ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย newhatyai, 17 พฤศจิกายน 2007.

  1. newhatyai

    newhatyai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    1,768
    ค่าพลัง:
    +6,203
    ฌาน ๔ นำไปสู่นิพพานได้

    ปัญหา ลำพังการทำสมาธิจนได้ฌาน จะสามารถนำไปสู่นิพพานได้หรือไม่ ?

    พุทธดำรัสตอบ
     
  2. กะละมัง

    กะละมัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    192
    ค่าพลัง:
    +150
    โน้มไปสู่นิพพาน ย่อมเป็นไปได้ แต่ไปนิพพานจริงๆไม่ได้ เพราะ ฌาณ 4 เป็นสมาถะกรรมฐาน ไม่ใช่ วิปัสนากรรมฐาน ไม่ได้เจริญปัญญา พิจารณารูป-นาม จนเข้าใจเรื่อง ญาณ 16

    สมาถะกรรมฐาน เป็นเพียงการไปกดข่มกิเลสไว้ชั่วคราว เหมือนหินทับหญ้า เมื่อใดฌาณเสื่อม กิเลสก็จะกลับขึ้นมาอีก ...จึงไปนิพพานจริงๆไม่ได้ เพียงแต่โน้มไปเพื่อเข้ากระแสนิพพานเพียงชั่วคราว ในขณะที่ฌาณยังไม่เสื่อมเท่านั้น

    สำหรับผู้ที่สนใจเรื่อง สมาถะกรรมฐาน โดยละเอียด โปรดอ่านใน คัมภีร วิสุทธิมรรค...สาธุ
     
  3. magic_storm

    magic_storm เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2007
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +3,053
    สรุปคือ ใช้สมาธิอันเกิดจากฌาณ[สมถกรรมฐาน] พิจารณาธรรมให้เห็นตามสภาพความเป็นจริงจนเกิดปัญญาญาณ[วิปัสสนากรรมฐาน] แล้วบรรลุนิพพานน่ะได้

    ตามหลัก ไตรสิกขา เลย ศีล=> สมาธิ=> ปัญญา

    จิตอันเกิดจากสมาธิจึงเป็นจิตอันควรแก่งาน[ควรแก่การเจริญวิปัสสนา] เสมือนน้ำที่นิ่งสงบ ย่อมเห็นสิ่งต่างๆในน้ำนั้นได้เป็นอย่างดี ฉันใดก็ฉันนั้น

    สาธุ...
     
  4. ธรรมทัช

    ธรรมทัช Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +71

    นำคำถามสำหรับนักปฏิบัติสายวัดปากน้ำฯมาให้พิจารณากันครับ เพราะเห็นว่าตรงดีและเป็นข้อเท็จจริงมีเหตุผลเข้าได้กับ ทุกสายวิปัสนา โดยความเคารพครับ

