" วันเวลาแห่งอภิมหาภัยพิบัติ "

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย พนมกุเลน, 29 มกราคม 2013.

  1. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    นี่อีก อภิมหาภัยพิบัติแห่งปัญญา ที่พาชาวพุทธกลายเป็นชาวเพี้ยน (คำว่า ชาวเพี้ยน เป็นศัพท์ที่สมาชิกท่านหนึ่งของเวปว่าไว้ เห็นเข้าท่าดี ขอยืมเขามาใช้บ้าง)

    อนาถจิต คิดไฉน (-"-)

    Local - Manager Online - ชาวชุมชนมิตรภาพแห่กราบไหว้ปลาไหลเผือก เชื่อเป็นย่าพญานาคมาให้โชค (ชมคลิป)

    แห่กราบไหว้ปลาไหลเผือก เชื่อ เป็นย่าพญานาคให้โชค

    [​IMG]

    ศูนย์ข่าวขอนแก่น - ชาวบ้านชุมชนมิตรภาพ แห่กราบไหว้ปลาไหลเผือกประหลาด มีหูและเขี้ยว เชื่อเป็นย่าพญานาคมาให้โชค เจ้าของบอกจะรักษาแผลให้หายก่อนนำไปปล่อยแม่น้ำโขง

    เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก ชาวบ้านชุมชนมิตรภาพซอย 5 ติดกับศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ขอนแก่น ว่ามีคนจับปลาไหลเผือกได้ และมีลักษณะพิเศษ คือ มีหูและเขี้ยว ชาวบ้านที่เชื่อในสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเห็นเป็นสิ่งแปลกประหลาดพากันมากราบไหว้ขอพรจำนวนมาก จึงได้ไปตรวจสอบดู

    [​IMG]

    พบว่า ที่บริเวณที่ลานกลางชุมชน มีชาวบ้านจำนวนมาก กำลังจุดธูปกราบไหว้ปลาไหลเผือกซึ่งอยู่ในตู้เลี้ยงปลา พบว่าเป็นปลาไหลเผือกยาวประมาณ 75 เซนติเมตร มีผิวหนังสีขาว หัวมีรูปร่างแปลกประหลาด มีหูทั้งสองข้าง และมีติ่งที่ริมฝีปากเหมือนเขี้ยว ตาสีดำสนิท ไม่เหมือนปลาไหลทั่วไป ชาวบ้านพากันเรียกว่า “ย่า” เนื่องจากเชื่อกันว่าปลาไหลตัวนี้เป็น “ย่าพญานาค” ชื่อ “ศรีปทุมมา”

    [​IMG]

    นายเติม กลิ่นประเสริฐ อายุ 63 ปี อยู่บ้านเลขที่ 9/54 ชุมชนมิตรภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ขอนแก่น เล่าว่า ได้ปลาไหลเผือกมาขณะไปวางลอบที่คลองใกล้บ้าน ช่วงเวลา 16.00 น.วันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา แต่เห็นเป็นปลาไหลสีขาวก็แปลกใจจึงเรียกให้ชาวบ้านมาดู ต่างก็พากันประหลาดใจเพราะมีลักษณะเชื่องกว่าปลาไหลทั่วไป หัวใหญ่ มีหูสองข้าง จึงนำมาเลี้ยงไว้ในตู้ปลา

    “คืนก่อนหน้าที่จะจับปลาไหลได้ ฝันเห็นผู้หญิงมาขอกระยาสารทกิน ก็ไม่คิดอะไรมาก แต่พอได้ปลาไหลเผือกนี้มา

    และมีคนเชื่อหลายคนว่าเป็นย่าพญานาค จึงได้ทำบุญตักบาตรกระยาสารทไป และก็ไม่ฝันอะไรอีก แต่เห็นชาวบ้านหลายคนมากราบไหว้จุดธูปบูชา ซึ่งก็เป็นความเชื่อของแต่ละคน”


