ฌานสมาบัติอย่างง่ายที่ได้ผล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ฐสิษฐ์929, 13 พฤษภาคม 2015.

  1. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    มีสติเพ่งที่จุดมโนทวารทีอยู่กลึ่งกลางใบหน้า ระหว่างดวงตาทั้งสองข้าง ที่จุดดั้งจมูกหัก เพ่งเข้าที่จุดโดยไม่ต้องพิจารณาอะไร ไม่ต้องกำหนดอะไร ความจริงที่ปรากฏเป็นอารมณ์ปัจจุบันโดยไม่ต้องพิจารณา
    ทำเพียงเท่านี้ นิ่งนานได้เท่าใด นั้นละคือฌานที่จะได้รับ แม้นมีอารมณ์อื่นหมื่นแสนมาก่อกวน ก็ไม่หวั่นไหวยังคงเพ่งอยู่เช่นนั้น
    ฌานสมาบัติแปลตามศัพท์ว่า "เข้าเพ่ง" หรือ "เข้าจ้องมอง"
     
  2. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    กระทู้นี้มุ่งเน้นในการปฏิบัติ ดังนั้นคำตอบคำถามก็จะให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่การปฏิบัติเป็นหลัก
    เอาเป็นว่าท่านเอาไปปฏิบัติแล้วเอาสภาวะมาถามจะยินดีตอบทุกคำตอบอย่างแน่นนอนครับ
    ฌานแท้จะมีทุกข์เป็นองค์ประกอบ ตามหลักของเวทนาสุปัสสนา ใครกลัวทุกข์ก็ไม่ต้องทำนะครับ
    เจริญในธรรม
     
  3. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    แน่ใจนะว่ากล้า ตอบ ถ้าผมจะถาม
    เพราะเท่าที่ผ่านมา..เคยถามแต่ไม่กล้า หาว่า ถามกวนๆ ซะงั้น

    ส่วนมากจะแค่โม้น่ะ...พร้อมที่จะตอบ จริงเหรอ
     
  4. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เวลาเพ่ง นั่งท่าไหน ลืมตาหรือหลับตา
     
  5. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ใครปฏิบัติแล้วเป็นอย่างไร ผมยินดีตอบให้ครับ
     
  6. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    โห ไอ่ที่ถาม มันไม่ตอบ
    ไอ้ที่ไม่ถาม มันเสือกตอบ

    แค่นี้ก็รู้ซึ้งถึงสันดานละ....ใครจะอยากคุยกะมึงวะ...:cool:

    ตามสบายเถอะนะ..อิอิ...ไปหากินหญ้าไป...
     
  7. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ตกลง อยากจะบอก ว่า ใครติดขัดสมาธิวิปัสสานาอะไร ก็เข้ามา จะพยายามตอบให้ เหมือนไอ้ลิงกังสีหลังอาน5...ไช่มั้ยล่ะ

    :cool:
     
  8. ฐสิษฐ์929

    ฐสิษฐ์929 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    876
    ค่าพลัง:
    +1,844
    ตั้งใจไว้แล้วจะตอบเฉพาะผู้นำไปปฏิบัติ เพื่อประโยชน์ของท่านผู้นั้นโดยตรง สำหรับวันนี้คงแค่นี้ วันหน้าจะเข้ามาดูใหม่
     
  9. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เห็นมั้ย....ปาหี่
     
  10. arjhansiri

    arjhansiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +148
    ดูเหมือนว่าพวกพรหมทั้งหลายเขาก็ได้ฌานจากการเพ่งเขาถึงได้เกิดเป็นพรหม. แต่พรหมเหล่านั้น. มาถามพระองค์ว่า. อริยสาวกทั้งหลายเขาเพ่งอะไรกัน. นั้นหมายว่าการเพ่งของอริยสาวกคงต้องเพ่งสิ่งที่แตกต่างจากการเพ่งของพรหม. ท่านพอทราบมั้ยครับว่าการเพ่งของอริยาสาวกนั้นเพ่งอะไรครับ
     
  11. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014






    พ่ง อนุสติ10
     
  12. arjhansiri

    arjhansiri เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 สิงหาคม 2013
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +148
    การเพ่งตรงที่ท่าน จขกท. แสดงมาพอเทียบลงเป็นอนุสติ10ได้หรือไม่ครับ
     
  13. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    ปากบอกมุ่งเน้นปฏิบัติ...ทำไมไม่บอกตรงว่า จะเข้ามาสอนคนอื่น

    ใครอยากให้สอนก็เข้ามา...

