คนพลังจิตกับการรับมือภัยพิบัติ "อีโบล่า"

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย kiatp123, 8 สิงหาคม 2014.

  1. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    ที่ตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเพื่ออยากทราบแนวความคิดความเห็น
    ตลอดจนการเตรียมการรับมือกับโรคระบาดไวรัสอีโบล่า
    ของคนพลังจิต ซึ่งบอกตรงๆว่าไม่ค่อยเหมือนชาวบ้าน
    ซักเท่าไหร่

    เพื่อนสมาชิกสามารถช่วยกันบอกเล่าสถานการณ์ระบาด
    การเตรียมการรับมือของประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศเรา
    และการเตรียมการรับมือในส่วนของเพื่อนๆ เองได้โดยที่
    ไม่ต้องเกรงใจใคร เอาทุกแนวนะครับ ทั้งวิทย์และไม่วิทย์

    ผมสังหรณ์ใจอย่างไรไม่รู้ว่างวดนี้ประเทศเรา "คงไม่รอด"
    จากภัยนี้แน่นอน

    เตรียมไว้ก่อนก็คงไม่เสียหลายอะไร

    เอ๊า ลงมือบรรเลงกันได้ :boo:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 สิงหาคม 2014
  2. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    โรคไวรัสอีโบล่า

    [​IMG]
    [​IMG]

    โรคไวรัสอีโบลา หรือไข้เลือดออกอีโบลา เป็นโรคของมนุษย์ที่เกิดจากไวรัสอีโบลา ตรงแบบเริ่มมีอาการสองวันถึงสามสัปดาห์หลังสัมผัสไวรัส โดยมีไข้ เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ จากนั้นมีคลื่นไส้ อาเจียนและท้องร่วงร่วมกับการทำหน้าที่ของตับและไตลดลงตามมา เมื่อถึงจุดนี้ บางคนเริ่มมีปัญหาเลือดออก[1]
    บุคคลรับโรคนี้ครั้งแรกเมื่อสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำในร่างกายจากสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น ลิงหรือค้างคาวผลไม้ เชื่อว่าค้างคาวผลไม้เป็นตัวพาและแพร่โรคโดยไม่ได้รับผลกระทบจากไวรัส เมื่อติดเชื้อแล้ว โรคอาจแพร่จากคนสู่คนได้ ผู้ที่รอดชีวิตอาจสามารถส่งผ่านโรคทางน้ำอสุจิได้เป็นเวลาเกือบสองเดือน ในการวินิจฉัย ต้องแยกโรคอื่นที่มีอาการคล้ายกันออกก่อน เช่น มาลาเรีย อหิวาตกโรคและไข้เลือดออกจากไวรัสอื่น ๆ อาจทดสอบเลือดหาแอนติบอดีต่อไวรัส ดีเอ็นเอของไวรัส หรือตัวไวรัสเองเพื่อยืนยันการวินิจฉัย
    การป้องกันรวมถึงการลดการระบาดของโรคจากลิงและหมูที่ติดเชื้อสู่คน ซึ่งอาจทำได้โดยการตรวจสอบหาการติดเชื้อในสัตว์เหล่านี้ และฆ่าและจัดการกับซากอย่างเหมาะสมหากพบโรค การปรุงเนื้อสัตว์และสวมเสื้อผ้าป้องกันอย่างเหมาะสมเมื่อจัดการกับเนื้อสัตว์อาจช่วยได้ เช่นเดียวกับสวมเสื้อผ้าป้องกันและล้างมือเมื่ออยู่ใกล้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคดังกล่าว ตัวอย่างสารน้ำร่างกายจากผู้ป่วยควรจัดการด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ[1]
    ไม่มีการรักษาไวรัสอย่างจำเพาะ ความพยายามช่วยเหลือผู้ป่วยมีการบำบัดคืนน้ำ (rehydration therapy) ทางปากหรือหลอดเลือดดำ โรคนี้มีอัตราตายสูงระหว่าง 50% ถึง 90% ของผู้ติดเชื้อไวรัส[1][2] มีการระบุโรคนี้ครั้งแรกในประเทศซูดานและสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ตรงแบบเกิดในการระบาดในเขตร้อนแอฟริกาใต้สะฮารา ระหว่างปี 2519 ซึ่งมีการระบุโรคครั้งแรก และปี 2555 มีผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 1,000 คนต่อปี[1][3] การระบาดครั้งใหญ่ที่สุดจนถึงปัจจุบัน คือ การระบาดของอีโบลาในแอฟริกาตะวันตก พ.ศ. 2557 ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ โดยระบาดในประเทศกินี เซียร์ราลีโอนและไลบีเรีย[4] จนถึงเดือนกรกฎาคม 2557 มีผู้ป่วยยืนยันแล้วกว่า 1,320 คน[4] แม้จะมีความพยายามพัฒนาวัคซีนอยู่ แต่จนถึงบัดนี้ยังไม่มีวัคซีน[1]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  3. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    อาการของอีโบลา