    น.ส.สุมา กลิ่นประเสริฐ อายุ 32 ปี ลูกสาวนายเติม และเป็นคนคอยดูแลให้อาหารปลาไหล กล่าวว่าจะไปห้ามความเชื่อของคนไม่ได้ สำหรับมีหน้าที่คอยให้อาหาร โดยให้เศษเนื้อหมูและหอยเชอรี่ ตอนนี้ ปลาไหลมีแผลที่ผิวหนัง จึงได้ซื้อยาเหลืองมาทาให้ทุกวัน จนกว่าแผลจะหาย และคงจะหารือกับเพื่อนบ้านว่า จะทำอย่างไรต่อไป จะเลี้ยงไว้ในอ่างหรือตู้กระจกนานๆ ก็คงไม่เหมาะ

    แต่เพื่อความสบายใจ และทำให้สอดคล้องกับความเชื่อของหลายคนว่ าเป็นย่าพญานาค ก็ตั้งใจกันว่า จะนำไปปล่อยที่แม่น้ำโขง ที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของพญานาค

    แห่กราบไหว้ปลาไหลเผือก - YouTube
     
  2. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    นานาจิตตัง นานาจริต แต่ละคน มีสิทธิ์เลือกทางเดินของตัว ตามสะดวก ตามใจชอบ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ถ้าจะแก้กำ มันก็ต้องแบออก

    [​IMG]

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=VJ-4daA2gQs]พุทธวจน-แก้กรรม - YouTube[/ame]
     
  3. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    อนุโมทนากับ คุณคมสันต์usa เช่นกัน
     
  4. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    [​IMG]

    [​IMG]

    www.thaiput-radio.com

    [​IMG]

    ผ่านมา ๒,๕๐๐ กว่าปี ก็เกิดมีหลายสำนัก หลายครูบาอาจารย์ ทำให้มาตรฐานเริ่มมากในสังคม เริ่มหามาตรฐานกลางไม่ได้ ต่างคนต่างใช้ความเห็นของหมู่คณะ หรือความเห็นของผู้นำหมู่คณะของตน

    เราต้องกลับมาถามว่าหมู่คณะนั้น ใช้คำของพระตถาคต เป็นมาตรฐานหรือเปล่า พระพุทธเจ้าท่านทรงเห็นถึงปัญหานี้ และท่านได้ตรัสกำชับในหลายๆ ครั้ง

    ซึ่งรวบรวมข้อความสำคัญได้ถึง ๑๐ พระสูตร

    [​IMG]

    ๑๐ พระสูตรของความสำคัญที่ชาวพุทธต้องศึกษา

    ๑. พระองค์ทรงสามารถกำหนดสมาธิ เมื่อจะพูดทุกถ้อยคำ จึงไม่ผิดพลาด

    อัคคิเวสนะ ! เรานั้นหรือ, จำเดิมแต่เริ่มแสดง กระทั่งคำสุดท้ายแห่งการ

    กล่าวเรื่องนั้นๆ ย่อมตั้งไว้ ซึ่งจิตในสมาธินิมิตอันเป็นภายในโดยแท้ ให้จิต

    ดำรงอยู่ ให้จิตตั้งมั่นอยู่ กระทำให้มีจิตเป็นเอก ดังเช่นที่คนทั้งหลายเคย

    ได้ยินว่าเรากระทำอยู่เป็นประจำ ดังนี้.

    มหาสัจจกสูตร มู.ม. ๑๒ / ๔๖๐ / ๔๓๐

    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๔๗

    ๒. แต่ละคำพูดเป็นอกาลิโก คือ ถูกต้องตรงจริงไม่จำกัดกาลเวลา

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอทั้งหลายเป็นผู้ที่เรานำไปแล้วด้วยธรรมนี้ อันเป็นธรรม

    ที่บุคคลจะพึงเห็นได้ด้วยตนเอง (สนฺทิฏฐิโก), เป็นธรรมให้ผลไม่จำกัดกาล

    (อกาลิโก), เป็นธรรมที่ควรเรียกกันมาดู (เอหิปสฺสิโก), ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

    (โอปนยิโก), อันวิญญูชนจะพึงรู้ได้เฉพาะตน (ปจฺจตฺตํ เวทตพฺโพ วิญฺญูหิ).

