p
    3. พระอุภโตภาควิมุต ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน<O:p</O:p
    4. พระเตวิชชะ ผู้ได้วิชชาสาม<O:p</O:p
    5. พระฉฬภิญญะ ผู้ได้อภิญญาหก<O:p</O:p
    6. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสี่<O:p</O:p
    พระอรหันต์องค์ใดเป็นทั้งฉฬภิญญะ และปฏิสัมภิทัปปัตตะ ย่อมเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนบริบูรณ์ครอบคลุมทั้งหมด<O:p</O:p
    ที่กล่าวมานี้ก็คือ อรหัตคุณ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    (เป็นความเชื่อ – ความคิดเห็นส่วนบุคคล(ของคณะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร ท่านผู้อ่านอ่านแล้วก็แล้วแต่วิจารณญาณของแต่ละบุคคล)

    <O:p</O:p**********************************************************<O:p></O:p>
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>“ยำผู้ส่งออก” เมนูปรุงพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ
    http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9500000114792
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>28 กันยายน 2550 11:37 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=355 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=355>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน F.T.I.FAIR หรือ “ อุตสาหกรรมก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง” ซึ่งจัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา

    นอกจากนี้ การจัดงานยังมีเป้าหมายเพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการไทย ซึ่งเป็นสมาชิกของสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ ในโอกาสที่สภาฯ ครบรอบ 40 ปีด้วย

    ในงานนี้เมื่อสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จฯทรงเยี่ยมชมกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารที่มาออกงานภายใต้คอนเซ็ปต์ Thailand World Food Center และทรงสาธิตการปรุงอาหารไทยในเมนูเก๋ๆ ชื่อว่า
    “ยำผู้ส่งออก”


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>ยำผู้ส่งออก</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> โดยวัตถุดิบและภาชนะที่ทรงใช้นั้น ทรงเลือกจากผู้ประกอบการไทยที่เป็นผู้ส่งออกทั้งสิ้น อาทิ กุ้งต้ม ปลาหมึก ปลากระป๋อง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ แครอท และธัญพืชอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย รวมถึงเครื่องครัวสเตนเลสตราหัวม้าลาย

    ระหว่างที่ทรงปรุงอาหารนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีพระพักตร์แจ่มใส ทรงอธิบายวิธีการปรุงพร้อมกับพระอิริยาบถที่คล่องแคล่วทั้งการตัก คลุกและปรุง และเมื่อพระองค์ทรงปรุงเมนูเด็ดนี้เสร็จแล้ว ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานให้สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ และผู้ร่วมงานอื่นๆ ได้ชิม สร้างความปลาบปลื้มให้แก่ผู้มาร่วมงานอย่างมาก

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left>สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯระราชทานเมนูยำส่งออกแก่สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมฯได้ชิม</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> เอกชัย ยังวาณิช รองประธานกรรมการบริหาร บริษัทเสถียรสเตนเลสสตีล จำกัด ผู้ผลิตเครื่องครัวตราหัวม้าลาย ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่มีโอกาสได้ชิมเมนูทรงปรุงพระราชทานในครั้งนี้กล่าวว่ารู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านฯ เป็นอย่างมาก ที่ทรงให้ความสำคัญกับผู้ส่งออกไทย และทรงให้กำลังใจแก่ผู้ส่งออกไทยที่ทรงปรุงอาหารในชื่อเมนูดังกล่าว
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.watthummuangna.com/board/showthread.php?t=1508
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR vAlign=bottom><TD>[​IMG]</TD><TD> </TD><TD width="100%">วัดถ้ำเมืองนะ จังหวัดเชียงใหม่ > หมวดธรรมะปฎิบัติ > การปฎิบัติธรรม </TD></TR><TR><TD class=navbar style="FONT-SIZE: 10pt; PADDING-TOP: 1px" colSpan=3>[​IMG] อะไรเอ่ย ใครตอบได้ลองดู </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE class=tborder id=post19987 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal">09-19-2007, 09:24 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal" align=right> #1 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 width=175>seelerdk<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_19987", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Aug 2007
    ข้อความ: 47 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    Thanks: 0
    Thanked 585 Times in 47 Posts <!-- End Post Thank You Hack -->


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_19987><!-- icon and title -->[​IMG] อะไรเอ่ย ใครตอบได้ลองดู
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG] คนโบราณกล่าวไว้ว่า "ใกล้ก็ไม่ใกล้ ไกลก็ไม่ไกล มองเห็นไวไว เป็นทิวลิบๆ" คืออะไร ? ใครตอบได้[​IMG]
    โมทนาสาธุ
    ตถตา
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post20022 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal">09-19-2007, 01:01 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal" align=right> #4 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 width=175>seelerdk<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_20022", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Aug 2007
    ข้อความ: 47 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    Thanks: 0
    Thanked 585 Times in 47 Posts <!-- End Post Thank You Hack -->


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_20022><!-- icon and title -->[​IMG]
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->[​IMG] โมทนาสาธุครับ เป็นปัญหาธรรมะครับ ที่ตอบกันมายังไม่ถูกครับ
    โมทนาสาธุครับ[​IMG]
    ตถตา
    <!-- / message --></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE class=tborder id=post21538 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal">วันนี้, 03:56 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="FONT-WEIGHT: normal" align=right> #21 </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 width=175>seelerdk<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_21538", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    วันที่สมัคร: Aug 2007
    ข้อความ: 47 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    Thanks: 0
    Thanked 587 Times in 47 Posts <!-- End Post Thank You Hack -->


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_21538><!-- icon and title -->[​IMG] ขอเฉลยคำถาม
    <HR style="COLOR: #cccccc" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->โมทนาสาธุครับ
    ขอเฉลยคำถามครับ "จะว่าใกล้ก็ไม่ใกล้ ไกลก็ไม่ไกล มองเห็นไวไว เป็นทิวลิบลิบ"
    [​IMG]
    ผู้มากราบนมัสการหลวงพ่อหลายๆคน มาถึงก็มาแจ้งความประสงค์กับหลวงพ่อ ปรารถนาไม่เกิดอยากจะไปนิพพานในชาตินี้ จะได้พ้นทุกข์ บางคนก็ตั้งเจตนาจริงบางคนก็พูดไปอย่างนั้น หลวงพ่อเคยให้ข้อคิด สำหรับคนที่ไม่ตั้งใจจริงเหมือนคำพูดที่ปราถนาว่า
    "อยากจะไปนิพพานจริง แต่ศีล๕ ยังรักษาไม่ได้ จะไปได้อย่างไร "
    "วันนี้มีผู้หญิงอยู่คนมากราบข้า บอกว่าจะไปนิพพาน ข้าไม่พูดแต่มองดูปากยังทาแดงแจแจ๋ หัวตะพานจะไปถึงหรือปล่าว"
    ดังนั้นหลวงพ่อจึงสอนพวกเราทั้งหลาย เมื่อตั้งใจสิ่งใดแล้ว ต้องทำหรือปฏิบัติจึงจะสมปรารถนา หลวงปู่ทวดกล่าวว่า "การปฏิบัติจะตัดภพชาติให้สั้นลงทีละครึ่ง เช่น ถ้าเราจะเกิดอีก ๑๐๐ ชาติ ก็เหลือ ๕๐ ชาติ ถ้า ๒๐ ชาติก็เหลือ ๑๐ ชาติ"
    ผู้เขียนเคยอ่านหนังสือของหลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน ท่านเคยเปรียบเทียบดังนี้ "ทำทานเหมือนกับไปด้วยถ่อ รักษาศีลเหมือนไปด้วยรถยนต์ ภาวนาก็ขี่เรือบินไป อาจถึงนิพพานได้ในชาตินี้"
    คนโบราณจึงกล่าวไว้ว่า "ใกล้ก็ไม่ไกล้ ไกลก็ไม่ไกล มองเห็นไวไว เป็นทิวลิบลิบ" ซึ่งเทียบได้กับนิพพาน คือ อยู่แค่ปลายจมูกนี่เอง
    หลวงพ่อจึงกล่าวว่า " จะว่ายากก็ไม่ใช่ จะว่าง่ายก็ไม่เชิง ผู้ปฏิบัติพึงรู้เองเห็นเอง"[​IMG]

    ทีมา: อยากจะไปนิพพาน หนังสือกายสิทธิ์

    โมทนาสาธุครับ
    ตถตา

    <!-- / message --><!-- edit note --></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>บันทึกพระจริยวัตร “องค์ยุวกษัตริย์” ในดวงใจ
    http://www.manager.co.th/MetroLife/ViewNews.aspx?NewsID=9500000113144
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>25 กันยายน 2550 03:31 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=bottom align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD><TD><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=center align=middle width=1 background=/images/linedot_vert.gif>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=right width=1 height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle background=/images/linedot_hori.gif height=1>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=left width=1 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>พระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลและสมเด็จพระอนุชาธิราช</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=bottom align=left height=12>[​IMG]</TD></TR><TR><TD bgColor=#cccccc><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=160><TABLE cellSpacing=4 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=middle>คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ม.ร.ว. กิติวัฒนา ปกมนตรี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>ท่านผู้หญิงอังกาบ บุณยัษฐิติ กล่าวแสดงความยินดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ร่วมแสดงความยินดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>สุพัฒนา อาทรไผท และลูกสาว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>สามารถ มะลูลีม มอบดอกไม้ร่วมยินดี</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=baseline align=middle>วสุ แสงสิงแก้ว</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle width=165 height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=4 background=/images/linedot_vert3.gif>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=7 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>ความประทับใจไม่เคยจางหาย ทุกๆ พระจริยวัตรอันงดงามยังคงตราตรึงในความทรงจำเรื่อยมา ณ ห้องประชุมพุทธคยา สำนักพิมพ์ดีเอ็มจี ในงานเปิดตัวหนังสือ “ก่อนเสด็จ...ลับเลือนหาย” ซึ่งถ่ายทอดเรื่องราวโดย ม.ร.ว. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี ก็ทำให้แขกเหรื่อหวนคิดถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) ขึ้นมาอย่างฉับพลัน แม้เวลาจะผ่านไปเนิ่นนาน เทียบเท่ากับวาระการเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติของในหลวงในรัชกาลปัจจุบันก็ตาม

