รวมข่าวสารการปิดกิจการของบริษัทต่างๆเพื่อประเมิน....

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย greatmans, 16 สิงหาคม 2007.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ชี้ปี 51 คนไทยชักหน้าไม่ถึงหลัง แนะปรับค่าแรง 250 บ.ทั่วประเทศ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">2 ธันวาคม 2550 15:42 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr> <td align="left" height="12" valign="bottom">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td bgcolor="#cccccc"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="1" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" bgcolor="#ffffff" valign="top"> <table cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="160"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="4" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="center" valign="baseline">คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table>
    <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" height="1" valign="middle" width="165">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> </td> </tr> </tbody></table></td> </tr> </tbody></table></td> <td background="/images/linedot_vert3.gif" width="4">[​IMG]</td> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellspacing="7" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline"> นักวิชาการ เศรษฐศาสตร์ ม.จุฬาฯ ชี้ปี 2551 คนไทยชักหน้าไม่ถึงหลัง ชี้การปรับค่าแรงขั้นต่ำ 1-7 บาท ไม่เพียงพอต่อการครองชีพ เพราะราคาสินค้าขยับขึ้นไปรอล่วงหน้าแล้ว พร้อมแนะรัฐปรับโครงสร้างการกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 250 บาท เท่ากันทั่วประเทศ ขณะที่ประธานสหภาพแรงงาน จ.สมุทรสาคร เสนอรัฐออกประกาศบังคับนายจ้าง ให้จ่ายค่าจ้างลูกจ้างไร้ฝีมือตามประสบการณ์

    วันนี้(2 ธ.ค.) รองศาสตราจารย์(รศ.) แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2551 ระบุว่า การปรับขึ้นตั้งแต่ 1-7 บาท ยังไม่เพียงพอกับค่าครองชีพของลูกจ้าง และไม่ได้ทำให้ฐานะลูกจ้างดีขึ้น เพราะสินค้าอุปโภคบริโภคขึ้นราคาตัดหน้าการปรับค่าจ้าง ซึ่งจากการสำรวจพบว่า ลูกจ้างที่ทำงานในกรุงเทพฯ มีรายจ่ายต่อวันคิดเป็นร้อยละ 5 ขณะที่ค่าจ้างปรับขึ้น 3 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.6 เท่านั้น

    อย่างไรก็ตาม ภาครัฐต้องปรับระบบการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศวันละ 250 บาท เนื่องจากราคาสินค้าปรับสูงเท่ากันทุกพื้นที่อยู่แล้ว นอกจากนี้ ยังเสนอให้ควบคุมการโฆษณาที่ส่งเสริมให้ลูกจ้างเป็นหนี้สิน มั่นใจว่าหากปรับระบบดังกล่าวจะทำให้ลูกจ้างไม่ต้องดิ้นรนทำงานล่วงเวลา และส่งเสริมระบบครอบครัวให้เข้มแข็งขึ้น

    นางสาวนารายณ์ บุญสังข์ ประธานสหภาพแรงงาน-สิ่งทอสมุทรสาคร กล่าวว่า การปรับขึ้นค่าจ้างไม่เพียงพอแน่นอน รวมทั้งไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลไม่ปรับขึ้น 20 จังหวัด เนื่องจากค่าครองชีพเท่ากันทั่วประเทศ ทั้งนี้ เสนอให้รัฐบาลปรับค่าจ้างเท่ากัน 233 บาททั่วประเทศ พร้อมออกประกาศบังคับนายจ้างให้จ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้างไร้ฝีมือตามประสบการณ์การทำงาน

    นอกจากนี้ รัฐบาลควรเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการรวมกลุ่ม และฉบับที่ 98 ว่าด้วยการเจรจาต่อรอง ซึ่งจะส่งผลให้ลูกจ้างสามารถรวมตัวตั้งสหภาพและต่อรองเรื่องค่าจ้างได้
    </td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table></td></tr></tbody></table>
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    "บุช" เตรียมเปิดแผนตรึงดอกเบี้ยชั่วคราว แก้วิกฤตซับไพรม์ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">6 ธันวาคม 2550 11:32 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> วันนี้ ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุชของสหรัฐฯ จะเปิดเผยแผนการช่วยเหลือชาวสหรัฐฯ ที่เป็นเจ้าของบ้านให้รอดพ้นจากการถูกยึดทรัพย์ โดยแผนการนี้จะช่วยแก้ไขวิกฤตการณ์ในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นวิกฤตการณ์ที่อาจทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เข้าสู่ภาวะถดถอย และสร้างความปั่นป่วนในตลาดการเงินมาแล้วทั่วโลก
    ทั้งนี้ ทำเนียบขาวระบุว่า ประธานาธิบดีบุช จะกล่าวแถลงการณ์เกี่ยวกับตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ในวันนี้เวลา 13.40 น.ตามเวลาสหรัฐฯ หรือคืนนี้เวลา 01.40 น.ตามเวลาไทย โดยจะเปิดเผยถึงขั้นตอนในการช่วยเหลือเจ้าของบ้านให้รอดพ้นจากการถูกยึดบ้าน
    แหล่งข่าวกล่าวว่า ประธานาธิบดีบุช จะกล่าวถึงแผนการในการตรึงอัตราดอกเบี้ยเป็นการชั่วคราวสำหรับลูกหนี้กลุ่มที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพรม์) ซึ่งไม่มีเงินมากพอที่จะผ่อนบ้านของตัวเองต่อไป ถ้าหากปราศจากแผนการช่วยเหลือนี้แผนการดังกล่าวจะเสนอให้มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยเป็นเวลา 5 ปี สำหรับสัญญาเงินกู้ซับไพรม์ที่ทำไว้ในช่วงระหว่างปี 2005 จนถึงเดือนกรกฎาคม ปี 2007 ถ้าหากสัญญาดังกล่าวมีกำหนดปรับเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวในช่วง 2 ปีครึ่งข้างหน้า
     
  3. greatmans

    greatmans เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2004
    โพสต์:
    103
    ค่าพลัง:
    +1,131
    จับตา ! บินไทย "ไล่-ยุบ" สตาฟ ปี"50 ทุนหายกำไรหดโครงสร้างคนล้นงาน

    วิเคราะห์

    แรงจูงใจจากผลการดำเนินงานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประจำปี 2550 (1ตุลาคม 2549-30 กันยายน 2550) ที่จัดประชุมสามัญประจำผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 ธันวาคมนี้ รายงานประจำปี 2550 ระบุกำไรสุทธิลดลงถึง 2,650 ล้านบาท และ/หรือ อาจเป็นปัจจัยให้ฝ่ายบริหารใช้เป็นเหตุผล "ปรับโครงสร้างคน-งาน" อย่างฉับพลัน รุนแรง ในช่วงสุญญากาศทางการเมืองรอยต่อการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล

    เมื่อกำไรสุทธิลดสวนทางกับผลการดำเนินงานหลายส่วนเพิ่มขึ้น ทั้งจากการขายและการให้บริการ มี "รายได้" 13,434 ล้านบาท เพิ่ม 7.5% ปี 2550 ทำได้ 192,037 ล้านบาท ปี 2549 ทำได้ 178,607 ล้านบาท มี "กำไร" เพิ่ม 4,424 ล้านบาท ปี 2550 ทำได้ 17,788 ล้านบาท ปี 2549 ทำได้ 6,364 ล้านบาท

    การขนส่งด้าน "ผู้โดยสาร" ปริมาณการผลิตเพิ่ม 4,876 ล้านที่นั่ง/ก.ม. การขนส่งผู้โดยสารเพิ่ม 6,312 ล้านคน/ก.ม. สถิติตามลำดับดังนี้ ปี 2550 มีการผลิต 76,830 ล้านที่นั่ง/ก.ม. มีการขนส่ง 60,305 ล้านคน/ก.ม" ปี 2549 มีการผลิต 1,594 ล้านที่นั่ง/ก.ม. มีการขนส่ง 53,989 ล้านคน/ก.ม. การบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยเพิ่ม 3.1% โดยสารเพิ่ม 1 ล้านคน จาก 18.6 ล้านคน เป็น 19.6 ล้านคน

    การขนส่งด้าน "สินค้าทางอากาศ" ปริมาณการผลิตรวม เพิ่ม 1,046 ล้านตัน/ก.ม. ปี 2550 ทำได้ 11,315 ล้านตัน/ก.ม. ปี 2549 ทำได้ 10,269 ล้านตัน/ก.ม.ปริมาณการขนส่งเพิ่มเช่นกัน 909 ล้านตัน/ก.ม.จาก 7,001 เป็น 7,901 ล้านตัน/ก.ม.และอัตราการบรรทุกสินค้าเฉลี่ยเพิ่ม 1.7% จาก 68.2 เป็น 69.9%

    ขณะที่มี "สินทรัพย์รวม" เพิ่มขึ้น 23,052 ล้านบาท ปี 2550 มี 272,086 ล้านบาท ปี 2549 มี 249,034 ล้านบาท



