เกิด | กิน กาม เกียรติ กลับ | เกาะ เก็บ กรง กรัง กลับ | แกะ แก้ กริบ กลับ | ไม่เกิด

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย huyakorn, 31 ตุลาคม 2013.

  1. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    [​IMG]

    ผมนำเสนอภาพนี้เพราะอยากให้เรื่องของ "จิต และสภาวะของจิต"
    เป็นสิ่งที่เข้าใจได้ง่าย (ฝึกได้ รู้ได้ ด้วยตัวเอง) โดยไม่ต้องศึกษาพระอภิธรรมก่อน
    ซึ่งใช้เวลานาน และเข้าใจได้ยาก มองภาพไม่ออก
    แล้วผมจะมาอธิบายให้ฟังเรื่อยๆ ในโอกาสต่อไปนะครับ..
     
  2. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    เรามารู้จักคำว่า "สัญชาตญาณ" กันก่อนนะครับ

    " สัญชาตญาณ " กับคำว่า " สัญชาติญาณ "

    มีความผิดพลาดเกิดขึ้นในการบัญญัติศัพท์คำไทยให้ใช้แทนภาษาอังกฤษคำว่า
    instinct ให้เป็นคำ " สัญชาตญาณ " ความผิดพลาดก็อยู่ตรงที่ความหมายของ
    คำทั้งสองไม่ตรงกันนัก

    instinct คือ สิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องรอให้สมองสั่งการ อย่างเช่น
    มีอะไรพุ่งเข้ามายังใบหน้าเรา เปลือกตาของเราจะกระพริบทันที ไม่ต้องรอให้
    การรับรู้รายงานไปยังสมอง แล้วให้สมองสั่งการลงมา หรืออย่างการสืบพันธุ์
    เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ทั้งของคนและสัตว์ เมื่อถึงเวลาอันควรก็จะรู้ได้เอง โดย
    ไม่จำเป็นต้องมีใครสั่งสอน ลักษณะอย่างนี้จัดเป็น instinct ทั้งสิ้น.

    ส่วนคำว่า "สัญชาตญาณ" นั้น รูปคำเกิดจากการนำคำบาลี 2 คำคือคำว่า
    "สัญชาต" ซึ่งแปลว่า "เกิดเอง" กับคำว่า "ญาณ" ซึ่งแปลว่า "ความรู้"
    มาเข้าสมาสกัน และอ่านว่า "สัน-ชาด-ตะ-ยาน" ตามรูปคำก็ต้องแปลว่า
    " ความรู้ที่เกิดเอง "

    แต่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า
    " น.ความรู้ที่มีมาแต่กำเนิดของคนและสัตว์ ทำให้มีความรู้สึกและกระทำได้เอง
    โดยไม่ต้องมีใครสั่งสอน,สัญชาตเวค ก็ว่า."

    ปัญหาก็เกิดขึ้นในภายหลังว่า "ญาณ" ที่แปลว่าความรู้นั้น ไม่ใช่ความรู้ธรรมดา
    ที่เราได้จากครูบาอาจารย์ หรือค้นคว้าเอาจากตำรับตำรา แต่เป็นความรู้ที่ได้จาก
    อำนาจของสมาธิอย่างสูงทีเดียว อย่างเช่นพระพุทธเจ้าในคืนแห่งการตรัสรู้

    เมื่อ " ญาณ " หมายถึง ความรู้ขั้นสูงเช่นนี้ สัตว์เดรัจฉานจึงไม่มีทางที่จะได้
    " ญาณ " เพราะสัตว์ไม่สามารถเข้าสมาธิได้ แม้คนเราทั่วๆไปก็ไม่สามารถ
    จะบรรลุถึงความรู้ขั้นนี้ได้ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คำว่า " สัญชาตญาณ "

    คณะกรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยแห่งราชบัณฑิตยสถานจึงได้แก้ไข
    ศัพท์บัญญัติเดิมจากคำว่า "สัญชาตญาณ" เป็น "สัญชาตเวค" เนื่องจาก
    "ญาณ" เป็นคำสูงดังกล่าว ไม่เหมาะจะเอามาใช้กับสัตว์ทั่วๆไป ท่านจึงได้
    นำเอาคำว่า "เวค" ซึ่งแปลว่า "ความเร็ว " มาแทนคำว่า " ญาณ "

    คำว่า " สัญชาตเวค " ตามศัพท์ก็แปลว่า " ความเร็วที่เกิดขึ้นเอง "
    อย่างการกระพริบตา ก่อนที่วัตถุจะกระเด็นมาเข้าตา อย่างนี้ถือว่า
    เป็น " สัญชาตเวค " แต่เมื่อกำหนดให้ใช้คำนี้แทนคำ " สัญชาตญาณ "
    ปรากฏว่าคนก็ไม่นิยม เนื่องจากใช้คำเดิมจนติดแล้ว คำ "สัญชาตเวค"จึงไม่เกิด
    จะมีใช้อยู่บ้างก็ในหมู่นักวิชาการ หรือในตำรับตำราเท่านั้น

    ส่วนคำว่า "สัญชาติญาณ" คือคำว่า "ชาติ" มีสระอินั้น ใช้ในกรณีที่เป็นคำนาม
    แปลว่า "การเกิดเอง" หรือ "ความรู้ที่เกี่ยวกับสัญชาติหรือความรู้ที่เกี่ยวกับ
    การเกิดเอง" เป็นเรื่องของการได้สัญชาติจากการเกิด ตัวอย่าง เช่น
    คนไทยส่วนใหญ่ได้สัญชาติไทยจากการเกิดในแผ่นดินไทย อย่างนี้เป็นต้น
    ซึ่งความหมายก็จะเป็นคนละเรื่องกับคำว่า instinct อย่างสิ้นเชิง

