ความเข้าใจผิดเรื่อง ต้องได้ทำฌานให้ได้ก่อนจึงจะสามารถทำวิปัสสนาจนบรรลุธรรมได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Ron_, 29 กรกฎาคม 2013.

  1. newamazing

    newamazing เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    1,704
    ค่าพลัง:
    +1,381
    นิวรณ์ ที่บ้านมีกระจกป่าว สงสัยไม่มี
     
  2. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    อยากบรรลุธรรมแต่ไม่เอาฌาน เปรียบเหมือนบุคคลตั้งใจขับรถไปวัด แต่รถคันที่ขับไปมันดันไม่มีเพลานั่นแหละครับ
     
  3. qillip

    qillip เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +366
    แหม นึกไม่ออกจริงๆ สงสัยผมจะโง่จริงๆ 555+
    ถ้านั่งนึกก็สำเร็จพระอรหันต์ได้ แสดงว่าที่เดินไปตามถนน เห็นคนหน้าดำคร่ำเครียดเพราะจิตไม่ว่างคิดอยู่ตลอด เป็นพระกันทั่วบ้านทั่วเมืองกันแล้ว ห้า ห้า ห้า

    โอ้... ความรู้ใหม่
     
  4. อินทรบุตร

    อินทรบุตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    2,511
    ค่าพลัง:
    +7,320
    “เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด”
    หลวงพ่อพุธแปลกใจ จึงถามว่า “จิตมันฟุ้งซ่านหรือไงอาจารย์”
    หลวงปู่เสาร์ตอบสั้น ๆ ว่า “ ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า”
     
  5. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ถ้าขาดสติ ยังไงก็ไม่บรรลุธรรมครับ แต่การมีสตินั้นไม่จำเป็นต้องเข้าฌานเสมอไป การมีสติรู้สึกตัว เป็นขณะ จัดเป็นขณิกกะสมาธิ

    ถ้าคิดฟุ้งซ่านแล้วรู้ว่าคิด ฟุ้งซ่าน ก็จะเห็นความไม่เที่ยงของการฟุ้งซ่าน ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนไว้ในจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฟุ้งซ่านก็รู้ชัดว่าฟุ้งซ่าน แสดงว่า การทำสติปัฏฐานไม่จำเป็นต้องทำตอนอยู่ในฌานเท่านั้น ยังสามารถทำในชีวิตประจำวันได้ ถ้าต้องทำในฌานเท่านั้น ลองคิดดูว่า ตอนเข้าฌาน จะมี ราคะ โทสะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ได้ไหม แต่ที่แน่ๆ เมื่ออยู่ในฌานจิตจะมีเอกคัตตา เป็นองค์ธรรม ซึ่งจะไม่มีทางฟุ้งซ่านแน่นอนจริงไหม แต่พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาความฟุ้งซ่าน แสดงว่า ต้องทำในชีวิตประจำวันได้ เพียงแต่คนเดินตามถนนนั้นจะมีสติรู้สึกตัวและทำสติปัฏฐาน อยู่หรือเปล่า ถ้าคนไหนทำ อยู่เช่น เดินรู้ว่าเดิน ฟุ้งซ่านรู้ว่าฟุ้งซ่าน มีราคะรู้ว่า มีราคะ มีโทสะ โมหะ หดหู่อยู่แล้วรู้ชัดถึงอารมณ์นั้น ไหม ถ้ารู้ชัดโดยความเป็นไตรลักษณ์ตามสติปัฏฐานบ่อยๆ ก็มีสิทธิบรรลุธรรมได้

    นอกจากนี้ต่อให้ได้ฌานแต่ถ้าไม่พิจารณาเห็นขันธ์ 5 โดยความเปนไตรลักษณ์ ก็ไม่มีทางบรรลุธรรมเช่นกัน