    มหาตัณหาสังขยสูตร ม. ม. ๑๒ / ๔๘๕ / ๔๕๐.

    ปฎิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์ น. ๔๓๑

    ๓. คำพูดที่พูดมาทั้งหมดนับแต่วันตรัสรู้นั้น สอดรับไม่ขัดแย้งกัน

    ภิกษุทั้งหลาย ! นับตั้งแต่ราตรี ที่ตถาคตได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

    จนกระทั่ง ถึงราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, ตลอดเวลา

    ระหว่างนั้น ตถาคตได้กล่าวสอน พร่ำสอน แสดงออก ซึ่งถ้อยคำใด ถ้อยคำ

    เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเข้ากันได้โดยประการเดียวทั้งสิ้น ไม่แย้งกันเป็น

    ประการอื่นเลย.

    อิติวุ. ขุ. ๒๕ / ๓๒๑ / ๒๙๓

    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๒๘๕

    ๔. ทรงบอกเหตุแห่งความอันตรธานของคำสอนเปรียบด้วยกลองศึก

    ภิกษุทั้งหลาย ! เรื่องนี้เคยมีมาแล้ว : กลองศึกของกษัตริย์พวกทสารหะ เรียกว่า

    อานกะ มีอยู่. เมื่อกลองอานกะนี้ มีแผลแตกหรือลิ, พวกกษัตริย์ทสารหะได้หา

    เนื้อไม้อื่นทำเป็นลิ่ม เสริมลงในรอยแตกของกลองนั้น (ทุกคราวไป) ภิกษุทั้งหลาย!

    เมื่อเชื่อมปะเข้าหลายครั้งหลายคราวเช่นนั้น นานเข้าก็ถึงสมัยหนึ่ง ซึ่งเนื้อไม้เดิม

    ของตัวกลองหมดสิ้นไปเหลืออยู่แต่เนื้อไม้ที่ทำเสริมเข้าใหม่เท่านั้น ;

    ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลยืดยาวฝ่ายอนาคต จักมีภิกษุทั้งหลาย,

    สุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึกมีความหมายซึ่ง เป็นชั้น

    โลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่.

    เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่า

    เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่

    เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่อง

    นอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมา

    กล่าวอยู่, เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักสำคัญว่า

    เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนไป.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ความอันตรธานของสุตตันตะเหล่านั้น ที่เป็นคำของ

    ตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วย

    เรื่องสุญญตา จักมีได้ด้วยอาการอย่างนี้ แล.

    นิทาน. สํ. ๑๖ / ๓๑๑ / ๖๗๒-๓

    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๑๐๗

    ๕. ทรงกำชับให้ศึกษาปฏิบัติเฉพาะจากคำของพระองค์เท่านั้น อย่าฟังคนอื่น

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุบริษัทในกรณีนี้, สุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่

    เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร

    เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่

    เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่

    ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ภิกษุทั้งหลาย ! ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก

    มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำ

    สุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอย่อมฟังด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมตั้งจิตเพื่อจะ

    รู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน จึงพากันเล่าเรียน

    ไต่ถาม ทวนถามแก่กันและกันอยู่ว่า “ข้อนี้เป็นอย่างไร? มีความหมายกี่นัย?” ดังนี้.

    ด้วยการ ทำดังนี้ เธอย่อมเปิดธรรมที่ถูกปิดไว้ได้. ธรรมที่ยังไม่ปรากฏ เธอก็ทำให้

    ปรากฏได้, ความสงสัยในธรรมหลายประการที่น่าสงสัยเธอก็บรรเทา ลงได้

    ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๒ / ๒๙๒

    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๒

    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฉาวินีตา

    เป็นอย่างไรเล่า?

    ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อสุตตันตะ

    ทั้งหลาย ตถาคตภาสิตา-อันเป็นตถาคตภาษิต คมฺภีรา-อันลึกซึ้ง คมฺภีรตฺถา-

    มีอรรถอันลึกซึ้ง โลกุตฺตรา-เป็นโลกุตตระ สุญฺญตปฏิสํยุตฺตา-ประกอบด้วย

    เรื่องสุญญตา อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไป

    ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และไม่สำคัญว่า เป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์

    กลอนมีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าว

    ของสาวก, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟังด้วยดี

    เงี่ยหูฟัง ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน.

