ทำไมพระพุทธเจ้าจึงห้ามสาวกไม่ให้แสดงพลังที่เหนือธรรมชาติ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย evatranse, 21 กันยายน 2013.

  1. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
  2. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ใช่วัดที่คณะสงฆ์วัดหนองป่าพงตัดออกจากการเป็นสาขาวัดหนองป่าพงหรือเปล่าครับ
    เคยได้ยินพ่อแม่ครูบาจารย์ท่านเล่าให้ฟัง
     
  3. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    ไม่ทราบได้ค่ะ ทราบแต่ว่า พุทธวจน เป็น ปัจจัตตัง ค่ะ

    "พวกเธออย่าพึงรับรอง อย่าพึงคัดค้าน เธอกำหนดเนื้อความนั้นให้ดี
    แล้วนำไปสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าลงกันได้ เทียบเคียงกันได้ พึงแน่ใจว่า นั่นเป็นคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่แล้ว
    ภิกษุรูปนั้นจำมาอย่างดีแล้ว พวกเธอพึงรับเอาไว้

    ถ้าลงกันไม่ได้ เทียบเคียงกันไม่ได้ พึงแน่ใจว่า นั้นไม่ใช่คำของพระผู้มีพระภาคเจ้าแน่นอน
    ภิกษุรูปนั้นจำมาผิด พวกเธอพึงทิ้งคำเหล่านั้นเสีย...
    เธอทั้งหลายพึงจำมหาประเทศสี่นี้ไว้"

    ดิฉันเป็น ศิษย์ พระตถาคต เท่านั้นค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กันยายน 2013
  4. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ..... ท่านพ่อแม่ครูบาจารย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ท่านเคยพูดไว้ว่า การแสดงฤทธิ์ถ้ามีจริงทำได้จริงแล้วแสดงฤทธิ์ผิดอาบัติปาจิตตีย์ ไม่มีฤทธิ์แต่อวดว่าตัวเองว่ามีฤทธิ์ เป็นอาบัติปาราชิก

    ... ผมก็เคยบวชอยู่สาขาหนองป่าพง เคยอยู่กับหลวงพ่อคำปุ่น ลูกศิษย์รุ่นบุกเบิกใกล้ชิดหลวงปู่ชา ท่านเล่าให้ฟังว่าหลวงปู่ชาท่านพูดกับพวกสัตว์ในวัดหนองป่าพงรู้เรื่อง บางทีผึ้งมาบินล้อมตัวหลวงปู่ชาเต็มไปหมด บางทีก็มีงูใหญ่ตามท่านไปบิณฑบาต แต่ที่น่าอัศจรรย์คือท่านรู้วาระจิตของลูกศิษย์ ใครคิดนอกลู่นอกทางตอนเย็นต้องโดนท่านเทศน์กันถึงห้าหกทุ่ม

    ... อีกเรื่องหนึ่งมีตาคนนึงเอาน้ำใส่ขวดมาให้หลวงปู่ชาทำน้ำมนต์ให้ พอมาถึงกราบหลวงปู่แล้วก็บอกหลวงปู่ว่า " หลวงปู่ทำน้ำมนต์ให้หน่อยครับ " ท่านก็บอกว่า " เออ วางไว้ตรงนั้นแหละ " แล้วท่านก็คุยกับญาติโยมคนอื่น สักพักตาคนนั้นก็บอกหลวงปู่อีกว่า " หลวงปู่ทำน้ำมนต์ให้หน่อยครับ " ท่านหลวงปู่บอกว่า " เสร็จแล้ว เอาไปโลด " อีตาคนนั้นโมโหหลวงปู่ว่าไม่เห็นทำให้ นั่งอยู่ตั้งไกลหลายเมตร แกก็คว้าขวดน้ำเดินออกไป พอถึงหน้าวัดก็เปิดฝาขวดจะเทน้ำทิ้ง เทยังไงก็ไม่ออก ต้องรีบวิ่งกลับมาขอขมาหลวงปู่ชา เรื่องแปลกๆของหลวงปู่ชามีอีกเยอะ พอเท่านี้ก่อนครับ

