เข้าฌานไม่ได้

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย sanjames, 1 พฤษภาคม 2014.

  1. sanjames

    sanjames Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +46
    คือ สงสัยสมาธิผม น่าจะไม่ค่อยดี T^T ได้อ่านธรรมะของพระอาจารย์หลายๆท่าน สอนการเข้าฌาน4 ดูเหมือนง่ายมากๆ แต่พอผมลองปฎิบัติ ตามแล้ว แม้แต่ขั้น อุปจารสมาธิ ผมยังคิดว่าไม่ถึงเลย ไม่ทราบว่าพี่ๆน้องๆเพื่อนๆ ท่านใดพอที่่่จะแนะนำเพื่อเป็นแนวทางเสริมให้แก่กระผมได้หรือเปล่าครับ

    ปล.ในธรรมะของพระอาจารย์หลายๆท่านที่สอนก็ดีมาก แต่พระอาจารย์หลายๆท่านก็ปลงสังขารแล้ว ผมเลยไม่รู้จะปรึกษาหรือขอคำแนะนำกับท่านไหน ต่อให้พระอาจารย์บางท่านยังมีชีพอยู่ก็ไม่สามารถเข้าหาท่านได้อยู่ดี ยังไงก็ขอปรึกษาท่านที่เคยมีประสบการณ์ ในที่นี้แล้วกันนะครับ
     
  2. tsukino2012

    tsukino2012 หยุดจึงพบ สงบจึงเกิด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    1,311
    ค่าพลัง:
    +3,090
    อย่าคิดว่าเป็นของง่ายจนเกินไป
    อย่าคิดว่าจะทำวำเร็จโดยใช้เวลาฝึกเพียงนิดเดียวครับ
    คิดว่าควรจะใช้เวลาเท่าไร? เป็นเดือน? ไม่ใช่ครับ
    ใช้เวลาฝึกกันนับปีครับ ต้องอดทน ต้องฝึกฝนสม่ำเสมอ
    ตัวความท้อแท้เบื่อหน่ายจะเข้ามาขัดขวาง
    ต้องตั้งมั่นแน่วแน่ อดทนพยามยาม แต่อย่าไปหวังมาก ทำให้เคยชิน สักวันก็สำเร็จครับ
     
  3. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    บารมีคนเราไม่เท่ากัน
    ตั้งใจทำ แต่อย่ามุ่งหวังอะไร
    เพราะความมุ่งหวังนี้ละ ทำให้จิตใจไม่เป็นสมาธิ
    ยิ่งไปดูว่ามันเป็นอะไรอย่างไร จิตใจก็ยิ่งหลุดจากสมาธิ
    สมาธิคือตั้งมั่นในองค์ปฏิบัติเท่านั้น ทำอย่างอื่นก็ออกจากสมาธิครับ
    ฌาณ 4 ไม่ใช่ของง่าย ผมใช้เวลาประมาณ 3 ปี จึงทำได้
    แต่ปัจจุบันนี้ถ้าเข้าต้องปฏิบัติต่อเนื่องประมาณ 1 อาทิตย์
    เจริญในธรรมครับ
     
  4. yooyut

    yooyut เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2014
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,154
    คุณสองคนข้างบนกล่าวไดัดี การที่ดูเหมือนง่าย เพราะท่านอาจารย์ทั้งหลาย ท่านเป็นผู้ชำนาญแล้ว

    สำหรับผู้เริ่มปฏิบัติ ไม่มีอะไรดีไปกว่าการหมั่นฝึกซ้อมให้มากๆและสม่ำเสมอ โดยให้มีอิทธิบาท 4 เป็นธรรมประจำใจตลอดเวลา
     
  5. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ถ้าเข้า ฌาณ ไม่ได้ โดยมีการ พิจารณาไปที่ สงฆ์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ แล้ว เราไม่ได้
    รู้สึกว่า ทำฌาณไม่ได้อย่างท่าน

