อานิสงส์ไม่มีประมาณ ร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดลำจังหัน

ในห้อง 'พระพุทธรูป - วิหารทาน - สิ่งก่อสร้าง' ตั้งกระทู้โดย tanakorn_ss, 5 มกราคม 2012.

  1. gingaor

    gingaor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +295
    ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ณ. วัดลำจังหัน(วัดป่ารัตนเจดีย์) บ.ลำจังหัน ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 100 บาท ค่ะ

    โมทนากับทุกท่านที่ร่วมบุญค่ะ


    เลขที่อ้างอิงการทำรายการ 237471729820131120
    วัน/เวลาการทำรายการ 19-11-2013 23:34:29
    บัญชีผู้โอน KTB*619-0-207XX-7
    บัญชีผู้รับโอน KTB*พระพิเชศ อนุตตโร*629-1-56919-1
    ชื่อบัญชีผู้รับโอน พระพิเชศ อนุตตโร
    จำนวนเงิน 100.00 บาท
     
  2. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
    ขอให้ท่านอย่าได้ติดขัดอันได เจริญก้าวหน้า เป็นผู้เจริญในพระศาสนายิ่งๆไป สุขสำราญกายใจ ทุกเมื่อ เป็นผู้หาโรค หาภัยมิได้ ตลอดจนเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ทั้งปวง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2013
  3. น้องตั้ม

    น้องตั้ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2013
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +426
    ผมนายอริศร์ปวัตน์ ปะลาโพธิ์ และครอบครัว ขอร่วมบุญสร้างบันไดขึ้นนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ณ. วัดลำจังหัน(วัดป่ารัตนเจดีย์) บ.ลำจังหัน ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 200 บาท ครับ :))
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญครับ
    ขอให้ท่านอย่าได้ติดขัดอันได เจริญก้าวหน้า เป็นผู้เจริญในพระศาสนายิ่งๆไป สุขสำราญกายใจ ทุกเมื่อ เป็นผู้หาโรค หาภัยมิได้ ตลอดจนเป็นปัจจัยให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ทั้งปวงนะครับ
     
  5. sabzajeed

    sabzajeed เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    299
    ค่าพลัง:
    +4,744
    กลุ่มเพื่อนรักษ์ดี ร่วมบุญ 100 บาท โอนเข้า วันที่ 22-11-56 เวลา 17.29.08 น. อนุโมทนาสาธุค่ะ
     
  6. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขอร่วมอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
     
  7. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    ใจเป็นใหญ่ในกรรมทุกอย่าง

    ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พวกชนเหล่านั้นว่า “ในการทำกรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นใหญ่.
    เพราะว่า กรรมที่ทำด้วยใจอันผ่องใสแล้ว ย่อมไม่ละบุคคลผู้ไปสู่เทวโลกมนุษยโลก ดุจเงาฉะนั้น”

    ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว พระองค์ผู้เป็นธรรมราชาได้ตรัสพระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับพระราชสาสน์ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว ด้วยพระราชลัญจกรว่า


    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.


    “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
    สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว
    พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา
    เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.”

    ที่มา: อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑



    ความคิดที่บริสุทธิ์ย่อมให้ผลเป็นความสุข ผู้ที่คิด พูด และทำด้วยจิตบริสุทธิ์จะเป็นการสั่งสมกุศลกรรม
    กรรมดีย่อมให้ผลเป็นความสุขทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ดังเช่นอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑ เรื่องมัฏฐกุณฑลี [๒]


    เรื่องมัฏฐกุณฑลี

    ใจความของเรื่องก็มีว่า

    มัฏฐกุณฑลีเป็นมาณพบุตรของพราหมณ์ที่ตระหนี่มาก แม้จะมีความร่ำรวยมีทรัพย์มากมายแค่ใหนแต่ก็ไม่เคยสละให้ทาน หรือแบ่งปันเพื่อช่วยเหลือ สงเคราะห์เพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม หรือผู้ใด ต่อมาเมื่อมัฏฐกุณฑลี [๒] ล้มป่วยลง พราหมณ์ผู้เป็นบิดาก็ปล่อยเขาไว้ตามยถากรรม เพราะไม่อยากเสียเงินของตนเองไปตามหมอมารักษา อาการป่วยจึงทรุดหนักลง พราหมณ์ได้ยกบุครออกมานอนนอกบ้านเพื่อไม่ให้คนที่มาเยี่ยมเห็นทรัพย์สมบัติของตน

    ในวันนั้นพระผู้มีพระภาคทรงเล็งเห็นอุปนิสัยของมัฎฐกุณฑลีด้วยพุทธจักษุ และทรงทราบว่าประโยชน์เป็นอันมากจะเกิดแก่มหาชนหากมัฏฐกุณฑลีได้เห็นพระองค์และทำจิตให้เลื่อมใสก่อนเสียชีวิตดังนั้น ในเวลาเช้าพระพุทธองค์จึงเสด็จออกบิณฑบาตแวดล้อมด้วยเหลาภิกษุ โดยผ่านบ้านพราหมณ์ที่มัฏฐกุณฑลีนนอนป่วยอยู่ เมื่อได้เห็นพระพุทธองค์เสด็จผ่านไปแล้วไม่นาน เขาก็เสียชีวิตลงและไปปฏิสนทิเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวน์ดิงส์


    เมื่อมัฏฐกุณฑลี เทพบุตรได้พิจารณาทบทวนอดิตที่ผ่านมาก็ทราบว่า ความเลื่อมใสศรัทธาที่ตนมีต่อพระพุทธองค์ได้ส่งผลให้มาบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ในวิมานทองสูงประมาณ ๓๐ โยชน์ และเห็นบิดาที่กำลังเศร้าโศกในงานศพของตนดังนั้น

    เพื่อเตือนสติของบิดา จึงแปลงเป็นชายหน้าตาเหมือนมัฏฐกุณฑลีมาปรากฏร้องให้อยู่ที่ป่าช้าแห่งนั้น เมื่อพราหมณ์ถามถึงสาเหตุที่ร้องให้

    เด็กจึงตอบว่า

    "เพราะต้องการล้อรถที่ทำด้วยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์สำหรับรถทองคำ" พราหมณ์ได้ชี้แจงว่า "ความปราถนานั้นไม่สามารถเป็นจริงได้"

    แต่เด็กชายก็แย้งว่าสิ่งที่เขาต้องการยังสามารถมองเห็นได้

    แต่พราหมณ์กลับเศร้าโศกถึงคนตายไปแล้วซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ แล้วย้อนถามว่า ใครกันแน่ที่เป็นโง่ เพื่อพราหมณ์ได้สติแล้ว มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรจึงแสดงตนให้ทราบแล้วกล่าวว่า

    จิตที่เลื่อมใสในพระพุทธองค์ในขณะไกล้ตายได้ให้ประโยชน์แก่เขาอย่างไรหลังจากนั้นได้กำชับให้บิดาเข้าถึงพระรัตนตรัย มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งและให้หมั่นรักษาศิลห้าเป็นนิตย์

    เมื่อพราหมณ์ทราบดังนั้นได้เกิดความปิติยิ่งนักได้อาราธนาพระพุทธองค์พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์ไปเสวยภัตตาหารเข้าที่บ้านในวันรุ่งขึ้น ในที่นั้นมีทั้งพวกที่ศรัทธาและพวกที่ไม่มีศรัทธา หลังจากทรงทำภัตกิจแล้ว

    พราหมณ์จึงกราบทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีใครบ้างหรือไม่ที่ไม่เคยสดับพระธรรม ไม่เคยถวายบิณฑบาต และไม่เคยรักษาอุโบสถเลยแต่ยังได้ไปเกิดในสวรรค์ เพราะมีความเลื่อมใสในพระองค์เพียงอย่างเดียว"

    พระพุทธองค์ทรงรตรัสตอบว่า "บุคคลเช่นนั้นมีอยู่มากมายในโลก"

    ในขณะนั้นเอง มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ได้ปรากฏตัวแล้วกล่าวยืนยันว่า “ข้าพระองค์ได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ เพราะความเลื่อมใสในพระองค์ขณะไกล้ตาย พระเจ้าข้า”


    ประชาชนทั้งหมดในที่นั้นมีความประทับใจมากเมื่อได้ทราบว่าความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเพียงอย่างเดียวได้ทำประโยชน์ใหญ่หลวงแก่มาณพน้อยที่ไม่เคยได้ทำบุญกุศลอะไรๆ มาก่อน พระพุทธองค์จึงได้ตรัสคาถาในคัมภีร์ธรรมบท

    มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
    มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
    ตโต นํ สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.


    “ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่
    สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว
    พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา
    เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัวฉะนั้น.”




    ข้อมูล อ้างอิงจาก อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑,
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 พฤศจิกายน 2013
  8. nalum_1

    nalum_1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +269
    ผมขอร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ณ. วัดลำจังหัน(วัดป่ารัตนเจดีย์) บ.ลำจังหัน ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ จำนวน 108 บาท ครับ

    โอนเงินทำบุญ ไปวันเสาร์ 23/11/56 เวลา 19:00 น

    ขอบุญกุศลนี้จงช่วยหนุนนำให้ข้าพเจ้า นาย วิษณุ ได้รับแรงอุปถัมภ์ให้มีงานการที่มั่นคง โดยทันที่ทันใด และเป็นงานที่สร้างฐานะความมั่นคงให้มีกินมีใช้ได้อย่างดีด้วยเถิด สาธุ

    และขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านที่ร่วมบุญและศรัทธาครับ สาธุ
     
  9. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ อนุโมทนาบุญกับท่าน ขอให้บุญนี้จงรักษาท่านเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านได้สมความปราถนาทุกประการนะครับ สาธุ
     
  10. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    [​IMG]

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส เป็นผู้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง โดยชอบ

    หัวใจปฏิจจสมุปบาท.
    อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ มี สิ่งนี้ ย่อมมี

    อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
    เพราะความเกิดขึ้นแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น.

    อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
    เมื่อสิ่งนี้ ไม่มี สิ่งนี้ ย่อมไม่มี

    อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
    เพราะความดับไปแห่งสิ่งนี้ สิ่งนี้จึงดับไป.

    (ม.ม. ๑๓/๓๕๕/๓๗๑, นิทาน. สํ. ๑๖/๘๔/๑๕๔,....)



