เชิญช่วยกันระดมความคิดเห็นเรื่อง"จิต" เพื่อสัจธรรมความจริง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 17 มิถุนายน 2013.

  1. ss_solomon

    ss_solomon Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2012
    โพสต์:
    79
    ค่าพลัง:
    +54
    จิตกับตัณหา​

    ตทนนฺตรํ ลำดับนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสเทศนา ต่อไปอีกว่า อานนฺท ดูกรอานนท์ เราตถาคตจะแสดงใน ข้ออันเป็นที่สุดแต่โดยย่อ ๆ พอให้เข้าใจง่าย ที่สุดนั้นก็คือ จิตกับตัณหา จิตนั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองกุศลคือ กองสุข ตัณหานั้นจำแนกออกไป เรียกว่ากองอกุศลคือ กองทุกข์ ต้นเหง้าเค้ามูลแห่งทุกข์นั้น ก็คือจิตและตัณหา นี้เอง จิตเป็นผู้คิดให้ได้ดีมีสุขขึ้น ส่วนตัณหานั้นก็ให้ เกิดเห็นตาม จิตมีความสุขมากขึ้นเท่าใด ตัณหาก็ให้ เกิดทุกข์ตามมากขึ้นไปเท่านั้น ดูกรอานนท์ แต่เบื้องต้น เมื่อเราตถาคต ยังไม่รู้แจ้งว่าสุขและทุกข์อยู่ติดด้วยกัน เราก็ถือเอากุศลจิตอันเดียวหมายจักให้เป็นสุขอยู่ทุกเมื่อ ส่วนทุกข์จะไม่ให้มา ก็ตั้งหน้าบำเพ็ญกุศลจิตเรื่อยไป เมื่อ ได้สุขเท่าใด ทุกข์ก็พลอยเกิดมีเท่านั้น ครั้นภายหลัง เรา พิจารณาด้วยญาณจักษุปัญญา และเห็นแจ้งชัดว่าสุขและทุกข์ ติดอยู่ด้วยกัน ครั้นรู้แจ้งแล้วก็ตรึกตรองหาอุบาย ที่จะกำจัด สุขและทุกข์ให้พรากออกจากกัน มันแสนยากแสนลำบาก เหลือกำลัง จนสิ้นปัญญาหาทางไปทางมาไม่ได้เราตถาคต จึงวางเสียซึ่งสุข คืนให้แก่ทุกข์ คือวางใจให้แก่ตัณหา ครั้น เราวางใจไว้ให้แก่ตัณหาแล้ว ความสุขในพระนิพพานก็เลย เข้ามารับเราให้ถึงนิพพานดิบในขณะนั้น พร้อมกับวางใจ ไว้ให้แก่ตัณหา ดูกรอานนท์ เมื่อวางใจได้ จึงเป็นอัพยากฤต จึงเรียกชื่อว่าถือเอาอัพยากฤตเป็นอารมณ์ เป็นองค์พระ อรหันต์ คือได้เข้าตั้งอยู่ในพระนิพพานด้วยอาการดังนี้.
     
  2. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .................พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใด รู้อยู่ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้นั้น แม้ว่าจะพึงมีบุคคลที่เป็นสมณะหรือ พราห์มณ์ ซึ่งเป็นผู้ต้่องการจะโต้วาทะ เที่ยวแสวงหาคู่โต้วาทะ มาจากทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ทิศเหนือทิศใต้ ก็ ตามโดยประกาศว่า เราจักยกวาทะของภิกษุรูปนั้นเสีย ดังนี้ ข้อที่สมณะพราห์มณ์นั้น จักทำภิกษุนั้นให้หวั่นใหว สั่นสะเทือน หรือสั่นระรัวไป โดยถูกธรรมนั้น ไม่เป้นฐานะที่จะเป็นไปได้เลย ข้อนี้เป็นเพราะเหตุไรเล่า เพราะเหตุที่อริยสัจสี่นั้น เป็นธรรมที่ภิกาุนั้นเห็นแล้วด้วยดี ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเสาหินยาว 16ศอก ฝังอยู่ใต้ดิน8ศอก โผล่ขึ้นพ้นดิน8ศอก แม้มีลมพายุฝนอย่างแรงกล้า มาจากทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ก็ตาม ไม่พึงทำให้เสาหินนั้นให้หวั่นใหว สั่นสะเทือน หรือหรือสั่นระรัวไปได้เลย ข้อนี้เป้นเพราะเหตุไรเล่า เพราะส่วนที่ฝังนั้นลึก และฝังเป็นอย่างดี ฉันใดก็ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในกรณีนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ตามเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดังนี้เถิด---มหาวาร.สํ.19/555/1724...:cool:
     
  3. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ...................พระองค์ให้เรียนรู้อริยสัจสี่ นั้นก็เพียงพอ แล้ว จะไป คิด รู้ อะไรที่มันไม่เกี่ยวทำไม:cool:
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ธรรมภูตยังต้องเลือกที่รู้อยู่อีกหรือ?
     
