อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    มีรุ่นที่ท่านดำริให้สร้างเอง ที่ไม่ใช่ลูกศิษย์สร้างถวายไหมครับคุณเอ๊ะ
     
  2. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    หลับให้สนิทนะครับ คุณกันต์
     
  3. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    องค์นี้พลาดไม่ได้เก็บคับ ตอนท่านยังไม่ดังเค้าขายลังละ1900เอง สมเด็จจารมือ ตอนนี้ราคาแรงเลยไม่ได้ตามเก็บคับ เอาเงินตามเก็บพระเก่าดีกว่า ถ้าราคาตอนนี้ อิอิ
     
  4. sellcat

    sellcat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2012
    โพสต์:
    204
    ค่าพลัง:
    +6,706
    รุ่นนี้เก็บ10องค์เองนิดเดียวคับ มีปลัดขลิกรุ่นนี้ที่เก็บเยอะหน่อยเก็บไป40 แต่ก็ยังอีกนานกว่าจะเทียบกับของคุณโญได้ อิิอิ
     
  5. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    ลป.ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง อุบล


    [​IMG]
     
  6. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    สวัสดียามค่ำครับ...
     
  7. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    น้อมไว้อาลัยหลวงปู่เสริฐ วัดโอภาษีสู่นิพานครับ...
    ขอขอบคุณคุณแอ้ม วัดเทพธารทอง ที่แจ้งข่าวในการมรณภาพของหลวงปู่ให้ทราบครับ
     
  8. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    สวัสดียามค่ำ ทุกๆท่านด้วยครับผม
     
  9. watchdog

    watchdog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35,870
    [​IMG]

    [​IMG]
     
  10. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    น้อมกราบนมัสการ ลป.เสริฐ ด้วยความอาลัยครับ
     
  11. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    นะโม วิมุตตานัง นะโม วิมุตติยา
    ขอน้อมกราบนมัสการ ลป.มั่นครับ
     
  12. ddd445

    ddd445 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กันยายน 2013
    โพสต์:
    7,468
    ค่าพลัง:
    +38,819
    สวัสดียามค่ำ คุณปู อ.โญ คุณชาญ คุณเอ็ม คุณเอ๊ะ คุณวรรณ คุณกันต์ คุณวุฒิ คุณเหน่ง คุณพีพี2 และทุกท่านครับ
     
  13. watchdog

    watchdog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35,870
    **

    เหรียญอุปัชฌาย์แก้ว วัดปทุมธายิการาม อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช รุ่น 3( ย้อน พ.ศ. ) สร้าง ปี 2505

    [​IMG]

    [​IMG]

    พระครูแก้ว อรหันต์สยบงู บรมครูแห่ง สิชลและขนอม

    1.พระครูแก้วอุปัชฌาย์ หรือ พระครูแก้วสิชล วัดปทุมธายิการาม ซึ่งจะขอเล่าประวัติไห้ฟังแบบคร่าวๆนะครับ พระครูแก้วผู้ได้ชื่อว่าเป็นบรมครูของคณาจารย์ใน อ.สิชล ท่านเป็นชาวสิชลโดยกำเนิด ท่านเกิดเมื่อปี 2399 อุปสมบทเมื่อ 2420 มรณภาพเมื่อ 2480 อายุรวม 81 ปี 60 พรรษา ความศักดิ์สิทธิ์ขอท่านมีมากครับเช่นมีคนมาขโมยระฆังในวัดขโมยหอบระฆังไปแต่ไม่สามารถออกไปจากวัดได้จนต้องทิ้งระฆังแล้วหนีไป และเคยมีเหตุการณ์ที่พ่อท่านได้เรียกงูจงอางตัวใหญ่มา แล้วเอาเท้าตั้งบนหัวแล้วไห้ลูกศิษย์ช่วยปลดเห็บออกจากงูจนเสร็จ อีกอย่างเวลามีงานที่วัดงูก็จะมาเต็มวัดแต่ไม่ได้ทำอันตรายคนในงานเลยไต้เหรียญของท่านก็เลยมีงูเป็นเอกลักษณ์ และอีกอย่างท่านยังได้ร่วมปลุกเศกเหรียญรุ่นแรกเจ้าคุณม่วง รุ่นแรก2476และเหรียญพระบรมธาตุตรีศูลย์2460ด้วยและท่านก็ยังเป็นบรมครูของ อ.สิชลและขนอมด้วยที่น่าแปลกอีกอย่างคือไม่เคยมีข่าวของคนที่แขวนเหรียญรุ่นแรกที่ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ชีวิตเลยซักคนเดียวซึ่งพระเครื่องทุกรุ่นมีประสบการณ์หมด อย่างเหรียญรุ่น1-3คงเล่าไม่หมด เอาเป็นรุ่น4ล่ะกันน่ะคับเรื่องมีว่ามีลูกชายผู้ใหญ่บ้านชื่อดังใน อ.สิชล พร้อมลูกสาวและภรรยาได้นั่งเครื่องบินกลับจากกรุงเทพ(เที่ยวเดียวกับเจมส์เรืองศักดิ์) ตอนแรกลูกสาวแขวนอยู่แล้วรู้สึกคันคอจึงไห้ลูกชายแขวนแทนปรากฏว่าเครื่องบินตกลูกสาวและภรรยาเสียชีวิตแต่ลูกชายรอดและก็ไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วนด้วยทั้งทีนั่งติดกัน ส่วนกระผมแขวนรุ่น6อยู่ครับแคล้วคลาดตลอด รุ่นแรก2-3-4หายากแล้วตามประวัติอีกอย่างนึงพ่อท่านได้เอาเหรียญรุ่นแรกใส่แก้วใว้แก้วนึกแล้วแอบใว้ในวัดแต่จนปัจจุบันนี้ยังไม่มีใครหาพบสงสัยต้องรอผู้มีบุญ ส่วนรุ่นอื่น มีรุ่นด้วยกัน ดังนี้

    1.รุ่นแรก2477ท่านปลุกเสกรูปเดียวไม่มีข้อมูลว่าสร้างไว้เท่าไหร่ มีเนื้อเงินกับทองแดงซึ่งเหรียญรุ่นนี้ได้ถือว่าเป็นเบญจภาคีเหรียญของเมืองนครศรีฯ เรื่องราคาเนื้อเงินคงประมาณ 2-3แสนกว่าๆครับถ้าสภาพสวยกริ๊บก็อาจจะเป็นหนังคนล่ะม้วน55ส่วนเนื้อทองแดงสวยๆอยู่ที่1-2แสนครับ ถ้าสึกหลอไปก็เป็นหลักหมื่นปลายครับซึ่งผู้เขียนอยากได้ที่สุดเลยครับนักเลงสมัยก่อนนิยมครับเพราะเหนียว ฟันไม่เข้ายิงไม่ออกโดนทุบไม่ช้ำรถชนไม่เป็นอะไรถูกหวยประสบการณ์เยอะครับ ตามประวัติที่ทราบยังไม่มีทองคำเพราะถ้ามีก็ประเมินราคาไม่ได้ครับ

    2.รุ่นงานศพหรือแจกแม่ครัว พ.ศ.2481 หายากกว่ารุ่นแรกอีกครับลักษณะเหรียญเป็นกลมไข่เล็กครับเล็กกว่ารุ่น5ซึ่งผู้เขียนเคยเห็นเพียงครั้งเดียวราคาน่าจะอยู่หมื่นกลาง-ปลายครับ

    3.รุ่นผู้กองวิโรจน์หรือย้อน พ.ศ.เลียนแบบรุ่นแรก มีสองเนื้อ อัลปาก้าและทองแดงครับ ประสบการณ์เยอะครับสร้าง พ.ศ.2505ครับ

    4.รุ่นยกช่อฟ้าหรือรุ่นฟ้าผ่าหรือรุ่นเครื่องบินตกสร้างในโอกาสยกช่อฟ้าพระอุโบสถรูปแบบเหมือนรุ่นแรกสร้างปี16 มีเนื้อเงินและทองแดงรุ่นนี้ตอนทำพิธีฟ้าได้ผ่ามาตงกลางพิธีและก็เป็นรุ่นที่ตกเครื่องบินแล้วไม่เป็นอะไรด้วยครับ

    5.รุ่นปี 27 สร้างในโอกาสทำบุญวัดเป็นเหรียญรูปไข่แบบรุ่นสองแต่ใหญ่กว่ามีเนื้อเงินทองแดง พุทธาภิเษกในวัดเกจิที่ปลุกเสกจตุคามปี 30มากันครบเลยครับ

    6.รุ่นชมรมพระเครื่อง พ.ศ.2535 มีแบบเหรียญเสมาแบรุ่นแรกรูปเหมือนและล๊อกเก็ตเนื้อทองคำเงินทองแดงตะกั่วรุ่นนี้จะพิเศษที่เหรียญเสมาเนื้อทองคำครับสร้างแค่ 29เหรียญเท่านั้นพอสร้างเสร็จก็เอาไปไหเกจิดังสมัยนั้นปลุกเสกเดี่ยวอาทิเช่น หลวงพ่อเกษม หลวงพ่ออุตตมะ หลวงพ่อคูณ หลวงปู่ทิม หลวงพ่อดีวัดพระรูป หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับ หลวงพ่อยิด วัดหนองจอก หลวงปู่แย้มวัดสามง่าม หลวงปู่เจือวัดกลางบางแก้ว ฯ มีปาฏิหาริย์ตลอดที่เอาไปปลุกเสกครับ อย่างเช่นหลวงพ่อเกษม เขมโก เพราะกว่าจะพบท่านได้ต้องรอคิวเป็นวันๆ แต่พอไปถึงลูกศิษย์บอกว่าท่านนั่งวิปัสสนาอยู่ข้างในไม่รับแขกก็เลยจะกลับอยู่ๆท่านก็ออกมา ไห้ลูกศิษย์และคนที่มาหาคนอื่นหลีกทางแล้วท่านก็ไห้เข้าไปท่านก็รับเหรียญไปเสกโดยไม่ถามไม่พูดซึ่งก็น่าแปลกว่าท่านรู้ได้อย่างไรพอเอาไปไห้พระแถวภาคกลางเสกแล้วก็กลับชาวบ้านรู้ว่าได้มีการนำไปปลุกเสกเป็นเหรียญทองคำก็รบเร้าอยากได้บ้างแต่บล็อกได้ทุบไปแล้วก็เลยจัดสร้างหล่อทองคำแทนซึ่งพระที่มาปลุกเสกและพุทธาภิเศก ได้แก่หลวงพ่อนวล ไสหร้า หลวงพ่อชื่น หลวงพ่อสัง หลวงพ่อนวม หลวงพ่อเนียม อาจารย์สูตร อาจารย์หรีด พระสายเขาอ้อ หลวงพ่อคลี้ง พ่อท่านเอื้อม หลวงพ่อพัฒ และเกจิดังๆอีกมากน่าใช้ครับ ราคายังไม่แรง แต่ถ้าเป็นเหรียญทองคำ 29เหรียญที่ว่าคนล่ะเรื่องครับ

