อยากทราบว่าเจ้าภาพผ้าป่ากินเงินเองจะเป็นหรือไม่

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย ณรา, 20 มกราคม 2016.

  1. ณรา

    ณรา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2015
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +21
    เจอเหตุการณ์จริงมา แต่ขอสมมติว่าเป็นตัวเองแล้วกันค่ะ
    เราทำงานต่างจังหวัดพอมีฐานะและรู้จักคนเยอะ เลยอาสาเป็นเจ้าภาพหาเงินสมทบต่อเติมวัดที่บ้านเกิด จัดการทำเรื่องประสานงานและพิธีการอย่างถูกต้องแล้ว แล้วกลับบ้านพร้อมซองผ้าป่า วันงานก็จะมีค่าเครื่องเสียงเวที ค่ากับข้าว น้ำ(แถวบ้านจะมีปกติทุกงาน) และมีการฉลองเหล้าเบียร์ของกินกับแกล้มต่างๆ และยังฉลองกันต่อ3วัน3คืน แล้วพากันกลับไปทำงานตจว.
    ชาวบ้านนับเงินทั้งหมดได้ประมาน5หมื่นกว่าบาท ค่ากับข้าวค่าน้ำปัจจัยที่ใช้ในงานจะมีการกำหนดงบไว้ส่วนหนึ่ง..แต่....ส่วนที่ไม่ได้วางงบไว้คือ ค่าเหล้าเบียร์ที่กินไป3วัน หมดประมาณ 3 หมื่นบาท....สรุปเหลือเข้าวัดประมานเกือบ2หมื่น ..........

    อยากทราบว่า การกระทำดังกล่าว จะมีผลกรรมอย่างไรบ้าง เพราะถ้าไม่มีเราเป็นผู้นำหาผ้าป่ามา ก็จะไม่มีเงินเข้าวัดสักบาทนะคะ
     
  2. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    คุณณรา ได้บอกคนที่บริจาคหรือเปล่าครับว่า เงินทีทำบุญจะหักค่าเครื่องเสียงเวที ค่ากับข้าว ค่าน้ำ และมีการฉลองเหล้าเบียร์ของกินกับแกล้มต่าง ๆ และยังฉลองกันต่อ 3 วัน 3 คืน

    ถ้าไม่ได้บอก ... แต่นำเงินทำบุญไปหักค่ากินค่าฉลอง เอง คุณณรา ติดหนี้สงฆ์เรียบร้อยครับ ประมาณ 3 หมื่นบาท
     
  3. ddman

    ddman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    2,046
    ค่าพลัง:
    +11,941
    เจตนาแรกของท่านจขกท.นั้น "เป็นบุญ"..มีอยู่และสำเร็จไปแล้วด้วยความเพียร

    ส่วนเจตนาหลังที่ตามมา(มีการฉลองเหล้าเบียร์ของกินกับแกล้มต่างๆ และยังฉลองกันต่อ3วัน3คืน )นั้นไม่ใช่บุญเสียแล้วเพราะท่านใช้เงินที่ชาวบ้านเขาให้ด้วยเจตนาว่าจะ"ทำบุญ" มาสนับสนุนการบันเทิงที่ล่วงศีลยังบาปกรรมให้เพิ่มพูนทับท่วมอีกนับว่าเป็นเรื่องเสียหายอย่างยิ่งทั้งแก่ตน และผู้ร่วมบันเทิง...

    การใช้เงินของชาวบ้านโดยผิดวัตถุประสงค์ของเขา ชื่อว่าเป็นการหลอกลวงคดโกง ล่วงอทินนาทานหรือศีลข้อ๒..

    การเกี่ยวข้องด้วยเรื่องบุญ ในพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ต้องระวังและทำความเข้าใจให้ถูกตรงว่า..บุญเป็นความผ่องใสของใจด้วยการกระทำที่ไม่มีกิเลสคือโลภะโทสะโมหะครอบงำ..แต่เป็นอาการของการขัดเกลาตนให้ลดละกิเลสไปตามลำดับ

    บางทีการดิ้นรนที่จะทำบุญโดยขาดความเข้าใจจะกลายเป็นเรื่องทำบาปหนักที่ตนต้องไปรับผลในหลายอัตภาพเพียงเพราะ"ไม่รู้"นี่เอง

    ..เจตนาของผู้ให้เงิน คือทำบุญ
     
  4. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ผลกรรมคือ หนี้สงฆ์ ตายลงนรกก่อนครับ ถ้าติดหนี้สงฆ์

    ต้องแยกให้ออก ว่า บุญส่วนบุญ กุศลกรรม กับ กรรม อกุศลกรรม นะครับ 2 วาระด้วยกัน

    1.ผู้บริจาคเงิน เค้าบริจาคเพราะทำบุญผ้าป่า ครับ
    ไม่ใช่บริจาคเพื่อเอามา ค่าเหล้าเบียร์ที่กินไป3วัน

    2.ในเมื่อ นำเงินที่รับบริจาคมา
    ซองผ้าป่า ไปใช้ผิด ก็คือนำเงินของสงฆ์ ไปหักค่าใช้จ่ายเอาเอง ใครเป็นคนนำออกไป คนนั้นก็สร้างกรรมใหม่ ติดหนี้สงฆ์ ครับ