    [​IMG]

    อาการและอาการแสดงของอีโบลาปกติเริ่มขึ้นเฉียบพลันด้วยขั้นคล้ายไข้หวัดใหญ่โดยมีรู้สึกเหนื่อย ไข้ ปวดศีรษะ และปวดข้อ กล้ามเนื้อและท้อง[6][7] นอกจากนี้ อาการอาเจียน ท้องร่วงและไม่อยากอาหารยังพบทั่วไป[7] อาการที่พบน้อยกว่ามีเจ็บคอ เจ็บหน้าอก สะอึก หายใจลำบากและกลืนลำบาก[7] เวลาเฉลี่ยระหว่างได้รับเชื้อจนเริ่มมีอาการ คือ 8 ถึง 10 วัน แต่เกิดได้ระหว่าง 2 ถึง 21 วัน[7] ที่ผิวหนังอาจมีผื่นจุดราบและผื่นนูน [maculopapular rash] (ในราว 50% ของผู้ป่วย)[8] อาการเริ่มแรกของโรคไวรัสอีโบลาอาจคล้ายกับอาการเริ่มแรกของมาลาเรีย ไข้เด็งกี หรือไข้เขตร้อนอื่น ก่อนโรคดำเนินเข้าสู่ระยะเลือดออก[6]
    ในระยะเลือดออก อาจมีเลือดออกภายในและใต้หนังผ่านตาแดงและอาเจียนเป็นเลือด[6] เลือดออกเข้าสู่ผิวหนังอาจก่อให้เกิดจุดเลือดออก, เพอร์พิวรา (กาฬม่วง), เลือดออกใต้ผิวและก้อนเลือด [hematoma] (โดยเฉพาะอย่างยิ่งรอบที่ฉีดเข็ม)
    ผู้ป่วยทุกรายมีอาการบางอย่างของระบบไหลเวียน รวมถึงเลือดจับลิ่มบกพร่อง[8] มีรายงานเลือดออกจากที่เจาะและเนื้อเยื่อเมือก (เช่น ทางเดินอาหาร จมูก ช่องคลอดและเหงือก) ใน 40–50% ของผู้ป่วย[9] ชนิดของเลือดออกที่ทราบว่าเกิดกับโรคไวรัสอีโบลารวมถึงอาเจียนเป็นเลือด ไอเป็นเลือดหรืออุจจาระเป็นเลือด เลือดออกหนักพบน้อยและปกติจำกัดอยู่เฉพาะทางเดินอาหาร[8][10]
    โดยทั่วไป การพัฒนาอาการเลือดออกมักชี้พยากรณ์โรคที่เลวกว่า ทว่า เลือดออกไม่ได้นำไปสู่ปริมาตรเลือดน้อยและมิใช่สาเหตุการตาย (การเสียเลือดทั้งหมดต่ำยกเว้นระหว่างการคลอด) ซึ่งขัดต่อความเชื่อส่วนใหญ่ การเสียชีวิตนั้นเกิดจากกลุ่มอาการการทำหน้าที่ผิดปกติของหลายอวัยวะ เนื่องจากของเหลวกระจายใหม่ (fluid redistribution) ความดันโลหิตต่ำ เลือดจับลิ่มในหลอดเลือดแพร่กระจาย และการตายเฉพาะส่วนของเนื้อเยื่อเฉพาะจุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  4. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    สาเหตุ

    วงจรชีวิตของ Ebolavirus

    [​IMG]

    โรคไวรัสอีโบลาเกิดจากไวรัสสี่จากห้าชนิดที่จัดอยู่ในสกุล Ebolavirus วงศ์ Filoviridae อันดับ Mononegavirales ไวรัสสี่ชนิดนั้น ได้แก่ ไวรัสบันดิบูเกียว (Bundibugyo virus, BDBV) ไวรัสอีโบลา (Ebola virus, EBOV) ไวรัสซูดาน (Sudan virus, SUDV) และไวรัสป่าตาอี (Taï Forest virus, TAFV) สำหรับไวรัสชนิดที่ห้า ไวรัสเรสตัน (Reston virus, RESTV) คาดกันว่าไม่ได้ก่อโรคในมนุษย์ ระหว่างการระบาด ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุด คือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วย[11]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  5. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    การแพร่เชื้อ