    .ฌาณแท้ มีทุกข์เป็นองค์ประกอบ...ทำไมไม่พูดใหมันครบ อริยสัจ...ว่า ฌาณแท้ต้อง มีครบ ทั้ง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค....ถ้าไม่ครบ ถ้าญาณแท้มีแต่ทุกข์ ประกอบ แล้ว อีกอริยสัจ สามข้อที่เหลือ..ไปหาเอาที่ไหนล่ะ

    บอกมาเลยว่า จะเข้ามาโม้ ก็ตั้งกระทู้โม้ไปสิ....ใครจะว่าอะไร

    นี่อะไร แค่ถาม ยังห้ามถาม....แล้วเขาจะเรียกว่า คุยกัน เหรอ

    หรือกำหนด ให้แค่ มาฟัง แกโม้ ฝ่ายเดียว...ห้ามถาม ห้ามพิสูจน์อะไร

    กินหญ้าอ ยู่เหรอครับ:cool:
     
  14. หนึ่งจิต

    หนึ่งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    2,928
    ค่าพลัง:
    +4,388
    เนี่ย เห็นยัง ว่า หลัก กาลามสูตร10 มัน คือ ด่านที่ คนที่ต้องการจะสอนคนอื่น ต้องพิสูจน์ความจริงใจ และความตั้งใจในตนเองให้ คนอื่นเห็นก่อนว่า...มีความตั่งใจจริง ที่จะให้ธรรมเป็นทาน ได้จริงหรือ หรืออยากทำแค่ เอาหน้า....
     
  15. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สมัยหนึ่ง ใกล้ดิถีเข้าจำพรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายจากชาวเมืองต่างๆ จำนวนมาก รับกรรมฐานในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประสงค์จะเข้าจำพรรษาในที่นั้นๆ จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.
    ได้ยินว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐานทั้งหลายที่อนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท โดยนัยนี้คือ
    อสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง คือ อสุภที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ สำหรับคนราคจริต
    กรรมฐานมีเมตตากรรมฐานเป็นต้น ๔ อย่าง สำหรับคนโทสจริต
    กรรมฐานมีมรณัสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนโมหจริต
    กรรมฐานมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณเป็นต้น สำหรับคนวิตกจริต
    กรรมฐานมีพุทธานุสสติกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนสัทธาจริต
    กรรมฐานมีจตุธาตุววัตถานกรรมฐานเป็นต้น สำหรับคนพุทธิจริต.



    รูปฌาน ๔
    [๑๒๗] เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์
    เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีปีติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข
    เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. เธอสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
    มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่
    วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
    ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ฉลาด
    จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำ หมักไว้ ตกเวลาเย็นก้อนจุรณสีตัวซึ่งยาง
    ซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้
    ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว
    ที่ปีติและสุขเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า
    ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
    [๑๒๘] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิต
    ในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก วิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุข
    เกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละ ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่าน ด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ
    ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง. ดูกร
    มหาบพิตร เปรียบเหมือนห้วงน้ำลึกมีน้ำปั่นป่วน ไม่มีทางที่น้ำจะไหลมาได้ ทั้งในด้านตะวันออก
    ด้านใต้ ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วง
    น้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหนๆ
    แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้องฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละ
    ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
    ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์
    ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
    [๑๒๙] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุข
    ด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้
    เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ
    ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
    เปรียบเหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
    หรือดอกบัวขาว บางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้
    ดอกบัวเหล่านั้น ชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตลอดยอด ตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหนๆ
    แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว ทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศ
    ไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร นี้แหละ
    สามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.
    [๑๓๐] ดูกรมหาบพิตร อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่
    เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอ
    ทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่ง
    คลุมตัวตลอดศีรษะด้วยผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายทุกๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่
    ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
    ไม่มีเอกเทศไหนๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่ถูกต้อง ดูกรมหาบพิตร
    นี้แหละสามัญผลที่เห็นประจักษ์ ทั้งดียิ่งกว่า ทั้งประณีตกว่าสามัญผลที่เห็นประจักษ์ข้อก่อนๆ.