    ... ประสบการณ์ที่ผมเคยได้สัมผัสกับครูบาอาจารย์สายของหลวงปู่จันทร์ อินทวีโร ลูกศิษย์ที่หลวงปู่ชารักที่สุด วัดป่าบึงเขาหลวง สาขา ๒ วัดหนองป่าพง ท่านเก่งๆกันทุกองค์
     
  5. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    หลวงปู่ท่าน ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ค่ะ เพราะว่าการแสดงพลังที่เหนือธรรมชาตินั้น...
    นั่นไม่เป็นเรื่องที่ควรเข้าไปดู
    เพื่อความเบื่อหน่าย
    คลายกำหนัด
    เพื่อความดับ
    เพื่อความเข้าไปสงบรำงับ
    เพื่อความรู้ยิ่ง
    เพื่อความรู้แจ้ง
    เพื่อนิพพาน


    [​IMG]
     
  6. Piagk3

    Piagk3 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    606
    ค่าพลัง:
    +1,222
    จะเชื่ออะไรดี ระหว่างคำสอนของพระศาสดา หรือว่าคำแต่งขึ้นใหม่ของสาวก.
     
  7. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571
    พิจารณา ค่ะ


    ภิกษุทั้งหลาย ! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
    ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้
    คนรู้ ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกัน
    แล้ว ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้ง
    มรรค) เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมรรค). ภิกษุทั้งหลาย !
    ส่วนสาวกทั้งหลายในกาลนี้เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค)
    เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.
    ภิกษุทั้งหลาย ! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
    เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่าง
    กัน ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุ
    ผู้ปัญญาวิมุตต์.


    (อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๗ ๒๑,
    พระไตรปิฎกบาลี สยามรัฐ๑๗/๘๑/๑๒๕)
     
  8. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ลองอ่านดูครับ ข้อปฏิบัติที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคตรัสสอนนิโครธปริพาชก

    อุทุมพริกสูตร

    [๒๕] ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ ย่อมถือมั่นตบะ เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่มีความดำริบริบูรณ์ ด้วยตบะนั้น ข้อที่ผู้มีตบะ ถือมั่นตบะ ไม่ดีใจไม่มีความดำริบริบูรณ์ ด้วยตบะนั้น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    เขาย่อมไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยตบะนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์
    ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    เขาย่อมไม่เมา ไม่ลืมสติ ย่อมไม่ถึงความเมา ด้วยตบะนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อม
    เป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาเป็นผู้ไม่ดีใจ
    ไม่มีความดำริบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ... อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    เขาให้ลาภสักการะและความสรรเสริญ เกิดขึ้นด้วยตบะนั้น เขาย่อมไม่ยกตน
    ไม่ข่มผู้อื่น ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ... อย่างนี้ เขาเป็นผู้บริสุทธิ์
    ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    ย่อมไม่ถึงส่วน ๒ ในโภชนะทั้งหลายว่า สิ่งนี้ควรแก่เรา สิ่งนี้ไม่ควรแก่เรา
    ก็สิ่งใดแลไม่ควรแก่เขา เขาไม่มุ่งละสิ่งนั้นเสีย ส่วนสิ่งใดควรแก่เขา เขาไม่
    กำหนัด ไม่ลืมสติ ไม่ติดสิ่งนั้น แลเห็นโทษ มีปัญญาคิดสลัดออก บริโภค
    อยู่ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมถือมั่นตบะ
    แต่เขาไม่คิดว่า พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดีเดียรถีย์ จักสักการะเรา เพราะเหตุแห่งความใคร่ลาภสักการะและความสรรเสริญอย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้
    รุกรานสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ก็ไฉน ผู้นี้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่าง กินวัตถุทุกๆ อย่าง คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอดพืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า ปลายฟันของผู้นี้คมประดุจสายฟ้า คนทั้งหลายย่อมจำกันได้ด้วยวาทะเป็นสมณะ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เห็นสมณะ
    หรือพราหมณ์อื่นที่เขาสักการะเคารพนับถือบูชาอยู่ในสกุลทั้งหลาย เขาไม่ดำริ
    อย่างนี้ว่า คนทั้งหลายย่อมสักการะ เคารพนับถือ บูชาสมณะหรือพราหมณ์ชื่อนี้แลผู้เลี้ยงชีพด้วยวัตถุหลายอย่างในสกุลทั้งหลาย แต่ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือไม่บูชาเราผู้มีตบะ เลี้ยงชีพด้วยวัตถุเศร้าหมอง เขาไม่ให้ความริษยาและความตระหนี่เกิดขึ้นในสกุลทั้งหลาย ดังนี้ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้ไม่นั่ง
    ในที่เป็นทางที่คนแลเห็น อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมไม่เที่ยว
    แสดงตนไปในสกุลทั้งหลายว่า กรรมแม้นี้อยู่ในตบะ ของเรา กรรมแม้นี้อยู่ในตบะของเรา อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ย่อมไม่เสพ
    โทษอันปกปิดบางอย่าง เขาถูกผู้อื่นถามว่า โทษนี้ควรแก่ท่านหรือ กล่าวโทษที่
    ไม่ควรว่าไม่ควร กล่าวโทษที่ควรว่าควร เขาเป็นผู้ไม่กล่าวเท็จทั้งรู้อยู่ ดังนี้
    อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ เมื่อพระตถาคต
    หรือสาวกของพระตถาคตแสดงธรรมอยู่ ย่อมผ่อนตามปริยายซึ่งควรผ่อนตามอันมีอยู่อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มักโกรธ
    ไม่มักผูกโกรธ อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ คำอื่นที่ควรกล่าวยังมีอยู่อีก บุคคลผู้มีตบะ ไม่เป็นผู้มีความ
    ลบหลู่ ไม่ตีเสมอ ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่กระด้าง
    ไม่ถือตัวจัด ไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่ไปสู่อำนาจแห่งความปรารถนา
    อันลามก ไม่เป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ประกอบด้วยทิฐิอันดิ่งถึงที่สุด ไม่เป็นผู้ลูบคลำทิฐิเองไม่เป็นผู้ถือมั่น สละคืนได้ง่าย อย่างนี้ เขาย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ในฐานะนั้น ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ

    ... นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะเหล่านี้บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่บริสุทธิ์หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น

    ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดถึงแก่น หามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่ถึงสะเก็ดเท่านั้น ฯ




    [๒๖] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การหน่าย
    บาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอประทาน
    พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึงแก่นแห่งการหน่ายบาปด้วยตบะเถิด ฯ

    ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้
    สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน

    ... ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้

    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ใช้ผู้อื่นให้ฆ่าสัตว์ เมื่อผู้อื่นฆ่าสัตว์ ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ

    ๒. ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่
    เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เมื่อผู้อื่นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่เป็น
    ผู้ดีใจ ฯ

    ๓. ไม่พูดเท็จ ไม่ใช้ผู้อื่นให้พูดเท็จ เมื่อผู้อื่นพูดเท็จ ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ

    ๔. ไม่เสพกามคุณ ไม่ใช้ให้ผู้อื่นเสพกามคุณ เมื่อผู้อื่นเสพกามคุณ
    ไม่เป็นผู้ดีใจ ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการอย่างนี้

    ... ดูกรนิโครธะ เพราะว่าบุคคลผู้มีตบะเป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้ จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะเป็นผู้มีตบะ เขารักษายิ่งซึ่งศีล
    ไม่เวียนมาเพื่อเพศอันเลว

    ... เขาเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขาซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ป่าชัด ที่แจ้ง ลอมฟาง ในปัจฉาภัต เขากลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า เขาละความเพ่งเล็งในโลกเสียแล้ว มีใจปราศจากความเพ่งเล็ง ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้

    ... ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่พยาบาท มีความกรุณาหวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือพยาบาทได้

    ... ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้

    ... ละอุทธัจจกุกกุจจะ เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้

    ... ละวิจิกิจฉา เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้

    ... เขาละนิวรณ์ ๕เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจที่ทำให้ปัญญาถอยกำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยเมตตา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    ... เขามีใจประกอบด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่างเบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยกรุณา อันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    ... เขามีใจประกอบด้วยมุทิตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สองทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวางแผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจอันประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่

    ... เขามีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สามทิศที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถานด้วยใจอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ

    ... นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยความเพียร บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่บริสุทธิ์หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอด
    และถึงแก่น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะ ด้วย
    เหตุเพียงเท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดหรือถึงแก่นหามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่ถึงเปลือกเท่านั้น ฯ




    [๒๗] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การหน่าย
    บาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอประทาน
    พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึงแก่นแห่งการหน่ายบาปด้วยตบะเถิด ฯ

    ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้
    สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ฯลฯ

    ... ดูกรนิโครธะ เพราะว่า บุคคลผู้มีตบะ เป็นผู้สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ข้อที่จะกล่าวต่อไปนี้จึงเป็นลักษณะของเขา เพราะเป็นผู้มีตบะ เขารักษายิ่งซึ่งศีล ไม่เวียนมาเพื่อเพศอันเลว เขาเสพเสนาสนะอันสงัด ฯลฯ เขาละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นอุปกิเลสแห่งใจ ที่ทำให้ปัญญาถอยกำลัง มีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ฯลฯ

    ... เขาย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง
    สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง ฯลฯ สิบชาติบ้าง ยี่สิบ
    ชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติ
    บ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้นมีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆมีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เขาย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ฯ

    ... ดูกรนิโครธะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ

    ... นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะ บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่บริสุทธิ์หามิได้เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึง
    แก่น พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะการหน่ายบาปด้วยตบะ ด้วยเหตุเพียง
    เท่านี้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดหรือถึงแก่นหามิได้ ที่แท้ เป็นกิริยาที่ถึงกระพี้เท่านั้น ฯ




    [๒๘] นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็การหน่ายบาปด้วยตบะ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและถึงแก่น ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคจงให้ข้าพระองค์ถึงยอดถึงแก่นแห่งการหน่ายบาปด้วยตบะเถิด ฯ

    ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ บุคคลผู้มีตบะในโลกนี้ เป็นผู้
    สังวรแล้วด้วยสังวร ๔ ประการ ฯลฯ เขาย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ
    ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เขาระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก
    พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

    ... เขาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติกำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

    ... ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

    ... ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้

    ... เขาย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีตมีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้

    ... ดูกรนิโครธะท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ถ้าเมื่อเป็นเช่นนี้ การหน่ายบาปด้วยตบะ จะบริสุทธิ์หรือไม่บริสุทธิ์ ฯ

    ... นิโครธปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนี้ การ
    หน่ายบาปด้วยตบะ บริสุทธิ์แน่แท้ ไม่บริสุทธิ์ หามิได้ เป็นกิริยาที่ถึงยอดและ
    ถึงแก่น ฯ

    ... พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรนิโครธะ การหน่ายบาปด้วยตบะ เป็นกิริยา
    ที่ถึงยอดและถึงแก่น
    ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

    ... ดูกรนิโครธะ ท่านได้กล่าวกะเราอย่างนี้ว่า ธรรมของพระผู้มีพระภาค สำหรับทรงแนะนำสาวกนั้นชื่ออะไร ธรรมชื่ออะไรสำหรับรู้แจ้งชัดอาทิพรหมจรรย์ อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวกที่พระผู้มีพระภาคทรงแนะนำแล้ว ถึงความยินดี

    ...ดูกรนิโครธะ ฐานะที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ดังนี้แล เป็นธรรมสำหรับเราแนะนำสาวก เป็นธรรมสำหรับรู้แจ้งชัดอาทิพรหมจรรย์อันเป็นที่อาศัยอยู่แห่งพระสาวกที่เราแนะนำแล้ว ถึงความยินดี เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พวกปริพาชกเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีเสียงดังลั่นอึกทึกว่า พวกเรากับอาจารย์ยังไม่เห็นในคัมภีร์มีคัมภีร์อเจลกเป็นต้นนี้ พวกเรากับอาจารย์ยังไม่เห็นในบาลีมีบาลีอเจลกเป็นต้นนี้ พวกเรายังไม่รู้ชัด การบรรลุคุณวิเศษที่ยิ่งไปกว่านี้ ฯ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  9. พงศ์ภูพาน