    เนื้อหาของหนังสือนำทุกคนย้อนอดีตร่วมไปกับผู้เขียน ด้วยภาพประวัติศาสตร์และบันทึกเหตุการณ์ความประทับใจของพสกนิกรในสมัยนั้น ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวของพวกเขา เมื่อครั้งโดยเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระอนุชาธิราชจนเป็นภาพคุ้นตาและยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวไทยที่ยากจะลืมเลือน

    ม.ร.ว. กิติวัฒนา กล่าวถึงที่มาของ “ก่อนเสด็จ...ลับเลือนหาย” ว่า ได้รับแรงบันดาลใจจากการได้เห็นพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ในความฝัน เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว คุณหญิงเล่าว่า พระองค์ทรงตรัส เดี๋ยวนี้ไม่มีใครรู้จักพระองค์แล้ว และในฐานะข้าแผ่นดินที่เติบโตมาอย่างเป็นสุขในรัชสมัยของพระองค์ คุณหญิงจึงมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะเผยแพร่พระเกียรติคุณ ตลอดจนพระเมตตาที่พระราชทานแก่พสกนิกรและพระราชกรณียกิจต่างๆ ในช่วงรัชกาลอันแสนสั้น (เพียง 12 ปี) ของพระองค์ให้คนรุ่นหลังได้รับทราบทั่วกัน

    “ในความฝัน ดิฉันก้มลงกราบแทบเบื้องพระยุคลบาทด้วยความจงรักภักดี และสังเกตว่าแม้พระรูปลักษณ์ยังคงงดงามยิ่งผู้ใดในแผ่นดิน เช่นเดียวกับที่ตัวเองเมื่อตอนอายุได้ 12 ปี เคยมีวาสนาได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทอย่างใกล้ชิด ถึงอย่างนั้นแม้พระพักตร์จะยังคงไว้ด้วยแววแห่งเมตตาธรรม แต่ก็ค่อนข้างหม่นเศร้า และจำได้แม่นยำที่พระองค์ทรงตรัสว่า เดี๋ยวนี้ไม่มีใครรู้จักพระองค์แล้ว”

    นอกจากนี้ ประสบการณ์ตรงจากคำบอกเล่าของ ซิสเตอร์บุญประจักษ์ ทรรทรานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย ผู้มีประสบการณ์ตรง ขณะกำลังศึกษาชั้นมัธยม 5 ณ โรงเรียนแห่งนี้ ก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่ รัชกาลที่ 8 ซึ่งขณะนั้นพระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล มาเข้าเรียนในชั้นอนุบาล (Kindergarten) เมื่อปี 2473

    ซิสเตอร์เล่าว่า “พระองค์นันท” เป็นเด็กที่มีชีวิตชีวา ทรงเป็นกันเองกับเพื่อนทุกคน ขณะที่สมเด็จพระชนนีก็ได้มีรับสั่งกับท่านอธิการในสมัยนั้นว่า ขอให้ดูแลอบรมพระโอรสของท่านให้เหมือนกับเด็กอื่นๆ ก็ยิ่งทำให้ทั้งซิสเตอร์ ครู และ เพื่อนๆ นักเรียนรักพระองค์นันททุกคน

    “เวลานั้นเมื่อทราบว่า หม่อมสังวาลย์ มหิดล นำพระโอรสพระองค์โตมาสมัครเป็นนักเรียนชั้นคินเดอร์การ์เตน ก็กลับทำให้พวกเราตื่นเต้น และมักจะมารอด้านล่างของโบสถ์เพื่อชื่นชมพระชนนีจูงพระหัตถ์พระโอรสโดยมีพระพี่เลี้ยงถือกระติกนมตามเสด็จมาถึงโรงเรียน

    ในขณะนั้นไม่มีใครคาดคิดว่าพระองค์เจ้าอานันทมหิดล ที่เพิ่งมีพระชนมายุเพียง 5 พรรษา จะได้เป็นกษัตริย์ นอกเสียจากอธิการบดีโรงเรียนที่ได้บันทึกทะเบียนนักเรียน เคยพูดในเชิงพยากรณ์ไว้ว่า... One day this little Prince will be King of Siam

    นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องราวอันทรงคุณค่า คู่ควรต่อการรับรู้ของคนไทยในยุคนี้

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    การประเคนและการรับประเคน
    http://www.thaimisc.com/freewebboard/php/vreply.php?user=dokgaew&topic=10424

    [​IMG]


    <CENTER>การประเคนและการรับประเคน
    โดย..พระครูศรีโชติญาณ </CENTER>

    คำว่า "ประเคน" คำนี้ เดิมเป็นคำที่มาจากภาษาเขมร ที่เรานำเอามาใช้เป็นภาษาไทยในเรื่องการถวายของแก่ภิกษุ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการให้ของแก่ฆราวาส เพราะตามหลักของพระวินัยแล้ว ภิกษุจะฉันอาหารที่ไม่ได้รับประเคนไม่ได้ ถ้าขืนฉัน ก็จะต้องอาบัติโทษตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งโภชนวรรคที่ ๔ ความว่า ภิกษุกลืนกินอาหารทุกชนิดที่ควรกลืนกินให้ล่วงลำคอลงไป โดยที่มิได้รับประเคนต้องอาบัติปาจิตตีย์

    คำที่ท่านใช้ในบาลีว่า "ที่เขามิได้ให้" นั้น หมายถึงการยกให้ การยกให้จึงได้กินความไปถึงการให้ด้วยวาจาคือการพูดด้วย ส่วนของที่นอกจากอาหาร เช่นหมากพลูและบุหรี่เป็นต้นที่ไม่ใช่อาหาร เขากล่าวให้ด้วยวาจาก็ได้




    <DD>เช่น ทายกเขาพูดว่า "ของเหล่านี้ นิมนต์เอาไปอย่างหนึ่งเถิดขอรับ" อย่างนี้ภิกษุเอาอย่างหนึ่งได้ แต่มีข้อยกเว้นไว้ว่า เนื้อดิบ ปลาดิบ ภิกษุรับประเคนไม่ได้


    เรื่องการรับประเคน ท่านกำหนดหลักไว้ดังนี้

    ๑. เวลากาลที่จะรับประเคน
    ๒. องค์ของการรับประเคน
    ๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน
    ๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว
    ๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ
    ๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน

    ๑. เวลากาลที่จะรับประเคน



    <DD>ถ้าภิกษุจะรับประเคนอาหารที่มีผู้ศรัทธามาถวาย จะรับได้ตั้งแต่เวลารุ่งอรุณแล้วไปจนกระทั่งถึงเที่ยงวัน จะรับประเคนให้เกินเวลสดังกล่าวนั้นไม่ได้




    <DD>เรื่องของเวลานั้น มีการตีความกันหลายอย่าง แต่จะอย่างไรก็ตาม เราควรจะหนักไปในการรักษาพระวินัยไว้ ดีกว่าตีความให้อ่อนลงมา เช่นตีความว่าเที่ยงแล้วยังต่อได้อีก ๑๘ นาทีเป็นต้น




    <DD>สมัยโบราณใช้เงาแดด เพราะยังไม่มีนาฬิกาใช้ แต่สมัยนี้มีนาฬิกาใช้แล้ว เมื่อเวลาเลยเที่ยงไปเพียงนาทีเดียวก็ใช้ไม่ได้แล้ว ถ้าภิกษุรับประเคนไว้ ก็เป็นสันนิธิคือเป็นการสะสม ย่อมต้องอาบัติปาจิตตีย์ในเวลานำเอามาฉัน




    <DD>หรือเวลาที่เลยเที่ยงวันไปแล้ว ถ้ามีผู้ศรัทธานำเอาอาหารมาถวาย ภิกษุก็รับไว้ไม่ได้ จำเป็นต้องบอกแก่กัปปิยการกรหรืออนุปสัมบันรับแทนไว้ แล้วจึงนำเอามาประเคนให้ฉันในวันรุ่งขึ้นจึงจะใช้ได้ แม้กระนั้นผู้รับใช้ก็จะต้องรอบรู้ในเรื่องของพระวินัย ไม่จำเป็นจะต้องให้ภิกษุบอกก่อนแล้วจึงทำฯ


    [FONT=ms Sans Serif,]
    ๒. องค์ของการรับประเคน



    ภิกษุจะรับประเคนของที่มีผู้นำมาถวาย จะต้องรับให้ถูกต้องตามหลักของพระวินัยดังนี้



    <DD>ก. ผู้ถวายและผู้รับ จะต้องอยู่ภายในหัตถบาสของกันและกัน คำว่า "หัตถบาส" นั้น แปลกันว่า "บ่วงมือ" คือห่างระหว่างผู้ประเคนและผู้รับไม่เกิน ๑ ศอก ถ้าเกินกว่านั้น ก็ไม่ชอบด้วยพระวินัย </DD>​


    <DD>ข. อาการที่ถวาย จะต้องน้อมตัวลงให้ปรากฏโดยอาการของความเคารพ ไม่ใช่ถวายด้วยอาการของการโยนให้ หรือเสือกให้ เพราะอาการดังกล่าวนั้นเป็นอาการที่ไม่งามเลย </DD>​


    <DD>ค. ผู้ถวาย จะเป็นใครก็ได้ จะเป็นหญิงหรือชาย โดยที่สุดแม้เป็นเดียรัจฉานก็ได้ เช่นอย่างช้างปาลิเลยยกะ ถวายกระบอกน้ำแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และลิงถวายรวงผึ้งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น </DD>​


    <DD>ง. การรับ จะต้องรับด้วยตนเอง จากมือของผู้ชาย หรือด้วยของเนื่องด้วยจากมือของผู้หญิงจึงจะใช้ได้ เช่นใช้ผ้ากราบที่ปิดหน้าผ้าไตรวางทอดลง แล้วใช้มือทั้งสองจับตรงมุมผ้ากราบทั้งสองข้างด้านในของตัวโดยหงายมือจับรับประเคน อย่างนี้จะดูสวยงามดี การที่จะรับมือเพียงมือเดียว หรือคว่ำมือจับมุมผ้ารับอย่างนี้ ดูแล้วไม่สมเหตุผล เพราะผู้ถวายของสองมือ แต่ผู้รับรับเพียงมือเดียว ดูเหมือนไม่เต็มใจรับ หรือรับโดยไม่เคารพ ยิ่งคว่ำมือจับมุมผ้ารับด้วยแล้ว ยิ่งไม่ถูกต้อง เพราะการรับของ เขาหงายมือรับกันทั้งนั้น </DD>​


    ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการตีความเรื่องการรับประเคนของภิกษุจาก "สตรีเพศ " ของพระภิกษุไทยกับภิกษุชาวพม่าและลังกาซึ่งเป็นฝ่ายเถรวาทด้วยกัน



    <DD>สำหรับภิกษุชาวพม่าและลังการับประเคนของจากสตรีเพศ เขาจะรับด้วยมือของตนเองเลย โดยที่ไม่ต้องมีผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายเหมือนกับพระไทยเรา ที่เป็นเช่นนี้ เราจะกล่าวว่าเขาทำผิดพระวินัยก็ไม่ได้ </DD>​


    <DD>เพราะตามประวัติเท่าที่เป็นมาแต่โบราณกาล แม้พระพุทธเจ้าเองก็ทรงรับภัตตาหารจากมือของนางวิสาขา โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้ผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายรับแบบพระไทยเรา ตามที่สังเกตมา ส่วนใหญ่เขาจะอ้างบาลีเท่าที่เคยมีมาแล้ว แต่ของไทยเราถือประณีตมากกว่านั้น จึงได้ถือปฏิบัติสืบๆ มา เรื่องนี้ก็จะต้องแล้วแต่ความเหมาะสม เพราะพระวินัยบางอย่าง ถ้าสังคมยอมรับจนเป็นแบบสำหรับปฏิบัติสำหรับสงฆ์แล้ว ก็เป็นอันว่าอนุวัตรตามความนิยมของสังคมนั้นๆ </DD>​



    เช่น การโกนคิ้ว ของพระไทยเป็นต้น ความจริงแล้วตามหลักพระวินัยก็มีว่า "เกสมสฺสุโวโรหน" ที่แปลว่า ปลงผมและหนวด เท่านั้น ไม่ได้โกนคิ้วด้วย


    <DD>การที่ภิกษุชาวพม่าและลังกาไม่โกนคิ้วก็เป็นว่าเขาทำถูกแล้ว แต่ภิกษุไทยเราถือประณีตยิ่งกว่านั้นก็โกนคิ้วเสียด้วย และก็เป็นที่ยอมรับของคณะสงฆ์ไทยไปแล้ว ทุกรูปที่บวชเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะต้องโกนเหมือนกัน ถ้าใครไม่โกน ก็มีโทษทางสังคม </DD>​


    <DD>หรือเหมือนกับการบวชเณร เมื่ออายุเกิน ๒๐ ไปแล้ว ไทยเราไม่นิยมบวชเณรนิยมบวชพระทีเดียว เพราะฉะนั้น เมื่อายุครบบวชพระแล้วแต่จะกลับมาบวชเณรอีก เจ้าอาวาสส่วนใหญ่ท่านจะไม่ยอม เมื่อความนิยมไม่มี ขืนไปทำเข้าถึงไม่ผิดก็เป็นเหมือนผิด เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาไม่นิยมกระทำกัน ดังนั้น การโกนคิ้วก็เช่นเดียวกัน </DD>​


    <DD>ตามประวัติที่เล่าต่อๆ กันมาว่า สมัยต้นๆ รัตนโกสินทร์เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงบาตรก็มีพวกสาวชาววังติดตามเป็นบริวารทรงบาตรด้วย มีภิกษุบางรูปที่เข้าไปรับบาตรในวังเป็นพระเจ้าชู้เห็นสาวชาววังออกมาตักบาตรด้วย เวลาพระรับบาตรแทนที่จะสำรวมตา แต่กลับสอดส่ายสายตาไปดูสาวชาววังกำลังตักบาตรแล้วก็ไปยักคิ้วเข้า ความทราบถึงพระเจ้าอยู่หัว ก็เลยเกิดมีบัญญัติให้ภิกษุโกนคิ้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ดังนั้น เรื่องการโกนคิ้ว หรือไม่โกน จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณากันมากอยู่</DD>​
    [/FONT]


    </DD>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 10424.jpg
      10424.jpg
      ขนาดไฟล์:
      27.4 KB
      เปิดดู:
      424
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2007
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [FONT=ms Sans Serif,]<DD>อีกเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าจะนำเอามาพูดกัน เกี่ยวกับการเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุ โดยเฉพาะสหภาพพม่าและอินเดีย เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงินทองที่ใช้กันอยู่ในสองระบบ คือระบบรัฐบาลกับตลาดมืด [/FONT]</DD>​



    <DD>เช่นเงินพม่าเป็นต้น ถ้าเป็นระบบรัฐบาลที่แลกเปลี่ยนกัน ๑ จ๊าตพม่าเท่ากับเงินไทย ๔ บาท แต่ถ้าระบบตลาดมืด ขณะนี้ (พ.ศ.๒๕๓๓) ๑ บาทไทย จะเท่ากับเงินจ๊าต ๓ จ๊าตเศษ แม้เงินรูปีอินเดียก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ พ่อค้าจึงมีการหลบเลี่ยงเพื่อค้ากำไรกันมาก </DD>​



    <DD>คราวนี้เรามาพูดกันถึงเรื่องเงิน ๒ ระบบอย่างว่านี้ จึงน่าคิดพิจารณามากทีเดียว จึงขอฝากความรู้สึกกับภิกษุที่เดินทาง แล้วทำการแลกเปลี่ยนแบบพ่อค้าที่เขาทำกัน เพราะพระเรามีราคาเพียง ๕ มาสกหรือบาทเดียวเท่านั้น ไม่ได้มากมายอะไรเลยฯ </DD>​



    ๓. อาการของภิกษุผู้จะรับประเคน



    อาการของภิกษุที่จะรับประเคนของจากผู้ถวายนั้นก็จะต้องมีหลักดังนี้



    <DD>ก. ภิกษุผู้รับประเคน จะยืนหรือนั่งก็ตาม จำเป็นจะต้องอยู่ภายในหัตถบาส และขณะรับก็ต้องน้อมกายลงเล็กน้อยด้วยอาการที่น่าเลื่อมใส </DD>​




    ข. ขณะรับของจากสตรีเพศ จะต้องวางผ้าซึ่งเป็นของเนื่องด้วยกายพร้อมกับน้อมกายลงเล็กน้อยโดยอาการเคารพในทาน และจะต้องหงายมือจับที่มุมของชายผ้ารับทั้งสองด้านในที่ติดกับตัว ไม่ใช่คว่ำมือจับ เพราะการรับของจากคนอื่นต้องหงายมือรับ ไม่ใช่คว่ำมือรับ



    ๔. อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว
    [FONT=ms Sans Serif,]


    อายุของอาหารที่ได้รับประเคนไว้แล้ว ก็มีอยู่ด้วยกัน ๔ ชนิด คือ



    <DD>ก. ยาวกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วกาล คือตั้งแต่อรุณขึ้นเป็นต้นไปจนถึงเที่ยงวัน ก็คำที่ว่า "อรุณขึ้น" นั้น การตีความของสงฆ์ไทยกับพม่าไม่เหมือนกัน ของไทยเราจำเป็นจะต้องมีแสงสว่างให้เห็นลายมือ ลายเท้าเสียก่อนจึงจะใช้ได้ ส่วนพม่านั้นถือบาลีที่ว่า "อรุโณ อุคฺคโต" ที่แปลว่า "อรุณขึ้นไปแล้ว" หมายถึง ๕.๓๐ น. พอแสงเงินแสงทองปรากฏที่ท้องฟ้าเพียงนิดหน่อยเท่านั้นก็เป็นอันว่า ฉันยาคูคือข้าวต้มกันได้แล้ว </DD>​



    <DD>แม้ยาคูที่แปลว่าข้าวต้มก็แตกต่างกันอีก ข้าวต้มของเราเมื่อต้มสุกแล้วยังมีข้าวเป็นเม็ดๆ อยู่ แต่ข้าวต้มพม่านั้นละเอียดยิ่งกว่าโจ๊กอีกด้วยซ้ำไป เห็นจะเป็นเพราะเหตุนี้เองในบาลีท่านจึงได้ใช้กิริยาว่า "ยาคุ ปวติ" ที่แปลว่า "ดื่มข้าวยาคู" ข้าวต้มของไทยเราถ้าขืนดื่มก็คงติดคอแน่ๆ เรื่องฉันข้าวต้ม ๕.๓๐ น. แม้พระไทยเราก็เคยได้ไปร่วมฉันกันมาแล้วบางท่าน เมื่อสมัยไปร่วมทำสังคายนาที่สหภาพพม่าปี พ.ศ. ๒๕๐๐ หรือ ๒๕ ศตวรรษ </DD>​



    <DD>อนึ่ง ตามหลักพระวินัย ท่านห้ามไม่ให้ภิกษุหุงต้มฉันเอง เพราะเป็น "อันโตปักกะคือทำให้สุกในภายใน สามปักกะคือทำให้สุกเอง" และห้ามไม่ให้ภิกษุซื้อของเอามาใช้หรือฉัน ถ้าขืนซื้อเอามาใช้หรือฉันแล้ว ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ จำจะต้องเสียสละเสียก่อน ถ้ายังมิได้เสียสละ เอาไปฉันหรือใช้เข้าก็เป็นอาบัติปาจิตตีย์ </DD>​




    เรื่องของกัปปิยกุฎี ก็ทรงอนุญาตไว้เหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการที่จะมิให้เกิดความน่าเกลียดแก่ผู้ที่ผ่านไปมาประการหนึ่ง คืออนุญาตให้มีเรือนไฟสำหรับทำครัวได้ในที่ที่เป็นเอกเทศลับๆ ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้กลิ่นอาหารอบอวลในที่อาศัยอยู่ และกันมิให้ควันฟุ้งหลังคาที่อยู่อาศัยดำนั่นเอง
    ดังนั้น จึงทรงอนุญาตให้ทำเป็นกัปปิยกุฎีคือเรือนครัวเสียต่างหากจากที่อยู่ก็ได้ แต่ถ้าภิกษุไม่ทำในที่เช่นนั้น ขืนไปทำในที่อยู่เข้า ท่านจึงปรับอาบัติในฐานะเป็น "อันโตวุฏฐะ" คือทำภายในที่อยู่อาศัยเข้า ถ้าทำในกัปปิยกุฎีไม่เป็นไรฯ