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑

    จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น


    อนุสติ 10 ความระลึกถึง, อารมณ์อันควรระลึกถึงเนืองๆ
    1. พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระองค์
    2. ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระธรรม
    3. สังฆานุสติ (ระลึกถึงพระสงฆ์ คือ น้อมจิตระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระสงฆ์
    4. สีลานุสติ ระลึกถึงศีล คือ น้อมจิตรำลึกพิจารณาศีลของตนที่ได้ประพฤติปฏิบัติบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย
    5. จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาค คือ น้อมจิตระลึกถึงทานที่ตนได้บริจาคแล้ว และพิจารณาเห็นคุณธรรมคือความเผื่อแผ่เสียสละนี้ที่มีในตน
    6. เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา คือ น้อมจิตระลึกถึงเทวดาทั้งหลายที่ตนเคยรู้และพิจารณาเห็นคุณธรรมอันทำบุคคลให้เป็นเทวดานั้นๆ ตามที่มีอยู่ในตน
    7. มรณสติ ระลึกถึงความตายอันจะต้องมีมาถึงตนเป็นธรรมดา พิจารณาที่จะให้เกิดความไม่ประมาท
    8. กายคตาสติ สติอันไปในกาย คือ กำหนดพิจารณากายนี้ ให้เห็นว่าประกอบด้วยส่วนต่างๆ อันไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นทางรู้เท่าทันสภาวะของกายนี้ มิให้หลงใหลมัวเมา
    9. อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก
    10. อุปสมานุสติ ระลึกถึงธรรมเป็นที่สงบ คือ ระลึกถึงและพิจารณาคุณของพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับกิเลสและความทุกข์

    ระวังเป็นพระอรหันต์ไม่รู้ตัว แล้วจะตายนะครับ ได้บรรลุอรหันต์เพราะ ฌาน น่ะ ใครหนอจะเป็นผู้แนะนำ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 พฤษภาคม 2015
  16. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    “เพศคฤหัสถ์ไม่สงบ เพราะความที่เป็นเพศไม่สงบ ก็เป็นเพศที่ทรามกำลัง หรืออ่อนกำลัง คฤหัสถ์ที่บรรลุความเป็นพระอรหันต์จึงต้องบวชในวันนั้นนั่นเทียว หรือไม่ก็ต้องนิพพานในวันนั้น”
    “เปรียบเหมือนว่า บุรุษผู้อ่อนแอ ทรามกำลัง มีชาติกำเนิดต่ำทราม มีบุญน้อย ได้รับราชสมบัติที่แสนยิ่งใหญ่ ก็ย่อมตกไป พลาดไป ถอยกลับไป มิอาจจะรองรับอิสสริยฐานะได้ ฉันใด คฤหัสถ์ผู้บรรลุความเป็นพระอรหัตผล ก็ย่อมไม่อาจรองรับความเป็นพระอรหัตผลโดยเพศนั้น เพราะเหตุนั้น จึงต้องบวชในวันนั้น หรือไม่ก็นิพพานในวันนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน”
     
  17. เสขะปฎิสัมภิทา

    เสขะปฎิสัมภิทา ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ตถาคต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2014
    โพสต์:
    2,790
    ค่าพลัง:
    +3,201
    สัตว์ที่ได้ฟังพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตเจ้าประกาศไว้
    มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ได้ฟังพระธรรมวินัย
    ที่พระตถาคตเจ้าประกาศไว้ มีประมาณมากกว่า
    โดยแท้

    สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ได้ มีเป็นส่วนน้อย
    สัตว์ที่ได้ฟังธรรมแล้ว ทรงจำไว้ไม่ได้
    มีประมาณมากมาก โดยแท้

    สัตว์ที่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้
    มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่ไตร่ตรองอรรถแห่งธรรม
    ที่ตนทรงจำไว้ได้ดี มีประมาณมากกว่า โดยแท้

    สัตว์ที่รู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแล้ว ปฏิบัติธรรม
    สมควรแก่ธรรม มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่รู้ทั่วถึงอรรถ
    ไม่รู้ทั่วถึงธรรม ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ธรรมนั้น
    มีประมาณมากกว่า โดยแท้

    สัตว์ที่สลดใจ ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสลดใจ
    มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่ไม่สลดใจ ในฐานะเป็นที่ตั้ง
    แห่งความสลดใจ มีประมาณมากกว่า โดยแท้

    สัตว์ที่สลดใจ แล้วเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย
    มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่สลดใจแล้ว ไม่เริ่มตั้ง
    ความเพียรโดยแยบคาย มีประมาณมากกว่า
    โดยแท้

    สัตว์ที่กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว
    ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย
    สัตว์กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว
    ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต มีประมาณมากกว่า
    โดยแท้

    สัตว์ที่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส มีเป็นส่วนน้อย
    สัตว์ที่ไม่ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส
    มีประมาณมากกว่า โดยแท้

    เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีสวนที่น่ารื่นรมย์
    มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์
    มีสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ มีประมาณเพียง
    เล็กน้อยเท่านั้น แต่ในชมพูทวีปนี้ มีที่ดอน
    ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งขวากตอและหนาม
    เป็นที่มีภูเขาระเกะระกะ
    มีประมาณมากกว่า โดยแท้ฉะนั้น

