อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    สายตะวันออก...หลวงพ่อกล้วยวัดหมูดุดเหนียวครับพี่ชาญ
     
  2. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    สงสัยต้องไปกินผัดไทยละ (deejai)(deejai)(deejai)
     
  3. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    เหรียญย้อนยุค

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ผ้ายันต์ต่ออีกนิดครับ

    [​IMG]
     
  5. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  6. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ผ้ายันต์ หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม

    [​IMG]
     
  7. watchdog

    watchdog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35,870
    **

    ตระกรุด หลวงพ่อตัด

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  8. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ขอพักก่อนครับ ทุกๆท่าน พรุ่งนี้ค่อยพบกันใหม่ ราตรีสวัสดิ์ครับ
     
  9. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ผ้ายันต์ช้าง หลวงพ่อล้อม วัดใหม่บำเพ็ญบุญ (มองหาเอาเองนะคร๊าบบบบ)

    [​IMG]
     
  10. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ราตรีสวัสดิ์คร๊าบบบบบ (k)
     
  11. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  12. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  13. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ผ้ายันต์ธง หลวงพ่อแพ
    [​IMG]
     
  14. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  15. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    ผ้ายันต์หลวงพ่อแพ

    [​IMG]
     
  16. mayakarn

    mayakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +19,921
    [​IMG]
     
  17. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    สวัสดีครับคุณรัก...จัดหนักมากเป็นชุดเลยครับ...
     
  18. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    ขอพักผ่อนก่อนครับ..
     
  19. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระมหาศรีทน กาญจโน วัดสมศรีบ้านพระคือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เนื้อทองแดงรมดำ ปี 2517 จัดเป็นเหรียญรุ่น 3

    หลวงปู่พระมหาสีทน กาญจโน บิดาของท่าน ชื่อนายจันทร์ศรี อวยพร มารดาชื่อ นางบุญจันทร์ อวยพร ท่านเกิดวันจันทร์ที่... เดือนพ.ย. พ.ศ. 2449 ท่านเป็นบุตรคนสุดท้องของบิดามารดา ซึ่งมีภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่บ้านก่อ ต.หนองไข่นก อ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี

    ตอนปฐมวัย ท่านได้จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 3 ที่โรงเรียนบ้านก่อ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่บ้านนั้นเอง ช่วงวัยหนุ่มของหลวงปู่นั้น ท่านได้เข้าอบรมเป็นครูช่วยสอนนักเรียนที่ อ.พิบูลมังสาหาร ต่อจากนั้นท่านได้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายทางโลกและเบื่อหน่ายชีวิตฆราวาส ท่านจึงตัดสินใจลาออกจากครูช่วยสอนเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดบ้านขี้เหล็ก ต.หัวเรือ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ซึ่งมี พระครูซาว เป็นพระอุปัชฌาย์ จนอายุล่วงเข้า 20 ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ (มหานิกาย) ที่วัดบ้านขี้เหล็กแห่งเดิมนี้ โดยมีพระครูซาวเป็นพระอุปัชฌาย์เช่นเดิม

    หลังจากหลวงปู่บวชเป็นพระภิกษุได้ 1 พรรษา เพื่อนของท่านก็ชวนลาสิกขา ท่านก็เล็งเห็นว่าถ้าท่านยังคงบวชอยู่อย่างนี้ต่อไป ใครจะดูแลบิดามารดา ซึ่งท่านทั้งสองก็แก่เฒ่าชราภาพลงทุกวัน เมื่อพิจารณาใคร่ครวญอย่างนี้แล้ว ท่านจึงลาสิกขา

    หลังจากท่านลาสิกขาแล้ว ท่านก็ตั้งหน้าตั้งตาทำการทำงาน เพื่อทดแทนคุณบิดามารดาได้ประมาณ 1 ปี บิดามารดาของท่านก็ปรารภกับท่านถึงการมีครอบครัว ทั้งบิดามารดาของท่านก็ได้ติดต่อทาบทามฝ่ายหญิงไว้แล้ว แม้ตัวท่านเองและฝ่ายหญิงก็มีความสนิทสนมคุ้นเคย ต้องตาต้องใจกันอยู่ แต่ท่านเองก็ยังไม่ได้ตอบตกลงเสียทีเดียว แต่ขอเวลาคิดดูก่อน ท่านได้ไปนอนคิดพิจารณาที่ศาลาโรงธรรมวัดบ้านขี้เหล็ก อันเป็นวัดที่ท่านเองบรรพชาและอุปสมบทก่อนนี้ ท่านใช้เวลาใคร่ครวญอยู่ถึง 3 วัน จึงสามารถตัดสินใจได้ว่าการใช้ชีวิตในการครองตนเป็นฆราวาส มีแต่ความวุ่นวาย หาความสบายใจไม่ได้ ยิ่งต้องมีครอบครัวแล้ว เป็นการสร้างภาระนานัปการ