    (โอกาสนี้ขออนุญาตนำพุทธธรรมเผยแพร่ที่เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์เพื่อนำไปพิจารณานะครับ ผิดถูกประการใดกราบขออภัย ณ โอกาสนี้ด้วยนะครับ)

    อวิชชาสัมผัส
    คือต้นเหตุอันแท้จริงของปฏิจจสมุปบาท๑



    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เมื่อสำคัญเห็น,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอัตตา
    ,(ตน) มีอย่างต่าง ๆ : สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ทั้ง 5 อย่างนั้นบ้าง,
    หรือว่า ย่อมสำคัญเห็นซึ่งอุปาทานขันธ์ขันธ์ใด ขันธ์หนึ่ง ในบรรดาปัญจุปาทานขันธ์เหล่านั้นบ้าง
    (ว่าเป็นอัตตา).

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอย่างไรเล่า? ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย! ในโลกนี้ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
    ธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า, ไม่เห็นสัปบุรุษ
    ทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษ ไม่ได้รับการแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ:


    (๑) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูป โดยความเป็นตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีรูปบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งรูปในตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในรูปบ้าง;

    (๒) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนา โดยความเป็นตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีเวทนาบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งเวทนาในตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นในเวทนาบ้าง;

    (๓) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญา โดยความเป็นตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสัญญาบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสัญญาในตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในสัญญาบ้าง;

    (๔) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีสังขารบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งสังขารในตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญ เห็นซึ่งตนในสังขารบ้าง;

    (๕) เขาย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณ โดยความเป็นตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนว่ามีวิญญาณบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งวิญญาณในตนบ้าง,
    ย่อมสำคัญเห็นซึ่งตนในวิญญาณบ้าง.

    เป็นอันว่า การสำคัญเห็น ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ ย่อมมีด้วย, การถึงทับจับฉวย (อธิคตํ) ของภิกษุนั้นว่า "เรามีอยู่" , ดังนี้ ก็มีด้วย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุนั้น ถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)"
    ดังนี้แล้ว ลำดับนั้น การก้าวลงแห่งอินทรีย์ทั้งหลาย ๕ ประการ
    ย่อมมีขึ้น; ได้แก่อินทรีย์คือ ตา อินทรีย์คือหู อินทรีย์คือจมูก
    อินทรีย์คือลิ้น อินทรีย์คือกาย.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! มโน มีอยู่, ธรรมทั้งหลาย มีอยู่, อวิชชาธาตุมีอยู่.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้อันเวทนาอันเกิด
    จากอวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว, ความถึงทับจับฉวย
    ว่า
    "เรามีอยู่ (อสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "นี้เป็นเรา (อยมหมสฺมีติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา: ว่า "เราจักมี(ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักไม่มี (น ภวิสสํอิติ) “ ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป (รูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป (อรูปี ภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา(สญฺญี ภวิสฺสํอิติ) " ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา ว่า "เราจักเป็นสัตวฺไม่มีสัญญา (อสญฺญีภวิสฺสํอิติ)" ดังนี้บ้าง
    ย่อมมีแก่เขา : ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่
    (เนวสญฺญินาสญฺญี ภวิสฺสํอิติ)
    " ดังนี้บ้าง ย่อมมีแก่เขา.

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ทั้งหลาย ๕ ประการ ย่อมตั้งอยู่ ในการ
    ถึงทับจับฉวยเหล่านั้นนั่นเทียว. แต่ว่า ในกรณีที่อวิชชา เป็นสิ่งที่อริยสาวกผู้ได้สดับย่อมละเสียได้ ,
    วิชชาย่อมเกิดขึ้น. เพราะการเกิดขึ้นแห่งวิชชา โดยการสำรอก
    ไม่เหลือแห่งอวิชชา ของอริยสาวกนั้น ความถึงทับจับฉวยว่า "เรามีอยู่"
    ดังนี้ก็ดีย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า "นี้เป็นเรา" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า
    ”เราจักมี” ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ว่า "เราจักไม่มี" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มี
    แก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีรูป" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น;
    ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์
    มีสัญญา" ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา" ดังนี้
    ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น; ว่า "เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่สัญญาก็ไม่ใช่"
    ดังนี้ก็ดี ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น, ดังนี้ แล.


    [​IMG]


    ข้อมูลอ้างอิงจาก:๑สูตรที่ ๕ อัตตทีปวรรค ขันธสังยุตต์ ขนฺธ. สํ. ๑๗/๕๗/๙๔, ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่เชตวัน.​
     
  11. siver

    siver Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +39
    ข้าพเจ้าและครอบครัวขอถวายปัจจัย 500.- เพื่อขอเป็นเจ้าภาพร่วมบุญในการสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ณ วัดลำจังหัน (วัดป่ารัตนเจดีย์) บ.ลำจังหัน ต.สามแยก อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ (โอนที่ ธ.กรุงไทย CR560556 0162-118001 วันที่ 22/11/2556 sav 22/11/2556 QSDCB ) และขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยนะคะ
     
  12. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    สาธุ อนุโมทนาบุญครับ ขอให้ท่านได้บุญนี้มากๆนะครับ บูญธรรมรักษาเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านประสบความสำเร็จ มั่นคงในทุกด้าน
    เป็นผู้หาโรคภัยมิได้ เป็นผู้เจริญในพระศาสนาและเข้าถึงความดับทุกข์เป็นที่สุดนะครับ สาธุ






     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 พฤศจิกายน 2013
  13. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    (อ้างอิงข้อความ email ครับ)

    ฉันขอส่งเงิน 1,000 บาท มาทำบุญเพื่อช่วย
    ค่าน้ำและไฟฟ้าแก่วัดลำจังหันค่ะ โดยฉันได้วานเพื่อน
    ในกรุงเทพช่วยโอนเงิน 1,000 บาท
    จากบัญชีฉันเข้าบัญชีของ....

    บัญชี : พระพิเชศ อนุตตโร
    ธนาคาร กรุงไทย
    สาขา อำเภอวิเชียรบุรี
    จังหวัดเพชรบูรณ์
    หมายเลข : 629-1-56919-1


    เพื่อนได้แจ้งมาวันนี้ว่าได้โอนเงินให้แล้ว

    ขอให้พระที่วัดลำจังหันจงเจริญธรรมและบรรลุธรรม
    อันเป็นสิ่งสูงด้วยเทอญ

    ทิพา เยบเศณอิ์

    --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

    สาธุ ครับขอบพระคุณและขออนุโมทนาในบุญกุศลเจตนาของท่าน หมู่คณะทุกท่านนะครับ จะเรียนให้ท่านพระอาจารย์ร้บทราบนะครับ

    ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายทั่วสากลภิภพและที่สถิตย์ ณ.บริเวรวัดลำจังหัน ได้รับรู้เป็นทิพยพยานอำนวยประเสริฐมงคลนี้จงมีแก่ทุกๆท่าน

    ห้วงน้ำในมหาสมุทร ตักไม่พร่องไม่หมด ฉันใด ขอท่าน อิ่มในบุญไม่หมดฉันนั้น
    แสงตะวันยามเที่ยง พ้นเมฆหมอก บดบัง สว่างไสว ฉันใด ขอท่าน จงมีปัญญาเยี่ยงนั้น
    ศรีมหาโพธิ์ ให้ร่มเงาแด่เหล่าสัตว์ เพียงใด ขอท่าน มีจิตเป็นที่พึ่งเหล่าสัตว์เพี<wbr>ยงนั้น
    มหาปฐพี แผ่นดิน รับทุกสรรพสิ่งได้ ฉันใด ขอท่าน ยังจิตมั่นคงในธรรมได้ดังนั้น
    พระกาล วันเวลา ล่วงเลย ไปเท่าใด ขอท่านไม่ประมาท ในการสร้างบุญในครั้งนั้น
    บุญกุศล อานิสงส์ที่เกิดในครั้งนี้เท่<wbr>าใด ท่านได้ทำไว้ด้วยดีแล้ว

    ขอท่านและครอบครัว พึงได้รับเป็นล้านเท่า พันทวี เพียงนั้น
    ขอให้เจริญสุข เจริญธรรม เจริญปัญญา เจริญปณิธาน สำเร็จบรรลุธรรม ตามปรารถนา ทุกประการ
    ให้บุญรักษาเป็นเสบียงเป็นดังร่มโพธิ์ร่มไทรจนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในกาลปัจจุบันและอนาคตกาลอั<wbr>นใกล้นี้ด้วยเทอญ


    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 พฤศจิกายน 2013
  14. ณัฐวัฒน์

    ณัฐวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,145
    ค่าพลัง:
    +4,047
    เมื่อวานนี้ (28/11/56) โอนเงินไปร่วมบุญสร้างบันได
    2,000 บาท ครับ
     
  15. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขออนุโมทนาบุญกุศลเจตนาของท่านครับ รบกวนแจ้งชื่อและนามสกุลที่จะสลักชื่อในขั้นบันได้ให้ทราบด้วยครับ

    ขออำนาจคุณพระรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายทั่วสากลภิภพและที่สถิตย์ ณ.บริเวรวัดลำจังหัน ได้รับรู้เป็นทิพยพยานอำนวยประเสริฐมงคลนี้จงมีแก่ทุกๆท่าน

    ห้วงน้ำในมหาสมุทร ตักไม่พร่องไม่หมด ฉันใด ขอท่าน อิ่มในบุญไม่หมดฉันนั้น
    แสงตะวันยามเที่ยง พ้นเมฆหมอก บดบัง สว่างไสว ฉันใด ขอท่าน จงมีปัญญาเยี่ยงนั้น
    ศรีมหาโพธิ์ ให้ร่มเงาแด่เหล่าสัตว์ เพียงใด ขอท่าน มีจิตเป็นที่พึ่งเหล่าสัตว์เพี<wbr>ยงนั้น
    มหาปฐพี แผ่นดิน รับทุกสรรพสิ่งได้ ฉันใด ขอท่าน ยังจิตมั่นคงในธรรมได้ดังนั้น
    พระกาล วันเวลา ล่วงเลย ไปเท่าใด ขอท่านไม่ประมาท ในการสร้างบุญในครั้งนั้น
    บุญกุศล อานิสงส์ที่เกิดในครั้งนี้เท่<wbr>าใด ท่านได้ทำไว้ด้วยดีแล้ว

    ขอท่านและครอบครัว พึงได้รับเป็นล้านเท่า พันทวี เพียงนั้น
    ขอให้เจริญสุข เจริญธรรม เจริญปัญญา เจริญปณิธาน สำเร็จบรรลุธรรม ตามปรารถนา ทุกประการ
    ให้บุญรักษาเป็นเสบียงเป็นดังร่มโพธิ์ร่มไทรจนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในกาลปัจจุบันและอนาคตกาลอั<wbr>นใกล้นี้ด้วยเทอญ


    สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ


    [​IMG]
     
