ท่องคาถาให้เป็นณาน นี่ยังไงคับผมงง

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย บอลมานพ, 28 กันยายน 2015.

  1. บอลมานพ

    บอลมานพ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +17
    พอดีอ่านนี่มา
    https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=535764946488155&id=534838096580840
    คาถานี่ชื่อว่า มงกุฎพระพทุธเจ้า

    "อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ"
    ท่านกล่าวว่า "คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน
    ตรงที่ ภาวนาทําให้เป็นฌาน นี่ คือ ภาวนาคาถา "อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ" ไปเรื่อยจนเป็นณานสมาบัติใช้ไหมคับ หรือวา ภาวนา อานาปานุสติ หรือกสิน ให้เป็นณาน แล้วค่อยภาวนาคานี้

    สนใจคาถานี้มาก
     
  2. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    น่าสนใจครับ

    เเต่เคยได้ยินว่าคาถานี้เวลาท่อง ให้นึกนิมิตรพระพุทธรูปบนศรีษะ
     
  3. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +2,226
    อันที่จริง ถ้าใช้ความศรัทธา .. และนึกนิมิตรพระพุทธรูปไว้บนศรีษะ
    กำหนดจิตประคองพระพุทธรูปซึ่งเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าด้วยดี ด้วยการอาศัยกายทั้งหมดของเรานี้น้อมเป็นฐานรองพระพุทธเจ้า ให้เป็นพุทธบูชา

    จิตจะสงบลง .. เช่น กรณีที่มีปัญหาฟุ้งซ่าน ความคิดฟุ่งซ่านต่างๆ จะหายไป ได้อย่างรวดเร็ว

    อนึ่ง .. การสร้างเจดีย์ที่แสนยิ่งใหญ่เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุไว้บนยอด ต่างกล่าวกันว่าได้บุญใหญ่หนักหนา
    เมื่อเราอยู่ที่ห้องพระ เราไม่มีอะไรนอกจาก กายของเรานี้ .. จงน้อมร่างกายคือสมบัติที่เรามีอยู่ทั้งหมด ณ ขณะนี้
    ให้เปรียบเสมือนเจดีย์ บูชาพระพุทธเจ้าไว้เหนือเศียร แห่งตน

    ลองพิจารณาดูเถิด .. ผู้รักใคร่ในการสร้างบุญทั้งหลาย

    เมื่อจิตเริ่มสงบลงแล้ว.. ความฟุ่งซ่านต่างๆ ที่เคยมีและก่อกวนมากน้อยนั้น กลับอันตรธานหายไป
    ความสงบเมื่อจิตทรงอยู่ได้นานนี้ .. จะให้เขาเรียกว่า อะไร?
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2015
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    มันก็เหมือน เรียน คณิต วิทย์ ที่ต้อง หา x ให้เจอก่อน อะไรที่เป็น ตัวแปรนอกระบบ
    ตัวเร่งปฏิกริยา เราก็ต้องไม่ ตื่นเงา ต้องเฝ้นกลับมาที่ ฐานจิต ฐานออกคิด ออกรู้ เพื่อ
    หา x ให้เจอ มันก็จะได้หมดแหละ


    ท่องอย่างไรให้เป็น ฌาณ ก็ต้อง เอาคำท่องเนี่ยะ วางออกเป็น " ตัวเร่งปฏิกริยา " แล้ว
    เอาออกจาก ระบบการ ปฏิบัติเข้าไปรู้ ฌาณ เอาไว้ก่อน

    หา x ให้เจอ x สำหรับฌาณ หรือ ตัวแปรตรง ในการรู้ว่า " นั่นสงบ " คือ มันต้อง
    "สงบจากกาม" เป็นอันดับแรกๆ เรียกว่า หากจิตสงบ สงัดจาก กาม ก็เกิด ปฐมฌาณ

    ทีนี้ เมื่อหา x เจอแล้ว มันจะต้อง หาสมการตัวอื่นมา ตอบโจทย์ ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่นี้
    คือ ฌาณ2 ฌาณสองเขาก็เน้นที่มัน " สงบ สงัด จากวิตก วิจาร "

