อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดียามบ่ายคร๊าบบ คุณเหน่ง
     
  2. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    ไอ้หย่ะ ท่าจะเลี่ยมแขวนไม่ไหวครับ นึกว่าองค์เล็กๆครับ[​IMG][​IMG]
     
  4. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124

    น้อมกราบหลวงปู่ชา...สวัสดีครับคุณเหน่ง
     
  5. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  6. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    สวัสดีตอนเช้าครับ คุณเอ๊ะ คุณกูน คุณกันตฯ คุณโอ๊ต อ.โญ คุณปู คุณวุฒิ คุณอ้วน คุณตี๋ คุณวรรณ คุณเอ๋ คุณบอย คุณแพน คุณพีพี2 และสมาชิคอัลบั้มทุกคนนะคับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2014
  7. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    ไปรื้อพระหลวงพ่อจ้อยแม่มา มีตั้งหลายองค์ขนาดแม่ไม่ค่อยได้เก็บพระ สงสัยถ้าไปดูของพวกญาติๆคงมีกันเป็นร้อยองค์ เดี๋ยวว่างๆจะลงรูปให้ดูนะคับ
     
  8. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    ธงลป.ทวดอย่างหน้อยน่าจะ10ปีขึ้นแล้ว

    [​IMG]
    [​IMG]
     
  9. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    [​IMG][​IMG]
     
  10. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    [​IMG][​IMG]
     
  11. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    [​IMG][​IMG]
     
  12. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    [​IMG]
     
  13. วุฒิ สิงห์

    วุฒิ สิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    1,428
    ค่าพลัง:
    +13,055
    แหวนหลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน[​IMG]
     
  14. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    น้อมกราบหลวงพ่อแช่ม ขอร่วมแจมด้วยคับคุณวุฒิ รวมหลวงพ่อแช่ม

    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
    [​IMG]
     
  15. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระสมเด็จเนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ผสมผงพุทธคุณ

    วัดไชโยวรวิหาร ฯ จ.อ่างทอง ปี 2521

    ในปีพ.ศ.๒๕๒๑ มีพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ของวัดไชโย ในงานสมโภช ๑๙๐ปีแห่งชาตะของสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วันที่ ๒๔-๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ ตรงกับวันแรม ๑๐-๑๑ ค่ำเดือน๑๒โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตาญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรุงเทพฯ ทรงเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย และมีสมเด็จพระพุฒาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ เป็นองค์ดับเทียนชัย

    รายนามพระคณาจารย์ เจริญพระพุทธมนต์ บริกรรมภาวนาและสวดพุทธาภิเษก ดังนี้
    ๑.หลวงปู่คำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
    ๒.หลวงปู่สุด วัดกาหลง สมุทรสงคราม
    ๓.หลวงปู่เปรื่อง วัดสุวรรณภูมิ สุพรรณบุรี
    ๔.พระราชมงคลมุนี วัดชัยมงคล อ่างทอง
    ๕.พระมหาพุทธพิมพาภิบาล วัดไชโย อ่างทอง
    ๖.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
    ๗.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม กาญจนบุรี
    ๘.หลวงพ่อน้อย วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
    ๙.พระครูประสานนวกิจ วัดพระนอนจักร์สีห์ สิงห์บุรี
    ๑๐.หลวงพ่อเชื้อ วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
    ๑๑.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
    ๑๒.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
    ๑๓.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน
    ๑๔.พระครูศรีรัตนาภิวัฒน์ วัดวิเศษชัยชาญ อ่างทอง
    ๑๕.พระครูอดุลสุดกิจ วัดโคกพุทธา อ่างทอง
    ๑๖.พระครูใบฎีกาเจริญ วัดอ่างทองวรวิหาร อ่างทอง
    ๑๗.หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวนาราม นครปฐม
    ๑๘.หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง ชลบุรี
    ๑๙.หลวงพ่อสด วัดหางน้ำสาคร ชัยนาท
    ๒๐.หลวงพ่อคูณ วัดสระแก้ว นครราชสีมา
    ๒๑.พระอธิการสน วัดไทร อ่างทอง
    ๒๒.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
    ๒๓.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
    ๒๔.พระอาจารย์จำเนียร วัดละมุด อ่างทอง
    ๒๕.หลวงปู่วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร

