(ผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร) เลขเด่นงวดประจำวันที่ 16 ก.ค. 58 หน้าที่ 261 ...แชร์ความฝัน ^__^

ในห้อง 'ดูดวง และ ทำนายฝัน' ตั้งกระทู้โดย aegmanmu, 15 มิถุนายน 2013.

  1. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    ใช่ครับ งวดหน้าลองตามดีไหม อิอิ
     
  2. konngaam

    konngaam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2008
    โพสต์:
    615
    ค่าพลัง:
    +369
    งวนนี้พลาดไปแต่ได้เลขวิ่งช่วยไว้เลยไม่ขาดทุน

    งวดที่จะถึงก็ลองคำนวนเล่นๆแล้วครับ

    3 7 7

    ถ้าไม่พลาด 7 มาแน่ ฟันเฟิร์ม :cool:
     
  3. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    ดูมั่นใจมาก 555
     
  4. kwanzy

    kwanzy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +662
    กว่าคุณเอกจะมาบอก บางทีมันก้ไม่ทันค่าา
    งวดนี้ไปเที่ยวเลยไม่ได้เล่น 555
     
  5. maleeluckc

    maleeluckc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +192
    งวดหน้าขอพระอาจารย์เอก ให้แบบตัวเดียวฟันธงเลยค่ะ
     
  6. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    ก็ว่ากันไปนะ 555+
     
  7. พิชญากร

    พิชญากร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    909
    ค่าพลัง:
    +5,260
    ...งวดนี้ยังไม่ซื้อค่ะ แต่งวดหน้า วันที่ 16 พ.ค นี้ เจอกันแน่ หุหุ

    ว่าแต่คุณเอกคิดสูตรหรือยังคะ รอๆอยู่
     
  8. kwanzy

    kwanzy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +662
    รบกวนถามหาความรู้นิดนึงค่ะ

    ปกติที่เรียนมาแต่เด็กจะเข้าใจว่าเจ้าชายสิทธัตถะ คือพระพุทธเจ้า พระศาสดาในศาสนาพุทธ แต่พอหลังๆนี้ได้ยินถึงพระพุทธเจ้าหลายองค์เลยเริ่มงงค่ะ ใครช่วยให้ความกระจ่างที

    คุณเอก พอมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับที่มาของเทพศาสนาฮินดู / จีน / ไทย ในพระพุทธศาสนาไหมคะ ขวัญอยากได้ข้อมูลตรงนี้มาประกอบการเขียนหนังสือค่ะ (อาจจะมีให้ช่วยหลายเรื่องอยู่เหมือนกัน 555+)
     
  9. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    รอว่างก่อนนะครับ
     
  10. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    อุต๊ะ
     
  11. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    [​IMG]

    [​IMG]

    พระนามของพระพุทธเจ้า

    สิทธัตถะ มาจากคำบาลี ๒ คำ คือ
    สิทฺธ แปลว่า ประสบแล้ว กับ
    อตฺถ แปลว่า ความปรารถนา
    รวมมีความหมายว่า ผู้ที่สมความปรารถนาแล้ว
    ไม่มีผู้ใดทราบแน่ชัดว่าพระพุทธเจ้ามีพระนามเดิมว่ากระไร แต่ที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สิทธัตถะเป็นพระนามเดิมของพระองค์ เนื่องจากเป็นชื่อที่พบในคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยหลัง มีใจความว่า
    เมื่อพระนางสิริมหามายาประสูติพระกุมารผู้มีบุคลิกลักษณะเป็นมหาบุรุษได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะได้ประชุม พราหมณ์ผู้มีความสามารถทางพยากรณ์ มาพยากรณ์พระชะตาและถวายพระนาม พราหมณ์ทั้งหลายเห็นลักษณะมงคลของพระกุมารจึงถวายคำพยากรณ์ว่า หากกุมารนี้ไม่ได้ออกผนวช จะได้เป็นมหาจักรพรรดิแห่งโลก หากออกผนวชก็จะได้เป็นศาสดาที่ยิ่งใหญ่ จึงพร้อมใจกันถวายพระพรว่า
    สิทธัตถะ ซึ่งแปลว่า ขอทรงเป็นผู้สมความปรารถนา
    คำนี้หากใช้รูปคำสันสกฤต จะใช้คำว่า สิทธารถะ หรือ สิทธารถ