    "หนี้สินรวม" เพิ่มขึ้นถึง 19,505 ล้านบาท จาก 183,353 เป็น 202,858 ล้านบาท มีหนี้สินไม่หมุนเวียนเพิ่ม 7,792 ล้านบาท จาก 105,524 เป็น 113,316 ล้านบาท และหนี้สินหมุนเวียนเพิ่มสูงถึง 11,714 ล้านบาท จาก 77,828 เป็น 89,542 ล้านบาท

    สำหรับ "ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน" เพิ่มสูงขึ้น 9,006 ล้านบาท ปี 2550 มี 197,248 ล้านบาท ปี 2549 มี 170,242 ล้านบาท ตามงบการเงินมีค่าใช้จ่ายเพิ่ม 6 ส่วน 1) ค่าใช้จ่ายบุคลากร 32,635 ล้านบาท เพิ่ม 6.2% 2) ค่าเช่าเครื่องบินและอะไหล่ 6,768 ล้านบาท เพิ่ม 24.5% 3) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบิน 41,557 ล้านบาท เพิ่ม 10.3% 4) ค่าเสื่อมราคา 17,751 ล้านบาท เพิ่ม 14.4% 5) ค่าใช้จ่ายด้านการตลาด 3,198 ล้านบาท เพิ่ม 2.6% 6) ค่าใช้จ่ายดำเนินงานอื่น 7,409 ล้านบาท เพิ่ม 22.6%

    เป็นที่น่าสังเกตการบินไทยลดค่าใช้จ่าย 4 ส่วน 1) ค่าน้ำมันการบิน 58,893 ล้านบาท ลดได้ 1.8% 2) ค่าสินค้าและพัสดุใช้ไป 9,997 ล้านบาท ลด 2.0% 3) ค่าใช้จ่ายด้านการประกันภัย 1,016 ล้านบาท ลด 33.0% 4) ค่าตอบแทนกรรมการ 25 ล้านบาท ลด 4.0%

    แต่ผลสุดท้ายแม้หลายส่วนจะสร้างรายได้และกำไรเพิ่มมหาศาลหากกำไรสุทธิก็ยังลดถึง 2,650 ล้านบาท

    หลายฝ่ายในการบินไทยตั้งข้อสังเกตว่า "ต้นทุนค่าใช้จ่าย" ที่มีผลทำให้ "กำไรสุทธิลดลง" มีค่าใช้จ่ายแฝงด้าน "การบริหารจัดการสัญญาเช่าที่พักโรงแรมลูกเรือและนักบินทั่วโลก" เนื่องจากที่ผ่านมาไม่มีผู้ใดเข้าไปตรวจสอบ และ/หรือแตะต้องได้ ที่จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ชี้แจงพนักงานทั้งหมดให้เข้าใจตรงกันได้



    อีกทั้งในงบดุลก็ไม่ได้ระบุชัดว่าจัดอยู่ 1 ใน 3 หมวดใด ไม่ว่าจะเป็น หมวดค่าใช้จ่ายบุคลากร 32,634 ล้านบาท หรือหมวดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการบิน 41,557 ล้านบาท และหมวดค่าใช้จ่ายการดำเนินการอื่นๆ 7,408 ล้านบาท ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สมดุลและสูงกว่าค่าใช้จ่ายด้านการตลาดซึ่งมีเพียง 3,198 ล้านบาท ที่นำไปใช้สร้างผลตอบแทนปี 2550 ถึง 1.92 แสนล้านบาท

    เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยุทธศาสตร์เชิงการบริหารที่จะนำมาผ่าทางตันผลการดำเนินงานใหม่ปี 2551 นอกจากจะทำตามแนวทางแผนวิสาหกิจ 2551-2554 เน้นหารายได้เพิ่มจากการ "ขึ้นค่าโดยสาร" เพื่อสร้างรายได้/หน่วย (yield) สูงขึ้นตามเป้าแล้ว จะติดตามผลหากขึ้นค่าตั๋วเครื่องบินแล้วจะมีผลกระทบรุนแรงกับอัตราบรรทุกเฉลี่ยรวม ไปพร้อมกัน

    ส่วนแนวทางหลักที่จะนำมาใช้ทันทีคือการ "ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายบุคลากร" ซึ่งในระยะ 4 ปีหลังนี้เพิ่มเฉลี่ยปีละ 18% สูงกว่าก่อนหน้านี้เพิ่มเพียง 13-15% เท่านั้น กลยุทธ์ที่จะทำตั้งแต่มกราคม 2551 จะเลิกจ้าง และ/หรือ ใช้มาตรฐานไล่พนักงานที่อยู่ระหว่างการถูกสอบสวนคดีต่างๆ ออกจากบริษัท เริ่มกลางเดือนมกราคม จะปิดคดีสอบวินัยผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อสินค้าขึ้นไปให้บริการบน เครื่องบินหมวด 10 รายการใหญ่ จัดซื้อผ้าห่ม และไวน์ มูลค่ารวมกันหลายร้อยล้านบาท มีผู้เกี่ยวข้อง 4-5 คน

    ดีดีการบินไทยกล่าวว่าก่อนหน้านี้ช่วงกลางปี 2550 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงและวินัยปิดคดีไล่พนักงานระดับบริหารบางส่วนที่กระทำผิดออกไปบางส่วน จากนี้ไปนอกจากการยุบแผนกทิ้งและไล่พนักงานออกแล้ว ยังเตรียมทำแผนรื้อโครงสร้างงานแยกภารกิจทุกแผนกและ ทุกฝ่ายควบคู่กัน

    เมื่อได้รายละเอียดความรับผิดชอบแต่ละแผนกแล้วจึงจะเข้าไปสำรวจการปฏิบัติงานจริง โดย "กัปตันมนตรี จำเลียง" ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล (DI) ได้นำร่องรื้อและแยกภารกิจงานทุกแผนกมากว่า 2 เดือน ตั้งแต่พฤศจิกายน 2550 คาดว่าจะสรุปได้เร็วๆ นี้

    จากนั้นฝ่ายบริหารจะมาร่วมกันพิจารณาว่ากำลังคนปัจจุบันต่อ 1 งานใช้ได้จริงหรือไม่ และ/หรือ หากใช้ไม่ได้ก็จะยกเครื่องครั้งใหญ่ หลังจากที่ยุบระดับรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (executive vice president : EVP) ทิ้งไปหลายฝ่ายเรียบร้อยแล้ว

    ครอบคลุมงานหลายส่วนที่ถูกยุบทิ้งมีพนักงานในสังกัดรวมกันเกิน 500 คน เช่น ฝ่ายบริหารทั่วไป (DA) ฝ่ายรักษามาตรฐาน และบริหารความเสี่ยง (DJ) ฝ่ายวางแผนและ งานบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (DY) ฝ่ายสื่อสารวิสาหกิจและประชาสัมพันธ์ (D4) ล่าสุดฝ่ายธุรกิจปิโตรเลียมการเชื้อเพลิงและประกันภัย (D3)

    แรงกระเพื่อมหลัง "กำไรสุทธิ" ปี 2550 วูบลงถึง 2,650 ล้านบาท จะนำไปสู่ความโกลาหลการยุบทิ้ง ไล่ออก เลิกจ้าง สตาฟการบินไทย กลุ่มใหญ่ในจำนวน 25,000 คน ที่เคยกอดคอ ร่วมผลิตผลงานกันมากว่า 20 ปี

    จับตาดีดียุค "เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี" จะขุดรากถอนโคนล้างไพ่คนกับงานภายในการบินไทยครั้งมโหฬาร

    หน้า 24

    http://matichon.co.th/prachachat/pr...g=02tou01271250&day=2007-12-27&sectionid=0208
     
  4. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    <table class="small" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"><tbody><tr align="center" valign="top"><td bgcolor="#fedaba">ราคาทองคำ</td> <td bgcolor="#fedaba">รับซื้อ</td> <td bgcolor="#fedaba">ขายออก</td> </tr> <tr align="center" bgcolor="#ffe2b7" valign="top"> <td>ทองคำแท่ง</td> <td> 13,100 บาท </td> <td> 13,200 บาท </td> </tr> <tr align="center" bgcolor="#ffede1" valign="top"> <td>ทองรูปพรรณ</td> <td> 12,916.32 บาท </td> <td> 13,600 บาท</td></tr></tbody></table>
     
  5. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    ซับไพร์มพ่นพิษ หยุดเศรษฐกิจโลก

    วิกฤติซับไพร์ม (Sub-Prime) เป็นหัวข้อที่มีการกล่าวถึงอย่างมากเมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งมีนักวิเคราะห์ชื่อดังหลายท่านคาดว่าวิกฤติซับไพร์มจะลามไปทั้งโลก หลายท่านอาจจะสงสัยว่าซับไพร์มเป็นใคร แน่มาจากไหน ทำไมถึงทำโลกปั่นป่วนได้เพียงนี้
    ผู้เขียน: ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์