    อันนี้ ง่าย แก้ไม่ยาก

    ให้พิจารณา ศรัทธาที่คุณตั้งจิตไว้ คุณตั้งไม่ถูก แค่นั้นเอง

    หากตั้งจิตไว้ถูก ศรัทธาจะตีพึ๊บพับ เกิดปิติ5 เกิดปิติโลดโผน โจนทยานกันเลยเชียว

    ตั้งอย่างไร

    ก็มันยาก พระท่านทำสิ่งยากๆจนสำเร็จได้ พระท่านสุดยอด หากเราเพียรอย่างท่าน
    เราย่อมได้อย่างท่าน เราก็สุดยอด ..............

    นะ โน้มจิตไปสัมผัส ความเพียร ที่ท่านทิ้งไว้ให้เป็น " ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ "
    ซี่คร้าบ

    โน้มจิตไปสัมผัสบ่อยๆ วางของตัวเองไว้ ไปใส่ มิงค์ ดีกว่า

    แล้วจะเลิก ปรารภส่วนตน ที่มันมีสัจจธรรมว่า ยังไม่ได้

    เลิกเห็น ตน อย่าเอา ตน เข้าไปรองรับ โน้มไปสู่ธรรม ที่ปราศจากเจ้าของ

    " ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ " ล้วนแต่เป็น สิ่งที่ถูกทิ้งเอาไว้ในโลก ให้โลก
    ท่านไม่ได้ ขน เอาไปด้วย

    เข้าใจไหมนี่ ธรรมะ มันไม่มี การครอบครองเป็นเจ้าของ อย่าเอา อัตตา ไปแทรกแซง

    มุมมองมันจะเปลี่ยน การหยิบธรรมมาปรารภความเพียร ความศรัทธา ปิติ5 มันจะเปลี่ยน
    มันจะพรึบพับ ผิดกัน กับ ป้อแป้ ป้อแป้

    เห็น ปิติ5 แล้ว ก็อย่า กระโดดเข้าไปงับ ว่า ของกูๆ ม่ายช่ายนะม่ายช่าย มันแค่ ของเกิด
    ดับ ของเก่า ของที่เขาทิ้งเอาไว้ ไม่ไปข้องอยู่ ไม่ได้ขนไปด้วย แต่ ก็ใช่ว่า ไม่มีในจิต
    ผู้เพียรในธรรม
     
  6. เพียรธรรม

    เพียรธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +540
    จงละความอยากเมื่อจะนั่งสมาธิ เพราะนั่นคือกิเลสที่กำลังเกาะใจ ย่อมทำให้ไม่เกิดสมาธิ และปัญญา เป็นการวางกำลังใจที่ไม่ถูกต้อง
     
  7. ABT

    ABT เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +1,524
    หากเพียงอยากได้ฌาน ฌานก็จะไม่มาหา ต่อให้ไปหาอาจารย์ดีแค่ไหนก็ไม่ได้ เพราะความอยาก ได้ยังมีอยู่เต็มหัวใจ เลิกละเสียความอยากได้ฌาน ปฏิบัติทางจิต พิจารณาละเสียซึ่งร่างกายที่ติดยึด สิ่งต่าง ๆ ในตัวเราเป็นเพียงธาตุขันธ์ ที่รวมตัวกันแล้วจิตเรามายึดติด เท่านั้น มันเกิด ดับ หมดทุกอย่าง เมื่อเราปฏิบัติโดยไม่ติดยึดกับฌาน ในกาลข้างน้าไม่ข้า ฌานที่ท่านต้องการก็จะมาเองแบบไม่รู้ตัว เหมือนจิตที่สงบ มันไม่จำกัดหรอกว่าต้องสงบในที่สงบ บางทีทำกิจกรรมอยู่ มันก็สงบลงได้อย่างประหลาด ฌานคือความเดยชินครับ อยากได้ไปทำไม ละ เลิก ตัดให้ขาดจากภพภูมิดีกว่า อนุโมทนาครับ
     