    เราเป็นคนอาสา เป็นเจ้าภาพก็จริง คนที่เค้าทำบุญเค้าไว้ใจเราว่า เงินที่เค้าทำบุญ เราเป็นผู้นำไปทำบุญ ก็คือรับฝากเราไปส่งวัด

    แต่เรานำเงินไปหักค่าใช้จ่ายเอง เราก็ย่อมสร้างกรรมใหม่ อกุศลกรรม มาเพิ่มทีหลัง

    ฉนั้น แนะนำว่า หาเงิน 30000 ที่หักไปนั้น นำไปคืนกองบุญผ้าป่าให้ครบ ครับ จะได้ไม่ติดกรรม หนี้สงฆ์ ครับ

    เรื่องของ สงฆ์ จะคิดจะทำอะไร นี่ ถ้าไม่ระวัง กรรมหนัก ถ้ายังไม่แก้เกิดตายไปก่อน ลงนรกก่อนเลย ครับ

     
  5. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๖(ต่อ)
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ

    ถาม
    : บางครั้งเรากลัวมาก ๆ นี่ เขาเรียกว่าจิตวิปริตหรือไม่คะ ?
    ตอบ : ไม่ใช่จ้ะ ความกลัวเป็นปกติของทุกคน ตราบใดเรายังกลัวตายอยู่จะกลัวทุกเรื่อง ถ้าหากว่าไม่กลัวตายก็ยาก เพราะที่ไม่กลัวตายจริง ๆ มีแต่พระอรหันต์เท่านั้น แล้วจะวิปริตได้อย่างไร ? กลัวกันทุกคน เพียงแต่เราจะกลัวอย่างมีสติ หรือกลัวแบบขาดสติ ถ้ากลัวอย่างมีสติจะรู้ยั้งคิดรู้จักพิจารณา
    สมัยอยู่วัดท่าซุงเคยชวนพระพี่พระน้องกันสามองค์สี่องค์ไปนั่งกรรมฐานกันแถว ป่าช้า ตอนนั้นทางฝั่งวัดเก่ายังเป็นป่ารกมากเลย โบสถ์เก่าไม่ได้ซ่อม แถวนั้นก็มีโกฏิกระดูกเยอะแยะไปหมด เอากลดไปแขวนก็เข้าไปอยู่กลางป่าดี ๆ นี่เอง งูเลื้อยมาได้ยินเสียงรู้เลย เสียงแกรก ๆ มา ตัวไม่ใหญ่หรอก ตัวนิดเดียว ฟังเสียงก็รู้ใช่ไหม คราวนี้ความคิดก็คิดต่อว่า เออ...ถึงตัวเล็ก แต่ถ้ามันมีพิษ มันกัดเราก็ตายนี่หว่า นี่ก็เริ่มกลัวขึ้นมาหน่อย พออีกสักพัก มันน่าจะใหญ่กว่าที่เราคิดหนึ่งหนึ่งนะ คิดไปคิดมาจิตปรุงไปเรื่อยแต่งไปเรื่อย งูตัวนั้นเลยกลายเป็นใหญ่โตมโหฬารในความรู้สึกของเรา ถ้ามันมาถึงเราตายแน่นอน ก็กลัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ คราวนี้กลัวอย่างมีสติหรือกลัวอย่างขาดสติ นึกขึ้นมาได้ เออ...ในเมื่อไหน ๆ จะตายแล้ว ทำไมเราไม่ไปเผชิญหน้ามันให้รู้แล้วรู้รอดไป เปิดมุ้งกลดขึ้นแล้วฉายไฟดู ตัวนิดเดียว
    คราวนี้กลายเป็นว่า พอตัว "วิชชา" คือความรู้เกิดขึ้น รู้ว่าอะไรเป็นอะไร ตัว "อวิชชา" ที่เป็นความกลัวอยู่ เป็นความรู้ไม่จริงมันหายไป ความกลัวก็หายไปด้วย เพราะฉะนั้น...ถ้าหากว่ายังไม่ใช่พระอรหันต์เมื่อไร ความกลัวยังมีอยู่ทุกรูปทุกนาม จะมากจะน้อยแล้วแต่ สำคัญว่ากลัวแบบมีสติ หรือว่ากลัวแบบขาดสติ ถ้าเรามีสติ เราพิจารณาแล้วแก้ไขไปตามเหตุการณ์เฉพาะหน้า ทุกวันนี้ผีหลอกไม่หนี แต่รู้สึกว่าตัวเองเย็นสันหลังวาบ ๆ ขนลุกเกรียวเลย มานั่งพิจารณา ใจยังกลัวอยู่นี่ เพียงแต่กลัวแล้วไม่หนีเท่านั้น กล้าคุยกล้าพูดกับเขา เพราะฉะนั้น...คำว่าไม่กลัวนี่ยาก เพราะฉะนั้น...ถ้าเรากลัวในขณะที่ปฏิบัติ ให้ตั้งใจไว้ว่า "ถ้าตายตอนนี้ เราก็ไปตามที่เราต้องการ ตั้งใจไปนิพพานก็ไปนิพพาน ตั้งใจไปพรหมเป็นพรหม ตั้งใจไปเทวดาเป็นเทวดา" ตายก็ช่างมัน เป็นอะไรไปได้กำไรอยู่แล้ว ถ้าไม่กลัวตายซะอย่าง อย่างอื่นก็ไม่กลัวด้วย
    ถาม : .................................