    ดังนั้น ถ้าต้องการให้ได้ความหมายที่เป็นความรู้ที่เกิดเอง
    ก็จะต้องเขียนเป็น "สัญชาตญาณ"


    ที่มา :
     
  3. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    คุณลอง กอด-อก ดูครับ
    แล้วสังเกตุดูว่า แขนซ้าย กับ แขนขวา
    แขนไหนอยู่ ด้านบน เสมอ

    แล้วพรุ่งนี้ผมจะมาบอกว่า
    "คุณ" เป็นคนที่มี "สัญชาตญาณพิเศษ" หรือเปล่า? น่าสนใจ..ครับ :)
     
  4. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    เอาล่ะครับ สำหรับคนที่ค่อนข้างมี "สัญชาตญาณพิเศษ" มากกว่าคนอื่น

    จะเป็นคนถนัดใช้ "สมองซีกขวา" ซึ่งดูได้จากเวลาคุณกอด-อก
    แขนขวาจะอยู่ด้านล่างเสมอ ทำกี่ครั้งก็ได้ผลแบบเดิม ไม่เชื่อก็ลองทำดูครับ

    อีกวิธีก็คือ "ให้เอามือประสานกัน"

    [​IMG]

    ถ้า หัวแม่มือขวาอยู่ใต้หัวแม่มือซ้าย คุณจะเป็นคนถนัดใช้ "สมองซีกขวา"
    และค่อนข้างมี "สัญชาตญาณพิเศษ" มากกว่าคนอื่น
     
  5. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    อนุโมทนาด้วยจ๊ะ

    เป็นความรู้ที่น่าสนใจนะ เดี๋ยวจะเข้ามาติดตาม เพราะกำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤศจิกายน 2013
  6. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    สังโยชน์

    คือ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือกิเลสเครื่องร้อยรัดจิตใจให้จมในวัฏฏะ มี 10 อย่าง ประกอบด้วย

    ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แก่

    1. สักกายทิฏฐิ - มีความเห็นว่าร่างกายนี้เป็นของเรา มีความยึดมั่นถือมั่นในระดับหนึ่ง

    2. วิจิกิจฉา - มีความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

    3. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร หรือนำศีลและพรตไปใช้เพื่อเหตุผลอื่น ไม่ใช่เพื่อเป็นปัจจัยแก่การสิ้นกิเลส เช่น การถือศีลเพื่อเอาไว้ข่มไว้ด่าคนอื่น การถือศีลเพราะอยากได้ลาภสักการะเป็นต้น ซึ่งรวมถึงการหมดความเชื่อถือในพิธีกรรมที่งมงายด้วย

    4. กามราคะ - มีความติดใจในกามคุณ

    5. ปฏิฆะ - มีความกระทบกระทั่งในใจ


    ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง 5 ได้แก่

    6. รูปราคะ - มีความติดใจในวัตถุหรือรูปฌาน

    7. อรูปราคะ - มีความติดใจในอรูปฌานหรือความพอใจในนามธรรมทั้งหลาย

    8. มานะ - มีความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรือคุณสมบัติของตน

    9. อุทธัจจะ - มีความฟุ้งซ่าน

    10. อวิชชา - มีความไม่รู้จริง

    พระโสดาบัน ละสังโยชน์ 3 ข้อต้นได้คือ หมดสักกายทิฏฐิ,วิจิกิจฉาและสีลัพพตปรามาส
    พระสกทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ 4 และ 5 คือ กามราคะและปฏิฆะ ให้เบาบางลงด้วย
    พระอนาคามี ละสังโยชน์ 5 ข้อต้นได้หมด
    พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง 10 ข้อ


    สังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการ ที่แสนจะร้ายกาจนี้ มันมาจาก "สัญชาตญาณ"

    โดยเฉพาะสัญชาตญาณที่ยังไม่ได้รับการอบรม เป็นมาตามลำพัง
    สัญชาตญาณ ที่ปราศจากวิชชาก็เท่ากับมีอวิชชาจึงเต็มไปด้วยความทุกข์.

    [​IMG]

    คนที่มี "สัญชาตญาณพิเศษ" เมื่อได้รับการอบรมอย่างถูกต้องเหมาะสม ก็สามารถที่จะหลุดพ้นจากกองทุกข์ได้ง่ายกว่าคนอื่นนั่นเอง..ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 พฤศจิกายน 2013
  7. a5g1aeka

    a5g1aeka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    728
    ค่าพลัง:
    +1,578
    ยังติดตามอ่านอยู่ คงยังไม่จบนะครับคุณ จขกท.
     
  8. kim_potter

    kim_potter เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2008
    โพสต์:
    131
    ค่าพลัง:
    +137
    ดิฉันก็ถนัดซ้ายค่ะ (ถนัดใช้สมองซีกขวา)
    แสดงว่าคนถนัดซ้าย จะมี "สัญชาตญาณพิเศษ" หรือเนี่ย ว้าว
    บ้างก็ว่าคนถนัดซ้าย มีพรสวรรค์บางอย่างแฝงเร้นอยู่
    บ้างก็ว่าคนถนัดซ้าย ถ้าไม่ใช่อัจฉริยะก็จะโง่ไปเลย
    บ้างก็ว่าคนถนัดซ้าย ตายเร็ว
    กระทู้นี้บอกว่า มีสัญชาตญาณพิเศษ :cool:
     
  9. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    ต้องลองประสานนิ้วเข้าด้วยกัน แบบเร็วๆ ครับ และทำกี่ทีก็ได้ผลแบบเดิม คือ ถ้า หัวแม่มือขวาอยู่ใต้หัวแม่มือซ้าย คุณจะเป็นคนถนัดใช้ "สมองซีกขวา" และค่อนข้างมี "สัญชาตญาณพิเศษ" มากกว่าคนอื่น แต่ถ้า หัวแม่มือซ้ายอยู่ใต้หัวแม่มือขวา คุณจะเป็นคนถนัดใช้ "สมองซีกซ้าย" ครับ