  5. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ถามคำถามนี้กับคนประเภทที่ พิมพ์ข้อความ แล้วก็นั่งจินตนาการว่าคนอื่นจะเป็นอย่างไรจากข้อความของตัวเอง พอจินตนาการสร้างขึ้นมาได้แล้ว ก็เอาจิตเข้าไปแปล อุปาทานเป็นอารมณ์ต่อ แล้วก็เอาจิตเข้าไปเสพอารมณ์นั้นเพลิน

    คนที่ยังไม่เห็นกระบวนการนี้ในจิตของตน คงไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้หรอก
     
  6. เตชพโล

    เตชพโล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    267
    ค่าพลัง:
    +1,431
    เคยเห็นต้นไทรมันห่อหุ้มต้นไม้ที่มันอาศัยอยู่มั้ย
    ต้นไทรเมื่อไปอาศัยต้นไม้ต้นใดเพื่อเจริญเติบโต
    มันจะห่อหุ้มต้นไม้ที่มันอาศัยอยู่เอาไว้ทั้งหมด
    จนกระทั่งเรารู้ไม่ไ้ด้เลยว่าต้นไม้ที่ต้นไทรห่อหุ้มเอาไว้นั้นคือต้นอะไร

    จิตของเราก็เช่นเดียวกัน ถูกกิเลสห่อหุ้มเอาไว้เสียหมด
    จนกระทั่งรู้ไม่ได้เลยว่า จิตที่แท้จริงของเราเป็นยังไง

    จิตของเราถูกห่อหุ้มด้วยกิเลส
    เหมือนต้นไม้ที่ถูกต้นไทรห่อหุ้มนั่นแหละ

    ตัวจิตแท้ ๆ นี่ไม่เกิดดับล่ะ
    แต่ตัวที่ห่อหุ้มจิตเอาไว้ ที่เราสำคัญว่าเป็นจิตของเรานี่
    ตัวนี้นั่นแหละที่เกิดที่ดับ

    ถ้ายังมีอะไรแทรกซึมห่อหุ้มจิตเอาไว้อยู่
    เราก็เข้าใจว่าทั้งจิตและสิ่งแทรกซึมห่อหุ้มเป็นจิต
    แต่เมื่อเข้าถึงจิตแท้ ๆ ภายในแล้ว
    แยกจิตออกมาจากสิ่งห่อหุ้มแล้ว
    สิ่งที่เคยสำคัญว่าเป็นจิตแต่เดิมนั่นแหละ มันเกิดดับ

    แต่ความหมายของคำว่าเกิดดับแบบถี่ยิบจนเป็นสันตตินี่ไม่ใช่นะ
    แบบการทำงานของหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์นี่ไม่ใช่
    แบบที่อิเลคตรอนวิ่งชนโมเลกุลของปรอท
    แล้วปล่อยแสงออกมาแล้วก็ดับไป
    อิเลกตรอนตัวใหม่วิ่งชนโมเลกุลปรอทอีก
    แล้วปล่อยแสงออกมาอีกแล้วก็ดับไปอีก
    แล้วตัวใหม่ก็วิ่งชนไปเรื่อยเกิดแสงใหม่แล้วดับไป เกิดใหม่แล้วดับไป
    เหมือนการทำงานของหลอดฟลูเรสเซนต์อย่างนี้ไม่ใช่
    เกิดดับ ไม่ได้เกิดดับแบบนี้

    เกิดดับนั้นหมายถึง ความไม่เที่ยงเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
    ถ้ายังไม่สามารถเห็นการเกิดและการดับได้
    ก็จะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง เมื่อเห็นเป็นสิ่งต่อเนื่อง
    ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิเห็นเป็นสันตติ
    แต่ิเมื่อสดุดที่ใจเมื่อใดว่า อ๋อมันมีเิกิด แล้วก็มีดับนะ(ไม่ใช่เกิดดับถี่ยิบ)
    เมื่อนั่นแหละรู้ความจริงแล้ว เป็นสัมมาทิฎฐิบ้างแล้วว่า
    มันมีเกิด แล้วต้องมีดับนะ มันไม่ได้ต่อเนื่องแบบที่เรียกว่าสันตติ
    (สันตติ ไม่ได้มีความหมายว่า เกิดดับแบบถี่ยิบต่อกันไปเรื่อย ๆ
    จนหาช่องว่าไม่เจออย่างนี้ไม่ใช่)

    นั่นแหละจิตเราก็เหมือนกัน
    เมื่อแยกจิตแท้ ๆ ออกจากสิ่งห่อหุ้มปกคลุมที่สำคัญว่าจิตแล้ว
    ก็จะเห็นว่า ที่เราเคยสำคัญว่าจิตเรานั้น มันไม่ใช่เรา ไม่เป็นของเรา
    มันเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง มีเกิดแล้วก็มีดับไป
    (ไม่ใช่เกิดดับถี่ยิบ ต่อเนื่องกันไปจนหาช่องว่างไม่ได้อย่างนี้ไม่ใช่)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2013
  7. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    ร่างกายของมนุษย์ทำงานด้วยการรับส่งข้อมูลของเส้นประสาทตลอดเวลา

    การรับส่งข้อมูลนี้ เป็นการส่งกระแสไฟฟ้า แต่ข้อมูลที่ส่งเป็นกระแสไฟฟ้านี้เป็นข้อมูลที่มีความต่างศักย์ (voltage) แค่ สูง กับ ต่ำ

    ดังนั้นแล้ว การส่งความรู้สึกของเส้นประสาทมนุษย์นั้น ก็เป็นเหมือนข้อมูล digital คือ มีแค่ 0 กับ 1

    ผัสสะมากระทบแรง จะมีความถี่ของกระแสสูง
    ผัสสะมากระทบเบา จะมีความถี่ของกระแสต่ำ

    สมมติว่ามีของร้อนๆ มากระทบมือ

    ถ้ามันแค่อุ่นๆ มันก็จะส่งข้อมูลเช่นนี้

    -1----1----1----1----1----1----1----1----1----1-

    ถ้ามันร้อนมาก มันก็จะส่งข้อมูลเช่นนี้

    -1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-

    การหยุดของกระแสเป็นช่วงๆ ที่ทำให้เกิดเส้นกราฟฟันปลา ต้องมีอยู่เสมอ เพราะเป็นการทำงานปกติธรรมชาติของมัน เป็นเช่นนั้น

    ในเมื่อร่างกายหยาบของมนุษย์ทำงานเป็นเช่นนี้ ผัสสะกระทบ มันขาดช่วงเป็นห้วงๆ เช่นนี้ ตลอดเวลา เป็นสัจธรรมของโลก แล้ว (สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น)จิตไม่เกิดดับถี่ๆ เอามาจากไหน?