    สมณโคดม
    โคดม มาจากบาลี สันสกฤตว่า โคตม มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า พระอาทิตย์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด หรือ วัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
    โคตมะ เป็นชื่อของฤาษีโบราณตนหนึ่ง หลักฐานจากคัมภีร์พระเวทกล่าวว่า โคตมะ เป็นชื่อบรรพบุรุษรุ่นแรกๆ ของมนุษย์ มีลูกหลานมากมาย คงเป็นชื่อผู้นำเผ่าหนึ่ง ผู้ที่สืบสกุลมาจากฤาษีโคตมะ จึงใช้ชื่อว่า โคตม หรือ โคตมโคตร หลักฐานบางแห่งก็ใช้ว่า อาทิตยโคตร เพราะคำว่า โค แปลว่า
    วัว หรือ พระอาทิตย์ ก็ได้
    การที่มีผู้เรียกพระนาม สมณโคดม ก็เพื่อระบุชี้ชัดว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพบุรุษที่มีชื่อว่า
    โคตมะ เมื่อใช้ว่า สิทธัตถะโคตม โคตร ก็หมายถึง เจ้าชาย
    สิทธัตถะผู้เป็นลูกหลานของฤาษีโคตมะ นั่นเองคำว่า สมณโคดม เป็นคำที่คนทั่วไปใช้เรียกพระพุทธเจ้าเพื่อยกย่องวงศ์ตระกูลของพระองค์ด้วย

    ตถาคต
    เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงใช้ เป็นสรรพนามเรียกพระองค์เอง คำนี้มีความหมายแท้จริงว่ากระไรไม่มีใครทราบ แต่นิยมแปลกันว่า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น เนื่องจาก
    ตถา แปลว่า อย่างนั้น ดังนั้น ฉันนั้น
    คต แปลว่า ไปแล้ว นั่นเอง
    "ผู้ที่ไปแล้วดังนั้น" สันนิษฐานว่าอาจจะหมายถึง ผู้ที่ได้ดำเนินไปสู่ทางที่ถูกต้อง นั่นคือ ผู้ที่กำลังจะดำเนินไปสู่แดนแห่งพระนิพพาน เนื่องจากได้กำจัดอาสวะกิเลสในสันดานให้หมดสิ้นไปแล้ว หลักฐานที่สนับสนุนคำแปลก็คือ ข้อความหลายๆ แห่งในพระสูตรได้ใช้คำว่า ตถาคต เป็นสมญานามเรียกพระอรหันต์ด้วย
    อาจแยกศัพท์ได้ว่า ตถา + อาคต แปลว่า ผู้มาแล้วอย่างนั้น หมายถึง ผู้มาเพื่อชี้ทางไปสู่ทางที่ถูกต้อง คือ ทางพระนิพพาน
    ในสมัยพุทธกาล คำว่าตถาคตเป็นคำสามัญที่เข้าใจกันดีในหมู่พุทธศาสนิกชน และพวกต่างศาสนา คำว่า ตถาคต
    เป็นคำที่เกิดในสมัยพุทธกาล เพราะไม่พบคำนี้ในงานเขียนที่มีมาก่อนพุทธกาลเลย
    ภาษาจีนแปลคำว่าตถาคต ว่า ยูหลาย ตามรูปศัพท์
    แปลว่า ผู้มาแล้วอย่างนั้น คนไทยรู้จักในสำเนียงว่า ยูไล
    พระยูไล เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในศาสนาพุทธนิกายมหายาน

    พระโลกนาถ
    ใช้เป็นคำเรียกพระพุทธเจ้า บางทีก็ใช้เรียกพระเป็นเจ้าในศาสนา
    พราหมณ์ บางทีก็ใช้เรียกพระเจ้าแผ่นดิน
    มาจากคำบาลี สันสกฤต คือ
    โลก แปลว่า โลก สัตว์โลก ชาวโลก
    นาถ แปลว่า ที่พึ่ง รวมความว่า ผู้เป็นที่พึ่งของสัตว์โลก หรือชาวโลก
    ในภาษาสันสกฤต โลกนาถ หมายถึงพระผู้เป็นเจ้าทั้งสามของฮินดู คือ พระพรหม
    พระวิษณุ และพระศิวะ แต่ที่ใช้ในความหมายทั่วไปหมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
    เหตุที่ได้รับสมญานามนี้ เพราะพระองค์ได้ตรัสรู้ธรรมะอันล้ำเลิศอริยสัจ ๔
    และปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นความรู้ที่ใช้ในการกำจัดอาสวะกิเลสหมดสิ้นไปจาก
    จิตใจ แล้วทรงนำธรรมะนี้มาสั่งสอนชาวโลก ซึ่งมีดวงปัญญา สามารถสั่งสอนให้หลุดพ้นจากบ่วงกรรมแห่งสังสารวัฏ
    พระองค์ทรงอุทิศ เวลาตลอดพระชนม์ชีพหลังจากตรัสรู้แล้ว ในการสั่งสอน
    ชาวโลกและเทวดา เพื่อให้พ้นจากบ่วงกรรมนี้ จึงได้รับสมญาว่า พระผู้เป็นที่พึ่ง
    ของสัตว์โลกทั้งทวล

    สัพพัญญู
    มาจากภาษาบาลี แปลว่า ผู้รู้และเข้าใจความเป็นไปของสรรพสิ่ง
    คนทั่วไปมักแปลว่า ผู้รอบรู้
    เป็นสมญาที่คนทั่วไปเรียกพระองค์ ด้วยความยกย่องเป็นอย่างยิ่งว่า
    เป็นผู้ที่ล่วงรู้ความเป็นไปของสรรพสิ่งในโลก ในจักรวาล และในโลกแห่ง
    พระนิพพาน
    ในคัมภีร์สุตตันตปิฎกกล่าว่า พระพุทธเจ้าทรงมีความรู้ ๓ ประการคือ
    ความรู้เกี่ยวกับการเกิดในอดีตชาติของสรรพสัตว์ ความรู้เกี่ยวกับการบังเกิดขึ้น
    และดับไปของสรรพสัตว์ สรรพสิ่ง และความรู้ในการกำจัดอาสวะกิเลสให้หมด
    สิ้นไป นอกจากนี้คัมภีร์ในสมัยหลังยังกล่าวอีกว่า ทรงมีความรู้เกี่ยวกับโลก
    และจักรวาลด้วย
    ในพระสูตรและอรรถกถาต่างๆ กล่าว่า เมื่อมนุษย์ เทวดา หรือพระอรหันต์
    มีปัญหาสงสัยเกี่ยวกับข้อธรรมะ หรือปรากฏการณ์ใดๆ จะทูลถามพระพุทธองค์เสมอ พระพุทธเจ้าเป็นผู้รอบรู้เพียงพระองค์เดียว จึงได้รับยกย่องว่า
    พระสัพพัญญู

    ทศพล
    มาจากสันสกฤต ๒ คำ คือ ทศ แปลว่า ๑๐ กับ พล แปลว่า กำลัง
    กำลังทัพ รวมกันว่า ผู้มีกำลังเหนือกว่าผู้อื่น ๑๐ เท่า
    พระนามเป็นการเปรียบเทียบอำนาจธรรมะของพระพุทธองค์ว่า มีอานุภาพ
    ยิ่งใหญ่เหนืออำนาจของนักรบถึง ๑๐ เท่า หรือมีอานุภาพเทียบเท่ากำลังพลถึง
    ๑๐ กองพล
    พระพุทธเจ้าทรงสามารถเอาชนะกิเลสทั้ง ราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นสิ่งที่
    เอาชนะได้ยากยิ่ง ก่อนที่จะตรัสรู้ได้ทรงต่อสู้กับกิเลสและความเย้ายวนของ
    ความสุขทางโลก ซึ่งปรากฏในรูปของทัพพระยามารและธิดาทั้งสาม
    ทรงเอาชนะทัพพระยามารด้วยกำลังบารมี ๑๐ ซึ่งเปรียบได้กับกำลังพล
    ถึง ๑๐ กองพล