    ส่วนคนที่ถนัดมือซ้าย อาจไม่จำเป็นต้องถนัดใช้สมองซีกขวาก็ได้ครับ
     
  10. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    อธิบายเพิ่มเติม..ครับ

    "สัญชาตญาณ" คือ สภาวะจิตพื้นฐานของมนุษย์ ที่เกิดขึ้นเองแบบอัตโนมัติ
    หรือจะเรียกว่าเป็น "จิตใต้สำนึก" ก็คงได้ครับ

    ส่วน "จิตวิญาณ" คือ สภาวะจิตขั้นสูงของมนุษย์ ที่พยายามเอาชนะ "สัญชาตญาณ" ของตัวเอง
    เป็นความพยายามที่จะพัฒนา การทำงานของ "จิตไร้สำนึก" (โลภะ โทสะ โมหะ)
    ให้สามารถรู้ ควบคุม สั่งการ เพิกถอนได้

    และ "ปัญญาญาณ" ก็คือ การรู้เท่าทัน "สัญชาตญาณ" ที่แอบแฝงอยู่ใน "จิตวิญญาณ"
    เป็นส่วนหนึ่งของ "จิตเหนือสำนึก" ซึ่งเป็นการรู้ตามความจริง ซึ่งเป็นประตูสู่ "การนิพพาน" ได้ครับ

    [​IMG]

    พรุ่งนี้มาดูเรื่อง เกิด | กิน กาม เกียรติ กลับ | เกาะ เก็บ กรง กรัง กลับ | แกะ แก้ กริบ กลับ | ไม่เกิด ต่อนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤศจิกายน 2013
  11. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    เกิด | กิน กาม เกียรติ กลับ | เกาะ เก็บ กรง กรัง กลับ | แกะ แก้ กริบ กลับ | ไม่เกิด


    เกิด ก. เป็นขึ้น, มีขึ้น, กำเนิด; มีขึ้นเป็นขึ้นโดยกระทันหัน

    กิน เป็นสัญชาตญาณการดำรงชีพของมนุษย์ ที่สนองความต้องการของทวารทั้ง 5 คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย และใจ (สุข หรือทุกข์)


    กาม เป็นสัญชาตญาณการดำรงเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ ความต้องการสืบพันธุ์ การหมกมุ่น หลงใหล ความใคร่ ซึ่งมีคุณจิตตก สุขทุกข์ เป็นผู้นำเสนออยู่ตลอดเวลา

    เกียรติ เป็นสัญชาตญาณการอยู่ร่วมกันในสังคมของมนุษย์ ที่ต้องการความนับถือ การยอมรับจากผู่อื่น การอยู่เหนือผู้อื่น ต้องการอำนาจ ชื่อเสียง โดยมีคุณจิตตก สุขทุกข์ เป็นที่ปรึกษา

    เรา เกิด มาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ถ้ายังหมกมุ่นใน กิน กาม เกียรติ ก็จะ กลับ มาเกิดใหม่
    ซึ่งจะเกิดเป็นอะไร ไม่มีใครรู้ ขึ้นอยู่กับ "กรรม" (เหตุปัจจัย) ของแต่ละคน

    [​IMG]

    ติดตาม เกาะ เก็บ กรง กรัง ต่อวันหลังนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2013
  12. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    [​IMG]

    ถ้าคุณมองเห็นภาพแบบนี้

    1. หมุนตามเข็มนาฬิกา แสดงว่า คุณกำลังใช้สมองซีกขวาอยู่
    2. หมุนทวนเข็มนาฬิกา แสดงว่า คุณกำลังใช้สมองซีกซ้ายอยู่
    3. หมุนตามและทวนเข็มนาฬิกา แสดงว่า คุณมีศักยภาพในการใช้สมองทั้งซีกขวาและซ้าย
    4. หมุนด้านไหนมาก แสดงว่า สมองซีกนั้นของคุณถูกฝึกมาให้ใช้งานมากกว่าสมองอีกซีกนึง
    5. หมุนด้านไหนก็ได้ เพราะคุณบังคับให้เห็นได้..ตามใจชอบ
     
  13. กลายแก้ว

    กลายแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2013
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +634
    มีจิตใต้สำนึก มีจิตไร้สำนึก และจิตเหนือสำนึก และ

    จิตสำนึก คือ อะไรค่ะ
     
  14. GAN9

    GAN9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    241
    ค่าพลัง:
    +1,248
    เห็นตามข้อ 3 หมายถึงอะไรครับ ต่อมา 5 หมายถึงอะไร แต่ก็สนุกดีครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤศจิกายน 2013
  15. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    จิตสำนึก ก็คือ "นิสัย" ระดับเหตุผล นั่นเองครับ มีทั้งที่ดี และไม่ดี แต่สามารถพัฒนาได้ แก้ไขได้ จิตสำนึกจะรู้ตัวเองว่าทำอะไรลงไป ต่างกับจิตใต้สำนึกที่จะไม่รู้ตัวว่าทำอะไรลงไป หรือจะเรียกว่า "สันดาน" ก็ได้ครับ
     
  16. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    ยินดีด้วยครับ คุณมีความพิเศษที่สามารถใช้สมองทั้ง 2 ด้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีดุลยภาพครับ

    [​IMG]

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤศจิกายน 2013
  17. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    | เกาะ เก็บ กรง กรัง กลับ |

