สำหรับคนที่ปรามาสท่านพุทธทาส...

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ศุภกร เต็มคำขวัญ, 18 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สนทนา (แบบสากัจฉา)
    แบบบรรยาย
    แบบตอบปัญหา ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ
    ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณียปัญหา)
    ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา)
    ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา)
    ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป
    แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก
     
  2. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูให้เห็นกับตา (สันทัสสนา)
    ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้องยอมรับ และนำไปปฏิบัติ (สมาทปนา)
    เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
    ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ (สัมปหังสนา)
    อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  3. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ

    เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
    เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
    เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
    เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
    เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น "
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  4. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็นแนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น...
    ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคำนึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และหย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดำรงชีวิตอยู่อย่างไร จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนำไปใช้เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตของเขาได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  5. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ผู้ใดถ้าไม่มีพื้นฐานศรัทธาอันมั่นคงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อันดีอย่างแรงกล้าแล้ว ย่อมมีความฉงนสงสัย ในพระพุทธคุณ ในพระธรรมคุณ ในพระสังฆคุณที่ตนเองไม่สามารถรับรู้พึงพิจารณามองเห็นได้ เนื่องด้วยจริตธรรมของตนยังไม่ถูกพัฒนาในเหมาะสมแก่การรับรู้พระธรรม ต่อให้มียอดพระธรรมคัมภีร์ อยู่ตรงหน้าไว้ครอบครองเปิดอ่าน ต่อให้ท่องจำได้หมดก็มิอาจเข้าถึงสำเร็จธรรมได้ ฉันใด

    ผู้ที่ได้สดับรับฟังในการศึกษาใคร่ครวญดีแล้วควรหมั่นเพียรพยายามด้วยตนเองเป็นที่ตั้ง พระพุทธศาสนาไม่ได้มีการยึดมั่นถือมั่นว่าต้องเอาชนะด้วย วาทะ อรรถพยัญชนะทั้งมวล เป็นศาสนาที่ต้องพึ่งพระธรรมพึ่งพาตนเอง ทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทำพระนิพพานให้แจ้ง ไม่หวั่นไหวต่อโลกธรรม จึงไม่ควรคาดหวังว่า ตนเองอยู่เฉยๆไม่ทำอะไรสิ่งใดก็ได้ อีกหน่อยก็จะมีใครสักคนที่รู้แจ้งเอาพระนิพพานมาแจก ไม่ใช่เรื่องไม่ใช่ฐานะในพระพุทธศาสนา ขอจงใคร่ครวญ ควรเรียน การใช้วจีในการเสวนา จากวาทีสูตรนั้นก่อนจะช่วยเพิ่มสติปัญญา ในการระลึกถามผู้อื่นในคราต่อไป เพราะการถามอย่างมีเหตุอันสมควรจะช่วยเพิ่มสติปัญญาความเข้าใจ มากกว่าการถามโดยทั้งๆที่ไม่มีเหตุอันควร แม้ได้รับคำตอบที่ถูกต้องดีงามเข้าใจง่าย ก็จะไม่มีสติปัญญาในการรับรู้และเข้าใจเนื้อความอย่างลึกซึ้งใดๆนั้นได้

    ฉนั้นการถามการใช้อรรถพยัญชนะบางทีก็บ่งบอกถึงสติปัญญาของผู้ถามที่มี ดังที่ปรากฎในพระสูตรหลายบท ซึ่งเป็นคำถามที่ไร้ประโยชน์ไม่มีคุณค่าที่สมควรให้ความสนใจในการประพฤติธรรมตามหัวข้อนั้นๆตามลักษณะกาลเวลา เช่นแสดงเรื่องความสว่าง กับอยากรู้เรื่องอาหารการกิน นี่เรียกว่า ไม่เข้าใจในการลำดับความสำคัญสิ่งที่ควรรู้ควรเห็นกับประพฤติย่อหย่อนไม่พยายามด้วยตนเอง จงพึงพิจารณา
     
  6. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ข้าพเจ้าขอให้ธรรมที่เป็นทานอานิสงค์องค์แห่งความรู้ต่อท่านทั้งหลายว่า" บุคคลใดที่มีจิตใจซื่อตรง บริสุทธิ์ ละเอียดอ่อน อุปมาประดุจเด็กอ่อนทารกต้องการเพียง ความรักและนมของมารดาเลี้ยงชีพ ผ่อนคลายความหิวเพียงเท่านั้น ! บุคคลนั้นย่อมเข้าถึงสภาวะธรรมอันละเอียดอ่อนที่สามารถเข้าถึงได้โดยยาก


