ใครมีปัญหาอะไรในการปฏิบัติลองเข้ามาถามดู

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พระ ธรรมะ, 9 มีนาคม 2013.

  1. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    55 ยังไม่ยอมรู้สึกตัวอีก ถึงเวลาก้พูดเข้าข้างตัวเอง น่าขันนัก กิเลสมันเข้าข้างตัวมันเอง 555
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 เมษายน 2013
  2. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น


    ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    นี่คือ 3 ในโสตาปัตติยังคะสี่...ที่เป็นคุณสมบัติของการเป็น อริยบุคคลระดับโสดาบัน..

    (๑) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้า ว่า “เพราะเหตุอย่างนี้ ๆ
    พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้
    โดยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
    เป็นผู้ไปแล้วดว้ ยดี เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง เป็นผู้สามารถ
    ฝึกคนที่ควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า เป็นครูของเทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยธรรม
    เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์” ดังนี้.


    (๒) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ว่า “พระธรรม เป็นสิ่งที่
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและ
    ปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และ
    ให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า
    ท่านจงมาดูเถิด เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว เป็นสิ่งที่
    ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน” ดังนี้.

    (๓) คหบดี ! อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้
    ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความเลื่อมใสอันหยั่งลงมั่น
    ไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ว่า “ สงฆ์สาวกของพระผู้มี
    พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้ว
    เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว เป็นผู้
    ปฏิบัติสมควรแล้ว ได้แก่บุคคลเหล่านี้ คือ คู่แห่งบุรุษสี่คู่
    นับเรียงตัวได้แปดบุรุษ นั่นแหละคือสงฆ์สาวกของ
    พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา
    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ เป็นสงฆ์
    ควรรับทักษิณาทาน เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปจะพึงทำอัญชลี
    เป็นสงฆ์ที่เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า” ดังนี้.

    และนี่คือ ไม่หวั่นไหว ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
     
  3. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    มีลิงตัวหนึ่ง มันเห็นพระนั่งอยู่ มันเลยกระโดขึ้นที่สูง มันคิดไว้ในใจว่า พระนี้แค่ทำท่าทีให้น่าเชื่อถือเฉยๆ แท้จริงแล้วไม่มีอะไรหรอก แหกตา!มันจึงคิดจะทำให้อับอาย โดยรอ้งกระโกน ด่าว่า เป็นการทักทาย พระก้ยังเฉยอยู่ มันจึงพยายามดูถูกเหยียดหยาม หวังให้พระทำ วิธีต่ำๆเหมือนมัน พระรู้เจตนามัน จึงคิดจะสั่งสอนให้มันคิดได้ว่า ถ้ามันดีคนอื่นก้ดีตอบ ถ้ามันร้ายก้จะไม่มีใครเจตนาดีกับมัน เลยแกล้งยกไม้ขึ้น แล้วหันไปทางมัน ความที่มันคิดไม่ดีต่อพระมาตั้งต้น มันก้รีบกระโดดหนี แล้วร้องว่าพระจะฆ่ามัน ทั้งๆที่มันไม่รู้ความในใจพระรูปนั้นเลย มันไม่ยอมคิด แต่กลับไปประกาศว่า อย่าไปเชื่อพระรูปนั้น เพราะพระรูปนั้นจะฆ่ามัน สุดท้ายจะเป็นยังไงคงสุดแท้แต่กรรม คนที่หวังทำลายศรัทธาของพระ ยังมีอยู่ในศาสนาพุทธเรา มาก เรื่องไหนเสียๆหายๆก้พากันประโคมให้หนักขึ้น ถ้าเป็นเจตนาที่ดี กับพระรัตนไตร เขาคงไม่ทำเช่นนั้น สุดท้ายลิงตัวนั้นคงตาย!!!
     
  4. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    ** ปฏิบัติกันเถิด ** (หลวงพ่อชา สุภัทโท)



    ** ปฏิบัติกันเถิด ** (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    *************
    วิธีปฏิบัติ

    จงหายใจเข้า หายใจออก อยู่อย่างนี้แหละ อย่าใส่ใจกับอะไรทั้งนั้น ใครจะยืนเอาก้นขึ้นฟ้าก็ช่าง อย่าไปเอาใจใส่ อยู่แต่กับลมหายใจเข้าออก ให้ความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ทำอยู่อย่างนี้แหละ

    ไม่ไปเอาอะไรอื่น ไม่ต้องคิดว่าจะเอานั่นเอานี่ ไม่เอาอะไรทั้งนั้น..ให้รู้จักแต่ลมเข้า...ลมออก...ลมเข้า...ลมออก...พุท เข้า โธ ออกอยู่กับลมหายใจอย่างนี้แหละ เอาอันนี้เป็นอารมณ์ ให้ทำอยู่อย่างนี้จนกระทั่งลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ลมเข้าก็รู้จัก ลมออกก็รู้จัก ให้รู้จักอยู่อย่างนั้น จนจิตสงบ หมดความรำคาญ ไม่ฟุ้งซ่านไปไหนทั้งนั้น ให้มีแต่ลมออกลมเข้า ลมออกลมเข้าอยู่อย่างนั้น ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ ยังไม่ต้องมีจุดหมายอะไรหรอก นี่แหละเบื้องแรกของการปฏิบัติ


    เมื่อใจสงบ กายก็สบาย

    ถ้ามันสบาย ถ้ามันสงบ มันก็จะรู้จักของมันเอง ทำไปเรื่อยๆลมก็จะน้อยลง อ่อนลง กายก็อ่อน จิตก็อ่อน มันเป็นไปตามเรื่องของมันเอง นั่งก็สบาย ไม่ง่วง ไม่โงก ไม่หาวนอน จะเป็นอย่างใด ดูมันคล่องของมันเองไปทุกอย่าง นิ่ง สงบ จนพอออกจากสมาธิแล้ว จึงมานึกว่า มันเป็นอย่างใดหนอ แล้วก็นึกถึงความสงบอันนั้น ไม่ลืมสักที

    สิ่งที่ติดตามเราเรียกว่าสติ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ความรู้ตัว เราจะพูดอะไร จะทำอะไร จะไปนั่น จะมานี่ จะไปบิณฑบาตก็ดีจะฉันจังหันก็ดี จะล้างบาตรก็ดี ก็ให้รู้จักเรื่องของมัน ให้มีสติอยู่เสมอ ติดตามมันไป ให้ทำอยู่อย่างนี้


    การเดินจงกรม

    เมื่อจะเดินจงกรม ก็ให้มีทางเดินสักทางหนึ่ง จากต้นไม้ต้นนี้ไปสู่ต้นไม้ต้นนั้นก็ได้ ให้ระยะทางมันยาวสัก ๗-๘ วา เดินจงกรมมันก็เหมือนกับทำสมาธิ ให้กำหนดความรู้สึกขึ้นในใจว่า "บัดนี้ เราจะทำความเพียร จะทำจิตให้สงบ มีสติสัมปชัญญะให้กล้า"

    การกำหนดก็แล้วแต่ละคน ตามใจ บางคนออกเดินก่อนก็แผ่เมตตาสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง สารพัดอย่าง แล้วก็ก้าวเท้าขวาออกก่อนให้พอดีๆ ให้นึก "พุทโธ...พุทโธ..." ตามการก้าวเดินนั้น ให้มีความรู้ในอารมณ์นั้นไปเรื่อย ถ้าใจเกิดฟุ้งซ่าน หยุด ให้มันสงบ ก้าวเดินใหม่ให้มีความรู้ตัวอยู่เรื่อยๆ ต้นทางออกก็รู้จัก รู้จักหมด ต้นทางกลางทาง ปลายทาง ทำความรู้นี้ให้ติดต่อกันอยู่เรื่อยๆ


    เดินจงกรมทำให้เกิดปัญญา

    นี่เป็นวิธีทำ กำหนดเดินจงกรม เดินจงกรมก็คือ เดินกลับไปกลับมา เดินจงกรมไม่ใช่ของง่ายนะ บางคนเห็นเดินกลับไปกลับมาเหมือนคนบ้า แต่หารู้ไม่ว่าการเดินจงกรมนี่ทำให้เกิดปัญญานักละเดินกลับไปกลับมา ถ้าเหนื่อยก็หยุด กำหนดจิตให้นิ่ง กำหนดลมหายใจให้สบาย เมื่อสบายพอสมควรแล้ว ก็ทำความรู้สึกกำหนดการเดินอีก แล้วอิริยาบถมันก็เปลี่ยนไปเอง การยืน การเดิน การนั่ง การนอนมันเปลี่ยน คนเราจะนั่งรวดเดียวไม่ได้ ยืนอย่างเดียวไม่ได้นอนอย่างเดียวก็ไม่ได้ มันจะต้องอยู่ตามอิริยาบถเหล่านี้ ทำอิริยาบถทั้งสี่ให้มีประโยชน์ ให้มีความรู้สึกตัวอยู่อย่างนี้ นี่คือการทำ ทำไป ทำไป มันไม่ใช่ของง่ายๆหรอก

    ถ้าจะพูดให้ดูง่าย ก็นี่ เอาแก้วใบนี้ตั้งไว้นี่สองนาที ได้สองนาทีก็ย้ายไปตั้งไว้นั้นสองนาที แล้วก็เอามาตั้งไว้นี่ ให้ทำอยู่อย่างนี้ ทำไปทำไป ทำจนให้มันทุกข์ ให้มันสงสัย ให้มันเกิดปัญญาขึ้น นี่ คิดอย่างใดหนอ แก้วยกไปยกมา เหมือนคนบ้า มันก็จะคิดของมันไปตามเรื่อง ใครจะว่าอะไรก็ช่าง ยกอยู่อย่างนั้น สองนาทีนะอย่าเผลอ ไม่ใช่ห้านาที พอสองนาทีก็เอามาตั้งไว้นี่ กำหนดอยู่อย่างนี้ นี่เป็นเรื่องของการกระทำ


    วิธีดูลมหายใจ

    จะดูลมหายใจเข้าออกก็เหมือนกัน ให้นั่งขาขวาทับขาซ้าย ให้ตัวตรง สูดลมเข้าไปให้เต็มที่ ให้หายลงไปให้หมดในท้อง สูดเข้าให้เต็มแล้วปล่อยออกให้หมดปอด อย่าไปบังคับมัน ลมจะยาวแค่ไหนจะสั้นแค่ไหน จะค่อยแค่ไหน ก็ช่างมัน ให้มันพอดีๆกับเรา นั่งดูลมเข้าลมออกให้สบายอยู่อย่างนั้น อย่าให้มันหลง ถ้าหลงก็ให้หยุด ดูว่ามันไปไหน มันจึงไม่ตามลม ให้หามันกลับมา ให้มันมาแล่นตามลมอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วก็จะพบของดีสักวันหนึ่งหรอก ให้ทำอยู่อย่างนั้นทำเหมือนกับว่าจะไม่ได้อะไร ไม่เกิดอะไร ไม่รู้ว่าใครมาทำ แต่ก็ทำอยู่เช่นนั้น เหมือนข้าวอยู่ในฉาง แล้วเอาไปหว่านลงดิน ทำเหมือนจะทิ้งหว่านลงในดินทั่วไป โดยไม่สนใจ มันกลับเกิดหน่อ เกิดกล้า เอาไปดำกลับได้กินข้าวเม่าขึ้นมาอีก นั่นแหละเรื่องของมัน

    อันนี้ก็เหมือนกัน นั่งเฉยๆ บางครั้งก็จะนึกว่า "จะนั่งเฝ้าดูมันทำไมนะ ลมนี่น่ะ ถึงไม่เฝ้ามัน มันก็ออกก็เข้าของมันอยู่แล้ว" มันก็หาเรื่องคิดไปเรื่อยแหละ มันเป็นความเห็นของคน เรียกว่าอาการของจิต ก็ช่างมัน พยายามทำไปๆให้มันสงบ


    เมื่อสงบ ลมหายใจก็จะพอดีของมัน

    เมื่อมันสงบแล้ว ลมจะน้อยลง ร่างกายก็จะอ่อนลง จิตก็อ่อนลง มันจะอยู่พอดีของมัน จนกระทั่งว่านั่งอยู่เฉยๆเหมือนไม่มีลมหายใจเข้าออก แต่มันก็ยังอยู่ได้ ถึงตอนนี้ อย่าตื่น อย่าวิ่งหนี เพราะคิดว่าเราหยุดหายใจแล้ว นั่นแหละมันสงบแล้ว ไม่ต้องทำอะไรนั่งเฉยๆดูมันไปอย่างนั้นแหละ

    บางทีจะคิดว่า เอ เรานี่หายใจหรือเปล่าหนอ อย่างนี้ก็เหมือนกัน มันคิดไปอย่างนั้น แต่อย่างไรก็ช่างมัน ปล่อยไปตามเรื่องของมัน ไม่ว่าจะเกิดความรู้สึกอะไรขึ้น ให้รู้มัน ดูมัน แต่อย่าไปหลงใหลกับมัน ทำไป ทำไป ทำให้บ่อยๆไว้ ฉันจังหันเสร็จ เอาจีวรไปตาก แล้วเดินจงกรมทันที นึก "พุทโธ...พุทโธ..." ไว้ นึกไปเรื่อย ตลอดเวลา เดิน เดินไป นึกไป ให้ทางมันสึก ลึกลงไปสักครึ่งแข้ง หรือถึงหัวเข่าก็ให้เดินอยู่อย่างนั้นแหละ


    ให้ดู ให้รู้ แต่อย่าหลง

    ไม่ใช่เดินยอกแยกๆ คิดโน่นคิดนี่เที่ยวเดียวก็เลิก ขึ้นกุฏิมองดูพื้นกระดาน เออ มันน่านอน ก็ลงนอนกรนครอกๆ อย่างนี้ก็ไม่เห็นอะไรเท่านั้น

    ทำไปจนขี้เกียจทำ ขี้เกียจมันจะไปสิ้นสุดที่ไหน หามันให้เห็นที่สุดของขี้เกียจมันจะอยู่ตรงไหน มันจะเหนื่อยตรงไหน มันจะเป็นอย่างไรก็ให้ถึงที่สุดของมันจึงจะได้ ไม่ใช่จะมาพูดบอกตัวเองว่า สงบสงบ สงบ แล้วพอนั่งปุ๊บก็จะให้มันสงบเลย ครั้นมันไม่สงบอย่างคิดก็เลิก ขี้เกียจ ถ้าอย่างนั้นก็ไม่มีวันได้สงบ


    ความสงบ พูดไม่ยาก แต่ทำยาก

    แต่พูดมันง่าย หากทำแล้วมันก็ยาก เหมือนกับพูดว่า "ฮึ ทำนาไม่เห็นยากเลย ไปทำนาดีกว่า" ครั้นพอไปทำนาเข้า วัวก็ไม่รู้จักควายก็ไม่รู้จัก คราดไถก็ไม่รู้จักทั้งนั้น เรื่องการทำไร่ทำนานี่ ถ้าแค่พูดก็ไม่ยาก แต่พอลงมือทำจริงๆสิจึงรู้ว่ามันยากอย่างนี้เอง

    หาความสงบอย่างนี้ ใครๆก็อยากสงบด้วยกันทั้งนั้น ความสงบมันก็อยู่ตรงนั้นแหละ แต่ว่าเราไม่ทันจะรู้จักมัน จะตามจะพูดกันสักเท่าไหร่ก็ไม่รู้จักขึ้นมาได้หรอก

    ฉะนั้น ให้ทำ ให้ตามรู้จักให้ทันว่า กำหนดลมเข้าออก กำหนดว่าพุทโธ...พุทโธ... เอาเท่านี้แหละ ไม่ให้คิดไปไหนทั้งนั้น ในเวลานี้ให้มีความรู้อยู่อย่างนี้ ทำอยู่อย่างนี้ ให้เรียนอยู่เท่านี้แหละ ให้ทำไปๆอย่างนี้แหละ จะนึกว่าทำอยู่นี่ก็ไม่เห็นมันเป็นอะไรเลย ไม่เป็นไรไม่เป็นก็ให้ทำไป ไม่เห็นก็ให้ทำไป ให้ทำไปอยู่นั่นแหละ แล้วเราจะรู้จักมัน

    เอาละนะ ทีนี้ลองทำดู ถ้าเรานั่งอย่างนี้ แล้วมันรู้เรื่อง ใจมันจะพอดีๆ พอจิตสงบแล้ว มันก็รู้เรื่องของมันเองหรอก ต่อให้นั่งตลอดคืนจนสว่าง ก็จะไม่รู้สึกว่านั่ง เพราะมันเพลิน พอเป็นอย่างนี้ทำได้ดีแล้ว อาจจะอยากเทศน์ให้หมู่พวกฟังจนคับวัดคับวาไปก็ได้ มันเป็นอย่างนั้นก็มี


    เมื่อจิตสงบ อย่าปล่อยไปตามอารมณ์

    เหมือนอย่างตอนที่พ่อสางเป็นผ้าขาว คืนหนึ่งเดินจงกรมแล้วนั่งสมาธิ มันเกิดแตกฉานขึ้นมา อยากเทศน์ เทศน์ไม่จบ เราได้ยินเสียง นั่งฟังเสียงเทศน์ "โฮ้ว โฮ้ว โฮ้ว" อยู่ที่กอไผ่โน่น ก็นึกว่า "นั่นผู้ใดหนอเทศน์กันกับใคร หรือว่าใครมานั่งบ่นอะไรอยู่" ไม่หยุดสักทีก็เลยถือไฟฉายลงไปดู ใช่แล้ว ผ้าขาวสางมีตะเกียงจุด นั่งขัดสมาธิอยู่ใต้กอไผ่ เทศน์เสียจนฟังไม่ทัน

    ก็เรียก "สาง เจ้าเป็นบ้าหรือ"

    เขาก็ตอบว่า "ผมไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร มันอยากเทศน์ นั่งก็ต้องเทศน์ เดินก็ต้องเทศน์ ไม่รู้ว่ามันจะไปจบที่ไหน"

    เราก็นึกว่า "เฮอ คนนี่มันเป็นไปได้ทั้งนั้น เป็นไปได้สารพัดอย่าง"


    จงดูตัวเอง แต่อย่าปล่อย

    ฉะนั้น ให้ทำอย่าหยุด อย่าปล่อยไปตามอารมณ์ ให้ฝืนทำไปถึงจะขี้คร้านก็ให้ทำ จะขยันก็ให้ทำ จะนั่งก็ทำ จะเดินก็ทำ เมื่อจะนอนก็ให้กำหนดลมหายใจว่า "ข้าพเจ้าจะไม่เอาความสุขในการนอน"สอนจิตไว้อย่างนี้ พอรู้สึกตัวตื่น ก็ให้ลุกขึ้นมาทำความเพียรต่อไป

    เวลาจะกิน ก็ให้บอกว่า "ข้าพเจ้าจะบริโภคอาหารนี้ ไม่ได้บริโภคด้วยตัณหา แต่เพื่อเป็นยาปนมัตร์ เพื่อความอยู่รอดในมื้อหนึ่งวันหนึ่ง เพื่อให้ประกอบความเพียรได้เท่านั้น"

    เวลาจะนอนก็สอนมัน เวลาฉันจังหันก็สอนมัน ให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย จะยืนก็ให้รู้สึก จะนอนก็ให้รู้สึก จะทำอะไรสารพัดอย่าง ก็ให้ทำอย่างนั้น เวลาจะนอนให้นอนตะแคงข้างขวา กำหนดอยู่ที่ลมหายใจพุทโธ...พุทโธ... จนกว่าจะหลับ ครั้นตื่นก็เหมือนกับมีพุทโธอยู่ไม่ได้ขาดตอนเลย จึงจะเป็นความสงบเกิดขึ้นมา มันเป็นสติอยู่ตลอดเวลา อย่าไปมองดูผู้อื่น อย่าไปเอาเรื่องของผู้อื่น ให้เอาแต่เรื่องของตัวเองเท่านั้น


    การนั่งสมาธิต้องใช้ความอดทนเป็นที่ตั้ง

    การนั่งสมาธินั้น นั่งให้ตัวตรง อย่าเงยหน้ามากไป อย่าก้มหน้าเกินไป เอาขนาดพอดี เหมือนพระพุทธรูปนั่นแหละ มันจึงสว่างไสวดี

    ครั้นจะเปลี่ยนอิริยาบถ ก็ให้อดทนจนสุดขีดเสียก่อน ปวดก็ให้ปวดไป อย่าเพิ่งรีบเปลี่ยน อย่าคิดว่า "บ๊ะ ไม่ไหวแล้ว พักก่อนเถอะน่า" อดทนมันจนปวดถึงขนาดก่อน พอมันถึงขนาดแล้วก็ให้ทนต่อไปอีก

    ทนไป ทนไป จนมันไม่มีแก่ใจจะว่า 'พุทโธ' เมื่อไม่ว่า 'พุทโธ'ก็เอาตรงที่มันเจ็บนั่นแหละมาแทน "อุ๊ย! เจ็บ เจ็บแท้ๆหนอ" เอาเจ็บนั่นมาเป็นอารมณ์แทนพุทโธก็ได้ กำหนดให้ติดต่อกันไปเรื่อย นั่งไปเรื่อย ดูซิว่าเมื่อปวดจนถึงที่สุดแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น


    เจ็บเองก็หายเอง

    พระพุทธเจ้าท่านว่า มันเจ็บเอง มันก็หายเอง ให้มันตายไปก็อย่าเลิก บางครั้งมันเหงื่อแตกเม็ดโป้งๆเท่าเม็ดข้าวโพด ไหลย้อยมาตามอก ครั้นทำจนมันได้ข้ามเวทนาอันหนึ่งแล้วมันก็รู้เรื่องเท่านั้นแหละ ให้ค่อยทำไปเรื่อยๆ อย่าเร่งรัดตัวเองเกินไป ให้ค่อยทำไปๆ

    ฉันจังหันอยู่ก็ให้รู้จัก เมื่อเคี้ยวกลืนลงไปน่ะ มันลงไปถึงไหนอาหารที่แสลงโรคมันผิดหรือถูกกับธาตุขันธ์ ก็รู้จักหมด ฉันจังหันก็ลองกะดู ฉันไป ฉันไป กะดูว่า อีกสักห้าคำจะอิ่มก็ให้หยุดเสีย แล้วดื่มน้ำเข้าไป ก็จะอิ่มพอดี

    ลองทำดูซิว่าจะทำได้หรือไม่ แต่คนเรามันไม่เป็นอย่างนั้น พอจะอิ่มก็ว่า เติมอีกสักห้าคำเถอะ มันว่าไปอย่างนั้น มันไม่รู้จักสอนตัวเองอย่างนี้

    พระพุทธเจ้าท่านให้ฉันไป กำหนดดูไป ถ้าพออีกสักห้าคำจะอิ่มก็หยุด ดื่มน้ำเข้าไป มันก็จะพอดี จะไปเดิน ไปนั่ง มันก็ไม่หนักตัว ภาวนาก็ดีขึ้น แต่คนเรามันไม่อยากทำอย่างนั้น พออิ่มเต็มที่แล้วยังเติมเข้าไปอีกห้าคำ มันเป็นไปอย่างนั้น เรื่องของกิเลสตัณหากับเรื่องที่พระพุทธเจ้าท่านสอน มันไปคนละทาง ถ้าคนที่ไม่ต้องการฝึกจริงๆแล้ว ก็จะทำไม่ได้ ขอให้เฝ้าดูตนเองไปเถิด

    ทีนี้เรื่องนอน ก็ให้ระวัง มันขึ้นอยู่กับการที่เราจะต้องรู้จักอุบายของมัน บางครั้งอาจจะนอนไม่เป็นเวลา นอนหัวค่ำบ้าง นอนสายบ้าง แต่ลองเอาอย่างนี้ จะนอนดึกนอนหัวค่ำก็ช่างมัน แต่ให้นอนเพียงครั้งเดียวเท่านั้น

    พอรู้สึกตัวตื่นให้ลุกขึ้นทันที อย่ามัวเสียดายการนอน เอาเท่านั้น เอาครั้งเดียว จะนอนมากนอนน้อย ก็เอาครั้งเดียว ให้ตั้งใจไว้ว่า พอรู้สึกตัว...ตื่น ถึงนอนไม่อิ่ม ก็ลุกขึ้นไปล้างหน้า แล้วก็เดินจงกรม หรือนั่งสมาธิไปเลย ให้รู้จักฝึกตัวเองอย่างนี้ เรื่องอย่างนี้ไม่ใช่จะรู้ เพราะคนอื่นบอก จะรู้ได้เพราะการฝึก การปฏิบัติ การกระทำ จึงให้ทำไปเลย


    จิตฝึกยาก แต่อย่าท้อถอย

    เรื่องทำจิตนี้เป็นเรื่องแรก ท่านเรียกว่าทำกรรมฐาน เวลานั่งให้จิตมีอารมณ์เดียวเท่านั้น ให้อยู่กับลมเข้า ลมออก แล้วจิตก็จะค่อยสงบไปเรื่อย ถ้าจิตวุ่นวาย ก็จะมีหลายอารมณ์ เช่น พอนั่งปุ๊บ โน่นคิดไปบ้านโน้น บ้างก็อยากกินก๋วยเตี๋ยว บวชใหม่ๆมันก็หิวนะ อยากกินข้าว กินน้ำ คิดไปทั่ว หิวโน่น อยากนี่ สารพัดอย่างนั่นแหละ มันเป็นบ้า จะเป็นก็ให้มันเป็นไป เอาชนะมันได้เมื่อไหร่ก็หายเมื่อนั้น

    ให้ทำไปเถิด เคยเดินจงกรมบ้างไหม เป็นอย่างไรขณะที่เดินจิตกระเจิดกระเจิงไปหรือ ก็หยุดมันซิ ให้มันกลับมา ถ้ามันไปบ่อยๆก็อย่าหายใจ กลั้นใจเข้า พอใจจะขาด มันก็ต้องกลับมาเอง ไม่ว่ามันจะเก่งปานใด นั่งให้มันคิดทั่วทิศทั่วแดนดูเถอะ กลั้นใจเอาไว้ อย่าหยุด ลองดู พอใจจะขาด มันก็กลับมา จงทำใจให้มีกำลัง การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นของฝึกยากแท้ๆ แต่อย่าไปท้อถอยง่ายๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศ ก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาด มันก็คิดอะไรไม่ออก มันก็วิ่งกลับมาเอง ให้ทำไปเถอะ

    ในพรรษานี้ทำให้มันรู้เรื่อง กลางวันก็ช่าง กลางคืนก็ตาม ให้ทำไป แม้จะมีเวลาสักสิบนาทีก็ทำ กำหนดทำไปเรื่อยๆ ให้ใจมันจดจ่อให้มีความรู้สึกอยู่เสมอ อยากจะพูดอะไรก็อย่าพูด หรือกำลังพูดก็ให้หยุด ให้ทำอันนี้ให้ติดต่อกันไว้


    ยึดสายน้ำเป็นหลักปฏิบัติธรรม

    เหมือนอย่างกับน้ำในขวดนี่แหละ เมื่อเรารินมันทีละน้อย มันก็จะหยดนิด...นิด...นิด พอเราเร่งรินให้เร็วขึ้น มันก็จะไหลติดต่อเป็นสายน้ำเดียวกัน ไม่ขาดตอนเป็นหยดเหมือนเวลาที่เรารินทีละน้อยๆสติของเราก็เหมือนกัน ถ้าเราเร่งมันเข้า คือ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอแล้วมันก็จะติดต่อกันเป็นสายน้ำ ไม่เป็นน้ำหยด หมายความว่า ไม่ว่าเราจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ความรู้อันนี้มันไม่ขาดจากกัน มันจะไหลติดต่อกันเป็นสายน้ำ การปฏิบัติจิตนี่เป็นอย่างนั้น เดี๋ยวมันคิดนั่นคิดนี่ ฟุ้งซ่านไม่ติดต่อกัน มันจะคิดไปไหนก็ช่างมัน ให้เราพยายามทำให้เรื่อยเข้าไว้ แล้วมันจะเหมือนหยดแห่งน้ำ มันจะทำความห่างให้ถี่ ครั้นถี่เข้าๆมันก็ติดกันเป็นสายน้ำ ทีนี้ความรู้ของเราก็จะเป็นความรู้รอบ จะยืนก็ตาม จะนั่งก็ตาม จะนอนก็ตาม จะเดินก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไรสารพัดอย่าง มันก็มีความรู้อันนี้รักษาอยู่

    ไปทำเสียแต่เดี๋ยวนี้นะ ไปลองทำดู แต่อย่าไปเร่งให้มันเร็วนักล่ะ ถ้ามัวแต่นั่งคอยดูว่ามันจะเป็นอย่างไรละก็ มันไม่ได้เรื่องหรอก แต่ให้ระวังด้วยนะว่า ตั้งใจมากเกินไป ก็ไม่เป็น ไม่ตั้งใจเลย ก็ไม่เป็น

    แต่บางครั้งเราไม่ได้ตั้งใจว่าจะนั่งสมาธิหรอก เมื่อเสร็จงานก็นั่งทำจิตให้ว่างๆ มันก็พอดีขึ้นมาปั๊บ ดีเลย สงบ ง่าย อย่างนี้ก็มี ถ้าทำให้มันถูกเรื่อง

    หมดแล้ว เอาละ เอวังเท่านี้ละ.
     
  5. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    คลิกเมาส์ที่ใดก็ได้ในเฟรมนี้เพื่อเรียกเมนูด่วน


    ทำใจให้เป็นบุญ

    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    บรรยายที่วัดหนองป่าพง ให้แก่ชมรมพุทธศาสตร์เอสโซ่

    เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๔

    คัดลอกจาก “ธรรมะ หลวงพ่อชา”

    จัดทำโดย คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง

    ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙

    http://www.geocities.com/uu2uu/achar/cha01.html



    โอกาสที่พวกเราจะได้มารวมกันแต่ละครั้งนี้ก็ลำบากนะ นับว่าเป็นมงคลอันหนึ่ง ที่ได้มาถวายสังฆทาน และได้มาฟังธรรมที่วัดหนองป่าพง เมื่อคืนคงได้ฟังหลายกัณฑ์ละมังนี่ อาตมาได้ขอโอกาสแก่พระสงฆ์ทั้งหลายและญาติโยมแล้ว ให้พระสงฆ์ทำธุระแทน กำลังมันน้อยทุกวันนี้ ลมมันน้อยเสียงมันก็น้อย ทำไมมันจึงน้อย มันจะหมดนะแหละ น้อยๆ ลง เดี๋ยวก็หมดแหละ มาที่นี่นับเป็นโชคดีที่ยังเห็นตัวเห็นตนอยู่นะ ถ้านานๆ ไปมันจะไม่ได้เห็นแล้ว จะเห็นก็แต่วัด เท่านั้นแหละ ต่อจากนี้ให้ตั้งใจฟังธรรม

    ระยะเวลานี้พวกเราแสวงบุญกันมาก มีคนแสวงบุญกันมาก ทุกแห่ง ที่ไหนที่ไหนก็มาผ่านวัดป่าพง ที่จะไปก็ผ่านนี้ ที่ไม่ผ่าน กลับมาก็ต้องผ่านนี้ ทอดผ้าป่าทอดกฐินทุกครั้ง ถ้าขาไปไม่พบ ขากลับก็ต้องมาผ่าน ก็คือต้องผ่านทั้งนั้น ฉะนั้นวัดป่าพงจึงเป็นเมืองผ่าน ผ่านไปชั่วคราว ผ่านไปผ่านมา บางคนที่มีธุระรีบร้อนก็ไม่ได้พบกัน ไม่ได้พูดกัน ฉะนั้นจึงต้องอาศัยเวลาของพวกเรา

    โดยมากก็มาแสวงหาบุญกัน แต่ว่าไม่เคยเห็นญาติโยมที่แสวงหาการละบาป มีแต่แสวงบุญเรื่อยไป ไม่รู้จะเอาบุญไปไว้ตรงไหนก็ไม่รู้ ผ้าสกปรกไม่ฟอก แต่อยากจะรับน้ำย้อมนะ นี่มันเป็นอย่างนั้น

    คำสอนของพระท่านพูดไปโดยตรง ง่ายๆ แต่มันยากกับคนที่จะต้องปฏิบัติ มันยากเพราะคนไม่รู้ เพราะคนรู้ไม่ถึง มันจึงยาก ถ้าคนรู้ถึงแล้ว มันก็ง่ายขึ้นนะ อาตมาเคยสอนว่าเหมือนกันกะรู มีรูอันหนึ่ง ถ้าเราเอามือล้วงเข้าไปไม่ถึงก็นึกว่ารูนี้มันลึก ทุกคนตั้งร้อยคน พันคนนึกว่ารูมันลึก ก็เลยไปโทษรูว่ามันลึกเพราะล้วงไปไม่ถึง คนที่จะว่าแขนเราสั้นไม่ค่อยมี ร้อยก็ทั้งร้อยว่ารูมันลึกทั้งนั้น คนที่จะว่าไม่ใช่ แขนเรามันสั้น ไม่ค่อยมี คนแสวงหาบุญเรื่อยๆ ไป วันหลังต้องมาแสวงหาการละบาปกันเถอะ ไม่ค่อยจะมี

    นี่มันเป็นเสียอย่างนี้ คำสอนของพระท่านบอกไว้สั้นๆ แต่คนเรามันผ่านไปๆ ฉะนั้นวัดป่าพงมันจึงเป็นเมืองผ่านธรรมะก็จึงเป็นเมืองผ่านของคน

    สพฺพปาปสฺสอกรณํ กุสลสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ สามคาถาเท่านี้ ไม่มากเลย

    สพฺพปาปสฺสอกรณํ การไม่กระทำบาปทั้งปวงนั่นน่ะ เอตัง พุทธานะสาสะนัง เป็นคำสอนของพระ อันนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา แต่เราข้ามไปโน้น เราไปเอาอย่างนี้ การละบาปทั้งปวงน้อยใหญ่ทางกายวาจาใจน่ะเป็นเลิศประเสริฐแล้ว เอตัง พุทธานะสานะนัง อันนี้เป็นคำสอนของพระ อันนี้ เป็นตัวศาสนา อันนี้เป็นคำสั่งสอนที่แท้จริง

    ธรรมดาของเรานะ เวลาจะย้อมผ้า ก็จะต้องทำผ้าของเราให้สะอาดเสียก่อน อันนี้ไม่อย่างนั้นสิ เราไปเที่ยวตลาด เห็นสีมันสวยๆ ก็นึกว่าสีนั้นสวยดี เราจะย้อมผ้าละ ไม่ดูผ้าของเรา จับสีขึ้นมา เห็นสีสวยๆ ก็จะเอามาย้อมผ้าอย่างนั้นแหละ เอามาถึงก็เอามาย้อมเลย ผ้าของเรายังไม่ได้ฟอก ไม่สะอาด มันก็ยิ่งขี้เหร่ไปกว่าเก่าเสียแล้ว เราคิดดูซิ กลับไปนี่ เอาผ้าเช็ดเท้าไปย้อม ไม่ต้องซักละนะ จะดีไหมน่ะ? ดูซิ

    นี่ละ พระพุทธเจ้าท่านสอนกันอย่างนี้ เราข้ามกันไปหมด พากันทำบุญ แต่ว่าไม่พากันละบาป ก็เท่ากับว่ารูมันลึก ใครๆ ก็ว่ามันลึก ตั้งร้อยตั้งพันก็ว่ารูมันลึก คนจะว่าแขนมันสั้นนะไม่ค่อยจะมี มันต้องกลับ ธรรมะต้องถอยหลังกลับมาอย่างนี้ ถึงจะมองเห็นธรรมะ มันต้องมุ่งหน้ากันไปอย่างนี้

    บางทีก็พากันไปแสวงหาบุญกัน ไปรถบัสคันใหญ่ๆ สองคัน สามคัน พากันไป ไปกันบางทีทะเลาะกันเสียบนรถก็มี บางทีกินเหล้า เมากันบนรถก็มี ถามว่าไปทำไม ไปแสวงบุญกัน ไปแสวงหาบุญ ไปเอาบุญ แต่ไม่ละบาป ก็ไม่เจอบุญกันสักที มันก็เป็นอย่างนั้นแหละ อันนี้มันอยู่อย่างนี้ มันจะสะดุดเท้าเราใช่ไหม

    ให้มองดูใกล้ๆ มองดูตัวเรา พระพุทธเจ้าท่านให้มองดูตัวเรา ให้สติสัมปชัญญะอยู่รอบๆ ตัวเรา ท่านสอนอย่างนี้ บาปกรรมทำชั่วทั้งหลายมันเกิดขึ้นทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ บ่อเกิดของบาปบุญคุณโทษก็คือกาย วาจา ใจ เราเอากาย วาจา ใจ มาด้วยหรือเปล่าวันนี้ หรือเอาไว้ที่บ้าน นี่ต้องดูอย่างนี้ ดูใกล้ๆ อย่าไปดูไกล เราดูกายของเรานี่ ดูวาจา ดูใจของเรา ดูว่าศีลของเราบกพร่องหรือไม่ อย่างนี้ไม่ค่อยจะเห็นมี

    โยมผู้หญิงเราก็เหมือนกันแหละ ล้างจานแล้วก็บ่นหน้าบูดหน้าเบี้ยวอยู่นั้นแหละ มัวไปล้างแต่จานให้มันสะอาด แต่ใจเราไม่สะอาด นี่มันไม่รู้เรื่อง เห็นไหม ไปมองดูแต่จาน มองดูไกลเกินไปใช่ไหม ดูนี่ซิ ใครคงจะถูกเข้าบ้างละมังนี่ นี่ให้ดูตรงนี้มันก็ไม่สะอาด (หมายเหตุ 1) สะอาดแต่จานเท่านั้นแหละ แต่ใจเราไม่สะอาด นี่มันก็ไม่ดี เรียกว่าเรามองข้ามตัวเอง ไม่มองดูตัวเอง ไปมองดูแต่อย่างอื่น จะทำความชั่วทั้งหลาย ก็ไม่เห็นตัวของเรา ไม่เห็นใจของเรา ภรรยาก็ดี สามีก็ดี ลูกหลานก็ดี จะทำความชั่วแต่ละอย่างก็ต้องมองโน้นมอง นี้ แม่จะเห็นหรือเปล่า ลูกจะเห็นหรือเปล่า สามีจะเห็นหรือเปล่า ภรรยาจะเห็นหรือเปล่า อะไรอย่างนี้ ถ้าไม่มีใครเห็นแล้วก็ทำ อันนี้มัน ดูถูกเจ้าของว่า คนไม่เห็นก็ทำดีกว่า รีบทำเร็วๆ เดี๋ยวคนจะมาเห็น แล้วตัวเราที่ทำนี่มันไม่ใช่คนหรือ เห็นไหม นี่มันมองข้ามกันไปเสียhอย่างนี้ จึงไม่พบของดี ไม่พบธรรมะ ถ้าเรามองดูตัวของเรา เราก็จะเห็นตัวเรา จะทำชั่วเราก็รู้จัก ก็จะได้ห้ามเสียทันที จะทำความดีก็ให้ดูที่ใจ เพราะเราก็มองเห็นตัวของเราอยู่แล้ว ก็จะรู้จักบาป รู้จักบุญ รู้จักคุณ รู้จักโทษ รู้จักผิด รู้จักถูก อย่างนี้ก็ต้องรู้สึกสิ

    นี่ถ้าไม่พูดก็ไม่รู้ เราโลภก็ไม่รู้ เราหลงก็ไม่รู้ อะไรๆ เราก็ไม่รู้ ไปมุ่งกันอย่างอื่น นี่เรียกว่าโทษของคนที่ไม่มองดูตัวของเรา ถ้าเรามองดูตัวของเรา เราก็จะเห็นชั่วเห็นดีทุกอย่าง อันนี้ดีก็จะได้เก็บไว้ แล้วเอามาปฏิบัติ เก็บดีมาปฏิบัติ ดีก็ทำตาม ความชั่วเก็บมาทำไม เก็บมาเพื่อเหวี่ยงทิ้ง

    การละความชั่ว ประพฤติความดี นี่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา สัพพะปาปัสสะ อะกะระณัง การไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ นั่นแหละถูกแล้ว เป็นคำสอนของพระ ถูกแล้วสะอาดแล้วละทีนี้ ต่อนั้นไปก็ กุสะละสูปะสัมปะทา คือ ทำใจให้เป็นบุญ เป็น กุศล คงรู้จักแล้ว เมื่อจิตเป็นบุญ จิตเป็นกุศลแล้วเราก็ไม่ต้องนั่งรถไป แสวงหาบุญที่ไหนใช่ไหม นั่งอยู่ที่บ้านเราก็จับบุญเอา จับเอา ก็เรารู้จักแล้ว อันนี้ไปแสวงหาบุญกันทั่วประเทศแต่ไม่ละบาป กลับไปบ้าน ก็กลับไปเปล่าๆ ไปทำหน้าบูดหน้าเบี้ยวอย่างเก่าอยู่นั่นแหละ ไปล้างจานหน้าบูดอยู่นั้นแหละ ไปดูแต่จานให้มันสะอาด แต่ใจเราไม่สะอาด ไม่ค่อยจะดูกัน นี่คนเรามันพ้นจากความดีไปเสียอย่างนี้ คนเราน่ะมันรู้ แต่ว่ามันรู้ไม่ถึง เพราะรู้ไม่ถึงใจของเรา ฉะนั้นหัวใจของพระศาสนาจึงไม่ผ่านเข้าหัวใจของเรา ใช่ไหม

    เมื่อจิตของเราเป็นบุญเป็นกุศลแล้วมันก็จะสบาย นั่งยิ้มอยู่ในใจของเรานั้นแหละ แต่นี่หาเวลายิ้มได้ยากใช่ไหมนี่ เวลาที่เราชอบใจถึงยิ้มได้ใช่ไหม เวลาไม่ชอบใจละก็ยิ้มไม่ได้ จะทำยังไง ไม่สบาย หรือสบายแล้ว คนเราต้องมีอะไรชอบใจเราแล้วจึงจะสบาย ต้องให้คนในโลกทุกคนพูดทุกคำให้ถูกใจเราหมด แล้วจึงจะสบายอย่างนั้นหรือ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราจะสบายได้เมื่อไร มีไหมใครจะพูดถูกใจเราทุกคน มีไหมนี่ แล้วเราจะเอาสบายได้เมื่อไร

    เราต้องอาศัยธรรมะนี่ถูกก็ช่าง ไม่ถูกก็ช่างเถอะ เราอย่าไปหมายมั่นมัน จับดูแล้วก็วางเสีย เมื่อใจมันสบายแล้ว ก็ยิ้มอยู่อย่างนั้นแหละ อะไรที่ว่ามันไม่ดี ไม่พอใจของเราเป็นบาป มันก็หมดไป มีอะไรดี มันก็คงต้องเป็นไปของมันอย่างนั้น

    สะจิตตะปะริโยทะปะนัง เมื่อชำระบาปแล้ว มันก็หมดกังวล ใจก็สงบ ใจเป็นบุญเป็นกุศล เมื่อใจเป็นบุญ เมื่อใจเป็นกุศลแล้ว ใจก็สบายสว่าง เมื่อจิตใจมันสว่างแล้ว ก็ละบาป ใจสว่างใจผ่องใส จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน มันก็สบาย เมื่อสบายสงบแล้วนั่นแหละคือคุณสมบัติของมนุษย์ที่แท้เต็มที่ ที่เราอยู่สบายนั้นแหละ

