สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ศูนย์ของภพต่างๆ ศูนย์ของเครื่องต่างๆ ที่เป็นเครื่องควบคุม
    ใหญ่ของภพ หรือเครื่องย่อยๆ ตลอดจนเครื่องย่อยที่ควบคุมอยู่
    ในธาตุธรรมทั่วกายมนุษย์ แต่ละคนก็มีศูนย์อยู่ตรงกัน (ดังนั้น
    ถ้าสามารถเข้าสู่ศูนย์กำเนิดเดิมของตัวเราเองได้ เราจะสามารถ
    เข้าสู่ศูนย์ของสิ่งต่าง ๆ ได้ จะสามารถรู้เห็นสรรพสิ่งนานา
    ตลอดไตรโลกธาตุนานาจักรวาลอนันตจักรวาลนี้ได้

    ความรู้เรื่องธาตุธรรม 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายขาว (บุญ) ฝ่ายกลาง
    ๆ และฝ่ายดำ (บาป), เรื่องการแย่งกันสอดวิชชาของฝ่าย
    ต่างๆ เข้าปนเป็นในธาตุธรรมของสัตว์โลก เพื่อแย่งกันปกครอง
    บังคับบัญชาสัตว์โลกให้เป็นไปตามปิฎกของตน, เรื่องของภพ
    และการปกครองภพ, เรื่องของเครื่องควบคุมภพ และควบคุม
    สัตว์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของฝ่ายตน ตลอดจนเรื่อง
    ของการเกิดดับของสัตว์โลกในภูมิต่างๆ ทั่วไปทั้งหมด และ
    อื่นๆ อีกมากมายซึ่งเปรียบได้กับใบไม้ในป่าที่ได้เพิ่มเติมขึ้นไป
    อีก จากใบไม้ในกำมือ (ที่หมายถึง ข้อปฏิบัติสำหรับความจำ
    เป็นเพื่อการพ้นทุกข์)

    วิชชาที่จะชี้แนวทาง หรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้เราได้รู้เห็น และ
    เข้าถึงศูนย์กำเนิดเดิมของ มนุษย์คือตัวเราเองได้นั้นที่เห็น
    ชัดเจนที่สุดในขณะนี้ก็คือ วิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ที่
    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำพระมงคลเทพมุนี (สด จัน
    ทสโร) ได้ค้นพบ และนำมาสั่งสอน ถ่ายทอดสืบกันมานั่นเอง
    วิชชานี้สอนให้ตั้งจิตในการทำสมาธิไว้ ณ ศูนย์กลางกายซึ่ง
    ตรงกับศูนย์กำเนิดเดิม เมื่อจิตหยุดนิ่ง และละเอียดพอก็จะ
    สามารถเห็นสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมาได้ตามความสามารถในการ
    ปฏิบัติของเราเอง ที่สำคัญคือ ต้องสามารถทำจิตให้หยุด ให้
    เห็น จำ คิด รู้ ของเราหยุดนิ่งเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกาย
    ได้หยุดเป็นตัวสำเร็จ ต้องหยุดนิ่งได้ดีจึงจะสำเร็จ

    ในเบื้องต้นเมื่อจิตหยุดได้ถูกส่วนพอดีจะเห็นดวงธรรมที่
    หลวงพ่อเรียกว่าดวงปฐมมรรค หรือดวงธรรมของกายมนุษย์
    ถ้าจิตสามารถหยุดนิ่งได้ยิ่งขึ้น จิตละเอียดยิ่งขึ้นจะสามารถเห็น
    กายต่างๆ ผุดซ้อนกันขึ้นมาตามลำดับจนถึงกายธรรม หรือที่
    หลวงพ่อเรียกว่า “ธรรมกาย” ซึ่งพระเดชพระคุณท่านได้นำมา
    เป็นชื่อวิชชาธรรมกายนั่นเอง ถ้าสามารถปฏิบัติได้แค่ เพียง
    ระดับขั้นต้นนี้จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้อำนาจสมาธิที่เพียงพอที่จะ
    ปฏิบัติต่อทางวิปัสสนาได้เป็นอย่างดี หากปรารถนาเพียงแต่พ้น
    ทุกข์ได้เหมือนกับการฝึกสมาธิโดยวิธีการอื่นๆ เช่นการกำหนด
    กสิณ หรือการกำหนดลมหายใจเพื่อให้จิตเกิดสมาธิก่อนแล้วทำ
    วิปัสสนาในภายหลัง ไม่มีอะไรแตกต่างกัน ถ้าเราจะต้องการได้
    แค่ใบไม้เพียงกำมือเดียวเท่านั้น

    ที่แตกต่างกันคือ ในวิชชาธรรมกาย หลวงพ่อได้สอนและชี้
    ช่องทางวิธีที่จะไปเก็บใบไม้ในป่าไว้ให้อีก ในขั้นตอนวิธีการ
    ปฏิบัติตามแนววิชชาธรรมกายระดับสูงๆ ขึ้นไป โดยการฝ่าย
    ทางศูนย์กลางกำเนิดเดิมนี้ไปสู่มหาหิมพานต์ เพื่อให้เราเก็บ
    ใบไม้ของความรู้ต่างๆ ของเรื่องราวในอนันตโลกธาตุไม่เพียง
    แต่ได้รู้เห็นเท่านั้น เราอาจที่จะเป็นผู้เข้าไปบังคับบัญชาควบคุม
    เครื่องบังคับต่างๆ เสียด้วยตัวเอง เพื่อให้เป็นไปตามความ
    ประสงค์ของตัวเราเองเป็นการแก้ไขเหตุของตัวเองด้วยตนเอง
    แต่จะสามารถทำได้เท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับบารมีของแต่ละคน เป็น
    หนทางที่ทำให้เราได้เห็นได้รู้เหตุ และผลที่อยู่เบื้องหลังของ
    เรื่องราวของสรรพสิ่ง ที่เราจะได้นำมาแก้ไขตนเองให้ดีถึงที่สุด
    ได้ต่อไป วิชชาธรรมกายจึงนับว่าเป็นสุดยอดวิชชาของพระ
    พุทธเจ้าฝ่ายขาวบริสุทธิ์วิชชาหนึ่ง ที่นอกจากจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นจากการเวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะทุกข์แล้ว ยังจะช่วยให้เราหลุด
    พ้นเป็นอิสระอย่างไพบูลย์ถึงที่สุดได้อีกด้วย รวมทั้งสามารถที่
    จะนำมาช่วยผู้อื่นที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตายได้อย่างดี
    ยิ่ง



    มวลมนุษย์พึงสังวร สิ่งที่ได้ สิ่งที่เป็น
    ใครให้สมบัติ ใครให้อำนาจ ใครให้ฤทธิ์
    อายตนะต่ออายตนะ
    ภพต่อภพ
    เหตุต่อเหตุ
    คือขาว หรือกลาง หรือดำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 14 สิงหาคม 2015
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    จงจำไว้ว่า

    "เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละเป็นหลักชัยสำคัญยื่งนัก ในการที่เรียนสมถวิปัสสนา
    อบรมจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ จิตจะเศร้าหมอง หรือ ผ่องใส จะดีหรือจะชั่วประการใด
    ก็เพราะ เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละ จิตจะนิ่ง จะหยุด เป็นตัวอัปปนาสมาธิแน่วแน่ได้
    ก็เพราะ เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง๔ นี่แหละเป็นตัวสำคัญยืิ่ง"





    ( เห็น คือ เวทนา จำ คือ สัญญา คิด คือ สังขาร รู้ คือ วิญญาณ )




    [​IMG]







    .......พระเทพญาณมงคล( หลวงป๋า) วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
     
     [​IMG]
     


     

    1. เหตุผลที่บุคคลควรเจริญพรหมวิหาร 4


    การเจริญพรหมวิหาร 4 อันได้แก่ เมตตาพรหมวิหาร คือ การคิดให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วกันหมด กรุณาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่เป็นทุกข์อยู่ ให้พ้นจากทุกข์ทั้งสิ้น มุทิตาพรหมวิหาร คือปรารถนาให้สัตว์ทั้งปวงที่ได้สุขสมบัติหรือคุณสมบัติแล้ว จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติหรือคุณสมบัติของตน อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติหรือคุณสมบัติที่ตนได้แล้ว และ อุเบกขาพรหมวิหาร มีความเพิกเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ในสัตว์ทั้งหลายที่ได้สุขหรือได้ทุกข์

    ในการดำเนินชีวิตประจำวัน หากบุคคลใดมีพรหมวิหารธรรมเป็นคุณธรรมประจำตนแล้ว ก็นับว่าผู้นั้นมีคุณธรรมของ "ผู้ใหญ่" หรือ "ผู้ปกครอง" อย่างสมบูรณ์ จะเป็นผู้นำชุมชนใด ก็จะเป็นร่มโพธิ์ ร่มไทรหรือเป็นที่พึ่งที่อาศัยของผู้น้อยหรือผู้อยู่ใต้ความปกครองได้เป็นอย่างดี

    อนึ่ง พรหมวิหาร 4 นั้น เป็นคุณธรรมที่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายพึงเจริญ ทั้งนี้ก็เพราะเหตุว่า หมู่สัตว์หรือปุถุชนผู้ที่ยังมากด้วยกิเลสหยาบ คือ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หรือ กิเลสกลางๆ คือ โลภะ โทสะ โมหะ นั้น มักต้องเวียนอยู่ในไตรวัฏ คือ กิเลสวัฏ ความมีกิเลสดังกล่าว แล้วก็ กรรมวัฏ คือมีกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม อันมีลักษณะที่เป็นความผูกโกรธ พยาบาท จองเวร เบียดเบียน ประทุษร้ายซึ่งกันและกัน เพราะความหลงผิด ยึดมั่น ถือมั่น เห็นแก่ตัวตน และพวกพ้อง หมู่เหล่า เป็นการสร้างภพ สร้างชาติ อันเป็นเหตุแห่งความทุกข์แก่ตนเองเป็นทับทวี เรียกว่า วิปากวัฏ ยากแก่การปฏิบัติธรรมโดยมัชฌิมาปฏิปทา คือ ศีล สมาธิและปัญญา อันเป็นเครื่องช่วยให้พ้นทุกข์เป็นการถาวรได้

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนผู้ใคร่จะพ้นทุกข์ ประกอบจิตใจของตนให้อยู่ในพรหมวิหารธรรม คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้จิตใจสงบระงับจากอุปกิเลสหรือนิวรณธรรมทั้งหลาย อันเป็นเครื่องขวางกั้นการปฏิบัติธรรมเพื่อความพ้นทุกข์ ให้บรรเทาเบาบางหรือหมดสิ้นไป ก็จะสามารถเปิดทางให้แก่สาธุชนผู้เจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สามารถเห็นอรรถเห็นธรรมได้ตามความเป็นจริง เมื่อปัญญารู้แจ้งในสัจจธรรมเจริญขึ้น ก็สามารถจะปหานกิเลส ตัณหา อุปาทาน อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายให้หมดสิ้นไปได้เป็นลำดับ

    นอกจากนี้ พระอริยบุคคลผู้ที่จะบรรลุอรหัตตผล ตัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิงก็ดี, ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็ดี จักต้องเจริญพรหมวิหารธรรมนี้ จนเมตตาบารมี และ อุเบกขาบารมี ซึ่งเป็น 2 ประการในบารมีสิบทัศ สูงถึงขั้น อุปบารมี และ ปรมัตถบารมี ได้เต็มส่วน จึงจะบรรลุอรหัตตผล หรือตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้

    พรหมวิหารธรรม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ปฏิบัติธรรมจักต้องเจริญอยู่เสมอ เพื่อให้จิตใจปลอดจากนิวรณธรรม อุปมาดั่งการใช้ "ด่าง" เป็น "กลาง" ไม่เป็นโทษหรือเป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเองหรือผู้อื่นอีกต่อไปนั่นเอง

    เมื่อท่านทั้งหลายเข้าใจวัตถุประสงค์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมดังนี้แล้ว จงตั้งใจศึกษาวิธีการเจริญพรหมวิหารธรรม ทั้งในทางอรรถและโดยธรรมปฏิบัติให้เข้าใจ และหมั่นเจริญอยู่เสมอ

    การเจริญเมตตาพรหมวิหารนั้น เริ่มแรก สาธุชนพึงพิจารณาเหตุผลให้เข้าใจเสียก่อนว่า เมตตาพรหมวิหารนี้เป็นธรรมคู่แข่งหรือธรรมที่จะใช้ระงับกิเลสประเภทใด นี้ข้อหนึ่ง, โทษของการมีกิเลสประเภทที่ว่านั้นมีอย่างไรบ้าง หรือร้ายแรงเพียงใด นี้ข้อหนึ่ง, คุณค่าของการข่มหรืออดกลั้นต่อกิเลสประเภทนี้ ข้อหนึ่ง, กับ ความสันติสุขอันเกิดแต่ความปลอดภัยจากกิเลสที่ว่านี้อันตนได้รับอยู่ นี้อีกข้อหนึ่ง จึงจะมีความรู้สึกปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นได้รับความสุขเช่นที่ตนเองได้รับด้วยอย่างได้ผลสมบูรณ์

    เมื่อเข้าใจดังนี้แล้ว จึงจะนับว่าเป็นผู้มีเมตตาธรรมอย่างแท้จริง และสามารถจะแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ไปยังผู้อื่นและสัตว์อื่นได้อย่างเป็นผล ไม่ใช่สักแต่ว่าท่องจำคำแผ่เมตตาได้ แล้วก็ว่าออกไปๆ โดยที่จิตใจของตนเองยังแข็งกระด้างอยู่ด้วยกิเลสประเภทหยาบๆ หรืออย่างกลางอันหนาแน่น แกะไม่ออก การแผ่เมตตานั้นก็ได้ผลน้อย

    ลักษณะของกิเลสอันเป็นคู่แข่งของเมตตาพรหมวิหาร หรือที่จะต้องได้รับการปราบด้วยพรหมวิหารธรรมนั้น คือ โทสะ เป็นกิเลสตระกูลใหญ่ ซึ่งมีลักษณะรุ่มร้อนประดุจไฟที่สามารถจะเผาผลาญสิ่งต่างๆ ให้พินาศลงได้

    กิเลสตระกูลโทสะนี้ เริ่มต้นมาตั้งแต่ความไม่พอใจในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อรติ ความไม่พอใจ นี้ หากไม่ระงับลงแล้ว ก็จะกลายเป็นความขัดเคืองใจ ที่เรียกว่า ปฏิฆะ คืออาการของจิตที่เก็บอารมณ์นั้นไว้ กรุ่นอยู่ ไม่อาจลืมได้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบขึ้น กลายเป็นความเดือดดาล หรือที่เรียกว่า ความโกรธ หรือ โกธะ นั่นเอง ทีนี้ หากไม่ระงับก็จะกำเริบมากขึ้นอีก กลายเป็นความคิดประทุษร้ายด้วยกาย วาจา และใจ เรียกว่า โทสะ หากโทสะนี้ไม่ระงับลงอีก ก็จะกำเริบเสิบสาน กลายเป็นความ พยาบาท หรือความผูกใจเจ็บแค้น คือคิดหาทางที่จะแก้แค้นหรือมุ่งร้ายเขาต่อไป เมื่อได้แก้แค้นแล้วความโกรธก็หายไป แต่บางรายยังไม่หาย ไม่ระงับ กลับผูกใจเจ็บที่จะจองล้างจองผลาญต่อๆ ไปอีก ก็เรียกว่า ผูกเวร นี่แหละร้ายนัก เพราะจะเป็นเหตุให้เกิดโทษทุกข์ต่อๆ กันไป ไม่สิ้นสุด

