พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อ๊ะ...เจอแล้วที่แท้แบทแมน ก็คือคนที่เรารู้จักนี่เอง
    เอ...หรือว่าเป็นท่านเค้านท์แดร๊ก น๊า
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 กุมภาพันธ์ 2008
  2. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    เอ้าตอบด้วยคนครับ เดี๋ยวหาว่าไม่แว๊บแล้วไม่กล้ามั่ว ขอมั่วตามนี้ครับ

    เป็นการบูชาพระรัตนตรัยครับ
    อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวาพุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ ๑ หน)
    สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโมธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ ๑ หน)
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆสังฆัง นะมามิ (กราบ ๑ หน)
    ต้องกราบทุกครั้งครั้งละ1หน ทั้งหมดเป็น111ไงครับ
     
  3. Sunny

    Sunny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    1,405
    ค่าพลัง:
    +8,071
    เฉลย

    กาย วาจา ใจ ( ก็คือสติ คือความตั้งมั่นนั้นแหละ ) คนเราถ้าไม่มีสติแล้วไซร้เชื่อได้เลยว่า เราจะเอา กาย วาจา ใจ มารวมเป็น 1 ได้อย่างไร กาย 1 วาจา 1 ใจ 1 ( 111 ) คือสติ ทำอย่างไร ๆ ก็ย่อมออกมาเป็น 1 สติจะเกิดจากการอบรมสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 1 ( คือองค์ปัจจุบัน ) พระพุทธโคดม พระพุทธเจ้า ทั้ง 4 พระองค์ท่านทรงสอนให้เรามีสติตั้งมั่นกันทั้งนั้น โดยยึด กาย วาจา ใจ มาทำอารมณ์ให้เป็น 1 ( เอกา ) ผู้ที่ตอบมา 3 ท่านแรก ได้รับราวัลทุกท่านครับ ส่วนคุณตั้งมั่นได้รับกริ่งปวเรศเนื้อผง(หายากมาก) สำหรับอีก 2 ท่านก็ได้สมเด็จโต ( เศียรโล้น ) วังหน้าเม็ดพระธาตุ 7 ศรี ราคาไม่ต้องคำหนึ่งให้เป็นน้ำใจครับ
    หมายเหตุ ขอให้ท่าน จงใช้ กาย วาจา ใจ ในทางที่ดี ( 1. อย่าใช้กายของตัวเองตั้งตัวเป็นคนเก่งยกต้นเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ว่าเก่งอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องพิจารณาทั้งรูปลักษณ์ อย่ายกกายหรือตนของคนอื่นมาเป็นที่ตั้งว่าดีตลอดต้องศึกษาก่อนเชื่อ 2. อย่าใช้วาจาจากคำพูดของชาวบ้านมาเรียบเรียงความโดยที่ท่านไม่รู้(หมายถึงไม่ต้องไปหรอกเรียนแบบโดยที่ตัวเองทำไม่ได้และไม่รู้ก็เอาคำของคนอื่นมาใช้แล้วอ้างอิง) กรุณาศึกษาให้แน่ใจไม่อย่างนั้นท่านก็ต้องโดนโจมตีอยู่ตลอดเวลา 3. ใจของท่านต้องมั่นในสิ่งที่ท่านทำ ไม่ใช้ใจรวนเร คิดมาก ใจของท่านกำลังคิดทำอะไรอยู่ย่อมรู้ดีของบางอย่างเขามีที่มาที่ไป มีทั้งเก่าปลอมมาแต่ 20 ปี เก่าแท้มา20 กว่าปี ( มีของแท้ย่อมมีของเรียนแบบ ไม่ใช้เฉพาะพระวังหน้าปลอมนะครับเพราะราคา 10 ล้าน 20 ล้านยังมีทำกันเป็นแก๊งเลย เราจงคั้งมั่นในสิ่งที่เรามี แล้วภาวนาก็จะบังเกิดผล
    หมายเหตุ 2 การมี่จะเดินสายธรรมหรือเจริญรอยตามการปฏิบัติเพื่อหวังหลุดพ้นนั้นถ้ายังทำกันอยู่อย่างนี้ผมว่าไม่ควรทำกันถ้าท่านยังเข้าใจเลข 111
    ก็ไม่ควรทำ ไม่ใช้บูชาพระกันมากมายแล้วไม่ปฏิบัติ( ผมจะบอกให้ว่าลูกศิษย์ผมคนหนึ่งไม่เอ่ยนามแขวนพระวังหน้าแบบพวกคุณไม่เคยเห็นก็แล้วกันมแบบเห็นแล้วก็บอกได้ว่ามันมีพระพิมพ์นี้ด้วยหรือ
    หมายเหตุ 3 เว็ปพระพุทธศาสนานะครับไม่ใช้เว็ปปากคลองตลาดถ้าพวกท่านยังไม่เข้าใจคำว่าพระพุทธศาสนาก็อย่าเข้ามาในเว็ปเลย ศึกษาคำว่าพระพุทธศาสนา แล้วก็ไปศึกษา คำว่า กาย วาจา ใจ ของตัวให้ดีก่อน
    ขอให้ตั้งมั่นในสิ่งที่ดี ๆ แล้วก็จะดี คิดในสิ่งที่เป็นมงคลก็จะได้สิ่วที่เป็นมงคล คิดแต่จะว่ากันแดกดันกันท่านไม่นึกหรือว่าคนอื่นเข้าจะไม่พอใจท่านเขาอาจจะเป็นเหมือนท่านแต่เขาไม่อยากจะพูดเพราะบุคคลประเภทนี้เขามี กาย วาจา ใจ ที่ดี เขาจึงเป็นคนดีในเว็ปพระพุทธศาสนา
    ท้ายนี้ขออนุโมทนากับคุณเพชรผู้ขยายความขยายธรรมต่าง ๆ ให้ผู้ที่อยากรู้จะได้เข้าใจยิ่งขึ้น ( สาธุ นะ โม พุท ทัส สะ ) สวัสดีครับ
     
  4. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099
    วันนี้ขอขอบคุณพี่หนุ่มครับ

    รูปภาพพิเศษที่ท่านพระอาจารย์ให้มา+อธิฐานจิตนี้

    มี 3 รูป (มีเจ้าของแล้ว) ขอเรียนถามว่า พี่เพชรจะให้ผมสั่งตัดกรอบใส่ไหมครับ
    รายละเอียดถามพี่หนุ่มได้ครับ

    สาธุครับ
     
  5. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์จเรมากครับที่กรุณาสั่งสอนและมอบพระให้ด้วย

    สาธุ นะ โม พุท ทัส สะ
     
  6. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ช่วยใส่กรอบให้ได้เลยครับ ขอบคุณมาก ค่าใช้จ่ายจะโอนให้นะครับ ช่วยแจ้งมาทาง PM ด้วยนะ
     
  7. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    อ่ะฝันอย่างนี้ ว่ากันว่าอย่าประมาททำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับญาติผู้ใหญ่ทันทีครับ
     
  8. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    อ้างอิง:
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-BOTTOM: 1px inset">ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ :::เพชร::: [​IMG]
    ช่วยใส่กรอบให้ได้เลยครับ ขอบคุณมาก ค่าใช้จ่ายจะโอนให้นะครับ ช่วยแจ้งมาทาง PM ด้วยนะ

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมจักดำเนินการให้ครับ สาธุครับ
    กรอบหลายไม้ ทำจากไม้ สั่งตัด ไม่แพงครับ
    พี่หนุ่มได้ไปแล้ว ผมไปจ่ายที่ร้านประจำ ทำกันหลายปี
    เห็นแล้ว งง งง ราคานี้มีด้วยแฮะ สาธุครับ


    เช้ามืดนี้ ผมฝันประหลาด

    ฝันว่าพี่หนุ่มนำผมไปศึกษาเล่าเรียนในระดับที่สูงขึ้น

    เผอิญที่พักนี่สิ พาผมไปพักที่เป็นอดีตลานประหาร

    สักพักมีท่านมาแจ้งว่า ที่นี่พักไม่ได้ ก็ไปพักที่ใหม่

    ไปที่ใหม่เสร็จ สักพักในฝันฟันหน้าบนครึ่งซีกข้างซ้ายด้านใน

    หักกระเด็นหลุดออกมา แล้วผมก็ตื่นจากฝันนั้น

    ทันทีที่ยังนอนอยู่ ผมกดบริจาควัดพระพุทธบาทน้ำผุ

    และหลังจากนั้นก็ อุทิศส่วนกุศลให้ ตามด้วยขอพระบารมีหลวงปู่

    แผ่บุญอีกครั้งนี้ นิมิตรนี้ถ้าผมเป็นเมื่อก่อน ตกใจมาก

    แต่เดี๋ยวนี้ ผมใจเย็น และต้องหาสาเหตุ ที่มาที่ไปว่าเกิดอะไรขึ้น

    คิดว่าคงต้องแก้อะไรสักอย่างครับ


    ถ้าพี่ๆ ท่านมีความรู้โปรดชี้แนะด้วยครับ
    ขอขอบคุณครับ
    สาธุครับ
    <!-- / message -->
    ขอแก้คำผิดก่อนครับ
    ลาย ไม่ใช่หลาย
    นิมิต ไม่ใช่นิมิตร

    ฝันเห็นลานประหาร ในตำราทำนายฝันของ"พลูหลวง" ขอเทียบเคียงกับสิ่งที่ดูดีที่สุดคือ"ลานโบสถ์" แปลว่า ไม่ค่อยจะสู้ดี แต่ยังอำนวยโชคให้ เพราะเห็นภายนอกโบสถ์

    ไม่ค่อยสู้ดีในด้านอื่นๆมังครับ แต่ด้านโชคลาภยังดีอยู่

    ฝันเห็นฟัน คือ สุขภาพจะแย่

    หากหักด้วยคือจะแย่มาก

    ทำนายว่า สุขภาพร่างกายช่วงนี้จะแย่มากครับ อาจเกิดการเจ็บป่วยขึ้นกระทันหัน

    ดังนั้นคำแนะนำคือ ให้ดูแลสุขภาพร่างกาย หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีความเสี่ยงให้เกิดโรค เช่นฝนตก ก็ควรหาที่หลบ เวลานอนก็ควรให้หัวอุ่น เท้าเบ็น ทำนองนี้ครับ

    และเคล็ดลับสำคัญหากเป็นพี่นะครับ พี่จะใช้หลักการแก้ความฝัน คือเวลาที่เกิดการฝันแบบนี้ ทันทีนั้นจะแก้ทาง เป็นหลักแห่งจิตใต้สำนึกนั้นเอง

    เช่นเห็นลานประหาร พี่อาจจะแก้ด้วยการเห็นสิ่งสวยงามเช่นดอกไม้ หรือนกพิราบ(เครื่องหมายของสันติภาพ)บนมาเกาะที่แท่นประหาร เพชฌฆาตจะมีหน้าตาใจดี ดาบในมือจะเป็นดาบกระดาษ แบบนี้แก้ร้ายเป็นดี ใช้ได้ผลดีมาก

    ฟันหัก เราก็แก้เป็นเห็นภาพหลุดออกแล้วงอกใหม่คราวนี้เป็นฟันเพชร คือเสียแล้วได้ของใหม่ที่ดีกว่าเดิม...