    หรือจะอ้างว่า (สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น)จิตที่รู้ว่าร้อน มันฉลาดมาก มันเลยเกิดอยู่ตลอดเวลา ที่กระแสประสาทความร้อนมันส่งมา พอมันหยุดส่ง มันก็ดับ?

    (สิ่งที่เคยคิดว่าเป็น)จิต : (เกิด)--------------------------------------(ดับ)
    กระแสประสาท......... : -1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-1-

    จะอ้างอย่างนี้หรือ?

    Nerve Impulses
     
  8. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    เรื่องจิตมันยากเกินจะหยั่งลง ดูจากพุทธพจน์ที่ว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญานบ้าง ดวง1เกิดดวง1ดับ ตลอดวันตลอดคืนบอกคราวๆว่า จิตเป็นต้น(จิต มโน วิญญาน) มันเกิดดับตลอดเวลาไม่ได้หยุด จึงให้เอาไปทำไว้ในใจเป็น ปฏิจสมุปบาทเเทน การเกิดดับของมันจะมีอยู่ในสายนี้หละ ก็เทียบเคียงเอาว่ามันอยู่ตรงไหนในนั้น ให้เน้นในเรื่องอริยสัจ. ปฏิจสมุปบาท เรื่องของตัวเอง. ไม่ใช่ไปปรุงว่า จิตอยู่เหนือการปรุงเเต่ง จิตพุทธะ.โลกุตระจิต จิตเวียนว่ายตานเกิดอะไรอย่างนั่น.
    ที่ชัดเจนอีกอย่างคือ พิจรณาเห็นจิตในจิตอยู่เป็นประจำ คือเป็นมรรคอย่าง1 ดูความไม่เที่ยงของจิตขณะนั้น สิ่งใดที่เปลี่ยนแปรงได้รวดเร็ว คือความแปรปรวนได้นั้น เรียก สิ่งนั่นเป็นทุกข์.
    ก็คือจิตนั้นเอง.

    คำว่าเปลี่ยนแปรงได้เร็วก็หมายถึงสิ่งที่มีปัจจัยปรุงเเต่ง ไม่ใช่ตัวตน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2013
  9. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    ลองไล่เรียงดีๆ "ใครเป็นผู้รู้ลมหายใจ ลมหายใจมัดอะไรไว้"
    เหตุเเห่งการบัญญัติ รูปขันธ์. ก็คือ มหาภูตทั้ง4 ดิน น้ำ ลม ไฟ
    รูปขันธ์ ก็คือกาย กายที่สำเร็จและประชุมขึ้น ด้วยมหาภูติทั้ง4
    แล้วส่วนที่เป็นลมในร่างกาย วาโยธาตุ คือลมหายใจ หรือลมในท้อง
    เมื่อไปรู้ลมหายใจ ก็เรียกว่า กายอัน1ในกายทั้งหลาย รู้ลมก็ชื่อว่ารู้กาย
    ใครเป็นผู้รู้ลม? เมื่อสังเกตุ จะเห็นจิต เป็นผู้รู้ลม(อ้างตามสติปัฏฐาน อานาปานหมวดจิต)
    ทีนี้. ก็ไปดูพระสูตรที่บอกว่า ผู้ใดจะกล่าวการเกิดขึ้น. การจุติ การเคลื่อน ของ รูป เป็นต้น
    โดยเว้นไปจากวิญญาน(ผู้รู้เเจ้ง).ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. (วาโยธาตุ จัดเป็น รูป)
    เพราะฉะนั้น ผู้รู้ลมนั้นเเหละ คือ วิญญาน(จิต). ไม่ใช่จิตพุทธะ พุทธธาอะไรที่ไหน
    ส่วนคำว่า "ลมหายใจมัดจิต" ถูกอยู่บ้าง เพราะ รูปนั้นเป็น1ในที่ตั้งอาศัยของจิต(วิญญาน)
    เเต่มัดไว้ไม่ได้นานหรอก เดียวมันก็แปรปรวนเป็นอย่างอื่น ต้องเห็นตามสติปัฏฐาน ดูความไม่เที่ยงเนื่องๆ ดูจิตมันสอนธรรม ไม่ไงมันก็ไม่มีอะไรเกิดดับ มีเเต่จิตพุทธา(ความเป็นตัวเป็นตน
     
