พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dhammathai.org/buddha/g47.php

    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top>
    "เจดีย์ และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"
    "เจดีย์" มีความหมายว่า ที่เคารพนับถือ , บุคคล สถานที่ หรือวัตถุที่ควรเคารพบูชา ,เจดีย์เกี่ยวกับเจดีย์ และสถูปสำคัญมี ๔ อย่างคือ
    ๑. ธาตุเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
    ๒. บริโภคเจดีย์ คือสิ่งหรือสถานที่ที่เจดีย์ พระพุทธเจ้าเคยทรงใช้สอย
    ๓. ธรรมเจดีย์ บรรจุพระธรรมคือ พุทธพจน์
    ๔. อุทเทสิกเจดีย์ คือพระพุทธรูป

    ในที่นี้จะกล่าวถึงบริโภคเจดีย์ นอกเหนือไปจากสังเวชนียสถานทั้ง ๔ และกุฏิวิหารที่พระพุทธเจ้าทรงเคยใช้สอย ซึ่งได้กล่าวถึงไปแล้ว
    ส่วน "สถูป" มีความหายว่าสิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชา เป็นอนุสรณ์ที่เตือนใจให้เกิดปสาทะและกุศลธรรมอื่น ๆ ในที่นี้จะกล่าวถึงพระสถูปที่มีความเกี่ยวข้องกับบริโภคเจดีย์ ส่วนสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุหรือธาตุเจดีย์นั้น ได้แยกไปกล่าวถึงในหมวดที่ ๘ หัวข้อ "พระสถูปเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ"แล้ว
    สำหรับเจดีย์และสถูปสำคัญอันนับเนื่องอยู่ในบริโภคเจดีย์ เท่าที่นำมาประมวลไว้ ณ ที่นี้ มีดังนี้
    ๑. จุฬามณีเจดีย์ ตั้งอยู่ ณ สวรรคชั้น ๒ คือ ดาวดึงสเทวโลกเป็นพระเจดีย์ที่บรรจุพระจุฬาโมลี (มวยผม) ของพระสิทธัตถะ เมื่อครั้งเสด็จออกบรรพชา ครั้งเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมาแล้ว จะอธิฐานเพศบรรชิต ทรงตัดมวยพระเกศาขว้างไปในอากาศ พระอินทร์นำผอบแก้วมารองรับนำไปประดิษฐานในพระจุฬามณี
    ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพานแล้ว ในขณะแจกพระบรมสารีริกธาตุ พระอินทร์ได้นำเอาพระทาฐธาตุคือพระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวาที่โทณพราหมณ์ซ่อนไว้ในผ้าโพกศีรษะ ใส่ผอบทองนำไปบรรจุในจุฬามณีด้วย นอกจากนั้นพระรากขวัญ (กระดูกไหปลาร้า)เบื้องขวาก็ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถานเช่นกัน

    ๒. โคตมกเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางทิศใต้ของนครเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยเสด็จประทับหลายครั้งและเคยทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
    ๓. ทุสสเจดีย์ เจดียสถาน ณ พรหมโลก ซึ่งฆฏิการพรหมหรือพระพรหมผู้นำสมณบริขารมีบาตรและจีวร เป็นต้น มาถวายแด่พระโพธิสัตว์เมื่อคราวออกบรรพชา และนำพระภูษาเครื่องทรงในฆาราวาสที่พระโพธิสัตว์ สละออกเปลี่ยนมาทรงจีวร นำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ครั้นพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพพานแล้ว พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพระอุณหิส (มงกุฎจากเครื่องอาภรณ์มหาลดาปสาธน์ที่นางมัลลิกาทูลอัญเชิญสวมพระพุทธสรีระศพ) ถูกนำไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก
    ๔. ปาวาลเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ที่เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์ พระมหาสาวกอุปัฏฐากประจำพระองค์ เป็นครั้งที่ ๑๖ และครั้งสุดท้ายจากนั้นพระพุทธเจ้าทรงปลงพระชนมายะสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๓ ก่อนปรินิพพาน ๓ เดือน
    ๕. ปาสาณเจดีย์ เจดีย์สถานในแคว้นมคธซึ่งมาณพ ๑๖ คน ผู้เป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นอาจารย์ใหญ่ตั้งอาศรมสอนไตรเพท แก่ศิษย์อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำโคธารรี ณ สุดเขตแดนแคว้นอัสสกะ พราหมณ์พาวรีได้ส่งศิษย์ ทั้ง ๑๖ คนไปถามปัญหาพระบรมศาสดา เพื่อจะทดสอบว่าพระพุทธองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ณ ปาวาลเจดีย์แห่งนี้ ภายหลังได้รับคำตอบ พราหมณ์พาวรีบรรลุธรรมเป็นพระอนาคามีส่วนศิษย์ ทั้ง ๑๖ ได้บรรลุพระอรหัต และถูกจัดเป็นพระมหาสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ ทุกองค์ด้วยกัน
    ๖. พหุปุตตเจดีย์ เจดีย์สถานอยู่ทางตอนเหนือของเมืองเวสาลีนครหลวงของแคว้นวัชชี เป็นสถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
    ๗. เจดีย์พุทธคยา เจดีย์สถานอยู่ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในแคว้นมคธสมัยพุทธกาล พระพุทธองค์ได้เสด็จมาประทับที่ใต้ต้นโพธิ์ และได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่นี่ พระวิหารเจดีย์พุทธคยาสูง ๑๖๐ ฟุต สร้างเป็นหอสูงรูปสี่เหลี่ยมพีระมิดปลายยอดตัดรองรับพระสถูปที่ด้านบนยอดสุด องค์พระเจดีย์สร้างตั้งแต่หลังสมัยพุทธกาล ปัจจุบันเป็นตำบลพุทธคยา รัฐพิหาร
    ๘. มกุฏพันธนเจดีย์ สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ อยู่ทางทิศตะวันออกของนครกุสินารา แคว้นมัลละ มกุฏพันธนเจดีย์อยู่ห่างจากสาลวโนทยาน สถานที่เสด็จดับขันธปรินิพพานประมาณ ๑ กิโลเมตร
    ๙. รัตนฆรเจดีย์ เจดีย์เรือนแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงประทับพิจารณาพระอภิธรรมปิฎกเป็นเวลา ๗ วัน เป็นสัปดาห์ที่ ๔ แห่งการเสวยวิมุตติสุขถายหลังจากตรัสรู้
    ๑๐. รัตนจงกรมเจดีย์ เจดีย์ที่จงกรมแก้ว อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์ ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสเจดีย์ ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงเสด็จจงกลมตลอด ๗ วัน นับเป็นสัปดาห์ที่ ๓ แห่งการเสวยวิมุตติสุข ภายหลังจากตรัสรู้
    ๑๑. สัตตัมพเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
    ๑๒. สารันทเจดีย์ เจดีย์สถานที่นครเวสาลี นครหลวงของแคว้นวัชชี ณ ที่นี้พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตต์โอภาสแก่พระอานนท์
    ๑๓. อนิมิสเจดีย์ สถานที่ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จยืนจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิโดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ นับเป็นสัปดาห์ที่ ๒ แห่งการเสวยวิมุตติสุขทังหมดรวม ๗ สัปดาห์ ภายหลังจากทรงตรัสรู้
    ๑๔. อัคคาฬวเจดีย์ อยู่ใกล้อาฬวีนคร หลังจากทรงทรมาณอาฬวยักษ์ให้สิ้นพยศและตั้งมั่นอยู่ในอริยธรรม ทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดชาวเมืองอาฬวีให้ตั้งอยู่ในกัลยาณธรรมแล้ว พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาที่ ๑๖ ภายหลังจากตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้
    ๑๕. อานันทเจดีย์ เจดียสถานในเขตโภคนคร ระหว่างทางจากเมืองเวสาลี แคว้นวัชชี ไปสู่เมืองปาวา แคว้นมัลละ ณ ที่นี้ พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ทรงประทับแสดงธรรมโปรดพุทธบริษัทชาวเมืองโภคนคร พระพุทธเจ้าตรัสมหาปเทศ ๔ ฝ่ายพระสูตร(หลักอ้างอิงสำหรับเทียบเคียง ๔) จากนั้น พระบรมศาสดาเสด็ดต่อไปยังปาวานคร แล้วเสด็จไปยังสาลวโนทยาน ใกล้เมืองกุสินารา ทรงดับขันธปรินิพพาน
    <HR SIZE=1>ในส่วนของพระสถูปที่มีความเกี่ยวพันถึงบริโภคเจดีย์ ได้ประมวลนำมาไว้ ณ ที่นี้ ๔ พระสถูปด้วยกันดังนี้
    ๑. เจาคันธีสถูป สถูปแห่งนี้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเป็นที่ระลึกที่พระพุทธเจ้าทรงพบปัญจวัคคีย์เป็นครั้งแรก ภายหลังจากทรงตรัสรู้ สร้างขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพานแล้วกว่า ๒๐๐ ปี ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นกาสี
    ๒. ธัมเมกขสถูป อยู่ใกล้เคียงกับเจาคันธีสถูป เป็นสถานที่ระลึกถึงในกาลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระรัตนตรัยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก ณ ที่ แห่งนี้
    ๓. ตุมพสถูป พระตุมพเจดีย์อยู่ที่เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ พระสถูปแห่งนี้บรรจุทะนานทองที่ใช้ตวงแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อแบ่งปันให้กษัตริย์ทั้งปวง โดยโทณพราหมณ์ เป็นผู้ตักตวงพระบรมธาตุแบ่งปันถวายกษัตริย์ทั้งหลาย และขอประทานทะนานทองตวงพระบรมธาตุอัญเชิญไปสร้างตุมพสถูปเจดีย์
    ๔. อังคารสถูป พระอังคารสถูปเจดีย์อยู่ที่เมืองปิปผลิวัน โดยโมริยกษัตริย์ผู้ครองเมือง ได้ทราบข่าวพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานจึงส่งราชทูตให้มาทูลขอพระบรมสารีริกธาตุ ณ นครกุสินารา ทั้งยกพลหยุหเสนาตามมาภายหลัง ครั้นกษัตริย์มัลลราชแห่งกุสินาราแจ้งว่าพระบรมสารีริกธาตุนั้น กษัตริย์ทั้ง ๘ พระนครได้ไปประชุมแบ่งปันกันหมดสิ้นแล้ว ยังอยู่แต่พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ขอให้เชิญพระอังคารไปทำการสักการบูชาเถิด โมริยกษัตริย์จึงอัญเชิญพระอังคารมาประดิษฐาน ณ พระอังคารสถูปเจดีย์ เมืองปิปผลิวัน
    <HR SIZE=1>สำหรับพระบริขารพุทธบริโภค (เครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า) ทั้งหลายนั้นได้รับอัญเชิญไปบรรจุไว้ในสถูป ๑๑ แห่งตามนครต่าง ๆ ดังนี้
    ๑. พระกายพันธ์ (ประคตเอว,สายรัดเอว) สถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร
    ๒. พระอุทมสาฎก (ผ้าคลุมอาบน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองปัญจาลราฐ
    ๓. พระจัมมขันธ์ (เครื่องหนังต่าง ๆ) สถิตอยู่ที่เมืองโกสลราฐ
    ๔. ไม้สีฟัน สถิตอยู่ที่เมืองมิถิลา
    ๕. พระธมกรก (กระบอกกรองน้ำ) สถิตอยู่ที่เมืองวิเทหราฐ
    ๖. มีด กับ กล่องเข็ม สถิตอยู่ที่เมืองอินทปัตถ์
    ๗. ฉลองพระบาทและถลกบาต (รองเท้าและถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า) สถิตอยู่ที่เมืองอุสิรพราหมณคาม
    ๘. เครื่องลาด (เครื่องปูนั่งนอน) สถิตอยู่ที่เมืองมกุฏนคร
    ๙. ไตรจีวร (ผ้าสามผืนที่พระวินัยอนุญาตให้ภิกษุมีไว้ใช้ประจำตัวคือ ผ้าทาบ, ผ้าห่ม(จีวร),ผ้านุ่งสบง) สถิตอยู่ที่เมือง ภัททาราฐ
    ๑๐. บาตร เดิมสถิตอยู่ที่เมืองปาฏลีบุตร ภายหลังไปอยู่ที่เมืองลังกาทวีป
    ๑๑. นิสีทนะสันถัต (ผ้าปูนั่ง,ผ้ารองนั่ง) สถิตอยู่ที่เมืองกุรุราฐ