  16. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    อานิสงส์การกราบไหว้บูชารอยพระพุทธบาท พระพุทธหัตถ์ พระบรมสารีริกธาตุ
    จากหนังสือตำนานพระพุทธเจ้าเลียบโลกและพระอาจารย์อารยะวังโส กล่าวว่า

    โดยความเชื่อและศรัทธาว่า

    “…บุคคลใดมีใจบังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้แสดงความเคารพด้วย กาย วาจา ใจในพระพุทธบาทและพระบรมธาตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระมหากรุณาธิคุณเหยียบประทับรอยครั้งเมื่อยังทรงมีพระชนม์อยู่ก็ดีหรือสำเร็จตามจิตอธิษฐานของพระสงฆ์สาวก… พุทธบริษัทผู้มีบารมีธรรมที่ตั้งกุศลจิตเจตนาเพื่อการถวายมหาสักการะแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและเพื่อประโยชน์แห่งมหาชนที่จะได้มีโอกาสกระทำการสักการบูชา

    …ย่อมจะได้ผลานิสงส์อันยิ่งจนไม่อาจที่จะกำหนดนับได้และย่อมเข้าถึง “อวินิปาตบุคคล” คือบุคคลที่ไม่มีโอกาสได้ไปเกิดในอบายภูมิทั้งสี่มีแต่จะมุ่งตรงสู่พระนิพพาน… ด้วยการได้มีโอกาสกระทำมหาสักการบูชาดังกล่าวดุจดังพระสงฆ์สาวกผู้ทรงคุณได้กระทำแทบพระพุทธบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงนับเป็นวาสนาบารมีอันหาที่สุดมิได้ที่มีโอกาสได้กระทำและดุจดังได้เดินตามรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคไปในทุกบาทก้าวย่อมให้พ้นจากภัยมารทั้งปวงได้อย่างแท้จริง…”

    ด้วยเดชะแห่งผลานิสงส์ตามที่กล่าวย่อมนำไปสู่การได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชู อุดหนุนให้ตั้งอยู่ทางสัมมาปฏิบัติประกอบด้วยความเจริญทั้ง อายุ วรรณะ สุขะ พละ ยศศักดิ์ จะเป็นที่เลื่องลือเป็นผู้ฉลาดในธรรม แจ่มแจ้งไม่ขัดข้องในโลก อุปัทวะ ศัตรู ทั้งหลายย่อมพินาศสูญสิ้นไป จักอุดมด้วยฤทธิ์เดชยิ่งนักเป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย หมู่เหล่าเทวดาย่อมรักษาหากมั่นคงในตถาคตโพธิสัทธา จนน้อมโน้มไปสู่การประพฤติชอบถูกต้องตามหลักธรรมวินัยในพระพุทธศาสนาย่อมเข้าถึงพระนิพพานในศาสนาของพระพุทธเจ้าในปัจจุบันอย่างแน่นอน

    แม้ว่าบุญสมภารยังไม่บริบูรณ์เต็มที่ จำต้องท่องเที่ยวเวียนวนอยู่ในวัฏสงสารจะไม่ปรากฏไปเกิดในอบายภูมิทั้งสี่ และจะได้เห็นพระศรีอริยเมตไตรย เพื่อเข้าสู่มรรคผลในศาสนาของพระองค์อย่างเที่ยงแท้แน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย… และนี่คืออานิสงส์ของบุคคลที่ได้มีโอกาสกระทำมหาสักการบูชารอยพระบาทในทุกสถานด้วย กาย-วาจา-ใจที่สุจริตมั่นคงดำรงอยู่ด้วยธรรมอุดมมงคลอันล้ำเลิศในพระพุทธศาสนา… ”


    คัดลอกจาก:หนังสือตามรอยพระพุทธบาท ฉบับรวมเล่ม ๑ – ๔.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ธันวาคม 2013
  17. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747

    [​IMG]

    [​IMG]

    ธ ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม

    โดย พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)



    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๖ พรรษาในปี ๒๕๕๖ พสกนิกรชาวไทย จะเฉลิมฉลองมหามงคลวโรกาสนี้อย่างมีสาระได้อย่างไร กล่าวอีกนัยหนึ่งว่า คนไทยจะบูชาคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ด้วยวิธีการอะไร

    คนไทยสามารถบูชาคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ๒ วิธี คือ

    (๑) อามิสบูชา บูชาด้วยสิ่งของ เช่น ถวายจตุปัจจัยโดยเสด็จพระราชกุศล และ

    (๒) ปฏิบัติบูชา ทำดีถวายในหลวง นั่นคือ ทำความดีตามรอยพระยุคลบาทด้วยการประพฤติปฏิบัติตามทศพิธราชธรรม

    … พระนักเทศน์นักเผยแผ่และครูพระสอนศีลธรรมต้องช่วยกันสอนประชาชนทั้งหลายให้ นำทศพิธราชธรรมมาเป็นหลักประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน นับเป็นการบูชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระเจ้าอยู่หัวด้วยปฏิบัติบูชา ซึ่งมีคุณค่ายั่งยืนกว่าอามิสบูชา

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรีเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ต่อมาทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ในมหามงคลวโรกาสนี้ พระองค์ได้ทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการเป็นพระราชสัตยาธิษฐานว่า

    “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”​




    [​IMG]

    …คำว่า “ครองแผ่นดินโดยธรรม” ในที่นี้หมายถึง “ครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม”

    … ทศพิธราชธรรมนี้มีที่มาจากนิทานชาดกเรื่องมหาหังสชาดก ในชาดกเรื่องนี้ พญาหงส์ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ได้สนทนาธรรมกับพระเจ้ากรุงพาราณสีเรื่องทศพิธ ราชธรรมหรือธรรมของพระราชา ๑๐ ประการ โดยพระเจ้ากรุงพาราณสีตรัสเล่าให้พญาหงส์ฟังว่า

    “เรา พิจารณาเห็นธรรม ๑๐ ประการที่มีอยู่ในตัวเราเหล่านี้ คือ ทาน
    (๒) ศีล
    (๓) บริจาค
    (๔) อาชชวะ
    (๕) มัททวะ
    (๖) ตบะ
    (๗) อักโกธะ
    (๘) อวิหิงสา
    (๙) ขันติ
    (๑๐) อวิโรธนะ เมื่อนั้นปีติและโสมนัสมิใช่น้อยย่อมเกิดแก่เรา”




    … พระนักเทศน์นักเผยแผ่คงอดสงสัยว่าทำไมทศพิธราชธรรมในมหาหังสชาดกนี้จึงได้มี อิทธิพลต่อรัฏฐาภิปาลโนบายหรือวิธีการปกครองบ้านเมืองของพระมหากษัตริย์ไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงปัจจุบันมากยิ่งกว่าคำสอนเรื่องอื่น เช่น ราชสังคหวัตถุหรือจักรวรรดิวัตร

    • คัมภีร์พระธรรมศาสตร์กับทศพิธราชธรรม

    …เหตุที่ทศพิธราชธรรมในมหาหังสชาดกมีอิทธิพลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มากมายขนาด นั้นก็เนื่องมาจากคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ซึ่งเป็นกฎหมายหลักคู่บ้านคู่เมืองของไทยมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ได้ถูกใช้เป็นกฎหมายแม่บทมาก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ จนกระทั่งคำว่า “ธรรมศาสตร์” ในสมัยก่อนถูกใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า “นิติศาสตร์” ในสมัยนี้ ดังนั้นคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ก็คือคัมภีร์นิติศาสตร์นั่นเอง

    …พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตต้องถือปฏิบัติตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากประเทศ อินเดีย คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ดั้งเดิมของอินเดียมีชื่อว่าพระมนูธรรมศาสตร์ ซึ่งว่าด้วยวิธีการปกครองของคนในวรรณะกษัตริย์ตามหลักวรรณธรรมคือหน้าที่ ประจำวรรณะในศาสนาพราหมณ์

    … ประเทศไทยได้นำคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ฉบับมอญมาปรับเป็นของไทยเพื่อให้พระมหา กษัตริย์ทรงใช้เป็นกฎหมายแม่บทในการปกครองบ้านเมืองตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรื่อยมาจนกระทั่งพ.ศ. ๒๓๔๘ สมัยรัชกาลที่ ๑ จึงได้มีการชำระและแปลคัมภีร์พระธรรมศาสตร์เป็นภาษาไทย เรียกชื่อใหม่ว่า กฎหมายตราสามดวง เพราะเมื่อชำระแล้วได้ประทับตรา ๓ ดวง คือ ตราพระราชสีห์ ตราพระคชสีห์ และตราบัวแก้ว

    …ความสำคัญของคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ในสังคมไทยเริ่มลดลงไปเมื่อประเทศไทยเริ่มปฏิรูประบบกฎหมาย บ้านเมืองตามแบบฝรั่งตะวันตก และเมื่อมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในปีเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ก็แทบจะถูกลืมไปเลย

    พระมหากษัตริย์สยามได้ปกครองบ้านเมืองมาด้วยคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ กฎหมายพระธรรมศาสตร์ นี่แหละเป็นรัฐธรรมนูญของสยาม พระมหากษัตริย์ไทยในอดีตไม่ได้ใช้อำนาจตามอำเภอใจ แต่ทรงใช้พระราชอำนาจตามกฎหมายบ้านเมืองที่เรียกว่าคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งบัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ต้องเป็นธรรมิกราชคือเป็นพระราชาผู้ทรงธรรม“ทรงตั้งอยู่ใน ราชธรรม ๑๐ ประการ ทรงเบญจางคิกศีลเป็นปรกติศีลและอัษฏางคิกศีลเป็นอุโบสถศีล” หมายความว่าพระมหากษัตริย์ต้องตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม รักษาศีล ๕ เป็นปรกติ และรักษาอุโบสถศีลในวันพระ ๘ ค่ำและ ๑๕ ค่ำ

    …คัมภีร์พระ ธรรมศาสตร์ช่วยกำกับการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์ให้อยู่ในขอบเขตแห่งทศพิธ ราชธรรม ซึ่งเป็นหลักประกันว่าบ้านเมืองมีความสงบสุขยุติธรรม แม้พระมหากษัตริย์จะมีอำนาจล้นฟ้าสั่งประหารชีวิตคนได้ แต่จะไม่ใช้ทรงพระราชอำนาจล้นฟ้านั้นตามใจชอบ พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติตามกรอบแห่งกฎหมายแม่บทของบ้านเมืองสมัยโน้นคือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ซึ่งกำหนดให้ต้องทรงปฏิบัติตามทศพิธราชธรรมหรือราชธรรม ๑๐ ประการ มี ทาน ศีล บริจาค เป็นต้น


    • ทศพิธราชธรรมต้องเป็นปรหิตปฏิบัติ (การบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น)