    ซับไพร์ม (Sub-Prime) คืออะไร

    ตั้งแต่ประมาณช่วงสามสี่เดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยร่วงกราวรูด เพราะได้รับผลกระทบจากวิกฤติซับไพร์มในสหรัฐอเมริกา แถมมีข่าวว่าสถาบันการเงินของไทยหลายแห่งไปลงทุนในตราสารหนี้ที่เกี่ยวข้องกับซับไพร์ม และเมื่อต้นปีที่ผ่านมาก็มีเสียงเตือนดังๆ จากหลายฝ่ายทั่วโลกว่าศรษฐกิจโลกปีนี้คางเหลืองแน่นอน เพราะเจ้าซับไพร์มทำพิษ จนทำให้หลายท่านสงสัยว่าซับไพร์มเป็นใคร ทำไมถึงทำทุกคนปวดหัวได้ขนาดนี้<o>:p></o>:p>




    <o>:p> </o>:p>




    ซับไพร์ม มาจากภาษาอังกฤษคำว่า Sub-Prime แปลว่าคุณภาพเป็นรอง หรือด้อย เรามักจะเอาคำนี้ไปขยายความโดยการต่อข้างหน้าในคำต่างๆ เช่น สินเชื่อที่คุณภาพรอง ก็เรียกว่า Sub-Prime Loan หากเป็นสินเชื่อคุณภาพรองที่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน ก็เรียกว่า Sub-Prime Mortgage ทีนี้เราจะมาค่อยๆ ย่อยปัญหาเล็ก เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ปัญหาใหญ่กันนะครับ



    <o>:p>[​IMG] </o>:p>




    ชีวิตมนุษย์ต้องการมีบ้านซึ่งเป็นปัจจัยที่ 1 เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งโดยปกติจะไปขอกู้เงินจากสถาบันการเงินเพื่อมาซื้อบ้านกัน เนื่องจากบ้านมีราคาสูงเมื่อเทียบกับรายได้ อย่างไรก็ตามในชีวิตจริงมีผู้ขอกู้จำนวนมาก ที่ไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารเพื่อนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ แม้ว่าจะมีหลักประกันเป็นบ้านหรือที่ดิน (ซึ่งธรรมชาติของธนาคารก็คือโรงจำนำขนาดใหญ่ ไม่มีอะไรมาตึ๊งก็ไม่รับ) เนื่องจากธนาคารวิเคราะห์แล้วว่ารายได้เมื่อหักค่าใช้จ่ายของผู้ขอกู้ในแต่ละเดือนไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายหนี้ได้







    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  6. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    ทางออกของหัวอกคนอยากได้บ้าน

    ทีนี้ผู้ขอกู้จะทำอย่างไรดี บ้านก็อยากได้ อสังหาริมทรัพย์ก็อยากลงทุน สถาบันการเงินดังๆ ทั้งหลายในสหรัฐอเมริกาที่มีบริษัทลูกที่คอยหาช่องว่างกฎเกณฑ์แบบศรีธนนชัย เลยสบช่องโอกาสนี้ จึงมีนวัตกรรมแบบวิศวกรรมการเงิน หรือ Financial Engineering ประดิษฐ์ตราสารหนี้แบบใหม่ขึ้นมา (ตราสารหนี้ก็เหมือนใบสัญญาเงินกู้ที่สัญญาว่าจะให้ผลตอบแทนเท่านั้นเท่านี้ต่อปี) ที่ออกมารองรับช่องว่างตลาดนี้ โดยการเป็นคนกลางขายตราสารหนี้นี้ให้กับคนที่มีเงินเหลือใช้ หรือสถาบันการเงิน หรือคนที่ต้องการผลตอบแทนสูงๆ (หรือโลภนั่นเอง) โดยให้ผลตอบแทนที่สูงมาก เพื่อจูงใจให้คนมาซื้อตราสารหนี้ (Risk Premium) และนำเงินที่ขายได้นี้ไปปล่อยกู้ให้กับผู้กู้ที่ต้องการเงินไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่สูง แล้วสถาบันการเงินเหล่านี้ก็กินส่วนต่างของอัตราดอกเบี้ย คำถามคือทำไมสถาบันการเงินในสหรัฐอเมริกาถึงกล้าทำเช่นนี้ ไม่กลัวความเสี่ยงหรือ ทั้งที่วิเคราะห์แล้วว่าลูกหนี้เหล่านี้ไม่น่าจะมีปัญญาเอาเงินมาใช้หนี้ได้ คำตอบก็คือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาได้พู่งปรี๊ด อันเนื่องมาจากการเก็งกำไร (เหตุผลหลัก) และการขยายตัวของครอบครัวเดี่ยว (ซึ่งต้องมีบ้านเป็นของตัวเอง) ซึ่งเป็นคำตอบว่ายังไงก็ตามราคาอสังหาริมทรัพย์ (ที่เอามาตึ๊งไว้เป็นหลักประกัน) ที่พุ่งปรี๊ดนี้จะมาชดเชยความเสี่ยงได้อย่างสบาย เพราะราคายังไงก็มากกว่าวงเงินกู้อยู่แล้ว และชะล่าใจว่ายังไงคนเราคงไม่ทิ้งบ้าน ไม่มีเงินก็ต้องกัดฟันผ่อนไป



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  7. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    ยังไม่จบเรื่องนวัตกรรมการเงินแบบ Financial Engineering นะครับ หลังจากที่ออกตราสารหนี้ประเภทซับไพร์มนี้แล้ว กลับมีสถาบันการเงินดังๆ ทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกา และต่างประเทศต่างไปลงทุนซื้อตราสารที่มีหนี้เกรดสองเหล่านี้เป็นหลักประกันกันจำนวนมากมาย ตราสารเหล่านี้เรียกว่า ซีดีโอ หรือ Collateralized Debt Obligation (CDO) ทำให้บริษัทหรือสถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ หนี้เกรดสองเหล่านี้ ออกตราสารมาขายโดยมีหนี้ซับไพร์มเป็นหลักประกัน (ในวงเงินไม่เต็มหลักประกัน) ที่มีดอกเบี้ยสูงขึ้นไปอีก เพื่อให้มีเงินไปปล่อยกู้เพิ่มอีก และทำแบบนี้เป็นวงจรไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นซับไพร์มของซับไพร์มไปเป็นทอดๆ ซึ่งทำให้ซับไพร์มออกดอกออกผลแตกลูกหลานเหลนโหลนอย่างรวดเร็ว <o:p></o:p>


    <o:p> [​IMG]</o:p>


    ทุกอย่างดูเหมือนจะดีไปกับทุกฝ่าย แต่ปัญหาคือ ในช่วง 4-5 ปีมานี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว สถาบันการเงินเหล่านี้ก็แข่งกันทำตลาดด้วยการเชิญชวนผู้ขอกู้ทั้งหลาย ทั้งผู้กู้เดิม และผู้กู้รายใหม่มาใช้บริการกับตนเอง ด้วยการเสนอวงเงินกู้ที่สูงขึ้นตามราคาประเมินของบ้านที่เพิ่มขึ้น เช่น เดิมกู้ในวงเงิน 2 ล้านบาท เพื่อซื้อบ้านราคา 2.5 ล้านบาท อาจจะผ่อนไปบางส่วนจนเงินต้นเหลือ 1.8 ล้านบาท วันดีคืนดี ผู้ให้กู้ใจดีเหล่านี้ก็มาเสนอวงเงินกู้ให้ 3 ล้านบาท ตามราคาประเมินใหม่ ผู้กู้ก็ไม่รังเกียจอยู่แล้วครับ เพราะได้เงินเพิ่มมาอีกตั้ง 1.2 ล้านบาท ก็ไป Refinance (ไปกู้รายใหม่มาโปะรายเดิม) มีเงินเหลืออีก หลังจากหักค่าปรับที่คืนเงินกู้ก่อนเวลา อย่างไรก็ตามชาวอเมริกันทั้งหลาย ซึ่งเคยชินกับการใช้เงินอนาคต ก็นำเงินสินเชื่ออีก 1.2 ล้านบาทที่ได้เพิ่มนั้นมาใช้จ่าย ซื้อสินค้าในชีวิตประจำวันอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ทีวีจอแบนเครื่องใหม่ เครื่องเสียงสุดหรู รถยนต์คันใหม่ เพราะอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์<o:p></o:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  8. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    อย่างไรก็ตามการเก็งกำไร ก็คือการเก็งกำไรครับ ย่อมมีผู้ได้กำไร และแมลงเม่า (ซึ่งปกติจะเป็นผู้ลงทุนรายย่อย เพราะสายป่านไม่ยาว) ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสหรัฐอเมริกาได้มาถึงจุดอิ่มตัวเมื่อปลายปี 2549 – 2550 และราคาต้องร่วงตามวัฏจักร (โลกนี้ไม่มีอะไรยั่งยืน) บวกกับเศรษฐกิจอเมริกาที่มีไขมันจับเป็นช้างเดินได้ เนื่องจากคนอเมริกันเป็นชนชาติที่ฟุ่มเฟือย บริโภคอะไรทิ้งๆ ขว้างๆ เปิดไฟทิ้งไว้ไม่เคยปิด หรือบริโภคเกินตัวด้วยการเอาเงินอนาคตมาใช้อยู่ประจำ ด้วยการซื้อของที่ผลิตในต่างประเทศ (เนื่องจากราคาถูกกว่า) เช่น จากประเทศจีน และประเทศต่างๆ ในเอเชีย รวมไปถึงการนำเงินงบประมาณไปทำสงคราม จนดุลการค้า และดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศติดลบอ่วมอรทัย ซึ่งแก้ปัญหาไม่ยากด้วยการขายพันธบัตรรัฐบาลให้กับประเทศคู่ค้าของอเมริกาต่างๆ เช่น จีน หรือญี่ปุ่น (ซึ่งปัจจุบันถือพันธบัตรรัฐบาลอเมริกันซะเต็มสองมือ และสองเท้า) ประเทศเหล่านี้ก็ซื้อ เพราะไม่งั้นแล้วหากเศรษฐกิจอเมริกาล่ม จะพาลแย่ไปทั้งหมด เนื่องจากจะขายของไม่ได้ เพราะพี่ Big Spender ไม่มีเงิน ซึ่งเราทุกคนต้องมาหาทางช่วยช้างลดความอ้วนกันดีกว่า <o:p></o:p>