    ไม่เป็นที่ทราบทั้งหมดว่าอีโบลาแพร่อย่างไร[12] เชื่อว่าโรคไวรัสอีโบลาเกิดหลังไวรัสอีโบลาแพร่สู่มนุษย์ทีแรกโดยการสัมผัสกับสารน้ำร่างกายของสัตว์ที่ติดเชื้อ การแพร่เชื้อจากคนสู่คนเกิดได้ผ่านการสัมผัสกับเลือดหรือสารน้ำร่างกายจากผู้ติดเชื้อโดยตรง (รวมการฉีดดองศพผู้ตายที่ติดเชื้อ) หรือโดยการสัมผัสกับเวชภัณฑ์ที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเข็มและกระบอกฉีดยา[13] การแพร่เชื้อผ่านการสัมผัสทางปากและผ่านการสัมผัสทางเยื่อบุตาน่าจะเป็นไปได้[14] และยืนยันแล้วในไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์[15] แนวโน้มการติดเชื้อโรคไวรัสอีโบลาเป็นวงกว้างนั้นถือว่าต่ำ เพราะโรคนี้แพร่เฉพาะโดยการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยที่มีอาการเท่านั้น[13] การเริ่มต้นอาการที่รวดเร็วทำให้การระบุผู้ป่วยและจำกัดความสามารถของบุคคลในการแพร่โรคด้วยการเดินทางง่ายขึ้น เนื่องจากศพผู้เสียชีวิตยังติดเชื้อได้ แพทย์บางคนจึงต้องใช้มาตรการเพื่อกำจัดศพในทางที่ปลอดภัยแม้ขัดต่อพิธีกรรมฝังศพของท้องถิ่น[16]
    เจ้าน้าที่การแพทย์ที่ไม่สวมเสื้อผ้าป้องกันที่เหมาะสมอาจสัมผัสเชื้อได้[17] ในอดีต การแพร่เชื้อที่ได้มาจากโรงพยาบาลเกิดในโรงพยาบาลในทวีปแฟริกาเนื่องจากการใช้เข็มซ้ำและขาดการป้องกันสากล[18]
    โรคไวรัสอีโบลาไม่แพร่เชื้อผ่านอากาศตามธรรมชาติ[19] ทว่าไวรัสยังแพร่เชื้อได้เพราะละอองที่สร้างจากห้องปฏิบัติการขนาด 0.8–1.2 ไมโครเมตรที่หายใจเข้าไปได้[20] เนื่องจากช่องทางติดเชื้อที่เป็นไปได้นี้ ไวรัสเหล่านี้จึงถูกจัดเป็นอาวุธชีวภาพหมวดเอ[21] ล่าสุด ไวรัสได้แสดงว่าแพร่จากหมูสู่ไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ได้โดยไม่ต้องสัมผัส[22]
    ค้างคาวถ่ายเอาผลไม้และเนื้อที่กินแล้วบางส่วนออกมา แล้วสัตว์บกเลี้ยงลูกด้วยนมอย่างกอริลลาและไดเคอร์ (duiker) กินผลไม้ที่ตกลงมาเหล่านั้น ลูกโซ่เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดวิธีการแพร่เชื้อโดยอ้อมที่เป็นไปได้ผ่านตัวถูกเบียนธรรมชาติสู่ประชากรสัตว์ ซึ่งนำไปสู่การวิจัยสู่การกำจัดไวรัสในน้ำลายของค้างคาว การผลิตผลไม้ พฤติกรรมของสัตว์ และปัจจัยอื่นที่ต่างกันไปในแต่ละเวลาและสถานที่อาจกระตุ้นให้เกิดการระบาดในหมู่ประชากรสัตว์[23]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  6. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    ตัวเก็บเชื้อ

    ค้างคาวถือว่าเป็นตัวเก็บเชื้อตามธรรมชาติ (natural reservoir) ที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุด[24] นอกจากนี้ พืช สัตว์ขาปล้องและนกก็ถูกพิจารณาด้วย ทราบว่าค้างคาวอาศัยอยู่นอกโรงงานฝ่ายซึ่งผู้ป่วยรายแรก ๆ ของการระบาดครั้งปี 2519 และ 2522 ทำงานอยู่ และยังอาจเกี่ยวข้องกับการติดเชื้อไวรัสมาร์เบิร์กในปี 2518 และ 2523[25] จากพืช 24 ชนิด และสัตว์มีกระดูกสันหลัง 19 ชนิดที่ปลูกเชื้อด้วยไวรัสอีโบลา มีเพียงค้างคาวเท่านั้นที่ติดเชื้อ[26] การขาดอาการแสดงทางคลินิกในค้างคาวเหล่านั้นเป็นคุณสมบัติของสปีชีส์เก็บเชื้อ ในการสำรวจสัตว์ 1,030 ชนิด ซึ่งรวมค้างคาว 679 ชนิดจากประเทศกาบองและสาธารณรัฐคองโกในปี 2545–2546 พบว่า ค้างคาวผลไม้ 13 ชนิดมีชิ้นส่วนอาร์เอ็นเอของไวรัสอีโบลา[27] จนถึงปี 2548 มีการระบุว่า ค้างคาวผลไม้สามชนิด (Hypsignathus monstrosus, Epomops franqueti, และ Myonycteris torquata) ติดไวรัสอีโบลา ปัจจุบัน สงสัยว่าค้างคาวเหล่านั้นเป็นตัวแทนของตัวถูกเบียนเก็บเชื้อไวรัสอีโบลา[28][29]
    ระหว่างปี 2519 ถึง 2542 ในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกและสัตว์ขาปล้อง 30,000 ชนิดที่สุ่มตัวอย่างจากพื้นที่ระบาด ไม่พบไวรัสอีโบลานอกเหนือจากร่องรอยทางพันธุกรรมที่พบบ้างในสัตว์ฟันแทะหกชนิด (Mus setulosus และ Praomys) และหนูผีหนึ่งชนิด (Sylvisorex ollula) ที่เก็บจากสาธารณรัฐแอฟริกากลาง[25][30] พบร่องรอยไวรัสอีโบลาในซากกอริลลาและชิมแพนซีระหว่างการระบาดในปี 2544 และ 2546 ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งการติดเชื้อในมนุษย์ ทว่า อัตราตายสูงจากการติดเชื้อในสปีชีส์เหล่านี้ทำให้พวกมันไม่น่าเป็นตัวเก็บเชื้อตามธรรมชาติ[25]
    การแพร่เชื้อระหว่างตัวเก็บเชื้อตามธรรมชาติและมนุษย์พบน้อย และการระบาดปกติติดตามได้ถึงผู้ป่วยเดี่ยวซึ่งจัดการกับซากกอริลลา ชิมแพนซีหรือไดเคอร์[31] ประชากรในบางส่วนของแอฟริกาตะวันตกยังกินค้างคาวผลไม้ ซึ่งมีการรมควัน ย่างหรือทำเป็นซุปเผ็ด[29][32]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  7. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    วิทยาไวรัส