    7.รุ่นโบสถ์น้อยสร้างในโอกาสฉลองวิหารพ่อท่านครูแก้ว โดยมีเกจิที่ปลุกเสกรุ่นปี35มากันครบและได้พระครูจินดามยคุณ(พ่อท่านร่าน) อธิฐานจิตปลุกเสกเดี่ยวอีกมีเนื้อทองคำ เงิน ทองแดง และเงินทองแดงลงยา
    มีอีกรุ่นนึงเป็นรูปหล่อโบราณครับเรียกกันว่าหล่อท่าควายประวัติการสร้างไม่แน่ชัดแต่ก็มีประสบการณ์เหมือนกัน

    *****​
     
  14. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต

    เมื่อครั้งพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร แห่งวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร ยังไม่ละสังขารจากโลกนี้ไปนั้น ที่วัดป่าอุดมสมพร จะเป็นแหล่งรวมของผู้คนทุกสาขาอาชีพ ที่พากันเดินทางไปรับสัจธรรมคำสั่งสอนของพระบรมศาสดา ที่ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้ถอดออกจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยให้ฟังง่าย เข้าใจง่าย ทำตามง่าย



    นอกเหนือจากการสอนสั่งแนะนำให้ศิษยานุศิษย์ ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์แล้ว หากผู้ใดต้องการวัตถุมงคลใด ๆ จากท่าน ท่านก็จะให้สติแก่ผู้รับเสมอว่า สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แก่นแท้ของพระพุทธศาสนาที่ควรยึดถือ ธรรมะต่างหากที่ควรยึดเป็นหลักในการดำรงชีวิต ท่านจะพูดเสมอว่า ของดี หรือ วัตถุมงคลใด ๆ ก็ตาม จะไม่มีประโยชน์และไร้ความหมาย ถ้าบุคคลผู้นั้นขาดธรรมะในจิตใจ

    การสร้างวัตถุมงคลของพระอาจารย์ฝั้นนั้น ท่านลงมือสร้างด้วยตนเอง จะเป็นพระเครื่องชุดเนื้อโลหะประเภทตะกั่วผสมปรอท ซึ่งสร้างขึ้นแจกญาติโยมประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๕

    ส่วนวัตถุมงคลอื่น ๆ เช่น ตะกรุด รูปหล่อบูชา เหรียญ พระผง ฯลฯ นั้น ล้วนแต่บรรดาลูกศิษย์ลูกหาจัดสร้างมาให้ท่านอาจารย์ฝั้นปลุกเสก หรือ อธิษฐานจิต แล้วมอบให้ท่านนำไปแจกให้ญาติโยม โดยไม่มีการจำหน่ายแต่อย่างใด

    อภินิหารวัตถุมงคลของพระอาจารย์ฝั้นนั้น ได้รับการกล่าวขวัญกันมาตลอด ที่เป็นข่าวฮือฮาตามหน้าหนังสือพิมพ์ก็มีอยู่บ่อยครั้ง จากอดีตจนถึงปัจจุบัน วัตถุมงคลของพระอาจารย์ฝั้น จึงเป็นที่แสวงหาของผู้ที่เคารพศรัทธามาโดยตลอด ชนิดที่กล้ากล่าวได้ว่า แทบจะไม่มีวัตถุมงคลของท่านรุ่นใด ชนิดใด วางจำหน่ายบนแผงพระ หรือศูนย์พระเครื่องแม้แต่องค์เดียว เพราะใครพบเห็นเข้าก็จะพากันเช่าบูชากันไปจนหมด ที่เห็น ๆ นั้น ล้วนแต่ของเก๊แทบทั้งสิ้น

    บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา (ปัจจุบัน คือ อ.พรรณานิคม) จ.สกลนคร เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นบ้านป่า ที่ชาวบ้านทำมาหากินกันด้วยการทำการกสิกรรม และเกษตรกรรม มี เจ้าไชยกุมาร (เม้า) สุวรรณวงศ์ เป็นนายบ้าน คอยดูแลความสุขทุกข์ และตัดสินคดีความต่าง ๆ ภายในบ้านม่วงไข่ เป็นที่ยอมรับของชาวบ้านว่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ไม่เห็นแก่หน้าค่าตาผู้ใด หากเป็นคำตัดสินจากเจ้าไชยกุมารแล้ว ถือว่าเป็นข้อยุติ

    วันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ ภรรยาของนายบ้านม่วงไข่ก็ให้กำเนิดทารกเพศชาย มีผิวกายขาวสะอาด ผู้เฒ่าประจำหมู่บ้านให้นามทายาทของท่านเจ้าไชยกุมาร และคุณแม่นุ้ยว่า “ฝั้น”

    เจ้าชายไชยกุมาร บิดาของพระอาจารย์ฝั้นนั้น เป็นบุตรของคุณหลวงประชานุรักษ์ ดังนั้น ท่านพระอาจารย์ฝั้นจึงมีเลือดเนื้อเชื้อไขสายขุนนาง ทั้งจากทางฝ่ายบิดา และมารดา นามสกุลเดิมของท่านคือ “สุวรรณวงศ์” ลำดับญาติพี่น้องในท้องเดียวกันของท่านทั้ง ๘ คน มีดังนี้

    ๑. นางกองแก้ว ๒. นายกุน ๓. นางเฟื่อง ๔. เป็นหญิงถึงแก่กรรมตั้งแต่เยาว์ ๕. พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ๖. นายอำพัน ๘. นางผัน ๘ง นางเพ็ง

    ตระกูลของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นชาวภูไท อพยพมาจากประเทศลาว ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ได้มาตั้งรกรากที่บ้านม่วงไข่ โดยที่บิดาเป็นผู้ที่มีคนนับหน้าถือตามาก จึงได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน

    หลังจากเจริญวัยขึ้นพอสมควรแล้ว เจ้าไชยกุมารผู้เป็นบิดา พร้อมกับชาวบ้านม่วงไข่ ก็อพยพออกไปจับจองที่ทำกินใหม่ ด้วยเหตุผลว่า ที่ทำกินเก่าดินขาดคุณภาพ และสถานที่ใหม่คือ บ้านบะทอง เป็นทำเลอันอุดมสมบูรณ์ มีห้วยขนาบอยู่สองทิศทาง หากฟ้าฝนไม่อำนวย ก็สามารถใช้น้ำจากลำห้วยมาใช้ในการเกษตรกรรม และกสิกรรมได้อย่างไม่ขัดสน

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จึงมาเจริญเติบโต และทำมาหากินอยู่ในบ้านบะทองนี้เอง เมื่ออายุยังน้อยอยู่นั้น พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร มีความขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ ยิ่งเจริญวัย ยิ่งขยันเพิ่มขึ้นจนเป็นที่พอใจของโยมบิดาไปจนถึงชาวบ้านบะทองว่า เป็นเด็กไม่หยิบโย่ง

    มีเวลาว่างก็เข้าไปเรียนเขียนอ่านมาตั้งแต่อยู่บ้านม่วงไข่ โดยอาศัยพระอาจารย์ที่วัดโพธิ์ชัย ช่วยกวดขันสั่งสอนให้ จนมีความรู้แตกฉานพอสมควรแก่กาลสมัย และยังได้เล่าเรียนกับครูบาอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถจนอ่านออกเขียนได้ และมีความรู้ที่สามารถถ่ายทอดสู่คนอื่นได้อีกด้วย จึงนับได้ว่า พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เป็นผู้ที่ใส่ใจในการศึกษามาตั้งแต่เยาว์วัย จนเติบใหญ่เป็นหนุ่มฉกรรจ์

    โยมบิดามารดาเห็นแววว่า พระอาจารย์ฝั้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน ด้วยใส่ใจในการเล่าเรียน จึงหมายจะให้ทำราชการงานเมือง ไม่ต้องมาเป็นเกษตรกรเหมือนต้นตระกูล จึงได้ฝากไปเล่าเรียนอยู่กับ นายเขียน อุปพงศ์ ซึ่งเป็นพี่เขย ดำรงตำแหน่งปลัดขวา อ.เมือง จ.ขอนแก่น

    พี่เขย คือ นายเขียน มักจะใช้ให้พระอาจารย์ฝั้น นำปิ่นโตไปให้กับ พระยาณรงค์ (อดีตเจ้าเมืองขอนแก่น) ซึ่งเคยมีอุปการคุณต่อตนเอง แต่ได้เผลอตัวบันดาลโทสะฆ่าคนตาย ได้รับพระราชอาญาให้จองจำเอาไว้ในคุก

    พระอาจารย์ฝั้น มองเห็นสภาพอดีตเจ้าเมืองผู้มีคนนับหน้าถือตา ยกมือไหว้กันทั่วเมือง ต้องถูกถอดยศฐาบรรดาศักดิ์ กลายเป็นนักโทษทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส รวมกับนักโทษต่าง ๆ ที่ต้องพระราชอาญา สภาพของนักโทษเหล่านั้น เหมือนตกอยู่ในนรก

    เมื่อนายเขียน ปลัดขวาเมืองขอนแก่น ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้ย้ายไปเป็นปลัดขวา อ.กุดป่อง จ.เลย พระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางกลับไปบ้านบะทอง เพราะนายเขียนต้องย้ายไปไกล ไม่มีเวลาจะใกล้ชิดกับพระอาจารย์ฝั้นอีกต่อไป จากนั้นมาอีกไม่กี่ปี พระอาจารย์ฝั้นก็นำของจากผู้เป็นบิดา ไปเยี่ยมนายเขียนปลัดขวาที่เมืองเลย

    ไปถึงก็ทราบว่า นายเขียนบันดาลโทสะ ฆ่าคนตาย ได้รับพระราชอาญาให้จองจำไว้ในคุก จึงเดินทางไปเยี่ยม พบเห็นสภาพของนายเขียน ไม่ผิดอะไรกับเจ้าเมืองขอนแก่นที่เคยพบมา และนายเขียนได้กล่าวให้สติแก่พระอาจารย์ฝั้นเอาไว้ว่า