    สัมมาสัมพุทธเจ้า
    เป็นคำที่คนไทยคุ้นหูมากที่สุด
    มาจากคำว่า สมฺมา กับ สมฺพุทฺธ ในภาษาบาลี และ เจ้า ในภาษาไทย
    สมฺมา แปลว่า โดยชอบ โดยตลอดอย่างสมบูรณ์ หรืออย่างถูกต้อง
    สมฺพุทฺธ แปลว่า ผู้ทีรู้หรือผู้ที่เข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยพระองค์เอง
    เจ้า แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ แปลรวมกันว่า
    พระผู้ทรงรู้และเข้าใจความเป็นไปของสรรพสิ่ง และสรรพชีวิตในโลก
    และในจักรวาลอย่างถ่องแท้ หมายถึง พระผู้ทรงรู้ความจริงอันประสริฐ ได้แก่
    รู้ถึงสาเหตุของการเกิดและการดับของชีวิตและสิ่งต่างๆ รู้ถึงอดีตภพของสรรพ
    ชีวิต รู้ถึงทุกข์ ความไม่เที่ยง มูลเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ การขจัดทุกข์ และวิธีในการ
    ดับทุกข์ โดยใคร่ครวญตามหลักแห่งเหตุผล เพื่อการดับทุกข์ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
    จึงเป็นพระนามที่พุทธศาสนิกชนใช้เพื่อสรรเสริญพุทธปัญญา ที่สามารถ
    ตรัสรู้ธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ได้ด้วยพระองค์เอง

    พุทธมามกะ
    มาจากคำบาลี ๒ คำ
    พุทธ แปลว่า รู้แล้ว หรือ ตื่นแล้ว หมายถึงผู้ตรัสรู้อริยสัจ คือ พระพุทธเจ้า
    มามกะ แปลว่า เป็นของเรา
    พุทธมามกะ จึงแปลว่า ผู้ที่นับถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา
    ใช้เป็นคำเรียกผู้ที่ได้ปฏิญาณตนขอนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว
    ในการประกอบพิธีปฏิญาณตนต่อหน้าพระสงฆ์
    สำหรับผู้เป็นชายใช้คำแทนตัวว่า พุทธมามกะ ส่วนผู้หญิงใช้คำแทนตัวว่า
    พุทธมามิกา

    พุทธางกูร
    จากบาลีสันสกฤต พุทธ หมายถึง พระพุทธเจ้า
    องฺกูร แปลว่า หน่อ หรือ ต้นอ่อนของพืช
    แปลรวมว่า เนื้อหน่อที่จะเจริญเติบโตไปเป็นพระพุทธเจ้า
    หมายถึงพระโพธิสัตว์ผู้พากเพียรบำเพ็ญบารมีเพื่อให้ได้ไปเกิดเป็น
    พระพุทธเจ้า

    พระชินสีห์
    มาจากบาลี ชิน แปลว่า ผู้ชนะ
    สีห แปลว่า ราชสีห์ หรือ สิงโต จึงแปลว่า
    ราชสีห์ผู้ชนะ ราชสีห์เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ มีพละ
    กำลังมาก ท่วงท่าสง่างาม เป็นที่เกรงขาม ได้รับการยอมรับให้เป็นเจ้าแห่ง
    สัตว์บกทั้งหลาย การที่พุทธศาสนิกชนใช้คำว่า สีห มาเป็นพระนามพระองค์
    ก็เพราะเปรียบกำลังแห่งพระปัญญา อำนาจแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ลึกซึ้ง และ
    ความเป็นใหญ่กว่าบุคคลอื่นของพระองค์ กับกำลังอำนาจและความเป็นใหญ่
    ของราชสีห์

