จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]



    "อะไรที่เราจะช่วยกันได้ ให้ดูแลให้แลกันอย่าทอดทิ้ง
    เห็นคนทุกข์อย่านิ่งดูดาย ถ้าเราช่วยเขาได้ก็ช่วยซะ
    หัวใจเราจะบานออกใหญ่โต เวลาทำอะไรให้มีเจตนาหวังดีต่อกัน
    ให้เขามีความสุข เราก็จะสุขด้วย ความเหนียวแน่น ตระหนี่ถี่เหนียว
    มันเป็นอุปสรรคขัดขวางใจเรา สัตว์เดรัจฉาน มีแต่แย่งกัน
    เป็นมนุษย์ต้องแบ่งปันกัน น้ำใจอย่างนี้เรียกว่า น้ำใจเทวดา
    เป็นมนุษย์ ใจสูง อย่าใจดำ คนทำลายทรัพยากรแผ่นดิน
    ไม่เห็นอกเห็นใจกันเลย เราต้องทำใจเราให้เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
    คือให้มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากันทั่วทุกคน
    จงนำไปใคร่ครวญ พิจารณาด้วยปัญญาอันชาญฉลาดของตนเทอญ"


    หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
    วัดศรีอภัยวัน จ.เลย
     
  2. NOKMAM

    NOKMAM เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    300
    ค่าพลัง:
    +6,157
    [​IMG]
     
  3. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "...ตัวกิเลสจริงๆไม่ใช่ขันธ์ ขันธ์ไม่ใช่กิเลสแต่เป็นเครื่องมือของกิเลสที่นำไปใช้ เราก็นำขันธ์นั้นมาเป็นเครื่องมือของธรรมด้วยในขณะเดียวกัน เอ้า จิตมันคิดมันปรุงเรื่องอะไร มันคิดเรื่องกิเลส เราคิดเรื่องธรรมแก้กัน มันสำคัญมั่นหมายเป็นเรื่องของกิเลส เราก็ใช้สัญญาความจดความจำที่พอจะแก้กิเลสประเภทนั้นได้ด้วยความจำของเรา ด้วยสัญญาของเรา จนกระทั่งกลายเป็นปัญญาขึ้นมา วิญญาณความรับทราบ รับทราบเรื่องอะไร เอ้า รับทราบที่จะเป็นกิเลส เราก็แก้เป็นธรรมไปโดยลำดับลำดา..."

    โอวาทธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
     
  4. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    "..เราต้องการของดี คนดี ก็จำต้องฝึก
    ฝึกจนดี จะพ้นการฝึกไปไม่ได้

    งานอะไรก็ต้องฝึกทั้งนั้น
    ฝึกงาน ฝึกคน ฝึกสัตว์ ฝึกตน ฝึกใจ
    นอกจากตายแล้ว จึงหมดการฝึก

    คำว่า ดี จะเป็นสมบัติ ของผู้ฝึกดีแล้วแน่นอน.."

    : หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
    ที่มา fb ธรรมโอสถ​
     
  5. ไผ่มรกต

    ไผ่มรกต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    248
    ค่าพลัง:
    +1,896
    สาธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญ กับจิตบุญดวงที่ ๑๓๐ ผู้เกี่ยวข้อง และครูผู้ฝึกทุกท่าน ด้วยค่ะ
     
  6. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    สาระธรรมะที่ควรเจริญ ๕ คือ.

    ๑ ธรรมะที่ควรอบรมให้มีขึ้น คือ กายคตาสติ

    ๒ ธรรมะที่ควรเรียนรู้ คือ ผัสสะ กับ อาสวะ

    ๓ ธรรมะอันหนึ่งที่อยากตรัสรู้ คือ สมาธิ ในลำดับวิปัสสนา

    ๔ ธรรมะอย่างหนึ่งควรให้บังเกิดขึ้น คือ ญาณ อันไม่กำเริบ

    ๕ ธรรมะอย่างหนึ่งควรทำให้ปรากฏ คือ เจโตวิมุตติ อันไม่กำเริบ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2013
  7. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    ธรรมะ ๕ ประการ ที่เป็นไปด้วยวิมุตติหลุดพ้นจากกิเลส

    ๑ ไม่ยินดีเพลิดเพลินต่อการงาน
    ๒ ไม่เอิกเกริกเฮฮา
    ๓ ไม่นอนมาก
    ๔ มีอินทรีย์ อันรักษาแล้ว
    ๕ รู้ประมาณในอาหาร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2013
  8. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    อารมณ์ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นที่มากระทบกับจิตเรา คือ ถ้าอารมณ์ดี หรือไม่ดี ก็ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มากระทบอยู่ภายในจิตนั้น แต่ถ้าเราสามารถรู้สิ่งที่มากระทบนั้นว่าจะดี หรือไม่ดีก็ไม่ตั้งอยู่ได้นานนั้น แล้วก็เป็นผู้รับรู้ หรือเป็นผู้ดูมันไป คือ เรามีสติตามรู้ตามดูมัน และอารมณ์นี้จะต้องมีอยู่รํ่าไปเพราะเรายังมีขันธ์ที่มีตัวรับคือ "ภาชนะ"รอรับนํ้าคืออารมณ์ที่มาเติม และก็จะมีขุ่นบ้างใสบ้าง ก็เหมือนอารมณ์ ที่มากระทบจิต แต่จิตนั้นคือ "ตัวกรอง"ให้นํ้าใสจึงต้องมีสติอยู่ตลอดถ้าเมื่อไหร่ สติไม่ทันนั้นก็จะเกิดทุกข์ทางใจ ขึ้นมาทันที่ หรือ อารมณ์ที่เบื่อหน่ายต่อสภาพแวดล้อมรอบกาย บ้างคนถึงกับต้องเพิ่งยาเพื่อปรับอารมณ์เพราะไม่รู้เท่าทันกับสิ่งที่มากระทบทางใจ ผู้ที่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยอย่างเราๆท่านๆจึงถือว่ามีบุญบารมีที่พวกเราได้เกิดมาทัน"พระศาสนา" ของ"พระสัมมาสัมพุทธเจ้า"จึงทําให้เห็นทุกข์ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปค่ะ.
     
  9. Natcha@uk

    Natcha@uk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +9,444
    บทความตอนหนึ่ง พระราชพรหมยาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ​



    พระองค์อธิบายว่า ขณะที่ทรงขันธ์ ๕ อยู่
    ให้ทำจิตเหมือนกับอยู่ที่นิพพาน
    แต่ทว่ากิจที่จะต้องทำก็คือ ภาระเกี่ยวกับขันธ์ ๕
    ถือว่าเราทำเพื่อมันทรงอยู่ เพราะมันยังไม่ดับ แต่อย่ามีอารมณ์กังวล
    มันอยากกินก็ให้มันกิน มันอยากขี้ก็ให้มันขี้ มันอยากนอนก็ให้มันนอน
    ทำสภาวะเหมือนกับว่า ร่างกายเหมือนเสือตัวร้ายที่เราเลี้ยงไว้
    แต่เรา กำลังจะกระโดดหนีเสือ แต่มันยังไปไม่ได้
    เมื่อเราอยู่กับเสือก็มีความ รังเกียจเสือ เราให้มันกินเพราะความจำใจ
    แต่เนื้อแท้จริงๆ เราไม่ต้องการมันเลย
    แล้วพระพุทธองค์ ทรงสรุปอีกว่า
    ให้พยายามรักษากำลังใจว่า ที่เราทรงขันธ์อยู่ให้เหมือนกับว่า เราละขันธ์ ๕
    ไปอยู่นิพพาน คืออย่าให้มีอารมณ์ยุ่ง หน้าที่ก็ให้มันเป็นหน้าที่ จิตจงอย่ายุ่ง
    ทำทุกอย่างเพื่อเราละโลกนี้ เทวโลก พรหมโลก
    ซึ่งเหมือนพยัคฆ์ร้ายที่คอยทำอันตรายเรา เราต้องการอย่างเดียว คือ พระนิพพาน​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มกราคม 2013
  10. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    ขออนุโมทนาบุญกับจิตบุญ 130 และครูผู้สอนทุกท่านค่ะ
     
  11. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ก็ต้องการความสุขกันทุกๆคน คือ "รักสุขเกลียดทุกข์"แต่คําว่าสุขนั้นที่สุขจริงๆนั้นมันไม่ค่อยจะมี เพราะเราคิดเอาเองว่า ถ้าเรามีเงินเราก็จะมีความสุข(นั้นคือความคิดว่าจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้) คือคิดนึกเอา และก็คิดถ้าเรามีคู่เราก็คงจะมีสุข(นี่ก็สําหรับคนยังไม่มีคู่ก็คิดเอา) คือยังไม่ใช่ความจริงเพราะเป็นแค่ความนึกคิด แต่คนก็หารู้ได้ไม่ว่าความคิดนี่แหล่ะทําให้คนเป็นทุกข์ เพราะคิดแล้วอยากให้สมประสงค์ก็ต้องวิ่งหามา พอได้มาแล้วว่าจะสุขก็ไม่สุข เพราะมันเพิ่มทุกข์เข้าไปอีก โดยเจ้าตัวไม่ได้ทันระวัง(นี่เรียกว่าไม่ทันกิเลสที่มายุยงส่งเสริมเราให้คอยตามมัน)ก็เลยไม่เจอสุขจริง แต่สําหรับคนที่จะเจอสุขจริงนั้น เขาต้องหยุดคิด คือ การพิจารณาใคร่ครวญว่าสิ่งไหนควรและสิ่งไหนไม่ควรทําคือ มีสติคอยรักษาจิตไม่ให้วิ่งตามกระแสของโลก ที่ทําให้คนทุกข์เพราะความไม่รู้จักพอ คือกิเลสไม่มีเมืองพอ เพราะกิเลสก็เหมือนไฟได้เชื้อ ก็มีแต่จะลุกล่ามไปใหญ่โต นั้นคนถึงต้องตกเป็นทาสของมันได้ง่าย และถ้าผู้เห็นภัยของกิเลสก็จะหยุดคิดแลัวนําธรรมมาปฏิบัติเพื่อให้มีสติรู้เท่าทันกิเลสนั้นและสตินี้จึงจําเป็นในการที่จะรู้ทันกิเลส ก็คือ "ตัวปัญญา"ถ้าเรามี"ปัญญา"แล้วความทุกข์ก็จะน้อยลงจนหมดไปได้ จึงนํามากล่าวถึงซึ้งความจําเป็นของ "สติ และ ปัญญา"ค่ะ.
     
  12. phiung_ay

    phiung_ay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    52
    ค่าพลัง:
    +895
    ธรรมะวันนี้ ( สำหรับคนที่กำลังหลง )

    บางคนมีสมบัติมากเสียจนเพลิน เพลินที่จะใช้

    เพลินที่จะชื่นชม และครอบครองมันด้วยความหวงแหน

    จนลืมไปว่า มันมิใช่ที่สุดของความสุข มีมากก้อใช่ว่าจะไม่ทุกข์

    ทุกข์ก้อเพราะมี ทุกข์เพราะหวาดระแวง ทุกข์เพราะกลัวว่ามันจะหมดไป

    มันจะน้อยลง แค่ของสมมตุผลัดกันไปมา เปลี่ยนมือตามกาลและเวลา

    ไฉนเลย เราเอาจิตลงไปคลุกเคล้าจนเป็นหนึ่งเดียวกับความหลงมัวเมา

    เมื่อวันหนึ่งเสียมันไป เหลือมันน้อยลง ก้อมานั่งทุกข์ มานั่งเศร้า

    บ่นว่าขาดทุนบ้าง เจ๊งบ้าง หมดแล้วชีวิตกูหนอ พังทลายจบสิ้น

    เพราะหมดทรัพย์สินที่ครอบครอง คราวนี้ลองย้อนกลับไปเมื่อเราแรกเกิดใหม่ๆ

    ว่าพกอะไรออกมาจากท้องแม่บ้างบ้าง มีเงิน มีทอง

    หรือมีทรัำย์สินอะไรติดตัวมาหรือเปล่า แล้วเราจะเรียกว่าขาดทุนได้อย่างไร

    ความจริงแล้ว "เราไม่ได้ขาดทุนอะไร เพียงแค่เสียกำไรไปนิดหน่อย"
     
  13. Golden Sky

    Golden Sky เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    575
    ค่าพลัง:
    +8,976
    การบํารุงรักษาสิ่งใดๆ ในโลกนี้สู่การบํารุงรักษาใจตนเป็นเยี่ยมยอดไม่ได้ เพราะใจของตน คือจุดที่เยี่ยมยอดของโลก ก็คือ"ใจ"ควรบํารุงรักษาใจให้ดี พอได้ใจแล้วก็ได้ธรรม เห็นใจตนแล้ว คือ "เห็นธรรม"และรู้ใจตนแล้วก็คือรู้ธรรมทั้งมวล ถึงใจตนแล้วก็คือถึง "พระนิพพาน"
    ที่มา คําสอนของหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ.
     