    “ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม จะเป็นขุนน้ำขุนนาง เจ้าเมืองหรือไพร่เดินดิน หากลุแก่โทสะแล้ว ย่อมได้รับผลอันร้ายแรงเสมอกัน ด้วยกฎหมายนั้นใช้บังคับเสมอกันไปทั่วหน้า จงอย่าลุแก่โทสะเป็นอันขาด”

    ระหว่างเดินทางกลับ ซึ่งรอนแรมเดินทางด้วยเท้าเป็นเวลาถึง ๑๐ วัน ๑๐ คืน ทำให้ท่านได้มีโอกาสคิดว่า

    “อันเส้นทางแห่งฆราวาสวิสัยนั้น ย่อมเต็มไปด้วยขวากหนาม และความทุกข์ แม้จะได้ยศถาบรรดาศักดิ์ก็หาได้พ้นทุกข์ไม่ หากพลาดพลั้งไป ก็ต้องได้รับโทษอย่างสาหัส เส้นทางเดียวที่จะตัดความเร่าร้อนลงได้ก็คือ เส้นทางแห่งบรรพชิตเท่านั้น”

    ครั้นกลับมาถึงบ้านบะทองแล้ว จึงได้เข้าไปกราบเรียนให้โยมบิดามารดาได้รับรู้ ถึงการตัดสินใจเข้าถือเพศบรรพชิตในพระบวรพุทธศาสนา จากนั้นได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร เล่าเรียนพระธรรมวินัยที่วัดโพนทอง ในบ้านบะทอง อายุขณะนั้นได้ ๑๙ ปีพอดี

    ด้วยความวิริยะอุตสาหะในการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และดำรงเพศบรรพชิตด้วยความสำรวม และมั่นคง โยมย่าซึ่งเป็นไม้ใกล้ฝั่ง ได้เห็นกุลบุตรอุปสมบทอยู่ในผ้าเหลืองตลอดชีวิตมามาก ได้พยากรณ์ไว้ก่อนถึงแก่กรรมว่า

    “สามเณรฝั้นองค์นี้ จะอยู่ในผ้าเหลืองจนมรณภาพ ไม่ย้อนกลับสู่โลกฆราวาสอีกต่อไป”

    เมื่ออายุครบอุปสมบท จึงได้เข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสิทธิบังคม (มหานิกาย) ในบ้านไร่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร โดยมี พระอุปัชฌาย์ป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สังข์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์นวล เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    พระอุปัชฌาย์ป้อง เป็นพระผู้เชี่ยวชาญกรรมฐาน เปิดอบรมพระสงฆ์และชาวบ้านให้รู้จักการเข้าพระกรรมฐาน เห็นหน่วยก้านและความเอาจริงเอาจังของพระภิกษุฝั้น จึงได้แนะนำอบรมการทำวิปัสสนาสมาธิให้ตลอดหนึ่งพรรษา ทำให้พระอาจารย์ฝั้น ได้เรียนรู้การทำจิตให้เกิดความสงบ และพบความสุขที่แท้จริง

    ออกพรรษาแล้ว ได้เดินทางกลับมาวัดโพนทอง ในความปกครองของท่านอาญาครูดี ซึ่งต่อมาได้เป็นพระครูสกลสมณกิจ เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร ท่านอาญาครูดี เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกรรมฐาน ได้นำพระลูกวัดออกธุดงค์ และแสวงหาความวิเวกในป่าดงพงไพร และตามป่าช้าต่าง ๆ เพื่อให้ศิษย์เกิดความเคยชินกับการภาวนา ซึ่งพระอาจารย์ฝั้นได้กล่าวถึงเรื่องราวตอนนี้ว่า

    “พระอาญาครูดีจะหาพวงประคำ ๑๐๘ มาให้กับศิษย์ที่จะออกไปธุดงค์กับท่านทุกองค์ โดยท่านเอาลูกมะแทนมาร้อยเชือกพวงละ ๑๐๘ ลูก โดยสอนให้เจริญพุทธานุสติกรรมฐาน ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน นอน ให้บริกรรมในใจว่า “พุทโธ” แล้วนับลูกประคำไปครั้งละ ๑ ลูก จนกว่าจะครบ ๑๐๘ ลูก จึงขึ้นธัมโม แล้วนับไปอีก ๑๐๘ จึงขึ้น สังโฆ แล้วนับไป ๑๐๘ พุทโธ....ธัมโม.....สังโฆ ฯลฯ จะว่าง่ายนั้นไม่ได้เลย เพราะหากเผลอภาวนาไม่คงที่ ก็จะนับพลาด ต้องกลับไปเริ่มต้นที่หนึ่งใหม่อีก ต้องภาวนาไว้ เว้นแต่เวลาจำกัด และตอนฉันภัตตาหารเท่านั้น เป็นการทำให้มีสติอยู่เสมอ ไม่ขาดสติ ทำให้มีความระมัดระวัง และปัญญาดี”

    นับเป็นวาสนาบารมีของพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ตั้งแต่อุปสมบท ทั้งนี้เพราะได้พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ที่ทำวิปัสสนาธุระทั้งสองรูป ทำให้เส้นทางเดินของท่านเป็นเส้นทางตรง ที่ถูกต้อง และตัดตรงสู่พระนิพพานโดยตรง

    ชาวบ้านม่วงไข่ ใน ต.พรรณา โจษขานกันเซ็งแซ่ว่า พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้เดินทางมาเทศนาโปรดญาติโยมแล้ว ผู้ใดได้ฟังธรรมจากท่านแล้ว จะมีความสุขความเจริญ ผู้ใดออกบวชตามท่าน จะได้นิพพานสมบัติ ผู้ศรัทธาในธรรม จะได้มนุษย์สมบัติ อันพึงปรารถนา

    ท่านอาจารย์ครูดี และสานุศิษย์ จึงเดินทางไปเข้านมัสการฟังธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่น ซึ่งแสดงอานุภาพของพระศรีรัตนตรัย ทำลายความเชื่อถือในภูติผีปีศาจของชาวบ้านม่วงไข่ได้โดยสิ้นเชิง

    พระอาจารย์ครูดี พระกู่ และพระอาจารย์ฝั้น ได้ฟังธรรมเทศนาแล้วเกิดปีติ ต้องการติดตามไปฟังธรรม และขอแนวปฏิบัติต่อท่านพระอาจารย์มั่น ทว่าเนื่องจากบริขารธุดงค์ทั้งปวงยังไม่พร้อม และคณะของพระอาจารย์มั่น ต้องเร่งเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่น ๆ อีก จึงไม่มีเวลาที่จะคอย

    เมื่อจัดบริขารธุดงค์ได้พร้อมแล้ว พระอาญาครูดี พระกู่ และ พระอาจารย์ฝั้น ก็ออกเดินทางไปขอเป็นศิษย์ในองค์ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ระหว่างทางได้พบกับ หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ผู้ได้เดินทางติดตามหาท่านพระอาจารย์มั่นอยู่เช่นกัน จึงร่วมทางกันไปทันท่านพระอาจารย์มั่นที่บ้านตาลโกน ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างดินแดน ได้รับการอบรมธุดงควัตร และหลักในการภาวนาระหว่างออกธุดงค์ ซึ่งองค์ภาวนานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านให้เฉพาะองค์ ไม่ให้เป็นส่วนรวม เพราะท่านได้สำรวจสภาวะจิตของศิษย์แต่ละคนแล้วว่า สมควรแก่องค์ภาวนาใดบ้าง


    [​IMG] [​IMG]
     
  15. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (๒) โดย อ.เล็ก พลูโต

    ความตอนที่แล้วเกิดข้อผิดพลาด ในเรื่องข้อมูลของพระอาจารย์สอนกรรมฐานรูปที่สองของพระอาจารย์ฝั้น ที่กล่าวว่าท่านชื่อ “พระอาญาครูดี” นั้น แท้ที่จริงแล้วที่ถูกต้องท่านชื่อ “พระอาญาครูธรรม” เจ้าอาวาสวัดโพนทองในขณะนั้น ซึ่งต่อมาท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น “พระครูสกลสมณกิจ” เจ้าคณะจังหวัดสกลนคร

    ส่วนท่านอาจารย์ “พระอาญาครูดี” นั้น ท่านเป็นศิษย์องค์หนึ่งของท่านพระอาจารย์อาญาครูธรรม เช่นเดียวกับพระอาจารย์ฝั้น และยังมีอีกองค์หนึ่งที่เป็นศิษย์ของพระอาจารย์อาญาครูธรรม คือ “พระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน” ซึ่งท่านพระอาจารย์ทั้งสองเป็นสหธรรรมิกกับพระอาจารย์ฝั้น และได้พากันเดินทางไปหา “พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต” เพื่อฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลังจากฟังพระธรรมเทศนาของท่าน ในขณะที่ท่านมาพำนัก ณ บ้านม่วงไข่ ระหว่างทางได้พบกับ “หลวงปู่ดุลย์ อตุโล” ที่เดินทางตามหาคณะของพระอาจารย์มั่นเช่นกัน จึงได้ร่วมเดินทางไปพร้อมกันทั้ง ๔ รูป ไปทันพระอาจารย์มั่น ที่บ้านตาลโกน ต.ตาลเนิ้ง อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร ได้รับการอบรมธุดงควัตร และหลักในการภาวนาระหว่างออกธุดงค์ ซึ่งองค์ภาวนานั้น ท่านพระอาจารย์มั่นท่านให้เฉพาะองค์ ไม่ให้เป็นส่วนรวม เพราะท่านได้สำรวจสภาวะจิตของศิษย์แต่ละคนแล้ว ว่าคนใดสมควรแก่องค์ภาวนาใดบ้าง ดังได้กล่าวมาแล้ว

    หลังจากพระอาจารย์ฝั้น ได้องค์ภาวนาจากท่านพระอาจารย์มั่นไปแล้ว ท่านก็ได้ออกเดินทางไปแสวงหาความวิเวกกับสามเณรพรหม อันเป็นหลานของท่านเอง ไปพักปักกลดกันที่ถ้ำพระบาทเป็นครั้งแรก ชาวบ้านที่รู้ข่าวพากันทักท้วงว่า “อย่าขึ้นไปเลยท่าน บนนั้นพระเก่า ๆ ตายมานักต่อนักแล้ว ผีดุหลาย ไม่ว่าใครไปในเขตของมัน ก็มีตายกับตาย อย่าขึ้นไปเลย”