    ส่วนบุคคลใดที่ถูก อวิชชา ที่บีบคั้นตามสภาพครอบครัวและวัฒนธรรม ตามสังคมครอบงำจนกลายเป็นคน ไร้จริยธรรม คุณธรรม ในหลักธรรมตามพระพุทธศาสนานี้เพราะถือดี จะไม่มีทางได้เข้าถึงองค์คุณในการตรัสรู้ธรรมได้เลย

    ฉนั้นขอจงกลับเนื้อกลับตัว ละวาง อวิชชา มิจฉาธรรมที่มีในตน อย่าดูถูกตนเองว่าจะไม่เห็นธรรมอันบริสุทธิคุณ ขอจงมีความศรัทธา ความเพียร ท่านจะได้พบธรรมตามสถานะธรรมที่สมควรแก่ท่าน ดังที่เคยได้สั่งสมไว้และพยากรณ์ไว้แล้วนั้นเทอญฯ
    ธรรมนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน เหล่าพุทธบริษัทและเวไนยสัตว์ตามกรรมทั้งหลายเพื่อความพ้นทุกข์โดยตรง มิใช่เพื่อสิ่งอื่นใด ตั้งใจนะครับ ขอเป็นหนึ่งแรงใจให้ท่านพ้นทุกข์

    เปลี่ยนร่างจิตให้รองรับ สถานะรอบข้างได้ เสมือนหนึ่งน้อยเด็กทารก จึ่งบริสุทธิ์ได้

    การน้อมรับพระธรรมด้วยจิตใจเช่นนั้น ย่อมมองเห็นสัจธรรมได้อย่างแน่นอน
     
  7. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    [๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?
    นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดย
    พยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะ
    ก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    นักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัม-
    ภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่
    โอกาส.
    จบวาทีสูตรที่ ๑๐
    จบปุคคลวรรคที่ ๔
     
  8. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    .( The Top Secret ).อย่าข้ามพื้นฐานถ้าคิดจะเรียนธรรม

    {O}เรามีหลักพื้นฐานเบื้องต้นดังนี้ คือการเห็นคุณค่าความสำคัญของพระรัตนตรัยเป็นที่ตั้ง{O}

    จงพิจารณาให้ถึงที่สุดเถิด หากไม่มีพระธรรม ไม่มีพระพุทธเจ้า ไม่มีพระสงฆ์ผู้อยู่ในสารคุณ ท่านจะอยู่ในลักษณะใดลัทธิความเชื่อใดในตอนนี้

    มีความปรารถนาต้องการอะไรจากพระพุทธศาสนา
    แรกเริ่มท่านต้องมีความสนใจ ชอบใจ และศรัทธาให้เหนือกว่าที่เคยศรัทธา ไม่ใช่งมงายแต่ให้ใช้สติพิจารณาอย่างละเอียดอ่อนให้ถ้วนถี่ยิ่งๆขึ้นไป และจงรักเทิดทูนในพระธรรมคำสั่งสอนเป็นอย่างเคารพยิ่งเป็นที่สุด ต้องนอบน้อมต่อพระธรรมคัมภีร์ในพระสูตรอย่างจะมีได้ แน่นอนต้องเหนือกว่าการเทิดทูนบุคคลใดๆทั้งสิ้น เพราะนี่เป็นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้พ้นจากสถานะทั้งปวง

    ไม่ควรพิจารณาถึงธรรมที่ตนเองก็มิได้กระทำวัตรปฎิบัติให้ถึงโดยที่สภาวะของตนไม่เอื้ออำนวยแก่การบรรลุธรรมนั้น เพราะจะถูกบีบคั้นจากสภาวะทั้งปวงรอบข้างเป็นอย่างมาก
    เพราะรู้แล้วไม่ปฎิบัติ ย่อมถือว่าไม่รู้ อุปมาเสมือนบุคคลขับยานพาหนะไปในท้องถนนที่คับคั่งด้วยยวดยาน เห็นสัญญานไฟแดงเตือนให้รถหยุด รู้แต่ยังดื้อดึงขับฝ่าย่อมมีเหตุอันตรายให้มาถึง