    ทีนี้เกี่ยวกับสิ่งที่เราชอบใจ ถ้าเขาพูดชอบใจเราก็ยิ้ม ถ้าเขาพูดไม่ชอบใจเราก็หน้าบูด เมื่อไรใครจะพูดให้ถูกใจเราทุกๆ วันมีไหม แม้แต่ลูกในบ้านเรา เคยพูดถูกใจเราไหม เราเคยทำให้พ่อแม่ถูกใจหรือเปล่า แน่ะ ไม่ใช่แต่คนอื่น แม้แต่หัวใจของเราเองก็เหมือนกัน บางทีคิดขึ้นมาไม่ชอบใจเหมือนกัน แล้วทำอย่างไร แน่ะ บางทีเดินไปตำหัวตอสะดุดปึ๊ก ฮึ! มันอะไรล่ะ ใครไปสะดุดมันล่ะ จะไปว่าใครล่ะ ก็ตัวเราทำเองนี่ จะทำยังไง ก็แต่ใจเราเองยังไม่ถูกใจตัวของเราเอง ให้เราคิดดูสิ อันนี้มันเป็นอย่างนี้ละ มีบางอย่างเราก็ทำไม่ถูกใจเราเอง ก็ได้แต่ ฮึ! ก็ไม่รู้จะไป ฮึ! เอาใคร นี่ล่ะมันไม่เที่ยงอย่างนี้ บุญในทางพุทธศาสนาคือการละบาป เมื่อละบาปแล้วมันก็ไม่มีบาป ไม่มีบาปมันก็ไม่ร้อน ไม่ร้อนมันก็เย็น จิตที่สงบแล้วนั้นจึงว่าเป็นกุศลจิต ไม่คิดโมโห มันก็ผ่องใส ผ่องใสด้วยวิธีอะไร ก็ให้โยมรู้จักว่า แหมวันนี้น่ะ ใจมันดุเหลือเกิน ไปมองดูอะไร แม้แต่จะมองดูถ้วยในตู้ มันก็ไม่สบาย (หมายเหตุ 2) อยากจะทุบมันทิ้งให้หมดทุกใบเลย ไปดูอะไรก็ไม่ชอบใจไปเสียทั้งนั้น ดูใคร ดูเป็ด ดูไก่ ดูสุนัข ดูแมว ไม่ชอบใจ แม้แต่พ่อบ้านพูดขึ้นมาก็ไม่ชอบใจ เมื่อดูในใจของเรา ก็ไม่ชอบใจของเรา ทีนี้ก็ไม่รู้จะไปอยู่ตรงไหนแล้วละ ทำไมมันถึงได้เกิดความร้อนอย่างนี้ นั้นแหละที่เรียกว่าคนหมดบุญล่ะ เดี๋ยวนี้เรียก คนตายว่าคนหมดบุญแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นคนที่ไม่ตายแต่หมดบุญมีเยอะ คือคนที่ไม่รู้จักบุญ ใจมันเป็นแต่บาปอยู่อย่างนั้น จึงสะสมแต่บาปอยู่

    โยมไปทำความดี ก็เหมือนโยมอยากได้บ้านสวยๆ จะปลูกบ้านแต่ไม่ปราบที่มันเสียก่อน เดี๋ยวบ้านมันก็จะพังเท่านั้นเองใช่ไหม สถาปนิกไม่ดีนี่ อันนี้ก็ต้องทำเสียใหม่ พยายามใหม่ ให้เราดูของเรานะ ดูข้อบกพร่องของเรา ดูกาย ดูวาจา ดูใจ ของเรา กายเรานี่ก็มีอยู่แล้ว วาจาก็มีอยู่แล้ว ใจก็มีอยู่แล้ว จะไปหาที่ปฏิบัติที่ไหนเล่า ไม่ใช่มันหลงหรือนี่ จะไปหาที่ปฏิบัติอยู่ในป่าวัดป่าพงสงบเรอะ ไม่สงบเหมือนกัน ที่บ้านเรานั่นแหละ มันสงบ ถ้าเรามีปัญญา ที่ไหนที่ไหน มันก็สบาย มันสบายทั้งนั้น

    โลกทั้งหลายเขาถูกต้องของเขาหมดแล้ว ต้นไม้ทุกต้นมันก็ถูกต้องตามสภาพของมันแล้ว ต้นยาวก็มี ต้นสั้นก็มี ต้นที่มันเป็นโพรง ก็มีสารพันอย่าง ของเขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น มีแต่ตัวเรานั่นแหละ ไปคิด เพราะไม่รู้เรื่อง เฮ้ ต้นไม้นี่มันยาวไป อ้ายต้นนี้มันสั้นไป อ้ายต้นนี้มันเป็นโพรง ต้นไม้น่ะเขาอยู่เฉยๆ เขาสบายกว่าเรา ฉะนั้นจึงไปเขียนคำโคลงไว้ที่ต้นไม้ดีกว่า ให้ต้นไม้มันสอนเรา ได้อะไรบ้างหรือไม่ล่ะ มาวันนี้ได้อะไรที่ต้นไม้ไปบ้างไหม ต้องเอาให้ได้สักอย่างหนึ่งน่ะ ต้นไม้หลายต้นมีทุกอย่างที่จะสอนเราได้ อย่างนี้เรียกว่าธรรมะมันมีอยู่ทุกสภาพตามธรรมชาติทุกอย่าง ให้เข้าใจนะ อย่าไปติเสียว่ารูมันลึก เข้าใจไหม ให้วกมาดูแขนของเราสิ อ้อ แขนของเรามันสั้น อย่างนี้ก็สบาย เมื่อจะตรวจก็ให้รู้ว่ามันไม่ดีอย่างไร อย่าไปว่าแต่ว่า รูมันลึก ให้เข้าใจเสียบ้างอย่างนั้น

    บุญกุศลใดๆ ที่เราทำให้มันมีไว้ในใจแล้ว นั่นละมันเลิศ ที่ทำบุญกันวันนี้ก็ดี แต่ว่ามันไม่เลิศ จะสร้างวัตถุอะไรถาวรก็ดี แต่ว่ามันไม่เลิศ ถ้าสร้างใจให้เป็นบุญนั่นแหละ มันจึงเลิศ มานั่งที่นี่ก็สบาย กลับไปบ้านก็สบาย ให้มันเลิศ ให้มันเป็นบุญไว้นะ อันนี้มันเป็นเพียงตัววัตถุ เป็นกะพี้ของแก่น แต่ว่าแก่นมันจะมีได้ก็ต้องอาศัยกะพี้ มันเป็นเสียอย่างนั้น แก่นมันต้องอาศัยกะพี้ มีกะพี้จึงมีแก่น ให้เข้าใจอย่างนั้น ทุกอย่างก็เหมือนกันฉันนั้น

    ฉะนั้น ถ้าเรามีปัญญาแล้ว มองดูที่ไหนที่ไหนมันก็จะเห็นธรรมะทั้งนั้น ถ้าคนขาดปัญญาแล้ว มองไปเห็นสิ่งที่ว่าดี มันก็เลยกลายเป็นไม่ดี ก็ความไม่ดีมันอยู่ที่ไหน มันก็อยู่ที่ใจของเรานี่แหละ ตามันเปลี่ยน จิตใจมันก็เปลี่ยน อะไรๆ มันก็เปลี่ยนไปทั้งนั้น สามีภรรยาเคยพูดกันสบายๆ เอาหูฟังได้ อีกวันหนึ่งใจมันไม่ค่อยดี ใครพูดอะไรมันก็ไม่เข้าท่า ไม่รับทั้งนั้น มันไม่เอาทั้งนั้นแหละ ใช่ไหม ใจมันไม่ดี ใจมันเปลี่ยนไปเสียแล้ว มันเป็นเสียอย่างนั้น ฉะนั้น การละความชั่ว ประพฤติความดี จึงไม่ต้องไปหาที่อื่น ถ้าใจมันไม่ดีขึ้นมาแล้ว อย่าไปมองคนโน้นหรือไปว่าคนโน้นว่าคนนี้ ให้ดูใจของเราว่าใคร เป็นผู้พูดอะไร ทำไมมันถึงเป็นอย่างนี้ จิตใจทำไมมันเป็นอย่างนี้นะ นี่ให้เข้าใจว่าลักษณะทั้งหลายนี้มันไม่เที่ยง ความรักมันก็ไม่เที่ยง ความเกลียดมันก็ไม่เที่ยง “เราเคยรักลูกบ้างไหม” ถามอย่างนี้ก็ได้ “รัก เคยรัก” อาตมาตอบแทนเอง “เคยเกลียดบ้างไหม” ตอบแทนเลยเนาะนี่ “บางทีก็เกลียดมัน” “ทิ้งมันได้ไหม” “ทิ้งไม่ได้” “ทำไม” “ลูกคนไม่เหมือนลูกกระสุน” ลูกกระสุนยิงโป้งออกไปข้างนอก ลูกคนยิงโป้งมาโดนที่ใจเรานี้ ดีก็มาถูกตัวนี้ ชั่วก็มาถูกตัวนี้ อย่างนี้เรียกว่ามันเป็นกรรม ลูกเรานั่นแหละมีคนดีมีคนชั่ว ทั้งดีทั้งชั่ว ก็เป็นลูกเราทั้งนั้น เขาเกิดมาแล้ว ดูสิคนที่ไม่ดูขนาดไหนก็ยิ่งรัก เกิดมาเป็นโรคโปลิโอ ขาเป๋ ดูซิ รักคนนั้นกว่าเขาแล้ว จะออกไปจากบ้าน เพราะรักคนนี้ จึงต้องสั่งว่า ดูน้องดูคนนี้ด้วยเถิด เมื่อจะตายจากไปก็สั่งไว้ให้ดู ให้ดูคนนี้ ดูลูกฉันคนนี้ มันไม่แข็งแรงยิ่งรักมันมาก ถ้าเป็นผลไม้ มันเน่าละก็เหวี่ยงเข้าป่าไปเลย ไม่เสียดาย แต่คนเน่ายิ่งเสียดาย มันลูกเรานี่ ทำอย่างไรเล่า นี่ให้เข้าใจเสียอย่างนี้ ฉะนั้นจงทำใจไว้เสียดีกว่านะ รักครึ่งชังครึ่ง อย่าทิ้งมันสักอย่าง ให้มันอยู่รวมๆ กัน ของๆ เรานี่ นี่คือกรรม กรรมนั้นละเป็นของเก่าของเราละน้อ นี่มันก็สมกันกับเจ้าของ เขาคือกรรม? ก็ต้องเสวยไป ถ้ามันทุกข์ใจเข้ามาเต็มที่ ก็ ฮึ กรรมนะกรรม ถ้ามันสบายใจดีก็ ฮึ กรรมนะ บางทีอยู่ที่บ้าน ทุกข์ก็อยากหนีไปน่ะ มันวุ่นวาย ถ้ามันวุ่นวายเข้าจริงๆ บางทีอยากผูกคอตายก็มี กรรม เราต้องยอมรับมันอย่างนี้เรื่อยๆ ไป สิ่งที่ไม่ดีก็ไม่ต้องทำล่ะซี เท่านี้ก็พอมองเห็นเจ้าของแล้วใช่ไหม พอมองเห็นเจ้าของแล้วนะ นี่เรื่องการพิจารณาสำคัญอย่างนี้

    เรื่องการภาวนา อารมณ์ที่เรียกว่าภาวนา เขาเอาพุทโธ ธัมโม สังโฆ มาภาวนาทำกรรมฐานกัน แต่เราเอาสั้นกว่านั้น เมื่อรู้สึกว่าใจมันหงุดหงิด ใจไม่ดี โกรธ เราก็ร้อง ฮึ เวลาใจดีขึ้นมาก็ร้อง ฮึ ว่ามันไม่เที่ยงดอก ถ้ามันรักคนนั้นขึ้นมาในใจก็ ฮึ ถ้ามันจะโกรธคนนั้นขึ้น มาก็ ฮึ เข้าใจไหม ไม่ต้องไปดูลึก ไม่ต้องไปดูพระไตรปิฎกหรอก ไอ้ ฮึ นี่เรียกว่ามันไม่เที่ยง ความรักนี่มันก็ไม่เที่ยง ความชังนี่มันก็ไม่เที่ยง ความดีมันก็ไม่เที่ยง ความชั่วมันก็ไม่เที่ยง มันเที่ยงอย่างไรเล่า มันจะเที่ยงตรงไหม มันเที่ยงก็เพราะของเหล่านั้นมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น คือมันเที่ยงอย่างนี้มันไม่แปรเป็นอย่างอื่น มันเป็นอย่างนั้น นี่เรียกว่าความเที่ยง เที่ยงก็เพราะว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันไม่ได้แปรเป็นอย่างอื่น เดี๋ยวมันก็รักเดี๋ยวมันก็ชัง มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ นี่คือมันเที่ยงอย่างนี้

    ฉะนั้น จึงจะบอกว่าเมื่อความรักเกิดขึ้น เราก็บอกฮึ มันไม่เปลืองเวลาดี ไม่ต้องว่าอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาแล้ว ถ้าโยมขี้เกียจภาวนามาก เอาง่ายๆ ดีกว่า คือ ถ้ามันเกิดมีความรักขึ้นมา มันจะหลง ก็ร้อง ฮึ เท่านี้แหละ อะไรๆ มันก็ไม่เที่ยงทั้งนั้นมัน เที่ยงก็เพราะมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น เห็นเท่านี้ก็เห็นแก่นของธรรมะ คือสัจธรรม อันนี้ถ้าเรามา ฮึ กันบ่อยๆ ค่อยๆ ทะยอยไป อุปาทานก็จะน้อยไป น้อยไปอย่างนี้แหละ ความรักนี้ฉันก็ไม่ติดใจ ความชั่วฉันก็ไม่ติดใจ อะไรๆ ฉันก็ไม่ติดใจทั้งนั้น อย่างนี้จึงจะเรียกว่า ไม่เชื่ออะไรทั้งนั้น เชื่อสัจธรรมอย่างเดียว รู้ธรรมะเท่านี้ก็พอแล้วโยม จะไปดูที่ไหนอีกเล่า วันนี้มีโชคด้วยได้อัดทั้งเทปภายนอกภายใน เข้าหูตรงนี้ก็อัดเข้าตรงนี้ก็ได้ เทปนั้นก็จะได้มีทั้งสองอย่าง ถ้าโยมทำไม่ได้อย่างนี้ก็ไม่ค่อยจะดีเสียละมังเนาะ ไม่ต้องมาวัดป่าพงอีกละมัง นี่ข้างในก็อัด ข้างนอกก็อัด แต่ว่าเทปนี้มันไม่ค่อยสำคัญดอก เทปในใจนั่นละมันสำคัญกว่า เทปอันนี้มันเสื่อมได้ ซื้อมาแล้วมันก็เสื่อมได้ เทปภายในของเรานั้นน่ะ เมื่อมันถึงใจแล้วมันดีเหลือเกินนะโยม มันมีอยู่ตลอดเวลาไม่เปลืองถ่าน ไปอัดอยู่ในป่าพูดอยู่นั่นแล้ว ในวันในพรุ่ง ให้มันรู้อยู่อย่างนั้นแหละ มันรู้ว่ากระไร ภาวนาพุทโธ พุทโธ ต้องรู้อย่างนั้น เข้าใจกันแล้วหรือยัง เข้าใจให้ถึงนะ ถ้ามันเข้าใจ ถ้ามันถูกอารมณ์ปุ๊บ รู้จักแล้วละก็ หยุดเลย ฟังเข้าใจนะ ถ้ามันโกรธขึ้นมาก็ว่า ฮึ พอแล้วระงับเลย ถ้ามันยังไม่เข้าใจ ก็ติดตามเข้าไปดู ถ้ามันเข้าใจแล้ว เช่นว่าพ่อบ้านโกรธให้แม่บ้าน แม่บ้านโกรธให้พ่อบ้าน โกรธขึ้นมาในใจก็ร้อง ฮึ มันไม่เที่ยง

    เอาละเทศน์ให้ฟังก็ขึ้นอักษร พอได้แล้วนะ ที่พอแล้วก็คือมันสบายแล้วเรียกว่าสงบแล้ว เอาละพอนะ



    หมายเหตุจากผู้จัดทำ (คุณเจริญชัย เจริญทั้งเมือง)

    ขอขอบคุณสำนักพิมพ์ ธรรมสภา ที่เอื้อเฟื้อให้ข้อมูลมาในรูป แบบที่เป็นไฟล์คอมพิวเตอร์ ผมได้ปรับปรุงตำแหน่งการเว้นวรรคและย่อหน้าให้เหมาะสม แต่ได้คงข้อความเดิมไว้ทั้งหมด ยกเว้นมีการแก้ไขข้อความที่คาดว่า ต้นฉบับเดิมจะพิมพ์ผิด ซึ่งได้ใส่วงเล็บกำกับไว้ ณ จุดที่แก้ไขแล้ว ดัง รายละเอียดต่อไปนี้

    จุด 1 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “ตรงนี้มันก็ไม่สะอาดแต่จานเท่านั้นแหละ” แก้เป็น “ตรงนี้มันก็ไม่สะอาด สะอาดแต่จานเท่านั้นแหละ”

    จุด 2 ต้นฉบับเดิมเป็นข้อความว่า “จะมองดูถ้วยในตู้ มันก็ไม่สลาย” แก้เป็น “จะมองดูถ้วยในตู้ มันก็ไม่สบาย”
     
  6. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อ่านใจธรรมชาติ

    เหตุของการปฏิบัติ

    การภาวนา หมายความว่า ให้คิดดูให้ชัดๆ พยายามอย่ารีบร้อนเกินไป อย่าช้าเกินไป ค่อยทำค่อยไป แต่ให้มีวิธีการและจุดหมายในการปฏิบัติภาวนานั้น
    ทุกคนที่ออกมาปฏิบัตินั้น ก็ออกมาด้วย “ความอยาก” กันทั้งนั้น มันมีความอยาก แต่ความอยากนี้ บางทีมันก็ปนกับความหลง ถ้าอยากแล้วไม่หลง มันก็อยากด้วยปัญญา ความอยากอย่างนี้ท่านเรียกว่า เป็นบารมีของตน แต่ไม่ใช่ทุกคนนะที่มีปัญญา

    บางคนไม่อยากจะให้มันอยาก เพราะเข้าใจว่าการมาปฏิบัติก็เพื่อระงับความอยาก ความจริงน่ะ ถ้าหากว่าไม่มีความอยาก ก็ไม่มีข้อปฏิบัติ ไม่รู้ว่าจะทำอะไร ลองพิจารณาดูก็ได้
    ทุกคน แม้องค์พระพุทธเจ้าของเราก็ตาม ที่ท่านออกมาปฏิบัติ ก็เพื่อจะให้บรรเทากิเลสทั้งหลายนั้น

    แต่ว่ามันต้องอยากทำ อยากปฏิบัติ อยากให้มันสงบ และก็ไม่อยากให้มันวุ่นวาย ทั้งสองอย่างนี้ มันเป็นอุปสรรคทั้งนั้น ถ้าเราไม่มีปัญญา ไม่มีความฉลาดในการกระทำอย่างนั้น เพราะว่ามันปนกันอยู่ อยากทั้งสองอย่างนี้ มันมีราคาเท่าๆกัน

    อยากจะพ้นทุกข์ มันเป็นกิเลส สำหรับคนไม่มีปัญญา อยากด้วยความโง่ ไม่อยากมันก็เป็นกิเลสเพราะไม่อยากอันนั้น มันประกอบด้วยความโง่เหมือนกันคือ ทั้งอยาก ไม่อยาก ปัญญาก็ไม่มี ทั้งสองอย่างนี้ มันเป็นกามสุขัลลิกานุโยโค กับอัตตกิลมถานุโยค ซึ่งพระพุทธองค์ของเรา ขณะที่พระองค์กำลังทรงปฏิบัติอยู่นั้น ท่านก็หลงในอย่างนี้ ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร ท่านหาอุบายหลายประการ กว่าจะพบของสองสิ่งนี้

    ทุกวันนี้ เราทั้งหลายก็เหมือนกัน ทุกสิ่งทั้งสองอย่างนี้ มันกวนอยู่ เราจึงเข้าสู่ทางไม่ได้ก็เพราะอันนี้ ความเป็นจริงนี้ ทุกคนที่มาปฏิบัติ ก็เป็นปุถุชนมาทั้งนั้นปุถุชนก็เต็มไปด้วยความอยาก ความอยากที่ไม่มีปัญญาอยากด้วยความหลง ไม่อยากมันก็มีโทษเหมือนกัน “ไม่อยาก” มันก็เป็นตัณหา “อยาก” มันก็เป็นตัณหาอีกเหมือนกัน

    ทีนี้ นักปฏิบัติยังไม่รู้เรื่องว่า จะเอายังไงกัน เดินไปข้างหน้าก็ไม่ถูก เดินกลับไปข้างหลังก็ไม่ถูก จะหยุดก็ไม่หยุดไม่ได้ เพราะมันยังอยากอยู่ มันยังหลงอยู่ มีแต่ความอยาก แต่ปัญญาไม่มีมันอยากด้วยความหลง มันก็เป็นตัณหา ถึงแม้ไม่อยาก มันก็เป็นความหลง มันก็เป็นตัณหาเหมือนกัน เพราะอะไร? เพราะมันขาดปัญญา

    ความเป็นจริงนั้น ธรรมะนั้นอยู่ตรงนั้นแหละตรงความอยากกับความไม่อยากนั่นแหละ แต่เราไม่มีปัญญา ก็พยายามไม่ให้อยากบ้าง เดี๋ยวก็อยากบ้าง อยากให้เป็นอย่างนั้น ไม่อยากให้เป็นอย่างนี้ ความจริงทั้งสองอย่างนี้ หรือทั้งคู่นี้ มันตัวเดียวกันทั้งนั้น ไม่ใช่คนละตัว แต่เราไม่รู้เรื่องของมัน

    พระพุทธเจ้าของเรา และสาวกทั้งหลายของพระองค์นั้น ท่านก็อยากเหมือนกัน แต่ “อยาก” ของท่านนั้นเป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆ หรือ “ไม่อยาก” ของท่านก็เป็นเพียงอาการของจิตเฉยๆ อีกเหมือนกัน มันวูบเดียวเท่านั้น ก็หายไปแล้ว

    ดังนั้นความอยากหรือไม่อยากนี้ มันมีอยู่ตลอดเวลา แต่สำหรับผู้มีปัญญานั้น “อยาก” ก็ไม่มีอุปาทาน “ไม่อยาก” ก็ไม่มีอุปาทาน เป็น “สักแต่ว่า” อยากหรือไม่อยากนั้น ถ้าพูดตามความจริงแล้ว มันก็เป็นแต่อาการของจิต อาการของจิตมันเป็นของมันอย่างนั้นเอง ถ้าเรามาตะครุบมันอยู่ที่ใกล้ๆ นี่ มันก็เห็นชัด

    ดังนั้น จึงว่าการพิจารณานั้น ไม่ใช่รู้ไปที่อื่นมันรู้ตรงนี้แหละ เหมือนชาวประมงที่ออกไปทอดแหนั่นแหละทอดแหออกไปถูกปลาตัวใหญ่ เจ้าของผู้ทอดแหจะคิดอย่างไร? ก็กลัว กลัวปลาจะออกจากแหไปเสีย เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจมันก็ดิ้นรนขึ้น ระวังมาก บังคับมาก ตะครุบไปตะครุบมาอยู่นั่นแหละ ประเดี๋ยวปลามันก็ออกจากแหไปเสีย เพราะไปตะครุบมันแรงเกินไปอย่างนั้นโบราณท่านพูดถึงเรื่องอันนี้ ท่านว่าค่อยๆทำมัน แต่อย่าไปห่างจากมัน นี่คือปฏิปทาของเรา ค่อยๆ คลำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละอย่าปล่อยมัน หรือไม่อยากรู้มัน ต้องรู้ ต้องรู้ เรื่องของมัน พยายามทำมันไปเรื่อยๆ ให้เป็นปฏิปทาขี้เกียจเราก็ทำ ไม่ขี้เกียจเราก็ทำ เรียกว่า การทำการปฏิบัติ ต้องทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้
    ถ้าหากว่าเราขยัน ขยันเพราะความเชื่อ มันมีศรัทธา แต่ปัญญาไม่มี ถ้าเป็นอย่างนี้ ขยันไปๆ แล้วมันก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้นมากมาย ขยันไปนานๆเข้า แต่มันไม่ถูกทาง มันก็ไม่สงบระงับ ทีนี้ก็จะเกิดความคิดว่า เรานี้บุญน้อยหรือวาสนาน้อย หรือคิดไปว่า มนุษย์ในโลกนี้คงทำไม่ได้หรอก แล้วก็เลยหยุด เลิกทำ เลิกปฏิบัติ

    ถ้าเกิดความคิดอย่างนี้เมื่อใด ขอให้ระวังให้มากให้มีขันติ ความอดทน ให้ทำเรื่อยๆ เหมือนกับเราจับปลาตัวใหญ่ก็ให้ค่อยๆคลำมันไปเรื่อยๆ ปลามันก็จะไม่ดิ้นแรง ค่อยๆทำไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ไม่ช้าปลาก็จะหมดกำลัง มันก็จับง่าย จับให้ถนัดมือเลย ถ้าเรารีบจนเกินไปปลามันก็จะหนีดิ้นออกจากแหเท่านั้น

    ดังนั้นการปฏิบัตินี้ ถ้าเราพิจารณาตามพื้นเหตุของเรา เช่นว่าเราไม่มีความรู้ในปริยัติ ไม่มีความรู้ในอะไรอื่น ที่จะให้การปฏิบัติมันเกิดผลนั้น ก็ดูความรู้ที่เป็นพื้นเพเดิมของเรานั่นแหละ อันนั้นก็คือ “ธรรมชาติของจิต” นี่เอง มันมีของมันอยู่แล้ว เราจะไปเรียนรู้มัน มันก็มีอยู่ หรือเราจะไม่ไปเรียนรู้มัน มันก็มีอยู่

    อย่างที่ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นก็ตามหรือไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม ธรรมะก็คงมีอยู่อย่างนั้น มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ไม่พลิกแพลงไปไหน มันเป็นสัจจธรรม เราไม่เข้าใจสัจจธรรมก็ไม่รู้ว่าสัจจธรรมเป็นอย่างไร นี้เรียกว่าการพิจารณาในความรู้ของผู้ปฏิบัติที่ไม่มีพื้นปริบัติ

    ขอให้ดูจิต พยายามอ่านจิตของเจ้าของ พยายามพูดกับจิตของเจ้าของ มันจึงจะรู้เรื่องของจิต ค่อยๆทำไป ถ้ายังไม่ถึงที่ของมัน มันก็ไปอยู่อย่างนั้นครูบาอาจารย์บางท่านบอกว่า ทำไปเรื่อยๆ อย่าหยุด บางทีเรามาคิด “เออ ทำไปเรื่อยๆ ถ้าไม่รู้เรื่องของมัน ถ้าทำไม่ถูกที่มัน มันจะรู้อะไร” อย่างนี้เป็นต้นก็ต้องไปเรื่อยๆก่อน แล้วมันก็จะเกิดความรู้สึกนึกคิดขึ้นในสิ่งที่เราพากเพียรทำนั้นมันเหมือนกันกับบุรุษที่ไปสีไฟ ได้ฟังท่านบอกว่า เอาไม้ไผ่สองอันมาสีกันเข้าไปเถอะ แล้วจะมีไฟเกิดขึ้นบุรุษนั้นก็จับไม้ไผ่เข้าสองอัน สีกันเข้า แต่ใจร้อน สีไปได้หน่อย ก็อยากให้มันเป็นไฟ ใจก็เร่งอยู่เรื่อย ให้เป็นไฟเร็วๆ แต่ไฟก็ไม่เกิดสักที บุรุษนั้นก็เกิดความขี้เกียจแล้วก็หยุดพัก แล้วจึงลองสีอีกนิด แล้วก็หยุดพัก ความร้อนที่พอมีอยู่บ้าง ก็หายไปล่ะซิ เพราะความร้อนมันไม่ติดต่อกัน

    ถ้าทำไปเรื่อยๆ อย่างนี้เหนื่อยก็หยุด มีแต่เหนื่อยอย่างเดียว ก็พอได้ แต่มีขี้เกียจปนเข้าด้วย เลยไปกันใหญ่ แล้วบุรุษนั้นก็หาว่าไฟไม่มี ไม่เอาไฟ ก็ทิ้ง เลิกไม่สีอีก แล้วก็ไปเที่ยวประกาศว่า ไฟไม่มี ทำอย่างนี้ไม่ได้ ไม่มีไฟหรอก เขาได้ลองทำแล้วก็จริงเหมือนกันที่ได้ทำแล้ว แต่ทำยังไม่ถึงจุดของมัน คือความร้อนยังไม่สมดุลกัน ไฟมันก็เกิดขึ้นไม่ได้ ทั้งที่ความจริงไฟมันก็มีอยู่ อย่างนี้ก็เกิดความท้อแท้ขึ้นในใจของผู้ปฏิบัตินั้นก็ละอันนี้ไปทำอันโน้เรื่อยไป อันนี้ฉันใดก็ฉันนั้น

    การปฏิบัตินั้น ปฏิบัติทางกายทางใจทั้งสองอย่างมันต้องพร้อมกัน เพราะอะไร? เพราะพื้นเพมันเป็นคนมีกิเลสทั้งนั้น พระพุทธเจ้าก่อนที่จะเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็มีกิเลส แต่ท่านมีปัญญามากหลาย พระอรหันต์ก็เหมือนกัน เมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ก็เหมือนกับเรา

    เมื่อความอยากเกิดขึ้นมา เราก็ไม่รู้จัก เมื่อความไม่อยากเกิดขึ้นมา เราก็ไม่รู้จัก บางทีก็ร้อนใจ บางทีก็ดีใจ ถ้าใจเราไม่อยาก ก็ดีใจแบบหนึ่ง และวุ่นวายอีกแบบหนึ่ง ถ้าใจเราอยาก มันก็วุ่น่วายอย่างหนึ่ง และดีใจอย่างหนึ่ง มันประสมประเสกันอยู่อย่างนี้

    อันนี้คือปฏิปทาของผู้ปฏิบัติเรา เหมือนอย่างพระวินัยที่เราฟังๆ กันไปนี้ ดูแล้วมันก็เป็นของยาก จะต้องรักษาสิกขาบททุกอย่าง ให้ไปท่องทุกอย่าง เมื่อจะตรวจดูศีลของเจ้าของ ก็ต้องไปตรวจดูทุกสิกขาบท ก็คิดหนักใจว่า “โอ อย่างนี้ไม่ไหวแล้ว” ความจริง เมื่อพระพุทธเจ้าท่านสอนให้พิจารณากาย อย่างเกศา โลมา นขา ทันตา ตะโจ มันก็มีแต่กายทั้งนั้น อย่างที่ท่านให้กรรมฐานครั้งแรก ก็มีแต่เรื่องกายทั้งนั้น ท่านให้พิจารณาอยู่ตรงนี้ให้ดูตรงนี้ ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นไม่ชัด มันก็จะเห็นคนไม่ชัดสักคน คนอื่นก็ไม่ชัด ตัวเราเองก็ไม่ชัด เห็นตัวเราก็สงสัย เห็นคนอื่นก็สงสัย มันสงสัยอยู่ตลอดไป แต่ถ้าเราสามารถเห็นตัวเราได้ชัดเท่านั้น มันก็หมดสงสัย

    เพราะอะไร? เพราะนามรูปมันเหมือนกันทั้งนั้น ถ้าหากเราเห็นชัดในตัวเราคนเดียว ก็เหมือนเห็นคนทั้งโลก ไม่ต้องตามไปดูทุกคน ก็รู้ว่าคนอื่นก็เหมือนกับเรา เราก็เหมือนกับเขา ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ ภาระของเขาก็น้อยลง ถ้าเราไม่คิดเช่นนั้น ภาระของเราก็มากเพราะจะต้องตามไปดูทุกคนในจักรวาลนี้ จึงจะรู้จักคนทุกคน ภาระมันก็มากน่ะซิ ถ้าคิดอย่างนี้ มันก็ทำให้ท้อแท้

    อย่างพระวินัยของเรานี้ก็เหมือนกัน มีสิกขาบทอยู่มากมายเหลือเกิน ไม่รู้จักเท่าไหร่ ถ้าเพียงนึกว่า จะต้องอ่านให้ครบทุกสิกขาบท ก็แย่แล้ว ไม่ไหวแล้ว เห็นว่าเหลือวิสัยเสียแล้ว เห็นจะไม่มีทางไปตรวจดูศีลให้สมบูรณ์บริบูรณ์ได้ นี่…ความเข้าใจของเรามันเป็นอย่างนั้น เหมือนอย่างว่า ท่านให้รู้แจ้งซึ่งมนุษย์ทั้งหลายก็คิดว่าจะต้องไปดูคนให้ทุกคน มันถึงจะรู้ทุกคน อย่างนี้มันก็มากเท่านั้นแหละ

    นี่ก็เพราะว่าเรามันตรงเกินไป ตรงตามตำราตรงตามคำของครูบาอาจารย์เกินไป เพราะถ้าเราเรียนปริยัติขนาดนั้น มันก็ไปไม่ไหวเหมือนกัน มันทำให้หมดศรัทธาเหมือนกัน เรียกว่าเรายังไม่เกิดปัญญา ถ้าปัญญามันเกิดแล้ว ก็จะเห็นว่าคนทั้งหมดก็คือคนคนเดียว ถ้ามันคือคนคนเดียว เราก็พิจารณาแต่เราคนเดียวก็เพียงพอ เพราะเราก็มีรูป มีนาม ลักษณะของรูปนามมันก็เป็นอย่างนี้ คนอื่นก็เป็นอยู่อย่างนี้เหมือนกันปัญญาจะทำให้เห็นได้เช่นนั้น ทีนี้ภาระที่จะต้องคิดก็น้อยลง เพราะเห็นเสียแล้วว่า มันของอย่างเดียวกัน

    ดังนั้น พระพุทธเจ้าท่านจึงว่า “อัตตะนา โจทะยัตตานัง” จงเตือนตนด้วยตนเอง ให้เตือนตัวเจ้าของเองนี้ ไม่มีที่อื่น ถ้าเราเห็นตัวเราเองแล้ว มันก็เหมือนกันหมดทุกคน เพราะอันเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน เพียงแต่ต่างสีสัณฐานกันเท่านั้น เหมือนอย่างยาทัมใจกับยาบวดหาย มันก็ยารักษาโรคปวดเหมือนกันเพียงแต่ว่ามันเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนรูปห่อเสียหน่อยเท่านั้น แท้จริงมันก็รักษาโรคเดียวกัน

    ถ้าเราเห็นได้เช่นนี้ มันก็จะง่ายขึ้น ค่อยๆ ทำมันไปเรื่อยๆ อย่างนั้นแหละ แล้วมันก็จะเกิดความฉลาดขึ้นในการกระทำ ทำไปเรื่อยๆ จนกว่ามันจะเกิดความเห็นแล้วจะเห็นความจริงของมันจริงๆ

    ถ้าจะพูดเรื่องปริยัติแล้ว ทุกอย่างมันก็เป็นปริยัติได้ทั้งนั้น ตาก็เป็นปริยัติ หูก็เป็นปริยัติ จมูกก็เป็นปริยัติปากก็เป็นปริยัติ ลิ้นก็เป็นปริยัติ กายก็เป็นปริยัติ เป็นปริยัติหมดทุกอย่าง รูปเป็นอย่างนั้น ก็รู้ว่ารูปเป็นอย่างนั้น แต่ว่าเรามันมัวไปติดอยู่ในรูป ไม่รู้จักหาทางออก

    เสียงเป็นอย่างนั้น ก็รู้ว่าเสียงเป็นอย่างนั้น แต่ก็ไปติดอยู่ในเสียง ไม่รู้จักหาทางออก ดังนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ มันจึงเป็นห่วงที่เกาะเกี่ยวให้มนุษย์ สัตว์ ทั้งหลาย ติดอยู่ในตัวของมัน ฉะนั้นก็ให้เราปฏิบัติไป คลำไปอย่างนั้นแหละ แล้ววันหนึ่งก็จะต้องได้ความรู้ เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาที่จะได้ความรู้ เกิดความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งขึ้นมาได้นี้ มันจะเกิดได้จากการปฏิบัติที่ไม่หยุด ไม่ท้อถอยปฏิบัติไป ทำไป นานเข้าๆ พอสมควรกับนิสัยปัจจัยของตน มันก็จะเกิดความรู้สึกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า “ธรรมวิจยะ” มันจะเกิดโพชฌงค์ของมันเอง โพชฌงค์ทั้งหมด มันจะเกิดอยู่อย่างนี้ สอดส่องธรรมไป

    โพชฌังโค สติสังขาโต ธัมมานัง วิจโย ตถา
    วิริยัมปีติ ปัสสัทธิง โพชฌังคา จะตถา ปะเร
    สมาธุเปกขโพชฌังคา สัตเต เต สัพพทัสสินา

    เบื้องแรกมันเกิดอย่างนี้ อาการนี้มันจะเกิดขึ้นมา มันก็เป็นโพชฌงค์ เป็นองค์ที่ตรัสรูธรรมะทั้งนั้น ถ้าเราได้เรียนรู้มัน ก็รู้ตามปริยัติเหมือนกัน แต่ไม่มองเห็น ที่มันเกิดที่ในใจของเรา ไม่เห็นว่ามันเป็นโพชฌงค์ ความเป็นจริงนั้น โพชฌงค์นั้นเกิดมาในลักษณะอย่างนี้พระพุทธเจ้าท่านจึงบัญญัติ ผู้รู้ทั้งหลายก็บัญญัติ เป็นข้อความออกมาเป็นปริยัติ ปริยัตินี้ก็เกิดจากที่ได้มาจากการปฏิบัติ แต่มันถอนตัวออกมาเป็นปริยัติ เป็นตัวหนังสือแล้วก็ไปเป็นคำพูด แล้วโพชฌงค์ก็เลยหายไปหายไปโดยที่เราไม่รู้ แต่ความจริงนั้น มันก็ไม่ได้หายไปไหน มันมีอยู่ในนี้ทั้งหมดมันจะเกิดธรรมะวิจยะ การพินิจพิจารณาตามไปเกิดความเพียร เกิดปีติ และอื่นๆขึ้นทั้งหมด ไปตามลำดับของโพชฌงค์ ถ้ามันเกิดการกระทำขึ้นทั้งหมดดังนี้ มันก็เป็นองค์ที่ตรัสรูธรรมะ ถ้าทำถูกทาง ปฏิบัติถูกทางมันต้องเกิดอาการอย่างนี้ ธรรมะมันก็ต้องมีอยู่ในนี้

    ดังนั้น ท่านจึงว่า ค่อยๆ คลำไป ค่อยพิจารณาไปอย่านึกว่ามันอยู่ข้างโน้น อย่านึกว่ามันอยู่ข้างนี้ เหมือนอย่างพระภิกษุท่านหนึ่งของเรา ท่านไปเรียนบาลีแปลธรรมบทกับเขา เรียนไม่ได้ เพราะไปนึกแต่ว่า ปฏิบัติกรรมฐานนั้นมันแจ้ง มันรู้ มันสะอาด มันเห็น ท่านก็ออกมาปฏิบัติอยู่ที่วัดหนองป่าพง ท่านว่าจะมานั่งปฏิบัติแล้วไปแปลบาลี ท่านนึกว่าจะไปรู้อย่างนั้น ไปเห็นอย่างนั้น ก็เลยอธิบายให้ท่านฟังว่า เห็นอันเกิดจากการปฏิบัติธรรมนั้นอย่างหนึ่ง เห็นจากการเรียนปริยัติธรรมนั้นก็อีกอย่างหนึ่ง มันก็เห็นเหมือนกัน แต่ว่ามันลึกซึ้งกว่ากัน

    ถ้าเห็นจากการปฏิบัติแล้วมันละ มันละไปเลยหรือถ้ายังละไม่หมด ก็พยายามต่อไปเพื่อละให้ได้ มีความโกรธเกิดขึ้นมา มีความโลภเกิดขึ้นมา ท่านไม่วางมัน พิจารณาดูที่มันเกิด แล้วก็พิจารณาโทษ ให้มันเห็นด้วย แล้วก็เห็นโทษในการกระทำนั้น เห็นประโยชน์ในการละสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ความเห็นอันนี้ไม่ใช่อยู่ที่โน่นที่นี่ มันอยู่ในจิตของตนเอง จิตที่มันผ่องใส ไม่ใช่อื่นไกล

    อันนี้ นักปริยัติและนักปฏิบัติพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง โดยมากมักจะโทษกันว่า นักปฏิบัติพูดไม่มีรากฐาน พูดไปตามความเห็นของตน ความเป็นจริงมันก็อย่างเดียวกันแหละ เหมือนหน้ามือกับหลังมือ เมื่อเราคว่ำมือลง หน้ามือมันก็หายไป แต่มันไม่ได้หายไปไหน มันหายไปอยู่ข้างล่างนั่นแหละ แต่มองไม่เห็น เพราะหลังมือมันบังอยู่ แล้วเมื่อเราหงายฝ่ามือขึ้น หลังมือมันก็หายไป แต่มันก็ไม่ได้หายไปไหน มันก็หายไปอยู่ที่ข้างล่างเหมือนกัน นั่นแหละ

    ดังนั้น ให้เรารู้ไว้อย่างนี้ เมื่อเกี่ยวกับการปฏิบัติ อย่าไปคิดว่ามันหายไปไหน ถึงจะเรียนรู้ขนาดไหน หาเท่าไหร่ก็ไม่เห็น ก็ไม่รู้จัก คือไม่รู้ตามที่เป็นจริง ถ้ารู้ตามความเป็นจริงเมื่อไหร่ก็จะ “ละ” ได้เมื่อนั้น ถอนอุปทานได้ ไม่มีความยึด หรือถ้ามีความยึดอยู่บ้าง มันก็จะบรรเทาลง

    ผู้ปฏิบัติก็ชอบอย่างนี้ หลงอย่างนี้ พอปฏิบัติก็อยากได้ง่ายๆ อยากให้ได้ตามใจของตน ก็ขอให้ดูอย่างนี้ ดูร่างกายของเรานี่แหละ มันได้อย่างใจของเราไหมจิตก็เหมือนกัน มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จะให้เป็นอย่างที่เราอยากไม่ได้ แล้วคนก็ชอบมองข้ามมันเสียอะไรไม่ถูกใจ ก็ทิ้ง อะไรไม่ชอบใจ ก็ทิ้ง แต่ก็หารู้ไม่ว่า สิ่งที่ชอบใจหรือไม่ชอบใจนั้น อันใดผิด อันใดถูก รู้แต่เพียงว่า อันนั้นไม่ชอบ อันนั้นแหละผิด ไม่ถูก เพราะเราไม่ชอบ อันใดที่เราชอบ อันนั้นแหละถูก อย่างนี้มันใช้ไม่ได้

    สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ มันก็ล้วนแต่เป็นธรรมะ อย่างเราเรียนปริยัติมา เมื่อเกิดความรู้สึกอย่างใด มันก็วิ่งไปตามปริยัติ เวลาเราภาวนา ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้อนี้เป็นอย่างนี้ อะไรต่ออะไรมันก็ต้องวิ่งไปตามนี้ ถ้าเราไม่มีปริยัติ หรือไม่ได้เรียนปริยัติมา เราก็มีธรรมชาติจิตของเรา เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดไปตามธรรมชาติจิตอันนี้ ถ้าหากว่ามีปัญญาพิจารณา มันก็เป็นปริยัติด้วยกันทั้งนั้น ธรรมชาติจิตของเรานี่ก็เป็นปริยัติ

    ที่ว่าธรรมชาติของเราเป็นปริยัตินั้น คือ เมื่อมีความรู้สึกนึกคิดขึ้นมาอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาอารมณ์อันนั้น อาศัยอารมณ์อันนั้นเป็นปริยัติสำหรับผู้ภาวนาที่ไม่มีความรู้ในปริยัติ จำต้องอาศัยความจริงอันนี้ ทุกอย่างมันก็เป็นมาอย่างนี้เหมือนกัน

    ฉะนั้น คนเรียนปริยัติก็ดี คนไม่เรียนปริยัติก็ดี ถ้าหากว่ามีศรัทธา มีความเชื่ออย่างที่ว่ามาแล้ว มาฝึกปฏิบัติ ให้มีความเพียร มีขันติ ความอดทนให้สม่ำเสมอ มีสติเป็นหลัก คือความระลึกได้ว่า เรานั่งอยู่ เรายืนอยู่ เรานอนอยู่ เราเดินอยู่ ให้รู้ตัวทุกอิริยาบถ

