กล่าวว่า

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รสมน, 6 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. รสมน

    รสมน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,451
    ค่าพลัง:
    +2,047
    กล่าวว่า..."ทุกอย่าง เป็น ธรรมะ"
    หมายความว่า สิ่งนั้น "ต้องมีลักษณะ"

    ธรรมะ แต่ละอย่าง ๆ "ต้องมีลักษณะเฉพาะ"
    ธรรมะ แต่ละอย่าง ๆ มีลักษณะเฉพาะตน ๆ....และ ไม่ใช่ของใคร.!

    สิ่งใด "มีลักษณะ" สิ่งนั้นเป็น "ธรรมะ"
    ในขณะนี้.......ก็มีลักษณะของธรรมะ.?

    เห็น ก็มีลักษณะอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจาก ได้ยิน ซึ่งมีลักษณะอีอย่างหนึ่ง.?
    คิดนึก ก็มีลักษณะอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งต่างจาก เห็น และ ได้ยิน.?

    ถ้าจะเป็น"ความเข้าใจ" จริง ๆ ว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ" หมายความว่า
    ขณะนี้ การเห็น มีจริง.....?
    เพราะฉะนั้น การเห็น เป็น ธรรมะ.!
    ขณะนี้ ได้ยิน มีจริง......?
    เพราะฉะนั้น ได้ยิน เป็น ธรรมะ.!

    สิ่งที่มีจริง เกิดขึ้น ปรากฏ มีลักษณะ คือ "ธรรมะ"

    เริ่มเข้าใจ ว่า "ทุกอย่างเป็นธรรมะ"
    ก็เพราะ รู้ "ลักษณะเฉพาะ" ของธรรมะต่าง ๆ ที่กำลังปรากฏ แต่ละอย่าง ๆ
    และ "ธรรมะ" ก็มีหลากหลายมาก ในชีวิตประจำวัน.

    "ธรรม" เมื่อเกิด ก็ต้องดับ...ไม่มีใคร สามารถบังคับบัญชาได้.!