    บางคน..เมื่อเกี่ยวพันอยู่กับ กิน กาม เกียรติ (สัญชาตญาณ - ทุกข์หรือสุข)
    นานเข้าก็อยากจะหาสิ่งยึดเหนี่ยวเกาะเอาไว้ จึงแสวงหา "ความศรัทธา"
    โดยการนับถือศาสนาต่างๆ บางคนก็แสวงหา "ความเชื่อ" จากลัทธิต่างๆ

    ลองอ่านพระสูตรนี้ดูครับ

    เกาะขอนไม้ (ทารุขันธสูตร)

    ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคาพระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็นขอนไม้ลอยมา จึงตรัสแก่เหล่าสาวก..ว่า

    "ถ้าขอนไม้นั้นไม่เข้าฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น จัก...ไม่จมระหว่างทาง ไม่เกยบก
    ไม่ถูกมนุษย์-อมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกเกลียวน้ำวนพัด ไม่เน่าเสียภายใน
    มันจักลอยเรื่อยไปยังมหาสมุทร"

    "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่แวะฝั่งนี้ หรือฝั่งโน้น
    ก็จักไม่เกยบก ไม่จมในระหว่างทาง ไม่ถูกมนุษย์-อมนุษย์จับเอาไว้
    ไม่ถูกเกลียวน้ำวนพัด ไม่เน่าเสียภายใน เช่นเดียวกัน"

    อธิบาย


    ฝั่งนี้ คือ อายตะภายใน ๖
    (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

    ฝั่งโน้น คือ อายตะภายนอก ๖
    (รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ )
    *ในทางปฏิบัติ อธิบาย ฝั่งนี้และฝั่งโน้น คือ นักเพ่ง และนักเผลอ ธรรมที่เป็นคู่ๆ

    การจมในระหว่างทาง คือ นันทิราคะ
    (ความเพลิดเพลินยินดีในความสุขสงบ)

    การเกยบก คือ อัสมินานะ
    (ความยึดถือขันธ์ ๕ ว่ามีตัวตน เป็น อวิชชา)

    การถูกมนุษย์จับไว้ หมายถึง การคลุกคลีกับหมู่เพื่อน
    ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพวกเขา ช่วยเหลือทำกิจให้พวกเขา
    (ห่วงผู้อื่นจนลืมเส้นทางนิพพานของตน)

    การถูกอมนุษย์จับไว้ หมายถึง ผู้มีเจตนาประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อไปเกิดในเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง หรืออยากเป็นแค่เทวดา
    และพรหม ติดในอิทธิฤทธิ์ ไม่มุ่งนิพพาน

    เกลียวน้ำวน คือ กามคุณ ๕
    (วิ่งวนหาอารมณ์ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่อิ่ม ไม่อยากออกมา)

    เน่าเสียภายใน หมายถึง ทุศีล
    มีความประพฤติน่ารังเกียจ มีธรรมลามกไม่บริสุทธิ์ มีการกระทำซ่อนเร้น
    ไม่ประพฤติพรหมจรรย์แต่อ้างว่าประพฤติ มีกิเลสหนาเน่าเสียภายใน ดุจขยะเน่าเหม็น

    ขอนไม้ลอยล่องน้ำ ตามกระแส
    ไม่เข้าฝั่งโน้นแล ฝั่งนี้
    ไม่จมดิ่งกระแส แลไม่ เกยนา
    ไม่เน่าในเนื้อพี้ รี่พ้น วนวัง
    ยังมนุษย์ไม่จับไว้ ใช้สอย
    อมนุษย์ก็ไม่คอย หน่วงไว้
    ขอนไม้นั่นย่อมลอย ถึงสมุทร แลนา
    มนุษย์ก็เสกไซร้ ผ่านได้ ถึงนิพพาน

    ขอบคุณ : ขอนไม้ - ทารุขันธสูตร - GotoKnow

    เกาะขอนไม้ช่วยประคองตน เพื่อให้ไปถึงจุดหมาย แต่อย่ากอดจนจมไปกับขอนไม้ สำลักน้ำตาย
    "เกาะ" กับ "กอด" มันต่างกัน..ครับ
     
  18. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    เด็กทารกนั้น เมื่อแรกเกิด ก็จะร้องไห้
    อาจเป็นเพราะหิว ตกใจ เจ็บ หรือไม่สบายตัว
    ซึ่ง "เป็นสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิต ที่ต้องการอยู่รอด"
    คุณหมอทำคลอดทราบดีว่า ถ้าร้องไห้ก็รอดแล้ว
    เมื่อกินอิ่มก็มีความสุข เวลาหิวก็เริ่มเป็นทุกข์

    ไม่มีเด็กคนไหนที่ออกจากท้องแม่มา ก็รักพ่อรักแม่ทันที
    หัวเราะร่าเพราะดีใจที่ได้เกิด ร้องไห้เสียใจที่เลือกเพศเกิดเองไม่ได้
    หน้าบึ้งเพราะโกรธคุณหมอที่ทำแรงๆตอนคลอด ฯลฯ

    การปรุงแต่งเกิดขึ้นภายหลังทั้งสิ้น เมื่อเริ่มมีประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น
    นี่แหละ! ส่วนเกินในสัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิต

    โดยเฉพาะ "มนุษย์" ถ้าไม่รู้จักคำว่า "ความพอเพียง" หรือ "เดินสายกลาง"
    ความสุข และความทุกข์ที่เกิดขึ้นจาก ส่วนเกิน ของเราเอง
     
  19. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    | เกาะ เก็บ กรง กรัง กลับ |

    เมื่อเราเริ่มมีหลักให้ "เกาะ" แล้ว เราก็จะเริ่ม "เก็บ" คือ เริ่มที่จะศึกษาหาความรู้ หาประสบการณ์
    ในเรื่องที่เราเชื่อ หรือให้ความศรัทธา