    จบคำทำนาย และคำแนะนำ
     
  9. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    [​IMG]




    ขอเชิญร่วมมหากุศลเป็นเจ้าภาพผ้าป่าสามัคคี
    “มาฆะบูชา”<O:p</O:p
    จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กอง กองละ ๑๐๐ บาท<O:p</O:p
    ร่วมสร้าง<O:p</O:p
    พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ และ ฉัตรประธานเจดีย์<O:p</O:p
    เพื่อประดิษฐาน ณ พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง
    อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    พุทธบูชา มหาเตโช
    ธัมมะบูชา มหาปัญโญ
    สังฆะบูชา มหาโภคะวะโห<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    กำหนดการ<O:p</O:p
    วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑<O:p</O:p
    ตรงกับวันมาฆะบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓<O:p</O:p
    เวลา ๑๐.๐๐ น.ถวายผ้าป่า
    ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ประธานดำเนินการฝ่ายสงฆ์<O:p</O:p
    พระธวัชชัย ชาครธัมโม<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ประธานดำเนินการฝ่ายฆารวาส<O:p</O:p
    ท่านอาจารย์ประถม อาจสาคร<O:p</O:p
    และคณะศิษยานุศิษย์หลวงปู่บรมครูพระเทพโลกอุดร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ตามที่สำนักสงฆ์ผาผึ้ง ร่วมกับคณะพุทธบริษัทได้ดำเนินโครงการจัดสร้าง พระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง มานับตั้งแต่ปลายปีพ.ศ.2549 เป็นต้นมานั้น ขณะนี้การก่อสร้างองค์พระเจดีย์ได้ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จสมบูรณ์ การดำเนินการในลำดับต่อไปคือการสร้าง”พระพุทธเจ้าห้าพระองค์” เพื่อประดิษฐานรายรอบพระเจดีย์ รวมทั้งการจัดสร้าง “ฉัตรประธานเจดีย์” และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อบรรจุไว้ภายในพระเจดีย์ เช่นพระพุทธรูปทองคำ ,พระพุทธรูปเงิน ,เจดีย์หินอ่อน ,เจดีย์ทองคำองค์เล็กเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การสร้าง”พระพุทธเจ้าห้าพระองค์” ถือเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งห้าพระองค์ในภัทรกัปป์นี้ คือ<O:p</O:p
    ๑.สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม พระกกุสันโธพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๒.สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม พระโกนาคมพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๓.สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม พระกัสสปพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๔.สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม พระสมณโคดมพุทธเจ้า<O:p</O:p
    ๕.พระศรีอาริยเมตไตรย์พุทธเจ้า<O:p</O:p
    โดยจะจัดสร้างพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๓๕ นิ้ว รูปแบบพระเชียงแสน ปางต่างๆ คือ ปางสมาธิ ,ปางประทานพร ,ปางมารวิชัย ,ปางปฐมเทศนา และปางจักรพรรดิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    สำหรับ”ฉัตรประธานเจดีย์” ออกแบบโดยช่างสิบหมู่ผู้ชำนาญเฉพาะของกรมศิลปากร จัดสร้างเป็นฉัตร ๙ ชั้น ลงรักปิดทอง ฉลุลายโปร่ง มีลวดลายดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ประดับด้วยแก้วมณีหลากสี ปลายยอดสุดของฉัตรพระเจดีย์ ประดับบัวยอดฉัตรทองคำ ทำด้วยทองคำบริสุทธิ์ ๙๙.๙๙ % อันแสดงถึงตำแหน่งของอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นการบรรลุธรรมชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p
    ขออำนาจอันศักดิ์สิทธิ์แห่งคุณพระศรีรัตนตรัยอันมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์ พระอรหันต์เจ้าและครูบาอาจารย์ผู้ทรงพระคุณทั้งหลาย รวมทั้งอนิสงส์ผลบุญที่ท่านได้ร่วมในบุญอันประเสริฐครั้งนี้ ขอเป็นพลปัจจัยส่งผลให้ท่านถึงพร้อมด้วยความเจริญรุ่งเรือง สมบูรณ์พูนผลในมนุษย์สมบัติทุกๆด้าน ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสมประสงค์ในสิ่งที่ปรารถนาไว้ทุกประการจนกว่าจะเข้าถึงซึ่งพระนิพพานเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
    <O:p</O:p
    http://palungjit.org/showthread.php?t=22445&page=722

    <TABLE class=tborder id=post957825 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">3-2-2551, 08:50 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14426</TD></TR></TBODY></TABLE>


    เรียน พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ทุกๆท่าน

    ท่านใดที่มีความประสงค์ที่จะเดินทางไปงานทอดผ้าป่าผ้าป่าสามัคคี "มาฆะบูชา” จำนวน ๑๐๐,๐๐๐ กอง กองละ ๑๐๐ บาท ที่สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ กับคณะรถตู้ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 ผมขอความกรุณาช่วยแจ้งให้ผมทราบด้วยภายในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 ผมจะได้จัดจำนวนท่านที่จะไปได้ถูกต้อง

    ส่วนค่ารถตู้นั้น ก็จะแชร์ค่าใช้จ่ายกัน ในเบื้องต้นนั้น ผมจะขอค่ารถตู้ก่อน ท่านละ 700 บาท ถ้าเหลือจากค่ารถนั้น ผมขอนำไปร่วมทำบุญในการสร้างพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ แต่ถ้าขาดคงต้องขอเพิ่มเติมกัน


    ส่วนท่านที่จะไปงานผ้าป่ามหากุศลกับรถตู้ เมื่อพี่แอ๊วแจ้งมาแล้วว่า จะนัดกันไปรับที่จุดใด ผมจะมาแจ้งให้ทราบกันอีกครั้ง


    <TABLE class=tborder id=post957909 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 0px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid">วันนี้, 09:23 AM <!-- / status icon and date --></TD><TD class=thead style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 1px solid; FONT-WEIGHT: normal; BORDER-LEFT: #ffffff 0px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px solid" align=right>#14431</TD></TR></TBODY></TABLE>

    งานผ้าป่ามหากุศลที่ สนส.ผาผึ้ง เริ่มเดินทางออกจากกรุงเทพฯ ประมาณ 04.00 น. (จะนัดกันรับเป็นจุดใหญ่ๆ) ไปถึงที่ สนส.ผาผึ้งประมาณ 9.00 น. เริ่มถวายผ้าป่าประมาณ 10.00 น. หลังจากถวายผ้าป่าเรียบร้อยแล้ว ก็รับประทานอาหารกลางวันกัน ประมาณบ่ายโมงถึงบ่ายสองโมง ก็เดินทางกลับกรุงเทพฯ

    การทอดผ้าป่ามหากุศล จะทำกันเรียบง่าย แต่ได้บุญกันเต็มเปี่ยมครับ
    สำหรับงานผ้าป่ามหากุศล ที่สนส.ผาผึ้ง ผมมาแจ้งรายละเอียดพระพิมพ์ที่ผมจะมอบให้กับท่านที่ร่วมทำบุญครับ

    ท่านที่ร่วมทำบุญ 12,000 บาท ได้รับล็อกเก็ตและพระพิมพ์ชุดผงยาวาสนา มีทั้งหมด 10 ชุด คงเหลือ 7 ชุด (ทางพี่แอ๊ว 1 ชุด ,คุณnongnooo 1 ชุด,คุณkaipc 1 ชุด)

    แต่สำหรับท่านที่ไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาเลย ต้องร่วมทำบุญ 40,000 บาท ผมจึงจะมอบล็อกเก็ตและพระพิมพ์ชุดผงยาวาสนาให้ 1 ชุดครับ


    [​IMG]

    ส่วนท่านที่ร่วมทำบุญ 2,000 บาท ผมมอบพระสมเด็จอกครุฑ ให้ 1 องค์ มีทั้งหมด 5 องค์ (ไม่มีรูป) คงเหลือ 4 องค์ (คุณเทพารักษ์ 1 องค์)

    แต่ถ้าท่านใดไม่เคยร่วมทำบุญสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้งมาเลย ต้องร่วมทำบุญ 5,000 บาท ผมจึงมอบพระสมเด็จอกครุฑให้ 1 องค์ครับ

    ท่านที่ร่วมทำบุญ 1,000 บาท ผมมอบพระปิดตาวังหน้าสองหน้า (มีทั้งเนื้อสีขาวและสีดำ) 1 องค์ มีทั้งหมด 20 องค์ (สีละ 10 องค์) คงเหลือ 19 องค์ (คุณตั้งจิต 1 องค์)
    [​IMG]

    พระพิมพ์ที่ผมมอบให้ท่านที่ร่วมทำบุญในกระทู้ขอเชิญร่วมสร้างพระเจดีย์ศรีชัยผาผึ้ง ณ สำนักสงฆ์ผาผึ้ง อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ บมจ.ธนาคารกรุงไทย สาขาลาดพร้าว 102 บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 189-0-13128-8 ชื่อบัญชี นางพิชญ์สินี ชาญปารีชญา ,นายอุเทน งามศิริ ,นายสิรเชษฏ์ ลีละสุนทเลิศ นั้น มีความแตกต่างกันกับพระพิมพ์รุ่นเดียวกัน(องค์เดิมและองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิม)อย่างสิ้นเชิง โดยผมได้นำพระพิมพ์ของวังหน้า นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกด้วยกัน 3 ครั้ง


    1.ครั้งแรกในเดือน มกราคม 2550
    ผมนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก การอาราธนาพระบารมี พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า และหลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า
    ซึ่งผมเรียกพระพิมพ์ที่เข้าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนี้ว่า พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2


    2.ครั้งที่สองในเดือนกุมภาพันธ์ 2550
    ผมนำพระพิมพ์เข้าพิธีพุทธาภิเษก การอาราธนาพระบารมี พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า และหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์
    ซึ่งผมเรียกพระพิมพ์ที่นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งที่สองว่า พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2

    พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า ,พระอุปคุตเถระเจ้า
    ลงประวัติและคำบูชา(บทสวด)ด้วยครับ

    กระทู้ พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....
    เริ่มตั้งแต่กระทู้หมายเลข # 3116
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=312
    http://www.palungjit.org/board/showt...22445&page=313

    และ # 3161
    http://www.palungjit.org/board/showthread.php?t=22445&page=317



    พระพิมพ์ชุดพิเศษ 2 องค์ผู้อธิษฐานจิต พระสิวลีเถระเจ้า ,พระอนุรุทเถระเจ้า,พระอุปคุตเถระเจ้าและหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร อธิษฐานจิตให้ ส่วนองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิม ผมไม่แจ้งให้ทราบ เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่ พลังองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่คลุมพลังองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิมครับ

    3.ครั้งที่สามในเดือน เมษายน (วันเสาร์ที่ 7 เมษายน 2550)
    ผมนำเข้าพิธีพุทธาภิเษก รับพระเมตตา,พระกรุณา และขอพระบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกกุสันโธ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตพระพิมพ์ให้
    ซึ่งผมเรียกพระพิมพ์ที่นำเข้าพิธีพุทธาภิเษกในครั้งที่สาม นี้ว่า พระพิมพ์ชุดพิเศษ 3 รุ่นฟ้าลิขิต
    ได้รับพระเมตตา,พระกรุณา และขอพระบารมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามกุกุธสันโธ ,หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ และสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี อธิษฐานจิตพระพิมพ์ให้ (ส่วนองค์ผู้อธิษฐานจิตพระพิมพ์เดิม ผมขอสงวนสิทธิ์ไม่แจ้งให้ทราบครับ เนื่องจากองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่ พลังองค์ผู้อธิษฐานจิตใหม่คลุมพลังองค์ผู้อธิษฐานจิตเดิมครับ) พลังอิทธิคุณครอบจักรวาล<O:p</O:p
    <O:p</O:pท่านใดที่บูชาไปแล้ว ขอให้แยกเก็บจากพระพิมพ์ทั่วๆไป และเก็บไว้ในที่สูง อีกเรื่องคือให้ระวังการปรามาสให้จงหนัก กรรมเร็วและแรงมากครับ<O:p</O:p
    <!-- / message --><!-- attachments -->
     
  10. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อานิสงส์ สร้างพระพุทธรูป

    พระเทพสิงหบุราจารย์


    พระพุทธรูป หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าพระรูปของพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปจะมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง? การสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์มากมายหลายประการ เหลือที่จะนับจะประมาณได้ จะขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้แต่พอเป็นตัวอย่าง หรือพอเป็นแนวทางเท่านั้นคือ