    ขณะที่ "ธรรมะ" กำลังปรากฏ
    และ สามารถเข้าใจ "ลักษณะเฉพาะ ที่กำลังปรากฏ แต่ละอย่าง ๆ"
    ขณะนั้น....กำลังเข้าใจ "ธรรมะ"
    คำว่า "ที่กำลังปรากฎ" ต้องเป็นปัจจุบันจริงๆ เท่านั้นนะครับ
    ไม่ใช่แบบว่า เอื้อมมือไปจับลูกบิดประตู แล้วรู้ล่วงหน้าแล้วว่า จะปรากฏ "แข็ง" ที่มือ
    หรือ เอามือจับลูกบิดไปแล้ว แล้วค่อยรู้ว่า ...อ๋อ นี่คือ "แข็ง" , หรือ "แข็ง" คือแบบนี้นี่
    เอง
    แล้วขณะนั้นก็ ไม่ต้องคิดอะไรเลย ไม่มีแม้แต่ "บัญญัติ ใดๆ" ...เพราะคำว่า "แข็ง" นี้
    คือ สภาพแข็ง ที่เรารับรู้ทางกาย มันคือความรู้สึกถึงการสัมผัส และ เป็นการระลึกรู้ว่า
    ทันทีที่มือกระทบวัตถุ ...ไม่มีคิด ไม่มีอารมณ์
    เรามักจะสับสนกันว่า การจะเจริญวิปัสสนานั้นต้องอบรมสมถภาวนาก่อนจึงค่อยเจริญ
    วิปัสสนาภาวนา ความจริงแล้ว สมถภาวนาและวิปัสสนานั้นแยกจากกัน ไม่เหมือนกัน
    เลย ผู้ที่จะบรรลุ ดับกิเลสได้ด้วยการเจริญวิปัสสนา ไม่ใช่ด้วยการเจริญสมถภาวนา
    และก็ไมได้หมายความว่า จะเจริญวิปัสสนาได้ต้องอบรมสมถภาวนาก่อน นั่นก็เป็น
    ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ผู้ที่บรรลุโดยไม่ได้อบรมสมถภาวนามีมากมาย ผู้ที่ไม่บรรลุ
    เพราะอบรมสมถภาวนามีมากมาย(เพราะสมถภาวนาไม่ใช่ทางหลุดพ้น) ผู้ที่ไม่ได้อบรม
    สมถภาวนาแต่สำคัญว่าเป็นการอบรมสมถภาวนามีมากมาย ผู้ที่ไมได้อบรมวิปัสสนาแต่
    สำคัญผิดว่าอบรมวิปัสสนามีมากมาย ดังนั้นเรื่องของสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา
    จึงเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ไม่ใช่ฟังใครบอกให้ทำอย่างไรก็ทำตามโดยที่ปัญญาไม่รู้
    อะไรในขณะนั้น ได้แต่ความนิ่งจดจ่ออยู่ที่อารมณ์ใด อารมณ์หนึ่งเท่านั้นแต่ปัญญาไม่รู้
    อะไรเลยในขณะนั้น นั่นก็ไม่ใช่การอบรมสมถภาวนาแล้วครับ
    ผู้ที่จะอบรมสมถภาวนาที่ถูกต้องคือผู้ที่เห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน แม้ความ
    ต้องการ ติดข้อง จึงอบรมในอารมณ์ต่างๆในสมถภาวนา สมถภาวนาต้องเป็นกุศล ด้วย
    ความสงบที่เป็นกุศลจิต เพราะฉะนั้นความสงบไม่ได้หมายถึง การนิ่งไม่คิดอะไร จดจ่อ
    อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีคำว่าพุธโธ เป็นต้น แต่หมายถึง ความสงบที่เป็นความสงบจาก
    กิเลสนั่นเองคือเป็นกุศล เพราะฉะนั้นการระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าเป็นกุศล แต่
    การนึกถึงคำว่าพุทโธ ขณะนั้นจิตเป็นกุศลหรือไม่ หรือได้แต่นึกถึงแต่คำนั้น(พุทโธ)แต่
    ขณะนั้นไมได้ระลึกถึงพระคุณ ขณะที่เราระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า โดยไม่ได้นึก
    ถึงคำว่าพุทโธก็มีใช่ไหมครับ ขณะนั้นเป็นกุศล สงบ เพราะสงบจากกิเลส ดังนั้นการ
    ท่องกับการระลึกถึงพระคุณจึงต่างกัน จะเห็นได้ว่าต้องเป็นเรื่องของปัญญา ปัญญารู้
    ขณะที่เป็นกุศลว่าเป็นอย่างไร จึงอบรมให้กุศลนั้นเจริญขึ้น แต่ไม่ใช่ด้วยความต้องการ
    ที่อยากสงบ ขณะที่ต้องการอยากสงบก็เป็นโลภะแล้วไม่ใช่กุศล ขณะที่มีความต้องการ
    ที่จะจดจ้องที่คำใดคำหนึ่ง ก็เป็นความต้องการอย่างละเอียดแล้วไม่ใช่สมถภาวนาเลย
    ครับ ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ขออนุโมทนาครับ
    ข้อความจากพระวินัย ท่านอธิบายไว้ คำว่า ทอง คือทองคำแท้ๆ ส่วนคำว่า เงิน
    มีความหมายกว้าง คือ หมายรวมเอาสิ่งที่ใช้แทนเงินทั้งหมด เช่น ธนบัตร ตั๋วแลก
    เงิน เช็ค เป็นต้น ที่ชาวโลกสมมุติกันว่าใช้แทน เงิน ชำระหนี้ตามกฏหมายได้..
    ดังข้อความในพระวินัยปิฎกมหาวิภังค์ บางตอนมีว่า
    พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 941
    ที่ชื่อว่า ทอง ตรัสหมายทองคำ
    ที่ชื่อว่า เงิน ได้แก่ กหาปณะ มาสกที่ทำด้วยโลหะ มาสกที่ทำ
    ด้วยไม้ มาสกที่ทำด้วยครั้ง ซึ่งใช้เป็นมาตราสำหรับแลกเปลี่ยนซื้อขาย
    กันได้.