    วิริออนของไวรัสอีโบลาถ่ายด้วยกล้องจุลทัศน์อิเล็กตรอน

    [​IMG]

    จีโนม

    เช่นเดียวกับ mononegavirus ทุกชนิด วิริออน (virion) อีโบลามีจีโนมอาร์เอ็นเอไม่แพร่เชื้อ (non-infectious) เส้นตรงสายเดี่ยว ไม่เป็นปล้อง (nonsegmented) สภาพขั้วลบซึ่งมี inverse-complementary 3' และ 5' termini ไม่มี 5' cap ไม่พอลิอะดีนีเลชัน (not polyadenylated) และไม่เชื่อมกับโปรตีนด้วยพันธะโควาเลนต์[33] จีโนม ebolavirus ยาวประมาณ 19,000 คู่เบส และมีเจ็ดยีนตามลำดับดังนี้ 3'-UTR-NP-VP35-VP40-GP-VP30-VP24-L-5'-UTR[34] จีโนมของ ebolavirus ห้าชนิด (BDBV, EBOV, RESTV, SUDV, และ TAFV) ต่างกันที่ลำดับ จำนวนและตำแหน่งยีนทับซ้อนกัน
    ขนาดและรูปร่าง[แก้]
    เช่นเดียวกับฟิโลไวรัสทุกชนิด วิริออนอีโบลาเป็นอนุภาคคล้ายเส้นด้ายที่อาจปรากฏในรูปตะขอคนเลี้ยงแกะหรือรูปตัว "U" หรือเลข "6" และยังอาจขดม้วน เป็นวงแหวนหรือแตกกิ่งก้านได้ โดยทั่วไป วิริออนอีโบลามีความกว้าง 80 นาโนเมตร แต่ความยาวค่อนข้างแปรผัน โดยทั่วไป ความยาวมัธยฐานของอนุภาค ebolavirus มีพิสัยระหว่าง 974 ถึง 1,086 นาโนเมตร (ซึ่งขัดกับวิริออนมาร์เบิร์ก ซึ่งความยาวมัธยฐานของอนุภาควัดได้ 795–828 นาโนเมตร) ทว่าเคยพบอนุภาคยาวถึง 14,000 นาโนเมตรในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ[35]