  14. มาลินี UK

    มาลินี UK เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    807
    ค่าพลัง:
    +12,713
    พระธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว และคุณที่ทราบกัน

    แพร่หลายก็ คือ คุณแห่งพระธรรมทั้ง ๖ ประการอย่างที่สวดสรรเสริญกัน คือ

    ๑. สวากขาโต ภควตา ธัมโม พระธรรมอันผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว

    ๒. สันทิฏฐิโก อันที่ศึกษาและพินิจพิจารณาประพฤติปกิบัติจะสัมผัสธรรมะเหล่านั้น

    ได้ด้วยใจของตนเอง.

    ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยการในเนื้อหาของธรรมะ สิ่งใดที่ทรงแสดงว่าเป็น

    กุศลก็เป็นกุศลอยู่อย่างนั้น สิ่งใดที่เป็นกุศลสิ่งใดที่เป็นอัพยากฤตก็คงเป็นอยู่อย่าง

    นั้นไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกัน เมื่อบุคคลนำมาประพฤติปฏิบัติแล้ว ผลที่เกิดขึ้น

    จากสัมมาปฏิบัติในชั้นต่างๆ ก็ไม่ถูกจำกัดด้วยการเวลาปฏิบัติเมื่อใดก็ได้ผลเมื่อนั้น

    แต่การเลือกเฟ้นธรรมะมาประพฤติปฏิบัตินั้น ท่านแน้นว่าต้องปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

    ปฏิบัติชอบยิ่งปฏิบัติตามธรรม ผลที่พึงประสงค์จึงจะเกิดขึ้นได้ตามที่ได้รับรองเอาไว้

    ๔ เอหิปัสสิโก ควรเชิญชวน ชักชวนบุคคลทั้งหลายให้มาศึกษา มาพินิจพิจราณา

    ลงมือประพฤติปฏิบัติด้วยตนของตนเอง

    ๕ โอปนยิโก ควรน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติ คือน้อมตนเข้าหาธรรมะ น้อมธรรมะมาไว้

    ภายในใจของตน เพื่ออาการกาย วาจาและใจของตนได้แสดงออกที่ประกอบด้วยธรรม

    คือสุจริตทางกายทางวาจา และทางใจ

    ๖. ปัจจัตตัง เวทตัพโพ วิญญูหิ เป็นพระธรรมที่วิญญูชนจะรู้ได้เฉพาะตน ไม่ว่าในชั้น

    ของการศึกษา ชั้นของการพินิจพิจารณา หรือชั้นการประพฤติปฏิบัติก็ตาม ใครศึกษา

    พินิจพิจารณาและปฏิบัติคนนั้นจะสัมผัสรสแห่งธรรมะด้วยใจของตนเอง ทำนองเดียวกับ

    ใครรับประทานอาหารเหล่านั้นด้วยตนเอง หรือใครจับน้ำแข็ง คนนั้นจะสมัผัสความเย็น

    ด้วยตนเอง. จึงขอฝากไว้เพื่อความเข้าใจ ด้านของคุณของพระธรรม ท่านได้จำแนกไว้

    เป็นข้อๆให้ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติได้ทราบถึงความหมายความสำคัญของแต่ละข้อ.

    ผู้เขียนได้คัดมาจากหนังสือนิเทศธรรม โดยพระราชธรรมนิเทศ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2013
  15. ธรรมมณี

    ธรรมมณี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,044
    ค่าพลัง:
    +14,027
    ขออนุญาตินำวิปัสสนาญาณ ที่เขียนออกมาจากจิตที่ใสๆ ซื่อๆ ดวงน้อยๆ ดวงนี้ มาให้ทุกท่านได้อ่าน และร่วมอนุโมทนาบุญกับเธออีกครั้งค่ะ สาธุๆๆๆ:cool::cool::cool:

    สวัสดีค่ะครูพลัง ครูพี่เกษ

    ขอบคุณสำหรับความเมตตาและกรุณาที่ครูมีให้กับหนูค่ะ สาธุๆๆค่ะ

    ปุ้ย มาถึงตรงนี้แล้ว พี่เกษขอถามว่า

    1. ปุ้ยเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรามั้ย?

    จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้หนูมีดวงตาเห็นธรรม และเกิดปัญญามากขึ้นค่ะ คือ ได้รู้ ได้เห็น ด้วยจิตว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่ของเรา ถ้าร่างกายมันเป็นของเราจริง เราก็ต้องสามารถที่จะควบคุม อยู่ในอำนาจบังคับมันได้ ไม่ให้แก่ เหี่ยว ย่น ขนาดซื้อครีมที่ว่าดีที่สุดมาทา มาบำรุง มันก็ยังมีริ้วรอยให้ปรากฏอยู่ดี เราไม่สามารถควบคุมให้มันคงสภาพให้เป็นหนุ่มเป็นสาวตลอดกาลได้ ถ้าร่างกายเป็นของเราจริงเราก็สามารถไม่ให้มันเจ็บ ป่วย ปวดเมื่อยได้ แต่นี่เราควบคุมมันไม่ได้เลยจริงๆ มันเป็นแค่ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นการรวมตัวของธาตุต่างๆที่มาประกอบเข้าด้วยกันเท่านั้นเองค่ะ ร่างกายเป็นแค่ของชั่วคราวที่จิตเรามาอาศัยอยู่ มันไม่เที่ยงอะไรเลย เรายึดติดมันเมื่อไหร่เราจะทุกข์ทันที เพราะว่ามันเสื่อมโทรมไปแต่ละวันๆๆ

    2. ตัวอัตตา มานะ เป็นของเรามั้ย?

    รู้แล้ว เห็นแล้ว กระจ่างด้วยตัวเองแล้วค่ะว่าตัวอัตตา มานะ "ตัวกู ของกู ของๆกู นี่กูนะ" ไม่ใช่ของเราเลย ไปหลงยึดมั่น ถือมั่น ยึดติดว่ามันเป็นจริง แล้วไปปรุงแต่งมันทั้งรูปธรรม นามธรรมต่างๆ ถ้าไม่เจอทุกข์ครั้งนี้คงมองไม่เห็น ทำให้เราไม่รู้ อย่างกรณีที่เกิดขึ้นเราไปหลงที่เค้าทำดีกับ เราไปหลงความดีต่างๆ ที่เค้าเคยทำให้เรา คำพูดดีต่างๆ เรื่องราวดีๆต่างๆที่เกิดขึ้น ตลอดเวลาที่ผ่านมา ทำให้เราไปยึดติด ไม่เคยรู้เลยว่ามันเป็นกิเลสอย่างนึง เพราะใจเราถลำในรูปธรรม นามธรรมที่เกิดขึ้น ไม่ได้คิดว่ามันเป็นแค่สิ่งสมมุติ เป็นเพราะใจเราไปปรุงแต่งตลอด ที่จริงที่ผ่านมาเค้าก็เป็นเหมือนคนทั่วๆไป ที่เทคแคร์ และปฏิบัติกับคนรักเหมือนคนรักทั่วไปที่เค้าปฏิบติกัน แต่ด้วยที่เราไม่เคยมีใครมาปฏิบัติ ทำดีกับเราแบบนี้มาก่อนทำให้เราเกิดความพอใจ ความปลาบปลื้ม ซาบซึ้ง ประทับใจ จินตนาการ ปรุงแต่งมันเข้าไปๆๆๆๆๆ จนเกิดความหลง ใจไปถลำ ไปเผลอยึด ถ้าเราวางใจปกติ มองแค่เค้าเป็นเพียงคนธรรมดาที่มีกิเลส ความโลภ โกรธ หลง เหมือนตัวเอง ถ้าเราวางใจเป็นกลางไม่ไปยึดติด ไปจินตนาการ ให้ฉายา ไม่ปล่อยใจให้ปรุงแต่ง เราก็จะไม่ทุกข์ ไปยึดมั่นถือมั่น ไปให้ความสำคัญกับเค้าจนเกิดไป ถ้าเราไม่ไปให้ความสำคัญ หลงยึดติด เราก็จะไม่ทุกข์ ตัวมานะ ในทางโลกคิดว่ามันดีไงคะ เพราะเราคิดว่าเราเป็นเด็กดีมาตลอด ไปโรงเรียนครูก็รักเอ็นดูชมตลอดๆเธอเป็นเด็กดี เรียนใช้ได้ เร๊ยบร้อย น่ารัก ส่วนครอบครัวจำความได้แม่ก็จะพูดเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เรื่องรักนวลสงวนตัว เป็นนางเอกหนังไทยในสมัยก่อนไงคะว่าเราต้องรักษาพรหมจรรย์จนกว่าเราจะแต่งงานให้ผู้ชายที่เรารัก ดูหนัง ละครก็จะเลือกดูละครประเภทหนังเกาหลี ญี่ปุ่น ไทย ที่พระเอกเพอร์เฟค สุภาพบุรุษใน 3 โลก ต่อให้มีผู้หญิงมารุมล้อม มาใช้มารยาล้านเล่มเกวียน พระเอกก็มั่นคงแค่กับนางเอก หรือพระเอกต่อให้มีโอกาสให้พลั้งเผลอต่อผู้หญิงคนอื่นก็จะเรียกสติได้ทุกครั้งที่นึกถึงภาพนางเอกค่ะ ไงล่ะคะที่นี้ มันก็ทำให้เราอินกับชีวิตจริงน่ะสิคะ ซึ่งจริงๆแล้วหนัง ละครเรื่องอื่นที่เค้าสร้างที่พระเอกเจ้าชู้ เลว แต่เราไม่เคยดูไงคะ มันทำให้เราอินว่าชีวิตจริงชั้นเจอแล้วพระเอก สุภาพบุรุษ ผู้เสียสละทุกอย่างมันกลายเป็นกิเลส ความโง่ ความหลงตัวเองอย่างนึง เพราะทำให้เราคิดว่าทุกคนต้องเหมือนกับเรา(จริงๆเราก็ไม่ได้ดีกว่าเค้า) พอเค้าไม่ได้ดังที่ใจเราคิดเรากลับมองว่า เค้าไม่ดี เค้า"เลว" อย่างที่ครูลูกพลังเขียนมาทุกอย่างค่ะ พอมาตอนนี้เห็นตัวตนของตัวเองแล้วค่ะ ว่าตัวเองไม่ได้ดีกว่าคนอื่นเลย ยิ่งมองว่าตัวเองดี แน่ เก่ง กว่าคนอื่น แสดงว่าเรานั่นแหละยิ่งกว่าเค้าอีก มีอีกอย่างจะแชร์ค่ะ ปุ้ยบอกแม่เมื่อปลายปีว่า จะส่งเงินให้จำนวนนึงสิ้นมกรานี้ค่ะ แล้วทีนี้ปุ้ยทำไม่ได้ตามจำนวนที่ระบุบอกไว้กับแม่ เลยบอกแม่ว่า "อาจจะไม่ได้ตามจำนวนที่หนูบอกแม่นะ" แม่เลยพูดกลับมา "แม่ไม่เคยพูดเลยนะ ว่าลูกต้องส่งเงินให้แม่ จำนวนเท่านั้น เท่านี้ ลูกเป็นคนพูดเอง เออเอง กำหนดเองทั้งหมด ลูกจะให้แม่เท่าไหร่ อะไรยังไง แม่แล้วแต่ลูกจะให้" พอแม่พูดยังงั้นเลยทำให้เกิดปัญญาค่ะ ว่าที่ผ่านมาแม่ไม่ได้เรียกร้องอะไร แต่ด้วยความที่เราไปยึดติด ไปกำหนด บงการทุกอย่างว่ามันต้องเป็นตามที่เราวางเป้า ตามแผน บางที่เราไม่รู้ตัว ว่ามันเป็นกิเลสอย่างนึง ที่เราไปยึดติดนามธรรม ว่าลูกต้องกตัญญู ต้องให้แม่สบาย มีความสุข

    3. ถ้าธาตุลมดับลง แล้วตายตอนนี้เสียดายไหม? เพราะอะไร?