    สติสัมปชัญญะสองอย่างนี้ สติความระลึกได้สัมปชัญญะความรู้ตัว มันไม่ห่างกันเลย มันเกิดขึ้นพร้อมกันเร็วที่สุด เราจะไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ความระลึกได้เกิดขึ้น ความรู้ตัวมันก็เกิดขึ้นมาด้วย

    เมื่อจิตเราตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ มันก็รู้สึกง่ายๆ คือระลึกได้ว่า เราอยู่อย่างไร เป็นอะไร ทำอะไร มีสติเมื่อใด ก็มีความรู้ตัวอยู่เมื่อนั้น ทีนี้ก็มีปัญญา แต่บางทีปัญญามันน้อย มันมาไม่ค่อยทัน มีสติอยู่ก็จริง มีความรู้สึกอยู่ก็จริง แต่ว่ามันก็ผิดของมันได้เหมือนกัน แต่แล้วตัวปัญญามันจะวิ่งเข้ามาช่วย สติความระลึกได้ และสัมปชัญญะความรู้ตัวนั้นมีเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็ควรอบรมปัญญา ด้วยอารมณืของวิปัสสนากรรมฐาน เช่นว่ามันจะรู้อยู่ระลึกได้ ก็ให้ระลึกได้มันอยู่ อารมณ์เกิดขึ้นมาอย่างไร ก็ให้ระลึกอารมณ์นั้นได้อยู่ แต่ให้เห็นไปพร้อมๆกันว่า มันมีอนิจจังเป็นรากฐาน มีทั้งทุกขัง มันเป็นทุกข์ ทนยาก มีทั้งอนัตตา อันไม่ใช่ตัวตนทั้งนั้นแหละ มัน “สักแต่ว่า” เกิดความรู้สึกขึ้นมาแล้ว ไม่มีตัวตน แล้วมันก็หายไปเท่านั้น เอง คนที่ “หลง” ก็ไปเอาโทษกับมัน จึงไม่รู้จักใช้สิ่งทั้งหลายนี้ให้เกิดประโยชน์

    ถ้าหากว่ามีปัญญาอยู่พร้อมแล้ว ความระลึกได้และความรู้ตัวมันจะติดต่อกันเป็นลำดับ แต่ถ้าปัญญานั้นยังไม่ผ่องใส สติสัมปชัญญะมันก็อาจจะมีผิดบ้าง ถูกบ้างถ้าเป็นอย่างนั้นต้องมีปัญญามาช่วย พระพุทธเจ้าท่านทรงใช้อารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐานมาต้านทาน มันเลยว่าสตินี้มันก็ไม่แน่นอน มันลืมได้เหมือนกัน สัมปชัญญะความรู้ตัวนี้ก็ไม่แน่นอน มันล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง

    อะไรที่มันไม่เที่ยง แล้วเราไม่รู้ทันมัน อยากจะให้มันเที่ยง มันก็เป็นทุกข์เท่านั้น เป็นทุกข์เพราะไม่ได้ตามปรารถนา ไม่ได้ตามความอยาก ที่จะให้มันเป็นอยู่อย่างนั้น ซึ่งเป็นความอยากที่เกิดจากอำนาจจิตที่สกปรก สกปรกด้วยความไม่รู้จักอันนี้ มันก็เกิดกิเลสตัณหาตรงนี้แหละ

    พอมีความรู้สึกเกิดขึ้น เช่นว่า เราได้กระทบรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็มีความชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง คือมีความยึดมั่นถือมั่น เต็มอยู่ในใจของเรา ดังนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงให้คลี่คลายออก เรื่องที่มันเกิดขึ้นมานี่ ให้ยกเอาความไม่เที่ยงเป็นหลักวินิจฉัยอะไรที่มันเกิดขึ้นมาให้เห็นว่า ถึงเราจะชอบมัน หรือไม่ชอบมันอันนี้ไม่แน่นอน อันนี้ไม่เที่ยง ถ้าเราไปยึกมั่นมัน มันก็พาให้เราเป็นทุกข์ ทำไมเป็นทุกข์ เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะบังคับให้เป็นไปตามใจของเราได้ทุกอย่าง

    เมื่อได้รับอารมณ์มาแล้ว จิตที่หลง ที่ไม่มีความรู้มันก็ไปอย่างหนึ่ง จิตที่รู้มันก็ไปอีกอย่างหนึ่ง พอมีความรู้สึกเกิดขึ้น จิตที่รู้มันก็เห็นว่า ไม่ควรยึดมั่นในสิ่งเหล่านั้น ถ้าไม่มีปัญญามันหลงตามไปด้วยความโง่ไม่เห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เห็นแต่พอว่า เราชอบใจอันนี้ มันถูกแล้ว มันดีแล้ว อันไหนเราไม่ชอบใจ อันนั้นมันไม่ดี อย่างนั้นจึงไม่เข้าถึงธรรมะ

    ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่เขา พระพุทธเจ้าท่านให้เป็น “สักแต่ว่า” ให้ยืนอยู่ตรงนี้เสมอ ดังนั้นเราจะไปเลือกอารมณ์ไม่ได้ ถ้าอารมณ์มันวิ่งมาหาเราทั้งทางดี ทางชั่ว ทางผิด ทางถูก แล้วเราไม่รู้ เพราะไม่มีปัญญา เราก็จะวิ่งตามมันไป ตามไปด้วยตัณหา ด้วยความอยาก แล้วเดี๋ยวก็ดีใจ เดี๋ยวก็เสียใจ เพราะอะไร? เพราะเอาใจของเราเป็นหลัก อะไรที่เราชอบใจ ก็เข้าใจว่าอันนั้นดี อย่างนี้เรียกว่ายังห่างไกลธรรมะ ยังไม่รู้จักธรรมะ มันก็เดือดร้อน เพราะความหลงมันเต็มอยู่

    ถ้าพูดเรื่องจิต ก็ต้องพูดอย่างนี้ ไม่ต้องออกไปห่างตัว ให้เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่ อันนี้เป็นทุกข์ อันนี้เป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา ถ้าเห็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ นี้ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนา เราควรรู้จักอารมณ์อันนี้ ตามอารมณ์อย่างนี้ มันจะทำให้เกิดปัญญา ท่านจึงเรียกว่า อารมณ์ของวิปัสสนา

    อารมณ์กรรมฐานทำให้จิตสงบ

    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนั้น ท่านให้กำหนดอานาปานสติ คือลมหายใจเข้าออกนี้เป็นรากฐานควบคุมจิตของเราให้อยู่ในกระแสของลมนี้ ให้มันแน่วแน่ นิ่งนอนอยู่ เมื่อเราพยายามทำตามดังนั้น จิตของเราก็จะสงบ นี่ท่านเรียกว่า อารมณ์ของกรรมฐาน

    อารมณ์กรรมฐานนี้จะทำจิตให้สงบ เพราะจิตมันวุ่นวายมาไม่รู้กี่ปีกี่ชาติแล้ว ลองนั่งดูเดี๋ยวนี้ก็ได้อาการวุ่นวายจะเกิดขึ้นทันที มันจะไม่ยอมให้เราสงบ ฉะนั้นท่านจึงให้หาอารมณ์กรรมฐาน อารมณ์อันใดถูกใจถูกจริตของเรา ท่านให้พิจารณาอันนั้น เช่นเกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ท่านให้พิจารณากลับไปกลับมา เมื่อทำอย่างนี้ บางคนพิจารณาตโจ หนัง รู้สึกพิจารณาได้สบายเพราะถูกจริต ถ้าอันใดถูกจริตของเรา อันนั้นก็จะเป็นอารมณ์กรรมฐานของเรา สำหรับปราบกิเลสทั้งหลายให้มันเบาบางลง

    บางคนมีความโลภ โกรธ หลง อย่างแรงกล้า ก็ไม่มีอะไรจะปราบเจ้ากิเลสนี้ได้ พอพิจารณามรณสติ คือ การระลึกถึงความตายอยู่บ่อยๆ ก็เกิดความสลดสังเวชเพราะว่า จนมันก็ตาย รวยมันก็ตาย ดีมันก็ตาย ชั่วมันก็ตาย อะไรๆ มันก็ตายหมดทั้งนั้น ยิ่งพิจารณาไป จิตใจก็ยิ่งเกิดความสลดสังเวช พอนั่งสมาธิก็สงบได้ง่ายๆ เพราะมันถูกจริตของเรา
    อารมณ์ของสมถกรรมฐานนี้ ถ้าไม่ถูกจริตของเรา มันก็ไม่สลด ไม่สังเวช อันใดที่ถูกกับจริต อันนั้นก็จะประสบบ่อยๆ มีความรู้สึกนึกคิดในอาการนั้นบ่อยๆ แต่เราไม่ค่อยจะได้สังเกต จึงควรสังเกตเพื่อให้ได้ประโยชน์ เปรียบเหมือนกับอาหารที่เขาจัดมาให้สำรับหนึ่ง มันก็มีหลายอย่าง เราก็ชิมไปทุกถ้วยทุกอย่างนั่นแหละ แล้วก็จะรู้เองว่า อาหารอย่างไหนที่เราชอบอย่างไหนที่เราไม่ชอบ อย่างไหนชอบก็ว่ามีรสชาติอร่อยกว่าอย่างอื่น นี่พูดถึงอาหาร

    นี่ก็เทียบให้เห็นกับจริตของคนเรา กรรมฐานที่ถูกจริตมันก็สบาย อย่างอานาปานสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก ถ้าถูกจริตแล้วก็สบาย ไม่ต้องไปเอาอย่างอื่น พอนั่งลงก็กำหนดลมหายใจเข้าออก ก็เห็นชัด ฉะนั้นก็เอาของใกล้ๆ นี่ดีกว่า กำหนดลมหายใจให้มันเข้า มันออกอยู่นั้นแหละ ดูมันอยู่ตรงนั้นแหละ ดูไปนานๆ ทำไปเรื่อยๆ จิตมันจะค่อยวาง สัญญาอื่นๆ มันก็จะห่างกัน ออกไปเรื่อยๆ เหมือนคนเราที่อยู่ห่างไกลกัน การติดต่อก็น้อย

    เมื่อเราสนใจอานาปานสติ มันก็จะง่ายขึ้น เราทำบ่อยๆ ก็จะชำนาญการดูลมขึ้นตามลำดับ ลมยาวเป็นอย่างไร เราก็รู้ ลมสั้นเป็นอย่างไร เราก็รู้ แล้วก็จะเห็นว่า ลมที่เข้าออกนี้ มันเป็นอาหารอย่างวิเศษ มันจะค่อยติดตามไปเองของมันทีละขั้น จะเป็นว่ามันเป็นอาหารยิ่งกว่าอาหารทางกายอย่างอื่น

    จะนั่งอยู่ก็หายใจ จะนอนอยู่ก็หายใจ จะเดินไปก็หายใจ จะนอนหลับก็หายใจ ลืมตาขึ้นก็หายใจ ถ้าขาดลมหายใจนี้ก็ตาย แม้แต่นอนหลับอยู่ ก็ยังต้องกินลมหายใจนี้ พิจารณาไปแล้วเลยเกิดศรัทธา เห็นว่าที่เราอยู่ทุกวันนี้ ก็เพราะอันนี้เอง ข้าวปลาอาหารต่างๆ ก็เป็นอาหารเหมือนกัน แต่เราไม่ได้กินมันทุกเวลานาที เหมือนลมหายใจ ซึ่งจะขาดระยะไม่ได้ ถ้าขาดก็ตาย ลองดูก็ได้ ถ้าขาดระยะสัก 5 – 10 นาที มันจวนจะตายไปแล้ว

    นี่พูดถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฏิบัติ มันจะรู้ขึ้นมาอย่างนี้แปลกไหม? แปลกซิ ซึ่งถ้าหากไม่ได้พิจารณาตามลมหายใจอย่างนี้ ก็จะไม่รู้สึกว่ามันเป็นอาหารเหมือนกัน จะเห็นก็แต่คำข้าวเท่านั้นที่เป็นอาหาร ความจริงมันก็เป็น แต่มันไม่อิ่มเท่ากับอาหารลมหายใจ

    อันนี้ ถ้าเราทำไปเรื่อย ให้เป็นปฏิปทาอย่างสม่ำเสมอ ความคิดมันจะเกิดอย่างนี้ จะเห็นต่อไปอีกว่า ที่ร่างกายเราเคลื่อนไหวไปได้ ก็เพราะลมอันนี้ ยิ่งพิจารณาก็ยิ่งเห็นประโยชน์ของลมหายใจยิ่งขึ้น แม้ลมจะขาดจากจมูก เราก็ยังหายใจอยู่ แล้วลมนี้ยังสามารถออกตามสรรพางค์กายก็ได้ เราสงบนิ่งอยู่เฉยๆ ปรากฏว่าลมมันไม่ออก ลมมันไม่เข้า แต่ว่าลมละเอียดมันเกิดขึ้นแล้ว

    ฉะนั้น เมื่อจิตของเราละเอียดถึงที่สุดของมันแล้ว ลมหายใจก็จะขาด ลมหายใจไม่มี เมื่อถึงตรงนี้ท่านบอกว่า อย่าตกใจ แล้วจะทำอะไรต่อไป? ก็ให้กำหนดรู้อยู่ตรงนั้นแหละ รู้ว่าลมไม่มีนั่นแหละ เป็นอารมณ์อยู่ต่อไป

    พูดถึงเรื่องสมถกรรมฐาน มันก็คือความสงบอย่างนี้ ถ้ากรรมฐานถูกจริตแล้ว มันเห็นอย่างนี้ มันเห็นอย่างนี้แหละ ถ้าเราพิจารณาอยู่บ่อยๆ มันก็จะเพิ่มกำลังของเราอยู่เรื่อยๆ เหมือนกับน้ำในโอ่ง พอจะแห้งก็หาน้ำเติมลงไปอยู่เรื่อย

    ถ้าทำสม่ำเสมออยู่อย่างนี้มันจะกลายเป็นปฏิปทาของเรา ทีนี้ก็จะได้รับความสบาย เรียกว่าสงบ สงบจากอารมณ์ทั้งหลาย คือมีอารมณ์เดียว คำว่ามีอารมณ์เดียวนั้นพูดยากเหมือนกัน ความเป็นจริง อาจมีอารมณ์อื่นแทรกอยู่เหมือนกัน แต่ไม่มีความสำคัญกับเรา มันเป็นอารมณืเดียวอยู่อย่างนี้

    แต่ให้ระวัง เมื่อความสงบเกิดขึ้นมา แล้วมีความสบายเกิดขึ้นมาก ระวัง มันจะติดสุข ติดสบายแล้วเลยยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นถ้าหากเกิดความคิดขึ้นมา ให้พิจารณาว่า ความสุขนี้ก็ไม่เที่ยง ความสบายนี้ก็ไม่เที่ยงหรือความทุกข์ก็ไม่เที่ยง ความที่เป็นยังงั้นๆ มันก็ไม่เที่ยง จึงอย่าไปยึกมั่นถือมั่นมันเลย

    ความรู้สึกอย่างนั้นมันเกิดขึ้นมา เพราะปัญญาเกิดขึ้นมาแล้ว เห็นสภาวะของทั้งหลายเป็นอย่างนั้น เมื่อมีความรู้สึกอย่างนี้ ก็เหมือนคลายเกลียวน้อตให้หลวมออก ไม่ให้มันตึง เมื่อก่อนมันตึงมันแน่น ความรู้สึกของเราที่มองก็เช่นกัน สมัยก่อนมองเห็นอันนั้นก็แน่นอน อันนี้ก็แน่นอน มันเลยตึง มันก็เป็นทุกข์ พอไม่ยึดมั่นถือมั่น เห็นสิ่งทั้งหลายเป็นของไม่แน่นอน มันก็คลายเกลียวออกมา

    เรื่องความเห็นนี้เป็นเรื่องของทิฐิ เรื่องความยึดมั่นถือมั่น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่ามานะ ท่านจึงสอนว่าให้ลดทิฐิมานะลงเสีย จะลดได้อย่างไร? จะลดได้ก็เพราะเห็นธรรม เห็นความไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง อะไร?ก็ไม่เที่ยงทั้งนั้น เมื่อเราเห็นอย่างนั้น อารมณ์ทั้งหลายที่เรากระทบอยู่ มันก็จะค่อยๆหมดราคา หมดราคาไปมากเท่าไร ก็บรรเทาความเห็นผิดไปได้เท่านั้น นี้เรียกว่า มันคลายน้อตให้หลวมออกมา มันก็ไม่ตึง

    อุปาทานก็จะถอนออกมาเรื่อยๆ เพราะเห็นชัดในเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในสกลร่างกายนี้ หรือในรูปนามนี้ ในโลกนี้มันเป็นอย่างนี้ แล้วก็จะเกิดความเบื่อ คำว่า “เบื่อ” ไม่ใช่เบื่ออย่างที่คนเขาเบื่อกัน คือเบื่ออย่างที่ไม่อยากรู้ ไม่อยากเห็น ไม่อยากพูดด้วย เพราะไม่ชอบมัน ถ้ามันเป็นอะไรไป ก็ยิ่งนึกสมน้ำหน้า ไม่ใช่เบื่ออย่างนี้ เบื่ออย่างนี้เป็นอุปาทาน เพราะความรู้ไม่ทั่วถึง แล้วเกิดความอิจฉาพยาบาท เกิดความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่เรียกว่า “เบื่อ” นั่นเอง

    “เบื่อ” ในที่นี้ ต้องเบื่อตามคำสอนของพระพุทธเจ้า คิดเบื่อโดยไม่มีความเกลียด ไม่มีความรัก หากมีอารมณ์ชอบใจหรือไม่ชอบใจอันใดเกิดขึ้นมา ก็เห็นทันทีว่ามันไม่เที่ยง “เบื่อ” อย่างนี้ จึงเรียกว่า “นิพพิทา” คือ ความเบื่อหน่ายคลายจากความกำหนัดรักใคร่ ในอารมณ์อันนั้น ไม่ไปสำคัญมั่นหมายในอารมณ์เหล่านั้นทั้งที่ชอบใจและไม่ชอบใจ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นและไม่ไปสำคัญมั่นหมายในสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จนเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด

    พระพุทธเจ้าท่านสอนต่อไปอีกว่า ให้รู้จักทุกข์ให้รู้จักเหตุเกิดทุกข์ ให้รู้ความดับทุกข์ ให้รู้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านให้รู้ของสี่อย่างนี้เท่านั้น ทุกข์เกิดขึ้นมาก็ให้รู้ว่า นี่ตัวทุกข์ แล้วทุกข์นี้มาจากไหน มันมีพ่อแม่เหมือนที่เราเกิดมาเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ามันเกิดขึ้นมาลอยๆ เมื่ออยากจะให้ทุกข์ดับ ก็ไปตัดเหตุของมันเสียที่ทุกข์มันเกิด ก็เพราะไปยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง ฉะนั้นจึงให้ตัดเหตุของมันเสีย

    การรู้จักดับความทุกข์ ก็ให้คลายเกลียวที่แน่นนั้นออกเสีย ให้เห็นโทษของอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ถอนตัวออกมาเสีย รู้จักข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็คือมรรค ให้ปฏิบัติให้ตลอด ตั้งแต่สัมมาทิฐิ ไปจนถึงสัมมาสมาธิ ให้มีความเห็นให้ถูกต้องในมรรคทั้งแปดข้อนี้ ถ้ามีความรู้ ความเข้าใจ และความเห็นชอบ ในสิ่งทั้งหลายนี้แล้ว ก็จะเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เราก็จะพ้นจากความทุกข์ ข้อปฏิบัตินั้นคือสมาธิปัญญา

    เรื่องของจิตใจหรือธรรมชาติของจิต จะต้องเป็นอย่างนี้ จะต้องรู้และเห็นสิ่งทั้งสี่ประการ (อริยสัจจ์ 4) นี้ให้ชัดเจน ตามความเป็นจริงของมัน เพราะมันเป็นสัจจธรรม จะมองไปข้างหลัง ข้างหน้า ข้างขวา ข้างซ้าย มันก็เป็นสัจจธรรมทั้งนั้น ดังนั้น ผู้บรรลุธรรม จะไปนั่งที่ไหนหรือไปอยู่ที่ใด ก็จะมองเห็นธรรมอยู่ตลอดเวลา
     
  7. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้
    เอาของสองอย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไป ไม่สบายแล้ว
    เอาคนสองคนมาอยู่ด้วยกัน มันก็กระทบกัน ก๊อกๆแก๊กๆ นั่นแหละลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็กๆ
    พ่อแม่ก็ตั้งใจว่า ลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก ก็เลี้ยงมันไปสามคนสี่คนห้าคน
    นึกว่ามันโตเราจะสบาย เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่
    ทิ้งท่อนเล็กแล้วแบกเอาท่อนใหญ่ นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก

    ลูกเราตอนเด็กๆมันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม มันกวนถามกินข้าวกับกล้วย
    เมื่อมันโตขึ้นมานี่มันถามเอารถมอเตอร์ไซด์ มันถามเอารถเก๋ง เอาล่ะความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้
    ก็พยายามหา มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นลูก บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน "อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลย
    รถนี่ มันยังไม่มีเงิน" แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากิน แต่ก็อด
    กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่าง ต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก
    เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร เรียนไม่มีจบหรอก

    ทางพุทธศาสนานี่เรียนจบ ศาสตร์อื่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อยๆ เรียนไม่จบ
    เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน ตาย!
    พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น


    หลวงปู่ชา สุภัทโท
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    golfreeze:


    ..ในวันหนึ่ง ๆ ให้ได้ปฏิบัติเถอะ ขี้เกียจก็ทำขยันก็ทำ เราปฏิบัติธรรมะ ไม่ปฏิบัติตามตัวเรา
    ถ้าปฏิบัติตามตัวเราไม่เป็นธรรมะ ไม่ว่ากลางวันกลางคืน สงบก็ทำ ไม่สงบก็ทำ

    เหมือนกับเราเป็นเด็กไปเรียนหนังสือ จะเขียนไม่สวยในครั้งแรก มันหัวยาว ๆ ขายาว ๆ
    เขียนไปตามเรื่องของเด็ก นานไปก็สวยขึ้นงามขึ้นเพราะฝึกมัน การประพฤติธรรมก็เหมือนกัน
    ทีแรกก็เกะ ๆ กะ ๆ สงบบ้าง ไม่สงบบ้าง ไม่รู้เรื่องมันเป็นไป บางคนก็ขี้เกียจ
    อย่าขี้เกียจซิ ต้องพยายามทำ อยู่ด้วยความพยายาม

    เหมือนกับเราเป็นเด็กนักเรียน โตมาก็เขียนหนังสือได้ดี จากไม่สวยมาเขียนได้สวย
    เพราะการฝึกตั้งแต่เด็กนั่นแหละ อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พยายามให้มีสติอยู่ทุกเวลา
    จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน พยายามทำให้มันสม่ำเสมอ เมื่อเราทำกิจวัติ
    อะไรมันคล่องดีแล้ว เป็นต้น เราก็สบายใจ นั่งก็สบาย นอนก็สบายเมื่อความสบายเกิดขึ้นจากกิจวัตร
    การนั่งสมาธิก็สงบง่าย เป็นเรื่องสัมพันธ์ซึ่งกันและกันดังนี้

    ฉะนั้น จงพากันพยายาม สิ่งที่ครูบาอาจารย์พาทำนี้ ให้พยายามทำเถอะ
    ตามความสามารถของเรา นี่เรียกว่า "การฝึก"..

    หลวงพ่อชา สุภัทโท


    keroro:
    ขอบคุณมากๆนะครับ

    golfreeze:


    หลวงพ่อชาพูดถึงกินเจ
    ...........................................................................

    กินเจ...กินเนื้อ - "กบ" กับ "คางคก"
    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง จ.อุบลราชธานี

    วันหนึ่งมีคนมาถามหลวงพ่อชา
    เกี่ยวกับเรื่องการกินเจ
    กับการกินอาหารเนื้ออาหารปลาต่างกันอย่างไร
    อย่างไหนถูก อย่างไหนผิด


    เพราะปัจจุบัน
    มีสำนักปฏิบัติที่ถือข้อวัตรปฏิบัติต่างกันมากมายหลายแห่ง

    บางแห่งถือว่าการกินเนื้อสัตว์เป็นบาปเป็นกรรมร่วม
    เพราะเท่ากับเป็นการยุให้เขาฆ่าสัคว์
    ที่นั้นจะต้องถือมังสวิรัติ
    เว้นการฉันเนื้อฉันปลาอย่างเด็ดขาด

    บางแห่งว่าการกินเจเป็นข้อวัตรของเทวทัตที่เคร่งครัดเกินไป
    จนพระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต
    เขาจึงสงสัยว่าอย่างไรจะถูกอย่างไรจะผิด
    ในระหว่างข้อวัตรปฏิบัติทั้งสองแบบนี้

    ท่านตอบว่า

    “เหมือนกบกับคางคกนั่นแหละ
    โยมว่ากบกับคางคกอย่างไหนมันดีกว่ากัน

    ความจริงแล้ว

    พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร ไม่ได้เป็นอะไร
    ในจิตของท่านไม่มีอะไรเป็นอะไรอีกแล้ว

    การบริโภคอาหารเป็นสักแต่ว่า
    เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายพอให้คงอยู่ได้
    ท่านไม่ให้ติดในรสชาติของอาหาร
    ไม่ให้ติดอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง

    ให้รู้จักประมาณในการบริโภค
    ไม่ให้บริโภคด้วยตัณหา
    นี่เรียกว่า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ฉันอะไร
    ไม่มีอะไร ไม่เป็นอะไรแล้ว

    ถ้าคนกินเนื้อไปติดอยู่ในรสชาติของเนื้อ นั่นเป็นตัณหา

    ถ้าคนไม่กินเนื้อ พอเห็นคนอื่นกินเนื้อ
    ก็รังเกียจและโกรธเขา ไปด่าว่านินทาเขา
    เอาความชั่วของเขาไปไว้ในใจตัวเอง
    นั่นก็เป็นคนโง่กว่าเขา
    ทำไปตามอำนาจของตัณหาเหมือนกัน

    การที่เราไปโกรธเกลียดเขานั้น
    มันก็คือผีที่สิงอยูในใจเรา

    เขากินเนื้อเป็นบาปเราโกรธเขา
    เราก็เป็นผีเป็นบาปอีกเหมือนกัน

    มันยังเป็นสัตว์อยู่ทั้งสองฝ่าย ยังไม่เป็นธรรมะ
    อาตมาจึงว่าเหมือนกบกับคางคก”

    “แต่ทางที่ถูกนั้น ใครจะกินอะไรก็กินไป แต่ให้มีธรรมะ

    คนกินเนื้อ ก็อย่าเห็นแก่ปากปากท้อง
    อย่าเห็นแก่ความเอร็ดอร่อยจนเกินไป อย่าถึงกับฆ่าเขากิน

    ส่วนคนกินเจก็ให้เชื่อมั่นในข้อวัตรของตัวเอง
    เห็นคนอื่นกินเนื้ออย่าไปโกรธเขา รักษาตัวเราไว้
    อย่าให้ติดอยูในการกระทำภายนอก

    พระเณรในวัดนี้ของอาตมาก็เหมือนกัน
    องค์ไหนจะถือข้อวัตรฉันเจก็ถือไป
    องค์ไหนจะฉันธรรมดาตามมีตามได้ก็ถือไป
    แต่อย่าทะเลาะกัน อย่ามองกันในแง่ร้าย
    อาตมาสอนอย่างนี้
    ท่านก็อยู่ไปด้วยกันได้ ไม่เห็นมีอะไร

    ให้เข้าใจว่า

    ธรรมะที่แท้นั้น เราจะเข้าถึงได้ด้วยปัญญา
    ทางปฏิบัติที่ถูกก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    ถ้าเราสำรวมอินทรีย์
    คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจไว้ดีแล้ว จิตก็จะสงบ
    และปัญญาความรู้เท่าทันสภาพของสังขารทั้งหลาย ก็จะเกิดขึ้น
    จิตใจก็เบื่อหน่ายจากสิ่งที่น่ารักน่าใคร่ทั้งหลาย
    วิมุตตก็เกิดขึ้นเท่านั้น”

    หลวงพ่อชา สุภัทโท

    golfreeze:


    รูลึกหรือว่าแขนสั้น

    คำสอนของพระ ตรง ง่าย แต่ยากกับคนที่จะปฏิบัติเพราะรู้ไม่ถึง
    เหมือนกับรู คนตั้งร้อยพันคนโทษว่ารูมันลึกเพราะล้วงไปไม่ถึง
    ที่จะว่าแขนของตนสั้นไม่ค่อยมี

    พระพุทธเจ้าท่านสอนไม่ให้ทำบาปทั้งปวง
    เราข้ามไปพากันทำบุญ แต่ไม่พากันละบาป
    ก็เท่ากับว่ารูมันลึก ที่จะว่าแขนของตนสั้นนั้นไม่มี

    หลวงพ่อชา สุภัทโท


    ขอบพระคุณข้อมูลจาก : Facebook เครือข่ายกลุ่มพุทธธรรมกรรมฐาน สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    และ Kammatan.com :
     
  8. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    การฝึกใจ

    หลวงพ่อชา สุภัทโท



    วัดหนองป่าพง




    บทนำ

    ชีวิตคนในสมัยของท่านอาจารย์มั่น และท่านอาจารย์เสาร์นั้น สบายกว่าในสมัยนี้มาก ไม่มีความวุ่นวายมากเหมือนอย่างทุกวันน ี้สมัยโน้นพระไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกับพิธีรีตองต่างๆ เหมือนอย่างเดี๋ยวนี้ท่านอาศัยอยู่ตามป่า ไม่ได้อยู่เป็นที่หรอก ธุดงค์ไปโน่น ธุดงค์ไปนี่เรื่อยไป ท่านใช้เวลาของท่านปฏิบัติภาวนาอย่างเต็มที่

    สมัยโน้นพระท่านไม่ได้มีข้าวของฟุ่มเฟือยมากมายอย่างที่มีกันทุกวันนี้หรอก เพราะมันยังไม่มีอะไรมากอย่างเดี๋ยวนี้ กระบอกน้ำก็ทำเอา กระโถนก็ทำเอา ทำเอาจากไม้ไผ่นั่นแหละ

    ความสันโดษของพระป่า

    ชาวบ้านก็นานๆจึงจะมาหาสักที ความจริงพระท่านก็ไม่ได้ต้องการอะไร ท่านสันโดษกับสิ่งที่ท่านมี ท่านอยู่ไป ปฏิบัติภาวนาไปหายใจเป็นกรรมฐานอยู่นั่นแหละ

    พระท่านก็ได้รับความลำบากมากอยู่เหมือนกัน ในการที่อยู่ตามป่าตามเขาอย่างนั้น ถ้าองค์ใดเป็นไข้ป่า ไข้มาลาเรีย ไปถามหาขอยาอาจารย์ก็จะบอกว่า "ไม่ต้องฉันยาหรอก เร่งปฏิบัติภาวนาเข้าเถอะ"

    ความจริงสมัยนั้นก็ไม่มีหยูกยามากอย่างสมัยนี้ มีแต่สมุนไพรรากไม้ที่ขึ้นอยู่ตามป่า พระต้องอยู่อย่างอดอย่างทนเหลือหลาย ในสมัยนั้นเจ็บไข้เล็กๆน้อยๆ ท่านก็ปล่อยมันไป เดี๋ยวนี้สิเจ็บป่วยอะไรนิดหน่อยก็วิ่งไปโรงพยาบาลแล้ว

    บางทีก็ต้องเดินบิณฑบาตตั้งห้ากิโล พอฟ้าสางก็ต้องรีบออกจากวัดแล้ว กว่าจะกลับก็โน่นสิบโมงสิบเอ็ดโมงโน่น แล้วก็ไม่ใช่บิณฑบาตได้อะไรมากมาย บางทีก็ได้ข้าวเหนียวสักก้อน เกลือสักหน่อย พริกสักนิด เท่านั้นเอง ได้อะไรมาฉันกับข้าวหรือไม่ก็ช่างท่านไม่คิด เพราะมันเป็นอย่างนั้นเอง ไม่มีองค์ใดกล้าบ่นหิวหรือเพลียท่านไม่บ่น เฝ้าแต่ระมัดระวังตน

    ท่านปฏิบัติอยู่ในป่าอย่างอดทน อันตรายก็มีรอบด้าน สัตว์ดุร้ายก็มีอยู่หลายในป่านั้น ความยากลำบากกาย ลำบากใจในการอยู่ธุดงค์ก็มีอยู่หลายแท้ๆ แต่ท่านก็มีความอดความทนเป็นเลิศ เพราะสิ่งแวดล้อมสมัยนั้นบังคับให้เป็นอย่างนั้น

    การภาวนาของท่านนักปฏิบัติสมัยนี้

    มาสมัยนั้นสิ่งแวดล้อมบังคับเราไปในทางตรงข้ามกับสมัยโน้นไปไหนเราก็เดินไป ต่อมาก็นั่งเกวียนแล้วก็นั่งรถยนต์ แต่ความทะยานอยากมันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดี๋ยวนี้ถ้าไม่ใช่รถปรับอากาศ ก็จะไม่ยอมนั่งดูจะไปเอาไม่ได้เทียวแหละ ถ้ารถนั้นไม่ปรับอากาศ คุณธรรมในเรื่องความอดทนมันค่อยอ่อนลงๆ การปฏิบัติภาวนาก็ย่อหย่อนลงไปมากเดี๋ยวนี้เราจึงเห็นนักปฏิบัติภาวนาชอบทำตามความเห็น ความต้องการของตัวเอง

    เมื่อผู้เฒ่าผู้แก่พูดถึงเรื่องเก่าๆแต่ครั้งก่อน คนเดี๋ยวนี้ฟังเหมือนว่าเป็นนิทานนิยาย ฟังไปเฉยๆแต่ไม่เข้าใจเลยแหละ เพราะมันเข้าไม่ถึง พระภิกษุที่บวชในสมัยก่อนนั้นจะต้องอยู่กับพระอุปัชฌาย์อย่างน้อยห้าปี นี่เป็นระเบียบที่ถือกันมา และต้องพยายามหลีกเลี่ยงการพูดคุย อย่าปล่อยตัวเที่ยวพูดคุยมากเกินไป อย่าอ่านหนังสือ แต่ให้อ่านใจของตัวเอง

    พิจารณาอ่านใจและดูใจตัวเอง

    ดูวัดหนองป่าพงเป็นตัวอย่าง ทุกวันนี้มีพวกที่จบจากมหาวิทยาลัยมาบวชกันมาก ต้องคอยห้ามไม่ให้เอาเวลาไปอ่านหนังสือธรรมะ เพราะคนพวกนี้ชอบอ่านหนังสือ แล้วก็ได้อ่านหนังสือมามากแล้ว แต่โอกาสที่จะอ่านใจของตัวเองน่ะหายากมาก ฉะนั้นระหว่างที่มาบวชสามเดือนนี้ ก็ต้องขอให้ปิดหนังสือ ปิดตำรับตำราต่างๆให้หมดในระหว่างที่บวชนี้น่ะ เป็นโอกาสวิเศษแล้วที่จะได้อ่านใจของตัวเอง

    การตามดูใจของตัวเองนี่ น่าสนใจมาก ใจที่ยังไม่ได้ฝึก มันก็คอยวิ่งไปตามนิสัยเคยชินที่ยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรม มันเต้นคึกคักไปตามเรื่องตามราว ตามความคะนอง เพราะมันยังไม่เคยถูกฝึก ดังนั้นจงฝึกใจของตัวเอง การปฏิบัติภาวนาในทางพุทธศาสนาก็คือการปฏิบัติเรื่องใจ ฝึกจิตฝึกใจของตัว ฝึกอบรมจิตของตัวเองนี่แหละเรื่องนี้สำคัญมาก การฝึกใจเป็นหลักสำคัญ พุทธศาสนาเป็นศาสนาของใจ มันมีเท่านี้ ผู้ที่ฝึกปฏิบัติทางจิต คือผู้ปฏิบัติธรรมในทางพุทธศาสนา

    การฝึกใจ

    ใจของเรานี่มันอยู่ในกรง ยิ่งกว่านั้นมันยังมีเสือที่กำลังอาละวาดอยู่ในกรงนั้นด้วย ใจที่มันเอาแต่ใจของเรานี้ ถ้าหากมันไม่ได้อะไรตามที่มันต้องการแล้ว มันก็อาละวาด เราจะต้องอบรมใจด้วยการปฏิบัติภาวนา ด้วยสมาธิ นี้แหละที่เราเรียกว่า "การฝึกใจ"

    พื้นฐานของการปฏิบัติธรรม

    ในเบื้องต้นของการฝึกปฏิบัติธรรม จะต้องมีศีลเป็นพื้นฐานหรือรากฐาน ศีลนี้เป็นสิ่งอบรมกาย วาจา ซึ่งบางทีก็จะเกิดการวุ่นวายขึ้นในใจเหมือนกัน เมื่อเราพยายามจะบังคับใจไม่ให้ทำตามความอยาก

    กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย นิสัยความเคยชินอย่างโลกๆ ลดมันลง อย่ายอมตามความอยาก อย่ายอมตามความติดของตน หยุดเป็นทาสมันเสีย พยายามต่อสู้เอาชนะอวิชชาให้ได้ด้วยการบังคับตัวเองเสมอ นี้เรียกว่าศีล

    เมื่อพยายามบังคับจิตของตัวเองนั้น จิตมันก็จะดิ้นรนต่อสู้มันจะรู้สึกถูกจำกัด ถูกข่มขี่ เมื่อมันไม่ได้ทำตามที่มันอยาก มันก็จะกระวนกระวายดิ้นรน ทีนี้เห็นทุกข์ชัดละ

    เห็นทุกข์ทำให้เกิดปัญญา

    "ทุกข์" เป็นข้อแรกของอริยสัจจ์ คนทั้งหลายพากันเกลียดกลัวทุกข์ อยากหนีทุกข์ ไม่อยากให้มีทุกข์เลย ความจริง ทุกข์นี่แหละจะทำให้เราฉลาดขึ้นล่ะ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เรารู้จักพิจารณาทุกข์ สุขนั่นสิมันจะปิดหูปิดตาเรา มันจะทำให้ไม่รู้จักอด ไม่รู้จักทน ความสุขสบายทั้งหลายจะทำให้เราประมาท

    กิเลสสองตัวนี้ทุกข์เห็นได้ง่าย ดังนั้นเราจึงต้องเอาทุกข์นี่แหละมาพิจารณา แล้วพยายามทำความดับทุกข์ให้ได้ แต่ก่อนจะปฏิบัติภาวนาก็ต้องรู้จักเสียก่อนว่าทุกข์คืออะไร

    ตอนแรกเราจะต้องฝึกใจของเราอย่างนี้ เราอาจยังไม่เข้าใจว่ามันเป็นอย่างไร ทำไป ทำไปก่อน ฉะนั้นเมื่อครูอาจารย์บอกให้ทำอย่างใดก็ทำตามไปก่อน แล้วก็จะค่อยมีความอดทนอดกลั้นขึ้นเองไม่ว่าจะเป็นอย่างไรให้อดทนอดกลั้นไว้ก่อน เพราะมันเป็นอย่างนั้นเองอย่างเช่นเมื่อเริ่มฝึกนั่งสมาธิ เราก็ต้องการความสงบทีเดียวแต่ก็จะไม่ได้ความสงบ เพราะมันยังไม่เคยทำสมาธิมาก่อน ใจก็บอกว่า"จะนั่งอย่างนี้แหละจนกว่าจะได้ความสงบ"

    อย่าทอดทิ้งจิต

    แต่พอความสงบไม่เกิดก็เป็นทุกข์ ก็เลยลุกขึ้น วิ่งหนีเลย การปฏิบัติอย่างนี้ไม่เป็น "การพัฒนาจิต" แต่มันเป็นการ "ทอดทิ้งจิต"ไม่ควรจะปล่อยใจไปตามอารมณ์ ควรที่จะฝึกฝนอบรมตนเองตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ขี้เกียจก็ช่าง ขยันก็ช่าง ให้ปฏิบัติมันไปเรื่อยๆ ลองคิดดูซิ ทำอย่างนี้จะไม่ดีกว่าหรือ การปล่อยใจตามอารมณ์นั้นจะไม่มีวันถึงธรรมของพระพุทธเจ้า

    เมื่อเราปฏิบัติธรรม ไม่ว่าอารมณ์ใดจะเกิดขึ้นก็ช่างมัน แต่ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ ปฏิบัติให้สม่ำเสมอ การตามใจตัวเองไม่ใช่แนวทางของพระพุทธเจ้า ถ้าเราปฏิบัติธรรมตามความคิดความเห็นของเรา เราจะไม่มีวันรู้แจ้งว่าอันใดผิด อันใดถูก จะไม่มีวันรู้จักใจของตัวเองและไม่มีวันรู้จักตัวเอง ดังนั้นถ้าปฏิบัติธรรมตามแนวทางของตนเองแล้วย่อมเป็นการเสียเวลามากที่สุด แต่การปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธเจ้าแล้วย่อมเป็นหนทางตรงที่สุด

    การพัฒนาจิต

    ขอให้จำไว้ว่า ถึงจะขี้เกียจก็ให้พยายามปฏิบัติไป ขยันก็ให้ปฏิบัติไป ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง นี่จึงจะเรียกว่า "การพัฒนาจิต" ถ้าหากปฏิบัติตามความคิดความเห็นของตนเองแล้ว ก็จะเกิดความคิดความสงสัยไปมากมาย มันจะพาให้คิดไปว่า "เราไม่มีบุญ เราไม่มีวาสนาปฏิบัติธรรมก็นานนักหนาแล้ว ยังไม่รู้ ยังไม่เห็นธรรมเลยสักที" การปฏิบัติธรรมอย่างนี้ไม่เรียกว่าเป็น "การพัฒนาจิต" แต่เป็น "การพัฒนาความหายนะของจิต"

    ถ้าเมื่อใดที่ปฏิบัติธรรมไปแล้ว มีความรู้สึกอย่างนี้ว่ายังไม่รู้อะไร ยังไม่เห็นอะไร ยังไม่มีอะไรใหม่ๆเกิดขึ้นบ้างเลย นี่ก็เพราะที่ปฏิบัติมามันผิด ไม่ได้ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

    สิ้นสงสัยด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้อง

    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า "อานนท์ ปฏิบัติให้มาก ทำให้มากแล้วจะสิ้นสงสัย" ความสงสัยจะไม่มีวันสิ้นไปได้ ด้วยการคิด ด้วยทฤษฎี ด้วยการคาดคะเน หรือด้วยการถกเถียงกัน หรือจะอยู่เฉยๆไม่ปฏิบัติภาวนาเลย ความสงสัยก็หายไปไม่ได้อีกเหมือนกัน กิเลสจะหายสิ้นไปได้ก็ด้วยการพัฒนาทางจิต ซึ่งจะเกิดได้ก็ด้วยการปฏิบัติที่ถูกต้องเท่านั้น

    การปฏิบัติทางจิตที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น ตรงกันข้ามกับหนทางของโลกอย่างสิ้นเชิง คำสั่งสอนของพระองค์มาจากพระทัยอันบริสุทธิ์ ที่ไม่ข้องเกี่ยวกับกิเลสอาสวะทั้งหลาย นี่คือแนวทางของพระพุทธเจ้าและสาวกของพระองค์

    เมื่อเราปฏิบัติธรรม เราต้องทำใจของเราให้เป็นธรรม ไม่ใช่เอาธรรมะมาตามใจเรา ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ ทุกข์ก็จะเกิดขึ้น แต่ไม่มีใครสักคนหรอกที่จะพ้นจากทุกข์ไปได้ พอเริ่มปฏิบัติ ทุกข์ก็อยู่ตรงนั้นแล้ว หน้าที่ของผู้ปฏิบัตินั้นจะต้องมีสติ สำรวม และสันโดษ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราหยุด คือเลิกนิสัยความเคยชินที่เคยทำมาแต่เก่าก่อนทำไมถึงต้องทำอย่างนี้ ถ้าไม่ทำอย่างนี้ ไม่ฝึกฝนอบรมใจตนเองแล้วมันก็จะคึกคะนอง วุ่นวายไปตามธรรมชาติของมัน