    พระพุทธองค์จึงได้ทรงสั่งสอนให้สาธุชนหมั่นประกอบจิตใจของตนเองให้อยู่ใน "ขันติธรรม" และ "พรหมวิหารธรรม" อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมตตาพรหมวิหารนี้ เพื่อให้สามารถข่มโทสะให้คลายลง และให้สามารถอดกลั้นต่ออนิฏฐารมณ์ ไม่เบียดเบียนหรือเป็นโทษภัยแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น

    สาธุชนจึงพึงต้องพิจารณาให้เห็นโทษภัยของกิเลสตระกูลโทสะนี้อยู่เสมอ แล้วเพียรพยายามระงับด้วยเมตตาพรหมวิหาร และกำจัดให้หมดเด็ดขาดได้ด้วยปัญญา ถ้าหากสรรพสัตว์ทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมและประเทศชาตินี้ มีความอดกลั้น คือขันติต่ออารมณ์ที่ขัดเคืองซึ่งกันและกัน อภัยให้ซึ่งกันและกัน ไม่คิด ไม่พูด หรือกระทำการใดๆ อันเป็นการประทุษร้ายต่อกัน และไม่จองเวรซึ่งกันและกันแล้ว ตนเองและสังคม ประเทศชาติ ก็จะมีแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ดังที่ได้ยินได้ฟังข่าวร้ายๆ อยู่เสมอ เช่นในปัจจุบันนี้

    2. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 โดยทั่วไป และอานิสงส์



    ก) วิธีเจริญเมตตาพรหมวิหาร

    คำว่า "เมตตา" นี้หมายถึงความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นเป็นสุข

    การเจริญเมตตาพรหมวิหาร หรือในกรณีเจริญภาวนา บางทีก็เรียกว่า การแผ่เมตตานั้น จะได้ผลเพียงใดย่อมขึ้นอยู่ที่วิธีการปฏิบัติภาวนาและความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจ ของผู้เจริญภาวนา วิธีปฏิบัติภาวนาเจริญเมตตาพรหมวิหารที่จะให้ได้ผลดีนั้น มีดังต่อไปนี้

    ก่อนอื่นให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นต่อโทสะกิเลส แล้วจึงตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนเองประสงค์แต่ความสงบสุข ความร่มเย็น เกลียดชังความทุกข์อันเนื่องแต่ความเบียดเบียนหรือประทุษร้ายจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการประทุษร้ายต่อร่างกาย ต่อทรัพย์สิน หรือต่อชื่อเสียงเกียรติคุณความดีด้วยประการต่างๆ ฉันใด สรรพสัตว์หรือบุคคลอื่นทั้งหลายก็รักความสันติสุข และไม่ประสงค์ความทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน

    เมื่อเกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นดังนี้จากใจจริงแล้ว ก็อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกาย ก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาธรรม หรือในขณะใดๆ ก็ตาม แผ่ความปรารถนานั้นไปยังมนุษย์หรือสรรพสัตว์อื่น เริ่มตั้งแต่ผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่เมตตาพรหมวิหารหรือความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนรักมีความสุขอย่างเต็มใจแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนรู้สึกเฉยๆ คือไม่รักไม่ชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่ตนก็มิได้รักมิได้ชังจนเปี่ยมใจแล้ว ก็จึงตั้งความปรารถนานั้นแผ่ไปยังบุคคลหรือสัตว์ที่ตนเกลียดชัง จนจิตใจอ่อนโยน แผ่ความปรารถนาที่จะให้เขามีความสุขจนเปี่ยมใจแล้ว จึงตั้งความปรารถนาที่จะให้ผู้ที่มีเวรต่อกันเป็นสุขปราศจากทุกข์ภัย อีกต่อไป จงแผ่ความเมตตานี้ไปยังบุคคลหรือสรรพสัตว์เหล่านี้ให้เปี่ยมใจหมดตลอดทั้งสี่ 4 เหล่า ฝึกเจริญภาวนาบ่อยๆ เข้าก็จะค่อยๆ ชำนาญไปเอง จิตใจก็จะมีแต่เมตตาธรรม พร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้อื่นอยู่เสมอ ไม่ผูกโกรธหรือผูกเวรอันเป็นการสร้างภพสร้างชาติต่อไปอีก

    สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายหรือได้ดวงปฐมมรรคแล้ว เมื่อตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายแผ่เมตตาธรรมนั้น ดวงธรรมของทุกกายก็จะใสสะอาดขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปยิ่งขึ้น หากธรรมแก่กล้าสามารถเจริญเมตตาภาวนาในระดับฌานได้ ข่ายของญาณพระธรรมกายก็จะขยายออกไปได้จนสุดภพ และขยายออกไปอย่างกว้างขวางตลอดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ การเจริญเมตตาภาวนาก็ยิ่งจะเป็นผลมาก แล้วให้ผู้ปฏิบัติจงหมั่นพิจารณาเหตุสังเกตที่ผลของการเจริญภาวนาอยู่เสมอ ก็จะได้ทราบผลด้วยตนเอง

    อนึ่ง การเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ ไม่เฉพาะแต่จะปฏิบัติอย่างเป็นทางการก่อนหรือหลังจากการเจริญภาวนาเท่านั้น หากแต่พึงกระทำทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นขณะเดิน ยืน นั่ง หรือ นอน กล่าวคือ

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความสันติสุข ไม่ว่าจะเป็นความสุขทางโลกิยะหรือโลกุตตระ ย่อมปีติยินดีในความสุขนั้นเพียงใด ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความสุขนั้นไปยังผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ให้เขาทั้งหลายเหล่านั้น จงประสบหรือได้รับความสุขเช่นที่ตนได้รับอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน

    เมื่อใดที่ตนเองประสบหรือได้รับความทุกข์หรือภัยต่างๆ เราไม่ชอบและไม่ปรารถนาความทุกข์หรือภัยพิบัติเหล่านั้นฉันใด ผู้อื่นก็ย่อมไม่ปรารถนา ฉันนั้น ก็จงตั้งความปรารถนาแผ่ความเมตตาไปยังบุคคลอื่นหรือสรรพสัตว์อื่น ขออย่าได้ประสบกับทุกข์ภัย การเบียดเบียนหรือจองเวรซึ่งกันและกัน และอย่าได้ลำบากกายลำบากใจเลย ขอจงให้มีแต่ความสุขกายสุขใจ และรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายเถิด

    จงแผ่ความปรารถนาดี ด้วยจิตใจอันอ่อนโยน เปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหารนี้ ไปยังมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายหมดทั้ง 4 เหล่า คือ ทั้งผู้ที่ตนรักหรือเคารพนับถือ ผู้ที่ตนมิได้รักมิได้ชัง ผู้ที่ตนเองเคยเกลียดชัง และผู้ที่เคยมีเวรต่อกัน พยายามแผ่ให้กว้างออกไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น ตลอดทั่วทั้งภพและจนหมดทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณ แล้วท่านก็จะทราบผลจากการปฏิบัตินี้ด้วยตนเอง

    และใคร่จะขอแนะนำว่า การแผ่เมตตาพรหมวิหารนี้ทุกครั้งให้อธิษฐานตั้งความปรารถนาลงไป ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อยู่เสมอ เพราะศูนย์กลางกายนี้ตรงกัน อยู่ในแนวเดียวกันกับโอกาสโลก (โลกคือแผ่นดินเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์โลก มีมนุษย์โลกเป็นต้น) สังขารโลก (โลกคือสังขาร) สัตว์โลก (โลกคือหมู่สัตว์ทั้งหลาย มีมนุษย์ เทพยดา รูปพรหม อรูปพรหม และสัตว์เดรัจฉาน เป็นต้น) อายตนะนิพพาน (ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุที่ดับขันธ์แล้ว) ภพ 3 (กามภพ รูปภพ และอรูปภพ) และอายตนะโลกันต์ ทั้งของจักรวาลนี้และจักรวาลอื่นทั้งหมด จึงเป็นผลมาก คือมีอานิสงส์และอานุภาพมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว จะสามารถเจริญเมตตาภาวนาได้ผลดีมาก เพราะใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายดีแล้ว ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย หากปฏิบัติดังกล่าวนี้เนืองๆ ก็จะช่วยให้สมาธิตั้งมั่นได้เร็วขึ้น เป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ตามลำดับ เพราะเมตตาภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระนิวรณธรรมคือ โทสะและพยาบาทให้ระงับลง จิตใจก็อ่อนโยน สามารถที่จะรวมหยุดเป็นอารมณ์เดียวได้ง่าย

    การเจริญเมตตาภาวนานี้ มีอานิสงส์มาก ดังพระพุทธดำรัส ซึ่งแสดงไว้ว่า มีมากกว่าอานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 และไตรสรณคมน์ หรือการสร้างวิหารถวายแก่สงฆ์ที่มาจากทิศทั้ง 4 หรือการถวายอาหารแก่พระภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเสียอีก (อํ.นวก.23/224/480) นับได้ว่ามีอานิสงส์เป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว

    คุณค่าของการเจริญเมตตาพรหมวิหารนี้ เท่าที่เห็นๆ คือว่า หากมนุษย์ซึ่งเป็นแต่ละหน่วยของสังคมและประเทศชาติ มีเมตตาพรหมวิหารต่อกันมากเพียงใด มนุษย์ก็จะยิ่งมีแต่ความสันติสุขและร่มเย็นเพียงนั้น นอกจากนี้ การเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำ ยังเป็นเหตุให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีในการดำเนินชีวิตอีกมาก จะหลับอยู่ก็เป็นสุข จะตื่นอยู่ก็เป็นสุข เพราะไม่มีเวรภัยกับผู้ใด จึงไม่ต้องวิตกกังวลใดๆ ทั้งสิ้น จะฝันก็เป็นมงคล ย่อมเป็นที่รักใคร่ ยินดี ของมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย มีทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหมเป็นต้น ปลอดจากอัคคีภัย ภัยจากยาพิษ หรือสัตว์ที่มีพิษทั้งหลาย ศัสตราวุธต่างๆ ย่อมไม่อาจประทุษร้าย หรือทำอันตรายแก่กายและชีวิตได้ สีหน้าย่อมผ่องใส เมื่อจะตาย ย่อมได้สติ ไม่หลงตาย หากยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล เมื่อละโลกไปแล้ว ย่อมไปสู่สุคติภพ มีโลกมนุษย์หรือเทวโลกเป็นต้น และหากยังไม่เสื่อมจากฌาน ย่อมไปบังเกิดในพรหมโลกดังพระพุทธดำรัสที่ทรงแสดงไว้ว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการ 11 ประการเป็นไฉน ?   คือ ย่อมหลับเป็นสุข 1 ย่อมตื่นเป็นสุข 1 ย่อมไม่ฝันลามก 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งมนุษย์ทั้งหลาย 1 ย่อมเป็นที่รักแห่งอมนุษย์ทั้งหลาย 1 เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา 1 ไฟ ยาพิษ หรือศัสตรา ย่อมไม่กล้ำกรายได้ 1 จิตย่อมตั้งมั่นโดยรวดเร็ว 1 สีหน้าย่อมผ่องใส 1 เป็นผู้ไม่หลงใหลทำกาละ 1 เมื่อไม่แทงตลอดคุณอันยิ่ง ย่อมเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก 1

    ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นโดยลำดับ สั่งสมดีแล้ว ปรารภด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ 11 ประการนี้แล." (อํ.เอกาทสก.24/222/370-371)

    ข) วิธีเจริญกรุณาพรหมวิหาร

    ความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์ ก็มีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ให้พิจารณาถึงความทุกข์ โศกหรือโรคภัยที่ตนเองหรือผู้อื่นได้รับอยู่ก็ดี หรือแม้แต่ภัยในวัฏฏะ ได้แก่ กิเลสวัฏ กรรมวัฏ ที่เห็นมีอยู่ในสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรค ผล นิพพานก็ดี เราก็ตั้งตนไว้เป็นพยานว่า เราปรารถนาที่จะพ้นทุกข์และภัยเช่นนั้น ก็ขอให้ผู้อื่นหรือสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายซึ่งเป็นที่รัก ที่ไม่รักไม่ชัง ที่เคยชัง และที่เคยมีเวรต่อกัน ขอให้เขาเหล่านั้นจงพ้นจากความทุกข์ โศก โรค และเวรภัย ตลอดทั้งภัยจากวัฏฏะเสียทั้งสิ้น โดยตั้งจิตอธิษฐาน ตั้งความปรารถนาดังกล่าวลงไป ณ ศูนย์กลางกายนั่นไว้เสมอ สำหรับผู้ที่เจริญภาวนาจนถึงธรรมกายแล้ว และได้เจริญภาวนาจนปัญญาเจริญขึ้น จากการที่ได้ทั้งรู้และทั้งเห็น อริยสัจ คือ ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ และมรรคสัจ เพียงใด ก็จะยิ่งเจริญเมตตาและกรุณาภาวนานี้ได้ผลมากและลึกซึ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่งเพียงนั้น

    ค) วิธีเจริญมุทิตาพรหมวิหาร

    ให้พิจารณาถึงสุขสมบัติและคุณสมบัติ ทั้งในระดับโลกิยสมบัติและโลกุตตรสมบัติ ตนไม่ประสงค์จะพลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้นเพียงใด และปรารถนาที่จะให้เจริญรุ่งเรืองในสุขสมบัติและคุณสมบัติ ตั้งแต่โลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติยิ่งๆ ขึ้นไป จนตราบเท่าบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพียงใด ก็ตั้งความปรารถนานั้น แผ่มุทิตาจิตไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย จงดำรงอยู่ในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น อย่าได้พลัดพรากจากสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น และขอจงให้มีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไปจากโลกิยสมบัติไปจนถึงโลกุตตรสมบัติ ดังเช่นที่ตนเองปรารถนาเช่นเดียวกันด้วยกันหมดทั้งสิ้น

