อัลบั้มพระ ประวัติ และวัตถุมงคล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย ปู ท่าพระ, 26 ธันวาคม 2013.

  1. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    สวัสดีครับทุกๆท่าน เพิ่งจะเลิกงานกลับถึงบ้านครับ
     
  2. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    เหรียญนี้ผมเกือบไม่ได้เช่ามาแล้วเพราะตังค์หมดแต่พี่เอ๊ะบอกว่าทุกคนต้องมี เลยเช่ามาไม่ผิดหวังจริงๆ เห็นพี่โญถ่ายออกมาแล้วสวยมาก(ตอนอยู่วัดมีหลายรุ่นตาลาย ไม่รู้จะเก็บรุ่นไหนดี) แถมยังสร้างย้อนยุครุ่นแรกด้วยคร๊าบบ
     
  3. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    สวัสดียามบ่ายคร๊าบบ คุณกันต์ พักจิบน้ำชาชมพระกันก่อนคร๊าบบ
     
  4. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326

    คุณแจมก็มีพระหลวงพ่อฤาษีเยอะเหมือนกันนะคร๊าบบ
     
  5. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี



    [​IMG]

    [​IMG]
    ประวัติพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด) วัดทุ่งศรีเมือง ตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2398 โยมบิดาชื่อ บุดดี โยมมารดาชื่อดา ท่านเกิดที่หมู่ 1 ตำบลในเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันเด็กท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้นที่สำนักราชบรรเทา โดยได้ศึกษาอักษรลาว อักษรไทย อักษรขอม จนอ่านออกเขียนได้ ตัวท่านเป็นคนสุภาพเรียบร้อยไม่ชอบทำบาปมาตั้งแต่เด็กๆ จนท่านอายุได้ 24 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2422 ท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดป่าน้อย ปัจจุบันเรียกว่า วัดมณีวนาราม โดยท่านอธิการจันลา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดีเป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อบวชแล้วท่านได้ศึกษาพระธรรมวิจัยท่องบทสวดมนต์ อันมี เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน พระปาฏิโมกข์ สัททสังคหสูตร มูลกัจจายน์จนจบพระอุปัชฌาย์เห็นว่าท่านมีความรู้ดีจึงส่งท่านไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ท่านก็ได้ปฏิบัติเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย ขยันเอางานเอาการ ต่อมาท่านเจ้าอาวาส วัดทุ่งศรีเมืองว่างลง ทางการจึงตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสปกครอง วัดทุ่งศรีเมืองต่อมา

    ครั้นถึงปี พ.ศ. 2434 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแขวง อำเภอม่วงสามสิบ และต่อมาท่านก็ได้เป็นพระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช ท่านเป็นเจ้าคณะอำเภออยู่ 12 ปี ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ในปี พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี พอถึงปี พ.ศ. 2447 ท่านก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูวิโรจน์รัตโนบล

    หลวงปู่รอดท่านเป็นพระที่ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อนในเรื่องต่างๆ เสมอมาด้วยความเต็มอกเต็มใจ จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสของบรรพชิตและคฤหัสถ์โดยทั่วไปทั้งเมืองอุบลฯ และเมืองใกล้เคียง หลวงปู่รอดท่านเป็นผู้นำสาธุชนเข้ายึดพระรัตนตรัยด้วยการอบรมให้เล่าเรียน ธรรมปฏิบัติ ทำให้คนชั่วกลับตัวมาเป็นคนดีเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเวลาท่านดำริจะทำอะไรเป็นต้องสำเร็จ ท่านได้นำประชาชนบูรณะก่อสร้างถาวรวัตถุไว้หลายแห่งในเขตปกครองของท่าน ที่สำคัญที่สุดก็คือการบูรณะพระธาตุพนมอันเป็นพุทธเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์