    เอาแต่สองตัวนี้ก่อน

    กลับมาทบทวนซ้ำ ด้วยการพิจารณา จิตสงบจากกาม ....เราก็ ท่องคาถา เลย ท่องแล้ว
    เกิดอาการ ละโมภ โลภมาก อยากได้โน้น อยากได้นี่ อยากกอบโกยดิน น้ำ ลม ไฟ เอามา
    สร้างเป็นบัญญติในทาง โลกธรรม8 หรือเปล่า

    เราท่องคาถา แล้ว จิตใจละเมอ เผ้อไปถึง อาการอยากรวย อยากมีบ้าน บริวาร คนเคารพ
    คนศรัทธา ฐานะ บรรดาศักดิ์ อันนี้ คาถานั้นหากท่องแล้ว ใจมันโดนกามร้อยรัด เราก็
    ไม่ท่อง คาถา นั้น ให้หา คาถา อื่นเอา

    สมมติว่า ท่องแล้ว กามไม่กำเริบ นี่เขาเรียกว่า เจอของเก่า เจอสิ่งที่จิตเราชำนาญในหนทาง
    การละออกจากกาม คาถานั้นเราก็ท่องลงไป มันจะ เชื่อมขนมกินได้ว่า ไม่เกิด กามกำเริบกลับ
    ไม่เกิด กุปธรรม ไปทาง กามธรรม

    ทีนี้ มันจะต้องหา โจทย์ที่ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่นี้คือ ฌาณสอง คือ สงบ สงัดจาก ความฝุ้งซ่าน
    เกิดวิตก วิจาร จะดูยังไง

    ไม่ยาก ให้เฝ้นลงไปว่า จิตที่มีปฐมฌาณเป็นบาท นี่จิตมันจะเข้ามา ยกวิตก วิจาร ขึ้นมา
    ทำการเห็น มีการโคจรในจิต

    เรียกว่า พอจิตเราสงบจากกามธรรม จิตมันจะเกิดการสนใจแต่"ธรรมะ" มีวิตก วิจารไปใน
    ทาง "ธรรมฉันทะ" แต่ว่า เราจะต้องพิจารณาเอา วิตก วิจาร ที่ไม่ทำให้ กำเริบกลับไปสู่
    การมี " กามธรรม "

    เช่น พอจิตเราเคล้าเคลียรเรื่องราวเกี่ยว ธรรมปฏิบัติ เกิดการเห็นนิมิต เกิดการเห็นความคิดที่
    เป็นไปเพื่อธรรม แต่ นิมิตบางประเภทเห็นแล้วเราอยากออกไปกู้โลก เราอยากไปช่วยคนนั้น
    คนนี้ให้คลาดแคล้ว เราอยากสร้างโน้นสร้างนี้ให้วิจิตรด้วยศรัทธา แต่ทว่า มันมี กามธรรม
    โลกธรรมแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง เนี่ยะ วิตก วิจาร ที่ทำให้จิตกำเริบ กามธรรม ในภายหลัง นิมิต
    วิตก วิจาร เหล่านั้นควระลเสีย แล้วเผ้นเอา วิตก วิจาร ที่ไม่ทำให้ กามธรรมกำเริบ

    พอหาเจอ จิตมันจะล่วงส่วนทั้ง กาม และ ละวิตก วิจารที่เป็นพิษ มีแต่ มรรคจิตที่เป็นไปเพื่อ
    ความก้าวหน้าของ ฌาณ ตอบโจย์ของ ฌาณ ในขั้นต่อๆไปได้

    ทีนี้ ....คนฉลาด คนที่ ภาวนาด้วย อานาปานสติ เราจะไม่โหลยโถ้ย ทำไป ดูไป แบบนั้น

    เราจะยก ฌาณ ก็คือ กุปธรรมอย่างหนึ่ง เป็นสังโยชน์ชนิดหนึ่ง เรียก รูปราคะ อรูปราคะ [ กามธรรมอย่างหนึ่ง ปราณีต ]