    ยกตัวอย่างเช่น
    เมื่อเราศรัทธาในพระพุทธศาสนา หลายคนก็เริ่มเข้าวัด ฟังธรรม สวดมนต์ ถือศีล ฯลฯ
    หรือ บางคนก็เริ่มทำบุญ ทำความดี ไม่ประพฤติชั่ว แต่ยังไม่ศึกษาพระธรรม
    มีจำนวนไม่น้อยที่เริ่มปฏิบัติธรรม ศึกษาพระไตรปิฎก

    จากตัวอย่าง กลุ่มที่ "เกาะ" ก็จะเริ่ม "เก็บ" แต่เก็บแล้วจะเป็นอย่างไรต่อไป
    ติดตามกันต่อคราวหน้า..นะครับ

    [​IMG]
     
  20. huyakorn

    huyakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    407
    ค่าพลัง:
    +369
    มีบทความมาให้อ่านกันครับ (เก็บ)

    จากนิตยสารสารคดี
    ข้อมูลเพิ่มเติมจากวิกิพีเดีย

    คน (ไม่) สำคัญ : มิเชล เดอ มงแต็ง บิดาแห่งเหตุผลบนปัญญา

    สฤณี อาชวานันทกุล FRINGER คนชายขอบ

    ในชีวิตคุณคงรู้จักคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกันที่ฉลาดกว่าคุณ เก่งกว่าคุณ หรือรู้มากกว่าคุณ คนที่ทำให้คุณรู้สึกทึ่งหรือประหม่าหรือมีปมด้อย หรือที่ร้ายกว่านั้นคือ รู้สึกราวกับโดนดูถูกทุกครั้งที่คุยกัน ไม่ว่าเขาจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

    คนที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้มักจะมีลักษณะคล้าย ๆ กันคือ พูดเก่ง เขียนเก่ง ใช้เหตุผลเก่งชนิดที่คนอื่นเถียงไม่ทัน ขยันอ่านหนังสือ มีความรู้รอบด้าน สนใจแต่เรื่อง “ใหญ่ ๆ” ไกลตัวคนธรรมดา เช่น การเมือง เศรษฐกิจ กฎหมาย ฯลฯ

    เรามักจะเรียกคนประเภทนี้ว่า “ปัญญาชน” และยกย่องพวกเขาว่าเป็นคนฉลาด มีวุฒิภาวะและภาวะผู้นำ เรามักจะขอคำแนะนำจากพวกเขาในแทบทุกเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญระดับชาติ

    เวลาปัญญาชนตัดสินใจผิดพลาดในชีวิตส่วนตัวหรือรับมือกับปัญหาชีวิตไม่เป็น เราก็มักจะมองว่าพวกเขา “โชคร้าย” หรือไม่ค่อยมี “ทักษะในการเอาตัวรอด” แต่เราจะไม่เคยคิดว่านั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าพวกเขา “ฉลาดน้อยกว่าเรา”

    ถ้าหากความคิดของนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสสมัยเรอเนซองซ์ (Renaissance) นาม มิเชล เอเคม เดอ มงแต็ง-เดอเลอครัวซ์ (Michel Eyquem de Montaigne-Delecroix) ยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน คนที่เรายกย่องเป็น “ปัญญาชน” จะไม่ใช่นักวิชาการผู้จบการศึกษาสูง ๆ หากเป็นใครก็ได้ที่มีสามัญสำนึก “รู้จักชีวิต” ดีพอที่จะให้คำแนะนำดี ๆ ต่อคนอื่นได้ นอกจากนี้หลักสูตรการเรียนการสอนในโรงเรียนจะเน้นหนักไปที่การสอนทักษะในการใช้เหตุผลแบบมีสามัญสำนึกอย่างปุถุชนคนธรรมดา แทนที่จะเป็นทักษะในการใช้ตรรกะแบบเป็นทางการและเคร่งครัดอย่างปัญญาชนบนหอคอยงาช้าง ซึ่งนำมาใช้ในชีวิตประจำวันแทบไม่ได้เลย

    และถ้าหากงานเขียนของมงแต็งยังเป็นที่ยกย่องนับถือในวงกว้างสมกับที่เขาคู่ควรได้รับ ก็จะไม่มีใครรู้สึกว่าตัวเอง “ด้อย”กว่าปัญญาชน หรือใครก็ตามที่จบปริญญาจากสถาบันชื่อดังอีกต่อไป

    เพราะมงแต็งใช้ชีวิตทั้งชีวิตของเขาเพื่อพยายามบอกเราว่า “คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ระดับการรู้หนังสือ ปัญญาชนอาจไม่ “ฉลาด” เท่ากับชาวนาผู้ไม่รู้หนังสือ หากพวกเขาเอาตัวรอดไม่ได้หรือรับมือกับความผันผวนต่าง ๆ ในชีวิตไม่เก่งเท่ากับชาวนา

    มงแต็งถึงกับประกาศว่า “ผมชอบคุยกับชาวนามากกว่าปัญญาชน เพราะชาวนาไม่ได้รับการศึกษาพอที่จะทำให้พวกเขาใช้เหตุผลอย่างผิดๆเป็น”