    ..คำอธิบายจากอรรถกถามีว่า
    คำว่า ชาตรูป เป็นชื่อแห่งทองคำ...
    บทว่า กหาปณะ กหาปณะที่เขาทำด้วยทองคำก็ดี ทำด้วยเงินก็ดี
    กหาปณะธรรมดาก็ดี ชื่อว่า กหาปณะ.
    มาสกที่ทำด้วยแร่ทองแดงเป็นต้น ชื่อว่า โลหมาสก.
    มาสกที่ทำด้วยไม้แก่นก็ดี ด้วยข้อไม้ไผ่ก็ดี โดยที่สุดแม้มาสกที่เขา
    ทำด้วยใบตาลสลักเป็นรูป ก็ชื่อว่า มาสกไม้.
    มาสกที่เขาทำด้วยครั่งก็ดี ด้วยยางก็ดี ดุนให้เกิดรูปขึ้น ชื่อว่ามาสกยาง.
    ก็ด้วยบทว่า เย โวหารํ คจฺฉนฺติ นี้ ท่านสงเคราะห์เอามาสก
    ทั้งหมดที่ใช้เป็นมาตราซื้อขายในชนบท ในเวลาซื้อขายกัน โดยที่สุดทำ
    ด้วยกระดูกบ้าง ทำด้วยหนังบ้าง ทำด้วยเมล็ดผลไม้บ้าง ดุนให้เป็นรูปบ้าง
    มิได้ดุนให้เป็นรูปบ้าง. วัตถุทั้ง ๔ อย่าง คือ เงิน ทอง ทั้งหมดนี้อย่างนี้
    (และ) มาสกทอง มาสกเงิน มีประเภทดังกล่าวแล้วแม้ทั้งหมด จัดเป็น
    วัตถุแห่งนิสสัคคีย์,..
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 306
    ....คำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคตํ สามเณรํ นาเสตุ นี้
    เพราะเหตุนั้น ในกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น สามเณรใด
    ย่อมทำกรรม แม้อย่างหนึ่ง สามเณรนั้น อันภิกษุพึงให้พินาส ด้วย
    ลิงคนาสนาเหมือนอย่างว่า ภิกษุทั้งหลาย่อมเป็นอาบัติ ต่าง ๆ กัน
    ในเพราะกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้นฉันใด,สามเณรทั้งหลาย
    จะได้เป็นฉันนั้นหามิได้. เพราะว่าสามเณรยังมดดำมดแดงให้ตายก็ดี
    บี้ไข่เรือดก็ดี ย่อมถึงความเป็นผู้ควรให้พินาสทีเดียว. สรณคมน์
    การถืออุปัชฌาย์ และการถือเสนาสนะของเธอ ย่อมระงับทันที. เธอย่อม
    ไม่ได้ลาภสงฆ์, คงเหลืออยู่สิ่งเดียว เพียงเพศเท่านั้น, ถ้าเธอเป็นผู้มีโทษ
    ซับซ้อน จะไม่ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป พึงกำจัดออกเสีย ถ้าเธอผิดพลาดพลั้งไป
    แล้ว ยอมรับว่า ความชั่วข้าพเจ้าได้ทำแล้ว ดังนี้ เป็นผู้ใคร่จะทั้งอยู่ในสังวร
    อีก กิจคือลิงคนาสนาย่อมไม่มี, พึงให้สรณะทั้งหลาย พึงให้อุปัชฌาย์แก่เธอ
    ซึ่งคงนุ่งห่มอย่างเดิมทีเดียว, ส่วนสิกขาบททั้งหลาย่อมสำเร็จด้วยสรณคมน์
    นั่นเอง, จริงอยู่ สรณคมน์ของสามเณรทั้งหลายเป็นเช่นกับกรรมวาจาใน
    อุปสมบทของภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ศีล ๑๐ เป็นอันสามเณรแม้นี้
    สมาทานแล้วแท้ เหมือนจตุปาริสุทธิศีลอันภิกษุสมาทานแล้วฉะนั้น, แม้เป็น
    เช่นนี้ ศีล ๑๐ ก็ควรให้อีก เพื่อทำให้มั่นคง คือเพื่อยังเธอให้ตั้งอยู่ในสังวรต่อไป
    สามเณรย่อมเป็นผู้มีใช่สมณะ คือย่อมถึงความเป็นผู้ควรนาสนาเสีย
    ในเพราะอทินนาทาน ด้วยวัตถุแม้เพียงหญ้าเส้น ๑ ในเพราะอพรหรมจรรย์
    ด้วยปฏิบัติผิดในมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๓ มรรคในเพราะมุสาวาท เมื่อตนกล่าว