    ๑. ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการคือ

    ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน หมายความว่า ผู้นั้นต้องเอาพระพุทธรูปไปถวายพระสงฆ์ไว้ในวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณรหรืออุบาสกอุบาสิกาได้กราบไหว้สักการะบูชา และก่อนที่จะได้ถวายตัวเองก็ต้องบริจาคเงินสร้างหรือเช่ามาแล้วนี้เป็นทานมัยกุศลชั้นต้น ต่อมาก็มีการเฉลิมฉลองอีก ตัวเองก็บริจาคจตุปัจจัยไทยทานถวายพระทำบุญ นี้เป็นทานมัยกุศลชั้นที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะสร้างไปไว้ที่บ้านเพื่อสักการะบูชา ก็ต้องปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อวาได้บำเพ็ญทานมัยกุศลไปด้วย

    ๒) ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายความว่า ก่อนแต่จะทำการถวายทานหรือถวายพระพุทธรูป เจ้าภาพก็ต้องสมาทานศีลเสียก่อน ศีลที่สมาทานคราวนี้เกิดขึ้นเพราะการสร้าพระพุทธรูปเป็นปัจจัย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญศีลมัยกุศลไปด้วย

    ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คำว่าภาวนานั้นมีสองอย่างคือ สมถภาวนา ๑ วิปัสสนาภาวนา ๑ การได้เห็นพระพุทธรูปด้วยตาได้กราบได้ไหว้ด้วยกาย ได้เปล่งวาจาระลึกถึงพระพุทธคุณ ใจก็น้อมนึกไปตาม ว่าผู้นั้นได้เจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน จัดเป็นสมถกรรมฐานเป็นมหากุศล ตายด้วยจิตดวงเดียว อย่างต่ำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างกลางสามารถไปเกิดในสวรรค์ อย่างสูงสามารถไปสู่พระนิพพานได้ ดังพระปิติมัลละเถระเป็นตัวอย่าง คือพระเถระนั้นได้กวาดลานวัดแต่เช้าตรู่ ได้เห็นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทวดานฤมิตนั้นขึ้น พอท่านเห็นก็เกิดปีติแล้วยกปีติขึ้นพิจารณา เจริญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญภาวนากุศลไปด้วย

    ๔) อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญโดยคุณ โดยวัย โดยชาติ การไหว้พระพุทธรูป ไหว้พระสงฆ์ หรือไหว้ผู้แก่กว่า ชื่อว่าได้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญอปจายนมัยกุศลไปด้วย

    ๕) ไวยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น จะต้องอาศัยคนเป็นจำนวนมาก การวิ่งเต้นช่วยกันในงานหล่อพระในงานฉลองพระ เป็นต้น ถือว่าเป็นมหากุศลมีผลไม่น้อย เช่น พระเจ้าจันทปัชโชติ พระไวยาวัจจกเถระ เป็นตัวอย่างดังนี้คือ

    ก. พระเจ้าจันทปัชโชติ ได้ช่วยนายรับบาตรพระมาใส่อาหารและนำกลับไปถวายพระ ปรารถนาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และปรารถนาให้มียานพาหนะดี เดินทางได้วันละหลายๆ โยชน์ และปรารถนาให้ตนมีอำนาจวาสนามาก ครั้นตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีนามว่า พระเจ้าจันทปัชโชติสมความปรารถนา

    ข. พระไวยาวัจจกเถระ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสี ท่านเป็นผู้ช่วยเหลือในกิจการของวัดและได้ช่วยเหลือในงานทำบุญต่างๆ ตายจากชาตินั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ จุติมาเกิดเป็นพระราชาได้ออกบวชเจริญวิปัสสนากรรมฐานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แตกฉานในปฏิสัมภิพาทั้ง ๔ ได้วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญไวยาวัจจมัยกุศลไปด้วย

    ๖) ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ หมายความว่า ผู้ที่ได้สร้างพระพุทธรูปจำเป็นอยู่เองที่จะบอกญาติสนิทมิตรสหายให้ทราบ เพื่อร่วมอนุโมทนาในการฉลองพระ การถวาย เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะต้องอุทิศส่วนกุศลส่วนบุญให้แก่บิดามารดาปู่ย่าตายาย ท่านผู้มีพระคุณ เทพบุตร เทพธิดา เป็นต้นอีก ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตติทานมัยกุศลไปด้วย

    ๗) ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายความว่า เมื่อผู้สร้างพระพุทธรูปได้บอกบุญแจ้งข่าวแก่ญาติมิตรแล้ว ญาติมิตรเหล่านั้นก็จะต้องพากันอนุโมทนาต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อผู้อื่นมาอนุโมทนาท่านเจ้าภาพก็พลอยปลื้มปีติอนุโมทนาสาธุการตอบอีก การปฏิบัติอย่างนี้ จัดเป็นมหากุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตตานุโมทนามัยกุศลไปด้วย

    ๘) ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น เจ้าภาพบางคนก็ได้นิมนต์พระไปสวดชะยันโต เจริญพระพุทธมนต์ แสดงธรรม และเจ้าภาพบางคนได้พิมพ์หนังสือธรรมแจกเป็นธรรมทานในงานฉลองพระ เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ ชื่อว่าได้ให้ธรรมเป็นทานด้วย ตัวเองและผู้ได้มาร่วมงานก็ได้ฟังธรรมไปด้วย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมัสวนมัยกุศลไปด้วย

    ๙) ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม หมายความว่า การที่พระสงฆ์ได้มาสวดมนต์สวดชะยันโต หรือแสดงธรรมนั้น ก็เพราะเจ้าภาพเป็นผู้อาราธนามา นี้ชื่อว่าเจ้าภาพได้บุญอันสำเร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมเทสนามัยกุศลไปด้วย

    ๑๐)ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง หมายความว่า กุศลนั้นมีอยู่ ๔ ชั้นคือ

    ๑.กุศลชั้นกามาวจร ได้แก่ มหากุศลต่างๆ มีการสร้างพระพุทธรูป ถวายทาน สร้างศาลา ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น

    ๒.กุศลชั้นรูปาวจร ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน เช่น พุทธานุสสติ เป็นต้น

    ๓.กุศลชั้นอรูปาวจร ได้แก่ การเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ มีอากานัญจายตนะ เป็นต้น

    ๔.กุศลชั้นโลกุตตระ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทานในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรงเห็นถูกแท้ เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย

    ๑.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

    ๒.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย

    คัดลอกจาก อานิสงส์ สร้างพระพุทธรูป

    พระเทพสิงหบุราจารย์


    พระพุทธรูป หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าพระรูปของพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปจะมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง? การสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์มากมายหลายประการ เหลือที่จะนับจะประมาณได้ จะขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้แต่พอเป็นตัวอย่าง หรือพอเป็นแนวทางเท่านั้นคือ

    ๑. ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการคือ

    ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน หมายความว่า ผู้นั้นต้องเอาพระพุทธรูปไปถวายพระสงฆ์ไว้ในวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณรหรืออุบาสกอุบาสิกาได้กราบไหว้สักการะบูชา และก่อนที่จะได้ถวายตัวเองก็ต้องบริจาคเงินสร้างหรือเช่ามาแล้วนี้เป็นทานมัยกุศลชั้นต้น ต่อมาก็มีการเฉลิมฉลองอีก ตัวเองก็บริจาคจตุปัจจัยไทยทานถวายพระทำบุญ นี้เป็นทานมัยกุศลชั้นที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะสร้างไปไว้ที่บ้านเพื่อสักการะบูชา ก็ต้องปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อวาได้บำเพ็ญทานมัยกุศลไปด้วย

    ๒) ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายความว่า ก่อนแต่จะทำการถวายทานหรือถวายพระพุทธรูป เจ้าภาพก็ต้องสมาทานศีลเสียก่อน ศีลที่สมาทานคราวนี้เกิดขึ้นเพราะการสร้าพระพุทธรูปเป็นปัจจัย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญศีลมัยกุศลไปด้วย

    ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คำว่าภาวนานั้นมีสองอย่างคือ สมถภาวนา ๑ วิปัสสนาภาวนา ๑ การได้เห็นพระพุทธรูปด้วยตาได้กราบได้ไหว้ด้วยกาย ได้เปล่งวาจาระลึกถึงพระพุทธคุณ ใจก็น้อมนึกไปตาม ว่าผู้นั้นได้เจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน จัดเป็นสมถกรรมฐานเป็นมหากุศล ตายด้วยจิตดวงเดียว อย่างต่ำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างกลางสามารถไปเกิดในสวรรค์ อย่างสูงสามารถไปสู่พระนิพพานได้ ดังพระปิติมัลละเถระเป็นตัวอย่าง คือพระเถระนั้นได้กวาดลานวัดแต่เช้าตรู่ ได้เห็นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทวดานฤมิตนั้นขึ้น พอท่านเห็นก็เกิดปีติแล้วยกปีติขึ้นพิจารณา เจริญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญภาวนากุศลไปด้วย

    ๔) อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญโดยคุณ โดยวัย โดยชาติ การไหว้พระพุทธรูป ไหว้พระสงฆ์ หรือไหว้ผู้แก่กว่า ชื่อว่าได้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญอปจายนมัยกุศลไปด้วย

    ๕) ไวยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น จะต้องอาศัยคนเป็นจำนวนมาก การวิ่งเต้นช่วยกันในงานหล่อพระในงานฉลองพระ เป็นต้น ถือว่าเป็นมหากุศลมีผลไม่น้อย เช่น พระเจ้าจันทปัชโชติ พระไวยาวัจจกเถระ เป็นตัวอย่างดังนี้คือ

    ก. พระเจ้าจันทปัชโชติ ได้ช่วยนายรับบาตรพระมาใส่อาหารและนำกลับไปถวายพระ ปรารถนาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และปรารถนาให้มียานพาหนะดี เดินทางได้วันละหลายๆ โยชน์ และปรารถนาให้ตนมีอำนาจวาสนามาก ครั้นตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีนามว่า พระเจ้าจันทปัชโชติสมความปรารถนา

    ข. พระไวยาวัจจกเถระ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสี ท่านเป็นผู้ช่วยเหลือในกิจการของวัดและได้ช่วยเหลือในงานทำบุญต่างๆ ตายจากชาตินั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ จุติมาเกิดเป็นพระราชาได้ออกบวชเจริญวิปัสสนากรรมฐานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แตกฉานในปฏิสัมภิพาทั้ง ๔ ได้วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญไวยาวัจจมัยกุศลไปด้วย

    ๖) ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ หมายความว่า ผู้ที่ได้สร้างพระพุทธรูปจำเป็นอยู่เองที่จะบอกญาติสนิทมิตรสหายให้ทราบ เพื่อร่วมอนุโมทนาในการฉลองพระ การถวาย เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะต้องอุทิศส่วนกุศลส่วนบุญให้แก่บิดามารดาปู่ย่าตายาย ท่านผู้มีพระคุณ เทพบุตร เทพธิดา เป็นต้นอีก ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตติทานมัยกุศลไปด้วย

    ๗) ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายความว่า เมื่อผู้สร้างพระพุทธรูปได้บอกบุญแจ้งข่าวแก่ญาติมิตรแล้ว ญาติมิตรเหล่านั้นก็จะต้องพากันอนุโมทนาต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อผู้อื่นมาอนุโมทนาท่านเจ้าภาพก็พลอยปลื้มปีติอนุโมทนาสาธุการตอบอีก การปฏิบัติอย่างนี้ จัดเป็นมหากุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตตานุโมทนามัยกุศลไปด้วย

    ๘) ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น เจ้าภาพบางคนก็ได้นิมนต์พระไปสวดชะยันโต เจริญพระพุทธมนต์ แสดงธรรม และเจ้าภาพบางคนได้พิมพ์หนังสือธรรมแจกเป็นธรรมทานในงานฉลองพระ เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ ชื่อว่าได้ให้ธรรมเป็นทานด้วย ตัวเองและผู้ได้มาร่วมงานก็ได้ฟังธรรมไปด้วย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมัสวนมัยกุศลไปด้วย

    ๙) ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม หมายความว่า การที่พระสงฆ์ได้มาสวดมนต์สวดชะยันโต หรือแสดงธรรมนั้น ก็เพราะเจ้าภาพเป็นผู้อาราธนามา นี้ชื่อว่าเจ้าภาพได้บุญอันสำเร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมเทสนามัยกุศลไปด้วย

    ๑๐)ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง หมายความว่า กุศลนั้นมีอยู่ ๔ ชั้นคือ

    ๑.กุศลชั้นกามาวจร ได้แก่ มหากุศลต่างๆ มีการสร้างพระพุทธรูป ถวายทาน สร้างศาลา ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น

    ๒.กุศลชั้นรูปาวจร ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน เช่น พุทธานุสสติ เป็นต้น

    ๓.กุศลชั้นอรูปาวจร ได้แก่ การเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ มีอากานัญจายตนะ เป็นต้น

    ๔.กุศลชั้นโลกุตตระ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทานในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรงเห็นถูกแท้ เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย

    ๑.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

    ๒.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย

    คัดลอกจาก อานิสงส์ สร้างพระพุทธรูป

    พระเทพสิงหบุราจารย์


    พระพุทธรูป หมายความว่าอย่างไร? หมายความว่าพระรูปของพระพุทธเจ้า การสร้างพระพุทธรูปจะมีอานิสงส์อย่างไรบ้าง? การสร้างพระพุทธรูปมีอานิสงส์มากมายหลายประการ เหลือที่จะนับจะประมาณได้ จะขอยกมาแสดงไว้ในที่นี้แต่พอเป็นตัวอย่าง หรือพอเป็นแนวทางเท่านั้นคือ

    ๑. ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าได้บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ประการคือ

    ๑) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน หมายความว่า ผู้นั้นต้องเอาพระพุทธรูปไปถวายพระสงฆ์ไว้ในวัดใดวัดหนึ่ง เพื่อให้ภิกษุสามเณรหรืออุบาสกอุบาสิกาได้กราบไหว้สักการะบูชา และก่อนที่จะได้ถวายตัวเองก็ต้องบริจาคเงินสร้างหรือเช่ามาแล้วนี้เป็นทานมัยกุศลชั้นต้น ต่อมาก็มีการเฉลิมฉลองอีก ตัวเองก็บริจาคจตุปัจจัยไทยทานถวายพระทำบุญ นี้เป็นทานมัยกุศลชั้นที่ ๒ ถึงแม้ว่าจะสร้างไปไว้ที่บ้านเพื่อสักการะบูชา ก็ต้องปฏิบัติในทำนองเดียวกันนี้ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อวาได้บำเพ็ญทานมัยกุศลไปด้วย

    ๒) ศีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายความว่า ก่อนแต่จะทำการถวายทานหรือถวายพระพุทธรูป เจ้าภาพก็ต้องสมาทานศีลเสียก่อน ศีลที่สมาทานคราวนี้เกิดขึ้นเพราะการสร้าพระพุทธรูปเป็นปัจจัย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญศีลมัยกุศลไปด้วย

    ๓) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา คำว่าภาวนานั้นมีสองอย่างคือ สมถภาวนา ๑ วิปัสสนาภาวนา ๑ การได้เห็นพระพุทธรูปด้วยตาได้กราบได้ไหว้ด้วยกาย ได้เปล่งวาจาระลึกถึงพระพุทธคุณ ใจก็น้อมนึกไปตาม ว่าผู้นั้นได้เจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน จัดเป็นสมถกรรมฐานเป็นมหากุศล ตายด้วยจิตดวงเดียว อย่างต่ำต้องมาเกิดเป็นมนุษย์ อย่างกลางสามารถไปเกิดในสวรรค์ อย่างสูงสามารถไปสู่พระนิพพานได้ ดังพระปิติมัลละเถระเป็นตัวอย่าง คือพระเถระนั้นได้กวาดลานวัดแต่เช้าตรู่ ได้เห็นพระพุทธรูปของพระพุทธเจ้า ซึ่งเทวดานฤมิตนั้นขึ้น พอท่านเห็นก็เกิดปีติแล้วยกปีติขึ้นพิจารณา เจริญวิปัสสนากรรมฐานได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญภาวนากุศลไปด้วย

    ๔) อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญโดยคุณ โดยวัย โดยชาติ การไหว้พระพุทธรูป ไหว้พระสงฆ์ หรือไหว้ผู้แก่กว่า ชื่อว่าได้ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อท่านผู้เจริญ จัดเป็นบุญกิริยาวัตถุ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญอปจายนมัยกุศลไปด้วย

    ๕) ไวยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น จะต้องอาศัยคนเป็นจำนวนมาก การวิ่งเต้นช่วยกันในงานหล่อพระในงานฉลองพระ เป็นต้น ถือว่าเป็นมหากุศลมีผลไม่น้อย เช่น พระเจ้าจันทปัชโชติ พระไวยาวัจจกเถระ เป็นตัวอย่างดังนี้คือ

    ก. พระเจ้าจันทปัชโชติ ได้ช่วยนายรับบาตรพระมาใส่อาหารและนำกลับไปถวายพระ ปรารถนาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และปรารถนาให้มียานพาหนะดี เดินทางได้วันละหลายๆ โยชน์ และปรารถนาให้ตนมีอำนาจวาสนามาก ครั้นตายแล้วก็ได้ไปเกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินมีนามว่า พระเจ้าจันทปัชโชติสมความปรารถนา

    ข. พระไวยาวัจจกเถระ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าพระวิปัสสี ท่านเป็นผู้ช่วยเหลือในกิจการของวัดและได้ช่วยเหลือในงานทำบุญต่างๆ ตายจากชาตินั้นได้ไปเกิดในสวรรค์ จุติมาเกิดเป็นพระราชาได้ออกบวชเจริญวิปัสสนากรรมฐานสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แตกฉานในปฏิสัมภิพาทั้ง ๔ ได้วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญไวยาวัจจมัยกุศลไปด้วย

    ๖) ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ หมายความว่า ผู้ที่ได้สร้างพระพุทธรูปจำเป็นอยู่เองที่จะบอกญาติสนิทมิตรสหายให้ทราบ เพื่อร่วมอนุโมทนาในการฉลองพระ การถวาย เป็นต้น นอกจากนั้นยังจะต้องอุทิศส่วนกุศลส่วนบุญให้แก่บิดามารดาปู่ย่าตายาย ท่านผู้มีพระคุณ เทพบุตร เทพธิดา เป็นต้นอีก ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตติทานมัยกุศลไปด้วย

    ๗) ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ หมายความว่า เมื่อผู้สร้างพระพุทธรูปได้บอกบุญแจ้งข่าวแก่ญาติมิตรแล้ว ญาติมิตรเหล่านั้นก็จะต้องพากันอนุโมทนาต้อนรับเป็นอย่างดี เมื่อผู้อื่นมาอนุโมทนาท่านเจ้าภาพก็พลอยปลื้มปีติอนุโมทนาสาธุการตอบอีก การปฏิบัติอย่างนี้ จัดเป็นมหากุศลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูปจึงชื่อว่าได้บำเพ็ญปัตตานุโมทนามัยกุศลไปด้วย

    ๘) ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม หมายความว่า ในการสร้างพระพุทธรูปนั้น เจ้าภาพบางคนก็ได้นิมนต์พระไปสวดชะยันโต เจริญพระพุทธมนต์ แสดงธรรม และเจ้าภาพบางคนได้พิมพ์หนังสือธรรมแจกเป็นธรรมทานในงานฉลองพระ เป็นต้น การปฏิบัติเช่นนี้ ชื่อว่าได้ให้ธรรมเป็นทานด้วย ตัวเองและผู้ได้มาร่วมงานก็ได้ฟังธรรมไปด้วย ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมัสวนมัยกุศลไปด้วย

    ๙) ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม หมายความว่า การที่พระสงฆ์ได้มาสวดมนต์สวดชะยันโต หรือแสดงธรรมนั้น ก็เพราะเจ้าภาพเป็นผู้อาราธนามา นี้ชื่อว่าเจ้าภาพได้บุญอันสำเร็จจากการแสดงธรรมแล้ว ดังนั้นผู้สร้างพระพุทธรูป จึงชื่อว่าได้บำเพ็ญธัมมเทสนามัยกุศลไปด้วย

    ๑๐)ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นให้ตรง หมายความว่า กุศลนั้นมีอยู่ ๔ ชั้นคือ

    ๑.กุศลชั้นกามาวจร ได้แก่ มหากุศลต่างๆ มีการสร้างพระพุทธรูป ถวายทาน สร้างศาลา ฟังธรรม แสดงธรรม เป็นต้น

    ๒.กุศลชั้นรูปาวจร ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน เช่น พุทธานุสสติ เป็นต้น

    ๓.กุศลชั้นอรูปาวจร ได้แก่ การเจริญอรูปกรรมฐาน ๔ มีอากานัญจายตนะ เป็นต้น

    ๔.กุศลชั้นโลกุตตระ ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

    การที่ผู้สร้างพระพุทธรูปได้เกิดศรัทธา จนถึงสละเงินออกมาสร้างพระพุทธรูปได้ และออกมาทำทานในงานฉลองพระพุทธรูปได้ ชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นตรงเห็นถูกแท้ เพราะเป็นบุญของตนเอง ไม่ใช่บุญของใครเลย

    ๑.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท

    ๒.ผู้สร้างพระพุทธรูป ชื่อว่าเป็นผู้ได้เตรียมตัวก่อนตาย
    คัดลอกจาก http://www.budpage.com/budboard/show_content.pl?b=1&t=4308
     
  11. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์

    ความหมายของคำว่า “พระพุทธรูป”
    พระพุทธรูป หมายถึงรูปเหมือนของพระพุทธเจ้า หรือบางทีเรียกว่า “พระพุทธปฏิมา” แปลว่ารูปเปรียบเสมือนพระพุทธเจ้า นั่นก็คือมิใช่รูปเหมือนพระองค์จริงขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะปฏิมากรหรือจิตรกรผู้สร้างพระพุทธรูปนั้น ไม่มีใครเคยเห็นองค์จริงของพระพุทธเจ้าเลย ประติมากรรมและจิตรกรรมศิลปะในการสร้างพระพุทธรูปเกิดจากจินตนาการ เป็นพระรูปเนรมิตในมโนภาพของผู้สร้างเอง ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ สภาพแวดล้อม ทั้งเชื้อชาติ ภูมิประเทศ ความรู้ทางด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม ที่มีอยู่เดิมของช่างจะมีอิทธิพลสูง ทำให้พระพุทธรูปของแต่ละชนชาติ แต่ละยุค แต่ละสมัยแตกต่างกันออกไป เช่น พระพุทธรูปของประเทศใดจะมีพุทธลักษณะคล้ายกับชนชาตินั้น พระพุทธรูปของอินเดีย ก็ไม่เหมือนพระพุทธรูปจีนหรือธิเบต หรือเขมร หรือญี่ปุ่น เป็นต้น แม้ของชนชาติเดียวกันแต่ต่างยุคต่างสมัยกัน ก็จะมีพระพุทธลักษณะแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด แต่อย่างไรก็ตาม พุทธศาสนิกชนทุกชาติก็ถือว่าพระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระพุทธเจ้า เป็นเสมือนพระพุทธเจ้า เป็นสิ่งเคารพสักการะอย่างสูงสุด ผู้ที่พบเห็นได้เคารพสักการะบูชา กราบไหว้ ระลึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ระลึกถึงพระธรรม คำสั่งสอนของพระองค์ และพระสงฆ์สาวก ผู้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาของพระองค์ ก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะ เลื่อมใสมั่นคงในพระพุทธศาสนาสืบๆไป