    ง) วิธีเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    เมื่อตั้งความปรารถนา แผ่เมตตา กรุณา และมุทิตา อันได้แก่ ความปรารถนาที่จะให้ทั้งตนเองและผู้อื่นเป็นสุข และอย่าได้พลัดพรากจากความสุขนั้น ขอจงปราศจากทุกข์ โศก และโรคภัย และขอจงรักษาตนให้พ้นทุกข์ภัยทั้งหลายแล้ว ก็พิจารณาต่อไปอีกว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทของกรรม มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ประกอบกรรมอันใดไว้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่ว ย่อมต้องได้รับผลกรรมนั้นเอง เมื่อพิจารณาเห็นความจริงตามกฎแห่งกรรมดังนี้แล้ว จิตใจที่เปี่ยมด้วยเมตตา กรุณา และมุทิตา แต่ยังต้องกระเพื่อมฟุ้งอยู่ ด้วยความรู้สึกสงสารผู้อื่นหรือสัตว์อื่นที่กำลังได้รับความทุกข์เดือดร้อนอยู่ ซึ่งตนหมดหนทางที่จะช่วยเหลือได้อีกต่อไปแล้วก็ดี หรือความกระเพื่อมฟุ้งเพราะความยินดีอย่างมากที่เห็นผู้อื่นได้ดีมีสุขก็ดี จะค่อยๆ ระงับลงด้วยปัญญาหยั่งรู้ในกฎแห่งกรรมตามธรรมชาติ จิตใจก็จะมัธยัสถ์ เป็นกลาง วางเฉย ไม่ยินดียินร้ายในความทุกข์และความสุข ของทั้งตนเองและผู้อื่น นี้เรียกว่าการเจริญอุเบกขาพรหมวิหาร

    จะขอเน้นว่า เพื่อให้การเจริญพรหมวิหารธรรมนี้เป็นผลดียิ่งขึ้น เริ่มแรกให้พิจารณาโทษของโทสะ และคุณของความอดกลั้นจากโทสะเสียก่อน แล้วให้ตั้งตนเองเป็นพยานไว้ก่อนว่า ตนปรารถนาแต่ความสุข ไม่ปรารถนาความทุกข์เพียงใด ผู้อื่นก็ปรารถนาเช่นเดียวกันกับตนทั้งสิ้น ในการพิจารณาและตั้งความปรารถนาไปยังผู้อื่นนั้น สำหรับผู้ที่ยังจิตใจอันแข็งกระด้างอยู่ ให้เริ่มตั้งความปรารถนาแผ่พรหมวิหารไปยังผู้ที่ตนรักเสียก่อน เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว จึงค่อยตั้งความปรารถนาไปยังผู้ที่ตนชัง เมื่อจิตใจอ่อนโยนดีแล้ว ก็จงตั้งความปรารถนา แผ่พรหมวิหารธรรมนี้ไปยังผู้ที่มีเวรต่อกัน ให้จิตใจอ่อนโยนดีกับบุคคลและสัตว์ทุกหมู่เหล่า จึงจะได้ผลดี

    มีข้อสังเกตว่า หากชำนาญมากเข้า ก็สามารถเจริญภาวนาได้รวดเร็ว ความรู้สึกในบุคคลหรือสัตว์ที่รัก ที่ชัง หรือที่มีเวรต่อกัน ก็จะจางลง ความรู้สึกดังกล่าวยิ่งจางลงได้มากเพียงใด ย่อมแสดงว่าการเจริญพรหมวิหารธรรมได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ระดับสมาธิก็จะดีขึ้น จิตใจก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิได้ง่ายกว่าเดิม นิวรณธรรมก็จะพลอยลดน้อยลง ระดับสติปัญญาและภูมิธรรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามลำดับ

    กล่าวโดยสรุป อานิสงส์ของการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่ามีอานิสงส์สูงเป็นที่สองรองจากการเจริญสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานทีเดียว (อํ.นวก.23/224/480) ทั้งนี้ก็เพราะการเจริญพรหมวิหารธรรมนั้น จุดมุ่งหมายเบื้องต้นก็เพื่อจะให้สัตว์ทั้งหลายอยู่ร่วมกันโดยสันติสุข ไม่เบียดเบียน โกรธพยาบาทจองเวร หรืออิจฉาริษยาซึ่งกันและกัน ให้มีความรักใคร่ ปรองดอง เอื้ออารี เผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และให้รู้จักสงบจิตใจ ไม่ยินดียินร้ายเมื่อผู้อื่นถึงซึ่งความวิบัติ

    จุดมุ่งหมายเบื้องสูงยิ่งขึ้นไปอีก ก็เพื่อให้ผู้เจริญพรหมวิหารธรรมได้บำเพ็ญเมตตาและอุเบกขาบารมีให้เต็มส่วน ถึงอุปบารมีและปรมัตถบารมี ที่จะสามารถช่วยให้บรรลุมรรค ผล นิพพานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อให้จิตใจของผู้เจริญคุณธรรมนี้ สงบระงับจากกิเลสนิวรณ์ธรรมข้อพยาบาท และระงับความคิดที่ฟุ้งซ่านต่างๆ ได้ดี นอกจากนี้ คุณธรรมข้อนี้ยังเป็นเครื่องกำจัดกิเลสคือความริษยาและความผูกโกรธ หรือพยาบาทจองเวรได้ดีอีกด้วย

    จิตใจที่สงบระงับจากนิวรณธรรมนั้น ย่อมสามารถรับการฝึกหัดให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิที่แนบแน่น มั่นคงได้ง่าย จึงเป็นพื้นฐานสำคัญแก่งานวิปัสสนา เพื่อเจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรมตามธรรมชาติที่เป็นจริง และรู้แจ้งในอริยสัจทั้ง 4 อันเป็นทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ตามแนวทางพระพุทธศาสนาได้สะดวก

    เมตตา กรุณา มุทิตา พรหมวิหารนั้น มีอานิสงส์แก่ผู้เจริญให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิให้สำเร็จขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และถึงอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นต้นของปฐมฌาน และให้สามารถพัฒนาต่อไป ถึงทุติยฌาน และตติยฌาน ได้ตามลำดับ ส่วนอุเบกขาพรหมวิหารนั้น มีอานุภาพให้ผู้เจริญ ได้ถึงจตุตถฌาน โดยจตุกนัย หรือถึงปัญจมฌาน โดยปัญจกนัยทีเดียว

    ผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้น อาจแยกพิจารณาได้เป็น 3 ระดับกล่าวคือ

    พรหมโดยสมมติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็ได้แก่ บิดา มารดา ผู้เป็นพรหมของบุตร เป็นต้น แต่ในทางธรรมปฏิบัตินั้น ได้แก่ มนุษย์ มนุษย์ละเอียด, ทิพย์ และทิพย์ละเอียด ซึ่งทรงพรหมวิหารธรรม
    พรหมโดยอุบัติ หนึ่ง กล่าวโดยทางปริยัติ ก็หมายเอาผู้ที่ได้กำเนิดหรือถือคติเป็นพรหมในพรหมโลก ด้วยพรหมธรรมและผลจากการเจริญภาวนาสมาธิ โดยที่ก่อนตาย จิตยังไม่เสื่อมจากฌานในระดับใดระดับหนึ่ง ในทางปฏิบัติ ได้แก่ รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางทิพย์และมนุษย์, กับอรูปพรหมหยาบ และอรูปพรหมละเอียด ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของพรหม อันเป็นผลจากการเจริญพรหมวิหารและภาวนาสมาธิ อีกนัยหนึ่ง สามารถจะเข้าถึงได้โดยทางธรรมปฏิบัติในปัจจุบันชาติ
    พรหมโดยวิสุทธิ อีกหนึ่ง ในทางปริยัติ หมายเอาพระอริยเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันตปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตสาวกพระพุทธเจ้า ซึ่งสะอาดบริสุทธิ์จากอวิชชา กิเลส ตัณหา อุปาทาน เครื่องเศร้าหมองทั้งปวงแล้ว ส่วนในทางธรรมปฏิบัติ ก็ได้แก่ ธรรมกาย ที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว ซึ่งอยู่ในท่ามกลางของกายโลกิยะทั้ง 8 กายข้างต้น เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุด อยู่ในศูนย์กลางกายมนุษย์นั่นเอง เพราะกายนี้เป็นกายที่สะอาดบริสุทธิ์และทรงพรหมวิหารธรรมอย่างยิ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพียงชั่วขณะที่จิตใจของผู้ปฏิบัติธรรมใสสะอาด บริสุทธิ์ หยุดนิ่ง แล้วเข้าถึงได้ หรือเป็นกายธรรมพระอรหัตที่ได้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ดังพระพุทธดำรัสว่า "วาเสฏฐะและภารัทวาชะ   คำว่าธรรมกายก็ดี พรหมกายก็ดี ธรรมภูตก็ดี พรหมภูตก็ดี เป็นชื่อของตถาคต." (ที.ปา.11/55/92)
    นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่า ผู้เจริญหรือผู้ทรงพรหมวิหารธรรมนั้นยังแตกต่างกันด้วยภูมิธรรม และภูมิปัญญาของแต่ละบุคคลที่ไม่เท่ากัน เพราะฉะนั้นการแผ่พรหมวิหารก็ย่อมจะมีอานุภาพที่ไม่เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้ เป็นต้นว่า พระนิพพานคือพระธรรมกายที่ได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ย่อมทรงพรหมวิหารธรรม และแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้อย่างกว้างขวางสุดประมาณ และมีอานุภาพสูงที่สุดยิ่งกว่าธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล

    และส่วนธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตตผล หากแต่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคลชั้นใดชั้นหนึ่งแล้ว ก็ย่อมทรงพรหมวิหารและแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสัตว์ทั้งหลาย ได้ดีกว่าผู้ที่ยังเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคลอยู่

    ธรรมกายที่ยังมิได้บรรลุมรรคผลในขั้นใดเลย หากแต่ได้พยายามเจริญภาวนาพิจารณาให้เกิดปัญญาเห็นแจ้งในสัจจธรรมตามสมควร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ให้มีความเข้าใจในทุกข์, ในเหตุแห่งทุกข์ ที่เรียกว่า สมุทัย, ในสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า นิโรธ, และในหนทางปฏิบัติเพื่อความดับเหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย ซึ่งเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แจ่มแจ้งเพียงใด ก็ย่อมจะเจริญและทรงพรหมวิหารได้มาก และสามารถแผ่พรหมวิหารธรรมไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายได้มากเพียงนั้น

    ด้วยเหตุนี้ การเจริญและแผ่พรหมวิหาร ในขณะที่จิตทรงสมาธิและได้เจริญปัญญาภายหลังจากการพิจารณาอริยสัจแล้ว จึงมีอานุภาพมากคือมีผลต่อผู้อื่นมาก และมีอานิสงส์ต่อผู้เจริญภาวนาเองมาก
     

    3. วิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ระดับฌาน
    ลำดับนี้จะแนะนำวิธีการเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานแก่ผู้ที่ถึงธรรมกาย ซึ่งได้ฝึกหัดเจริญฌานสมาบัติแล้วต่อไป ส่วนผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกายก็ให้น้อมใจตามไปได้ แต่ขอให้รวมใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสนั่นไว้เสมอ ก็จะได้ผลดีกว่าการเพียงแต่สวดบทแผ่พรหมวิหาร โดยที่ใจมิได้รวมหยุดเป็นสมาธิถูกศูนย์ถูกส่วน ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    จึงขอให้ทุกท่านจงตั้งใจเจริญภาวนา แผ่พรหมวิหารธรรมต่อไป

    ผู้ที่ยังไม่ถึงธรรมกาย ก็ให้พยายามรวมใจหยุดในหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย ตรงที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางเครื่องหมายที่นึกให้เห็นด้วยใจ เป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูม ขาวใสบริสุทธิ์ ณ ศูนย์กลางกายนั้นแหละ พยายามนึกให้เห็นใสละเอียด ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน แล้วก็คอยน้อมใจตามคำแนะนำต่อไป

    ส่วนผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางกายพระอรหัตองค์ที่ละเอียดที่สุด  แล้วพิสดารกาย เจริญฌานสมาบัติ พร้อมกันหมดทุกกายสุดกายหยาบ กายละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต โดยอนุโลมและปฏิโลมหลายๆ เที่ยว เพื่อชำระธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ให้ใสละเอียด บริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ เที่ยวสุดท้ายให้เจริญฌานสมาบัติโดยอนุโลม เพียงรูปฌาน 4 พิจารณาสัจจะทั้ง 4 ในกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม และธรรมกายทำนิโรธดับสมุทัย โดยพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัต ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของทุกกาย สุดกายหยาบกายละเอียด จนเป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัต ใสบริสุทธิ์

    แล้วน้อมเอาภพ 3 เข้ามาเป็นกสิณ คือเอามาตั้งไว้ตรงศูนย์กลางกาย ให้ใจของธรรมกายเพ่งลงไปที่ตรงกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะมีองค์ฌาน (เหมือนแผ่นกระจกใส) ปรากฏขึ้นรองรับหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็นปฐมฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล ให้ข่ายของญาณหว่านล้อมธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งมนุษย์และอมนุษย์ เข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ให้อายตนะภายใน ที่ตั้งความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้, ดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด และดวงรู้, ธาตุเห็น ธาตุจำ ธาตุคิด ธาตุรู้ ของทุกกายตรงกันกับของเราหมด แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดเมตตาพรหมวิหารและคุณของเมตตาพรหมวิหารว่า ตัวเราเองปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติ, มนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัติเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลาย ก็มีความปรารถนาในความสุขเช่นนั้นเหมือนกัน ตัวเราเองไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อน จากการเบียดเบียนหรือเวรภัยใดๆ ผู้อื่นก็ไม่ปรารถนาความทุกข์เดือดร้อนเช่นกัน เมื่อจิตใจเปี่ยมด้วยเมตตาพรหมวิหาร คือความรัก ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น ที่จะให้อยู่ดีมีสุขด้วยกันแล้ว ก็แผ่ฌานและเมตตาพรหมวิหาร ด้วยจิตใจที่ละเอียดอ่อน บริสุทธิ์ สมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติ และนิพพานสมบัตินั้น จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเรา ไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลายให้หมดทั่วทั้งจักรวาล ให้ใสละเอียดหมด

    แล้วพิสดารกายทิพย์ในกายทิพย์ ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ในทิพย์ พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายทิพย์ในทิพย์ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของกายธรรมก็หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง ศูนย์กลางกายทิพย์ในทิพย์ จนใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนละวิตกวิจารได้ คงแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่ปรากฏขึ้นรองรับทุกกาย นี้เป็นทุติยฌาน ก็ให้ข่ายของญาณพระธรรมกายขยายกว้างออกไปจนเต็มจักรวาลอีก หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายให้มารวมอยู่ที่ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วเพ่งพิจารณาโทษของการขาดกรุณาธรรมและคุณของกรุณาพรหมวิหารว่า เราประจักษ์ในทุกข์ของสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งของตัวเราเองด้วย ว่าเป็นเพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายผู้ยังมีอวิชชาครอบคลุมจิตใจอยู่ จึงเกิดกิเลส ตัณหา อุปาทานในสังขารธรรมทั้งหลาย จึงเป็นทุกข์ ด้วยความเกิด แก่ เจ็บ และตาย, เป็นทุกข์เพราะความที่ต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และต้องประสบเข้ากับสิ่งที่ตนเกลียดชัง, เป็นทุกข์ด้วยความไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนาจะได้ จะมี จะเป็น, หรือเป็นทุกข์ที่ต้องได้รับผลจากอกุศลกรรม ได้แก่ เหตุวิบัติ บาปศักดิ์สิทธิ์ ภัยพิบัติ ภัยสงคราม ภัยธรรมชาติ รวมทั้งการได้กำเนิดทุคคติ เช่น เปรต อสุรกาย สัตว์นรก และสัตว์เดรัจฉานเป็นต้น และแม้แต่จะกำลังได้เสวยผลจากกุศลกรรม ตราบใดที่ยังไม่พ้นจากไตรวัฏฏะ คือ กิเลสวัฏฏะ กรรมวัฏฏะ และ วิปากวัฏฏะ แล้ว ก็ไม่วายที่จะต้องเสื่อมจากความสุขและสมบัติที่เคยได้รับ