    [​IMG]
    …ทศพิธราชธรรมข้อที่ ๑ คือ

    …ทานหมายถึงการให้ การให้ทานที่เป็นอัตตหิตสมบัติอย่างเดียวไม่เป็นทศพิธราชธรรม การให้ทานที่ เป็นอัตตหิสมบัติเป็นการให้ทานที่ช่วยกำจัดกิเลสคือความตระหนี่ออกไปเพื่อทำ ให้ตัวเราดีขึ้น จึงเป็นบุญกิริยาวัตถุคือวิธีทำบุญเพื่อตัวเรา แต่การให้ทานที่เป็นปรหิตปฏิบัติคือทำความดีเพื่อช่วยเหลือคนอื่นด้วยจึงจะ เป็นราชธรรมหรือธรรมสำหรับผู้ปกครอง

    …การให้ทานที่มุ่งพัฒนาจิตใจของ เราฝ่ายเดียวถือเป็นความดีส่วนตัวแบบอัตตหิสมบัติ ยังไม่จัดเป็นราชธรรม แต่การให้ทานเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์คนอื่นตามหลักสังคหวัตถุ ๔ จึงเป็นราชธรรมหรือธรรมสำหรับผู้ปกครอง กล่าวให้ชัดก็คือการให้ทาน การรักษาศีล การบริจาคเป็นต้น จัดเป็นราชธรรมก็ต่อเมื่อเป็นปรหิตปฏิบัติคือเป็นธรรมที่ปฏิบัติเพื่อบำเพ็ญ ประโยชน์สุขของคนอื่นเป็นสำคัญ พระราชาหรือผู้ปกครองต้องถือประโยชน์ส่วนรวมสำคัญกว่าประโยชน์ส่วนตัวเสมอ ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกที่ว่า



    “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง”


    … การรักษาศีลก็เช่นเดียวกับทานคือมีวัตถุประสงค์ทั้งเพื่อประโยชน์ส่วนตัว (อัตตหิตสมบัติ)และเพื่อประโยชน์ส่วนรวม(ปรหิตปฏิบัติ) การที่พระสงฆ์รักษาศีล ๒๒๗ เพื่อพัฒนาจิตใจของตัวเองอย่างเดียวตามหลักการที่ว่าศีลทำให้สมาธิมีผลมากมี อานิสงส์มาก สมาธิทำให้ปัญญามีผลมากมีอานิสงส์มาก ปัญญาทำให้จิตหลุดพ้น การรักษาศีลเพื่อประโยชน์ส่วนตัว(อัตตหิตสมบัติ)อย่างนี้ไม่จัดเป็นราชธรรม

    …การพัฒนาศีลสมาธิปัญญาเพื่อประโยชน์ส่วนตัวอย่างเดียวทำให้คนเราเป็น เหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้ามีศีลสมาธิและปัญญาบริบูรณ์ แต่แทนที่ท่านจะใช้ศีลสมาธิปัญญาเพื่อประโยชน์สุขของมหาชน ท่านกลับใช้ศีลสมาธิปัญญาเพื่อตนเองเท่านั้น ฝรั่งจึงเรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า Silent Buddha แปลว่าพระพุทธเจ้าใบ้ คือบรรลุธรรมแล้วไม่ยอมสอนใคร

    …ดังนั้น ทาน ศีล บริจาคเป็นต้นจะป็นทศพิธราชธรรมได้ก็ต่อเมื่อผู้ปฏิบัติมุ่งประโยชน์สุขส่วน รวมเป็นสำคัญ นั่นคือข้อปฏิบัติทั้ง ๑๐ ประการต้องเป็นปรหิตปฏิบัติด้วยจึงจะเป็นทศพิธราชธรรม



    การที่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงประกาศพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ก็เท่ากับเป็นการประกาศเจตนารมณ์ในการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น(ปรหิต ปฏิบัติ)นั่นเอง



    ราชธรรมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงถือปฏิบัติ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวไทยตลอดระยะเวลากว่า ๖๐ ปีที่ผ่านมาก็คือทศพิธราชธรรมหรือธรรมของพระราชา ๑๐ ประการ ดังมีรายละเอียดและกรณีตัวอย่างต่อไปนี้




    ๑. ทาน การให้

    …ทานคือ การให้ทรัพย์สินสิ่งของและธรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งการบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่างๆ เป็นการให้เพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ตามหลักสังคหวัตถุ ๔ เป็นสำคัญ

    …วิธีการให้ทานแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ


    (๑) อามิสทาน การให้สิ่งของ และ

    (๒) ธรรมทาน (การให้ธรรมเป็นทาน) หรือวิทยาทาน (การให้ความรู้เป็นทาน)

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงบำเพ็ญทานเพื่อพสกนิกรของพระองค์มาโดยตลอด ทั้งที่เป็นอามิส ทานและธรรมทานคือการให้สิ่งของและการให้คำแนะนำ พระราชกรณียกิจในการบำเพ็ญทานของพระองค์สอดคล้องกับราชสังคหวัตถุข้อที่ ๑ คือ สัสสเมธะ หมายถึงความฉลาดในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตร

    ในหลวง ฝนหลวง…โครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้นในปี ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานรถบุลโดเซอร์ให้หน่วยตำรวจตระเวนชาย แดนไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคิรีขันธ์เพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เดินทางและนำผลผลิตจากไร่นา ออกไปขายที่ตลาดได้สะดวกขึ้น

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงส่ง เสริมการเกษตรด้วยโครงการฝนหลวงที่คนไทยทุกวันนี้รู้จักกันดี โครงการนี้ถือกำเนิดขึ้นมาจากแนวพระราชดำริที่ได้จากการเสด็จเยี่ยมราษฎรใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ดังพระราชบันทึกตอนหนึ่งว่า

    “ขณะ นั้นข้าพเจ้าได้แหงนดูท้องฟ้า และพบว่ามีเมฆจำนวนมาก แต่เมฆเหล่านั้นพัดผ่านพื้นที่แห้งแล้งไป วิธีแก้ไขอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไร ที่จะทำให้เมฆเหล่านั้นตกลงมาเป็นฝนในท้องถิ่นนั้น ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการทำฝนเทียม ซึ่งประสบความสำเร็จในอีก 2-3 ปี ต่อมาในภายหลัง”

    … ปัจจุบันมีโครงการพระราชดำริที่เกิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์กว่า ๔,๐๐๐ โครงการ โครงการเหล่านี้คือตัวอย่างของการบำเพ็ญทศพิธราชธรรมข้อที่ ๑ คือ ทานในส่วนที่เป็นอามิสทานคือการให้สิ่งของ

    …นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงบำเพ็ญวิทยาทานและธรรมทานอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างสำคัญแห่งการบำเพ็ญวิทยาทานที่ทั่วโลกยกย่องคือปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และกังหันน้ำชัยพัฒนา โดยเฉพาะกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นสิ่งประดิษฐ์เพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีเติม อากาศซึ่งเกิดจากพระปรีชาสามารถและพระราชดำริของพระองค์

    ในหลวง พระมหาชนก…กังหันน้ำ ชัยพัฒนาได้รับสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากกรม ทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๖ นับแต่นั้นมา วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงเป็นวันนักประดิษฐ์แห่งประเทศไทย สมาพันธ์นักประดิษฐ์นานาชาติกำหนดให้วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ เป็นวันนักประดิษฐ์โลกขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม พระชนพรรษา ๘๐ พรรษา

    [​IMG]
    …ในการบำเพ็ญธรรมทานต่อพสกนิกรนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสอดแทรกธรรมไว้ในพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส อยู่เสมอ ยิ่งไปกว่านั้น พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือธรรมโดยตรง นั่นคือพระราชนิพนธ์เรื่องพระมหาชนก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์เรื่องนี้ ไว้ว่า

    “หนังสือเรื่องนี้เป็นที่ รักของข้าพเจ้าเอง เป็นสิ่งที่เห็นว่ามีความสำคัญและโดยที่เป็นผู้ที่ทำขึ้นมา ถ้าไม่มีตัวเราเอง มีแต่ชาดกแล้วก็มีแต่ชาดกภาษาไทยที่แปลมาจากภาษาบาลี มีแต่ชาดกอาจจะเป็นภาษาอังกฤษที่เขาแปลมาจากภาษาบาลี ใครไปอ่านก็ไม่รู้เรื่องและไม่มีความหมายอะไรมากนัก”

    … การที่ทรงบำเพ็ญทานทั้งที่เป็นอามิสทานและธรรมทานดังกล่าวมานี้จัดเป็นทศพิธ ราชธรรมข้อที่ ๑ คือทานซึ่งเป็นปรหิตปฏิบัติเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวไทย



    [​IMG]


    ๒. ศีล ความประพฤติเรียบร้อยดีงาม

    ในหลวง ทรงผนวช…ศีล คือการสำรวมระวังรักษาพฤติกรรมทางกายและทางวาจาให้ถูกต้องเรียบร้อยดีงาม ทั้งที่เป็นอัตตหิตสมบัติคือความดีงามส่วนตัวและปรหิตปฏิบัติคือความดีงาม เพื่อส่วนรวม

    …การรักษาศีลที่เป็นทศพิธราชธรรมนั้นต้องเป็นปรหิต ปฏิบัติด้วย คือ ผู้ปกครองต้องมีภาพแห่งความซื่อสัตย์สุจริต สามารถทำตนเป็นแบบอย่างและเป็นที่เคารพนับถือของคนทั่วไป ไม่ทุจริตคอรัปชั่น พูดง่ายๆ ก็คือ ผู้ปกครองต้องมีชื่อเสียงเกียรติคุณอันดีงามโดยไม่มีประวัติด่างพร้อย

    … ผู้ปกครองต้องมีสีลสามัญญตาคือความมีศีลเสมอกันกับสมาชิกในสังคม หมายความว่าต้องรักษาระเบียบกติกาและปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองเช่นเดียว กับประชาชนทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น ผู้ปกครองต้องไม่ทำตัวให้อยู่เหนือกฎหมายเพราะถือตัวว่ามีอำนาจเบ็ดเสร็จ

    … เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ กำลังจะเสด็จประพาสยุโรปในปี ๒๔๔๐ คงจะป็นที่ห่วงใยกันทั่วไปว่าพระองค์อาจจะถูกของร้องให้เปลี่ยนศาสนาเมื่อไป ถึงยุโรป รัชกาลที่ ๕ จึงทรงประกาศปฏิญญาในที่ประชุมมหาสมาคม ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ดังนี้