    พวกเธอเล่าเรียนธรรมอันกวีแต่งใหม่นั้นแล้ว ก็ไม่สอบถามซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้

    เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็นอย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร

    ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยไม่ได้ ไม่หงายของที่คว่ำอยู่ให้

    หงายขึ้นได้ ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย

    มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย ! นี้เราเรียกว่า อุกกาจิตวินีตา ปริสา โน

    ปฏิปุจฉาวินีตา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัทชื่อ ปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา

    เป็นอย่างไรเล่า? ภิกษุทั้งหลาย ! ในกรณีนี้คือ ภิกษุทั้งหลายในบริษัทใด, เมื่อ

    สุตตันตะทั้งหลาย ที่กวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอนมีอักษร

    สละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก

    อันบุคคลนำมากล่าวอยู่, ก็ไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้

    ทั่วถึง และไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. ส่วนสุตตันตะ เหล่าใด

    อันเป็น ตถาคตภาษิตอันลึกซึ้ง มีอรรถอันลึกซึ้ง เป็นโลกุตตระ ประกอบ

    ด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านี้มากล่าวอยู่ พวกเธอย่อมฟัง

    ด้วยดี ย่อมเงี่ยหูฟัง ย่อมเข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และย่อมสำคัญว่าเป็นสิ่ง

    ที่ควรศึกษา เล่าเรียน. พวกเธอเล่าเรียนธรรมที่เป็นตถาคตภาษิตนั้นแล้ว

    ก็สอบถาม ซึ่งกันและกัน ทำให้เปิดเผยแจ่มแจ้งออกมาว่า ข้อนี้พยัญชนะเป็น

    อย่างไร อรรถะเป็นอย่างไร ดังนี้. เธอเหล่านั้นเปิดเผยสิ่งที่ยังไม่เปิดเผยได้

    หงายของที่คว่ำอยู่ให้หงายขึ้นได้ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย

    มีอย่างต่างๆ ได้. ภิกษุทั้งหลาย! นี้เราเรียกว่า ปฏิปุจฉาวินีตา

    ปริสา โน อุกกาจิตวินีตา.

    ภิกษุทั้งหลาย ! เหล่านี้แลบริษัท ๒ จำพวกนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! บริษัท

    ที่เลิศ ในบรรดาบริษัททั้งสองพวกนั้นคือ บริษัทปฏิปุจฉาวินีตา ปริสา โน อุกกา

    จิตวินีตา (บริษัทที่ อาศัยการสอบสวนทบทวนกันเอาเอง เป็นเครื่องนำไป:ไม่อาศัย

    ความเชื่อจากบุคคลภายนอก เป็นเครื่องนำไป)
    แล.

    ทุก. อํ. ๒๐ / ๙๑ / ๒๙๒

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๕๐๕

    ๖. ทรงห้ามบัญญัติเพิ่มหรือตัดทอนสิ่งที่บัญญัติไว้

    ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุทั้งหลายจักไม่บัญญัติสิ่งที่ไม่เคยบัญญัติ จักไม่เพิก

    ถอนสิ่งที่บัญญัติไว้แล้ว, จักสมาทานศึกษาในสิกขาบทที่บัญญัติไว้แล้ว อย่าง

    เคร่งครัด อยู่เพียงใด, ความเจริญก็เป็นสิ่งที่ภิกษุทั้งหลายหวังได้ ไม่มีความ

    เสื่อมเลย อยู่เพียงนั้น.