    อย่าถือดีว่ารู้มากมีความรู้สูงเพราะเข้าใจว่าตนเองนั้นเก่งได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้เพราะความสามารถตนแล้วเรียนผ่านแม้เพียงอักขระอักษรพยางค์เดียว อย่าเผยวาจาใจว่ารู้หมดจบผ่าน อย่าเห็นว่าพระธรรมเป็นของเข้าใจได้ง่ายๆ และได้มาอย่างง่ายๆในทุกภาษิต อย่าเผลอใจตนพลั้งกายวาจาใจ เพื่อโอ้อวดยกยอตนเองยินดีกับการสรรเสริญจากผู้อื่นอย่างลืมตน

    พระพุทธเจ้าทั้งหลายฯท่านทรงสรรเสริญพระธรรม สรรเสริญการแสดงพระสัทธรรม ตำหนิไม่เห็นด้วยกับการแสดงอสัทธรรม การที่ท่านเจ้าชายสิทธัตถะเป็นพระพุทธเจ้าได้ก็เพราะการสั่งสมบุญบารมีมาเป็นอย่างดีและได้อาศัยพระธรรมจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรงทศพลญาน๑๐ เจริญพระวรกายด้วยมหาปุริลักษณะ คือลักษณะกายที่มีประสาทการรับรู้ที่ดีที่สุดกว่าผู้ใด เมื่อทุกข์จึงทุกข์กว่าผู้ใด เมื่อสุขจึงสุขกว่าผู้ใด จึงเป็นผู้ "เอก"ไม่มีสอง ต่อให้ผู้ใดก็ตามพระเจ้าใดก็ตามก็ไม่สามารถเนรมิตกายให้สมบูรณ์ครบถ้วนอย่างพระองค์ได้

    และหากไม่มีองค์คุณของพระธรรมคัมภีร์"ธรรมแม่บทดั้งเดิม"ปรากฎ ก็ย่อมไม่มีรูปแบบ หลักฐานที่ชัดแจ้งในการวางหลักปักฐานในพระพุทธศาสนา ไม่อย่างนั้นก็จะกลายเป็นเพียงมายาคติที่มนุษย์ มาร เทวดา พรหม ในสามแดนโลกธาตุอาศัยฤทธิ์มายาสร้างขึ้นทันที เพราะการกำเนิดพระธรรม เป็นเรื่องเหนือโลก เหนือความคิด เหนือจินตนาการของมนุษย์ เทพ มาร พรหม พระเจ้าใดทั้งปวง ตราบใดที่ไม่มีผู้เข้าถึงพระนิพพานจริงๆด้วยฐานะแล้ว ทั้ง๒ ฐานะ มาอธิบายพระนิพพาน ตราบนั้นก็จะไม่มีใครล่วงรู้ จึงทรงมุ่งสอนให้มีความเพียรพยายามให้เห็นเอง เพราะทรงพิจารณาแล้วว่าผู้นั้นสามารถสำเร็จธรรมได้

    ผู้ไม่ถึงที่สุดในจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนาย่อมไม่สามารถบอกหรือสอนได้ และแม้หากรู้หากถึงก็ตาม แต่ไม่มีปัญญาจะอธิบายพรรณนาถึงภาวะนั้นได้ ไม่อย่างนั้นพระอรหันต์ทุกรูปก็จะบันทึกลงความเห็นในการสำเร็จธรรมของตนไว้ทั้งหมดเป็นแน่ แต่เพราะได้ใคร่ครวญเห็นตามกันดีแล้ว ว่าไม่ใช่ฐานะที่จะพึงกระทำ จึงเน้นถ่ายทอดรูปแบบของการปฎิบัติธรรมที่แตกต่างกัน เพื่อให้รู้ว่า การสำเร็จธรรมนั้นต้องเป็นไปตามสภาวะที่ตนสั่งสมตามกรรมตามกาลไว้ ไม่ใช่ว่าจะเข้าใจในพระธรรมเพียงเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วสำเร็จธรรมตามกันทั้งหมด เพราะจริตธรรมนำพาแตกต่างกันในอิริยาบทของกรรม