    ชินราชา หรือ ชินราช
    แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผู้ชนะ หรือ ราชาแห่งวีรบุรุษ เป็นคำที่พบใน
    วรรณคดีพุทธศาสนาภาษาไทย เช่น ปฐมสมโพธิกถา
    การที่กวีไทยถวายพระสมัญญานามว่า ชินราชา ก็เพื่อเปรียบเทียบ
    ชัยชนะของพระองค์ที่มีเหนืออาสวะกิเลส ว่ามีความยิ่งใหญ่กว่าชัยชนะของ
    วีรบุรุษผู้ชำนาญการรบจนมีชัยเหนือศัตรู ชัยชนะของพระพุทธเจ้าเป็นชัยชนะ
    ที่มีเหนือศัตรูร้ายคือ ความโลภ โกรธ หลงของพระองค์เอง เป็นชัยชนะเหนือ
    จิตใจพระองค์เอง เป็นชัยชนะที่มิได้มาจากความพินาศหรือความเดือดร้อน
    ของผู้อื่น ชัยชนะของพระองค์จึงยิ่งใหญ่กว่าชัยชนะของวีระบุรุษอื่นๆ ทรงเป็น
    ราชาแห่งวีระบุรุษ ราชาแห่งผู้ชนะทั้งหลาย

    พระชินวร
    มาจากบาลีสันสกฤต ชิน แปลว่า ผู้ชนะ ในวรรณคดีพุทธศาสนา
    หมายถึงพระพุทธเจ้า วร เมื่อใช้เป็นคำขยายนาม แปลว่า เลิศ
    ประเสริฐ
    ชินวร อาจแปลว่า บุคคลผู้ประเสริฐซึ่งเป็นผู้ชนะ
    บุคคลผู้ประเสริฐเพราะสามารถเอาชนะกิเลสและความเย้ายวนต่างๆ
    ทางโลกได้อย่างเด็ดขาด
    คำว่าชินวร จึงมีความหมายคล้ายคำว่า ชินราชา และ ชินสีห์
    ไม่ปรากฏใช้ในวรรณคดีพุทธศาสนาในภาษาบาลีสันสกฤต
    หากปรากฏเป็นศัพท์ทางวรรณคดีไทย หรือใช้เป็นชื่อพระพุทธรูป พระภิกษุ

    พระศากยมุนี
    มาจากสันสกฤต ศากย แปลว่า ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวศกะ
    ศากยะ เป็นชื่อนักรบเผ่าหนึ่ง มีผิวเหลือง สันนิษฐานว่าเป็นพวก Indo -
    Scythians ซึ่งมีกล่าวถึงในประวัติศาสตร์ว่าได้เข้ามาครอบครองอินเดีย
    ตอนเหนือในสมัยก่อนพุทธกาล ชาวศากยะมีนครหลวงที่กรุงกบิลพัสดุ์
    มีหลายโคตรวงศ์ ที่สำคัญคือโคตรวงศ์ของพระพุทธเจ้า ซึ่งกล่าวว่าสืบเชื้อสาย
    มาจากฤาษีโคตมะ
    มุนี แปลว่า ผู้เรียน ผู้บำเพ็ญสมาธิ
    ศากยมุนี จึงแปลว่า พระมุนีชาวศากยะ เป็นสมัญญานามที่ใช้เรียก
    พระพุทธเจ้าเพื่อยกย่องเผ่าพันธุ์ของพระองค์
    การที่เรียกว่า มุนี นั้น ก็เพราะพระองค์เป็นผู้ใฝ่หาความสงบเงียบ
    เพื่อตั้งจิตบำเพ็ญสมาธิ

    พระผู้มีพระภาคเจ้า
    แปลจากภาษาบาลีว่า ภควนฺตุ คำนี้ถ้าปรากฏเป็นประธานในประโยค
    ก็จะเปลี่ยนรูปเป็น ภควา
    แปลตามรูปศัพท์ว่า ผู้มีโชค ผู้มีความสุข
    เป็นคำที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมอินเดียโบราณ ใช้เรียกผู้มีอาวุโส
    ผู้มีสติปัญญาเลิศ หรือผู้ที่อยู่ในสถานภาพสูงสุดของสังคม นอกจากนี้ยังใช้เป็น
    คำเรียกเทพเจ้าด้วย
    การที่พุทธศาสนิกชนออกพระนามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะต้องการ
    ยกย่องพระองค์ว่า เป็นผู้มีอาวุโส มีสติปัญญาเหนือผู้อื่นสามารถตรัสรู้ธรรมะ
    อันลึกซึ้ง นอกจากนี้ยังใช้เพื่อยกย่องว่า ทรงมีสถานภาพสูงสุด และอยู่เหนือ
    พุทธบริษัททั้ง ๔ และทรงเป็นผู้มีความสุขอันเนื่องมาจากการดับอาสวะกิเลส
    ได้จนหมดสิ้นแล้ว