    ตอบ : บุญจริง ๆ มีอยู่ ๑๐ แบบด้วยกัน ตัวที่เป็นกำไรจริง ๆ เรียก "ทิฏฐชุกรรม" คือมีความเห็นเป็นสัมมาทิฏฐิ หมายความว่า มีความเห็นว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไรน่ะดี เราตั้งใจทำตามนั้นไม่คัดค้าน แล้วก็มี "ทานมัย" บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน "ศีลมัย" บุญสำเร็จด้ยการรักษาศีล "ภาวนามัย" บุญสำเร็จด้วยการภาวนา สามอย่างนี้เป็นบุญใหญ่มาก พูดง่าย ๆ ว่า หากว่าทานมีผลเป็นร้อย ศีลมีผลเป็นหมื่น ภาวนามีผลเป็นล้าน ขณะที่อันอื่นอาจจะมีผลแค่สิบ ข้อต่อไปก็ "อปจายนมัย" การรู้จักอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้อื่นก็เป็นบุญ คนอื่นเขาเห็นแล้วเย็นตาเย็นใจ เกิดความรักใคร่เมตตา นี่แหละสร้างกุศลให้เกิดในใจเขา เราพลอยได้บุญไปด้วยนะ "เวยยาวัจมัย" ขวนขวายช่วยเหลืองานของคนอื่น ช่วยงานเขาให้สำเร็จ โดยเฉพาะงานที่เป็นงานบุญได้บุญด้วยนะ "ปัตติทานมัย" ทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศล สิ่งที่เราทำด้วยยาก ถึงเวลายังตั้งใจแบ่งปันให้คนอื่นเขา ใจเราประกอบด้วยเมตตาขนาดนั้นเลยเป็นบุญ "ปัตตานุโมทนามัย" เห็นคนอื่นทำความดีพลอยยินดีด้วย ที่เขาเรียกโมทนาด้วย จริง ๆ คือตัวนี้ แต่ว่ายินดีในขณะที่เราไม่มีโอกาสทำ แล้วคนอื่นเขาได้ทำ จิตใจจะผ่องใสอิ่มเอิบอย่างบอกไม่ถูก
    ถาม : ...........................
    ตอบ : แล้วเขาไปได้ตัวเวยยาวัจจมัย คือช่วยงานบุญของเราให้สำเร็จลงด้วย เขาได้เพิ่มอีก ๒ ข้อ ตกลงฝากเขา ๆ ได้กำไร ของเราได้ตั้งแต่ตอนที่ตั้งใจทำเลย คิดจะทำเป็นบุญได้บุญอยู่แล้ว "เจนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ" พระพุทธเจ้าบอกว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจนานั้นเป็นบุญแล้ว"
    ถาม : เจตนาทำบุญเราก็ได้บุญ ถ้าไม่ทำล่ะคะ ? เจตนาจะเปลี่ยนหรือเปล่า ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าตั้งใจจะทำ แต่ว่าโอกาสจะทำยังไม่มี บังเอิญตายเสียก่อน ได้บุญ แต่พระขาดทุน เพราะยังไม่ได้อะไรเลย ได้บุญจริงๆ นะจ๊ะ เพราะว่าจิตตอนนั้นเป็นกุศลเกาะตัวทานอยู่แล้ว คือเราตั้งใจจะให้เป็นปกติ เขาเรียกว่า "จาคานุสติ" คือการระลึกถึงการสละออก เพื่อตัดซึ่งความโลภ แต่ว่าถ้าได้ทำจะเป็นทานบารมี เพราะฉะนั้น...จาคานุสติ ถ้าหากว่าสละไปเรื่อย ท้าย ๆ ก็จะสละ รัก โลภ โกรธ หลงไปเอง สละตอนสุดท้ายสำคัญ เพราะฉะนั้น...ถามว่าถ้าหากแค่คิดว่าจะให้เป็นบุญไหม ? เป็นแล้ว
    ถาม : ถ้าหากว่ามีคนฝากทำบุญ แล้วเราไม่ได้ทำให้เขา ?
    ตอบ : อันนั้นก็เสร็จแน่ ๆ สิ เท่ากับว่าสิ่งที่เป็นกึ่งกลางระหว่างสงฆ์ คือของที่เขาตั้งใจทำบุญ แต่ยังไม่ถึงมือพระ โทษจะเหมือนกากเปรต กากเปรตนี่เขาตั้งใจเอาอาหารมาถวายพระ พี่แกโฉบไปกินเสียก่อน ทั้ง ๆ ที่ตัวเองเป็นอีกา ตายแล้วกลายเป็นเปรตไป ของเขาตั้งใจทำบุญอยู่แล้ว ดังนั้นก่อนตายรีบทำให้เขาซะ
    ถาม : ถ้าหากว่าทำบุญผิดวัตถุประสงค์ล่ะคะ ? สร้างโบสถ์อย่างนี้ เอาไปถวายเป็นอย่างอื่น ?
    ตอบ : ถ้าอย่างนั้นเขาปรับโทษย้ายเจดีย์จ้ะ ถ้าเขาตั้งเจตนามาต้องทำตามนั้น เขาปรับโทษย้ายเจดีย์ ยกเว้นอย่างเดียวหากว่าพระที่รับ เงินเขาตั้งใจเป็นสังฆทาน เราเอาไปทำเป็นวิหารทานได้ เป็นธรรมทานได้เพราะบุญใหญ่กว่า แต่ส่วนที่เล็กกว่าเราทำไม่ได้ คือทำให้มากกว่าที่เขาต้องการ แต่ขณะเดียวกันถ้าของโยมเขาตั้งใจเจตนาอย่างไร ? เราต้องทำให้เขาอย่างนั้น ผิดเจตนาเขาไม่ได้
    ถาม : อะไรที่เป็นของสงฆ์ ?
    ตอบ : ลำบากมากเลยจ้ะ โทษหนัก เขาปรับง่ายที่สุดอเวจีไว้ก่อน เรื่องอื่นว่ากันไว้ทีหลัง...!
    ถาม : สมมุติอย่างวัดแถวบ้านนอก เวลาเขามีงานบุญ เด็ก ๆ ไปกินขนมบางครั้งเราก็ไปกินของพระบ้างอย่างนี้ ?