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width=550 align=center border=0><TBODY><TR><TD width="50%">
    [​IMG]
    </TD><TD width="50%"><IMG height=29 alt=">" src="http://www.dhammathai.org/pics/next.gif" width=90 border=0></TD></TR></TBODY></TABLE>

    <TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG] สารบัญ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width=500 align=center border=0><TBODY><TR><TD>ที่มา : หนังสือ ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า โดย ภัทรวรรณ วันทนชัยสุข </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ผมได้คุยกับท่านหนึ่งที่ตั้งใจจะนำพระไตรปิฎกพร้อมทั้งตู้ จะนำไปบรรจุไว้ที่พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ผมคงต้องนัดท่านนี้อีกครั้ง เพื่อจะได้นำไปถวายพระอาจารย์นิล ในการบรรจุพระไตรปิฏกพร้อมทั้งตู้ในพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งอีกครั้ง

    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เจดีย์&detail=on#find39

    อปริหานิยธรรม ธรรมไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม,
    ธรรมที่ทำให้ไม่เสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว มี ๗ อย่าง
    ที่ตรัสสำหรับภิกษุ (ภิกขุอปริหาริยธรรม) ยกมาแสดงหมวดหนึ่ง ดังนี้
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    ๒. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ
    ๓. ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้ว สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้
    ๔. ภิกษุเหล่าใด เป็นผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เคารพนับถือภิกษุเหล่านั้น เชื่อฟังถ้อยคำของท่าน
    ๕. ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น
    ๖. ยินดีในเสนาสนะป่า
    ๗. ตั้งในอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยังไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้วขอให้อยู่เป็นสุข
    อปริหานิยธรรมที่ตรัสแก่กษัตริย์วัชชี (วัชชีอปริหานียธรรม) สำหรับผู้รับผิดชอบต่อบ้านเมือง
    มีอีกหมวดหนึ่งคือ
    ๑. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
    ๒. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
    ๓. ไม่ถืออำเภอใจบัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ ไม่ล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติ ถือปฏิบัติมั่นตามวัชชีธรรม
    ๔. ท่านเหล่าใดเป็นผู้ใหญ่ในชนชาววัชชี เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่า เป็นสิ่งอันพึงรับฟัง
    ๕. บรรดากุลสตรีกุลกุมารีทั้งหลาย มิให้อยู่อย่างถูกข่มเหงรังแก
    ๖. เคารพสักการะบูชาเจดีย์ของวัชชี ทั้งภายในและภายนอก ไม่ละเลยการทำธรรมิกพลี
    ๗. จัดให้ความอารักขาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ (หมายถึงบรรพชิตที่เป็นหลักใจของประชาชน) ตั้งใจให้ท่านที่ยังมิได้มาพึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วพึงอยู่โดยผาสุก
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    [​IMG]

    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก

    ๒๖. โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง

    "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักข้อหนึ่งที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลาย มีมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นอย่างยิ่ง."
    เอกนิบาต อังคุตตรนิกาย ๒๐/๔๔
    <CENTER> </CENTER>
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/interest/part6.1.html

    [​IMG]

    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก


    ๑๕๔. ความเป็นสหายในคนพาลไม่มี

    "ถ้าเที่ยวไป ไม่พบคนที่ดีกว่าตน หรือเสมอตน ก็ควรบำเพ็ญความเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวให้มั่น เพราะความเป็นสหายในคนพาลไม่มี."