    มหาปรินิพพานสูตร มหา. ที. ๑๐ / ๘๙ / ๖๙

    พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ น. ๔๖๕

    ๗. สำนึกเสมอว่าตนเองเป็นเพียงผู้เดินตามพระองค์เท่านั้นถึงแม้

    จะเป็นอรหันต์ผู้เลิศทางปัญญาก็ตาม

    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้

    เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็น

    มรรคที่กล่าวกันแล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)

    เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย! ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้

    เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน เป็นความมุ่งหมาย

    ที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมา-

    สัมพุทธะกับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตติ

    ขนฺธ. สํ. ๑๗ /๘๑ / ๑๒๕

    อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น น. ๗๒๑

    ๘. ตรัสไว้ว่าให้ทรงจำบทพยัญชนะและคำอธิบายอย่างถูกต้อง

    พร้อมขยันถ่ายทอดบอกสอนกันต่อไป

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาถูก

    ด้วยบทพยัญชนะที่ใช้กันถูก ความหมายแห่งบทพยัญชนะที่ใช้กันก็ถูก

    ย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลาย ! นี่เป็นมูลกรณีที่หนึ่ง ซึ่งทำให้ พระสัทธรรม

    ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป..

    ภิกษุทั้งหลาย ! พวกภิกษุเหล่าใด เป็นพหุสูต คล่องแคล่ว ในหลักพระพุทธ

    วจน ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา (แม่บท) พวกภิกษุเหล่านั้น เอาใจใส่

    บอกสอน เนื้อความแห่งสูตรทั้งหลายแก่คนอื่นๆ, เมื่อท่านเหล่านั้นล่วงลับไป สูตร

    ทั้งหลาย ก็ไม่ขาดผู้เป็นมูลราก (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป. ภิกษุทั้งหลาย !

    นี่เป็นมูลกรณีที่สาม ซึ่งทำให้พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้ไม่เลอะเลือนจนเสื่อมสูญไป...

    (ในที่นี้ยกมาเพียง 2 ข้อ จาก 4 ข้อ ของเหตุเจริญแห่งพระศาสนา)

    จตุกฺก. อํ. ๒๑ /๑๙๘ / ๑๖๐

    ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ น. ๓๕๕

    ๙. ทรงบอกวิธีแก้ไขความผิดเพี้ยนในคำสอน

    ๑. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุข้าพเจ้าได้สดับรับ

    มาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของ

    พระศาสดา”
    ..

    ๒. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีสงฆ์อยู่

    พร้อมด้วยพระเถระ พร้อมด้วยปาโมกข์ ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า

    “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”..

    ๓. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้น มีภิกษุ

    ผู้เป็นเถระอยู่จำนวนมากเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

    ข้าพเจ้าได้สดับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”..

    ๔. (หากมี) ภิกษุในธรรมวินัยนี้กล่าวอย่างนี้ว่า ในอาวาสชื่อโน้นมีภิกษุ

    ผู้เป็นเถระ อยู่รูปหนึ่งเป็นพหูสูตร เรียนคำภีร์ ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา

    ข้าพเจ้าได้สดับเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า “นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสอนของพระศาสดา”..

    เธอทั้งหลายยังไม่พึงชื่นชม ยังไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของผู้นั้น พึงเรียนบท

    และพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วพึงสอบสวนลงในพระสูตร เทียบเคียงดูในวินัย

    ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลงในสูตรก็ไม่ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ไม่ได้ พึงลง

    สันนิษฐานว่า “นี้มิใช่พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนี้รับมาผิด” เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนั้นเสีย ถ้าบทและพยัญชนะเหล่านั้น สอบลง

    ในสูตรก็ได้ เทียบเข้าในวินัยก็ได้ พึงลงสันนิษฐานว่า “นี้เป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นแน่นอน และภิกษุนั้นรับมาด้วยดี” เธอทั้งหลายพึงจำ

    มหาปเทส.. นี้ไว้

    อุปริ. ม. ๑๔ / ๕๓ / ๔๑

    อริยวินัย น. ๓๙๙

    ๑๐. ทรงตรัสแก่พระอานนท์ ให้ใช้ธรรมวินัยที่ตรัสไว้เป็นศาสดาแทนต่อไป

    อานนท์ ! ความคิดอาจมีแก่พวกเธออย่างนี้ว่า “ธรรมวินัยของพวกเรามีพระศาสดา ล่วงลับไปเสียแล้ว พวกเราไม่มีพระศาสดา” ดังนี้. อานนท์ ! พวกเธอ อย่าคิดอย่างนั้น.