    ตนเองปรารถนาที่จะพ้นจากทุกข์เหล่านั้นเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาที่จะพ้นทุกข์ภัยเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยกรุณาพรหมวิหาร คือความสงสาร ปรารถนาให้สัตว์ทั้งหลายรวมทั้งตัวเราเองด้วยได้พ้นทุกข์เหล่านี้ไปเสีย ดังนี้แล้ว ก็แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารจากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราเอง ไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ขอให้ได้รู้แจ้งเห็นจริงในทุกข์ ในเหตุแห่งทุกข์ แล้วก็ไม่ประมาทมัวเมาในชีวิต เร่งประกอบความเพียรเพื่อกำจัดเหตุแห่งทุกข์นั้น กระทำนิโรธให้แจ้ง และเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 ประการ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งหลายด้วยปัญญาอันเห็นชอบเถิด ให้แผ่ฌานและกรุณาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่สะอาดบริสุทธิ์และละเอียดอ่อนนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดหมดทั่วทั้งจักรวาล

    แล้วพิสดารกายรูปพรหมในรูปพรหม ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปตรงศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายรูปพรหมในรูปพรหมปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดในหยุดกลางของหยุด กลางของกลางศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นรูปพรหม ในรูปพรหม จนใสละเอียดหมดทุกกาย ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัตจนละปีติได้ คงแต่สุขกับเอกัคคตา ก็จะปรากฏองค์ฌานใหม่บังเกิดขึ้นรองรับทุกกาย ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น ตติยฌาน แล้วขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนเต็มจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมสรรพสัตว์ทั้งหลายมายังศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดอีก แล้วพิจารณาโทษของการขาดมุทิตา และคุณของการมีมุทิตาพรหมวิหารว่า เราปรารถนาที่จะไม่เสื่อมจากสุขสมบัติและคุณสมบัติอย่างไร และปรารถนาในความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปในสุขสมบัติและคุณสมบัตินั้น จากผลของทาน ศีล ภาวนา ขึ้นไปเป็นผลของ ศีล สมาธิ และปัญญา, อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา, ปฐมมรรค มรรคจิต และมรรคปัญญา, ธรรมโคตรภู, พระโสดาปัตติมรรค, โสดาปัตติผล, พระสกิทาคามิมรรค พระสกิทาคามิผล, พระอนาคามิมรรค พระอนาคามิผล ยิ่งๆ ขึ้นไปเป็น พระอรหัตมรรค พระอรหัตตผล หรือถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเพียงใด ผู้อื่นหรือสัตว์อื่นทั้งหลายก็ย่อมปรารถนาในสุขสมบัติและคุณสมบัติเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อนเปี่ยมด้วยมุทิตาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและมุทิตาพรหมวิหารด้วยจิตใจที่ใสละเอียดบริสุทธิ์ จากศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของเราไปยังสรรพสัตว์อื่นทั้งหลาย ให้ใสละเอียดไปทั้งหมด

    แล้วพิสดารกายอรูปพรหมในอรูปพรหมต่อไป ใจของธรรมกายก็เพ่งลงไปที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม พอหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายอรูปพรหมในอรูปพรหม ก็ปรากฏขึ้นใหม่ ใจของธรรมกายก็หยุดนิ่งกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นอรูปพรหมในอรูปพรหม ใสละเอียดหมดทุกกายถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต จนสุขหมดไป คงแต่เอกัคคตา ก็จะเห็นองค์ฌานใหม่เกิดขึ้นรองรับทุกกาย เพ่งให้ใสละเอียดหมดทั้งฌานและกาย นี้เป็น จตุตถฌาน แล้วก็ขยายข่ายของญาณพระธรรมกายให้กว้างออกไปจนสุดจักรวาล หว่านล้อมเอาธาตุธรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลายเข้ามารวมที่ศูนย์กลางกายสุดละเอียดต่อไปอีก พิจารณาโทษของการขาดอุเบกขาพรหมวิหาร และคุณของการมีอุเบกขาพรหมวิหารว่า สรรพสัตว์ทั้งหลายต่างก็มีกรรมเป็นของตนเอง เป็นทายาทของกรรม เป็นผู้รับผลกรรมเอง เป็นผู้มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย ผู้ใดทำกรรมอันใดไว้ จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมต้องเป็นผู้รับผลแห่งกรรมนั้น เมื่อเพ่งพิจารณาจนจิตละเอียดอ่อน เปี่ยมด้วยอุเบกขาพรหมวิหารแล้ว ก็แผ่ฌานและอุเบกขาพรหมวิหารนั้นไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ให้ใสละเอียดทั่วกันหมดทั้งจักรวาล

    นี้เป็นวิธีเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌาน เป็นการเจริญภาวนาที่มีผลมากแก่ผู้อื่น และมีอานิสงส์มากแก่ผู้เจริญภาวนา แม้ผู้เจริญภาวนาที่มีสมาธิในระดับที่ต่ำอยู่ ก็สามารถน้อมใจเจริญภาวนาตามนี้ได้ แต่ต้องรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกาย ตรงกลางที่หมายจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือตรงกลางนิมิตที่ตรึกนึกให้เห็นด้วยใจ เป็นเครื่องหมายดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูมก็ได้ แล้วพยายามเพ่งพิจารณาตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ทำจิตใจให้สว่างดุจกลางวัน นึกให้เห็นนิมิตนั้นใสละเอียด แล้วก็แผ่ความใสละเอียดนั้นไปให้กว้างที่สุด เท่าที่จะกระทำได้ อย่างนี้ก็เป็นผลมาก และมีอานิสงส์มากยิ่งกว่าการสักแต่กล่าวคำแผ่พรหมวิหารออกไป โดยที่ส่งใจไปจรดที่อื่นมากมายนัก

    การเจริญพรหมวิหาร 4 ในระดับฌานนี้ มีอานิสงส์และอานุภาพมาก เมื่อกระทำจนชำนาญมากเข้า ก็จะสามารถแผ่พรหมวิหารนี้ไปยังสรรพสัตว์ในจักรวาลอื่น โดยอธิษฐานจิตซ้อนเข้ามาในลักษณะเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว ให้ศูนย์กลางตรงกันหมด ทับทวีทั่วทั้งแสนโกฏิจักรวาล อนันตจักรวาล ไม่มีประมาณทีเดียว


    -------------------------------------------------------------


    ราหุล ! เธอจง เจริญเมตตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่, พยาบาท จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญกรุณาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญกรุณาภาวนาอยู่, วิหิงสา (ความคิดเบียดเบียน) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญมุทิตาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่, อรติ (ความไม่ยินดีด้วยใครๆ) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอุเบกขา เถิด. เมื่อเธอเจริญอุเบกขาอยู่,ปฏิฆะ (ความหงุดหงิดแห่งจิต) จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอสุภะภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอสุภะภาวนาอยู่, ราคะ จักละไป.
    ราหุล ! เธอจง เจริญอนิจจสัญญาภาวนา เถิด. เมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่, อัสมิมานะ (ความสำคัญว่าตัวตนและของตน) จักละไป.
    **********************
    - ม. ม. ๑๓/๑๔๐/๑๔๕.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กันยายน 2015
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    เมื่อเริ่มปฏิบัติธรรมเห็นดวงแก้วอยู่ข้างหน้า ไม่สามารถน้อมเข้ามาได้ ควรทำอย่างไร จึงจะน้อมเข้ามาในตัวได้ ?

    -----------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    วิธีปฏิบัติ ก็ให้เหลือบตากลับนิดๆ ในขณะที่หลับตาภาวนาอยู่ พร้อมๆ กับรวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ มีที่หมายเป็นจุดเล็กใส พยายามจดจำอารมณ์ที่เห็นดวงแก้วใสนั่นไว้


    แล้วนึกให้เห็นดวงแก้วใสนั้นปรากฏขึ้นที่ศูนย์กลางกาย โดยกำหนดใจให้เห็นจุดเล็กใส ตรงศูนย์กลางดวงแก้วใส ณ ศูนย์กลางกายนั้นไว้ให้มั่น เพื่อให้ใจอันประกอบด้วย เห็น จำ คิด รู้ มารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน หยุดในหยุดกลางของหยุด นิ่งลงตรงนั้น ถ้าใจจะซัดส่ายหรือฟุ้งซ่านออกนอกตัว ก็ให้มีสติรู้เท่าทันในนิวรณ์กิเลสเช่นนั้น และกำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอรหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดนิ่งลงตรงนั้น

    ไม่ช้า ใจจะรวมลงหยุดเป็นจุดเดียวกัน ก็จะเห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสสว่าง ปรากฏขึ้นมาเอง

    เมื่อใจหยุดนิ่งดีแล้ว ก็ปล่อยตาซึ่งเหลือบกลับให้เป็นไปตามธรรมชาติต่อไป เห็นแล้วก็อย่าตื่นเต้น ให้รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดกลางของกลางดวงใสสว่างนั้น หยุดนิ่งถูกส่วน ศูนย์กลางก็จะขยายออก และจะเห็นดวงใสสว่างละเอียดยิ่งกว่าเดิมปรากฏขึ้นมาใหม่เรื่อยๆ คือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ใสละเอียดที่สุด

    เมื่อหยุดในหยุดกลางของหยุด ศูนย์กลางจะขยายออกแล้วจะเห็นกายในกาย ณ ภายในของเราปรากฏขึ้นมาเอง ก็ให้ดับหยาบไปหาละเอียด คือละความรู้สึกอันเนื่องด้วยกายหยาบเข้าไปเป็นกายละเอียด พร้อมกับรวมใจหยุดนิ่งลงไปที่ศูนย์กลางกายละเอียดๆ ที่ปรากฏขึ้นมานั้น ให้ใสละเอียดหมดทั้งดวงธรรมและกาย เมื่อกายในกายปรากฏขึ้นใหม่ ก็ให้ปฏิบัติตามแบบเดิม คือดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายที่ละเอียดๆ นั้น รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุดให้ใสละเอียดทั้งดวงและกายเรื่อยไป โตใหญ่ใสละเอียดไปตามกายจนถึงธรรมกายที่สุดละเอียด
     
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    การมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อริยสัจ 4 นี้ เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ของการเจริญสติปัฏฐาน 4 อันเป็น เอกายนมรรค คือ หนทางอันเอก ให้ถึงมรรค ผล นิพพาน โดยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) คือ อริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยว่าอริยสัจ 4 ก็มีอริยมรรคมีองค์ 8 และอริยมรรคมีองค์ 8 เล่า ก็มีสติปัฏฐาน 4 คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม ทั้ง ณ ภายนอก และ ณ ภายใน

    เฉพาะในส่วนของการมีสติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ก็มีตั้งแต่การมีสติพิจารณา นิวรณ์ 5 (อันเป็นธรรมปฏิบัติในขั้นอนุวิปัสสนา) อุปาทานขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 และอริยสัจ 4 ซึ่งก็จะมีข้อกำหนดรวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8 และทั้งสติปัฏฐาน 4 อันจะขยายผลถึงการมีสติพิจารณาเห็นธาตุ 18 อินทรีย์ 22 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ให้เจริญขึ้นเต็มภูมิวิปัสสนา ตั้งแต่ระดับอนุวิปัสสนาถึงโลกุตตรวิปัสสนา และยังให้ข้อปฏิบัติอื่นๆ เจริญขึ้น อันเป็นทางให้บรรลุวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด และเป็นธรรมเกื้อหนุนอริยมรรคให้เจริญขึ้น ถึงความบรรลุมรรคผลนิพพานที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวงและที่เป็นบรมสุข ได้แก่

    1.จรณะ 15 ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุวิชชา (ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิดทุกข์ทั้งปวง) คือ ศีลสัมปทา อินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา ชาคริยานุโยค ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยารัมภะ สติ ปัญญา และ รูปฌาน 4


    2.โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ คือ ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ และธรรมเครื่องเกื้อหนุนอริยมรรค ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 และ อริยมรรคมีองค์ 8
    สมเด็จพระผู้มีพระภาคจึงตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์เป็นปฐมเทศนาว่า

    "จกฺขุ ํ อุทปาทิ, ญาณํ อุทปาทิ, ปญฺญา อุทปาทิ, วิชฺชา อุทปาทิ, อาโลโก อุทปาทิ ..." (สํ.มหา.19/1666-1669/529-530)
    "จักษุเกิดขึ้นแล้ว, ญาณ [ความหยั่งรู้-เห็น] เกิดขึ้นแล้ว, ปัญญาเกิดขึ้นแล้ว, วิชชาเกิดขึ้นแล้ว, ความสว่างแจ้งเกิดขึ้นแล้ว แก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ว่า นี้คือทุกข์ ... นี้เหตุแห่งทุกข์ ... นี้ความดับทุกข์ [สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ] ... นี้ข้อปฏิบัติเพื่อถึงความดับทุกข์ ..."








    สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ขณะทรงบำเพ็ญสมณธรรมใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ ในคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะ เมื่อ 2588 ปีล่วงมาแล้วนั้น (ปีนี้ พ.ศ.2543) จึงได้ทรงเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาเพื่อเจริญวิชชา ธรรมเครื่องดับอวิชชามูลรากฝ่ายเกิด เริ่มตั้งแต่ วิชชาที่ 1 ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ในยามต้นแห่งราตรี, วิชชาที่ 2 จุตูปปาตญาณ ในยามกลางแห่งราตรี และ วิชชาที่ 3 อาสวักขยญาณ โดยการพิจารณาอริยสัจ 4 และ ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ในยามปลายแห่งราตรี จนเห็นแจ้งแทงตลอดในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 (คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ) มีอาการ 12 และมีญาณหยั่งรู้วิธีทำอาสวกิเลสให้สิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในตอนรุ่งอรุณแห่งคืนวันเพ็ญเดือนวิสาขะนั้นเอง




    จึงขอแนะนำวิธีเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 ตามแนวสติปัฏฐาน 4 ถึงธรรมกาย และพัฒนาขึ้นเป็นวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ต่างเป็นธรรมกาย) ที่พระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้ปฏิบัติและสั่งสอนศิษยานุศิษย์ มีปรากฏในหนังสือ วิชชามรรคผลพิสดาร เล่มที่ 1 และ เล่มที่ 3 (หนังสืออาสวักขยญาณชั้นสูง) อันเป็นธรรมปฏิบัติส่วนสำคัญของสติปัฏฐาน 4 นี้ มาแสดงไว้ก่อน เพื่อดำเนินตามรอยบาทพระพุทธองค์ ดังต่อไปนี้




    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว ก็ให้พิสดารกายไปจนสุดละเอียด และให้สมาธิตั้งมั่นดีเสียชั้นหนึ่งก่อน

    ในลำดับนี้ก็จะได้แนะนำการพิจารณาอริยสัจ 4 ให้เห็น ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ และมรรคอริยสัจ อีกต่อไป

    การพิจารณาให้เห็นสัจจะทั้ง 4 แต่ละอย่าง
    พึงเข้าใจเสียก่อนว่า

    ทุกข์ เป็น ผล, สมุทัย เป็น เหตุ
    นิโรธ เป็น ผล, มรรค เป็น เหตุ

    หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะสมุทัย ทุกข์จึงเกิด, แต่ถ้ามรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธก็แจ้ง กล่าวคือ เมื่อมรรคเจริญขึ้นแล้ว นิโรธคือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะสมุทัยอันเป็นตัวเหตุดับก็แจ้ง, เมื่อสมุทัยอันเป็นตัวเหตุแห่งทุกข์ดับ ทุกข์ก็ดับลงโดยอัตโนมัติ

    1. ทุกขอริยสัจ
    ทุกขอริยสัจนั้นมีลักษณะสัณฐานกลม มีสีดำๆ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ขยายส่วนหยาบมาจากธาตุละเอียด ซ้อนอยู่ในกลางดวงอัญญาตาวินทรีย์ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม มีซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ ดวงชาติทุกข์ (ทุกข์เพราะเกิด), ดวงชราทุกข์ (ทุกข์เพราะแก่), ดวงพยาธิทุกข์ (ทุกข์เพราะความเจ็บไข้ได้ป่วยต่างๆ), และ ดวงมรณทุกข์ (ทุกข์เพราะความตาย)

    ในดวงกลมของทุกข์นั้นยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้นๆ อีก 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด รู้ และขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และวิญญาณ ของกายมนุษย์ ของทิพย์ ของรูปพรหม และของอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะทั้งหมด แต่ทุกข์ส่วนหยาบก็มีอยู่ในกายหยาบคือกายมนุษย์ ทุกข์ส่วนละเอียดก็มีอยู่ในกายที่ละเอียดๆ คือ กายทิพย์ รูปพรหม และอรูปพรหมต่อไป ตามลำดับ

    เฉพาะทุกข์ของมนุษย์นั้น ชาติทุกข์ หรือสิ่งที่เรียกว่าเป็นความเกิดนั้น มีลักษณะเป็นดวงกลมใส ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ สีขาวบริสุทธิ์ ดวงนี้เองเป็นดวงเริ่มเกิดของมนุษย์ทุกคน ถ้าดวงนี้ไม่มาจรดที่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ (ของมารดา) กายมนุษย์ก็จะมาเกิดไม่ได้

    ใช้ตาหรือญาณของธรรมกายดูความเกิดและเหตุที่จะทำให้เกิด ให้เห็นตลอด แล้วก็ดูความแก่ต่อไป

    ความแก่ (ชราทุกข์) นี้ซ้อนอยู่ในกลางดวงเกิด (ชาติทุกข์), มีลักษณะกลม สีดำเป็นนิล แต่ไม่ใส ขนาดโตเท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็กเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ เวลาที่ดวงแก่นี้ยังเล็กอยู่ ก็เป็นเวลาที่เริ่มแก่, แต่ถ้าดวงนี้ยิ่งโตขึ้น กายก็ยิ่งแก่เข้าทุกที ดวงแก่นี้เองที่เป็นเหตุให้ร่างกายทรุดโทรม เมื่อแก่มากขึ้นก็ต้องมีเจ็บ (พยาธิทุกข์) เพราะดวงเจ็บนั้นซ้อนอยู่ในกลางดวงแก่นั้นเอง เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กันกับดวงเกิด ดวงเจ็บนี้มีสีดำเข้มกว่าดวงแก่ ขณะเมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดเข้าในศูนย์กลางดวงแก่เข้าเวลาใด กายมนุษย์ก็จะต้องเจ็บไข้ทันที เมื่อดวงเจ็บนี้มาจรดหนักเข้า ดวงตาย (มรณทุกข์) ก็จะเข้ามาซ้อนอยู่ในกลางดวงเจ็บ เป็นดวงกลมขนาดเท่าๆ กับดวงเจ็บ แต่มีสีดำใสประดุจนิลทีเดียว เมื่อดวงนี้เข้ามาจรดกลางดวงเจ็บแล้ว ถ้ามาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของมนุษย์กับทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อกายมนุษย์ไม่เนื่องกับกายทิพย์แล้ว กายมนุษย์ก็จะต้องตายทันที

    กายมนุษย์ที่เป็นทุกข์นั้น ก็เพราะอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ว่าเป็นตัวตน บุคคล เรา เขา ของเรา ของเขา จึงได้ชื่อว่า รูปูปาทานักขันโธ, เวทนูปาทานักขันโธ, สัญญูปาทานักขันโธ, สังขารูปาทานักขันโธ และ วิญญาณูปาทานักขันโธ ทั้งนี้ก็เพราะว่า ในขันธ์ทั้ง 5 คือ ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั้น ต่างก็มีเห็น จำ คิด และรู้ ซ้อนประจำอยู่ แล้วขยายส่วนหยาบออกมาเป็น กาย ใจ จิต และ วิญญาณ เจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกายเนื้อ และใจนั่นเอง

    ขันธ์ทั้ง 5 นั้น เป็นประดุจดังว่าบ้านเรือนที่อาศัยของเห็น จำ คิด รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นที่ตัวบ้านเรือนที่อาศัย ผู้อาศัยอยู่ คือ เห็น จำ คิด รู้ ซึ่งยึดติดอยู่กับรูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณนั้นเองที่รู้สึกเดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะเข้าไปยึดว่าขันธ์แต่ละขันธ์นั้นว่าเป็นตัวเรา เราเป็นนั้น นั้นมีในเรา นั้นเป็นของเรา ซึ่งรวมเรียกว่า สักกายทิฏฐิ 20 (คือแต่ละขันธ์ มีสักกายทิฏฐิ 4, ขันธ์ 5 ขันธ์ จึงเป็นสักกายทิฏฐิ 20)

    กล่าวโดยย่อ อุปาทานขันธ์ 5 เป็นทุกข์ ดังบาลีพระพุทธภาษิตที่ว่า สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา ซึ่งก็คือ เห็น จำ คิด รู้ นั่นเองที่เข้าไปยึดถือในขันธ์ 5 จึงเป็นทุกข์

    อนึ่ง ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็ได้แต่เพียงกำหนดรู้ไว้ว่าเป็นทุกข์เท่านั้น จะดับทุกข์ก็ยังไม่ได้ ถ้าจะดับทุกข์ก็จะต้องละสมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์เสียก่อน ทุกข์จึงจะดับ เพราะทุกข์นี้เกิดขึ้นและตั้งอยู่ได้ก็เพราะอาศัยสมุทัยเป็นเหตุ คือ ทุกข์นั้นอยู่ชั้นนอก สมุทัยซ้อนอยู่ชั้นใน ชั้นนอกจะเกิดขึ้นได้และเจริญอยู่ได้ก็เพราะอาศัยชั้นในรักษา ถ้าชั้นในซึ่งเป็นใจกลางดับ ชั้นนอกซึ่งเป็นเสมือนเปลือกหุ้มอยู่ก็ต้องดับตามไปด้วย เพราะเหตุนั้น การดับทุกข์จึงต้องดับตัวสมุทัยซึ่งเป็นตัวเหตุเสียก่อน ทุกข์ซึ่งเป็นตัวผลจึงจะดับตาม

    เมื่อกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาหรือญาณพระธรรมกายว่า ความเกิด แก่ เจ็บ และตายนี้ เป็นทุกข์จริง (ทุกขอริยสัจ) เรียกว่า สัจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งด้วยตาและญาณพระธรรมกายว่า ทุกขอริยสัจนี้ควรกำหนดรู้ เรียกว่า กิจจญาณ, และกำหนดรู้โดยความเห็นแจ้งรู้แจ้งชัดว่า ความทุกข์ทั้งหลายเหล่านี้เราได้กำหนดรู้ชัดแล้ว ชื่อว่า กตญาณ เช่นนี้เรียกว่าพิจารณาทุกขสัจซึ่งเป็นไปในญาณ 3

    2. สมุทัยอริยสัจ
    เหตุให้เกิดทุกข์นั้น มีลักษณะสัณฐานกลม สีดำ ขุ่นมัว ไม่ผ่องใส ซ้อนอยู่ในกลางดวงทุกขสัจ ที่ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้นแหละ ขนาดเล็ก เท่าเมล็ดโพธิ์ ขนาดโต เท่าดวงจันทร์ มีซ้อนกันอยู่ 3 ชั้น คือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา มีความละเอียดและดำมากกว่ากันเข้าไปเป็นชั้นๆ ในดวงสมุทัยนี้ยังมีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ ของกายทิพย์หยาบ ทิพย์ละเอียด, รูปพรหมหยาบ รูปพรหมละเอียด และ อรูปพรหมหยาบ อรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ แต่สมุทัยในแต่ละกายนี้หยาบละเอียด ตามความหยาบ-ละเอียดของแต่ละกายเข้าไปตามลำดับ

    ส่วนรูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งสัมผัสทางกาย ซึ่งเรียกว่า กามคุณ หรือ วัตถุกาม ทั้ง 6 อย่างนี้เป็นของทิพย์ เพราะเกิดขึ้นแล้วก็ดับหายไป คงทิ้งไว้แต่ความยินดี-ยินร้ายให้ปรากฏฝังใจอยู่เท่านั้น, กามตัณหา คือ ความทะยานอยากในกามคุณทั้ง 5, ภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้กามคุณที่พึงพอใจที่ตนมีอยู่แล้ว ให้ดำรงอยู่ และความทะยานอยากในความอยากมี อยากเป็นโน่น เป็นนี่ และ วิภวตัณหา คือ ความปรารถนาที่จะให้สิ่งที่ไม่เป็นที่พึงพอใจ พินาศไป หรือไม่อยากจะได้พบ ได้เห็น หรือความทะยานอยากที่จะไม่มี ไม่เป็นในสิ่งที่ตนไม่พึงปรารถนาทั้งหลาย เหล่านี้มีอยู่ในก้อนกายทิพย์ ด้วยเหตุนี้ สิ่งที่เป็นทิพย์ เป็นต้นว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือสิ่งสัมผัสทางกาย และ ธรรมารมณ์ เหล่านี้จึงเต็มไปด้วยตัณหา และชุ่มโชกสดชื่นไปด้วยตัณหา

    สิ่งที่เป็นทิพย์นั้น เมื่อจุติ (เคลื่อน คือตายจากภพหนึ่ง) แล้วก็จะไปแสวงหาที่เกิดใหม่ เรียกว่า กายสัมภเวสี ถ้าแสวงหาที่เกิดได้แล้ว เรียกว่า กายทิพย์ ซ้อนอยู่ภายในกายมนุษย์ละเอียดนั้นแหละ จึงกล่าวว่า ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และเจริญอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยสมุทัยซึ่งมีอยู่ในก้อนกายทิพย์เป็นเหตุ

    และก็ใคร่จะขอย้ำว่า กำเนิดเดิมของทิพย์ รูปพรหม อรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียดนั้น ก็มิใช่อื่นไกล ก็คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาจากขันธ์ 5 ที่กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเอง

    โดยเหตุนี้ กายทั้ง 8 คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด และ กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ซึ่งเป็นกายโลกิยะ จึงต้องตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ คือ ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา

    เมื่อเห็นด้วยตา และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา ซึ่งรวมเรียกว่าสมุทัยนี้ เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง (สมุทัยอริยสัจ) ชื่อว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, เห็นแจ้งด้วยตาธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ควรละ ชื่อว่า ได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นแจ้ง รู้แจ้งด้วยญาณธรรมกายว่า สมุทัยอริยสัจนี้ เราละได้แล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ ดังนี้เรียกว่า พิจารณาสมุทัยอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3

    3. ทุกขนิโรธอริยสัจ
    เมื่อเห็นแจ้ง รู้แจ้งในสมุทัยอริยสัจแล้ว ก็ต้องดูให้รู้ถึงสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ ที่เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ นี้ เป็นดวงกลมใส ซ้อนอยู่ในสมุทัยอริยสัจ ในกลางขันธ์ 5 ในกำเนิดธาตุธรรมเดิม ซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา มีหุ้มซ้อนกันอยู่ 4 ชั้น คือ เห็น จำ คิด และ รู้ ซึ่งขยายส่วนหยาบออกมาเป็นกาย ใจ จิต และ วิญญาณ เดิม ของกายโลกิยะ ซึ่งเปลี่ยนสภาพ เพราะวิญญาณของกายโลกิยะดับ กลับเป็นญาณของกายธรรม หรือ ธรรมกาย นั่นเอง

    เมื่อมรรคอันเป็นเหตุ เกิดและเจริญขึ้น รวมกันเป็นเอกสมังคีนั้น นิโรธธาตุอันเป็นผล ย่อมเป็นธรรมอันพระอริยเจ้าท่านได้บรรลุ พร้อมกับสมุทัยอันเป็นเหตุดับ และทุกข์อันเป็นผลของสมุทัยก็ดับทันที เหมือนรัศมีของพระอาทิตย์ที่ขจัดความมืดให้หายไป ฉะนั้น

    อนึ่ง ใคร่จะทบทวนไปถึงที่เคยได้แนะนำวิธีพิจารณาเห็นจิตในจิต คือ อาสวกิเลส ซึ่งเอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น อยู่ในเห็น จำ คิด และ รู้ ของกายโลกิยะทั้ง 8 ว่า เมื่อเจริญภาวนาได้ถึงธรรมกายแล้วนั้น ใจของธรรมกายอันประกอบด้วยเห็น จำ คิด รู้ ย่อมสิ้นรสชาติจากอาสวะจนจืดสนิท และเห็น จำ คิด รู้ นั้น ก็กลับเป็นอาสวักขยญาณ ส่วนอวิชชาเครื่องหุ้มรู้นั้น ก็กลับเป็นตัววิชชา ให้รู้แจ้งในสัจจธรรมขึ้นมาทันที เห็น จำ คิด และ รู้ จึงเบิกบานเต็มที่ ขยายโตขึ้นเต็มส่วนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักของพระธรรมกาย ส่วนเห็น จำ คิด และ รู้ ในก้อนทุกข์และสมุทัยของกายโลกิยะเดิมจึงดับหมด เป็นวิกขัมภนวิมุตติ ตั้งแต่เมื่อเจริญภาวนาถึงธรรมกาย นับตั้งแต่กายลำดับที่ 9 ซึ่งเป็นกายโลกุตตระเป็นต้นไปจนสุดธรรมกายพระอรหัตละเอียด ต่อเมื่อละสังโยชน์ได้หมด จึงจัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ คือ หลุดพ้นโดยเด็ดขาด โดยสิ้นเชิง






    เมื่อได้เห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า ความดับทุกข์ คือ สภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับคือนิโรธอริยสัจ มีได้ เป็นได้จริง เรียกว่าได้บรรลุ สัจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ควรทำให้แจ้ง ชื่อว่าได้บรรลุ กิจจญาณ, และเห็นด้วยตาพระธรรมกาย รู้แจ้งด้วยญาณพระธรรมกายว่า นิโรธอริยสัจนี้ เราได้กระทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า ได้บรรลุ กตญาณ

    ดังนี้คือการพิจารณานิโรธอริยสัจ เป็นไปในญาณ 3
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ผู้ที่ปฏิบัติจนเข้าถึง18กายหลัก เป็นพระอริยบุคคลแล้วหรือ??