    การถ่ายแบบ

    วงจรชีวิตของ ebolavirus เริ่มด้วยการยึดกับตัวรับผิวเซลล์ที่จำเพาะของวิริออน ตามด้วยการเชื่อมเปลือกหุ้มวิริออน (virion envelope) กับเยื่อหุ้มเซลล์และการปล่อยนิวคลิโอแคปซิด (nucleocapsid) ของไวรัสสู่น้ำในเซลล์ (cytosol) ดำเนินร่วม เอ็นไซม์อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (RNA polymerase) ของไวรัส ซึ่งเข้ารหัสโดยยีนแอล (L gene) เปิดนิวคลิโอแคปซิดบางส่วนแล้วถอดรหัสยีนเป็นเอ็มอาร์เอ็นเอสายบวก ซึ่งถูกแปลรหัสต่อไปเป็นโปรตีนโครงสร้างและโปรตีนไม่ใช่โครงสร้าง อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส (แอล) ของ ebolavirus ยึดกับโปรโมเตอร์ (promoter) เดี่ยวซึ่งอยู่ที่ปลาย 3' ของจีโนม การถอดรหัสจะยุติหลังจากยีนหนึ่งหรือดำเนินต่อไปยังยีนต่อไปตามลำดับอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายความว่า ยีนที่อยู่ใกล้ปลาย 3' ของจีโนมจะถูกถอดรหัสออกมาปริมาณมากที่สุด ขณะที่ยีนที่อยู่ใกล้ปลาย 5' จะถูกถอดรหัสน้อยที่สุด ฉะนั้น ลำดับยีนจึงเป็นการกำกับการถอดรหัสที่เรียบง่ายแต่ทรงประสิทธิภาพ โปรตีนที่ผลิตมากที่สุด คือ นิวคลิโอโปรตีน (nucleoprotein) ซึ่งความเข้มข้นของนิวคลิโอโปรตีนในเซลล์ตัดสินว่าเมื่อใดยีนแอลเปลี่ยนจากการถอดรหัสยีนเป็นการถ่ายแบบจีโนม การถ่ายแบบทำให้มีแอนติจีโนม (antigenome) สายบวกเต็มความยาวซึ่งจะถูกถอดรหัสเป็นสำเนาจีโนมลูกหลานไวรัสสายลบต่อไป โปรตีนโครงสร้างที่สังเคราะห์ใหม่และการประกอบตัวเองของจีโนมและสะสมอยู่ใกล้ด้านในของเยื่อหุ้มเซลล์ วิริออนแตกหน่อ (bud) ออกจากเซลล์ โดยได้เปลือกหุ้มมาจากเยื่อหุ้มเซลล์ที่แตกหน่อออกมา แล้วอนุภาคลูกลานเต็มวัยจะติดเชื้อเซลล์อื่นเพื่อเริ่มวงจรซ้ำ[36]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  8. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    พยาธิสรีรวิทยา


    แผนภาพพยาธิกำเนิด

    เซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง, เซลล์กลืนกิน (phagocyte) ซึ่งมีนิวเคลียสเดียว, และเซลล์ตับเป็นเป้าหมายหลักของการติดเชื้อ หลังติดเชื้อ จะมีการสร้างไกลโคโปรตีนที่หลั่งออกมา (secreted glycoprotein, sGP) ชื่อ อีโบลาไวรัสไกลโคโปรตีน (Ebola virus glycoprotein, GP) การถ่ายแบบของอีโบลารบกวนการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ที่ติดเชื้อและการป้องกันทางภูมิคุ้มกันของตัวถูกเบียน GP ก่อเป็นกลุ่มรวมไตรเมอร์ (trimeric complex) ซึ่งยึดไวรัสกับเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรงตามผิวด้านล่างของหลอดเลือด sGP ก่อโปรตีนไดเมอร์ (dimer) ซึ่งแทรกแซงการส่งสัญญาณของนิวโตรฟิล (neutrophil) ซึ่งเป็นเม็ดเลือดขาวประเภทหนึ่ง ซึ่งทำให้ไวรัสหลบหลีกระบบภูมิคุ้มกันโดยการยับยั้งการปลุกฤทธิ์นิวโตรฟิลขั้นแรก ๆ เม็ดเลือดขาวเหล่านี้ยังเป็นพาหะที่ขนส่งไวรัสทั่วทั้งร่างกายไปยังสถานที่อย่างปุ่มน้ำเหลือง ตับ ปอดและม้าม[37]
    การมีอนุภาคไวรัสและความเสียหายของเซลล์ที่เกิดจากการแตกหน่อทำให้เกิดการปล่อยไซโทไคน์ (กล่าวโดยเจาะจง คือ TNF-α, IL-6, IL-8 ฯลฯ) ซึ่งส่งสัญญาณโมเลกุลของไข้และการอักเสบ ฤทธิ์ไซโทไคน์จากการติดเชื้อในเซลล์เนื้อเยื่อบุโพรง ทำให้ความแข็งแรงของหลอดเลือด (vascular integrity) เสียไป การเสียความแข็งแรงของหลอดเลือดนี้ยังส่งเสริมด้วยการสังเคราะห์ GP ซึ่งลดอินทีกริน (integrin) จำเพาะซึ่งมีหน้าที่ในการยึดติดของเซลล์กับโครงสร้างในเซลล์ และความเสียหายต่อตับ ซึ่งนำไปสู่ลิ่มเลือดผิดปกติ[38]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  9. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    การรักษา

    หอผู้ป่วยแยกในโรงพยาบาลที่เมืองกูลู อูกานดา เมื่อคราวการระบาดเมื่อ พ.ศ. 2543
    ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาจำเพาะสำหรับโรคไวรัสอีโบลา มีแต่เพียงการรักษาประคับประคอง (supportive treatment) ได้แก่ทำหัตถการแบบรุกล้ำให้น้อยที่สุด รักษาสมดุลอิเล็กโตรไลต์และสารน้ำเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ ให้สารต้านการแข็งตัวของเลือดในระยะแรกเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดแข็งตัวในหลอดเลือดแบบแพร่กระจาย (DIC) ให้สารช่วยการแข็งตัวของเลือดในระยะท้ายเพื่อควบคุมไม่ให้มีเลือดออก รักษาระดับออกซิเจน บรรเทาอาการปวด และใช้ยาต้านเชื่อแบคทีเรียหรือยาต้านเชื้อราเพื่อรักษาการติดเชื้อซำซ้อน (ถ้ามี)