    แต่พระอาจารย์ฝั้นก็หาใส่ใจกับคำทักท้วงด้วยความหวังดีของชาวบ้านไม่ และได้ขึ้นไปปักกลดที่ถ้ำพระบาทในเย็นวันนั้น เอาหน้าถ้ำซึ่งมีต้นตะเคียนต้นใหญ่ร่มครึ้ม ที่ใครต่อใครพากันเกรงกลัวผีนางตะเคียน ไม่กล้าแม้แต่จะเดินเฉียดเข้าไปใกล้ ถ้ารู้ว่าเป็นต้นตะเคียน เป็นที่พำนักปักกลด สำหรับท่านนั้นใช่ว่าจะไม่กลัว แต่อาศัยองค์ภาวนาที่ได้รับจากพระอาจารย์มั่น ภาวนาข่มความกลัวออกไปจนหมด แต่พอตกตอนดึกสงัด จู่ ๆ ก็ได้ยินเสียงของกิ่งต้นตะเคียนสั่นไหวอย่างรุนแรง เหมือนมีมือยักษ์มาจับเขย่า จนใบของตะเคียนร่วงกราวลงพื้น

    “เรารู้สึกแสยงขนเพราะความกลัว แต่ได้อาศัยองค์ภาวนาว่าพุทโธเข้ามาสะกัดแล้ว จึงระลึกถึงเหตุผลว่า ผีได้ยินแต่คนเล่า เราไม่เคยเห็น ครั้งนี้ดูให้เห็นกับตาดีกว่า ว่าแล้วเราก็ดึงสามเณรพรหมให้ออกไปดูด้วยกัน”

    ต้นเหตุให้ต้นตะเคียนสั่นเหมือนมีมือยักษ์มาจับเขย่าก็คือ บ่างตัวขนาดแมว กำลังวิ่งไปมาตามกิ่งตะเคียนใหญ่ บางครั้งก็ปีนขึ้นไปตามเถาวัลย์อันระโยงระยาง ทำให้เกิดอาการสั่น และใบไม้ร่วงกรูเกรียวไปมา พระอาจารย์ฝั้นจึงนึกรู้ได้ว่า “ผีเกิดจากความกลัว และการหลอกตัวเองนั่นแหละเหตุใหญ่”

    ครั้นออกจากถ้ำพระบาทแล้วก็เข้าสู่ป่าลึก เขตแดนประเทศลาว ได้พบรอยเท้าเสือใหม่ และเก่า ขวักไขว่ไปมาตามเส้นทางเดิน และมันยังได้ส่งเสียงคำรามไปมาทั้งหน้าและหลัง เหมือนกำลังติดตามจะเอาเนื้อไปเป็นอาหาร ท่านบอกว่า

    “เราสะท้านไปตามเสียงเสือ จิตใจหวั่นไหว แม้องค์ภาวนาว่าพุทโธก็หลงลืมไม่ต่อกันได้ เพราะมัวแต่คิดว่า มันจะกระโดดมาเอาชีวิตเราเมื่อใดก็ไม่อาจรู้ได้เลย”

    “แต่แล้วเราก็คิดได้ โดยเอาภาษิตต่าง ๆ มาข่มใจ และทำให้ใจเกิดความกล้า เห็นภัยในวัฏฎสงสารว่า เกิดแก่เจ็บตายเป็นของธรรมดา ถ้าไม่กลัวตายแล้ว เสือก็ทำอะไรไม่ได้ จิตที่ปลอดโปร่งไม่กังวลต่อความตาย คือ จิตอันกล้าหาญ และจิตที่มั่นคง”

    “เราเป็นพระกรรมฐาน จะมากลัวอะไรกับสัตว์ธรรมดา มันจะมาทำอันตรายอันใดกับเราผู้ไม่เบียดเบียน แต่สามเณรพรหมนั้น ก็กลัวจนตัวสั่น เราจึงบอกกับเธอไปว่า เราจะต้องมีสติรู้เท่าทันกับความตาย และความกลัว กำหนดจิตมั่นแล้ว แม้จะต้องตายลงด้วยเขี้ยวเล็บเสือ หากมีสติรู้แล้ว ย่อมไปสู่สุคติภูมิ เสวยสุขอย่างแน่นอนที่สุด”

    จากวันนั้นแล้ว พระอาจารย์ฝั้นได้แยกกับสามเณรพรหม ออกแสวงหาความวิเวกโดยลำพัง จนกระทั่งท่านมาป่วยหนักเป็นไข้หวัดอยู่ที่วัดป่าบ้านหนองแสง อ.วาริชภูมิ อาการไข้ทำให้จิตของท่านอ่อนไม่เป็นอันภาวนา เกิดความล้า พญามารจึงได้เข้ามาบงการในทันที

    “พญามารบอกกับเราว่า เจ้าบวชเรียนไปหาอะไรกันเล่า บ้านช่องห้องหอสมบัติพัสถานก็มากมาย สึกออกไปเถอะ ไปกินข้าวสามมื้อ ไปทำในสิ่งที่ใจอยากทำ ไปเสวยสุขกับสตรีดีกว่ามาอดมื้อกินมื้อ จะทำอะไรก็ขัดข้องไปหมด ทำโน่นไม่ได้ ทำนี่ไม่ได้ มันขัดข้อง”

    เมื่อหายป่วยท่านได้ออกเดินทางธุดงค์ต่อไป พระธุดงค์ในสมัยก่อนนั้นท่านต้องนำบริขารธุดงค์ที่จำเป็นในการดำรงชีพในป่า บรรจุใส่ย่ามใบใหญ่ โดยเฉพาะกลด หรือ ร่มคันใหญ่ ที่ใช้กันแดดกันฝน กันลม กันแมลง ฯลฯ นั้น หนักไม่น้อย เดินทุลักทุเล พะรุงพะรังซัดเซไปมาทางโน้นทีทางนี้ที จนกระทั่งเดินผ่านไปพบสุนัขกำลังแทะกระดูกควายอยู่อย่างเพลิดเพลิน แทะจนไม่ได้ดูว่ามีคนเดินมาใกล้ พอรู้ตัวก็ออกวิ่งโกยแน่บใส่ตีนหมาหนีไปด้วยความกลัว ไปหอบแฮ่ก ๆ ลิ้นห้อยอยู่ใต้ต้นไม้ที่อยู่ห่างออกไป เมื่อเห็นพระอาจารย์ฝั้นเดินผ่านพ้นไปสักระยะหนึ่ง มันก็หวนกลับมาแทะกระดูกกินอีก เมื่อเห็นพระอาจารย์ฝั้นหันกลับมาดู แกล้งทำท่าจะเดินย้อนกลับมา มันก็ผละวิ่งหนีไปอีก เป็นอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ท่านได้กล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า

    “เราเกิดปัญญาตอนนี้เอง เราเกิดความสังเวชขึ้นทันใด เกิดสังเวชนี่แหละที่พญามารกลัวนัก ด้วยความสังเวช ความเบื่อหน่ายในทางโลก คือ เครื่องป้องกันพญามาร ให้ปราศนาการไป เราตั้งสติระลึกถึงองค์ภาวนา แล้วเทียบเคียงกับนิมิตทันที”

    “ดูเจ้าสุนัขเป็นแบบอย่างซี มันหลงอยู่ในกระดูก อันไม่มีแม้แต่เนื้อและเอ็นที่จะห่อหุ้ม แต่มันยังแทะด้วยความหลง ซึ่งอันที่จริงแล้ว สิ่งที่มันกลืนลงไปหลังจากแทะกระดูกก็คือ น้ำลายของมันนั่นเอง”

    “เธอเป็นพระกรรมฐาน เธอกำลังคิดถึงความสุขสบายของฆราวาสวิสัย ซึ่งเธอได้ผ่านพ้นมันไปแล้วด้วยความเพียร แต่เธอกลับแส่ส่ายไปหามันอีก เธอต้องการสร้างภพชาติให้ต่อเนื่องอีกไม่สิ้นสุดกระนั้นหรือ”

    “ทรัพย์สมบัติ ลูก เมีย เมื่อเธอตายแล้วเธอก็ต้องทิ้งเอาไว้ เอาไปไม่ได้เลย แม้แต่ตัวเธอเอง ตายแล้วก็ต้องทิ้งเอาไว้ในโลกนี้ทั้งสิ้น เธอจงดูซิว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไตรลักษณ์นี่แหละ คือ สัจธรรมของพระบรมศาสดา”

    เมื่อท่านปลงสังเวช และเข้าใจในหลักความจริงดังกล่าวด้วยตัวท่านเองแล้ว ท่านก็เกิดกำลังใจกล้าแข็ง ตัดบ่วงพญามารออกได้โดยสิ้นเชิง ความคิดที่จะสึกหาลาเพศไปใช้ชีวิตอย่างฆราวาสวิสัยหมดสิ้นไป ท่านตั้งใจแน่วแน่ว่าจะเดินทางไปสู่เส้นทางสายอริยะบุคคล จึงมุ่งหน้าเดินธุดงค์ตรงไปหาพระอาจารย์มั่น เพื่อขอข้อวัตรปฏิบัติอันควรต่อไป

    ที่วัดมหาชัย อ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ในสมัยนั้น พระบิดาแห่งกองทัพธรรม ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้เปล่งวาจาท่ามกลางที่ชุมนุมสงฆ์ ยกย่องพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ไว้ว่า

    “จากผีที่หน้าถ้ำ มาถึงเสือในราวป่า และหมาแทะกระดูก ท่านฝั้นได้นำเอามาพิจารณาเป็นครูสอนตัวเองได้อย่างถูกต้องที่สุด เธอทำให้เกิดความแจ้งในธรรม ได้ชื่อว่า เป็นศิษย์ตถาคตผู้อยู่ในพุทโธวาท เป็นสิ่งที่ชอบที่สุดในการปฏิบัติ”

    วันที่ ๒๑ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๖๘ พระอาจารย์ฝั้น ได้เปลี่ยนญัตติจากมหานิกาย มาเป็นธรรมยุติกนิกายที่พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี มีนามฉายาว่า “อาจาโร”