    ครูพี่เกษเคยถามตอนที่อยู่วัดค่ะ ตอนนั้นยอมรับว่าปุ้ยยังมีห่วง ไปยึดติด ว่าตัวเองยังมีแม่ ครอบครัว สามีที่ประเสริฐที่เราจะสร้างอนาคตด้วยกัน วาดฝัน จินตนาการ ปรุงแต่งๆๆๆ มันยังยึดติด มันยังมองไม่เห็นไงคะ เพราะยังมีกิเลสไปหลงอยู่ในความสุขอยู่ มันยังตอบไม่ได้หรอกค่ะ แต่พอมาตอนนี้ หลังจากที่เห็นทุกข์ ทำให้เราเกิดความรู้แจ้งในจิต ถ้าจะตายตอนนี้ไม่มีความเสียดายใดๆเลย ไม่ห่วงอะไรเลยค่ะ พร้อมที่จะตายเพื่อที่จะไม่ต้องมาผูกติดอยู่ในเครื่องพันธนาการขันธ์5 ไม่ต้องมีเวรกรรม ใช้กรรมกับใคร เพราะไม่มีอะไรให้เราหลงยึดมั่น ถือมั่นอะไรเลยค่ะ ไม่มีอะไรเที่ยงเลยจริงๆ แม้กระทั่งคนที่เรารักที่สุดทั้งแม่และแฟน ตอนนี้มีความรู้สึกกับแฟน แม่แบบคนธรรมดา ที่พูดคุย ช่วยเหลือกัน มันเป็นหน้าที่ เพราะเรามีเค้าแล้วเราก็ต้องทำหน้าที่แฟน ทำหน้าที่ลูก เห็นเค้าเป็นแค่เพื่อนเกิด แก่ เจ็บ ตาย คนที่มาใช้กรรมร่วมกับตนเอง ต่างคนต่างเกิด พอจะไปก็ต่างคนต่างไป ถ้าไม่มีเราเค้าก็มีชีวิตอยู่ได้ ทุกอย่างมันเป็นของไม่เที่ยง เกิด ดับ ทุกคนต้องตายเหมือนๆกัน
     
  16. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,846
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    วัดถ้ำเมืองนะ สารคดี HD
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=Bh6HdoefqMI]วัดถ้ำเมืองนะ สารคดี HD - YouTube[/ame]


    กราบหลวงปู่ดู่ด้วยเศียรเกล้าเจ้าค่ะ
     
  17. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,846
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    สิ้นโลก เหลือธรรม:เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม
    สิ้นโลก เหลือธรรม
    โดย
    พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์
    (เทสก์ เทสรังสี)
    พระพุทธเจ้าได้ อุบัติเกิดขึ้นมาในโลก เป็นศาสดาเอกด้วยการตรัสรู้ชอบเอง ไม่มีใครเป็นครูอาจารย์สอน แล้วก็นำเอาธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้นั้น มาสอนแก่มนุษย์ทั้งปวง ด้วยธรรมที่สอนนั้น สอนมีเหตุมีผล มิใช่ไม่มีเหตุมีผล เป็นของอัศจรรย์ สมควรที่ผู้ฟังทั้งหลายตรึกตรองแล้วจะเข้าใจได้ แลไม่ได้บังคับให้ผู้ใดมานับถือ แต่เมื่อผู้ฟังทั้งหลายมาฟังตรึกตรองตามเหตุผลแล้ว เห็นดี เห็นชอบ มีเหตุมีผล แล้วเลื่อมใสศรัทธาศาสนาอื่น ซึ่งเขาห้ามไม่ให้วิจารณ์ศาสนาของเขา ส่วนพุทธศาสนา ท้าให้วิจารณ์ได้เต็มที่เลย วิจารณ์เห็นเหตุ เห็นผล แน่ชัดด้วยตนเองแล้วจึงนับถือด้วยความเป็นอิสระ แลเมื่อยอมรับนับถือแล้ว ความคิดความเห็นและการปฏิบัติ ก็จะเป็นไปในแนวเดียวกันทั้งหมด โดยที่มิได้บังคับ หรือนัดแนะกันไว้ก่อนเลย หากแต่เป็นไปตามเหตุผล ดังนี้คือ

    ขั้นที่ ๑ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม
    "กมฺมสฺสกา กมฺมทายาทา กมฺมโยนี กมฺมพนฺธู กมฺมปฏิสรณา ยํ กมฺมํ กริ
    สฺสนฺติ กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ" ทั้ง ๖ อย่างนี้ เชื่อมั่นแน่วแน่อยู่ในใจของตนทุกๆ คนตลอดชีวิต

    กมฺมสฺสกา คนเราเกิดขึ้นมา พอรู้ภาวะเดียงสาแล้ว ก็ตั้งหน้าตั้งตากระทำแต่กรรมเรื่อยไป ไม่ด้วยกาย ก็ด้วยวาจา หรือด้วยใจ จะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ เรียกว่า กมฺมสฺสกา๑

    การ กระทำทุกสิ่งทุกอย่างย่อมมีผลทั้งนั้น ไม่ดีก็ชั่ว ไม่เป็นบาปก็เป็นบุญ จะหลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้น กาย วาจา แลใจ เกิดมาได้กระทำกรรมนั้นๆ ไว้ ย่อมได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป เรียกว่า กมฺมทายาทา๑

    ผล ของกรรมดีย่อมนำเอากาย วาจา และจิตอันนี้ให้ไปเกิดเป็นสุขในโลกนี้ แลโลกหน้า ผลของกรรมชั่วย่อมนำเอากาย วาจา แลจิตอันนี้ไปให้เกิดเป็นทุกข์ในโลกนี้และโลกหน้า เรียกว่า กมฺมโยนี๑

    กรรมที่กาย วาจา แลใจได้กระทำไว้ในภพก่อน บันดาลให้ในภพที่ตนเกิดแล้วให้เป็นไปต่างๆ นานา เรียกว่า กมฺมพนฺธู ๑

    คน เราเกิดมาเพราะกรรม ดังที่อธิบายมาแล้ว แล้วจะอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ ต้องมีการกระทำทั้งนั้น ไม่ทำดี ก็ทำชั่ว เพื่อการเลี้ยงชีพของตน เราต้องอาศัยกรรมนั้นๆ เป็นเครื่องอยู่อาศัย ฉะนั้น กรรมนั้นจึงเรียกว่า กมฺมปฏิสรณา ๑

    ฉะนั้น บุคคลเกิดมา จึงควรตัดสินใจของตนเองว่า เราจะทำกรรมดีหรือกรรมชั่ว กรรมดีแลกรรมชั่วนั้น ไม่ใช่เป็นของคนอื่น เป็นของเราเอง กรรมนี้เท่านนั้นจะจำแนกแจกมนุษย์และสัตว์ให้เป็นต่างๆ นานาได้ นอกจากกรรมแล้ว ใครแลสิ่งใดในโลกนี้จะมาจำแนกไม่ได้เลย จึงเรียกว่า กลฺยาณํ วา ปาปกํ วา ตสฺส ทายาทา ภวิสฺสนฺติ๑

    ทั้ง ๖ อย่างนี้ ย่อมเชื่อแนบแน่นอยู่ในใจของผู้นับถือพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิต

    มนุษย์ คนเราเกิดมาเพราะกรรมยังไม่สิ้นสุด กรรมเก่าที่นำให้มาเกิดนั่นแหละ พาให้กระทำกรรมใหม่ อีก กรรมใหม่นั่นแหละเป็นเหตุให้นำไปเกิดชาติหน้า เป็นกรรมเก่าอีก อธิบายว่า กรรมใหม่ในชาตินี้เป็นเหตุให้นำไปเกิดเป็นกรรมในชาติหน้าต่อไป

    อนึ่ง กรรมทั้งหมดเกิดจากกาย วาจา แลใจ สายเดียวกันทั้งสิ้นจึงได้ชื่อว่า กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของกรรมด้วยกันแลกัน จึงเรียกว่า กมฺมพนฺธู

    ผู้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ดังที่อธิบายมาแล้ว ได้ชื่อว่านับถือพระพุทธศาสนาหรือเข้าถึงพระไตรสรณาคมน์เป็นขั้นแรก
    ขั้นที่ ๒ จะต้องมีศีล ๕ ประจำอยู่ในตัวเป็นนิจ
    ศีล ๕ นี้เมื่อเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรมแล้ว รักษาง่ายนิดเดียว เพราะศีล ๕ พระพุทธเจ้าพระองค์ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว เมื่องดเว้นจากการกระทำความชั่วแล้ว ก็เป็นอันว่ารักษาศีลเท่านั้นเอง บาปกรรม ความชั่วทั้งหมดที่คนเราหรือสัตว์ทั้งหลายที่กระทำกันอยู่ในโลก ท่านประมวลไว้รวมกันอยู่ มี ๕ ข้อเท่านั้นเอง ใครจะทำอะไรหรือที่ไหน ก็มารวมลง ๕ ข้อนี้ทั้งนั้น

    จิต เป็นตัวการของสิ่งทั้งปวงหมด ท่านจึงให้สำรวมจิต

    - จิตคิดงดเว้นที่จะฆ่าสัตว์ตัวเป็นให้ตาย ๑
    - จิตคิดงดเว้นที่จะลักขโมยของเขาที่เจ้าของหวงแหนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตน ๑
    - จิตคิดงดเว้นที่จะไม่ล่วงละเมิดผิดลูกเมียของคนอื่น ๑
    - จิตคิดวดเว้นที่จะไม่กล่าวคำเท็จ คำไม่จริง คำหยาบคายหรือวาจาส่อเสียดผู้อื่น ๑
    - จิตคิดที่จะไม่ดื่มสุราเมรัย น้ำดองของมึนเมา ๑

    ทั้ง ๕ ข้อนี้ถ้าคนใดรักษาได้ ก็ได้ชื่อว่ารักษาศีล ๕ ได้ อันเป็นเหตุนำความสุขมาให้แก่หมู่มวลมนุษย์ทั้งปวง ถ้างดเว้นไม่ได้ ก็ได้ชื่อว่าคนนั้นไม่มีศีล อันจะเป็นเหตุให้นำความทุกข์เดือดร้อนมาให้แก่มวลมนุษย์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ปราชญ์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ท่านจึงงดเว้นบาปกรรม ความชั่วทั้งปวงเหล่านี้ แล้วแนะนำสั่งสอนมวลมนุษย์ทั้งปวงให้งดเว้นทำตามด้วย