  8. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    พื้นฐานของคนที่ทำสมาธิได้ คือ ศีล ครับ

    ศีล เป็นพื้นฐานของ สมาธิ

    ศีลตัวเอง ด่างพร้อย ไหม อารมณ์ขุ่นมัวไหม ลองสำรวจตัวเองดูครับ

    จะทำสมาธิได้ ก็ต้องมี ศีล เป็นฐานของการปฏิบัติ ครับ

    หาอ่านการปฏิบัติ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ในเว็บพลังจิต ดูนะครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 พฤษภาคม 2014
  9. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ปฐมฌาน

    ต้องรักษาอารมณ์หนึ่ง ไม่มีสอง

    ลองถามตัวเองดูครับ ว่าเวลาปฏิบัติ รักษาอารมณ์หนึ่งได้ไหม
     
  10. twentynine

    twentynine เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    274
    ค่าพลัง:
    +992
    วางกำลังใจใหม่ เปลี่ยนจากทำเพื่อฌาน เป็นทำเพื่อสติเช่นนี้แล้วมันได้ตั้งแต่คิดเลย ต่อไปก็ทรงสติให้ได้ทั้งวันไม่ต้องไปเข้าป่าเข้าวัดก็ได้ อยู่บ้านที่ทำงานนี่แหละให้มีสติรู้ทุกอริยาบถ เดินเหิน ลุกนั่ง จับข้าวของ เคี้ยวข้าว สติจับอยู่กับกาย ถ้าจิตวอกแวกคิดเรื่องนู้นนี่นั้นก็วางกายมาดูจิต ดูเฉยๆจนจิตดับอารมณ์หาย ก็ไปจับกายใหม่ ถ้านั่งนิ่งๆไม่มีการงาน ก็ดูลมหายใจไปเรื่อย ทำไปเรื่อยๆจนเป็นออโต้ฌานมาแน่นอน นั่งสมาธิวันละชั่วโมงแต่ฟุ้งมาทั้งวันหวังจะได้ฌานนั้นต้องเป็นผู้ที่เคยได้มาในกาลก่อนครับ ขออนุโมทนา
     
  11. markdee

    markdee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    745
    ค่าพลัง:
    +1,911
    ต้องทำบ่อยๆ ทำเรื่อยๆ ทำซ้ำๆ ทำอยู่อย่างนี้ทุกวันๆ แล้วทำแบบไม่ต้องหวังผลด้วย..เหมือนน้ำที่มันหยดลงตุ่ม หยดลงเรื่อยๆแล้วน้ำก็จะเต็มตุ่มเอง ก่อนที่จะเข้าฌาณได้คุณรู้ไหมการเริ่มต้นเป็นอย่างไร? วางจิตไว้ที่ไหน? ลมหายใจละเอียดแค่ไหน? ก่อนที่จะเข้าสู่ความสงบเป็นอย่างไร?ฯลฯ
     
  12. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สติเป็นสำคัญมากนะ เรื่องสตินี้เว้นไม่ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใดของนักภาวนา จะเผลอไปไม่ได้ นี่คือหลักแห่งการภาวนาเพื่อจะให้จิตสงบ

    จิตนี่ต้องถูกควบคุมอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าอิริยาบถใด
     