    หลังจากที่ท่านได้ปรารภกับตนเองแล้ว ท่านก็ตั้งใจแน่วแน่ที่จะอุปสมบทอีกครั้ง แต่ท่านยังคงตัดสินใจไม่ได้ว่าจะบวชที่ใดดี หลวงปู่ท่านได้พิจารณาว่า ที่วัดป่าบุญญานุสรณ์ บ้านหนองวัวซอ ต.หมากหญ้า อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี มี พระอาจารย์เพชร ซึ่งเป็นเครือญาติของท่านได้ไปบำเพ็ญสมณกิจอยู่ ซึ่งตัวท่านเองก็มีความเลื่อมใสในพระอาจารย์เพชรอยู่มาก นอกจากพระอาจารย์เพชรแล้ว ก็ยังมี พระอาจารย์ขัน และ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม ซึ่งเป็นคนพื้นเพเดียวกันด้วย ดังนั้นท่านจึงตัดสินใจที่จะอุปสมบทเป็นพระธรรมยุต และเดินทางไปอุปสมบท ที่วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) ขณะยังดำรงสมณศักดิ์ที่ พระราชเวที เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจารย์ พระครูประสาทคณานุกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กาญจโน” เมื่อวันที่ 18 เม.ย. พ.ศ. 2472

    หลังจากอุปสมบท ท่านได้กราบลาท่านเจ้าคุณพระราชเวที มาพักบำเพ็ญสมณกิจที่วัดป่าบุญญานุสรณ์ โดยมีพระอาจารย์เพชรและพระอาจารย์ขันให้การอบรมด้านกรรมฐานอยู่เสมอ และท่านก็ได้พบสหธรรมิกคู่ใจ คือ พระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม หลังจากที่ท่านได้ช่วยดูแลรักษาความเรียบร้อยและช่วยภารกิจต่างๆ ของวัดพอสมควร หลวงปู่ก็กราบลาท่านพระอาจารย์เพชรและพระอาจารย์ขัน เดินทางไปเรียนบาลีไวยากรณ์ที่วัดโพธิสมภรณ์ ท่านใช้เวลาเรียนอยู่ถึง 4 ปี สอบได้นักธรรมตรี หลวงปู่ท่านมีความตั้งใจที่จะศึกษาทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ดังนั้น หลังจากได้ศึกษาเล่าเรียนพอเป็นแนวทางแล้ว ท่านก็ออกแสวงหาโมกขธรรม มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านได้ชวนพระอาจารย์บุญมา ฐิตเปโม ไปกราบคารวะ หลวงปู่สุวรรณ ซึ่งมาพักปักกลดอยู่ที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี เพื่อฟังธรรมปฏิบัติ


    หลวงปู่ท่านศึกษาโมกขธรรมอยู่เป็นเวลานาน จนอายุพรรษาได้ 9 พรรษา ท่านจึงอยากกลับไปเยี่ยมบ้านเกิดที่บ้านก่อ หลังจากออกพรรษาท่านก็เดินทางไปยังบ้านก่อ และได้แวะไปกราบนมัสการและบำเพ็ญสมณธรรมกับ หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล พรรษาที่ 10 ท่านได้จำพรรษาที่บ้านก่อ อันเป็นบ้านเกิดของท่าน และอาศัยชาวบ้านที่คุ้นเคยและศรัทธาปลูกกุฏิให้พออาศัยบังแดดบังฝน มีพระเณรมาบวชปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยราว 20 รูป ท่านจึงได้เริ่มสอนบาลีที่บ้านก่อเป็นแห่งแรก พอออกพรรษาแล้ว ราวๆ พ.ศ. 2482 ท่านได้กลับไปที่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ก็มีพระเณรติดตามไปด้วย ท่านจึงได้เปิดสอนบาลีอีก พอออกพรรษา พ.ศ. 2483 พระเทพบัณฑิต (อินทร์ ถิรเสวี) ได้นิมนต์หลวงปู่ไปที่บ้านพระคือ อ.เมือง จ.ขอนแก่น ซึ่งเป็นบ้านใหญ่ แต่ไม่ค่อยมีพระอยู่