  10. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    การที่รับรู้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงแท้ที่จริงก็คือไม่รู้ว่ามันเปลี่ยนแปลงไปเมื่อไหร่ เพียงแค่รู้ตามคำบอกเล่าว่า เพราะการปรุงแต่งตามที่เป็นจึงเห็นความแปรปรวน และที่ว่าปรุงว่าจิตอยู่เหนืออะไรนั่น มันจะเหนือได้อย่างไรก็ในเมื่อเพียงแค่เห็นก็รู้แล้วว่ามันมีการเปลี่ยนแปลงมันแปรปรวนไปตามความปรุงแต่ง แล้วเมื่อไหร่ละจึงจะออกจากความปรุงแต่งได้หากยังเห็นว่า มันเป็นสิ่งเดียวกันอยู่ อ่านให้ดีๆนะ แต่อย่างว่าอ่านอย่างเดียวก็คงไม่มีวันจะเข้าใจหรอก ไปหาวิธีเอาเองนะว่า ทำไมต้อง ปริยัติ ปฏิบัติ แล้วจึง ปฏิเวธ รู้อะไรและอะไรที่รู้จากตำรามันก็เป็นเพียงแผนที่บอกทาง แต่การจะไปเห็นได้นั้นมีแต่ตัวเราจิตใจเราคำนี้ไม่ใช่ให้ยึดว่านั่นเป็นเรานะ แต่หมายถึงต้องเข้าถึงจิตเข้าถึงใจของเราเอง เมื่อเห็นด้วยใจตนเองดีแล้วก็จะพิจารณาเห็นอื่นๆตามมา ก็ลองหาวิธีเอานะคั๊บ
    เรื่องพิจารณาจิตเห็นจิตเป็นประจำนั่นก็เป็นเรื่องที่หมายถึงเมื่อไหร่ก็ตามที่ใจหรือจิตไม่มีใครควบคุมแล้ว หยาบๆคือ มีสติมองเห็นและรับรู้แต่ไม่เป็นไปตามนั้น ละเอียดกว่านั้นเป็นอย่างไรก็ไปทำกันเอาเอง มันก็ไม่ใช่สาระจะมากล่าวว่าเป็นมรรคนั่นมรรคนี่ เดี๋ยวก็จะมีใครพาไปหามรรคสมังคีอะไรๆอีก เรากำลังพูกันว่าด้วยเรื่องจิต และจิตเจตสิก ว่าอะไรกันที่ต้องพิจารณาแล้วใช้ปัญญาหาทางละ คิดเอาเองแล้วกันว่า จะละจิต หรือ ละจิตเจตสิก จึงจะทำให้ไม่เศร้าหมอง ไม่เป็นทุกข์ หรือมีทุกข์น้อยลง ก็คงได้แต่บอกว่า ต้องพิจารณาเอาเองแล้วละคั๊บ
    สาธุคั๊บ
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ไม่แปลกใจเลยจริงๆ ทำไมทุกวันนี้คนชั่วช้าเลวทรามถึงได้มีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ก็ลองพิจารณาดุกันให้ลึกซึ้งถึงแก่นดูก็จะรู้ เพราะเล่นสอนกันแบบนี้นี่เอง

    อะไรก็ไม่มีทั้งนั้น เราก็ไม่มี เขา ล้วนไม่มีทั้งนั้นสิ้น

    แม้กระทั่งจิตของเรา จิตของเขา เธอ คุณ ฉัน มรึง กรูจิตของตนฯลฯ ล้วนไม่มีทั้งนั้น

    จึงทำให้คนชั่วช้าเลวทรามลง เพราะอยากได้อะำไร ก็ปล้นสดมภ์หยิบฉวยเอาเลย

    เนื่องจากความชั่วช้าเลวทรามนั้น เกิดขึ้นเองได้เองโดยไม่มีต้องเจ้าของความคิดที่ชั่วช้าเลวทรามนั้น

    ไม่ใช่จิตของเรา จิตของเขา เธอ คุณ ฉัน มรึง กรู หรือจิตของตน ฯลฯ ทั้งนั้น

    ความคิดชั่วช้าเลวทรามนั้น ไม่มีของใคร แต่กรูอยากได้ กรูไม่"ผิด"

    เพราะความอยากก็ไม่ใช่ของกรู

    "ผิด" ที่ความชั่วช้าเลวทรามที่ไม่มีของใครนั้น เมื่อไม่ใช่ของกรู ทำไมกรูต้องรับผลของกรรมนั้นด้วยหละ

    เมื่อจิตใจที่คิดชั่วช้าเลวทรามมีเกิดขึ้นแล้วก็หมดไปเอง

    ไม่ใช่ของกรู มันเป็นของมันเอง เพราะหมคความยึดถือ หมดความยึดถือ ก็ไม่ใช่ของกรูอีกนั่นแหล่ะ

    ศาลที่เคารพรักอย่างยิ่ง อย่าตัดสินมั่วๆนะ มากล่าวโทษผมทำไม

    ไม่ใช่ผมเป็นผู้กระทำ เป็นความชั่วช้าเลวทรามที่มันทำมันเอง ไม่ใช่ของใครทั้งนั้น

    เมื่อไม่มีใครทำ มันเกิดมันเอง ก็ไปตามจับความชั่วช้าเลวทรามนั้นสิ มาจับกรูทำไม

    ยิ่งเขียน ยิ่งรู้สึกเศร้า รู้สึกจิตใจอับเฉาจริงๆ ที่สอนกันแบบนี้ จนไม่มีผู้กระทำ"ผิด"คิด"ชั่ว"จริง

    มีแต่"ความผิด" และ"ความชั่ว"เท่านั้นที่มีอยู่จริง เมื่อผู้กระทำไม่มี เอาผู้รับผลของกรรมนั้นมาจากไหน?

    อย่าในพระพุทธศาสนาต้องเศร้าหมองลงไปกว่านี้อีกเลย เพราะความเขลาเบาปัญญาของตนเองแท้ๆ เฮ้อ!!!