    แวดวงวิชาการในโลกตะวันตกรู้จักมงแต็งในฐานะนักรัฐศาสตร์เป็นหลัก แต่มรดกอันยิ่งใหญ่กว่านั้นในฐานะนักเขียนที่เขามอบให้แด่ชนรุ่นหลัง ทว่าถูกมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายคือ การทำให้บทความ (essay) แบบไม่ใช่นิยาย ได้รับการยอมรับในฐานะ “วรรณกรรม” แขนงหนึ่ง งานเขียนของมงแต็งที่รวบรวมได้กว่า ๑๙ เล่ม มีชื่อเสียงมากในแวดวงนักเขียนสมัยนั้น เพราะเขามีความสามารถในการผสมผสานการใช้ตรรกะแบบปัญญาชนในการครุ่นคิดถึงประเด็นใหญ่ ๆ เข้ากับเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ สามัญสำนึก และบันทึกประสบการณ์ส่วนตัวที่เขาเขียนเล่าอย่างละเอียดลออหมดเปลือก ตั้งแต่เหตุการณ์สำคัญ ๆ ในชีวิต ไปจนถึงประสบการณ์ธรรมดาสามัญอย่างการมีเซ็กซ์ การกินข้าว และแม้แต่การ “ขี้” ! (หนึ่งในคำกล่าวที่มงแต็งชอบใช้คือ “พระราชา นักปรัชญา และคุณหญิงคุณนายทั้งหลาย ล้วนแต่ต้องนั่งขี้ทั้งนั้น”) บทความจำนวนมากมายมหาศาลของมงแต็งที่เขาตั้งชื่อสั้น ๆ ว่า “Essais” (แปลว่า “ความพยายาม” ในภาษาฝรั่งเศส) ได้กลายมาเป็นชื่อของสาขาวรรณกรรมใหม่คือ essay ในภาษาอังกฤษ

    ถึงแม้ว่า Essais ของมงแต็งจะเป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักคิดนักเขียนรุ่นหลังมากมาย อาทิ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare), ฟรีดริช นีทเช (Friedrich Nietzsche), ราล์ฟ วัลโด อีเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) และ ฌอง ฌากส์ รุสโซ (Jean-Jacques Rousseau) แต่ปัญญาชนส่วนใหญ่จวบจนปัจจุบัน (โดยเฉพาะนักวิชาการอีโก้จัดทั้งหลาย) ยังไม่ยอมรับว่ามงแต็งเป็นปัญญาชนที่มีความคิดอ่านควรค่าแก่การนับถือ เพราะพวกเขามองว่าประสบการณ์ส่วนตัวที่มงแต็งชอบอธิบายปะปนไปกับการวิเคราะห์ เป็นเรื่อง “ไร้สาระ” ที่ปัญญาชนไม่ควรเสียเวลาเล่าให้ใครฟัง (มงแต็งเขียนเล่าทุกเรื่อง แม้กระทั่งนิสัยเสียหยุมหยิม เช่น ฟันของเขาไม่ค่อยดีเพราะตอนเด็ก ๆ ชอบเอาฟันไปถูกับผ้าเช็ดปาก ชอบเอาลิ้นเลียริมฝีปาก และกินอาหารเร็วเกินไป) ปัญญาชนส่วนใหญ่ไม่ชอบมงแต็งเพราะเชื่อว่า เราไม่ควรใช้อารมณ์ความรู้สึกซึ่งแปรปรวนตลอดเวลาเป็นพื้นฐานในการกระทำหรือการวิเคราะห์ประเด็นต่างๆ แต่ควรใช้เพียงหลักเหตุผลและตรรกะที่เคร่งครัดเท่านั้น

    ความคิด “กระแสหลัก” แบบนี้กลายเป็นรากฐานให้แก่แนวคิดหลักใน “ยุคแสงสว่าง” (Enlightenment) ที่นำโดย เรอเน เดส์การ์ต (Rene Descartes) นักคิดที่ประกาศวาทะอมตะว่า “ฉันคิด ดังนั้นฉันจึงเป็น” (“I think, therefore I am”) และเซอร์ไอแซก นิวตัน (Sir Isaac Newton) นักวิทยาศาสตร์ผู้ค้นพบทฤษฎีเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงของโลก ต่อมาแนวคิดหลักในยุคนี้ก็ได้กลายเป็นกระบวนทัศน์ของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ซึ่งมองว่าธรรมชาติเปรียบเสมือนนาฬิกาเครื่องกลที่เดินอย่างเที่ยงตรง แน่นอน และสัมบูรณ์ (absolute) และมนุษย์มีศักยภาพที่จะค้นพบ “สูตร” ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของธรรมชาติได้ ด้วยการใช้เหตุผลและตรรกะทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์อย่างเป็นระบบ

    มงแต็งมองต่างมุมว่า วิธีเดียวที่มนุษย์สามารถใช้ในการศึกษาตัวเองและโลกได้ คือมองจากมุมมองของตัวเอง ซึ่งนั่นแปลว่าเราต้องยอมรับนิสัยส่วนตัว (ทั้งดีและเลว) อารมณ์ความรู้สึก สามัญสำนึก สัญชาตญาณ และธรรมชาติพื้นฐานของมนุษย์ (เช่นเราทุกคนเกิดมาแล้วต้องขี้) ว่าล้วนเป็นปัจจัยที่ผูกพันแนบแน่นและส่งอิทธิพลต่อความคิดของเราอย่างแทบจะไม่มีทางแยกออกจาก “เหตุผลที่เป็นระบบ” ได้

    มงแต็งตั้งคำถามว่า วิชาที่ตั้งอยู่บน“เหตุผลที่เป็นระบบ” เช่น ความรู้ทางคณิตศาสตร์ และตรรกศาสตร์ มีประโยชน์อะไรกับคนทั่วไป ถ้ามันไม่ได้ช่วยให้เราสามารถดำเนินชีวิตอย่างเป็นปรกติสุข

    ถ้ามองจากสายตาของคนสมัยใหม่ เหตุผลที่เป็นระบบอาจช่วยให้เราสอบผ่านวิชาเลขและวิทยาศาสตร์ ช่วยให้เราเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็น และถกเถียงกับคนอื่นด้วยเหตุผลได้ แต่มันช่วยอะไรเราแทบไม่ได้เลยในการดำรงชีวิต ถ้าเราไม่อยากทำงานในสาขาวิชาเหล่านั้น และโดยเฉพาะเมื่อคนเราต้องเผชิญกับมรสุมชีวิตนานาชนิดที่มักจะรุมเร้าเข้ามาในเวลาที่เราไม่คาดคิด แต่ถึงกระนั้นก็ตามเราก็ยังมะงุมมะงาหราเอาตัวรอดมาได้