    พงศ์ภูพาน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2013
    โพสต์:
    570
    ค่าพลัง:
    +4,432


    .....โมทนา สาธุ อย่างยิ่งครับ
     
  10. cmhadtong

    cmhadtong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2008
    โพสต์:
    428
    ค่าพลัง:
    +2,034
    เป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายถูกต้อง
    ถึงวิธีการจะต่างกัน แต่ที่สุดก็จบเหมือนกัน
    กำลังใจไม่เสมอกัน ความชอบต่างกัน วาสนาบารมีทำมาต่างกัน
    การเดินทางย่อมต่างกัน ไม่มีของใครดีกว่าด้อยกว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม
    ยึดมั่นเกินไปก็ไปยาก ลำบากตัว ปล่อยวางเสียบ้างจะสบายตัว
    เดินทางกันต่อไป โมทนา
     
  11. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    ข้าพเจ้านะเคยแบกพระเครื่อง เครื่องรางของขลังเต็มกระเป๋าไปว่าความที่ศาล เมื่อก่อนกว่าจะออกจากบ้านได้ ต้องมีการร่ายรำไหว้ครู ยกพระเครื่องนี้นั้นมาจบหัวจบเกล้าให้คุ้มครอง ไปว่าความพอผู้พิพากษาพูดจาด้วยไม่ดี ไม่เพราะ ก็คิดว่าดวงซวย กลับบ้านเที่ยววิ่งไปรดน้ำมนต์ ไล่รังควาญอ ะไรปานนั้น เพราะเชื่อ
    คำสาวก ปรุงแต่งกันไปนี่แหละ หนักเป็นบ้า หนักทั้งกาย หนักทั้งใจ ตั้งแต่ฟังคำพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเหวี่ยงของเหล่านั้นทิ้งไม่เหลือ
    หันมาเคารพพระธรรมวินัยที่ท่านตรัสไว้ดีแล้ว เชื่อผลแห่งกรรม ข้าพเจ้าเรียนรู้ปฏิจสมุบปบาท กฎอีทับปจยตา เรียนการละวางสังขารความคิด สัญญาความจำ เวทนาความรู้สึกสุกทุกข์ วิญญาณธาตุรู้หรือตัวรู้ เกาะแค่ลมหายใจเข้าหายใจออก วัน วันตั้งอยู่กับกายคตาสติ ละนันทิ ละความเพลิน ตอนนี้ละไปบาน เบาดีจัง ท้ายท่ีสุดพระพุทธเจ้า ท่านก็ให้ละทิ้งพ่วงแพทั้งหมดอยู่แล้วนี่

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงเป็นผู้มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อยู่เถิด.ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายจะมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ
    มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ จะต้องพิจารณาโดยแยบคายว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส มีกำเนิดมาอย่างไร เกิดมาจากอะไร?
    อัตตทีปสูตร ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๑๒
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2013
  12. Mon Treal

    Mon Treal เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +536
    รัตนะที่หายากยิ่ง ๕ ประการ

    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า

    ดูก่อนเจ้าลิจฉวี

    ความปรากฏขึ้นแห่งรัตนะ ๕ หาได้ยากในโลก รัตนะ ๕ เป็นไฉน คือ

    พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑

    บุคคลผู้แสดงธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว ๑

    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ๑

    บุคคลผู้รู้แจ้งธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว อันผู้อื่นแสดงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

    กตัญญูกตเวทีบุคคล ๑

    ดูก่อนเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ความปรากฏแห่งรัตนะ ๕ ประการนี้แล หาได้ยากในโลก


    ปิงคิยานีสูตร ว่าด้วยรัตนะที่หายากยิ่ง ๕ ประการ
     
  13. evatranse

    evatranse เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2006
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +571