    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ หมายถึงพระพุทธรูปพระพุทธเจ้า ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ในภัทรกัปปัจจุบันนี้คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ และพระเมตเตยยะ หรือพระศรีอริยเมตไตรย์
    ปริศนาธรรมที่แฝงอยู่ในองค์พระพุทธรูป
    พระพุทธรูป แม้เป็นประติมากรรมที่สร้างขึ้นจากวัตถุต่างๆ เช่น ทอง เงิน หิน ดิน ปูน หรือสิ่งใดก็ตาม เมื่อสร้างสำเร็จเป็นพระพุทธรูปแล้ว พระพุทธศาสนิกชนเมื่อทำการกราบไหว้สักการะบูชา ก็มิได้กราบไหว้วัสดุที่สร้าง แต่จะเคารพ สักการะ บูชา และปฏิบัติต่อพระพุทธรูปนั้นเหมือนปฏิบัติต่อองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดุจพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เป็นสิ่งที่เคารพสักการะสูงสุด ฉะนั้น ในการสร้างพระพุทธรูป ช่างผู้สร้างจะต้องบรรจงสร้างให้มีมิติที่สมบูรณ์แบบที่สุด เพื่อให้ตรงกับพระพุทธลักษณะพระมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ คือพระลักษณะปลีกย่อยของพระมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการด้วย พระพุทธคุณที่มีอยู่ในพระองค์ด้วย อันประกอบด้วยพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ตลอดจนพุทธคุณ ๙ ประการ คือ อรหันต์ เป็นผู้ปราศจากกิเลส อาสวะทั้งปวง ควรไหว้บูชา สัมมาสัมพุทโธ เป็นตรัสรู้เองโดยชอบ วิชชาจรณสัมปันโน เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะ สุคโต เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว โลกวิทู เป็นผู้ทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม อนุตตโร ปุริสทัมมสารถิ เป็นผู้ฝึกบุคคลที่ควรฝึกทั้งเทวดาและมนุษย์ ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า สัตถา เทวะมนุสสานัง เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พุทโธ เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานแล้ว ภควา เป็นผู้จำแนกธรรม และผู้สร้างต้องเข้าใจในหลักพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อย่างแท้จริง จนเกิดมโนภาพเนรมิตพระพุทธรูปเพื่อสื่อแทนพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้และสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้พ้นทุกข์ด้วย ฉะนั้น พระพุทธรูปจึงเป็นประติมากรรมชั้นเลิศที่บ่งบอกพุทธลักษณะอันเลิศกว่าเทวดาและมนุษย์ของพระพุทธองค์ให้ได้มากที่สุด และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ผสมกลมกลืนเข้ากับพระพุทธคุณในส่วนที่พระองค์มีอยู่จริง ผสมกลมกลืนเข้ากับหลักปรมัตถธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ และบ่งบอกถึงพระพุทธองค์ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะทั้งปวง พระพุทธรูปจึงแฝงไว้ซึ่งปริศนาธรรมทางพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้พบเห็นมีจิตเคารพเลื่อมใสในพระพุทธองค์ กราบไหว้สักการะเคารพรำลึกถึงพระพุทธองค์ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ ซึ่งเป็นคำสอนอันเป็นปรมัตถสัจธรรม เป็นเบื้องต้นในการก่อให้ศรัทธาในพระพุทธศาสนา และส่งผลไปสู่การน้อมนำพระธรรมไปปฏิบัติซึ่งเป็นธัมมานุธัมมะปฏิบัติ คือปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมตามกำลังของตน เพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์คือกิเลสอาสวะทั้งปวงต่อไป
    มหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ
    ดังได้กล่าวมาแล้วว่า ช่างผู้สร้างพระพุทธรูปได้รังสรรค์เนรมิตพระพุทธรูป ให้มีพระพุทธลักษณะใกล้เคียงพระพุทธองค์ตามมโนภาพ อุดมคติของตนเอง โดยยึดหลักของมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ พระลักษณะข้อปลีกย่อยของมหาบุรุษลักษณะอีก ๘๐ ประการ ดังนั้นจะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปจึงมีพุทธลักษณะไม่เหมือนรูปปั้นประติมากรรมของคนทั่วไป ซึ่งมีนิ้วพระหัตถ์ นิ้วพระบาทยาวเสมอกัน พระขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนู เป็นต้น อันนี้ก็เนื่องมาจากจินตนาการจากพระลักษณะของพระมหาบุรุษและอนุพยัญชนะนั้นเอง
    ในมหาปทานสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค และลักขณสูตร ปาฏิกวรรค พระสุตตันตปิฎก ได้กล่าวถึงมหาบุรุษลักษณะของพระพุทธองค์ไว้ ๓๒ ประการ คือ
    ๑. สุปติฏฺฐิตปาโท มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน ๒. เหฎฺฐาปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ ลายพื้นพระบาทเป็นจักร ๓. อายตปณฺหิ มีส้นพระบาทยาว (ถ้าแบ่ง ๔. พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) ๔. ทีฆงฺคุลิ มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย) ๕. มุทุตลนหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม ๖. ชาลหตฺถปาโท ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย ๗. อุสฺสงฺขปาโท มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน ๘. เอณิชงฺโฆ พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย ๙. ฐิตโก ว อโนมมนฺโต อุโภหิ ปาณิตเลหิ ชณฺณุกานิ ปรามสติ เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับถึงพระชานุ ๑๐. โกโสหิตวตฺถคุยฺโห มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก ๑๑. สุวณฺณวณฺโณ มีฉวีวรรณดุจสีทอง ๑๒. สุขุมจฺฉวิ พระฉวีละเอียด ธุลีละอองไม่ติดพระกาย ๑๓. เอเกกโลโม มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้นๆ ๑๔. อุทฺธคฺคโลโม เส้นพระโลมาดำสนิท เวียนเป็นทักษิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน ๑๕. พฺรหฺมชุคตฺโต พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม ๑๖. สตฺตุสฺสโท มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือหลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ พระอังสาทั้ง ๒ กับลำพระศอ) ๑๗. สีหปุพฺพฑฺฒกาโย มีส่วนพระสรีรกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ ๑๘. ปีตนฺตรํโส พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน ๑๙. นิโครธปริมณฺฑโล ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร (พระกายสูงเท่ากับวาของพระองค์) ๒๐. สมวฏฺฏกฺขนฺโธ มีลำพระศอกลมงามเสมอตลอด ๒๑. รสคฺคสคฺคี มีเส้นประสาทสำหรับรับรสพระกระยาหารอันดี ๒๒. สีหหนุ มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์) ๒๓. จตฺตาฬีสทนฺโต มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) ๒๔. สนทนฺโต พระทนต์เรียบเสมอกัน ๒๕. อวิวรทนฺโต พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง ๒๖. สุสุกฺกทาโฐ เขี้ยวพระทนต์ทั้ง ๔ ขาวงามบริสุทธิ์ ๒๗. ปหูตชิวฺโห พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฎได้) ๒๘. พฺรหฺมสโร กรวิกภาณี พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก ๒๙. อภินีลเนตฺโต พระเนตรดำสนิท ๓๐. โคปขุโม ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด ๓๑. อุณฺณา ภมุกนฺตเร ชาตา มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักษิณาวัฏ ๓๒. อุณฺหิสสีโส มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์
    อนุพยัญชนะ ๘๐
    อนุพยัญชนะ หมายถึงลักษณะข้อปลีกย่อยหรือส่วนประกอบเสริมของพระมหาบุรุษลักษณะ ซึ่งช่างผู้บรรจงสร้างพุทธปฏิมาจะต้องคำนึงถึงด้วย มี ๘๐ ประการ คือ
    ๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม ๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย ๓. นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี ๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง ๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง ๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะ มิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก ๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา ๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแห่งกุญชรชาติ ๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช ๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์ ๑๒. พระดำเนินงามดุจอุสภราชดำเนิน ๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน ๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก ๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์คือมิได้มีกิริยามารยาทคล้ายสตรี ๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง ๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก ๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ ๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองกลมงามดุจลำสุวรรณกัททลี ๒๐. ลำพระกรทั้งสองงามดุจงวงแห่งเอราวัณเทพยหัตถี ๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คือ งามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ ๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรจะบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย ๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนึ่ง ๒๔. พระสรีรกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง ๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง ๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง ๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติ ประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ ๒๘. มีพระนาสิกอันสูง ๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม ๓๐. มีพระโอษฐ์เบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก ๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน ๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์ ๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย ๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๓๕. พระเขี้ยวทั้ง ๔ กลมบริบูรณ์ ๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานยาวสวย ๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน ๓๘. ลายพระหัตถ์มีรอยอันลึก ๓๙. ลายพระหัตถ์มีรอยอันยาว ๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด ๔๑. ลายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง ๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ ๔๓. กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์ ๔๔.กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน ๔๕. ดวงพระเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น ๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้งอมิได้คด ๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม ๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันงามแดงเข้ม ๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสัณฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ ๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม ๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่ใดอันหนึ่ง ๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่มิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง ๕๓. พระเศียรมีสัณฐานงามเหมือนฉัตรแก้ว ๕๔. ปริมณฑลพระนลาฎโดยกว้างยาวพอสมกัน ๕๕. พระนลาฎมีสัณฐานอันงาม ๕๖. พระโขนงมีสัณฐานอันงามดุจคันธนูอันก่งไว้ ๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด ๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วล้มราบไปโดยลำดับ ๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่ ๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร ๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ ๖๓. พระสรีรกายมิได้มัวหมอง ผ่องใสอยู่เป็นนิตย์ ๖๔. พระสรีรกายสดชื่นดุจดวงดอกปทุมชาติ ๖๕. พระสรีรสัมผัสอ่อนนุ่มสนิท บ่มิได้กระด้างทั่วทั้งพระกาย ๖๖. กลิ่นพระกายหอมฟุ้งดุจกลิ่นสุคนธกฤษณา ๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น ๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย ๖๙. ลมอัสสาสะปัสสาสะ ลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด ๗๐. พระโอษฐ์มีสัณฐานอันงามดุจแย้ม ๗๑. กลิ่นพระโอษฐ์หอมดุจกลิ่นอุบล ๗๒. พระเกศาดำเป็นแสง ๗๓. กลิ่นพระเกศาหอมฟุ้งขจรตลบ ๗๔. กลิ่นพระเกศาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ ๗๕. พระเกศามีสัณฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น ๗๖. พระเกศาดำสนิททั้งสิ้น ๗๗. พระเกศากอปรด้วยเส้นอันละเอียด ๗๘. เส้นพระเกศามิได้ยุ่งเหยิง ๗๙. เส้นพระเกศาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆเส้น ๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแห่งพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ ฯ
    สาเหตุแห่งการสร้างพระพุทธรูป
    พระพุทธเจ้าทรงแสดงสัมมาสัมพุทธเจดีย์ไว้ ๔ ประเภท คือ
    1. พระธาตุเจดีย์
    2. บริโภคเจดีย์
    3. ธรรมเจดีย์
    4. อุทเทสิกเจดีย์
    พระธาตุเจดีย์ หมายเอาพระบรมสารีริกธาตุทั้ง ๘ ส่วน จำนวน ๑๖ ทะนาน บริโภคเจดีย์ หมายเอาสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ปรินิพพาน และอัฏฐบริขารที่พระองค์ทรงใช้สอย เช่น บาตร จีวร ที่กรองน้ำ เป็นต้น ธรรมเจดีย์ หมายเอาผู้ที่แสวงหาพระบรมสารีริกธาตุและอัฏฐบริขารของพระองค์เพื่อมาสร้างเป็นพระสถูปไม่ได้ เมื่อประสงค์จะสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้เป็นที่กราบไหว้สักการะบูชา ก็ได้นำเอาพระธรรมจารึกไว้ในแผ่นทองคำบ้าง ศิลาบ้าง ใบลานบ้าง บรรจุไว้ในพระเจดีย์แทนพระบรมสารีริกธาตุ อีกนัยหนึ่ง หมายเอาพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงไว้จำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นเจดีย์ที่พุทธบริษัทจะพึงนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อเป็นประโยชน์และความสุขแก่ตนและผู้อื่น ส่วนอุทเทสิกเจดีย์ หมายเอา พระพุทธรูปที่พุทธศาสนิกชนสร้างขึ้นเพื่อเคารพสักการะแทนพระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    จะเห็นได้ว่า พระพุทธรูปก็นับเนื่องในสัมมาสัมพุทธเจดีย์ จึงมีความสำคัญและมีคุณค่ายิ่งสำหรับพุทธศาสนิกชน ซึ่งการสร้างพระพุทธรูปถือว่าเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกอย่างหนึ่งด้วย เนื่องจากเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้า ซึ่งเสมือนพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ และชาวพุทธมีความรู้สึกเหมือนปฏิบัติ เคารพ สักการบูชาด้วยอามิสบูชาและปฏิบัติบูชาต่อพระพุทธเจ้า อนึ่ง พระพุทธรูปเป็นทั้งสัญลักษณ์ เครื่องหมายของพระพุทธศาสนาและความดีงามทั้งพุทธภาวะที่เป็นธรรมกายและพระพุทธคุณ ตลอดจนสื่อถึงปรมัตถธรรมซึ่งเป็นแก่นพระพุทธศาสนา นอกจากนี้พระพุทธรูปยังเป็นสิ่งที่แสดงถึงศรัทธาอันแรงกล้าของพุทธศาสนชิกชน ที่สร้างพระพุทธรูปเพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นแหล่งรวมศรัทธาปสาทะของชาวพุทธทั้งมวลตลอดกาลนานอีกด้วย
    ความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป
    จากตำนานพระแก่นจันทน์ได้กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปในสมัยพุทธกาลว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงยมกปาฎิหาริย์แล้ว ได้เสด็จไปประทานพระธรรมเทศนาโปรดพุทธมารดา บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และเสด็จจำพรรษาที่นั่น พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งโกศลรัฐ ไม่ได้เห็นพระพุทธองค์ มีความรำลึกถึง จึงตรัสให้ช่างทำพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์แดง ประดิษฐานไว้เหนืออาสนะที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ
    ในที่บางแห่งได้กล่าวถึงการเขียนรูปพระพุทธเจ้าลงในแผ่นทองคำที่นำทองคำมาตีเป็นแผ่นบางๆ ขนาดองค์พระประมาณ ๑ ศอก โดยพระเจ้ามหารถราช แห่งสักกราชาวดีนคร เพื่อส่งพุทธรัตนะไปถวายพระเจ้าปัญจาลราช กษัตริย์กรุงปัญจาลราชนคร เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระพุทธรูปแล้ว ทรงโสมนัสยินดียิ่งนัก ได้นำพระพุทธรูปไปประดิษฐานในพระมณเทียร แล้วบูชาด้วยประทีป ธูปเทียนชวาลา ทรงแสดงองค์เป็นพุทธมามกะ ในเวลาต่อมาพระองค์ได้ให้ช่างแกะรูปพระพุทธเจ้าด้วยแก่นจันทน์ประดิษฐานในศาลาไม้บุนนาก แล้วทรงรับสั่งให้ปิดทององค์พระพุทธรูปเพื่อเป็นพุทธบูชา
    ส่วนในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูปว่า ได้มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้นแล้วในสมัยของพระเจ้ามิลินท์ โดยพระนาคเสนเป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้นมาองค์หนึ่ง สำเร็จด้วยฤทธิ์ของเทพยดาและอิทธิฤทธิ์คือพระแก้วมรกต
    อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่สามารถยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า พระพุทธรูปได้เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๓๗๐ โดยชาวโยนก ฝรั่งชาติกรีกที่นับถือพระพุทธศาสนา ประดิษฐานครั้งแรกในแคว้นคันธารราชหรือคันธาระ ในรัชสมัยของพระเจ้ากนิษกะ กษัตริย์กรีกองค์แรกที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนา พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคนี้เรียกว่า “พระพุทธรูปคันธาระ” จากนั้นมาการสร้างพระพุทธรูปได้มีการพัฒนาศิลปะ ให้สอดคล้องกับอุดมคติของช่างสกุลต่างๆ ของแต่ละชนชาติ แต่ละยุคสมัย เพื่อให้เกิดความงดงามเป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชน คตินิยมในการสร้างพระพุทธรูปได้แพร่ขยายไปสู่นานาประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนารวมทั้งประเทศไทยได้มีการสร้างพระพุทธรูปจำนวนมาก โดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่างๆ เช่น สมัยทวาราวดี สมัยศรีวิชัย สมัยลพบุรี สมัยเชียงแสน สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์
    พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
    พระพุทธเจ้าที่ทรงบำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ทัศ จัดเป็นบารมี ๑๐ (บารมีขั้นธรรมดา เช่น ให้สิ่งของเป็นทาน) อุปบารมี ๑๐ (บารมีระดับกลาง เช่น ให้อวัยวะเป็นทาน) ปรมัตถบารมี ๑๐ (บารมีขั้นสูงสุด เช่น สละชีวิตเพื่อเป็นทาน เป็นต้น) ได้แก่ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เต็มเปี่ยมแล้วได้เสด็จอุบัติขึ้นในมนุษย์โลก แล้วทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพื่อโปรดเวไนยสัตว์นั้น มิใช่มีแต่พระพุทธเจ้าโคตมะพระองค์ปัจจุบันนี้เท่านั้น แต่มีจำนวนหลายพระองค์เช่นกัน เมื่อพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสื่อมสิ้นไปจากโลกแล้ว โลกว่างเว้นจากพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าพระองค์อื่นๆก็เสด็จมาตรัสรู้ต่อไป ไม่ได้เสด็จมาพร้อมๆกัน หรือต่อเนื่องรับช่วงกันเป็นทอดๆ ในคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าที่เสด็จมาตรัสรู้ใกล้ๆ พระพุทธเจ้าโคตมะในกาลปัจจุบันของพวกเรา จำนวน ๒๕ พระองค์ คือ ๑. พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสปะ ๒๕. พระโคตมะ

    พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์
    พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ มีมาในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย พุทธวงศ์ โดยสังเขปดังต่อไปนี้
    ๑. พุทธประวัติพระพุทธเจ้ากกุสันธะ
    พระองค์เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ ทรงถือกำเนิดในสกุลพราหมณ์ ในเขมนคร เป็นตระกูลใหญ่ที่ชาวโลกในขณะนั้นถือว่า ประเสริฐสูงสุดกว่าตระกูลอื่น ที่มีชาติสูงสุดและมียศมาก (เรื่องนี้เป็นธรรมดาของพระโพธิสัตว์ที่จะถือกำเนิดในพระชาติสุดท้ายเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จะเลือกถือกำเนิดในตระกูลที่สูงที่สุดในยุคนั้น หากตระกูลพราหมณ์หรือตระกูลกษัตริย์ ตระกูลใดที่มหาชนยกย่องที่สุดก็จะทรงถือกำเนิดในตระกูลนั้น) พุทธบิดาคือ “อัคคิทัตตะ” พุทธมารดาคือ “วิสาขา” มีปราสาท ๓ หลัง คือ “กามวัฑฒะ”, “กามสุทธิ” และรติวัฑฒะ ทรงครอบครองฆราวาสอยู่ ๔ พันปี ภรรยาชื่อว่า “โรปินี” บุตรนามว่า “อุตระ” ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงเสด็จออกผนวชด้วยรถอันเป็นยานพาหนะ บำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม จึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้ซึก” ทรงแสดงปฐมเทศนาคือพระธรรมจักร ณ มฤคทายวัน มีอัครสาวกคือ “พระวิธุรเถระ” และ “พระสัญชีวนามเถระ” พระเถระชื่อ “พุทธิชะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก พระอัครสาวิกาคือ “พระสามาเถรี” และ “พระจัมมปนามาเถรี” อุบาสกเป็นอัครอุปัฏฐาก คือ “อัจจคตอุบาสก” และ “สุมนอุบาสก” อุบาสิกาเป็นอัครอุปัฏฐายิกา คือ “นันทาอุบาสิกา” และ “สุนันทาอุบาสิกา” พระพุทธเจ้ากกุสันธะมีพระองค์สูง ๔๐ ศอก พระรัศมีมีสีเปล่งปลั่งดังทองคำ เปล่งออกไป ๑๐ โยชน์โดยรอบ

    ๒. พุทธประวัติพระพุทธเจ้าโกนาคมนะ
    พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์แห่งโสภวดีนคร พุทธบิดาคือ “ยัญทัตตพราหมณ์” พุทธมารดาคือ “นางอุตราพราหมณี” มีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “ดุสิต”, “สันดุสิต” และ “สันตุฎฐะ” ทรงครอบครองอยู่สามหมื่นปี นาง “รจิคัตตาพราหมณี” เป็นภรรยา “สัตถวาหะ” เป็นบุตร พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ จึงออกบวชด้วยยานคือช้าง บำเพ็ญเพียรอยู่ ๖ เดือน จึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “ไม้มะเดื่อ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน พระอัครสาวก คือ “พระภิยโยสเถระ” และ “พระอุตรเถระ” พระอัครสาวิกาชื่อ “พระสมุททาเถรี” และ “พระอุตราเถรี” พุทธอุปัฏฐากคือ “อัคคอุบาสก” และ “โสมเทวอุบาสก” พุทธอุปัฐฐายิกาชื่อ “สีวลาอุบาสิกา” และ “สามาอุบาสิกา” มีพระองค์สูง ๓๐ ศอก ประดับด้วยรัศมีเปล่งปลั่งดังทองที่ปากเบ้า พระองค์มีพระชนมายุสามหมื่นปี ทรงประกาศพระศาสนาโปรดมหาชนให้ข้ามพ้นจากวัฏสงสารหาประมาณมิได้ แล้วเสด็จดับขันธปรินิพพานที่ “ปัพพตาราม” พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์แผ่กว้างไปประดิษฐานในประเทศนั้นๆมากมาย
    ๓. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้ากัสสปะ
    พระกัสสปพุทธเจ้าถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ในพระนครพาราณสี มีพุทธบิดาชื่อ “พรหมทัตตพราหมณ์” และ “นางธนวดีพราหมณี”เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลังชื่อ “หังสะ”, “ยสะ” และ “สิริจันทะ” ทรงครอบครองอยู่สองพันปี มี “นางสุนันทาพราหมณี” เป็นภรรยา มีบุตรชายชื่อ “วิชิตเสน” พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงออกบวช ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๗ วันจึงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “นิโครธ” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่มฤคทายวัน มี “พระติสสเถระ” และ “พระภารทวาชเถระ” เป็นพระอัครสาวก พระเถระชื่อ “สรรพมิตตะ” เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระอนุลาเถรี” และ “พระอุรุเวลาเถรี” เป็นพระอัครสาวิกา “สุมังคลอุบาสก” และ “ ฆฏิการอุบาสก” เป็นอัครอุปัฏฐาก “วิชิตเสนาอุบาสิกา” และ “อภัททาอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา” พระองค์ทรงสูง ๒๐ ศอก มีพระรัศมีเปล่งปลั่ง ดังสายฟ้าในอากาศดุจพระจันทร์เต็มดวง มีพระชนมายุสองหมื่นปี ทรงเสด็จนิพพานที่เสตัพยาราม พระสถูปของพระองค์สูงหนึ่งโยชน์ ประดิษฐานอยู่ ณ เสตัพยารามนั้น