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร บำเพ็ญเพียรอย่างหนักตลอดเวลา ตามแนวทางที่พระอาจารย์มั่นได้สั่งสอน ทำให้ท่านได้พบกับความมหัศจรรย์ของพลังจิตในป่า ติดต่อกับไร่อ้อยของหลวงบำรุง อันเป็นศิษย์ผู้ศรัทธาท่าน ครั้งนั้นท่านได้ยินเสียงร้องประหลาดเมื่อตะวันตกดิน และจะร้องกลับมาททางเดิมเมื่อใกล้สาง

    ชาวบ้านบอกกับท่านว่า “นกไม้หอม” ชอบกินเปลือกไม้เนื้อหอม พอค่ำลงก็ออกไปหาไม้เนื้อหอม เช่น ไม้จันทร์หอมกิน ถ้าตามเสียงไปก็จะได้พบไม้จันทร์หอมซึ่งมีราคาแพง ในการธุดงค์คราวนั้นมีเด็กไปด้วยคนหนึ่ง พ่อแม่ฝากมาให้ติดตามพระ ให้ได้คุ้นเคยกับความอดทน และความลำบาก ซึ่งก่อนมาได้อบรมกันมาก่อนว่า จะอดอยากขนาดไหน ห้ามจับสัตว์ในป่ามากินเป็นอันขาด เพราะจะทำให้ธุดงควัตรเสีย และเกิดอันตราย และคืนนั้นเอง เกิดเสียงโหยหวน ของสิ่งที่ชาวบ้านเรียกว่า นกไม้หอม ก็ดังขึ้น แต่ไม่ไปทางเดิม กลับอยู่รอบ ๆ กลดที่พัก โดยมุ่งไปทางที่เด็กนอนพัก แล้ววนเวียนอย่างน่ากลัว

    พระอาจารย์ฝั้นปลุกพระขึ้นมาทั้งหมด ให้จุดโคมไฟไว้ที่สี่ทิศ เรียกเด็กมาอยู่ตรงกลาง แล้วพระทั้งหมดก็นั่งล้อมเด็กเอาไว้เพื่อป้องกันภัยแก่เด็ก เสียงนั้นวนไปเวียนมา แต่มองไม่เห็น พระอาจารย์ฝั้นจึงทำความเพียรทางจิต จนจิตมั่นคงแน่วแน่แล้วเพ่งดูด้วยตาในว่า มันอะไรกันแน่

    ภาพที่เห็น “ทางใน” คือ มันเป็นสัตว์ประหลาด ปากเท่าเล็บมือคน ขนขาวรุงรัง ตัวคล้ายชะนี พอถูกเพ่งก็ม้วนตัวลงจากต้นไม้ กระแทกดินดังตุ๊บ แล้วปราศนาการไป เราจึงกำหนดรู้ในวาระนั้นว่า มันคือ “ผีกองกอย”

    เด็กคนนั้นสารภาพว่าหิว จึงแอบจับไก่ แย้ อึ่งอ่าง เอามากิน เป็นการละเมิดคำสั่งของพระอาจารย์ฝั้น ท่านจึงส่งตัวกลับไป เพราะขืนให้ร่วมทางไป ต้องจบชีวิตลงอย่างแน่นอนที่สุด

    อำนาจแห่งความเพียรนั้นมาถึงที่สุด เมื่อพระอาจารย์มั่นได้สอนให้พระอาจารย์ฝั้นได้เร่งทำความเพียรติดต่อกันทั้งกลางวัน และกลางคืน โดยให้พระอาจารย์ฝั้นอยู่อีกกุฏิหนึ่ง ห่างกันประมาณ ๕๐๐ เมตร (ครึ่งกิโลเมตร) ให้ทำความเพียร แล้วมองดูพระอาจารย์มั่นในที่อันห่างไกลอยู่ในกุฏิอีกแห่งหนึ่ง

    “การทำความเพียรคราวนั้น เราสามารถมองเห็นพระอาจารย์มั่นได้อย่างชัดเจน และท่านเองก็มองเห็นเราด้วยเหมือนกัน เราจึงประจักษ์ว่า ความเพียรนี้ดีเลิศประเสริฐแท้”

    ด้วยความเพียรนี้แหละ ที่พระอาจารย์ฝั้นใช้เอาชนะมาตุคามที่เคยเป็นคู่ครองกันมาก่อนในอดีตชาติ พบกันในขณะออกบิณฑบาต เกิดจิตปฏิพัทธ์ด้วยเคยมีวาสนาร่วมกัน ท่านได้เข้าไปบำเพ็ญเพียรในพระอุโบสถวัดบรมนิวาส แล้วตัดบุพเพกตปุญญา สิ้นภพสิ้นชาติ ขาดภพภูมิ แต่เพียงชาตินี้ ได้สำเร็จในที่สุด (ยังมีต่อ)
     
  16. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (๓) โดย อ.เล็ก พลูโต

    พลังจิตพระอาจารย์ฝั้น พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แม่ทัพธรรมรู้ดีว่าศิษย์ทุกคนมีความก้าวหน้าไปเช่นไร แค่ไหน ใครมีดีทางด้านใด และได้ทราบดีว่า “พระอาจารย์ฝั้นมีสมาธิสูง” จึงให้ใช้สมาธิดูเดหตุการณ์ความไม่เข้าใจกัน ระหว่างพระธุดงค์ กับ พระผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองของมณฑลอุบลราชธานี ซึ่งมีความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับพระธุดงค์ทุกองค์ว่าเป็นเช่นไร

    พระอาจารย์ฝั้นจึงเข้าสมาธิดูเหตุการณ์ และได้นิมิตว่า แผ่นดินแยกออกเป็นร่องลึก ผู้คนข้ามไปมาหากันไม่ได้ ซึ่งหมายถึงการไม่เข้าใจซึ่งกันและกัน ท่านอาจารย์มั่นจึงให้พระอาจารย์อ่อน และพระอาจารย์มหาปิ่น เดินทางไปพบเจ้าคุณจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ต่อมาเรื่องจึงสงบลง เหตุการณ์ครั้งนี้ได้แสดงให้เป็นที่ประจักษ์แน่ชัดแล้ว พระอาจารย์ฝั้นเป็นผู้มีความสามารถเข้าสมาธิพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ไกลตัวได้อย่างแม่นยำ

    ความจริงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเข้าสมาธิแก้ปัญหาของพระอาจารย์ฝั้นมีมากมาย ขอยกตัวอย่างเช่น มีอยู่คราวหนึ่ง ชาวบ้านพาท่านเข้าป่าไปพักที่ถ้ำแห่งหนึ่ง ทั้งผู้ที่พาไปและพระอาจารย์ฝั้นก็ไม่คุ้นเคยกับสภาพภูมิประเทศ ท่านต้องเข้าสมาธิพิจารณาหาที่บิณฑบาตในวันรุ่งขึ้น และท่านก็เดินไปตามที่เห็นในนิมิตจนถึงหมู่บ้าน และได้รับบิณฑบาตตามที่ต้องการ

    พระอาจารย์ฝั้น ท่านมีพลังจิตสูง หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก ดังเรื่องราวที่ได้รวบรวมเอาไว้ เช่น

    ๑. สามารถเรียกฟ้าฝนได้เป็นที่อัศจรรย์ ในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ชาวจังหวัดสกลนคร เกิดทุพภิกขภัยอย่างหนัก ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล จึงเข้าไปขอฝนกับท่าน ท่านนั่งสมาธิบนลานกลางแจ้งประมาณครึ่งชั่วโมง ท้องฟ้าที่มีแดดจ้าพลันมีเสียงฟ้าร้องคำราม บังเกิดมีก้อนเมฆบดบังแสงอาทิตย์ มีฝนตกเทลงมาอย่างหนักนานถึง ๓ ชั่วโมง ในปีนั้นฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ชาวบ้านได้ทำนาตามปกติโดยทั่วถึง

    ๒.ท่านสร้างวัดต้องมีการระเบิดหิน ท่านไม่ต้องการให้หินช่วงไหนแตกร้าว ท่านจะเอาปากกาไปเขียนยันต์ไว้ ตรงจุดนั้นระเบิดจะแรงขนาดไหนหินนั้นก็ไม่แตกร้าว

    ๓.ท่านนั่งสมาธิใต้ต้นกระบก ลูกกระบกตกลงกับพื้นเสียงดังน่ารำคาญ ท่านกำหนดจิตไม่ให้ลูกกระบกตก ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ลูกกระบกต้นนั้นไม่หลุดหล่นลงพื้นอีกเลย

    พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ ได้เล่าเรื่องพลังจิตของหลวงปู่ฝั้นไว้ว่า “สมัยหนึ่งหลวงปู่ฝั้นได้ธุดงค์ไปยังจังหวัดจันทบุรี ท่านได้รับนิมนต์ไปแสดงธรรมในงานศพ มีผู้มาฟังธรรมเป็นจำนวนมาก ขณะที่ท่านแสดงธรรมอยู่นั้น มีคนกลุ่มหนึ่ง ไม่สนใจในธรรมที่ท่านแสดง เล่นหมากรุก เมาสุรา ส่งเสียงเอะอะโวยวายรบกวน ท่านส่งกระแสจิตไปปราบพวกขี้เหล้าเหล่านั้น เป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ขี้เหล้าเหล่านั้นได้หยุดนิ่งไร้การเคลื่อนไหว บางคนยืนอ้าปาก บางคนถือหมากรุกในมือ บางคนคอพับ ไม่สามารถไหวติงได้ จนกระทั่งท่านแสดงธรรมให้พรจบลงเดินทางกลับ ขี้เหล้าเหล่านั้น จึงกลับมาสู่ภาวะความเป็นปกติได้”

    เกี่ยวกับพลังจิตของหลวงปู่ฝั้น หลวงตามหาบัวเล่าว่า “ท่านพระอาจารย์ฝั้นสามารถกำหนดจิตให้รถหยุด เครื่องยนต์ไม่ติดอย่างง่ายดาย” ฉะนั้นเวลานั่งรถท่านต้องพยายามทำจิตไม่ให้เพ่งไปที่เครื่องยนต์ ไม่งั้นเครื่องจะดับทันที และกับเครื่องบินก็เหมือนกัน ตอนสงครามโลก เครื่องบินญี่ปุ่นจะมาทิ้งระเบิด คนมาขอให้ท่านอย่าให้ญี่ปุ่นทำได้ ตอนแรกท่านคิดว่าจะเพ่งให้เครื่องยนต์ดับ แต่คิดได้ว่าหากทำแบบนั้น เครื่องบินต้องตกทหารญี่ปุ่นต้องตาย ท่านจึงทำวิธีอื่นแทน