    ตอบ : ถ้าหากว่าเป็นของเหลือจากพระฉันแล้ว อันนั้นน่ะเรากินได้ แต่ว่าควรจะกินอยู่ที่วัด ไม่ควรเอากลับบ้าน แต่ถ้าหากว่าวัดไหนที่เขามีการอุปโลกน์สังฆทานเวลาถวายอาหารพระ เขาจะมีพระอยู่องค์หนี่งที่สมมติตนเป็นภัตตุเทศน์ เขาจะขึ้น "ยัคเฆ ภัณเต สังโฆ ชานาตุ" ขอสงฆ์ทั้งหลายโปรดจงฟังคำข้าพเจ้า บัดนี้ ท่านทายกทายิกาผู้มีจิตศรัทธาได้น้อมนำมาซึ่งภัตตาหาร เพื่อถวายเป็นสังฆทานในท่ามกลางหมู่สงฆ์ อันชื่อว่าสังฆทานนั้น สมเด็จพระพุทธองค์จะเจาะจงให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หาได้ไม่ ท่านกล่าวไว้ว่า เป็นของที่สมควรแก่สงฆ์ทั่วทั้งสังฆทานมณฑล ท่านอนุญาตให้แจกกันตามบรรดาภิกษุทั้งหลายที่มาถึง บัดนี้ข้าพเจ้าจะสมมติตนเป็นผู้แจกของสงฆ์ สงฆ์ทั้งหลายจะเห็นสมควรหรือไม่สมควร ถ้าเห็นเป็นการไม่สมควรก็จงทักท้วงขึ้นอย่าได้เกรงใจ แต่ถ้าเป็นการสมควรแล้วไซร์ ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้นิ่งอยู่ คราวนี้พอเห็นพระทั้งหมดเงียบ ท่านจะสรุปว่า บัดนี้สงฆ์ทั้งหลายนิ่งอยู่ ข้าพเจ้ารู้ว่าเป็นการสมควรแล้ว จึงขออนุญาตแจกภัตตาหาร ณ บัดนี้ ท่านจะขึ้น "อะยัง ปะฐะมะภาโค มหาเถรัสสะ ปาปุณาติ" ส่วนนที่หนี่งพึงถึงแด่พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่เหนือข้าพเจ้า "อะวะเสสา ภาคา อัมหากัง สามเณรรานัญจะ ปาปุณาติ" ส่วนที่เหลือควรพึงถึงข้าพเจ้าตามลำดับไปตลอดจนภิกษุ สามเณรทั้งหลายที่มาถึง และทายก ทายิกา อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลายที่มีความปรารถนา ขอให้มีส่วนในสังฆทานนี้โดยทั่วหน้ากันทุกท่านทุกคนเทอญ แล้วพระทั้งหมดก็สาธุ พอสาธุเสร็จ คราวนี้ฉันจากพระเหลือแล้วโยมฟาดไปเถอะ เขาอนุญาตแล้วนี่ เพราะฉะนั้น...พระต้องมีความเห็นเป็นอันหนี่งอันเดียวกัน อนุญาตให้ อย่างนั้นได้ ถ้าไม่พูดเลย ถ้ากินเหลือกินได้ แต่อย่าเอาไปบ้าน ถ้าไม่ใช่เหลือแล้วไปฉวยมาเองนี่ ติดหนี้สงฆ์ทันทีเลย
    ถาม : ต้องสร้างพระถึงชำระหนี้สงฆ์ได้ ?
    ตอบ : ต้องเป็นพระที่หน้าตักอย่างน้อย ๔ ศอก ๔ ศอกคือ ๒ เมตร ถ้าหากว่าสร้างพระแล้วไม่ปิดทองได้เฉพาะเจ้าภาพคนเดียว มีอานิสงส์ในการชำระหนี้สงฆ์ แต่ถ้าหากว่าสร้างพระ ๔ ศอกแล้วปิดทองด้วย จะเป็นคณะกี่หมื่นกี่แสนคนก็มีอานิสงส์ชำระหนี้สงฆ์ได้เหมือนกันทุกคน
    ถาม : ชำระหนี้สงฆ์แล้ว ถ้าหากว่าเราตายไปต้องรับไหมคะ ?
    ตอบ : โทษนี้จบกันไปเลย ยกเว้นเราจะไปติดหนี้ใหม่ ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันเคยทำอะไรมาไว้ เป็นอันว่ายกเลิกกันไป ถ้าอนาคตทำใหม่แล้วค่อยว่ากันอีกครั้ง
    ถาม : บางคนทำเยอะมาก บางคนทำนิดเดียวอย่างนี้ล่ะคะ ?
    ตอบ : จะเยอะจะน้อยอะไรก็ตาม โทษต่ำสุดคืออเวจี เพียงแต่อยู่นานกว่ากันหรือเปล่าเท่านั้นเอง ต่อให้ทำมากทำน้อยอย่างไรก็ตาม เขากำหนดเอาไว้ในอัตรานี้ ถ้าหากว่าให้มาเป็นอันว่าจบกันไป แล้วอย่าลืมว่าพระ ๔ ศอก ไม่ได้สร้างง่าย ยิ่งสมัยก่อนที่จะสร้างพระใหญ่ ๆ อย่างนี้ มีแต่บรรดาเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ หรือบรรดาพวกเสนาบดี มหาอำมาตย์ ผู้ใหญ่ ๆ ทั้งนั้นถึงมีบารมีพอที่จะสร้างได้ มาสมัยของเราต้องเรียกว่าบุญมันดี ของทุกอย่างพร้อม ง่ายสะดวกไปหมด มีโอกาสทำก็รีบทำ
    ถาม : ถ้าเราเอาสตางค์พระมาใช้ล่ะคะ ? เป็นลุงบวชอยู่