    ๒๖.หลวงปู่สิม พุทธจาโร วัดสันติสังฆารามพรรณานิคม สกลนคร
    ๒๗.หลวงปู่คำแหง จนฺทสาโร วัดป่าสุวรรณนิเทศทรงธรรม ร้อยเอ็ด
    ๒๘.หลวงปู่คำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
    ๒๙.พระราชสุวรรณโมลี วัดต้นสน อ่างทอง
    ๓๐.พระราชสังวรญาณ(เจ้าคุณสนิท) วัดศีลขันธาราม อ่างทอง
    ๓๑.พระวิเศษชัยสิทธิ์ วัดอ่างทองวรวิหาร อ่างทอง
    ๓๒.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
    ๓๓.หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณมิตร กทม.
    ๓๔.หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี
    ๓๕.หลวงพ่อจรัล วัดอัมพวัน สิงห์บุรี
    ๓๖.พระครูสิริปัญญาธร วัดตูม อยุธยา
    ๓๗.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
    ๓๘.พระครูวิบูลคุณาวัตร วัดน้อย อ่างทอง
    ๓๙.พระครูวิรัตนธรรมวัตร วัดรางฉนวน อ่างทอง
    ๔๐. พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิ์ราชาวาส กทม.
    ๔๑.พระอาจารย์บัว วัดแสวงหา อ่างทอง
    ๔๒.หลวงพ่อชม วัดอินทราราม ชัยนาท
    ๔๓.หลวงพ่อบาง วัดหนองพลับ สระบุรี
    ๔๔.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
    ๔๕.หลวงปู่พล วัดหนองคณฑี สระบุรี
    ๔๖.หลวงพ่อพุทธิ วัดวงศ์พาสน์ อ่างทอง
    ๔๗.หลวงพ่อสวน วัดบางกระดาน ตราด
    ๔๙.พระอาจารย์สมภพ วัดสาลีโข นนทบุรี
    ๕๐.หลวงปู่แว่น วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร
    ๕๑.หลวงปู่ธูป วัดสุนทรธรรมทาน กทม.


    ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากนิตยสารพุทธคุณ ฉบับที่๖๔ เดือนเมษายน ๒๕๔๓ หน้า ๑๔ถึง๑๕ โดยคุณเนาว์ นรญา


    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  16. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    .......พระผงรูปเหมือนหลวงพ่อเกษมและเหรียญรุ่นมหากุศล ( อย.) ชุดนี้สร้างโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ปี 2532 โดย คุณสุธันย์ สุนทรเสวี เมื่อปี 2532 ทั้งนี้ปัจจัยที่ได้จากการบูชาวัตถุมงคลนี้ได้ยกให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนา สถานีอนามัยวัดน้อยแสงจันทร์ สมุทรสงคราม โดยวัตถุมงคลชุดนี้สร้างมวลสารอันศักสิทธิ์ +จีวรหลวงพ่อเกษม พิธีอธิษฐานจิต จัดขึ้นเมื่อวันวิสาขบูชา ตรงกับวันที่ 19 พฤษภาคม 2532 ในพิธีมหากุศลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ท่านหลวงพ่อเกษมได้เมตตาอธิษฐานจิตให้อย่างยาวนาน เกือบหนึ่งชั่วโมงเต็ม และในขณะเดียวกัน หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา ก็ได้เริ่ม เดินญาณส่งจิตมายังมณฑลพิธีเพื่อร่วมเสกด้วย

    [​IMG] [​IMG] [​IMG] [​IMG]
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระขุนแผนผงกุมารทองผงพรายกำเนิด (เก่ง เฮง) พระครูสถิตญาณคุณ วัดเตาเหล็ก อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา พุทธาภิเษก 4 เม.ย. 52

    หลวงพ่อกล่าวว่า พระชุดนี้ตั้งใจให้มีพระพุทธคุณด้านคุ้มครองป้องกัน มหาลาภ มหานิยมไว้เป็นหนึ่งเดียว ผู้ใดนำไปบูชาจะได้พ้นทุกข์พ้นภัยและพบกับความอุดมสมบูรณ์พูนสุข"