    **เป้าหมายเดียวกัน เป้าหมายถูกต้อง
    ถึงวิธีการจะต่างกัน แต่ที่สุดก็จบเหมือนกัน


    กล่าวไม่ตรงกับพระศาสดาสัมมาสัมพุทธ ไม่ควรสดับฟังด้วยดีค่ะ
    หนทางใดที่เป็นไปเพื่อมิจฉาทิฏฐิ จะยังสัมมาทิฏฐิให้เกิดขึ้นได้อย่างไร


    **การเดินทางย่อมต่างกัน ไม่มีของใครดีกว่าด้อยกว่า ทุกอย่างเป็นไปตามกรรม

    ทางเดินใดที่นอกอริยมรรค ๘ ประการ ทางเดินนั้นไม่ประเสริฐ

    หากเชื่อว่าทุกอย่างเป็นไปตามกรรมแล้ว
    ความพอใจหรือความพยายามว่า "กิจนี้ควรทำหรือไม่ว่ากิจนี้ไม่ควรทำ"
    ย่อมจะมีได้นั้น
    ไม่ใช่ฐานะที่มีได้เลย
     
  14. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)


    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    ... สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
    กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค
    ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า

    ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน

    ... หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    ... พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    ... พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
    โทมนัสในโลกเสียได้ ๑

    ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
    มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
     
  15. JitdeePower

    JitdeePower สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +3
    อ่านอันนี้แล้วเข้าใจเลย..เห็นด้วยครับ..
     
  16. ลุงมหา๑

    ลุงมหา๑ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    931
    ค่าพลัง:
    +3,937
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 กันยายน 2013
  17. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
    ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค​


    [๓๓๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรเกวัฏฏ์ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างนี้ เราทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงได้ประกาศให้รู้ ปาฏิหาริย์ ๓ อย่างเป็นไฉน? คือ
    ๑. อิทธิปาฏิหาริย์
    ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์
    ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑


    ..... ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน? ดูกรเกวัฏฏ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงแม้ในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจด้วยกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่มีศรัทธาเลื่อมใส เห็นภิกษุนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

    ... ครั้นแล้วเขาจะบอกแก่คนผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่า อัศจรรย์จริงหนอ ท่านไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

    ... เมื่อเป็นเช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสอย่างนี้ว่า ท่านมีวิชาอยู่อย่างหนึ่งชื่อว่า คันธารี ภิกษุรูปนั้นแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ... ได้ด้วยวิชาชื่อว่า คันธารีนั้น



    ..... ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใสนั้น จะพึงกล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสนั้นบ้างไหม พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็นโทษในอิทธิปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอิทธิปาฏิหาริย์.

    อาเทสนาปฏิหาริย์​

    [๓๔๐] ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อาเทสนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน?

    ... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ เพราะเหตุดังนี้นั้น บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งมีศรัทธาเลื่อมใสเห็นภิกษุนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นไปโดยอาการนี้จิตของท่านเป็นดังนี้.

    ... ครั้นแล้วเขาบอกแก่คนที่ยังไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส คนใดคนหนึ่งว่าอัศจรรย์จริงหนอ ท่าน ไม่เคยมีมาเลย ท่าน ความที่สมณะมีฤทธิ์มาก ความที่สมณะมีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุรูปนี้ทายใจ ทายความรู้สึกนึกในใจ ทายความนึกคิด ทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นได้ ... เมื่อเป็นเช่นนี้ คนผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น พึงกล่าวกะเขาว่าท่าน มีวิชาอย่างหนึ่งชื่อว่า มณิกา ภิกษุรูปนั้นทายใจ ทายความรู้สึกในใจ ทายความนึกคิดทายความตรองของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่นก็ได้ ... ด้วยวิชาชื่อว่า มณิกานั้น ดูกรเกวัฏฏ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน? คนผู้ไม่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น พึงกล่าวอย่างนั้นกะคนผู้มีศรัทธาเลื่อมใสกันบ้างไหม? พึงกล่าวพระเจ้าข้า ดูกรเกวัฏฏ์ เราเล็งเห็นโทษในอาเทสนาปาฏิหาริย์อย่างนี้แล จึงอึดอัด ระอา เกลียดอาเทสนาปาฏิหาริย์.