    เจริญในธรรมที่สมควรแก่ธรรม
     
  12. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    ผมคิดว่าเขาไม่อาจแยกแยะคำสอนและพิจารณาโดยโยนิโสมนสิการได้มากกว่าครับ เพราะเข้าใจไปตามจินตนาการตามที่เคยรู้เคยเห็นและปฏิเสธในสิ่งที่ยังไม่เคยเห็นว่า มันไม่เป็นจริงไม่มีจริง เช่นเดียวกันกับ เหตุที่เขาเห็นว่าจิตกับวิญญาณขันธ์ เป็นสิ่งเดียวกัน นั่นก็เท่ากับว่า ความดับสูญย่อมเกิดขึ้นมีขึ้นแน่นอน แต่เหตุใดเล่าเมื่อความดับสูญเกิดขึ้นแล้วยังคงต้องมีการเกิดอีกด้วยละทำไมจึงยังคงต้องมีการเสวยสุขบ้างก็ดี รับทุกข์อยู่ก็ดี นั่นเพราะอะไร ที่ทราบคือ หากมันเป็นสิ่งเดียวกันจริงระหว่างจิตกับวิญญาณขันธ์ ทุกอย่างต้องจบลงทันทีหลังจากที่ขันธ์แตกดับ แต่แปลกจังคำสอนของพระบรมศาสดาสมณโคดมไม่ได้ว่าอย่างนั้น ยังคงมีเรื่องราวต่อจากนั้นอีกมากมายและเรื่องง่ายๆ กว่าพระศาสดาจะเป็นพระศาสดาได้ต้องอาศัยขันธ์อาศัยธาตุมานับไม่ถ้วน ทำไมจึงไม่จบตั้งแต่แรก แต่ทำไมถึงกล่าวว่าสั่งสมบารมีมาช้านาน ๔ อสงไขยเศษอีกแสนมหากัปล์ ของแบบนี้ต้องพิจารณาโดยแยบคายจริงๆ มานั่งปะติดปะต่อตามอักขระสมมุติบัญญัติทั้งหลาย คงไม่อาจเข้าถึงธรรมที่พระศาสดาตั้งไว้ประกาศไว้ได้ อย่างไรเสียน่าจะหาวิธีให้ลองปฏิบัติกันดูบ้าง อย่างน้อยก็ดีกว่าเอาตำรามากางใส่กันเพราะยังไงๆ ก็ไม่เข้าใจในสิ่งที่พระบรมศาสดาสื่อไว้อย่างแน่นอนคั๊บ พี่ธรรมภูต
    สาธุคั๊บ
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    เฮ้อ!!!...

    คนเราเวลาจะคุยโม้โอ้อวดภูมิของตน ลืมหมดทุกอย่างว่า...ได้โม้อะไรไว้บ้าง

    ใครก็ไม่รู้ที่บอกว่า ต้องสอน"ให้กลับมาอยู่ที่รู้" ใช่เลือกที่รู้หรือเปล่า?

    อย่าบอกนะ มันกลับมาของมันเอง ไม่ต้องระลึก(เพื่อเลือก)ที่จะรู้

    แล้วที่ถามๆไปหนะ ถ้าไม่ตอบไม่ว่ากัน ก็ควรรู้จักความซื่อสัตย์ต่อตนเองบ้างนะ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  14. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    อ่อ เรื่องที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นจริงๆแล้วหลายคนคงพอเข้าใจอยู่ว่าสุดท้ายก็ต้องสละต้องละอยู่ดีแล้วยังไงๆก็คงต้องละ แต่นั่นมันเป็นภาวะของผู้มีปัญญาบารมีมี....หลายๆบารมีครบสมบูรณ์พร้อมดีแล้วจึงพิจารณากระทำตามนั้นได้...แต่สำหรับคนทั่วไปอยู่ๆ จะไปละมันไปเข้าใจว่าต้องละเสียปล่อยวางเสียมันก็จะเห็นว่าเป็นการข้ามขั้นตอน แต่หากเป็นผู้มีการสั่งสมอินทรีย์ไว้ดีแล้วก็ไม่น่าแปลกใจ แต่...คงเป็นไปไม่ได้จากข้อมูลที่กล่าวมาทั้งหมดยังไม่อาจกล่าวได้ว่า ละได้เลย คล้ายๆกับ คนยังไม่เคยขับรถเป็นเลย พึ่งลองปั่นจกรยานเป็นเมื่อกี้เอง อยู่ๆจะไปขับเครื่องบินหรือยานอวกาศแล้วกระโดดออกจากยานนั่นเสีย มันจะเป็นไปได้อย่างไร มันต้องค่อยๆเป็นค่อยๆไปครับ ความจริงแล้ว
    สาธุคั๊บ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ู^
    ^
    ขอเถอะ...ถ้าจะอธิบายอะไรแบบมั่วๆที่รู้เองคนเดียว

    แถมยังโชว์เก่งเกินกว่าพ่อแม่ครูบาอาจารย์เสียอีก

    "ส่วนคำว่า "ลมหายใจมัดจิต" ถูกอยู่บ้าง" ไม่ใช่ถูกอยู่บ้าง ถูกต้องในการ"ภาวนา"

    จะมั่วไปถึงไหน เขียนเองเออเอง วงเล็บเอง ไหนล่ะหลักฐานรองรับว่า

    "วิญญาณคือผู้ลมหายใจ" เอาพระพุทธพจน์มายืนยัน

    เจริญในธรรมทุกท่าน
     
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การไม่เข้าใจเรื่อง “จิต” กับ “วิญญาณ” (อาการของจิต)