    <TABLE height=60 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="78%" align=center border=1><TBODY><TR><TD width="90%">ผู้ที่จะได้รูปฌาน อรูปฌาน เป็นของไม่ใช่จะได้กันง่ายๆ (เป็นบางคนเท่านั้น) และผู้ที่อยู่ในฌาน เหมือนคนนอนหลับ ที่มีความสุขมาก จะพิจารณาอะไรไม่ได้ นอกจากจะอยู่ในอุปจารสมาธิ พระศาสดากว่าจะเข้าปรินิพพานยังเข้าฌานออกฌานแล้วออกจากฌานที่ ๔ จึงปรินิพพาน ความเข้าใจเช่นนี้ของผม ถูกต้องหรือไม่ ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ประการสำคัญที่สุด คำว่าเจริญฌานสมาบัติ แล้วพิจารณาสภาวธรรม เจริญฌานสมาบัติแล้วน้อมเข้าสู่วิชชา จะเป็นวิชชา ๓ หรือจะเรียกว่า อตีตังสญาณ อนาคตังสญาณ ปัจจุปันนังสญาณ ก็ได้ พิจารณาสภาวธรรม
    การพิจารณสภาวธรรม ไม่ได้เจริญฌานสมาบัติ ๘ ท่านเข้าใจผิด ไปอ่านใหม่ เขากล่าวถึงเจริญฌานสมาบัติเฉยๆ ที่ให้พิจารณาทั้งหมด เขาถอยฌานลงมาทั้งหมด เจริญฌานเพื่อให้จิตละเอียด จิตละเอียดตั้งมั่น อ่อนโยนแล้ว อธิษฐานจิต เช่นว่า พิจารณากายคตาสติทั่วสังขารร่างกาย อธิษฐานจิตลงมาในระดับอุปจารสมาธิ คือ อธิษฐานให้เห็นรูป สัณฐาน กลิ่น สี ตามที่เป็นจริง เราเกือบจะไม่พูดกันถึงเรื่องฌาน เมื่อพูดไปแล้วจะไปเรื่องใหญ่เรื่องโตของสมถะอย่างเดียว แต่เราพูดถึงเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ทั้งสมาธิและปัญญา เราเจริญขึ้นพร้อมกัน
    ในทางปฏิบัติ เมื่อพิจารณาสังขารร่างกาย ให้ถอยให้เห็นสี กลิ่น สัณฐาน ตามที่เป็นจริง
    ฌาน ยากสำหรับคนทำไม่ได้ คนทำได้ก็ง่าย ท่านพูดเรื่องฌาน อรูปฌาน ท่านไม่พูดเรื่องสติปัฏฐาน ๔ เราทำสติปัฏฐาน ๔ อย่าไปสนใจเรื่องฌาน เพราะฌาณเกิดขึ้นเป็นผล แต่ถ้าเราไปตั้งต้นทำฌานสมาบัติ จะออกไปทางฤาษีชีไพร
    เพราะฉะนั้น การพิจารณาสภาวธรรม ละระดับสมาธิลงโดยอัตโนมัติที่ในหนังสือบอกไว้ นั่นเขาพิจารณาสภาวธรรมแล้ว เขาอาศัยกำลังฌาน อาศัยวิกขัมภณวิมุตติ เพื่อชำระธาตุธรรมเขา เพื่อให้ถึงธรรมกายที่ละเอียดๆ สุดละเอียด เพื่อไม่ให้อวิชชาทำอะไรได้ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะไปปรากฏในอายตนนิพพาน ได้รู้ได้เห็น ได้สัมผัส และได้อารมณ์พระนิพพานด้วย
    จริงๆ แท้ๆ พระคุณเจ้า อันนี้กระผมไม่กล้ายืนยัน เพราะยังไม่เห็นในตำราไหน แต่มันเป็นเพียงคำพูดที่จงเก็บมาฟังไว้ ในตำราวิสุทธิมรรค ปัญญานิทเทส กล่าวถึงอาการที่จะบรรลุมรรคผล อันชื่อว่า อุภโตวุฏฐาน คือ ออกจากภาคทั้ง ๒ คือ ออกจากสังขารนิมิต และออกจากตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่ง พร้อมกันว่า
    เมื่อพระโยคาวจร เจริญสมถวิปัสสนา เมื่อมรรคจิตจะเกิดขึ้นนั้น กำลังฝ่ายสมถะและวิปัสสนาเสมอกัน จิตยึดหน่วงเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ มรรคจิตมรรคญาณเจริญขึ้นปหานสัญโญชน์ให้หมดสิ้นไป จึงเข้าสู่ผลสมาบัติ เป็นพระอริยบุคคลชั้นนั้นๆ ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้
    คำว่า เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ ไม่ใช่นึกเอา ในวิชชาธรรมกาย พิสดารกายไปสู่สุดละเอียด มีสภาวะเป็นตัวนิโรธ หรือจะเรียกว่า วิกขัมภณะก็ได้ ด้วยการข่มกิเลส ปหานอกุสลจิตของกายในภพ ๓ หรือดับสมุทัย ดับหยาบไปหาละเอียดจะอวิชชาทำอะไรไม่ได้ เป็นวิกขัมภณวิมุตติ ตกศูนย์เข้าอายตนนิพพาน แล้วจึงซ้อนหยุดแน่นนิ่งไปตรงกลางของพระนิพพาน ตรงนี้แหละ เอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ประการหนึ่ง
    ประการที่สอง ออกจากสังขารนิมิต ดับหยาบไปหาละเอียดจนจิตละเอียดหนัก ปล่อยวางอุปาทานในขันธ์ ๕ ได้ชั่วคราว ของกายในภพ ๓ เป็นอันว่านิมิตซึ่งประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง คือตัณหานั้นหมดไป พ้นจากสังขารนิมิตนี้ เป็นแต่ธาตุล้วนธรรมล้วนของธรรมกาย
    ในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิตของธรรมกายเกิดและเจริญเต็มที่ ปหานสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก หรือปหานตัณหาปวัตติเครื่องปรุงแต่งให้หมดไป เข้าผลสมาบัติเป็นพระอริยบุคคลตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ชื่อว่า อุภโตวุฏฐานะ ออกจากภาคทั้ง ๒ เมื่อมาถึงตรงนี้ ท่านจะเข้าใจที่ผมพูดนี้ ผมพูดตามตำราที่ครูบาอาจารย์สอนไว้ หรือประสบการณ์ของคนที่เขาปฏิบัติได้ กระผมกราบเรียนไว้อย่างนี้ กระผมมิได้กล่าวว่ากระผมเป็นอริยเจ้า.
    <TABLE height=60 cellSpacing=0 cellPadding=7 width="78%" align=center border=1><TBODY><TR><TD width="10%"></TD><TD width="90%">ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกาย แล้วจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ได้ถึงที่สุด (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการ (คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด ตราบนั้น ก็ยังมิได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ (บรรลุ) ถึงที่สุดแล้ว
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้สอนภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย แต่ยังไม่สามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการได้ดังกล่าวแล้วว่า ยังจัดเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคล
    ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน ส่วนขาอีกข้างหนึ่งยังยืนอยู่ในภพ ๓ กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายแล้วนั้นก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย ๓ ประการนั้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ แต่ถ้าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลังกลับคืนมาสู่โลก (ภพ ๓) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจและธรรมกายดับลงเมื่อใด บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส และมีสิทธิถึงทุคคติได้เมื่อนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมจนได้ถึงธรรมกาย และยังทรงอยู่เสมอนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้บวชภายใน
    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คือแปลว่า ใจนั้นบวชอยู่ และถ้าหากได้บรรพชาอุปสมบทอีกด้วย (ในกรณีที่เป็นชาย) ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้บวชทั้งภายในและภายนอก
     

แชร์หน้านี้

Loading...