    เราภาวนาอานาปานสติ เพื่อดูการกำเริบกลับไป หลงไหลรูปราคะ หลงอรูปราคะ เป็นตัวแทนของ "กามธรรม"

    x ของนักภาวนาด้วย อานานปานสติ คือ การกลับไปที่ ฐานการรู้ ฐานของการระลึก
    ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก หากจิตละกรรมฐานนี้หายไป ให้กำหนดรู้ไปเลย จมกามภพ
    อย่างใดอย่างหนึ่ง ....จมไปเพราะอะไร เพราะนิมิต วิตก วิจาร บางประการที่ทำให้เราจิตเรา
    หลงลืมสติ ขาดสัมปชัญญในการ เจริญอานาปานสติ

    เมื่อตามเห็นอยู่อย่างนี้ จิตจะคล่อง ฌาณได้ตั้งแต่ 1 ถึง 8 โดยการเห็นไปตามความเป็น
    ปัจจัยการ ตลบแตลง ปลิ้นปล้อน ของจิต ไปตามความเป็นจริง

    คาถา จะเป็นตัวซักฟอก ว่าเราหลงลืม สติปัฏฐานอานาปานบรรพะ ไปนานแค่ไหน หาก
    บริกรรมแล้ว จิตเกิดนิมิต แล้ว ลืม อานาปานสติไปเลย ก็ให้รู้ [ จิตเป็นมหัคจิตก็รู้ ไม่เป็นก็รู้ ]

    คาถา ใดบริกรรมแล้ว มันเหยียบย่ำ ทำลาย อานาปานสติให้หายไป เกิดเป็นความคับแคบ
    กดถ่วงจิต ก็ให้รู้

    ให้กำหนดรู้ บริกรรมเข้าไป หาก ไม่เกิดโลกธรรม8 ก็เป็นอันว่า คาถา นั้นจะใช้ได้
    ทำให้เกิดฌาณ ความคล่องตัว ทั้ง อานาปานสติ และ ผล หรือ อานิสงค์ของ คาถาเหล่านั้น(จริงๆ มันก็เป็น
    พวก กรรมฐาน 40 นั่นแหละ เพียงแต่ เปลี่ยน บริกรรมนิมิต เป็น ศัพท์ย่ออื่นๆ )
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2015
  5. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ให้พูดสั้นๆ

    ที่ เจ้าของกระทู้ "งง" เพราะ หลงลืม อานาปานสติ

    ถ้า เจ้าของกระทู้ บริกรรมคาถา แล้ว จิตไม่หลงลืม อานาปานสติ มันจะเกิด ภูมิธรรม
    ที่ไม่ต้อง บรรยาย ออกมาเป็น คำพูด

    ถ้า บริกรรมคาถา และ ไม่หลงลืม อานาปานสติ และ ไม่ถูกหลอกให้คว้า ธรรมบรรยาย
    เป็นคำพูดที่ทำให้เกิดการ ตกจากสมาธิ เข้าไปสู่โลกธรรม .....ภาวนาแบบนี้ได้เพียง
    ชั่วเวลา ช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น จะมี คุณค่า มากกว่า ทำฌาณ(รูปราคะ อรูปราคะสังโยชน์) มาร้อยปี !!
     
  6. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ในแง่ เคมีสมาธิ

    อานาปานสติ คือ การปรากฏขึ้นของ " สักกายยะ " เมื่อมี กาย แล้ว จิตดวงนั้นจึงมี ปัจจัยการของ ทิฏฐิ หรือ คำพูด

    พูดซื่อๆ คำบริกรรม วิตก วิจาร เป็น ธาตุประกอบ ที่เกิดจาก อานาปานสติ เป็น ตัวตั้งต้น

    หาก จิตของนักภาวนา คล่องตัวอยู่ในการ กำหนดอานาปาสติ แล้ว

    แล้ว นักภาวนาไป ฟังความคนนั้นที คนนี้ที แล้วไป หยิบคำ บริกรรม ขึ้นมาในจิต

    มันจะเหมือน คนที่ถูกเอาค้อนปอน ทุบ ทำลาย ฐานสมาธิให้พินาจ !! เรือหาย เพื่อ
    ที่จะไป คว้าเอา สิ่งที่หยาบกว่า เป็นเพียง เศษขี้ฟัน ที่คนเขาสรรเสริญว่า อร่อย มีคุณค่า