    อ้างอิง โรคไวรัสอีโบลา - วิกิพีเดีย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  10. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]
     
  11. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    จับตาประเทศรอบๆ เช่น เซเนกัล ไอวอรี่โคสต์ มาลี บูกินาฟาโซ กาน่า
    น่าจะมีการแพร่ระบาดภายใน 21วัน นี้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 สิงหาคม 2014
  12. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    บริษัทญี่ปุ่นยื่นขอทดลองใช้ยารักษาอีโบลาในมนุษย์แล้ว

    เอมี เดอร์ริกค์-โฟรส์ต โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เปิดเผยว่า บริษัท ฟูจิฟิล์มโฮลดิงส์ คอร์ป ของญี่ปุ่น ซึ่งทำงานร่วมกับบริษัท เมดิเวคเตอร์ อิงค์ ในบอสตัน ยื่นเรื่องต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐในการเริ่มทดลองใช้ยา "ฟาวิพิราเวียร์" รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาในมนุษย์

    ยาฟาวิพิราเวียร์นี้ถูกคิดค้นขึ้นโดย ยูซูเกะ ฟูรูตะ ในห้องทดลองโทยามาเคมีคอล ของฟูจิฟิล์มฯ ในปี 1998 โดยยานี้จะไปยับยั้งเอนไซม์พอลิเมอเรส ซึ่งทำหน้าที่สร้างและจำลองตัวเองของสารพันธุกรรมไวรัส เพื่อหยุดการขยายตัวของไวรัสที่ทำให้เกิดโรคดังกล่าว

    หากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐอนุมัติให้มีการทดลองในมนุษย์และประสบผลสำเร็จ คาดว่ายาฟาวิพิราเวียร์นี้น่าจะเป็นตัวยาชนิดแรกที่อนุญาตให้ใช้ต่อสู้กับโรคร้ายนี้

    นอกจากยาฟาวิพิราเวียร์จากบริษัทญี่ปุ่น และยาซีแมพพ์ที่ใช้ในการรักษาผู้ติดเชื้ออีโบลาชาวอเมริกันทั้งสองคนแล้ว ยังพบอีกด้วยว่า เมื่อทดลองใช้วัคซีนราว4-5 ชนิด และยารักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาอีกราว 3 ชนิด ได้แก่ ยาทีเคเอ็ม-อีโบลาของบริษัท เทกมิรา ฟาร์มาซูติคอลส์ คอร์ป รวมถึงยาจากบริษัท แคลิฟอร์เนียไบโอเทค แมพพ์ ไบโอ ฟาร์มาซูติคอลส์และบริษัท โปรเฟกตัส ไบโอไซน์ส กับลิงแล้วได้ผลตอบรับดี

    ด้านองค์การอนามัยโลก (ดับเบิลยูเอชโอ) เรียกร้องให้มีการประชุมจริยธรรมทางการแพทย์สัปดาห์หน้า เพื่อหารือแนวทางการใช้ยารักษาโรคที่ยังอยู่ในขั้นการทดลองในการรักษาผู้ติดเชื้ออีโบลาที่กำลังระบาดอย่างหนักในแอฟริกาตะวันตก

    ขณะที่ประธานาธิบดี บารัก โอบามาของสหรัฐออกมาค้านว่า ยังเร็วเกินไปที่จะใช้ยาซึ่งอยู่ในขั้นตอนการทดลองในการรักษาโรคร้ายดังกล่าว เนื่องจากยังไม่แน่ใจในประสิทธิภาพว่าปลอดภัยเพียงพอ

    นอกจากนี้ ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐ (ซีดีซี) ได้ยกระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดของไวรัสมรณะนี้ไปอยู่ระดับสูงสุดหรือระดับที่ 1 จากทั้งหมด 6 ระดับแล้ว

    ล่าสุด สถานการณ์การระบาดของเชื้ออีโบลาในแอฟริกาตะวันตกยังอยู่ในระดับที่รุนแรง มีผู้เสียชีวิตแล้ว 932 คน จากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 1,711 ราย ทั้งนี้เนื่องจากเป็นช่วงฤดูฝนที่มักพบการระบาดของเชื้อมาลาเรีย ซึ่งมีอาการเริ่มต้นคล้ายคลึงกับไข้เลือดออกอีโบลาและประชาชนไม่ต้องการเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่มีผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลาจำนวนมาก ทำให้ดูแลรักษาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ระบาดเป็นไปอย่างซับซ้อนและยุ่งยาก