    “ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าพระสงฆ์เถรานุเถระทั้งหลาย อันประชุมอยู่ ณ ที่ว่านั้น การที่ข้าพเจ้า คิดจะไปประเทศยุโรป ณ ครั้งนี้ ด้วยข้าพเจ้ามุ่งต่อความดีแห่งพระราชอาณาจักรและด้วยความหวังว่าจะเป็น ประโยชน์แก่ตัวข้าพเจ้าด้วย เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าตั้งใจจะรักษาตนให้สมควรแก่ที่เป็นเจ้าของประชาชนชาวสยามทั้งปวง จะรักษาเกียรติยศแห่งพระราชอาณาจักรอันเป็นเอกราชนครนี้ จนสุดกำลังที่ข้าพเจ้าจะป้องก้นได้ และเพื่อจะให้เป็นเครื่องเตือนใจตัวข้าพเจ้า และเป็นเครื่องเย็นใจแห่งผู้ซึ่งมีความรักใคร่มุ่งหมายความดีต่อข้าพเจ้า ปราศจากวิตกกังวลใจด้วยความประพฤติรักษาของข้าพเจ้า ๆ จึงขอสมาทานข้อทั้งหลายที่จะกล่าวต่อไปนี้

    ๑. ข้าพเจ้าจะไม่มีจิตยินดีน้อมไปในศาสดาอื่น นอกจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระธรรมอันพระองค์ได้ตรัสรู้ชอบดีแล้ว กับทั้งพระสงฆ์หมู่ใหญ่ อันได้ประพฤติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเลยเป็นอันขาด จนตราบกว่าสิ้นชีวิต

    ๒. การที่ข้าพเจ้าไปครั้งนี้ แม้ว่าจะช้านานเท่าใดก็ดี ข้าพเจ้าจะไม่ร่วมประเวณีด้วยสตรีใดจนกลับเข้ามาถึงในพระราชอาณาเขต

    ๓. ถึงแม้ว่าจะไปในประเทศซึ่งเขาถือกันว่า การให้สุราเมรัยไม่รับเป็นการเสียกิริยาอันดีฤาเพื่อป้องกันโรคภัยอัน เปลี่ยนอากาศเป็นต้น ข้าพเจ้าจะไม่เสพสุราเมรัยให้มึนเมาเสียสติ ฤาแม้แต่มีกายวิกลเกินปรกติเป็นอันขาด”

    …การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำปฏิญญาอย่างนี้ถือเป็นตัวอย่างของการรักษาศีลที่เป็นทศพิธราชธรรมเพราะมุ่งปรหิตปฏิบัติคือประโยชน์ส่วนรวม


    … พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันทรงเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่ทรงปฏิบัติตามกฎหมายของบ้านเมืองเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป คุณฟื้น บุณยปรัตยุธ อดีตนายอำเภอปทุมวัน นายทะเบียนในวันพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสเล่าว่า

    “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและม.ร.ว.สิริกิติ์ ทรงจดทะเบียนสมรสเฉกเช่นคู่สมรสทั่วไป สมุดทะเบียน สมรสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประดิษฐ์ขึ้นเป็นพิเศษ ปกสมุดหุ้มด้วยหนังแกะอ่อนสีเหลืองเข้ม กลางปกเป็นหนังสีน้ำตาล มีอักษรตัวทองบอกว่าเป็นสมุดทะเบียนสมรส ข้อความในสมุดทะเบียนทุกอย่างคงเป็นเหมือนสมุดทะเบียนสมรสทั่วไป เกี่ยวกับการจดทะเบียนนี้ พระองค์ท่านทรงทำตามระเบียบทุกอย่างไปยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสมรสนอกสถานที่ ปิดอากรแสตมป์ 10 สตางค์ เสียค่าธรรมเนียม 10 บาท ตามระเบียบถูกต้อง”

    …พระพุทธเจ้าตรัสว่ากลิ่นแห่งศีลของคนดีนั้นหอมกว่ากลิ่นหอมของดอกไม้ใดๆ

    .. กลิ่นแห่งศีลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันฟุ้งขจรไปทั่วทุก ทิศานุทิศ เมื่อถึงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวามหาราช พสกนิกรทั่วไปต่างพร้อมใจกันรักษาศีลปฏิบัติธรรมตามรอยพระยุคลบาท หลายคนพากันอุปสมบทถวายเป็นพระราชกุศล

    …พระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวชเป็นพระภิกษุมีอยู่ตามวัดทั่วประเทศ ในช่วงวิสาขบูชาปี ๒๕๕๐ สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพวงศ์ ) สมเด็จพระสังฆราชแห่งกัมพูชา เสด็จมาที่วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร ท่านเห็นพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขณะทรงผนวชตั้งอยู่ ติดกับโต๊ะหมู่บูชาที่วิหารหลวงพ่อพระพุทธนาค สมเด็จพระสังฆราชแห่งกัมพูชากล่าวเปรยว่าท่านอยากได้พระบรมฉายาลักษณ์นี้มา นานแล้วแต่ไม่ทราบว่าจะหาได้ที่ไหน เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสจึงยกพระบรมฉายาลักษณ์นั้นถวายท่านทันที ท่านรับด้วยความปีติยินดียิ่งและกล่าว่าเป็นของขวัญที่ถูกใจท่านมากที่สุด

    … กลิ่นแห่งศีลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันหอมฟุ้งทวนลมไป ทั่วทุกทิศานุทิศทั้งภายในและภายนอกพระราชอาณาจักรไทยก็เพราะพระองค์ทรง ปฏิบัติทศพิธราชธรรมข้อที่ ๒ คือ ศีลนั่นเอง



    ๓. บริจาค เสียสละความสุขสบายส่วนตัวเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม


    [​IMG]

    …ทศพิธรา ชธรรมข้อนี้เป็นเรื่องของกิเลสจาคะคือสละกิเลส เช่นสละความเห็นแก่ตัวหรือความสุขสบายส่วนตัวเพื่อทำประโยชน์สุขให้แก่ ประชาชน การปฏิบัติธรรมข้อนี้มุ่ง ปรหิตปฏิบัติคือยึดประโยชน์สุขของคนอื่นเป็นที่ตั้ง ดังพุทธพจน์ในธรรมบทที่ว่า

    “ถ้าเห็นว่า จะได้สุขอันยิ่งใหญ่ด้วยการสละสุขเล็กๆ น้อยๆ นักปราชญ์ก็ควรสละสุขเล็กน้อยเพื่อเห็นแก่สุขอันยิ่งใหญ่”

    … เนื่องจากทศพิธราชธรรมข้อบริจาคนี้เป็นเรื่องกิเลสจาคะหมายถึงการสละกิเลส จึงต่างจากทศพิธราชธรรมข้อทานซึ่งเป็นเรื่องของอามิสจาคะหมายถึงการสละสิ่ง ของ ท่านพุทธทาสภิกขุกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างทานและบริจาคไว้ว่า ทานเป็นการสละที่ต้องมีผู้รับ เช่น เราตักบาตรก็ต้องมีพระรับบาตร แต่บริจาคคือการสละกิเลส เช่นสละความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องมีผู้รับ

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมข้อบริจาคด้วยการสละความสุขสบายส่วนพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม


    โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา…ใครนั่งรถผ่านพระตำหนักจิตรลดารโหฐานคงจะเห็นกังหันลม ตั้งอยู่อย่างนั้นมานานแล้ว นั่นเป็นเครื่อง หมายของโครงการพระราชดำริ ผมเคยเข้าไปสอนหนังสือที่โรงเรียนสวนจิตรลดา บางครั้งเจอชาวบ้านถือเคียวถืองอบนั่งเคี้ยวหมากอยู่ริมคันนาในวังสวน จิตรลดา ผมถามเจ้าหน้าที่ว่าชาวนาเหล่านี้เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปลอมเป็นชาวนาหรือเปล่า ก็ได้รับคำตอบว่า นี่แหละชาวนาจริงๆ ในหลวงทรงให้มาดำนาเกี่ยวข้าวที่แปลงนาทดลองในวัง พันธุ์ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้จากที่นี่ก็เอาไปหว่านในพิธีแรกนาขวัญที่สนาม หลวง

    …ผู้สื่อข่าวชาวต่างประเทศคนหนึ่งได้รายงานด้วยความประหลาดใจ ว่า พระตำหนักจิตรลดารโหฐานไม่มีสิ่งหรูหราฟุ้งเฟ้อใดๆที่พระราชวังทั่วโลกมักจะ มีกัน เขาพบแต่แปลงนาปลูกข้าวและโครงการพระราชดำริต่างๆ ผู้สื่อข่าวคนนี้จึงสรุปในรายงานว่า หมดสมัยแล้วที่กษัตริย์ยุคปัจจุบันจะเป็นมหาราชด้วยการกรีฑาทัพยึดครองดิน แดนของอริราชศัตรู ถ้ากษัตริย์สมัยนี้ต้องการจะเป็นมหาราชก็ต้องเอาอย่างพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของไทยที่ทรงเป็นมหาราชเพราะทรงประกาศสงครามกับความ ทุกข์ยากของพสกนิกรชาวไทย


    …เมื่อคนเรามีความเห็นแก่ตัวน้อยลงก็จะคิด ถึงประโยชน์สุขของคนอื่นมากขึ้นโดยอัตโนมัติ หลวงวิจิตรวาทการกล่าวสรุปไว้ในหนังสือเรื่องกุศโลบายสร้างความยิ่งใหญ่ ว่า

    “การจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่นั้นง่ายนิดเดียวคือต้องเห็นแก่ตัวให้น้อยหน่อยเท่านั้น”

    … เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสละความสุขสบายส่วนพระองค์ด้วยการ บำเพ็ญทศพิธราชธรรมข้อบริจาค พระราชหฤทัยของพระองค์จึงเปี่ยมล้นด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อพสกนิกร พระองค์ทรงงานหนักเพื่อราษฎรโดยไม่มีวันหยุด ในหนังสือเรื่องพระธรรมิกราชของชาวไทย จัดพิมพ์โดยกรมศิลปากรเ มื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ มีข้อความตอนหนึ่งว่า

    “ด้วยเหตุผลนี้ เองที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯทรงรับฟังความทุกข์ราษฎรจากปาก คำของราษฎรยังบ้านของราษฎรเองและทรงงานเพื่อราษฎรโดยไม่มีวันหยุดมาแล้วเป็น เวลาหกสิบปี ครั้งหนึ่งสำนักราชเลขาธิการได้เคยบันทึกไว้ว่าในแต่ละปีเสด็จฯออกปฏิบัติ พระราชกรณียกิจราว ๕๐๐-๖๐๐ ครั้งรวมเป็นระยะทางประมาณ ๒๕,๐๐๐ ถึง ๓๐,๐๐๐ กิโลเมตร”