    ๑๕๕. ของเราแน่หรือ ?


    "คนเขลาย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่ ทรัพย์ของเรามีอยู่ ก็ตนของตนยังไม่มี บุตรและทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน ?"


    ๑๕๖. พาลและบัณฑิตที่รู้จักตัวเอง


    "คนพาลรู้จักความเป็นพาลของตน ก็เป็นบัณฑิตได้บ้าง เพราเหตุนั้น, แต่คนพาลที่สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต เรากล่าวว่าเป็นพาลแท้."


    ๑๕๗. ทัพพีไม่รู้รสแกง


    "ถ้าคนพาลเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตจนตลอดชีวิต แต่ไม่รู้แจ้งซึ่งธรรม คนพาลนั้น ก็เหมือนทัพพีที่ไม่รู้รสแกงฉะนั้น."


    ๑๕๘. ลิ้นรู้รสแกง

    "ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้เพียงครู่เดียว แต่รู้แจ้งซึ่งธรรมได้โดยพลัน วิญญูชนนั้นก็เหมือนลิ้นที่รู้รสแกงฉะนั้น."

     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,783
    ค่าพลัง:
    +16,097
    สงสัยมั๊ยพระป่ากับพระบ้าน ต่างกันในด้านใด


    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" height="30" width="500"> <tbody><tr> <td width="6">[​IMG]</td> <td bgcolor="#000000">
    แตกต่างแต่ไม่เคยแตกแยก สัมพันธ์ "พระป่า-พระบ้าน"
    </td> <td width="8">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table align="center" bgcolor="#dddddd" border="0" cellpadding="5" cellspacing="1" width="500"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" valign="top" width="70">โดย</td> <td bgcolor="#ffffff" valign="top">: ดร.มงคล นาฏกระสูตร, ข่าวสด </td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc" width="70">วันที่ online</td> <td bgcolor="#ffffff">: 5/08/47</td> </tr> </tbody></table>
    <table align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="500"> <tbody><tr> <td valign="middle">
    [​IMG][​IMG][​IMG]
    </td> <td valign="middle" width="20">[​IMG]</td> <td valign="middle">[​IMG][​IMG][​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table align="center" bgcolor="#ffffff" border="0" cellpadding="10" width="500"><tbody><tr> <td valign="top"> <table align="left" border="0" cellpadding="5" width="100"> <tbody><tr> <td>[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> "อยู่เรียบง่าย แต่จิตใจสูงส่ง" เป็นอุดมคติที่เราใช้มองรูปแบบของวิถีชีวิตพระสงฆ์ขั้นสูงสุด หรือเราเรียกว่า "พระอริยะเจ้า" สถานภาพพระสงฆ์จากทัศนะอันนี้ ทำให้พระสงฆ์ได้รับการปฏิบัติเหมือนบุคคลชั้นสูงในสังคม พระสงฆ์จึงได้รับการดูแลอย่างดี ได้รับความเคารพกราบไหว้ นับถือ บูชาสักการะ ได้รับการอุปถัมภ์ทางด้านวัตถุและปัจจัย 4 อันประณีต
    ทั้งนี้เนื่องมาจากบุคลิกภาพที่น่าประทับใจแก่พุทธศาสนิกชนทั่วไป อันได้แก่ ความเป็นอยู่เรียบง่ายในรูปแบบชีวิต (Life Style) ด้วยพระวินัย และสภาพจิตใจที่ประเสริฐและสูงส่งด้วยธรรมะ ที่เหนือกว่าสามัญชนทั่วไป
    พระวินัย-สิ่งที่สร้างรูปแบบชีวิตของพระสงฆ์
    ความเป็นอยู่อย่างเรียบง่ายอันประกอบไปด้วยสาระที่เรียกว่า "พระวินัย" เป็นตัวกำหนดวิถีชีวิตของพระ พระภิกษุ เมื่อเข้ามาบวชพระอุปัชฌาย์ได้แนะนำในสิ่งที่ปฏิบัติได้และปฏิบัติไม่ได้
    - สิ่งที่ปฏิบัติได้ เรียกว่า "นิสัย" มี 4 ประการคือ
    1. บิณฑบาต
    2. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
    3. อยู่โคนไม้
    4. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า

    นิสัยถือว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อความเป็นพระที่สมบูรณ์ แต่เป็นทางเลือก มิได้บังคับ
    - สิ่งปฏิบัติไม่ได้เรียกว่า "อกรณียกิจ" มี 4 ประการเช่นกัน คือ
    1. เสพเมถุน
    2. ลักขโมย
    3. ฆ่ามนุษย์
    4. อวดอุตริมนุษยธรรม