    มวลสารพระขุนแผนที่จัดสร้าง มีดังนี้

    1. มวลสารเพื่อเป็นเนื้อพระ จำนวน 7 ขวดโหลกับ 1 ถุง

    2. ผงพุทธคุณพระ 5 ประการ จำนวน 5 ขวดโหล

    3. ผงพรายกำเนิด จำนวน 1 ขวดโหลใหญ

    4. ผงพรายพระเสาร์ จำนวน 1 ขวดโหลใหญ

    5. ผงไม้มะยม (มหาเศรษฐี) จำนวน 1 ถุง


    [​IMG] [​IMG]
     
  18. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    [​IMG] [​IMG]

    พระครูอาคมวิสุทธิ์ (หลวงพ่อคง สุวณฺโณ)

    พระครูอาคมวิสุทธิ์ (หลวงพ่อคง สุวณฺโณ) วัดวังสรรพรส ต.บ่อ อ.ขลุง จ.จันทบุรี เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดรูปหนึ่งของภาคตะวันออก ร่วมสมัยเดียวกับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า หลวงพ่อศรีนวล วัดเกวียนหัก หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ และ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค เป็นต้นครับ

    วัตถุมงคลของหลวงพ่อคงแต่ละรุ่นล้วนมีประสบการณ์มากมายในทุกด้าน มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วประเทศ นับตั้งแต่สามัญชนจนถึงพระบรมวงศานุวงศ์ อาทิ พลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ พล.ต.ต.ม.ร.ว.พงศ์สระ เทวกุล ฯลฯ

    นามเดิมของหลวงพ่อคือ คง ฑีฆายุ โยมบิดาชื่อ ส้อง โยมมารดาชื่อ โอง ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๔๕ ตรงกับวันเสาร์ ปีขาล ณ บ้านตาพราย ต.สะตอ อ.เขาสมิง จ.ตราด อุปสมบทครั้งแรก พ.ศ.๒๔๖๖ อายุได้ ๒๑ ปี อุปสมบทครั้งที่ ๒ เมื่อวันอังคารที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๗๗ ขณะอายุได้ ๓๒ ปี ณ วัดชมพูราย จ.ตราด โดยมี พระอธิการผูก วัดสลัก เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "สุวณฺโณ"

    ท่านได้ศึกษาธรรมะและวิชาคาถาอาคมขลัง อักขระเลขยันต์จากโยมตาชื่อ หลวงคีรีเขตุ ซึ่งเป็นผู้มีวิชาทางคงกระพันเป็นเลิศ ตลอดจนพระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่อเม วัดมาบไผ่ ต.มาบไพ อ.ขลุง จ.จันทบุรี (หลวงพ่อเม ท่านมีวิชาขนาดเหาะเหินเดินอากาศได้ครับ), หลวงพ่ออ่ำ วัดสะตอน้อย ต.ตกพรม อ.ขลุง จ.จันทบุรี ,หลวงพ่ออุก หลวงพ่อเจาะ วัดโป่งโรงเซ็น ต.โป่งโรงเซ็น อ.มะขาม จ.จันทบุรี ,หลวงปู่วง (ปู่ของท่าน) ,หลวงพ่อหริ่ง ,ครูเต๋า ,และครูตาสด ฯลฯ

    หลวงพ่อคงได้ออกเดินธุดงค์ไปทั่วประเทศ ตลอดจนข้ามไปทางฝั่งประเทศพม่า กัมพูชา เพื่อฝึกฝนวิชาที่ท่านได้ร่ำเรียนมา โดยเฉพาะวิชา เสือสมิง ท่านมีความเชี่ยวชาญชำนาญเป็นพิเศษ ดังจะเห็นได้ว่า วัตถุมงคลของท่านแทบทุกรุ่น จะต้องมีรูปเสือสมิง ปรากฏอยู่ด้วย

    หลังจากที่ได้เดินธุดงค์จนเป็นที่พอใจแล้ว ท่านได้กลับมาอยู่ที่วัดวังสรรพรส และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่พ.ศ.๒๕๐๘ เป็นต้นมา