    เพราะเหตุฉะนี้แล เธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย
    พึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    "เราจักเป็นผู้ได้อรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส ให้จงได้"

    ดูกรเธอผู้เห็นภัยในวัฏสงสารทั้งหลาย!
    ขอให้เธอทั้งหลาย พึงสำเหนียกดังนี้เถิด


    มาเรียนปริยัติกันเถอะ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,430
    ค่าพลัง:
    +35,010
    ส่วนตัวมองว่า คุณ ฐสิษฐ์929 บอกว่าเป็นฌานสมาบัติ
    ดูจากหลักการที่แนะนำก็คงเป็นเทคนิคเฉพาะบุคคล..
    ต้องดูนัยยะคำว่าฌานสมาบัติของคุณ ฐสิษฐ์929
    ที่ถ่ายทอดด้วยครับ คือการรักษาอารมย์ ในอยู่ในฌานนั้นๆ
    ได้นานๆ ก็น่าจะใช่ครับ..
    ซึ่งก็ไม่ได้บอกว่าระดับไหน.
    .แต่ดูแล้วถ้าไม่สนใจเสียงคง
    จะอยู่ในระดับปฐมฌาน..
    ตรงระดับไหนคงไม่ใช่ประเด็นหลักครับ..

    อืมมมม..แต่การทำแบบนี้มันจะไปได้ตรงสัมผัสต่างๆ
    ภายในลักษณะแบบการที่โน้มให้เราอยากจะรู้
    อยากจะเห็นสิ่งๆต่างๆได้อย่างไม่รู้ตัวครับ
    ซึ่งถ้าทำนานๆมันจะส่งผลให้ปวดศรีษะ
    จากใต้กระโหลกลง
    มาถึงท้ายทอยได้เลยนะครับผมว่า
    มันค่อนข้างอันตรายครับ.
    นั่งนานๆมันอาจจะทำลายสมอง
    ทำให้เราเพี้ยนๆได้ และไม่ได้ความ
    สามารถทางจิตจริงๆ และโดนฝ่ายนามธรรม
    หลอกได้โดยที่เราไม่รู้ตัวครับ..
    ยังไงลองพิจารณาดูด้วยนะครับ
    ปล.ด้วยความเคารพ..
    .......
     
  19. GipBall

    GipBall เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    109
    ค่าพลัง:
    +182
    หลวงปู่สาวกเทพโลกอุดร
     
  20. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014









    อนุสสติ10
    เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ ทรงชี้ว่า
    เป็นทางที่เร็วที่สุด มีอานุภาพมากที่สุด
    ที่จะต่อต้านกับ มาร คือ ราคะ โลภ โกรธ หลง

    เป็นทางที่ผู้ฝึก ที่ไม่มีอาจารย์คอยแนะนำ
    แต่สามารถ สั่งสอนตนเองให้บรรลุธรรมได้
    จะต้องจำไว้ให้มั่น เพราะว่า อนุสสติ นั้น
    จะเป็นเกราะกำบัง ไม่ให้หมู่มาร มาหลอกได้ง่ายๆ

    ส่วนการเพ่ง โดยส่วนเดียว
    ไม่ว่าเพ่งอะไร ก็เป็นสมาธิทั้งหมด
    ไม่ก่อให้เกิดปัญญา
    ส่วนการฝึกเข้าญานสมาบัติ
    นั้นเป็นแนวทางของ พระอนาคามี
    และพระสกิทาคามี ชนิดแก่กล้า
    ที่ฝึกอีกนิด ก็อาจบรรลุอรหันต์โดยทันที
    ไม่ต้องผ่านชั้นอนาคา ก็ได้
    เอาไว้ฝึกตอนทำสมาธิ

    คำว่า สมาธิ เป็นของ โลกิยชน
    ส่วนคำว่า ญานสมาบัติ เป็นของพระอริยะชั้นต่างๆ
    เช่น พระโสดาบัน นั่งทำสมาธิ เรียกว่า เข้าญานชั้นโสดา
    พระสกิทาคามี นั่งทำสมาธิ เรียกว่า เข้าญานชั้นสกิทาคามี
    พระอนาคามี นั่งทำสมาธิ เรียก เข้าญานชั้นอนาคา
    ทั้งๆที่ ดูแล้ว ก็เป็นนั่งทำสมาธิเหมือนกัน
    แต่การเรียก จะแตกต่างกันไปอย่างนี้

     

แชร์หน้านี้

Loading...