    <o:p> [​IMG]</o:p>


    แต่กาลกลับสายไปแล้วครับ จากเหตุผลข้างต้นที่เศรษฐกิจอเมริกันถึงคราวชอกช้ำ เงินในระบบเริ่มชอร์ต เนื่องมาจากเอาเงินในอนาคตมาใช้หมดแล้ว (ด้วยอิทธิฤทธิ์บัตรเครดิต และเงินกู้) คนเริ่มไม่มีเงินผ่อนบ้านและที่ดินกัน แถมราคาที่ดินก็ร่วงอีก ทำให้สถาบันการเงินเริ่มรู้แล้วว่าวงเงินปล่อยกู้มันได้สูงกว่าราคาประเมินแล้ว (แปลง่ายๆ ว่าความเสี่ยงสูงกว่าผลตอบแทน) โดนไปสองเด้งสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ปล่อยกู้มีหนี้เสียเพิ่มขึ้นแบบแทบไม่ทันกระพริบตา ก็ต้องตั้งสำรองเงินไว้ (ตามกฎที่ต้องปกป้องส่วนของเงินฝากไว้) และเข้มงวดกับการปล่อยกู้มากขึ้น (แบบวัวหายล้อมคอก) ทำให้เงินในระบบฝืดลงไปอีก จนคาดว่าจะกลายเป็นปัญหาเศรษฐกิจอเมริกาล่มสลาย เพราะว่าหมดตัวจริงๆ แถมหนี้ท่วมหัวครับ ที่แย่อีกประการก็คือสถาบันการเงิน หรือคนซื้อตราสารหนี้ประเภทซับไพร์มทั้งแบบปู่ และแบบแตกลูกหลาน อยู่ในภาวะมืดมน มูลค่าตราสารหนี้หดลงแบบลงลิฟต์จากตึกเอ็มไพร์เสตท เพราะว่ามันกำลังจะกลายเป็นเศษกระดาษในอีกไม่ช้า ทำให้ต้องกันสำรองส่วนนี้เพิ่มนอกจากขาดทุนแบบปกติแล้ว เนื่องจากเป็นการขาดทุนแบบไม่ปกติ (โลภอีกแล้วครับท่าน)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  9. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    คราวนี้มาดูกันว่าวิกฤติซับไพร์มรอบนี้พ่นพิษกับเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจไทยอย่างไร อย่างแรกที่ใกล้ตัวเราและเห็นกันจะๆ ก็คือค่าเงินบาท ตอนนี้ค่าเงินบาทแข็งโป๊กเป็นหินในรอบ 10 ปี หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ประมาณ 33 บาทกว่าๆ และคาดว่าจะแข็งไปถึง 32 บาท ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า คราวนี้ใครเดือดร้อนครับ ก็ผู้ผลิต และผู้ส่งออกที่ไม่ได้อาศัยต้นทุนการผลิตที่เป็นสินค้า หรือวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศ (เพราะว่าผู้ผลิตบางรายที่ใช้ต้นทุนวัตถุดิบจากต่างประเทศจะได้อานิสงจากค่าเงินบาทแข็ง คือซื้อของได้ถูกลง) แถมสหรัฐอเมริกาก็เป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของเราซะด้วย เมื่อราคาของแพงขึ้น (เมื่อเทียบเป็นเงินดอลล่าห์สหรัฐ) และคนอเมริกันมีกำลังการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง เราก็ลำบาก เพราะว่าขายของไม่ออก ก็ไม่มีเงินเข้าประเทศ ผู้ผลิตก็ไม่กล้าขยายกำลังการผลิต หรือลดกำลังการผลิตลงไปอีก (ยังไม่ได้พูดถึงปัญหาการเมืองที่คอยซ้ำเติมอีกนะครับ) ทีนี้การจ้างงานก็ลด คนก็ขาดความเชื่อมั่น กำลังการจับจ่ายใช้สอยก็หด เศรษฐกิจก็ถอยครับ ที่แย่ไปกว่านั้นก็คือสถาบันการเงินหบายแห่งในประเทศไทย แพลมออกมาว่า ข้าพเจ้าก็กำตราสารหนี้ประเภทซับไพร์ม ซีดีโอ ไว้หลายใบเหมือนกัน แบบนี้ก็แปลว่าสถาบันการเงินจะขาดทุน ต้องกันสำรอง และทำให้ปล่อยกู้ได้ไม่มากในภาวะที่ต้องกระตุ้นเศรษฐกิจแบบนี้<o:p></o:p>




    <o:p> [​IMG]</o:p>




    ปัญหาแบบเดียวกับไทยนี้ กำลังลามไปหลายประเทศที่เป็นคู่ค้า และเจ้าหนี้ของสหรัฐอเมริกา เช่น จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ อาจจะต่างกันที่ปัญหาค่าเงิน เพราะว่าบางประเทศเช่น จีน ผูกค่าเงินหยวนกับเงินดอลล่าห์สหรัฐ ทีนี้ถ้าเป็นดังที่คาดการณ์ไว้ แปลว่าทุกประเทศต้องชะลอกำลังการผลิต เพราะว่าพี่ใหญ่ใจดี ไม่มีเงินแล้ว ก็จะกระทบกับเศรษฐกิจในประเทศ แบบวงจรข้างต้นครับ เว้นแต่ว่าประเทศนั้นจะมีฐานเศรษฐกิจภายในประเทศที่แข็งแกร่งก็จะได้รับผลกระทบน้อยกว่า ผลกระทบนี้อาจจะทำให้การค้าระหว่างประเทศชะลอตัว เศรษฐกิจโลกก็ชะงักครับ<o:p></o:p>




    <o:p></o:p>




    จริงๆ แล้วปัญหาเศรษฐกิจอเมริกันลามท่วมทุ่งนี้ ช้าเร็วก็ต้องเกิด แต่ปัญหาซับไพร์มเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา หรือในภาษาเคมีเรียกว่า Catalyst ให้เกิดเร็วขึ้นนั่นเองครับ







    =======================================
    <o:p>
    </o:p>
    เกี่ยวกับผู้เขียน<o:p></o:p>

    ดร. วรัญญู สุจิวรพันธ์พงศ์ เป็นนักวิชาการอิสระ และผู้ที่มีประสบการณ์ในธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ และธุรกิจระหว่างประเทศ ดร. วรัญญู จบการศึกษาระดับมัธยมจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ (ทศ. 106) ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วศ. 34) ปริญญาเอกสาขา Computational Mechanics จาก <st1:place w:st="on"><st1:placename w:st="on">Imperial</st1:placename> <st1:placetype w:st="on">College</st1:placetype></st1:place> มหาวิทยาลัยลอนดอน ปัจจุบันเป็นอาจารย์พิเศษในหลายมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เช่น หลักสูตร MBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศยาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร และหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นต้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มกราคม 2008
  10. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    ตอนนี้รัฐบาลอเมริกัน และธนาคารกลางของอเมริกันก็วิ่งพล่าน เพราะกำลังซื้อหด ก็ต้องใช้วิธีการลดดอกเบี้ยให้คนมีกำลังซื้อมากขึ้น (ลดดอกเบี้ยแปลว่าให้คนขาดแรงจูงใจในการออมเงิน และให้เอาเงินออกไปใช้ รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจให้คนลงทุนมากขึ้น) แถมรัฐบาลอเมริกันยังจ่ายเงินภาษีคืนให้ประชาชนเอาไปใช้กัน โดยหารู้ไม่ว่าวิธีการที่ทำนี้อาจจะเป็นการซ้ำเติมวินัยการใช้เงินของคนในประเทศ เพราะปัญหาต้นตอของงานนี้ก็คือการขาดวินัยการใช้เงินที่มากเกินตัว ซึ่งหวังว่ารัฐบาลไทย คงจะไม่บ้าจี้ลอกนโยบายอเมริกามาแบบทื่อๆ นะครับ<o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>