    ขอจงตั้งใจศึกษาพุทธประวัติ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ และพระสูตรต่างๆอย่างน้อมนำสติเป็นตัวอย่าง ตามสติปัญญาของตน ศึกษาแล้วปฎิบัติตาม ท่านสอนให้ละสิ่งนี้ ออกจากสิ่งนี้ก็ต้องรู้ตามและปฎิบัติทันที จึงจะเข้าฐานแห่งการรู้ตามได้ ส่วนใดที่ผิดแผกไปจากเดิม เราไม่สามารถที่จะเข้าใจหรือแน่ใจว่าถูกต้องได้ นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องอาศัยผู้มีปฎิสัมภิทาญาน เชี่ยวชาญในพระธรรมคำภีร์มาโปรดอีกที ว่าพิจารณาอย่างนี้ ทำอย่างนั้น ถึงจะถูกถึงลำดับฐานะกาลการตรัสรู้ธรรม อันเป็นสามัญผล

    อย่ามองข้าม ( "มงคลสูตร" )พิจารณาความให้ละเอียดอ่อนเท่าที่จะมากได้เป็นที่สุด เพราะได้ทรงบอกตอบคำถามไว้หมดแล้ว โดยทรงล่วงรู้ ทรงทราบล่วงหน้าโดยข่ายพระญานพระสัพพัญญูแล้ว หากไม่ตรัสตอบ "มงคลสูตร"นี้ ในสหโลกธาตุ มนุษย์ ยักษ์ นาค มาร เทพ เทวดา พรหม ฯจะลำบากในการครุ่นคิดตัดสินใจ ถึงต้องกราบทูลถามให้
    กระจ่างตามฐานะลำดับกาล บันทึกจารึกมั่นหมาย จวบจนพ้นสมัยมาจนถึงปัจจุบันนี้
    https://youtu.be/4VzhGhusKAo
    พิจารณาให้แยบคายตาม ("คิริมานนทสูตร")

    ปฎิบัติให้อยู่ในสารคุณให้ได้ตาม ( "กรณียเมตสูตร" )

    และยังอีกมากมายในสารคุณนั้นๆ

    ขอจงตั้งใจเถิด พระธรรมนั้นมีมาก ไม่อาจจะทรงจำศึกษาและปฎิบัติตามได้ในทุกพระสูตร เพราะความเฉพาะกาลและบุคคลนั้นแตกต่างกัน อันองค์คุณของ"มรรค ๘ " ทรงตรัสไว้ดีแล้ว จงพิจารณาให้เห็นจริงตามสติปัญญาฐานะกาลในตนนั้นเถิด

    ไม่มีคำว่าช้าหรือสายสำหรับผู้ปฎิบัติดีแล้วยังสามัญผล ปฎิบัติแล้วต้องได้อย่างแน่นอน

    สาธุธรรม ขออนุโมทนาบุญฯ
     
  9. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทรงทราบ ทรงเปิดเผย แต่ไม่ทรงติด ซึ่งโลกธรรม

    ภิกษุ ท.! โลกธรรม มีอยู่ในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้ว ย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! ก็อะไรเล่า เป็นโลกธรรมในโลก?

    ภิกษุ ท.! รูป เป็นโลกธรรมในโลก. ตถาคต ย่อมตรัสรู้ ย่อมรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งรูปอันเป็นโลกธรรมนั้น; ครั้นตรัสรู้แล้ว รู้พร้อมเฉพาะแล้วย่อมบอก ย่อมแสดง ย่อมบัญญัติ ย่อมตั้งขึ้นไว้ ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนกแจกแจง ย่อมทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ.

    ภิกษุ ท.! บุคคลบางคน แม้เราตถาคตบอก แสดง บัญญัติ ตั้งขึ้นไว้เปิดเผย จำแนกแจกแจง ทำให้เป็นเหมือนการหงายของที่คว่ำ อยู่อย่างนี้ เขาก็ยังไม่รู้ไม่เห็น. ภิกษุ ท.! กะบุคคลที่เป็นพาล เป็นปุถุชน คนมืด คนไม่มีจักษุคนไม่รู้ไม่เห็น เช่นนี้ เราจะกระทำอะไรกะเขาได้.

