เรื่อง สาวกภูมิ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย arnonpattana, 21 พฤศจิกายน 2013.

  1. arnonpattana

    arnonpattana เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    116
    ค่าพลัง:
    +216
    หลายๆท่านคงได้เคยอ่านหัวข้อกระทู้เกี่ยวกับพุทธภูมิ ปัจเจกภูมิไปบ้างแล้ว มาในวันนี้ผมจะขอเสนอเรื้่องสาวกภูมิ

    ก่อนอื่นขอแบ่งประเภทของสาวกภูมิ

    1.ปกติสาวกภูมิ คือ ผู้ที่ปราถนาจะเป็นพระอริยบุคคลโดยไม่มีความเป็นเลิศด้านอะไรเลยเช่นพระปกติสาวก แบบพระอัสสชิ พระโชติกเศรษฐี เป็นต้น ซึ่งบุคคลเหล่านี้นั้นจะต้องบำเพ็ญบารมีด้วยเช่นกันจะมากน้อยหรือนานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับญาณและอินทรีย์

    2.อสีติมหาสาวกภูมิ คือ เป็นผู้มีความเป็นเลิศในด้านใดด้านหนึ่ง

    2.1 พระอสีตีมหาสาวก คือ พระอรหันต์ที่มีความเป็นเลิศด้านใดด้านหนึ่งเช่นพระอุบาลี เอตทัคคะทรงจำพระวินัย พระภัททิยะ เป็นเลิศด้านผู้เกิดมาในตระกูลสูง เป็นต้น ตรงนี้ต้องใช้เวลาบำเพ็ญบารมีทั้งหมด100000กัปด้วยกัน

    2.2 อสีติมหาสาวกฝ่ายฆราวาส คือ ฆราวาสที่ได้เอตทัคคะเช่น อนาถบิณฑิกเศรษฐี เอตทัคคะผู้เป็นทายก นางวิสาขา เอตทัคคะผู้เป็นทายิกาเป็นต้น

    2.3 พระอัครสาวก คือ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายเบื้องขวา อย่างพระสารีบุตร พระโมคัลลานะเป็นต้น พวกนี้บำเพ็ญบารมีทั้งหมด 1 อสงไขยกับแสนมหากัป

    ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นตัวอย่างของผู้ที่ปราถนาสาวกภูมิ

    สิ่งที่สาวกภูมิต้องทำ

    บารมี 10 ทัศ

    1.ทานบารมี คือการให้หรือการเสียสละ

    2.ศีลบารมี คือการรักษาศีลหรือการสำรวมกายวาจา

    3.เนกขัมมะบารมี คือการบวชหรือการสละกาม

    4.วิริยะบารมี คือความเพียร เพียรที่จะทำความดี

    5.ปัญญาบารมี คือปัญญาในการทำความดีหรือการทำความเห็นให้ถูกต้อง

    6.ขันติบารมี คือการอดทน อดกลั้นต่อสิ่งต่างๆที่มากระทบ

    7.สัจจะบารมี คือสื่อตรงหรือสื่อตรงต่อความดี

    8.อธิษฐานบารมี คือตั้งมั่นต่อการทำความดี

    9.เมตตาบารมี คือความรักใคร่หรือการปราถนาดี

    10.อุเบกขาบารมี คือการทำใจเป็นกลางระหว่างทุกข์กับสุข

    คุณสมบัติของผู้ที่จะปราถนาสาวกภูมิ

    1.มีจิตใจในการปราถนาสาวกภูมิ

    2.มีจิตใจปราถนาพระนิพพาน

    ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีของสาวกภูมิ

    พระภัททิยะ เอตทัคคะผู้เกิดมาในตระกูลสูง

    บุญญาธิการ

    แม้พระภัททิยเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในสมัยพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็น อุปนิสัยปัจจัยแห่งพระนิพพานในพุทธุปบาทกาลแห่งพระปทุมุตตรศาสดา ได้เกิดในตระกูลอันสมบูรณ์ ด้วยสมบัติ เจริญวัย ได้ภรรยาและบุตรธิดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นำเสด็จมาสู่เรือนของตน ได้ถวายภัตตาหารแล้วได้ถวายอาสนะที่ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดอันงดงาม ต่อมาได้ทำบุญ มีทาน ศีล และภาวนาเป็นประธาน ตลอดกาลยาวนาน จนได้บรรลุสาวกบารมีญาณ ในชาติสุดท้าย ฆราวาสวิสัยได้เป็นราชา ออกบรรพชาได้สำเร็จพระอรหันต์

    พระลกุณฏกภัททิยะ

    บุญญาธิการ

    แม้พระลกุณฏกภัททิยะเถระนี้ก็ได้บำเพ็ญบารมีที่เป็นอุปนิสัยแห่งมรรคผลนิพพานมาช้านาน ในพุทธุปบาทกาลแห่งพระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งในตำแหน่งผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีเสียงไพเราะ จึงเกิดกุศลฉันทะว่า ไฉนหนอ ในอนาคตกาลเราพึงเป็นผู้มีเสียงไพเราะเหมือนภิกษุรูปนี้บ้าง ในศาสนาของพระพุทธเจ้าสักองค์หนึ่ง แล้วได้ทำบุญต่าง ๆ มากมาย และได้เปล่งวาจาตั้งความปรารถนาอย่างนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์ว่าจะสำเร็จในศาสนาของพระศาสดาพระนามว่าโคดม จึงได้สร้างความดีตลอดมาแล้วได้สมปรารถนาตามประสงค์ ดังคำของพุทธองค์ทุกประการ