  13. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ความจริงข้าพเจ้าเขียนเป็นกระทู้ไว้ในหมวดนี้แล้ว แต่คงถูกลบไป ก็เลยเอามาให้คุณได้ศึกษาหาความรู้ ทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ จะได้ไม่เพ้อเจ้อหลงในทางที่ผิดๆ
    ฌาน(ชาน)...และ...สมาธิ ๓
    ระบบการทำงานของร่างกาย ยากนักที่จะมีผู้รู้และเข้าใจอย่างถึงแก่นแท้ รู้เพียงตำราแล้วเอามากล่าวอ้าง ไม่ค่อยถูกต้องนัก เพราะแท้จริงแล้ว ระบบการทำงานของร่างกายซับซ้อน หากไม่ได้เรียนรู้และเปรียบเทียบกับหลักทางศาสนา ก็ไม่มีทางรู้ ไม่มีทางเข้าใจ ดังนั้นจึงใคร่นำเอาความรู้นี้มาเผยแพร่เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ฌาน(ชาน) และ สมาธิ ๓ ดังนี้.-
    ฌาน...(ชาน)แบ่งออกเป็น
    ๑.ปฐมฌาน มี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคคตา
    ขณิกสมาธิ,จะเกิดขึ้น ก่อนหน้า ที่จะมี วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ขอรับ
    เมื่อมีสมาธิชั่วขณะ ทำให้เกิด วิตก วิจารณ์ เพราะผู้ปฏิบัติ ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ แห่งความ วิตก วิจารณ์ นั้นๆ คำว่า ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ก็คือ ผู้ปฏิบัติ ปล่อยให้จิตไหลตามความต้องการแห่งความ วิตก วิจารณ์ ในเรื่องต่างๆ ที่ได้ประสบมา ซึ่ง บางคน อาจเกิด วิตก วิจารณ์ ไปในทางด้าน ความรู้สึก ว่าเห็นนั่นเห็นนี่ หรือ รู้สึกตัวเบาบาง ลอยได้บาง และอื่นๆอีกมากมาย
    เมื่อเกิด วิตก วิจารณ์ จนจบเรื่องตามความต้องการของผู้ปฏิบัติแล้ว ก็จะเกิดความพอใจ คือ ปีติ และเกิดความรู้สึกเป็นสุข สบาย และบ้างก็จะเกิด สมาธิที่หนักแน่น คือ เอกัคคตา เพราะไม่เกิด วิตก วิจารณ์ต่อเนื่องอีก บางคนเมื่อเกิด ความพอใจและเป็นสุขแล้ว ก็เกิด ขณิกะฯ มีสมาธิชั่วขณะขึ้นมาอีก และก็เกิด วิตก วิจารณ์ เรื่องอื่นๆ ต่อเนื่องไปอีก ก็เป็นได้
    (ที่กล่าวไปข้างต้น เป็นเพียงอธิบายพอสังเขป ยังมีรายละเอียดอีกมาก)
    ซึ่งคำอธิบายที่ได้กล่าวไปข้างต้น ก็จะครอบคลุมไปถึง ๒.ทุติยฌาน(ชาน) และ ๓.ตติยฌาน อีกด้วย
    สำหรับ ข้อ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ นั้น จะจัดอยู่ใน
    ๔.จตุตถฌาน หาก ผู้ปฏิบัติ รู้จัก และสามารถระงับ หรือ ควบคุม ไม่ให้เกิด วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข ได้ ก็จะเกิด เพียง ความวางเฉย ขณะเกิดความวางเฉย นั้น ก็คือ อุปจารสมาธิ คือ สมาธิ ขั้น จวนเจียน
    เมื่อพ้นจาก ความวางเฉยไปแล้ว คือ ไม่เกิด วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข และความวางเฉย นั่นแหละ อัปปนาสมาธิ คือ สมาธิแน่วแน่
    ทั้งหมดต้องอ่านและทำความเข้าใจให้ดี เพราะบางครั้งการเขียนอักษร ก็ไม่สามารถอธิบายได้ละเอียดมากนัก ซึ่งข้าพเจ้าคะเนว่า คงไม่เกินความสามารถของผู้ที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา และผู้สนใจใฝ่ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทางพุทธศาสนา คงได้ทำความเข้าใจให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้