    ๔. พุทธประวัติของพระพุทธเจ้าโคตมะ
    พระโคตมพุทธเจ้าทรงถือกำเนิดในตระกูลกษัตริย์ ในนครกบิลพัสดุ์ “พระเจ้าสุทโธทนะ” เป็นพุทธบิดา “พระนางมายาเทวี” เป็นพุทธมารดา ทรงมีประสาท ๓ หลัง ชื่อ “สุจันทะ” ,”โกกนุทะ” และ “โกญจะ” ทรงครอบครองอยู่ ๒๙ ปี มีมเหสีทรงพระนามว่า “ยโสธรา” และ “พระราหุล” เป็นพระโอรส ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการจึงทรงออกบวชด้วยยานคือม้า ได้บำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๖ ปี และเมื่อทรงบำเพ็ญเพียรด้วยทางสายกลางแล้ว จึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ไม้โพธิพฤกษ์ชื่อ “อัสสัตถพฤกษ์” ทรงแสดงปฐมเทศนาธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี มี “อุปติสสะ (พระสารีบุตรเถระ)” และ “โกลิตตะ (พระโมคคัลลานเถระ)” เป็นอัครสาวก “พระอานนทเถระ”เป็นพุทธอุปัฏฐาก “พระเขมาเถรี” และ “พระอุบลวรรณาเถรี” เป็นอัครสาวิกา “จิตตคฤหบดี” และ “หัตถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี” เป็นอัครอุปัฏฐาก “นันทมารดา” และ “อุตราอุบาสิกา” เป็นอัครอุปัฏฐายิกา ทรงดับขันธปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ที่เมืองกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์จำนวน ๑๖ ทะนาน ประดิษฐานตามสถานที่ต่างๆที่มีคนรู้จักและเคารพบูชา (รายละเอียดอยู่ใน หนังสือ “พระบรมสารีริกธาตุ” เรียบเรียงโดย ผศ. สงบ เชื้อทอง)

    ๕. พุทธประวัติพระศรีอาริยเมตไตรย์
    พระศรีอาริยเมตไตรย์ทรงถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ “สุพรหมพราหมณปุโรหิต” เป็นพุทธบิดา “พรหมวดีพราหมณี” เป็นพุทธมารดา ในนครเกตุมวดี ทรงมีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ “สิริวัฑฒปราสาท”, “จันทกปราสาท” และ “สิทธัตถปราสาท” “นางจันทรมุขีพราหมณี” เป็นภรรยา “พรหมวัฒนกุมาร” เป็นบุตร ทรงครอบครองฆราวาสได้ ๘๐,๐๐๐ ปี ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการ ทรงออกบวช และบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ ๗ วัน และเมื่อเสวยข้าวมธุปายาสที่นางสุนันทาพราหมณีนำมาถวายในวันวิสาขปุณมี แล้วเข้าไปในสาลวัน ครั้นเวลาเย็นทรงรับหญ้าคา ๘ กำ ที่โสตถิยมานพนำมาถวาย แล้วเสด็จไปสู่ไม้มหาโพธิพฤกษ์ ชื่อ “กากะทิง” ทรงบรรลุอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ
    พระวรกายของพระองค์สูง ๘๘ ศอก มีพระฉัพพัณณรังสีจากพระวรกาย ทำให้สว่างไสวทั้งกลางวันและกลางคืน คนทั้งหลายอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข ระลึกถึงพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดด้วยพุทธานุภาพ
    ในสมัยพระพุทธเจ้าพระสมณโคดมพระองค์นี้ ทรงตรัสพยากรณ์พระอชิตภิกษุว่า จะเป็นพระศรีอริยเมตไตรย์ในอนาคตข้างหน้าในมหาภัทรกัปนี้ พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร ได้ทูลถามถึงบุญบารมีที่พระศรีอริยเมตไตรย์ได้บำเพ็ญ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ตรัสพยากรณ์ถึงอดีตชาติของพระศรีอริยเมตไตรย เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นพระเจ้าสังขจักรพรรดิแห่งอินทปัตถนคร ในสมัยของพระสิริมัตตพุทธเจ้า วันหนึ่งได้พบสามเณรในสำนักพระสิริมัตตพุทธเจ้า จึงเสด็จมาเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่บุพพาราม แม้ทรงลำบากพระวรกายก็ไม่ทรงท้อถอย พระพุทธเจ้าเนรมิตเพศเป็นมานพน้อย เนรมิตรถเสด็จออกไปรับพระโพธิสัตว์มาสู่บุพพาราม พระโพธิสัตว์ได้ถวายศีรษะของพระองค์แด่พระพุทธเจ้า บูชาพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระองค์ จุติไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ด้วยอานิสงส์บารมี จึงทำให้ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
    อานิสงส์ในการสร้างพระพุทธรูป
    การสร้างพระพุทธรูป ถือว่าเป็นการสร้างอุทเทสิกเจดีย์ คือเจดีย์ที่สร้างเป็นพุทธบูชา อุทิศพระพุทธเจ้า เป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่เลิศค่า เป็นรัตนะสูงสุดของชาวพุทธ ที่เรียกว่า พระพุทธรัตนะ แม้องค์พระพุทธรูปจะสร้างจากวัสดุสิ่งใดก็ตาม แต่พุทธศาสนิกชนมิได้ถือว่าได้กราบไหว้บูชาวัสดุเหล่านั้น แต่บูชาสักการะพระพุทธเจ้า และพระคุณของพระองค์ คือ พระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ พระมหากรุณาคุณ รวมถึงพระธรรมที่ทรงตรัสรู้และพระสงฆ์ผู้ปฎิบัติตามคำสั่งสอนของพระองค์ กล่าวโดยรวม การบูชาพระพุทธรูปก็คือการบูชาพระรัตนตรัยนั่นเอง พระพุทธรูปเป็นเครื่องเตือนใจให้รำลึกถึงพระรัตนตรัย อันเป็นรัตนะอันเลิศ อันประเสริฐสูงสุด ทำให้ชาวพุทธผู้พบเห็นเกิดศรัทธาแล้วสักการะบูชา ทั้งอามิสบูชา คือการบูชาด้วยดอกไม้ ธูปเทียน และปฏิบัติบูชา ด้วยการให้ทาน รักษาศีล และอบรมเจริญปัญญาประจักษ์แจ้งในธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ ซึ่งถือว่าได้สร้างกุศลกรรมในสิ่งที่เลิศ ผลอันเลิศก็ย่อมมีแก่บุคคลผู้ปฏิบัติเช่นนั้น ดังเนื้อความที่กล่าวไว้ใน “อัคคัปปสาทสุตตคาถา” ว่า เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลอันยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในพระธรรมอันเลิศ ซึ่งปราศจากราคะ และสงบระงับเป็นสุข เลื่อมใสแล้วในสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่งเป็นบุญเขตอย่างยอด ถวายทานในท่านผู้เลิศนั้น บุญที่เลิศก็ย่อมเจริญ อายุ วรรณะ ที่เลิศ และยศ เกียรติคุณ สุข พละ ที่เลิศย่อมเจริญ ผู้มีปัญญาตั้งมั่นในธรรมอันเลิศแล้ว ให้ทานแก่ท่านผู้เป็นบุญเขตอันเลิศ จะไปเกิดเป็นเทพยดาหรือเกิดเป็นมนุษย์ก็ตามย่อมถึงความเป็นผู้เลิศ บันเทิงอยู่ เมื่อผลอันเลิศย่อมมีแก่พุทธศาสนิกชนผู้บูชาพระพุทธรูปอยู่เห็นปานนี้ อานิสงส์อันโอฬารก็ย่อมเกิดแก่ผู้สร้างพระพุทธรูปตลอดกาลนานและตลอดไปเช่นกัน และเมื่อพระพุทธรูปยังประดิษฐานปรากฏอยู่ในโลกนี้ตราบใด พระพุทธศาสนาก็ยังจะมั่นคง ตั้งมั่น เจริญรุ่งเรือง วัฒนาถาวรในโลกนี้อยู่ตราบนั้น ผู้สร้างพระพุทธรูปจึงได้ชื่อว่า เป็นผู้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาอีกส่วนหนึ่งด้วย
    ผู้สร้างพระพุทธรูปถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่า ได้สร้างและถวายสิ่งที่เลิศสูงสุด ถวายสิ่งที่ดีที่สุด ถวายฐานะอันประเสริฐสูงสุด ในทานานุโมทนาคาถา ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่สร้างถวายในสิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมได้สิ่งที่เลิศสูงสุด ย่อมเข้าถึงฐานะอันประเสริฐสุด ผู้ใดให้ (ถวาย) สิ่งที่เลิศ สิ่งที่ดีที่สุด และฐานะอันประเสริฐสุด ผู้นั้นเกิดในที่ใดๆ ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศอันเลิศที่สุดในที่นั้นๆ ดังนี้
    อานิสงส์การสร้างวิหาร
    การสร้างกุฏิวิหารถวายเป็นสังฆทานนั้น พระพุทธองค์ทรงตรัสสรรเสริญว่า เป็นทานอันเลิศ เป็นทานที่มีผลมากมีอานิสงส์มากเช่นกัน ตามข้อความที่ปรากฏในพระวินัยปิฎกมหาขันธกะ จุล

    คัดลอกจาก http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=5858
     
  12. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    นำมาให้พิจารณาครับ
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="96%" align=center><TBODY><TR bgColor=#ffe082><TD vAlign=top>เหตุให้เกิดความฝัน ๔ อย่าง</TD></TR><TR><TD bgColor=#cc9933 colSpan=2 height=2></TD></TR></TBODY></TABLE><!-- จบตารางแสดงหัวข้อ --><!-- ตารางแสดงเนื้อหา --><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=2 width="96%" align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#eeeeee><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left>เนื้อหา</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD>
    อธิบายเหตุให้เกิดความฝัน ๔ อย่าง

    ก็แล บุคคลเมื่อจะฝันนั้น ย่อมฝันเพราะเหตุ ๔ ประการคือ เพราะ

    ธาตุกำเริบ ๑ เพราะเคยทราบมาก่อน ๑ เพราะเทวดาสังหรณ์ ๑

    เพราะบุพนิมิต ๑.

    บรรดาเหตุ ๔ อย่างนั้น คนผู้มีธาตุกำเริบ เพราะประกอบด้วย

    ปัจจัยอันทำให้ดีเป็นต้นกำเริบ ชื่อว่า ย่อมฝัน เพราะธาตุกำเริบ. และ

    เมื่อฝัน ย่อมฝันต่าง ๆ เช่นเป็นเหมือนตกจากภูเขา เหมือนเหาะไป

    ทางอากาศ และเหมือนถูกเนื้อร้าย ช้างร้าย และโจรเป็นต้น ไล่ติดตาม.

    เมื่อฝันเพราะเคยทราบมาก่อน ชื่อว่า ย่อมฝันถึงอารมณ์ที่ตนเคยเสวยมา

    แล้วในกาลก่อน . พวกเทวดาย่อมนำอารมณ์มีอย่างต่าง ๆเข้าไป เพื่อ

    ความเจริญบ้าง เพื่อความเสื่อมบ้าง เพราะเป็นผู้มุ่งความเจริญบ้าง

    เพราะเป็นผู้มุ่งความเสื่อมบ้าง แก่บุคคลผู้ฝัน เพราะเทวดาสังหรณ์ ผู้นั้น

    ย่อมฝันเห็นอารมณ์เหล่านั้นด้วยอนุภาพของพวกเทวดานั้น. เมื่อบุคคล

    ฝันเพราะบุพนิมิต ชื่อว่า ย่อมฝันที่เป็นบุพนิมิตแห่งความเจริญบ้าง แห่ง

    ความเสื่อมบ้าง ซึ่งต้องการจะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งบุญและบาป

    เหมือนพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงพระสุบินนิมิตในการที่จะได้

    พระโอรสฉะนั้น, เหมือนพระโพธิสัตว์ทรงมหาสุบิน ๕ และเหมือน

    พระเจ้าโกศลทรงพระสุบิน ๑๖ ประการฉะนั้นแล.