    <DD>ข. ยามกาลิก คือของที่ทรงอนุญาตให้ฉันได้ชั่วคราวหมายถึงฉันได้ ๒๔ ชั่วโมง คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ในข้อนี้ ทรงหมายถึงน้ำปานะ ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือหว้า น้ำกล้วยมีเมล็ด น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด น้ำมะทราง น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น น้ำเง่าบัว น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ </DD>​
    [FONT=ms Sans Serif,]


    ของเหล่านี้ควรใช้ให้อนุปสัมบันทำจึงสมควร ถ้าภิกษุทำฉันเองจะฉันได้เพียงเช้าชั่วเที่ยงวันเท่านั้น และการทำก็ห้ามไม่ให้ทำให้สุกด้วยไฟ จะทำได้เฉพาะสดๆ เท่านั้น ฯ



    <DD>ค. สัตตาหกาลิก คือของที่ใช้ได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ถ้าเก็บไว้ฉันเกินกว่า ๗ วันไปก็ต้องอาบัติ อันนี้ท่านหมายถึงเภสัชที่ใช้ต่างยา ๕ อย่างคือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยฯ </DD>​




    ง. ยาวชีวิก คือของที่ฉัน ได้ตลอดชีวิต เช่นรากไม้ที่ใช้เป็นยา น้ำฝาดเช่นน้ำบอระเพ็ดเป็นต้น ใบไม้ ผลไม้ที่ใช้เป็นยา ยางไม้ที่ใช้เป็นยา แม้เกลือที่ใช้เป็นยาก็ได้ รายละเอียดเหล่านี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงอธิบายไว้แล้วในวินัยมุขเล่ม ๒ ผู้ต้องการโปรดตรวจดูได้ในที่นั้นฯ


    <CENTER>การรับประเคนตามอรรถกถานัย</CENTER>
    [FONT=ms Sans Serif,]


    เรื่องของการรับประเคนที่จะทำให้ขาดประเคนตามนัยแห่งอรรถกถาสมันตัปปาสาทิกาก็ดี ภาษาฎีกาก็ดี ท่านได้วางหลักไว้ถึง ๖ ประการคือ



    ๑. ภิกษุรับประเคนไว้แล้ว แต่ยังไม่ทันได้ฉัน ให้คนอื่นเสียด้วยเหตุบางอย่าง ก็เป็นอันว่าของนั้นขาดประเคนไปแล้ว



    ๒. รับประเคนไว้แล้ว ตนเองยังไม่ทันได้จัดการอะไรกับของที่รับประเคนนั้น แต่ลาสิกขาคือสึกไปเสีย เช่นนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน



    ๓. รับประเคนไว้แล้ว แต่มีเหตุที่ต้องทิ้งไปเสียทั้งๆ ที่ยังมิได้ฉันอย่างนี้ของนั้นก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน



    ๔. รับประเคนไว้แล้ว แต่ถูกอนุปสัมบันแย่งหรือหยิบหลุดมือไปเสียอย่างนี้ก็ขาดประเคนเหมือนกัน



    ๕. รับประเคนไว้แล้ว แต่ยังมิได้ฉัน ตนมรณภาพคือตายไปเสียก่อน ก็เป็นอันว่าขาดประเคนไป



    ๖.รับประเคนไว้แล้ว ยังไม่ทันได้ฉัน แต่กลับกลายเพศเป็นหญิงไปเสียอย่างโสเรยยภิกษุเป็นต้น ก็เป็นอันว่าขาดประเคนเหมือนกัน (สำหรับข้อ ๖ นี้ ไม่น่าจะเป็นไปได้ แต่เรื่องก็เคยปรากฏมาแล้วในคัมภีร์ขุททกนิกาย)



    ข้อที่น่าสังเกตเกี่ยวกับการประเคน



    <DD>เรื่องการประเคน ส่วนใหญ่ท่านมักจะมุ่งหมายเอาการผูกใจใน[B]ของขบฉัน[/B]มากกว่า เช่นของที่ทายกเขาประเคนไว้แล้ว ยังมิได้ทอดทิ่งความผูกใจในของฉันนั้น แต่บังเอิญมีอนุปสัมบันมาถูกต้องของที่รับประเคนด้วย </DD>​



    เหตุจำเป็น แม้ไม่ต้องรับประเคนอีกก็ฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน เพราะเรายังผูกใจอยู่ เพราะทายกเขาตั้งใจถวายแล้ว ยังไม่ทอดทิ้งความผูกใจในของฉันนั้น



    <DD>แม้ของที่มีผู้ศรัทธามาถวายแล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาฉัน เราจะบอกให้อนุปสัมบันยกเอาของที่รับประเคนนั้นไปเก็บไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาฉัน จะเอามาฉันเองโดยที่ไม่ต้องรับประเคนอีกท่านว่าฉันได้ ไม่ถือว่าขาดประเคน ดังมีตัวอย่างปรากฏอยู่ในอรรถกาว่า </DD>​



    <DD>"ภิกษุมีกิจจำเป็นต้องเดินทางไปยังต่างถิ่นกับโยมมารดา บิดา หรือกับสามเณร ด้วยความเอื้อเฟื้อจะเตรียมอาหารไปเพื่อโยมหรือสามเณร พอถึงเวลาเพล โยมหรือสามเณรจะยกเอาของนั้นมาประเคนให้ตนฉันเสียก่อนตนก็สามารถฉันได้ไม่เป็นอาบัติ เพราะอาหารนั้น ตนไม่ได้ตั้งใจที่จะนำเอามาฉันเอง" </DD>​




    อีกอย่างหนึ่ง ที่ภิกษุนิยมใช้กันอยู่คือภิกษุนำของที่ตนจะฉัน นำเอาไปเอง แต่พอถึงเวลาฉันก็บอกให้อนุปสัมบันประเคนพระรูปอื่นในวงเดียวกันแล้วตนเองก็ฉัน อย่างนี้ถ้ามองในแง่ของพระวินัยก็ไม่น่าจะใช้ได้ เพราะตนเองยังผูกใจในของนั้นอยู่ ขอนักวิจัยจงใคร่ครวญดูเถิดฯ


    [B]๕. กำหนดระยะคำว่า "หัตถบาส" ระหว่างผู้ประเคนกับผู้รับ [/B]
    [FONT=ms Sans Serif,]


    [FONT=Tahoma][SIZE=4]คำว่า[B] "หัตถบาส" [/B]คำนี้ แปลกันว่า[B] "บ่วงมือ" [/B]หมายความว่าเราเอานิ้วมือซ้ายและมือขวาประสานติดกันมันจะมีเป็นบ่วงอยู่ในระหว่างมือทั้งสอง นั่นแหละเขาเรียกว่ากันว่า[B] "หัตถบาส" [/B][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=4][/SIZE]
    [SIZE=4][/SIZE]

    [SIZE=4][/SIZE]
    [COLOR=#669900]<DD>[FONT=Tahoma][SIZE=4]คราวนี้ เมื่อภิกษุจะรับประเคนของจากผู้ที่ถวายก็จะต้องอยู่ไม่ให้ห่างเกินไปกว่าบ่วงมือดังกล่าวนั้น เพราะบางคนเวลาจะประเคนของพระ ตัวเองออกไปอยู่เสียห่างเกินหัตถบาสไป อย่างนี้เรียกว่า ไม่ครบองค์ประเคน ของที่รับประเคนนั้นก็ไม่ค่อยจะถูกพระวินัยนัก [/SIZE][/FONT][/COLOR]</DD>​
    [SIZE=4][/SIZE]
    [SIZE=4][/SIZE]

    [SIZE=4][/SIZE]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][COLOR=#669900][/COLOR][/SIZE][/FONT]​
    [SIZE=4][COLOR=#669900]เพราะฉะนั้น เวลาจะรับประเคนของจากทายกผู้ถวาย ก็จะต้องแนะให้ผู้ถวายเขารู้เรื่องของพระวินัยว่าควรจะอยู่ห่างกันประมาณเท่าไร จึงจะถูกต้องตามลักษณะของการประเคน [/COLOR][/SIZE]
    [SIZE=4][/SIZE]
    [SIZE=4][/SIZE]
    [FONT=ms Sans Serif,][COLOR=#669900][FONT=Tahoma][B]๖. น้ำหนักของที่จะรับประเคน[/B] [/FONT][/COLOR]
    [SIZE=4][/SIZE]