    เมื่อหลวงปู่มาดูก็ชอบใจ จึงได้อยู่จำพรรษาที่วัดสมศรี บ้านพระคือ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น เนื่องจากหลวงปู่มีความรู้ทั้งทางปริยัติและปฏิบัติ จึงมีพระเณรร่วมจำพรรษาในแต่ละปีอย่างต่ำราวๆ 30 รูป ซึ่งหลวงปู่ได้แนะนำพร่ำสอนอย่างเอาจริงเอาจังตามนิสัยของท่าน โดยนอกจากหลวงปู่จะสอนทางปริยัติ คือ บาลีไวยากรณ์ แล้ว ท่านยังเน้นหนักอย่างในการปฏิบัติกรรมฐานด้วย จนเป็นที่กล่าวขานกันอย่างมากในวงปฏิบัติขณะนั้น


    พ.ศ. 2484 ท่านเจ้าคุณ พระเทพกวี (จูม พันธุโล) สั่งให้หลวงปู่ไปสอบเปรียญธรรม หลวงปู่จึงไปสอบ และสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค
    หลวงปู่อยู่ที่วัดสมศรีเรื่อยมาจนกระทั่งพ.ศ. 2487 ท่านจึงออกไปวิเวกที่ภูเก้า อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู และจำพรรษาที่ถ้ำหามต่าง 1 พรรษา โดยอาศัยชาวบ้านวังมน ต.โคกม่วง อ.โนนสัง บิณฑบาตเลี้ยงชีพ เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้มาจำพรรษาที่บ้านกุดหินอีก 2 พรรษา ในขณะที่ท่านออกวิเวกนี้ มีลูกศิษย์ติดตามอยู่บ้างเล็กน้อย เพื่อเหมาะแก่การบิณฑบาต เพราะสมัยนั้นบ้านเรือนมีไม่กี่หลังคาเรือน
    ขณะที่ท่านพักอยู่ที่บ้านกุดหินนี้ พระอาจารย์คำผุนได้ทราบว่าหลวงปู่เป็นพระกรรมฐานองค์สำคัญ จึงอาราธนานิมนต์ให้มาที่บ้านโคกกลาง อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ดังนั้น หลวงปู่ พร้อม พระอาจารย์คำผุน และลูกศิษย์จำนวนหนึ่งจึงเดินธุดงค์รอนแรมตามป่าเขามาทางภูโค้ง อ.บ้านแท่น จ.ชัยภูมิ และจำพรรษาที่วัดป่าบ้านขามป้อมน้อย 1 พรรษา เมื่อออกพรรษาแล้วจึงเดินผ่านบ้านหนองดินดำ เข้าเขต อ.มัญจาคีรี มาพักที่บ้านโคกกลาง และสร้างวัดป่าบ้านโคกกลาง ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น แล้วจำพรรษาที่นั่น 1 พรรษา นอกจากนี้ ท่านยังช่วยบูรณะวัดบ้านสวนหม่อนที่กำลังทรุดโทรม