    กล่าวคือในปี พ.ศ. 2444 พระอุปัชฌาย์มหาโชติ วัดบูรพา เมืองอุบลฯ พร้อมทั้งพระอาจารย์มัน ภูริทัต พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล กับคณะเดินธุดงค์มาพักจำพรรษาอยู่บริเวณพระธาตุพนม ท่านอาจารย์ทั้ง 3 ท่านเห็นว่าองค์พระธาตุหมองคล้ำคร่ำคร่า ควรจะทำการบูรณะให้สวยงาม ก็เห็นพ้องกันว่ามีแต่ พระครูอุดรพิทักษ์คณเดช (หลวงปู่รอด) แห่งวัดทุ่งศรีเมืองเท่านั้น ที่จะมีความสามารถบูรณะได้สำเร็จ จึงได้เรียกหัวหน้าญาติโยมชาวพระธาตุพนมมาแนะนำให้ไปนิมนต์หลวงปู่รอดมา เพื่อทำการบูรณปฏิสังขรณ์ ชาวบ้านจึงได้นำหนังสือของพระอาจารย์ทั้งสามไปนิมนต์หลวงปู่รอด ท่านก็ได้รับปากและมาช่วยบูรณะองค์พระธาตุพนมได้สำเร็จ โดยมีชาวบ้านและชาวลาวหลั่งไหลกันมาทั่วสารทิศ มาช่วยกันทำงานประมาณ 2 เดือนก็สำเร็จและมีการฉลองเป็นงานใหญ่ นับว่าเป็นงานปฏิสังขรณ์ชิ้นสำคัญที่ต้องจดจารึกไว้

    หลวงปู่รอดท่านมรณภาพในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 สิริอายุได้ 88 ปี พรรษาที่ 64 ท่านทิ้งไว้แต่อนุสรณ์คุณงามความดีให้แก่อนุชนคนรุ่นหลัง แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานแล้วก็ตาม คุณงามความดีของท่านยังจารึกไว้ในหัวใจของชาวอุบลราชธานี และเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวอุบลฯ ตลอดไป

    หลวงปู่รอด ชาวเมืองอุบลราชธานีรวมทั้งคนทั่วๆ ไปเรียกท่านอีกชื่อหนึ่งว่า "ท่านพระครูดีโลด หรือหลวงปู่ดีโลด" เพราะท่านจะพูดอะไรกับใครๆ หรือฟังใครพูด เวลาเขาเหล่านั้นพูดจบหรือเล่าจบ ท่านมักรับคำของเขาว่า "ดีๆ" ใครจะพูดร้ายหรือพูดดีกับท่าน ท่านก็จะพูดว่า "ดีๆ" เวลามีอารมณ์ชนิดไหนก็ตาม ท่านก่อนจะพูดอะไรก็ชอบเปล่งอุทานว่า "ดีๆ" เขาจึงถวายนามพิเศษว่า "หลวงปู่ดีโลด หรือท่านดีโลด" คำว่าโลดเป็นคำพื้นเมือง แปลว่า "เลย" คำว่าดีโลดก็หมายความว่า "ดีเลย" นั่นเอง

    "วัดทุ่งศรีเมือง" นั้นอาศัยรายละเอียดจากหลักฐานต่างๆ พอสันนิษฐานได้ว่า น่าจะสร้างในตอนกลางรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในราวพุทธศักราช 2385 จุลศักราช 1158 มีพระปทุมราชวงศา พระอุปฮาด (กู่ทอง สุวรรณกูฏ) เป็นเจ้าเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ในขณะนั้นนับเป็นเวลามาจนบัดนี้ได้ 128 ปี ในระยะ 128 ปีนี้ เพื่อสะดวกในการศึกษาประวัติของวัดซึ่งได้แบ่งออกเป็น 4 ยุค ใน 4 ยุคนี้ ได้มีพระเถระเป็นประ มุขปกครองถึง 3 รูปด้วยกันคือ ยุคที่ 1 ยุคก่อสร้างมีท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) และญาติครูช่างเป็นผู้ปกครอง

    ยุคที่ 2 คือยุคซ่อมแซมและสร้างศาลาการเปรียญ มีท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล หรือหลวงปู่รอดนั่นเอง เป็นเจ้าอาวาสปกครองในยุคที่ 1 สำหรับยุคก่อสร้างท่านเจ้าคุณพระอริยวงศาจารย์ (ท่านเจ้าสุ้ย) ตามประวัติหลักฐานต่างๆ ได้ความว่าท่านเจ้าคุณองค์นี้เป็นผู้สร้างวัดทุ่งศรีเมือง ท่านเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยแท้ ถือกำเนิดที่บ้านกวางดำ ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน นัยว่าท่านเป็นคนผิวขาวรูปร่างสง่างาม เมื่อได้บรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาแล้ว ได้ไปพำนักศึกษาปริยัติธรรมอยู่ที่สำนักวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พระนคร ในสำนักสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ขุน) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