    ผู้ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ดังได้อธิบายมาแล้ว แลมีศีล ๕เป็นเครื่องรักษากาย วาจา แลใจ ผู้นั้นได้ชื่อว่า เข้าถึงพระพุทธศาสนาเป็นที่สองแล้วจึงตั้งใจชำระจิตชำระใจของตนด้วยการทำ สมาธิต่อไป ถ้าไม่เข้าถึงหลักพระพุทธศาสนาแล้ว จะทำสมาธิชำระจิตของตนได้อย่างไร แม้แต่ความเห็นของตนก็ยังไม่ตรงต่อคำสอนของพระพุทธศาสนา เช่นเห็นว่ากรรมที่ตนกระทำแล้ว คนอื่น แลสิ่งอื่น เอาไปถ่ายทอดให้คนอื่นแลสิ่งอื่นได้ หรือกรรมที่ตนกระทำไว้แล้ว ให้คนอื่นเอาไปใช้ให้หมดสิ้นไปได้ อย่างนี้เป็นต้น

    ศีล บางคนที่ว่าต้องรักษาที่กาย ที่วาจา ไม่ต้องไปรักษาที่ใจ ใจเป็นเรื่องขอสมาธิต่างหาก กาย วาจา มันจะเป็นอะไร มันจะทำอะไร มันก็ไม่กระเทือนถึงสมาธิ ตกลงว่า กายกับใจ แยกกันเป็นคนละอัน ตรงนี้ผู้เขียนไม่เข้าใจจริงๆ เรื่องเหล่านี้พิจารณาเท่าไรๆ ก็ไม่เข้าใจจริงๆ ขอแสดงความโง่ออกมาสักนิดเถอะ สมมติว่าคนจะไปฆ่าเขา หรือขโมยของเขา จำเป็ฯจิตจะต้องเกิดอกุศลบาปกรรมขึ้นมา แล้วจะต้องไปซุ่มแอบ เพื่อไม่ให้เขาเห็น เมื่อได้โอกาสแล้วจะต้องลงมือฆ่า หรือขโมยของเขาตามเจตนาของตนแต่เบื้องต้น การที่จิตคิดจะฆ่าหรือขโมยของเขา แล้วไปซุ่มอยู่นั้นถึงแม้ศีลจะไม่ขาด แต่จิตนั้นเป็นอกุศลพร้อมแล้วทุกปรพการที่จะทำบาปมิใช่หรือ ถ้าจิตอันนั้นมีสติรักษา สำรวมได้ไม่ให้กระทำ เลิกซุ่มเสีย ศีลก็จะไม่ขาด ตกลงว่าใจเป็นตัวการ ใจเป็นต้นเหตุที่จะให้ศีลขาดแลไม่ขาด จะว่ารักษาศีลไม่ต้องรักษาใจได้อย่างไร

    ท่านว่า รักษาศีล คือ รักษาที่กาย วาจา ใจ ๓ อย่างนี้ มิใช่หรือ

    ในทางธรรม พระพุทธเจ้าก็เทศนาว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นใหญ่ มีใจถึงก่อน สำเร็จแล้วด้วยใจ" จะ พูด จะคุย ก็เกิดจากใจทั้งนั้น พูดถึงธรรม ที่จะไม่พูดถึงเรื่องใจแล้วไม่มี คำว่า "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน" นั้นชัดเจนเลยทีเดียว ที่ว่า "ธรรมทั้งหลาย" นั้น หมายถึงการกระทำทุกอย่าง ทำดีเรียกว่า กุศลธรรม ทำชั่วเรียกว่า อกุศลธรรม ทำไม่ดี ไม่ชั่ว เรียกว่า อพยากฤตธรรม เรียกย่อๆ เรียกว่าทำบุญ ทำบาป หรือไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป (ข้อสุดท้ายนี้ ไม่มีใครเลยในโลกนี้ที่จะไม่ทำบาป ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่ง)

    เมื่อ ผู้เขียนพิจารณาถึงเรื่องเหตุ ผล ในธรรมทั้งหลายแล้ว ที่ว่า ศีลให้รักษาที่กายแลวาจา สมาธิ ให้รักษาที่ใจ ไม่ปรากฏเห็นมี ณ ที่ใด หากผู้เขียนจำตำราที่เขียนไว้ไม่เข้าใจ หรือตีความหมายของท่านไม่ถูก เพราะความโฉดเขลาเบาปัญญาของตนเอง ก็สุดวิสัย พระพุทธองค์ยังทรงเทศนาให้พระผู้กระสันอยากสึกว่า พระวินัยในพระพุทธศาสนานีมีมากนัก ข้าพระองค์ไม่สามารถจะรักษาให้บริบูรณ์ได้ ข้าพระองค์จะสึกละ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "อย่าสึกเลย ถ้าพระวินัยมันมากนัก เธอจงรักษาเอาแต่ใจอันเดียวเถิด" นี่แหละ พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนให้เอาแต่ใจอันเดียวซ้ำเป็นไร นี้เรารักษาศีล จะทิ้งใจเสีย แล้วจะรักษาศีลได้อย่างไร ผู้เขียนมืดแปดด้านเลยจริงๆ

    ฆราวาส ผู้มีศรัทธาแก่กล้า จะรักษาศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ นั้น รักษาตลอดเวลาไม่ได้ ถ้าเรามีศรัทธา จะรักษาเป็นครั้งเป็นคราวนั้นได้ ส่วนศีล ๒๒๗ ก็เช่นเดียวกัน จะรักษาข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ พระพุทธเจ้าพระองค์ไม่ห้าม แต่อย่าไปสมาทานก็แล้วกัน

    อย่าง ครั้งฆฏิการพรหมเสวยพระชาติเป็นฆฏิการบุรุษ เลี้ยงบิดามารดาตาบอดทั้งสองข้างทั้งสองคน ด้วยการตีหม้อเอาไปแลกอาหารมาเลี้ยงบิดา มารดาตาบอด อยู่มาวันหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อกัสสปะ เสนาสนะของสงฆ์ไม่มีเครื่องมุง พระองค์ใช้ให้พระไปขอเครื่องมุงกับฆฏิการบุรุษ ฆฏิการบุรุษรื้อหลังคบ้านถวายพระสงฆ์ทั้งหมด ในพรรษานั้น ฆฏิการบุรุษมุงด้วยอากาศตลอดพรรษา ฝนไม่รั่วเลย

    วัน หนึ่งพระเจ้าแผ่นดินนิมนต์พระพุทธเจ้าชื่อ กัสสปะ เข้าไปเสวยในพระราชวัง พอเสร็จแล้วจึงได้อาราธนาขอนิมนต์ให้จำพรรษาในสวนพระราชอุทยาน พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า "ขอถวายพระพร อาตมาภาพได้รับนิมนต์ของฆฏิการบุรุษก่อนแล้ว" พระเจ้าแผ่นดินจึงตรัสว่า "ข้าพระองค์เป็นใหญ่กว่าคนทั้งหลายในแว่นแคว้นอันนี้มิใช่หรือ เมื่อข้าพระองค์นิมนต์ทำไมจึงไม่รับ ฆฏิการบุรุษมีดีอย่างไร"

    พระ พุทธเจ้าจึงได้ทรงเล่าพฤติการณ์ของฆฏิการบุรุษถวายพระเจ้าแผ่นดินตั้งแต่ต้น จนอวสาน เมื่อพระองค์ได้สดับแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในฆฏิการบุรุษเป็นอันมาก จึงให้ราชบุรุษเอาเกวียนบรรทุกสิ่งของต่างๆ มีข้าวสาร ถั่ว งา เนยใส เนยข้น เปลี่ยงมัน เป้นต้นไปให้แก่ฆฏิการบุรุษ เมื่อฆฏิการบุรุษเห็นจึงถามว่า นั้นใครให้เอามา ราชบุรุษจึงบอกว่า พระเจ้าแผ่นดินรับสั่งให้เอามาให้ท่าน ฆฏิการบุรุษจึงบอกว่า ดีแล้วพระเจ้าแผ่นดินพระองค์มีภาระมาก เลี้ยงผู้คนเป็นจำนวนมาก เราหาเลี้ยงกันสามคนไม่ลำบากอะไร ช่วยกราบบังคมทูลว่าของทั้งหมด เราขอถวายคืนให้พระเจ้าแผ่นดินไว้ตามเดิมก็แล้ว

    ฆฏิ การบุรุษเป็นผู้มีศรัทธาแก่กล้า เพียงแค่ขุดดินมาปั้นหม้อก็ไม่ทำ อุตส่าห์ไปหาขวายหนู ขวายตุ่น และตลิ่งที่มันพัง เอามาปั้นหม้อ ส่วนสิกขาบทที่หยาบกว่านั้น ทำไมผู้รักษาศีล จะละเว้นไม่ได้ ศีล ๕ เป็นเสมือนท่านบัญญัติตราไว้สำหรับโลกนี้ ผู้จะทำดีต้องเว้นข้อห้าม ๕ ประการนี้ ผู้จะประพฤติความชั่วก็ทำตาม ๕ ข้อนี้เป็นหลักฐาน จะพ้นจาก ๕ ข้อนี้แล้วไม่มี

    ผู้จะถึงพระไตรสรณาคมน์ ต้องถือหลัก ๕ ประการนี้ให้มั่นคง คือ

    ไม่ประมาทพระพุทธเจ้า ๑
    ไม่ประมาทพระธรรม ๑
    ไม่ประมาทพระสงฆ์ ๑
    ไม่ ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าเราทำดีต้องได้ดี เราทำชั่วต้องได้ชั่ว ไม่เชื่อว่าของภายนอกจะมาป้องกันภัยพิบัติเราได้ ๑
    ไม่ทำบุญภายนอกพระพุทธศาสนา ๑

    การ เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม ว่าเราทำดีย่อมได้ดี เราทำชั่ย่อมได้ความชั่ว ชัดเจนในใจของตนแล้ว ศีล ๕ ย่อมไหลมาเอง ๓ ข้อเบื้องต้นและข้อหนึ่งเบื้องปลายไม่เป็นของสำคัญ

    ฆราวาส ต้องสมาทานศีล ๕ ศีล ๘ ถึงศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ฆราวาสก็รักษาได้เป็นข้อๆ แต่อย่าสมาทานก็แล้วกัน เพราะศีลคือข้อห้ามไม่ให้ทำบาป ฆราวาสก็ไม่มีข้อบังคับว่าไม่ให้ทำบาปเท่านั้นข้อ เท่านี้ข้อ ถึงแม้พระภิกษุ แลสามเณรก็เหมือนกัน ที่พระองค์บัญญัติไว้ั ฆราวาสต้องรักษาศีล ๕ ศีล ๘ สามเณรต้องรักษาศีล ๑๐ ภิกษุต้องรักษาศีล ๒๒๗ นั้น พระองค์ทรงบัญญัติพอให้เป็นมาตรฐานเบื้องต้น ให้เป็นเครื่อหมายว่า ฆราวาส สามเณร ภิกษุ มีชั้นภูมิต่างกันอย่างนี้ๆ เท่านั้น ถ้าเห็นว่าบาปกรรมที่ตนทำลงแล้วจะต้องตกมาเป็นของเราเอง แล้วงดเว้นจากบาปกรรมนั้นๆ จะมากเท่าไรยิ่งเป็นการดี ดังที่อธิบายมาแล้ว พระพุทธองค์ก็มิได้ห้าม ทรงห้ามแต่การกระทำความชั่วอย่างเดียว

    เมื่อ พูดถึงความชั่ว คือบาปแล้ว คนเกิดมาในโลกนี้เจอะเอามากเหลือเกิน แทบจะกระดิกตัวไม่ได้เลยทีเดียว กระดิกตัวไปที่ไหนก็เจอแต่บาปทั้งนั้น พระพุทธเจ้าท่านทรงสรุปให้พวกเราเห็นย่อๆ ไว้ดังนี้