    (ในกรณีแห่ง เวทนา, สัญญา, สังขาร และวิญญาณ ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำที่มีหลักเกณฑ์ในการตรัส อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้วนั้นทุกประการ)

    ภิกษุ ท.! เปรียบเหมือน ดอกอุบล หรือดอกปทุม หรือดอกบัวบุณฑริกก็ดี เกิดแล้วเจริญแล้วในน้ำ พ้นจากน้ำแล้วดำรงอยู่ได้โดยไม่เปื้อนน้ำ, ฉันใด; ภิกษุ ท.! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดแล้วเจริญแล้ว ในโลกครอบงำโลกแล้วอยู่อย่างไม่แปดเปื้อนด้วยโลก.
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  10. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    หากจะตั้งปัญหาถามก่อนว่า อะไรคือทางให้พบสาระ?
    ก็ตอบโดยอาศัยพระพุทธภาษิตนี้เป็นหลักว่า สัมมาทิฏฐิความเห็นชอบเห็นถูก
    อธิบายว่า ความเห็นชอบย่อมนำไปสู่การกระทำชอบและพูดชอบ
    ตลอดถึงความพยายามชอบ

    มิจฉาทิฏฐิเป็นยอดโทษฉันใด สัมมาทิฏฐิก็เป็นยอดคุณฉันนั้น

    บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิประจำใจจึงเหมือนมีกุญแจไขเข้าไปในห้วงอันเต็มไปด้วยสาระ
    ส่วนคนมีมิจฉาทิฏฐิประจำใจ หาเป็นเช่นนั้นไม่
    มีแต่จะเดินเข้ารกเข้าพง นำชีวิตไปสู่ความล่มจมล้มเหลว
    เปรียบด้วยเรือ สัมมาทิฏฐิก็เป็นหางเสือให้เรือแล่นไปในทางอันถูกต้อง
    หลีกหินโสโครกและอันตรายต่างๆ
     
  11. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    "เราเป็นผู้เลิศแห่งโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดแห่งโลก เราเป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ย่อมไม่มี"

    จงเข้าใจว่าคำว่า บริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน คือจะต้องรู้เป็นที่สุดแล้ว คือยกเว้นคนนอกศาสนา คนในฟังอ่านพิจารณาแล้วถูกหมด

    ถ้าไม่สามารถอย่าคิดเอง อย่าเอาหัวข้อธรรมใดธรรมหนึ่งไปประมวลว่าเป็นที่สุด ทั้งๆก็ไม่ถึงที่สุด

    "มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"

    ตอบตรงตามหลักธรรมของสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระบรมมหาศาสดาเป็นใหญ่ ให้กว้างขวางลึกซึ้ง

    ไม่เอาบุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นที่ตั้งมากกว่าพระองค์ ถ้าจะสอนธรรมของพระองค์ ควรยกพระดำรัสวาจาของพระองค์มาสอน เพราะทรงตรัสไว้ดีแล้วด้วยพระปรีชาญาณ อธิบายเนื้อหาธรรมนั้นอย่างเต็มความสามารถที่สุด แสดงธรรมอย่างมีเหตุ มิใช่ไม่มีเหตุ ทรงประกาศอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์ มิใช่ไม่บริสุทธิ์

    พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด

    ดังเช่นที่ได้ตรัสกับพระเจ้าอชาติศัตรูในสามัญญผลสูตรใน ที.สี.(แปล) ๙/๑๙๐/๖๔ ว่า

    " มหาบพิตร ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค ตถาคตรู้แจ้งโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ด้วยตนเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้ตาม แสดงธรรมมีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน"
     
  12. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ถ้าเกิดจ่ายักษ์ ถามกลับ คุณอายุเท่าไร ชื่ออะไร ทำงานอะไร คนไทยจริงไหม

    มันก็ไม่ต่างกันล่ะครับ ที่จะบ่ายเบี่ยง ตามวิสัย
     
  13. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ปุจฉา ได้ ก็ต้อง วิสัชนา แก้ได้https://youtu.be/xCn-1N3dGT4

    แสดงธรรมใด ต้องมีพื้นฐาน คือ รู้ธรรมนั้น ไม่รู้เนื้อหาความหมาย เหตุและผลแน่ชัด อย่านำมาแสดง เวลามีบุคคลสงสัยหวังความเจริญในธรรม เขาถามมา จะตอบเขาไม่ได้ อ่านสูตรพยากรณ์ปัญหาเรื่อง ศีล