    พระสรรเพชญ์
    ยืมมาจามสันสกฤต สรฺวชฺญ แปลว่า ผู้รอบรู้ ผู้รู้ทุกสิ่ง
    ในภาษาสันสกฤตใช้คำนี้เรียก พระพุทธเจ้า พระศิวะ พระอรหันต์ ในศาสนาเชน
    และเจ้าลัทธิอื่นๆ ด้วย
    ในพระพุทธศาสนา คำว่า สรรเพชญ์ ใช้กับพระพุทธเจ้าเท่านั้น เพราะพระองค์
    ทรงเป็นผู้มีสรรเพชญดาญาณ แม้พระอรหันตสาวกก็ยังไม่บังเกิดภาวะ
    สรรเพชญดาญาณ หรือ ความเป็นผู้รู้ทุกสิ่งดังเช่นพระพุทธเจ้า จึงปรากฏอยู่
    เสมอที่พระอรหันต์ทูลขอให้พระองค์ตรัสเล่ามูลเหตุของปราฏกการณ์ที่ตนเอง
    ไม่ทราบ หรือขอให้ทรงอธิบายปรากฏการณ์ที่เกินกำลังความรู้ของตน
    พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ไม่แตกต่างกันในเรื่องของความรู้ที่ใช้ดับกิเลส
    แต่แตกต่างที่พระพุทธเจ้าเป็นผู้เดียวในพระพุทธศาสนาที่มีสรรเพชญดาญาณ
    คือความรู้แห่งความเป็นผู้รู้ทุกสิ่ง


    [​IMG]
     
  12. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    [​IMG]

    มนุษย์เราต้องเวียนตายเวียนเกิดมานับชาติไม่ถ้วน ตราบใดที่เรายังไม่บรรลุถึงที่สุดแห่งธรรม ยังสร้างบุญบารมีได้ไม่มากพอ กิเลสหรือว่ากรรมจะนำเรามาเกิดอีก แม้กระทั่งเรายังมีชีวิตอยู่ จิตของเราก็เกิดดับตลอดเวลา ดังนั้นทุกวินาทีของการหายใจมีสติอยู่กับตัว ระลึกตัวทั่วพร้อมในการทำความดีอยู่ทุกขณะ เพื่อความไม่ประมาทในการดำรงชีวิตของเรากันนะครับ

    กรรมกับสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด หลักกรรมจะดำรงอยู่ไม่ได้หรือถ้าได้ก็ไม่สมบูรณ์ ถ้าไม่มีเรื่องสังสารวัฏ เพราะชีวิตเดียวสั้นเกินไป ไม่พอพิสูจน์กรรมให้หมดสิ้นได้ มีปัญหาหลายอย่างที่น่าสงสัย เช่น ทำไมคนดีบางคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างต้อยต่ำลำบาก สุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์ ร่างกายอ่อนแอ ส่วนคนที่ใคร ๆ เห็นว่าชั่วบางคนกลับมีความเป็นอยู่อย่างสุขสำราญ มีร่างกายแข็งแรง เราไม่อาจคลายความสงสัยได้ ถ้าพิจารณาชีวิตกันเพียงชาติเดียว หลักกรรมและการเกิดใหม่จะบอกเราว่า คนที่เราเห็นว่าชั่วนั้น เขาย่อมต้องเคยทำกรรมดีมาบ้างในอดีต และคนที่เราเห็นว่าดีอยู่ในเวลานี้ ย่อมต้องเคยทำกรรมชั่วมาบ้างเหมือนกัน กรรมดีย่อมให้ผลดี กรรมชั่วย่อมให้ผลชั่ว ตามอิทธิพลของมัน เที่ยงตรงที่สุดไม่เลือกที่รักผลักที่ชัง

    อนึ่ง หลักทางพระพุทธศาสนา (ตามปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) มีอยู่ว่า ...