    หลังจากเสร็จการบูรณะวัดบ้านสวนหม่อนแล้ว ท่านได้เดินธุดงค์ไปเยี่ยมเยียน พระอาจารย์มหามณี ที่วัดกุดโง้ง และท่านได้ตั้งวัดป่าบ้านชีวังแคน ต.สวนหม่อน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดกุดโง้ง โดยมีแม่น้ำชีคั่นกลาง พระอาจารย์มหามณีได้ปรารภกับหลวงปู่ว่าท่านอยากให้หลวงปู่ช่วยอบรมพระเณรและ ดูแลความเรียบร้อยในวัดกุดโง้งให้ด้วย เพราะตัวท่านเองก็ชราภาพมากแล้ว โดยจะพักอยู่ที่วัดป่าบ้านวังแคนหรือวัดกุดโง้งก็ได้
    นอกจากนี้ พระอาจารย์มหามณียังได้ปรารภเรื่องการญัตติพระเณรในวัดจากมหานิกายเป็น ธรรมยุต เมื่อไม่มีอะไรติดขัด จึงได้ทำการญัตติพระเณรในวัดทั้งหมดทุกรูป ดังนั้นหลวงปู่จึงเริ่มทำการบูรณะวัดกุดโง้ง โดยอาศัยพระเณรและศรัทธาญาติโยม ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุ อาทิ กุฏิ ศาลาโรงธรรม เป็นต้น โดยท่านข้ามฟากแม่น้ำชีมาควบคุมการก่อสร้างและดูแลความเรียบร้อยที่วัดกุด โง้ง และยังต้องดูแลถาวรวัตถุ ตลอดทั้งพระเณรและญาติโยมที่วัดป่าบ้านชีวังแคนด้วย ถือเป็นภาระอันยากยิ่ง แต่ท่านก็ทำจนสำเร็จ
    ขณะเดียวกันญาติโยมทางบ้านพระคือก็เดินทางมากราบเยี่ยมและนิมนต์หลวงปู่กลับ ไปโปรดชาวบ้านพระคืออีก เนื่องจากเห็นวัตรปฏิบัติ พร้อมทั้งปฏิปทาของหลวงปู่ อันเปี่ยมไปด้วยวิชชาและจรณะ เป็นที่พึ่งของฆราวาสญาติโยมได้
    พ.ศ. 2506 หลวงปู่เดินทางไป อ.เซกา จ.หนองคาย ในหน้าที่พระธรรมทูต แม้อายุของท่านจะมากขึ้น แต่ท่านยังคำทำหน้าที่เพื่อพระพุทธศาสนาอย่างไม่บกพร่อง และได้จำพรรษาที่วัดสันติกาวาส ต.ท่าสะอาด อ.เซกา จ.หนองคาย ถึง 3 พรรษา
    ในบั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ ราวๆ พ.ศ. 2514 หลวงปู่เดินทางกลับมาที่วัดสมศรี บ้านพระคือ โดยคณะศรัทธาญาติโยมเดินทางไปนิมนต์ ท่านเองก็ยินดีที่จะกลับมา แต่มาในฐานะพระอาคันตุกะ และได้สร้างศาลาขึ้นที่บ้านพระคือด้วย
    หลวงปู่ท่านอยู่ที่วัดสมศรี บ้านพระคือ ต.พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่น จนกระทั่งมรณภาพ เมื่อ พ.ศ. 2518 ณ โรงพยาบาลจังหวัดขอนแก่น

    ข้อมูลจาก web-pra.com/Amulet/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%99-%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%B5
     
  20. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    หลวงปู่คำ ยสกฺลปฺตฺโต อายุวัฒนะ 98 ปี วัดศรีจำปาชนบท เหรียญ"รุ่น 2" ออกปี 19 เนื้อทองแดงรมน้ำตาล

    “หลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต” เป็นพระสุปฏิปันโนที่มีความเคร่งครัดในหลักพระธรรมวินัย เป็นพระที่เรียบง่าย แต่ปฏิบัติวิปัสสนาอย่างจริงจัง ทำให้ท่านรู้แจ้งเห็นจริงในธรรม เป็นพระมหาเถระที่พุทธศาสนิกชนให้ความเลื่อมใสศรัทธา ท่านมีนามเดิมว่า คำ เดชภูมี เกิดเมื่อวันที่ 4 มกราคม พุทธศักราช 2424 ณ บ้านปลาโหล ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร โยมบิดาชื่อ นายขุนเดช เดชภูมี ส่วนโยมมารดานั้นไม่ปรากฏนาม มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด 9 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 6

    การบรรพชาและอุปสมบท
    ในวัยเยาว์ ท่านเป็นคนที่เฉลียวฉลาด มีสติปัญญาดี เมื่ออายุ 16 ปี โยมบิดาได้เสียชีวิตลง โยมมารดาจึงให้บุตรชายบรรพชาเป็นสามเณร เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้โยมบิดา แล้วได้นำไปฝากไว้กับเจ้าอาวาสวัดบ้านปลาโหล ต.ปลาโหล อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ซึ่งเป็นวัดประจำหมู่บ้าน

    ภายหลังบรรพชา สามเณรคำมุ่งมั่นเอาใจใส่ในการศึกษาพระปริยัติธรรม สวดมนต์เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน หนังสือเทศน์จากสมุดข่อยใบลาน อักษรธรรม ภาษาขอม โดยใช้เรื่องปัญญาบารมี อุณหัสสวิชัย ทิพย์มนต์ และมหาชาติเวสสันดรชาดก ส่วนการเรียนปาติโมกข์ ท่านเรียนแบบปากต่อปาก เพราะตำรามันหายาก

    พ.ศ. 2446 ครั้นอายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ สามเณรคำ เดชภูมี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบ้านปลาโหล จ.สกลนคร อุปสมบทเป็นพระภิกษุได้เพียงสองพรรษาเท่านั้น ท่านก็ได้ลาสิกขา