    อนึ่งน่าแปลกว่าปัญหาซับไพร์มของอเมริกาเหมือนกับปัญหาต้มยำกุ้งของเราเมื่อตอนปี 2540 คือมาจากฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ แต่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ซึ่งสหรัฐอเมริกาอยู่ข้างหลัง ดันให้เราขึ้นดอกเบี้ย กับเพิ่มภาษี แต่ทำไมที่อเมริกาถึงทำกลับกัน <o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>

    [​IMG]


    กลับมาที่บ้านเรา ตอนนี้วิกฤติซับไพร์มกำลังจะลาม โดยเฉพาะหลายสถาบันการเงินได้สะสมตราสารหนี้ประเภทซับไพร์มไว้ ซึ่งพร้อมจะกลายเป็นกระดาษทุกเมื่อ ผมเชื่อว่าสิ่งที่รัฐบาลต้องทำไม่ใช่การลดภาษีเพื่อสร้างกำลังซื้อในการกระตุ้นเศรษฐกิจตามสหรัฐอเมริกา เพราะว่าวิธีลดภาษีไม่ได้แก้เรื่องวินัยการใช้เงินของประชาชนในระยะยาว แต่ควรจะเป็นการลงทุนในโครงการที่มีประโยชน์ และลดต้นทุนของประชาชนในระยาว เช่น พัฒนาการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมขนส่ง ฯลฯ ซึ่งการลงทุนเหล่านี้เป็นการกระจายรายได้ให้กับประชาชนต่อเป็นทอดๆ อีกด้วย<o:p></o:p>
     
  11. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    ทีนี้กลับมาที่เรื่องของหัวข้อเราในการเตรียมตัวรับมือกับซับไพร์มฉบับชาวบ้าน ที่ต้องมีผลกระทบ และเดือดร้อนจากการกระทำของคนรวย นายทุน หรือนายธนาคาร เหมือนตอนวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ซึ่งหลายคนตอนนี้ตื่นตระหนก กำเงินแน่น และเก็บเงินในในกระเป๋า แต่บางท่านยังไม่รู้ตัว และยังถามว่าซับไพร์มมันคืออะไร ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร เพราะว่ารวยอยู่แล้ว (แบบนี้ก็ไม่ว่ากันครับ) วิธีการรับมือแบบง่ายๆ คือการปรับรูปแบบการดำเนินชีวิตเล็กน้อย โดยไม่ต้องรับประทานอาหารให้น้อยลงดังนี้นะครับ<o:p></o:p>

    <o:p> </o:p>

    1. เริ่มจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของครัวเรือน เพื่อหาว่าตกลงเรามีรายจ่ายอันไหนที่ไม่จำเป็น ถ้าไม่มี ก็หาทางหารายได้มากขึ้น เช่น ทำงานพิเศษในวันหยุด<o:p></o:p>

    2. พยายามซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือมีเจ้าของเป็นคนไทยให้มากที่สุด (แต่ถ้าสินค้าแพงกว่าก็พิจารณาเป็นรายๆ ไปนะครับ) อันนี้อาจจะมองว่าไปกีดกันการค้าต่างประเทศ แต่เราจำเป็นต้องปั๊มหัวใจผู้ประกอบการคนไทยก่อน ถ้าธุรกิจของคนไทยล้ม เศรษฐกิจประเทศเราก็ล่มสลายของจริง



    [​IMG]
     
  12. zetaboo

    zetaboo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2008
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +503
    เศรษฐกิจพอเพียงคือคำตอบ

    1. รู้จักใช้เงินในการเลือกรับประทานอาหารในราคาที่ควรจะเป็น เช่น ไก่ทอด KFC กับไก่ทอดของไทยตามร้านทั่วๆ ไป จริงอยู่ครับว่ามันเป็นไก่ทอดเหมือนกัน ขนาดก็เท่ากัน แต่ราคามันห่างกันลิบ ทานไก่ KFC แล้วทำให้เงินมันเหลือน้อยกว่าทานไก่ทอดธรรมดา ทำให้เหลือเงินไปซื้อของใช้จำเป็นอื่นๆ น้อยลงไปอีก เหลือเงินออมน้อยลง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมาชีวิตก็ลำบาก และเป็นทุกข์ ในและมีผลกระทบในภาพรวมคือถ้าทุกคนกินแต่ไก่ KFC เงินออมของทั้งระบบก็จะน้อยลง ทำให้การขยายการลงทุนในประเทศก็จะทำได้ยาก เนื่องจากเงินออมในธนาคารมีน้อยไม่พอให้ระดมทุน ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาอีก ประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี อีกอย่างครับกินไก่ KFC 100 บาท เงินเข้าคนไทย 30 บาท เข้ากระเป๋าฝรั่งไป 70 บาท ซึ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์ เงินไหลออกนอกประเทศอีก <o:p></o:p>



    2. เลือกใช้ของที่ต้องการในราคาพอเหมาะ เช่น รถยนต์ เป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุดครับ ระหว่างรถเบนซ์กับรถญี่ปุ่นที่ผลิตในประเทศไทยซึ่งเป็นรถยนต์เหมือนกัน วิ่งได้เหมือนกัน แต่คนส่วนใหญ่อยากจะเลือกรถเบนซ์เพราะแสดงสถานะทางสังคมว่าเรามีเงิน แต่หลายคนคงจะทราบว่ารถยนต์เป็นสินทรัพย์ที่เสื่อมมูลค่าลงทุกวันตามสัดส่วนเวลา และมีอายุการใช้งาน ดังนั้น ณ วันที่เราขายรถยนต์ ราคาของรถยนต์ราคาแพงก็จะมีมูลค่าลดลงมากกว่า ทั้งนี้ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาและค่าซ่อม ที่หลายคนใช้รถแพงๆ ตระกูลยุโรปก็โดนศูนย์บริการปล้นแบบไม่ปราณี เพราะช่างซ่อมชาวบ้านทั่วไปก็ซ่อมไม่ได้ ต้องเข้าศูนย์เฉพาะเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ผลิตในต่างประเทศเท่านั้น หลายคนยังคงไม่ทราบว่าประชาชนในประเทศที่เราเห่อรถแพงๆ ของเค๊า เค๊ากลับไม่เห็นความสำคัญของการแสดงสถานะทางสังคมด้วยรถยนต์เท่ากับบ้านเรา แต่เลือกใช้รถยนต์ที่คุ้มค่าในราคาเหมาะสม ผลกระทบอื่นๆ ก็จะคล้ายๆ กับข้อ 1 ท่านก็ลองคิดนะครับว่าซื้อรถเบนซ์มาขับกับซื้อรถผลิตในประเทศแล้ว โดยภาพรวมคนไทยจะได้ประโยชน์จากเงินที่ท่านจ่ายมากน้อยต่างกันเพียงใด สินค้าหลายอย่างมันแพงเกินราคาก็เพราะเราจ่ายค่าทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่าลิขสิทธิ์มากกว่าต้นทุนของสินค้าเองซะอีก<o:p></o:p>



    3. บริโภคสินค้าด้วยเงินออม เราจะเห็นว่าคนในบ้านเรากลับไปบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้ เช่น กู้เงินไปซื้อโทรทัศน์ มือถือ กระเป๋าหลุยส์ ฯลฯ แล้วสิ้นเดือนก็ต้องมาเป็นทุกข์ผ่อนชำระกันศีรษะโตเป็นแถบ ลักษณะนิสัยแบบนี้เรียกว่าใช้เงินกันเกินตัว ซึ่งกำลังเกิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นมะเร็งร้ายที่กำลังจะลามทำให้เศรษฐกิจอเมริการะเบิดในอีกไม่ช้านี้ หลักการคือเราต้องเข้าใจก่อนว่าการบริโภคกับการลงทุนนั้นต่างกัน เช่น ถ้าท่านซื้อมือถือมาเพื่อมาใช้ในวิชาชีพแล้วมันจะทำเงินกลับมาให้ท่าน นั่นเรียกว่าเป็นการลงทุน แต่ถ้าท่านไม่มีกิจอันใดที่จะใช้ แต่ซื้อมาเพราะว่าคนอื่นเค๊าก็มีกัน อันนั้นก็เรียกว่าการบริโภค อะไรที่เป็นการลงทุนมันย่อมมีผลตอบแทนคืนมา (แม้ว่าจะสินค้านั้นจะมีมูลค่าเสื่อมถอยทุกวัน) แต่การบริโภคนั้น สินค้าที่ท่านซื้อมาบริโภคมันก็จะมีค่าเสื่อมถอยลงทุกวัน โดยไม่มีผลตอบแทนคืนมา ถ้าท่านบริโภคสินค้าด้วยเงินกู้กันเยอะๆ ทั้งประเทศมันก็จะมีผลกระทบทำให้ท่านไม่สามารถจะมีเงินไปลงทุนได้ เพราะเงินกู้ของท่านที่สามารถจะกู้ไปลงทุนได้ถูกจัดลงในโควต้าของเงินที่ท่านกู้ออกมาบริโภคไปแล้ว ท้ายสุดก็ต้องไปกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเข้ามาอีกประเทศก็ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เงินบาทก็จะอ่อนค่าลงตามทฤษฎี<o:p></o:p>