    ผู้ศึกษาธรรมะโดยมากมักจะเข้าใจว่า จิตเกิดดับ และเมื่อเข้าใจว่าจิตเกิดดับแล้ว ก็พลอยทำให้เข้าใจไปว่า จิตกับวิญญาณเป็นอันเดียวกัน แต่ก็มีอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ที่เข้าใจว่าจิตไม่เกิดดับ และจิตกับวิญญาณมีความหมายแตกต่างกัน

    ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง จึงได้กลายเป็นจุดที่ทำให้เกิดความสับสนมืดมัว แก่ผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมะ ในพระพุทธศาสนาในภายหลังเป็นอันมาก

    เกี่ยวกับเรื่องจิตเกิดดับหรือจิตไม่เกิดดับนั้น ได้ยกมาแสดงไว้แล้วในตอนต้นของหนังสือ

    ส่วนจิตกับวิญญาณเป็นอันเดียวกันหรือไม่นั้น เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดขึ้นในภายหลัง ผู้ศึกษาจึงต้องนำพุทธพจน์จากพระสูตรสำคัญๆ เช่น “อนัตตลักขณสูตร” เป็นต้น มาสอบเทียบเพื่อพิจารณาโดยเฉพาะ จะนำเอาความคิดเห็นของอาจารย์ธรรมะ หรือตำราในภายหลังมาหักล้างไม่ได้

    ใน “อนัตตลักขณสูตร” พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน พระปัญจวัคคีย์ เรื่อง รูป (อารมณ์)เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ (อาการของจิตอันเนื่องด้วยอารมณ์) ซึ่งสัตว์ทั้งหลายยึดมั่นถือมั่น และหวังจะให้เป็นไปดังใจหมาย,อยู่โดยทั่วกัน

    ทรงชี้แจงแสดงให้เห็นว่า แต่ละอย่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ถาวร เป็นทุกข์ และไม่อาจบังคับบัญชาให้เป็นไปดังใจหวังได้ จนกระทั่ง จิตของพระปัญจวัคคีย์หลุดพ้นจากการเข้าไปยึดถือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อีกต่อไปในที่สุด

    ซึ่งแสดงว่า จิต ต่างกับ วิญญาณ อย่างชัดเจน

    ข้อสังเกตสำหรับการตรวจพิจารณาเรื่อง จิตกับวิญญาณ ซึ่งต่างก็เป็นคำนามเหมือนกันนี้ อีกประการหนึ่ง ก็คือ

    พระพุทธองค์ทรงใช้ คำกริยา กับ จิต เมื่อมีความหมายว่า “ทรงไว้ซึ่งธาตุรู้” ว่า “วิมุตติ (จิตหลุดพ้น)” บางแห่งก็ใช้ว่า “วิโมกข์ หรือ วิโมกขธรรม”

    และทรงใช้ คำกริยา กับ วิญญาณ เมื่อมีความหมายว่า “รับรู้อารมณ์จนเสียคุณภาพเดิมไปแล้ว” ว่า นิรุชฌ์บ้าง, อัสดงค์บ้าง ซึ่งแปลว่า “ดับ” คือ การรับรู้อารมณ์เรื่องนั้น,ดับไปแล้ว

    คำกริยา “หลุดพ้น” กับ “ดับ” สองคำนี้ มีความหมายชัดเจนในตัวเองแล้วว่าแตกต่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องอธิบาย เพิ่มเติมอีกแต่ประการใด ดังนั้น จึงชี้ความแตกต่างของคำว่า “จิตกับวิญญาณ” ได้อีกทางหนึ่ง

    ใน “นกุลปิตาสูตร” พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า

    “ดูก่อนนกุลปิตาคหบดี บุคคลผู้ที่ไม่ได้สดับศึกษา ไม่ได้รับคำแนะนำจากพระอริยะนั้น เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป จิตย่อมปรวนแปรไปด้วย

    ส่วนผู้ที่ได้สดับศึกษา ได้รับคำแนะนำจากพระอริยะนั้น เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปรวนแปรไป จิตย่อมไม่ปรวนแปรไปด้วย

    ดูก่อนท่านคหบดี จงทำความศึกษาว่า จิตนี้จักไม่ปรวนแปรไปตาม รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเถิด”

    จากตัวอย่างที่ยกมา ๒ พระสูตรข้างต้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า “จิต” ไม่ใช่ “วิญญาณ”

    หมายเหตุ :
    จิต คือ ธาตุรู้
    วิญญาณ คือ อาการของจิตอันเนื่องด้วยอารมณ์ เป็นขันธ์หนึ่ง ในขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)

    คนตาบอดมีจิต แต่ไม่มี(จักขุ)วิญญาณ (คือ ไม่อาจรับรู้อารมณ์ทางตาได้)
    คนหูหนวกมีจิต แต่ไม่มี(โสตะ)วิญญาณ (คือ ไม่อาจรับรู้อารมณ์ทางหูได้)

    แสดงว่า มีจิต โดย ไม่ต้องมีวิญญาณ ก็ได้ แต่ถ้า มีวิญญาณ โดย ไม่มีจิต ย่อมไม่ได้

    ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ก็คงต้องขอนำคำพูดของมหาเปรียญท่านหนึ่ง
    ท่านเป็นศิษย์รักของท่านพระมหาสมณะเจ้า ซึ่งเป็นอุปชาฌย์ของท่าน

    ซึ่งท่านศึกษาพระบาลีมาไม่น้อย ท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ดังนี้

    "...คือสำนวนในบาลีโดยมาก เท่าที่ได้สังเกตมาปะตาอยู่เสมอ
    ในที่ใด ท่านพูดถึง วิญญาณ
    ท่านใช้กิริยาของ วิญญาณว่า นิรุชฌ์ ซึ่งแปลว่าดับ