    ชีวิตครอบครัว
    พ.ศ. 2448 อายุ 23 ปี ครั้นเมื่อท่านได้ลาสิกขาออกมาใช้ชีวิตแบบฆราวาส ต่อมาก็ได้แต่งงานอยู่กินกับนางสาวเคน สาขามุละ มีบุตรธิดาด้วยกันทั้งหมด 6 คน เมื่อครั้งหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ยังเป็นเพศฆราวาสอยู่ ท่านดำเนินชีวิตตามหลักศีลธรรม ไม่ชอบเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ชอบทำบาป นิสัยของท่านเป็นคนไม่ชอบพูด ทำอะไรทำจริง ท่านเป็นคนที่มีเหตุผล ตรงไปตรงมา ถ้าพูดภาษาบ้านเราก็เรียกว่า “พูดน้อย แต่ต่อยจริง” หมู่คณะและเพื่อนฝูงจึงยกย่องให้ท่านเป็น “ผู้นำ” มาตลอด และชาวบ้านทั่วไปมักจะเรียกขานท่านว่า “อาจารย์คำ”

    ปี พ.ศ. 2473 อายุได้ 49 ปี ท่านได้สร้างครอบครัวให้มั่นคงถาวร พออยู่พอกินตั้งหลักปักฐานได้แล้ว ท่านจึงได้ลาภรรยาและบุตร รวมทั้งญาติพี่น้อง เพื่อขอกลับเข้ามาอุปสมบทเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาอีกครั้งหนึ่ง พอดีในช่วงนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และ ท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล สองขุนพลแห่งกองทัพธรรม ศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พระปรมาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน ได้ออกจาริกธุดงค์ผ่านมาพักอยู่ที่ป่าช้าบ้านปลาโหล (ปัจจุบันเป็นวัดป่ารัตนโสภณ บ้านปลาโหล) ท่านได้เห็นข้อวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ทั้งสองแล้วเกิดความเลื่อมใส จึงได้เข้าไปขอมอบกายถวายตัวเป็นศิษย์

    ซึ่งครูบาอาจารย์ทั้งสองก็เมตตาและรับท่านเป็นศิษย์ พร้อมกับได้บวชเป็นตาผ้าขาวให้อยู่รักษาศีลแปด บำเพ็ญธรรม ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติไปก่อน เพื่อให้รู้ถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติของพระกรรมฐาน ฝึกหัดเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา และก็ได้พาหลวงปู่คำ ไปศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งในขณะนั้นท่านได้เดินธุดงค์มาพำนักเพื่อภาวนาในเขตจังหวัดสกลนคร

    จากนั้นท่านพระอาจารย์สิงห์และท่านพระอาจารย์มหาปิ่น ได้นำหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์ ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพกวี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูประสาทศาสนกิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับนามฉายาว่า “ยสกุลปุตฺโต” ภายหลังจากอุปสมบทแล้ว ได้เดินทางมาพำนักจำพรรษา ณ วัดศรีโพนเมือง ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร

    ครั้นเมื่อออกพรรษาปาวารณาแล้ว ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปภูลังกา ต.โพธิ์หมากแข้ง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย ร่วมกับ พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร และเดินทางเข้าไปอยู่กับ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่วัดป่าบ้านหนองผือ (วัดป่าภูริทัตตถิราวาส) ต.นาใน อ.พรรณนานิคม จ.สกลนคร รวมทั้งได้จำพรรษากับองค์ท่านด้วย

    ขณะจำพรรษา ได้รับความเมตตาจากหลวงปู่มั่น ได้รับฟังธรรมะและอุบายธรรมในการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ครั้นได้ทราบแนวทางการปฏิบัติธรรม ข้อวัตรต่างๆ แล้ว ท่านได้กราบลาหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ออกเดินธุดงค์ไปตามเทือกเขาภูพาน ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อหาความสงบวิเวกในการบำเพ็ญธรรม เดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา

    สำหรับครูบาอาจารย์สหธรรมิกที่เคยร่วมเดินธุดงค์กับหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต มีมากมายหลายท่านด้วยกัน อาทิเช่น หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ วัดป่านิโครธาราม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม วัดป่าสัมมานุสรณ์ อ.วังสะพุง จ.เลย และ หลวงปู่หลุย จนฺทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย เป็นต้น