    หลวงพ่อคง นับเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าท่านหนึ่งที่มักจะได้รับนิมนต์ให้ไปร่วมนั่งปรกปลุกเสกวัตถุมงคลในพิธีพุทธาภิเษกตามวัดต่างๆ ทั่วประเทศตลอดเวลา ไม่ว่าจะวัดใกล้วัดไกลแค่ไหนก็ตาม นอกจากนี้ในส่วนตัวของท่านเองก็ได้สร้างวัตถุมงคลออกมาหลายรุ่น เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัตถุมงคลของท่านคือ จะมีรูปเสือสมิงอยู่ด้านหลัง หรือไม่ก็เป็น รูปพระปิดตา ซึ่งเป็นฝีมือการเขียนโดยตัวท่านเอง

    วัตถุมงคลของหลวงพ่อคงทุกรุ่นล้วนมีพุทธคุณเป็นเลิศในทุกๆ ด้าน เป็นที่เลื่องลือกันอย่างกว้างไกล นอกจากนี้ท่านยังมีความเชี่ยวชาญด้านรักษาโรคด้วยสมุนไพรอีกด้วย จนเป็นที่พึ่งพาอาศัยของชาวบ้านตลอดมา

    หลวงพ่อคงมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน ๒๕๓๒ เวลา ๑๐.๑๕ น. สิริรวมอายุ ๘๗ ปี พรรษา ๕๕

    หลังจากทีท่านมรณภาพไปแล้ว เล็บมือ เล็บเท้า เส้นเกศาของท่านจะยาวออกมาตลอดครับ
     
  19. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    [​IMG] [​IMG]
     
  20. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,124
    ค่าพลัง:
    +53,094
    [​IMG] [​IMG]

    หลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อยกับ...ตำนานตะกรุดโทนอันลือลั่นแห่งนนทบุรี : ท่องไปในแดนธรรม รูป/เรื่องไตรเทพ ไกรงู

    วัดไทรน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๔๐ หมู่ ๑ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี ติดคลองพระพิมล ภายในอุโบสถ มีพระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๗๒ นิ้ว ตั้งชื่อวัดตามหมู่บ้านว่าวัดไทรน้อย มีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม สอนนักธรรรมชั้นตรี-โท-เอก

    การสร้างวัดเริ่มต้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ กลุ่มมอญจากมหาชัยบ้านบางกระเจ้า บ้านไร่และบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร เข้ามาหักร้างถางป่า ซึ่งแต่เดิมเป็นชายป่ากระทุ่มมืดติดต่อกับป่าหนองเพรางาย เพื่อทำนา พระราชาภิมณฑ์ดำเนินการขุดคลองพระราชาพิมลจากคลองบางบัวทองมาทางทิศตะวันตก จนถึงป่ากระทุ่มมืดใกล้รางกระทุ่ม จึงมีคนมอญมาจับจองที่ดินริมคลองพระราชาพิมลมากขึ้น จนเป็นชุมชนเล็กๆ พ.ศ.๒๔๓๗ คนมอญเหล่านี้สร้างวัดในชุมชนขึ้น ชื่อวัดสาลีมุนีภิรมย์ หมายถึง บริเวณที่ตั้งวัดเป็นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารโดยเฉพาะข้าว และเป็นที่พำนักอันรื่นรมย์ของผู้ทรงศีล ซึ่ง มะธุ หรือตาธุ ได้บริจาคที่ดินจำนวน ๔๒ ไร่ ๒ งาน ใช้เป็นที่สร้างวัด ชาวบ้านได้ช่วยตัดต้นไม้ใหญ่ที่มีในพื้นที่มาเลื่อยทำเสา ทำกระดานและไม้สำหรับใช้สร้างที่พักสงฆ์

    พระที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างวัดแรกเริ่ม คือ หลวงตาโจ๊ก พระมอญ ดำเนินการก่อสร้างจนเป็นวัดมีพระสงฆ์มาอยู่จำพรรษาที่วัดสร้างใหม่แห่งนี้ หลวงตาโจ๊กอยู่จำพรรษาที่วัดนี้และช่วยเหลือในการก่อสร้างเสนาสนะ สิ่งก่อสร้างภายในวัดอยู่นาน เวลาต่อมาชาวบ้านนิมนต์พระอาจารย์เกร็บ พระมอญจากวัดปรมัยยิกาวาส ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี มาเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัด ต่อมาชาวบ้านวัดบึงลาดสวาย นิมนต์พระอาจารย์เกร็บ ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบึงลาดสวาย อ.บางเลน จ.นครปฐม