    4. ใช้เงินในสิ่งที่มีประโยชน์เป็นรูปธรรมเท่านั้น ตัวอย่างที่ผมจะยกตัวอย่างได้ง่ายๆ คือ การส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์ต่างๆ เท่าที่ผมทราบ มีแต่ประเทศกำลังพัฒนา และประชาชนไม่มีความคิดเท่านั้นที่จะนิยมส่ง SMS เข้ารายการโทรทัศน์มากมายแบบประเทศไทย อย่างผมนั่งดูโทรทัศน์ ผมก็สงสัยว่าคนที่ส่ง SMS เข้าไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง สรุปก็คือได้แต่ความสะใจ ไม่มีประโยชน์ในทางรูปธรรมอะไรเลย บางคนส่ง SMS เดือนนึงหลายหมื่นบาท แต่ไม่รู้ว่าส่งไปทำไม ซึ่งเป็นการใช้เงินที่ควรจะออมอย่างไม่ถูกเรื่องเท่าไหร่นัก ซึ่งจริงๆ ผมคิดว่า คณะกรรมการ กสช. ควรจะเข้ามากำกับดูแลในส่วนนี้อย่างจริงจัง เพื่อผลประโยชน์ของคนในชาติ<o:p></o:p>



    5. ส่งเสริมการซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศ ซึ่งคนไทยเราอาจจะมีจิตสำนึกในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อยไปบ้าง หากท่านสังเกตุว่าทำไมหลายๆ ชาติที่เจริญมักจะเป็นชาติที่มีความเป็นชาตินิยมสูงมาก เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน จีน ทั้งนี้เนื่องมาจากสินค้าแบบเดียวกันคนในชาตินั้นจะเลือกซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศของเขาก่อน ทำให้สินค้าที่ผลิตในประเทศได้มีโอกาสทดลองตลาด ปรับปรุงสินค้า และสะสมเงินทุน ไปทำเรื่อง R&D ต่อยอดไปได้ แต่ถ้าคนไทยเรานิยมซื้อของต่างชาติมากกว่าของที่ผลิตในประเทศ เงินก็จะไหลออกนอกประเทศเป็นจำนวนมาก เหมือนน้ำที่แห้งเหือดไปจากสระน้ำ แทนที่คนไทยจะได้ประโยชน์จาก Multiplier Effect หรือตัวคูณของการใช้เงินต่อไปเป็นทอดๆ ในระบบเศรษฐกิจของเราเอง แต่เงินกลับไหลออกนอกประเทศ คนไทยก็ได้แต่ค่าแรงในการขายของเท่านั้น สินค้ายี่ห้อดังๆ ของโลก เช่น LG, Samsung, Haier, TCL, Huawei ก็โตมาจากตลาดในประเทศก่อนทั้งนั้น ไม่มีใครกระโดดออกไปนอกประเทสแล้วโตเลย อย่างของไทยสมัยก่อนก็มีโทรทัศน์ยี่ห้อธานินทร์ แต่ตอนนี้ก็หายไปจากตลาดแล้ว เพราะคนไทยไม่สนับสนุน <o:p></o:p>



    6. งดอบายมุข อันนี้ง่ายที่สุดครับ แต่เป็นปัญหาที่ฝังลงรากลึกสุดของสังคมไทย เพราะหวยทั้งบนดิน ใต้ดิน มันโผล่ออกมยุบยับมาก ขนาดจะดูฟุตบอลโลก หนังสือพิมพ์บ้านเราก็ยังมีราคาต่อรองให้อีก คือไม่ว่าจะเป็นอบายมุขประเภทไหน ก็ทำให้เราไม่มีเงินออมทั้งนั้นครับ พอไม่มีเงินออม ท้ายสุดก็ต้องพึ่งเงินกู้มาบริโภคกันอีก<o:p></o:p>



    7. รู้จักลงทุนในสิ่งที่มีประโยชน์ และได้ความรู้ เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้ห้ามให้เราไม่ใช้เงินนะครับ เพียงแต่ว่าใช้เงินให้เกิดประโยชน์กับตัวเรา เช่น การลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม การลงทุนเพื่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้นจากการซื้อหนังสือที่มีประโยชน์มาอ่าน ไปฟังสัมมนา ไปทัศนาจร ไปดูงาน ฯลฯ <o:p></o:p>
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ที่ประชุม จี-7 ชี้ สหรัฐฯอาจเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำปี 2008 ได้ <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td bgcolor="#cccccc" height="1">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td class="body" align="left" valign="baseline">โดย ผู้จัดการออนไลน์</td> <td class="date" align="left" valign="baseline">10 กุมภาพันธ์ 2551 00:07 น.</td> </tr> </tbody></table> <table border="0" cellpadding="4" cellspacing="0" width="100%"> <tbody><tr> <td align="center" valign="middle">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> <table align="left" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top"> <table border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="300"> <tbody><tr> <td align="center" valign="top" width="300"> [​IMG] </td> </tr> <tr><td class="Image" align="left" valign="baseline">รัฐมนตรีการคลัง และผู้ว่าการของกลุ่มประเทศจี7 ทั้ง 14 คนในการประชุมที่ญี่ปุ่น</td></tr> </tbody></table></td> <td width="5">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td align="center" height="5" valign="top">[​IMG]</td> </tr> </tbody></table> เอเจนซี/เอเอฟพี – รัฐมนตรีคลังจากกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 7 ประเทศ หรือ จี-7 แถลงวันนี้ (9) ว่า สหรัฐฯ มีทีท่าจะหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008 ไปได้ อีกทั้งโครงสร้างพื้นฐานในระยะยาวของสหรัฐฯ ก็ยังมั่นคง แม้ว่าความเสี่ยงขาลงยังคงมีมากอยู่ก็ตาม

    “ความเสี่ยงขาลงยังคงมีอยู่ ซึ่งร่วมไปถึงความซบเซาของตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ เงื่อนไขเครดิตที่เข้มงวดขึ้น จากความขัดสนในตลาดการเงินที่ยืดเยื้อ ราคาน้ำมัน และสินค้าที่สูง รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงขึ้นในบางประเทศ” รัฐมนตรีการคลังของกลุ่มประเทศ จี-7 และผู้ว่าการธนาคารกลาง กล่าวในแถลงการณ์ หลังจากการประชุมเป็นเวลา 1 วันในกรุงโตเกียว

    รัฐมนตรีของทั้ง 7 ประเทศยังได้กระตุ้นให้ธนาคารทั้งหลายเปิดเผยค่าเสียหายที่เกี่ยวกับวิกฤตซับไพรม์ โดยธนาคารโลก โดยเฉพาะในสหรัฐฯ และยุโรปต้องประสบกับการสูญเสียอย่างหนักจากการเปิดเผยเอกสาร ที่อยู่เบื้องหลังปัญหาการจำนองในสหรัฐฯ

    สำหรับ ด้านค่าเงิน ที่ประชุม จี-7 ซึ่งประกอบไปด้วย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี อังกฤษ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น รวมถึงอียูได้มีความเห็นเป็นเสียงเดียวกันว่า พวกเขาจะสนับสนุนให้จีนยอมปล่อยค่าเงินหยวนให้เพิ่มขึ้นเร็วกว่ามาตรฐาน

    อย่างไรก็ดี เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ยืนยันว่า เศรษฐกิจของประเทศจะยังเติบโตต่อไป แม้ว่าจะเป็นช่วงขาลงของภาคตลาดที่อยู่อาศัย

    “ผมมั่นใจในสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในระยะยาว และผมคาดว่า มันจะเติบโตต่อไปในปี 2008 นี้ด้วย” เขากล่าวหลังการประชุม พร้อมกับเสริมว่า ปัญหาด้านที่อยุ่อาศัย ราคาน้ำมันสูง และวิกฤตตลาดเงินทุนได้รวมกันถ่วงการเติบโตในระยะอันใกล้นี้
     
  14. nantiya.j

    nantiya.j เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    860
    ค่าพลัง:
    +8,550
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>**อะไรจะตามมาถ้าไม่มีข้าว(สำรอง)เพียงพอ**