    ตราบใดที่บุคคลยังมี กิเลสอยู่เขาย่อมต้องทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง กรรมดีย่อมมีวิบาก (ผล) ดี กรรมชั่วมีวิบากชั่ว วิบากดีก่อให้เกิดสุข วิบากชั่วก่อให้เกิดทุกข์ สุขทุกข์เหล่านั้นย่อมมีชาติ คือความเกิดเป็นที่รองรับ ปราศจากความเกิดเสียแล้ว ที่รองรับสุขทุกข์ย่อมไม่มี กรรมก็เป็นหมันไม่มีผลอีกต่อไปพูดอย่างสั้นว่า ตราบใดที่บุคคลยังมีกิเลสอยู่ เขาย่อมเกิดอีกตราบนั้น

    บุคคล ที่ยังพอใจอยู่ในกาม คือยังไม่อิ่มในกาม ยังมีความกระหายในกาม ใจยังแส่หากาม ย่อมเกิดอีกในกามภพ เพื่อเสพกามตามความปรารถนาของดวงจิต ที่มีกามกิเลสห่อหุ้ม พัวพัน คลุกเคล้าอยู่

    บุคคลที่หน่ายกามแล้ว เลิก ละ กามแล้ว แต่จิตยังเอิบอิ่มอยู่ในฌานสมาบัติเบื้องต้น ๔ ขั้น ที่ท่านเรียกว่ารูปฌาน เขาย่อมเกิดอีกในรูปภพ เพื่อเสพสุขอันเกี่ยวกับฌานในภพนั้น ท่านผู้พอใจในความสุขอันประณีตกว่านั้น ที่เรียกว่าความสุขในอรูปฌาน ย่อมเกิดอีกในอรูปภพ ผู้เบื่อหน่ายต่อความสุขอันยังเจืออยู่ด้วยกิเลสดังกล่าวมาแล้ว ละกิเลสได้หมด ไม่มีกิเลสเหลือ ก็เข้าถึงนิพพาน ไม่ต้องเกิดอีกต่อไป สิ้นสุดการเวียนว่ายตายเกิด ไม่ต้องสุขบ้าง ทุกข์บ้าง อีกต่อไป เป็นผู้พ้นจากสภาพที่จะเรียกได้ว่า เป็นอะไร เป็นอย่างไร พ้นจากสุขทุกข์ทั้งปวง ภพคือที่ถือกำเนิดของสัตว์จึงมี ๓ ภพ คือ กามภพ รูปภพ และอรูปภพ พ้นจากนี้แล้วไม่เรียกว่าภพ

    ในภวสูตร พระอานนท์เข้าไปทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ... ภพมีได้เพราะเหตุใด? พระผู้มีพระภาคตรัสถามย้อนว่า ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับกามจักไม่มีแล้ว กามภพจักมีได้หรือไม่? ถ้ากรรมที่เกี่ยวกับรูปธาตุ (รูปฌาน) หรือที่เกี่ยวกับอรูปธาตุ (อรูปฌาน) จักไม่มีแล้ว รูปภพ อรูปภพ จักมีหรือไม่? พระอานนท์ทูลตอบว่า มีไม่ได้เลย

    พระ พุทธองค์จึงตรัสว่า เพราะเหตุนี้แหละอานนท์ (ในการเกิดใหม่นั้น) กรรมจึงเป็นเสมือนเนื้อนา วิญญาณเสมือนพืช ตัณหาเป็นเสมือนยางเหนียวในพืช (กมฺมํ เขตฺตํ วิญฺญานํ พีชํ ตณฺหา สิเนโห) ดูก่อนอานนท์ ความตั้งใจ ความจงใจ (เจตนา) ความปรารถนาของสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องห่อหุ้ม มีตัณหาเป็นเครื่องรึงรัดได้ตั้งลงแล้วในธาตุอันเลว (กามธาตุ) ธาตุปานกลาง (รูปธาตุ) และธาตุประณีต (อรูปธาตุ) เมื่อเป็นดังนี้ การเกิดในภพใหม่ก็มีขึ้นได้อีก.....(อังคุตรนิกาย ติกนิบาตร)