    ให้เข้าหาจิต จับจิตผู้คิด ผู้นึกให้ได้เสียก่อน จิตมันคิดนึกอย่ากจะทำบาปทางกาย มันสั่งให้กายนี้ไปฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ของคนอื่น สั่งให้กายนี้ไปประพฤติผิดในกาม จิตมันคิดนึกอยากจะทำบาปด้วยวาจา มันก็สั่งวาจาให้ไปกระทำบาป ด้วยการพูดเท็จ พูดคำหยาบคาย ด่าคนนั้นคนนี้ พูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล หาประโยชน์มิได้ จิตมันคิดนึกอยากจะทำความชั่วทางกาย ด้วยการกระทำกายอันนี้ให้เป็นคนบ้า มันก็ให้กายนี้เอาน้ำเมามากรอกใส่ปาก แล้วก็ดื่มลงไปในลำคอ กายก็จะแสดงฤทธิ์บ้าออกมา ต่างๆ นานา

    ตรง กันข้าม ถ้าจิตมันละอายจากบาป กลัวบาปกรรม เห็นโทษที่จิตคิดไปทำเช่นนั้นแล้วจิตไม่คิดนึกที่จะทำเช่นนั้นเสีย กายแลวาจาอันนี้ก็จะเป็นศีลขึ้นมา

    นี่ แหละ ถ้าผู้ใดเห็นจิตอันมีอยู่ในกาย แลวาจาอันนี้แล้ว แลจับจิตอันนี้ได้แล้ว จะเห็นบาปกรรมแลศีลธรรม วึ่งอยู่ในโลกทั้งหมด บาปกรรมศีล แลธรรม ย่อมเกิดจากจิตนี้อันเดียวเท่านั้น ถ้าจิตอันนี้ไม่มีเสียแล้วบาปกรรม ศีลแลธรรม เหล่านั้นก็ไม่มี รักษาศีลต้องถือจิต รักษาจิตก่อนจึงจะรักษาศีลถูกตัวศีลแท้

    ดัง ผู้เขียนเคยได้ยินพระบางรูปพูดว่าพระมีศีล ๒๒๗ ข้อ ฆราวาสมีศีล ๕ข้อ ฆราวาสต้องรักษาศีลให้ดีนะ ถ้าไม่ดีมันขาดเอาถ้าข้อหนึ่งก็คงยังเหลือ ๔ ข้อ ถ้าขาด ๒ ข้อก็ยังคงเหลือ ๓ ข้อ ถ้าขาด ๓ ข้อก็คงยังเหลือ ๒ ข้อ ถ้าขาด ๔ ข้อก็คงยังเหลือข้อเดียว ถ้าขาด ๕ ข้อก็หมดกันเลย ไม่เหมือนพระภิกษุท่านมีศีล ๒๒๗ ข้อ ถึงท่านขาด ๙-๑๐ ข้อ ท่านก็ยังเหลืออยู่แยะ นี่แสดงว่าท่านองค์นั้นท่านรักษาศีลไม่ได้รักษาที่ใจ รักษาแต่กายวาจา ๒ อย่างเท่านั้น ไม่ได้คิดว่า ใจผู้คิดล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ เป็นบาป แล้วจึงบังคับให้กาย วาจาทำ ก็สนุกดีเหมือนกัน เอาศีลสิกขาบทนั้นๆ มาอวดอ้างกันว่าใครจะมีศีลมากกว่ากัน

    ความ จริงแล้ว พระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้นั้น ทรงบัญญัติเข้าถึงกาย วาจาและใจที่แสดงออกมาทางกาย แลวาจานั้นส่อถึงจิตผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง แล้วจึงบังคับให้กาย แลวาจากระทำตามต่างหาก ดังที่อธิบายมาแล้วในข้างต้น

    พระ พุทธองค์ท่านทรงบัญญัติพระวินัยไว้ เพื่อให้พระภิกษุสามเณร ผู้ไม่รู้พระวินัยให้ปฏิบัติตามนั้น นับเป็นบุญแก่พวกเราอักโขแล้ว ประพฤติสิ่งทีไม่ดี ไม่งาม ไม่เหมาะสมแก่สมณสารูป พระองค์ห้ามไว้ไม่ให้กระทำ เพื่อความดีของตนเองนั่นแหละ มิใช่เพื่อประโยชน์แก่คนอื่นแลมิใช่เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ เราที่พึ่งไม่ได้แล้ว พระองค์มาเป็นที่พึ่ง ชี้บอกทางให้ นับว่าเป็นบุญเหลือล้นแก่พวกเราแล้ว

    ผู้ รักษาศีลไม่เข้าถึงใจ ถึงจิตแล้ว รักษาศีลยากหรือรักษาศีลเป็น "โคบาลกะ" ว่า เมื่อหนอจะถึงเวลามืดค่ำ จะไล่โคเข้าคอก แล้วเราจะได้พักผ่อนนอนสบาย ไม่เข้าใจว่า เรารักษาศีลเพื่อความบริสุทธิ์สะอาดของกาย วาจา แลใจ รักษาได้นานเท่าไร มากเท่าไร ยิ่งสะอาดมากเท่านั้น รักษาจนตลอดชีวิตได้ยิ่งดีใหญ่ เราจะได้ละความชั่วได้ในชาตินี้ไปเสียที

    คน เราไม่รู้จักศีล (คือตัวของเรา) และไม่เข้าใจถึงศีล (คือข้องดเว้น) ข้อห้ามไม่ให้ทำความชั่ว จึงโทษพระองค์ว่า บัญญัติศีลไว้มากมาย สมาทานไม่ไหว มีคนบางคนพูดว่าบาชนานเท่าไร ดูพระวินัยมากๆ มีแต่ข้อห้าม นั่นก็เป็นอาบัติ นี่ก็เป็นอาบัติ บาปมากเข้าทุกที สู้บวช ๓ วัน ๗ วันไม่ได้ ไม่ได้เป็นอาบัติดี คำพูดของผู้เห็นเช่นนั้นับว่าน่าสลดสังเวชมาก พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาในเมืองไทยของเรา นับตั้งสองพันกว่าปีแล้ว แสงธรรมยังไม่ส่องถึงจิต ถึงใจของเขาเลย น่าสงสารจริงๆ เหมือนกับเต่านอนเฝ้ากอบัว ไม่รู้จักกลิ่นดอกบัวเลย

    เมื่อ ศีลเข้าถึงจิต เข้าถึงใจแล้ว เราไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมารักษาตัวเราเอง ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถใดๆ ศีลต้องระวังสังวรอยู่ทุกอิริยาบถ ไม่ให้ละเมิดทำความชั่ว แม้แต่จิตจะคิดวิตกว่าเราจะทำความชั่ว ก็รู้แล้ว และจะละอายต่อความชั่วนั้นๆ ทั้งที่คนทั้งหลายยังไม่ทันจะรู้ความวิตกของเรานั้นเลย ความเกลียดโกรธ พยาบาท อาฆาตทั้งหลายมันจะมีมาจากไหน เพราะหัวใจมันเต็มเปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณาเข้ามาอยู่เต็มไปหมดแล้วในหัวใจ

    ศีล คือ ความปกติของกาย วาจา แลใจ ถ้าใจไม่ปกติเสียแล้ว กายวาจามันจะปกติไม่ได้ เพราะกาย วาจา มันอยู่ในบังคับของจิต ดังอธิบายมาแล้วแต่เบื้องต้น เพราะฉะนั้น ผู้ต้องการให้เข้าถึงศีลที่แท้จริงแลเข้าถึงพุทธศาสนาให้จริงจัง พึงฝึกหัดจิตของตนให้เป็นสมาธิต่อไป
    ขั้นที่ ๓ การฝึกหัดสมาธิ ก็ไม่พ้นไปจากฝึกหัดกาย วาจา แลใจอีกนั่นแหละ ใครจะฝึกหัดโดยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่เถอะ ถ้าฝึกหัดสมาธิที่ถูกในทางพระพุทธศาสนาแล้ว จำจะต้องฝึกหัดที่กาย วาจา แลใจ นี้ด้วยกันทั้งนั้น เพราะพุทธศาสนาสอนที่ กาย วาจา แลใจนี้อย่างเดียว ไม่ได้สอนที่อื่น ๓ อย่างนี้เป็นหลัก จะสอนศีล สมาธิ ปัญญา ก็ไม่นอกเหนือไปจาหลัก ๓ อย่างนี้ ถ้ายังพูดถึงพระพุทธศาสนาอยู่ตราบใด หรือพูดถึงการปฏิบัติ ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ตราบใด พูดถึง มรรค ผล นิพพาน อยู่ตราบใดย่อมไม่พ้นจากกาย วาจา แลใจ ถ้ายังมีสมมุติบัญญัติอยู่ตราบใด ต้องพูดถึงกาย วาจา แลใจอยู่ตราบนั้น ถ้ายังไม่ดับขันธ์เป็นอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อใด จำจะต้องพูดถึงอยู่ตราบนั้น ถ้ายังไม่ดับขันธ์เป็นอนุปาทิเสสนิพพานเมื่อใด จำจะต้องพูดถึงอยู่ตราบนั้น

    ฝึกหัด สมาธิภาวนา นึกเอา มรณานุสติ เป็นอารมณ์ให้นึกถึงความตายว่า เราจะต้องตายแน่แท้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง เพราะความตายเป็นที่สุดของชีวิตคนเรา เมื่อตายแล้ว ก็ทอดทิ้งสิ่งทั้งปวงหมด ไม่ว่าจะของรักแลหวงแหนสักปานใดต้องทอดทิ้งทั้งหมด การบริกรรม มรณานุสติเป็นอุบายที่สุดของอุบายทั้งปวง จะพิจารณาลมหายใจเข้า หายใจออก ในที่สุดก็ลงความตายจะพิจารณาอสุภกรรมฐาน ในที่สุดก็ลงความตาย

    กรุณาอ่านตอนต่อไปค่ะ
     
  18. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,846
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,038
    เมื่อพิจารณาถึงความตายแล้ว มันมิอาลัยในสิ่งทั้งปวงหมดสิ้นจะคงเหลือแต่จิตอันเดียว นั่นแหละ ได้ชื่อว่าชำระจิตแล้ว แล้วจะมีขณะหนึ่งจิตจะรวมเข้าเป็น สมาธิ คือจิตจะหยุดนิ่งเฉย ไม่คิด ไม่นึกอะไรทั้งหมด แต่รู้ตัวอยู่ว่าเราอยู่เฉย จะนานเท่าไรก็ได้ ถ้าจิตนั้นมีพลังแก่กล้า

    บาง ทีเมื่อชำระจิต ปราศจากอารมณ์ทั้งหมดแล้ว จะยังเหลือแต่จิตดังอธิบายมาแล้ว จิตจะรวมเข้า มีอาการวูบวาบเข้าไป แล้วจะเห็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ หลายอย่าง นั่นก็อย่าไปยึดเอา นั่นแหละเป็นตัวมารอย่างร้ายกาจ ถ้าไปยึดเอา สมาธิจะเสื่อมเสีย แต่คนทั้งหลายก็ไปยึดเอาอยู่นั่นแหละ เพราะเห็นเป็นของแปลกประหลาด แลบางอาจารย์ก็สอนให้ไปยึดถือเอาเป็นอารมณ์เสียด้วย จะเป็นเพราะท่านไม่เคยเห็นเคยเป็น หรือท่านไม่เข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นมาร ก็ไม่ทราบ

    บางคนฝึกหัดภาวนาสมาธิ ใช้คำบริกรรมว่า "อานาปานุสติ" โดยพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก หายใจเข้าไม่หายใจออกก็ต้องตาย หายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ต้องตาย ความตายของคนเรามีอยู่นิดเดียว มีเพียงแค่หายใจเข้า หายใจออกเท่านี้เอง แล้วพึงจับเอาแต่จิตนั้น ลมก็จะหายไปเองโดยไม่รู้ตัว จะยังเหลือแต่จิตใสสว่างแจ๋วอยู่ผู้เดียว จิตที่ใสสว่างนี้ถ้ามีสติแก่กล้าจะอยู่ได้นานๆ ถ้าสติอ่อนจะไม่นาน หรือรวมเข้าภวังค์เลยก็ได้