    นอกจากนั้น ประธานาธิบดีเอลเลนจอห์นสัน ของไลบีเรีย ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินอย่างน้อย 90 วัน เนื่องจากระบาดอย่างหนักแล้ว ขณะที่ไนจีเรียยืนยันว่ามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้เสียชีวิตเป็นรายที่ 2 แล้ว นอกจากนี้ยังมีรายงานว่านักบวชชาวสเปนที่ติดเชื้ออีโบลาในไลบีเรียเดินทางกลับไปรักษาตนเองในบ้านเกิดแล้ว

    ที่มา เฮ!ญี่ปุ่นผลิตยาต้านอีโบลาสำเร็จ - โพสต์ทูเดย์ ข่าวรอบโลก
     
  13. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    [​IMG]

    เมื่อ 1 ส.ค. 57 นางระวีวรรณ เนตระคเวสนะ (ทสภ.) เผยว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลาตรวจเข้มทุกสายการบินจากแอฟริกา

    นางระวีวรรณ เนตระคเวสนะ ผู้อํานวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เพิ่มมาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของ เชื้อไวรัสอีโบลาแล้ว โดยมีการตรวจเข้มสายการบินที่มาจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะแอฟริกา ขณะที่ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากประเทศในกลุ่มดังกล่าว จะต้องแสดงเอกสารแสดงถึงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เหลือง และจะมีการตรวจสอบต่อเนื่องต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่ได้มีสายการบินที่ทำการบินโดยตรงมาจากประเทศกลุ่ม เสี่ยงทั้ง 3 ประเทศ แต่มีสายการบินที่บินมาจากประเทศในกลุ่มแอฟริกา

    ที่มา “สุวรรณภูมิ” ตรวจเข้มเชื้อไวรัสอีโบลา | สำนักข่าวเจ้าพระยา
     
  14. kiatp123

    kiatp123 โมฆะแมน

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3,493
    ค่าพลัง:
    +19,616
    2014 Ebola Outbreak in West Africa
    (Guinea, Liberia, Sierra Leone, and Nigeria)


    [​IMG]

    The Guinean Ministry of Health, the Ministry of Health and Sanitation of Sierra Leone, the Ministry of Health and Social Welfare of Liberia, and the Nigerian Ministry of Health are working with national and international partners to investigate and respond to the outbreak.

    Guinea
    August 4, 2014, the Guinea Ministry of Health announced a total of 495 suspect and confirmed cases of Ebola virus disease (EVD), including 363 fatal cases.
    Affected districts include Conakry, Guéckédou, Macenta, Kissidougou, Dabola, Djingaraye, Télimélé, Boffa, Kouroussa, Dubreka, Fria, Siguiri, Pita and Nzerekore; several are no longer active areas of EVD transmission (see map).
    351 cases across Guinea have been confirmed by laboratory testing to be positive for Ebola virus infection.
    In Guinea’s capital city, Conakry, 95 suspect cases have been reported to meet the clinical definition for EVD, including 42 fatal cases.
    Liberia
    August 4, 2014, the Ministry of Health and Social Welfare of Liberia and WHO have reported 516 suspect and confirmed EHF cases (including 143 laboratory confirmations) and 282 reported fatalities.
    Nigeria
    August 4, 2014, the Nigerian Ministry of Health and WHO reported 9 suspect and probable cases and 1 fatal probable case.
    Sierra Leone
    August 4, 2014, the Ministry of Health and Sanitation of Sierra Leone and WHO reported a cumulative total of 691 suspect and confirmed cases, including 576 laboratory confirmations and 286 reported fatal cases.
    Cases have been reported from 12 Sierra Leone districts.
    About the virus
    Genetic analysis of the virus indicates that it is closely related (97% identical) to variants of Ebola virus (species Zaire ebolavirus) identified earlier in the Democratic Republic of the Congo and Gabon (Baize et al. 2014External Web Site Icon).