    ๕. สากัจฉสูตร
    ว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ควรสนทนา ๕ ประการ
    [๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
    ย่อมเป็นผู้ควรสนทนาของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลด้วยตน
    เอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภสีลสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้
    ถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภ
    สมาธิสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภปัญญาสัมปทาได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย
    วิมุตติด้วยตนเอง และเป็นผู้พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภวิมุตติสัมปทา
    ได้ ๑ ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วยตนเอง และเป็นผู้
    พยากรณ์ปัญหาที่มาในกถาปรารภนิรุตติญาณทัสสนสัมปทาได้ ๑ ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรสนทนา
    ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย.
    จบสากัจฉสูตรที่ ๕

    ผมรู้หมดทั้ง ๕ ข้อครับ อธิบายได้ ถึงลักษณะอาการที่เป็นเอง ที่เผชิญเอง ที่ปฎิบัติเอง แต่ไม่สามารถแสดงรสให้ทราบตามได้ หากพยากรณ์ไปทางอื่น มึนครับ ตอบไม่เป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2015
  14. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ทางรอดที่บริสุทธิ์หมดจดคือ ต้องแสดงเนื้อความประโยค ที่ได้ตีความหมายให้รู้ซึ้งถึงเจตนาของอาจารย์ผู้สอน ให้ถูกต้องตามหลักธรรมทั้งมวลฯ โดยพิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบรู้ในธรรมของอาจารย์ดีแล้ว โดยนำสรุป เข้าสู่กระบวนการไตร่ตรอง พิจารณาตามหลักธรรมทั้งหลายฯ สรุปผลให้เป็น [สัมมาทิฏฐิ] นั่นคือ การแสดงเป็นอรรถาธิบาย โดยบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วน ที่ไม่ว่าผู้ใด ก็ไม่สามารถหาเหตุข้อติดขัดใดๆ มาโต้แย้งได้
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  15. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    คุยกะจ่าแกเถอะครับ ไล่อ่านคัมภีร์ตามจ่าแก อีกสักสองสามหน้า

    อนุมัติ

    ขอตัวก่อน บาย
     
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    แม้เราไม่ใช่ศิษย์ก้นกุฎิของท่านพุทธทาส เราก็จะพึงตอบให้ ด้วยฐานะที่เราเป็นพุทธบริษัทผู้หนึ่ง ที่มีความนอบน้อมต่อท่าน เอาธรรมของท่านข้อเดียว นี่แหละมาอธิบายธรรม ข้อนั้นก็อยู่ในรูปภาพข้างล่าง รู้จริงเข้าใจและเข้าใจจริงเพียงข้อเดียว

    อย่าฆ่าอาจารย์ เพราะมีผู้รู้เห็น รักอาจารย์ ต้องพิจารณาธรรมจากอาจารย์ ให้ดีแล้วค่อย เอามาสอน เอามาประกาศ อย่าทำร้ายอาจารย์ อันเป็นเหตุให้สำนักอื่นที่ขัดกันหาเหตุโจทย์อธิกรณ์ได้
    ผู้นำธรรมมาแสดงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยไม่รู้จักการตีความให้บริสุทธิ์ แล้วจึงนำมาแสดง อันจะเกิดเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติธรรม โดยไม่ทำลายขวัญกำลังใจและศรัทธา ผู้เดินมาตามหลัง ทั้งจะถูกเยาะเย้ยจากศาสนาอื่น เดียร์ถีย์นอกลัทธินิยมนั่นด้วย โดยแสวงอื่น คือการเพ่งโทษ ย่อมทำลายมรรค ๘ ในทั้งตนเองและผู้อื่นด้วย สาธุธรรมฯ