    การล่วงละเมิดใน 4 ประการกนี้ ทำให้ชีวิตความเป็นพระสิ้นสุดลงทันที
    ทั้ง 2 ประการนี้ เป็นแบบแผนการดำเนินชีวิตของความเป็นพระแบบพุทธดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน
    ศาสนกิจแบ่งพระสงฆ์ตามความถนัด แต่จุดหมายเดียวกัน
    ศาสนกิจคือ สิ่งที่พระภิกษุต้องปฏิบัติหลังจากบวชแล้ว ท่านเรียกว่า
    "ธุระ" มี 2 อย่างคือ
    1. คันถธุระ = ธุระฝ่ายคัมภีร์ กิจด้านการเล่าเรียน, ศึกษาพระธรรมวินัย = คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด
    2. วิปัสสนาธุระ = ธุระฝ่ายวิปัสสนากัมมัฏฐาน = กิจด้านการบำเพ็ญภาวนาหรือเจริญกรรมฐาน
    ตามระบบในพระวินัย พระภิกษุต้องอยู่ในสำนักเดียวกับอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยอย่างน้อย 5 พรรษา (นวกภูมิ) จึงจะพ้นจากนิสัย (นิสัยมุตตกะ) ไปอยู่ที่อื่นได้และในระหว่างนั้นก็ต้องศึกษาด้านคันถธุระเป็นพื้นฐาน อาจจะมีการปฏิบัติที่หลังหรือควบคู่ไปกับการศึกษาก็ได้ตามความเหมาะสม ปริยัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิบัติ ปฏิบัติเป็นบาทฐานสู่ปฏิเวธ
    มีพระสงฆ์จำนวนหนึ่งชอบและถนัดในด้านปริยัติ จึงมีหน้าที่รวบรวม ประมวล ถ่ายทอด เผยแพร่คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ไปสู่ผู้อื่น และบริหารดูแลกิจการคณะสงฆ์ พระสงฆ์กลุ่มนี้เรียกว่า "พระสายปริยัติ" พระสายนี้มักจะอยู่กับที่ อยู่ในสำนัก ในวัดและอยู่ใกล้กับบ้าน ต่อมาก็อยู่ใกล้เคียงกับชาวบ้าน จึงมักถูกเรียกว่า "พระบ้าน" (คามวาสี)
    ธุดงควัตร-จุดกำเนิดของพระป่า
    ในการปฏิบัติ พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระภิกษุไปอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม ที่ที่ทรงแนะนำ เช่น สุญญาคาร (เรือนว่าง) ป่าช้า ป่า โคนไม้ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่สัปปายะ (สะดวกและเหมาะสม) สำหรับการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่ง
    ในสมัยพุทธกาลพระมหากัสสปเถระนิยมชมชอบการปฏิบัติธรรมในลักษณะเช่นนี้ เท่านั้นยังไม่พอท่านยังปฏิบัติให้เคร่งครัดเพิ่มยิ่งขึ้นไปอีกโดยการปฏิบัติธุดงควัตร(ธรรมอันเป็นอุบายดับกิเลส และช่วยส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ) จนพระบรมศาสดาสรรเสริญท่านให้เป็นเอตทัคคะในด้านนี้ ซึ่งมีพระอีกจำนวนมากที่ชอบและถนัดในการปฏิบัติในสายนี้
    ต่อมาพระในสายนี้ได้เป็นตัวแทนพระภิกษุที่ปฏิบัติเคร่งครัด ที่เราเรียกว่า "พระป่า" (อรัญวาสี)
    ข้อสังเกตประการหนึ่งต่อสายพระป่า ได้แก่ พระพุทธองค์ไม่ทรงบังคับให้พระภิกษุทุกรูปปฏิบัติเช่นนี้ตลอดเวลา หลักฐานที่ปรากฏชัด เช่น ข้อเสนอของพระเทวทัต 5 ประการ เช่น การอยู่ป่าเป็นวัตร บิณฑบาตเป็นวัตร เป็นต้น พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต โดยให้ถือเป็นทางเลือกก็พอ
    ปฏิเวธ คือ จุดมุ่งหมายของพระทั้ง 2 สาย
    การบรรลุธรรม (วิมุตติ) เป็นจุดหมายสูงสุดของการบวชในพระพุทธศาสนา การบรรลุธรรมต้องอาศัยทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป ขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไปก็จะทำให้การบรรลุธรรมเป็นไปได้ยาก พระสงฆ์ที่เก่งด้านปริยัติอย่างเดียวไม่ปฏิบัติก็มืดบอด ปฏิบัติอย่างเดียวไม่มีปริยัติก็หลงทาง ทั้งสองฝ่ายต้องอาศัยซึ่งกันและกัน เพื่อไปสู่หนทางเดียวกันคือปฏิเวธ
    อีกประการหนึ่ง ในการธำรงและสืบทอดพระศาสนา ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องป้องกันพระศาสนาไม่เสื่อมลง เมื่อไม่มีปริยัติ ปฏิบัติก็ไม่มี ปฏิเวธไม่ต้องพูดถึง เพราะปริยัติ (พุทธธรรม) เป็นผลมาจากการปฏิบัติของพระพุทธเจ้าและพระสาวก ซึ่งได้แก่ ปฏิเวธนั่นเอง
    พระป่า-พระบ้านในเมืองไทยกับริบทที่แปรเปลี่ยน
    เมื่อประเทศไทยรับพระพุทธศาสนาเข้ามา เราไม่ได้รับเข้ามาเพียงหลักธรรมเท่านั้น แต่ยังได้รับวัฒนธรรมของสงฆ์เข้ามาอีกด้วย ในสมัยสุโขทัย มีการแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายเช่นกัน คือ
    1. คามวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่ศึกษาเน้นหนักในด้านพระพุทธวจนะในพระไตรปิฎก อรรถกถา และคัมภีร์ต่างๆ รวมทั้งวิทยาการต่างๆ อาศัยอยู่ในเขตเมืองหรือใกล้ชุมชน
    2. อรัญวาสี คือ คณะของพระภิกษุที่เน้นหนักในด้านการปฏิบัติ มุ่งบำเพ็ญภาวนา อยู่ในป่าและสถานที่ห่างไกลจากบ้านและชุมชนออกไป
    การแบ่งคณะสงฆ์ในลักษณะนี้ เนื่องจากเงื่อนไขทางสังคมเปลี่ยนไปจากเรื่องศาสนามาเป็นเรื่องสังคมและการเมือง เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม จนมาถึงรัตนโกสินทร์ คณะสงฆ์ได้แบ่งออกไปเป็น 2 นิกาย คือ
    1. มหานิกาย - พระสงฆ์จำนวนมากที่เป็นฝ่ายดั้งเดิม
    2. ธรรมยุต - พระสงฆ์คณะใหม่ มีระเบียบวิธีปฏิบัติและความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนจากเดิม
    ทั้งมหานิกายและธรรมยุต มีพระทั้ง 2 แบบ คือ มีทั้งพระป่าและพระบ้านทั้ง 2 นิกาย ต่อมาพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระเถระที่ชาวบ้านนับถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน มีศีลาจารวัตรงดงามและเป็นต้นแบบพระสายป่าในเมืองไทย ท่านได้นำการธุดงค์และอยู่ป่าเป็นวัตร มาเผยแพร่จนเป็นที่ยอมรับในคณะสงฆ์และสร้างศรัทธาในหมู่ญาติโยม ข้อสังเกตจากพระภิกษุสายอาจารย์มั่น คือ เป็นฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ผู้คนส่วนใหญ่จึงมักจะคิดว่าพระสายป่าที่ปฏิบัติเคร่งครัดเป็นพระสายธรรมยุตไปด้วย
    เก่งกับเคร่ง-จุดแข็งและจุดอ่อนของพระทั้ง 2 สาย
    ดังกล่าวแล้วพระสายปริยัติ (พระบ้าน) มีความมุ่งมั่นและเชี่ยวชาญในพระปริยัติ รวมทั้งด้านการบริหารคณะสงฆ์ด้วย พระสงฆ์สายบ้านจึงมีความรู้ในพระปริยัติอย่างดี มีความสามารถในด้านบริหาร ซึ่งเห็นได้จากระบบการศึกษาสงฆ์และการปกครองคณะสงฆ์ทั้งหมดอยู่ในกำมือของพระสายบ้าน และพระสายนี้ถือเป็นรากฐานที่แท้จริงของคณะสงฆ์ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพของคณะสงฆ์ทั้งหมด อีกอย่างหนึ่งคณะสงฆ์สายนี้ได้มีส่วนร่วมในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับองค์การของรัฐ และมีส่วนช่วยอย่างมากในการสร้างความเป็นปึกแผ่นต่อชาติ และจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และรักษาคุ้มครองปกป้องพระศาสนาในคราวมีภัยในนามของพระสงฆ์ทุกฝ่าย เนื่องจากอยู่ใกล้ชิดกับบ้านเมืองและประชาชน นี้เป็นจุดแข็ง
    จุดอ่อนของคณะสงฆ์ฝ่ายคามวาสี คือ มักจะถูกชาวบ้านและคณะสงฆ์สายอื่นมองว่า "ไม่เคร่งครัด" ประพฤติย่อหย่อนในด้านพระวินัย ทั้งที่ความจริงอาจจะตรงกันข้ามก็เป็นได้ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคลมากกว่า การที่พระสายบ้านถูกมองอย่างนี้อาจจะเป็นเพราะว่าวิถีชีวิตของพระสายบ้านใกล้ชิดและไม่แตกต่างกับชาวบ้านเท่าไร เช่น การปกครอง การศึกษา การใช้เทคโนโลยี การบริหารจัดการ ฯลฯ และความเก่งในสายปริยัติเอง ในบางครั้งอาจมองว่าพระสายอื่นว่ารู้น้อยกว่า จนเกิดการเปรียบเทียบได้
    ความเคร่งครัด สร้างศรัทธาให้พระป่า
    ค่านิยมทำบุญกุศลกับพระสายป่า มาจากการปฏิบัติที่เคร่งครัดในศีลาจารวัตรของแต่ละท่าน พระป่าเป็นที่นิยมของชาวบ้านในการทำบุญกุศล ชาวบ้านญาติโยมบางส่วนอาจจะคิดว่าทำบุญกับพระป่าได้บุญมากกว่าพระสายบ้าน ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่มีพุทธพจน์รับรอง อันเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เราสังเกตได้ ความเป็นอยู่เรียบง่าย วิถีชีวิตที่สันโดษ กอปรกับการปฏิบัติเคร่งครัดในด้านธุดงควัตร ทำให้พระป่าเป็นที่เคารพและนับถือยิ่งกว่าพระทุกสายในประเทศและยังเป็นที่เล่าลือและเชื่อถือกันว่า "วิธีแบบพระป่าคือวิถีแห่งพระอริยะ" จึงมีพระสายนี้หลายรูปได้รับการเล่าลือว่าบรรลุธรรมในระดับต่างๆ ทำให้พุทธศาสนิกชนศรัทธามากยิ่งขึ้น นี่เป็นจุดแข็งของพระป่า
    จุดอ่อนของพระป่า คือ ความรู้ในด้านวิชาการ การถ่ายทอด การเผยแพร่พุทธธรรม ที่ไม่เป็นระบบ สิ่งปรากฏออกมาจากท่านเหล่านั้นล้วนเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าถูกต้องก็เป็นสิ่งที่ดีไป แต่ถ้าผิดพลาดก็ยากจะแก้ไข เพราะมีความเชื่อเคารพศรัทธาอยู่เต็มไปหมดและสีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลพรต) โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบพระสายอื่น จะก่อให้เกิดทิฐิมานะถือตัวและเปรียบเทียบได้เช่นกัน
    สุดท้ายคือ เมื่อพระป่าเป็นที่เคารพของชาวบ้าน จึงเต็มไปด้วยอดิเรกลาภ ซึ่งอาจจะเปิดช่องให้ผู้ไม่หวังดี ได้ใช้โอกาสเลียนรูปแบบแล้วแต่แสวงผลประโยชน์จากความเคร่งครัดของท่านเหล่านั้นได้ เรื่องนี้มีปรากฏอยู่เนืองๆ
    ความแตกแยกไม่ได้อยู่ที่สายพระป่า-พระบ้าน
    ดังกล่าวแล้วข้างต้น พระสายป่าและพระบ้านล้วนเป็นทางเลือกในวิถีความเป็นพระ ตามถนัดของแต่ละบุคคล แต่ความเป็นพระภิกษุ
    (สมณภาวะ) คือมี 227 ข้อ และถือไตรสรณคมน์สมบูรณ์เท่าเทียมกัน ไม่มีความแตกต่างกัน
    ในสมัยพุทธกาล ในคราวพุทธปรินิพพานพระพุทธเจ้า พระป่าสายพระมหากัสสปะเถระ ออกจากป่ามาร่วมศาสนกิจและช่วยสังคายนากับพระสายบ้าน เช่น พระอานนท์ พระอุบาลี อนุรุทธะ เป็นต้น อย่างไม่มีข้อรังเกียจเดียดฉันท์ จนเป็นตันติ (แบบแผน) ที่ดีงามของคณะสงฆ์ตลอดมา
    ความแตกแยกของคณะสงฆ์ไม่เคยมีปรากฏในเรื่องสายที่ตนสังกัด แต่จะแตกแยกกันด้วย 2 ประการคือ
    1. สีลสามัญญตา = ศีลเสมอกันหรือไม่
    2. ทิฏฐิสามัญญตา = ความเห็นชอบร่วมกันมีหรือไม่
    ประวัติศาสตร์ในคณะสงฆ์ไทย พระสายป่าที่เราถือว่าเป็นพระสุปฏิปันโน ไม่เคยมีประวัติด่างพร้อยในการนำพระป่ามาทะเลาะกับพระบ้านสักครั้งเดียว พระเดชพระคุณเจ้าเหล่านั้นเข้าใจในสถานะที่เป็นอยู่และจุดมุ่งหมายของชีวิตของกันและกัน เราจะเห็นพระสายบ้านทั้งธรรมยุตและมหานิกายไปกราบเคารพสักการะ สนับสนุนพระสายป่าอยู่เป็นประจำ พระสายป่าก็สนับสนุนส่งเสริมกิจการคณะสงฆ์และให้ความร่วมมือกับพระสายบ้านเสมอมา
    ความแตกแยกที่เคยปรากฏในคณะสงฆ์ไทยเป็นเรื่องนิกายเสียส่วนใหญ่ เช่น ธรรมยุตกับมหานิกาย ปัจจุบันเรื่องนี้มีปรากฏอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรงเหมือนแต่ก่อน
    การพยายามโยงพระสายป่ามาทะเลาะกับพระสายบ้าน ในปัจจุบันซึ่งไม่น่าจะเข้ากับได้กับคติที่วิญญูชนทั้งหลายในพระพุทธศาสนาจะยอมรับได้ และการประกาศว่าพระป่าเป็นผู้ประท้วงก็มิสมควรอย่างยิ่ง เพราะพระป่าที่แท้ย่อมไม่ประท้วงมีแต่ประสานประโยชน์และสร้างสันติสุขแก่สังคม เราชาวพุทธไม่น่าสนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์ (สังฆเภท) ซึ่งเป็นไปความเสื่อมพระศาสนาโดยรวม และเป็นบาปที่สุดในพระพุทธศาสนา ถ้าฝ่ายใดที่จะเอาชนะให้ได้ ก็ให้ชนะไป
    เราชาวพุทธแท้ทุกคนขอเป็นผู้แพ้ เพื่อเป็นพระที่แท้จริงตลอดไป
    </td> </tr> <tr> <td valign="top">
    [​IMG]
    </td> </tr> <tr> <td valign="top">
    ดร.มงคล นาฏกระสูตร
    ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
    มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
    -ข่าวสด 5/08/47-
    </td></tr></tbody></table>
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.84000.org/one/1/25.html