    จิตเข้า ภวังค์นี้จะมีอาการหลายอย่าง อย่างหนึ่งเมื่อจิตจะรวม จิตน้อมเข้าไปยินดีพอใจกับสุขสงบที่จิตรวมนั้นแล้วจิตจะเข้าภวังค์ มีอาการเหมือนกับคนนอนหลับ หายเงียบเลย อยู่ได้นานๆ ตั้งเป็นหลายชั่วโมงก็มี บางคนขณะที่จิตเข้าภวังค์อยู่นั้น มันจะส่งไปเห็นนั้น เห็นนี่ ต่างๆ นานา บางทีเป็นจริงบ้าง ไม่เป็นจริงบ้าง บางคนก็ไม่เห็นอะไร เงียบไปเฉยๆ เมื่อถอนออกจากภวังค์มาแล้ว จำนิมิตนั้นได้บ้างไม่ได้บ้าง บางคนมีอาการวูบเข้าไปเปลี่ยนสภาพของจิตแล้วเฉยอยู่ มันเกิดหลายเรื่อง หลายอย่าง แล้วแต่อุปนิสัยของคน

    ภวังค์ นี้ถึงมิใช่หนทางให้พ้นจากทุกข์ก็จริงแล แต่มันเป็นหนทางให้ถึงความบริสุทธิ์ได้ ผู้ฝึกหัดจะต้องเป็นไปเป็นขั้นแรก แลเราจะแต่งเอาไม่ให้เป็นก็ไม่ได้ ผู้ฝึกหัดสมาธิจะเป็นทุกๆ คน ถ้าสติอ่อน หมั่นเป็นบ่อยๆ จนเคยชินแล้ว เห็นว่า ไม่ใช่หนทางแล้ว มันหากแก้ตัวมันเองดอกดีเหมือนกันนั่งหลับ มันเป็นเหตุให้ระงับจิตฟุ้งซ่านไปพักหนึ่ง ดีกว่าจิตไปฟุ้งซ่านหาโน่นหานี่ ตลอดวันค่ำคืนรุ่ง สิ่งทั้งปวง ถ้าเราไมเห็นด้วยตัวเองแล้ว เราก็ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร เรารู้ไว้มากๆ แล้วภายหลังจะได้ไม่หลงอีก

    บาง คนฝึกหัดภาวนา กำหนดเอา อสุภะ เป็นอารมณ์ พิจารณาร่างกายตัวของเรา ให้เห็นเป็นอสุภะไปทั้งตัวเลย หรือพิจารณาส่วนใดส่วนหนึ่งให้เป็นอสุภะก็ได้ เช่นพิจารณาผม ขน เล็บ หรือจะพิจารณาของภายในมีตับ ไต ไส้ พุงเป็นต้น ให้เห็นเป็นของปฏิกูลเปื่อยเน่า น่าพึงเกลียดเป็นของไม่งาม ให้พิจารณาจนเห็นชัด เบื้องต้นพึงพิจารณาโดยอนุโลมเอาของภายนอกมาเทียบ เช่น เห็นคนตาย หรือสัตว์ตายขึ้นอืดอยู่ เอามาเทียบกับตัวของเราว่า เราก็จะต้องเป็นอย่างนั้น แล้วมันค่อยเห็นตัวของเราชัดขึ้นโดยลำดับ จนชัดขึ้นมาในใจ แล้วจะเกิดความสังเวชสลดใจ จิตจะรวมเข้าเป็นสมาธิ นิ่งแน่วเป็นอารมณ์อันเดียว ถ้าสติอ่อนจิตจะน้อมเข้าไปยินดีกับความสงบสุข มันจะเข้าสู่ภวังค์ มีอาการดังอธิบามาแล้ว ในเรื่อง มรณานุสติ แล อานาปานุสติ วางคำบริกรรมแล้วสงบนิ่งเฉย บางคนก็เกิดนิมิตต่างๆ นานา เกิดแสงสว่างเหมือนกับพระอาทิตย์ แลพระจันทร์ เห็นดวงดาว เห็นกระทั่งเทวดา หรือภูต ผี ปีศาจแล้วหลงไปจับเอานิมิตนั้นๆ สมาธิเลยเสื่อมหายไป

    บาง อาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้นเป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น เช่นนิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์ อย่างนี้เป็นต้น

    ไปถือเอาแสงภายนอก ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก ผู้อยากได้ชั้นได้ภูมิ เมื่ออาจารย์ถามก็แสดงถึงแสงอย่างนั้น แล้วก็ถือว่าตนถึงขั้นนั้นแล้ว แต่อาจารย์ไม่ถาม ถึงกิเลส แลตนก็ไม่รู้กิเลสของตนเลยว่ามันมีเท่าไร มันหมดไปเท่าไรแล้ว เดี๋ยวกิเลสคือโทสะ มันเกิดขึ้นมา หน้าแดงกล่ำ มรรคผลนั้นเลยหายหมด การสอนให้จับเอานิมิต เกิดทีแรกแล้วทีหลังไม่เป็นอีกเด็ดขาด อย่างนี้มันจะเป็นของจริงได้อย่างไร นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร

    จริงอยู่ คนภายนอกพระพุทธศาสนาก็ทำสมาธิได้มิใช่เหรอ เช่นฤาษีชีไพร เป็นต้น คนเหล่านี้เขาทำกันมาแต่พระพุทธเจ้าของเรายังไม่อุบัติเกิดขึ้นในโลก เขาทำก้ได้เพียงแค่ ขั้นโลกิยฌานเท่านั้น ส่วน โลกุตรสมาธิ พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้สอนแต่พระองค์เดียว ไม่มีใครสอนได้ในโลก ผู้เข้าถึงฌาน สำคัญตนว่าเป็นสมาธิแล้ว ก็เลยพอใจยินดีในฌานนั้น ติดอยู่ในฌานนั้น
    ฌาน กับ สมาธิ มีลักษณะคล้ายๆ กัน ผู้ไม่พิจารณาให้ถ่องแท้แล้ว จะเห็นเป็นอันเดียวกัน เพราะฌาน แล สมาธิ สับเปลี่ยนกันได้ อารมณ์ก็อันเดียวกัน แต่การเข้าภวังค์ แลเข้าสมาธิเท่านั้น เมื่อเข้าภวังค์ จะน้อมจิตลงสู่ความสงบสุขอย่างเดียวแล้วก็เข้าภวังค์เลย ถ้าเข้าสมาธิ จิตจะกล้าแข็ง มีสติอยู่เป็นนิจ จะไม่ยอมน้อมจิตเข้าสู่ความสงบสุข จิตจะรวมหรือไม่รวมก็ช่าง แต่จิตนั้นจะพิจารณาอยู่ในธรรมอันเดียวอย่างนี้ เรียกว่า สมาธิ

    แท้ จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่ได้อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี ถึมิใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องผ่านทุกๆ คน เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวมเข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี เม่อผู้มีวาสนาเคยได้กระทำมาเม่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นจากนิมิตนั้นหรืไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน หรืออาจารย์ของผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่ เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็จะต้องจมอยู่ปรัก คือนิมิตนั้น นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง

    ความรู้แล นิมิตต่างๆ เกิดจากคำบริกรรม เมื่อจิตรวมเข้าภวังค์แล้ว คำบริกรรมมีมากมาย ท่านแสดงไว้ในตำรามีถึง ๔๐ อย่าง มีอนุสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ กสิณ ๑๐ เป็นต้น ที่พระสาวกบางองค์บริกรรมแล้วได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ยังมีมากกว่านี้ แต่ท่านไม่ได้เอารวมไว้ในที่นี้ ยังมีมากกว่านั้น เช่น องค์หนึ่ง ไปนั่งอยู่ริมสระน้ำ เห็นนกกระยางโฉบกินปลา ท่านไปจับเอามาเป็นคำบริกรรมจนได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ คำบริกรรมแล้วแต่อัธยาศัยของบุคคล มันถูกกับอัธยาศัยของตนก็ใช้ได้ทั้งนั้น ที่ท่านแสดงไว้ ๔๐ อย่างนั้น พอเป็นเบื้องต้นเฉยๆ ดอก ถึงผู้เขียนนำมาแสดงไว้ ๓ อย่างนั้น ก็พอเป็นบทเบื้องต้นข้อใหญ่ที่สำคัญๆ เท่านั้น ผู้ภาวนาถ้าไม่ถูกจริตนิสัยของตนแล้ว จะเอาอะไรก็ได้ แต่ให้เอาอันเดียว อย่าเอาหลายอย่างมันจะฟุ้งแลลังเลไม่ตั้งมั่นในคำบริกรรมของตน

    คำ บริกรรมนี้ให้เอาอันเดียว ถ้ามากอย่างจิตจะไม่รวม เมื่อพิจารณาไฟๆ แล้ว จิตมันจะมารวมนิ่งเฉยอยู่คนเดียว แล้วให้วางคำบริกรรมนั้นเสีย ให้จับเอาแต่จิตผู้นิ่งเฉยนั้น ถ้าไม่วางคำบริกรรมเดี๋ยวมันจะฟุ้งอีก จับจิตไม่ได้ ถึงฌาน แลสมาธิก็เหมือนกัน เมื่อเกิดนิมิตแลความรู้ต่างๆ แล้วไปจับเอานิมิตแลความรู้นั้น ไม่เข้ามาดูตัวผู้ที่ส่งออกไปดูนิมิตแลความรู้นั้น เมื่อความรู้แลนิมิตนั้นหายไปแล้วจับเอาจิตไม่ได้

    ใจ ๑ นิมิต ๑ ผู้ส่งออกไปดูนิมิต ๑ สามอย่างนี้ให้สังเกตให้ดี เมื่อนิมิตแลความรู้เกิดขึ้น อาการทั้งสามอย่างนี้จะเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ถ้าจับใจ คือ "ผู้รู้" ไม่ได้ เมื่อนิมิตและความรู้นั้นหายไป ผู้รู้อันนั้นก็หายปด้วยแล้วจะจับเอาตัวผู้รู้นั้นไม่ได้สักที

    คำ บริกรรม ก็ต้องการให้จิตรวมเข้าอยู่ในอารมณ์อันเดียว เมื่อจิตรวมเข้ามาอยู่ในอารมณ์อันเดียวแล้ววางคำบริกรรมนั้นเสีย จับเอาแต่ ผู้รู้อันเดียวก็ใช้ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคำบริกรรมอะไรก็ตาม ผู้บริกรรมภาวนาทั้งหลาย ขอให้พิจารณาดูให้ถี่ถ้วน บริกรรมอันเดียวกัน แต่เวลามันรวมเข้าเป็นภวังค์ แลเป็นสมาธิ มันต่างกัน คือว่า บริกรรม มรณานุสติ พิจารณาความตายเป็นอารมณ์ จนแน่ชัดว่าเราต้องตายแน่แท้ ไม่วันใดก็วันหนึ่งตายแล้วไปคนเดียว สิ่งทั้งปวงละทิ้งหมด แม้แต่ปิยชนของเราเอาไปด้วยก็ไม่ได้ เมื่อเห็นชัดเช่นนั้นแล้ว จิตจะเพ่งแต่ความตายอย่างเดียว จะไม่เกี่ยวข้องถึงเรื่องอื่นทั้งหมด แล้วจิตจะรวมเข้าเป็นภวังค์หายเงียบ ไม่รู้สึกตัวสักพักหนึ่งหรือรวมเข้าเป็นภวังค์วูบวาบคล้ายกับคนนอนหลับ แล้วเกิดความรู้ตัวอยู่อีกโลกหนึ่ง (โลกของจิต) แล้วมีความรู้เห็นทุกอย่างเหมือนกับความรู้เห็นที่อยู่ในโลกนี้ แต่มันยิ่งกว่าโลกนี้ แลจะเทียบกับโลกนี้ไม่ได้เป็นแต่รู้สึกได้ในเมื่อจิตนั้นยังไม่ออกจากภวังค์ หรือจิตมีอาการดังกล่าวแล้ว แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่ ไม่มีอารมณ์ใดๆ ทั้งหมด นอกจากความนิ่งเฉยอย่างเดียวเท่านั้น อย่างนี้เป็นต้น เรียกว่าจิตรวมเข้าเป็น "ภวังค์"