    พระไตรลักษณ์เดิมทีนั้น แม้แต่ในพระไตรปิฎกก็เรียกกันโดยทั่วไปว่าธรรมนิยาม(ธมฺมนิยามตา) ที่แปลว่า นิยามของธรรม(หรือธรรมชาติ) ที่มีความหมายว่า ข้อกำหนดหรือความกำหนดที่แน่นอนแห่งธรรม หรือก็คือธรรมชาตินั่นเอง, ส่วนคำว่าพระไตรลักษณ์ และคำว่าสามัญลักษณะหรือสามัญญลักษณะ ที่มีความหมายเดียวกันกับธรรมนิยามนั้น เป็นคำที่เกิดขึ้นในภายหลังในยุคอรรถกถา, พระไตรลักษณ์หรือธรรมนิยามเป็นข้อธรรมที่แสดงถึงลักษณะ หรือกฏ หรือข้อกำหนดของธรรม หรือก็คือธรรมชาติอันยิ่งใหญ่และลี้ลับ แต่ด้วยพระปรีชาญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมของพระองค์ท่านได้หงายของที่ควํ่าอยู่ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยพระประสงค์ว่าผู้มีจักษุคือปัญญาจะได้แลเห็น กล่าวคือทรงแสดงสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อันลี้ลับที่ไม่มีผู้ใดล่วงรู้อย่างถูกต้อง อย่างแจ่มแจ้ง อย่างแท้จริงมาก่อน นับเนื่องมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะพระองค์ท่าน ทรงสอนแต่ในเรื่องธรรมชาติของความทุกข์ ที่หมายถึงเน้นสอนในเรื่องสภาวธรรมหรือธรรมชาติของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นสำคัญ ซึ่งก็เพื่อยังประโยชน์อันยิ่งใหญ่โดยการนำเอาความรู้ความเข้าใจอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับความทุกข์นั้น ไปใช้ในการเพื่อการดับทุกข์อันเป็นสุขยิ่ง เป็นที่สุดนั่นเอง อันเกิดขึ้นและเป็นไปดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า
    "ในกาลก่อนนี้ก็ตาม ในบัดนี้ก็ตาม เราตถาคต บัญญัติขึ้นสอนแต่เรื่องทุกข์ และการดับสนิทไม่เหลือของทุกข์เท่านั้น"


    จงแสดงธรรมที่[พระพุทธเจ้า]ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เมื่อดีต้องเอาดีที่สุด

    ขอจงสรรเสริญแด่ พระธรรม พระพุทธ พระสงฆ์ที่อยู่ในสารคุณดีแล้วนั้นเทอญฯ

    นี่ไม่ใช่ความรู้ ที่เรามีอยู่ในร่างกายและสมองเน่าๆของเรา เราไม่มีอะไร นอกจาก คำว่า รัก และ ห่วง


    จงถามตนเองว่ามีปัญญาพอที่จะแลเห็นหรือยัง ?
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  17. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ยังไม่จบอีกหรอ ไหนว่า แค่มี กับ ไม่มี ก็ไหนว่าตกลงกันแล้ว คนไทยหรือป่าว?

    บาย
     
  18. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    ถูกต้อง ท่านย่อมได้ย่อมมี ในสิ่งที่ท่านหวังไว้ และ ตามสภาวะที่ท่านทำให้ถึง

    ช่างปั้นหม้อ ย่อมได้หม้อฉันใด ผู้หวังไปในอากาศ ย่อมได้ท่องอากาศฉันนั้นแลฯ
    (อีกหน่อยถ้าซน คงไปหาพระสูตร ที่กล่าวเรื่องทำบุญแต่ตกนรกมาแย้ง แต่จะลืมดู ว่าได้จำกัดความไว้ที่ "ผลแห่งกรรมดี" และตกม้าตายเอง)
    (f)สาธุ(kiss)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2015
  19. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    เราก็มาจากที่นั่น เราก็เคยเกิดเคยตายมาก่อน ในอดีตชาติพระราชปาล ในอดีตเป็นผู้ครองปราสาทมุกสวรรค์ เรายืนยันว่ามีอยู่จริง
     
  20. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    อืม เพิ่มเติม
    ไว้ให้จ่า แกค้นคำนี้ มาให้ศึกษาล่ะกัน ไม่เกี่ยวกับคนดีไม่ดี ไม่เสมอไป

    แต่เกี่ยวกับจิตก่อนตาย แน่นอนที่สุด

    “ จิตฺเต อสงฺกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา – เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้ ”
    “ จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคติ ปาฏิกงฺขา – เมื่อจิตเศร้าหมองแล้วทุคติเป็นอันต้องหวัง ”

    สัมมัปปทาน4 เสพไว้ให้คุ้น ดีแน่นอน ไม่ต้องมีคนถามว่า คนไทยหรือเปล่า ตามนั้น :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...