    ในที่ใดท่านพูดถึง จิต
    ท่านใช้กิริยาของจิต วิมุตติบ้าง วิโมกข์บ้าง ซึ่งแปลว่า พ้น

    พ้นคือจิตพ้น
    วิญญาณดับ จิตพ้น ย่อมต่างกัน

    อนึ่ง โลกุตตรจิต จิตเหนือโลก จิตพ้นโลก นั้นมีแน่แท้
    แต่โลกุตตรวิญญาณไม่มีจริงๆ...ฯลฯ...
    *
    ที่ยกมานั้น ในพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ใช้คำว่า จิตฺตํ ตรงๆเลยครับ
    ไม่ได้ใช้คำว่า วิญฺญาณํ หรือคำอื่นมาแสลงเลย ตรงที่สุด

    นาหํ ภิกฺขเว อญฺญํ เอกธมฺมํปิ สมนุปสฺสามิ ยํ เอวํ
    ลหุปริวตฺตํ ยถยิทํ ภิกฺขเว จิตฺตํ ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว อุปมาปิ น สุกรา ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้ มิใช่ง่าย ฯ

    ฉะนั้น จะไปกล้าวอ้างว่า ผู้อื่นเข้าใจวิญญาณซึ่งเป็นอาการของจิต ที่เกิดดับ แล้วเหมาเอาว่าจิตดับ
    เขาดูที่คำว่าจิตเลย ไม่ใช่วิญญาณอะไร พระพุทธพจน์ก็ใช้คำว่าจิต

    คำว่าเปลี่ยนแปลงของจิตในพระสูตรนี้ ท่านอรรถกถา ท่านอธิบายไว้ดังนี้ครับ

    เอวํ ลหุปริวตฺตนฺติ เอวํ ลหุ อุปฺปชฺชิตฺวา ลหํ นิรุชฺฌนกํ
    บทว่า เอวํ ลหุปริวตฺตํ ความว่า เกิดเร็วดับเร็วด้วยอาการ อย่างนี้

    ใช้คำว่า อุปฺปชฺช (เกิด) นิรุชฺฌ (ดับ)

    สยฺยถาปิ ภิกฺขเว มกฺกโฏ อรญฺเญ จ พฺรหาวเน จ จรมาโน ฯเปฯ
    เอวเมว ภิกฺขเว ยมิทํ วุจฺจติ จิตฺตํ อิติปิ มโน อิติปิ วิญฺญาณํ.
    อิติปิ ตํ รตฺติยา จ ทิวสสฺส จ อญฺญเทว อุปฺปชฺชติ อญฺญํ นิรุชฺฌติ.

    ^

    ^
    เนื่องจากคุณยกบาลีมา
    จึงนำคำพูดของมหาเปรียญท่านหนึ่งซึ่งท่านศึกษาพระบาลีมาไม่น้อยมาแสดง
    เพื่อให้ผู้เข้ามาอ่าน มีข้อสังเกตว่า

    ในพระบาลีนั้น โดยมาก ถ้าดับ จะหมายถึงวิญญาณ ซึ่งเป็นอาการของจิต
    ถ้าจะกล่าวถึงจิต มักใช้คำว่า พ้น คือ จิตพ้น

    นั่นคือ จิตไม่เกิดดับ ที่เกิดดับคือวิญญาณขันธ์ หรือขันธ์ ๕ หรืออาการของจิต

    และพระสูตรที่คุณยกมานั้น
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้ มิใช่ง่าย ฯ

    ณ ตรงนี้ยังมิได้พูดไว้เลยว่าหมายถึงวิญญาณ
    แต่หมายถึงจิต อยู่แล้ว ที่เปลี่ยนแปลงเร็ว
    คือ เปลี่ยนจากการยึดถืออารมณ์หนึ่ง ไปยึดถืออีกอารมณ์หนึ่ง ได้อย่างรวดเร็ว
    จึงทรงสั่งสอนให้อบรมจิต เพื่อให้จิตรู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    เพื่อจิตหลุดพ้นจากการยึดถือและปรุงแต่งไปตามอารมณ์
    หรือจิตหลุดพ้นจากการถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นั่นเอง

    เพราะในพระสูตรที่คุณยกมานั้น ก็มีตรัสต่อว่า
    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
    แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา
    ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง
    และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา
    พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง
    ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ
    ไม่ได้ตรัสนะว่าจิตเกิดดับ
    คำว่าจิตเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ได้หมายว่าจิตเกิดดับ

    เพราะทรงสอนให้อบรมจิตโดยปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔
    และในมหาสติปัฏฐานสูตร ทุกบททุกตอนตรัสว่า
    ...รู้ชัดว่า...