    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
     
  14. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้าอยากได้ฌาน ตามที่ตำราเขียน มี หนึ่ง สองสาม สี่
    อยากแล้วพยายา่มแล้ว แต่ไม่ได้
    ให้กำหนดรู้ทุกข์ และรู้สาเหตุของมัน คืออยากแต่ไม่ได้
    ปรกติคนจะหาอารมร์ที่มีลักษณะไม่ยอมรับรู้สุขทุกข์
    ซึ่งมันคืออวิชชา ไม่ใช่อุเบกขา
    อุเบกขาคือถ้าทุกข์ก็รู้อยู่ สุขก็รู้อยู่
    และไม่สุขไม่ทุกข์ ก็รู้อยู่

    ไม่ใช่ไม่รู้ สุขไม่รู้ทุกข์

    ลองสวดอิติปิโส แบบสามห้องนับลูกประคำไปด้วย

    กำหนดว่าอยาก
    อยากคือตัญหา กำหนดว่าอยาก
    ให้กำหนดว่าอยากได้ฌาน

    มีอานิสงค์มันคือสมุทัย
    สวดอิติปิโสให้กำหนดอยากได้ฌาน แต่ไม่ได้ฌานซักทีน้อ
    เป็นทุกข์เลย
    และห้ามเลิกกำหนด ให้ทุกข์ฉ่ำใจ ห้ามเลิกสวดอิติปิโส

    ดูตอนอยากดับ
    กำพหนดรู้อยาก รู้ว่าอยาก และสวดอิติปิโสดูทุกข์
    จนอยากดับทำซ้ำๆ
    มันจะไล่ไป มีปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา

    ไอ้ไม่ยอมรับรู้สุขทุกข์ อาจจะเป็น เนวสัญญานาสัญญาจริง แต่
    ชักนำอวิชชามาเยอะเกิน
     
  15. บุญยง โคกกระทา

    บุญยง โคกกระทา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    2,709
    ค่าพลัง:
    +3,235
    ถ้าปรงได้จริงว่าภาวนาให้ตายก็ไม่ได้ฌานแน่ๆ
    แล้วไม่รู้ว่ากำลังสุขหรือทุกข์
    บางทีไม่ใช่อุเบกขา
    เป็นอวิชชา
    ไหนไหนก็ปรงได้ว่า ต่อไม่ได้ฌานก็ไม่สน
    ให้กำหนดรู้ว่าทุกข์
    อย่าไปกำหนดไ ม่รู้สุข ไม่รู้ทุกข์เด็ดขาด ไม่มีอานิสงเลย อวิชชาล้วนๆ ร้อยรัดล้วนๆ
    ให้กำหนดรู้อยากได้ฌาน และกำหนดรู้ทุกข์ จะมีอานิสงค์ในการภาวนา
    มีอานิสงค์มากกว่า ทรงสมาบัติที่ปราณีตที่สุด ชื่อเนวสัญญานาสัญญา ล้านโกฐอสงไขยเท่า

    สมาบัติแปด แทบไม่มีอานิสงอะไรเลย เปล่าประโยชน์เสียเวลา

    กำหนดรู้ว่าไม่ได้ แต่ยังอยากได้อยู่และกำหนดรู้ทุกข์
    สวดอิติปิโสเข้าไป
     
  16. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    อย่าเพิ่งด่วนสรุปอะไรง่ายๆเอาอย่างนี้สิท่าน

    พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ต้องเข้าถึงฌาน เพื่อเป็นเครื่องมือของการเจริญโพธิญาณ

    พระอริยะฝ่ายเจโตวิมุติ ต้องได้ฌาน จึงได้มรรคผล

    พระอริยะฝ่ายปัญญาวิมุติ ที่เป็นสุกขวิปัสสโก ต้องได้ฌาน4 เป็นอย่างต่ำ จึงเข้าถึงมรรคผล อย่าไปคิดเชียวว่า สุกขวิปัสสโก ไม่ต้องทำฌาน ท่านเจริญฌาน เพียงแต่ไม่ชำนาญในฌาน จึงไม่เกิดสมาบัติ ไม่สามารถเข้าถึงอภิญญา จึงแสดงฤทธิ์ไม่ได้เท่านั้นเอง