    25-พระอุปเสนเถระ


    เอตทัคคะในทางผู้นำซึ่งความเลื่อมใส


    พระอุปเสนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ชื่อวังคันตะ มารดาชื่อนางสารี ในหมู่บ้านตำบล​

    นาลันทา ซึ่งบิดาของท่านเป็นนายบ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้านนั้น อันตั้งอยู่ในแคว้นมคธ ท่านเป็น​

    น้องชายอีกคนหนึ่งของพระสารีบุตรเถระ ในบรรดาพี่น้อย ๗ คน คือ ๑. พระสารีบุตร ๒. พระ​

    จุนทะ ๓. พระอุปเสนะ ๔. พระเรวัตะ ๕. นางจาลา ๖. นางอุปจาลา ๗. นางสีสุปจาลา (บาง​

    แห่งกล่าวว่าท่านเป็นบุตรคนที่ ๕ ของตระกูล) เมื่อเจริญวัยขึ้นได้รับการศึกษา จบวิชาไตรเพท​

    หรือพระเวททั้ง ๓ ตามลัทธินิยมของพราหมณ์ และถือว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนา​

    พราหมณ์ คัมภีร์พระเวททั้ง ๓ นั้น ได้แก่:-​

    ๑) ฤคเวท (อิรุพเพท) เป็นบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งปวง​

    ๒) ยชุรเวท (ยชุพเพท) ประกอบด้วยมนต์ อันเป็นบทสวดอ้อนวอนในพิธีบูชายัญต่าง ๆ​

    ๓) สามเวท ประมวลบทเพลงขับ สำหรับสวดหรือร้อง เป็นทำนองในพิธีบูชายัญ ต่อมาภายหลังได้เพิ่มอถรรพเวท (อถัพเพท) หรือ อาถรรพเวท อันว่าด้วยคาถาอาคม​

    ต่าง ๆ ทางไสยศาสตร์ เป็นมนต์สำหรับใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลต่าง ๆ เมื่อเพิ่มคัมภีร์นี้เข้ามา​

    ก็นับเป็นคัมภีร์ที่ ๔ ตามหลักลัทธิของศาสนาพราหมณ์ ถือกันว่า ผู้ใดจบพระเวทเหล่านี้แล้วก็จะ​

    เรียกผู้นั้นว่า (ถึงที่สุดแห่งเวท และวิชาพระเวทนี้ก็ถือกันอีกว่า​
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    http://www.dhammajak.net/watpa/pa06.php