    นั่นคือ ผู้ปฏิบัติต้องมีจิตรู้ตลอดทุกกระบวนการในการลงมือปฏิบัติ
    ไม่ได้ตรัสว่า รู้ชัดบ้างไม่รู้ชัดบ้าง ...พอจะเข้าใจไปว่าจิตนั้นเกิดดับ

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  18. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419

    ผมถึงไม่อยากอธิบายให้มันตื้นยังไงละ ไม่อย่างนั้น คนที่เข้าใจเพียงเท่านี้ มันก็จะคิดว่าทุกอย่างขาดสูญ ไม่อยากจะปรารภความเพียรอีก แล้วมันจะทุกข์อีกเพราะอุปทานนั้นเอง
    ซึ่งผมก็คิดอยู่เเล้วว่า ถ้าจะมีใครรู้ตามที่ผมอธิบายลึกซึ่งขนาดไหน หรือเท่าที่ผมอธิบายเเล้ว ก็เป็นเพียงเบื้องต้นเท่านั้นเอง จากที่ผมเคยคิดว่ามันลึกเกินจะเข้าใจ. มันเป็นการทำงานของวิญญานกับนามรูป เเต่มันไม่ใช่อย่างที่คิด
    มันพึงจะเริ่มต้นตรงที่เข้าใจว่าตัวเองมีอุปทานขันธ์อยู่ ไม่ใช่ไม่มี จะเห็นต้นเหตุของ อวิชชาเป็นปัจจัยถึงมีสังขาร (อย่างเเท้จริง) นี้แหละถึงจะเริ่ม ถึงจะพ้นอุปทานได้ เพราะรู้ว่าตัวเองมีอุปทานขันธ์อยู่ยังไง
    . สาวหาเหตุ(สมุทัย)หาปัจจัย ลงลึกไปเรื่อยๆ จนเห็นได้โดยไม่เข้าไปหาส่วนสุตทั้ง2. ถึงกระทำที่สุดเเห่งทุกข์ได้
    คุณเองผมดูนิดเดียวก็ทะลุหมดพุง คุณยึดมันสิ่งที่รู้ ว่าเป็นพระเจ้าประทาน
    คุณเข้าใจเอง ว่าตัวเองมีสิ่งที่รู้อยู่คนเดียว ตลอดกาลยาวนาน ซึ่งไม่ใช่อย่างนั้น
    สัตว์เดรฉานมันก็รู้เหมือนกัน เเค่พูดไม่ได้เชยๆ
    คุณต้องถอดความยึดมั่นไอพระเจ้าของคุณ. ที่คุณหลง ที่คุณยึด ตลอดกาล สมัยเด็กจนถึงปัจจุบัน คุณต้องเห็นว่ามันไม่ใช่เรา ให้ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2013
  19. MindSoul1

    MindSoul1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กันยายน 2012
    โพสต์:
    295
    ค่าพลัง:
    +496
    จะขออธิบายตามที่เข้าใจ ผิดพลาดประการใดขอน้อมรับเพื่อแก้ไขนะคะ

    จิต(สัตว์ผู้มีิอวิชชาเป็นเครื่องกั้นฯ)(ผู้รู้)-->มีอุปาทานเข้าไปยึดเอาขันธ์๕ ว่าเป็นตนเป็นของตนเพระมีอวิชชา(ไม่รู้อริยสัจ)
    จิต(สัตว์ฯ)เมื่อเข้าไปยึดวิญญาณขันธ์ จึงเป็นตามพระสูตร สิ่งที่เรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญานบ้าง

    จิต(สัตว์ฯ)+วิญญาณขันธ์ = จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญานบ้าง
    (อุปมา เป็นน้ำผสมสีต่างๆ ถ้าอยากได้น้ำบริสุทธิ์ต้องกลั่นด้วยสติปัฏฐาน๔)

    ในการอ่านพระสูตร ต้องดูบริบทนั้นๆ ว่าพระสูตรนั้นๆ หมายถึง จิต วิญญาน ตรงไหน
    ถ้าแยกไม่ออกก็จะเกิดผลเสียทั้งกับตนเองและผู้อื่น

    จิต(สัตว์ฯ)เมื่อมีวิชชา(รู้อริสัจ)แล้ว >> จะเป็นผู้รู้ในวิมุตติ (วิมุตติญาณทัสสนะ)
    จะเป็น"ธรรม"เป็น"ธรรมธาตุ" เมื่อมีผัสสะใดๆ ก็ไม่เกิดอวิชชาแล้ว เพราะรู้อริยสัจแล้ว
    จิตเป็นธรรมแล้ว มันไม่มีอวิชชาแล้วมันจะไปยึดอะไรอีก มันมีแต่ธรรม ธรรมที่หลุดพ้นน๊ะ
    เป็นธรรมธาตุ ...

    คงพอจะเข้าใจได้ ต้องปฏิบัติให้มากๆและต่อเนื่อง
    ต้องขยันคั้นเมล็ดงาจึงจะได้น้ำมันงา อิอิอิ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 มิถุนายน 2013
  20. tokyoo2

    tokyoo2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กันยายน 2012
    โพสต์:
    561
    ค่าพลัง:
    +419
    คุณไปรู้ทุกข์ก่อนจะดีกว่า ทำไมพระองค์ถึงบอก กล่าวโดยสรุป ทุกขอริยสัจคืออุปทานขันธ์
    เพราะมีอุปทานขันธ์. พระองค์ถึงจำเเนกว่า จึงมีความทุกข์ มีรำไร มีทุอกรำไห้ พัดพรากจากสิ่งที่รัก ประสบจากสิ่งที่รักอะไร ความตายเป็นทุกข์ เพราะอุปทานขันธ์(นี้คือความรู้ตัว)

    คนที่พูดได้อย่างนี้คุณคิดว่า เค้ารู้จริงหรือรู้ตามๆกัน?
    ส่วนคำนี้จะให้เอาไปทบทวนใหม่ วิมุตติญาณทัสสนะ. เวียนว่ายตายเกิด
    คำว่าสัตว์มีได้เพราะฉันทะ. ตัวฉันทะไม่ได้มีอยูาใน วิมุตติญาณทัสสนะ ต้องไปทบทวนดีๆ เเต่ขอเเนะนำว่า อย่าก้าวกระโดดต้องไปเรื่อยๆก่อน
     

แชร์หน้านี้

Loading...