    ธรรมชาติของจิตฝึกได้เสมอ

    ธรรมชาติของใจนี้มันฝึกกันได้ เอามาใช้ประโยชน์ได้ เปรียบได้กับต้นไม้ในป่า ถ้าเราปล่อยทิ้งไว้ตามธรรมชาติของมัน เราก็จะเอามันมาสร้างบ้านไม่ได้ จะเอามาทำแผ่นกระดานก็ไม่ได้ หรือทำอะไรอย่างอื่นที่จะใช้สร้างบ้านก็ไม่ได้ แต่ถ้าช่างไม้ผ่านมาต้องการไม้ไปสร้างบ้าน เขาก็จะมองหาต้นไม้ในป่านี้และตัดต้นไม้ในป่านี้เอาไปใช้ประโยชน์ ไม่ช้าเขาก็สร้างบ้านเสร็จเรียบร้อย

    การปฏิบัติภาวนาและการพัฒนาจิตก็คล้ายกันอย่างนี้ ก็ต้องเอาใจที่ยังไม่ได้ฝึกเหมือนไม้ในป่านี่แหละ มาฝึกมัน จนมันละเอียดประณีตขึ้น รู้ขึ้น และว่องไวขึ้น ทุกอย่างมันเป็นไปตามภาวะธรรมชาติของมัน เมื่อเรารู้จักธรรมชาติ เข้าใจธรรมชาติ เราก็เปลี่ยนมันได้ ทิ้งมันก็ได้ ปล่อยมันไปก็ได้ แล้วเราก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป

    จิตยึดมั่นมันก็สับสนวุ่นวาย

    ธรรมชาติของใจเรามันก็อย่างนั้น เมื่อใดที่เกาะเกี่ยวผูกพันยึดมั่นถือมั่นก็จะเกิดความวุ่นวายสับสน เดี๋ยวมันก็จะวิ่งวุ่นไปโน่นไปนี่พอมันวุ่นว่ายสับสนมากๆเข้า เราก็คิดว่าคงจะฝึกอบรมมันไม่ได้แล้วแล้วก็เป็นทุกข์ นี่ก็เพราะไม่เข้าใจว่ามันต้องเป็นของมันอย่างนั้นเองความคิด ความรู้สึก มันจะวิ่งไปวิ่งมาอยู่อย่างนี้ แม้เราจะพยายามฝึกปฏิบัติ พยายามให้มันสงบ มันก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ เมื่อเราติดตามพิจารณาดูธรรมชาติของใจอยู่บ่อยๆก็จะค่อยๆเข้าใจว่าธรรมชาติของใจมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น มันจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้

    ปล่อยวางได้จิตใจก็สงบ

    ถ้าเราเห็นอันนี้ชัด เราก็จะทิ้งความคิดความรู้สึกอย่างนั้นได้ ทีนี้ก็ไม่ต้องคิดนั่นคิดนี่อีก คอยแต่บอกตัวเองไว้อย่างเดียวว่า "มันเป็นของมันอย่างนั้นเอง" พอเข้าใจได้ชัด เห็นแจ้งอย่างนี้แล้ว ทีนี้ก็จะปล่อยอะไรๆได้ทั้งหมด ก็ไม่ใช่ว่าความคิดความรู้สึกมันจะหายไป มันก็ยังอยู่นั่นแหละ แต่มันหมดอำนาจเสียแล้ว

    เปรียบก็เหมือนกับเด็กที่ชอบซน เล่นสนุก ทำให้รำคาญ จนเราต้องดุเอา ตีเอา แต่เราก็ต้องเข้าใจว่าธรรมชาติของเด็กก็เป็นอย่างนั้นเอง พอรู้อย่างนี้ เราก็ปล่อยให้เด็กเล่นไปตามเรื่องของเขาความเดือดร้อนรำคาญของเราก็หมดไป มันหมดไปได้อย่างไร ก็เพราะเรายอมรับธรรมชาติของเด็ก ความรู้สึกของเราเปลี่ยน และเรายอมรับธรรมชาติของสิ่งทั้งหลาย เราปล่อยวาง จิตของเราก็มีความสงบเยือกเย็น นี่เรามีความเข้าใจอันถูกต้องแล้ว เป็นสัมมาทิฏฐิ

    ถ้ายังไม่มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ แม้จะไปอยู่ในถ้ำลึกมืดสักเท่าใด ใจมันก็ยังยุ่งเหยิงอยู่ ใจจะสงบได้ก็ด้วยความเห็นที่ถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น ทีนี้ก็หมดปัญหาจะต้องแก้เพราะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น นี่มันเป็นอย่างนี้ เราไม่ชอบมัน เราปล่อยวางมัน เมื่อใดที่มีความรู้สึกเกาะเกี่ยวยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น เราปล่อยวางทันที เพราะรู้แล้วว่าความรู้สึกอย่างนั้นมันไม่ได้เกิดขึ้นมาเพื่อจะกวนเรา แม้บางทีเราอาจจะคิดอย่างนั้น แต่ความเป็นจริงความรู้สึกนั้นเป็นของมันอย่างนั้นเอง

    ถ้าเราปล่อยวางมันเสีย รูปก็เป็นสักแต่ว่ารูป เสียงก็สักแต่ว่าเสียง กลิ่นก็สักแต่ว่ากลิ่น รสก็สักแต่ว่ารส โผฏฐัพพะก็สักแต่ว่าโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็สักแต่ว่าธรรมารมณ์ เปรียบเหมือนน้ำมันกับน้ำท่า ถ้าเราเอาทั้งสองอย่างนี้เทใส่ขวดเดียวกัน มันก็ไม่ปนกัน เพราะธรรมชาติมันต่างกัน เหมือนกับที่คนฉลาดก็ต่างกับคนโง่ พระพุทธเจ้าก็ทรงอยู่กับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ แต่พระองค์ทรงเป็นพระอรหันต์ พระองค์จึงทรงเห็นสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" เท่านั้น

    ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด

    พระองค์ทรงปล่อยวางมันไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ทรงเข้าพระทัยแล้วว่า ใจก็สักว่าใจ ความคิดก็สักว่าความคิด พระองค์ไม่ทรงเอามันมาปนกัน ใจก็สักว่าใจ ความคิดความรู้สึกก็สักว่าความคิด ความรู้สึกปล่อยให้มันป็นเพียงสิ่ง "สักว่า" รูปก็สักว่ารูป เสียงก็สักว่าเสียงความคิดก็สักว่าความคิด จะต้องไปยึดมั่นถือมั่นทำไม ถ้าคิดได้รู้สึกได้อย่างนี้เราก็จะแยกกันได้ ความคิดความรู้สึก (อารมณ์) อยู่ทางหนึ่งใจก็อยู่อีกทางหนึ่ง เหมือนกับน้ำมันกับน้ำท่า อยู่ในขวดเดียวกันแต่มันแยกกันอยู่

    พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกของพระองค์ ก็อยู่ร่วมกับปุถุชนคนธรรมดาที่ไม่ได้รู้ธรรม ท่านไม่ได้เพียงอยู่ร่วมเท่านั้น แต่ท่านยังสอนคนเหล่านั้น ทั้งคนฉลาด คนโง่ ให้รู้จักวิธีที่จะศึกษาธรรมปฏิบัติธรรมและรู้แจ้งในธรรม ท่านสอนได้เพราะท่านได้ปฏิบัติมาเองท่านรู้ว่ามันเป็นเรื่องของใจเท่านั้น เหมือนอย่างที่ได้พูดมานี่แหละ

    ดังนั้นการปฏิบัติภาวนานี้อย่าไปสงสัยมันเลย เราหนีจากบ้านมาบวช ไม่ใช่เพื่อหนีมาอยู่กับความหลงหรืออยู่กับความขลาดความกลัว แต่หนีมาเพื่อฝึกอบรมตัวเอง เพื่อเป็นนายตัวเอง ชนะตัวเองถ้าเราเข้าใจได้อย่างนี้ เราก็จะปฏิบัติธรรมได้ ธรรมะจะแจ่มชัดขึ้นในใจของเรา

    ธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง

    ผู้ที่เข้าใจธรรมะก็เข้าใจตัวเอง ใครเข้าใจตัวเองก็เข้าใจธรรมะทุกวันนี้ก็เหลือแต่เปลือกของธรรมะเท่านั้น ความเป็นจริงแล้วธรรมะมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง ไม่จำเป็นที่จะต้องหนีไปไหน ถ้าจะหนีก็ให้หนีด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา หนีด้วยความชำนิชำนาญ อย่าหนีด้วยความโง่ ถ้าเราต้องการความสงบก็ให้สงบด้วยความฉลาด ด้วยปัญญาเท่านั้นก็พอ

    เมื่อใดที่เราเห็นธรรมะ นั่นก็เป็นสัมมาปฏิปทาแล้ว กิเลสก็สักแต่ว่ากิเลส ใจก็สักแต่ว่าใจ เมื่อใดที่เราทิ้งได้ ปล่อยวางได้แยกได้เมื่อนั้นมันก็เป็นเพียงสิ่งสักว่า เป็นเพียงอย่างนี้อย่างนั้นสำหรับเราเท่านั้นเอง เมื่อเราเห็นถูกแล้ว ก็จะมีแต่ความปลอดโปร่ง ความเป็นอิสระตลอดเวลา

    พระพุทธองค์ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลายท่านอย่ายึดมั่นในธรรม" ธรรมะคืออะไร คือทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะความรักความเกลียดก็เป็นธรรมะ ความสุขความทุกข์ก็เป็นธรรมะความชอบความไม่ชอบก็เป็นธรรมะ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งเล็กน้อยแค่ไหนก็เป็นธรรมะ

    ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม

    เมื่อเราปฏิบัติธรรมเราเข้าใจอันนี้ เราก็ปล่อยวางได้ ดังนั้นก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเรา ในจิตเรา ในร่างกายของเรา มีแต่ความแปรเปลี่ยนไปทั้งนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นพระองค์ทรงสอนพระสาวกของพระองค์ให้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อถอนไม่ให้ปฏิบัติเพื่อสะสม

    ถ้าเราทำตามคำสอนของพระองค์ เราก็ถูกเท่านั้นแหละ เราอยู่ในทางที่ถูกแล้ว แต่บางทีก็ยังมีความวุ่นวายเหมือนกัน ไม่ใช่คำสอนของพระองค์ทำให้วุ่นวาย กิเลสของเรานั้นแหละที่มันทำให้วุ่นวาย มันมาบังคับความเข้าใจอันถูกต้องเสีย ก็เลยทำให้เราวุ่นวาย

    ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์เพราะทางของพระองค์คือ "ปล่อยวาง" ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

    จุดหมายสูงสุดของการปฏิบัติภาวนานั้น ท่านทรงสอนให้"ปล่อยวาง" อย่าแบกถืออะไรให้มันหนัก ทิ้งมันเสีย ความดีก็ทิ้งความถูกต้องก็ทิ้ง คำว่าทิ้งหรือปล่อยวางไม่ใช่ไม่ต้องปฏิบัติ แต่หมายความว่าให้ปฏิบัติ "การละ" "การปล่อยวาง" นั่นแหละ

    จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าจมอยู่กับอดีต

    พระองค์ทรงสอนให้พิจารณาธรรมทั้งหลาย ที่กายที่ใจของเราธรรมะไม่ได้อยู่ไกลที่ไหน อยู่ที่ตรงนี้ อยู่ที่กายที่ใจของเรานี่แหละดังนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง เอาจริงเอาจังให้ใจมันผ่องใสขึ้น สว่างขึ้น ให้มันเป็นใจอิสระ ทำความดีอะไรแล้วก็ปล่อยมันไป อย่าไปยึดไว้ หรืองดเว้นการทำชั่วได้แล้ว ก็ปล่อยมันไป พระพุทธเจ้าทรงสอนให้อยู่กับปัจจุบันนี้ ที่นี้และเดี๋ยวนี้ ไม่ใช่อยู่กับอดีตหรืออนาคต

    คำสอนที่เข้าใจผิดกันมาก แล้วก็ถกเถียงกันมากที่สุด ตามความคิดเห็นของตนก็คือเรื่อง "การปล่อยวาง" หรือ "การทำงานด้วยจิตว่าง" นี่แหละ การพูดอย่างนี้เรียกว่าพูด "ภาษาธรรม" เมื่อเอามาคิดเป็นภาษาโลกมันก็เลยยุ่ง แล้วก็ตีความหมายว่าอย่างนั้น ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบละซิ

    ความจริงมันหมายความอย่างนี้ อุปมาเหมือนว่าเราแบกก้อนหินหนักอยู่ก้อนหนึ่ง แบกไปก็รู้สึกหนัก แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรกับมันก็ได้แต่แบกอยู่อย่างนั้นแหละ พอมีใครบอกว่า ให้โยนมันทิ้งเสียซิ ก็มาคิดอีกแหละว่า "เอ...ถ้าเราโยนมันทิ้งไปแล้ว เราก็ไม่มีอะไรเหลือน่ะซิ" ก็เลยแบกอยู่นั่นแหละ ไม่ยอมทิ้ง

    ประโยชน์ของการปล่อยวาง

    ถ้าจะมีใครบอกว่า โยนทิ้งไปเถอะ แล้วจะดีอย่างนั้น เป็นประโยชน์อย่างนี้ เราก็ยังไม่ยอมโยนทิ้งอยู่นั่นแหละ เพราะกลัวแต่ว่าจะไม่มีอะไรเหลือ ก็เลยแบกก้อนหินหนักไว้ จนเหนื่อยอ่อนเพลียเต็มที จนแบกไม่ไหวแล้วก็เลยปล่อยมันตกลง ตอนที่ปล่อยมันตกลงนี้แหละก็จะเกิดความรู้เรื่องการปล่อยวางขึ้นมาเลย เราจะรู้สึกเบาสบาย แล้วก็รู้ได้ด้วยตัวเองว่าการแบกก้อนหินนั้นมันหนักเพียงใดแต่ตอนที่เราแบกอยู่นั้นเราไม่รู้หรอกว่าการปล่อยวางมีประโยชน์เพียงใด

    ดังนั้นถ้ามีใครมาบอกให้ปล่อยวาง คนที่ยังมืดอยู่ก็ไม่รู้ไม่เข้าใจหรอก ก็จะหลับหูหลับตาแบกก้อนหินก้อนนั้นอย่างไม่ยอมปล่อย จนกระทั่งมันหนักจนเหลือที่จะทนนั่นแหละ ถึงจะยอมปล่อย แล้วก็จะรู้สึกได้ด้วยตัวเอง ว่ามันเบามันสบายแค่ไหนที่ปล่อยมันไปได้ต่อมาเราอาจจะไปแบกอะไรอีกก็ได้ แต่ตอนนี้เราพอรู้แล้วว่า ผลของการแบกนั้นเป็นอย่างไร เราก็จะปล่อยมันได้โดยง่ายขึ้น ความเข้าใจในความไร้ประโยชน์ของการแบกหาม และความเบาสบายของการปล่อยวางนี่แหละ คือตัวอย่างที่แสดงถึงการรู้จักตัวเอง

    ความยึดมั่นถือมั่นในตัวของเราก็เหมือนก้อนหินหนักก้อนนั้นพอคิดว่าจะปล่อย "ตัวเรา" ก็เกิดความกลัวว่าปล่อยไปแล้วก็จะไม่มีอะไรเหลือ เหมือนกับที่ไม่ยอมปล่อยก้อนหินก้อนนั้น แต่ในที่สุดเมื่อปล่อยมันไปได้ เราก็จะรู้สึกเองถึงความเบาสบายในการที่ไม่ได้ยึดมั่นถือมั่น

    การฝึกใจต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น

    ในการฝึกใจนี้ เราต้องไม่ยึดมั่นทั้งสรรเสริญ ทั้งนินทา ความต้องการแต่สรรเสริญ และไม่ต้องการนินทานั้น เป็นวิถีทางของโลกแต่แนวทางของพระพุทธเจ้าให้รับสรรเสริญตามเหตุตามปัจจัยของมัน และก็ให้รับนินทาตามเหตุตามปัจจัยของมันเหมือนกัน เหมือนอย่างกับการเลี้ยงเด็ก บางทีถ้าเราไม่ดุเด็กตลอดเวลา มันก็ดีเหมือนกันผู้ใหญ่บางคนดุมากเกินไป ผู้ใหญ่ที่ฉลาดย่อมรู้จักว่าเมื่อใดควรดุเมื่อใดควรชม

    ใจของเราก็เหมือนกัน ใช้ปัญญาเรียนรู้จักใจ ใช้ความฉลาดรักษาใจไว้ แล้วเราก็จะเป็นคนฉลาดที่รู้จักฝึกใจ เมื่อฝึกบ่อยๆมันก็จะสามารถกำจัดทุกข์ได้ ความทุกข์เกิดขึ้นที่ใจนี่เอง มันทำให้ใจสับสนมืดมัว มันเกิดขึ้นที่นี่มันก็ตายที่นี่

    ถ้ายึดมั่นเข้าเราก็ถูกกัด

    เรื่องของใจมันเป็นอย่างนี้ บางทีก็คิดดี บางทีก็คิดชั่ว ใจมันหลอกลวง เป็นมายา จงอย่าไว้ใจมัน แต่จงมองเข้าไปที่ใจ มองให้เห็นความเป็นอยู่อย่างนั้นของมัน ยอมรับมันทั้งนั้น ทั้งใจดีใจชั่วเพราะมันเป็นของมันอย่างนั้น ถ้าเราไม่ไปยึดถือมัน มันก็เป็นของมันอยู่แค่นั้น แต่ถ้าเราไปยึดมันเข้า เราก็จะถูกมันกัดเอา แล้วเราก็เป็นทุกข์ ถ้าใจเป็นสัมมาทิฏฐิแล้วก็จะมีแต่ความสงบ จะเป็นสมาธิ จะมีความฉลาด ไม่ว่าจะนั่งหรือจะนอน ก็จะมีแต่ความสงบ ไม่ว่าจะไปไหน ทำอะไรก็จะมีแต่ความสงบ

    วันนี้ท่าน (ภิกษุชาวตะวันตก) ได้พาลูกศิษย์มาฟังธรรม ท่านอาจจะเข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง ผมได้พูดเรื่องการปฏิบัติเพื่อให้ท่านเข้าใจได้ง่าย ท่านจะคิดว่าถูกหรือไม่ก็ตาม ก็ขอให้ท่านลองนำไปพิจารณาดู ผมในฐานะอาจารย์องค์หนึ่ง ก็อยู่ในฐานะคล้ายๆกันผมเองก็อยากฟังธรรมเหมือนกัน เพราะไม่ว่าผมจะไปที่ไหน ก็ต้องไปแสดงธรรมให้ผู้อื่นฟัง แต่ตัวเองไม่ได้มีโอกาสฟังเลย คราวนี้ก็ดูท่านพอใจในการฟังธรรมอยู่ เวลาผ่านไปเร็ว เมื่อท่านนั่งฟังอย่างเงียบๆเพราะท่านกำลังกระหายธรรมะ ท่านจึงต้องการฟัง

    เมื่อก่อนนี้ การแสดงธรรมก็เป็นความเพลิดเพลินอย่างหนึ่งแต่ต่อมาความเพลิดเพลินก็ค่อยหายไป รู้สึกเหนื่อยและเบื่อ ก็กลับอยากเป็นผู้ฟังบ้าง เพราะเมื่อฟังธรรมจากครูอาจารย์นั้น มันเข้าใจง่ายและมีกำลังใจ แต่เมื่อเราแก่ขึ้น มีความหิวกระหายในธรรมะรสชาติของมันก็ยิ่งเอร็ดอร่อยมากขึ้น

    การเป็นครูอาจารย์ของผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นตัวอย่างแก่พระภิกษุอื่นๆ เป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ เป็นตัวอย่างแก่ทุกคนฉะนั้นอย่าลืมตนเองแล้วก็อย่าคิดถึงตนเอง ถ้าความคิดอย่างนั้นเกิดขึ้น รีบกำจัดมันเเสีย ถ้าทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นผู้ที่รู้จักตัวเอง

    ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

    วิธีปฏิบัติธรรมมีมากมายเป็นล้านๆวิธี พูดเรื่องการภาวนาไม่มีที่จบ สิ่งที่จะทำให้เกิดความสงสัยมีมากมายหลายอย่าง แต่ให้กวาดมันออกไปเรื่อยๆ แล้วจะไม่เหลือความสงสัย เมื่อเรามีความเข้าใจถูกต้องเช่นนี้ ไม่ว่าจะนั่งหรือจะเดิน ก็มีแต่ความสงบ ความสบายไม่ว่าจะปฏิบัติภาวนาที่ไหน ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม อย่าถือว่าจะปฏิบัติภาวนาแต่เฉพาะขณะนั่งหรือเดินเท่านั้น ทุกสิ่งทุกอย่างทุกหนทุกแห่งเป็นการปฏิบัติได้ทั้งนั้น

    ให้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา ให้มีสติอยู่ ให้เห็นการเกิดดับของกายและใจ แต่อย่าให้มันมาทำใจให้วุ่นวาย ให้ปล่อยวางมันไป ความรักเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป มันมาจากไหนก็ให้มันกลับไปที่นั่น ความโลภเกิดขึ้นก็ปล่อยมันไป ตามมันไป ตามดูว่ามันอยู่ที่ไหนแล้วตามไปส่งมันให้ถึงที่ อย่าเก็บมันไว้สักอย่าง

    ฝึกใจได้ใจจักปราศจากกิเลส

    ถ้าท่านปฏิบัติได้อย่างนี้ ท่านก็จะเหมือนกับบ้านว่าง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ นี่คือใจว่าง เป็นใจที่ว่างและอิสระจากกิเลส ความชั่วทั้งหลาย เราเรียกว่าใจว่าง แต่ไม่ใช่ว่างเหมือนว่าไม่มีอะไร มันว่างจากกิเลส แต่เต็มไปด้วยความฉลาด ด้วยปัญญา ฉะนั้นไม่ว่าจะทำอะไร ก็ทำด้วยปัญญา คิดด้วยปัญญา จะมีแต่ปัญญาเท่านั้น

    นี่เป็นคำสอนที่ผมขอมอบให้ในวันนี้ ถ้าการฟังธรรมทำให้ใจท่านสงบ ก็ดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องจดจำอะไร บางท่านอาจจะไม่เชื่อ ถ้าเราทำใจให้สงบ ฟังแล้วก็ไม่ให้ผ่านไป แต่นำมาพิจารณาอยู่เรื่อยๆอย่างนี้ เราก็เหมือนเครื่องบันทึกเสียง เมื่อเรา "เปิด" มัน มันก็อยู่ตรงนั้น อย่ากลัวว่าจะไม่มีอะไร เมื่อใดที่ท่านเปิดเครื่องบันทึกเสียงของท่าน ทุกอย่างก็อยู่ในนั้น

    ขอมอบธรรมะนี้ต่อพระภิกษุทุกรูปและต่อทุกคน บางท่านอาจจะรู้ภาษาไทยเพียงเล็กน้อย แต่ก็ไม่เป็นไร ให้ท่านเรียนภาษาธรรมเถิด เท่านี้ก็ดีเพียงพอแล้ว


    ที่มา: ????????????
     
  9. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    วัดหนองป่าพง



    ต.โนนผึ้ง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี




    บัดนี้ เป็นโอกาสที่พวกเราทั้งหลายจะได้มีการอบรมธรรมปฏิบัติกัน พระบรมศาสดาท่านกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ว่า บุคคลที่ยังไม่ได้รับการอบรมปฏิบัติก็จะไม่เข้าใจในธรรม ไม่เข้าใจในธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ หรือในสัญชาตญาณที่คู่กับเรามาแต่เกิด ธรรมชาติอันนี้ หรือสัญชาตญาณอันนี้มันเกี่ยวข้องกันกับชีวิตของเราตลอดเวลา เราจะเรียกว่าของที่มันเป็นอยู่ก็ได้ เรียกว่าสัญชาตญาณก็ได้ มันมีความเฉลียวฉลาดอยู่ในนั้น ซึ่งช่วยป้องกันรักษาตัวมันเองมาตลอด สัตว์ทุกจำพวกเมื่อเกิดมามันต้องรักษามันแหละ การรักษาตัว ปกป้องชีวิต ป้องกันอันตรายทั้งหลาย แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิต นี้เหมือนกันหมด เช่น สัตว์ดิรัจฉาน มันก็กลัวอันตรายแสวงหาความสุข เหมือนกันกับสัญชาตญาณมนุษย์เรา อันนี้ท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ จะมารักษาตัวมันตลอดเวลา ธรรมชาตินั่นเอง ธรรมชาติเรื่องกายหรือเรื่องจิตใจ

    เราจะต้องมารับการอบรมใหม่ เปลี่ยนใหม่

    ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้อบรมบ่มนิสัย ก็คือยังเป็นของที่ไม่สะอาด ยังเป็นของที่สกปรก เป็นจิตใจที่เศร้าหมอง เหมือนกันกับต้นไม้ในป่า ซึ่งมันเกิดมามันก็เป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่ามนุษย์เราต้องการจะเอามาทำประโยชน์ดีกว่านั้น ก็ต้องมาดัดแปลง สะสาง ธรรมชาติอันนี้ให้เป็นของที่ใช้ได้ เช่น โต๊ะนี้ หรือบ้านเรือนของเรานั้น เกิดจากเราสามารถเอาธรรมชาติมาทำเป็นที่อยู่ที่อาศัยเปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอันนั้นมา มนุษยชาตินี้ก็เหมือนกันต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่ ในทางพุทธศาสนาเรียกว่าพุทธศาสตร์

    พุทธศาสตร์ คือความรู้ในทางพุทธศาสนา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของพวกเราทั้งหลาย ซึ่งมันติดแน่นอยู่ในอันใดอันหนึ่ง เช่น เราเกิดมามีชื่อเสียงเรียงนามมาตั้งแต่วันเกิด เช่นว่า เรียกว่าตน ตัวเรา ของเรา นี้สมมุติกันขึ้นมาว่าร่างกายของเรา จิตใจของเรา ซึ่งสมมุติชื่อขึ้นมาจากธรรมชาตินั่นเอง พวกเราทั้งหลายก็ติดแน่นอยู่ในตัวเรา หรือในของของเรา เป็นอุปาทานโดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นอย่างนี้ ในทางพุทธศาสนานั้นท่านสอนให้รู้ยิ่งเข้าไปกว่านั้นอีก ทำจิตใจให้สงบให้รู้ยิ่งเข้าไป ยิ่งกว่าธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ จนเป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนอันนี้ พูดตามชาวโลกเราว่าตัวว่าตน ว่าเราว่าเขา ทางพุทธศาสนานั้นท่านเรียกว่าตัวตนเราเขาไม่มี นี่คือมันแย้งกัน มันแย้งกันอยู่อย่างนี้ ตัวเราหรือของเราซึ่งพวกเราเข้าใจกันตั้งแต่เราเกิดมาจนรู้เดียงสา จนเกิดเป็นอุปาทานมาตลอดจนทุกวันนี้ อันนี้ก็เป็นเครื่องปกปิดธรรมอันแท้จริง อันพวกเราทั้งหลายไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาท่านจึงให้มาอบรม

    การอบรมในทางพุทธศาสนานั้น เบื้องแรกท่านว่า ให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตามบัญญัติท่านเรียกว่าให้พากันรักษาศีลเป็นเบื้องแรกเสียก่อน นี่ข้อประพฤติปฏิบัติจนเป็นเหตุไม่ให้เกิดโทษไม่ให้เกิดทุกข์ทางกายและทางวาจาของเรา อย่างที่เราทั้งหลายอบรมกันอยู่ ให้อายและกลัว ทั้งอายทั้งกลัว อายต่อความชั่วทั้งหลายอายต่อความผิดทั้งหลาย อายต่อการกระทำบาปทั้งหลาย รักษาตัวกลัวบาป เมื่อจิตใจของเราพ้นจากความชั่วทั้งหลาย พ้นจากความผิดทั้งหลาย ใจเราก็เยือกเย็น ใจเราก็สบาย ความสบายหรือความสงบอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติซึ่งไม่มีโทษ นั่นก็เป็นสมาธิขั้นหนึ่ง

    ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสว่า "สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธานสาสนํ" ท่านว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา

    สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทางกาย ทางวาจา คือการไม่ทำผิดทำชั่ว ทางกาย ทางวาจา อันนี้เป็นตัวศาสนา เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ เอตํ พุทธานสาสนํ

    กุสลสฺสูปสมฺปทา เมื่อมาทำจิตของตนให้สงบระงับจากบาปแล้ว ก็เป็นจิตที่มีกุศลเกิดขึ้นมา เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้ก็เป็นคำสอนของท่านหรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเหมือนกัน

    สจิตฺตปริโยทปนํ การมาทำจิตใจของตนให้ผ่องใสขาวสะอาด เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง

    ทั้งสามประการนี้เป็นหัวใจพุทธศาสนา ก็ประพฤติปฏิบัติอันนี้ ซึ่งมันมีอยู่ในตัวเราแล้ว กายก็มีอยู่ วาจาก็มีอยู่ จิตใจก็มีอยู่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณาตัว ในตัว ในของตัว ซึ่งมันมีอยู่ ของทั้งหมดที่เราศึกษาเราเรียนกันนั้นมันจะมารู้ความเป็นจริงอยู่ที่ตัวของเรา ไม่ไปรู้อยู่ที่อื่น

    เบื้องแรกก็รู้จากการได้ฟังที่เรียกว่า สุตมยปัญญา การได้ฟังการได้ยินอันนี้ก็เป็นเหตุให้รู้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญา เช่นว่า สมมติว่าวันนี้เราเพิ่งได้ยินว่าสีขาว แต่ก่อนนี้เราไม่เคยได้ยิน ทีนี้เมื่อเรารู้ว่า สีขาวมันเป็นเช่นนี้ เราก็คิดไปอีก สีอื่นจะไม่มีหรือ หรือสีขาวจะแปรเป็นสีอื่นจะได้หรือไม่ เป็นต้น นี่เรียกว่า จินตามยปัญญา หรือว่าเราคิดไป ก็ไปคิดลองดูเอาสีดำมาปนในสีขาว มันก็เกิดเป็นสีอื่นขึ้นมาอีก เป็นสีเทาอย่างนี้เป็นต้น การที่เราจะได้รู้จักสีเทาต่อไปนั้น ก็เพราะว่าเราคิด ปัญญาเกิดจากการคิด การวิพากษ์วิจารณ์ เราเลยรู้สูงขึ้นไปกว่าสีขาว รู้สีเทาเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดจากสิ่งทั้งสองนี้

    นี้เป็นปัญญาที่เป็นโลกียวิสัย ซึ่งชาวโลกพากันเรียนอยู่ทั้งเมืองไทย จะไปเรียนนอกมาก็ตาม มันก็คงอยู่ในสุตมยปัญญาจินตามยปัญญาเท่านี้ อันนี้เป็นโลกียวิสัย พ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นทุกข์ได้ยาก หรือพ้นไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเมื่อรู้สีขาว สีเทาแล้วก็ไปยึดมั่น (อุปาทาน) ในสีขาว สีเทาอันนั้น แล้วจะปล่อยวางไม่ได้เช่นว่า เราเกิดอารมณ์ขึ้นมา ได้ยินเขาว่าเราไม่ดี เรียกว่านินทา อดเสียใจไม่ได้ อดน้อยใจไม่ได้ เข้าไปยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในอารมณ์อันนั้น เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะ อุปาทาน นี้เรียกว่าการรู้หรือการเห็นจากการได้ฟัง มันจะพ้นทุกข์ไม่ได้ หรือว่าเขาสรรเสริญเรา มันอดดีใจไม่ได้ แล้วก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้นอีก ไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็ทุกข์อีก สุขแล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็สุข ดีแล้วก็ชั่ว ชั่วแล้วก็ดี เป็นตัววัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปไม่จบ อันนี้เป็นโลกียวิสัยเช่นที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้แหละ พวกเราทั้งหลายก็เคยรู้เคยเห็น วิชาในโลกอันนี้เราเคยรู้เคยเห็น จะเรียนไปถึงที่สุด อะไรที่ไหนก็ตาม มันก็ยังทุกข์ เอาทุกข์ออกจากตัวไม่ได้ นั่นเป็นปัญญาโลกีย์ ละทุกข์ไม่ได้ ไม่พ้นจากทุกข์ ความร่ำรวยเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีที่อยู่ในโลกนี้ มันก็ไม่พ้นจากความทุกข์ เพราะมันเป็นโลกียวิสัย ปัญญาทั้งสองประการนี้ท่านยกให้โลกปกครองกันอยู่ในโลก วุ่นวายกันอยู่ในโลก ไม่มีทางจบ ถึงแม้จะจนมันก็ทุกข์ ถึงแม้จะรวยแล้วมันก็ยังทุกข์อยู่อีก ไม่พ้นไปจากทุกข์

    ปัญญาโลกุตตระที่จะเกิดขึ้นมาต่อไป เป็นความรู้ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นโลกุตตระ พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏสงสาร อันนี้ท่านพูดถึงการอบรมจิตใจ (ภาวนา) ไม่ต้องอาศัยการฟัง ไม่ต้องอาศัยการคิด ถึงฟังมาแล้วก็ดี ถึงคิดมาแล้วก็ดี เมื่อภาวนาทิ้งมัน ทิ้งการฟังไว้ ทิ้งการคิดเสีย เก็บไว้ในตู้ แต่มาทำจิต (ภาวนา) อย่างที่พวกเรามาฝึกกันอยู่ทุกวันนี้ หรือเรียกว่าทำกรรมฐานที่โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแยกประเภทส่วนแห่งการกระทำ แยกข้อประพฤติปฏิบัติ เรียกว่า สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน

    สมถวิปัสสนาเป็นแนวทางที่ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรจิต ให้พ้นจากวัฏฏสงสารเช่นว่า เรานั่ง ไม่ต้องฟังและไม่ต้องคิด ตัดการฟัง ตัดการคิดออก และยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นพิจารณา เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือเรายกอานาปานสติ คือ หายใจเข้านึกว่า "พุท" หายใจออกนึกว่า "โธ" ในเวลาที่เราทำกรรมฐานอยู่นั้น ในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้น ท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่น ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียว ออกไปแล้วเข้ามา เข้ามาแล้วก็ออกไป ไม่ต้องอยากรู้อะไรมาก ไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไป ให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออก เรียกว่าการกำหนดลม เป็น "อานาปานสติ"

    การกำหนดลมนี้บางคนกำหนดไม่ได้ การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่ หายใจเข้า ยาว หายใจออก สั้น เท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณ เป็นประมาณที่ว่า มันสบายอย่างไร หายใจแรงหรือมันค่อย หรือมันยาว หรือมันสั้น เราจะต้องทดลองหายใจดู มันถูกจริตที่ตรงไหน มันสบายอย่างไร ลมไม่ขัดข้อง จะกำหนดลมก็สบาย สะดวก ตัวอย่างเช่น เราฝึกเย็บผ้าด้วยจักร เราก็ควรเอาจักรมาลองเอาเท้าเราถีบจักรเข้า ถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้า ให้มันชำนาญเสียก่อน เมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่ เย็บไปพิจารณาไป การกำหนดลมหายใจนี้เหมือนกัน ก็หายใจเบาๆ เสียก่อน ไม่ต้องกำหนดอะไร มันยาว มันสั้น มันหยาบ มันละเอียด มันสบายอย่างไร อันนั้นเป็นจริตของเรา ความพอดีของมันนั้น ไม่ยาว ไม่สั้น พอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณ นี้เรียกว่าให้กรรมฐานถูกจริต แล้วค่อยๆ ปล่อยลมออกไป แล้วก็สูดลมเข้ามา เราจะกำหนดว่า เมื่อลมเข้ามา ต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่สะดือ เมื่อเราหายใจออก ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก ให้เรากำหนดอย่างนี้เสียก่อน แล้วก็สูดลมเข้า ผ่านปลายจมูก หทัย สะดือ เมื่อออกตั้งต้นสะดือ หทัย ปลายจมูก เป็นต้น ทำอยู่แต่อย่างนี้แหละไม่ต้องสนใจอื่น

    เมื่อเวลาเราทำ (สมถ) กรรมฐาน คือกำหนดลม ไม่ต้องพิจารณาอะไร เอาสติประคองจิตของเรา ให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้น ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่น ลมก็สบายไม่ขัดข้องลมเข้าก็สบาย ลมออกก็สบาย เอาความรู้สึกที่เรียกว่า สติ สติตามลมส่วนสัมปชัญญะก็รู้อยู่ว่าสติเราตามลม ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้น มีสติแล้วก็มีลม มีสติตามลม เราจะมองดูในที่อันนั้น เราจะรู้ลม เห็นลม ว่ามันยาวสั้นประการใด เห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลม แล้วก็เห็นจิตของเราตามลม เห็นทั้งลม เห็นทั้งสติ เห็นทั้งจิต ๓ ประการรวมกัน หายใจเข้าก็รวม หายใจออกก็รวม รู้สึกอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดี จะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่ต้องคิดเรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบาย เมื่อหากว่าจิตของเรากำหนดอารมณ์กับลมหายใจถูกแล้ว มันจะไม่ขัดข้อง ลมก็ไม่ขัดข้อง ผู้รู้ก็ไม่ขัดข้องทุกอย่างทุกส่วนไม่ขัดข้อง เราเพียงแต่รู้อันเดียวเท่านั้นแหละ คือรู้แต่เพียงลมหายใจเข้าออก คือกำหนดรู้ว่า ต้นลมคือจมูก กลางลมคือหทัยปลายลมคือสะดือ เมื่อลมมันถอนออกมา ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก ๓ ประการนี้ เรานั่งพิจารณากำหนดรู้อยู่เช่นนั้น ให้มันรู้ทั้ง ๓ นี้เสมอ เรียกว่าเรามีสติเต็มที่ของเรา มีผู้รู้ควบคุมสติอันนั้นอยู่เต็มที่ เช่นนี้เรียกว่าเราทำ (สมถ) กรรมฐาน จนกว่าจิตเรามันสงบ

    เมื่อจิตเราสงบ กายมันก็เบา ใจมันก็เบา ลมมันก็ละเอียด เมื่อเรามีลมอันละเอียดแล้ว ก็ไม่ต้องตามลม เพราะการตามลมเข้าไป มันเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อไม่อยากจะตามเสียแล้ว เอาสติกำหนดที่ปลายจมูกของเรานี้ พอแต่รู้ว่ามันเข้า พอแต่รู้ว่ามันออก เท่านี้ก็พอแล้ว จิตสบาย กายก็เบา ใจสงบ ลมก็ละเอียด อันนี้จิตเป็นสมาธิ รู้ตามลมอย่างเดียว เมื่อมันละเอียดเต็มที่เข้าไปนั้น มันจะเกิดความละเอียดขึ้นมาในใจของเราอีก ลมที่เรากำหนดอยู่นี้มันจะหายไป มันจะไม่มีลม ที่จริงมันมีอยู่หรอกแต่มันละเอียดที่สุดจนกำหนดไม่ได้ ก็เลยเกิดเป็นคนไม่มีลม นั่งเฉยๆ อยู่นึกว่าไม่มีลม ตอนนี้พระโยคาวจรเจ้ามักจะตกใจ กลัวว่าเราไม่มีลม กลัวว่าเราจะเป็นอะไรไป ถ้าลมไม่มีแล้วจะเอาอะไรเป็นอารมณ์ต่อไปอีก เราจะต้องเอาความรู้สึกว่าลมไม่มีนั่นแหละเป็นอารมณ์ต่อไป ไม่เป็นโทษ ไม่เป็นอันตราย เราทำจิตของเราให้รู้ว่าไม่มีลมเข้าไป ถึงกาลถึงเวลาแล้วเป็นเอง อันนี้ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องสะดุ้ง จะเป็นไปอย่างไรก็ตาม ก็รู้ รู้ใจของเราที่มันเป็นอย่างไร กำหนดจิตเข้าไปว่ารู้อย่างไร จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อันนี้เป็นอารมณ์ของการกระทำจิตให้สงบ (สมถะ) เบื้องแรก

    พูดถึงความสงบ (สมถะ) พอมันสงบแล้วก็มีส่วนที่มันไม่สงบมาปะปนเข้า เช่นว่า เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง ๑๐ วัน ๕ วันโดยมากมันก็ยังไม่สงบ ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน เรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก บางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละ บางคนก็จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา เรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเอง ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆแล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิต แต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริงเรียกอาการของจิต มันมีตลอดเวลา ถ้าหากว่าคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่ง จิตเราไม่สงบ อันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจ เรื่องของจิตนั้นนะ มันเป็นเรื่องของอาการของมัน แต่ที่สำคัญคือ มันรู้ รู้ดีมันก็รู้ รู้ชั่วมันก็รู้รู้สงบมันก็รู้ รู้ไม่สงบมันก็รู้ อันนี้คือตัวรู้ พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา

    จิตนั้นคืออะไร จิตนั้นอยู่ที่ไหน ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เราก็คงรู้ตัวของเรา ความรู้ที่มันรู้นี่มันรู้อยู่ที่ไหน จิตนี้ก็เหมือนกัน จิตนี้คืออะไรมันเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่ อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละ มันมีความรู้อยู่ ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหน ในจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ทั้งความรู้ก็ดี ทั้งจิตก็ดี เป็นแต่ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกดีชั่ว เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก รู้สึกดีหรือชั่ว รู้สึกผิดหรือถูก คนที่รู้สึกนั่นแหละเป็นคนรู้สึก ตัวรู้สึกมันคืออะไร มันก็ไม่คืออะไร ถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ามันรู้สึกผิดไปก็ไปทำผิด มันรู้สึกถูกก็ไปทำถูก ฉะนั้นท่านจึงให้เกิดความรู้สึกขึ้นมา เรื่องจิตของเรานั้นมันเป็นอาการของจิต เรื่องมันคิดมันคิดไปทั่ว แต่ผู้รู้คือปัญญาของเราตามรู้ ตามรู้อันนั้นตามเป็นจริง

    ถ้าเราเห็นอารมณ์ตามเป็นจริงของเราแล้ว มันก็เปลี่ยนไปอีกประเภทหนึ่ง (วิปัสสนากรรมฐาน) เช่นว่า เราได้ยินว่ารถทับคนตายเป็นต้น เราก็เฉยๆ ความรู้ชนิดนี้มันก็มี แต่มันรู้ไม่เห็น รู้ไม่จริง รู้ด้วยสัญญา (ความจำ) ขนาดนี้มันรู้อย่างนี้ ทีนี้ถ้าหากว่าเดินไปดูซิรถมันทับคนตายที่ไหน ไปเห็นร่างกายคนนั้นมันเละหมดแล้ว อันความรู้ครั้งที่สองนี้มันดีขึ้นเพราะมันไปเห็น เห็นอวัยวะที่ถูกรถทับ มันเกิดสลดเกิดสังเวช ความรู้ที่เห็นด้วยตามันมีราคายิ่งกว่าเขาว่า เมื่อเราไปเห็นทุกสิ่งอันนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่แน่ไม่นอน ในร่างกายเรานี้ไม่เป็นแก่นเป็นสาร ไม่สดไม่สวย ความรู้สึกนึกคิดมันค้นในเวลานั้นมันก็เกิดปัญญา (วิปัสสนา) เป็นเหตุให้ถอนอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ออกได้ เรียกว่าความรู้สึกอันนี้มันสูงขึ้น สูงขึ้นๆ ต้องพิจารณาเช่นนี้

    การทำกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก บางคนก็ไม่เคยทำเมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ มันก็เลยนึกว่า เราทำไม่ได้เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง เราเคยทำความสงบหรือเปล่า เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบ อย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี เป็นเรื่องของธรรมดา เป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติ

    ให้เห็นกาย ให้เห็นใจ เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่น ความที่เรายึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แต่ก่อนๆมันจึงจะผ่อนออก เห็นตามความเป็นจริงของมัน อุปาทานมั่นหมายในความดีความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออก คลายออก เห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอน" ที่มันเกิดมีในจิตของเราทุกวันนี้นั้น ลองดูซิ ความรักมันแน่ไหม ความเกลียดมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความสุขมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความทุกข์มันแน่ไหม มันก็ไม่แน่.อันไม่แน่นั้นเรียกว่าของไม่จริงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่ออันนี้มันไม่จริง ของจริงมันอยู่ที่ไหน ของจริงอยู่ที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น มันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้นเป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น มันจริงแต่สักว่ามันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้คือความจริง ความจริงอยู่ตรงที่มันไม่จริง อันความเที่ยงอยู่ตรงที่มันไม่เที่ยง..เหมือนกันกับของสกปรกมันเกิดมีขึ้น ความสะอาดอยู่ตรงไหน มันอยู่ตรงที่สกปรกนั่นแหละ เอาสกปรกออกก็เห็นความสะอาดฉันใด จิตใจของเรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น

    การประพฤติปฏิบัตินี้ บางคนปัญญามันน้อย บางคนปัญญามันมาก ไม่ทันกัน ไม่เห็นเหมือนกัน อย่างเราจะไปพบวัตถุอันหนึ่ง ๒ คนหรือ ๓ คนไปพบแก้วใบหนึ่ง บางคนก็เห็นว่ามันสวย บางคนจะเห็นว่ามันไม่สวย บางคนจะเห็นว่ามันโตไป บางคนจะเห็นว่ามันเล็กไป นี่ทั้งๆ ที่แก้วใบเดียวกันนั่นเอง ทำไมไม่เหมือนกัน แก้วใบนั้นมันเหมือนของมันอยู่ แต่ความเห็นของเรามันไม่เหมือนกัน มันเป็นเช่นนี้ ฉะนั้นมันจึงไม่เหมือนกันอยู่ที่ตรงนี้ การประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านสอน. อย่าให้มันช้า อย่าให้มันเร็ว ทำจิตใจให้พอดี การประพฤติปฏิบัตินี่ไม่ต้องเดือดร้อน ถ้ามันเดือดร้อนเราก็ต้องพิจารณา เช่นว่าเราจะปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งขึ้นมา ต้นไม้ที่จะปลูกนั้นก็มีอยู่ ก็ขุดหลุม ก็ปลูก เอาต้นไม้มาวางลงหลุมนั้นก็เป็นหน้าที่ของเรา จะมูนดิน จะให้ปุ๋ย จะให้น้ำ จะรักษาแมลงต่างๆ ก็เป็นเรื่องของเรา เป็นหน้าที่ของเรา คนจะทำสวนต้องทำอย่างนี้ ทีนี้เรื่องต้นไม้มันจะโตเร็วโตช้าของมันนั้นน่ะ มันไม่ใช่เรื่องของเรา มันเป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเราไม่รู้จักหน้าที่การงานของตัวแล้ว มันก็ไปทำงานหน้าที่ของต้นไม้ มันก็ทุกข์ ไม่ทำงานหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราก็ให้ปุ๋ยมันไป ให้น้ำมันไป รักษาแมลงไม้ไป เท่านี้ ส่วนต้นไม้จะโตเร็วโตช้า เป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเรารู้จักหน้าที่การงานของเราเช่นนี้ ภาวนา (ฝึกจิต) ก็สบาย ถ้าเราคิดเช่นนี้การปฏิบัติของเราก็สบาย ง่าย สะดวก ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย

    นั่งมันสงบก็ดูความสงบไป ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป ที่มันสงบนั้น มันก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็นอย่างนั้น ที่มันไม่สงบ มันก็เป็นเรื่องของมันอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น มันสงบแล้ว มันก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้ เราจะไปดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก เราจะไปเสียใจเพราะจิตมันไม่สงบก็ไม่ถูกเหมือนกัน เราจะไปทุกข์กับต้นไม้ได้หรือ ไปทุกข์กับแดดได้หรือ ไปทุกข์กับฝนได้หรือ ไปทุกข์กับอย่างอื่นได้หรือ มันเป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น ถ้าเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว การภาวนาของพระโยคาวจรนั้นก็สบายแล้ว เดินทางเรื่อยๆไป ปฏิบัติไป ทำธุระหน้าที่ของเราไป เวลาพอสมควรเราก็ทำของเราไป ส่วนมันจะได้จะถึงหรือมันสงบนั้น ก็เป็นวาสนาบารมีของเรา เหมือนกับชาวสวนปลูกต้นไม้ หน้าที่ของเราใส่ปุ๋ยก็ใส่มันไป รดน้ำก็รดมันไป รักษาแมลงก็รักษามันไป เรื่องต้นไม้จะโตเร็วโตช้าไม่ใช่เรื่องของเรา เป็นเรื่องของต้นไม้ ละปล่อยทั้งสองอย่างนี้ รู้จักหน้าที่ของเรา รู้จักหน้าที่ของต้นไม้ มันถึงเป็นชาวสวนที่มีความสดชื่นดีฉันใด ผู้มีปัญญา ผู้ที่ภาวนาในพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พอจิตคิดเช่นนี้ ความพอดีมันตั้งขึ้นมาเอง พอความพอดีมันตั้งขึ้นมาก็เลยเป็นปฏิปทา ปฏิปทาที่พอดีเกิดขึ้นมา ความเหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมา อารมณ์เหมาะสมมันเกิดขึ้นมา ความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว เป็นสัมมาปฏิปทาปฏิบัติไม่หย่อน ปฏิบัติไม่ตึง ปฏิบัติไม่เร็ว ปฏิบัติไม่ช้า จิตใจปล่อยไปตามสภาวะของมัน อันนั้นคือภาวนาสงบแล้ว สบายแล้ว

    ความรู้สึกนึกคิดของเราไปมีอุปาทานมั่นหมายมันขึ้นเมื่อไร มันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ ท่านจึงให้ปล่อยวางเช่นว่า เราอยู่ด้วยกันหลายๆคนนี้นะ ต่างบ้านต่างตระกูล ต่างตำบล ต่างจังหวัด ที่มารวมๆกันนี้ ถ้าเรารู้คนในนี้ ในศาลานี้ให้สบายแล้ว ภาวนาเราก็สบาย เรื่องคนนี้ก็ให้คนนี้ เรื่องคนนั้นก็ให้คนนั้น ให้คนละคนละคนเรื่อยๆไป เราก็สบาย เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างก็ปล่อยไป ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องคนอื่น ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องนอกกายนอกใจเราแล้ว มันก็เกิดความสงบ เกิดความสบายขึ้นมา เพราะความรู้ตามเป็นจริงเกิดขึ้นมา

    เราต้องการธรรมไปทำไม ต้องการธรรมไปเพื่อรู้ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ถึงแม้มันจะจน ถึงแม้มันจะรวย ถึงแม้มันจะเป็นโรค ถึงแม้มันจะปราศจากโรค จิตใจก็อยู่อย่างนั้นเอง เช่นว่าวันหนึ่งตัวเรามันไม่สบายขึ้นมา จะเห็นชัดในจิตของเราว่า มันก็นึกกลัวตายกลัวมันจะไม่หาย ใจก็ไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว ความไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว คือไม่อยากจะตาย อยากให้มันหาย อันนี้เห็นแง่เดียว ตามธรรมชาติของมันแล้ว ถ้ามันเกิดป่วยขึ้นมา เกิดอาพาธขึ้นมาเราก็รู้ว่าเป็นก็เป็น ตายก็ตาย หายก็หาย ไม่หายก็ไม่หาย ถ้าเราคิดได้เช่นนี้มันเป็นธรรม เอาทั้งสองอย่างนั่นแหละ หายก็เอามัน ไม่หายก็เอามัน เป็นก็เอามัน ตายก็เอามัน อันนี้ถูก แต่ว่ามันจะมีสักกี่คน นั่งฟังธรรมอยู่นี่มีกี่คนป่วยมาแล้ว ตายก็ตาย หายก็หาย มีกี่คนก็ไม่รู้ ที่มันอยากจะหาย ไม่อยากจะตาย อันนี้มันคิดผิด เพราะมันกลัว เพราะมันไม่เห็นธรรม มันจึงทุกข์ ถ้าเห็นสังขารร่างกายแล้ว ไม่ว่ามันละ หายก็หาย ตายก็ตาย เอาทั้งสองอย่าง ไม่เอามันก็ต้องได้อะไรสักอย่างจนได้

    เมื่อเรารู้จักธรรมเช่นนี้ รู้จักสังขารเช่นนี้ เราก็พิจารณาตามสังขารว่ามันเป็นอย่างนั้น นี่กรรมฐานมันตั้งขึ้นมาแล้ว มันพ้นทุกข์อย่างนี้เอง ไม่ใช่ว่ามันไม่ตาย ไม่ใช่ว่ามันไม่เจ็บ ไม่ใช่ว่ามันไม่ไข้ อันเรื่องเจ็บเรื่องไข้มันเรื่องของสังขาร เป็นไปตามเรื่องของมัน ถึงคราวมันจะตาย ไม่อยากตายเท่าไร มันก็ตาย ถึงคราวมันจะหาย ไม่อยากจะให้หาย มันก็หาย อันนี้มันไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราแล้ว มันเป็นธุระหน้าที่ของสังขาร ถ้าเราภาวนาเห็นเช่นนี้ จิตมีอารมณ์เห็นเช่นนี้ทุกขณะ จิตก็ปล่อยวางสบาย

    การภาวนานั้นไม่ใช่ว่านั่งหลับตาภาวนาอย่างเดียว การภาวนานั้นตลอดเวลา การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้มีสติประคับประคองอยู่เสมอเลยทีเดียว

    บัดนี้มีความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ทวนดูซิ อันนี้มันก็ไม่แน่นอนหรอก เรื่องมันไม่จริงทั้งนั้นน่ะ เราต้องเตือนอยู่เช่นนี้ เมื่อมันมีสุขเกิดขึ้นมาแล้ว สุขนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนั่นแหละ เคยสุขมาแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็ทุกข์ เดี๋ยวมันก็สุข เป็นของไม่แน่นอนทั้งนั้น ถ้าเราเห็นอารมณ์เมื่อใด ถูกอารมณ์ขึ้นมาเมื่อใด มันจะดีใจ เราก็ต้องบอกมัน เตือนมัน ว่าความดีใจมันก็ไม่แน่นอนหรอก เป็นแต่ความไม่จริงทั้งนั้นแหละ มันหลอกลวงทั้งนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ว่ามันไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่หลอกลวงทั้งนั้นแหละ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ ความเป็นจริงแล้ว ความสุขหรือความทุกข์นั้นไม่มี มันมีแต่ความรู้สึก รู้สึกว่าสุข รู้สึกว่าทุกข์ ถ้ามีความชอบใจก็รู้สึกว่าสุข ไม่ชอบใจก็รู้สึกว่าทุกข์ ตัวสุขตัวทุกข์จริงๆมันไม่มี มันเป็นแต่เพียงแต่ความรู้สึก ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ เราก็เห็นของปลอมตลอดเวลา รู้จักอารมณ์ อารมณ์อันนี้ก็ไม่ต้องว่าไปสอบอารมณ์ การภาวนาไม่ต้องไปสอบอารมณ์เมื่อเรามีสติตลอดเวลาทุกวันทุกนาที มันจะรู้จักอารมณ์ เมื่อเราทำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้ว มันจะเห็นสุขหรือทุกข์ ชอบไม่ชอบ จะเห็นอยู่ตลอดเวลา มันจะทวนลงไปทีเดียวว่ามันไม่แน่ สุขเกิดขึ้นมาอันนี้ก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน อย่าไปหมายมั่นมันเลย ทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลยว่า อันนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนะ มันแน่อยู่ตรงไหนเล่า มันแน่อยู่ตรงที่มันไม่แน่ มันเป็นอยู่อย่างนั้นเอง อันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์และอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีกำลัง เสื่อม เมื่อสิ่งทั้งหลายนี้มันเสื่อมไป อุปาทาน (ความยึดมั่น) ของเราก็น้อย ก็ปล่อยวางนี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ เรื่องของธรรมดาเช่นนี้

    ฉะนั้นจิตใจของเรา มันจะได้มาก็เป็นเรื่องธรรมดาของมัน มันจะเสียหายไปก็เป็นเรื่องของมัน มันจะสุขก็เป็นเรื่องของมัน มันจะทุกข์ก็เป็นเรื่องของมัน เรื่องของสังขารมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นสักแต่ว่าเรารู้สึกเท่านั้น อื่นนั้นก็ไม่มี ฉะนั้นท่านจึงสอนให้โอปนยิโก คือให้น้อมเข้ามาใส่ตัว อย่าน้อมออกไป น้อมเข้ามา ให้เห็นด้วยตัวของเรานี้ ทางที่ดีสำหรับคนที่อ่านที่ศึกษามามากแล้ว จะมาอยู่มาภาวนาเพียงสองสัปดาห์เท่านี้น่ะ อาตมาเห็นว่าไม่ต้องดูต้องอ่าน หนังสือเอาเข้าตู้เสีย ถึงเวลาเราทำกรรมฐาน นั่งสมาธิของเรา เราก็ทำไป อานาปานสติทำไปเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม เราก็เดิน ให้รู้จิตของเราเท่านั้นแหละ รักษาจิตของเรา บางทีความหวาด ความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก อันนี้เป็นของไม่แน่นอน เรื่องความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จะจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา (ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมดเกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ จะดีหรือชั่ว จะถูกหรือผิด รับรู้มันไว้ อย่าไปหมายมั่นมัน เออ...ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ สุขมันก็เท่านั้นแหละ มันเป็นของหลอกลวงทั้งนั้นแหละ เรายืนตัวอยู่เช่นนี้เลย ยืนตัวอยู่เสมอเช่นนี้ ไม่วิ่งไปกับมัน ไม่วิ่งกับสุข ไม่วิ่งกับทุกข์ รู้อยู่ รู้แล้วก็วาง อันนี้ปัญญาจะเกิด ทวนจิตเข้าไปเรื่อยๆ

    เวลาเรามีไม่มาก เรามาฝึกจิตก็ต้องดูจิต ดูอาการของจิต ลองดูจิต ให้เห็นจิตเรา อย่าไปยึดมั่นถือมั่น ถือมั่นก็เห็นสุขเป็นของจริง สุขเป็นเรา สุขเป็นของเรา ทุกข์เป็นเรา ทุกข์เป็นของเรา มันคิดเช่นนี้ แต่ความเป็นจริงนี้ สุขสักแต่ว่าสุข ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ทุกข์นี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ตัวคนที่รู้ทุกข์หรือสุขนี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ถ้าเราเห็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรจะเกาะ เกิดสุขขึ้นมา สุขก็เกาะเราไม่ได้ เกิดทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ก็เกาะเราไม่ได้ ทำไมไม่ได้ เพราะว่ามันไม่แน่ เป็นของปลอมทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอนถ้าเราคิดเช่นนี้ จะภาวนาได้เร็ว จะยืนจะเดิน จะนั่งจะนอนจะไปจะมา ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ ให้รู้มีอารมณ์มันเข้ามา ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส อะไรต่างๆนี้ มันจะเกิดความชอบไม่ชอบขึ้นมาทันที มันจะเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที อันนี้เราเรียกว่าอ่านดูจิต มันจะเห็นจิต เพราะมันเกิดจากจิตดวงเดียวเท่านี้ มันจะให้สุขมันให้ทุกข์ ทุกอย่างเกิดจากจิต ถ้าเราตามดูจิตของเราอยู่เช่นนี้ มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอเลยทีเดียว อันนี้แหละคือการภาวนา

    บางคนเมื่อมาภาวนา ตอนเย็นก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ก็นึกว่าเขาได้ภาวนาแล้ว ยังไม่ใช่เท่านี้ ความเป็นจริงการภาวนาคือสติติดต่อกัน ให้เป็นวงกลม ตลอดเวลาให้มีสติอยู่สม่ำเสมอ ให้รู้ให้เห็น ให้เห็นอาการที่มันเกิดขึ้นมาในจิตของเรา เห็นเกิดขึ้นมาอย่าไปยึดมั่นอย่าไปหมายมั่น ปล่อยมัน วางมันไว้เช่นนี้ ปฏิบัติเช่นนี้ เร็ว เร็วมากมีแต่เห็นอารมณ์เท่านั้นแหละ อารมณ์ที่ชอบ อารมณ์ที่ไม่ชอบ ทุกวันนี้เราทุกคนน่ะไม่รู้จักกิเลสตัณหา มีคนๆเดียวนั่นละที่มันหลอกตัวอยู่วันยังค่ำ ดูซิ เราเกิดมามีอะไรไหม ก็คนๆเดียวนั่นแหละมันมาให้เราหัวเราะอยู่ที่นี่ ร้องไห้อยู่ที่นี่ โศกเศร้าอยู่ที่นี่ วุ่นวายอยู่นี่แหละ มันก็คือคนๆเดียวกัน ถ้าเราไม่พิจารณา ไม่ตามดูแล้ว ยิ่งไม่รู้จักมัน มันก็เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ได้มาก็เคยเสียอยู่ เสียแล้วก็เคยได้มาอยู่ ก็พลอยสุขกับมัน ทุกข์กับมัน ยึดมั่นหมายมั่นกับมันตลอดเวลาอยู่เช่นนี้ เพราะไม่ดูมัน ไม่พิจารณา ของทั้งหลายนี้ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราพิจารณาที่ตัวเราอยู่เช่นนี้ เราจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าของเรา

    ต้นไม้ทุกต้นเปรียบเหมือนมนุษย์ ก้อนหินทุกก้อนเปรียบเหมือนมนุษย์ สัตว์ทุกสัตว์ในป่าในทุ่งก็ดี มันก็เหมือนกับเราไม่แปลกกับเรา มีสภาวะอันนี้อันเดียวกัน มีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้นแล้วก็มีความแปรในท่ามกลาง แล้วก็มีความดับไปในที่สุด เหมือนกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราไม่ควรยึดมั่น หรือถือมั่นอะไรทั้งหลาย แต่ว่าเราต้องใช้มันอยู่ เช่น กระติกน้ำใบนี้ เขาเรียกว่ากระติก เราก็เรียกว่ากระติกกับเขา เพราะว่าเราจะมีความเกี่ยวข้องกับกระติกน้ำอยู่ตลอดเวลา เขาเรียกกระติกก็เรียกกับเขา เขาเรียกกระโถนก็เรียกกับเขา เขาเรียกจานก็เรียกกับเขา เขาเรียกถ้วยก็เรียกกับเขา แต่เราไม่ติดอยู่กับถ้วย ไม่ติดอยู่กับจาน ไม่ติดอยู่กับกระโถน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในนั้น นี่เรียกว่าเราภาวนา รู้จักตัวเรา และก็รู้จักของของเรา รู้จักตัวเราแล้วก็ไม่ทุกข์เพราะตัวเรา รู้จักของของเราแล้วก็ไม่ทุกข์กับของของเรา อันนี้เพราะเราทำกรรมฐาน ปัญญามันจะเกิดขึ้นอย่างนี้มันจะเห็นไปตามสภาวะมันเองทุกๆอย่าง.อันนี้เป็น โลกุตตร -ปัญญาปัญญาเกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) มันพ้นจากโลกียวิสัย เมื่อจิตสงบรวมกำลัง จิตตรงที่นั้น เกิดรู้ เกิดเป็นญาณขึ้นมา เป็นความรู้โลกุตตระอันนั้น

    ความรู้โลกุตตระอันนี้ พูดให้ก็ไม่รู้เรื่อง อกฺขาตาโร ตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอกคือพระพุทธเจ้าบอกให้ได้ แต่ว่าทำให้ไม่ได้ เรื่องการประพฤติปฏิบัติมันเป็นเช่นนั้น ฉะนั้น อดทนแล้วก็เพียร อดทนแล้วก็เพียร สอบอารมณ์เรื่อยๆไป ถึงคราวเราทำความเพียร เราก็ทำไป ทำสมาธิเราก็ทำไป ออกจากสมาธิก็พิจารณา เห็นมดก็พิจารณา เห็นสัตว์อะไรก็พิจารณา เห็นต้นไม้พิจารณาทุกอย่างเหมือนเรา ทุกอย่างน้อมเข้ามาหาตัวเรา เหมือนเราทั้งนั้นอย่างใบไม้มันจะหล่นลงไป ใบไม้มันจะขึ้นมาใหม่ ต้นไม้มันจะใหญ่ ต้นไม้มันจะเล็ก อะไรทั้งหลายเหล่านี้มันล้วนแต่เกิดปัญญาทั้งนั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรมันทั้งนั้น เมื่อจิตเรารู้จักการปล่อยวางเช่นนี้แล้วก็จะเกิดความสงบ ความสงบไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ มันสงบ เรียกว่าได้ความพอดีเหมาะสม ด้วยความรู้สึกนึกคิดของเรานั้นเรียกว่าเป็นธรรม

    ผู้ที่ฝึกแล้วก็จะพอมองเห็น ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกนี้ มันก็เป็นของที่ลำบากสักนิดหนึ่ง เราอย่าไปน้อยใจมัน อย่าไปตกใจมัน มันก็เหมือนนักเรียนนั่นแหละ เพิ่งเข้าโรงเรียนจะให้เขียนหนังสือได้ อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือให้มันสวยงามมันก็ไม่ได้ อาศัยการฝึก อาศัยการกระทำ อาศัยการประพฤติ อาศัยการปฏิบัติ แล้วมันก็เป็นไปการตั้งไว้ในใจของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ ให้เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องพยายามสอนคนอื่นให้มากที่สุด เดินไปก็ให้สอนตัวเองทั้งนั้น นั่งก็ให้สอนตัวเองได้ทุกอย่างให้มีในตัวของเราอยู่เสมอ เรียกว่าสติ สตินั้นแหละเป็นแม่บทของผู้เจริญกรรมฐาน สติอันนั้นเมื่อมันมีความรู้สึกขึ้น ปัญญาก็จะวิ่งมา ถ้าสติไม่มี ปัญญาก็เลิก ไม่มี ฉะนั้นจงพากันตั้งใจถึงแม้ว่าเราจะมีเวลาน้อยก็ช่างมัน เวลาน้อยก็ยังเป็นอุปนิสัย ยังเป็นปัจจัย อย่างอื่นจะหาเป็นที่พึ่งอย่างพุทธศาสนานี่ไม่มี มันจบอยู่ตรงนี้ ไปไหนก็ไม่จบแต่พุทธศาสนาทำให้มันจบอยู่ตรงนี้

    ถ้าเราไม่เห็นเดี๋ยวนี้ ต่อไปก็ต้องเห็น ถ้าเราพิจารณาเช่นนี้ต่อๆไป ยังเป็นคนใหม่ ประพฤติใหม่ปฏิบัติใหม่ก็ยังไม่เห็น ก็เหมือนกับเราเป็นเด็ก เรายังไม่เห็นสภาพของคนแก่ ทำไมไม่เห็นล่ะ ฟันเราก็ยังดีอยู่ ตาเราก็ยังดีอยู่ หูเราก็ยังดีอยู่ ร่างกายเราก็ยังดีอยู่ ไม่รู้จักคนแก่ แต่ต่อไปเมื่อเราเป็นคนแก่ เราจะรู้จัก ใครจะบอก สังขารมันจะบอก ฟันมันจะโยก นี่แก่แล้ว ตามันจะไม่สว่าง หูมันจะตึง สภาวะร่างกายมันจะเจ็บปวดไปหมด นี่คนแก่มันเป็นอย่างนี้ ใครมาบอกสังขารนี้บอกเอง ถ้าเราพิจารณาอยู่ คือ สัญชาตญาณมันมีอยู่ เช่นพวกปลวก หรือแม้ผึ้ง ผึ้งใครไปสอนมัน เมื่อมันทำรัง มันมีลูกมันทำรังกันสวยๆ ถ้ามันแก่มันก็ออกไปเป็นรังใหม่ ลูกๆผึ้งมันก็ไปทำรังกันใหม่ ใครไปสอนมัน มันทำรังกันสวยๆ นกก็เหมือนกัน ตามป่านะ โดยเฉพาะนกกระจาบ นกกระจอก มันทำรังกันสวยๆ ใครไปบอกมัน เมื่อมันโตมันก็บินจากพ่อแม่มันไป มันก็ไปทำรังเหมือนพ่อแม่มัน ใครจะไปบอกมัน ปลวกก็เหมือนกัน ใครจะไปบอกมัน สัญชาตญาณมันมี มันทำเองของมัน สัญชาตญาณอันนี้ที่มีอยู่ในใจของเรานี้ เราก็ไม่รู้ตัวเรา ถ้าเราไม่มาเรียนรู้ธรรม ก็ไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ความเป็นจริง คนทุกๆคนมันอยากจะมีความสุข และมันอยากจะดีทุกๆคนนั่นแหละ แต่มันทำดีไม่เหมือนกัน มันตามหาความสุขไม่เหมือนกัน มันต่างกันเพราะปัญญา

    สัญชาตญาณที่มันมีอยู่ในใจเรานั้น เราไม่รู้จักมัน มันปกปิดอย่างสนิท อย่างชนิดไม่รู้ไม่เห็น เมื่อธรรมชี้ไปมันจึงจะเห็น เช่นว่าเรานั่งอยู่นี่ ร่างกายของเราทุกส่วนนี่โดยสภาพแล้ว พระพุทธเจ้าท่านว่า ไม่มีชิ้น ไม่มีอะไรมันจะสวย มันจะสะอาดเลย ท่านตรัสอย่างนี้ไม่สวย ไม่สะอาด และไม่เป็นแก่นเป็นสารด้วย เราก็ยังไม่เห็น เรานึกว่าอันนี้มันสวยอยู่ อันนี้มันสะอาดอยู่ อันนี้มันดีอยู่ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นเล่า ของไม่สวยแต่มันเห็นว่าสวย ของไม่สะอาดทำไมมันเห็นว่าสะอาด ของไม่เป็นแก่นสารทำไมเห็นว่าเป็นแก่นเป็นสาร ของนี้ไม่ใช่ตัวของเรา ทำไมมันจึงเข้าใจว่าเป็นตัวของเรา อันนี้มันก็มืดอยู่พอแล้ว มันน่าจะเห็นนี่ ธรรมชาติอันนี้มันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนเราจริงๆ มันจะเจ็บจะไข้เมื่อไร ก็เจ็บก็ไข้ มันจะตายเมื่อไรมันก็ตาย มันไม่ห่วงเราทั้งนั้นแหละอันนี้เราก็ยังไม่เห็นมัน มันน่าจะเห็น ทำไมไม่เห็นล่ะ นี้มันก็มืดพออยู่แล้ว ที่มันไม่เห็นนี่น่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ได้แยกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ออกมา จนจิตของท่านเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นจริงๆชัดๆไม่ใช่สัญญา (ความจำ) สังขารร่างกายมันจะเป็นไปอย่างไร ก็ให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน ท่านเห็นเช่นนั้น การกำหนดพิจารณา เรียก ภาวนากรรมฐาน เพื่อให้มันเห็น ขนาดนั้นมันยังไม่ค่อยจะเห็น อันใดไม่สวยก็เห็นว่ามันสวย อันใดมันไม่เป็นแก่นเป็นสาร มันก็เห็นว่าเป็นแก่นเป็นสาร นี่จิตมันไม่ยอม มันจึงไม่เห็น ท่านก็ว่าเยาว์ คือจิตมันเป็นเด็กอยู่ จิตมันยังเยาว์อยู่ จิตมันยังไม่เติบ จิตมันยังไม่โตเช่นนั้น พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิต ให้จิตเป็นคนเห็น ถ้าจิตมันเห็นแล้ว จิตมันรู้ของมันแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง เรียกว่าการภาวนาเป็น ฉะนั้นจึงค่อยๆทำ ค่อยๆประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ให้เห็น เมื่อวานซืนนี่มีนักศึกษาได้มาปรึกษาจะไปนั่งภาวนากรรมฐาน นั่งสมาธิ มันไม่สบาย มันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้หรือ นี่อันนี้มันต้องพากันพยายามพยายามทำไปเรื่อยๆ คนอื่นบอกมันไม่รู้จัก มันจะต้องไปพบด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาทีละมากหรอก เอาน้อยๆ แต่เอาทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน แล้วก็เดินจงกรมทุกวัน มันจะมากหรือน้อยเราก็ทำทุกๆวัน แล้วก็เป็นคนที่พูดน้อย แล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลา เมื่อดูจิตของตัวเอง อะไรมันจะเกิดขึ้นมา แล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสีย ว่าเป็นของไม่แน่นอน เป็นของหลอกลวงทั้งนั้น

    ผู้ที่เรียน ศึกษามากๆนั้นนะ มันเป็นด้วยสัญญา ไม่ใช่ปัญญาสัญญาเป็นความจำ ปัญญาเป็นความรู้เท่าทัน มันไม่เหมือนกันมันต่างกัน บางคนจำสัญญาเป็นปัญญา ถ้าปัญญาแล้วไม่สุขกับใครไม่ทุกข์กับใคร ไม่เดือดร้อนกับใคร ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนกับจิตที่มันสงบหรือไม่สงบ ถ้าสัญญาไม่ใช่อย่างนั้นนะ มันเกิดความยึดมั่นถือมั่นเป็นทุกข์เป็นร้อนไปตามอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น
     
  10. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    คลิกเมาส์ที่ใดก็ได้ในเฟรมนี้เพื่อเรียกเมนูด่วน


    ดี.......ให้พอดี !

    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    คัดลอกจาก http://www.geocities.com/clcseacon/preaching20.html



    ...เราศึกษาธรรมะ ฟังธรรมะ เพื่อความเข้าใจในธรรมะ แล้วนำไปปฏิบัติ นี่เป็นความมุ่งหมาย...

    การศึกษาธรรมะนั้น พื้นฐานเป็นสิ่งที่สำคัญมาก พื้นฐานประกอบด้วยเวลาบุคคล สถานที่และเนื้อหาของธรรมะ เช่นการฟังธรรมของพวกเราในวันนี้ เรามาฟังกันในวัดที่มีความสงบเป็นฐาน เมื่อพูดอะไรออกไปก็ได้ยินกันถนัด นั่นเรียกว่าสถานที่สมควร ส่วนสถานที่ไม่สมควรก็คือที่ที่มีเสียงดังวุ่นวาย หลวงพ่อเคยไปงานมงคล ไม่อยากเรียกว่างานมงคลเลยนะ เรียกงานอวมงคลดีกว่า เขามานิมนต์ให้ไปเทศน์ แต่เขาไม่สนใจในศีลในเทศน์ คนเล่นก็เล่น คนกินก็กินทำอะไรกันสารพัดอย่าง อย่างนี้เรียกว่าสถานที่ไม่สมควร เวลาไม่สมควร บุคคลก็ไม่สมควร ไม่สมควรที่จะแสดงธรรมะในที่ตรงนั้น

    การฟังธรรมนั้น ให้เราตั้งใจฟัง เพราะเรายังไม่รู้ชัด เราเป็นผู้ฟัง ให้ฟังไปเถอะ ฟังแล้วเอาไปพิจารณาอย่าเพิ่งเข้าใจว่ามันถูกอย่างแน่นอนและอย่างเพิ่งเข้าใจว่ามันผิด ฟังแล้วก็ให้เอาไปกลั่นกรองเสียก่อน อย่างนี้เราเรียกว่าเป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง ภาษาโลกเขาเรียกว่าการพิจารณา พิจารณาเพื่อให้เข้าถึงธรรมะ ภาษาธรรมเขาเรียกว่าภาวนา ความจริงมันคืออันเดียวกันอันหนึ่งเป็นภาษาโลก อีกอันเป็นภาษาธรรม

    การจะเข้าใจธรรมะและเข้าสู่หลักธรรมะได้นั้น การทำใจให้สะอาดเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างวันนี้หลวงพ่อให้พวกเราสมาทานศีลและขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเสียก่อน ศีล ก็คือสิ่งที่ทำให้กาย วาจา ใจเราสะอาดเป็นปกติ ไม่ให้ความผิดความชั่ว ความสกปรกเกิดขึ้นในใจเรา ต่อจากนั้นให้ถือเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง

    พระรัตนตรัยคืออะไร? คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระพุทธเจ้าคือท่านผู้รู้ รู้อะไร? รู้ความจริง ความจริงคืออะไร? ความจริงคือธรรมะ ที่พระศาสดารู้แล้วว่ามันเป็นความจริง พวกเราที่นั่งอยู่นี่ก็เป็นพระสงฆ์ได้ทั้งนั้น

    พระสงฆ์ไม่ใช่ผู้ที่โกนหัวนุ่งเหลือง ห่มเหลือง แต่หมายถึง ผู้ประพฤติปฏิบัติธรรม ปฏิบัติตามความเป็นจริง

    พระพุทธเจ้าของเรา ให้นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก ยิ่งกว่าที่พึ่งใดๆ ทั้งหมด แม้แต่พ่อแม่ที่เลี้ยงเรามาก็จริง ท่านให้เคารพบูชาพ่อแม่ แต่อย่าให้ยิ่งกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    ทำไมถึงว่าอย่างนั้น เพราะพ่อแม่ของเรานั้นบาง ท่านยังมีความเห็นผิดอยู่มาก บางทีจูงเราเข้ารกเข้าพงเข้าหนามไปเลยก็มี จะทำอย่างไร? นี่เราไม่ได้ถูกพ่อแม่ เราเคารพเชื่อฟัง แต่อย่าให้เชื่อกว่าพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เพราะท่านเป็นผู้บอกความจริงท่านจึงให้เชื่อความจริง พูดให้ฟังง่ายขึ้นว่า...

    ท่านให้เชื่อกรรมคือการกระทำของเราเอง เราจะทำอะไรทางกาย ทางวาจา ทางใจ ถ้าปราศจากโทษทั้งหมด ให้เราทำไป

    กรรมมีหลายอย่างอยู่ในโลกนี้ มหัศจรรย์ก็มีน่าเลื่อมใสก็มี น่าสยดสยอง มีสารพัดอย่าง แต่พระพุทธเจ้าของเราท่านว่า กรรมเป็นแดนเกิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ กรรมเป็นที่พึ่งอาศัย คนจะสุขหรือทุกข์จะดีหรือชั่ว จะพ้นทุกข์ได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กรรมที่แต่ละคนทำขึ้น ดังนั้นท่านจึงให้เชื่อมั่นในการกระทำของเราเอง ไม่เชื่อทางภายนอก

    เคยเห็นผู้ปฏิบัติธรรม ชอบเข้าวัดฟังเทศน์ฟังธรรมแต่เมื่อใดใจไม่สบาย บาทีก็ไปหาหมอดู ให้เขาดูว่าเป็นอะไรไหม? หมอดูทายว่าปีนี้ระวังนะ ไปรถไปเรือระวังอุบัติเหตุ คนไม่รู้เรื่องกรรม ไม่เชื่อการกระทำของตัวเองก็กลัว กลัวจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้นี่คือจิตที่คิดผิด ไม่ปัญญา ไม่มีการพิจารณา

    บางคนจะปลูกบ้านหรือเดินทางก็ต้องไปให้หมอดู บางทีหมอบอกว่าฤกษ์ไม่ดีอย่าไปเลย เขาเชื่อหมอกลับบ้านเลย อย่างข้าราชการมาอยู่อุบลฯแล้วจะย้ายไปกรุงเทพฯหรือไปที่อื่น เขามาหาแล้วถามว่า หลวงพ่อเดินทางวันไหนดี? ถ้าเราเดินดีมันก็ดีทุกวันนั่นแหละ ถ้าเราดีมันก็ดีทุกวัน โดยมากพวกข้าราชการก็ดีทุกวันนั่นแหละ ถ้าเราดีมันก็ดีทุกวัน โดยมากพวกข้าราชการจะโยกย้ายต้องกินเลี้ยงกินเหล้ากินยากัน มันไม่ดีอะไรให้ดี ๆ มีสติรอบคอบเชื่อมั่นในการกระทำที่ถูกต้องของเรา สิ่งอื่นจะมาทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ไม่มีหรอก

    ให้ทำจิตใจเชื่อมั่นในการกระทำ เชื่อเหตุผลเชื่อมั่นในการกระทำ เชื่อเหตุผลเชื่อมั่นในความจริง ไม่ตื่นเต้นกับคำเล่าลือ เรื่องมงคลตื่นข่าว ไม่ตื่นเต้นกับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ เป็นผู้อยู่นิ่งด้วยปัญญา เชื่อว่าทุกอย่างเกิดจากเหตุ ถ้าต้องการผลดีก็ต้องทำเหตุที่ดีอย่างนี้เป็นต้น

    อย่างเช่นการเป็นคนมีศีลดีมั้ย? การไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นดีไหม? ให้เราคิดดู ไม่ฆ่า ไม่ทำร้ายทุบตี ไม่ละเมิดสิทธิของคนอื่น ไม่ขโมย ไม่นอกใจกันดีไหม? การพูดโกหก พูดหยาบคาย นินทาว่าร้ายกัน หรือยาเสพย์ติดเครื่องมึนเมา มันดีไหม? คนที่ปราศจากเรื่องเหล่านี้ดีไหม? คิดดูเท่านี้พอแล้ว ไม่ต้องคิดไกลของง่ายๆ อย่างนี้ แต่เราไม่ค่อยได้คิดกัน

    ศีลห้า เป็นคุณสมบัติของมนุษย์ ใครมีคุณสมบัติทั้งห้าประการนี้ ไม่ต้องไปถามใครแล้วว่าฉันเป็นอะไร? หรือฉันเป็นคนอย่างไร?

    ทีนี้มาพูดเรื่องปฏิบัติกรรมฐานกัน ทุกวันนี้ไปกันใหญ่แล้วนะ บางท่านให้ทำอย่างนั้น บางอาจารย์ให้ทำอย่างนี้ บางคนจึงยุ่งตลอดเวลาเพราะไม่เข้าใจ กรรมฐานมีตั้งสี่สิบวิธี มากมายเหลือเกิน ไม่รู้จะทำอย่างไร?

    บางครั้งนึกพุทโธ พุทโธขึ้นมาภาวนา แต่ใจไม่สงบ จึงต้องดึงวิธีนั้นวิธีขึ้นมา ยิ่งวุ่นวายกันใหญ่บางคนเลิกไปเลย ไม่ได้เรื่องอะไรอย่างนี้ก็มี

    เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าทำกรรมฐานเพื่ออะไร? ทำให้เกิดอะไร? มีประโยชน์ไหม?

    เราต้องฝึกกรรมฐานเพราะว่า จิตของเราไม่เคย ได้รับการฝึกให้สงบเป็นปกติ มันเป็นไปตามเรื่องของมันถูกปล่อยปละละเลย ถูกตามใจมาตลอด อยากโมโห อยากโกรธ ก็ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นยิ่งเมื่อเป็นเด็ก พ่อแม่รักตามใจทุกอย่าง จิตใจจึงเสียความปกติไปเรื่อยๆ

    การทำกรรมฐานจึงเป็นการฝึกจิตให้อยู่ในการควบคุมของเรา แต่คนฝึกกรรมฐานชอบใจร้อน อยากให้สงบเร็วๆ มันจึงไม่ค่อยสงบกัน เพราะเราทำให้มันตึงเครียด ความสงบนี้ต้องเกิดในระยะที่เราปล่อยวาง ถ้าเราตึงเครียดเมื่อไหร่จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น จะมีแต่เรื่องวุ่นวายไม่มีความสงบภายในจิต

    เช่น พระอานนท์ ท่านเป็นผู้รู้ธรรมะมากที่สุดในบรรดาสาวกพระพุทธเจ้า แต่เมื่อจะใช้ธรรมะจริงๆ ท่านไม่รู้จะเอาตรงไหน? อันนี้ก็ดี อันนั้นก็ดี ดีไปทั้งนั้นความจริงมีความรู้ไม่เสียหายอะไร แต่ท่านมีความสงสัยอยู่จึงยังวางไม่ได้

    วันทำสังคายนาจะมาถึงเช้าวันพรุ่งนี้ พระอานนท์ต้องร่วมประชุมด้วย ท่านจะเข้าหรืออกกุฏิก็ร้อนใจเพราะเหลือเวลาอีกคืนเดียวเท่านั้น ท่านจึงเร่งเต็มที่เลยอยากเป็นพระอรหันต์ รีบทำใหญ่เลยไม่รู้เรื่องจนเกือบสว่างท่านคิดไว้ว่า เอ!...เราตึงเครียดเกินไปมั้งเหนื่อยก็เหนื่อย ง่วงก็ง่วง ท่านจึงคิดจะพักผ่อนพอท่านทอดอาลัยปุ๊บ! เท่านั้น เอนกายลง...วาง.. มีความรู้อันเดียวเท่านั้น เมื่อจิตวางทุกข์เท่านั้นแหละ มันเร็วที่สุด พระอานนท์ตรัสรู้ในเวลานั้น ในเวลาที่วาง

    ลองวางดูบ้างซิพวกเรา!

    บางคนนั่งสมาธิกัดฟันจนเหงื่อไหล...ความสงบไม่ได้อยู่ตรงนั้น ความสงบอยู่ที่ความพอดี ดีเกินไปก็ไม่สงบ เพราะดีเกินครู มันไม่พอดี ต้องดีให้พอดี ถ้าดีเกินดี มันไม่ดีหรอก จิตจะวิ่งวุ่นตลอดเวลา การฝึกสมาธิหรือการทำกรรมฐานนี้ เรื่องสำคัญอยู่ที่อารมณ์ จิตเรามีอารมณ์หลายๆ อย่าง แต่เราต้องฝึกให้จิตมีอารมณ์เดียวเช่นเราจะดูลมหายใยเข้า-ออก ก็ใช้การเฝ้าดูลมนี้เป็นอารมณ์ให้จิตระลึกอยู่อย่างเดียว

    เราอยู่ในโลกนี้ ในแต่ละวันอารมณ์เกินขึ้นกับเรา มากเกินไป เดี๋ยวดีใจ เสียใจ วุ่นวายไม่จบ จิตเราจึงไม่ค่อยสงบ ความรู้สึกของคนจึงเกิดขึ้นด้วยอารมณ์เราอยู่ด้วยอารมณ์ ท่านจึงให้เอาอารมณ์ให้จิตเล่นใช้อารมณ์มาเป็นอุปกรณ์ในการฝึกสมาธิ

    เช่นการกำหนดอารมณ์อยู่กับลมหายใจเข้า-ออก เราจะนึกคำว่า...พุท ขณะหายใจเข้า นึกคำว่า...โธ ขณะหายใจออกก็ได้ หรือจะไม่กำหนดพุท-โธก็ได้ เพราะที่จริงแล้ว พุทโธแปลว่าผู้รู้ เมื่อเราเฝ้าดูลมเข้า-ออกให้รู้ชัดเจน ความรู้นี่แหละเรียกว่าพุทโธ ดังนั้นเราจะไม่ว่าพุทโธในใจก็ได้ เดี๋ยวว่าไปว่ามาบางคนก็ขี้เกียจว่าอีกนั่นแหละ เมื่อเราตั้งใจทำไปจะเป็นพุทโธคือผู้รู้ขึ้นเอง คือรู้อยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์อื่นไม่แปลกปลอมเข้ามา จิตจะสงบขึ้นเรื่อยๆ

    หรือบางคนอาจจะนึกในใจว่า ยุบหนอ...พองหนอ อันนี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่ถึงเราไม่ว่ายุบหนอพองหนอ เมื่อเราหายใจเข้า-ออก ท้องมันก็ยุบเองพองเองของมัน ไม่ต้องไปว่ายุบว่าพองก็ได้ แต่ที่ท่านให้นึกคำเหล่านี้ในใจนั้น เพื่อให้เราตั้งใจทำเท่านั้นเอง ถึงจะว่าพุทโธ ยุบหนอ-พองหนอ หรืออะไรก็ตามรวมแล้วคือการกำหนดให้จิตมีอารมณ์เดียว ให้รู้เฉพาะลมหายใจเข้าออก

    การทำกรรมฐานชนิดนี้ ไม่ต้องรู้อะไรมาก ให้รู้ลมเข้า-ออกเท่านั้น กำหนดดูลมให้สบายๆ ไม่ต้องเคร่งเครียด ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย อย่าไปคิดว่าเมื่อไหร่หนอจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าคิดเลยมันจะวุ่นวาน

    ขณะนั่งสมาธิ ให้เราตั้งใจดูลมเข้า-ออกตลอดเวลา แล้วพยายามตั้งสติขึ้นไว้ให้รู้ชัดขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่ลืม ให้นึกได้อยู่เสมอ จดจ่ออยู่กับอารมณ์อันนั้น ใจเราจะผ่องใส ไม่ง่วงเหงา ไม่เหน็ดเหนื่อย เพราะเห็นอารมณ์ชัดเจน เมื่อไม่ง่วง ไม่รำคาญ ไม่วุ่นวาย เราก็จะรู้จักจิตและอารมณ์ตามความเป็นจริง

    จิตคืออะไร? จิตอยู่ตรงไหน? อยู่อย่างไร? ใครรู้จักไหม?