    [FONT=Tahoma][/FONT][COLOR=#3366ff]<DD>[FONT=Tahoma][SIZE=4]สำหรับของที่ภิกษุจะรับประเคนนั้น ส่วนใหญ่ก็จะต้องเป็นของที่ยกคนเดียวไหว การประเคนจึงจะดูสวยงาม เพราะเวลาจะประเคน จำเป็นจะต้องน้อมกายลงเล็กน้อย แสดงว่าเป็นผู้มีความเคารพในของที่จะประเคนนั้น แต่ถ้าของนั้นหนักจนเกินไป จนตนยกแทบไม่ค่อยจะขึ้น การที่จะไปแสดงความอ่อนน้อมก็ยาก เพราะตนเองจะต้องใช้กำลังยก [/SIZE][/FONT][/COLOR][FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=4][FONT=Tahoma][/FONT][/SIZE][COLOR=#669900][COLOR=#669900]
    <DD>[FONT=Tahoma][SIZE=4]มีเรื่องการรับประเคนของเท่าที่เคยได้เห็นมาในสหภาพพม่า ที่เขากำลังปฏิบัติกันอยู่ในหมู่ชาวพุทธของพม่า เช่นเวลามีการถวายอาหารสงฆ์มากๆ โดยมากจะเลี้ยงเป็นโต๊ะกลม บางทีจุพระได้ถึง ๘ รูป หรือบางทีก็ ๑๐ รูป เช่นเลี้ยงโต๊ะจีนเป็นต้น แต่เวลาจะประเคนทายกเขาก็ช่วยกันยกทั้งสี่ด้านขึ้นถวาย แล้วก็พระก็ช่วยกันรับประเคนหลายๆ รูป อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกัน [/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][COLOR=#669900][FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=4][FONT=Tahoma][/FONT][/SIZE][COLOR=#669900][COLOR=#996633]
    <DD>[FONT=Tahoma][SIZE=4]อีกประการหนึ่ง การประเคนของถวายที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เช่นถวายบ้าน ถวายที่ดิน ถวายถนน และถวายศาลาเป็นต้น ในการถวายท่านนิยมใช้หลายวิธีด้วยกัน เท่าที่ได้เคยเห็นมาบางทีก็ใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกเข้าที่ศาลาหรือที่กุฎีสงฆ์ แล้วก็ล่ามจับกันไปจนหมดทั่วทุกคนแล้ว ก็กล่าวคำถวาย พอสงฆ์รับว่า[B] "สาธุ" [/B]แล้ว ทายกก็ยกพานถวายเจ้าอาวาสแทนในนามสงฆ์ก็ได้ [/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][COLOR=#669900][FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [SIZE=4][FONT=Tahoma][/FONT][/SIZE][COLOR=#669900][COLOR=#3366ff]
    <DD>[FONT=Tahoma][SIZE=4]หรือมิฉะนั้นก็กล่าวคำถวายโดยระบุสถานที่ที่จะถวายนั้นๆ โดยจะถวายแยกหรือรวมเป็นรูปของทวันทวสมาสก็ได้ เมื่อถวายเสร็จแล้วพอพระสงฆ์รับว่า[B] "สาธุ" [/B]แล้ว จากนั้นท่านเจ้าภาพผู้ถวายก็จะนำเอาที่กรวดน้ำมาที่หน้าเจ้าอาวาส จากนั้นก็หลั่งน้ำจากภาชนะนั้นลงบนฝ่ามือของท่านเจ้าอาวาสผู้รับแทนสงฆ์ ส่วนพระสงฆ์ที่เหลือก็เจริญชัยมงคลคาถาขึ้นพร้อมๆ กัน อย่างนี้ก็เป็นอันว่าใช้ได้เหมือนกันฯ [/SIZE][/FONT][/COLOR][/COLOR][COLOR=#669900][FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]
    [FONT=Tahoma][SIZE=4][/SIZE][/FONT]

    [SIZE=4][FONT=Tahoma][/FONT][/SIZE][FONT=ms Sans Serif,][COLOR=#669900]<CENTER>[COLOR=#cc3366][SIZE=4][B][FONT=Tahoma]จบเรื่องการประเคนและการรับประเคน[/FONT][/B] [/SIZE][/COLOR][/COLOR][/FONT][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][SIZE=2][COLOR=#669900]
    [FONT=ms Sans Serif,]</CENTER>
    <DD><CENTER></CENTER>[/FONT][/COLOR][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/SIZE][/COLOR][/COLOR][/COLOR]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]

    </DD>
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post327202 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">26-09-2006, 08:01 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1413 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร หากแปลในความหมายว่า พระผู้อยู่เหนือโลก ย่อมหมายความว่าตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์ปฐม จนมาถึงพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน อีกทั้งยังมีพระปัจเจกพุทธเจ้าอีกมากมายนับไม่ถ้วน รวมทั้งพระอรหันต์ตั้งแต่พุทธสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปฐม จนถึงพระอรหันต์ในพุทธสมัยพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน รวมแล้ว มีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายที่อยู่บนโลกนี้อีก แต่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ที่ผมได้อธิบายให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่านทราบก็คือ หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า , หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า , หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) ,หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้าหรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) ,หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปานหรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี) ครับ หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 องค์นี้ ท่านได้อธิษฐานอยูครบพุทธศาสนา 5000 ปี ท่านเป็นอทิสมันกายครับ

    เรื่องพระพิมพ์นั้น เท่าที่ทราบนั้น ท่านเสกให้ในรุ่นแรกๆ ก็คือพระพิมพ์โสณ-อุตร วัดรางบัว เมื่อประมาณ 1000 ปีมาแล้วครับ มีพระพิมพ์ในหลายๆยุค หลวงปู่ท่านมาเสกให้ จวบจนสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเจ้า(ท่านกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งท่านเองก็เป็นครูฝึกของคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร) ท่านมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกับหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรมาก่อน หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านจึงมาโปรดท่านเจ้า เมื่อท่านเจ้าท่านมีพระบัณฑูรย์ให้สร้างพระพิมพ์ขึ้น หลวงปู่ท่านก็มีความเมตตาเสกพระพิมพ์ให้ แต่ก็มีบางพิมพ์ เช่นพระพิมพ์โลกอุดร กรุเนปาลนั้น ผู้ที่สร้างก็คือพระเณรที่เป็นลูกศิษย์ เป็นผู้สร้าง สร้างกันในถ้ำที่ภูเขาหิมาลัย ประเทศเนปาล แล้วหลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) ท่านก็เสกให้ในถ้ำนั้น หรือพระขรรค์ กับกฤชนั้น หลวงปู่แจ้งฌาณ (ท่านเป็นครูฝึกของคณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเช่นกันและท่านเป็นอทิสมันกายด้วยครับ) ท่านก็สร้างพระขรรค์ - กฤช - ไม้ครู แล้วหลวงปู่แจ้งฌาณท่านก็นำมามอบให้ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ที่วังหน้าครับ

    หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านอธิษฐานอยู่ครบอายุพระพุทธศาสนา 5000 ปี เพื่อที่ช่วยสืบทอดและจรรโลงพระพุทธศาสนา และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรนั้น ผมขอยืนยันว่า ท่านเป็นอทิสมันกายครับ ท่านไม่มีขันธ์อยู่

    ปกติแล้วหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร (หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า , หลวงปู่พระโสณเถระเจ้าร , หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร) , หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า หรือหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา) , หลวงปู่พระภูรียะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน หรือหลวงพ่อโอภาสี วัดโอภาสี บางมด) หลวงปู่ท่านจะไม่สร้างพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลเอง แต่ท่านมีความเมตตาที่เสกพระพิมพ์หรือวัตถุมงคลอื่นๆที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่านมีพระบัณฑูรย์ให้สร้างขึ้นครับ

    บางสิ่งบางอย่างที่ผมรู้และผมทราบนั้น ผมเองไม่สามารถที่จะ Post ลงในกระทู้ได้ครับ<!-- / message --><!-- sig -->
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เจ้าเกิดมามีอะไรมาด้วยเจ้า
    เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน

    เจ้ามามือเปล่าแล้วเจ้าจะเอาอะไร
    เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา

    ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่
    มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
    ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน
    แม้ร่างตนเขายังเอาไปเผาไฟ


    [​IMG]
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    กราบพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ ที่ได้ปกครองบ้านเมืองมาและดูแลอนาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขครับ

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    sithiphong


    ปล. ผมเป็นคนที่ถ่ายพระบรมรูป ทั้งสามรูปเองครับ ผมเองไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใด นำรูปนี้ ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าทุกประเภทครับ แต่ยินยอมให้นำพระบรมรูปไปสักการะบูชาได้นะครับ
    .<!-- / message --><!-- sig -->
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    กราบพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ ที่ได้ปกครองบ้านเมืองมาและดูแลอนาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขครับ

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    sithiphong


    ปล. ผมเป็นคนที่ถ่ายพระบรมรูป ทั้งสามรูปเองครับ ผมเองไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใด นำรูปนี้ ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าทุกประเภทครับ แต่ยินยอมให้นำพระบรมรูปไปสักการะบูชาได้นะครับ
    .<!-- / message --><!-- sig -->
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    กราบพระคุณองค์พระมหากษัตริย์ไทยทุกๆพระองค์ ที่ได้ปกครองบ้านเมืองมาและดูแลอนาประชาราษฎร์ให้อยู่เย็นเป็นสุขครับ

    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
    sithiphong


    ปล. ผมเป็นคนที่ถ่ายพระบรมรูป ทั้งสามรูปเองครับ ผมเองไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใด นำรูปนี้ ไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าทุกประเภทครับ แต่ยินยอมให้นำพระบรมรูปไปสักการะบูชาได้นะครับ
    .<!-- / message --><!-- sig -->
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder id=post337526 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">06-10-2006, 12:01 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> #1652 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร:::
    นั่นแสดงว่าพระเครื่องที่ท่านเจ้าฯได้สร้างไว้คือช่วงปีพ.ศ.2412-2428 เท่านั้น ประมาณ 16 ปี เมื่อนำช่วงเวลาที่เสด็จพ่อในหลวงรัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์ เมื่อ 1 ต.ค. 2411(ขณะนั้นพระชนม์ 15 พรรษา) ผมขอแยกเป็นจุดๆนะครับ

    จุดที่ 1 การสร้างควรจะสร้างหลัง 1 ต.ค.2411 เพราะวัตถุประสงค์การจัดสร้างเพื่อเฉลิมฉลองการขึ้นครองราชย์ของในหลวงร.5 และสืบทอดพระศาสนา แต่ผมก็อดแปลกใจไม่ได้นะครับว่า คงจะไม่ได้สร้างเพื่อฉลองการครองราชย์ตลอดช่วง 16 ปีนี้ การสร้างเพื่อเฉลิมฉลองน่าจะมีช่วงเวลา ไม่น่าคิดจะสร้างเมื่อไหร่ก็สร้าง ส่วนมากน่าจะเป็นการสร้างเพื่อสืบทอดพระศาสนา คุณหนุ่มเห็นว่ายังไงตรงจุดนี้นะครับ...

