อาตาปีสัมปชาโนสติมา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย bigtoo, 13 กันยายน 2015.

  1. bigtoo

    bigtoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    2,345
    ค่าพลัง:
    +1,448
    ลองพิจารณาคำนี้ดูนะครับ. อาตาปี สัมปชาโน สติมา วิเนยยะโลเก อภิชฌา โทมนัสสัง หมายความว่า. มีความเพียรเผากิเลส.รู้ตัวทั่วพร้อม. มีสติ. นำความยินดียินร้ายในโลกออกเสียได้. "สัมปชาโน"หรือสัมปชัญญะที่จริงน่าจะแปลว่าอะไร.
     
  2. romanof3

    romanof3 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    104
    ค่าพลัง:
    +68
    จิตที่ตื่นรู้พร้อมแล้ว จิตแจ้งสว่าง จากการเข้าใจ ในหลักธรรมของพระพุทธองค์ เป็นผลจากจิตที่ฝึกดีแล้วในกำลังสมาธิและเล็งเห็นคุณประโยชน์ในวิปัสสนาถอนกิเลสข้อใดข้อหนึ่ง ออกไป เป็นลำดับ เป็นสภาวะที่พร้อมสำหรับก้าวเดินต่อไปเพื่อมรรคผล เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อลงมือปฏิบัติแล้ว เริ่มเห็นผล และยังกำลังใจให้เดินต่อไป เพราะเห็นแล้วว่าถ้าเดินต่อไปจะนำความยินดียินร้ายออกไปจากใจเราได้ ( เยอะไปไหมครับนี่ )
     
  3. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อาตาปี สัมปชาโน สติมา

    เป็นสาระของสติปัฏฐาน เมื่อเราทำกรรมฐานแนวสติปัฏฐาน 4 จุด ถูกต้องแล้ว อาตาปี (ความเพียร) สัมปชาโน (สัมปชัญญะ หรือปัญญา) สติมา (สติ) (มีสมาธิด้วย แต่ท่านไม่กล่าวถึง) จะทำหน้าที่ โดยกำจัดอาสวกิเลส
     
  4. chura

    chura เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    688
    ค่าพลัง:
    +1,971
    สัมปชัญญะ ที่จริงก็คือตัวสมาธิ(ความตั้งมั่น) สัมปชัญญะภายนอกก็คือ รู้สึกตัว
    หรือมีความรู้สึกตัวในฐานกาย(สมาธิ ตั้งมั่นในฐานกาย)

    สัมปชัญญะภายในคือผู้รู้ที่ฐานใจ หรือ สภาวะจิตตั้งมั่น เป็นสมาธิภายใน ถ้าเกิดสภาวะ
    ผู้รู้ ที่ปราศจากสิ่งปรุงแต่งหรือเวทนาต่างๆ นิวรณ์ต่างๆ) เกิดรวมเป็นหนึ่งก็เกิด "ญาณปัญญา" ฉะนั้นที่เราเพียรฝึกก็เพื่อให้เข้าถึง จิตผู้รู้ เป็นหนึ่งนี่แหละ...

    สติ ก็มีทั้งภายนอก และภายใน สติ คือผู้เห็น ผู้ระลึกถึง กาย และใจ ทำหน้าที่
    เฝ้าสังเกตุสอดส่อง เพื่อเห็นกาย(กายสังขาร)และเห็นเข้าไปที่ ผู้รู้(ที่ใจ มีสิ่งปรุง
    แต่งคือความรู้สึกต่างๆ เวทนาต่างๆ นิวรณ์ต่างๆกิเลสต่างๆ) สติจึงสำคัญ เพราะเป็นตัว
    ที่ทำงานเข้าไปเห็น สิ่งปรุงแต่งต่างๆที่ ผู้รู้ เพื่อกวาดล้างกิเลสต่างๆออกไปจากผู้รู้ หรือ
    ที่ใจ

    ผู้รู้ ก็คือ ใจ ที่รู้ความรู้สึกต่างๆ หรือการกระทบสภาวะต่างๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
    ใจ และเกิดการปรุงแต่งเวทนาต่างๆ ยินดี ยินร้าย เฉยๆ ที่ผู้รู้หรือที่ใจ หรือเรียกว่า
    เกิดเจตสิกหรือจิตทีเ่กิดร่วมกับอารมณ์หรือกิเลสห่อหุ้ม "ผู้รู้ " ที่ฐานใจ...

    สัมมาสมาธิ(มรรคสมังค มรรคทุกข้อเป็นฐาน ต้องมีสัมมาสติ สติตื่นแม้นมีฌาณ) คือ
    ความตั้งมั่นเป็นหนึ่งคือผู้รู้ตั้งมั่นกระทั่งเป็นฌาณแล้วจึงเกิด วิปัสสนาญาณหรือ ญาณ
    ปัญญา เพื่อเห็นแจ้งในขันธ์5

    ผู้รู้ นี้จะเรียกว่า จิตเดิมแท้ก็ได้ ถ้าไม่มีกิเลสมาห่อหุ้มก็เป็นจิตเดิม ที่ไม่ปรุงแต่ง แต่พอ
    มีการกระทบก็มีการปรุงแต่งที่ ผู้รู้ นี้แหละที่เราต้องเจริญสติปัฎฐานสี่ เข้าไปนำความยินดี
    ยินร้าย ออกจากผู้รู้ นี้กระทั่งตั้งมั่นเป็นหนึ่ง...
     

แชร์หน้านี้

Loading...