    อย่างไรก็ดี นักภาวนาที่ เน้นปฏิบัติตามความเป็นจริง จะไม่ วาดภาพเอาเอง พอจะภาวนา
    อานาปานสติ ก็ สำคัญว่า ต้องทำกรรมฐานเดียวไปตลอดศก

    นักภาวนาที่ เก่งกล้า จะรู้อยู่ว่า ขี้ฟัน ยังไงมันต้องมี ดังนั้น ภาวนาอานาปานสติ แล้ว
    กลับไป ดูดขี้ฟันบ้าง ก็เป็นเรื่องปรกติของการภาวนา เพลินใน การดูดขี้ฟันอยู่ ก็รู้
    ละการดูดขี้ฟัน ติดสมาธิ สมถะ ที่หยาบกว่า ก็รู้ จิตกลับมาเจริญอานาปานสติต่อได้
    เป็นจำนวนน้อยก็รู้ เป็นจำนวนมากก็รู้ ตามเห็นความไม่เที่ยง ก็จะละ ความพอใจ ใดๆในโลก
    เสียได้ แล้วโน้มจิตไปในการเห็น ธาตุที่พ้นความเป็นปัจจัย ไม่ต้องเอาผ้าขาวไปคอยเช็ด
    ก็จะรู้ว่า ชาติสิ้นแล้ว การเกิดมีอีก หรือไม่มีอีก ก็ว่ากันไป
     
  7. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    นั่น หล่ะ ฮ่ะ ผมนี่วก ไป วน มาไม่ไปไหนซะที ฮ่าๆๆๆ
     
  8. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คำตอบว่า "ไม่รู้ " มันจะเลวร้ายหากไปให้ค่า ให้ราคามัน

    คำตอบว่า "ไม่รู้ " จะเป็นสุดยอดของการ ตระหนักรู้ หากเอามากำหนดรู้ว่า นั่นคือ สัจจธรรม ที่มีติดอยู่กับ จิต ทุกดวง !!

    ตระหนักรู้ อวิชชา เป็น สัจจ แล้วได้อะไร ....หากยังอยากได้อะไร แปลว่า จิตมันคิด อย่าไปถามว่า " แล้วจะได้อะไร " ดูดิ

    ความเลวร้าย มันจะมีมาจากไหน .....แต่ อย่าคิด ด้น เด้า เดา เอา ไม่หยุดนะ
    อาศัย ความไม่หยุดของมโนสัญญาเจตนา จึงพอรู้ รู้ อยู่ที่ฐาน


    ง่ายนิดเดียว
     
  9. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อีก คาถา หนึ่ง

    พระพุทธองค์ อุปมาตนเหมือน ลูกไก่ในฟองไข่ที่เจาะเปลือกอวิชชาออกมา [ ตถาคต เป็นองค์แรก ]


    ทีนี้ นกกระทา โคกบุงโยง ออกมาจากไข่แล้ว อย่าไปถามว่า ไก่ กับ ไข่ ใครมาก่อน ใครมาหลัง

    ไม่ต้องไปตรึก วันก่อน วันนี้ ...ไม่ต้องไปพยายามจะ บัญญติโลก

    อย่าเข้าไปส่วนสุด



    เอาแต่ อาการเจาะเปลือกไข เจาะฟองอวิชชา ออกมา ยกเป็น ปฏิปทาที่ควรกำหนดรู้
    ได้ทำแล้ว ลงมือทำตามนั้นแล้ว ได้หรือไม่ได้ .....เอาแต่ความ พอเพียง ไม่ต้องเขยิบ
    ออกไป กระเดิดออกไป บัญญัติโลก อย่าเข้าไปส่วนสุด เสียงพิณจะพอดี
     
  10. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อวิชชะ อะ อะ อุ อุ อุก อัก เออะ เออะ อ๊ะ อ๊ะ อ้อแอ้ อ้อแอ อ๊อกซ์ อะ ออนซอนเด
     
  11. บอลมานพ

    บอลมานพ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2012
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +17
    สรุปคำตอบคือไรคับ ขอสั้นๆง่ายๆ
     