    เราจะฝึกจิต ต้องรู้ก่อนว่า จิตคืออะไร? อยู่ที่ไหน? โดยมากเราไม่ค่อยรู้จักกัน เมื่อรู้สึกวุ่นวายขึ้นมาก็ว่าจิตวุ่นวาย ไม่รู้ว่าทำไมจิตถึงวุ่นวาย?

    ถ้าพูดให้ชัดเจน จิตนี้ก็ไม่คืออะไร ไม่มีตัวตน จิตคือความรับรู้ แต่พบสมมุติเรียกความรับรู้นั้นว่าจิตเลยงงกันใหญ่ จิตคืออะไรหนอ? พากันคิดมากไป ถ้าพูดง่ายๆ สิ่งที่รับรู้อารมณ์ดีอารมณ์ชั่วนั่นแหละเรียกว่าจิตหรือผู้รับรู้ แต่จะเรียกว่าผู้รู้จริงยังไม่ได้ เพราะยังมีความหลงปนเปกันอยู่ในความรู้นั้น ถ้ามีจิตที่รู้ตามความเป็นจริงแล้ว...ไม่มีทุกข์ คือจิตที่ฝึกแล้วจะรู้จักแยกอารมณ์ออกจากจิต อารมณ์ทั้งหลายจะทำให้จิตรู้สึกดีใจเสียใจไม่ได้ แต่จิตที่ยังไม่ได้ฝึก ไม่ได้อบรมถ้ารู้อารมณ์แล้วชอบ ก็รู้สึกดีใจ ถ้าไม่ชอบก็เสียใจ ดังนั้นจึงให้เราเอาความรู้ตามความเป็นจริงนั้นมาอบรมจิต เพื่อรู้เท่าทันอารมณ์ ที่ผ่านมาผ่านไป ให้รู้เรื่องของอารมณ์จนกว่าจิตจะสงบ

    เมื่อจิตสงบลงไปพักหนึ่งแล้ว เราจะเพ่งให้ความสงบไปไหนมันก็ไม่ไปนะ มันขี้เกียจไปเหมือนกัน เมื่ออาการจิตเป็นอย่างนี้เรียกว่าจิตมีสมาธิ แต่ยังไม่มีปัญญา มันสงบอยู่เฉยๆ อาการนี้เกิดเป็นบางครั้งไม่แน่นอน นานๆ จะเป็นสักทีหนึ่ง

    บางทีวันนี้สงบ พรุ่งนี้ทำอีกกลับไม่สงบ บางคนก็แปลกใจ เอ!...เมื่อวานทำไมสงบดี วันนี้ไม่ได้เรื่องได้ราวเลย มันเป็นเพราะอะไรหนอ? ก็วุ่นวายอยู่กับความคิดสงสัยตลอดเวลา

    อาการสงบที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ ให้เข้าใจเลยว่า เป็นความสงบที่ยังไม่แน่นอน เช่น หูเรามีอยู่ เมื่อมีใครด่าถ้าเราไม่ได้ยิน เราก็ยังสบาย ความโกรธไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าอีกวันหนึ่ง เขามาด่ากรอกหูเราซิ ความโกรธเกิดขึ้นทันทีเลย ความสงบในขั้นนี้ก็เหมือนกัน เป็นความสงบที่เกิดขึ้นจากจิตปราศจากอารมณ์ เหมือนหูไม่ได้ยินคนด่า มันสงบอยู่เฉยๆ แต่เมื่อมีอารมณ์มาพัวพันแล้ว ความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นเลย ทั้งดีใจ เสียใจ ชอบไม่ชอบ วุ่นวายขึ้นมาทันที

    เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่ต้องเสียใจ ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้องโกรธตัวเองว่าปฏิบัติแล้ว ทำไมยังเป็นคนอย่างนี้ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวชอบ เดี๋ยวชังวุ่นวายไปหมด อย่าไปคิดอย่างนั้น

    ความสงบในขั้นนี้ ไม่ใช่เรื่องของปัญญา ยังไม่แน่นอน เป็นความสงบที่เกิดขึ้นเพราะไม่ได้เห็นอะไรตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน จึงเป็นความสงบที่ยังไม่เด็ดขาด เพราะยังไม่รู้ตามความเป็นจริง เหมือนกับเรายังไม่ได้ เห็นได้ยินคนด่าเรานั้นแหละ มันก็เลยสงบ หรือเหมือนกับใบไม้ยังไม่ถูกลมพัดก็สงบนิ่ง ถ้ามีลมพัดมาใบก็กวัดแกว่งไปตามแรงลม

    จิตที่สงบขนาดนั้น เหมือนกับใบไม้บนต้นไม้ เมื่อลมพัดมาก็กวัดแกว่ง เป็นความสงบที่มีอายุสั้นมาก ความสงบขั้นนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยการกำหนดจิตจดจ่อไว้กับอารมณ์เดียว คือลมหายใจเข้า-ออก ท่านเรียกว่า สงบจิตไม่ใช่สงบกิเลส...กิเลสสิ่งที่ทำให้วุ่นวายยังอยู่เยอะ ขั้นต่อไปจึงต้องสร้างปัญญาให้เกิด เพื่อให้จิตสงบอยู่เสมอ

    เมื่อก่อนความสงบเกิดขึ้นเพราะไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน แต่พอมีใครมาด่าว่ากระทบกระทั่งก็วุ่นวายขึ้นมาอีก คราวนี้เราจะทำขั้นต่อไป คือแม้ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง อะไรก็ตาม เราจะให้มีความสงบอยู่ ไม่ให้เกิดความวุ่นวาย นี่เป็นการทำให้จิตรู้ขึ้นมากกว่าเดิม เป็นการรู้ชัดด้วยปัญญา แล้วสงบด้วยปัญญา ความวุ่นวายจะไม่เกิดขึ้นได้อีก

    ดังนั้นเราต้องหล่อเลี้ยงให้ปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไร? ให้อาหารมันซิ... เหมือนเราโตขึ้นมานี่ ก็เพราะได้กินข้าวกินน้ำ

    การทำให้ปัญญาเกิดขึ้น ต้องอาศัยกำหนด อารมณ์ขึ้นเหมือนกันแต่อาหารของปัญญาไม่เหมือนกับอาหารของการทำสมาธิเบื้องต้นที่ว่าพุท-โธ หรือกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกอย่างเดียว เราต้องเปลี่ยนอาหารใหม่ให้จิต

    คือ...เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นในจิตใจ เราก็นึกตลอดเวลาว่า อันนี้ไม่เที่ยง อันนั้นก็ไม่เที่ยง อะไรๆ ก็ไม่แน่ จะสงบหรือวุ่นวายแค่ไหน ก็บอกจิตตัวเองว่าเออ!...อันนี้ไม่แน่ จะชอบจะชังอะไรขนาดไหนก็ตาม บอกตัวเองอยู่เสมอว่า...อันนั้นมันไม่แน่

    บอกจิตแค่นี้แหละ ปัญญาจะโตขึ้นมาเรื่อยๆ ทำไมถึงโตขึ้น ทำไมจิตจึงมีความรู้เท่าทันอารมณ์มากขึ้น เพราะจิตเห็นตามความเป็นจริง คือความไม่เที่ยงตามที่เราบอกให้พิจารณาอยู่นั่นเอง

    เมื่อก่อนจิตเราหลงอารมณ์ เชื่ออารมณ์มากเกินไป อารมณ์ดีเกิดขึ้นมาก็ตะครุบไว้ อารมณ์ไม่ดีก็ตะครุบไว้มันจึงกัดเอา ดีมันก็กัด ไม่ดีมันก็กัด

    ถ้าเราบอกจิตว่าอย่าไปตะครุบมัน อารมณ์อะไรเกิดขึ้นมาก็ว่า เออ!...อันนี้ไม่แน่หรอก ถ้าเราไม่ไปตะครุบมัน มันก็ไม่กัดเราหรอก

    บอกตัวเองอยู่ตลอดเวลาว่า อะไรๆ ก็ไม่แน่นอนสักอย่าง ทุกข์...เดี๋ยวก็เปลี่ยนเป็นสุข สุขแล้วทุกข์สงบแล้ววุ่นวาย ดีใจแล้วเสียใจ ชอบแล้วเบื่อแล้วชังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    เมื่อเรารู้เรื่องชัดเจนเช่นนี้ รู้ว่าอารมณ์ทุกอย่างมันมีของมันอยู่อย่างนั้น ที่มันให้ทุกข์ให้โทษเราก็เพราะ เราไปยุ่งกับมัน ไปยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา ความจริงมันไม่ได้เป็นของใคร มันเกิดแล้วก็ดับไป ถ้าเราเห็นชัดเจนเช่นนี้ ความยึดมั่นถือมั่นก็น้อยลง ต่อไปก็เห็นอารมณ์ เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเรื่องธรรมดา ชอบก็สักแต่ว่าชอบ ไม่ชอบก็สักแต่ว่าไม่ชอบ สุขก็สักแต่ว่าสุข ทุกข์ก็สักแต่ว่าทุกข์ มีแต่เรื่องธรรมดาทั้งนั้นแหละ จะไปยึดถือให้มันวุ่นวายทำไม? นี่เรียกว่าปัญญาโตขึ้นแล้ว

    เมื่อมีปัญญา จิตก็รับรู้อารมณ์ตามความเป็นจริง เมื่อก่อนอารมณ์เกิดขึ้นมา เราก็ยึดมั่นถือมั่นจนเป็นทุกข์ แต่เดี๋ยวนี้จิตของเรารู้จริงแล้ว คือรู้ว่าอารมณ์เป็นอย่างไร แล้วก็วาง...รู้แล้ววาง ไม่ตะครุบอารมณ์อีกแล้ว เพราะตะครุบเมื่อไหร่มันก็กัดเอาเมื่อนั้น ที่จิตไม่ตะครุบอารมณ์เหมือนก่อน ก็เพราะจิตเรารู้ว่าอะไรก็ไม่เที่ยงไม่แน่ ทำไมจะต้องให้มันมาทำให้เราวุ่นวาย การรู้เห็นเช่นนี้เรียกว่าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว มีปัญญารู้จักความจริงของจิตของอารมณ์ของทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเป็นเด็กก็เรียกว่ามันโตขึ้นมาบ้างแล้ว

    การทำกรรมฐาน การฝึกสมาธิเจริญปัญญาอย่าไปแยกเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เลย จะเรียกสมถะวิปัสสนาอะไรก็ตามเถอะ ไม่ต้องเถียงกันว่าอันนั้นถูกอันนี้ผิด บางคนทำสารพัดอย่าง ไม่ได้ผลสักที ความเป็นจริงทำแบบไหนก็ได้ให้มันถูกกับจริตของเรา และที่สำคัญคืออย่าทำด้วยความงมงาย ต้องทำด้วยการพิจารณาและปัญญา

    การฝึกจิตให้สงบและเกิดปัญญา ด้วยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกนี่สะดวกที่สุด เพราะไม่ว่าเราจะยืนเดิน นั่ง นอน หรือทำอะไรก็ต้องหายใจอยู่แล้ว ถ้าไม่หายใจก็ตายเท่านั้นเอง เราไม่ต้องไปคว้าอย่างนั้นอย่างนี้มาให้ยุ่งยาก วิธีนี้ง่ายที่สุด เพราะเรามีอุปกรณ์พร้อมอยู่แล้ว จะทำที่ไหนก็ได้ นั่งทำงานหรือพักผ่อนอยู่ก็กำหนดรู้ลมหายใจเข้า-ออกได้ทั้งนั้น เมื่อทุกอย่างพร้อม คือเรามีความตั้งใจจะทำ มีวิธีที่ถูกต้อง มีลมหายใจอยู่ มันก็ง่ายและสงบขึ้นเรื่อยๆ

    เราไม่ต้องสงสัยว่าความสงบมีอยู่หรือไม่ เพราะบางคนทำไปจิตใจยังไม่สงบสักที มีแต่ง่วง ฟุ้งซ่าน วุ่นวาย

    ความจริงความสงบมีอยู่ อย่าเข้าใจว่าไม่มี หรืออย่าคิดว่าเราทำไม่ได้ จะยกตัวอย่างให้ฟัง เช่น เราไปสอบวิชาหนึ่ง เขาเขียนปัญหาให้เราตอบ พออ่านปัญหา แล้วก็ร้องโอ๊ย!...ตอบไม่ได้หรอก ทำไมจึงตอบไม่ได้? ความจริงทุกปัญหามีคำเฉลยทั้งนั้น ถ้าเฉลยไม่มีปัญหาไม่มีหรอก เรายังไม่สบาย ก็เพราะทำยังไม่ถึงที่ของมัน ให้เราค้นคว้าหาความสงบตรงนี้ ตรงที่มันฟุ้งซ่าน รำคาญ วุ่นวานนี่แหละ ความสงบมันมีอยู่ ไม่หนีไปไหนหรอก

    พระพุทธเจ้าของเรา ท่านปฏิบัติครั้งแรกการเรียนของท่านก็ไม่มีอะไรมากหรอก ท่านพิจารณาสิ่งที่อยู่ใกล้ๆ ตัวนี่แหละ ท่านเกิดสลดใจที่เห็นคนเจ็บคนตายจึงคิดว่ามีเกิดแล้วก็มีตาย เพราะเกิดมาจึงมีความทุกข์มาก แล้วไม่เกิดก็น่าจะมีเหมือนกัน มืดแล้วยังมีสว่างมันต้องมีทางแก้กันได้

    ท่านคิดเปรียบเทียบเท่านี้แล้วก็พิจารณาไปจนเห็นชัดขึ้นมาว่า ความทุกข์มีขึ้นเพราะความเกิด ท่านรู้เหตุของความทุกข์ว่าคืออุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นแล้วก็ปรุงแต่งเป็นความเกิด

    ความเกิดมีขึ้นเพราะอะไร? เพราะอุปาทานคือการที่เราเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ เช่น ลำไยต้นหนึ่งอยู่หน้าบ้านของเรา นี่เรียกว่าของเรานะ เราดูแลมันทุกวัน ลำไยต้นนี้เป็นของเรา นั่นอุปาทานเกิดแล้ว ถ้าบ้านถัดไปมีต้นลำไยเหมือนกัน เราก็คิดว่านั่นไม่ใช่ของเรา วันต่อไปมีคนมาตัดต้นลำไยหน้าบ้านเรา เราก็เกิดความทุกข์หรือความโกรธขึ้นมา นี่!...ความเกิดมีขึ้นแล้ว

    วันรุ่งขึ้นเขาไปตัดต้นลำไยบ้านคนอื่น เราไม่เป็นทุกข์ เพราะไม่ใช่ลำไยของเรานี่ เรื่องเท่านี้แหละที่ทำให้สุข-ทุกข์เกิดขึ้นมา ถ้าเขาตัดของเรา เราก็เป็นทุกข์เพราะว่ามันเป็นของเรา อุปาทานเป็นอย่างนี้ ความเกิดอยู่ตรงนี้...เกิดสุข เกิดทุกข์ เกิดอะไรขึ้นมาเพราะอุปาทานนี้เอง

    พระพุทธเจ้าจึงให้พิจารณาให้เห็นว่า อุปาทานเป็นเหตุให้เกิดภพ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ฯลฯ เกิดทุกข์ขึ้นมา

    ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เรียกว่าการฝึกจิต จิตเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของคน ถ้าจิตหลงแล้ว อะไรๆ ก็หลงไปหมด ท่านจึงให้ฝึกจิตกัน จิตเป็นผู้รับรู้อารมณ์ จิตที่กวัดแกว่งหวั่นไหวไปตามอารมณ์ดีอารมณ์ร้าย เป็นจิตที่ยังไม่ได้รับการอบรมทำให้เราวุ่นวายอยู่เสมอ

    การฝึกทำกรรมฐาน จึงเป็นการอบรมจิต แต่ก็ไม่ใช่ของทำง่ายๆ มันทำลำบากเหมือนกัน แต่ว่าความง่ายก็อยู่ในที่มันยากนั่นแหละ ตั้งใจทำไปด้วยความสม่ำเสมอ จะค่อยๆ ง่ายขึ้นมา

    ความลำบากยากแค้นอันเป็นปัญหาของเรา อยู่ในความคิดผิดนั่นเอง ไม่ใช่ว่าทำกรรมฐานแล้วมันจะหายไปอย่างรวดเร็วเลย ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเราไม่รู้เรื่องจิตและอารมณ์มานานแล้ว เรายึดมั่นว่าอะไรก็เป็นของเรา นั่นตัวเรา นั่นบ้านเรา นี่ลูกเรา มันจึงวางใจลำบาก จนกว่าจะเห็นว่าทุกอย่างเป็นอนัตตาคือไม่มีเขาไม่มีเรานั่นแหละ จึงจะสบายขึ้นมา

    หลวงพ่อเคยพูดว่า ธรรมะนี่ถ้าฟังลึกๆ เข้าไปแล้วใจมันถอยนะ เพราะเราอยู่กับความยึดถือว่าตัวเราของเรามาตลอดเวลา อันนี้ก็ไม่ใช่ของใคร ท่านพูดตามความจริงให้ฟัง แต่เราก็รับไม่ได้ ไม่เข้าใจ บางทีโกรธพระอีกด้วย เพราะเราเข้าใจว่ามันเป็นของเราแล้วแต่ท่านมาพูดว่าไม่ใช่ของเรา เลยอ่อนใจไม่รู้จะทำไปอย่างไร?

    ถ้าให้เราคิดให้ดี คิดใหม่ว่าชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ที่มีอยู่นี้เป็นสมบัติของโลก เรามาอาศัยใช้ชั่วคราวเดี๋ยวก็ต้องละทิ้งสิ่งเหล่านี้ไปในอีกไม่นาน ทำไมจึงงัดแงะความคิดอย่างนี้ออกจากจิตไม่ได้? ก็เพราะความหลงยึดติดแน่นอยู่ในตัวเรานั่นเอง

    ธรรมะที่เราศึกษาและฝึกอบรมกันอยู่นี้เพื่อไม่ให้มีทุกข์เกิดขึ้น ท่านจึงสอนให้ฝึกพิจารณาความไม่แน่นอน ความไม่ใช่เขาไม่ใช่เรา เพราะความคิดอย่างนี้มันเป็นเหตุของความทุกข์ ท่านให้เราทำลายอัตตา แต่คนเราไม่ค่อยชอบใจกัน อะไรที่ไม่เที่ยง เราอยากให้มันเที่ยง อันนี้ไม่ใช่ของเรา เราก็อยากให้เป็นของเรา พอจริงๆ แล้วมันก็เป็นไปอย่างที่เราต้องการไม่ได้หรอก ร่างกายก็ต้องเปลี่ยนไป ต้องแก่ เจ็บ ตาย ไม่มีอะไรเหลือ แต่คนเรามักทำใจไม่ได้

    ดังนั้นการปฏิบัติของเราให้เริ่มที่ศีลธรรมก่อนนะ ให้อยู่กันด้วยศีลด้วยธรรม มีความขยันอดทน รู้จักคบคนด้วย ส่วนเรื่องจิตใจ ถ้ามีอารมณ์อะไรขึ้นมาก็อดทนไว้ อย่าปล่อยตัวทำตามอารมณ์นั้น มันอยากนั่นอยากนี่มากๆ ก็ทำให้ความอยากลดลงพอประมาณ อย่าปล่อยใจให้อยากเต็มที่ ถ้าปล่อยเต็มที่นะ...โลกแตกเลย! ถ้าโมโหก็อย่าปล่อยให้ใจโมโหเต็มที่ มันไม่สบายใจก็อย่าปล่อยให้เต็มที่ ให้มีศีลธรรมกำกับตัวเองไว้ เท่านี้ ก็ดีพอสมควรแล้ว

    ...และเมื่อเราทำกรรมฐานฝึกจิตไปด้วยเรื่อยๆ ปัญญาจะเกิดขึ้น เราจะรู้จักทำใจให้เป็นสุขได้
     
  11. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    พึงต่อสู้ความกลัว

    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

    คัดลอกจาก http://www.geocities.com/clcseacon/preaching23.html



    “ธุ-ตัง-คะ ท่านว่าข้อวัตรปฏิบัติอันบุคคลปฏิบัติยากเป็นข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า

    ผู้ใดต้องการเป็นอริยเจ้า ต้องมีธุดงควัตรเป็นเครื่องขัดเกลายากที่คนจะทำได้ และยากที่จะมีคนศรัทธาทำ...

    เพราะมันยาก มันลำบากมาก ท่านจึงว่า ผู้ใดปฏิบัติธุดงควัตรนี้มีอานิสงส์มากจริง ๆ ”

    ดูความกลัวมันซิ วันหนึ่งตอนบ่าย ๆ ทำยังไงก็ไม่ได้ บอกให้ไปมันก็ไม่ไป ชวนปะขาวไปด้วย ไปให้มันตายเสีย ถ้าหากมันพอจะตายก็ให้มันตายเสีย มันลำบากนัก มันโง่นักก็ให้มันตายเสีย พูดในใจอย่างนี้ใจมันก็ไม่อยากจะไปเท่าไร แต่ก็บังคับมัน เรื่องอย่างนี้จะให้มันพร้อมใจไปทุกอย่างน่ะ มันไม่พร้อมหรอก อย่างนั้นจะได้ทรมานมันหรือ ก็พามันไป

    ไม่เคยอยู่ป่าช้าเลยสักที พอไปถึงป่าช้าแล้ว โอย บอกไม่ถูกปะขาวจะมาอยู่ใกล้ ๆ ก็ไม่ยอมให้มา ให้ไปอยู่โน่นไกล ๆ โน่น ความจริงแล้วอยากจะให้มาอยู่ใกล้ ๆ เป็นเพื่อนกัน แต่ไม่เอา ให้ไปไกล ๆ เดี๋ยวตัวเองจะอาศัยเขา กลัวนักก็ให้มันตายเสียคืนนี้ ทั้งกลัวทั้งทำ ไม่ใช่ว่าไม่กลัว แต่ก็กล้า ที่สุดมันก็ถึงตายเหมือนกันเท่านั้นแหละ

    พอค่ำลงก็พอดีเลย โชค เขาหามศพมาโตงเตง ๆ นั่นทำไมจึงเหมาะกันอย่างนี้ โอ๊ย เดินจนไม่รู้ว่าตัวเองเหยียบดินเลยละทีนี้ หนีคิดอยากจะหนี เขานิมนต์ให้มาติกาศพก็ไม่อยากจะมาติกาให้ใครหรอกเดินหนีไป สักพักก็เดินกลับมา เขาก็ยิ่งเอาศพฝังไว้ใกล้ ๆ เขาเอาไม้ไผ่ที่หามศพมาทำเป็นร้านให้นั่ง ฮือ! จะทำอย่างไรดีล่ะ หมู่บ้านกับป่าช้าก็ไม่ใช่ใกล้ ๆ ห่างกันตั้ง ๒-๓ กิโลเมตรแน่ะ เอาละ ตายก็ยอมตายไม่กล้าทำ มันก็ไม่รู้หรอกว่าเป็นอย่างไร โอ๊ย! มันช่างออกรสชาติเสียจริง ๆ

    มืดเข้า ๆ จะไปทางไหนล่ะ อยู่กลางป่าช้าอย่างนี้ เอ้า ให้มันตายเสีย มันเกิดมาตายหรอกนะชาตินี้ พอตะวันตกดินเท่านั้นมันก็บอกให้เข้าอยู่แต่ในกลดท่าเดียว เดินก็ไม่อยากจะเดิน มันบอกให้อยู่แต่ในกลด จะเดินออกไปหาหลุมศพ ก็เหมือนมีอะไรมาดึงรั้งเอาไว้ไม่อยากให้เดิน ความรู้สึกกล้ากับกลัวมันฉุดรั้งกันอยู่ เอ้า ลงไปอย่างนี้แหละ หัดมัน เดินออกไปเกิดความกลัวก็หยุด ทีนี้พอมืดสนิทลงจริง ๆ ก็เข้าในกลดทันที ฮือ! ัยังกับมีกำแพงเจ็ดชั้นนะทีนี้ เห็นบาตรของตัวเองอยู่ใบเดียวก็เหมือนกับมีเพื่อนอย่างนั้นแหละ เอาไปเอามาบาตรก็เป็นเพื่อนได้ ตั้งอยู่ข้าง ๆ ใบเดียวก็รู้สึกดีใจ ได้อาศัยบาตรเป็นเพื่อนนั่งอยู่ในกลดเฝ้าดูผีทั้งคืน ไม่ได้หลับไม่ได้นอนเลย นั่งเงียบอยู่ จะให้ง่วงก็ไม่ง่วง มันกลัว ทั้งกลัวทั้งกล้า ทำอยู่อย่างนี้ตลอดคืนเลย

    นี่ละเช่นนี้ใครจะกล้าทำ ลองดูซิปฏิบัตินี่ พูดถึงเรื่องอย่างนี้แล้วใครจะกล้าไปอยู่ในป่าช้านั่น ทุกอย่างถ้าเราไม่ทำ ไม่ได้เกิดประโยชน์ไม่ได้ปฏิบัติ คราวนี้ละเราได้ปฏิบัติ พอสว่างขึ้นก็รู้สึกว่า โอ...รอดตายแล้วนี่ ดีใจจริง ๆ ภายในใจเรานะอยากให้มีแต่กลางวันเท่านั้นไม่อยากให้มีกลางคืนเลย อยากฆ่ากลางคืนทิ้ง ให้มีแต่กลางวัน สบายใจ อือ! ไม่ตายแล้ว คิดว่าไม่มีอะไร มีแต่เรากลัวเฉย ๆ

    วันนี้ตอนเช้าได้ทดลองกระทั่งหมา ไปบิณฑบาตคนเดียว หมามันวิ่งตามหลังมามันจะกัด เอ้า! ไม่ไล่มันละ จะกัดก็กัดไปเลย มีแต่จะตายท่าเดียวก็ให้มันกัดให้ตายซะ มันก็งับผิดงับถูก รู้สึกป๊าบแข้งขาเหมือนมันขาดออกอย่างนั้นละ แม่ออกภูไท นะ ก็ไม่รู้จักไล่หมาหรอกเขาว่าผีมันไปกับพระ หมาจึงได้เห่าได้กัด เลยไม่ยอมไล่มัน เอ้า! ช่างมัน เมื่อคืนที่แล้วก็กลัวจนเกือบจะตายทีหนึ่งแล้ว ตอนเช้านี้หมาจะกัดก็เลยปล่อยให้มันกัดซะ ถ้าหากว่าแต่ก่อนเราเคยกัดมันก็ให้มันกัดเราซะ แต่มันก็ไม่กัด งับผิดงับถูกอย่างนั้นเอง นี่แหละเราหัดตัวเรา

    บิณฑบาตได้มาก็ฉัน พอฉันเสร็จดีใจ แดดออกมาบ้างรู้สึกอบอุ่น ได้พักผ่อนและเดินจงกรมบ้าง ตอนเย็นจะได้ภาวนา ดีละทีนี้เพราะได้ทดลองมาคืนหนึ่งแล้ว คงไม่เป็นอะไรแล้ว พอบ่าย ๆ มาอีกแล้ว หามมาอีกแล้ว เป็นผู้ใหญ่เสียด้วยซีทีนี้ เอามาเผาไว้ใกล้ ๆ ข้างหน้ากลดเสียด้วย ยิ่งร้ายกว่าเมื่อคืนวานเสียอีก ดีเหมือนกัน เขาเอามาเผาเขามาช่วยกัน แต่จะให้ไปพิจารณา ไม่ไป พอเขากลับบ้านหมดแล้วจึงไป โอ๊ย! เขาเผาผีให้เราดูอยู่คนเดียวนี่ ไม่รู้จะว่าอย่างไร บอกไม่ถูกเลย ไม่มีอะไรจะเปรียบเทียบให้ฟังหรอก ความกลัวนี่มันเกิดขึ้นนี่ เป็นกลางคืนด้วยสิ กองไฟที่เผาศพก็แดง ๆ เขียว ๆ พึ่บพั่บ ๆ อยู่จะเดินจงกรมไปข้างหน้าก็ไปไม่ได้ ที่สุดก็เข้าในกลด เหม็นกลิ่นเน่าของศพทั้งคืนเลย นี่ก่อนที่มันจะเกิดอะไรขึ้นมา ไฟลุกพึ่บ ๆ ก็หันหลังให้ลืมนอน มันไม่คิดอยากจะนอนเลย มันตื่นตาแข็งอยู่อย่างนั้น มันกลัว กลัวไม่รู้จะไปอาศัยใคร มีแต่เราคนเดียวก็อาศัยเราเท่านั้นแหละไม่มีที่ไปนี่ คิดไปไหนก็ไม่มีที่จะไป หนีไปไหนก็ไม่ได้ เพราะมีแต่กลางคืนมืดเสียด้วย นั่งตายมันอยู่ตรงนี้แหละ ไม่ไปไหนละ นั่นพูดถึงใจมันจะอยากทำไหม มันจะพาทำอย่างนั้นไหม พูดกับมัน มันไม่พาทำหรอก ใครล่ะอยากจะมาทำอย่างนี้ นี่ถ้าไม่เชื่อมั่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าจะไม่มาทำอย่างนี้

    ดึกประมาณ ๔ ทุ่ม หันหลังให้กองไฟ มันบังเอิญอะไรก็ไม่รู้ มีเสียงอยู่ข้างหลังในกองไฟดังทึงทัง ๆ หรือโลงศพตกลงมา หมาจิ้งจอกมากัดกินซากศพหรือก็ไม่ใช่ ฟังเหมือนเสียงควายครืดคราด ๆ อยู่ช่างมันเถอะ เอาไปเอามาเดินมาเหมือนคนเดินเข้ามาหา เดินเข้ามาข้างหลัง เดินหนักเหมือนควาย แต่ไม่ใช่ เหยียบใบไม้หนัก ๆ ดังแครก ๆ อ้อมเข้ามาหา เอ้า! ยอมตายแล้วนี่ จะไปไหนได้ล่ะ แต่จะเข้ามาจริง ๆ ก็ไม่เข้ามา เดินโครม ๆ ออกไปข้างหน้าโน้น ไปหาพ่อปะขาวแก้วโน่นจนเงียบเสียงเพราะอยู่ไกลกัน ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอะไร เพราะความกลัวทำให้คิดไปหลายอย่าง

    นานประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ เดินกลับมาอีกแล้ว เดินกลับมาจากพ่อปะขาวแก้ว เหมือนคนเดินจริง ๆ ตรงเข้ามา ตรงเข้ามา ตรงดิ่งเข้ามา เหมือนจะเหยียบพระอย่างนั้นแหละ หลับตาอยู่ จะไม่ยอมลืมตามันละ ให้มันตายทั้งตาหลับอยู่นี่ มาถึงใกล้ ๆ ก็หยุดกึ๊ก ยืนนิ่งอยู่เงียบ ๆ อยู่ข้างหน้ากลด รู้สึกเหมือนกับว่า มันเอามือที่ถูกไฟไหม้มาคว้าไปคว้ามาอยู่ข้างหน้าอย่างนี้ อย่างนี้ โอ๊ย! ตายคราวนี้ละ สละหมดแล้ว หลงพุทโธ ธัมโม สังโฆหมด ลืมหมด มีแต่กลัวอย่างเดียวเต็มเอี๊ยดแทนที่อยู่ แน่นเหมือนกับกลอง จะคิดไปไหนมาไหนไม่ไป มีแต่กลัวเท่านั้น ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยมีความกลัวเหมือนครั้งนี้เลย พุทโธธัมโม ไม่มีเลย ไม่รู้ไปไหน มีแต่กลัวแน่นอยู่เหมือนกลองเพลอย่างนั้นแหละ เอ้า! ให้มันเป็นอยู่อย่างนี้ละ มันเป็นอย่างไร ทำอะไรไม่ได้นั่งอยู่ก็เหมือนไม่ถูกอาสนะ ทำความรู้ไว้เท่านั้น กลัวมาก มันกลัวมาก จนเปรียบเหมือนกับน้ำที่เราเทใส่ในโอ่ง เทใส่มากเต็มแล้วมันก็ล้นออกมา มันกลัวมากจนหมดกลัว แล้วก็ล้นออกมา

    “ที่มันกลัวมากกลัวมายนักน่ะ มันกลัวอะไร” ใจมันถาม

    “กลัวตาย” อีกใจหนึ่งตอบ

    “แล้วตายมันอยู่ที่ไหน ทำไมถึงกลัวเกินบ้านเกินเมืองเขานักล่ะ หาที่ตายมันดูซิ ตายมันอยู่ที่ไหน”

    “เอ้า ตายเลยอยู่กับตัวเอง”

    “อยู่กับตัวเองแล้วจะหนีไปไหนจึงจะพ้นมันล่ะ วิ่งหนีมันก็ตายนั่งอยู่มันก็ตาย เพราะมันอยู่กับเรา ไปไหนมันก็ไปด้วยนั่นแหละ เพราะความตายมันอยู่กับตัวเรา ไม่มีที่ไปหรอก กลัวหรือไม่กลัว มันก็ตายเหมือนกัน เพราะตายอยู่กับตัวเองนี่ หนีมันไม่ได้หรอก ชี้บอกไปไว ๆ อย่างนี้”

    พอบอกไปอย่างนี้เท่านั้น สัญญาก็เลยพลิกกลับทันที เปลี่ยนขึ้นมาทันที ความกลัวทั้งหลายเลยหายออกไปเลย ปานฝ่ามือกับหลังมือเราพลิกกลับ อัศจรรย์เหลือเกิน ความกลัวมาก ๆ มันหายไปได้ ความไม่กลัวมันกลับมาแทนในที่เดียวกันนี้ โอ...ใจมันสูงขึ้น ๆ เหมือนอยู่บนฟ้านะ เปรียบไม่ถูก

    พอชนะความกลัวนี้แล้วฝนก็เริ่มตกทันทีเลย ฝนอะไรก็ไม่รู้ ลมก็แรงมาก ไม่ได้กลัวตายละ ไม่กลัวว่าต้นไม้กิ่งไม้มันจะหักลงมาทับตาย ไม่สนใจมันเลย ฝนตกลงมาหนักเหมือนฝนเดือนสี่ หนักมากพอฝนหายแล้วเปียกหมด นั่งนิ่งไม่กระดิกเลย ทำอย่างไรล่ะ เปียกหมดนี่ ร้องไห้...ร้องออกมาเอง นั่งร้องไห้น้ำตาไหลอาบลงมา ที่มันร้องไปก็เพราะนึกไปว่า ตัวเรานี่ทำไมเหมือนคนไม่มีพ่อมีแม่แท้ มานั่งตากฝนยังกับคนไม่มีอะไร ยังกับคนสิ้นทุกสิ่งทุกอย่างอย่างนั้นแหละเลยคิดไปอีกว่า คนที่เขามีบ้านอยู่ดี ๆ เขาคงจะไม่คิดหรอกว่ามีพระมานั่งตากฝนอยู่ทั้งคืนแบบนี้ เขาคงจะนอนห่มผ้าห่มสบาย เราซินั่งตากฝนอยู่ทั้งคืน อย่างนี้แล้วมันเรื่องอะไรหนอ คิดไปมันวิตกไป เลยสังเวชชีวิตของตน ร้องไห้น้ำตามันไหลพราก ๆ

    “เอ้า น้ำไม่ดีนี่ให้มันไหลออกให้หมด อย่าให้มันมีอยู่” นี่แหละปฏิบัติเอาอยู่อย่างนี้

    ทีนี้เลยไม่รู้จะพูดอย่างไร จะบอกอย่างไร เรื่องราวที่มันเป็นต่อไป มีแต่นั่งดูนั่งฟังอยู่เฉย ๆ เมื่อมันชนะแล้ว นั่งดูอยู่อย่างนั้น สารพัดที่มันจะรู้ มันจะเห็นต่าง ๆ นานา พรรณนาไม่ได้ คิดถึงพระพุทธเจ้า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี่เราทุกข์ตากฝนอย่างนี้ ใครล่ะจะมารู้ด้วยกับเรา ก็รู้แต่เฉพาะเราเองเป็นปัจจัตตังเท่านั้นแหละ มันกลัวมาก ๆ ความกลัวมันหายไป ใครอื่นจะมารู้ด้วยชาวบ้านชาวเมืองไม่มารู้ด้วยกับเราหรอก เรารู้คนเดียว มันก็เป็นปัจจัตตัง จะไปบอกใครไปหาใคร มันเป็นปัจจัตตัง แน่เข้าพิจารณาเข้า มีกำลังขึ้นมีศรัทธาขึ้นจนสว่าง

    สว่างมา ลืมตาครั้งแรกเหลืองไปหมดเลย ปวดปัสสาวะ ปวดจนหายปวดเฉย ๆ ยามเช้าลุกขึ้นมองไปทางไหนเหลืองหมด เหมือนแสงพระอาทิตย์ยามเช้าอย่างนั้น แล้วลองไปปัสสาวะดู เพราะมันปวดแต่กลางคืนแล้ว ไปปัสสาวะมีแต่เลือด

    “ฮึ...หรือไส้ข้างในมันขาด” ตกใจเล็กน้อย

    “หรือขาดแล้วจริง ๆ ข้างในนี่”

    “เอ้า...ขาดก็ขาด แล้วใครทำให้มันขาดล่ะ” มันพูดออกมาไวเหมือนกัน

    “ขาดก็ขาด ตายก็ตายซิ นั่งอยู่เฉย ๆ ไม่ได้ทำอะไรนี่ อยากขาดก็ขาดซิ” ใจมันว่า

    ใจนะเหมือนกับมันแย้งกันดึงกันอย่างนั้นแหละ ใจหนึ่งมันเบียดเข้ามาว่าเป็นอันตราย อีกใจหนึ่งมันก็สู้ ก็ค้าน ก็ตัดทันทีเลย ปัสสาวะเป็นแท่งเป็นแท่ง

    “ฮือ นั่นจะไปหายาที่ไหนหนอ ไม่ไปหาหัวมันละ จะไปหาที่ไหนพระขุดรากไม้ไม่ได้นี้ ตายก็ตายช่างมัน จะทำอย่างไรได้ ตายก็ดี ตายเพราะบำเพ็ญอย่างนี้ ตายเพราะปฏิบัติอย่างนี้ก็พอใจตายแล้ว ตายเพราะไปทำความชั่วนั่นซิไม่ค่อยดี ตายเพราะได้ปฏิบัติแบบนี้ตายก็ตาย” ใจมันว่าไปอย่างนั้น

    คืนนั้นฝนตกทั้งคืน วันรุ่งขึ้นเป็นไข้จับสั่นไปทั้งตัว เป็นไข้อยู่ก็จำต้องไปบิณฑบาตในหมู่บ้าน บิณฑบาตก็ไม่ได้อะไรหรอก มีแต่ข้าวเห็นคนแก่คนหนึ่งถือมัดถั่วกับขวดน้ำปลามาตามหลัง “เอ เขาจะเอามาตำถวายหรือนี่ จะฉันไหมหนอ” คิดอยู่อย่างนั้น ทั้งที่เขายังไม่ลงมือตำเลย จะฉันหรือไม่ฉันก็ไม่รู้จัก เพราะคิดว่าตำส้มถั่วนี่มันจะแสลงกับไข้ เขากำลังลงมือตำเราก็คิด “ฉันไหมหนอ ฉันไหมหนอ” เพราะว่าฉันข้าวเปล่า ๆ มาหลายวันแล้ว ไม่มีอะไรอยู่ในป่า

    จนกระทั่งเขานำมาถวายก็รับ รับแล้วก็ตักใส่บาตร พิจารณาอยู่อย่างนั้น เมื่อเรารู้ว่าจะแสลงกับไข้ก็ยังจะฉันมัน ก็ฉันเพราะตัณหาเท่านั้นแหละ หรือมันเป็นอย่างไรพิจารณาไม่ออก พิจารณากลับไปกลับมา ฉันข้าวเปล่า ๆ ดูมันก่อน ได้ความว่าถ้าจะเป็นตัณหาได้ก็เพราะว่ายังมีอาหารอย่างอื่นอีก แต่นี่มีแต่มันอย่างเดียว เป็นตัณหาไม่ได้หรอก ก็เลยฉัน

    เอ้า...ถ้ามันแสลงกับไข้ล่ะ แสลงก็ไม่ตายหรอก เพราะหนึ่งต้องมีคนมาแก้ไข สอง ต้องอาเจียนออก มันไม่อยู่หรอก ถ้าไม่ถึงคราวตาย ถ้าถึงคราวตายของมัน คนจะมาแก้ก็ไม่มีหรอก มันตายเลยเลยฉันเข้าไป ฉันตำส้มถั่วของชาวบ้าน พิจารณาตกแล้วจึงฉัน ฉันแล้วให้ศีลให้พรชาวบ้าน แล้วเขาก็กลับ

    พอตอนเที่ยง นึกถึงตำส้มถั่วขึ้นมาเท่านั้น ขนหัวลุกซู่ รู้สึกแน่นขึ้นมาทันที มันไม่ถูกกับไข้แน่ ๆ มันจับไข้ ตำส้มถั่วแสลงไข้จริง ๆ ละนี่เอ้า แสลงก็แสลง ถ้าไม่ถึงคราวตายของมัน มันก็จะอาเจียนออกมาหรอก แน่นไปแน่นมา ดันไปดันมาสักประมาณบ่ายหนึ่ง ก็อาเจียนออกมาจริง ๆ แน่ะ อาเจียนออกมาจริง ๆ ไม่ถึงคราวมัน หรือถ้าหากไม่อาเจียน ก็ต้องมีคนมาแก้ แล้วก็อาเจียนออกมาจริง ๆ พิจารณาไปอย่างนั้น

    อย่าไปตามใจมัน หัดมัน เอาชีวิตเข้าแลกเลย ปฏิบัตินี่อย่างน้อยต้องได้ร้องไห้ 3 หน นั่นแหละการปฏิบัติ ถ้ามันง่วงนอน อยากนอนก็อย่าให้มันนอน พอมันหายง่วงจึงให้มันนอนอย่างนั้น แต่เรานะโอย...ปฏิบัติไม่ได้หรอก บางครั้งบิณฑบาตมา ก่อนจะฉันก็มานั่งพิจารณาอยู่ มันพิจารณาไม่ออก เหมือนสุนัขบ้า น้ำลายหกน้ำลายไหลเพราะความอยาก จะพิจารณาอะไรก็พิจารณาไม่ออก บางทีพิจารณาก็ไม่ทัน ใจรีบตามมันก็ยิ่งร้ายใหญ่ ถ้ามันไม่ฟัง อดทนไม่ได้ก็ดันบาตรออกไปเสีย อย่าให้มันได้ฉันซะ หัดมัน ทรมานมัน การปฏิบัตินี่ อย่าทำตามมันเรื่อย ๆ ผลักบาตรหนีไป อย่าให้มันฉัน มันอยากมากนัก อย่าให้มันฉัน มันพูดไม่ฟังความนี่ ฮึ น้ำลายก็หยุดไหล พอรู้ว่าจะไม่ได้ฉันมันเข็ด พอวันต่อมามันไม่กวนหรอก มันกลัวว่ามันจะไม่ได้ฉันเงียบ ลอง ๆ ทำดูซิถ้าไม่เชื่อ