    
    ผู้ที่ฝึก 18 กายเมื่อเห็นจริงแล้ว เป็นพระอริยบุคคล เข้าโลกุตตระ เห็นพระนิพพานตามความหมายของพระพุทธศาสนาแล้วใช่ไหม ? ถ้าไม่ใช่ จะอุปมาการเห็นนั้นให้เข้าใจได้อย่างไร ?

    --------------------------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถ้าเพียงแต่เข้าถึงรู้เห็นชั่วคราว ชื่อว่าโคตรภูบุคคล เมื่อใดที่จิตจรดอยู่ในความรู้สึกเป็นธรรมกายอยู่ จิตจรดที่ใสละเอียดอยู่ ก็ปราศจากกิเลส ตามระดับของความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ที่จิตจรดอยู่อย่างนั้น แต่ขณะใดที่จิตออกจากที่สุดละเอียดของธรรมกาย กิเลสก็สามารถทำอะไรได้ เช่นเดียวกับปุถุชนทั่วไป

    เพราะฉะนั้นกระผมถึงกล่าวเสมอว่า ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้วอย่าเหิมเกริม ต้องมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และเห็นธรรมในธรรมอยู่เสมอ อย่างน้อยต้องคอยพิจารณาดูว่า จิตใจเราขุ่นมัวหรือผ่องใส ถ้าขุ่นมัวก็รีบดับหยาบไปหาละเอียดไปสู่สุดละเอียดถึงความเป็นธรรมกายพระอรหัตในพระอรหัตๆ ๆ หรือถึงธรรมกายในเบื้องต้นก็ดีแล้ว นี้เป็นวัตถุประสงค์สำคัญของการเจริญสติปัฏฐาน 4 ไม่ใช่พิจารณาเห็นเฉย ๆ แต่ให้พิจารณาสภาวธรรมทั้งที่เป็นสังขารและวิสังขาร ให้เจริญปัญญารู้แจ้งในสภาวธรรม ให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 ไปตามระดับภูมิธรรม แล้วดับหยาบไปหาละเอียด ถึงธรรมกายที่สุดละเอียด ถึงพระนิพพาน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ด้วยญาณของธรรมกาย ดำรงอยู่ในที่สุดละเอียดนั้นเสมอ จิตใจก็จะบริสุทธิ์ผ่องใส โลกุตตรธรรมคือมรรคผลนิพพานก็จะปรากฏมีขึ้นได้เสมือนหนึ่งชาวนาที่ทำหน้าที่ของชาวนาดีที่สุด ปลูกข้าวไขน้ำเข้านาใส่ปุ๋ย ถอนวัชพืชศัตรูข้าว ฯลฯเป็นต้นดีแล้ว เมื่อถึงเวลา ข้าวก็ออกรวงเอง นี้เป็นพระพุทธดำรัสของพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน

    ธาตุธรรมเมื่อแก่กล้า บุญบารมีเต็ม ก็จะสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งและกำจัดกิเลสอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้

    แต่ว่าผู้ปฏิบัติได้ถึงธรรมกายไม่แน่เสมอไปว่าจะเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ เพราะการอธิษฐานจิตบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกัน เช่นบางคนตั้งใจบำเพ็ญบารมีเป็นผู้บรรลุมรรคผลนิพพานในระดับปกติสาวก ก็ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ค่อนข้างจะง่ายกว่าเร็วกว่าผู้ที่บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์เพราะพระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีจนถึงปรมัตถบารมีตามส่วนของท่านแล้ว จึงจะบรรลุมรรคผลนิพพาน และพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้

    ถ้าบำเพ็ญบารมีถึงธรรมกายที่ยังไม่ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอริยบุคคล แล้วกลับประมาทขาดสติสัมปชัญญะ ไม่มีศีลสังวรเมื่อใดหรือขาดอินทรีย์สังวร ญาณสังวรก็เป็นอันเสร็จ คือจิตตกต่ำไปด้วยอำนาจของกิเลสได้เหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น กระผมจึงกล่าวเสมอ แม้เมื่อเช้านี้ก็กล่าวกับพระให้ท่านรับคำว่า ต่อแต่นี้ไปผู้ถึงธรรมกายแล้วพึงจะมีอินทรีย์สังวร ศีลสังวร ญาณสังวร เพื่อรักษาตนไปจนถึงธาตุธรรมแก่กล้าบุญบารมีเต็ม สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้แล้วโดยสิ้นเชิงนั่นแหละจึงวางใจได้

    แต่ว่าท่านผู้ใดถึงธรรมกายแล้วเจริญภาวนาให้เกิดปัญญาแจ้งชัดในสภาวธรรมด้วยสมถะและวิปัสสนา มีกำลังเสมอกัน จิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์

    โลกุตตร มรรคจิต มรรคปัญญา เกิดและเจริญขึ้นให้สามารถตัดสัญโญชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้ก็บรรลุมรรค ผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ ข้อนี้ไม่มีประมาณ

    เพราะฉะนั้น ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรมอาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน

    ส่วนธรรมกายที่บรรลุมรรคผลนิพพานเพราะกำจัดสัญโญชน์ได้หมดโดยเด็ดขาดแล้ว เป็นวิสุทธิขันธ์เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม แล้วย่อมไม่ดับ ไม่มัวหมอง เพราะธาตุธรรมนั้นไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งแล้ว แต่สำหรับผู้ถึงธรรมกายที่ยังตัดสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการยังไม่ได้ ก็ยังเห็น ๆ หาย ๆยังไม่ใช่ธรรมกายมรรค ผล นิพพานที่บริสุทธิ์แท้ ๆ ยังประกอบด้วยเครื่องปรุงแต่งทั้งธรรมที่เป็นบาปอกุศลและทั้งกุศล มีศีล สมาธิ ปัญญาอยู่ มีส่วนประกอบอยู่ แต่ว่ากุศลธรรมที่บริสุทธิ์ มีมากยิ่งกว่าฝ่ายบาปอกุศล จึงสามารถปฏิบัติธรรมเข้าถึงธรรมกายได้ชั่วขณะที่จิตใจยังบริสุทธิ์ ผ่องใส ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ถึงธรรมกายโคตรภูบุคคล ฯลฯ ได้เป็นต้น

    ธรรมกายที่บรรลุมรรค ผล นิพพานแล้ว คือกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้แล้ว นั่นแหละแน่นอนไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ไม่ถอยคืนกลับมามีแต่จะเจริญงอกงามจนถึงที่สุด คือ ธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้ว ชื่อว่าพระนิพพาน นั่นแหละเป็นวิสังขารแท้ ๆ เป็นพระนิพพาน เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรมแท้ ๆ ไม่ประกอบด้วยปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 สิงหาคม 2015
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    โพชฌงค์ ๗

    " โพชฌงค์ ๗ "
    สติสัมโพชฌงค์ เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย เอาสตินิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุด ไม่หยุดก็ไม่ยอม ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว ทำจนกระทั่งใจหยุดได้ นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ ไม่เผลอเลยทีเดียว ที่ตั้งที่หมาย หรือกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น ไม่เผลอสติทีเดียว ระวังใจหยุดนั้นไว้ นั่งก็ระวังใจหยุด นอนก็ระวังใจหยุด เดินก็ระวังใจหยุด ไม่เผลอเลย นี่แหละตัวสติสัมโพชฌงค์แท้ๆ จะตรัสรู้ต่างๆ ได้เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

    ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ก็สอดส่องอยู่ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหน ความดีจะลอดเข้ามาหรือความชั่วจะลอดเข้ามา ความดีลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด ความชั่วลอดเข้ามาก็ทำให้ใจหยุด ดี-ชั่วไม่ผ่องแผ้วไม่เอาใจใส่ ไม่กังวล ไม่ห่วงใย ใจหยุดระวังไว้ ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน นั่นเป็นตัวสติวินัย ที่สอดส่องอยู่นั่นเป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

    วิริยสัมโพชฌงค์ เพียงรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้ทาย ไม่ให้เคลื่อนทีเดียว ไม่เป็นไปกับความยินดี-ยินร้ายทีเดียว ความยินดี-ยินร้ายเป็น อภิชฌา โทมนัส เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไปให้เสียผิวไป ไม่ให้หยุดเสียให้เขยื้อนไปเสีย ให้ลอกแลกไปเสีย มั่วไปดีๆ ชั่วๆ อยู่เสียท่าเสียทาง เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้ารักษาไว้ให้หยุดท่าเดียว นี้ได้ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์เป็นองค์ที่ ๓

    ปีติสัมโพชฌงค์ เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ ดีอกดีใจร่าเริงบันเทิงใจ อ้ายนั่นปีติ ปีติที่ใจหยุดนั่น ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลย หยุดนิ่งอยู่นั่น นั่นปีติสัมโพชฌงค์ นี้เป็นองค์ที่ ๔

    ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่าระงับซ้ำ หยุดในหยุดๆๆ ไม่มีถอยกัน พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น หยุดในหยุด หยุดในหยุด นั่นทีเดียว นั่นปัสสัทธิระงับซ้ำเรื่อยลงไป ให้แน่นหนาลงไว้ไม่คลาดเคลื่อน ปัสสัทธิ มั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่นไม่ได้เป็นสอง ไปเป็นหนึ่งทีเดียว นั่นเรียกว่า สมาธิทีเดียว นั่นแหละ

    พอสมาธิหนักเข้าๆ นิ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี้เรียนว่า อุเบกขาเข้าถึงนิ่งเฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)
    จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • Y4775273-7.jpg
      Y4775273-7.jpg
      ขนาดไฟล์:
      13.7 KB
      เปิดดู:
      46
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    กายทิพย์…ขึ้นขบวนแห่สู่สวรรค์ชั้นดุสิต