    บรรดาความฝัน ๔ อย่างนั้น ความฝันที่คนฝัน เพราะธาตุกำเริบ

    และเพราะเคยทราบมาก่อนไม่เป็นจริง. ความฝันที่ฝันเพราะเทวดา

    สังหรณ์ จริงก็มี เหลวไหลก็มี, เพราะว่าพวกเทวดาโกรธแล้ว ประสงค์

    จะให้พินาศโดยอุบาย จึงแสดงให้เห็นวิปริตไปบ้าง. ส่วนความฝันที่คนฝัน

    เพราะบุพนิมิต เป็นความจริงโดยส่วนเดียวแล. ความแตกต่างแห่ง

    ความฝัน แม้เพราะความแตกต่างแห่งมูลเหตุทั้ง ๔ อย่างนี้คละกันก็มี

    ได้เหมือนกัน. ก็แลความฝันทั้ง ๔ อย่างนี้นั้น พระเสขะและปุถุชน

    เท่านั้น ย่อมฝันเพราะยังละวิปลาสไม่ได้. พระอเสขะทั้งหลาย ย่อมไม่ฝัน

    เพราะท่านละวิปลาสได้แล้ว.

    </TD></TR><TR><TD align=middle></TD></TR><TR><TD background=/images/dot.gif height=1></TD></TR><TR><TD bgColor=#eeeeee>รายละเอียดเพิ่มเติม</TD></TR><TR><TD vAlign=top>พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 102 </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คัดลอกจากhttp://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=2490&PHPSESSID=96984411550c47c13affed854690c75e
     
  13. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    <TABLE cellPadding=4><TBODY><TR><TD class=large>ทอดผ้าป่า สืบสานประเพณีการทำบุญ</TD></TR><TR><TD>
    พิธีทอดผ้าป่า เป็นประเพณีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งของชาวพุทธคล้ายกับพิธีทอดกฐิน แต่ไม่มีกำหนดระยะเวลาจำกัด คือสามารถจะทอดเมื่อไรก็ได้ และวัดหนึ่ง ๆ ในแต่ละปีจะจัดให้มีการทอดผ้าป่ากี่ครั้งก็ได้เช่นกัน อีกทั้งยังไม่เจาะจงเกี่ยวกับภิกษุที่จะรับผ้ากฐินด้วย

    ที่มาของการทอดผ้าป่า...ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดายังมิได้ทรงอนุญาตให้พระภิกษุทั้งหลายรับจีวรจากชาวบ้าน พระภิกษุเหล่านั้นจึงต้องเที่ยวเก็บผ้าที่เขาทิ้งแล้ว เช่นผ้าเปรอะเปื้อนที่ชาวบ้านไม่ต้องการนำมาทิ้งไว้ ผ้าห่อศพ ฯลฯ เมื่อรวบรวมผ้าชิ้นเล็กน้อยพอแก่ความต้องการแล้ว จึงนำมาซักทำความสะอาด ตัดเย็บ ย้อม เพื่อทำเป็นจีวร สบงหรือสังฆาฏิ ผืนใดผืนหนึ่ง การทำจีวรของภิกษุในสมัยพุทธกาลจึงค่อนข้างยุ่งยากและเป็นงานใหญ่

    ชาวบ้านทั้งหลายเห็นความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ ก็ต้องการจะนำผ้ามาถวาย แต่เมื่อยังไม่มีพุทธานุญาตโดยตรง จึงนำผ้าไปทอดทิ้งไว้ ณ ที่ต่าง ๆ เช่น ในป่า ตามป่าช้า หรือข้างทางเดิน เมื่อภิกษุสงฆ์มาพบเห็นว่าเป็นผ้าที่ผู้เป็นเจ้าของทอดอาลัยแล้ว ก็นำเอามาทำเป็นสบงจีวร จึงกลายมาเป็นพิธีการทอดผ้าป่าในปัจจุบัน

    สำหรับในเมืองไทย พิธีทอดผ้าป่าได้รับการรื้อฟื้นขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ด้วยทรงพระประสงค์จะรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีในทางพระศาสนา

    ความจริงแล้ว การทอดผ้าป่ามีอยู่อย่างเดียว คือ การนำผ้าไปทิ้งไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ในปัจจุบันนิยมทำในรูปแบบต่าง ๆ แตกต่างกันไป จึงมีชื่อเรียกเป็น 3 อย่าง คือ

    1. ผ้าป่าหางกฐิน ได้แก่ ผ้าป่าชนิดที่เจ้าภาพจัดให้มีขึ้นต่อจากการทอดกฐิน คือเมื่อทำพิธีทอดกฐินเสร็จแล้ว ก็ให้มีการทอดผ้าป่าด้วยเลย จึงเรียก
    ว่าผ้าป่าหางกฐิน หรือ ผ้าป่าแถมกฐิน

    2. ผ้าป่าโยง ได้แก่ ผ้าป่าที่จัดทำรวม ๆ กันหลายกอง นำบรรทุกเรือแห่ไปทอดตามวัดต่าง ๆ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำ จึงเรียกว่าผ้าป่าโยง จะมีเจ้าภาพเดียว
    หรือหลายเจ้าภาพก็ได้

    3. ผ้าป่าสามัคคี ได้แก่ ผ้าป่าที่มีการแจกฎีกาบอกบุญไปตามสถานที่ต่าง ๆ ให้ร่วมกันทำบุญแล้วแต่ศรัทธา โดยจัดเป็นกองผ้าป่ามารวมกัน จะเป็นกี่
    กองก็ได้ เมื่อถึงวันทอดจะมีขบวนแห่ผ้าป่ามารวมกันที่วัดอย่างสนุกสนาน บางทีจุดประสงค์ก็เพื่อร่วมกันหาเงินสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เช่น โบสถ์
    วิหาร ศาลาการเปรียญ ฯลฯ

    การทอดผ้าป่า...ให้ผู้เป็นเจ้าภาพไปแจ้งความประสงค์แก่เจ้าอาวาสวัดที่ต้องการจะนำผ้าป่ามาทอด เรียกว่าเป็นการจองผ้าป่า เมื่อกำหนดวันเวลาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการตั้งองค์ผ้าป่า ซึ่งสิ่งสำคัญที่จะต้องมีก็คือ
    1. ผ้า
    2. กิ่งไม้สำหรับพาดผ้า และ
    3. ให้อุทิศถวายไม่เจาะจงพระรูปใดรูปหนึ่ง

    เจ้าภาพจะจัดหาผ้าสำหรับภิกษุผืนหนึ่งอาจเป็นสบง จีวร สังฆาฏิ หรือทั้ง 3 อย่างแล้วแต่ศรัทธาเพราะไม่มีข้อกำหนด นำกิ่งไม้ไปปักไว้ในภาชนะขนาดพอสมควร เพื่อใช้เป็นที่พาดผ้าป่า และใช้สำหรับนำสิ่งของเครื่องใช้ที่จะถวายพระ เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผ้าเช็ดตัว ผ้าอาบน้ำฝน สมุด ดินสอ ฯลฯ สำหรับเงินหรือปัจจัยนั้นนิยมเสียบไม้ปักไว้กับต้นกล้วยเล็ก ๆ ในกองผ้าป่านั้น

    ในสมัยโบราณ ไม่ต้องมีการจองผ้าป่า เมื่อเจ้าภาพนำองค์ผ้าไปถึงวัดแล้ว ก็จุดประทัดหรือส่งสัญญาณด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ให้พระท่านรู้ว่ามีผ้าป่า เป็นอันเสร็จพิธี หรือจะอยู่รอให้พระท่านมาชักผ้าป่าด้วยก็ได้

    แต่ในปัจจุบัน ให้นำผ้าป่าไปวางต่อหน้าภิกษุสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้าป่า พระสงฆ์รูปหนึ่งผู้ได้รับฉันทานุมัติจากหมู่สงฆ์ก็จะลุกขึ้นเดินถือตาลปัตรมาชักผ้าบังสุกุลที่องค์ผ้าป่า โดยกล่าวคำปริกรรมว่า "อิมัง ปังสุกูลละจีวะรัง อัสสามิกัง มัยหัง ปาปุณาติ" แปลใจความได้ว่า "ผ้าบังสุกุลผืนนี้ เป็นผ้าที่ไม่มีเจ้าของหวงแหน ย่อมตกใจเป็นของข้าพเจ้า ต่อจากนั้นพระสงฆ์จึงสวดอนุโมทนาในผลบุญ เจ้าภาพกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล เป็นอันเสร็จพิธี

    สิ่งสำคัญที่สุดในการทอดผ้าป่าก็คือ ผู้ที่ถวายต้องตั้งใจหรือกล่าวคำถวายอุทิศแด่ภิกษุสงฆ์ผู้ต้องการผ้าบังสุกุลอย่างเดียว จึงจะได้ชื่อว่าเป็นการถวายผ้าป่า



    (คัดลอกบางส่วนจาก ธนากิต. วันสำคัญของไทย. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2541 )
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    คัดลอกจากhttp://www.pyramidtennis.com/variousnews/variousnews-detail.php?variousnews_id=1&news_id=9&lang=th
     
  14. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
  15. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    พี่ตั้งจิตครับ รูปไฟล์ใหญ่ไปรึเปล่าครับ จึงไม่เห็นรูปเลย
     
  16. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    คุณกวงล้อผมเล่นรึเปล่าครับ เดี๋ยวผมนอนไม่หลับนะครับ
    คราวก่อนผมเปิดเน็ทด้วย fire fox มีอยู่ 2ครั้งดูกระทู้ไม่ครบทั้งหน้า คิดว่ามีปัญหาที่เว็บที่ไหนได้ เป็นเพราะ fire fox ตอนนี้เลยใช้ ie อย่างเดียวครับ
     
  17. guawn

    guawn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    10,642
    ค่าพลัง:
    +42,113
    ไม่เห็นจริงๆครับ
     
  18. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    อืม แต่ที่บ้านผมเห็นนะครับทั้งโพสต์ที่ผมโชว์รูปและโพสต์แรกของคุณกวงที่บอกว่าไม่เห็น
    งั้นลองใหม่นะครับคราวนี้ทำตามขั้นตอนโดยการ<INPUT class=button id=manage_attachments_button title="Click here to add or edit files attached to this message" style="FONT-WEIGHT: normal" onclick="vB_Attachments.open_window('newattachment.php?t=22445&poststarttime=1202606077&posthash=a24eeccdf9a05a9769408182f5b4a3d9', 480, 480, '969888')" tabIndex=1 type=button value="Upload และ บริหารไฟล์"> (ครั้งแรกนั้นผมใช้วิธี copy แล้วมา paste ไว้)
    คราวนี้ถ้าไม่เห็นอีก คุณกวงต้องจุดธูปบอกกล่าวขอดูแล้วละครับ อิอิ ล้อเล่นครับ<NOSCRIPT> Upload และ บริหารไฟล์ </NOSCRIPT>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  19. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    ความมหัศจรรย์แห่งจิตใต้สำนึก และอธิษฐานบารมีนั้นมีจริง พระร่วงเจ้าองค์นี้เกิดจากเหตุอัศจรรย์นี้

    เมื่อราวอาทิตย์ก่อนได้ไปที่สุโขทัย และได้อธิษฐานจิตถึงพระร่วงเจ้าว่าอยากได้พระร่วงเจ้าโบราณมาบูชาซักองค์ จากนั้นก็ส่งจิตใต้สำนึกเห็นภาพนั้นทุกวี่วัน จวบจนเมื่อวานนี้ได้พบท่านผู้หนึ่งที่อยู่ในพื้นที่สุโขทัยเกิดต้องการทรัพย์ส่วนหนึ่งเพื่อช่วยเหลือภรรยาที่กำลังท้องอยู่ ท่านได้มาจากกรุวัด...........ศรีสัชนาลัย อายุ ๑,๓๐๐ ปี
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1010519.jpg
      P1010519.jpg
      ขนาดไฟล์:
      248.8 KB
      เปิดดู:
      55
    • P1010520.jpg
      P1010520.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.7 KB
      เปิดดู:
      54
    • P1010521.jpg
      P1010521.jpg
      ขนาดไฟล์:
      321.6 KB
      เปิดดู:
      56
  20. ตั้งจิต

    ตั้งจิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2005
    โพสต์:
    1,574
    ค่าพลัง:
    +5,485
    งดงามตระการตาจริงๆครับคุณเพชร
     

แชร์หน้านี้

Loading...