     
  18. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    อนุสาสนีปาฏิหาริย์​

    [๓๔๑] ดูกรเกวัฏฏ์ ก็อนุสาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน?

    ... ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า ท่านจงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงทำในใจอย่างนี้ อย่าทำในใจอย่างนั้นจงละสิ่งนี้ จงเข้าถึงสิ่งนี้อยู่เถิด นี้เรียกอนุสาสนีปาฏิหาริย์.


    [๓๔๒] ดูกรเกวัฏฏ์ อีกข้อหนึ่ง พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้วเป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์นั้นทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลกให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

    ... คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้ว ย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทางปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย

    ... ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต

    ... เมื่อบวชแล้ว สำรวมระวังในพระปาติโมกข์อยู่ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ประกอบด้วยกายกรรม วจีกรรมที่เป็นกุศล มีอาชีพบริสุทธิ์ ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ เป็นผู้สันโดษ.

     
  19. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    จุลศีล


    ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรามีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๒. เธอละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๓. เธอละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกลเว้นขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๔. เธอละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คำจริง ดำรงคำสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๕. เธอละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้นเพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๖. เธอละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รักจับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ แม้ข้อนี้ก็เรียกอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๗. เธอละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๘. เธอเว้นจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

    ๙. เธอฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล.

    ๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

    ๑๑. เธอเว้นขาดจากการทัดทรงประดับ ตบแต่งร่างกาย ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

    ๑๒. เธอเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

    ๑๓. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

    ๑๔. เธอเว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

    ๑๕. เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ.

    ๑๖. เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

    ๑๗. เธอเว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

    ๑๘. เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

    ๑๙. เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

    ๒๐. เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

    ๒๑. เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.

    ๒๒. เธอเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.

    ๒๓. เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย.

    ๒๔. เธอเว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

    ๒๕. เธอเว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

    ๒๖. เธอเว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชกแม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     
  20. ธัมมะสามี

    ธัมมะสามี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2013
    โพสต์:
    513
    ค่าพลัง:
    +2,781
    มัชฌิมศีล​