    หลวงปู่รอด ได้มาอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ในตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส และต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ "พระครูวิโรจน์รัตโนบล" ในรัชกาลที่ 5 และได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี อีกด้วย

    พระครูวิโรจน์รัตโนบล ในเวลาที่ท่านปกครองวัดอยู่นั้นได้สร้างกุฏิขึ้นหลายหลัง ซึ่งยังปรากฏอยู่จนกระทั่งบัดนี้ในขณะนั้นหอพระพุทธ บาทและหอไตรได้ชำรุดทรุดโทรมลงมาบ้างแล้ว ท่านจึงได้ชักชวนบอกบุญแก่ทายาทายิกา และผู้มีศรัทธาทั้งหลาย ให้พากันช่วยบริจาคทรัพย์เพื่อซ่อมแซมหอพระพุทธบาทและหอไตรอีก แต่ก็ไม่ได้รื้อของเก่าจนเสียรูปเพียงแต่เปลี่ยนแปลงถ่ายถอนบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น

    ส่วนแบบรูปทรงและลักษณะยังคงเป็นของเก่าอยู่ในสภาพเดิมจึง เป็นอันว่า ในสมัยท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล หอพระพุทธบาทและหอไตรได้ซ่อมมาแล้วครั้งหนึ่ง นับได้ว่ายุคนี้เป็นยุคที่วัดทุ่งศรีเมืองเจริญรุ่งเรืองเต็มที่ เพราะเหตุที่ หลวงปู่รอดท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนชาวเมืองอุบลราชธานี และจังหวัดใกล้เคียงดังกล่าวมาแล้วนั้น เมื่อเป็นดังนี้วัดทุ่งศรีเมืองจึงเป็นที่เคารพนับถือและเจริญศรัทธาของพุทธ ศาสนิกชนทั้งหลายโดยทั่วไป

    ข้อมูล tumsrivichai.com
     
  6. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    [​IMG]


    [​IMG]


    [​IMG]



    เพชร เงิน ทอง
     
  7. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    จิปน้ำชามีฟองหมดกระป๋องแล้วอ่ะครับพี่ปู ว่าจะอีกซักหนึ่งก่อนนอนครับ พรุ่งนี้มีนัดลูกค้าตอนเช้า
     
  8. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    สวัสดียามบ่ายครับ...
     
  9. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    หลวงปู่ทองคำศรี รัตนโคตร (ทองทิพย์ พุทธปัญโญ)
    อดีตประธานสงฆ์ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร ตำบลสีกาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย



    [​IMG]

    [​IMG]

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ (ทองคำศรี รัตนโคตร) เดิมชื่อว่า ทองคำศรี จันทะคัต บิดาชื่อ นายประเสริฐ จันทะคัต มารดาชื่อ นางลุนณี จันทะคัต ถือกำเนิดเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๖๗ ตรงกับปีฉลู ณ จังหวัดร้อยเอ็ด เดิมประกอบอาชีพทำนา จากนั้นได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุได้ ๑๓ ปี โดยมีพระสมุพิมพ์ เป็นพระอุปัชฌาย์

    การอุปสมบท
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ได้เข้ารับการอุปสมบทเมื่อ อายุครบ ๒๐ ปี ในวันที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๗ ณ วัดศรีจันทร์เขืองใหญ่ ตำบลหมูม้น อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระสมุพิมพ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา “พุทธปัญโญ" แปลว่า ปัญญาแห่งอันประเสริฐแห่งพุทธะ” ตามลายมือชื่อของท่านว่า “พระทองคำศรี รัตนโคตร” อันปรากฏอยู่ในหนังสือสุทธิ และนามว่า “ทองทิพย์ พุทธปัญโญ” นั้น เป็นนามเรียกที่เป็นที่รู้จักมักคุ้นโดยทั่วกันในหมู่ศิษยานุศิษย์ นั้นคือ "หลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ”