  12. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    ขอบคุณครับ ที่พยายามอธิบาย ให้คนเป็นโรค อย่างผมฟัง
     
  13. TheVisionMind

    TheVisionMind เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2014
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +2,226
    ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว

    ดังนั้นการท่องคาถาจนเป็นฌาน จะต้องมีอาการสงบลงเหลืออารมณ์เดียว
    คือจดจ่อสงบอยู่กับการท่องบทคาถา
     
  14. เมธาวี1

    เมธาวี1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    692
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ต้องเลือกคาถาที่เหมาะกับตัวเอง
     
  15. nite

    nite เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    442
    ค่าพลัง:
    +611
    คาถานี้ผมก็พึ่งลองท่องดู แรกๆจำยากหลับตาไปก็มัวจดจดจ่อกับตัวอักษรกับคาถา รู้แต่ว่าลมเข้าลมออก จะสมองจะฟุ้งไปคิด หรือเห็นภาพอะไรก็ไม่สน กลัวลืมคาถา เห่อๆ
     
  16. ธรรมภัฎ

    ธรรมภัฎ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2009
    โพสต์:
    463
    ค่าพลัง:
    +734
    ชื่อคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

    วิธีการที่จะทำให้คาถานั้นเป็นผลสำเร็จ ก็ต้องพร่ำบ่นให้จิตเข้าถึงขนิก > อุปจาระ > ฌาน ยิ่งลึกได้เท่าไหร่ ยิ่งมีผลมากขึ้นเท่านั้น

    ครูอาจารย์ที่ท่านเป็นเจ้าของคาถา ท่านได้ประสิทธิประสาทไว้เองหมดแล้ว ว่าคาถาบทไหน เข้าสมาธิได้ถึงขั้นไหน ผลของคาถาจึงจะเป็นผล

    ในกลุ่มนักภาวนาแล้ว เขาเอาจิตให้ได้ถึงฌานไว้ก่อนเป็นดี เพราะกำลังของฌานนั้นสูงพอที่จะให้ผลของคาถาที่เจ้าของท่านได้ปรารภไว้แล้ว

    คาถาที่ถามนี้ เป็นของพระพุทธเจ้า ยิ่งเข้าลึกไดเท่าไหร่ ยิ่งมีผลมากเท่านั้น ใช้คาถานี้ภาวนาแทนบทเดิมๆที่เคยใช้อยู่ก็ได้

    ส่วนเรื่องของสมาบัติ พอจิตเข้าถึงฌานได้แล้ว วิถีของสมาบัติจะมาเองเป็นลำดับ เพราะถึงตอนนั้น เจ้าของคาถาจะมาหา มาบอกเคล็ดในการเดินจิตเอง

    เจริญธรรมครับ
     
  17. LetItGo

    LetItGo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    "ท่องคาถาให้เป็นฌาน"

    ฌาณ เป็นสภาพจิตที่ดิ่งสงบมาก
    เป็นสภาพที่พิเศษเหนือจิตปกติในชีวิตประจำวันของเรา

    1. ฌานโดยทั่วไป จะแบ่งเป็นฌาน 1 ถึง 4
    ส่วนอรูปฌานนั้นจริงๆ มันคือ ฌาน 4 ละเอียด
    ที่เรามาเพิกนิมิตความสว่างของจิตในฌาน 4 ออก
    ให้เป็นอากาส เป็นความว่าง เป็นวิญญาณ
    จนข่มสภาวะจำได้หมายรู้ออกตามลำดับ
    (แต่ก็มิใช่ง่ายนัก)

    อย่างไรก็ดี ผู้ที่เข้าฌานได้จริงๆ ครั้งแรกๆ
    อาจจะไม่สามารถนั่งแยกได้ว่านี่
    เป็นปิติ สุข เอกัคตารมณ์หรอกครับ
    เพราะถ้ายังสามารถนั่งแยก เขี่ยๆ ได้อยู่
    แสดงว่าตอนนั้น ไม่ได้อยู่ในฌานแน่ๆ