    … เหล่านี้คือตัวอย่างของพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ แสดงออกถึงการบำเพ็ญทศพิธราชธรรมข้อบริจาคคือเสียสละความสุขสบายส่วนตัว เพื่อประโยชน์สุขส่วนรวม



    ๔. อาชชวะ ความซื่อตรง


    [​IMG]

    …อาชชวะ ความซื่อตรงคือความซื่อสัตย์สุจริต บอกความจริงแก่ประชาชน ไม่ฉ้อฉลหลอกลวง ไม่ทุจริตคอรัปชั่น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงอธิบายความหมายของความซื่อสัตย์สุจริตใน พระบรมราโชวาทที่พระราชทานไว้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ว่า

    “มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้าน เมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการคือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่”

    ในหลวง พัฒนา ประชาชน… พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าผู้นำมีความซื่อสัตย์สุจริตก็จะพาให้ผู้ตามมีความซื่อสัตย์สุจริตไปด้วย ดังพระบาลีว่า “คุนฺนญฺเจ ตรมานานํ” เป็นต้น แปลความว่า “เมื่อ ฝูงโคว่ายข้ามน้ำ ถ้าโคจ่าฝูงไปตรง โคหมดทั้งฝูงนั้นก็ไปตรงตามกัน เพราะมีผู้นำที่ไปตรง ฉันใด ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น บุคคลผู้ได้รับสมมติให้เป็นใหญ่ หากบุคคลผู้นั้นประพฤติชอบธรรม หมู่ประชาชนนอกนั้นก็จะพลอยดำเนินตามทั้งแว่นแคว้นก็จะอยู่เป็นสุข หากผู้ปกครองตั้งอยู่ในธรรม”

    … พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติทศพิธราชธรรมข้ออาชชวะ เพราะทรงมีความซื่อสัตย์สุจริตด้วยพระองค์ด้วยและทรงสอนให้คนอื่นซื่อสัตย์สุจริตด้วย

    ดังกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการพัฒนาชนบท เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ที่ว่า

    “การพัฒนาชนบทเป็นงานสำคัญ เป็นงานยาก เป็นงานที่จะต้องทำให้ได้ด้วยความสามารถ ด้วยความเฉลียว ฉลาด คือต้องเฉลียวและฉลาด ต้องทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ มิใช่มุ่งที่จะหากินด้วยวิธีการใดๆใครอยากจะหากินขอให้ลาออกตำแหน่งไปทำการ ค้าดีกว่า เพราะถ้าทำผิดพลาดไปแล้ว บ้านเมืองจะล่มจม และเมื่อบ้านเมืองเราล่มจมแล้วเราอยู่ไม่ได้ ก็เท่ากับเสียหมดทุกอย่าง”


    ๕. มัททวะ ความอ่อนโยน

    [​IMG]

    …มัททวะ เป็นการปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความอ่อนโยนสุภาพเรียบร้อย ไม่เย่อหยิ่งหลงตัวเอง มัททวะเป็นความแข็งแรงแต่ไม่แข็งกระด้างและเป็นความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ


    ผู้นำมี ๒ ประเภทคือ (๑) ผู้นำที่นั่งอยู่บนหัวคน และ (๒) ผู้นำที่นั่งอยู่ในหัวใจคน

    ผู้นำที่นั่งอยู่บนหัวคนชอบใช้ความแข็งกระด้างกดขี่คนอื่น

    ผู้นำที่นั่งอยู่ในหัวใจคนชอบใช้ความอ่อนโยนผูกมัดใจคน ดังโคลงโลกนิติที่ว่า

    อ่อนหวานมานมิตรล้น เหลือหลาย

    หยาบบ่มีเกลอกราย เกลื่อนใกล้

    ดุจดวงศศิฉาย ดาวดาษ ประดับนา

    สุริยะส่องดาราไร้ เมื่อร้อนแรงแสง



    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำที่ประทับอยู่ในหัวใจคน ทรงเป็นศูนย์รวมใจของไทยทั้งชาติ เพราะทรงมีพระราชอัธยาศัยเปี่ยมล้นด้วยมัททวะคือความอ่อนโยน


    ดังที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลที่มาเข้าเฝ้าฯเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระ ชนมพรรษา วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๔ เกี่ยวกับการตามเสด็จในตอนต้นรัชกาล ซึ่งครั้งนั้นสมเด็จพระนางเจ้าฯ ยังทรงเยาว์พระชันษา ทรงยังไม่แน่พระทัยว่าจะวางพระองค์อย่างไร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างในเรื่องของ ความอ่อนโยน ดังนี้



    ในหลวง ยายแก่” เวลามีพระราชปฏิสันถารกับราษฎร ซึ่งเป็นชั่วโมงๆ ทีเดียว ทรงคุยกับราษฏรนี่ไม่โปรดทรงยืน ทรงถือขนบธรรมเนียมไทยที่จะไม่ยืนค้ำผู้เฒ่าผู้แก่จะประทับลงรับสั่งกับรา ษฏรเสมอมา แม้จะเป็นตอนเที่ยงแดดร้อนเปรี้ยงก็ตามซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นพระราชจริยวัตรนี้ มาตั้งแต่ตอนต้นรัชกาลแล้ว”



    …พวกเราคงเคย เห็นภาพหนึ่งจนชินตา เป็นภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงโน้มพระองค์ไปรับดอกบัวจากคุณยายคน หนึ่ง ดอกบัวก็เหี่ยว คนถวายก็แก่ นี่เป็นภาพประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงความอ่อนโยนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่จังหวัดนครพนมเมื่อวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๘ วันนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดพระธาตุพนมในช่วงเช้าแล้วเสด็จฯโดยรถยนต์พระที่นั่งกลับไปประทับแรม ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม ราษฎรที่รู้ข่าวก็พากันอุ้มลูกจูงหลานมารับเสด็จที่ริมถนนอย่างเนืองแน่น ลูกหลานครอบครัวจันทนิตย์ช่วยกันนำแม่เฒ่าตุ้ม จันทนิตย์ อายุ ๑๐๒ ปีไปรอรับเสด็จ ณ จุดรับเสด็จตั้งแต่เช้า ลูกหลานได้จัดหาดอกบัวสายสีชมพูให้แม่เฒ่าจำนวน ๓ ดอกและพาออกไปรอที่แถวหน้าสุดเพื่อให้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทที่สุด เปลวแดดร้อนแรงตั้งแต่เช้าจนบ่ายแผดเผาจนดอกบัวสายในมือเริ่มเหี่ยวโรย เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาถึงตรงหน้า แม่เฒ่าได้ยกดอกบัวสายที่เหี่ยวโรย ๓ ดอกนั้นขึ้นเหนือศีรษะแสดงความจงรักภักดีอย่างสุดซึ้ง ในหลวงทรงโน้มพระองค์อย่างต่ำที่สุดจนพระพักตร์แนบชิดกับศีรษะของแม่เฒ่า พระหัตถ์แตะมือกร้านของแม่เฒ่าอย่างอ่อนโยน


    …นี่คือภาพตัวอย่างของมัททวะคือความอ่อนโยนในพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาพนี้ชวนให้นึกถึงภาษิตอังกฤษที่ว่า

    “ผู้ดีที่สุดจะสุภาพที่สุด ผู้เข้มแข็งที่สุดจะอ่อนโยนที่สุด”



    ๖. ตบะ ความเพียรเผากิเลส

    …ตบะ คือความเพียรเผากิเลสตัณหา ไม่หลงระเริงไปกับคำสรรเสริญเยินยอและความสำเริงสำราญที่มาพร้อมกับอำนาจ วาสนาจนลืมปฏิบัติหน้าที่ให้บริบูรณ์ ผู้นำที่มีตบะจะสามารถควบคุมจิตใจให้พอใจกับความเรียบง่าย เขาเป็นคนที่ได้ดีแล้วไม่ลืมตัว เขาอยู่อย่างไม่ตามใจกิเลสตัณหา แม้จะมีเงินทองมากมาย เขาก็ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบำเพ็ญตบะจึงทรงพอพระทัยกับชีวิตที่เรียบง่ายตาม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงพระราชทานแก่ชาวไทย พระองค์เองทรงเป็นแบบอย่างของการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง


    ดังที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เล่าไว้ว่า

    “วันหนึ่งเสด็จฯ เขาค้อเปิดอนุสาวรีย์ พอเปิดอนุสาวรีย์เสร็จ พระองค์ท่านก็ขอกลับไปที่พระตำหนักเพื่อ จะทรงเปลี่ยนฉลองพระบาท เพราะเดี๋ยวจะไปดูงานในป่าในดง เราก็ไม่ได้ทานข้าว ไม่มีใครทานข้าว ตอนนั้นบ่ายสองโมงแล้ว ก่อนจะเปลี่ยนฉลองพระบาทสักยี่สิบนาที น่าจะพุ้ยข้าวกันทัน ก็รีบวิ่งไปที่ห้องอาหารที่เตรียมไว้ ปรากฏว่าพวกที่ไม่ได้ตามเสด็จฯ เขาทานกันหมดแล้ว ในนั้นจึงเหลือข้าวผัดติดก้นกระบะกับมีไข่ดาวทิ้งแห้งไว้อยู่ ๓-๔ ใบ เราก็ตัก เห็นมีข้าวอยู่จานหนึ่งวางไว้ มีข้าวผัดเหมือนอย่างเรา ไข่ดาวโปะใบหนึ่ง มีน้ำปลาถ้วยหนึ่งวางอยู่ เพื่อนผมก็จะไปหยิบมา มหาดเล็กบอกว่า

    “ไม่ได้ ๆ ของพระเจ้าอยู่หัว ท่านรับสั่งให้มาตัก”

    …ดูสิครับ ตักมาจากก้นกระบะเลย ผมนี่แทบน้ำตาไหลเลย ท่านเสวยเหมือนๆ กันกับเรา”


    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีหลักการอยู่ ๓ ประการ

    ๑. มัตตัญญูตา ความรู้จักพอประมาณ

    ๒. ความมีเหตุผลคือมัชฌิมาปฏิปทา รู้จักเดินทางสายกลาง

    ๓. มีภูมิคุ้มกัน ๒ อย่าง คือ


    (๑) มีปัญญารู้เท่าทันสามารถแก้ปัญหาได้ถูกจุด และ

    (๒) มีคุณธรรมโดยเฉพาะความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานชีวิต

    …การบำเพ็ญตบะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทำให้พระองค์ทรงดำรงชีวิตอย่างรู้จักพอประมาณ ซึ่งเป็นหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง หลักฐานประการหนึ่งในเรื่องนี้ก็คือหลอดยาสีพระทนต์หรือหลอดยาสีฟันของในหลวง ที่ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ทันตแพทย์ส่วนพระองค์กล่าวถึงในการให้สัมภาษณ์แก่หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๔๒ ดังนี้

    หลอดยาสีพระทนต์“ครั้งหนึ่งเคยกราบทูลท่านว่า ลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัยฟุ่มเฟือยมาก กระเป๋าถือต้องใช้ของนอกมีแบรนด์เนม บางคนไม่มีเงินซื้อก็ไปเช่าที่สยามสแควร์เดือนละพันสองพัน ไม่เหมือนสมเด็จพระเทพฯ ท่านสะพายอะไรก็ได้ วันก่อนเข้าไปในห้องสรงสมเด็จพระเทพฯ เห็นหลอดยาสีพระทนต์ สมเด็จพระเทพฯ ทรงรีดใช้จนเกลี้ยงหลอด


    [​IMG]

    พระองค์ท่านตรัสว่า ….