    จุดที่ 2 เจ้าประคุณสมเด็จโตท่านสิ้นหลังจากเสด็จพ่อในหลวงร.5 ขึ้นครองราชย์ได้ 4 ปี นั่นคือปีพ.ศ 2415 ช่วง 1 ต.ค.2411-2415 พระชุดนี้น่าจะปลุกเสกโดยเจ้าประคุณสมเด็จโต หากไม่มีตราครุฑคือพระของวังหน้า หากมีตราครุฑนั่นคือของวังหลวง พระที่สร้างหลังปีพ.ศ. 2415 น่าจะเป็นพระที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่เทพโลกอุดร และแยกมีตราครุฑ หรือไม่มีตราครุฑเป็นของวังหลวง และวังหน้าตามลำดับเช่นเดิม แบบนี้ไม่ทราบว่าผมเข้าใจถูกหรือไม่ครับ...
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมขอตอบเป็นประเด็นไปนะครับ พระสมเด็จเจ้าคุณกรมท่า เริ่มสร้างหลังจากที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่านมีพระบัณฑูรย์ให้ท่านเจ้าคุณกรมท่า(ท้วม บุญนาค) หลังจากที่เดินเรือไปค้าขายกับประเทศจีนในปี พ.ศ.2412 ครับ เนื่องจากได้นำปูนเพชรมาเป็นมวลสารหลักในการสร้างพระสมเด็จ แต่ว่าพระพิมพ์ที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่านมีพระบัณฑูรย์ให้สร้างขึ้นนั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2400 เป็นต้นมา แต่พระราชพิธีพุทธาภิเษกนั้น มีพิธีใหญ่ๆ ในรัชสมัยที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ยังมิได้ทิวงคตนั้น มี 2 พระราชพิธีคือ พระราชพิธีพุทธาภิเษกในปี พ.ศ.2408 และปี พ.ศ. 2411 ครับ แต่ว่าไม่ใช่ว่ามีแค่ 2 พระราชพิธีนี้เท่านั้น ยังมีพระราชพิธีพุทธาภิเษกอีกหลายๆครั้ง และทุกๆพระราชพิธีจะไปพุทธาภิเษกที่วัดบวรสถานสุทธาวาส

    หลังจากท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ)ท่านทิวงคต(เรื่องที่ท่านเจ้าทิวงคตนั้น เป็นการทิวงคตในหลักฐานตามประวัติศาสตร์) จะมีการพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดพระแก้วครับ พิธีใหญ่ๆนั้น มีอยู่เพียงพิธีเดียวก็คือ พระราชพิธีพุทธาภิเษก ฉลองรัชกาลที่ 5 ครองราชครบ 40 ปีและฉลองพระบรมรูปทรงม้า นอกนั้นเป็นการพุทธาภิเษกธรรมดา แต่แค่พิธีพุทธาภิเษกธรรมดาๆนั้น ก็ยังดีกว่าการพุทธาภิเษกในปัจจุบันมาก แค่ทำพิธีในวัดพระแก้ว โดยมีคณาจารย์ในสมัยนั้นปลุกเสก ก็เยี่ยมอยู่แล้วครับ

    การสร้างพระพิมพ์นั้น การสร้างเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2400 จวบจนปลายรัชสมัยรัชการที่ 6 มีการสร้างกันอยู่เรื่อยๆ มีการพุทธาภิเษกกันอยู่เรื่อยๆ เป็นการสร้างเพื่อไว้สืบทอดพระพุทธศาสนาด้วย เพื่อการเฉลิมฉลองในวาระสำคัญๆด้วย

    พระพิมพ์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2400 จนถึง ปี พ.ศ.2415 บางพิมพ์สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านก็ถูกนิมนต์มาเป็นประธานการเสก บางพิมพ์จะเป็นพระเถระมาเสก แต่ว่าในพระพิมพ์เหล่านี้ บางรุ่นบางพิมพ์ท่านเจ้าก็เชิญหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรมาเสก ผมเองมีสมเด็จเจ้าคุณกรมท่าที่สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเสกองค์เดียวก็มี หรือที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรท่านมาเสกให้ก็มี หรือทั้งหลวงปุ่บรมครูเทพโลกอุดรและสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีเสกก็มีครับ

    เรื่องมีตราครุฑนั้น พระพิมพ์ที่มีตราครุฑเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2415 หลังจากสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสีท่านมรณภาพแล้ว โดยรัชกาลที่ 5 ท่านมีพระราชดำรัสให้มีตราครุฑ เนื่องจากว่าให้แยกว่าเป็นพระพิมพ์ของวังหน้าหรือวังหลวง พระพิมพ์ที่มีตราครุฑอยู่ด้านหลัง ก็ไม่จำเป็นเสมอไปว่าหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรท่านเสกให้หรือไม่ เนื่องจากว่าถ้าสร้างพระพิมพ์ขึ้นหลังปี พ.ศ.2428 อันเป็นปีที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ)ทิวงคต หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร ท่านก็ไม่ได้มาเสกให้ครับ

    จากพระพิมพ์ที่มีตราครุฑ ยังมีตราสิงห์ ,ตราเสมา พระพิมพ์เหล่านี้จะเป็นการสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองที่รัชการที่ 5 ครองราชครบ 40 ปี คือในปี พ.ศ.2451 ครับ

    ยังมีพระพิมพ์ที่มีตราสมออีก พระพิมพ์ที่มีตราสมอนั้น ก็มีการสร้างขึ้นในสมัยที่ท่านเจ้า(กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ) ท่านยังมีพระชนม์ชีพอยู่ มีการสร้างจนกระทั่งปี พ.ศ.2451 ครับ พระพิมพ์ที่มีตราสมออยู่ด้านหลังจึงมีทั้งหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรท่านเสก กับพระคณาจารย์ในยุคนั้นเสกครับ
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมเองได้รับ Fwd Mail จากเพื่อนคนหนึ่ง เลยนำมาลงให้ได้อ่านกันครับ

    เพื่อนแท้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ชายคนหนึ่งมีเพื่อนเกลออยู่3 คน
    เกลอคนที่1 เขารักมาก ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเกลอคนนี้
    เกลอคนที่2 เขารักรองลงมาจากคนแรก
    เกลอคนที่3 เขาไม่สนใจ และไม่เคยทำอะไรเพื่อเกลอผู้นี้เลย

    ต่อมาในไม่ช้าไม่นาน เขาก็ได้ตายลง
    ความที่จิตเขาผูกพันกับอยู่กับเกลอคนที่หนึ่ง เขาจึงไปหา
    แต่เกลอคนนี้ไม่ไยดีเขาเลย เขาพูดด้วยก็ไม่ยอมเจรจาตอบ
    เขารู้สึกเสียใจมาก
    และนึกเสียดายว่าขณะที่มีชีวิตอยู่เขาไม่ควรทุ่มเทเพื่อเกลอคนนี้

    จากนั้นเขาจึงไปหาเกลอคนที่ 2
    เกลอผู้นี้ดีกว่าเกลอคนแรกตรงที่ตามไปส่ง เมื่อเขาเดินทางไปปรโลก
    แต่ส่งเพียงครึ่งทางก็กลับ
    คงมีแต่เกลอคนที่ 3 เท่านั้นที่ติดตามเขา
    และร่วมเดินทางไปกับเขาตลอดเส้นทาง ไม่เคยทอดทิ้งเขาแม้เพียงอึดใจเดียว

    หลังจากอ่านจบขอถามนะว่า รู้ไหมว่าเกลอคนที่ 1 , 2 และ 3 เป็นใครกันบ้าง
    ลองคิดกันก่อนนะ แล้วค่อยดูเฉลย

    เกลอคนที่1 คือ ทรัพย์สมบัติ เพราะเวลาเรามีชีวิตอยู่
    เราจะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มันมา แต่พอเราตายมันกลับไม่ไปกับเรา
    แถมเราพูดด้วย มันก็ไม่พูดกับเรา
    เกลอคนที่2 คือ ลูกเมีย ญาติพี่น้อง
    เพราะพอเราตาย เขาก็ทำบุญให้เรา ทำศพให้ แปลว่า เขาไปส่งเราแค่ครึ่งทาง
    เกลอคนสุดท้าย คือ บุญกับบาป
    เมื่อเราตายไป เราไม่สามารถเอาอะไรไปด้วยได้
    ยกเว้นเพียงแค่บุญกับบาปเท่านั้น ที่จะตามเราไป
    เพราะฉะนั้น เราต้องเอาใจใส่เกลอคนที่3 ให้มากโดยเฉพาะ
    คนที่ ชื่อนายบุญ ส่วนนายบาป เราต้องหนีให้ไกล
    อย่าได้เอาไปเป็นเพื่อนร่วมทางโดยเด็ดขาด

    จำไว้ว่าใครที่มัวหลงใหลเอาใจแต่เกลอคนที่หนึ่งจึงเป็นคนโง่

    หลังจากอ่านจบแล้วได้แง่คิดอะไรกันบ้างไหม ? <O:p</O:p

    ถ้าจะดี อ่านจบแล้วช่วยส่งต่อให้คนที่ยังไม่ตื่นตัวอีกหลายๆคนด้วย<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- sig -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ยาพิษในใจ

    ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว
    เด็กสาวคนหนึ่งนามว่าลี่ลี่
    เมื่อเธอแต่งงานจึงได้ย้ายนิวาสสถานมาอยู่กับสามีและแม่สามี...
    ภายในเวลาอันสั้นลี่ลี่ก็พบว่าเธอไม่สามารถเข้ากับแม่สามีได้เลย
    ใช่สิ
    บุคลิกของทั้งคู่ช่างแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง...ลี่ลี่ทนนิสัยหลายอย่างของแม่สามีไม่ได้
    ฝ่ายแม่สามีก็ได้แต่วิพากษ์วิจารณ์ลี่ลี่เสมอมา


    วันเวลาผ่านไปจากวันเป็นเดือน
    ลี่ลี่และแม่สามีทะเลาะกันไม่หยุดหย่อน
    แต่สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ ตามธรรมเนียมจีน สะใภ้จะต้องก้มหัว
    และเชื่อฟังแม่สามีในทุกเรื่องราว
    นำมาซึ่งความทุกข์โศกแก่ผู้เป็นสามีเป็นอย่างยิ่ง