    บริกรรม มรณานุสติ พิจารณาความตาย ดังอธิบายแล้วแต่เบื้องต้น แต่คราวนี้เวลามันจะรวมเข้าเป็นสมาธิ มันจะต้องตั้งสติให้กล้าหาญเข้มแข็ง ไม่ยอมให้จิตเข้าสู่ภวังค์ได้ พิจารณา มรณานุสติ ถึงเหตุแห่งความเกิดว่ามันเกิดอย่างไร พิจารณาถึงความตายว่า มันตายอย่างไร ตายแล้วไปเป็นอะไร จนความรู้แจ่มแจ้งชัดขึ้นมาในใจ จนจิตเกิดความปราโมทย์ร่าเริงอยู่กับความปราโมทย์นั้น (จะไม่มีปีติ ปีติเป็นอาการของฌาน) อย่างนี้เรียกว่า "สมาธิ"

    ฌาน แล สมาธิ พิจารณาคำบริกรรมอันเดียวกัน แต่จิตที่มันเข้าไปมันต่างกัน ฌาน รวมเข้าไปเป็นภวังค์ ให้นึกน้อมเอาอารมณ์อันเดียวคือความตาย แลเพื่อความสุขสงบอย่างเดียวแล้วเป็นภวังค์ ส่วน สมาธิ นั้นตั้งสติให้กล้าแข็ง พิจารณาความตายให้เห็นชัดตามเป็นจริงทุกสิ่ง จิตจะรวมหรือไม่รวมก็ไม่คำนึงถึง ขอแต่ให้เห็นชัดก็แล้วกัน แต่ด้วยจิตที่แน่วแน่พิจารณาอารมณ์อันนั้น มันเลยกลายเป็นสมาธิไปในตัว เกิดความรู้ชัดขึ้นมา เกิดปราโมทย์ร่าเริงในธรรมที่ตนพิจารณาอยู่นั้น แจ่มแจ้งอยู่ในที่เดียวแลคนเดียว จะพิจารณาไปรอบๆ ข้าง ก็จะมาชัดแจ้งในที่เดียว หายสงสัยหมด

    ฌาน แล สมาธิ บริกรรมอันเดียวกัน แต่มันเป็นฌาน แลเป็นสมาธิต่างกันดังอธิบายมานี้ พอเป็นตัวอย่างแก่ผู้ปฏิบัติ นอกเหนือจากคำบริกรรมที่อธิบายแล้ว จะเป็นคำบริกรรมอะไรก็ได้ แต่มันเป็นฌาน แลสมาธิ จะต่างกันตรงที่มันจะรวมไปเท่านั้น ทางที่ดีที่สุดไม่ต้องไปถือเอาคำที่ ฌาน ภวังค์ แลสมาธิ ให้พิจารณาเอาแต่อาการของจิตที่รวมเข้าไปมีอาการต่างกันอย่างไร ดังได้อธิบายมาแล้ว ก็จะเห็นชัดเลยทีเดียว

    ผู้ ทำฌานได้ชำาญคล่องแคล่ว จะเข้าจะออกเมื่อไรก็ได้แล้ว ถ้าหากผุ้นั้นเคยบำเพ็ญมาแล้วแต่ชาติก่อน ก็จะทำอภินิหารได้ตามความต้องการของตนเป็นต้นว่า มีความรู้เห็นนิมิตตนเองแลคนอื่น เคยได้เป็นบิดามารดา เป็นบุตร ธิดา แลสามีภรรยา หรือเคยได้จองเวรจองกรรม อาฆาตบาดหมาง แก่กันแลกันมาแล้วแต่ชาติก่อน เรียกว่า "อตีตังสญาณ" อตีตังสญาณนี้ บางทีบอกชื่อแลสถานที่ที่เคยกระทำมาแล้วนั้นพร้อมเลยทีเดียว

    บาง ทีก็เห็นนิมิตแลความรู้ขึ้นมาว่าตนเอง แลคนอื่น มีญาติพี่น้องเราป็นต้น ที่มีชีวิตอยู่จะต้องตายวันนั้นวันนี้ หรือปีนั้นปีนี้ หรือจะได้โชคลาภ หรือเป็นทุกข์จนอย่างนั้นๆ เมื่อถึงกำหนดเวลาก็เป็นจริงอย่างที่รู้เห็นนั้นจริงๆ นี้เรียกว่า "อนาคตังสญาณ"

    "อาวักขยญาณ" ท่านว่า ความรู้ความเห็นในอันที่จะทำอาสวะให้สิ้นไป ข้อนี้ผู้เขียนขอวินิจฉัยไว้สักนิดเถอะ เพราะกังขามานานแล้ว ถ้าแปลว่าความรู้ความเห็นของท่านผู้นั้นๆ ท่านทำให้สิ้นอาสวะไปแล้วก็ยังจะเข้าใจบ้าง เพราะญาณก็ดี อภิญญา ๖ ก็ไดี เกิดจากฌานทั้งนั้น และในนั้นก็บอกชัดอยู่แล้ว ฌาน ถ้าแปลว่า ความรู้เห็นอันที่จะทำอาสวะให้สิ้นไป ก็แสดงว่า ได้ฌานแล้วทำหน้าที่แทนมัคคสมังคีในมัคค์นั้นได้เลย ถ้าพูดอย่างนี้มันตรงกันข้ามกับที่ว่า มัคคสมังคี เป็นเครื่องประหารกิเลสแต่ละมัคค์

    ญาณ ๓ เกิดจากฌาน ฌานดีแต่รู้เห็นคนอื่น สิ่งอื่น ส่วนกิเลสภายในใจของตนหาได้รู้ไม่ ญาณ ๓ ก็ดี ญาณ ๖ ก็ดี หรือบรรดาญาณทุกอย่าง ไม่เคยได้ยินท่านกล่าวไว้ที่ไหนเลยว่า "ญาณประหาร" มีแต่ "มัคคประหาร" ทั้งนั้น มีแต่อาสวขยญาณ นี้แหละที่แปลว่า วิชาความรู้อันที่จะทำอาสวะให้สิ้นไป จึงเป็นที่น่าสงสัยยิ่งนัก ท่านผู้รู้ทั้งหลายกรุณาพิจารณาเรื่องเหล่านี้ให้ด้วย
    "อา สวักขยญาณ" มิได้เกิดจากฌาน ฌานเป็นโลกียะทั้งหมดตลอดถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะโลกุตตรฌาน ไม่เห็นท่านแสดงไว้ว่ามีองค์เท่านั้นเท่านี้ ท่านผู้เข้าเป็นโลกุตตระต่างหาก จึงเรียกฌานเป็นโลกุตตระตามท่าน เหมือนกับพระเจ้าแผ่นดินทรงพระขรรค์ นี่ก็ฉันใด ถ้าแปลว่า รู้จักท่าที่ทำกิเลสอาสวะให้สิ้นไป ก็ยังจะเข้าใจบ้าง
    อนึ่ง ท่านยังแยกฌานออกเป็นภวังค์ มี ๓ คือ ภวังคุบาท ๑ ภวังคจรณะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑ ตามลักษณะของจิตที่รวมเข้าไปเป็นภวังค์ ส่วนสมาธิก็แยกออกเป็นสมาธิ ดัองอธิบายมาข้างต้นเป็น ๓ เหมือนกัน คือ ขณิกสมาธิ ๑ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑

    ส่วน การละกิเลสท่านก็แสดงไว้ ไม่ใช่ละกิเลส เป็นแต่การข่มกิเลสของตนไว้ไม่ให้มันเกิดขึ้นด้วยองค์เานนั้นๆ ส่วนการละกิเลสของสมาธิ ท่านแสดงไว้ว่า พระโสดาบัน ละกิเลสได้ ๓ คือละสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลพพตปรามาส ๑ พระสกทาคามี ละได้ ๓ ตัวเบื้องต้นและยังทำให้ราคะเบาบางลงอีก พระอนาคามี ละได้ ๓ ตัวเบื้องต้นนั้นได้เด็ดขาดแล้ว ยังละกามราคะและปฏิฆะให้หมดไปอีกด้วย นี้แสดงว่าฌานเป็นโลกิยะโดยแท้ ส่วนสมาธิเป็นโลกุตตระ ละกิเลสได้ตามลำดับ ดังอธิบายมาแล้ว

    ฌาน ถึงแม้เป็นโลกียะก็จริงแล แต่ผู้ฝึกหัดทำสมาธิจำเป็นจะต้องผ่านฌานนี้เสียก่อน เพราะฌาน แลสมาธิมันกลับกันได้ ด้วยอุบายแยบคายของตนเอง ผู้จะไม่ผ่านฌาน แลสมาธิทั้งสองนี้ไม่มี ฝึกหัดจิตอันเดียวกัน บริกรรมภาวนาอันเดียวกัน หนีไม่พ้นฌาน แลสมาธิ ทั้งสองนี้ไม่มี ฝึกหัดจิตอันเดียวกัน บริกรรมภาวนาอันเดียวกัน หนีไม่พ้นฌานแลสมาธิ เป็นอันขาด ฌาน แลสมาธิ เบื้องต้นเป็นสนามฝึกหัดของจิตของพระโยคาวจรเจ้าทั้งหลาย พระโยคาวจรเจ้าฝึกหัดฌาน แลสมาธิ ทั้ง ๒ อย่างนี้ให้ชำนิชำนาญ รู้จักผิด รู้จักถูก ละเอียดถี่ถ้วนดีแล้ว จึงจะทำวิปัสสนาให้เป็นไปได้ วิปัสสนามิใช่เป็นของง่ายเลย ดังคนทั้งหลายเข้าใจกันนั้น จิตรวมเข้ามาเป็นฌาน แลสมาธิเป็นบางครั้งบางคราว ก็โมเมเอาว่า ตนได้ขั้นนั้นขั้นนี้แล้ว ไม่ทราบว่าถึงขึ้นไหนเป็นฌาน หรือเป็นสมาธิ คุยฟุ้งเลย ทีหลังสมาธิเสื่อมแล้วเข้าไม่ถูก

    สมาธิก็มีลีลามากน่าดูเหมือนกัน แต่ไม่เหมือนฌาน เหมือนกับเล่นกีฬา คนหนึ่งเล่นเพื่อความมัวเมา แต่คนหนึ่งเล่นเพื่อสุขภาพอนามัย

    สมาธิ นั้นเมื่อจิตรวมเข้าไป ก็รู้ว่าจิตรวมเข้าไปรู้อยู่ตลอด เวลา จิตจะหยาบแลละเอียดสักเท่าไร สติย่อมตามรู้อยู่ทุกขณะจิต เมื่อยังหยาบอยู่ มันรู้อยู่แต่ภายนอก เมื่อจิตมันละเอียดเข้าไปมันก็รู้อยู่ทั้งภายนอกและภายใน ไม่หลงไปตามอาการของจิตของตน รู้ทั้งที่จิตเป็นธรรมแลจิตปะปนไปกับโลก ไม่เห็นไปหน้าเดียว อย่งที่เขาพูดว่า "หลงโลก หลงธรรม" นั่นเอง ผู้เห็นอย่างนี้แล้วจิตก็จะเป็นกลาง วางอารมณ์ทั้งหมด เฉยได้ จะทำก็ได้ จะไม่ทำก็ได้ เมื่อจะทำก็ทำแต่สิ่งที่ควร สิ่งที่เป้นประโยชน์ ไม่ทำสุ่มสี่สุ่มห้า สมาธิเป็นลักษณะของผู้ใหญ่ผู้รู้เดียงสากระทำ ฌานเป็นลักษณะของเด็กผู้ไม่รู้เดียงสากระทำ