    FAO เตือนทั่วเอเชียรับมือยุคข้าวยากหมากแพง
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>11 กุมภาพันธ์ 2551 10:43 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER>สำหรับเวียดนามปีนี้ประกาศลดยอดส่งออกลงจากปีที่แล้ว เมื่อเทียบกับปี 2549 ยอดส่งออกจะลดลงถึง 1.5 ล้านตัน การผลิตข้าวให้ได้มากขึ้นเป็นเรื่องยาก ผืนนาลดลงเรื่อยๆ เพื่อใช้ที่สนองการลงทุนของต่างชาติ ขณะที่ฟิลิปปินส์กับอินโดนีเซียรวมทั้งมาเลเซียต้องนำเข้าข้าวจากเวียดนามทุกปี (ภาพ: www.unep.ch) </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    กรุงเทพฯ-- เดือน ม.ค.ที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้อในเวียดนามพุ่งขึ้นกว่า 14% โดยมีปัจจัยสำคัญคืออาหารที่แพงขึ้น แต่เวียดนามก็ไม่ใช่ประเทศเดียว นักวิเคราะห์กล่าวว่าราคาอาหารได้พุ่งสูงขึ้นราว 40% ในทั่วโลกตั้งแต่ปีที่แล้ว พร้อมเตือนให้รับมือกับยุคข้าวยากหมากแพงในปีนี้


    ใน 3 สัปดาห์แรกของเดือน ม.ค.ในเวียดนามมีการนัดหยุดงานกว่า 30 ครั้งโดยคนงานราว 25,000 คน ก่อนเทศกาลวันตรุษที่ผ่านมาเกือบ 20,000 คนยังคงประท้วงตามโรงงานต่างๆ ในนครโฮจิมินห์และจังหวัดใกล้เคียงขอให้นายจ้างชาวต่างชาติขึ้นค่าแรงและให้เงินโบนัส

    ทั้งหมดมีสาเหตุจากราคาอาหารและสิ่งของเครื่องใช้ประจำวันมีราคาพุ่งขึ้น 30-40%

    นักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นหลายปัจจัยที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดความไม่สงบขึ้นได้ ตั้งแต่ความต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้น ราคาน้ำมันดิบที่พุ่งขึ้นแต่ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในเดือน ม.ค. ไปจนถึงการเกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งได้ทำให้อาหารรายการพื้นฐานต่างๆ มีราคาสูงขึ้น

    นายอับดุลเรซา แอบบัสเซียน (Abdolreza Abbassian) นักวิเคราะห์อาวุโสด้านธัญญาหารขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กล่าวว่าราคาอาหารที่สูงขึ้นเมื่อปีที่แล้วทำให้เกิดการประท้วงในพม่า ปากีสถาน อินโดนีเซียและมาเลเซีย

    นายโจคีม วอน บรอน (Joachim von Braun) แห่งสถาบันวิจัยนโยบายอาหารระหว่างประเทศ (International Food Policy Research Institute) ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียก็เป็นสาเหตุให้มีความต้องการอาหารเพิ่มขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER>ภาพจากแฟ้มเดือน ต.ค.2550 ชาวนาในหมู่บ้านเขตรอบนอกกรุงพนมเปญกำลังไถเตรียมทำนาฤดูปลายปี กัมพูชาจะมีข้าวส่งออกราว 2 ล้านตันในปีนี้ โชคดีที่มีอาหารพอเลี้ยงประชากร 14 ล้านคน แต่อีกหลายประเทศต้องนำเข้าปริมาณมหาศาล (ภาพ: RUETERS) </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> ในขณะที่เศรษฐกิจของหลายประเทศขยายตัวสูง แต่ก็ได้ทิ้งคนยากคนจนเอาไว้ข้างหลัง กลุ่มคนเหล่านี้ต้องใช้ 60-70% ของเงินรายได้ที่ต่ำอยู่แล้วเป็นค่าอาหาร สิ่งนี้กำลังบั่นทอนชีวิตความเป็นอยู่ของคนจนกลุ่มใหญ่ลงทุกขณะ

    ผู้เชี่ยวชาญรายนี้กล่าวอีกว่า โดยทั่วไปประเทศต่างๆ ยังขาดการลงทุนด้านการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการชลประทาน

    การศึกษาวิจัยยังพบว่าผู้คนได้นิยมบริโภคเนื้อกันมากขึ้น ผลักให้ราคาพืชผลการเกษตรแพงขึ้นอีกทางหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์ต้องบริโภคพืชและธัญพืช

    ความแห้งแล้งและภูมิอากาศเลวร้าย ราคาน้ำมันที่พุ่งสูงเป็นต้นเหตุให้ค่าขนส่งพุ่งขึ้นตาม ทำให้เกิดความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) เพิ่มสูงขึ้นอย่างทันใด แต่วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีอยู่ในสต๊อคไม่มาก สำนักข่าวเอเอฟพีอ้างความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ

    นางคาที ดีน (Katie Dean) นักเศรษฐศาสตร์แห่งธนาคาร ANZ Bank กล่าวว่า ความแห้งแล้งปีที่แล้วทำให้สูญเสียข้าวสาลีเป็นปริมาณเท่ากับที่เคยผลิตได้เกือบทั้งปี

    ในยุโรปกับในสหรัฐฯ อากาศหนาวเย็นทำให้ผลิตพืชผลต่างๆ ได้น้อยลง การเกิดแพร่ระบาดของไข้หวัดนกทำให้การผลิตเนื้อไก่ เป็ดและไข่ รวมทั้งการผลิตอาหารประเภทเนื้อโดยทั่วไปลดลงอย่างมาก รวมทั้งการเกิดโรคระบาดสุกรในจีนด้วย

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=350 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=350>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER>เมื่อปีที่แล้วหลายประเทศไม่มีข้าวที่ขึ้นงามเช่นในแถบที่ราบปากแม่น้ำแดงในเวียดนาม เนื่องจากถูกพายุทำลายล้างอย่างหนัก ปีนี้มีเสียงเตือนให้เตรียมรับมือกับข้าวยากหมากแพงและสิ่งที่จะติดตามมา </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> บังกลาเทศกำลังพยายามหาเลี้ยงประชากรที่ยากจนหลายสิบล้านคน หลังจากเมื่อปีที่แล้วพายุได้ทำลายนาข้าวเสียหายไปประมาณ 600 ล้านดอลลาร์ ราคาข้าวพุ่งขึ้น 70% ปัจจุบันไปหยุดอยู่ราวๆ 50 เซ็นต่อกิโลกรัม ขณะที่ประชากรส่วนใหญ่มีรายได้วันละไม่ถึง 1 ดอลลาร์

    ไม่นานมานี้ได้เกิดพายุหิมะพัดถล่มเขตนาข้าวในจีน ที่นั่นมีความวิตกเป็นทุนเดิมอยู่แล้วว่าอาจจะเกิดความไม่สงบขึ้นได้ เนื่องจากราคาอาหารที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ

    นักวิเคราะห์กล่าวว่า ไม่ใช่ธรรมชาติอย่างเดียว มนุษย์มีส่วนต้องรับผิดชอบอย่างมาก ต่อการขาดแคลนและราคาอาหารที่มีราคาสูงขึ้น

    การศึกษาโดยมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในสหรัฐฯ ได้พบว่าการเปลี่ยนแปลงด้านภาวะกาอากาศอาจจะทำให้การผลิตข้าวและข้าวโพดในย่านเอเชียลดลงราว 10% ในปี 2573 หรือประมาณ 22 ปีข้างหน้า

    ความจำเป็นที่ต้องหาเชื้อเพลิงทดแทน เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ได้ทำให้ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้นทำสถิติใหม่ต้นปีนี้

    เกษตรกรในหลายประเทศแถบเอเชียหันไปปลูกพืชที่ให้น้ำมันเช่น สบู่ดำเพื่อป้อนอุตสาหกรรมผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ แทนที่จะปลูกพืชเพื่อเป็นอาหารเช่นเดิม การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจึงมีส่วนกดดันราคา (อาหาร) ด้วย

    ปัจจุบันประเทศไทยกำหนดให้น้ำมันดีเซลจะต้องมีส่วนผสมที่ทำจากน้ำมันปาล์มที่ใช้ในการปรุงอาหารจึงทำให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นสูงและยังผลิตได้ไม่พอเพียง

    ตัวเลของค์การอาหารของสหประชาชาติได้แสดงให้เห็นว่าในสหรัฐฯ มีการใช้ข้าวโพดไปในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มขึ้นถึง 1 เท่าตัวตั้งแต่ปี 2546 หน่วยงานนี้ยังคาดว่าในยุโรปจะใช้ข้าวสาลีผลิตเอธานอลเพิ่มขึ้นเป็น 12 เท่าตัวในปี 2559

    แนวโน้มเหล่านี้ทำให้รัฐบาลของหลายประเทศในเอเชียเกิดความวิตกกังวลต่ออนาคตเกรงจะเกิดความไม่สงบขึ้น