    พ.ศ.๒๔๙๕ เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดสาลีมุนีภิรมย์ เป็นวัดไทรน้อย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย พ.ศ.๒๔๙๙ พระอธิการเผื่อน เจ้าอาวาสวัดไทรน้อยรูปแรกในขณะนั้นมรณภาพ จึงได้นิมนต์ให้พระครูนนทสิทธิการ หรือหลวงพ่อประสิทธิ์ สิทธิกาโร มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๙๙ พร้อมทั้งบูรณปฏิสังขรณ์วัดไทรน้อย เมื่อออกพรรษาในปีเดียวกัน จึงฝังลูกนิมิตอุโบสถหลังเก่า ในปี พ.ศ.๒๕๕๕ หลวงพ่อประสิทธิ์มรณภาพ จึงได้แต่งตั้งพระครูไพบูลย์อาทรกิจ เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

    พระครูไพบูลย์อาทรกิจ บอกว่าหลวงพ่อประสิทธิ์ สิทธิกาโร หรือชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อวัดไทรน้อย เป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านตะกรุดโทน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่รู้จักกันทั่วไป จนสร้างวัด สร้างโรงเรียน วัดไทรน้อยได้สวยงาม พ.ศ.๒๕๐๐ ได้สร้างหอปริยัติธรรม ศาลาการเปรียญ กุฏิ และพ.ศ.๒๕๒๒ อุโบสถชำรุด จึงสั่งรื้อแล้วได้สร้างอุโบสถหลังใหม่โดยใช้เวลาสร้างประมาณ ๕ ปี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๗ จึงได้จัดงานฝังลูกนิมิต ได้กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาทรงเป็นประธานในพิธีตัดลูกนิมิตอุโบสถหลังใหม่

    ในการสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อประสิทธิ์ ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า "ที่ญาติโยมส่วนใหญ่หันมาพึ่งไสยศาสตร์กันมาก ก็เพราะว่าโลกเราถึงคราววิบัติ ไม่ว่าจะมีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ถูกปล้น หรือถูกลอบวางระเบิด ยิ่งสงครามด้วยแล้วทุกคนจะต้องหาเครื่องรางไว้ติดตัวป้องกันอันตรายต่างๆ นั่นเอง หลักการนำเครื่องราง หรือวัตถุมงคลไปใช้ มีอยู่เพียงหลักการเดียวต้องเป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ไม่ไปต้มตุ๋นหลอกลวงใคร เป็นคนมีศีลมีธรรมก็ใช้ได้แล้วและที่สำคัญอย่าไปด่าพ่อล่อแม่เขา หรือกินเหล้าเมาทำตัวเกเรอันธพาล หากทำตัวไม่ดี ความขลังก็จะกลายเป็นความเสื่อมได้ทันที"

    มหาเจดีย์มุนีภิรมย์

    พระครูไพบูลย์อาทร พระนักเผยแผ่และพระนักพัฒนาศูนย์ ทั้งนี้ ท่านได้จัดโครงการบรรชาสามเณรภาคฤดูร้อนมากว่า ๒๐ ปีแล้ว รวมทั้งพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดไทรน้อย เปิดสอนครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๐ มีคณะกรรมการบริหาร ประกอบด้วย ๑.ผู้อำนวยการ พระครูไพบูลย์อาทรกิจ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย ๒.รองผู้อำนวยการ ผอ.สุเทพ วิมลจริยาบูลย์ ๓.เลขานุการ พระสมศักดิ์ สุจิตฺโต และ ๔.ผู้ช่วยเลขานุการ ครูอรพิน นวลคำ

    โครงหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นโครงการใญ่ที่ท่านกำลังดำเนินการอยู่ คือ สร้างมหาเจดีย์มุนีภิรมย์ เพื่อฉลองพุทธชยันตี ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม มีขนาดกว้าง ๔๐.๕๐ เมตร ยาว ๔๐.๕๐ เมตร ความสูง ๔๙ เมตร มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงนครปฐม ทั้งนี้ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๕ โดยมีคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร่วมวางศิลาฤกษ์ งบประมาณการก่อสร้างประมาณ ๔๙ ล้านบาท ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างกำลังขึ้นชั้นสอง แล้วเสร็จประมาณ ๖๐%