    อีกครั้งหนึ่งในงานศพท่านพระอาจารย์มั่น พระทั้งหลายกำลังจัดเตรียมงานกันอยู่ มีเด็กน้อยถีบจักรยานไปมาเป็นการรบกวน หลวงปู่ฝั้นท่านจึงพูดขึ้นว่า “เดี๋ยวเราจะดัดนิสัยไอ้เด็กพวกนี้ จะทำให้รถมันล้มแต่ไม่ให้มันเจ็บ” พอท่านพูดจบรถจักรยานที่เด็กถีบก็ล้มลงทันที นี่คือพลังจิตของท่าน แสดงได้หลายอย่างเป็นที่น่าอัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง

    ด้วยวัตรปฏิบัติและพลังจิตอันเลิศล้ำ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จึงทรงให้ความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

    มีคำถามเกี่ยวกับการกำหนดจิตเข้าสมาธิกำหนดจิต จนทำให้เครื่องยนต์ของรถยนต์ดับนั้น มีผู้อื่นเขียนกันมามากแล้ว แต่มีข้อน่าสงสัย แง่มุมที่หลายคนอยากรู้ก็คือ “ท่านทำอย่างไร เห็นอะไรในการเข้าสมาธิพิจารณา เครื่องยนต์ถึงดับ ขับเคลื่อนไปไม่ได้” ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเคยสอบถามท่านเรื่องนี้ ท่านตอบว่า “เห็นไฟแปล๊บ ๆ แล้วเครื่องก็หยุด” นั่นคือ การที่ไฟสปาร์คของหัวเทียน เพื่อจุดระเบิดเชื้อเพลิงในห้องเผาไหม้ในห้องเครื่องนั่นเอง และรถยนต์คันเดียวกันนี้ ท่านกำหนดจิตพิจารณา ๒ ครั้ง เครื่องยนต์ก็ดับทั้ง ๒ ครั้ง

    ซึ่งในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นสาเหตุชักนำให้ จอมผลผิน ชุณหะวัณ นิมนต์ท่านให้เดินทางไปจังหวัดนครราชสีมา เพื่อคุ้มครองฐานทัพที่นั่น เมื่อรบกับกองทัพญี่ปุ่น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งก็ได้ผล เพราะไม่มีเครื่องบินข้าศึกบินออกมาโจมตีอีกเลย จนกระทั่งสงครามได้สงบลง

    ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ พระอาจารย์ฝั้นพร้อมกับพระภิกษุอื่น ๆ ทำการยัตติกรรมในโบสถ์น้ำอีกครั้งหนึ่ง ตามพระธรรมวินัย โดย ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ฝั้นได้ไปจำพรรษาที่บ้านดอนแดงคอกช้าง อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ตามหน้าที่ที่พระอาจารย์มั่นได้มอบหมายให้ หลังจากออกพรรษาแล้วก็ได้ร่วมกันออกเผยแพร่ธรรม โดยมุ่งหน้าไปทางจังหวัดอุบลราชธานี โดยได้รับเอาโยมมารดาของพระอาจารย์มั่น (นางจันทร์) ไปอุบลราชธานีด้วย

    ในปีนี้พระอาจารย์ฝั้นก็ได้จำพรรษาที่บ้านบ่อชะแนง อ. หัวตะพาน จ.อุบลราชธานี ช่วยพระอาจารย์กู่เทศนาสั่งสอนญาติโยม จนชาวบ้านเกิดศรัทธาเลื่อมใสแนวปฏิบัติของพระกัมมัฎฐานนี้มาก โดยปกติพระกัมมัฎฐานในสายนี้ได้รับการต่อต้านจากผู้ไม่เข้าใจในแนวปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง มีการขับไล่ไสส่ง หาว่าเป็นพระเถื่อนก็มี แต่ในที่สุดเมื่อรู้ความจริง ก็ต่างยอมรับนับถือและเลื่อมใสไปตาม ๆกัน

    พ.ศ. ๒๔๗๑ อันเป็นพรรษาที่ ๔ ของพระอาจารย์ฝั้น ท่านได้จำพรรษาที่หนองน่องบ้านห้วยทราย อ.คำชะอี จ.นครพนม ออกพรรษาแล้วก็ได้กลับมาที่อำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานีอีกครั้งร่วมกับพระอาจารย์สิงห์ พระอาจารย์มหาปิ่น ว่าจะไป จ.ขอนแก่น เพื่อช่วยท่านเจ้าคุณพระพิศาล เจ้าคณะธรรมยุตขอนแก่น ในการเดินทางครั้งนี้พระอาจารย์ฝั้น ได้แวะเยี่ยมญาติโยมที่บ้านพรรณานิคมด้วย แล้วจึงมุ่งหน้าไปยังจังหวัดขอนแก่น พบกับพระอาจารย์สิงห์ตามที่นัดกันไว้ที่วัดเหล่าเงา (วัดวิเวกธรรม) ต.โนนทัน อ.พระลับ มีพระในคณะประมาณ ๗๐ รูป ได้แบ่งกำลังกันออกเผยธรรม จัดตั้งสำนักสงฆ์แบบวัดป่าขึ้นในจังหวัดขอนแก่นหลายแห่ง สอนชาวบ้านให้เลิกกลัวผี และยึดเอาไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง

    ในพรรษาปี ๒๔๗๒ นี้ พระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าบ้านผือ ต. โนนทัน ได้ขจัดปัดเป่าความทุกข์ร้อนของชาวบ้านอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของภูติฝีปีศาจ ที่ชาวบ้านกลัวกันมาก พระอาจารย์ฝั้นก็ได้สอนธรรมให้จนเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านมาก

    พ.ศ. ๒๔๗๓ ก็ได้จำพรรษาที่บ้านผือ พอออกพรรษาแล้วก็ธุดงค์ไปหนองหาน จ.อุดรธานี พ.ศ. ๒๔๗๔ (พรรษาที่ ๗) พระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาที่ภูระงำ อ.ชนบท จ.ขอนแก่น ในระหว่างพรรษานี้พระอาจารย์ฝั้นมีอาการอาพาธ ได้รับความทุกข์ทรมานมาก จึงตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะนั่งภาวนาทำความเพียรไปจนมรณภาพ ท่านนั่งภาวนาเป็นเวลานานมากกว่า ๑๕ ชั่วโมงติดต่อกัน และเมื่อถอนจิตออกจากสมาธิแล้วก็รู้สึกตัวเบา อาการไม่สบายก็หายไป ว่ากันว่าในตอนนี้ท่านได้สำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว

    พอออกพรรษาพระอาจารย์ฝั้น ก็ได้ออกธุดงค์ไปพบพระอาจารย์สิงห์ที่ อ.น้ำพองได้รับการขอร้องจากสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) เจ้าคณะมณฑลอีสาน ให้นำคณะกัมมัฎฐานไปเผยแพร่ธรรมที่ จ.นครราชสีมา พระอาจารย์ฝั้นก็ไปในคณะนี้ด้วย ได้พักที่วัดสุทธิจินดา อ.เมือง นครราชสีมา ในโอกาสนี้ได้มีการมอบที่ดินสำหรับสร้างวัดป่าสาลวันแก่พระกัมมัฏฐานนี้ด้วย

    หลังจากนั้น พระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางเข้ามากรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกโดยมากับพระอาจารย์สิงห์ และพระมหาปิ่น เพื่อเยี่ยมอาการป่วยของท่านเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส พักอยู่ได้ ๓ เดือน พระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางกลับไปยังนครราชสีมาจำพรรษาที่วัดป่าศรัทธารวม

    ในพรรษาที่ ๘ ของท่าน (พ.ศ. ๒๔๗๕) จากนั้นเป็นต้นมาพระอาจารย์ฝั้นได้จำพรรษาอยู่ในวัดในเขตจังหวัดนครราชสีมา โดยตลอดมา คือพรรษาที่ ๙-๑๐ (พ.ศ.๒๔๗๖-๒๔๗๗) ท่านได้สร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่ ต.พลสงคราม ในป่าช้า แล้วจำพรรษาที่นั่น และสร้างสำนักสงฆ์ขึ้นที่ปักธงไชยอีกแห่งหนึ่ง ในพรรษาที่ ๑๐ ท่านได้จำพรรษาที่โนนสูง พอออกพรรษาแล้วก็ได้เดินธุดงค์ไปทางดงพญาเย็น ได้ผจญกับสิ่งแปลก ๆ ต่าง ๆ นานา

    ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ พระอาจารย์ฝั้นได้ออกเดินทางจากนครราชสีมา มุ่งหน้าไปยังเชียงใหม่พร้อมกับพระอาจารย์อ่อน เพื่อจะติดตามมหาพระอาจารย์มั่น ไปพบพระอาจารย์มั่นที่วัดเจดีย์หลวงและเดินทางกลับนครราชสีมาในปีรุ่งขึ้น (๒๔๘๐) และได้จำพรรษาอยู่ที่นครราชสีมาตลอดมา

    หลังจากออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ พระอาจารย์ฝั้นได้ธุดงค์ออกจากวัดป่าศรัทธาธรรมไปเขาพนมรุ้ง อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ แล้วเดินทางต่อไปยังจังหวัดสุรินทร์ พอเข้าพรรษาปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ก็ได้ไปจำพรรษาที่วัดบูรพา จ.อุบลราชธานี เพื่อช่วยรักษาพยาบาลสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส) ด้วยธรรมโอสถ จนสมเด็จฯ หายเป็นปกติ ได้รับคำชมเชยเป็นอย่างยิ่ง ในขณะเดียวกันก็ได้พยาบาลรักษาพระอาจารย์มหาปิ่น ซึ่งอาพาธด้วยโรคปอดด้วย จนพระอาจารย์มหาปิ่นหายเป็นปกติเช่นกัน

    ในระยะนี้เป็นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ เครื่องบินของฝ่ายสัมพันธมิตรได้บินมาทิ้งระเบิดตามจุดต่าง ๆ ที่มีทหารญี่ปุ่นอยู่ ในจังหวัดอุบลราชธานี พระอาจารย์ฝั้นก็สามารถล่วงรู้ได้ว่า เวลาใดที่เครื่องบินจะมาทิ้งระเบิด ก็จะบอกให้พระเณรชาวบ้านรีบหลบภัย ยังความแปลกใจเป็นอย่างยิ่งว่า เหตุใดพระอาจารย์ฝั้นจึงมีความสามารถรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