    ตอบ : ถ้าหากว่าเป็นของที่เขาถวายท่านเป็นการส่วนตัว แล้วท่านอนุญาตให้เราใช้ได้ อันนั้นไม่เป็นไร แต่ถ้าหากว่าเป็นของที่ถวายสงฆ์ ถึงท่านอนุญาตก็ไม่ได้ เพราะว่าของถ้าหากว่าตั้งใจถวายอย่างเงินสังฆทานนี่ไม่ได้เลย ต้องพระทั้งวัดเห็นสมควรถึงจะได้ อย่างของอาตมาตอนนี้เงินที่ให้โยมใช้มีส่วนเดียว คือส่วนที่เป็นส่วนตัว อย่างเช่น คนเขาขับรถให้ ถึงเวลาเราให้เงินเขากินข้าวกินน้ำบ้างอย่างนี้ได้อยู่ แต่ต้องเป็นเงินส่วนตัวจริง ๆ นะ ถ้าไปยักเงินสงฆ์มาเมื่อไร ตัวเองเป็นหนี้แทน เพราะตั้งใจให้เขา เราต้องชำระหนี้แทนเขา
    ถาม : ถ้าเราไม่ทราบว่าเงินนี้มาจากไหน ?
    ตอบ : ทำการชำระหนี้สงฆ์ไปอย่างที่ว่านั่นแหละ ถ้ารู้จำนวนคืนตามจำนวน ถ้าไม่รู้จำนวนก็สร้างพระชำระหนี้สงฆ์ไป พวกข้าวของเหมือนกัน ถ้ารู้ว่าเท่าไร ? เช่น ปิ่นโตกี่เถา ช้อนกี่คัน จานกี่ใบอย่างนี้ ซื้อคืนไป แต่ถ้าหากว่าไม่รู้ ต้องทำการชำระหนี้สงฆ์ ถ้าเขาสร้างพระก็ไปร่วมกับเขา ถ้าเขาไม่สร้างก็ตั้งหน้าตั้งตาทำเสียเอง อันนี้ลำบากหน่อย
    ถาม : ถ้าอย่างนี้หนูรู้ใช่ไหมคะว่าเป็นหนี้สงฆ์ ถ้าหากเป็นญาติที่บ้านยังเป็นปกติอยู่ ?
    ตอบ : ค่อย ๆ ชี้แจงให้เขาฟังสิ คนทำต่อให้รู้หรือไม่รู้ก็ผิด จะบอกว่ากินยาพิษโดยไม่รู้แล้วไม่ตายเป็นไปไม่ได้หรอก มีโทษอยู่แล้ว แต่จริง ๆ น่าตำหนิที่สุดคือ ตัวนักบวชที่ไม่รู้ แล้วทำให้ญาติโยมเขาลำบากเพราะว่าเจอมามากต่อมาก เวลาบวชอยู่มีข้าวของอะไรก็เอาไปให้ญาติโยมของตัวเอง ประเภทโทรทัศน์ พัดลม ตู้เย็น เจอมาแล้ว เขาขนกันไปเป็นคันรถเลย ไอ้นั่นลำบาก จะเป็นหนี้สงฆ์โดยไม่รู้ตัว ไม่ต้องหนักใจหรอกจ้ะ ตอนนี้มีโครางการสร้างพระชำระหนี้สงฆ์อยู่ ของเราเองถ้าหากว่ามีความสามารถหาปัจจัยรวม ๆ กันมาเป็นคณะของเรา คณะหนึ่งก็หนึ่งแสนบาท ถ้าหากว่าไม่มี เดี๋ยวรอคนอื่นเขาเป็นเจ้าภาพ เราร่วมกับเขาไปกี่สตางค์ก็ได้ ตั้งใจว่าเขาสร้างกี่องค์เราเอาเท่านั้นด้วย อย่ากำหนดว่าองค์เดียว เรื่องหนี้สงฆ์อันตรายมาก เพราะส่วนใหญ่แล้วไม่เข้าใจกัน จะเป็นโทษกันบ่อย
    อย่างญาติพระเจ้าพิมพิสารเป็นเปรตซะ ๙๑ กัป อันนั้นจริง ๆ แล้วแกไม่ได้ติดหนี้สงฆ์หรอก กินอาหารเหลือจากพระด้วยซ้ำไป แต่คราวนี้แกกินแล้วแกไม่พอ แกขนกลับบ้านด้วย ตอนขนกลับบ้านด้วยนี่ถึงจะเหลือก็เถอะ มันเป็นของวัดอยู่ "วิทาสาโท" คือกินของเหลือจากพระกินได้ แต่ไม่ใช่ให้แบกไปด้วย
    ถาม : .............................
    ตอบ : สร้างพระชำระหนี้สงฆ์จ้ะ เขากำหนดกติกาแล้วถ้าทำได้อย่างนี้เป็นอันว่าจบกัน ก็แปลว่าจบกันแค่นั้น แต่ถ้าเรารู้สึกว่ายังไม่สะใจ จะทำไปเรื่อย ๆ ก็ไม่มีใครว่า
    ถาม : ประสบการณ์เรื่องอวิชชา ไม่รู้ตอนไหน ?
    ตอบ : ไม่รู้ตอนไหน ? ไม่รู้ทันกิเลส เห็นปุ๊บพอใจก็เสร็จแล้ว "พอใจ" คือตัวฉันทะ จะเกิด "ราคะ" คือยินดีอยากมีอยากได้ ฉันทะกับราคารวมกันเขาเรียกว่า "อวิชชา" ตาเห็นรูปพอใจ หูได้ยินเสียงพอใจ จมูกได้กลิ่นพอใจ ลิ้นได้รสพอใจ กายสัมผัสพอใจ เสร็จหมด...!
    ถาม : ..............................
    ตอบ : ไม่ต้องลองหรอกจ้ะ ทำได้เลย เพียงแต่ว่าทำแล้วตอนทำให้ตั้งใจภาวนาอย่างเดียวอย่าอยากมีอยากเป็นอะไรนะ จะเป็นอะไรช่างมัน เหมือนกับเราปลูกต้นไม้นั่นแหละ จะออกดอกออกผลเมื่อไรเรื่องของมัน เรามีหน้าที่บำรุงดูแลรักษาใส่ปุ๋ยใส่ยาก็ว่าของเราไปเรื่อย ถึงวาระถึงเวลาที่สมควรมันจะออกดอกออกผลเอง ไปเร่งเขาไม่ได้หรอก ไปดึงยอดโตเร็ว ๆ หน่อย มันเฉาตายพอดี ค่อย ๆ ทำไปเรื่อย ๆ ใจเย็น ๆ แล้วจะได้ผลเร็ว ถ้าใจร้อนจะเสีย
    ถาม : แต่ถ้าคิดว่าชาตินี้เราเกิดมาจนแก่จนเฒ่าก็ได้เท่านี้ ?
    ตอบ : ได้เท่านี้หมายความว่าอย่างไร ? ใครเป็นคนกำหนดล่ะ ?
    ถาม : หมายถึงว่า "ทำไมเราไม่ถึงขนาดว่าจิตสงบจริง ๆ อย่างนี้ค่ะ"