    เนื่องจากการก่อสร้างมหาเจดีย์มุนีภิรมย์ ต้องใช้ปัจจัยในการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก วัดไทรน้อยจึงขอบอกบุญถึงผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา ร่วมบุญร่วมกุศลใหญ่ในการกุศลครั้งนี้ ผู้ที่ร่วมกุศลสร้างมหาเจดีย์มุนีภิรมย์จะได้รับตะกรุดโทนกลางปลุกเสกเดี่ยว โดยหลวงพ่อประสิทธิ์ ตลอดไตรมาส ระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๗-๒๕๕๐ และบรรจุลงกรุใน พ.ศ.๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน ได้เปิดให้บูชาเพื่อนำเงินสมบททุนสร้างมหาเจดีย์มุนีภิรมย์ สอบถามรายละเอียดโทร.๐-๒๙๒๓-๙๕๙๔ และ ๐๘-๖๕๐๔-๙๗๕๐

    ตะกรุดโทนหลวงพ่อประสิทธิ์

    พระครูนนทสิทธิการ หรือหลวงพ่อประสิทธิ์ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่โด่งดังทาง "ตะกรุด" มาตั้งแต่บวชเรียนใหม่ๆ ที่ใช้ได้ผลทางแคล้วคลาดปลอดภัย มีทั้งตะกรุดโทนเดี่ยว ตะกรุดโทนคู่ ตะกรุดโทน ๒ ชั้นดอกเล็กและดอกใหญ่ ตะกรุดหนังเสือดอกเล็กและดอกใหญ่ ตะกรุดทองแดง ตะกรุดไม้ไผ่ตัน ตะกรุดทองแดง ลงรักปิดทองดอกยาวและดอกสั้น ทั้งหมดนี้ตะกรุดดอกเล็กหรือดอกใหญ่จะมีความแตกต่างกันที่ยันต์ และตะกรุดเหล่านี้หากเขียนอักขระเรียบร้อยแล้วม้วนได้เลยโดยไม่ต้องปลุกเสก

    ทั้งนี้ มีเรื่องเล่าว่าหลวงพ่อประสิทธิ์ทำตะกรุดครั้งแรกในอุโบสถ แต่ด้วยเป็นคนกลัวผีจึงได้ชวนพระอีกรูปหนึ่งไปเป็นเพื่อนกันด้วย ขณะที่พระเพื่อนบอกว่า หากทำเสร็จแล้วต้องให้ตะกรุด ๑ ดอกเป็นของตอบแทน จำได้ว่ากว่าจะทำตะกรุดเสร็จต้องใช้เวลานานหลายชั่วโมง จนกระทั่งเวลาประมาณตี ๓ อาตมาก็ทำตะกรุดเสร็จ จึงแบ่งให้เพื่อนไป ๑ ดอกตามสัญญา ต่อมาพระเพื่อนรูปนี้ได้ลาสิกขาออกไป และได้กลายเป็นนักเลง เที่ยวขโมยของสารพัด ถูกชาวบ้านยิงบ้างถูกฟันบ้างก็ไม่เป็นอะไร เพื่อนจึงมั่นใจว่าที่แคล้วคลาดปลอดภัยมาได้นี้ต้องมาจากตะกรุดดอกนี้ ประสบการณ์นี้จึงเป็นที่กล่าวขวัญว่า ตะกรุดของอาตมาสามารถป้องกันภัยอันตรายได้ ทำให้ญาติโยมที่รู้ข่าวต่างเดินทางมาขอตะกรุดกันไม่ขาดสาย

    ส่วนการสร้างพระเครื่องนั้น หลวงพ่อประสิทธิ์สร้างเหรียญรุ่นแรกผูกพัทธสีมา ปี ๒๕๐๐ เป็นเหรียญพระอธิการเผื่อน อดีตเจ้าอาวาสวัดไทรน้อยรูปแรก แต่ถ้าเป็นตัวอาตมาเอง เป็นปี ๒๕๐๘ รุ่นฉลองตราตั้งพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสวัดไทรน้อย
     

แชร์หน้านี้

Loading...