    ในที่สุดวันที่ลี่ลี่หมดสิ้นความอดทนได้มาถึง
    จึงตัดสินใจที่จะทำอะไรบางอย่าง
    เธอตรงไปหาคุณหวางเพื่อนรักของพ่อที่ขายสมุนไพรหลังจากเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้เขาฟัง
    เธอจึงถามว่า
    พอจะหายาพิษอะไรสักอย่างเพื่อแก้ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลในคราเดียวได้ไหม
    คุณหวางคิดอยู่ชั่วขณะในที่สุดจึงกล่าวกับลี่ลี่ว่า
    "ลุงจะช่วยหนูเอง...แต่หนูต้องฟังคำของลุงและเชื่อฟังสิ่งที่ลุงบอกนะ"
    ลี่ลี่ตอบรับทันทีว่า "ค่ะ หนูจะทำตามที่คุณลุงแนะนำทุกอย่าง"


    คุณหวางหายไปหลังร้าน และกลับมาภายในเวลาชั่วครู่พร้อมกับห่อสมุนไพรในมือ
    เขากล่าวกับลี่ลี่ว่า
    "ลุงจะจ่ายยาสมุนไพรให้หนูจำนวนหนึ่ง
    แต่หนูต้องไม่ใช้ยาพิษนี้ทั้งหมดในคราวเดียวกันนะ
    เพราะนั่นจะทำให้ทุกคนสงสัย
    หนูจงเติมสมุนไพรนี้ลงไปในหมูเห็ดเป็ดไก่ที่ปรุงวันเว้นวัน
    สารพิษนี้จะได้ค่อย ๆ สะสมอยู่ในตัวเธอ ...
    ขณะเดียวกัน หนูก็ต้องพูดจากับเธอดี ๆ และเชื่อฟังเธอด้วย


    วันหนึ่งข้างหน้า เมื่อแม่สามีตายลงจะได้ไม่มีใครสงสัยในตัวหนูไงล่ะ
    อย่าลืมนะ...ห้ามเถียงเธอ
    แต่จงเชื่อฟังทุกอย่างที่เธอบอกและปฏิบัติต่อเธออย่างดีที่สุด"
    ได้ยินดังนั้น ลี่ลี่รู้สึกสุขใจยิ่งนัก
    จึงกล่าวขอบคุณและล่ำลาคุณหวางเพื่อกลับไปเตรียมอุบายสังหารแม่สามี


    วันและคืนผ่านไป...ลี่ลี่จะต้องปรุงอาหารจานพิเศษให้แม่สามีทุกวันเว้นวัน
    เธอจดจำคำของคุณหวางได้เป็นอย่างดี...พยายามควบคุมอารมณ์ตนเอง
    เชื่อฟังและดูแลเธอเหมือนดั่งเป็นแม่ของตนเอง


    เวลาล่วงไปได้หกเดือน
    ทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้หลังคาบ้านนั้นกลับแปรเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง
    ลี่ลี่ได้ฝึกตนให้ควบคุมอารมณ์ได้ดีมาก
    ไม่เคยมีปากเสียงกันเลยตลอดหกเดือนนี้
    แม่สามีดูเหมือนจะมีเมตตาต่อเธอและเข้ากันได้เป็นอย่างดี
    ในขณะที่ทัศนคติของแม่สามีที่มีต่อลี่ลี่ได้เปลี่ยนไปเช่นกัน
    เธอเริ่มรักลี่ลี่เหมือนกับลูกสาวแท้ ๆ
    ของตัวเอง...เธอพร่ำบอกเพื่อนฝูงและคณาญาติว่า
    ลี่ลี่เป็นลูกสะใภ้ที่ดีที่สุดและยากจะหาใครมาเสมอเหมือน


    บัดนี้ ลี่ลี่ และแม่สามีรักกันดุจแม่-ลูกจริง ๆ
    แล้ว...ฝ่ายสามีลี่ลี่รู้สึกสุขใจเป็นที่สุดที่ได้เห็นภาพนั้น


    วันหนึ่ง...ลี่ลี่กลับไปหาคุณหวางเพื่อขอความช่วยเหลืออีกครั้ง
    เธอละล่ำละลัก "คุณลุงหวางคะ กรุณาช่วยหนูด้วยค่ะ
    หนูไม่อยากให้แม่สามีตายแล้วค่ะ... คุณลุงรู้มั้ยคะว่า
    ตอนนี้แม่เปลี่ยนไปมาก
    ท่านดีกับหนูมากและหนูก็รักท่านเหมือนแม่จริง ๆ ของหนู


    หนูไม่อยากให้ท่านตายด้วยยาพิษของหนูเลย..."

    คุณหวางพรายยิ้ม ผงกศีรษะและกล่าวว่า
    ลี่ลี่เอ๋ย...ไม่มีอะไรต้องกังวลาว ลุงไม่เคยให้ยาพิษอะไรแก่หนูเลย
    สมุนไพรที่ให้ไปเมื่อคราวก่อนนั้นเป็นพวกวิตามินที่บำรุงร่างกาย...
    ยาพิษอย่างเดียวนั้นอยู่ที่จิตใจและทัศนคติของหนูที่มีต่อแม่สามีต่างหาก
    และนั่นก็ได้รับการชำระล้างหมดแล้วด้วยความรักทั้งหมดทั้งมวลที่หนูมอบให้ท่าน
     
  17. Hamac

    Hamac เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,086
    ค่าพลัง:
    +1,865
    พระสมเด็จวังหน้าพอจะมีเหลือมั้ยครับ คุณ Sittiphong

    จะหาบูชาได้ที่ไหน ถ้ามีข้อมูลยังไง

    รบกวนแจ้งที่ เมล mickyna32@hotmail.com นะครับ

    ขอบคุณครับ
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิบมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ

    พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า
    ลงประวัติและคำบูชา(บทสวด)ด้วยครับ

    กระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    เริ่มตั้งแต่กระทู้หมายเลข # 3116
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=312
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=313

    และ # 3161
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=22445&page=317



    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2 องค์ผู้อธิษฐานจิต พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า,พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตให้ ส่วนองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิม ผมไม่แจ้งให้ทราบ เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่ พลังองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่คลุมพลังองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิมครับ


    [​IMG]<O:p</O:p
    4.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาว จำนวน 15 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,200 บาท


    <O:p</O:p
    5.พระพิมพ์พุทธประวัติ เนื้อสีขาวแตกลายงา จำนวน 10 องค์ มอบพระพิมพ์ 1 องค์ให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,100 บาท



    วันที่ 7 เมษายน 2550

    จากกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ
    บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ

    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 3
    รุ่นฟ้าลิขิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ได้รับพระเมตตา,พระกรุณา และขอพระบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกุธสันโธ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตพระพิมพ์ให้ (ส่วนองค์ผู้อธิษฐานจิตพระพิมพ์เดิม ผมขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งให้ทราบครับ เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่ พลังองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่คลุมพลังองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิมครับ) พลังอิทธิคุณครอบจักรวาล<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ท่านใดที่บูชาไปแล้ว ขอให้แยกเก็บจากพระพิมพ์ทั่วๆไป และเก็บไว้ในที่สูง อีกเรื่องคือให้ระวังการปรามาสให้จงหนัก กรรมเร็วและแรงมากครับ<O:p</O:p

    10.สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า (รักสมุ รักพม่า สีน้ำเงิน)<O:p</O:p
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 1 องค์ ร่วมทำบุญ 300 บาท
    <O:p</O:p

    [​IMG]

    11.สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า (รักไทย สีดำ)<O:p</O:p
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 1 องค์ ร่วมทำบุญ 300 บาท
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    [​IMG]

    12.สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า (ชาด รักจีน สีแดง)<O:p</O:p
    มอบให้ผู้ร่วมทำบุญ 1 องค์ ร่วมทำบุญ 300 บาท
    <O:p</O:p

    [​IMG]

    วันที่ 20 สิงหาคม 2550
    <O:p</O:p
    พระพิมพ์ชุดพระปิดตาวังหน้าสองหน้า (เนื้อขาว , เนื้อดำลงรักปิดทอง) ชุดพิเศษ 2
    <O:p</O:p
    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2 องค์ผู้อธิษฐานจิต พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า,พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตให้ ส่วนองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิม ผมไม่แจ้งให้ทราบ เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่ พลังองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่คลุมพลังองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิมครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระปิดตาวังหน้าสองหน้า <O:p</O:p
    <O:p[​IMG]
    </O:p
    1.พระปิดตาวังหน้าสองหน้า (เนื้อขาว , เนื้อดำลงรักปิดทอง) จำนวน 10 คู่ มอบให้กับท่านที่ร่วมทำบุญ 1,200 บาท มอบให้ 1 คู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.พระปิดตาวังหน้าสองหน้า (เนื้อขาว ) จำนวน 10 องค์ มอบให้กับท่านที่ร่วมทำบุญ 1,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.พระปิดตาวังหน้าสองหน้า (เนื้อดำปิดทองล่องชาด ) จำนวน 10 องค์ มอบให้กับท่านที่ร่วมทำบุญ 1,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    วันที่ 19 สิงหาคม 2550
    ผมเปิดให้จองชุด พระสมเด็จวังหน้า จำนวน
    7 ชุด(ชุดละ 5 องค์)

    (องค์บน ซ้าย - ขวา องค์ล่าง ซ้าย - กลาง พิธีในชุดพิเศษ 2 ส่วนองค์ล่างขวา พิธีในชุดพิเศษ 3)



    [​IMG]

    - ท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาแล้ว(ลำดับที่ 1 - 208 ) ผมมอบให้ท่านที่ร่วมทำบุญจำนวนเงิน 3,333 บาท ผมมอบพระพิมพ์ให้ 1 ชุด

    - แต่ถ้าไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาเลย หากท่านมีความประสงค์ที่จะได้ไว้ ผมมอบให้สำหรับการร่วมทำบุญจำนวนเงิน 7,777 บาท ผมมอบให้ 1 ชุดครับ