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=450 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=450>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER>ข้าวสารในร้านจำหน่ายค้าแห่งหนึ่งในเมืองลาเฉียว (Lashio) รัฐชานใต้ ปีนี้พม่าจะมีข้าวส่งออกอย่างน้อย 400,000 ตัน ขณะที่บังกลาเทศเพื่อนบ้านประชากรกว่า 100 ล้านคนกำลังแย่ ปีนี้ต้องนำเข้าข้าวปริมาณมหาศาล (ภาพ: www.flickr.com) </CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> อินโดนีเซียได้ลดภาษีเปิดทางห้นำเข้าข้าวและธัญญาหารต่างๆ มากขึ้น และ ยังเริ่มกำหนดนโยบาย ลดการพึ่งพาการนำเข้า ส่วนมาเลเซียได้จัดตั้งสางอาหารระดับชาติขึ้นมา เมื่อเร็วๆ นี้ทางการได้กุมผู้ขบวนประท้วงค่าอาหารไปหลายราย

    ในปีนี้เวียดนามผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 2 ของโลกลดปริมาณข้าวส่งออกลง ส่วนอินเดียเริ่มลดมาตั้งแต่ปีที่แล้วโดยตั้งราคาขายเอาไว้สูง 500 ดอลลาร์ต่อตัน

    เมื่อเร็วๆ นี้ฟิลิปปินส์ได้สั่งซื้อข้าวอย่างเร่งด่วน 300,000 ตันจากเวียดนาม เพื่อนำไปบรรเทาการขาดแคลนในเขตหมู่เกาะภาคกลางของประเทศที่นาข้าวถูกไต้ฝุ่น 2 ลูก ทำลายปีที่แล้ว

    ส่วนพม่าคาดว่าปีนี้จะมีข้าวส่งออกราว 400,000 ตัน ประเทศนี้ยังสามารถขยายเนื้อที่เพาะปลูกได้อีกมาก แต่ก็จะเป็นระยะยาวนานข้างน้า

    ส่วนในเวียดนามนับตั้งแต่เปิดประเทศและเริ่มการพัฒนาอุตสาหกรรมเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ได้สูญเสียพื้นที่นาไปแล้วกว่า 2 ล้านไร่ ในวันนี้ชาวนาก็ยังคงถูกไล่ออกจากที่ดินทำกินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ.

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,877
    ซับไพรม์พ่นพิษเขมร 1,000 ฮือทุบรื้อโรงงาน

    โดย ผู้จัดการออนไลน์ 12 กุมภาพันธ์ 2551 20:12 น.



    ผู้จัดการรายวัน-- คนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกในกรุงพนมเปญแห่งหนึ่งพากันบุกเข้าค้นทุบทำลายข้าวของในสำนักงานของบริษัทนายจ้างที่อยู่ภายในโรงงาน ด้วยความโกรธแค้นหลังจากเจ้าของโรงงานแห่งนี้ ไม่ยอมแก้ไขกรณีพิพาทเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงานที่ยืดเยื้อมานานข้ามปี

    เหตุการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรงนี้เกิดในตอนสายวันจันทร์ (11 ก.พ.) ที่โรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าตอนกา (Tonga) ในเขต อ.ดางกาว (Dang Kao) รอบนอกกรุงพนมเปญ ไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ แต่สร้างความเสียหายให้แก่ตัวอาคารและวัสดุอุปกรณ์สิ่งของเครื่องใช้จำนวนมากถูกทุบทำลาย

    หนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพ (Koh Santepheap) ภาษาเขมรรายงานเรื่องราวดังกล่าวในฉบับวันอังคาร

    คนงานกว่า 1,000 คนได้กรูกันเข้าไปในสำนักงานของบริษัทด้วยความโกรธแค้น หลายคนช่วยกันพังประตู และทุบกระจกหน้าต่าง ทุบเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์สิ่งของอีกหลายรายการได้รับความเสียหายหรือถูกทำลาย คนงานยังขู่จะเผาโรงงานอีกด้วย

    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นหลังจากการแก้ไขกรณีพิพาทแรงงานที่เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือน พ.ย.ปีที่แล้วไม่ประสบความสำเร็จ เจ้าของโรงงานไม่ปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการ

    ไม่เพียงเท่านั้นเจ้าของโรงงานซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนักลงทุนจากไต้หวัน ยังได้ปิดโรงงานและค้างจ่ายเงินค่าจ้างพนักงาน ช่วงเวลาครึ่งเดือนที่ยังปฏิบัติงานตามปกติก่อนเกิดกรณีพิพาท

    ตัวแทนของคนงานกล่าวว่า การประท้วงด้วยความรุนแรงนี้เกิดขึ้นจากภาวะที่สุดจะอดทนต่อไปเพราะว่าคนงานรอคอยให้นายจ้างแก้ไขปัญหามานานกว่า 2 เดือน ขณะที่ทุกคนไม่มีรายได้อย่างอื่น แต่นายจ้างยังเพิกเฉย และไม่ได้แสดงท่าทีที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร

    เหตุการณ์นี้ยังเกิดขึ้นในท่ามกลางข่าวเล่าลือว่า นายจ้างได้ปิดโรงงานอย่างถาวรและหลบหนีออกจากกัมพูชาไปแล้ว

    หนังสือพิมพ์ฉบับนี้รายงานว่าคนงานไม่ได้ทุบทำลายจักรเย็บผ้าอุตสาหกรรมในโรงงาน ด้วยเกรงว่านายจ้างจะนำไปกล่าวอ้างเป็นสาเหตุในการปิดโรงงานอย่างถาวร ซึ่งจะทำให้ทุกคนไม่มีงานทำ

    กรณีพิพาทแรงงานเริ่มขึ้นโดยคนงานโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าส่งออกแห่งนี้ พากันหยุดงานเมื่อปลายปีที่แล้ว เรียกร้องให้นายจ้างปรับปรุงค่าจ้างให้คนงานได้รับเท่ากับเมื่อก่อน

    สำหรับโรงงานบริษัทตอนกานี้ เวลาต่อมานายจ้างได้ตกลงปรับค่าจ้างขึ้นเป็นคนละ 50 ดอลลาร์เป็นเงินเดือนตายตัวไม่มีค่าล่วงเวลาใดๆ ซึ่งได้ทำให้คณะอนุญาโตตุลากรที่รัฐบาลแต่งตั้งชุดหนึ่งเข้าไกล่เกลี่ย แต่นายจ้างไม่ปฏิบัติตาม นำไปสู่การนัดหยุดงานยืดเยื้อจ้ามปี จนกระทั่งกลายมาเป็นความรุนแรง

    เหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้ยังเกิดขึ้นในช่วงที่ยอดการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปกับผลิตภัณฑ์สิ่งทอต่างๆ ไปยังตลาดสหรัฐฯ ลดลงถึง 43% ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2550 หลังจากเกิดวิกฤตทางการเงิน อันเนื่องมาจากหนี้เสียในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์สหรัฐฯ พุ่งขึ้นสูงมาก

    คณะอนุญาโตตุลาการที่รัฐบาลแต่งตั้งได้ชี้ขาดให้โรงงานของบริษัทต่างชาติต้องชดเชยรายได้ให้แก่คนงานที่นัดหยุดงาน แต่นายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตาม และ ปิดโรงงานมาตั้งแต่นั้นโดยไม่มีการเจรจาใดๆ อีก

    ระหว่างหยุดงาน คนงานได้พากันดูแลเครื่องจักรเครื่องกลต่างๆ ในโรงงาน มีการจัดเวรยามอย่างรัดกุม เพราะเกรงว่านายจ้างจะส่งคนไปรื้อถอนออกไป จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ในตอนเช้าวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีข่าวเล่าลือว่านายจ้างหมดหน้าตัก โรงงานเจ๊งและออกนอกประเทศไปแล้ว

    ผู้เชี่ยวชาญได้เตือนในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมาว่า กำลังจะมีการปิดโรงงานหลายแห่ง อันเนื่องมาจากเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ ทั้งนี้เนื่องจากว่าราว 70% ของเสื้อผ้าที่ตัดเย็บจากโรงงานในกัมพูชา นั้นส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ

    ตามตัวเลขของสมาคมผู้ผลิตเสื้อผ้ากัมพูชา (Garment Manufacturers' of Cambodia) อุตสาหกรรมนี้เป็นแหล่งรายได้ประมาณ 80% ของกัมพูชา ปัจจุบันจ้างแรงงานราว 350,000 คน

    อุตสาหกรรมการ์เม้นท์เคยขยายตัวปีละประมาณ 20% แต่นายวันซูเอียง (Van Sou Ieng) ประธาน GMAC กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีเมื่อเดือนที่แล้วว่า ยอดส่งออกตลอดปี 2007 ขยายตัวเพียงแค่ 2.4% เท่านั้น รวมมูลค่าประมาณ 2,900 ล้านดอลลาร์

    ส่วนรูปการในปี 2551 นี้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  16. sutatip_b

    sutatip_b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,197
    ค่าพลัง:
    +26,189
    Record housing drop hurts coasts worst



    A 291-city report finds broad declines, but the biggest pain is limited to California and Florida. Small towns in the South and West are holding up well, number crunchers find.

    น้ำมันแตะ 101 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรลแล้ววันนี้ พวกเรารอน้ำมันลิตรละ 60 บาทได้แล้วค่ะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...