    เท็จ แม้ด้วยความเป็นผู้ประสงค์จะหัวเราะเล่น ส่วนในเพราะดื่มน้ำเมา เป็น
    อาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แม้ไม่รู้ดื่มน้ำเมาจำเดิมแต่ส่า. ฝ่ายสามเณร ต้องรู้
    แล้วดื่ม จึงต้องศีลเภท ไม่รู้ไม่ต้อง. ส่วน ๕ สิกขาบทนอกนี้เหล่าใด ของ
    สามเณรนั้นบรรดามี ครั้นเมื่อสิกขาบทเหล่านั้นทำลายแล้ว เธออันภิกษุไม่พึง
    นาสนา พึงลงทัณฑกรรม. แลเมื่อสิกขาบทอันภิกษุได้ให้อีกก็ดี ยังมิได้ให้ก็
    ดี จะลงทัณฑกรรม ย่อมควร. แต่ว่าพึงปราบด้วยทัณฑกรรมแล้ว จึงค่อย
    ให้สิกขาบท เพื่อประโยชน์แก่ความคงอยู่ในสังวรต่อไป. การดื่มน้ำเมาของ
    เหล่าสามเณร เป็นสจิตตกะ จึงเป็นวัตถุแห่งปาราชิก...
    พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 302
    องค์แห่งนาสนะ ๑๐ ของสามเณร
    [๑๒๔า ก็โดยสมัยนั้นแล สามเณรของท่านพระอุปนันทศากยบุตรชื่อ
    กัณฏกะ ได้ประทุษร้ายภิกษุณีกัณฏกี ภิกษุทั้งหลายจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพน-
    ทะนาว่า ไฉนสามเณรจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานนี้เล่า แล้วกราบทูลเรื่อง
    นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
    พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
    อนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ คือ.
    ๑. ทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป.
    ๒. ถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้.
    ๓. ประพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์.
    ๔. กล่าววาจาเท็จ.
    ๕. ดื่มน้ำเมา.
    ๖. กล่าวติพระพุทธเจ้า.
    ๗. กล่าวติพระธรรม.
    ๘. กล่าวติพระสงฆ์.
    ๙. มีความเห็นผิด.
    ๑๐. ประทุษร้ายภิกษุณี.
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้นาสนะสามเณรผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๐ นี้.
    ข้อความบางตอนจากวัมมิกสูตร มีเนื้อหาเหมือนกันดังนี้
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 327
    ....... ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืนนั้น ดูก่อนภิกษุ ได้แก่
    การที่บุคคลขมักเขม้นการงานในกลางวัน แล้วตรึกถึงตรองถึงในกลางคืน
    นี้ชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน. ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวันนั้น
    ดูก่อนภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลตรึกถึงตรองถึง (การงาน) ในกลางคืน แล้วย่อม
    ประกอบการงานในกลางวัน ด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน...
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 386
    ชื่อว่าเป็นวิตกจริต เพราะมีความประพฤติในอารมณ์ ด้วยความวิตกด้วยความตรึก.
    วิตกจริต หมายถึงลักษณะของจิตที่คิด ถ้าคิดในทางกุศลเรียกว่ากุศลวิตก..หากคิดใน
    ทางอกุศลเรียกว่าอกุศลวิตก..