    การออกธุดงค์จาริก
    พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ได้เข้าพำนักศึกษาฝึกฝนการปฏิบัติกรรมฐาน อยู่ในสำนักของพระอาจารย์กรรมฐาน แล้วได้ผ่านการบำเพ็ญธุดงค์ ณ สถานที่ต่างๆ ในพื้นที่ภาคอีสาน อาทิเช่น จังหวัดนครพนม รวมถึง ภูมิภูเขาควาย เป็นต้น จนได้พบสถานที่อันเหมาะสมแห่งการก่อร่างสร้างฐานการเผยแผ่หลักธรรมคำสอนตามแนวทางขององค์สมเด็จ
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร (เดิมชื่อ วัดดอนพิพวย) ตั้งอยู่ที่ บ้ายฝายแตก หมู่ ๘ ตำบลสีกาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ร่วมกับกับคณะศิษย์และโยมอุปปัฏฐาก แล้วได้พำนักประจำอยู่ ณ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รตนโคตร เรื่อยมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.๒๕๐๐ จวบจนกาล ที่ได้ได้ล่วงละสังขารไป ในวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ เป็นพระกรรมฐานาจารย์ พระมหาเถระ ผู้เป็นเนื้อนาบุญ องค์บรมครูหน่อพุทธางค์กูรนี้ ผู้มีคุณูปการณ์อย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ด้วยจริยาวัตรอันงดงาม และน่าเลื่อมใสศรัทธาต่อพุทธศาสนิกชนทั่วไปเป็นอย่างมาก ทั้งบรรพชิต พระภิกษุสงฆ์ สามเณร อุบาสกอุบาสิกา จากทั่วทุกสารทิศได้หลั่งไหลเข้ากราบสักการะ พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ อย่างต่อเนื่องเสมอมา นับตั้งแต่ครั้งที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ ยังมีชีวิต จวบจนถึงปัจจุบัน ในกาลที่ท่านฯ ได้ละสังขารล่วงไปแล้วนั้น ศิษยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน ทั้งหลายเหล่านั้น ที่ยังมีความศรัทธาต่อ องค์คุณูปการณ์ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ และด้วยการเก็บรักษา ร่างสังขารของท่านไว้ในโลงแก้วปรับอากาศ เพื่อน้อมสักการะบูชา และโดยการสรงร่างสังขารของพระเดชพระคุณท่านฯ ด้วยหัวน้ำหอมอย่างดี และเปลี่ยนชุดไตรจีวรถวายแด่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯ อย่างต่อเนื่องเสมอมา ตามความน้อมเคารพสักการะ ในองค์คุณของท่านฯ

    ปฏิปทาของท่านนั้น กอปรด้วยพระวิสุทธิคุณอันสูงส่ง มีมโนปณิธานอันพร้อมด้วยพระเมตตาและมหากรุณาธิคุณ ในความมุ่งหมายที่จะยังสัตว์โลกให้ได้รู้ธรรม ด้วยทาน ศีล และภาวนา อีกทั้งท่านยังได้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี วจีคำสอนอันไพเราะงดงามและครบถ้วนบริบูรณ์ด้วยอรรถะ และพยัญชนะ และหลายครั้ง หลายคราวที่ท่านฯ นำเรื่องราวในพุทธประวัติ และพุทธชาดกของพระบรมโพธิสัตว์ที่จะมาเลี่ยงลัดตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอนาคตกาลมาบอกกล่าว และเทศน์สอนลูกศิษย์

    พระเดชพระคุณหลวงปู่ทองทิพย์ พุทธปัญโญ ได้ล่วงละสังขาร ในวันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๔ ณ วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร โดยก่อนมรณภาพ ท่านได้มอบหมายต่อลูกศิษย์ ว่ามิให้ฌาปณกิจสังขารของท่าน ให้ใช้ผ้าไหมพันสรีระสังขารไว้แล้วสรงบูชาด้วยหัวน้ำหอม ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์ นำโดยพระสุวิทยา จันตะธัมโม ประธานสงฆ์วัดป่าสีดาพระรามลักษณ์รัตนโคตร องค์ปัจจุบันก็ได้กระทำเป็นประจำทุกปี โดยพิธีสรงร่างสังขารหลวงปู่ฯ ด้วยหัวน้ำหอมและเปลี่ยนผ้าไตรนั้น จะกระทำปีละ ๒ ครั้ง คือในวันสงกรานต์(๑๓ เมษายน ของทุกปี) และในวันออกพรรษา(วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑)