    <TABLE borderColor=#cccccc height=26 width=20 align=center bgColor=#ffffff border=1><TBODY><TR><TD borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7 height=20>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#f7f7f7 width="80%" align=center border=1><TBODY><TR><TD vAlign=top borderColor=#ffffff bgColor=#f7f7f7><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>ธุดงควัตร 13 ประกอบด้วย</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE height=20 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD>1. ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร
    2. ถือการนุ่งห่มผ้าสามผืนเป็นวัตร
    3. ถือการบิณฑบาตเป็นวัตร
    4. ถือการบิณฑบาตไปโดยลำดับแถวเป็นวัตร
    5. ถือการฉันจังหันมื้อเดียวเป็นวัตร
    6. ถือการฉันในภาชนะเดียวคือฉันในบาตรเป็นวัตร
    7. ถือการห้ามภัตตาหารที่เขานำมาถวายภายหลังเป็นวัตร
    8. ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
    9. ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร
    10. ถือการอยู่อัพโภกาสที่แจ้งเป็นวัตร
    11. ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร
    12. ถือการอยู่ในเสนาสนะตามมีตามได้เป็นวัตร
    13. ถือเนสัชชิกังคธุดงค์ คือการไม่นอนเป็นวัตร
    การถือธุดงคบำเพ็ญได้ด้วยการสมาทานคือด้วยอฐิษฐานใจ หรือแม้นด้วยการเปล่งวาจา คุณประโยชน์ของธุดงควัตร คือ การยังชีพโดยบริสุทธิ์ มีผลเป็นสุข เป็นของไม่มีโทษ บำบัดความทุกข์ของผู้อื่นเสีย เป็นของไม่มีภัย เป็นของไม่เบียดเบียน มีแต่เจริญฝ่ายเดียว ไม่เป็นเหตุให้เสื่อม ไม่มีมารยาหลอกลวงไม่ขุ่นมัว เป็นเครื่องป้องกัน เป็นเหตุให้สำเร็จสิ่งที่ปรารถนา กำจัดเสียซึ่งศัสตราทั้งปวง มีประโยชน์ในทางสำรวมเป็นเครื่องสมควรแก่สมณะ ทำให้สงบยิ่ง เป็นเหตุให้หลุดพ้น เป็นเหตุให้สิ้นราคะ เป็นการระงับเสียซึ่งโทสะทำโมหะให้ พินาศไปเป็นการกำจัดเสีย ซึ่งมานะ เป็นการตัดเสีย ซึ่งวิตกชั่ว ทำให้ข้ามความสงสัยได้ กำจัดเสียซึ่งความเกียจคร้าน กำจัดเสีย ซึ่งความไม่ยินดีในธรรม เป็นเหตุให้มีความอดทน เป็นของชั่งไม่ได้เป็นของหาประมาณมิได้ และทำให้สิ้นทุกข์ทั้งปวง

    อานิสงส์ การปฏิบัติธุดงควัตร ทำให้พระป่าที่จาริกไป ตามป่าเขา พำนักตามโคนไม้ เพิงผาและ ตามถ้ำเป็นอยู่อย่างสมถะ เสียสละ ลดละอุปโภคบริโภค ทำให้จิตของท่าน เป็นอิสระพ้นจาก พันธนาการเครื่องร้อยรัดขัดขวาง สู่ความเบาสบาย สงบเอื้อต่อการเจริญสมาธิภาวนา บำเพ็ญความเพียร การท่องไป ในป่าที่ดารดาษ ไปด้วยสิงสาราสัตว์ ภัยอันตราย เป็นการฝึกจิต หลอมใจ ให้เข้มแข็ง มีสติระลึกรู้ มีบทบริกรรม พุทโธ อยู่กับสายลมหายใจ การเจริญสติ ก่อให้เกิดสมาธิ และจิตตานุภาพ พระธุดงคกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโตจะผ่านการประหารกิเลส ด้วยธุดงควัตร จิตของพระคุณเจ้า จึงมั่นคง เข้มแข็งด้วย ศีลสมาธิปัญญาศรัทธาความเพียร

    พระป่า สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้มอบกายถวายชีวิต ในพระพุทธศาสนา ดำเนิน เดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ ธุดงคจาริกไป ตามวนาป่าเขา เพื่อผลานิสงส์ ในการเพิ่มพูน บารมีธรรมแห่งพระบรมศาสดา สัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อมรรคผล นิพพาน เพื่อสงเคราะห์โลก แลสรรพสัตว์ เป็นเนื้อนาบุญของพระพุทธศาสนา เป็นขุนพลกล้า แห่งกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ที่มีคุณูปการ อเนกอนันต์ ตราบนิรันดร์สมัย

    </TD></TR><TR><TD></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#99cc00 height=23>สารบัญ </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellPadding=2 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#fffeee>

    </TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee>[​IMG] การเข้าเป็นพระป่า </TD></TR><TR><TD bgColor=#fffeee>[​IMG] กิจวัตรของพระป่า </TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee>[​IMG] ความหวังของพระป่า</TD></TR><TR><TD bgColor=#fffeee>[​IMG] ปฏิปทาพระธุดงคกรรมฐาน </TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee>[​IMG] ธุดงควัตร 13</TD></TR><TR><TD bgColor=#ffffee>[​IMG] รวมเว็บพระป่า</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555ผมนึกมุขออกแล้วคิดตั้งนาน คุณตั้งใจต้อง เหวอ...แน่
    ผมขอจองพิมพ์ละองค์ครับ ขอรับพระพิมพ์วันที่ 1กุมภาพันธุ์ 2551ครับ 555ไม่ผิดกติกาครับ(555)
    nongnooo...
     
  10. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    ขอจองด้วยคนจาได้มั๊ยยเนี้ยครับ(b-uh)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 ตุลาคม 2007
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    จตุคามํ สรณํ คจฺฉามิ "ข้าพเจ้าขอถึงจตุคามรามเทพว่าเป็นที่พึ่ง
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->http://www.budpage.com/forum/view.php?id=765

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=700 border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-RIGHT: 2px; PADDING-LEFT: 2px; PADDING-BOTTOM: 2px; PADDING-TOP: 2px" bgColor=#efffef><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=3 width="100%" align=center bgColor=#669966 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#d8e4d8>" =====จตุคามํ สรณํ คจฺฉามิ "ข้าพเจ้าขอถึงจตุคามรามเทพว่าเป็นที่พึ่ง ==== "</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=5 cellPadding=5 width="90%" align=center bgColor=#efffef border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]กระแสจตุคามรามเทพในฐานะวัตถุมงคลรุ่นใหม่ดังมาตั้งแต่ต้นปี 2550 จนถึงวันนี้ ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะแผ่วลง เพราะมีศรัทธาและการตลาดเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอยู่ ครั้งนี้ จึงขอแวะคุยเรื่องนี้กันพอหอมปากหอมคอ

    มีนักข่าวคนหนึ่งตั้งข้อสังเกตกับผู้เขียนว่า การที่สังคมไทยคลั่งไคล้จตุคามรามเทพนั้น น่าจะเป็นเพราะสังคมไทยอยู่ในภาวะขาดที่พึ่ง คนจึงวิ่งหาที่พึ่งกันเป็นแถว แต่ผู้เขียนแย้งว่า คนไทยไม่ได้ขาดที่พึ่งแม้สักนิด เพราะอะไรก็ตามที่ถือกันว่าเป็นที่พึ่งของคนไทยนั้น ทุกอย่างก็ยังคงอยู่ครบเหมือนเดิม ดังนั้น สิ่งที่คนไทยขาดกล่าวอย่างตรงไปตรงมาที่สุด คือ คนไทยกำลังขาด "สภาพคล่องทางการเงิน" มากกว่า

    ลองถามคนทำมาค้าขายดูก็จะรู้ได้ว่า ตอนนี้การทำมาค้าขายฝืดเคืองขนาดไหน คนเดินห้างยังคงมีอยู่ แต่หาคนจับจ่ายใช้สอยยากขึ้นทุกที การที่คนวิ่งหาจตุคามรามเทพนั้น ลองมองให้ลึกๆ ถึงคติในการนับถือก็จะพบว่า แท้ที่จริงคนไทยต้องการอะไรแน่ ที่พึ่งหรือเงิน

    ปรัชญาของจตุคามรามเทพที่สมมติกันขึ้นมาก็คือ "มึงมีกูไว้ไม่จน" และชื่อรุ่นแต่ละรุ่นก็สะท้อนปรัชญานี้ทั้งหมด เช่น "รวยไม่รู้จบ รวยไม่มีเหตุผล รวยมหาศาล รวยเงินล้าน รวยทรัพย์นับหมื่นล้าน รวยล้นฟ้า ฯลฯ"