    กลางคืนเป็นควันกลางวันเป็นเปลว หมายถึงเวลากลางคืนไม่ใช่เวลาในการประกอบ
    การงานส่วนใหญ่จึงเป็นไปกับความนึกคิดและความคิดนั้นมักเป็นไปไปในทางอกุศล
    เหมือนความร้อนที่ครุกลุ่นเป็นควันไฟที่สุมขอนไม้พร้อมจะลุกเป็นเปลวไฟ..............
    ตอนกลางวันเป็นเวลา..ประกอบการงาน..ดังน้นการกระทำใดๆตอนกลางวันที่เป็น
    อกุศลกรรมที่มาจากความคิดที่เป็นอกุศลจิตในตอนกลางคืน..จึงเรียกว่ากลางคืน
    เป็นควันกลางวันเป็นเปลว
    พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278
    ๒. มหาราหุโลวาทสูตร
    ทรงโอวาทพระราหุล
    [๑๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
    อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นเวลาเช้า พระ-
    ผู้มีพระภาคเจ้าครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาต
    ยังนครสาวัตถี เวลาเช้า แม้ท่านพระราหุลก็ครองอันตรวาสก แล้วถือบาตร
    และจีวรตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ ครั้งนั้น พระผู้มี
    พระภาคเจ้าทรงผินพักตร์ไปรับสั่งกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล รูปอย่างใด
    อย่างหนึ่งเป็นอดีต เป็นอนาคตและเป็นปัจจุบัน เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก
    ก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี อยู่ในที่ไกลก็ดี อยู่ในที่ใกล้
    ก็ดี รูปทั้งปวงนี้ เธอพึงเห็น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่น
    ไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้.
    พระราหุลทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า รูปเท่านั้นหรือ ข้าแต่
    พระสุคตเจ้า รูปเท่านั้นหรือ.
    พ. ดูก่อนราหุล ทั้งรูป ทั้งเวทนา ทั้งสัญญา ทั้งสังขาร ทั้งวิญญาณ.
    [๑๓๔] ครั้งนั้น ท่านพระราหุลคิดว่า วันนี้ ใครหนออันพระผู้มี-
    พระภาคเจ้าทรงโอวาท ด้วยโอวาทในที่เฉพาะพระพักตร์แล้วจักเข้าบ้านเพื่อ
    บิณฑบาตเล่า ดังนี้แล้ว กลับจากที่นั้นแล้วนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติ
    ไว้เฉพาะหน้า ณ โคนไม้ แห่งหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้เห็นท่านพระราหุลผู้
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้ว
    บอกกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล ท่านจงเจริญอานาปานสติเถิด ด้วยว่า
    อานาปานสติภาวนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์
    มาก. ครั้งนั้น เวลาเย็น ท่านพระราหุลออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
    พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน
    ข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อานาปานสติ
    อันบุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงจะมีผลมาก มีอานิสงส์
    มาก.
    ธาตุ ๕
    [๑๓๕] ดูก่อนราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นภายใน อาศัยตน
    เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ผม
    ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ไต หัวใจ ตับ พังผืด
    ไต ม้าม ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    อย่างอื่นเป็นภายใน อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
    และกิเลสเข้าไปยึดมั่น อาศัยตน เป็นของหยาบ มีลักษณะแข้นแข็ง อันกรรม
    ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด ปฐวีธาตุนั้น ก็เป็นปฐวีธาตุเหมือนกัน ปฐวีธาตุ
    นั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เรา
    ไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วย
    ปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ จิตย่อมคลาย
    กำหนัดในปฐวีธาตุ
    [๑๓๖] ดูก่อนราหุล ก็อาโปธาตุเป็นไฉน อาโปธาตุเป็นภายในก็มี
    เป็นภายนอกก็มี ก็อาโปธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
    เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ดี เสลด
    หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรหรือ
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอาโป มีลักษณะเอิบอาบ
    อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอาโปธาตุเป็นภายใน ก็อาโปธาตุ
    เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อาโปธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญา
    อันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตน
    ของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริง
    อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ.
    [๑๓๗] ดูก่อนราหุล ก็เตโชธาตุเป็นไฉน เตโชธาตุเป็นภายในก็มี
    เป็นภายนอกก็มี ก็เตโชธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัย
    ตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ไฟที่ยัง
    กายให้อบอุ่น ไฟที่ยังกายให้ทรุดโทรม ไฟที่ยังกายให้กระวนกระวาย และ
    ไฟที่เผาอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ให้ย่อยไปโดยชอบ หรือสิ่งใดสิ่ง
    หนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นเตโช มีลักษณะร้อน อันกรรม
    และกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าเตโชธาตุ เป็นภายใน. ก็เตโชธาตุเป็น
    ภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด เตโชธาตุนั้นเป็นเตโชธาตุเหมือนกัน
    เตโชธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่
    ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคลเห็นเตโช-
    ธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในเตโชธาตุ
    จิตย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ.
    [๑๓๘] ดูก่อนราหุล วาโยธาตุเป็นไฉน วาโยธาตุเป็นภายในก็มี
    เป็นภายนอกก็มี ก็วาโยธาตุเป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน อาศัยตน
    เป็นวาโย มีลักษณะพัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ ลมพัด
    ขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะ
    น้อยใหญ่ ลมหายใจ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างอื่น เป็นภายใน อาศัยตน
    เป็นวาโย พัดไปมา อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่า วาโยธาตุ
    เป็นภายใน ก็วาโยธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด วาโยธาตุนั้น
    เป็นวาโยธาตุเหมือนกัน วาโยธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็น
    จริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
    เพราะบุคคลเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อม
    เบื่อหน่ายในวาโยธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ.
    [๑๓๙] ดูก่อนราหุล ก็อากาศธาตุเป็นไฉน อากาศธาตุเป็นภายใน
    ก็มี เป็นภายนอกก็มี อากาศธาตุที่เป็นภายในเป็นไฉน สิ่งใดเป็นภายใน
    อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น คือ
    ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องคอสำหรับกลืนอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว
    ที่ลิ้ม ช่องท้องสำหรับเก็บอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และช่องสำหรับ
    ถ่ายอาหารที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม ออกเบื้องล่าง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่าง
    อื่น เป็นภายใน อาศัยตน เป็นอากาศ มีลักษณะว่าง ไม่ทึบ มีลักษณะ
    ไม่ทึบ เป็นช่อง มีลักษณะเป็นช่อง อันเนื้อและเลือดไม่ถูกต้อง เป็นภายใน
    อันกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น นี้เราเรียกว่าอากาศธาตุ เป็นภายใน ก็อากาศ
    ธาตุเป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี อันใด อากาศธาตุนั้น เป็นอากาศธาตุ
    เหมือนกัน อากาศธาตุนั้น เธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้
    ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ เพราะบุคคล
    เห็นอากาศธาตุนั้น ด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่าย
    ในอากาศธาตุ จิตย่อมคลายกำหนัดในอากาศธาตุ…..
    ไม่ต่างอะไรกับบุคคลที่อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ที่คิดว่ามี ซึ่งเกิดเป็น
    มนุษย์ คนที่ถูกอุทิศให้ก็ไม่รู้ จะรู้ก็ต่อเมื่อไปบอกเขา แม้การขอขมาก็เช่นกัน ไปขอ
    ขมากับบุคคลที่ไม่รู้ ซึ่งจริงๆ แล้วการขอขมา หรือขอโทษนั้น จุดประสงค์เพื่อเห็นโทษ
    ของตัวเอง และจะไม่ประพฤติสิ่งที่ไม่ดีนั้นอีก และประพฤติสิ่งที่ดีใหม่ครับ