    ตอบ : อ๋อ...อันนั้นแหละเป็นตัวฟุ้งซ่านเลยไม่สงบ
    ถาม : หนูทำมานานนะคะ แต่ทำไมยังอยู่ที่เดิม ?
    ตอบ : มี ๒ อย่าง ทำแล้วไม่ก้าวหน้า คือทำเกินกับทำขาด ถ้าทำพอดีไปนานแล้ว เกินก็ไม่ได้ ขาดก็ไม่ได้
    ถาม : เกินหมายถึงทำหนักไป ?
    ตอบ : ใช่ เอาจริงเอาจังอยากได้จนเกินไป ส่วนทำขาดคือ ยังไม่เพียงพอ ส่วนใหญ่เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทำตัวขาดคือ ขาดการต่อเนื่อง เราทำสมาธิเฉพาะตอนนั่ง พอลุกแล้วเราเลิกใช่ไหมล่ะ ? เออ...ในเมื่อเราลุกแล้วเราเลิก อย่าลืมว่าวันหนึ่ง ๒๔ ชั่วโมง ใจเราสงบเท่าไร ? นั่งอยู่อย่างเก่งก็ชั่วโมงหนึ่ง ใช่ไหม ? ขาดทุนไป ๒๓ ชั่วโมง ถ้าเราขาดทุนไปทุกวัน ๆ อย่างนี้ แล้วจะเอากำไรที่ไหนมา
    เพราะฉะนั้น...ตอนเรานั่งอยู่ ถ้ากำลังใจทรงตัวขนาดไหนก็ตาม ลุกขึ้นแล้วต้องประคับประคองรักษากำลังใจนั้นให้อยู่กับเราให้นานที่สดุเท่า ที่จะนานได้ พอทำบ่อย ๆ เข้ามันเคยชิน จากที่เคยอยู่ได้แป๊บหนี่ง อาจจะอยู่ได้ชั่วโมงหนึ่ง สองชั่วโมง สามชั่วโมง มากขึ้นไปเรื่อย ๆ ตามระยะเวลา จนกระทั่งได้เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี ถ้าจิตยิ่งทรงตัวมากเท่าไร สมาธิยิ่งดีเท่านั้น ปัญญาจะเกิดมาก ไปควบคุมให้เราระมัดระวังรักษาให้ยิ่งทรงตัวมากขึ้นไปเรื่อย ๆ แต่ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ทำแล้วก็เลิก แล้วก็ทำใหม่ คราวนี้เราว่ายทวนน้ำอยู่ เพราะว่าเราทวนกระแสกิเลส พอถึงเวลาเราปล่อย เราก็ไหลตามน้ำไป แล้วเราก็ว่ายทวนน้ำใหม่ แล้วก็ปล่อยไหลตามน้ำไป ตกลงเราจะขยันมาก ทำงานทุกวัน แต่ผลงานไม่มี...! แล้วพอเหนื่อยมาก ๆ มันท้อ ก็จะเลิกทำไปเอง เพราะฉะนั้น...เราต้องว่ายต่อเนื่องไปเรื่อย อย่าปล่อย ปล่อยเมื่อไรเสร็จมัน ถ้าไหลไปไกลแล้วเดี๋ยวกลับยาก หมดกำลังใจอีก
    ถาม : เขาบอกว่า "สมาธิไม่จำเป็นต้องนั่ง นอน เดิน" ?
    ตอบ : ใช่ แต่อย่างนั้นแสดงว่าขาดสติ ทุกอิริยาบถของเราแบ่งความรู้สึกส่วนหนึ่งไประลึกถึงมันอยู่เสมอ ความรู้สึกนี้อาจจะมากน้อยแล้วแต่ความชำนาญ แต่ว่าอย่างไม่มี ๆ ก็สัก ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์ แบ่งความรู้สึกนึกถึงไว้เสมอ เช่นว่า เราจับภาพพระ ก็นึกถึงภาพพระอยู่เสมออยู่ตรงนี้ แต่ขณะเดียวกันว่าอีก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์ เราใช้ประกอบหน้าที่การงานตามปกติของเรา จะข้ามถนน จะไปทำงาน จะทำหน้าที่อะไรก็ตาม ความรู้สึก ๗๐-๘๐ เปอร์เซ็นต์นี้จะควบคุมอยู่ตลอด แต่ว่าระหว่างนั้น ๒๐-๓๐ เปอร์เซ็นต์นึกถึงภาพพระอยู่ ถ้าหากว่าเราสามารถทรงฌานได้จริง ๆ เอาแค่ปฐมฌานละเอียดพอ จะรู้ลมอัตโนมัติโดยไม่ต้องบังคับ จิตละเอียดมาก ขณะเดียวกันก็ทำทุกอย่างไปพร้อม ๆ กันได้ด้วย ถ้าหากว่าเราทำถึงตรงจุดนี้แล้ว ให้ระมัดระวังประคับประคองเอาไว้ ตรงจุดนี้จะเป็นจุดที่เริ่มดี เพราะว่ากำลังของปฐมฌานถ้าเราตั้งใจตัดกิเลสอย่างน้อยจะเป็นพระโสดาบันได้ ทำแล้วอย่าทิ้ง
    ถาม : ถ้าเรามั่นใจว่าเราสามารถบรรลุธรรมได้ มีความตั้งใจว่าชาตินี้สามารถบรรลุธรรมได้แน่ ๆ ถ้าเกิดความรู้สึกอย่างนี้ เป็นกิเลสหรือเปล่าครับ ?
    ตอบ : จะเป็นอย่างไรล่ะ ตัวนั้นน่ะเขาเรียกว่า "บารมี" คือกำลังใจ ความมมั่นใจ ถ้าหากว่าประเภทอย่างเช่น บางคนเคยเจอ แนะนำเขาบอกให้ไปนิพพาน เขาบอกจะไปได้หรือ ? ประเภทนั้นไม่มีกำลังใจ คือบารมีพร่องอยู่ แล้วคราวนี้คุณจะมานั่งมั่นใจ ๆ อย่างเดียวช่วยอะไรไม่ได้หรอก ต้องลงมือทำ...!


