สงสัยเรื่องอนัตตา

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย reindear, 19 กุมภาพันธ์ 2013.

  1. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925
    วันก่อนนั้น ผมค้นหา ได้มาไว้เพื่อเป็นข้อมูลศึกษาเพิ่มเติม ได้ประโยชน์ดีจังเลย ครับ
    เผื่อบางท่านที่อาจเข้าใจจากภาษาอังกฤษ เพราะบางท่านเมื่อได้อ่านภาษาที่ตนเองเข้าใจ ก็จะเข้าใจธรรมะได้เร็ว อย่างนี้ก็มีครับ

    อนัตตา เป็นแบบนี้นะครับ

    IMPERSONALITY
    People often think that there must be a personality or self that is real and permanent, otherwise they would not exist or experience things in life. However, the Buddha taught that there is no real, permanent and independent personality or self at all. This is the third characteristic of existence.

    If a permanent and independent self really existed, one should be able to identify it. Some people may say that the body is the self, or that mind is the self. However, both ideas are wrong. Both body and mind are impermanent, ever changing and subject to destruction. they depend on many factors for their existence. Neither body nor mind can possibly be the permanent and independent self.

    If the body were the self, it would be able to will itself to be strong or fair. However the body grows tired, hungry and falls sick against its will, so the body cannot be the personality or self.

    Similarly, if the mind were the self, it would do whatever it wished. But the mind often runs away from what it knows to be right, and run after what is wrong. It becomes disturbed, distracted and excited against its will. Therefore the mind is also not the self.

    When people say, for instance, "I am going to work", they are just using a convenient name I for a collection of physical and mental factors. In reality, there is no I or self.

    So long as people think that the self is permanent and independent, they are bound to be self-centered and egoistic. Not only will feel constantly threatened by people and situations, but they will also feel compelled to protect themselves, their possessions, and even their opinions, at any cost.

    But once people realize that the self is just a convenient name for a collection of constantly changing physical and mental factors, they will no longer cling to it in fear and insecurity. They will find it easier to grow, learn, develop, and to be generous, kind and compassionate because they will no longer need to be constantly on the defensive.

    Understanding the fact of impersonality can help people deal more effectively with everyday situation. It encourages the cultivation of Good Conduct and helps one to progress towards happiness, peace and Enlightenment.

    Impermanence, Suffering and impersonality are the three characteristic of existence. Whatever is impermanent is suffering, and whatever is impermanent and suffering is also without an independent self. Those who realize the truth of these three facts of existence will be able to overcome suffering because their minds are freed from delusions of permanence, pleasure and the self.

    ไม่มีที่มาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กุมภาพันธ์ 2013
  2. LungKO

    LungKO เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    590
    ค่าพลัง:
    +925

    นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เพื่อการศึกษาต่อ ด้วยการปฏิบัติ นะครับ

    คำว่า เรา คำแรก เป็นเพียงสมมติ (สมมุต) เรียกกันให้เข้าใจกันง่ายขึ้น
    คำว่า เรา ไม่มี ในระดับธรรม ที่เป็นปรมัตถสัจจะ คือตามความจริงสูงสุด คือตามที่มันเป็นจริงของสิ่งนั้น ๆ มันเป็นของมันอย่างนั้น ไม่มี เรา ในนั่นเลย
    คำว่า เรา ที่สาม เกิดจากการที่จิตมีอุปาทาน คือ ยึด จับ ถือ ครอบครอง ภาษาอังกฤษเรียกว่า Hold, Cling คือการเข้ายึดมั่น ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (หรือขันธ์ 5) ไว้เป็นของตัวเอง ด้วยอำนาจตัณหา ทิฏฐิ มานะ จึงเกิดมี เรา ตัวเรา ของเรา ของเขา ขึ้นมา เพราะการยึดมาแล้วติดอยู่ เพราะหลงผิดว่า
    ขันธ์5 เป็นเรา เป็นของเรา ของเขา ฯลฯ

    เราควบคุมจิตได้ด้วยการมีสติสัมปชัญญะตามรู้ทัน ฯ
    จิตเหมือนเด็ก สติสัมปชัญญะเหมือนพี่เลี้ยงเด็ก
    พี่เลี้ยงเด็ก ต้องคอยดูและเด็กไม่ให้เกิดอันตราย และทำให้จิตเจริญเติบโตอย่างปลอดภัย ช่วยตัวเองได้อย่างปลอดภัย ฯ