    นี้คือการตัวอย่างของการบำเพ็ญบารมีเป็นสาวกภูมิ

    สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการจะรอนานๆหรือขนรื้อสรรพสัตว์ทั้งหลายสาวกภูมิเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของท่าน

    ---------------------------------------

    ข้าพเจ้าขอทำบุญในครั้งนี้เพื่อทำตามเล่ยจื่อฟางเศรษฐีอันดับต้นๆของจีนที่เขาเคยสั่งสมบุญแบบนี้มาแล้วในกาลก่อนและขอทำเพื่อบำเพ็ญคหบดีธรรม 4 ประการและบำเพ็ญบารมี10ทัศ ขอให้ผลบุญในครั้งนี้ทำให้ข้าพเจ้าได้เป็นผู้โชคดี มีชื่อเสียงและมีฐานะแบบเล่ยจื่อฟางในอนาคตกาลเพื่อนำทรัพย์สินไปสร้างบุญกุศลและบารมี และนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ และขอให้บุญกุศลในครั้งนี้จงทำให้ข้าพเจ้านั้นได้เป็นพระอัครสาวิกาเบื้องซ้ายในอนาคตกาลด้วยเทอญสาธุ
     
  2. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    ยังมีเรื่อง การบรรลุมี ๔ สายด้วยกัน คือ สุขวิปัสสโก เตวิชโช ฉฬภิญโญ ปฏิสัมภิทัปปัตโต

    สุขวิปัสสโก : บรรลุแล้วไม่เห็นผี ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนรก มีแต่จิตสบาย กิเลสแห้งเหือดไป

    เตวิชโช : มีทิพย์จักขญาณ สามารถรู้สัตว์และคนที่ตายไปแล้ว ไปเกิดที่ไหน คนและสัตว์ที่มาเกิดนี้มาจากไหน แล้วมีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ สามารถระลึกชาติของตนเองได้

    ฉฬภิญโญ : ก็ทรอภิญญา หมายความีฤทธิ์ แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้ไม่จำกัด

    ปฏิสัมภิทัปปัตโต : มีความรู้พิเศษ ทรงพระไตรปิฎก รู้ภาษาสัตว์ต่าง ๆ ภาษาคนภาษาสัตว์ไม่ต้องเรียน รู้ แล้วก็รู้อธิบายขยายความให้กว้างก็ได้ หรือเนื้อความที่กว้างก็ย่อลงให้สั้นให้เข้าใจได้ดีก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2013
  3. ◎สุริunร์

    ◎สุริunร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มกราคม 2013
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,200
    แบบอย่าง

    พระสารีบุตร อัครสาวก เบื้องขวา (ปัญญา)
    พระโมคคัลลานะ อัครสาวก เบื้องซ้าย (ฤทธิ์)

    พระนางเขมาเถรี อัครสาวิกา เบื้องขวา (ปัญญา)
    พระนางอุบลวรรณาเถรี อัครสาวิกา เบื้องซ้าย (ฤทธิ์)

    อธิษฐานแล้ว ก็ต้องกระทำให้สำเร็จ ให้เป็นไปตามอุปนิสัยโดยธาตุ

    ถึงพร้อมโดยธรรมด้วย สัทธาสัมปทา สีลสัมปทา จาคสัมปทา ปัญญาสัมปทา

    http://palungjit.org/threads/สิ่งที่ทุกคนปรารถนาได้.280892/?langid=34
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2013
  4. อาศรม

    อาศรม Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กรกฎาคม 2013
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +31
    เหตุแห่งการบรรลุธรรมทั้ง ๔ อย่าง แต่ละอย่างปฏิบัติเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไรบ้างคะ ผลถึงต่างกัน
     
  5. InvisibleForce

    InvisibleForce เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    302
    ค่าพลัง:
    +659
    อุย .. คุณอาศรม ถามคำถามนี้มา จะให้ตอบงัยดี ^^

    ต่างกันที่เหตุมาแต่ในอดีตชาติครับ
    1) อย่างที่หลวงตามหาบัว ท่านเคยบอกว่า วาสนาแต่ละท่านไม่เหมือนกัน เพราะเคยบำเพ็ญมาไม่เหมือนกัน
    2) และชาติปัจจุบันนี้หายากมากครับที่จะได้ ปฏิสัมภิทาญาณ
    3) กรณีปฏิสัมภิทาญาณ ในชาดก ผมทราบของพระภิกษุณีท่านหนึ่ง มีบุพกรรมให้ได้ปฏิสัมภิทาญาณ เพราะชาติก่อน
    เคยถวายอาหารใส่บาตรพระปัจเจกพุทธเจ้า และบาตรท่านร้อนเนื่องจากอาหาร เธอจึงถอดกำไร
    ถวายให้ท่านเพิ่มเพื่อรองบาตรอีกชั้นครับ
    4) กรณีสุกขวิปัสสโก ในสมัยปัจจุบันสายหลวงปู่มั่น ลูกศิษย์ท่าน คือหลวงปู่พรหม ท่านใกล้บรรลุธรรมแล้ว
    หลวงปู่มั่นท่านมาแนะนำให้พิจารณาฌานสมาบัติให้ละเอียดลงไปอีก แต่ท่านบอกว่าท่านอยากพ้นแล้ว
    ท่านไม่มีความอยากได้อะไรเพิ่มแล้ว หลวงปู่มั่นจึงกล่าวชมท่านให้ลูกศิษย์ท่านอื่นดูเป็นตัวอย่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ธันวาคม 2013

แชร์หน้านี้

Loading...