    ออกพรรษาปี ๒๔๘๗ พระอาจารย์ฝั้นได้เดินทางกลับสกลนคร ระหว่างทางได้พักที่วัดป่าเกาะแก้ว อ.ธาตุพนม จ.นครพนม ได้กราบนมัสการพระธาตุพนมด้วย ออกจากธาตุพนมมุ่งหน้าไปยังนาแก พักที่วัดนาแก แล้วมาพักที่วัดป่านาโสก จากนั้นก็ออกเดินทางไปยังวัดป่าบ้านนามน อ.เมือง จ.สกลนคร แล้วไปยังวัดป่าสุทธวาส พักอยู่ ๓ คืนแล้วจึงเดินทางต่อไปยังอำเภอพรรณานิคม ถึงบ้านบะทอง อันเป็นบ้านที่บิดาของท่านมาตั้งรกราก พักที่วัดบ้านบะทอง ๑ คืน รุ่งขึ้นพระอาจารย์ฝั้นก็ไปพักที่ป่าช้าใกล้ ๆ กับหนองแวง ต่อมาสถานที่แห่งนี้ก็ได้กลายเป็น "วัดป่าอุดมสมพร" จนบัดนี้
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,090
    ค่าพลัง:
    +53,094
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (๔) โดย อ.เล็ก พลูโต

    ปี พ.ศ. ๒๔๘๘ พระอาจารย์ฝั้นจำพรรษาที่วัดป่าธาตุนาเวง สกลนคร ได้บูรณะจนดีขึ้น และต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดป่าภูธรพิทักษ์" อันเป็นวัดหนึ่งที่พระอาจารย์ฝั้นเป็นเจ้าอาวาสด้วย ท่านได้จำพรรษาต่อมาหลายพรรษา ได้ถือโอกาสไปปรนนิบัติรับใช้พระอาจารย์มั่นตามโอกาส ตามวัดป่าที่พระอาจารย์มั่นไปพำนักอยู่ในละแวกนั้น ในระหว่างพรรษา ปี ๒๔๙๒ พระอาจารย์มั่นได้อาพาธ คณะศิษย์ได้นำท่านมารักษาที่วัดป่าสุทธาวาสในตัวเมืองสกลนคร พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ไปคอยดูแลพระอาจารย์มั่นอยู่ด้วย พระอาจารย์มั่นได้มรณภาพในปีนี้เอง และได้ทำการประชุมเพลิงศพพระอาจารย์มั่นเรียบร้อยไปในวันที่ ๓๑ ม.ค. ๒๔๙๓

    หลังจากเสร็จงานศพพระอาจารย์มั่นแล้ว พระอาจารย์ฝั้น ได้เดินทางไปแสวงหาความวิเวกทางจังหวัดนครพนมอีก โดยมีจุดมั่นอยู่บนภูวัว พรรษาอยู่ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ ออกพรรษาแล้วได้เดินทางจากสกลนครมาอุดรธานี แล้วมากรุงเทพฯ อีกครั้ง โดยได้เดินทางต่อไปยังจังหวัดจันทบุรี พร้อมกับพระอาจารย์กงมา โดย พระอาจารย์วิริยังค์ เป็นผู้นิมนต์มาพักที่ วัดดำรงธรรม อ.ขลุง จ.จันทบุรี วัดเขาหนองชิ่ม อ.แหลมสิงห์ และวัดอื่น ๆ อีกหลายวัด เป็นเวลา ๓ เดือนจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยทางเรือ ถึงกรุงเทพฯ แล้วได้พักที่วัดนรนารถฯ เทเวศน์ . วัดอโศการาม สมุทรปราการ พระอาจารย์ลี ได้พาพระอาจารย์ฝั้นไปลพบุรี และนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีด้วย แล้วจึงกลับสกลนคร และนับตั้งแต่นั้นมาพระอาจารย์ฝั้นก็ได้เดินทางมากรุงเทพฯ บ่อยครั้ง

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๕ พระอาจารย์ฝั้นได้ไปสร้างสถานวิเวกไว้ที่ถ้ำเป็ด อ.ส่องดาว ใกล้กับวัดถ้ำอภัยดำรงธรรมของพระอาจารย์วัน อุตตโม

    ปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้มิมิตเห็นถ้ำอยู่แห่งหนึ่งบนภูพาน พอออกพรรษาท่านก็ได้เดินทางไปหาสถานที่แห่งนั้น และก็ได้พบตามที่ได้นิมิตไว้ สถานที่แห่งนั้นก็คือ "ถ้ำขาม" บนภูพานนั่นเอง พระอาจารย์ฝั้น ได้ขึ้นไปพักบนถ้ำขาม และสร้างเป็น "วัดถ้ำขาม" ในเวลาต่อมา โดยเริ่มสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็นต้นมา ปัจจุบันวัดถ้ำขาม เป็นสถานที่วิเวกอันเพรียบพร้อมไปด้วยทุกสิ่งอย่างท่ามกลางธรรมชาติอันงดงามอย่างยิ่ง

    นับตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์ฝั้น ก็มีภารกิจที่จะต้องดูอยู่ด้วยกัน ๓ วัด คือ วัดป่าอุดมสมพร วัดป่าภูธรพิทักษ์ และวัดถ้ำขาม โดยท่านได้ไป ๆ มา ๆ ทั้ง ๓ วัดนี้เป็นประจำ ได้ปฏิบัติศาสนกิจด้วยความมุ่งมั่น และจริงจัง อบรมศิษย์ด้วยความเอาใจใส่ เมตตาธรรมของท่านนั้นกว้างใหญ่ไพศาล แผ่ถึงทั่วทุกคนที่ไปพบกราบท่าน พระอาจารย์ฝั้น ได้ตรากตรำงานหนักมาตลอดชีวิตของท่าน จึงเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสแก่ผู้เคยพบเห็นท่านเสมอ

    พระอาจารย์ฝั้น ได้สร้างสรรค์ถาวรวัตถุไว้มาก ไม่ใช่เพียงแต่ในด้านศาสนสถานอย่างเดียวเท่านั้น ในด้านสังคมก็ได้ช่วยสร้างไว้มาก อย่างเช่นตึกสงฆ์อาพาธของโรงพยาบาลสกลนคร หรือ โรงพยาบาลพรรณานิคม ที่ได้ใช้ชื่อของท่านเป็นชื่อโรงพยาบาลด้วย ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี ก็ด้วยบารมีของท่าน

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมทั้งทูลกระหม่อมเจ้าฟ้าทุกพระองค์ ก็ได้เคยเสด็จฯ ไปนมัสการพระอาจารย์ฝั้นอยู่เสมอ ได้ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับพระอาจารย์ฝั้นอย่างใกล้ชิด ทรงสนทนาธรรมตรัสถามข้อสงสัยด้วยความสนพระทัยอย่างยิ่ง เมื่อโอกาสใดที่พระอาจารย์ฝั้นเดินทางมากรุงเทพฯ ล้นเกล้าฯ ทั้งสองพระองค์ก็เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมพระอาจารย์ฝั้นถึงวัดที่พระอาจารย์ฝั้นมาพักทุกครั้ง

    เดือนกันยายน ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้น ได้เกิดอาพาธ เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร แต่อาการไม่ดีขึ้น จึงได้นิมนต์ท่านเข้าการรักษาที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ โดยอยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ รักษาอยู่ระยะหนึ่งท่านก็ขอกลับวัดป่าอุดมสมพร สกลนคร อาการบางอย่างก็หายเป็นปกติ แต่ก็ได้มีโรคอื่นแทรกซ้อนมา

    จนกระทั่งเมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๑๙ อาการของโรคหัวใจของท่านก็กำเริบ วันที่ ๒๗ ธ.ค. ๒๕๑๙ พระอาจารย์ฝั้นเกิดอาการช็อค ทางคณะแพทย์ได้นิมนต์ให้ท่านเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสกลนคร แต่ท่านไม่ยอมไป คณะแพทย์หลวงได้ทราบข่าว จึงได้ขอนิมนต์ท่านให้เข้ารับการรักษาที่กรุงเทพฯ ท่านก็ไม่ยอมเช่นกัน ยังคงพักรักษาอยู่แต่ที่วัดป่าอุดมสมพรตลอดมา โดยมีคณะแพทย์หมุนเวียนกันไปเฝ้าอาการตลอดเวลา จนกระทั่งถึง วันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ เวลา ๑๙.๕๐ น. พระอาจารย์ฝั้นก็ได้ละขันธ์ธาตุไปด้วยอาการสงบ นับเป็นการสูญเสียอันยิ่งใหญ่ของนักรบแห่งกองทัพธรรม ภาคอีสาน ทิ้งไว้แต่ความดีงามให้ลูกศิษย์ลูกหาได้ระลึกถึงท่านต่อไปอีกนานเท่านาน

    ข่าวมรณภาพของพระอาจารย์ฝั้น ได้แพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว สาธุชนผู้มีความเคารพในตัวท่านได้หลั่งไหลไปคารวะศพท่านที่วัดอย่างเนืองแน่น ต่างอาลัยอาวรณ์ในพระอาจารย์ฝั้นเป็นอย่างมาก เพราะท่านเป็นที่รวมแห่งจิตใจของศิษย์ทุกหมู่เหล่าอย่างแท้จริง

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงทราบข่าวก็ได้เสด็จฯ ไปยังวัดป่าอุดมสมพร เมื่อวันที่ ๕ ม.ค. ๒๕๒๐ ทรงสรงน้ำศพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ บำเพ็ญพระราชกุศล ๗ วัน พระราชทานหีบทองทึบประกอบศพด้วย

    ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จฯ มาพระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ณ วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร เป็นกรณีพิเศษโดยส่วนพระองค์

    ประวัติการสร้างวัตถุมงคล

    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้สร้างวัตถุมงคลแจกจ่ายแก่สานุศิษย์ผู้เคารพนับถือครั้งแรก เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๖ เป็น “พระชัยวัฒน์” เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างที่วัดป่าภูธรพิทักษ์ และแจกจ่ายแก่ชาวบ้านธาตุนาเวง จังหวัดสกลนคร มีหลายพิมพ์ นอกจากนั้นยังสร้าง “พระปิดตา” เนื้อตะกั่วผสมปรอท แจกในช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๘ ที่วัดป่าภูธรพิทักษ์อีกด้วย