    คำว่า "รวย" ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นชื่อรุ่นจตุคามรามเทพ สะท้อนสิ่งที่คนไทยขาดอย่างไม่ปิดบัง ดังนั้น ย้ำกันชัดๆ คนไทยไม่ได้ขาดที่พึ่งในความหมายที่ว่า ที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้เกิดความอบอุ่นและปลอดภัย แต่คนไทยขาดที่พึ่งทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ ขาดเงินเท่านั้น

    นอกจากเงินแล้ว หากวิเคราะห์ต่อไป ก็จะพบว่า คนไทยยังขาดสิ่งเหล่านี้ด้วย
    (1) ขาดความรู้
    (2) ขาดความรู้สึก
    (3) ขาดจิตสำนึกสาธารณะ
    (4) ขาดปัญญาที่เป็นกลาง

    ขาดความรู้ คือ คนไทยซึ่งกว่า 90% ปากบอกว่า เป็นชาวพุทธ แต่เรากลับไม่รู้จักหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้ากันเอาเสียเลย ลองคิดดูง่ายๆ คำว่า "จตุคามรามเทพ" นั้น ก็บ่งชัดอยู่แล้วว่า ไม่ใช่คำที่แสดงหลักคิดทางพุทธศาสนา คำว่า "จตุคาม" นั้น เป็นคำเพี้ยนเสียงมาจาก "ขัตตุคาม" ซึ่งแต่เดิมคำนี้มาจากคำว่า "ขันธกุมาร" อีกทีหนึ่ง พระขันธกุมารเป็นเทพองค์หนึ่งในระบบความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ส่วนรามเทพนั้น ไม่ต้องการคำอธิบายมาก "ราม" ก็คือ พระรามนั่นเอง

    ดังนั้น แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า จตุคามรามเทพ เป็นพราหมณ์ในนามพุทธ แต่คนไทยแยกไม่ออก ยกมาเป็นสรณะที่พึ่งหมด จนลืมไปว่าที่พึ่งของเราคือพระรัตนตรัยต่างหาก

    คนที่ขาดความรู้กลุ่มต่อไปก็คือ "พระสงฆ์" ที่ขาดความรู้ทั้งทางธรรมะและทางวินัย ทางธรรมะ พระสงฆ์ที่เป็นพระเกจิอาจารย์จำนวนมาก ล้วนลืมไปว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราชาวพุทธพึ่งตนเอง ไม่ให้พึ่งคนอื่นเป็นหลัก แต่พระสงฆ์กลับสอนให้เราพึ่งเทพ โดยลืมไปอีกว่า แท้จริงแล้ว เทพนั้นต้องพึ่งธรรม เอาง่ายๆ ก็แล้วกันว่า เทพยังต้องมาอาศัยอยู่ตามวัด ตามบ้าน ไม่สามารถสร้างที่อยู่อาศัยให้ตัวเองได้ คนกลับคิดว่า เทพนั้นยิ่งใหญ่จนต้องมอบกายถวายชีวิตให้เทพ และคิดว่าท่านช่วยเราได้ทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ตามความจริงแล้ว หาเป็นเช่นนั้นไม่

    ในวัฒนธรรมความรู้ของพุทธศาสนานั้น เทพก็คือ เทวดา และเทวดานั้น ก็เป็นสภาพหรือสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งดำรงตนอยู่ได้เพราะบุญที่ตนทำไว้ เวลาจะหมดบุญนั้น เทวดาทั้งหลายล้วนอยากเกิดเป็น "มนุษย์" กันทั้งนั้น เพราะการเป็นมนุษย์ มีโอกาสมากกว่าในการทำความดี ในการพัฒนาตนจนสูงสุดจนเป็นพระอรหันต์ก็ยังได้

    การอุบัติเป็นมนุษย์ คือ ยอดปรารถนาของเทพทั้งหลาย แต่มนุษย์ทั้งหลาย กลับคิดว่าการเป็นเทพนั้นวิเศษที่สุด และคิดว่าเทพจะเป็นที่พึ่งให้มนุษย์ได้ทุกอย่าง ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เทพก็ยังพึ่งตนเองไม่ได้ หรือได้ก็ไม่สมบูรณ์นัก บางส่วนก็ยังต้องพึ่งมนุษย์เสียด้วยซ้ำ

    มนุษย์เรานั้น ดีกว่าเทพอย่างไม่มีทางเทียบกันได้ ในคัมภีร์พระธรรมบทเล่าว่า พระอินทร์ซึ่งเป็นเทพชั้นสูง ยังแอบมาตักบาตรกับพระสงฆ์เพื่อจะได้ "ต่ออายุบุญ" ออกไปให้ยืนยาว ส่วนท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี ซึ่งมีคุณธรรมมาก ก็ยังเคยไล่ตะเพิดเทพมิจฉาทิฐิออกจากซุ้มประตูบ้าน จนกลายเป็นเทพเร่ร่อนมาแล้ว

    ดังนั้น โดยความจริงแล้ว เทพไม่ใช่ที่พึ่งของมนุษย์ แต่ที่พึ่งของมนุษย์คือธรรมะ ในพระไตรปิฎกปรากฏอยู่เสมอว่า เทพมาขอฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า และจากพระอรหันต์สาวกทั้งหลายอยู่บ่อยๆ สิ่งที่เทพต้องการ คือโอกาสในการศึกษาและปฏิบัติธรรม เทพจึงไม่มีเวลาว่างมากมายมานั่งดลบันดาลประทานพรอย่างที่มนุษย์เข้าใจ

    หากเทพทั้งหลายศักดิ์สิทธิ์จริงๆ แล้ว ในเมืองไทยคงไม่มีใครขัดสน และในประเทศอินเดียซึ่งเป็นบ้านเกิดของเทพคงไม่มีคนยากคนจน และถ้าเทพมีฤทธิ์บันดาลอะไรๆ ได้ตามที่มนุษย์ขอ ถ้าเช่นนั้น เทพไม่ก้าวก่ายการทำงานของกฎแห่งกรรมหรือ ไหนเคยสอนกันมาว่า ทุกอย่างในชีวิตคนเป็นไปตามกฎแห่งกรรม แต่เดี๋ยวนี้ ทำไมทุกอย่างเป็นไปตามกฎแห่งเทพ กฎสองกฎนี้ไม่ตีกันหรือ

    สำหรับพระวินัยนั้น หากพระสงฆ์มีความรู้สักหน่อย ท่านก็จะรู้ว่า การปลุกเสกลงเลขยันต์นั้นเป็นการประกอบ "มิจฉาอาชีวะ" คือ การหาเลี้ยงชีพที่ไม่ถูกต้อง ยิ่งการทำเป็นธุรกิจยิ่งผิดมหันต์ ยิ่งกระตุ้นให้คนโลภโมโทสันยิ่งไม่ต้องพูดถึงผิดจรรยาของพระสงฆ์อย่างไม่มีทางเลี่ยง ในบางกรณีที่มีการอวดอ้างปาฏิหาริย์ประกอบการขายองค์จตุคาม ยิ่งมีโอกาสผิดพระวินัยร้ายแรงถึงขั้นขาดจากความเป็นพระ

    พระสงฆ์ว่าขาดความรู้แล้ว คนไทยกลับขาดความรู้ยิ่งกว่า ก็เทพนั้น คนมีกิเลสหนาปัญญาทรามด้วยกันแท้ๆ ช่วยกันปลุกเสก ช่วยกันโฆษณา ช่วยกันสร้างเรื่องขึ้นมาหลอกกันเป็นทอดๆ กระนั้น ก็ยังคงมีคนหลงเชื่อ หลงศรัทธาเป็นบ้าเป็นหลัง ปาฏิหาริย์แห่งปาฏิหาริย์ก็คือ ในสังคมไทยคนหลอกคนได้ง่ายดายอย่างเหลือเชื่อ