     
  6. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    เจตนาแห่งบุญ ปัจจัยทั้งปวงมีเจตนาเพื่อสิ่งใด เพื่อปราถนาสร้างกุศลอะไร

    ต้องชัดเจน ผู้นำ ต้องซื่อตรงต่อเจตนาของผู้อื่นและของตนเอง

    ความผิดอันเกิดจากการนำปัจจัยไปใช้ผิดเจตนา ย่อมเป็นบาป ลำดับที่1
    ความผิดอันเกิดจากการนำปัจจัยที่ใช้ผิดเจตนาไปทำบาป ย่อมเป็นบาปกรรมหนักลำดับที่2
    ความผิดอันเกิดจากการไม่นำปัจจัยไปสบทบให้ครบตามเจตนา ทำให้กิจกรรมหรืองานบุญเหล่านั้นไม่ประสบผลสำเร็จ กลายเป็นการไปขัดขวางปิดกั้นความสำเร็จเพราะขาดปัจจัยส่วนนั้น ย่อมเป็นบาปกรรมหนัก

    ผิดทั้งหนี้สงฆ์และหนี้บุญของชาวบ้าน ตายไปย่อมตกนรกอเวจี หลังจากนั้น ยังต้องมาใช้เศษกรรมด้วยการเป็นเปรตอีกหลายร้อยปี