    ครั้นเมื่อปีพุทธศักราช 2483 ขุนศรีปทุมวงศ์ เจ้าเมืองสกลนคร และนางหล้า ศรีปทุมวงศ์ ซึ่งเป็นน้องเขยและน้องสาวของท่าน ได้มีจิตศรัทธาประสงค์จะบริจาคที่ดินเพื่อก่อสร้างเป็นวัดไว้ในบวรพระพุทธศาสนา ซึ่งที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ที่บ้านพังโคน ต.ม่วงไข่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ปัจจุบันคือ บ้านพังโคน ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร จึงได้พากันเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต ในตอนนั้นท่านพำนักอยู่ที่ป่าช้าบ้านปลาโหล และได้แจ้งวัตถุประสงค์ให้ท่านทราบ พร้อมทั้งกราบอาราธนาท่านให้มาดูที่ดินผืนดังกล่าว ซึ่งองค์หลวงปู่ท่านก็ไม่ขัดข้อง และได้เมตตารับอาราธนาคณะศรัทธาญาติโยม

    หลวงปู่คำ ได้รับมอบถวายที่ดินจากน้องเขยและน้องสาวของท่าน และได้เริ่มก่อสร้างเป็นสำนักปฏิบัติธรรม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2483 อบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ชาวอำเภอพังโคนและใกล้เคียง พัฒนาวัด ก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ศาลาปฏิบัติธรรม โรงครัว รวมทั้งได้ขออนุญาตสร้างวัดให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยตั้งชื่อวัดว่า “วัดศรีจำปาชนบท” และเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา

    หลวงปู่คำ ท่านได้ทำการอบรมสั่งสอนชาวบ้านญาติโยมในท้องถิ่น ตลอดทั้งหมู่บ้านใกล้เคียง ให้รู้จักศีล รู้จักธรรม ดำเนินชีวิตตามหลักธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ในสมัยนั้นชาวบ้านส่วนมากจะนับถือผี เลี้ยงผี บวงสรวงปู่เจ้าเข้าทรง ท่านก็สอนให้ชาวบ้านเลิกนับถือสิ่งที่ผิดๆ เหล่านั้นเสีย แล้วสอนให้มาเคารพนับถือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึกสูงสุด ให้ภาวนา “พุทโธ” และให้สมาทานศีลห้า ศีลแปด ไหว้พระสวดมนต์ ก่อนหลับนอน รวมทั้งให้มารักษาศีล ปฏิบัติธรรมภายในวัดทุกวันพระด้วย

    องค์หลวงปู่ท่านเป็นพระสุปฏิปันโน ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในหลักพระธรรมวินัย เป็นพระที่เรียบง่าย มักน้อย สันโดษ ทำอะไรทำจริงปฏิบัติจริง ท่านจึงรู้เห็นธรรมจริงในทางพระพุทธศาสนา และเป็นพระมหาเถระที่พุทธศาสนิกชนให้การเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่ง

    การมรณภาพ

    เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2520 หลวงปู่คำ ได้มรณภาพลงอย่างสงบด้วยโรคชรา ณ วัดศรีจำปาชนบท สิริอายุรวม 96 พรรษา 42 ทั้งนี้ คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้ทำการถวายเพลิงศพของท่าน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 ภายหลังจากการถวายเพลิงศพได้ไม่นาน เถ้าถ่านอัฐิของท่านก็ได้กลายเป็นพระธาตุ เป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญสมณธรรมขององค์ท่าน ว่าบำเพ็ญจนบรรลุมรรคผลสูงสุดในทางพระพุทธศาสนา

    จนกระทั่งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2542 คณะศิษยานุศิษย์ได้พร้อมใจกันก่อสร้างเจดีย์พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุ อัฐบริขาร รวมทั้ง แสดงชีวประวัติและปฏิปทาอันงดงามขององค์ท่าน โดยมี พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) แห่งวัดเขาสุกิม ต.เขาบายศรี อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์

    ครั้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2546 ได้มีการทำพิธีเปิดเจดีย์พิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมุฎราชกุมาร เสด็จแทนพระองค์ ในการทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุและยกฉัตร “เจดีย์พิพิธภัณฑ์บรรจุอัฐิธาตุอัฐบริขารหลวงปู่คำ ยสกุลปุตฺโต” ณ วัดศรีจำปาชนบท ต.พังโคน อ.พังโคน จ.สกลนคร

    ข้อมูลจาก dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&p=237161
     

แชร์หน้านี้

Loading...