    ให้สำเหนียกระวังกันไว้ให้มั่น

    ผู้ปฏิบัติจะสามารถ "ระลึก" เรียบเรียงในภายหลัง
    ที่จิตตกกลับมาสู่อารมณ์ปกติ
    เช่นในระดับอุปจารสมาธิ (ต่ำกว่าฌาน)

    ตรงนั้นจะทำให้สามารถจดจำได้
    เวลาที่จิตเข้าสู่ฌานในรอบต่อๆ ไปเอง

    เมื่อจิตสงบมากจนถึงฌาน 4
    "ความคิดจะไม่ปรากฏ"
    แต่จะมีสภาพของการมนสิการ
    รับรู้สภาวะธรรมที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าอยู่

    เมื่อเกิด "คิด" เมื่อไหร่
    จิตจะพลัดตกจากฌานทันที
    เพราะฌานจะต้องมี
    อารมณ์จิตหนึ่ง (เอกัคตารมณ์) หล่อเลี้ยงเสมอ




    2. วิธีทำจิตให้ถึงฌาน มีเป็นร้อยๆ วิธี
    ไม่ได้มีเพียง 40 วิธีตามที่มักได้ยินกัน
    (และจริงๆ พระไตรปิฎกไม่ได้มีคำว่ากรรมฐาน 40 เลยครับ
    คำว่ากรรมฐาน 40 กอง
    ปรากฏครั้งแรกจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเขียนเมื่อ พ.ศ.๙๐๐ กว่า)

    อุบายวิธีในการทำฌานมีหลากหลายมาก
    เช่น การเอาวัตถุมาเป็นตัวชนวน
    เอาสภาพของธาตุมาเป็นชนวน
    เอาสีของวัตถุมาเป็นชนวน
    เอาคำบริกรรมมา
    เอาคาถาต่างๆ มาเป็นชนวน

    ที่ใช้กันมากที่สุด คือ เอาลมหายใจมาเป็นชนวน
    เรียกภาษาคุ้นๆ กันว่า อานาปานสติ
    คือเอาสติไว้กับลมหายใจนั้นเอง

    วิธีที่คุณสอบถาม คือ เอาคาถามาเป็นตัวชนวน
    แต่เมื่อเวลาจิตรวมระดับฌานที่ 2+ เป็นต้นไป
    บริกรรมเหล่านี้จะหายดับไปทุกอย่างเสมอกัน
    เมื่อถึงระดับนี้ จิตจะไม่มีความแตกต่างกัน ถึงแม้วิธีอุบายจะต่างกัน

    อย่างไรก็ตาม
    แม้วิธีต่างๆ จะไม่ได้มีความแตกต่างนัก
    ในระดับฌานที่สูงยิ่งๆ ขึ้นไป
    แต่ทว่า ตัวชนวนนี้ จะให้มีความแตกต่างในเรื่อง
    "ผลพลอยได้" จากกำลังสมาธิ
    ก็คือ ในเรื่องการใช้งาน ฤทธิ์ จากฌาน
    หรือเรียกว่าพวกโลกีอภิญญา
    เช่นพวกเอาสภาพธาตุน้ำมาเป็นชนวนอุบาย
    จะแสดงฤทธิ์ได้แตกต่าง จากผู้ที่เอาอีกวัตถุธาตุมาเป็นชนวนนำ

    แต่ส่วนในภาคของการเดินปัญญาหรือฝั่งวิปัสสนานั้น
    ต้องยกเข้าไตรลักษณะเหมือนกันทุกประการ
    ไม่มีความแตกต่างกัน



    วิธีการทำฌานให้เกิดโดยใช้คำบริกรรม

    อันนี้จะกล่าวถึงวิธีที่จะทำให้เกิดได้จริงๆ
    ในเชิงการปฏิบัติตน มิใช่หลักการเพียงผ่านๆ