    นิมิต แลความรู้ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสมาธินั้น นอกจากดังได้อธิบายมาในฌานในเบื้องต้นแล้ว มันอาจเกิดความรู้เห็นอรรถเป็นคาถาหรือเป็นเสียงไม่มีตัวตน หรือเป็นเสียงพร้อมทั้งตัวตนขึ้นมาก็ได้ ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นเครื่องเตือนตัวเองแลคนอื่นให้ระวังอันจะเกิดภัยใน ข้างหน้า หรือเตือนว่าสิ่งที่ตนทำมานั้นผิดหรือถูกก็ได้ นิมิตแลความรู้อันเกิดจากสมาธิภาวนานี้ จึงนับว่าเป็นของสำคัญมากทีเดียว เป็นเครื่องมือของนักบริหารทั้งหลายซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

    นิมิต แลความรู้ ดังอธิบายมานั้น เมื่อจะเกิดขึ้นแก่นักปฏิบัติย่อมเกิดในเวลาจิตเป็นอุปจารสมาธิ แต่ตัวเองไม่รู้ว่าเป็นอุปจารสมาธิ แลรู้ได้ในขณะยืนอยู่ก็ได้ นั่งทำสมาธิก็ได้ นอนอยู่ในท่าทำสมาธิก็ได้ แม้แต่เดินไปมาอยู่ก็รู้ได้เหมือนกัน

    มี หลายท่านหลายครซึ่งไม่เคยไปที่วัดของผู้เขียนเลยสักหนเดียวแต่รู้ล่วงหน้า ไว้ก่อนแล้วว่า ที่นั้นๆ เป็นรูปร่างลักษณะอย่างนั้นๆ เมื่อไปถึงแล้วเห็นสถานที่ต่างๆ ไม่ผิดเลยสักอย่างเดียว ดังได้เห็นนิมิตไว้แต่ก่อน อันนี้จะเป็นเพราะฌาน สมาธิขของเขา หรือเพราะบุญบารมีของเขาซึ่งเคยได้ไปอยู่มาแล้วแต่ก่นอ ก็ไม่ทราบได้ เมื่อถามท่านเหล่านั้นว่าเคยทำฌาน สมาธิแลภาวนาหรือไม่ ก็บอกปฏิเสธทั้งนั้น

    นิมิต แลความรู้ทั้งหลายเหล่านี้เกิดขึ้นกระท่อนกระแท่น ไม่ติดต่อกัน แลจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง เพาะผู้เข้าสมาธิไม่ชำนาญพอเข้าเป็นอุปจารสมาธิก็เกิดขึ้นแล้ว ดังได้อธิบายมาแล้วในเบื้องต้น ไม่เหมือนท่านที่ชำนาญ ท่านที่ชำนาญแล้วท่านจะต้องเข้าสมาธิให้ถึงอัปปนาสมาธิแล้วจึงถอยออกมาอยู่ แค่อุปจารสมาธิ เมื่อต้องการจะรู้จะเห็นเหตุการณ์อะไรท่านจึงวิตกถึงเรื่องนั้น เมื่อวิตกขึ้นแล้วท่านก็วางเฉย เมื่อเหตุการณ์อะไรจะเกิดมันก็เกิดขึ้น เมื่อมันไม่มีมันก็จะไม่เกิด เมื่อมันเกิดขึ้นเรื่องนั้น แน่นอนที่สุด เป็นจริงทุกอย่าง

    ไม่เหมือนคนเราใน สมัยนี้ ทำฌาน ทำสมาธิยังไม่ทันจะเกิด เอาความอยากไปข่มแล้ว ความอยากจะเห็น อยากรู้นั้นนี้ต่างๆ นานา เมื่อมันไม่เห็นสิ่งที่ตนต้องการก็เลิกล้มความเพียรเสีย หาว่าตนไม่มีบุญมีวาสนาอะไรต่างๆ นานา ความจริงตนกระทำมานั้นมันถูกหนทางแล้ว มันได้แค่นั้นก็นับว่าดีอักโขแล้ว พึงยินดีพอใจกับที่ตนได้นั้นก็ดีแล้ว จะไปแข่งบุญวาสนากับท่านที่ได้บำเพ็ญมาแต่ก่อนไม่ได้ แข่งเรือแข่งพายยังพอแข่งได้ แข่งบุญวาสนานี้ไม่ได้เลยเด็ดขาด บางท่านบำเพ็ญเพียรมาสักเท่าไรๆ นิมิตแลความรู้ต่างๆ ไม่เกิดเลย ทำไม่ท้อถอย ท่านสามารถบรรลุผลได้เหมือนกัน ท่านที่ได้จตุปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ กับผู้ที่ท่านไม่ได้เลยถึงพระนิพพานแล้วก้เป็นอันเดียวกัน ไม่เห็นแตกต่างกันตรงไหน

    สิ้นโลก เหลือธรรม
    โดย
    พระนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาจารย์
    (เทสก์ เทสรังสี)
    *****************************************
    ขอให้เจริญในธรรมทุกๆท่านค่ะ
     
  19. ◎

    เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +5,154
    หากเป็นครูที่ดี เมื่อศิษย์ตอบมา ครูจะต้องถามจี้โดยอาศัย
    สิ่งที่ครูเข้าไปประจักษ์ด้วยจักษุญาณตน หรือเรียกให้เข้าใจง่ายๆ คือ อาศัยภูมิจิต ภูมิธรรม
    ที่ตนเคยผ่านมีประสบการณ์จริงมา ซ้ำด้วยหวายแช่อิ่ม เอาไปถาม
    เพื่ออะไร ก็เพื่อว่าไม่ให้ศิษย์ คิดว่าได้กินเพียงเปลือกส้ม
    แต่หลงเข้าใจว่า เปลือกส้มนั้น เป็นเนื้อส้ม รสชาดย่อมต่างกันแน่นอน

    ในข้อ 1 ครูปุ๋ยได้ถามศิษย์ เกี่ยวกับร่างกาย
    ศิษย์จึงตอบมาว่า เกิดดวงตาเห็นธรรม(อริยบุคคล)
    ทำนองว่า ร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่สามารถบังคับบัญชาได้
    เป็นแต่เพียงธาตุเท่านั้น ไม่ควรยึดติด

    เชื่อไหมตรรกะแบบนี้ ผมสามารถเลียนได้ เพื่อให้ครูปุ๋ย เข้าใจว่าบรรลุธรรมได้เลยทีเดียว

    ดังนั้น เมื่อศิษย์ตอบมาอย่างในข้อหนึ่ง ความเป็นครูจะต้องจี้ศิษย์ ในลักษณะอย่างนี้ ว่า

    "จักขุง อุทปาทิ
    ญาณัง อุทปาทิ
    ปัญญา อุทปาทิ
    วิชชา อุทปาทิ
    อาโลโก อุทปาทิ"

    เหล่านี้ มีเหตุให้เห็นตามจริง ว่าร่างกายไม่ใช่เราอย่างไร
    สิ่งเหล่านี้จะขาดไม่ได้เลย ในอรรถและพยัญชนะ "ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ"
    ที่พร้อมด้วย สติ สมาธิ ปัญญา เข้าไปรู้เข้าไปเห็นประจักษ์
    สตินั้นเป็นอย่างไร สมาธิเพื่อใช้ในการพิจารณาร่างกายไม่ใช่เราเป็นอย่างไร
    และปัญญาที่รู้เห็นนั้น กายส่วนกาย จิตส่วนจิต
    จิตที่เข้าไปรับรู้มีสภาพเหนือกายนั้นเป็นอย่างไร

    ก็อย่างที่บอกไว้ว่า เพื่อไม่ให้ศิษย์เข้าใจว่าได้กินเนื้อส้ม หากแท้จริงแล้วได้กินแต่เพียงเปลือก

    เพราะการจะได้กินเนื้อส้มด้วยตนเอง คนๆนั้น จะต้องปอกเปลือกเอง
    เมื่อปอกเปลือกเอง เขาย่อมรู้วิธีการปอกเปลือกส้มได้เป็นอย่างดี
    ใน สติ สมาธิ ปัญญา คือ เหตุที่เข้าไปกระทำ จนเป็นผล เพราะนั่นคือ
    "จักขุง อุทปาทิ
    ญาณัง อุทปาทิ
    ปัญญา อุทปาทิ
    วิชชา อุทปาทิ
    อาโลโก อุทปาทิ" เฉพาะตน
    ที่สามารถเข้าถึง และเอาออกมาได้ในอรรถและพยัญชนะ แก่สาธุชน

    นี่เพียงเฉพาะข้อ1
    หากข้อ2 ความเป็นครู เมื่อศิษย์ยังไม่สามารถแสดงถึง วิธีการปอกเปลือกส้มได้ในข้อ1
    ก็ยังไม่ควรที่จะไปถามถึงเรื่อง อัตตา มานะ เพราะนั่นคือ ภูมิจิตชั้นสูง
    ซึ่งเป็นภูมิของพระอนาคามี หรืออรหันตมรรค เลยล่ะ
    จึงจะอยู่ในฐานะ ของการทำลายล้าง ให้สิ้นซากได้

    ส่วนในข้อ3 ก็เลยทำให้ชัดเจน สำหรับผู้อ่านพิจารณาได้เลย
    นั่นแสดงถึง ภูมิพระอรหันตผลเลยทีเดียว
    เพราะว่า ศิษย์ตอบมาทำนองว่า เมื่อก่อนยังมีกิเลสยังมีห่วง
    แต่มาตอนนี้ไม่มีกิเลส ไม่มีห่วงใดๆ มาเป็นเครื่องพันธนาการแล้ว
    ไม่มีอะไรที่จะทำให้จิต ยึดมั่นถือมั่นใดๆ พร้อมที่จะตาย คือ ละขันธ์5 นี้ได้เลย
    นั่นแสดงให้เห็นได้ว่า จิตนี้ ไม่ใช่วิญญาณขันธ์ ถูกต้อง

    ความเป็นครู มีหรือที่จะปล่อยไว้ มีไม้เรียวหวาย ควรที่จะจี้ลงไปให้ชัดเจนให้แน่ชัด
    กายนี้ไม่ใช่เรานั้นเพราะ มีสติเข้าไปพิจารณาอย่างไร สมาธิอย่างไร
    แยกกายแยกส่วนเห็นเป็นธาตุอย่างไร ต้องจี้ถามโดยอาศัยภูมิจิต ภูมิธรรมตนนั่นแหละ

    ไม้เรียวหวายแช่อิ่มฉี่ นี้ดีนะ แต่หากแช่อิ่มดวงตาเห็นธรรม เพราะยังคลุมเครือ
    คนเป็นศิษย์จะได้ปริญญา ที่แท้จริงขึ้นมา มีมรรคญาณที่ดำเนินด้วยไตรสิกขา
    และบังเกิดผลญาณเกิดขึ้นได้อย่างไร
    คือ ปริญญา3 ญาณ3 ที่หยั่งในอริยสัจของคนๆนั้น

    จึงเป็นจะสิ่งให้ได้พิจารณา แก่สาธุชน ทั่วๆไป ที่ศึกษาปฏิบัติธรรม
    ไม่เว้นแม้คนชอบโชว์รูป ที่ไม่ชอบทุบดิน

    ฝากไว้ สิ่งที่พิมพ์มานี้ ไม่ใช่ตรรกะของคนปรามาสนะครับ แต่คืออะไรนั้น ลองพิจารณาดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มกราคม 2013
  20. อุษาวดี

    อุษาวดี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    531
    ค่าพลัง:
    +12,151
    การปฏิบัติจิตปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง

    แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกันไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"

    ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ

    : ธรรมโอสถ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
     

แชร์หน้านี้

Loading...