    ตามพระ พุทธภาษิตนี้ ชี้ชัดทีเดียวว่า การเกิดใหม่ของสัตว์ ย่อมต้องอาศัยกรรม กิเลส (ตัณหา) และวิญญาณ มีความสัมพันธ์กันเหมือนเนื้อนาหรือดิน พืช และยางเหนียวในพืช อันทำให้พืชมีคุณสมบัติในการเกิดขึ้นใหม่ได้อีก เมื่อมีสภาวะแวดล้อมเหมาะสม พืชที่ถูกคั่วให้แห้ง หรือเอาเหล็กแหลมเจาะทำลายเม็ดในเสียแล้ว ย่อมไม่อาจเพาะหรือปลูกให้ขึ้นได้อีก ไม่ว่าสภาวะแวดล้อม เช่นดิน น้ำ ปุ๋ย จะดีสักเพียงไร ฉันใด วิญญาณที่ไม่มียางเหนียวคือตัณหา หรือกิเลสห่อหุ้มผูกพันอยู่ ก็ย่อมไม่ต้องเกิดอีก ไม่ควรเพื่อการเกิดใหม่ ฉันนั้น

    ตามนัยนี้ แสดงว่า พระพุทธเจ้าทรงยืนยันเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของวิญญาณที่ยังมีกิเลสและ กรรม ยังมีเจตนา มีความปรารถนาในกามภพ รูปภพ และอรูปภพ สัตว์จะไปเกิดในภพใดก็สุดแล้วแต่กิเลสและกรรมของเขาที่เกี่ยวกับภพนั้น เหมือนบุคคลฝึกสิ่งใด พอใจกระทำสิ่งใด ย่อมได้รับผลของสิ่งนั้น

    การเวียนว่ายตายเกิดจะสิ้นสุดลง ก็ต่อเมื่อบุคคลผู้นั้นได้พัฒนาจิตจนถึงที่สุด ละกิเลสตัณหาได้สิ้นเชิง สิ้นกรรมอันเป็นเหตุให้เกิดอีก เรื่องกิเลส กรรม และการเวียนว่ายตายเกิด จึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดและอย่างจำเป็น คือแยกกันไม่ได้ หลักกรรมและการเวียนว่ายตายเกิดหรือสังสารวัฏ จัดเป็นหลักคำสอนสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนา ดังพรรณนามาดังนี้ .... ... .. .
     
  13. Palita N

    Palita N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +1,515
    สวัสดีค่ะน้องเอก แวะมาทักทายค่ะ แถมได้ความรู้ดีๆจากน้องเอกด้วย ขอบคุณนะคะ
    พี่อ้อยค่ะ...
     
  14. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    สาธุครับพี่อ้อย สบายดีไหมเอ่ย
     
  15. Palita N

    Palita N เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    543
    ค่าพลัง:
    +1,515
    สวัสดีค่ะน้องเอก
    สบายดีค่ะ แต่ไม่มีสตังค์ใช้ 555 ยุ่งๆ อยู่ค่ะ ปิดเทอมมีงานตลอด จนโรงเรียนจะเปิดแล้วค่ะ น้องเอกสบายดีนะคะ

    พี่อ้อยค่ะ
     
  16. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    สบายดีพี่ 555 ไม่มีตังต้องทำงาน อิอิ
     
  17. kwanzy

    kwanzy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2013
    โพสต์:
    401
    ค่าพลัง:
    +662
    สรุปพระพุทธเจ้ามีพระองค์เดียวรึเปล่าคะ

    ขวัญยังรอข้อมูลที่มาของเทพพราหมณ์ฮินดู /จีน/ไทย ในพระพุทธศาสนา ประมาณนี้ค่ะ จากคุณเอกอยู่นะ 5555+
     
  18. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    พระพุทธเจ้ามีหลายพระองค์ครับ ลงมาตรัสรู้หลายพระองค์แล้ว
     
  19. Amata_club

    Amata_club เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    27,075
    ค่าพลัง:
    +52,176
    <object width="640" height="480"><param name="movie" value="//www.youtube.com/v/oMn2XYmBM1w?version=3&amp;autoplay=1"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="//www.youtube.com/v/oMn2XYmBM1w?version=3&amp;autoplay=1" type="application/x-shockwave-flash" width="640" height="480" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>

    วันนี้ วันพระ
     
  20. aegmanmu

    aegmanmu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    5,220
    ค่าพลัง:
    +10,114
    สาธุครับผม
     

แชร์หน้านี้

Loading...