    1.จะเล่นฌาน คุณต้องเตรียมสิ่งแวดล้อม
    ปรับวิถีชีวิตให้เหมาะ
    ทานอาหารให้น้อย เว้นพวกอาหารหนักๆ ย่อยยากได้ยิ่งดี
    การพักควรจะให้น้อย
    เว้นจากการดู การฟัง การอ่านสิ่งที่ทำให้จิตฟุ้งซ่านได้ง่าย
    ถ้ากล่าวได้โดยสรุป ใช้วิธีเหมือนคนถือศีล 8 ก็ได้
    แต่อย่าไปยึดมั่นว่าต้องมีพิธีสมาทาน ใส่ชุดขาวอะไรเลย
    อันนั้นเป็นรูปแบบภายนอก มันไม่เกี่ยวกันมากนัก
    เป้าหมายคือ ปลดวิถีชีวิตที่ทำให้ "จิต" มีความรกรุงรังออก
    มีความคิดน้อยๆ ฝึกที่จะไม่คิดหลายเรื่อง

    2.ใช้บริกรรม หรือคาถาที่คุณใส่ใจ
    แล้วบริกรรมต่อเนื่องไปตลอด
    ให้บ้าตัวบริกรรมเข้าไว้

    ขณะที่คุณบ้าบริกรรมต่อเนื่องซ้ำๆ นั่นแหละ
    การทำงานเบื้องหลังของจิตใต้สำนึก
    มันจะค่อยๆ ก่อสร้างกำลังสมาธิขึ้นมาเอง

    เหมือนหน้าที่เรา
    ให้บ้าเอาไม้สีกันไปเรื่อยๆ ไม่หยุด
    แล้วความร้อนมันจะค่อยๆ เกิดขึ้นมาเอง
    แค่อย่าไปหวังจะเอาแต่ความร้อนโดยไม่สีไฟ
    อย่านึกตรวจสอบหาความสงบ หาฌาน
    โดยละเลยการบริกรรมก็พอ

    ตรงนี้ คุณอาจไม่ต้องผูกกับลมก็ได้
    แต่อย่าบริกรรมจนเครียดเค้นก็พอ
    ถ้าอยากมาก ความอยากมันจะเผาให้เราเค้น
    แต่ถ้าทำเรื่อยๆ ไม่ปล่อยละ และไม่เร่งรีบ
    จิตจะสบาย และเหมาะที่จะเกิดฌานจิตขึ้นเอง

    เคยไปภาวนากับพ่อแม่ครูอาจารย์สายหลวงปู่มั่น
    ท่านให้นึกแต่ "พุทโธๆ" ไม่ต้องไปผูกกับลมใดๆ
    (รุ่นหลังๆ เราจะใช้วิธีหายใจเข้าพุท ออกโธ
    ซึ่งก็ได้เช่นกัน ไม่ได้ผิด
    แต่ครูบาอาจารย์รุ่นแรกๆ สายหลวงปู่มั่นจริงๆ
    ท่านจะไม่ให้ผูกกับลม)

    ให้คุณนึกตลอด ยืน เดิน นั่ง
    ทำงานอะไรที่ไม่ต้องใช้ความคิด ก็นึกตัวบริกรรม
    เวลานั่งสมาธิ ก็นึกบริกรรมต่อเนื่อง

    ถ้าทำจริงๆ ตลอดวันได้
    ไม่นานจิตคุณจะสามารถสงบได้เหมือนกัน

    แต่ "จิตสงบ" ยังไม่ใช่ "จิตเป็นสมาธิ" นะครับ
    คนละอย่างกัน
    จิตสงบมันเป็นเพียงสภาวะดิ่งชั่วครู่
    ยังไม่เหมาะกับการงานใดๆ ได้

    เมื่อจิตสงบแล้ว
    จิตจะรวมลงบ่อยเข้าๆ
    จิตจะเป็นสมาธิทรงตัวเอง
    ตรงนี้ จะจิตมีอาการรวมอยู่ตลอด
    ไม่ว่าหลับตา ลืมตา จิตจะไม่ฟุ้งซัดส่าย

    ตรงนี้แล้ว
    หากท่านจะเอากำลังของจิตไปลองเล่นอะไรๆ
    อธิษฐาน หรือสอดส่องท่องเที่ยวอะไรๆ
    รักษาโรคอะไร ก็จะสามารถเรียนรู้ได้เอง
    แต่ต้องเข้าใจว่ามันมีการเสื่อมได้เสมอๆ
    ต้องชาร์จแบตเรื่อยๆ