        มูลเหตุที่ นำให้ข้าพเจ้า (ภัลลิกา ศิลปบรรเลง) ได้บรรลุธรรมะถึงขั้นธรรมกายนั้นคือ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2479 บิดาของข้าพเจ้าหลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้ป่วยเป็นโรคบิดและลำไส้พิการ ซ้ำยังมีโรคอื่นผสมเข้าอีก เช่นโรคหัวใจรั่ว ซึ่งท่านเป็นอยู่ก่อน แต่ได้รักษาจนทุเลาแล้วกลับกำเริบขึ้นอีก จึงทำให้มีอาการมากาอย่างน่าวิตก บุตรภรรยาของท่านทุกคนมิได้นิ่งนอนใจ ได้ให้การรักษาพยาบาลกันอย่างเต็มที่ แพทย์ที่ทำการรักษาก็ล้วนแต่เป็นแพทย์ชั้นหนึ่งที่สำเร็จมาจากต่างประเทศ ทั้งนั้น แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น คงทรงกับทรุดอยู่เช่นเดิม     ข้าพเจ้ากับพี่สาวคนโต (ชิ้น ศิลปบรรเลง) เชื่อมั่นในอำนาจของคุณพระรัตนตรัย ได้อัญเชิญพระพุทธรูปประจำดวงชะตาของคุณพ่อกับรูปของเจ้าพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ประดิษฐานไว้ใกล้เตียงนอนเหนือศีรษะของท่านในขณะที่ท่านมีอาการไม่สู้ดี พยาบาลทุกคนก็ช่วยกันภาวนา สัมมา อะระหัง เรื่อยไป รู้สึกว่าอาการค่อยทุเลาขึ้น จนเป็นที่สังเกตได้ด้วยพุทธานุภาพปรากฏเช่นนี้ พี่สาวข้าพเจ้าจึงไปกราบเรียนเจ้าพระคุณหลวงพ่อ ขอบารมีให้ท่านช่วยถอนอาการโรค และขอธรรมกายมาช่วยถอนอาการที่บ้านด้วย เพราะอาการหนักมาก     แม้เจ้าคุณหลวงพ่อจะทราบโดยทิพย์ญาณของท่านแล้วว่าอาการป่วยของคุณพ่อ ข้าพเจ้าไม่มีหวังหาย ท่านก็ยังกรุณาให้แม่ชีธรรมกายไปช่วยถอนอาการป่วยให้ที่บ้านผลัดละ 2 คน แล้วหลวงพ่อวัดปากน้ำให้สติแก่พี่สาวข้าพเจ้าว่า “ไปบอกคุณหลวงให้หมั่นภาวนาไว้ เมื่อไม่หายก็จะได้ไปที่ดี” คุณพ่อข้าพเจ้าท่านก็ได้ภาวนาตามคำสั่งของหลวงพ่อวัดปากน้ำก่อนหน้าที่คุณ พ่อจะสิ้นชีวิตประมาณ 4-5 วัน     ในขณะที่แม่ชีเขานั่งเข้าที่ถอนโรค ข้าพเจ้าก็นั่งกับเขาบ้าง และมุมานะนั่งอย่างชนิดเอาเป็นเอาตายทีเดียว เพราะเห็นว่าเป็นวิธีเดียวที่จะช่วยให้คุณพ่อหายป่วยได้พร้อมกับตั้งสัตย์ อธิษฐานในใจว่า “ด้วยเดชะอำนาจคุณพระพุทธเจ้า และหลวงพ่อวัดปากน้ำจงโปรดบันดาลให้ข้าพเจ้าได้สำเร็จวิชชาธรรมกายของหลวง พ่อ หากข้าพเจ้าได้สำเร็จวิชชาธรรมกาย และช่วยถอนอาการโรคของคุณพ่อจนท่านหายเป็นปกติดีแล้ว ข้าพเจ้าจะลาออกจากงานไปบวชชีอยู่ที่วัดปากน้ำ ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจำเป็นจะต้องเสียเลือดเนื้อและชีวิต เพื่อช่วยให้คุณพ่อคงชีวิตอยู่ ข้าพเจ้าก็ยินดีและทุกอย่างเพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณท่าน” ด้วยอำนาจสัตยาธิษฐานนี้เอง พระท่านก็โปรดข้าพเจ้า     วันหนึ่งเมื่อข้าพเจ้าเข้ารับเวรพยาบาลคุณพ่อ ก็นั่งเข้าที่ภาวนา “สัมมา อะระหัง” เช่นเคย ในครั้งนี้ตั้งใจแน่วแน่ว่า ถ้าไม่สำเร็จจะไม่ยอมลุกขึ้นจากที่ จะนั่งคร่ำเคร่งอยู่เช่นนี้ทั้งกลางวันกลางคืน โดยไม่ยอมกินยอมนอน หรือเปลี่ยนอิริยาบถอีกเลย     ในที่สุดข้าพเจ้าก็แลเห็นเป็นแสงสว่างจ้าเหมือนแสงของดวงอาทิตย์ปรากฏขึ้น อย่างแจ่มชัดตรงหน้า แล้วมองเห็นร่างของคุณพ่อข้าพเจ้าถูกตัดออกจากกันเป็นท่อน ๆ ข้าพเจ้าจึงเล่าให้แม่ชีธรรมกายฟัง แม่ชีนั้นคือคุณรัมภา โพธิ์คำฉาย กับ คุณชั้น จอมทอง ต่างพากันบอกข้าพเจ้าว่า “คุณเห็นธรรมะคือได้วิชชาธรรมกายของหลวงแล้ว” แม่ชีทั้งสองแนะนำให้ข้าพเจ้าพยายามทำความเพียรให้มากยิ่งขึ้นแล้วสอนวิธี ถอนโรคให้ จนข้าพเจ้าเชื่อมร่างกายของคุณพ่อที่ขาดออกจากกันนั้นติดได้ สังเกตว่าคุณพ่อค่อยทุเลาขึ้น ต่อมาคุณทุ่ม (แม่ชีธรรมกายที่หลวงพ่อส่งมาผลัดเปลี่ยนเวรช่วยถอนอาการโรครุ่นที่ 2) ได้กรุณาต่อวิชชาให้ข้าพเจ้า จนได้ไปเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขอพระราชทานรัตนะ 7 (รัตนะ 7 นี้เป็นของคู่ของธรรมกาย ผู้ซึ่งสำเร็จวิชชาธรรมกายของหลวงพ่อแล้วทราบดีทุกคน) ข้าพเจ้าได้ใช้วิชชาธรรมกายถอนอาการโรคของคุณพ่ออยู่ประมาณ 2-3 วัน ก็ได้เห็นกายทิพย์ใสเป็นแก้วขาวบริสุทธิ์สวยงามมาก ออกมาจากอกของคุณพ่อ     ข้าพเจ้า บอกคุณชั้นและคุณทุ่มซึ่งนั่งถอนโรคอยู่ด้วยกันให้ดูแล้วช่วยกันสะกดด้วย อำนาจของธรรมกายนี้ จนกายทิพย์ของคุณพ่อกลับเข้าไปในร่างอีกดังเดิม เป็นอยู่เช่นนี้หลายครั้งหลายครา ข้าพเจ้าจึงแน่ใจว่าอาการป่วยของคุณพ่อไม่มีทางรอด หลวงพ่อท่านจึงได้สั่งกำชับมากับพี่สาว ให้บอกคุณพ่อมั่นอยู่ในการภาวนา และเมื่อวันที่ท่านเจ้าคุณหลวงพ่อได้มาฉันอาหารที่บ้าน     ก่อนหน้าคุณพ่อจะสิ้นนั้น ท่านยังได้กรุณาบอกแก่คุณพ่ออีกว่า“คุณหลวง! ทำใจให้ดีนะ หมั่นภาวนาไว้ให้มั่น เราสู้เขาไม่ได้ เราก็ไปทางดี”โอวาท ของเจ้าพระคุณหลวงพ่อครั้งนี้ทำให้คุณพ่อข้าพเจ้าได้สติและภาวนาอยู่จน กระทั่งท่านสิ้นไป ด้วยอำนาจของการภาวนานี้แหละเมื่อก่อนหน้าที่คุณพ่อจะสิ้นใจ     ข้าพเจ้าได้เห็นมีขบวนแห่ประกอบด้วยเครื่องสูง มีฉัตร อภิรุม ชุมสายบังแทรก บังสูรย์ ฯลฯ มาลอยอยู่เหนือร่างของท่านเมื่อกายทิพย์ออกจากร่าง ขบวนแห่นั้นก็เข้าห้อมล้อม นำกายทิพย์ของคุณพ่อขึ้นรถที่มาในขบวนนั้น แล้วก็เคลื่อนขบวนลอยสูงขึ้นสูงขึ้นทุกทีจนลับหายไปในอากาศ     ข้าพเจ้าถามคุณทุ่มว่าที่ข้าพเจ้าเห็นนี้เป็นความจริงหรือไม่ก็ได้รับการ ยืนยันว่า “เป็นความจริง”  ข้าพเจ้า จึงไม่เสียใจในมรณกรรมของคุณพ่อครั้งนี้ เพราะได้เห็นและรู้ว่า ท่านไปสู่ที่สุขจริง ๆ บางท่านอาจไม่เชื่อว่า เพียงแต่การภาวนาเมื่อก่อนจะตายเท่านั้นจะมีกุศลสูงส่ง ซึ่งเป็นการเหลือวิสัย     ข้าพเจ้าขอชี้แจงว่า คนเราเมื่อเวลาจะตายนั้นมีหนทาง 2 แพร่ง ถ้านึกถึงกรรมชั่วก็ต้องไปสู่ทุคติ ถ้านึกถึงกรรมดีก็ไปสู่สุคติ คุณพ่อข้าพเจ้าได้บำเพ็ญความเพียรในวิชชาของหลวงพ่อมากว่า 20 ปีแล้ว ทั้งท่านยังมั่นในพระพุทธศาสนาอย่างแน่วแน่ ท่านได้ประกอบกุศลกิจมิได้ขาด มีทำบุญให้ท่าน ฯลฯ และให้วิทยาทานแก่คนทั่วไปทุกวันด้วยการสอนวิชาดนตรีปี่พาทย์ทุกชนิด ให้เปล่า ๆ โดยมิได้คิดมูลค่าสิ่งใด     นับเป็นเวลาหลายสิบปี ท่านได้ประกอบกองการกุศล บำเพ็ญวิทยาทานเช่นนี้เรื่อยมาจนมีลูกศิษย์ลูกหามากมายเกือบครึ่งประเทศ คนเหล่านั้นต่างก็นำเอาวิชาความรู้ที่ได้รับจากท่านนั้นไปประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเองและครอบครัวอยู่ตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ ผลของการที่ท่านได้ประกอบกองการกุศลไว้มากมายนี้เอง กับทั้งท่านเชื่อมั่นในวิชชาของหลวงพ่ออย่างจริงจังท่านภาวนาอยู่เรื่อยมิ ได้ขาด ฉะนั้นเมื่อท่านดับจิต กรรมจึงส่งให้ไปสู่สุคติ     ข้าพเจ้าได้ทราบในภายหลัง เมื่อข้าพเจ้าได้เรียนวิชชาพูดกับวิญญาณต่าง ๆ ได้แล้วว่า คุณพ่อของข้าพเจ้าท่านได้เห็นธรรมะของพระพุทธเจ้าเมื่อจวนจะสิ้นใจ จากการภาวนาวิชชาของหลวงพ่อวัดปากน้ำกุศลนี้จึงส่งให้ท่านได้ไปเสวยสุขและ บำเพ็ญธรรมอยู่บนสวรรค์ชั้น 4 คือชั้นดุสิต ซึ่งสวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตย์สำหรับเทพเจ้าผู้มุ่งบำเพ็ญธรรมเท่านั้น



    ภัลลิกา ศิลปบรรเลง
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    ความลึกซึ้งของวิชชาธรรมกาย


    " ให้หนึ่งไว้ในใจว่า
    ต่อแต่นี้ไปเราจะต้อง เข้าให้ถึงที่สุด
    เข้าไปในกายที่สุดของเราให้ได้
    เป็นกายๆ ออกไป
    เมื่อเป็นกายๆ เข้าไปแล้ว
    ถ้าทำเป็นแล้ว ไม่ใช่เดินท่านี้นะ
    เดินในไส้ทั้งนั้น
    ในไส้เห็น ไส้จำ ไส้คิด ไส้รู้
    ในกำเนิดดวงธรรม ที่ทำให้เป็นสุดหยาบสุดละเอียด
    (เถา ชุด ชั้น ตอน ภาค พืด ... ฯลฯ)
    เดินในไส้ (หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุด ๆ ๆ ๆ)
    ไม่ใช่เดินทางอื่น
    เดินในกลางดวงปฐมมรรค มรรคจิต มรรคปัญญา
    เดินไปในกลางดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    นั้นเป็นทางเดินของพระพุทธเจ้า พระอรหันต์
    เดินไปในไส้
    ไม่ใช่เดินไปในไส้เพียงเท่านั้น
    ในกลางว่างของดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน
    ของดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    ว่างในว่างเข้าไป
    ในเหตุว่างในเหตุว่าง
    เหตุเปล่าในเหตุเปล่า
    เหตุดับในเหตุดับ
    เหตุลับในเหตุลับ
    เหตุหายในเหตุหาย
    เหตุสูญในเหตุสูญ
    เหตุสิ้นเชื้อในเหตุสิ้นเชื้อ
    เหตุไม่เหลือเศษในเหตุไม่เหลือเศษ ... ฯลฯ
    ในเหตุว่างเข้าไป
    เหตสุดในเหตุสุดหนักเข้าไปอีก ไม่ถอยกลับ
    นับอสงไขยไม่ถ้วน
    นับชาติอายุไม่ถ้วน
    ไม่มีถอยกลับกัน เดินเข้าไปอย่างนี้นะ
    พระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ไม่ใช่เดินโลเลเหลวไหล
    ที่เรากราบที่เราไหว้เรานับถือนะ ท่านวิเศษวิโสอย่างนี้
    นี่แหละเป็นผู้วิเศษแท้ๆ
    นี่แหละเป็นที่พึ่งของสัตว์โลกแท้ๆ
    ท่านเป็น ผู้รู้จริง เห็นจริง ได้จริง
    เราจึงเอาเป็นตำรับตำราได้
    เมื่อรู้จักหลักธรรมอันนี้แล้ว อย่าเข้าใจว่าได้ฟังง่ายๆนะ
    ตั้งแต่เราเกิดมาเป็นภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกานะ
    อย่างนี้ไม่เคยได้ฟังเลยไม่ใช่หรือ
    เมื่อได้ฟังแล้ว ก็จงเพียรพยายามทำให้เป็น
    อย่างที่แสดงให้ฟังทุกสิ่งทุกประการ
    จะได้ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา "





    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : สติปัฏฐานสูตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2015
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472

    คำที่ว่า "เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้" นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารนาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คืออริยสัจ ๔ ของแต่ละกาย ได้แก่ ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ ๔ แต่ละ ๔ ก็เป็นกิจ ๑๖ เพื่อให้บรรลุมรรผลนิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ กล่าวถึงเสร็จกิจรวบยอดของพระอรหันต์ ก็เป็นกิจ ๑๖ นี่แหละ ที่หลวงพ่อท่านกล่าวว่า "เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้" เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้ ข้อความที่ท่านกล่าวแต่ละคำ ล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนา โดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้อง และตรงประเด็นตามพระสัทธรรมของพระพุทธเจ้า การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้เห็นมีไม่มาก
    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯอยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดงไว้ว่า "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็นเอกายนมรรค" ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่ สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า "ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร" จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ท่านบอกว่า "อย่าไปแก้นะ คำของหลวงพ่อ แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซพนะ"
    "เข้าเซพ" หมายถึงอะไร ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเอง ก็จะทราบว่า มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง "ทางเดียวไม่มีสองทาง" ท่านว่าทางนั้นทางเดียว เอ้ะ!! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่น ก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ??
    ความจริงท่านพูดหมายความว่า " ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือ ตรงศูนย์กลางกายนี่ เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ " เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียดของขันธ์ ๕ , อายตนะ ๑๒ , ธาตุ ๑๘ , อินทรย์ ๒๒ , อริยสัจ ๔ , ปฏิจจสมุปบาทธรรม ๑๒ เพราะฉะนั้น เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน "ใจ" ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย "ดวงเดิม" จะตกศูนย์..."ใจ"ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆขึ้นไป จนถึงธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู ไปจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้ ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใส ก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้ จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญานดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ

    ....................
    ....................
    เทศนาธรรมจาก
    พระเทพญาณมงคล
    หลวงตาเสริมชัย ชยมงฺคโล
    (หลวงป๋า)
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2015
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    [​IMG]



    * เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร
    เรียกว่า "นิพพาน" ก็ได้
    นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ
    "ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ"
    ในกายมนุษย์ ๔
    "ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ"
    ในกายทิพย์ ๔
    เป็น ๘
    "ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ"
    ในกายรูปพรหม ๔
    เป็น ๑๒
    "ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ"
    เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก ๔
    มันก็เป็น ๑๖
    นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา !





    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : เขมาเขมสรณคมน์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    "กาม" ทั้งหลายนั้น คืออะไรเล่า ?
    รูป ที่ชอบใจนะซิ
    เสียง ที่ชอบใจ
    กลิ่น ที่ชอบใจ
    รส ที่ชอบใจ
    สัมผัส ที่ชอบใจ
    เรียกว่า "ปปัญจธรรม" ธรรมที่ทำสัตว์ให้เนิ่นช้า
    ไม่เป็นอันที่จะให้มีเวลา ให้ทาน จำศีล ภาวนา
    ความยินดีในรูป ถอนไม่ออก
    ยินดีในเสียง ถอนไม่ออก
    ยินดีในกลิ่น ถอนไม่ออก
    ยินดีในรส ถอนไม่ออก
    ยินดีในสัมผัส ถอนไม่ออก
    จะหยุดจะยั้งเสียก็ไม่ได้
    เสียดาย ห่วงใย อาลัย ละไม่ได้ วางไม่ได้
    ทำอย่างไรเล่าคราวนี้
    เมื่อเป็นเช่นนั้น ก้าวล่วงไม่พ้นจมอยู่ในความสุข
    จมอยู่ในปลักของความสุขนั่น ถอนไม่ออก
    จมอยู่ในปลักของความทุกข์นั่น ถอนไม่ออก
    เพราะธรรมนั่น ทำสัตว์ให้เนิ่นช้า
    ให้เดือดร้อน ทุรนทุราย กระสับกระส่ายต่างๆนานา
    เป็นอยู่อย่างนี้ทั่วสากลโลก




    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง : พุทธโอวาท
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขึ้นชื่อว่าพระอรหันต์เป็นธรรมกายทั้งหมดนะครับ ขึ้นชื่อว่ามรรค ผล นิพพาน ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งหมดครับ แต่เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล เพราะพระนิพพาน หรือพระอรหัต อรหันต์ท่านแสดงตนว่าเป็นธรรมกายอยู่ในเอกสารที่แจก อย่างน้อยเปิดดูเล่มสีส้ม ปกหลัง ดูสรภังคเถรคาถาว่า

    “พระพุทธเจ้าทั้ง 6 พระองค์ มีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปโดยทางนั้น ทรงหยั่งถึงความสิ้นสิเลสเสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย”

    ท่านสรภังคเถระท่านกล่าวอย่างนั้น และท่านก็ว่าท่านก็บรรลุธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งสิ้น แต่ว่าบุคคลในปัจจุบันมองข้าม คำว่าธรรมกายไป แต่ที่กำลังจะเข้าถึงก็มี แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า