    แล้วการขอขมากรรมแบบนี้ในพระพุทธศาสนามีสอนด้วยหรือ
    ถ้าแบบนั่งสมาธิและเห็นในอดีต แล้วมาขอขมากับเจ้ากรรมนายเวร ไม่มีแบบนี้
    แน่นอน เท่าที่อ่านที่เจอก็มีแต่ มาขอขมาให้อภัยกันในชาติปัจจุบันครับ เช่น คนนี้ทำ
    ไม่ดีกับอีกคน ก็ขอขมากัน(ชาติปัจจุบัน) แต่ข้อความที่คุณยกเรื่องที่ว่า นั่งสมาธิแล้ว
    เห็นคนที่เราเคยทำกรรมไม่ดีกับเขา จึงขอขมาเขา จุดประสงค์ตามความเข้าใจ เพราะ
    กลัวคนที่เราเคยทำกรรมไม่ดีกับเขามาทำร้าย ซึ่งเราต้องมั่นคงในเรื่องของกรรม ไม่
    มีใครทำร้ายเรานอกจากกรรมดี ไม่ดี ที่เราทำครับ ขอยกตัวอย่างในพระไตรปิฎก เรื่อง
    การขอขมา ขอโทษ ในชาติปัจจุบัน
    เรื่องอุตตราอุบาสิกา..บางตอน [นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา]