    คนเรานะมันไม่เชื่อไม่กล้าทำ ถึงว่าคนไม่มีศรัทธาจะทำ กลัวแต่มันจะหิว กลัวแต่มันจะตาย ไม่ทำดูที่นั่นมันก็ไม่รู้จัก ไม่กล้าทำหรอกพวกเรานะ ไม่กล้าทำดู กลัวแต่มันจะเป็นนั่น กลัวแต่มันจะเป็นนี่เรื่องอาหารการขบฉัน เรื่องนั่นเรื่องนี่นะ โอย...ทุกข์กับมันมามากจนรู้เท่าว่ามันทุกข์ นั่นแหละเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ นี่เรื่องการปฏิบัตินี่ไม่ใช่เรื่องจะพิจารณาง่าย ๆ ไม่ใช่เรื่องเบา ๆ นะ

    พิจารณาเรื่องอะไร เรื่องอะไรล่ะที่สำคัญที่สุด เรื่องอื่นไม่มีแล้วมันตาย เรื่องนี้สำคัญ ตายจึงเป็นเรื่องสำคัญในโลก พิจารณาไป ทำไป หาไป ก็ยังไม่พบ ไม่มีผ้านุ่งผ้าห่มก็ยังไม่ตาย ไม่มีหมากกิน ไม่มีบุหรี่สูบก็ยังไม่ตาย ถ้าไม่มีข้าวไม่มีน้ำกินนี่ตาย เห็นเท่านี้ของสำคัญในโลกมีข้าวกับน้ำนี่สำคัญเลี้ยงร่างกายเลยไม่สนใจเรื่องอื่น เอาแต่มันจะพอได้ส่วนข้าวกับน้ำนี่พอไม่ตายมีอายุปฏิบัติไปเท่านั้นก็เอาละ เอาไหมล่ะเอาเท่านี้ อย่างอื่นเรื่องเบ็ดเตล็ดนั่น ถ้ามันจะได้หรือไม่ได้ก็ช่างมันจะมีจะพบก็ช่าง ข้อสำคัญมีแต่ข้าวกับน้ำเท่านั้น พอได้กิน พอได้ใช้อยู่หรอก เข้าไปบิณฑบาตบ้านไหนเขาคงจะให้หรอก ข้าวทีละก้อนน้ำหากินมันจนได้แหละ เอาสองอันเท่านี้ ไม่คิดจะรวยเท่าใดหรอก

    เรื่องการปฏิบัติ เรื่องผิดเรื่องถูกมันปนกันมานั่นแหละ เราต้องกล้าทำต้องกล้าปฏิบัติ ป่าช้านะไม่เคยไปก็ต้องหัดไป ไปกลางคืนไม่ได้ต้องไปกลางวัน แล้วหัดไปค่ำ ๆ บ่อย ๆ ต่อไปตอนค่ำก็ไปได้แล้วจะเห็นประโยชน์ในการกระทำของตน ทีนี้ก็จะรู้เรื่อง อันนี้อะไรจิตใจของเรามันไม่รู้เรื่องรู้ราวมาตั้งกี่ภพกี่ชาติ อันไหนเราไม่ชอบอันไหนเราไม่รักก็ไม่อยากให้มันประพฤติปฏิบัติ ปล่อยมันกลัวอย่างนี้ แล้วว่าเราได้ปฏิบัติ มันยังไม่เรียกปฏิบัติหรอก ถ้าปฏิบัติจริงๆ ละก็ชีวิตนั่นแหละพูดง่าย ๆ ถ้าตั้งใจจริง ๆ จะไปสนใจทำไม กูได้น้อยมึงได้มาก มึงทะเลาะกูกูทะเลาะมึง ไม่มีหรอกเรื่องอย่างนั้นนะ เพราะไม่หาเอาเรื่องอย่างนั้นใครจะทำอย่างไรก็ช่าง จะเข้าวัดไหนก็ตาม ก็ไม่ได้หาเอาเรื่องเช่นนี้เรื่องเช่นนั้น หาเอาเรื่องของตนเท่านั้น อย่างนี้แหละกล้าประพฤติกล้าปฏิบัติ ปัญญาจะเกิด ญาณจะเกิด เพราะการปฏิบัติ

    ถ้าหากว่าปฏิบัติที่มันถึงแล้ว มันปฏิบัติแท้ ๆ กลางคืนกลางวันก็ตามก็ปฏิบัติ กลางคืนก็นั่งสมาธิเงียบ ๆ แล้วลงมาเดินอย่างน้อยก็ต้องได้สองสามครั้ง เดินจงกรมนั่งสมาธิ นั่งสมาธิแล้วลงมาเดินจงกรมมันไม่อิ่ม มันเพลิน บางทีฝนตกพรำ ๆ ไม่หนัก ให้นึกถึงเมื่อคราวทำนาโน่น กางเกงที่นุ่งทำงานกลางวันยังไม่ทันแห้ง ตื่นเช้ามาก็ต้องสวมใส่เข้าไปอีก ตั้งแต่เช้าเข้าไปเอาควายในคอก มองดูควายข้างนอกเห็นแต่คอ ไปจับเอาเชือกควายมามีแต่ขี้ควายเต็มไปหมด หางควายตวัดแกว่งเอาขี้ของมันมาเปรอะเราเต็มไปหมด ตีนเป็น ฮังก้า ด้วย เดินไปทรมานไป “ทำไมถึงทุกข์ ทำไมถึงยากแท้” ที่เราเดินจงกรมฝนตกแค่นี้ มันจะเป็นอะไร ทำนายิ่งทุกข์ก็ทำได้ เดินจงกรมแค่นี้ ทำไมจะทำไม่ได้ มันกล้าขึ้นมาหรอกถ้าเราได้ทำ

    ถ้ามันตกกระแสของมันแล้ว เรื่องการปฏิบัตินี่ไม่มีอะไรจะขยันเท่ามันหรอก จะทุกข์ก็ไม่ทุกข์เท่าผู้ปฏิบัติ จะสุขก็ไม่สุขเท่าผู้ปฏิบัติขยันก็ไม่ขยันเท่าผู้ปฏิบัติ ขี้เกียจก็ไม่ขี้เกียจเท่าพวกนี้ พวกนี้เป็นเลิศเลิศกว่าเขา ขยันก็เลิศเขา ขี้เกียจก็เลิศเขา มีแต่เลิศทั้งนั้น ถึงว่าถ้าตั้งใจปฏิบัติแล้วมันก็น่าดูจริง ๆ แต่พวกเราว่าปฏิบัตินะมันไม่ถึง มันไม่ได้ทำ เปรียบก็เท่ากับว่า ถ้าหลังคารั่วตรงนี้ก็ขยับไปนอนตรงนั้นถ้ารั่วตรงนั้นก็ขยับมานอนตรงนี้ “ทำยังไงจะได้บ้านได้ช่องดี ๆ กับเขาสักที” นี่ถ้ามันรั่วทั้งหลังก็คงหนีเลย อย่างนี้ก็ไม่น่าเอา มันก็อย่างนั้นแหละการปฏิบัติ

    จิตของเรา กิเลสของเรานะ ถ้าไปทำตามมันก็ยิ่งไปกันใหญ่ ยิ่งทำตามก็ยิ่งหมดข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องการปฏิบัตินี่จนมันอัศจรรย์ในจิตของตนนะ อัศจรรย์มันขยันหมั่นเพียรไม่รู้เป็นอย่างไร ใครจะปฏิบัติก็ตามไม่ปฏิบัติก็ตาม ไม่ได้สนใจใคร ทำของตนปฏิบัติของตนไปสม่ำเสมออย่างนั้น ใครจะไปใต้มาเหนือก็ช่างเขา เราทำของเราอยู่อย่างนั้นมันต้องดูตัวเองมันจึงจะเป็นการปฏิบัติ ครั้นปฏิบัติไป ปฏิบัติแล้วไม่มีเรื่องอะไรในใจ มีแต่เรื่องธรรมะ ตรงไหนมันยังทำไม่ได้ ตรงไหนมันขัดข้องอยู่ มันก็วนอยู่แต่ตรงนั้น มันไม่แตกแล้วมันไม่หนีหรอก หมดอันนี้แล้วไม่คาอยู่กับอะไรอีก มันก็ไปติดอยู่ตรงนั้นอีก ติดอยู่ที่นั่นมันไม่หนี ถ้ามันติดอยู่ มันเอาจนแตกนั่นแหละ ถ้ามันไม่เสร็จ มันก็ไม่ไปมันไม่สบายใจถ้ามันไม่เสร็จหมด มันพิจารณาจ่ออยู่ที่นั่น นั่งก็อยู่ที่นั่น นอนก็อยู่ที่นั่น เดินก็อยู่ที่นั่น เปรียบเหมือนกับเราทำนาไม่เสร็จนั่นแหละ นาเราเคยดำทุกปี แต่ปีนี้ตรงนั้นยังไม่เสร็จ ใจมันก็เลยติดเป็นทุกข์ อยู่ที่นั้นไม่สบาย เหมือนเราทำงานไม่เสร็จ ถึงมาอยู่กับเพื่อนมาก ๆ ใจก็ไม่สบาย พะวงแต่เรื่องงานที่เราทำไม่เสร็จอยู่นั้นแหละ หรือเหมือนกับเราปล่อยลูกเล็ก ๆ ไว้บนบ้าน แต่เราให้อาหารหมูอยู่ใต้ถุนบ้าน ใจมันก็คิดอยู่แต่กับลูก กลัวมันจะตกบ้าน ทำอย่างอื่นอยู่ก็คิดอยู่อย่างนั้น เช่นเดียวกันกับข้อปฏิบัติของเรามันไม่ลืมสักทีเลย ทำอยู่ก็ไม่ลืม พอจะออกจากมัน มันก็ป๊าบเข้ามาในใจทันที ติดตามอยู่กระทั่งคืนกระทั่งวันไม่ได้ลืมสักที เป็นอยู่อย่างนั้นมันจึงเป็นไปได้ ไม่ใช่ของง่าย

    ตอนแรกก็อาศัยครูบาอาจารย์ให้ท่านแนะนำ เข้าใจแล้วก็ทำครูบาอาจารย์สอนแล้วก็ทำตามที่ท่านสอน พอเข้าใจแล้วทำได้แล้ว ท่านก็ไม่ได้สอนอีก เราทำของเราเองละทีนี้ มันจะเกิดประมาท อยู่ตรงไหน มันจะเกิดไม่ดีอยู่ตรงไหน มันก็รู้ของมันเอง มันก็สอนของมันเอง มันก็ทำของมันเอง มันเป็นผู้รู้ มันเป็นปัจจัตตัง จิตมันเป็นของมันเอง รู้เองว่าผิดน้อยผิดมาก ผิดตรงไหนมันก็พยายามดูของมันอยู่อย่างนั้น พยายามประพฤติปฏิบัติเองของมัน เป็นอย่างนั้นละปฏิบัติคล้าย ๆ เป็นบ้าหรือเป็นบ้าไปเลยก็ว่าได้ ปฏิบัติจริง ๆ ก็เป็นบ้าน่ะแหละมันเปลี่ยน มันเป็นสัญญาวิปลาส แล้วมันเปลี่ยนสัญญานั่น ถ้ามันไม่เปลี่ยน มันก็ดุร้ายอยู่เหมือนเดิม มันก็ทุกข์อยู่เหมือนเดิม

    มันก็แสนจะทุกข์ นั่นละการปฏิบัติ แต่ว่าทุกข์นั่นถ้ามันไม่รู้จักว่ามีทุกข์ มันก็ไม่รู้จักทุกข์หรอก ถ้าเราจะพิจารณาทุกข์ เราจะฆ่าทุกข์นี่มันก็ต้องพบกันก่อนซิ จะไปยิงนกถ้าไม่เจอนกแล้วจะได้ยิงหรือ ทุกข์พระพุทธเจ้าท่านทรงสอนว่า ทุกข์ ชาติทุกข์ ชราปิทุกข์ เกิดขึ้นมาแล้วไม่อยากให้มันทุกข์มันก็ไม่เห็นทุกข์ ไม่เห็นทุกข์มันก็ไม่รู้จักทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์มันก็เอาทุกข์ออกไม่ได้อย่างนี้ แล้วคนเราไม่อยากเห็นทุกข์ ไม่อยากได้ทุกข์ ทุกข์ตรงนี้ก็หนีไปนั้น นั่นแหละยิ่งเอาทุกข์ไว้ไม่ได้ฆ่ามัน ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณาดูมัน ทุกข์ตรงนี้หนีไปตรงนั้นทุกข์ตรงนั้นหนีไปตรงนี้ หนีแต่ทางกายเรา ครั้นมันหลงอยู่เมื่อใดจะไปตรงไหนมันก็ทุกข์ จะขึ้นเครื่องบินหนีไปมันก็ขึ้นไปด้วย แม้จะมุดลงไปในน้ำมันก็มุดไปด้วย เพราะทุกข์มันอยู่กับเรา แต่เรามันหลงมันอยู่กับเรา จะไปหนี จะไปละมันที่ไหนได้ คนเรานะทุกข์ที่นี้หนีไปที่นั้น ทุกข์ที่นั้นหนีมาทางนี้ ว่าเราหนีทุกข์มันก็ไม่ใช่ ทุกข์มันไปกับเราเราไปกับทุกข์ ไม่รู้จักทุกข์ ถ้าไม่รู้จักทุกข์ ก็ไม่รู้จักเหตุเกิดของทุกข์ ไม่รู้จักเหตุของทุกข์ ก็ไม่รู้จักความดับทุกข์ ที่ไหนมันจะดับได้ มันไม่มีหรอก

    มันต้องหมั่นมาพิจารณาให้มันแน่นอน ต้องกล้าประพฤติกล้าปฏิบัติ อยู่กับเพื่อนกับฝูงก็เหมือนอยู่คนเดียว ไม่กลัว ใครจะขี้เกียจขี้คร้านก็ช่างเถอะ ผู้ใดเดินจงกรมทำเพียรมาก ๆ ละรับรอง ใครจะไปไหนมาไหนก็ทำการปฏิบัติของตัวเองอยู่อย่างนั้น ทำเพียรอยู่อย่างนั้นถ้าทำจริง ๆ แล้ว ก็พรรษาเดียวเท่านั้น การปฏิบัตินี่ให้ทำนะ ให้ทำอย่างที่พูดมานี่ ให้ฟังคำสอนของอาจารย์ อย่าเถียงอย่าดื้อ ท่านสั่งให้ทำ ทำไปเลย ไม่ต้องกลัวกับการปฏิบัติ มันรู้จักเพราะการกระทำ ไม่ต้องสงสัยหรอก

    การปฏิบัตินั้นเป็นปฏิปทาด้วย ปฏิปทาอย่างไร ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ สม่ำเสมอ ปฏิบัติเหมือนหลวงตาเปไม่ได้นะ ในพรรษาท่านก็สมาทานไม่พูด ไม่พูดแต่ก็เอาหนังสือมาเขียน “พรุ่งนี้ปิ้งข้าวเหนียวให้สักก้อนนะ” อยากกินข้าวเหนียวปิ้ง ท่านไม่พูดแต่เอาหนังสือมาเขียน ยิ่งยุ่งกว่าเดิมอีก เดี๋ยวก็เขียนเอาอันนั้น เดี๋ยวก็เขียนเอาอันนี้ วุ่นวายไปหมด ท่านสมาทานไม่พูด แต่มาเขียนเอา นี่ก็ไม่รู้จะสมาทานไม่พูดไปทำไม ไม่รู้จักการปฏิบัติของตนเอง ความเป็นจริงปฏิปทาของเราเป็นผู้มักน้อยเป็นผู้สันโดษ ปล่อยไปตามธรรมดาปกติของเรา อย่าไปสนใจมันจะขี้เกียจ อย่าไปสนใจมันจะขยัน ปฏิบัตินี่อย่าว่าขยันอย่าว่าขี้เกียจธรรมดาคนเรานั้นนะขยันจึงจะทำ ถ้าขี้เกียจแล้วไม่ทำ นี่ปกติของคนเรา แต่พระท่านไม่เอาเช่นนั้น ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็ทำ ไม่สนใจอย่างอื่นตัดไป ละไป หัดไป ทำไปเรื่อย ๆ ไม่ว่าวันหรือคืน ปีนี้ปีหน้ายามไหนก็ตาม ไม่สนใจขยัน ไม่สนใจขี้เกียจ ไม่สนใจร้อน ไม่สนใจหนาว ทำไปเรื่อย ๆ นี่ท่านเรียกว่า สัมมาปฏิปทา

    บางทีก็ขะมักเขม้นขึ้นมาคุมกันอยู่เสีย ๖ วัน ๗ วัน พอเห็นว่าไม่เข้าท่าก็หยุด เลิกออกมาเลย ยิ่งไปกันใหญ่ ทั้งพูดทั้งคุยไม่รู้อะไรต่ออะไร พอนึกได้ทำเข้าไปอีกสองวันสามวันเท่านั้น พอเลิกแล้วนึกได้อีกก็ทำอีก เหมือนกับคนทำงาน บทจะทำก็ทำเสียจนไม่รู้เนื้อรู้ตัวเรื่องขุดไร่ขุดสวน ถางไร่ถางภูก็ดี บทจะเลิก จอบเสียมก็ไม่ยอมเก็บทิ้งอยู่อย่างนั้น หนีไปเลย วันต่อมาดินจับเกรอะไปหมด แล้วก็นึกขยันทำอีก ทิ้งไปอีก อย่างนี้ไม่เป็นไร่ไม่เป็นนา ปฏิบัตินี่ก็เหมือนกันนั่นแหละ ปฏิปทาถ้าถือว่าไม่สำคัญก็ไม่สำเร็จ สัมมาปฏิปทานี่สำคัญมากจริง ๆ คือ เราทำเรื่อย ๆ อย่าไปว่ามันได้อารมณ์ดีอารมณ์ไม่ดี ดีก็ช่างไม่ดีก็ช่าง ช่างมัน พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สนใจใครหรอก ท่านผ่านมาหมดของดีไม่ดี ของชอบไม่ชอบเหล่านี้ นั่นแหละจึงเป็นการปฏิบัติ การปฏิบัติที่จะเอาแต่ของชอบ ของไม่ชอบไม่เอา อย่างนี้ไม่เป็นการปฏิบัติ มันเป็นวิบัติ ไปที่ไหนก็ไม่สบาย อยู่ที่ไหนก็ไม่สบายเป็นทุกข์อยู่ตลอดกาลตลอดเวลา กระทำเพียรอย่างนี้ก็เหมือนกันกับพราหมณ์บูชายัญ ทำไมบูชายัญ ก็เพราะเขาต้องการสิ่งที่เขาปรารถนาเราทำเพียรก็เหมือนกัน ทำไมเราจึงทำความเพียรล่ะทำเพื่อมีภพมีชาติต้องการตามใจตามปรารถนาจึงเอา ไม่ได้ตามปรารถนาก็ไม่เอาเหมือนกับพราหมณ์บูชายัญ เขาต้องการเขาจึงบูชายัญ

    พระพุทธเจ้าท่านไม่ว่าอย่างนั้น การกระทำเพียรก็เพื่อละเพื่อปล่อยเพื่อเลิกเพื่อถอน ไม่ต้องการภพชาติ ไม่ต้องการเอานั่นเอานี่กว่าที่ท่านจะมาถูกทางท่านก็ปฏิบัติมาไม่รู้กี่อย่างต่อกี่อย่าง มีพระเถระองค์หนึ่ง ท่านบวชมหานิกายว่ามันไม่เคร่ง ก็เปลี่ยนมาเป็นธรรมยุติครั้นบวชธรรมยุติแล้วมาปฏิบัติ ปฏิบัติไปบางทีก็ไม่ยอมกินข้าวตั้ง ๑๕ วันนะ ครั้นกินก็กินเฉพาะผักเฉพาะหญ้า กินสัตว์นะมันบาป กินผักกินหญ้าดีกว่า กินฝัก ลิ้นฟ้า หมดทีละ ๔-๕ ฝักแน่ะ กินอย่างนั้นมันก็ได้แค่นั้น ต่อมาสักหน่อย เฮ้ย...เป็นพระไม่ดี เป็นไปลำบาก รักษาวัตรมันยาก ลดลงมาเป็นผ้าขาวดีกว่า เลยสึกจากพระมาเป็นผ้าขาวเพราะเก็บผักเก็บหญ้ากินเองก็ได้ ขุดหัวเผือกหัวมันกินเองก็ได้ เลยมาเป็นผ้าขาว ทำไปทำมาไม่รู้เรื่องรู้ราว เลยหมดไป หมดไปจากพระจากผ้าขาว หมดเลย เดี๋ยวนี้ไม่รู้ว่าไปอย่างไร ตายหรือยังก็ไม่รู้ นี่เพราะทำอย่างไรก็ไม่พอใจไม่หนำใจเลย ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำตามกิเลส กิเลสพาทำก็ไม่รู้จัก พระพุทธเจ้านะท่านสึกเป็นผ้าขาวหรือเปล่า ท่านทำอย่างไร ท่านปฏิบัติอย่างไรก็ไม่คิดดู ท่านพากินผักกินหญ้าเหมือนวัวเหมือนควายหรือเปล่า เออ...ครั้นจะกินก็กินไปเถอะเราทำได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น

    อย่าไปติคนอื่น อย่าไปว่าคนอื่น มันสบายอย่างใดก็เอาอย่างนั้นอย่าไปเสี้ยม อย่าไปถาก อย่าไปฟันเขามากเกินไป จะไม่เป็นคันกะบวยเลยไม่เป็นอะไรก็ทิ้งไปเสียเฉย ๆ อย่างนี้ก็มี อย่างการทำความเพียรเดินจงกรม ๑๕ วัน ก็เดินอยู่อย่างนั้น ไม่กินข้าวละ แข็งแรงอยู่ ครั้นเลิกทำแล้วทิ้ง นอนเรื่อยเปื่อยไม่ได้เรื่อง นี่แหละมันไม่ได้คิดไตร่ตรองให้ดี ไป ๆ มา ๆ เป็นอะไรก็ไม่ถูกใจ เป็นพระก็ไม่ถูกใจ เป็นเณรก็ไม่ถูกใจ เป็นผ้าขาวก็ไม่ถูกใจ เลยไม่เป็นอะไร ไม่ได้อะไรเลยหมด นี่แหละมันไม่รู้จักการปฏิบัติของตน ไม่พิจารณาเหตุผล จะปฏิบัติเพื่อเอาอะไรให้คิดดู ที่ท่านให้ปฏิบัติน่ะปฏิบัติเพื่อทิ้ง มันคิดรักคนนั้นมันคิดชังคนนี้ อย่างนี้มีอยู่แต่อย่าไปสนใจมัน แล้วปฏิบัติเพื่ออะไร เพื่อละสิ่งเหล่านั้น มันสงบก็ทิ้งความสงบ มันรู้แล้วก็ทิ้งมันเสีย ความรู้เหล่านั้นรู้แล้วก็แล้วไป ครั้นถือว่าตัวว่าตนว่ารู้แล้ว ก็ถือว่าตัวเก่งกว่าคนอื่นเท่านั้นซิ ไป ๆ มา ๆ เลยอยู่ไม่ได้ อยู่ที่ไหนเดือดร้อนที่นั่นเรื่องปฏิบัติไม่ถูกหนทางมัน นี่เราไม่ได้ปฏิบัติ

    ปฏิบัติพอสมควรตามกำลังของเรา มันนอนมากไหม ก็ทรมาน มันดู มันกินมากก็ทรมานมัน เอามันพอสมควร เอาแต่ศีล สมาธิ ปัญญา เอาธุดงควัตรใส่เข้าไปด้วย ธุดงควัตรนี่เพื่อเป็นเครื่องขูดเกลา เอาขนาดหนึ่งมันไม่พอนะ เอธุดงควัตรเข้าใส่มันจึงแก้ได้ ธุดงควัตรนี้ก็เป็นของสำคัญอยู่ บางคนเอาศีลเอาสมาธิฆ่ามันก็ไม่ได้ ไม่เป็น ต้องเอาธุดงควัตรเข้าช่วยอย่างนั้น ธุดงคววัตรมันตัดหลายอย่างเช่น บางทีให้อยู่โคนต้นไม้ อยู่โคนต้นไม้ก็ไม่ผิดศีล อยู่ป่าช้า อยู่ป่าช้าก็ไม่ผิดศีล ถ้าตั้งธุดงควัตรอยู่ป่าช้าแล้วไม่อยู่นะถึงผิด ไปอยู่ลองดูซิ ป่าช้านั่นมันจะเป็นอย่างไร มันจะเป็นเหมือนอยู่กับหมู่กับพวกหรือเปล่า มันมีประโยชน์ทุกๆ อย่างนั่นแหละธุดงควัตรนี่

    ธุ-ตัง-คะ ท่านว่าข้อวัตรปฏิบัติอันบุคคลปฏิบัติยาก เป็นข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ผู้ใดต้องการเป็นอริยเจ้าต้องมีธุดงควัตรเป็นเครื่องขัดเกลา ยากที่คนจะทำได้และยากที่จะมีคนศรัทธาทำ เพราะมีแต่สิ่งที่ขัด มีแต่ขัดมีแต่ขืนทั้งนั้น อย่างถือผ้าก็ผ้าสามผืน เที่ยวบิณฑบาตมาฉัน บางทีก็ฉันแต่ในบาตร เที่ยวบิณฑบาตไป ตักบาตรอะไรก็ฉันอันนั้น เขาจะเอาอะไรมาถวายภายหลังไม่เอา เวลาบิณฑบาตเขาใส่อะไรให้ก็ฉันแต่อันนั้น การที่ถือธุดงค์ข้อนี้อยู่ทางภาคกลางดี สบายเพราะเขาพร้อมอยู่แล้ว แต่ถ้ามาทางภาคอีสานธุดงค์ข้อนี้ได้ปฏิบัติละเอียดดี เพราะได้กินแต่ข้าวเปล่าๆ เท่านั้น บ้านเราเขาใส่บาตรแต่ข้าวเปล่าๆ ทางโน้นเขาใส่บาตรใส่ข้าวใส่กับด้วย มาบ้านเราทิ้งใส่ให้แต่ข้าวเท่านั้น ธุดงค์ข้อนี้อย่างอุกฤษฎ์เลย เคร่งอย่างนั้น บิณฑบาตมาฉัน ฉันแล้วใครจะเอาอะไรมาถวายอีกก็ไม่ฉัน ธุดงควัตรนี่มันช่วยมาก ช่วยจริงๆ ฉันหนเดียว ภาชนะอันเดียว อาสนะอันเดียว ลุกไปแล้วไม่ฉันอีกอย่างนั้น อันนี้เรียกว่าธุดงควัตร แล้วจะมีใครบ้างที่ประพฤติปฏิบัติได้ ยากที่จะมีคนศรัทธาเพราะมันยากมันลำบากมาก ท่านจึงว่าผู้ใดปฏิบัติธุดงควัตรนี้มีอานิสงส์มากจริงๆ

    ที่เราว่าปฏิบัติน่ะมันยังไม่เรียกว่าปฏิบัติหรอก ถ้าปฏิบัตินะมันไม่ใช่ของเบาๆ มันไม่กล้าประพฤติไม่กล้าปฏิบัติหรอก คนเรานะ ที่ไหนมันขัดมันไม่กล้าทำหรอก อันไหนมันขัดหัวใจ ไม่อยากทำ ไม่อยากปฏิบัติ ไม่อยากขัดกิเลส ไม่อยากเกลามัน ไม่อยากเอามันออก

    ความเป็นจริงท่านว่า การปฏิบัตินั้น อย่าทำตามใจของตนนัก ปฏิบัติให้พิจารณาบ้าง ใจเรามันถูกล่อลวงมาหลายภพหลายชาติแล้ว ว่าเป็นใจของตน มันไม่ใช่หรอก มันล้วนแต่เป็นของปลอม มันพาเราโลภ มันพาเราโกรธ มันพาเราหลง มันพาปล้นพาสดมภ์ พาอยากได้ พาอิจฉาพยาบาท อย่างนี้มันไม่ใช่ของเรา แล้วลองถามดูใจของเราซิอยากดีไหม มีแต่อยากดีทั้งนั้น แล้วทำอย่างนั้นมันดีไหมล่ะ แน่ะ ไปทำไม่ดีแต่มันอยากได้ดี ถึงว่าของที่มันไม่จริงก็ต้องเป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ตามมัน ให้ขัดมัน มันไปทางนั้นหลบมาทางนี้ มันมาทางนี้หลบไปทางโน้น นั่นแหละ พูดง่ายๆ ก็เท่ากันกับเรื่องเก่าที่พูดมาแต่ต้น ใจเรามันจะชอบอันนี้เอาไปโน่น ใจมันจะชอบอันโน่นเอามานี่ เหมือนคนเคยเป็นเพื่อนกันมาก่อน แต่มาถึงวันนี้ก็มีความเห็นไม่ตรงกัน ไปคนละทางแยกทางกัน พูดจาไม่ลงรอยกันทะเลาะกันเลย มันแยกไปอย่างนั้น นั่นแหละไม่ตามใจของตน ถ้าผู้ใดทำตามใจของตน มันรักอันไหนมันชอบอันไหน ก็เอาไปตามเรื่องราวของมันนั่นแหละ ยังไม่ได้ปฏิบัติอะไรเลยสักอย่าง ลองดูก็ได้

    นี่แหละเขาว่าได้ปฏิบัติ มันไม่ใช่ มันวิบัติอยู่ ถ้าไม่หยุดดูไม่ทำดู ไม่ปฏิบัติดูก็ไม่เห็น ไม่เป็น ปฏิบัตินี่พูดง่ายๆ มันก็ต้องเอาชีวิตนั้นแหละเข้าแลก ไม่ใช่มันไม่ทุกข์นะปฏิบัตินี่ มันต้องทุกข์ ยิ่งพรรษาหนึ่งสองพรรษานี่ยิ่งทุกข์ พระหนุ่มเณรน้อยนี่ยิ่งทุกข์มาก ผมนี่มันเคยทุกข์มามาก ทุกข์กับอาหารการก็นี่ก็ยิ่งทุกข์ ก็เราอายุ ๒๐ ปีมาบวชมันกำลังกินกำลังนอน

    จะว่าอย่างไรกับมันล่ะ บางครั้งก็ไปนั่งเงียบคิดถึงแต่ของกินของอยาก อยากกินตำกล้วยตานี อยากกินตำส้มมะละกอ ทุกอย่างนั่นแหละ น้ำลายนี้ไหลยืด นี่แหละได้ทรมานมัน ทุกสิ่งทุกอย่างมันไม่ใช่ของง่าย ถึงว่ามันได้พาทำบาปมามากแล้วเรื่องอาหารการกินนี่ คนกำลังกินกำลังนอนกำลังสนุกมายึดเอาไว้มาขังเอาไว้ มันก็ยิ่งไปกันใหญ่ เท่ากับน้ำกำลังไหลไปขวางเอาไว้ยิ่งแตกใหญ่ เอาไว้ได้ก็ดี เอาไว้ไม่ได้ก็พัง จนกว่ามันสบายจากสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ละก็ไม่ยากเลย

    ภาวนาปีแรกไม่ได้อะไร มีแต่ภาวนาของอยากของกินวุ่นวายไปหมด แย่มากเหลือเกิน บางครั้งนั่งอยู่เหมือนกับได้กินกล้วยจริงๆ รู้สึกเหมือนหักกล้วยเข้าปากอยู่อย่างนั้น มันเป็นของมันเอง เหล่านี้มันมีแต่เรื่องการปฏิบัติทั้งหมดทั้งนั้น แต่ว่าอย่าไปกลัวมัน มันเป็นมาหลายภพหลายชาติแล้ว เราได้มาฝึกมาหัดมันทุกอย่างแสนลำบาก แต่ว่าอันไหนยากๆ อันนั้นแหละทำ อันไหนไม่ยากไปทำมันทำไม ทำในสิ่งที่มันยาก ทำที่มันได้ สิ่งง่ายๆ นะ ใครๆ ทำเป็นหรอก สิ่งทำยากๆ นี่ต้องทำให้มันได้ พระพุทธเจ้าของเราก็เช่นกัน ถ้าจะมาคอยพะวงญาติพี่น้อง พงศ์พันธุ์ ทรัพย์สมบัติ ความร่าเริงบันเทิงต่างๆ รูปก็ดี เสียงก็ดี กลิ่นก็ดี รสก็ดี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็ดี ก็ไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้าหรอก เหล่านี้มันไม่ใช่ของน้อย คนเราก็หาเอาแต่สิ่งเหล่านี้ทั้งโลกนั่นแหละ ออกบวชแต่อายุยังน้อย หนีจากมันได้ มันก็ตายนั่นแหละ บางคนก็ยังมาพูดว่า “ถ้าเหมือนหลวงพ่อก็ค่อยยังชั่วหน่อย ไม่ได้สร้างครอบครัวก็สบาย ไม่ได้คิดอะไร” ว่าไปนั่น ผมว่า “อย่ามาพูด อยู่ใกล้ๆ นะ เดี๋ยวโดนไม้ค้อนหรอก” ยังกับเราไม่มีหัวใจอย่างนั้น

    เรื่องของคนไม่ใช่เรื่องย่อยๆ มันเรื่องชีวิตทั้งนั้นแหละ ถึงว่านักปฏิบัติเรากล้าหาญ ฝึกเร่งเข้าไป ไม่เชื่ออย่างอื่น เชื่อพระพุทธเจ้าท่านทรงสอนให้หาความสงบใส่ตัวเอง พอมาภายหลังจึงรู้ ปฏิบัติไปพิจารณาไป ไตร่ตรองไป ผลมันสะท้อนกลับมาที่นี้เท่ากัน มีเหตุผลเหมือนกัน นักปฏิบัติของเราก็เช่นกัน อย่าไปยอมมัน ทีแรกแค่เรื่องการนอนมันก็คงยาก ว่าจะลุกตื่นขึ้นเวลานั้นเวลานี้มันก็ไม่ลุก นี่ต้องหัดมัน ว่าจะลุกก็ลุกขึ้นมาทันที บางทีมันก็ได้ แต่บางทีพอรู้สึกตัวว่าจะลุกมันก็ไม่ลุก บางทีก็จะให้มันลุกว่า หนึ่ง...สอง...เอ้า ถ้านับถึงสาม แล้วไม่ลุกต้องตกอเวจีนรกนะ บอกมันอย่างนั้น พอจะสามันรีบลุกขึ้นทันที มันกลัวตกนรก อย่างนี้ต้องหัดมัน ไม่หัดไม่ได้หรอก มันต้องหัดทุกด้านทุกมุม จะอาศัยครูบาอาจารย์ อาศัยหมู่ อาศัยเพื่อน มาแนะนำพร่ำสอนเราอยู่เรื่อยๆ นะ โอย ไม่ได้กินหรอก อย่างนี้ไม่ต้องบอกกันมากหรอก บอกทีสองทีก็เลิก ทำไปปฏิบัติไปของมันเอง

    จิตที่มันเป็นไปแล้วมันไม่ทำผิดหรอก อยู่ต่อหน้าคนมันก็ไม่ทำผิด อยู่ลับหลังมันก็ไม่ทำผิด เรื่องจิตที่มันเป็นแล้วมันไม่มีที่ลับที่แจ้งสักแห่ง มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ฉะนั้น พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านจึงเชื่อจิตของท่านว่ามันเป็นเช่นนั้น นี่เราทั้งหลายก็เหมือนกันข้อวัตรปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ นี้ก็ยังไม่รู้จัก บางคนต้องการจะมาปฏิบัติเพื่อเอาความสุขเฉยๆ สุขมันจะเกิดมาจากไหนก่อน อะไรเป็นเหตุมัน ความสุขทั้งหลายนะมันต้องมีทุกข์ก่อน มันจึงจะเป็นสุข เราทำทุกสิ่ง ทำงานก่อนจึงได้เงินมาซื้อกินไม่ใช่หรือ ทำนาก่อนจึงจะได้กินข้าว มันต้องผ่านความทุกข์มาก่อนทุกอย่างน่ะแหละ บางคนมาบวชว่าจะมาพักผ่อนให้สบาย จะมานั่งพักผ่อนเอาสบายเลย เขาว่า ไม่ได้เรียนหนังสือมาก่อน จะมาจับหนังสืออ่านได้เลยอย่างนั้นหรือ ไม่ได้หรอก

    อย่างนี้แหละคนที่มีความรู้สูงๆ เมื่อเข้ามาบวชมาปฏิบัติไม่ค่อยได้เรื่อง เพราะมันรู้ไปคนละอย่างคนละทาง มันไม่ได้ทรมานตัวเองไม่ได้ดูตัวเอง หาเอาแต่ความยุ่งเหยิงมาใส่ใจของตน เอาแต่สิ่งที่ไม่ใช่ความสงบระงับ ส่วนด้านรู้ของพระพุทธเจ้าของเราไม่ใช่รู้ด้านโลกีย์ ท่านรู้ด้านโลกุตตระ มันรู้ไปคนละทาง ฉะนั้น ผู้เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาไม่ว่าผู้ใด ไม่ว่าชั้นใดภูมิใดก็ตาม ก็ให้หยุด กระทั่งพระเจ้าอยู่หัวมาบวช ก็หยุดเรื่องนั้น เรื่องโลก ไม่ได้เอามาใกล้ ไม่ได้เอามาอวดมาอ้าง ไม่ได้เอาลาภนั้นมา ไม่ได้เอายศนั้นมา ไม่เอาความรู้นั้นมา ไม่เอาอำนาจนั้นมา การปฏิบัติเป็นเรื่องละ เป็นเรื่องวาง เป็นเรื่องถอน เป็นเรื่องเลิก ต้องเข้าใจอย่างนั้น ทุกอย่างมันจึงจะเป็นไปได้

    เป็นไข้ ยิ่งไม่ฉีดยากินยา มันจะหายหรือที่ไหนมันกลัวต้องเข้าไปป่าช้าตรงไหนมันกลัวต้องเข้าไปดู ห่มผ้าเข้าไปพิจารณา อนิจจา วต สงฺขารา ไปยืนแล้วก็เดินจงกรมอยู่ที่นั้น ไปพิจารณาให้รู้ให้เห็นว่ามันกลัวอยู่ตรงไหน แล้วมันจะบอก มันจะรู้เอง มันให้รู้เท่าสังขาร อยู่ดูมันจนค่ำจนมืดไปเรื่อยๆ ต่อไปดึกๆ ก็เข้าไปได้ แต่นี่ไม่กล้า ไปกลัวมัน ไม่กล้าเข้าไปปฏิบัติ ถ้าทำอย่างนั้นนะ เขาเรียกปฏิบัติไม่รู้เรื่อง การปฏิบัติไม่รู้จักเรื่องของมัน เราจะต้องกล้า ต้องฝึก ต้องหัด อันใดที่พระศาสดาทรงบัญญัติไว้ อันนั้นต้องเกิดประโยชน์ อันนั้นต้องมีประโยชน์ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า

    “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นตถาคต ผู้ใดเห็นตถาคต ผู้นั้นเห็นพระนิพพาน”

    ไม่ปฏิบัติตามท่านจะเห็นธรรมได้อย่างไร ไม่เห็นธรรมจะรู้จักท่านได้อย่างไร ไม่รู้จักท่านจะรู้จักคุณของท่านได้อย่างไร ถ้าทำตามท่านแล้วจะรู้จักว่า พระพุทธเจ้าท่านสั่งสอนมาแน่นอนเหลือเกินเรื่องสัจจธรรมนี้ สัจจธรรมเป็นความจริงที่สุด
     
  12. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    สองหน้าของสัจธรรม

    ในชีวิตของเรามีทางเลือกอยู่สองทาง คือคล้อยตามไปกับโลก หรือพยายามปฏิบัติให้อยู่เหนือโลก พระพุทธเจ้านั้น ท่านทรงปฏิบัติจนพระองค์ทรงพ้นโลกด้วยการตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ในทำนองเดียวกัน ปัญญาก็มีสอง คือ ปัญญาโลกีย์กับปัญญาโลกุตตระ หากเราไม่ภาวนาฝึกปฏิบัติอบรมตนเอง ถึงจะมีปัญญาปานใด ก็เป็นเพียงปัญญาโลกีย์ เป็นโลกียวิสัย จะหลุดพ้นโลกไปไม่ได้ เพราะโลกียวิสัยนั้น มันเวียนไปตามโลกไปไม่ได้ เพราะโลกียวิสัยนั้น มันเวียนไปตามโลก เมื่อเวียนคล้อยไปตามโลก จิตก็เป็นโลก คิดอยู่แต่จะหามาใส่ตัวอยู่ไม่เป็นสุข หาไม่รู้จักพอ วิชาโลกีย์เลยกลายเป็นอวิชชา หาใช่วิชชาความรู้แจ้งไม่ มันจึงเรียนไม่จบสักที เพราะมัวไปตามลาภ ตามยศ ตามสรรเสริญ ตามสุข พาใจให้ติดข้อง เป็นกิเลสกองใหญ่

    เมื่อได้มาก็หึงก็หวง เห็นแก่ตัว สู้ด้วยกำปั้นไม่ได้ก็คิดสร้างเครื่องจักรเครื่องยนต์ เครื่องกลเครื่องไกสร้างศาสตราอาวุธ สร้างลูกระเบิดขว้างใส่กัน นี่คือโลกีย์มันไม่หยุดสักที เรียนไปก็เพื่อจะเอาโลก จะครองโลกได้อะไรก็หวงอยู่นั่นแล้ว นี่คือโลกียวิสัย เรียนไปแล้วก็จบไม่ได้

    มาฝึกทางโลกุตตระ โลกุตตระนี้อยู่ได้ยาก ผู้ใดหวังมรรค หวังผล หวังนิพพาน จึงจะทนอยู่ได้ จงทำตนให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ กินน้อย นอนน้อย พูดน้อย ทำให้มันหมดโลกีย์

    ถ้าเชื้อโลกีย์ไม่หมด มันก็ยาก มันยุ่ง ไม่หยุดสักที แม้มาบวชแล้วก็ยังคอยดึงให้ออกไป มันมาคอยให้ความรู้ความเห็น มันมาคอยปรุงคอยแต่งความรู้อยู่นั่นแล้วทำให้ใจติดข้องอยู่ในกามคุณทั้งห้า คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ อารมณ์ของใจเป็นกามคือความใคร่ในความสุข ความทุกข์ ความดี ความชั่ว สารพัดอย่าง มีแต่กามทั้งนั้น

    คนไม่รู้จักก็ว่า จะทำสิ่งในโลกนี้ให้มันเสร็จ ให้มันแล้ว เหมือนคนที่มาเป็นรัฐมนตรีใหม่ ก็คิดว่าตนต้องทำได้ บริหารได้ แล้วก็เอาอะไรๆ ที่คนเก่าทำไว้ออกไปเสีย เอาวิธีบริหารของตนเข้ามาใช้แทน ก็เลยต้องได้หามกันออก หามกันเข้าอยู่อย่างนั้น ไม่ได้เรื่องสักที ที่ว่าจะทำให้เสร็จ มันก็ไม่เสร็จ เพราะจำทำให้ถูกใจคนทุกคนนั้น มันทำไม่ได้หรอก

    คนหนึ่งชอบน้อย คนหนึ่งชอบมาก คนหนึ่งชอบสั้น คนหนึ่งชอบยาว คนหนึ่งชอบเค็ม คนหนึ่งชอบเผ็ด จะให้เหมือนกันนั้นไม่มีในโลก
    คนอยู่ครองโลก ครองบ้าน ครองเมือง ทำทุกอย่างก็อยากให้มันสำเร็จ แต่ไม่มีทางสำเร็จหรอก เรื่องของโลกมันจบไม่เป็น ถ้าทำตามโลกแล้วจบได้พระพุทธเจ้าท่านก็คงทรงทำแล้ว เพราะท่านครองโลกอยู่ก่อนแต่นี่มันทำไม่ได้