    มงแต็งบอกว่า นั่นเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ให้เห็นว่า “ความรู้ที่แท้จริง” ที่เราใช้ในการดำเนินชีวิตนั้นเป็นความรู้คนละชุดกันกับหลักเหตุผลที่โรงเรียนสอน และเสริมว่าเขารู้จักชาวนาและช่างผู้ไม่รู้หนังสือหลายร้อยคนที่มีความสุขและมีปัญญามากกว่าคณบดีมหาวิทยาลัย

    มงแต็งชี้ให้เห็นว่า “ความรู้” (knowledge) ทั้งหลายในโลกนี้แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ “รู้หนังสือ” (learning) และ “ปัญญา” (wisdom) คนที่รู้หนังสือมาก ๆ คือพวก“รู้มาก” ในขณะที่ คนมีปัญญา คือพวก“รู้ดี” มงแต็งบอกว่า ปัญญาคือความรู้ที่มีประโยชน์กว่าความรู้แบบรู้หนังสือมากมายหลายเท่า เพราะมันคือความรู้ประเภทที่ช่วยให้เราสามารถมี“ชีวิตที่ดี”ได้ ซึ่งในนิยามของมงแต็งหมายถึงการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข และเปี่ยมคุณธรรม แต่โรงเรียนกลับไม่เคยสอนความรู้แบบนี้ให้แก่นักเรียนเลย มงแต็งบ่นเรื่องนี้ไว้ในบทความชิ้นหนึ่งว่า

    “ระบบการศึกษาของเราไม่เคยตั้งเป้าให้นักเรียนเป็นคนดีและมีปัญญา สอนเพียงแต่ให้พวกเขารู้หนังสือเท่านั้น ในแง่นี้ต้องบอกว่าการศึกษาของเราก็ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เพราะไม่เคยสอนให้เราค้นหาคุณธรรมหรือใช้ชีวิตอย่างมีปัญญา สอนแต่วิธีถอดสูตรคณิตศาสตร์และรากศัพท์ของคำต่าง ๆ สังคมของเราสนใจแต่จะถามว่า “บัณฑิตคนนี้พูดภาษากรีกหรือละตินเป็นหรือเปล่า” หรือ “เขาแต่งกลอนและเขียนหนังสือเป็นหรือเปล่า” แต่เรากลับเอาคำถามที่สำคัญที่สุดไว้ท้ายสุด นั่นคือ “เขาเป็นคนดีขึ้นและมีปัญญามากขึ้นหรือเปล่า” เราไม่ควรถามว่าใคร “รู้มาก” ที่สุด (most) แต่ควรถามว่า ใคร “รู้ดี” ที่สุด (best) ต่างหาก เรามัวแต่พยายามยัดข้อมูลต่าง ๆ ลงไปในช่องความจำของสมองนักเรียน แต่กลับปล่อยให้ช่องความรับผิดชอบชั่วดีว่างเปล่า”

    ในความเห็นของมงแต็ง เป้าหมายหลักของการศึกษาในระบบควรเป็นการฝึกนักเรียนให้รู้จักรับมือกับความท้าทายหลัก ๆ ที่มนุษย์ทุกคนต้องเผชิญในชีวิต เช่น ความรัก เซ็กซ์ ความเจ็บป่วย ความตาย การมีลูก เงิน การไต่เต้าในอาชีพการงาน ตลอดจนสถานการณ์ moral dilemma หรือที่คุณมุกหอม วงษ์เทศ เรียกว่า “ความอิหลักอิเหลื่อทางศีลธรรม ซึ่งแปลว่า ตัดสินใจไม่ได้ระหว่างสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง กับสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ”

    นอกจากมงแต็งจะชี้ให้เราเห็นความแตกต่างระหว่าง “เหตุผลที่เป็นระบบ” (the rationality) ซึ่งตั้งอยู่บน “ความรู้หนังสือ” กับ “ความมีเหตุผล” (the reasonable) ซึ่งตั้งอยู่บน “ปัญญา” และอธิบายว่าปัญญาหรือความ “รู้ดี” มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์มากกว่าความ “รู้มาก” อย่างไรแล้ว ข้อเขียนของเขาหลายเรื่องยังช่วยทำลายมายาคติหรือความเข้าใจผิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับ “ความฉลาด” อีกหลายเรื่อง เช่น เวลาเราอ่านหนังสือที่เราไม่เข้าใจหรือรู้สึกว่าน่าเบื่อ เรามักจะโทษตัวเองว่าโง่ คนเขียนหนังสือต้องฉลาดกว่าเราแน่ ๆ เพราะเราเชื่อว่าความคิดที่ลึกซึ้งนั้นไม่สามารถอธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายได้ แต่มงแต็งเสนอว่า หลายครั้งแทนที่จะโทษตัวเองว่าโง่ เราควรจะโทษคนเขียนว่าไร้ความสามารถที่จะสื่อสารให้เราเข้าใจ เพราะจริง ๆ แล้วหนังสือที่คนจำนวนมากอ่านไม่รู้เรื่องนั้น ส่วนใหญ่เป็นผลจากความขี้เกียจของคนเขียน (ที่ไม่พยายามเขียนให้คนอ่านรู้เรื่อง) ไม่ใช่ความฉลาด หนังสือที่ “อ่านง่าย” นั้นส่วนใหญ่ไม่ได้ “เขียนง่าย” ไปด้วย หากเป็นผลผลิตของความพยายามอย่างไม่ย่อท้อของนักเขียนที่ตั้งใจจะสื่อความคิดให้คนทั่วไปเข้าใจ มงแต็งแถมท้ายด้วยว่า ถึงเราจะไม่ได้อ่านหนังสือเยอะเท่ากับคนอื่นก็ไม่เป็นไร เพราะมีหนังสือมากมายที่ไม่มีคุณค่าอะไรเลย เป็นเพียงผลผลิตของคนรู้หนังสืออีโก้จัดที่อยากให้คนอื่นชมว่าตัวเอง “ฉลาด” ด้วยการเขียนหนังสือที่มีแต่บทอ้างอิงหรือบทแสดงความชื่นชมนักปรัชญาในอดีต แต่ไม่แสดงความคิดเห็นของตัวเองเลย