    ในขั้นการฝึก ไม่จำเป็นต้องทำสมาธิให้ถึงขั้นฌาน แต่ต้องหมั่นฝึกให้เห็นขันธ์ 5 โดยความเป็นไตรลักษณ์บ่อยๆ ด้วยจิตที่ตั้งมั่นมีสติ เมื่อสั่งสมมากเข้า ก็จะบรรลุธรรม ซึ่งขณะที่บรรลุธรรมนั้น จิตจะรวมเป็นฌานเองได้อย่างแน่นอนตามที่ท่านสอนไว้ในอภิธรรม และตอนเกิดมรรคผลนั้นไม่เกิดในขณะจิตปกติแน่นอน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 24 กันยายน 2013
  6. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เล่าว่า ระหว่างที่ได้อุปัฏฐากท่านคราวหนึ่ง ได้ยินท่านเปรยขึ้นมาว่า “เวลานี้จิตข้ามันไม่สงบ มันมีแต่ความคิด” หลวงพ่อพุธแปลกใจ จึงถามว่า “จิตมันฟุ้งซ่านหรือไงอาจารย์” หลวงปู่เสาร์ตอบสั้น ๆ ว่า “ ถ้าให้มันหยุดนิ่งมันก็ไม่ก้าวหน้า” หลวงพ่อพุธเล่าว่า กว่าจะเข้าใจความหมายของท่านก็ใช้เวลาหลายปี กล่าวคือท่านหมายความว่า เวลาปฏิบัติถ้าจิตมันหยุดนิ่งก็ปล่อยให้มันหยุดนิ่งไป อย่าไปรบกวนมัน ถ้ามันจะคิดก็ให้มันคิดไป เราเอาสติตัวเดียวเป็นตัวตั้งตัวตี

    http://www.visalo.org/monk/540822LpSao.htm
     
  7. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    พระธรรมเทศนาโดยหลวงพ่อพุธ

    บางท่านเมื่อจิตไม่ตรงกับนิสัยบริกรรมภาวนาเป็นปีๆ จิตไม่สงบก็มีอุบาย ที่จะปฏิบัติได้ คือ ต้องกำหนดรู้ดูความคิดของตนเองตลอดเวลาว่าเราคิดอะไรก็รู้ สิ่งที่คิดมันหายไปก็รู้ อันใหม่เกิดขึ้นมาก็รู้ กำหนดรู้ตามไปเรื่อยๆ เมื่อจิตมีสติกำหนดตามรู้ความคิคกำหนดทันความคิดของจิตเมื่อใด เมื่อนั้นจิตจะสงบเป็นสมาธิได้

    พระราชปุจฉาวิสัชนาธรรม ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย



    เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราภาวนาให้จิตเป็นอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาพิจารณาโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ภาษาคัมภีร์เรียกว่า พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือน้อมใจไปว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนครบขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ ตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ โดยนึกคิดเอา คือจนกระทั่งจิตมันชำนาญจนเชื่อมั่นลงไปว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นการปลูกศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นในคุณธรรม

    http://www.manager.co.th/dhamma/viewnews.aspx?NewsID=9560000110392 Dhamma and Life - Manager Online -
     
  8. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    ในบุคคล ๔ เหล่านั้น
    1) บุคคลใดตรัสรู้ธรรมพร้อม กับเวลายกหัวข้อธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆฏิตัญญู.
    2) บุคคลใดตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจกอรรถแห่งภาษิตสังเขปได้โดยพิสดาร บุคคลนี้ท่านเรียก ว่า วิปัจจิตัญญู.
    3) บุคคลใดใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดย อุเทศทั้งโดยปริปุจฉา ส้องเสพคบหาเข้าใกล้ กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมบุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ.
    4) บุคคลใดฟังมากก็ดี กล่าวมากก็ดี ทรงจำ มากก็ดี สอนมากก็ดี ก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่านเรียกว่า ปทปรมะ

    พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้ สำเร็จประโยชน์ในอัตตภาพนี้เท่านั้นแก่บุคคล ๓ ประเภท

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12.0&i=312&p=2

    ไม่ได้มีแต่พวก บัวเหนือน้ำเท่านั้นที่จะบรรลุธรรมได้ในอัตภาพนี้ ยังมีบัวปริ่มน้ำและบัวใต้น้ำด้วย (ยกเว้นบัวในตม หรือ ปทปรมะ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กันยายน 2013
  9. hastin

    hastin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,113
    ค่าพลัง:
    +3,083
    ความคิดของท่าน รณจักร คล้ายๆ เรื่อง อารมณ์พระโสดาบัน จากทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

    ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน เลยนะครับ แต่ว่ายังต้องมีข้อปฎิบัติที่ต้อง

    เพิ่มขึ้นอีกนิดหน่อย
     
  10. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    พระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบย่อม สอนเป็นไปตามธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น