    ส่วนการทำบุญกตัญญุตา อุทิศแด่หลวงปู่ฯ จะมีการถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และสวดมาติกาบังสุกุล แสดงถึงความกตัญญู ซึ่งกระทำทุกปี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ อันถือเป็นวันคล้ายวัน ครบรอบของการละสังขารของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ฯ

    ข้อมูล buddhapunyo.org

     
  10. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    สวัสดีครับพี่เอ๊ะ
     
  11. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448

    สวยพอ ๆ กะ เหรียญรุ่นแรกเลยเนอะพี่ปู catt3
     
  12. MrCHAN

    MrCHAN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2012
    โพสต์:
    5,812
    ค่าพลัง:
    +97,448
    ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 16 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 12 คน ) [ แนะนำเรื่องเด่น ]
    MrCHAN, kravity+, กันตปัญโญ, jumbo_a44


    ;aa44 สวัสดียามบ่ายครับ ตากานต์ คุณกันต์ คุณเอ๊ะ
     
  13. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    สวัสดีครับพี่โญ
     
  14. ปู ท่าพระ

    ปู ท่าพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5,822
    ค่าพลัง:
    +60,326
    คร๊าบบเพียงแต่แกะได้คมชัดและเหมือนกว่าเอง บางคนเรียกเหรียญรุ่นนี้ว่าเหรียญมหาลาภนะคร๊าบบ
     
  15. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    หลวงปู่สอ พันธุโล(พระครูภาวนา กิจโกศล)วัดป่าบ้านหนองแสง อ.เมือง จ.ยโสธร


    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]

    ท่านถือกำเนิดในสกุล ขันเงิน เมื่อวันพฤหัส ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 8 ปีระกา ตรงกับวันที่ 7 กรกฎาคม 2464 ที่บ้านทุ่งมน ต.ทุ่งมน อ.คำเขื่อนแก้ว จ.อุบลราชธานี (จ.ยโสธร) บิดาชื่อ ตา มารดาชื่อ ขอ มีพี่น้อง 2 คนเป็นชายทั้งคู่ องค์ท่านเป็นพี่ น้องชายชื่อ หมอ ขันเงิน

    ท่านฝักใฝ่ทางธรรมมาตั้งแต่วัยเด็ก ท่านพอใจที่จะเข้าวัด อุปัฏฐากรับใช้พระ การอันใดมิพักต้องรอให้พระหรือผู้ใหญ่เอ่ยปากใช้ไหว้วาน ท่านจะรีบไปจัดการให้อย่างรู้งาน รู้หน้าที่ และทำได้อย่างถูกต้องได้รับคำชมเชยจากพระสงฆ์อยู่ตลอด

    ถึงแม้ใจอยากจะอยู่ในเพศอันสงบร่มเย็นของพระ ท่านก็มีเหตุให้ต้องออกไปครองเรือนกับหญิงสาวที่อยู่ในหมู่บ้านเดียวกันชื่อ บับ มีบุตรร่วมกัน 3 คน คนโตเป็นหญิงชื่อ อ่าง คนกลางเป็นชายเสียชีวิตตั้งวัยเยาว์ คนสุดท้องชื่อ นาง ขณะนี้บุตรทั้งสองยังพักอยู่บ้านหนองแสง

    จิตใจของท่านอยากบวชอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีโอกาสเหมาะ ท่านก็ขอออกบวชและได้รับความยินยอมจากภรรยาให้บวชเพียง 15 วัน ท่านมีความสุขใจมาก มีความปลอดโปร่งเหมือนบุคคลที่ถูกปลดปล่อยจากที่คุมขัง ท่านบวชครั้งแรกที่วัดสร่างโศก (วัดศรีธรรมาราม) เมื่อ พ.ศ. 2496 ขณะอายุ 32 ปี เมื่อถึงวันครบกำหนด 15 วัน ท่านยังไม่อยากสึกขอผัดผ่อนเรื่อยมาจนได้ ถึง 2 พรรษา จำต้องสึกออกมาเพื่อสร้างบ้านหลังใหม่ให้กับครอบครัวแทนที่บ้านหลังเก่าที่มีสภาพผุพังเต็มที ท่านต้องการหาเงินให้ได้เร็วที่สุด จึงทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำ เก็บเงินสร้างบ้านจนเรียบร้อยแล้ว ท่านจึงเก็บเงินซื้อเครื่องอัฐบริขารที่ใช้ในการบวช และท่านก็ได้ก้าวเข้ามาในร่มกาสาวพัสตร์อย่างหมดห่วง

    เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2501 ขณะอายุ 37 ปี ท่านได้อุปสมบทอีกคำรบหนึ่ง ณ วัดเดิมและใช้ ฉายาเดิมในครั้งนี้ท่านตั้งปณิธานอันแน่วแน่ จะต้องให้ได้รู้ธรรม เห็นธรรมให้ได้ ถ้าไม่รู้ไม่เห็นธรรม ถึงจะตายก็ยอมตายไม่เสียดายชีวิต การปฏิบัติของท่านจึงเป็นไปอย่างอาจหาญ เด็ดเดี่ยว อุกฤษฏ์เอาชีวิตเข้าแลก ท่านกล่าวว่า “สู้แบบเอาเป็นเอาตายจริงๆ ...ถ้าเราไม่สละเป็นสละตายจริงๆ สู้กับมันไม่ได้ดอก”

    หลวงปู่สอ พน̣̣̣ธุโลได้รับการฝึกฝนปฏิบัติกับครูบาอาจารย์ที่มีชื่อเสียงเด่นในทางทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ อาทิ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หลวงปู่ขาว อนาลโย หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่ฝั้น อาจาโร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ท่านเล่าว่า
    เพื่อจะเรียนรู้ ก็จำเป็นต้องอยู่เป็นประดุจผ้าเช็ดเท้าของครูบาอาจารย์ท่าน ให้ท่านเหยียบย่ำ ข่มกิเลสของเราให้เบาบางลง บางวัดบางองค์หลวงปู่อยู่ด้วยเป็นแรมเดือน บางวัดบางองค์หลวงปู่อยู่ด้วยเป็นแรมปี

    ท่านตั้งสัจจะไว้มั่นว่า การเวียนเกิด เวียนตายของท่านควรจะต้องยุติลงในชาตินี้... ท่านจึงปรารภความเพียรอย่างหนัก เช่น การอดอาหารขาดอีกไม่กี่วันจะครบ 49 วัน แต่หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนมาห้ามท่านเสียก่อน การทรมานความง่วงเหงาหาวนอน ด้วยการนอนในท่าเดียว ไม่ฉันอาหาร ไม่กระดุกกระดิกถึง 7 วัน 7 คืนจึงเปลี่ยนท่าใหม่อีก 7 วัน 7 คืน จนขาทั้งสองข้างเปื่อยพุพอง เหมือนกับโดนไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ยังมีรอยแผลเป็นจนทุกวันนี้ ท่านเอาชนะถีนมิทธะจนไม่นอนในเวลากลางคืนมาตลอดกว่า 20 ปีจนธาตุขันธ์ล่วงเข้าสู่วัยชราจึงผ่อนปรนลงมา

    ในช่วงแห่งปัจฉิมวัยท่านได้รับคำบัญชาจากพ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่ขาว อนาลโยและหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโนให้มาโปรดชาวยโสธรซึ่งได้ไปร้องขอพระดี สามารถเป็นเนื้อนาบุญเป็นที่พึ่งได้ ท่านจึงได้อยู่โปรดที่วัดบ้านหนองแสง ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร

    ข้อมูล watpa.com

     
  16. Kenny17

    Kenny17 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,979
    ค่าพลัง:
    +10,866
    ขอตัวไปนอนก่อนล่ะครับวันนี้ ง่วงแล้วครับ พรุ่งนี้มาต่อหลวงปูสอใหม่นะครับ
     
  17. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,058
    ค่าพลัง:
    +53,093
    เชิญพี่กัน พักผ่อนนะครับ
     
  18. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,058
    ค่าพลัง:
    +53,093

    สวัสดีครับพี่ปู และทุกๆท่านด้วยครับผม
     
  19. tee_tores

    tee_tores กะยิราเจ กะยิราเถนัง สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    19,058
    ค่าพลัง:
    +53,093
    [​IMG]
     
  20. jumbo_a44

    jumbo_a44 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2012
    โพสต์:
    6,518
    ค่าพลัง:
    +68,124
    สวัสดีครับคุณโญ...
     

แชร์หน้านี้

Loading...