    “ของเราก็มี วันก่อนนี้ยังใช้ไม่หมด มหาดเล็กมาทำความสะอาด ห้องสรง คิดว่าหมดแล้วมาเอาไปแล้วเปลี่ยนหลอดใหม่มาให้ เราบอกให้ไปตามกลับมา เรายังใช้ต่อได้อีก ๕ วัน”


    … หลังจากนั้นท่านผู้หญิงเพ็ชราได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานหลอดยาสีพระทนต์ หลอดนั้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มหาดเล็กนำมาพระราช ทานให้ท่านถึงบ้าน เมื่อได้เห็นหลอดยาสีพระทนต์ ท่านก็ต้องรู้สึกแปลกใจที่หลอดยาสีพระทนต์นั้นแบนราบเรียบตลอดคล้าย แผ่นกระดาษ โดยเฉพาะบริเวณคอหลอดนั้นปรากฏรอยบุ๋มลงไปจนถึงเกลียวคอหลอด

    … เมื่อได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯอีกครั้งในเวลาต่อมา ท่านผู้หญิงเพ็ชราจึงได้รับพระราชทานพระบรมราชาธิบายว่า หลอดยาสีพระทนต์ที่แบนราบเรียบและมีรอยบุ๋มนั้น เพราะทรงใช้แปรงสีพระทนต์รีดและกดที่คอหลอด พระมหากษัตริย์ผู้ทรงบำเพ็ญทศพิธราชธรรมข้อตบะเท่านั้นจึงจะสามารถใช้หลอดยา สีพระทนต์ได้คุ้มค่าขนาดนั้น


    ๗. อักโกธะ ความไม่โกรธ


    [​IMG]

    …อักโกธะ แปลว่าความไม่โกรธ ความหมายโดยตรงก็คือความเมตตาต่อคนทั่วไป ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของความโกรธ ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่ มีความสุขที่ได้พบปะประชาชนทั่วไปอย่างใกล้ชิด

    ในหลวง พระราชินีพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงมีเมตตาคือความรักต่อพสกนิกร พระองค์ทรงมีความสำราญพระราชหฤทัยทัยที่ได้ทรงพบปะกับราษฎรของพระองค์

    หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวว่า

    “เท่าที่ผมทราบมา ไม่มีอะไรที่จะทำให้ทั้งสองพระองค์สำราญพระราชหฤทัยเกินไปกว่า การที่ได้ทรงพบ ประชาราษฎรของพระองค์ แม้จะใกล้หรือไกลก็ตามที ตามที่เคยมีคำพังเพยแต่ก่อนว่า รัชกาลที่ ๑ โปรดทหาร รัชกาลที่ ๒ โปรดกวีและศิลปิน รัชกาลที่ ๓ โปรดช่างก่อสร้าง(วัด) ผมกล้าต่อให้ได้ว่า รัชกาลที่ ๙ โปรดราษฎร และคนที่เข้าเฝ้าฯได้ใกล้ชิดที่สุดคือราษฎรมิใช่ใครอื่นที่ไหนเลย”


    … พระเมตตาคุณที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์จัดเป็น อัปปมัญญา คือไม่จำกัดขอบเขต ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ ไม่ถือเขาถือเรา ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง ดังนั้น คนไทยทั้งแผ่นดินไม่ว่าจะเป็นชาวเขาชาวเรา ชาวพุทธชาวมุสลิมต่างก็รักในหลวง วาเด็ง ปูเต๊ะ พระสหายแห่งสายบุรี เป็นสักขีพยานที่ดีในเรื่องพระเมตตาคุณไม่จำกัดขอบเขตนี้

    ในหลวง วาเด็ง…วาเด็ง ปูเต๊ะ ผู้เฒ่าวัย ๙๒ ปี แห่งอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เล่าว่า เมื่อ ๑๕ ปีที่แล้ว ทหารกลุ่มหนึ่งมาตามที่บ้านบอกให้เขาไปพบในหลวง ขณะนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอดพระเนตรความเป็นไปได้ในการสร้างอาคาร กั้นน้ำที่คลองน้ำจืดบ้านทุ่งเค็จ อำเภอสายบุรี วาเด็ง ปูเต๊ะจึงได้เฝ้าในหลวงเป็นครั้งแรก เขาเล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้น ดังนี้

    “ตอน นั้นผมทราบแล้วว่า เป็นในหลวง แต่จะเข้าไปใกล้ๆ ก็ไม่กล้า เพราะว่า นุ่งโสร่งตัวเดียว ไม่ได้สวมเสื้อ พอเข้าไปใกล้ๆ ในหลวงก็บอกว่า จะมาขุดคลองชลประทานให้ พอได้ยินอย่างนั้น ผมก็ดีใจมาก คุยกันเยอะ ท่านถามว่า ถ้าขุดคลองสายทุ่งเค็จนี้จะไปสิ้นสุดลงที่ตรงไหน ผมบอกท่านว่า คลองเส้นนี้มีที่ดินติดเขตตำบลแป้น ทางเหนือขึ้นไปสุดที อำเภอศรีสาคร ในหลวงถามต่อว่า ถ้าไปออกทะเลจะมีกี่เกาะ ผมก็ตอบท่านไปว่า มี ๔ เกาะ ท่านก็ชมว่าเก่งสามารถจำทุกที่ที่ผ่านไปได้ แล้วท่านก็เปิดดูแผนที่ที่นำมาด้วย แล้วบอกว่า ผมรู้จริง ไม่โกหก ทุกสิ่งที่ผมบอกมีอยู่ในแผนที่ของพระองค์แล้ว …ในหลวงคุยกับผมเป็นภาษามลายู ท่านพูดมลายูสำเนียงไทรบุรี คุยกันก็เข้าใจเลย พอเจอกันบ่อยๆ คุยกัน มีความเห็นตรงกัน ท่านก็เลยรับผมเป็นพระสหาย ผมบอกว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่บอกท่านไปทั้งหมดเป็นความจริง พูดโกหกไม่ได้จะเป็นบาป ”


    …ยิ่งไปกว่านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังสอนให้พสกนิกรของพระองค์รู้ รัก สามัคคีมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พระองค์ทรงสอนให้คนไทยมีคุณธรรมซึ่งเป็นที่ตั้งของความรัก ความสามัคคี ๔ ประการ ดังนี้

    “ประการแรก คือ การที่ทุกคนคิด พูด ทำ ด้วยความเมตตา มุ่งดี มุ่งเจริญต่อกัน

    ประการ ที่สอง คือ การที่แต่ละคนต่างช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ประสานงาน ประสานประโยชน์กัน ให้งานที่ทำสำเร็จผล ทั้งแก่ตน แก่ผู้อื่น และกับประเทศชาติ

    ประการที่สาม คือ การที่ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสุจริต ในกฎกติกา และในระเบียบแบบแผน โดยเท่าเทียมเสมอกัน

    ประการที่สี่ คือ การที่ต่างคนต่างพยายามทำความคิด ความเห็นของตนให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และมั่นคงอยู่ในเหตุในผล”

    …ถ้าพสกนิกรทุก หมู่เหล่าน้อมรับกระแสพระราชดำรัสนี้และปฏิบัติทศพิธราชธรรมข้ออักโกธะหรือ ความเมตตาตามรอยพระยุคลบาท ประเทศไทยก็จะมีความเจริญมั่นคงดำรงอยู่ต่อไปได้อีกนานแสนนาน


    ๘. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน

    [​IMG]

    …อวิหิงสา แปลว่าความไม่เบียดเบียน หมายถึงความกรุณาต่อคนทั่วไป ไม่หาเรื่องกดขี่ข่มเหงหรือลงอาญาแผ่นดินโดยปราศจากเหตุอันควร สงสารหวั่นใจเมื่อเห็นความทุกข์ของประชาชนและหาหนทางที่จะดับทุกข์เข็ญของ พวกเขา

    …พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณคือมีความ สงสารเห็นใจต่อพสกนิกรของพระองค์จึงทรงมีโครงการพระราชดำริต่างๆ เพื่อช่วยเหลือราษฎร ไม่ใช่เฉพาะชาวชนบทในที่ทุรกันดารเท่านั้นที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ แม้แต่ชาวกรุงเทพมหานครก็ได้รับพระบารมีปกแผ่ด้วยเช่นกัน

    ดังที่กรณีน้ำท่วมใหญ่ในกรุงเทพมหานครเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริโครงการแก้มลิงเพื่อ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

    …โครงการแก้มลิงมีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมากๆ พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า

    ” ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง”

    …โครงการนี้มีการวางแผนใช้พื้นที่แก้มลิงรวบรวมน้ำ รับน้ำ และดึงน้ำที่ท่วมขังพื้นที่กรุงเทพมหานครตอนบนมาเก็บไว้ พร้อมกับระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยตามจังหวะการขึ้น – ลงของระดับน้ำทะเล โดยอาศัยแรงโน้มถ่วงของโลกและการสูบน้ำที่เหมาะสมสอดคล้องกับโครงการแก้มลิง

    ในหลวง พฤษภา…เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองไทยจนลุกลามนองเลือดกลายเป็น พฤษภาทมิฬในปี ๒๕๓๕ ประชาชนผู้เดือดร้อนต่างหวังพึ่งพระบารมีเพื่อสลายความขัดแย้งในครั้งนั้น ภาพที่ในหลวงทรงห้ามคู่กรณีไม่ให้ทะเลาะกันยังประทับอยู่ในความทรงจำของคน ไทยทุกคน กระแสพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานในเหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเรื่องที่คนไทยทุก คนต้องจดจำตลอดไป โดยเฉพาะตอนที่ว่า