    ที่ผมเอามาลงนั้น สรุปจาก พระไตรปิฎก อย่างในพระอภิธรรม สอนไว้ชัดเลยว่า หากปฏิบัติธรรมอย่างถูกต้อง แม้ว่าในระหว่างที่ปฏิบัติธรรมนั้น จะไม่เคยเกิด ฌาน เลย (ฌานในที่นี้หมายถึงตั้งแต่ปฐมฌาน ( คือ สภาวะที่จิตประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ทุติยฌาน . . . ตามนิยามของพระพุทธเจ้า)

    เมื่อถึงเวลาที่บรรลุมรรคผล จิตจะรวมเป็นฌานเองแม้ว่าก่อนหน้านั้นจะไม่เคยเข้าฌานมาก่อนในชีวิต

    ส่วนวิธีปฏิบัติ ในรายละเอียดนั้น พระพุทธเจ้าสอนไว้มากมายในหลายพระสูตร หลักๆที่ครอบคลุมการปฏิบัติทุกรูปแบบคือ สติปัฏฐาน 4
     
  11. GhostHead

    GhostHead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    1,010
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ถ้าไม่ถึงฌาน อย่างน้อยก็ต้องได้ปฐมฌาน
     
  12. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ผมพอใจในแนวทาง ท่านรณจัก..
    นับว่าผมแนวเดียวกับท่าน.. แต่ผมไม่เคยได้ยินอาจารย์ องค์ไหนพูดเลย-สอน เลยว่าต้องได้ ฌาน ก่อนวิปัสสนา หากสอนแบบนั้นมันก็ขัดกับวิธีการ ปัญญาอบรมสมาธิ นะซิครับ
     
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    เห็นด้วยกับคุณรณจักรสื่อออกมา ขอบคุณครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    แนวทางหนึ่งใน การบรรลุมรรคผล คือ ทำฌานก่อน แล้วเจริญวิปัสสนา ไม่ผิด

    อีกแนวทางหนึ่งคือ เจริญวิปัสสนา แล้ว ฌานเกิด ตอนบรรลุมรรคผล ไม่ผิด

    แต่เวลาบรรลุมรรคผลต้องมีฌานเสมอ
     
  15. ตั้งฉาก

    ตั้งฉาก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    495
    ค่าพลัง:
    +573
     
  16. Starsophere

    Starsophere เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +437
    วิปัสสนา รู้แจ้ง ใครๆ ก็อยากได้ อยากทำ หนทาง วิธี ทั้งหลายทั้งปวงล้วนแล้วแต่ต้องมีสมาธิ กำลังจิต จะสร้างมาจากวิธีไหน จะเรียกว่าอะไรก็แล้วแต่ใครจะนำใครจะตาม สุดท้ายมันก็สมดุลย์ระหว่างมหาสติ มหาปัญญา สู่มรรคสมังคี เป็นวิถีของจิตที่จะหลุดพ้น
     
  17. วงกลมจุด

    วงกลมจุด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    2,305
    ค่าพลัง:
    +2,253
    ที่จริงแล้ว ก็ไม่น่าจะต้องถกเถียงกันเพราะเรื่องนี้เลยนะจ๊ะ
    เพราะทุกคนรู้อยู่ ว่า ระดับฌาณและญาณ มี 4 ระดับคือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ซึ่ง จากตำราก็ บอกเอาไว้อยู่ว่า ใครได้ฌาณและได้ญาณจบในขั้นไหน ญาณนั้นจะติดตัวตามไปชาติหน้าด้วย ดังนั้นเวลามาเกิดเป็นมนุษย์นะจ๊ะ ก็ย่อมมี หลายระดับหลายจำพวก ใครที่เคยได้ฌาณและญาณจากชาติที่แล้ว ระดับสูงแล้ว เช่น สกิทาคามี อนาคามี เหล่านี้ ฝึกไม่มาก ก็ คล่อง เข้าวิปัสสนาเลย ซึ่ง คนที่เข้าวิปัสสนาได้เลยจะมาพูดว่าตนเองไม่เคยฝึกฌาณนั้นก็ไม่ผิดหรอกนะจ๊ะ เพราะมันเป็นของเก่า จ้า
    แต่เมื่อมาเกิดชาติใหม่คือชาตินี้แล้ว ก็จำเป็นต้องทบทวนกันบ้างสักเล็กน้อยนะจ๊ะ แต่เข้าใจเร็วกว่าคนอื่น นั่นเองจ้า นะจ๊ะ
    คำว่าได้ ไม่ไช่ พระโสดาบันมรรคนะจ๊ะ คำว่าได้ฌาณและญาณคือพระโสดาบันผลจ้า พระสกิทาคามีผล พระอนาคามีผล นั่นเองจ้า
     