    แต่หากอยากจะได้สมบัติที่ยิ่งกว่า
    ที่พระพุทธองค์ท่านปรารถนายิ่ง
    ให้เหล่าสาวกทำให้เกิดให้เจริญขึ้นได้

    ก็ยกองค์ฌานหรือองค์สมาธินั้นเป็นตัวตั้ง
    แล้วสังเกตเรียนรู้ ความแปรเปลี่ยน ความไม่เที่ยง
    ของสภาวธรรมที่ปรากฏอยู่เฉพาะนั้นๆ ให้แจ่มแจ้งต่อเนื่อง
    จิตก็จะค่อยๆ กะเทาะความยึดความคลาย
    ตัดร่อนภพชาติ ความยินดีในภพชาติออก
    ทั้งภพใน (ในเกิดดับทุกขณะอารมณ์)
    และภพนอก (ที่ตายเกิดเป็นชาติๆ)
    หมดความยินดีได้
    เชื้ออารมณ์ไม่ค่อยดีหรือกิเลสมันก็จะค่อยๆ ฝ่อไปเรื่อยๆ เอง

    ทั้งหมดนี้ถ้าตั้งใจจริงๆ มุ่งมั่นจริงๆ
    ใช้เวลาไม่นานเกินควรหรอกครับ
    เรียนหนังสือแข่งกันตั้งแต่ ป.1 ถึงปริญญายังนานกว่าเยอะ
     
  18. LetItGo

    LetItGo สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2013
    โพสต์:
    9
    ค่าพลัง:
    +22
    ท่านผู้กล่าวอาจจะยังเข้าใจผิด
    เรื่อง "ความคิด" กับ "อารมณ์" ครับ

    ฌานเป็น "อารมณ์" ชนิดหนึ่ง
    แต่ในอารมณ์ฌาน
    ยิ่งโดยเฉพาะที่สมบูรณ์จริงๆ
    ซึ่งหมายถึงจตุถฌาน
    จะไม่ปรากฏความคิดใดๆ เลย
    (ความคิดนี้หมายถึง ความคิดอ่านที่เราเข้าใจกัน)
    แต่ย่อมมีอารมณ์ฌานปรากฏอยู่แน่

    มิต้องกล่าวถึงความคิดเชิงตรรกะเหตุผลปรุงแต่ง
    ซึ่งดับไปแล้วตั้งแต่ปฐมฌาน
    เนื่องจากเมื่อฌานระดับเบื้องต้นเกิดขึ้น
    นิวรณ์ทั้ง ๕ ก็ดับคลายไปแล้ว

    "ความคิด" กับ "อารมณ์"
    เป็นคนละอย่างกันครับ

    อย่างไรก็ดี
    ในปฐมฌานจะยังมีอารมณ์วิตก-วิจารณ์
    ตามองค์บริกรรมที่ยึดนั้นๆ เป็นตัวรักษาครับ
    แต่แม้วิตก-วิจารณ์นั้น
    ก็แตกต่างวิตกวิจารณ์
    ที่ปรากฏในอุปจารสมาธิ
    ก่อนที่จะล่วงเข้าสู่ปฐมฌาน

    และเมื่อจิตเป็นเอกัคคตารมณ์สมบูรณ์
    มีสภาพอุเบกขาเป็นปรกติ
    เป็นเพียงสภาพธรรมเอกเท่านั้นครับ
    แม้แต่ละขณะจิต
    ก็จะเกิดดับเป็นอารมณ์เดียว
    ยังไม่ผลิดอกออกเป็นความคิดได้เลยครับ

    ลองตั้งใจปฏิบัติดูนะครับ
    แล้วจะมีความเข้าใจมากขึ้น
    ความสงสัยจะน้อยลง

    อนุโมทนาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2015
  19. Jera

    Jera เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2009
    โพสต์:
    1,001
    ค่าพลัง:
    +2,040
    อธิบายได้เเตกฉานมากครับ
     
  20. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    บริกรรม ให้จิตสงบเป็นฌาน ปฐมฌาน ครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...