    August 6, 2014
    Outbreak Update


    The World Health Organization, in partnership with the Ministries of Health in Guinea, Sierra Leone, Liberia, and Nigeria announced a cumulative total of 1711 suspect and confirmed cases of Ebola virus disease (EVD) and 932 deaths, as of August 4, 2014. Of the 1711 clinical cases, 1070 cases have been laboratory confirmed for Ebola virus infection.
    In Guinea, 495 cases, including 363 fatal cases and 351 laboratory confirmations of EVD, were reported by the Ministry of Health of Guinea and WHO as of August 4, 2014. Active surveillance continues in Conakry, Guéckédou, Pita, Siguiri, Kourourssa, and Nzerekore Districts.
    In Sierra Leone, WHO and the Ministry of Health and Sanitation of Sierra Leone reported a cumulative total of 691 suspect and confirmed cases of EHF as of August 4, 2014. Of these 691, 576 cases have been laboratory confirmed and 286 were fatal. Districts reporting clinical EVD patients include Kailahun, Kenema, Kambia, Port Loko, Bo and Western Area, which includes the capital, Freetown. More recently, Tonkolili, Bambali, Moyamba, Bonthe, and Punjehun Districts have also reported confirmed cases of EVD. Reports, investigations, and testing of suspect cases continue across the country.
    As of August 4, 2014, the Ministry of Health and Social Welfare of Liberia and WHO reported 516 clinical cases of EVD, including 143 laboratory confirmations and 282 fatal cases. Suspect and confirmed cases have been reported in all Counties in Sierra Leone. Laboratory testing is being conducted in Monrovia.
    In Nigeria, WHO and the Nigerian Ministry of Health reported 1 probable fatal case and 9 suspect cases as of August 4, 2014.
    CDC is in regular communication with all of the Ministries of Health (MOH), WHO, MSF, and other partners regarding the outbreak. Currently CDC has personnel in all four countries assisting the respective MOHs and the WHO-led international response to this Ebola outbreak.
    Based on reports from the Ministry of Heath of Guinea, the Ministry of Health and Sanitation of Sierra Leone, the Ministry of Health and Social Welfare of Liberia, the Ministry of Health of Nigeria, and WHO 6 August 2014External Web Site Icon.



    ที่มา Outbreak of Ebola in Guinea | Ebola | CDC
     
  15. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    เป่าปรี๊ดให้บรรเลงได้เลย ลุงแมวนั่งมึนเพราะไม่มีความรู้เรื่องอีโบลา
    มาก่อนซักเท่าไร พอเงยหน้าอีกที
    จขกท.ปล่อยมา13 หมัด(13โพสต์)ลุงแมวเลยมึนหนักเข้าไปอีก
    เพราะโพสต์ท้านสุดเป็นภาษาอินเตอร์เข้าไปอีก
    แต่ไม่เป็นไรแค่ 12 โพสต์อ่านหมดกก็จะมีความรู้เกี่ยวกับอีโบลา
    เพียงพอที่จะหลบหลีกมันได้พอเอาตัวรอด

    แต่ถ้าลุงแมวโดนตอนนี้บอกตามตรง เอาร่างไปส่งให้ห้อง
    ทดลองญี่ปุ่นได้เลยไม่หวงไม่หวงอะไร ดีกว่าตายไปฟรีๆไม่มีประโยชน์อะไร!!
     
  16. จันทลักษณ์

    จันทลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +412
    แปลก..เห็นข่าวบอกระบาดและตาย เฉพาะในคน..
    แต่..ทำไมเขาไม่บอกว่าสัตว์ ตายเพราะโรคนี้เท่าไหร่..
    ติดตามข่าวมา..สัตว์ก็มีเลือด มีเนื้อ แต่ทำไมไม่เห็น..บอกว่าสัตว์ตายเป็นเบือ...
    หรือว่าในสัตว์..มีเลือด แต่ไม่มีเซลล์..หรือมีเซลล์แต่อีโบล่า ทำอะไรไม่ได้..งงมาก
    ที่ดูตอนนี้..เห็นคนมานอนตายตามท้องถนนแล้ว..
    นี่แสดงว่า..คงไม่ใช่ 900 กว่าตามที่ประกาศแน่ๆ เผลอๆ อาจหลายพันแล้ว..
     
  17. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    EVD ถูกพบครั้งแรก 1976 มีการระบาดมาหลายครั้งแล้ว และก็มีถึง 5 สายพันธุ์ สัตว์บางชนิดเป็น Host บางชนิดเป็น Carrier(พาหะ) ของเชื้อโรคบางสายพันธุ์ ก็จะไม่แสดงอาการ ที่ผ่านมาก็มีการระบาดและมีสัตว์ตายด้วยในบางกรณี

    Ebola virus disease - Wikipedia, the free encyclopedia

    WHO | Ebola virus disease

    .
     
  18. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    Chronology of previous Ebola virus disease outbreaks

    [​IMG]

    .
     
  19. hiflyer

    hiflyer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    3,321
    ค่าพลัง:
    +15,681
    ยุงลาย เป็นพาหะนำโรคไข้เลืดออก ตัวยุงเองจะไม่แสดงอาการโรค
    EVD ไม่แสดงอาการในสุนัข เมื่อก่อนไม่แสดงอาการในหมู แต่เห็นบอกว่า เชื้อได้มีการพัฒนาและอาจระบาดในหมูได้

    .
     
  20. จันทลักษณ์

    จันทลักษณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    143
    ค่าพลัง:
    +412
    ลิงก็มีลักษณะหลายอย่างที่คล้ายคน..
    ตอนนี้ ลิงแถวนั้น น่าจะตายหมดป่าแล้วนะ..
    ธรรมชาตินี้...ช่าง! จัดสรรจริงๆ..
    เจาะจงเฉพาะ..."คน"
     

แชร์หน้านี้

Loading...