    ธรรมกายสัมผัสได้หรือเปล่า? ธรรมกายสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน ทำไมจึงสัมผัสได้พระบาลีแสดงไว้แล้ว “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ..” คือ บอกไว้เลยว่าอายตนะนิพพาน มีอยู่ เป็นที่สถิตของพระนิพพาน เมื่อขึ้นชื่อว่าอายตนะ แปลว่า สื่อถึงกันได้ 100% แต่ต้อง อายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ที่จิตละเอียดนะครับ สัมผัสพระพุทธเจ้าได้ทุกคน และรู้ด้วยว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธลักษณะอย่างไร สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร ละเอียดปราณีตหรือ หยาบอย่างไร แต่ว่าเราจะไม่ถามพระ แต่กับฆราวาสเราถามเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราห้าม มี กฎเกณฑ์ห้ามอยู่ว่าพระภิกษุอวดอุตตริมนุษยธรรมอันมีในตนกับอนุปสัมปันต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่มีอยู่แล้วอวดต้องปาราชิก โดยไม่ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นการพูดเรื่องอุตตริมนุษยธรรมมี ประตูออกทางเดียว คือพูดตามครูบาสั่งสอน และพูดเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าโอ้อวดแล้วละก็ เป็นอันว่าเดินใกล้ขอบนรกเข้าไปทุกทีๆ



    [​IMG]
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    กสิณสิบกองตามแนววิชชาธรรมกาย ( ตามแบบดั้งเดิม )

    กสิณ ๑๐ กอง

    (กรรมฐานที่มีอานุภาพมาก)



    ภูตกสิณ

    ๑.อาโปกสิณ (เพ่งน้ำเป็นอารมณ์)

    ๒.ปฐวีกสิณ (เพ่งดินเป็นอารมณ์)

    ๓.เตโชกสิณ (เพ่งไฟเป็นอารมณ์)

    ๔.วาโยกสิณ (เพ่งลมเป็นอารมณ์)



    วรรณกสิณ

    ๕.นีลกสิณ (เพ่งสีเขียวเป็นอารมณ์)

    ๖.ปีตกสิณ (เพ่งสีเหลืองเป็นอารมณ์)

    ๗.โลหิตกสิณ (เพ่งสีแดงเป็นอารมณ์)

    ๘.โอทาตกสิณ (เพ่งสีขาวเป็นอารมณ์)



    เสสกสิณ

    ๙.อาโลกกสิณ (เพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์)

    ๑๐.อากาสกสิณ หรือปริจฉินนากาสกสิณ (เพ่งอากาศ หรือที่ว่างเป็นอารมณ์)*



    *อากาสกสิณ ต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่กสิณทุกกองจะมีมณฑลกสิณ คือนิมิตเป็นวงกลม จึงต่างจากอากาสานัญจายตนฌาน ตรงที่อากาสานัญจายตนฌานจะพิจารณาอากาศไม่มีที่สิ้นสุดเป็นอารมณ์ ไม่ได้กำหนดมณฑล





    วิธีฝึก



    เตรียมอุปกรณ์ในการเพ่งกสิณในแต่ละกอง ตั้งให้ห่างจากตัวพอเหมาะ อยู่ในระดับสายตา มองเห็นได้ชัด และไม่ใกล้เกินไป ไม่ไกลเกินไป



    เพ่ง ดูด้วยสายตาอย่างสบายๆ(ไม่ควรเกร็ง) ให้จำภาพนั้นๆได้ชัด โดยใจนึกให้เห็นสิ่งที่เราเพ่ง เป็นมณฑล(วงกลม)เหมือนฉายหนัง เป็นจอกลมๆ ติดใจชัด



    แล้วน้อมบริกรรมนิมิตนั้น มาที่ศูนย์กลางกาย ส่งใจเพ่งไปที่จุดเดียว คือดวงกสิณ ไม่ต้องสนใจอะไรภายนอก ท่องในใจไป กะสิณังๆๆๆ เรื่อยไป สบายๆ ไม่ต้องเกร็ง ไม่ต้องเพ่งหนักเกินไป พอดีๆ จนเกิด อุคคหนิมิต คือนิมิตติดตา หลับตาก็เห็น ลืมตาก็เห็นชัด ใจเริ่มสงบลงมาก ก็บริกรรมต่อไป กสิณังๆๆ จนเกิดปฏิภาคนิมิต ขาวใสสว่างดุจกระจกส่องหน้าสะท้อนแสง แล้วให้นึกขยายให้ใหญ่ก็ได้ และย่อให้เล็กลงก็ได้ตามชอบใจ



    แล้วจึงเข้าฌาน อนุโลม ปฏิโลม ตามแนววิชชาธรรมกาย (อ่านในวิธีเจริญรูปฌาน) หรือจะเดินสมาบัติ ๘ แล้วแต่ชอบใจ





    วิธีตั้งมณฑลกสิณด้วยดวงธรรมในกายมนุษย์และกายทิพย์



    หมายเหต* ศัพท์บัญญัติเฉพาะ (กายโลกีย์)

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เรียกว่า ดวงปฐมมรรค

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ เรียกว่า ดวงทุติยมรรค

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม เรียกว่า ดวงตติยมรรค

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม เรียกว่า ดวงจตุตถมรรค



    คราวนี้จะใช้เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ (กายที่ไม่ใช่กายธรรม) เพื่อประกอบโลกียฌาน สับกาย ซ้อนกาย เฉพาะกายโลกีย์ สัก ๗ เที่ยว ให้กายมันใสทุกกาย



    เมื่อ กายใสดีแล้ว เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์(หรือในกายมนุษย์ก็ได้) พอดวงทุติยมรรคใสใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่า ปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ น้อมจิตนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณ ไฟก็ซ้อนอยู่ในน้ำเป็นเตโชกสิณ ลมซ้อนอยู่ในไฟเป็นวาโยกสิณ สีเขียวอยู่ในลมเป็นนีลกสิณ สีเหลืองอยู่ในสีเขียวเป็นปีตกสิณ สีแดงอยู่ในสีเหลืองเป็นโลหิตกสิณ สีขาวอยู่ในสีแดงเป็นโอทาตกสิณ แสงสว่างอยู่ในสีขาวเป็นอาโลกกสิณ อากาศว่างอยู่ในแสงสว่างเป็นอากาสกสิณ แล้วเดินสมาบัติในกสิณนั้น



    หลวงปู่สดท่านเมตตาสอนวิธีการเดินสมาบัติในกสิณ เพื่อตรวจดูภพต่างๆไว้ ว่าเวลาจะเดินสมาบัติในกสิณเหล่านี้ ก็ต้องซ้อนดวงกสิณให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามลำดับ แล้วจึงเดินสมาบัติ วิธีเดินสมาบัติต้องใช้ธรรมกายเดิน(ทีนี้ไม่ใช่โลกียฌานแล้ว)





    เวลาจะตรวจดูภพไหนให้เห็นชัด ก็ประกอบดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายระดับนั้นๆ*เป็นสมาบัติ ที่ตั้งของดวงธรรมนั้นเป็นกสิณ (ตรวจโลกมนุษย์ *ทวีปทั้ง ๔ ในจักรวาลนี้ ก็ใช้ดวงธรรมในกายมนุษย์ ตรวจภพเทวโลกใช้ดวงธรรมในกายทิพย์ ตรวจพรหมโลกใช้ดวงธรรมในกายรูปพรหม ตรวจอรูปพรหมใช้ดวงธรรมในกายอรูปพรหม) เดินสมาบัติในกสิณ ใช้กายธรรมเป็นผู้เดินสมาบัติ ตรวจดูให้รู้ตลอด เป็นอยู่กันอย่างไร ฯลฯ ดังนี้เป็นต้น
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    กสิณอีกกองหนึ่ง ซึ่งจะมีปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎก แต่ไม่มีปรากฎในวิสุทธิมรรค
    กล่าวคือ ในวิสุทธิมรรค นำอาโลกกสิณมาแทนที่วิญญาณกสิณ ซึ่งอาโลกกสิณไม่มีปรากฎในพระไตรปิฎก มีแต่การเจริญอาโลกสัญญา


    อาจเพราะว่าวิญญาณเป็นกสิณที่ทำได้ยาก คือการเพ่งธาตุรู้ เป็นอารมณ์ ซึ่งเอื้อต่อญาณทัสสนะได้อย่างดีวิเศษ

    วิธีเจริญวิญญาณกสิณ

    ตามแนววิชชาธรรมกาย ถือเป็นหลักปฏิบัติธรรมดาอยู่แล้ว กล่าวคือวิธีการเข้าฌานตามแนววิชชาธรรมกาย ก็คือการเจริญวิญญาณกสิณ


    ข้อที่ว่านั้นเป็นเช่นนี้... กล่าวคือวิญญาณกสิณท่านให้เพ่งธาตุรู้เป็นอารมณ์ ในวิชชาธรรมกายก็ให้ญาณธรรมกายเพ่งดวงธรรม ซึ่งดวงธรรมนั้นก็คือมนายตนะ ประกอบด้วยเห็น(รับ) จำ คิด รู้ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ในดวงนั้นมีศูนย์ซ้าย ขวา หน้า หลัง เป็นธาตุ ๔ ตรงศูนย์กลางนั้นเป็นอากาศธาตุ และกลางของศูนย์กลางนั้นเป็นวิญญาณธาตุ ก็ตรงด้วยส่วนนี้ที่วิชชาธรรมกาย เน้นให้เข้ากลางของกลางถูกตัววิญญาณธาตุ ละเอียดๆเข้าไปทุกที นี้คือการเจริญ วิญญาณกสิณ ไปในตัวพร้อมเสร็จ

    เหตุใดจึงเลื่อนไปเพ่งดวงธรรมกายทิพย์ พรหม อรูปพรหม ตามลำดับองค์ฌานที่ละเอียดยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ?
    ก็เพราะว่ากายยิ่งละเอียด ตัวรู้ก็ยิ่งละเอียด (แต่เป็นคนละอย่างกับอรูปฌาน เนื่องจากมีขอบเขตจำกัด) จึงได้องค์ฌานละเอียดๆไปตามลำดับ ถือได้ว่าวิชชาธรรมกายเดินสมาบัติด้วยวิญญาณกสิณเป็นบาทเลยทีเดียว จึงเอื้อต่อการเข้าอรูปฌาน เจริญสมาบัติ ๘ (เพราะวิญญาณกสิณ เป็นกรรมฐานที่ละเอียดที่สุดในกสิณทั้งหมด มีอารมณ์ที่ละเอียดที่สุด และน้อมสู่อารมณ์ที่ละเอียดยิ่งขึ้นได้ไวที่สุด)


    นี้แหละ คือคุณอีกข้อหนึ่งของวิชชาธรรมกาย ซึ่งหาได้ยาก ในปัจจุบัน... เพราะแทบไม่มีวิธีให้ฝึกกันแล้ว เพราะตัวรู้นั้นกำหนดยากและจะเพ่งไม่ได้ถ้ากำหนดรู้อย่างเดียว ต้อง"ทั้งรู้ทั้งเห็น" ไม่ใช่นึกเอา คิดเอา
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    พระเทพญาณมงคล(หลวงป๋า)เตือนสติ เรื่องก่อกรรมทางอินเตอร์เน็ท

    https://youtu.be/PjkWUSlHVCU
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    * รู้ด้วย "ญาณ" นั้นน่ะ
    รู้ได้อย่างไร ?
    รู้ด้วย "ญาณ"
    รู้ว่า กายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียด
    เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
    เป็น "อนิจจัง" เป็นไฉน ?
    ไม่คงทนอยู่ที่ เปลี่ยนแปรผันไป
    เป็น "ทุกข์" นั้นเป็นไฉน ?
    ถึงซึ่งความลำบาก ไม่สบาย
    เบญจขันธ์ทั้งห้า มีอยู่ตราบใด
    ไม่มีความสบาย มีเย็น มีร้อน เป็นต้น
    เดือดร้อนอยู่เสมอด้วยความเบียดเบียน ๖ อย่างนี้
    เย็น ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ
    ไม่มีสุข เบียดเบียนอยู่เสมอ
    รู้ว่าเบญจขันธ์ทั้งห้า เป็นทุกข์
    เราจะบังคับได้ไหมล่ะ ?
    ให้เป็นสุข ไม่ให้เป็นทุกข์
    บังคับไม่ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร
    ที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครนั้น
    เรียกว่า ไม่ใช่ตัว
    เรียกว่า "อนัตตา"
    เป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา" อยู่เช่นนี้
    รู้ด้วย "ญาณ"
    เห็นด้วยตา "ธรรมกาย"




    * พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)
    วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
    ** จากพระธรรมเทศนาเรื่อง :
    ประพฤติธรรม ให้สมควรแก่ธรรม
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กันยายน 2015
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    พระเทพญาณมงคล(หลวงป๋า)เตือนสติ เรื่องก่อกรรมทางอินเตอร์เน็ท

    https://youtu.be/PjkWUSlHVCU
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,417
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,122
    ค่าพลัง:
    +70,472
    บันทึกเรื่องกสิณ ของหลวงพ่ออุตตมะ ที่สอดคล้องกับแนววิชชาฯ

    ***หลวงพ่ออุตตมะกล่าวถึงเรื่องกสิณ***
    ..
    เราต้องเพ่งกสินจนกว่ากสิณจะปรากฏขึ้นมา
    แล้วเราก็รวมกสิณจับจิตทั้งหมดให้มาอยู่ในดวงกสิณ
    เราไม่ต้องกลัวอะไรทั้งสิ้น เพราะจิตเราอยู่ในดวงกสิณ เป็นสมาธิเป็นกุศลจิตอย่างเดียว ด้วยอานุภาพของกสิณ
    ..
    กสิณเราก็จะแข็งขึ้นๆ เราก็พยายามไปทุกวันทุกเวลาให้กสิณเราแข็งขึ้น ไม่ให้แตกออกไป เราจับไว้ด้วยสมาธิ
    แล้วเราก็รวมอารมณ์ทั้งหลาย
    จิตทั้งหลายทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา)
    และอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์อันไม่น่าปรารถนา) ให้มาอยู่ในกสิณ
    เราก็จะแยกจิตเหล่านี้ที่ไม่ดีต่างๆ
    เราจะดับจิตที่ไม่ดีต่างๆ ลงไป ด้วยอานุภาพของกสิณ
    ..
    กสิณนี้ ไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุ หรือเป็นฤาษีเขาก็ปฏิบัติกัน
    กสิณนี้เป็นสมถะ เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดเราต้องจับกสิน ๑๐ ประการให้ได้
    เมื่อกสินปรากฏแล้ว เราก็ดึงกรรมฐานอย่างอื่นเข้ามา เช่น
    กายคตาสติ , อานาปานสติ เราก็รวมให้มาอยู่ในกสิณ
    ...
    แต่กสิณนี้ทำได้ยากเหลือเกินที่จะทำให้ดวงกสิณปรากฏขึ้นมาเป็นดวงแก้วขึ้นมาให้อยู่ในตัวเรา
    เราต้องอุตสาหะพยายามกันมากเหลือเกิน
    ต้องทำกันเป็นปีๆ ไม่ใช่แค่เดือนสองเดือน
    ..
    ..
    จากหนังสือ ๘๔ปี หลวงพ่ออุตตมะ
    หน้า ๕๔๙ ตอน แนวปฏิบัติตามธุดงควัตร
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...