    ขาดความรู้สึก คือ แม้สังคมไทยกำลังเดินออกนอกทางแห่งธรรมถึงขนาดนี้แล้ว มีใคร หน่วยงาน หรือสถาบันไหนตระหนักถึงภัยเหล่านี้บ้าง ? เรายังคงมองการขยายตัวของธุรกิจไสยพาณิชย์ในนามพุทธศาสนานี้ด้วยสายตาแห่งความรื่นรมย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยบางคนออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ทำให้คนเข้าวัดมากขึ้น วัดได้รับการบำรุง และวัยรุ่นสนใจธรรมะ นี่คือ อาการขาดทั้งความรู้และขาดทั้งความรู้สึก มองเห็นความเสื่อมเป็นความเจริญนี่คือขาดความรู้ เผยแผ่ความเสื่อมนั้นออกไปจนบดบังพุทธศาสนาและพาสังคมไทยเสื่อมโทรม ก็ยังไม่ตื่น นี่คือขาดความรู้สึก

    ขาดจิตสำนึกสาธารณะ คือ มีคนจำนวนน้อยเสียยิ่งกว่าน้อย ที่จะออกมาอุทิศตนติงเตือนให้สังคมไทยได้ตื่นตัว มองเห็นความวิปลาสคลาดเคลื่อนของการพระศาสนาในสังคมไทยและในระบบความเชื่อของสังคมไทย หากสิ่งเหล่านี้ถูกทิ้งเอาไว้ก็จะกลายเป็นมรดกบาปไปจนถึงคนรุ่นหลัง แล้วอย่างนี้ ประเทศไทยจะเอาศักยภาพทางปัญญาที่ไหนไปแข่งขันในเวทีโลก

    ขาดปัญญาที่เป็นกลาง คือ ทุกวันนี้ ชนชั้นกลาง ปัญญาชนจำนวนมาก รวมทั้งพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ไม่น้อย ล้วนยินดีใช้ปัญญาของตน เพื่อสนองต่อ "นายทุน" และต่อ "ลัทธิบริโภคนิยม" ที่เน้นความร่ำรวยและความมั่งคั่งทางวัตถุเป็นสิ่งสำคัญ คนที่ได้เปรียบสังคมอยู่แล้วเหล่านี้ ต่างยอมหลับตาเสียข้างหนึ่ง ทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ต่อความเสื่อมที่คุกคามสังคมไทยในยามนี้ เพราะตัวเองพลอยได้รับประโยชน์โสตถิผล จากความโง่เขลาของเพื่อนร่วมสังคมอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

    ปัญญาของชนชั้นกลางและชั้นสูงในสังคมในยามนี้นั้นแม้จะรู้ว่าอะไรดี อะไรไม่ดี แต่ก็ทนนิ่งเงียบเสียดีกว่า เพราะในความเงียบของชนชั้นกลางและชั้นสูงทั้งหลาย หมายถึงการโกยรายได้เป็นกอบเป็นกำจากคนชั้นล่างหรือชั้นอื่นที่โง่กว่า

    กรุงศรีอยุธยานั้นว่ากันว่าที่แตกเป็นจุณไม่ใช่เพราะพม่าข้าศึกเก่งกาจอะไร แต่เพราะคนไทยที่เป็นชนชั้นนำ ต่างพากันดูดายและเห็นแก่ตัวต่างหากภาวะอย่างนี้ ชวนให้นึกถึงกวีของสุนทรภู่ที่พรรณนาสภาพกรุงศรีอยุธยาหลังจากเสียกรุงเอาไว้ว่า

    "กำแพงป้อมขอบคูก็ดูลึก ไม่น่าอ้ายขุนศึกเข้ามาได้
    ยังปล่อยให้ข้ามเข้าเอาเวียงชัย โอ้กระไรเหมือนบุรีไม่มีชาย"

    กรุงเทพฯ แตกย่อยยับทางการเมืองการปกครองและทางเศรษฐกิจแล้ว ยังไม่พอ ยังมาแตกย่อยยับทางจิตวิญญาณซ้ำเติมลงไปอีก สังคมไทยกลายเป็นสังคมหลักลอยทางความเชื่อและไม่มีจริยธรรมทางปัญญาอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เห็นสภาพแล้ว อยากสวมวิญญาณสุนทรภู่พรรณนาสภาพกรุงเทพฯ เมืองไทยในตอนนี้ว่า

    "กำแพงแก้วแววไวไสวสว่าง ยังมาสร้างจตุคามงามหน้าเหลือ
    มาทิ้งธรรมสยบเทพเสพเป็นเบือ โอ้ว่าเรือประเทศไทยบรรลัยแล้ว"


    บทความโดย.. ว.วชิรเมธี จาก นสพ. กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>

    [​IMG]โดยคุณ : Webmaster[​IMG] เมื่อ 06 มิถุนายน 2550, 07:40 น.

    .
     
  12. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ว่าแต่จะช้าไปป่าวนะลุงเดี๋ยวจะหมดซะก่อนนา เพราะเห็นคุณหนุ่มบอกหลวงพ่อเงินพิมพ์จอบใหญ่จะมามอบให้ปีหน้า แต่ยังมีหลวงพ่อเงินเนื้อผงยา พระพิมพ์ฐานผ้าทิพย์แล้วยังของคุณ นายสติไม่ได้บอกว่าปีหน้านี่นา(b-smile)
     
  13. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    อย่างนี้ต้องขอจองด้วยคนครับ :d
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 12 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 8 คน ) </TD><TD class=thead width="14%">

    </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>sithiphong, aries2947+, pong-sit, พิมพาภรณ์+ </TD></TR></TBODY></TABLE>

    พี่ตุ่นครับ เป็นไงบ้างครับ

    .
     
  15. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    555หลานตั้งใจเครียดมุขผมเลย(555)
     
  16. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  17. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    โอ๊ะ ลุง กำนั๋น ก็ม๋า
    พี่หนุ่มเล่นเขย่าขวัญคนทั้งบางแบบนี้ ช่วงนี้คงนอนไม่หลับกันหลายคืนจนกว่าจะได้จองกันจริงๆละมั้ง

    คราวหลังอย่าออกข่าวก่อนนาคร๊าบ
    (b-glass)
     
  18. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=tcat colSpan=2>ข้อความส่วนตัว: พระของหลวงปู่เทพอุดร</TD></TR></TBODY></TABLE><!-- post # --><TABLE class=tborder id=post cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: 0px; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid"><!-- status icon and date -->[​IMG] เมื่อวานนี้, 02:15 PM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: 0px; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right> </TD></TR><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: 0px; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: 0px" width=175>pook279<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: เมื่อวานนี้ 02:15 PM
    วันที่สมัคร: Sep 2007
    ข้อความ: 0 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 0 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 0 ครั้ง ใน 0 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_ style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->พระของหลวงปู่เทพอุดร
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ผมอายุ 31 เริ่มสนใจเรื่องธรรมะ และสะสมพระเครื่องบ้าง ได้มีโอกาสอ่านหนังสือเกี่ยวกับประวัติและคําสอนของหลวงปู่บ้าง เกิดความศรัทธาอย่างบอกไม่ถูก จึงอยากถามว่าคุณsithiphongมีพระของหลวงปู่ให้เช่าบ้างไหมครับ ขอบคูณ(ไม่ใช่นักเล่งพระ แต่ศรัทธาจริง)
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    เรียนคุณpook279

    ผมไม่มีพระให้บูชาครับ

    แต่ถ้าอยากจะได้ไว้เพื่อบูชา ผมจะให้ร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง แล้วผมจะมอบพระพิมพ์ให้ ส่วนรายละเอียดพระพิมพ์ที่ผมจะมอบให้นั้น อยู่ในหน้าสุดท้ายของกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ


    โมทนาสาธุครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สำหรับท่านที่มีความประสงค์ที่จะได้พระพิมพ์ที่หลวงปู่ท่านอธิษฐานจิต แจ้งความประสงค์ลงบอร์ดได้เลยครับ ไม่ต้อง pm มาหาผม ผมจะได้แจ้งให้ทราบกัน หลายๆท่านจะได้ทราบกันครับ

    โมทนาสาธุครับ

    .
     

แชร์หน้านี้

Loading...