    วัตถุมงคลนอกเหนือจากที่ท่านสร้างเองที่กล่าวไว้นี้ ยังมีอีกมากมายหลายรูปแบบ เช่น พระกลีบบัว เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๘, พระลีลา ๒หน้า เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๔๙๙, นางกวัก เนื้อตะกั่วผสมปรอท สร้างประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๘, ล็อคเก็ตรูปถ่ายของท่าน รุ่นต่าง ๆ, พระผงรูปเหมือน รุ่นต่าง ๆ ที่สำคัญและสร้างมากมายถึง ๑๒๐ รุ่น คือ เหรียญรุ่นต่าง ๆ ซึ่งท่านไม่ได้สร้างเอง แต่ลูกศิษย์ลูกหา และผู้เคารพศรัทธาขออนุญาตสร้าง และท่านปลุกเสก หรือ อธิษฐานจิตให้ ล้วนมากด้วยประสบการณ์อภินิหารทุกรุ่น ทุกแบบ ปัจจุบันหาแทบไม่พบตามแผงพระต่าง ๆ ในสนามพระเครื่อง

    เหรียญรุ่นแรก สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๗ คุณเกษม งามเอก ศิษย์ทหารอากาศ สร้างในงานยกเสาโบสถ์น้ำ วัดป่าอุดมสมพร มีเนื้ออัลปาก้า ๒๑๘ เหรียญ, เนื้อทองคำ และทองแดง จำนวนไม่มากนัก ซึ่งแม่พิมพ์ด้านหน้าของเหรียญรุ่นแรก ถึงรุ่นที่ ๗ ใช้แม่พิมพ์ตัวเดียวกัน ส่วนแม่พิมพ์ด้านหลังด้านหลังของเหรียญรุ่นแรก ระบุปี พ.ศ. ที่สร้าง และเขียนไว้ว่า รุ่นแรก ศิษย์ ทอ.สร้างถวาย

    เหรียญรุ่นที่ ๒ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวายที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ พ.ศ. ๒๕๐๗ เช่นเดียวกัน รุ่นนี้ด้านหลังมี ๒ พิมพ์ ที่เหมือนกันคือ เขียนเอาไว้ว่า ที่ระลึกงานสร้างโบสถ์น้ำ และระบุปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ ๒๕๐๗ ส่วนที่แตกต่างกันก็คือ ตรงสระอำ ของคำว่า “น้ำ” มีพิมพ์ที่ ตัวพินธุอำ (ตัวกลมเป็นเลขศูนย์) ที่เป็นวงกลม และ ที่เป็นจุด เหรียญรุ่นนี้มีเพียงเนื้อทองแดงรมดำ ชนิดเดียว ไม่ทราบจำนวนสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่สาม และ รุ่นที่สี่ สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ด้านหลังระบุไว้อย่างชัดเจนว่า รุ่นสาม หรือ รุ่นสี่ พร้อมลงปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ พ.ศ. ๒๕๐๘ รุ่นที่สาม สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำเพียงอย่างเดียว ส่วนรุ่นสี่ สร้างด้วยเนื้อทองแดงรมดำ และ เนื้ออัลปาก้า (เนื้อช้อนส้อม) ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด

    เหรียญรุ่นที่ ๕ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ด้านหลังไม่ได้ระบุว่ารุ่นที่เท่าไร เพียงแต่ระบุปี พ.ศ.ที่สร้าง คือ พ.ศ. ๒๕๐๙ มีเนื้อทองแดงรมดำเพียงเนื้อเดียว ไม่ทราบจำนวนสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่ ๖ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ด้านหลังไม่ได้ระบุว่ารุ่นใด และรายละเอียดอื่นใด นอกจากมีอักขระเลขยันต์ ๔ แถว คือ “นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา” ซึ่งเป็น คาถาพญายูงทอง (เหรียญทุกรุ่นของท่านจะมีพระคาถานี้อยู่ด้านหลัง) มีเฉพาะเนื้อทองแดงรมดำ ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่นอน

    เหรียญรุ่นที่ ๗ คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวาย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ด้านหลังมีอักขระเลขยันต์ ๔ แถว เหมือนเหรียญรุ่นที่ ๖ ทุกอย่าง ต่างกันตรงที่ ด้านบนของอักขระเลขยันต์ เป็นรูปกลีบดอกไม้สี่กลีบ มีวงกลมอยู่ตรงกลาง คล้ายรูปดอกจัน มีเฉพาะเนื้อทองแดงรมดำเช่นเดียวกัน

    อย่างที่กล่าวเอาไว้ เหรียญรุ่นแรก ถึง รุ่นที่ ๗ ที่คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างถวายตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๑ นั้น ใช้แม่พิมพ์เหรียญด้านหน้าตัวเดียวกัน ถ้ามองแต่ด้านหน้าอย่างเดียว และไม่พิจารณาเนื้อล่ะก็ จะแยกรุ่นไม่ออก แต่ก็ไม่ทำให้นักสะสมสับสน เพราะด้านหลังของเหรียญแต่ละรุ่น แตกต่าง และมีจุดให้สังเกตเพื่อแยกรุ่นได้อย่างชัดเจน จึงทำให้อยู่ในความนิยมของนักสะสมพระเครื่อง เหรียญรุ่นแรก หากสวย และอยู่ในสภาพเดิม ราคาค่าบูชาต้องว่ากันเป็น “แสน" ขึ้นไป และอย่านึกนะว่า จะมีคนปล่อยง่าย ๆ เพราะเงินน่ะหาง่ายกว่ากันเยอะ ส่วนรุ่นที่ ๒ ถึง รุ่นที่ ๗ นั้น ราคาก็ลดหลั่นกันลงมาอยู่ในหลักหมื่น แต่ก็มีบางเหรียญที่มีคนยอมบูชาถึงแสนเช่นกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพอใจของทั้งสองฝ่าย อ้อ ขอกระซิบดัง ๆ ว่า ของเก๊ หรือ ของปลอมนั้น มีทุกรุ่นครับ ดูไม่เป็น เล่นไม่ถูก หรือหวังฟลุ๊ค มีหวังลุกไม่ขึ้น ล้มทั้งยืน ไข้ขึ้นไม่มีลงแน่นอน

    ส่วนเหรียญรุ่นอื่น ๆ นอกจากนี้ ล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมทุกรุ่น เรียกว่า ถ้าเห็นวางบนแผงพระเมื่อไร ก็หลุดไปอยู่กับผู้ศรัทธา หรือ ตามเก็บ เมื่อนั้น ผมไม่แน่ใจนะครับว่า มีของเก๊ทุกรุ่นหรือเปล่า แต่ขอเตือนว่า หากได้มาจากแหล่งที่ไม่น่าไว้วางใจ เช่น ตามแผงพระล่ะก็ ต้องให้เจ้าของแผงเขารับประกันคืนเงินให้หากเก๊ ไม่งั้น อย่าเช่าให้เสียเงินเลยครับ

    เหตุที่วัตถุมงคลของท่านทุกรุ่นทุกแบบ โดยเฉพาะเหรียญรุ่นต่าง ๆ ทั้ง ๑๒๐ รุ่น ล้วนได้รับความนิยมจากนักสะสมพระเครื่อง ก็เพราะประสบการณ์ด้าน “แคล้วคลาด” และ “ป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ” ที่เด่นชัดทุกรุ่นน่ะแหละครับ ทำให้วัตถุมงคลของท่าน “หายาก” ยิ่งกว่า “งมเข็มในมหาสมุทร” เสียอีก ท่านบอกกับศิษย์ทุกคนว่า “อย่าได้ลองยิงวัตถุมงคลของท่านเป็นอันขาด” เพราะถ้ายิงแล้ว “มันจะดัง”

    คนเข้าใจว่า วัตถุมงคลของท่าน คงดีเฉพาะเมตตา แคล้วคลาด ป้องกันภัยเท่านั้น แต่พอมีข่าวบนหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ ที่กำนันคนดังท่านหนึ่ง นั่งอยู่ในร้านกาแฟดี ๆ พลันก็มีชายฉกรรจ์ ๒ คน ขี่และซ้อนมอเตอร์ไซด์กันมา คนที่ซ้อนพอมาถึงหน้าร้าน ก็ลงจากรถตรงลิ่วเอาปืนเอ็ม ๑๖ กราดยิงใส่ไปยังกำนันคนดังทันที ปรากฎว่า ปืนไม่ลั่นแม้แต่นัดเดียว แต่แรกกำนันนึกว่า เป็นปืนเด็กเล่น มารู้ตอนหลังว่าเป็นของจริง เมื่อมีคนร้องบอกว่า “หลบเร็ว มันจะยิงกำนัน” กำนัน และคนที่นั่งอยู่ด้วยกันเลยหลบแผล็วเข้าไปอยู่ใต้โต๊ะ กระสุนชุดต่อไปจึงแผดเสียงออกมาราวปะทัดแตก แต่ไม่ถูกกำนัน หรือใครต่อใครแม้แต่นัดเดียว ทำให้เจ้าวายร้ายจึงขวัญเสีย ขี่รถเผ่นแน่บไป ที่ตัวกำนันมีเหรียญของท่านห้อยคออยู่เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น เป็นเหรียญรุ่นหลัง ๆ เสียด้วย ด้วยเหตุนี้ คนจึงถึงบางอ้อที่ท่านว่า “อย่าลองยิงนะ มันจะดัง” และมันก็ดังจริง ๆ ดังเป็นพลุแตก ทำให้ผู้คนเที่ยวพล่านหาของที่ท่านปลุกเสกทั่วทุกมุมเมืองมาจนทุกวันนี้ ขนาดผมเองเสาะหามากว่า ๓๐ ปี มีแค่เพียงเหรียญรุ่นที่ ๗๙ เพียงเหรียญเดียวเท่านั้น
     
  18. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    รุ่นต่างๆผมยังไม่มีข้อมูลครับคุณโญ...รุ่นแรกของท่านหลวงพ่อคูณเสกด้วยครับ
     
  19. watchdog

    watchdog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35,870
    **

    เหรียญรุ่นแรก อาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    เหรียญอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง ปี 2520(มีโค๊ต) พิธีใหญ่อาจารย์ปาล อาจารย์หมุน อาจารย์เล็ก อาจารย์ศรีเงิน และเกจิสายเขาอ้อปลุกเสก สุดยอดประสบการณ์
     
  20. watchdog

    watchdog เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +35,870
    **

    หลวงพ่อเอียด วัดโคกแย้ม รุ่นแรก ปี 2538

    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ***​
     

แชร์หน้านี้

Loading...