    ไม่คุ้มกันเลยครับ ต้องตรงไปตรงมานะครับ

    แม้เงินหรือปัจจัยที่เขาให้มาส่วนตัวตามแต่เราจะใช้ เงินทุกบาทเหล่านั้นก็ไม่สามารถนำไปใช้พร่ำเพรื่อผิดศีลธรรมไม่ได้ ต้องซื่อตรงต่อการนำไปใช้ในสิ่งที่ดีงามเป็นประโยชน์เท่านั้น อย่าปล่อยให้กิเลสทางโลกมายา มันหลอกเราติดหลุมพลางสิ จะเอาไปเสพกามทำชั่วไม่ได้ ห้ามเด็ดขาด ถ้าทำไม่ได้ก็ไม่ต้องไปนำใครทำบุญหรือรับปัจจัยอะไรจากใครเพราะนั่นคือการรับกรรมเหมือนก้อนถ่านร้อนๆใส่ตนเพราะตนยังละไม่ได้นั่นเองครับ ขอให้ทำความเข้าใจและฝึกฝนตนเองให้ซื่อตรงด้วยการทำดีซื่อสัตว์ในความดี นะครับ สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 มกราคม 2016
  7. งุ้งงิ้ง

    งุ้งงิ้ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2014
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +48
    โอ้ววว เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ซะแล้ว
     
  8. งุ้งงิ้ง

    งุ้งงิ้ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2014
    โพสต์:
    56
    ค่าพลัง:
    +48
    โฮจำไม่ได้ว่าติดหนี้สงฆ์บ้างรึเปล่า อาจเคยติดโดยไม่มีเจตนา ไปวัดจึงหยอดตู้ชำระหนี้สงฆ์ประจำ
     
  9. ถิ่นธรรม

    ถิ่นธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    1,824
    ค่าพลัง:
    +5,398
    บุญปนบาป กรณีแบบนี้บุญจะเป็นแกนหลักคือการทอดผ้าป่าโดยมีบาปสอดแทรกคือส่งเสริมคนผิดศีลเป็นรอยด่างในบุญนั้น ซึางจะคอยตัดรอนให้บุญทำหน้าที่ไม่เต็มที่ เพราะบุญไม่บริสุทธิ์เท่าที่ควร วิบากแห่งกรรมถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ คือพอไปเกิดเป็นเทวดาจะได้ครองทิพยสมบัติ 5 หมื่นปี แต่บาปก็จะตัดให้เหลืออายุแค่ 2 หมื่นปี ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์บุญส่งผลให้ได้เป็นมหาเศรษฐีมีสมบัติ 5 หมื่นล้าน แต่เพราะส่งเสริมให้คนผิดศีลไปดื่มสุรา ก็จะทำให้มีลูกหลานเป็นคนพาลขี้เมาทำลายสมบัติของตระกูลไป 3 หมื่นล้าน ตามสัดส่วนของสิ่งที่คุณได้ทำ
     
  10. tjs

    tjs ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2012
    โพสต์:
    3,654
    ค่าพลัง:
    +20,364
    ================

    การผิดสัจจะ ผิดวาจา ย่อมเป็นการทำบาปกรรมคือ มุสาวาท นอกจากนี้ บางท่านยังมีการกล่าวอ้างถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกว่าขอท่านแล้ว ท่านอนุญาตก็มี อันยิ่งเป็นการทำบาปหนักมากยิ่งขึ้น

    สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ย่อมซื้อตรงต่อความดีงามความถูกต้องแห่งเจตนาในการทำความดี การนำปัจจัยไปใช้ที่ผิดเจตนาแห่งบุญย่อมเป็นสิ่งผิด ไม่ถูกต้อง ย่อมเป็นบาป สิ่งที่เป็นบาปผิดศีลผิดธรรม ผิดเจตนาแห่งบุญกุศลที่ดีงาม เทพพหรมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายย่อมไม่อนุโมทนาไม่เห็นด้วยหรือส่งเสริมให้ทำ มีแต่จะเวทนาว่าคิดทำเช่นนั้นได้อย่างไร

    ที่ผมกล่าวเรื่องนี้หนัก เพราะปัจจุบัน การทำบุญต่างๆ ผู้รวบรวมเงินถือเงิน มักจะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ซึ่งทำผิดกันบ่อยมาก ใช้จ่ายไม่ถูกต้องและไม่ประหยัด อันผิดเจตนา เป็นบาปกรรมทั้งสิ้น สำหรับเรื่องนี้จึงขอให้ระวังกันให้มากครับ เพื่อการสำรวมระวังจะได้ไม่กระทำผิดเป็นบาปกรรมติดตัวอีกครับ สาธุ
     
  11. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    46,966
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,043
    ตำนาน เรื่องเล่า สมบัติสงฆ์ของร้อน
    <iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/ZtBb-QyrYr8" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
     
  12. sensona

    sensona Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    68
    ค่าพลัง:
    +65
    เนื่องจากผมไม่ใช่พระพุทธเจ้าการที่จะเที่ยวทำนายทายทักในผลกรรมของผู้อื่นจึงขอละไว้ เหลือแต่ความรู้สึกส่วนตัวว่าเสียวแทน และขอให้ท่านโชคดี :boo:
     

แชร์หน้านี้

Loading...