    อานนท์ ! ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ที่เราแสดงแล้ว บัญญัติแล้ว แก่พวกเธอทั้งหลาย ธรรมวินัยนั้น จักเป็นศาสดาของพวกเธอทั้งหลาย โดยกาลล่วงไปแห่งเรา

    อานนท์ ! ในกาลบัดนี้ก็ดี ในกาลล่วงไปแห่งเราก็ดี ใครก็ตาม จักต้องมีตนเป็นประทีป มีตนเป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่นเป็นสรณะ; มีธรรมเป็นประทีป มีธรรม เป็นสรณะ ไม่เอาสิ่งอื่น เป็นสรณะ เป็นอยู่

    อานนท์! ภิกษุพวกใด เป็นผู้ใคร่ ในสิกขา, ภิกษุพวกนั้นจักเป็นผู้อยู่ใน สถานะอันเลิศที่สุดแล.

    อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด บุรุษนั้นชื่อว่า เป็นบุรุษ คนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.... เราขอกล่าวย้ำกะเธอว่า...

    [​IMG]

    มหาปรินิพพานสูตร มหา.ที. ๑๐ / ๑๕๙ / ๑๒๘
     
  5. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    เกี่ยวกับหนังสือ > คู่มือดู พระแท้ [Engine by iGetWeb.com]

    คู่มือดูพระแท้

    [​IMG]



    พระปลอม ที่ชาวพุทธควรออกห่าง เพื่อให้ไกลจากการตกนรก ความเสื่อม และเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาทางอ้อม เป็นแบบไหน

    เพื่อให้เราและคนในครอบครัวมั่นใจว่า ความเคารพศรัทธา ที่เรามีให้พระบางรูป ไม่ได้กำลังทำลายพุทธศาสนา หรือทำลายตัวเราเอง

    เมื่ออ้างอิง "พระไตรปิฎก" พระแบบไหนคือพระแท้ แบบที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ

    ทำบุญด้วยเงิน ส่งเสริมหรือทำลายศาสนา

    พระบรรยายธรรมะ เขียนหนังสือ รับเงินได้ไหม พระมีคอมพิวเตอร์ มือถือ เป็นของตนเองได้หรือไม่ ไปซื้อของตามห้างได้หรือไม่

    - พระแท้ เกี่ยวข้องกับพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง ดูฤกษ์มงคล จัดงานวัด ลอดโบสถ์ สะเดาะเคราะห์ ได้หรือไม่

    - บวชแล้วทำตัวอย่างไร ถึงจะไม่บาป ไม่ตกนรก

    - ฆราวาส ติเตียนพระทุศีลได้หรือไม่

    "การดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา อยู่ในมือของชาวพุทธทุกคน"
     
  6. พนมกุเลน

    พนมกุเลน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,455
    ค่าพลัง:
    +7,618
    พระทุศีล เปรียบดัง ผ้าเปลือกปอ | พุทธวจน คำสอนจากพระพุทธเจ้า

    "พระทุศีล เปรียบดัง ผ้าเปลือกปอ"

    [​IMG]

    ภิกษุ ท.! ผ้าทอด้วยเปลือกปอ ถึงจะยังใหม่อยู่ สีก็ไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ
    ราคาก็ถูก, แม้จะกลางใหม่กลางเก่าแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ
    ราคาก็ถูกมาก, แม้จะเก่าคร่ำแล้ว สีก็ยังไม่งาม นุ่งห่มเข้าก็ยังเจ็บเนื้อ ราคาก็ถูกมากอยู่นั่นเอง.

    ผ้าเปลือกปอ ที่เก่าคร่ำแล้ว มีแต่จะถูกใช้เช็ดหม้อข้าว หรือทิ้งอยู่ตามกองขยะมูลฝอย นี้ฉันใด;

    ภิกษุ ท.! ภิกษุ ที่ทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็ฉันนั้นเหมือนกัน :

    แม้เพิ่งบวชใหม่ เราก็กล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม

    ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ ว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน;

    เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้า ก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.

    เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น.

    เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอ เป็นคู่เปรียบ

    ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้อายุปูนกลาง เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์ เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน;

    เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น.เรากล่าวภิกษุนี้ ว่ามีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้น ย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า
    มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุ ผู้เป็นเถระ เมื่อเป็นคนทุศีล มีความเป็นอยู่เลวทราม ก็เป็นอย่างเดียวกัน, เรากล่าวว่า มีผิวพรรณไม่งาม เหมือนผ้าเปลือกปอ ที่แม้ยังใหม่อยู่ก็ดูสีไม่งาม ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ชนเหล่าใด คบหา สมาคม เข้าใกล้ทำตามเยี่ยงอย่างของภิกษุนั้น ข้อนั้น จะเป็นทางให้เกิดสิ่งอันไม่เป็นประโยชน์เป็นทุกข์แก่ชนเหล่านั้นเอง ตลอดกาลนาน;

    เราจึงกล่าวภิกษุนั้นว่า ใครใกล้ชิดเข้าก็เจ็บเนื้อ เหมือนผ้าเปลือกปอ นุ่งห่มเข้าก็เจ็บเนื้อ ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนี้ว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ภิกษุนั้น รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริกขาร ของชนเหล่าใด ทานนั้นย่อมไม่มีผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่แก่ชนเหล่านั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า
    มีค่าน้อย เหมือนผ้าเปลือกปอ มีราคาถูก ฉะนั้น. เรากล่าวภิกษุนั้นว่า มีผ้าเปลือกปอเป็นคู่เปรียบ.

    อนึ่ง ภิกษุเถระชนิดนี้ กล่าวอะไรขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายก็จะว่าให้ว่า

    “ประโยชน์อะไร”ด้วยคำพูดของท่าน ซึ่งเป็นคนพาล คนเขลา,คนอย่างท่านหรือจะรู้จักสิ่งที่ควรพูด ดังนี้.

    ภิกษุเถระนั้น ถูกเขาว่าให้ ก็โกรธ แค้นใจ กล่าววาจาหยาบออกมา โดยอาการที่ทำให้ตนต้องถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมในภายหลัง จึงเป็นเหมือนผ้าเปลือกปอเก่าคร่ำ ที่เขาทิ้งเสียตามกองขยะมูลฝอย ฉะนั้น แล.

    _____________________________________________________
    ๑ บาลี พระพุทธภาษิต ติก. อํ. ๒๐/๓๑๗/๕๓๙, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.
     
  7. rawats_99

    rawats_99 ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,020
    ค่าพลัง:
    +1,947
    คนดีก็ตายคนเลวก็ตาย....คนกลางๆก็ตาย....ตายทุกคน...ทุกลมหายใจ...แต่ก่อนตายเตรียมตัวกันดีหรือยัง...มีความประมาทมากน้อยขนาดไหน...กลัวทำไม...วุ่นวายทำไม...
     
  8. maxcomp

    maxcomp เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +874
    น่าสนใจข้อ 3 มากๆ รู้สึกจะมีให้เห็นอยู่เนืองๆ เดินกันเป็นแถวยาว ปูพรมโรยดอกไม้

    ขอบคุณที่ช่วยแจงให้เห็นถึง พระปลอม เดินกลางเมือง
     
  9. Gearknight

    Gearknight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +234
    ถึงแม้จะไม่ดีที่สุด แต่ว่าก็สุดยอดมากแล้วครับ ผู้มีปัญญาและความเพียรเท่านั้นถึงจะเข้าใจคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ ปัญญาก็เป็นสิ่งที่ฝึกฝนได้ มี2อย่างครบก็ยังต้องมีบุญวาสนาอีกแหน่ะ ยุคนี้เลยยากนักแล อนุโมทนาครับเจ้าของกระทู้เบื่อกระทู้ที่ทำให้คนหลงเหลือเกิน
     

แชร์หน้านี้

Loading...