    สรุปว่า ฌาน นั้น เป็นของที่ต้องทำให้ถึงครับ

    และไม่มีวิธีที่เป็นทางลัดหรือเคล็ดลับอะไรทั้งสิ้น มีแต่ความเพียรที่ไม่สิ้นสุด และการรู้จักวางอารมณ์ในใจไม่ให้ความอยากมันลำ้หน้าจูงจมูกไปเรื่อยเท่านั้นเอง
     
  17. teww

    teww เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    604
    ค่าพลัง:
    +1,534
    เข้าฌาณไม่ได้ นั่งสมาธิมีแต่มืดตื๊อ เพราะศีลคุณไม่บริสุทธิ์ค่ะ
     
  18. DR-NOTH

    DR-NOTH เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    581
    ค่าพลัง:
    +1,276
    สิ่งสำคัญของการเจริญสมาธิกรรมฐานคือการได้มาซึ่งความมีสติรู้ตัวเท่าทันความคิดอันเกิดขึ้นได้ทุกเวลานี้ แล้วไม่หลงไหลไปกับมัน มีสติเฝ้ามองเฝ้ารู้จนเกิดปัญญาพิจารณาเห็นรูปนามนี้ไหลไปตามกระแสไตรลักษณ์หรือที่เรียกว่ามหาสติ
    จงระวังมิใ้ห้จิตใจนี้ลุ่มหลงหรือติดอยู่ในรายละเอียดปลีกย่อยจนไปไม่ถึงจุดหมาย ....โมทนา.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 3 พฤษภาคม 2014
  19. อินทรี

    อินทรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    418
    ค่าพลัง:
    +562
    เดี๋ยวก้ได้เองครับ การทำสมาธิ ให้จิตเปนสมาธินั้น จิตเรามันต้องสบายๆก่อน
    ไม่กังวล หรือเคร่งเครียดไป ไม่ความอยากเปนตัวนำด้วย หากเราข่มความอยากไม่ได้แล้ว จิตจะเปนสมาธิ้ได้ยาก

    ลองสังเกตดูว่า วันไหนใจเราปลอดโปร่ง โล่งสบายๆ มานั่งไม่ถึง ห้านาที จิตจะรวมเปนหนึ่ง เข้าสมาธิได้เร็วมาก จิตจะสงบลึกลงไปข้างใน แล้วอารมณ์ภายนอกแทบจะไม่สนใจเลยๆ

    และถ้าจิตมันอยากมากๆ ภาวนาแล้วสงบไม่ลงซักที ก้ให้ดูในความอยากนั้นแหละ ใช้สติพิจารณาความอยากในจิต ดูต่อไปเรื่อยๆ เราจะได้กำไรจากสิ่งที่ทำให้จิตไม่สงบนี้ ก้คือเมื่อจิตสงบแล้ว ก้สติพิจารณาในความสงบ แต่เมื่อจิตมันไม่สงบ ก้ให้หัดพิจารณาในความไม่สงบของจิตนี่ พอผ่านตรงนี้ได้แล้วเพราะจิตมันว่าง มันปล่อยวางความอยากได้แล้ว จิตจะคืนสู่ความสงบอีกครั้งครับ จะเปนอุปจาระ หรืออะไร ก้แล้วแต่ธรรมชาติของจิตเปนไป
     
  20. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,458
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,011
    อย่าไปเร่งรัดครับคุณ sanjames หมั่นปฏิบัติไปทุกวัน ไม่ต้องไปสนใจอะไรครับ เราปฏิบัติเพื่อละไม่ใช่ให้ยึดครับ ปฏิบัติไปเรื่อย ๆ ทําไปในทุก ๆ วัน เดี๋ยวซักวัน คุณ sanjames ก็จะถึงณาน 4 เองครับ ไม่ต้องกังวลไปครับ ขอเป็นกําลังใจให้นะครับ ขอให้ตั้งใจปฏิบัติต่อไปครับ อนุโมทนาครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...