    ๑. ภิกษุเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการพรากพืชคามและภูตคามเห็นปานนี้ คือ พืชเกิดแต่เหง้า พืชเกิดแต่ลำต้น พืชเกิดแต่ผล พืชเกิดแต่ยอด พืชเกิดแต่เมล็ดเป็นที่ครบห้า แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๒. ภิกษุเว้นขาดจากการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบการบริโภคของที่ทำการสะสมไว้เห็นปานนี้ คือ สะสมข้าว สะสมน้ำ สะสมผ้า สะสมยาน สะสมที่นอน สะสมเครื่องประเทืองผิว สะสมของหอม สะสมอามิส แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๓. ภิกษุเว้นขาดจากการดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศลเห็นปานนี้ คือ การฟ้อน การขับร้อง การประโคมมหรสพ มีการรำเป็นต้น การเล่านิยายการเล่นปรบมือ การเล่นปลุกผี การเล่นตีกลอง ฉากภาพบ้านเมืองที่สวยงาม การเล่นของคนจัณฑาล การเล่นไม้สูง การเล่นหน้าศพ ชนช้าง ชนม้า ชนกระบือ ชนโค ชนแพะชนแกะ ชนไก่ รบนกกระทา รำกระบี่กระบอง มวยชก มวยปล้ำ การรบ การตรวจพลการจัดกระบวนทัพ กองทัพ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๔. ภิกษุเว้นขาดจากการขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายเล่นการพนันอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเห็นปานนี้ คือ เล่นหมากรุกแถวละแปดตา แถวละสิบตาเล่นหมากเก็บ เล่นดวด เล่นหมากไหว เล่นโยนบ่วง เล่นไม้หึ่ง เล่นกำทาย เล่นสกาเล่นเป่าใบไม้ เล่นไถน้อยๆ เล่นหกคะเมน เล่นกังหัน เล่นตวงทราย เล่นรถน้อยๆเล่นธนูน้อยๆ เล่นเขียนทายกัน เล่นทายใจ เล่นเลียนคนพิการ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๕. ภิกษุเว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่เห็นปานนี้ คือ เตียงมีเท้าเกินประมาณ เตียงมีเท้าทำเป็นรูปสัตว์ร้าย ผ้าโกเชาว์ขนยาวเครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะวิจิตรด้วยลวดลาย เครื่องลาดที่ทำด้วยขนแกะสีขาว เครื่องลาดที่มีสัณฐานเป็นช่อดอกไม้ เครื่องลาดที่ยัดนุ่น เครื่องลาดขนแกะวิจิตรด้วยรูปสัตว์ร้ายมีสีหะและเสือเป็นต้น เครื่องลาดขนแกะมีขนตั้ง เครื่องลาดขนแกะมีขนข้างเดียว เครื่องลาดทองและเงินแกมไหม เครื่องลาดไหมขลิบทองและเงิน เครื่องลาดขนแกะจุนางฟ้อน ๑๖ คน เครื่องลาดหลังช้าง เครื่องลาดหลังม้า เครื่องลาดในรถ เครื่องลาดที่ทำด้วยหนังสัตว์ชื่ออชินะอันมีขนอ่อนนุ่ม เครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด เครื่องลาดมีเพดาน เครื่องลาดมีหมอนข้างแม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๖. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบการประดับตบแต่งร่างกายอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัวเห็นปานนี้ คือ อบตัว ไคลอวัยวะอาบน้ำหอม นวด ส่องกระจก แต้มตา ทัดดอกไม้ ประเทืองผิว ผัดหน้า ทาปาก ประดับข้อมือ สวมเกี้ยว ใช้ไม้เท้า ใช้กลักยา ใช้ดาบ ใช้ขรรค์ ใช้ร่ม สวมรองเท้าประดับวิจิตรติดกรอบหน้า ปักปิ่น ใช้พัดวาลวิชนี นุ่งห่มผ้าขาว นุ่งห่มผ้ามีชาย แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๗. ภิกษุเว้นขาดจากติรัจฉานกถา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังประกอบติรัจฉานกถา เห็นปานนี้ คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอกไม้เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องนิคม เรื่องนคร เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษเรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความเจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้นๆ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๘. ภิกษุเว้นขาดจากการกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกัน เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำแก่งแย่งกันเห็นปานนี้ เช่นว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ข้าพเจ้ารู้ทั่วถึง ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิดข้าพเจ้าปฏิบัติถูก ถ้อยคำของข้าพเจ้าเป็นประโยชน์ ของท่านไม่เป็นประโยชน์ คำที่ควรจะกล่าวก่อน ท่านกลับกล่าวภายหลัง คำที่ควรจะกล่าวภายหลัง ท่านกลับกล่าวก่อน ข้อที่ท่านเคยช่ำชองมาผันแปรไปแล้ว ข้าพเจ้าจับผิดวาทะของท่านได้แล้ว ข้าพเจ้าข่มท่านได้แล้ว ท่านจงถอนวาทะเสีย มิฉะนั้นจงแก้ไขเสีย ถ้าสามารถ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๙. ภิกษุเว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังขวนขวายประกอบทูตกรรมและการรับใช้เห็นปานนี้ คือ รับเป็นทูตของพระราชา ราชมหาอำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี และกุมารว่าท่านจงไปในที่นี้ ท่านจงไปในที่โน้น ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ไป ท่านจงนำเอาสิ่งนี้ในที่โน้นมา ดังนี้แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.

    ๑๐. ภิกษุเว้นขาดจากการพูดหลอกลวงและการพูดเลียบเคียง เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวกฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังพูดหลอกลวง พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม พูดและเล็ม แสวงหาลาภด้วยลาภ แม้ข้อนี้ก็เรียกว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
     

แชร์หน้านี้

Loading...