    “ช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน แก้ปัญหา เพราะว่าอันตรายมีอยู่ เวลาคนเราเกิดความ บ้าเลือดปฏิบัติการรุนแรงต่อกันแล้วมันลืมตัว ลงท้ายไม่รู้ตีกันเพราะอะไร แล้วจะแก้ไขปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทางชนะ อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้คือต่างคนต่างแพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ ไม่ใช่ประชาชนเฉพาะในกรุงเทพมหานคร สมมติว่ากรุงเทพมหานครเสียหาย ประเทศก็เสียหายไปทั้งหมด แล้วจะมีประโยชน์อะไรที่จะทะนงตัวเองว่าชนะเวลายืนอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง”

    …กระแสพระราชดำรัสนี้เป็นเหมือนวาจาสิทธิ์ ที่ยุติความขัดแย้งในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬได้ชะงัดเพราะทรงเปล่งมาจากพระราช หฤทัยที่เต็มเปี่ยมด้วยทศพิธราชธรรมข้ออวิหิงสาคือพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมี ต่อพสกนิกรของพระองค์นั่นเอง


    ๙. ขันติ ความอดทน


    [​IMG]
    …ขันติ คือความอดทนต่ออนิฏฐารมณ์คือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาหรือไม่น่าพอใจ เมื่อต้องประสบสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาหรือไม่น่าพอใจก็สามารถควบคุมกิริยา อาการให้นิ่งสงบอยู่ได้ เป็นนายเหนือสถานการณ์ ไม่แสดงอาการหงุดหงิดทุรนทุรายหรือแสดงความไม่พอใจจนออกนอกหน้า

    …ผู้นำที่ดีต้องมีความอดทนสามารถควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีในทุกสถานการณ์ เขาใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว

    …ความอดทนแบ่งออกเป็น ๓ อย่างคือ

    (๑) ทนลำบาก หมายถึงทนต่อทุกขเวทนาทางกาย เช่น ความเจ็บปวด

    (๒) ทนตรากตรำ หมายถึงทนหนาว ทนร้อน หนักเอาเบาสู้

    (๓) ทนเจ็บใจ หมายถึง ทนต่อถ้อยคำยั่วยุเย้ยหยันหรือคำนินทาว่าร้าย

    ในหลวง บางจาก…ผู้นำต้องพร้อมที่จะเผชิญต่อสภาวะที่ไม่พึงปรารถนารอบด้านเหมือนกับช้างศึกที่เข้าสู่สนามรบแล้วต้องทนต่อลูกศรที่ยิงใส่มาจากสี่ทิศ

    … พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงงานหนักมากว่า ๖๐ ปี บางครั้งแม้จะทรงลำบากตรากตรำเพียงใดก็ไม่หยุดบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ ดังที่ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่องถูกยุงกัดไว้ว่า

    “ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่ เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแดง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี”

    ท่านพุทธทาสภิกขุอธิบายความหมายของความทนเจ็บใจไว้ว่า เป็นผู้ใหญ่ต้องทนต่อความโง่ของผู้น้อยได้

    … เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯไปพบปะราษฎรทั่วประเทศ บางครั้งก็ต้องทรงพบกับความเชยความเปิ่นของชาวบ้านที่ต้องทรงอดทนและรับได้ ดังเรื่องต่อไปนี้

    …ครั้งหนึ่งที่ภาคอีสาน เมื่อในหลวงเสด็จฯขึ้นไปทรงเยี่ยมบนบ้านของราษฎรผู้หนึ่งที่คณะผู้ตามเสด็จ ทั้งหลายออกแปลกใจในการกราบบังคมทูลที่คล่องแคล่วและใช้ราชาศัพท์ได้อย่าง น่าฉงน

    เมื่อในหลวงมีพระราชปฏิสันถารถึงการใช้ราชาศัพท์ได้ดีนี้ ราษฎรผู้นั้นกราบทูลว่า

    “ข้าพระพุทธเจ้าเป็นโต้โผลิเกเก่า บัดนี้มีอายุมากจึงเลิกรามาทำนาทำสวน พระพุทธเจ้าข้า”

    ในหลวงทรงพบนกในกรงที่เขาเลี้ยงไว้ที่ชานเรือน ก็ตรัสถามว่า เป็นนกอะไรและมีกี่ตัว….

    พ่อโต้โผลิเกเก่ากราบบังคมทูลว่า

    “มี ทั้งหมดสามตัว พระมเหสีมันบินหนีไป ทิ้งพระโอรสไว้สองตัว ตัวหนึ่งที่ยังเล็ก ตรัสอ้อแอ้อยู่เลย และทิ้งให้พระบิดาเลี้ยงดูแต่ผู้เดียว”

    … พสกนิกรชาวไทยจะรับรู้ผ่านสื่อโทรทัศน์จนชินตาถึงภาพที่พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวประทับนิ่งสงบนานนับชั่วโมงขณะทรงเป็นองค์ประธานในพระราชพิธีต่างๆ

    …ภาพแห่งความสงบนิ่งนี้สะท้อนถึงทศพิธราชธรรมข้อขันติคือความอดทนในพระราชหฤทัย


    ๑๐. อวิโรธนะ ความไม่คลาดจากธรรม

    …อวิโรธ นะหมายถึงการยึดมั่นในหลักการปกครอง หลักนิติธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ โดยไม่ประพฤติปฏิบัติให้ผิดเพี้ยนไปจากหลักการเหล่านั้น

    …ผู้ปกครอง จะมั่นคงอยู่ในหลักการเช่นนั้นได้ต้องมีปัญญารู้เท่าทันสถานการณ์และตัดสิน สั่งการโดยไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจอคติคือความลำเอียง ๔ ประการ ได้แก่

    (๑) ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะชอบ

    (๒) โทสาคติ ลำเอียงเพราะชัง

    (๓) โมหาคติ ลำเอียงเพราะหลง

    (๔) ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว

    • สรุปทศพิธราชธรรม

    …ทศพิธราชธรรมที่กล่าวมาทั้ง ๑๐ ประการเหล่านี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปก็คือไตรสิกขาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง

    …ทศพิธราชธรรมข้อต่อไปนี้คือ (๑)ทาน (๒) ศีล และ(๘) อวิหิงสา จัดเป็นศีล

    …ทศพิธราชธรรมข้อต่อไปนี้คือ (๓) บริจาค (๔) อาชชวะ (๕) มัททวะ (๖) ตบะ (๗) อักโกธะ และ (๙) ขันติ จัดเป็นสมาธิ

    …ทศพิธราชธรรมข้อ (๑๐) อวิโรธนะ จัดเป็นปัญญา

    … ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ประชาชนชาวไทยได้รับการถ่ายโอนพระราชอำนาจมาใช้บริหารและปกครองบ้านเมืองใน ระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ความผิดพลาดประการหนึ่งก็คือไม่มีการถ่ายโอนพระราชธรรม ๑๐ ประการมาให้ประชาชนได้ประยุกต์ใช้ในการบริหารและการปกครองบ้านเมือง

    … พระนักเทศน์นักเผยแผ่ทั้งหลายต้องช่วยกันรณรงค์เทศนาสั่งสอนให้พสกนิกรชาว ไทยทุกหมู่เหล่าได้นำทศพิธราชธรรมมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยดำเนินตาม รอยพระยุคลบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชผู้ทรงเป็น ธรรมิกราชคือผู้ทรงครองแผ่นดินโดยทศพิธราชธรรม

    ที่มา:สำนักข่าวเจ้าพระยา : ข่าว, ข่าวการเมือง, ข่าวเศรษฐกิจ, ข่าวสังคม, ข่าวความมั่นคง ข่าวต่างปร�

    [​IMG]

    ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

    ชาวไทยทั่วสารทิศ โปรดน้อมจิตอธิษฐาน

    ถวายองค์พระภูมิบาล มหาราชภูมิพล

    ทรงพระเกษมสำราญ ชนมานร้อยยี่สิบล้น

    โพธิ์ทองผ่องโสภณ ปกเกล้าชาวไทย เทอญ.


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ธันวาคม 2013
  18. softkid9

    softkid9 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    926
    ค่าพลัง:
    +6,399
    ผมโอนเงินวันนี้ 6 ธันวาคม 2556 เวลา 10.00 เป็นจำนวนเงิน 50 บาท ร่วมสร้างบันไดขึ้นนมัสการ รอยพระพุทธบาทบนยอดเขา ณ. วัดลำจังหัน(วัดป่ารัตนเจดีย์) จ.เพชรบูรณ์ ถวายเป็นพุทธบูชา ด้วยอานิสงฆ์นี้ขอให้ข้าพเจ้าบรรลุนิพพานในเร็ววัน หากยังไม่บรรลุแล้วไซร้ คำว่าไม่มีและไม่รู้จงอย่าได้ปรากฏแก่ข้าพเจ้าตราบเข้าสู่พระนิิพพาน ขอปู่พญายมและแม่พระธรณีโปรดเป็นพยานบุญในครั้งนี้ด้วย ขออำนาจคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลจักรวาล หลวงปู่ปานวัดบางนมโค หลวงพ่อฤาษีลิงดำเป็นที่สุด และท่านผู้มีพระคุณทุกท่าน โปรดดลบันดาลส่งบุญของข้าพเจ้าในครั้งนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวรของข้าพเจ้าทุกผู้ทุกตัวตน ท่านปู่ท่านย่าพระอินทร์ พรหมเทวดา16ชั้นฟ้า เทวดาที่คุ้มครองตัวข้าพเจ้า ปู่พญายม ท้าวจาตุมหาราชทั้งสี่ แม่พระธรณี แม่พระเพลิง แม่พระพาย แม่พระคงคา แม่พระโพสพ ขอให้ข้าพเจ้าสมหวังในสิ่งที่ปรารถนา ทั้งทางโลกและทางธรรม และถึงที่สุดแห่งเมืองแก้วพระนิพพานด้วยเทอญ สาธุๆ

    [​IMG]
     
  19. ลพ

    ลพ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2013
    โพสต์:
    402
    ค่าพลัง:
    +3,613
    ลพ ตัญญูนุรักษ์ ร่วมบุญเป็นเจ้าภาพสร้างบันไดขึ้นนมัสการรอยพระพุทธบาท ณ.วัดลำจังหัน จ.เพชรบูรณ์ ๒,๐๐๐ บาท โอนแล้ววันนี้ ๑๔.๑๗ น.ครับ ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  20. tanakorn_ss

    tanakorn_ss ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    1,792
    ค่าพลัง:
    +5,747
    สาธุ ขอให้ท่านมีความสุขความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรมนะครับ และให้บุญนี้จงเป็นเหตุปัจจัยให้ท่านสำเร็จตามที่ปราถนาไว้ทุกประการครับ สาธุ ศรัทธา ทานัง อนุโมทามิ
     

แชร์หน้านี้

Loading...