  18. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    เวลาปฏิบัตินั้น สมถะและวิปัสสนา ต้องคู่กันอยู่แล้ว เพียงแต่พระพุทธเจ้าให้ เจริญด้วยปัญญาอันยิ่ง ว่า เวลาไหนควรทำสมถะเป็นหลัก เวลาไหนควรทำวิปัสสนาเป็นหลัก

    เพียงแต่สมถะ กับฌาน (ในความหมายที่เป็นปฐมฌานมีองค์ 5 ฯลฯ) นั้นคนละความหมายกัน

    การทำสมถะในระหว่างการปฏิบัติเพื่อบรรลุธรรมนั้นนั้น จิตอาจไม่รวมเป็นฌานก็ได้
    และก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปทำให้รวม เสมอไป

    แต่ขณะบรรลุธรรม จิตต้องเป็นฌานในขณะที่บรรลุเสมอ แม้ว่า ในระหว่างที่ปฏิบัติก่อนหน้านั้น จิตจะไม่เคยรวมเป็นฌานมาก่อน
     
  19. Ron_

    Ron_ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    568
    ค่าพลัง:
    +1,284
    การปฏิบัติ ต้องปฏิบัติ ทั้งสมถะและวิปัสสนา มากพอจึงบรรลุธรรมเห็นนิพพานได้
    ไม่ใช่ปฏิบัติสมถะอย่างเดียวตลอดหรือวิปัสสนาอย่างเดียวตลอด

    เพียงแต่การปฏิบัติธรรม นั้น ระหว่างปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องได้ฌานก็ได้ แต่เมื่อถึงเวลาบรรลุ จิตจะรวมเป็นฌานเสมอ แม้ก่อนหน้านั้นจะไม่เคยเกิดฌานเลย
     
  20. พลังทิพย์

    พลังทิพย์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กันยายน 2009
    โพสต์:
    31
    ค่าพลัง:
    +239
    จิตที่เป็นสมาธิมีกำลังที่จะต่อสู้กับนิวณ์และทำให้เกิดปัญญา
    ธรรมโอวาท หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


    เวลาปฏิบัติวิปัสสนาญาณจริง ๆ
    ให้เริ่มต้นด้วยการสมาทานศีล
    ... แล้วก็ทำจิตเป็นสมาธิ
    กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกก่อน
    เมื่อรู้ลมเข้าลมออกก็ใช้คำภาวนาตาม
    พอจิตเริ่มเป็นสุข ต่อไปก็ใช้ปัญญาพิจารณา
    การใช้ปัญญาพิจารณานี่จะไม่ทรงตัวนาน
    ประเดี๋ยวจิตก็เริ่มฟุ้งซ่าน ถ้าจิตเริ่มฟุ้งซ่าน
    ก็ทิ้งวิปัสสนาญาณเสีย จับสมถภาวนาใหม่
    คือรู้ลมหายใจเข้าออกใหม่ ต้องสลับกันไป
    สลับกันมาแบบนี้ ถ้าจิตของบรรดาท่านพุทธบริษัท
    สามารถทรงตัวถึงปฐมฌานเพียงใด
    เวลานั้นการกำจัดกิเลสขั้นพระโสดาบัน
    และสกิทาคามีก็มีขึ้น ก็ขอแนะนำเท่านี้นะ
    เอาแต่เพียงว่า ถ้าจะทำวิปัสสนาญาณ
    ให้เริ่มจับลมหายใจเข้าออกก่อน กับคำภาวนา
    พอจิตเริ่มเป็นสุข พอใจเริ่มสบาย ๆ ก็ใช้ปัญญา
    ทิ้งภาวนาเสีย ใช้ปัญญาพิจารณา แต่ยังรู้ลมเข้าออกอยู่
    ขณะใดที่ยังรู้ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
    และพิจารณาไปด้วย เวลานั้นจิตเป็นสมาธิ
    มีกำลังที่จะต่อสู้กับ นิวรณ์ ได้
     

แชร์หน้านี้

Loading...