    ในเรื่องของกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น รูปอะไรก็ไม่จับใจ เท่ารูปผู้หญิง ผู้หญิงรูปร่างบาดตา ก็ชวนมองอยู่แล้ว ยิ่งเดินซอกแซกๆ ก็ยิ่งมองเพลิน
    เสียงอะไรจะมาจับใจเท่าเสียงผู้หญิงเป็นไม่มี มันบาดถึงหัวใจ กลิ่นก็เหมือนกัน กลิ่นอะไรก็ไม่เหมือนกลิ่นผู้หญิง ติดกลิ่นอื่นก็ไม่เท่าติดกลิ่นผู้หญิง มันเป็นอย่างนั้น
    รสอะไรก็ไม่เหมือน รสข้าว รสแกง รสสารพัดก็ไม่เทียบเท่ารสผู้หญิง หลงติดเข้าไปแล้วถอนได้ยาก เพราะมันเป็นกาม โผฏฐัพพะก็เช่นกัน จับต้องอะไรก็ไม่ทำให้มึนเมาปั่นป่วย จนหัวชนกันเหมือนกับจับต้องผู้หญิง

    ฉะนั้น เมื่อลูกท้ายพญาที่ไปเรียนวิชา กับอาจารย์ตักสิลาจนจบแล้ว จะลาอาจารย์กลับบ้าน อาจารย์จึงสอนว่า เวทย์มนต์กลมายาอะไรๆ ก็สอนให้บอกให้จนหมดแล้ว เมื่อกลับไปครองบ้านครองเมือง แล้วมีอะไรมาก็ไม่ต้องกลัว จะสู้ได้หมดทั้งนั้น จะมีสัตว์ประเภทใดมาก็ไม่ต้องกลัว ไม่ว่าจะเป็นสัตว์มีฟันอยู่ในปาก หรือมีเขาอยู่บนหัว มีงวง มีงา ก็คุ้มกันได้ทั้งสิ้นแต่ไม่รับรองอยู่แต่เฉพาะสัตว์จำพวกหนึ่ง ที่เขาไม่ได้อยู่บนหัว แต่หากไปอยู่ที่หน้าอก สัตว์ชนิดนี้ไม่มีมนต์ชนิดใดจะคุ้มกันได้ มีแต่จะต้องคุ้มกันตัวเอง รู้จักไหม สัตว์ที่มีเขาอยู่หน้าอกนั่นแหละ ท่านจึงให้รักษาตัวเอาเอง

    ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นกับใจแล้ว ทำให้อยากได้เงินอยากได้ทอง อยากได้สิ่ง อยากได้ของ ธรรมารมณ์อย่างนั้น ไม่พอให้ล้มตาย แต่ถ้าเป็นธรรมารมณ์ที่ชุ่มด้วยน้ำกามเกิดขึ้นแล้ว มันทำให้ลืมพ่อลืมแม่ แม้พ่อแม่เลี้ยงมา ก็หนีจากไปได้โดยไม่คำนึงถึง พอเกิดขึ้นแล้วรั้งไม่อยู่ สอนก็ไม่ฟัง

    รูปหนึ่ง เสียงหนึ่ง กลิ่นหนึ่ง รสหนึ่ง โผฏฐัพพะหนึ่ง ธรรมารมณ์หนึ่ง เป็นบ่วง เป็นบ่วงของพญามารพญามารแปลว่าผู้ให้ร้ายต่อเรา บ่วงแปลว่าเครื่องผูกพันบ่วงของพญามารเปรียบได้กับแร้วของนายพราน นายพรานที่เป็นเจ้าของแร้ว นั่นแหละ คือ พญามาร เชือกเป็นบ่วงเครื่องผูกของนายพราน

    สัตว์ทั้งหลายเมื่อไปติดบ่วงเข้าแล้วลำบาก มันผูกไว้ ดึงไว้จนเจ้าของแร้วมา เหมือนกับนกไปติดแร้วเข้าแร้วมันรัดถูกคอดิ้นไปไหนก็ไม่หลุด ดิ้นปัดไปปัดมาอย่างนั้นแหละ มันผูกไว้คอยนายพรานเจ้าของมัน ครั้นเจ้าของมันเห็นก็จบเรื่อง นั้นแหละพญามาร นกกลัวมาก สัตว์ทั้งหลายกลัวมาก เพราะหนีไปไหนไม่พ้น

    บ่วงก็เช่นกัน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นบ่วงผูกเอาไว้ เมื่อเราติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็เหมือนกันกับปลากินเบ็ด รอให้เจ้าของเบ็ดมา ดิ้นไปไหนก็ไม่หลุด อันที่จริงแล้ว มันยิ่งกว่าปลากินเบ็ด ต้องเปรียบได้กับกบกินเบ็ด เพราะกบกินเบ็ดนั้น มันกินลงไปถึงไส้ถึงพุง แต่ปลากินเบ็ด ก็กินอยู่แค่ปาก

    คนติดในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสก็เหมือนกัน แบบคนติดเหล้า ถ้าตับยังไม่แข็ง ไม่เลิก ติดตอนแรกๆ ก็ยังไม่รู้จักเรื่อง ก็หลงเพลิดเพลินไปเรื่อยๆ จนเกิดโรคร้ายขึ้นนั่นแหละ เป็นทุกข์

    เหมือนบุรุษผู้หนึ่งหิวน้ำจัด เพราะเดินทางมาไกลมาขอกินน้ำ เจ้าของน้ำก็บอกว่า น้ำนี้จะกินก็ได้ สีมันก็ดีกลิ่นมันก็ดี รสมันก็ดี แต่ว่ากินเข้าไปแล้วมันเมานะบอกให้รู้เสียก่อน เมาจนตาย หรือเจ็บเจียนตายนั่นแหละ แต่บุรุษผู้หิวน้ำก็ไม่ฟัง เพราะหิวมากเหมือนคนไข้หลังผ่าตัดที่ถูกหมอบังคับให้อดน้ำ ก็ร้องขอน้ำกิน

    คนหิวในกามก็เหมือนกัน หิวในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ล้วนเป็นของพิษ พระพุทธเจ้าได้บอกไว้ว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น มันเป็นพิษ เป็นบ่วง ก็ไม่ฟังกัน เหมือนกับบุรุษหิวน้ำผู้นั้น ที่ไม่ยอมฟังคำเตือน เพราะความหิวกระหายมันมีมาก ถึงจะต้องทุกข์ยากลำบากเพียงใด ก็ขอให้ได้กินน้ำเถอะเมื่อได้กินได้ดื่มแล้ว มันจะเมาจนตายหรือเจียนตายก็ช่างมัน จับจอกน้ำได้ก็ดื่มเอาๆ เหมือนกับคนหิวในกาม ก็กินรูป กินเสียง กินกลิ่น กินรส กินโผฏฐัพพะ กินธรรมารมณ์ รู้สึกอร่อยมาก ก็กินเอาๆ หยุดไม่ได้ กินจนตาย ตายคากาม

    อย่างนี้ท่านเรียกว่าติดโลกียวิสัย ปัญญาโลกีย์ก็แสวงหา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ถึงปัญญาจะดีสักปานใดก็ยังเป็นปัญญาโลกีย์อยู่นั่นเอง สุขปานใดก็แค่สุขโลกีย์ มันไม่สุขเหมือนโลกุตตระ คือ มันไม่พ้นโลก

    การฝึกทางโลกุตตระ คือทำให้มันหมดอุปาทานปฏิบัติให้หมดอุปาทาน ให้พิจารณาร่างกายนี่แหละพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ให้มันเบื่อ ให้มันหน่าย จนเกิดนิพพิทา ซึ่งเกิดได้ยาก มันจึงเป็นของยาก ถ้าเรายังไม่เห็นก็ยิ่งดูมันยาก

    เราทั้งหลายพากันมาบวช เรียน เขียน อ่าน มาปฏิบัติภาวนา ก็พยายามตั้งใจของตัวเอง แต่ก็ทำได้ยากกำหนดข้อประพฤติปฏิบัติไว้อย่างนี้อย่างนั้นแล้ว ก็ทำได้เพียงวันหนึ่ง สองวัน หรือแค่สองชั่วโมง สามชั่วโมงก็ลืมเสียแล้ว พอระลึกขึ้นได้ ก็จับมันตั้งไว้อีก ก็ได้เพียงชั่วคราว พอรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ผ่านมา ก็พังไปเสียอีกแล้ว พอนึกได้ ก็จับตั้งอีก ปฏิบัติอีก นี่เรามักเป็นเสียอย่างนี้ เพราะสร้างทำนบไว้ไม่ดีปฏิบัติไม่ทันเป็น ไม่ทันเห็น มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น มันจึงเป็นโลกุตตระไม่ได้ ถ้าเป็นโลกุตตระได้ มันพันไปจากสิ่งทั้งหลายนี้แล้ว มันก็สงบเท่านั้นเอง

    ที่ไม่สงบทุกวันนี้ ก็เพราะของเก่ามันมากวนอยู่ไม่หยุด มันตามมาพัวพัน เพราะมันติดตัวเคยชินเสียแล้ว จะแสวงหาทางออกทางไหน มันก็คอยมาผูกไว้ดึงไว้มากินกันอยู่อย่างนั้น ผู้หญิงก็มีผู้ชายเป็นอุปสรรค ผู้ชายก็มีผู้หญิงเป็นอุปสรรค มันพอปานกัน ถ้าผู้ชายอยู่กับผู้ชายด้วยกันมันก็ไม่มีอะไร หรือผู้หญิงอยู่กับผู้หญิงด้วยกัน มันก็อย่างนั้นแหละ แต่พอผู้ชายไปเห็นผู้หญิงเข้า หัวใจมันเต้นติ๊กตั๊กๆ ผู้หญิงเห็นผู้ชายเข้าก็เหมือนกันหัวใจก็เต้นติ๊กตั๊กๆ เพราะมันดึงดูดซึ่งกันและกัน

    นี่ก็เพราะไม่เห็นโทษของมัน หากไม่เห็นโทษแล้วก็ละไม่ได้ ต้องเห็นโทษในกามและเห็นประโยชน์ในการละกามแล้ว จึงจะทำได้ หากปฏิบัติยังไม่พ้น แต่พยายามอดทนปฏิบัติต่อไป ก็เรียกว่าทำได้ในเพียงระดับของศีลธรรม แต่ถ้าปฏิบัติได้เห็นชัดแล้ว จะไม่ต้องอดทนเลย ที่มันยากมันลำบาก ก็เพราะยังไม่เห็น

    ในทางโลกนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราทำไว้ ถ้าจวนเสร็จเรียบร้อยเราก็สบาย ถ้ายังไม่เสร็จก็เป็นห่วงผูกพัน นี่คือโลกีย์ มันผูกพันตามไปอยู่เรื่อย ว่าจะทำให้หมดนั้น มันหมดไม่เป็นหรอก เหมือนกันกับพ่อค้า พบใครก็ว่า ถ้าหมดหนี้หมดสินแล้วจะบวช เมื่อไรมันจะหมดเป็นเพราะพอหมดหนี้เก่า ก็กู้มาใหม่อีก พ่อค้าก็ไม่มีวันหมดหนี้หมดสิน เมื่อกู้ไม่หยุด แล้วจะหมดได้อย่างไร นี่แหละปัญญาโลกีย์

    การปฏิบัติของเรานี่ก็ให้เฝ้าดูจิตใจไว้ ข้อวัตรข้อใดมันหย่อน พอเห็น พอรู้สึก ก็ให้ตั้งขึ้นใหม่ ถ้ามันหย่อนอีก ผู้มีสติก็ต้องจับมันตั้งขึ้นอกี สวนผู้ไม่มีสติก็จะปล่อยไปเลย ผู้มีสติก็ดึงขึ้นมา ทำอยู่อย่างนั้นแหละ เรียกว่าทำไม่รู้จักแล้ว เพราะว่ามันเป็นโลกีย์ มันจึงดึงไปดึงมาอยู่นั่นแหละ

    การมาบวชนั้นเป็นของยาก จะต้องตั้งอกตั้งใจเป็นผู้มีศรัทธาปฏิบัติไปจนมันรู้ มันเห็นตามความเป็นจริงมันจึงจะเบื่อ เบื่อนั้นไม่ใช่ชัง ต้องเบื่อทั้งรักทั้งชัง เบื่อทั้งสุขทั้งทุกข์ คือเห็นทุกอย่างไม่เป็นแก่นสารนั่นเอง

    ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นซับซ้อน ไม่เห็นได้โดยง่าย ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว เห็นไม่ได้ เหมือนเราได้ไม้มาท่อนหนึ่ง เป็นไม้ท่อนใหญ่ แต่ความเป็นจริง ไม้ท่อนน้อยก็แทรกอยู่ในไม้ท่อนใหญ่นั้นแหละ หรือได้ไม้ท่อนน้อยมา ไม้ท่อนใหญ่มันก็แทรกอยู่ในนั้นด้วย

    โดยมากคนเราเห็นไม้ท่อนใหญ่ ก็เห็นแต่ว่ามันใหญ่ เพราะคิดว่าน้อยจะไม่มี ได้ไม้ท่อนน้อยก็เห็นแต่มันน้อย เพราะคิดว่าใหญ่ไม่มี มันไม่มองไปข้างหน้าไม่มองไปข้างหลัง เมื่อสุขก็นึกว่าจะมีแต่สุข เมื่อทุกข์ก็นึกว่าจะมีแต่ทุกข์ ไม่เห็นว่าทุกข์อยู่ที่ไหน สุขก็อยู่ที่นั่นสุขอยู่ที่ไหน ทุกข์ก็อยู่ที่นั่น ไม่เห็นว่าใหญ่อยู่ที่ไหน น้อยก็อยู่ที่นั่น น้อยอยู่ที่ไหนใหญ่ก็อยู่ที่นั่น ให้คิดเห็นอย่างนั้น

    คนเราไม่รู้จักคิดย้อนหน้าย้อนหลัง เห็นแต่หน้าเดียวไปเลย จึงไม่จบสักที ทุกอย่างมันต้องเห็นสองหน้า มีความสุขเกิดขึ้นมาก็อย่าลืมทุกข์ ทุกข์เกิดขึ้นมา ก็อย่าลืมสุข มันเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน เช่นว่า อาหารนั้นเป็นคุณแก่มนุษย์แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นประโยชน์แก่ร่างกายอย่างนี้ เป็นต้น แต่ความเป็นจริงอาหารเป็นโทษก็มีเหมือนกัน มิใช่มันจะให้คุณแต่อย่างเดียว มันให้โทษด้วยก็มี เมื่อใดเราเห็นคุณ ก็ต้องเห็นโทษของมันด้วย เห็นโทษก็ต้องเห็นคุณด้วย เมื่อใดมีความชัง ก็ให้นึกถึงความรัก คิดได้อย่างนี้ จะทำให้จิตใจของเราไม่ซวนเซไปมา

    ได้อ่านหนังสือของเซ็นที่พวกเซ็นเขาแต่ง พวกเซ็นเป็นพวกมุ่งปฏิบัติ เขาไม่ใคร่สอนกันเป็นคำพูดนักเป็นต้นว่า พระเซ็นรูปหนึ่งนั่งหาวนอนขณะภาวนา อาจารย์ก็ถือไม้มาฟาดเข้าที่กลางหลัง ลูกศิษย์ที่ถูกตีก็พูดว่า "ขอบคุณครับ" เซ็นเขาสอนกันอย่างนั้น สอนให้เรียนรู้ด้วยการกระทำ

    วันหนึ่งพระเซ็นนั่งประชุมกัน ธงที่ปักอยู่ข้างนอกก็โบกปลิวอยู่ไปมา พระเซ็นสององค์ก็เกิดปัญหาขึ้นว่าทำไมธงจึงโบกปลิวไปมา องค์หนึ่งว่าเพราะมีลม อีกองค์ก็ว่า เพราะมีธงต่างหาก ต่างก็โต้เถียงโดยยึดความคิดเห็นของตน อาจารย์ก็เลยตัดสินว่า มีความเห็นผิดด้วยกันทั้งคู่ เพราะความจริงแล้ว ธงก็ไม่มี ลมก็ไม่มีม

    นี่ต้องปฏิบัติให้ได้อย่างนี้ อย่าให้มีลม อย่าให้มีธง ถ้ามีธงค์ก็ต้องมีลม ถ้ามีลมก็ต้องมีธง มันก็เลยจบกันไม่ได้สักที น่าเอาเรื่องนี้มาพิจารณา วางให้มันว่างจากลม ว่างจากธง ความเกิดไม่มี ความแก่ไม่มี ความเจ็บตายไม่มี มันว่าง ที่เราเข้าใจว่าธง เข้าใจว่าลมนั้น มันเป็นแต่ความรู้สึกที่สมมติขึ้นมาเท่านั้น ความจริงมันไม่มี น่าจะเอาไปฝึกใจของเรา
    ในความว่างนั้น มัจจุราชตามไม่ทัน ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตามไม่ทัน มันหมดเรื่อง

    ถ้าไปเห็นว่า มีธงอยู่ ก็ต้องมีลมมาพัด ถ้ามีลมอยู่ ก็ต้องไปพัดธง มันไม่จบสักที เพราะความเห็นผิด แต่ถ้าเป็นสัมมาทิฐิความเห็นชอบแล้ว ลมก็ไม่มี ธงก็ไม่มี ก็เลยหมด หมดเรา หมดเขา หมดความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย หมดทุกอย่าง

    ถ้าเป็นโลกียวิสัย ก็สอนกันไม่จบ ไม่แล้วสักทีเราฟังก็ว่ามันยาก เพราะมันเป็นปัญญาโลกีย์ หากเราพิจารณาได้ เราก็มีปัญญามาก พระพุทธเจ้าของเราก็เหมือนกัน เมื่อตอนที่ท่านครองโลกอยู่ ท่านก็มีปัญญาโลกีย์ ต่อเมื่อท่านมีปัญญามากเข้า ท่านจึงดับโลกีย์ได้เป็นโลกุตตระ เป็นผู้เลิศในโลกไม่มีใครเหมือนท่าน

    ถ้าเราทำความคิดไว้ในใจให้ได้ดังนี้ เห็นรูปก็ว่ารูปไม่มี ได้ยินเสียงก็ว่าเสียงไม่มี ได้กลิ่นก็ว่ากลิ่นไม่มี ลิ้มรสก็ว่ารสไม่มี มันก็หมด ที่เป็นรูปนั้นก็เพียงความรู้สึกได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าความรู้สึก ที่มีกลิ่นก็สักแต่ว่ามีกลิ่น เป็นเพียงความรู้สึก ที่มีกลิ่นก็สักแต่ว่ามีกลิ่น เป็นเพียงความรู้สึก รสก็เป็นแต่เพียงความรู้สึกแล้วก็หายไป ตามความเป็นจริงก็ไม่มี
    รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นี้เป็นโลกีย์ ถ้าเป็นโลกุตตระแล้ว รูปไม่มี เสียงไม่มี กลิ่นไม่มี รสไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี เป็นแต่ความรู้สึกเกิดขึ้นเท่านั้น แล้วก็หายไป ไม่มีอะไร เมื่อไม่มีอะไร ตัวเราก็ไม่มี ตัวเขาก็ไม่มี

    เมื่อตัวเราไม่มี ของเราก็ไม่มี ตัวเขาไม่มี ของเขาก็ไม่มี ความดับทุกข์นั้นเป็นไปในทำนองนี้ คือไม่มีใครจะไปรับเอาทุกข์ แล้วใครจะเป็นทุกข์ ไม่มีใครไปรับเอาสุข แล้วใครจะเป็นสุข

    นี่พอทุกข์เข้า ก็เรียกว่าเราทุกข์ เพราะเราไปเป็นเจ้าของ มันก็ทุกข์ สุขเกิดขึ้นมาเราก็ไปเป็นเจ้าของสุขมันก็สุข ก็เลยยึดมั่นถือมั่น อันนั้นแหละเป็นตัวเป็นตนเป็นเราเป็นเขา ขึ้นมาเดี๋ยวนั้น มันก็เลยเป็นเรื่องเป็นราวไปอีก ไม่จบ

    การที่พวกเราทั้งหลายออกจากบ้านมาสู่ป่า ก็คือมาสงบอารมณ์ หนีออกมาเพื่อสู้ ไม่ใช่หนีมาเพื่อหนีไม่ใช่เพราะแพ้เราจึงมา คนที่อยู่ในป่าแล้วก็ไปติดป่า คนอยู่ในเมือง แล้วก็ไปติดเมืองนั้น เรียกว่า คนหลงป่า คนหลงเมือง

    พระพุทธเจ้าท่านว่า ออกมาอยู่ป่าเพื่อกายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวกต่างหาก ไม่ใช่ให้มาติดป่า มาเพื่อฝึกเพื่อเพาะปัญญามาเพราะให้เชื้อปัญญามันมีขึ้น อยู่ในที่วุ่นวาย เชื้อปัญญามันเกิดขึ้นยาก จึงมาเพราะอยู่ในป่าเท่านั้นเอง เพาะเพื่อจะกลับไปต่อสู้ในเมือง

    เราหนีรูป หนีเสียง หนีกลิ่น หนีรส หนีโผฏฐัพพะ หนีธรรมารมณ์มาอย่างนี้ไม่ใช่หนีเพื่อจะแพ้ สิ่งทั้งหลายเหล่านี้หนีเพื่อมาฝึกหรือมาเพาะให้ปัญญาเกิด แล้วจะกลับไปรบกับมัน จะกลับไปต่อสู้กับมัน ด้วยปัญญาไม่ใช่เข้าไปอยู่ในป่าแล้ว ไม่มีรูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็สบาย ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องการจะมาฝึก เพราะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้นในป่า ในที่สงบ เมื่อสงบแล้วปัญญาจะเกิด

    เมื่อใคร่ครวญพิจารณาแล้ว ก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อเรา ก็เพราะเราโง่ เรายังไม่มีปัญญา แต่ความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้คือ ครูสอนเราอย่างดีเมื่ออยู่ในป่าแล้ว อย่าไปยึดป่า อย่ามีอุปาทานในป่า เรามานี้เพื่อมาทำให้ปัญญาเกิด ถ้ายังไม่มีปัญญาก็จะเห็นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ นั้นเป็นปฏิปักษ์กับเรา เป็นข้าศึกของเรา

    ถ้าปัญญาเกิดขึ้นแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นั้น ไม่ใช่ข้าศึก แต่เป็นสภาวะที่ให้ความรู้ความเห็นแก่เราอย่างแจ้งชัด เมื่อสามารถกลับความเห็นเป็นอย่างนี้ แสดงว่าปํญญาได้เกิดขึ้นแล้ว

    ยกตัวอย่างง่ายๆ อย่างไก่ป่า เราก็รู้กันทุกคนว่าไก่ป่านั้นเป็นอย่างไร สัตว์ในโลกนี้ที่จะกลัวมนุษย์ยิ่งไปกว่าไก่ป่านั้นไม่มีแล้ว เมื่อมาอยู่ในป่านี้ครั้งแรก ก็เคยสอนไก่ป่า เคยเฝ้าดูมัน แล้วก็ได้ความรู้จากไก่ป่าหลายอย่างครั้งแรกมันมาเพียงตัวเดียว เดินผ่านมา เราก็เดินจงกรมอยู่ในป่า มันจะเข้ามาใกล้ ก็ไม่มองมัน มันจะทำอะไรก็ไม่มองมัน ไม่ทำกิริยาอันใดกระทบกระทั่งมันเลย ต่อไปก็ลองหยุดมองดูมัน พอสายตาเราไปถูก

    มันเข้า มันวิ่งหนีเลย แต่พอเราไม่มองมันก็คุ้ยเขียอาหารกินตามเรื่องของมัน แต่พอมองเมื่อไร ก็วิ่งหนีเมื่อนั้นนานเข้าสักหน่อย มันคงเห็นความสงบของเราจิตใจของมันก็เลยว่าง แต่พอหว่านข้าวให้เท่านั้น ไก่มันก็หนีเลย ก็ช่างมัน ก็หว่านทิ้งไว้อย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็กลับมาที่ตรงนั้นอีก แต่ยังไม่กล้ากินข้าวที่หว่านไว้ให้มันไม่รู้จัก นึกว่าเราจะไปฆ่าไปแกงมัน เราก็ไม่ว่าอะไรกินก็ช่าง ไม่กินก็ช่าง ไม่สนใจกับมันไม่ช้า มันก็ไปคุ้ยเขี่ยหากินตรงนั้น มันคงเริ่มมีความรู้สึกของมันแล้ว วันต่อมามันก็มาตรงนั้นอีก มันก็ได้กินข้าวอีก พอข้าวหมด ก็หว่านไว้ให้อีก มันก็วิ่งหนีอีก แต่เมื่อทำซ้ำอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ตอนหลังมันก็เพียงแต่เดินหนีไปไม่ไกล แล้วก็กลับมากินข้าวที่หว่านให้นั้น นี่ก็ได้เรื่องแล้ว
    ตอนแรก ไก่มันเห็นข้าวสารเป็นข้าศึก เพราะมันไม่รู้จัก เพราะมันดูไม่ชัด มันจึงวิ่งหนีเรื่อยไป ต่อมามันเชื่องเข้า จึงกลับมาดูตามความเป็นจริง ก็เห็นว่า นี่ข้าวสารนี่ ไม่ใช่ข้าศึก ไม่มีอันตราย มันก็มากินจนตลอดทุกวันนี้ นี่เรียกว่า เราก็ได้รับความรู้จากมัน

    เราออกมาอยู่ในป่า ก็นึกว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ในบ้าน เป็นข้าศึกต่อเรา จริงอยู่เมื่อเรายังไม่รู้ มันก็เป็นข้าศึกจริงๆ แต่ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ก็เหมือนไก่รู้จักข้าวสารว่าเป็น ข้าวสาร ไม่ใช่ข้าศึก ข้าศึกก็หายไปเรากับ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ก็เหมือนกัน ฉันนั้น มันไม่ใช่ข้าศึกของเราหรอก แต่เพราะเราคิดผิด เห็นผิด พิจารณาผิด จึงว่ามันเป็นข้าศึก ถ้าพิจารณาถูกแล้ว ก็ไม่ใช่ข้าศึก แต่กลับเป็นสิ่งที่ให้ความรู้ ให้วิชา ให้ความฉลาดแก่เราต่างหาก

    แต่ถ้าไม่รู้ ก็คิดว่าเป็นข้าศึก เหมือนกับไก่ ที่เห็นข้าวสารเป็นข้าศึกมันนั่นแหละ ถ้าเห็นข้าวสารเป็นข้าวสารแล้ว ข้าศึกมันก็หายไป พอเป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าไก่มันเกิดวิปัสสนาแล้ว เพราะมันรู้ตามเป็นจริง มันจึงเชื่อง ไม่กลัว ไม่ตื่นเต้น

    เรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี้ เป็นเครื่องให้เราตรัสรู้ธรรมะเป็นที่ให้ข้อคิดแก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ถ้าเราเห็นชัดตามเป็นจริงแล้ว ก็จะเป็นอย่างนั้น ถ้าไม่เห็นชัด ก็จะเป็นข้าศึกต่อเราตลอดไป แล้วเราก็จะหนีไปอยู่ป่าเรื่อยๆ

    อย่านึกว่า เรามาอยู่ป่าแล้ว ก็สบายแล้ว อย่าคิดอย่างนั้น อย่าเอาอย่างนั้น อย่าเอาความสงบแค่นั้น ว่าเราไม่ค่อยได้เห็นรูป ไม่ได้ยินเสียง ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้รส โผฏฐัพพ ธรรมารมณ์แล้ว เราก็อยู่สบายแล้ว อย่าคิดเพียงแค่นั้น ให้คิดว่า เรามาเพื่อเพาะเชื้อปัญญาให้เกิดขึ้น เมื่อมีปัญญารู้ตามเป็นจริงแล้ว ก็ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่ำๆ สูงๆ

    พอถูกอารมณ์ดี ก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ร้าย ก็เป็นอย่างหนึ่ง ถูกอารมณ์ที่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่งถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจก็เป็นอย่างหนึ่ง ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็แสดงว่ามันยังเป็นข้าศึกอยู่ ถ้าหมดข้าศึกแล้ว มันจะเสมอกัน ไม่ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่ต่ำๆ สูงๆ รู้เรื่องของโลกว่ามันอย่างนั้นเอง เป็นโลกธรรม โลกธรรมเลยเปลี่ยนเป็นมรรค โลกธรรมมีแปดอย่าง มรรคก็มีแปดอย่าง โลกธรรมอยู่ที่ไหน มรรคก็อยู่ที่นั่น ถ้ารู้แจ้งเมื่อใดโลกธรรมเลยกลายเป็นมรรคแปด ถ้ายังไม่รู้ มันก็ยังเป็นโลกธรรม

    เมื่อสัมมาทิฐิเกิดขึ้น ก็เป็นดังนี้ มันพ้นทุกข์อยู่ที่ตรงนี้ ไม่ใช่พ้นทุกข์โดยวิ่งไปที่ตรงไหน ฉะนั้นอย่าพรวดพราด การภาวนาต้องค่อยๆทำ การทำความสงบ ต้องค่อยๆทำ มันจะสงบไปบ้างก็เอา มันจะไม่สงบไปบ้างก็เอา เรื่องจิตมันเป็นอย่างนั้น เราก็อยู่ของเราไปเรื่อยๆ

    บางครั้งปัญญามันก็ไม่เกิด ก็เคยเป็นเหมือนกัน เมื่อไม่มีปัญญา จะไปคิดให้ปัญญามันเกิด มันก็ไม่เกิด มันเฉยๆ อยู่อย่างนั้น ก็เลยมาคิดใหม่ เราจะพิจารณาสิ่งที่ไม่มี มันก็ไม่ได้ เมื่อไม่มีเรื่องอะไรก็ไม่ต้องไปแก้มัน ไม่มีปัญหาก็ไม่ต้องไปแก้มัน ไม่ต้องไปค้นมัน อยู่ไปเฉยๆ ธรรมดาๆ อย่างนั้นแหละ แต่ต้องอยู่ด้วยความมีสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยปัญญา ไม่ใช่อยู่เพลินไปตามอารมณ์ อยู่ด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ ถ้ามีเรื่องอะไรมา ก็พิจารณา ถ้าไม่มี ก็แล้วไปได้ไปเห็นแมงมุมเป็นตัวอย่าง แมงมุมทำรังของมันเหมือนข่าย มันสานขายไปขึงไว้ตามช่องต่างๆ เราไปนั่งพิจารณาดูมันทำข่ายขึงไว้เหมือนจอหนัง เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันเองเงียบอยู่ตรงกลางข่าย ไม่วิ่งไปไหน พอมีแมลงวันหรือแมลงอื่นๆ บินผ่านข่ายของมัน พอถูกข่ายเท่านั้น ข่ายก็สะเทือน พอข่ายสะเทือนปุ๊บ มันก็วิ่งออกจากรังทันที ไปจับตัวแมลงไว้เป็นอาหาร เสร็จแล้วมันก็เก็บตัวมันไว้ที่กลางข่ายตามเดิม ไม่ว่าจะมีผึ้งหรือแมลงอื่นใดมาถูกข่ายของมัน พอข่ายสะเทือนมันก็วิ่งออกมาจับแมลงนั้น แล้วก็กลับไปเกาะนิ่งอยู่ที่ตรงกลางข่ายไม่ให้ใครเห็นทุกทีไป

    พอได้เห็นแมงมุมทำอย่างนั้น เราก็มีปัญญาแล้ว อายตนะทั้งหก คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี้ ใจอยู่ตรงกลาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย แผ่พังพานออกไป อารมณ์นั้นเหมือนแมลงต่างๆ พอรูปมาก็มาถึงตา เสียงมาก็มาถึงหู กลิ่นมาก็มาถึงจมูก รสมาก็มาถึงลิ้นโผฏฐัพพะมาก็มาถึงกาย ใจเป็นผู้รู้จัก มันก็สะเทือนถึงใจ เท่านี้ก็เกิดปัญญาแล้ว เราจะอยู่ด้วยการเก็บตัวไว้ เหมือนแมงมุม ที่เก็บตัวไว้ในข่ายของมัน ไม่ต้องไปไหน พอแมลงต่างๆ มันผ่านข่าย ก็ทำให้สะเทือนถึงตัว รู้สึกได้ ก็ออกไปจับแมลงไว้ แล้วก็กลับไปอยู่ที่เดิมไม่แตกต่างอะไรกับใจของเราเลย อยู่ตรงนี้ ให้อยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวัง อยู่ด้วยปัญญา อยู่ด้วยความคิดถูกต้อง เราอยู่ตรงนี้ เมื่อไม่มีอะไร เราก็อยู่เฉยๆ แต่ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท ถึงเราจะไม่เดินจงกรม ไม่นั่งสมาธิ ไม่อะไรก็ช่างเถิด แ ต่เราอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ อยู่ด้วยความระมัดระวังอยู่ด้วยปัญญา ไม่ใช่อยู่ด้วยความประมาท นี่เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่เราจะนั่งตลอดวันตลอดคืน เอาแต่พอกำลังของเรา ตามสมควรแก่ร่างกายของเรา

    แต่เรื่องจิตนี้เป็นของสำคัญมาก ให้รู้อายตนะว่ามันส่งส่ายเข้ามาเป็นอย่างไร ให้รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ เหมือนแมงมุมที่พอข่ายสะเทือน มันก็วิ่งไปจับเอาตัวแมลงได้ทันที
    ฉะนั้น เมื่ออารมณ์มากระทบอายตนะ มันก็มาถึงจิตทันที เมื่อไปจับผ่านทุกข์ ก็ให้เห็นมันโดยรวมเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วจะเอามันไปไว้ที่ไหนล่ะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เหล่านี้ ก็เอาไปไว้เป็นอาหารของจิตของเรา ถ้าทำได้อย่างนี้ มันก็หมดเท่านั้นแหละ

    จิตที่มีอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นอาหาร เป็นจิตที่กำหนดรู้ เมื่อรู้ว่าอันนั้นเป็นอนิจจัง มันก็ไม่เที่ยงทุกขัง เป็นทุกข์ อนัตตา ก็ไม่ใช่เราแล้ว ดูมันให้ชัดมันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันไม่เป็นแก่นสาร จะเอามันไปทำไม มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของเรา จะไปเอาอะไรกับมัน มันก็หมดตรงนี้ดูแมงมุมแล้ว ก็น้อมเข้ามาหาจิตของเรา มันก็เหมือนกันเท่านั้น ถ้าจิตเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันก็วาง ไม่เป็นเจ้าของสุข ไม่เป็นเจ้าของทุกข์อีกแล้ว ถ้าเห็นชัดได้อย่างนี้ มันก็ได้ความเท่านั้นแหละ จะทำอะไรๆ อยู่ก็สบาย ไม่ต้องการอะไรอีกแล้ว มีแต่การภาวนาจะเจริญยิ่งขึ้นเท่านั้น

    ถ้าทำอย่างนี้อยู่ด้วยความระมัดระวัง ก็เป็นการที่เราจะพ้นจาก วัฎสงสารได้ ที่เรายังไม่พ้นจากวัฎสงสาร ก็เพราะยังปรารถนาอะไรๆอยู่ทั้งนั้น การไม่ทำผิด ไม่ทำบาปนั้น มันอยู่ในระดับศีลธรรม เวลาสวดมนต์ก็ว่าขออย่าให้พลัดพรากจากของที่รักของที่ชอบใจ อย่างนี้ มันเป็นธรรมของเด็กน้อย เป็นธรรมของคนที่ยังปล่อยอะไรไม่ได้ นี่คือความปรารถนาของคน ปรารถนาให้อายุยืนปรารถนาไม่อยากตาย ปรารถนาไม่อยากเป็นโรค ปรารถนาไม่อยากเป็นอย่างนี้ นี่แหละความปรารถนาของคน

    "ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง" ความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ นี่แหละมันสับหัวเข้าไปอีก มันเป็นเรื่องปรารถนาทั้งนั้น ไม่ว่าใครก็ปรารถนาอย่างนั้นทุกคน ไม่เห็นมีใครอยากหมด อยากจนจริงๆสักคน

    การปฏิบัติธรรมเป็นสิ่งละเอียด ผู้มีกิริยานุ่มนวลสำรวมปฏิบัติไม่เปลี่ยนแปลง สม่ำเสมออยู่เรื่อย นั่นแหละจึงจะรู้จัก มันจะเกิดอะไรก็ช่างมันเถิด ขอแต่ให้มั่นคงแน่วแน่เอาไว้ อย่าซวนเซหวั่นไหว
     
  13. พระ ธรรมะ

    พระ ธรรมะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2013
    โพสต์:
    211
    ค่าพลัง:
    +416
    อาตมาไปละนะ ลาก่อน ท่านมะหน่อ ท่านนิว ท่านอิน ท่านสับสน และเจ้าลิงจอมดื้อ เจ้าลิงจังหวัดยะโส ท่านปูเป้ และสมาชิกทุกๆท่าน การปฏิบัติธรรม มันต้องเอาจริงนะ เพียรไม่เว้นแม้กระทั่ง ตอนกิน ตอนนอน มันต้องบังคับตัวเองได้ อย่าพยายามไปเชื่อ ว่ามันเป็นอะไรยังไง คอยดูมันให้ดี สุดท้ายไม่ว่าอะไรมันก้เป็นกิเลส ที่ไม่เป็นกิเลสคือหลุดพ้นแล้วเท่านั้น หมั่นดู หมั่นเพียร ทำให้มาก ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เราก้ทำเอง เราไม่ทำ ไม่มีใครทำแทนได้ หากรู้สึกว่าบุญน้อย จงเร่งทำให้มากเข้าไว้ และถึงแม้จะคิดว่าตัวเองมีบุญบารมีมาก ก้ต้องทำให้มากเหมือนกัน ศึกษาดูทุกข์ รู้ทุกข์ให้มาก มันจะเป็นประโยชน์แก่ ท่านทั้งหลายและบุคคลอื่น พอเข้าใจในทุกข์มากๆแล้ว ก้จะเข้าใจความหมายของการปฏิบัติเป็นอย่างดี ขอให้ทุกท่านประสบผลสำเร็จ โดยความตั้งใจ ทุกประการ สาธุ อนุโมทามิ อาตมาไปละ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 เมษายน 2013
  14. poopae191

    poopae191 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    725
    ค่าพลัง:
    +1,872
    จริงคะพระคุณเจ้า ทุกอย่างขึ้นกับตัวเรา แม้ขนาดในฝัน พระท่านก็แนะให้หมั่นเพียรอย่าขี้เกียจ ฝึกดูทุกข์ แล้วจะขัดเกลาไปเรื่อย ๆ เหมือนกับปลอกไข่ ค่อยๆปลอกแล้วจะเจอไข่แดง นมัสการพระคุณเจ้า เจ้าคะ
     
  15. Piyavisut

    Piyavisut สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    นมัสการทุกท่านครับ ผมมีปัญหาแก้ไม่ตกครับ ขอถามผู้รู้ครับผม
    ผมพยายามปฏิบัติไม่เอาดีเอาคุณวิเศษอะไร สมาธิก็มีแค่อุปจารสมาธิ พยายามพุทโธรู้ตัวกิเลศรู้จิตมัน แต่แพ้ราคะมัน ไปเห็นขาอ่อนผู้หญิง ราคะมันจับทันที รูปขาอ่อนเกิดมาในจิตมันตัดรูปในจิตฟรึ๊บ รู้ได้อยู่ แต่อารมณ์ราคะนี่มันตัดไม่ได้เลย หวิวๆในท้องตลอด ในตอนที่อารมณ์มันรุนแรง มันจะพยายามสังขาร(ปรุงแต่ง)ให้ได้ แต่รู้มันได้อยู่พยาไม่สังขารมันต่อ กลัวมันครับแต่พยายามไม่ประมาท พิจารณาโน่นนี่นั่น แต่มันไม่หายมาหลายวัน ตัณหามันอยากมาก จิตขี้เกียจมาก ขี้เกียจปฏิบัติ อารมณ์ฟุ้งซ่านตลอด แต่ผมไม่ยอมมัน ชาตินี้ขอปฏิบัติบูชา มันแก้ไม่ตกครับ ขอความเมตตาท่านผู้รู้ทั้งหลายด้วยครับ
    (หากสิ่งที่ผมพูด(เขียน)มานี้ ไม่ถูกต้องประการใด ขออภัยด้วยนะครับ)
     
  16. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846

    เคยได้ยิน คำว่า

    จิตมีราคะให้รู้ว่าจิตมีราคะไหม


    ทีนี้ ถามว่า รู้แบบนี้แล้วมันประหารราคะได้หรือไม่ ตอบว่ายัง

    แต่ว่า การฝึกรู้แบบนี้ จิตมีราคะให้รู้ว่าจิตมีราคะ
    หากทำบ่อยๆ ฝึกบ่อยๆ ความชำนาญตรงนี้จะทำให้สติกล้าแข็งขึ้น

    จนกว่ามันจะพร้อม สติ สมาธิ ปัญญา สัมปยุตเป็นหนึ่ง
    ตัดราคะแบบสมุปเฉทประหาร

    ตามตำรา ราคะจะประหาร ที่พระอนาคามี

    อย่าได้กังวน เพียงแต่ ฝึกสร้างสติ ฝึกให้รู้ทันเรื่อยไป
    ประครองรักษาศีล 5 ให้ได้เนืองๆก็เพียงพอ

    ราคะคือกิเลส
    กิเลสกลัวการรู้ทัน
    จะรู้ทันได้ต้องมีสติที่เป็นอัตโนมัติ
    สติที่เป็นอัตโนมัติเกิดจากการฝึกรู้ตาม
     
  17. แทนไทkus

    แทนไทkus สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +0
    ขอถามหน่อยครับ เวลาเราเพ่งกสิณ บริกรรมภาวนาให้บริกรรมในใจหรือว่าพูดออกมาเลยครับ

    คือผมฝึกกสิณน้ำครับ ก็ อาโป กสิณัง ในใจ หรือพูดออกมาเลยครับ
     
  18. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    มองที่น้ำ จำภาพให้ได้
    ช่วงนี้ จะบริกรรมทับหรือจะออกเสียงก็ได้



    พอรู้สึกจำภาพได้แล้วก็หลับตา นึกภาพน้ำที่เพ่งตะกี้
    แล้วบริกรรมทับ จะออกเสียงหรือในใจได้หมด

    จนกว่าจะมีความชำนาญ เริ่มต้นคือ
    คือ ไม่กระวนกระวายในการบริกรรมทับ
    ไม่กระสับกระส่ายในการเพ่ง
     
  19. natthaphon2526

    natthaphon2526 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2013
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +43
    ไม่รู้ว่าผู้รู้จะยังอยู่หรือไม่ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจในเรื่องของการนั่งสมาธิ การภาวนาแต่ติดปัญหาในเรื่องของ ความไม่รู้ จึงใคร่ขอผู้รู้ช่วยตอบให้หายข้องใจด้วยเถอะ
    ความไม่รู้ของผมก็คือ ผมไม่รู้ว่าจะเริ่มจากจุดไหนในเรื่องของการนั่งสมาธิ แล้วการภาวนานั้น ภาวนาอย่างไร อธิฐานจิตก็อีกอย่างที่ไม่รู้ ว่าควรอธิฐานแบบใด ผู้รู้ช่วยตอบให้หายข้องใจทีเถอะครับ ผมทำมานานพอสมควรแต่ไม่ไปไหนเลย จนเริ่มจะท้อถอยล่ะ เพราะการฝึกนั้นผมต้องการให้จิตมันสงบ จะได้ทำอะไรดีขึ้น ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่คิดมาก แต่ทุกวันนี้ยังคิกมาก ยังกลุ้มใจไม่หายเลย ช่วยหน่อยนะครับ ขอบคุณครับ
     
  20. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ที่ว่าทำมานานมาพอสมควร
    ทำแบบไหนมาเหรอครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...