    แม้ว่า “ปัญญา” อันเต็มไปด้วยความอ่อนโยนและความเป็นมนุษย์ของมงแต็งยังเป็นเรื่องที่คนสมัยใหม่ไม่ยอมรับว่าเป็นมาตรวัด “ความฉลาด” หรือความเป็น “ปัญญาชน” แต่ก็มีเหตุการณ์หลายอย่างตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ ๒๐ เป็นต้นมาที่บ่งชี้ว่า ความคิดของมงแต็งอาจได้รับการรื้อฟื้นและยอมรับในอนาคตอันใกล้นี้ ยกตัวอย่างเช่นนักคิดสมัยใหม่อย่าง โทมัส คุน (Thomas Khun) และ สตีเฟน ตอลมิน (Stephen Toulmin) ได้แสดงให้เห็นว่า วิทยาศาสตร์นั้นไม่ได้ตั้งอยู่บน “เหตุผลที่เป็นระบบ” ร้อยเปอร์เซ็นต์อย่างที่นักคิดยุคแสงสว่างเชื่อ หากมีส่วนที่ตั้งอยู่บนอารมณ์ความรู้สึก สัญชาตญาณ และรวมถึงบริบททางประวัติศาสตร์ด้วย การค้นพบครั้งสำคัญ ๆ ของนักวิทยาศาสตร์ในรอบศตวรรษที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกฎสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์ กฎความไม่แน่นอนของไฮเซ็นเบิร์ก กฎความไม่สมบูรณ์ของโกเดล และกฎการตัดสินไม่ได้ของทูริง ล้วนชี้ให้เห็นว่า ธรรมชาติไม่ใช่เครื่องจักรที่ทำงานอย่างเที่ยงตรงสัมบูรณ์ตามสูตรตายตัวดังที่นักคิดสมัยนิวตันหรือเดส์การ์ตเชื่อ หากเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ความบังเอิญ ข้อมูลไม่ครบถ้วน ความจริงสัมพัทธ์ (relative truths) และความวุ่นวายโกลาหล ซึ่งล้วนแต่เป็นลักษณะที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เราต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน มนุษย์เราไม่สามารถใช้ “เหตุผลที่เป็นระบบ” อย่างเดียวในการทำความเข้าใจกับธรรมชาติแบบนี้ได้ เช่นเดียวกับที่เราไม่สามารถใช้ความ “รู้มาก” อย่างเดียวในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขและมีคุณธรรมได้ แต่ต้องใช้สามัญสำนึก นิสัย สัญชาตญาณ และอารมณ์ความรู้สึกมากมายนับไม่ถ้วน ควบคู่ไปกับการใช้เหตุผลแบบรู้หนังสือ ความสามารถในการใช้ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ก็คือ “ปัญญา” นั่นเอง

    มงแต็งเชื่อว่าเราทุกคนไม่ควรรู้สึกผิดหวังหรือมีปมด้อยที่ไม่รู้หนังสือเท่ากับนักวิชาการที่เรียนจบโรงเรียนดี ๆ และพูดเก่งเขียนเก่ง เพราะเราอาจจะ “ฉลาด” กว่าพวกเขาหลายเท่าในการดำรงชีวิต

    ในโลกทัศน์ของมงแต็ง มนุษย์ผู้ “ดีพอ” ที่จะรับมือกับชีวิต อาจพูดภาษาอังกฤษไม่เป็น ผายลมถี่กว่าปรกติ เปลี่ยนใจแทบทุกครั้งหลังอาหาร รู้สึกว่าการอ่านหนังสือเป็นเรื่องน่าเบื่อสุดจะทานทน และไม่รู้จักนักคิดนักปรัชญาในอดีตเลย มงแต็งย้ำว่า ถ้าเราสามารถดำรงชีวิตอย่างปุถุชนธรรมดา ๆ ที่ยึดมั่นในคุณธรรม พยายามแสวงหาปัญญาอยู่เสมอแต่ไม่เคยอยู่ไกลจากความเขลา เพียงเท่านั้นก็นับเป็น “ความสำเร็จ” ที่ควรค่าแก่ความภูมิใจแล้ว

    ความคิดของมงแต็ง นักคิด (ไม่) สำคัญที่โลกลืม อาจทำให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นบ้างเมื่อได้พบกับนักวิชาการหรือปัญญาชนในคราวต่อไป

    เพราะเจ้าคนรู้มากที่ชอบผลิตงาน “วิชาเกิน” ที่คนธรรมดาต้องปีนบันไดอ่าน และพล่ามเรื่องปัญหาของสังคมไทยได้ทั้งวันทั้งคืน แต่ในชีวิตส่วนตัวกลับทำให้คนรอบข้างเสียใจตลอดเวลาและบอกรักใครไม่เป็น อาจกำลังนึกอิจฉาความสามารถในการดำเนินชีวิตอันแสนจะธรรมดาๆ ของคุณอยู่ก็เป็นได้



    จากนิตยสารสารคดี ฉบับที่ 268 เดือน มิถุนายน 2550 ปีที่ 23
     

แชร์หน้านี้

Loading...