    *************************************************
    *************************************************

    สำหรับองค์เดี่ยวครับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.พระสมเด็จวังหน้า (องค์บนซ้าย) จำนวน 5 คู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.1 มอบให้กับท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง(ลำดับที่ 1 – 215) มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 800 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    1.2 มอบให้ท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,500 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.พระสมเด็จวังหน้า (องค์บนขวา) จำนวน 5 คู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.1 มอบให้กับท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง(ลำดับที่ 1 – 215) มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 800 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    2.2 มอบให้ท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,500 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.พระสมเด็จวังหน้า (องค์ล่างซ้าย) จำนวน 5 คู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    3.1 มอบให้กับท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง(ลำดับที่ 1 – 215) มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    3.2 มอบให้ท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 2,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4.พระสมเด็จวังหน้า (องค์ล่างกลาง) จำนวน 5 คู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4.1 มอบให้กับท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง(ลำดับที่ 1 – 215) มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    4.2 มอบให้ท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ2,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    5.พระสมเด็จวังหน้า (องค์ล่างขวา) จำนวน 5 คู่ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    5.1 มอบให้กับท่านที่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง(ลำดับที่ 1 – 215) มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 500 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    5.2 มอบให้ท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มอบให้กับผู้ร่วมทำบุญ 1,000 บาท มอบให้ 1 องค์<O:p</O:p
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมได้รับเมล์จากเพื่อน เห็นว่าดี ผมนำมาลงให้อ่านกันครับ



    ความมหัศจรรย์ของการสวดมนต์

    อาตมา (สมเด็จโต) ได้เห็นอานิสงส์ของการสวดมนต์ด้วยตัวอาตมาเอง
    ในสมัยที่อาตมาได้ ออกเดินธุดงค์ในป่าเป็นเวลา 15 ปี
    โดยอาศัยอยู่ในเขตดงพญาไฟ ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ใกล้ชายแดนของประเทศเขมร
    ในสมัยนั้นเต็มไปด้วยสิงสาราสัตว์ และภูติผี วิญญาณ


    ตลอดจนชาวบ้านที่มีเวทมนต์คาถา
    และเล่นคุณไสยกันอยู่อย่างมากมายในอาณาบริเวณชายแดนแห่งประเทศสยามในตอนนั้น
    อาตมาได้เดินธุดงค์แต่เพียงลำพัง


    ในช่วงนั้นอาตมามิได้ศึกษาในพระเวทมนต์คาถาอาคมใดเลย
    นอกจากคำว่า
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ


    ซึ่งมีความหมายว่า ข้าพเจ้าขอยึดมั่น พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง

    พระธรรมเป็นที่พึ่ง พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
    อาตมาไปที่แห่งหนตำบลใดก็จะกล่าวเพียงคำนี้ตลอดเวลาของจิตใจอันเป็นที่พึ่งของอาตมา
    อาตมาเดินทางเข้าสู่หมู่บ้านชายแดนแห่งประเทศสยาม ในดงพญาไฟขณะนั้น
    ในหมู่บ้านมีชาวบ้านอาศัย อยู่เพียงเล็กน้อย


    อาตมาจึงได้ปักกลดอยู่ที่ท้ายหมู่บ้าน
    มีชาวบ้านนำอาหารมาถวายตามกำลังที่เขาจะพอทำได้เมื่อเห็นมีพระภิกษุมาปักกลดในที่แห่งนั้น
    อาตมาอาศัยอยู่ที่นั้นเป็นระยะเวลาหลายปี และ ณ ที่แห่งนั้น
    อาตมาจึงได้พบคุณวิเศษแห่งการสวดมนต์


    มีชาวบ้านผู้หนึ่งได้เข้ามาสนทนากับอาตมาหลังจากได้ถวายอาหารแล้ว
    ชาวบ้านผู้นั้นอาตมา ทราบชื่อภายหลังว่าชื่อ นายผล
    นายผลได้เล่าให้อาตมาฟังว่า เขาเป็นผู้ฝึกเวทย์มนต์คาถาอาคม


    เล่าเรียนจนมีญาณแก่กล้า
    และมักจะทดสอบเวทย์มนต์คาถาอาคมแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เดินทางมาปักกลด
    ณ บริเวณนี้เป็นประจำ เขาเล่าให้อาตมาฟังว่า
    เขาได้ส่งอำนาจคุณไสยเข้ามาทำร้ายอาตมาทุกคืน
    แต่ไม่ได้หวังทำร้ายเป็นบาปเป็นกรรมถึงตาย เพียงแต่ต้องการทดสอบดูว่า
    อาตมาจะมีวิชาอาคมแก่กล้าสามารถที่จอต่อสู้กับคุณไสยเขาได้หรือไม่
    นายผลก็ได้ทำคุณไสยใส่อาตาถึง 7 วัน เต็มๆ ไม่ว่า จะเป็นการปล่อยควายธนู
    หรือปล่อยหนังควาย ปล่อยตะขาบ ตลอดจนภูติพรายเข้ามาทำร้ายอาตมา
    แต่ปรากฏสิ่งที่ปล่อยมาก็ไม่สามารถเข้ามาทำร้ายอาตมาได้เลย
    วันนี้จึงได้มากราบเพื่อสนทนาแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กับอาตมา
    อาตมาจึงได้บอกว่า ตัวอาตมาเองไม่ได้ศึกษาพระเวทย์มนต์คาถา หรือคุณไสยใด
    นายผลก็ไม่ยอมเชื่อหาว่าอาตมาโกหก
    ถ้าหากไม่มีของดีแล้วไซร้ไฉนอำนาจคุณไสยดำที่เขาส่งมา
    จึงกลับมายังเขาซึ่งเป็นผู้กระทำไม่สามารถทำร้ายอาตมาได้
    อาตมาก็พยายามชี้แจงให้เขารู้ว่า อาตมาไม่มีวิชาเหล่านี้จริง ๆ
    ทำให้นายผลสงสัยยิ่งนักว่าเหตุใดอาตมาจึงไม่ได้รับภัยอันตรายจากอำนาจเวทมนต์คุณไสยดำ
    ที่เขาส่งมาทำร้ายได้ อาตมาได้บอกกล่าวแก่เขาว่า เมื่ออาตมาจะนอน


    อาตมาก็จะสวดแต่คำว่า
    พุทธังสะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    จนจิตมีความสงบนิ่งแล้ว จึงได้แผ่ส่วนกุศลไปให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย
    จงอย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจ เลย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
    อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย และอาตมาก็จำวัดนอนเป็นปกติ


    นายผล เมื่อได้ฟังดังนี้น จึงได้บอกแก่อาตมาว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์
    ถ้าเช่นนั้นข้าพเจ้าขอร้องให้ท่านในวันนี้


    ก่อนที่ท่านจะจำวัดจงหยุดการสวดมนต์สัก 1 คืนได้หรือไม่
    ข้าพเจ้าต้องการจะพิสูจน์ว่าการสวดมนต์ของท่านเช่นนี้จะเป็นเกราะคุ้มครองภัยท่าน
    หรือเป็นเพราะอำนาจเวทมนต์ถาถาในภูติผีปิศาจของข้าพเจ้าเสื่อมกันแน่
    ข้าพเจ้าของรับรองว่าจะไม่ทำอันตรายแก่ท่าอาจารย์อย่างเด็ดขาด
    เพียงแต่ต้องการที่จะทดสอบให้ความรู้แจ้งเห็นจริงว่าเกิดอะไรขึ้น
    อาตมาก็ตกลงรับปากแก่นายผลว่า คืนนี้จะไม่ทำการสวดมนต์ นายผลจึงได้ลากลับไป


    ครั้นถึงเวลาพลบค่ำอาตมาก็นอนโดยมิได้ทำการสวดมนต์ตามที่ได้ปฎิบัติเป็นปกติ
    เมื่ออาตมานอนหลับไป อาตมารู้สึกตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง


    เมื่อปรากฏว่าอาตมาได้ยินเสียง กุกกัก กุกกัก
    จะขึ้นมา
    จึงได้จุดเทียนและพบตะขาบใหญ่ยาวเท่าขาของอาตมากำลังเลื้อยเข้ามาอยู่ใกล้ตัวของอาตมามาก
    อาตมารู้สึกตกใจถึงหน้าถอดสี และด้วยสัญชาติญาณจึงกล่าวคำสวดมนต์
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
    ด้วยจิตยึดมั่นในพระพุทธองค์เป็นที่พึ่งเป็นเวลานานเท่าใดไม่ทราบได้
    เสียงกุกกักและตะขาบที่อยู่ข้างหน้าก็อันตรธานหายไป
    จากนั้นอาตมาจึงได้จำวัดนอนเป็นปกติ


    ในวันรุ่งขึ้น นายผลก็มาหาอาตมาและได้กล่าวว่า
    เมื่อคืนนี้ข้าพเจ้าได้ปล่อยตะขาบเข้าไปในกลดที่ท่านพำนักอยู่
    อาตมาบอกว่า อาตมาได้ตื่นมาและตกใจ จึงได้สวดมนต์ภาวนา


    ตะขาบตัวนั้นก็อันตรธานหายไป
    นายผลจึงได้ยกมือพนมขึ้น แล้วกล่าวว่า บัดนี้ข้าพเจ้าเชื่อแล้วว่า
    อำนาจเวทมนต์คาถา และคุณไสยใดๆ ของข้าพเจ้ามิอาจทำร้ายท่านได้
    ก็เพราะอำนาจแก่การสวดมนต์ภาวนาของท่านเป็นเกราะคุ้มครองภัยอัตรายต่างๆ ได้


    ที่อาตมา (สมเด็จโต)

    ได้เล่าให้ท่านทั้งหลายในที่นี้ได้ฟังกันเพื่อให้เป็นอานิสงส์ของการสวดมนต์ว่า
    เหล่าพรหมเทพได้มาฟังการสวดมนต์จริงดังที่อาตมาได้เทศน์ไว้
    เพราะถ้าไม่ใช่เหล่าพวกพรหมเทพแล้วไซร้ก็คงไม่สามารถที่จะขับไล่สิ่งที่เกิดจากอำนาจคุณไสย
    ที่นายผลส่งมาเล่นงานอาตมาได้อย่างแน่นอน


    ท่านเจ้าพระยา และ อุบาสก อบาสิกา ในที่นั้น

    เมื่อได้ฟังคำเทศนาแล้วต่างก็ยกมือขึ้นสาธุว่า
    อานิสงส์ของการสวดมานต์ช่างมีคุณค่าสูงส่งยิ่งนัก


    จากหนังสือ อมตะธรรม สมเด็จโต
    อานิสงส์การสวดมนต์แผ่เมตตามหาบุญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...