    เรา คือ ปฏิสนธิจิตที่มีกิเลส ตัณหา อุปาทาน ฯ
    แรกเริ่มเดิมทีนั้น จิตนี้ผ่องใส แต่มาถูกกิเลสครอบงำ เพราะจิตหลงผิด จึงมัวหมอง ด้วยเหตุต่าง ๆ คือ ดีบ้าง ชั่วบ้าง เหมือนกับผ้าใหม่ ๆ เป็นเส้นใยด้ายใส ๆ แต่มาถูกย้อมสี เมื่อย้อมแล้วก็ซักออกยาก ถึงแม้ซักออกก็ไม่ใช้เนื้อผ้าอันเดิมแล้ว เปลี่ยนสภาพ หรือคุณภาพเส้นใยด้ายไปแล้ว ทำให้เหมือนเดิมได้ยาก
    แต่ถ้ามีเครื่องมือที่ทันสมัย ก็สามารถทำให้สะอาดยิ่งกว่่าเดิมได้ ฯ
    เครื่องมือของพระพุทธองค์คือ ศีล สมาธิ ปัญญา (โดยมีเทคนิค หรือรายละเอียด ด้วยวิธีทำ อานาปานสติ คือตามรู้ลมหายใจ และหมวดอื่น ๆ ในสติปัฏฐานสี่ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กุมภาพันธ์ 2013
  3. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    โดยทั่วไปคนเรายังมีอัตตา จึงคิดว่าเป็นตัวเราของเรา

    โดยธรรมชาติ รูปกายที่เกิดขึ้นมา ย่อม เกิด แก่ เจ็บ ตาย เราไม่สามารถบอกให้ร่างกาย
    หยุดแก่ได้ ผมของเราจงหยุดหงอก เราสั่งเค้าไม่ได้จริง เราคุมเค้าได้แค่บางส่วน แต่โดย
    ธรรมชาติแท้จริงแล้วคุมไม่ได้เลย ต้องแปรเปลี่ยนไปตามหลัก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา...

    จิตใจ ก็เช่นกัน เราสั่งจิตไม่ให้หนีไปคิด ไม่ให้โกรธ ไม่ได้ เราควบคุมได้เป็นบางครั้งเท่า
    นั้นแต่ควบคุมเค้าไม่ได้จริืง ถ้าเราสั่งจิตได้ คงไม่มีใครทุกข์ใจ คงบังคับให้จิตมีแต่ีความสุข
    เบิกบานใจ แต่สภาวะจริงคือ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง...

    อนัตตา ความไม่มีตัวตนหรือควบคุมบังคับไม่ได้ ทั้งกายและใจหรือขันธ์5นี้ล้วนมีสภาวะ
    ไตรลักษณืคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สภาวะนี้ก็คือสิ่งเดียวกันแล้วแต่คนจะมองมุมไหน
    ก็ได้เรียกโดยรวมว่า" ทุกขลักษณ์" หรือสภาวะทุกข์ ในอริยสัจสี่ก็คือตัวเดียวกัน
    มีสภาวะ คือ เกิดขึ้น เสื่อมสลาย และดับไป ไม่มีตัวตน

    แล้วเราคืออะไร ? เราที่นี้โดยรวมคือรูปนาม หรือขันธ์5 ที่เรายังมีัขันธ์5อยู่ก็เพราะอวิชา
    คือยึดว่ากายนี้ใจนี้เป็นเรา เป็นของเรา ธรรมชาติที่แท้จริงของขันธ์5 คืออนิจจัง ทุกขัง
    อันตตา ถ้าเราเห็นความจริงของขันธ์5 เราจึงเข้าใจ เบื่อหน่าย และปล่อยวาง แต่ทำได้
    ต้องเดินบนมรรค8 คือ ศิล สมาธิ ปัญญา จึงจะมีโอกาสเห็นขันธ์5ตามความเป็นจริง
     
  4. Thrinai

    Thrinai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    200
    ค่าพลัง:
    +555
    ขออธิบายแบบที่ผมเข้าใจนะครับ พอดีไม่เก่งพระสูตร 555+
    เริ่มต้นจาก
    กาย - อยากให้ลองจินตนาการดูนะครับว่าถ้าตัด ทีละส่วนออก เป็นส่วนๆแล้วให้ดูว่าใช่เรารึป่าว เริ่มจาก ผม - ใช่เรามั๊ย ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ... สมอง แต่ละส่วนใช่เรารึป่าว แล้วเราคืออะไรครับ?
    จิต - ในที่นี้ ขอบอกเป็น นาม ละกัน ประกอบด้วย ขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เวลาโกรธปุ๊บ คุณสั่งได้มั๊ยว่า หยุดโกรธเด๋วนี้ แล้วมันหยุด ต้องหาเหตุมาทำให้ดับถูกมั๊ย เราสั่งไม่ได้ต้องอาศัยเหตุและปัจจัย ในเกิดและดับเสมอๆ สั่งไม่ได้ ควบคุมไม่ได้ เมื่อมีเหตุจึงเกิด เมื่อหมดเหตุจึงดับ
    แล้วอะไรคือเรา?!?! อันนี้ไม่รู้ครับ... เซ็น เรียกว่า จิตเดิมแท้ แต่เพราะอวิชชา จึงไปจับเอา ขันธ์ 5 ทำให้เกิด ภพ ชาติ ขึ้นมา
     
  5. thepkere

    thepkere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,018
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,449

แชร์หน้านี้

Loading...