    การขอขมากรรมที่เขาทำนั้น จะสามารถให้เขาหมดจากกรรมเวรที่เขาก่อไว้กับบุคคล
    นั้น ๆ ได้จริงหรือคะ
    กุศลส่วนของกุศล อกุศลส่วนอกุศล ไม่มีการมาลบล้างกันครับ กรรมใดที่ทำแล้ว
    เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมย่อมให้ผล แม้จะขอขมา หรือไม่ขอขมาก็ตาม การขอขมาหรือ
    ขอโทษ จุดประสงค์เพื่อการสำรวมระวังที่จะไม่ทำอย่างนั้นอีกครับ
    พระสุตตันตปิฎก เอกนิบาต-ทุกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 345
    ว่าด้วยคนพาล ๒ จำพวก
    [๒๗๖] ๒๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒ จำพวก ๒ จำพวก
    เป็นไฉน คือ คนที่ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่ไม่รับรอง
    ตามธรรม เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล ๒
    จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวก ๒ จำพวกเป็น
    ไฉน คือ คนที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ๑ คนที่รับรองตามธรรม
    เมื่อผู้อื่นแสดงโทษ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ๒ จำพวกนี้แล
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

    [๓๑] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นิโครธปริพาชก
    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษที่ข้าพระ-
    องค์เป็นคนโง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว ข้าพระองค์จึงได้กล่าว
    กะพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงยกโทษแก่ข้า
    พระองค์ เพื่อสำรวมต่อไป.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นิโครธะ ความผิดที่ท่านผู้เป็นคน
    โง่ คนหลง ไม่ฉลาด ได้ล่วงเกินแล้ว เธอจึงได้กล่าวกะเราอย่างนั้น
    เพราะเธอเห็นโทษแล้วจึงยอมรับผิด เรายกโทษแก่เธอ ผู้ใดเห็นโทษ
    สารภาพโทษตามความเป็นจริง ถือความสังวรต่อไป นี้เป็นความเจริญใน
    พระวินัยของพระอริยเจ้า นิโครธะ ก็เรากล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้รู้ ไม่
    โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจะ
    แสดงธรรม เขาปฏิบัติอยู่ตามคำสั่งสอน ที่กุลบุตรทั้งหลายผู้ออกจากเรือน
    บวชโดยชอบเพื่อประโยชน์อันใด จักกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์อันนั้น
    อันมีพรหมจรรย์เป็นที่สุดอย่างยิ่ง ด้วยความรู้ยิ่งของตนเอง ในทิฏฐธรรม
    เข้าถึงอยู่ตลอด ๗ ปี นิโครธะ เจ็ดปี จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด
    ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกปี...ห้าปี...สี่ปี...สามปี...สองปี...ปีหนึ่ง นิโครธะ
    ปีหนึ่งจงยกไว้ บุรุษผู้รู้ ไม่โอ้อวด ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดเดือน
    นิโครธเจ็ดเดือนจงยกไว้ ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดหกเดือน...ห้าเดือน...สี่
    เดือน...สามเดือน...สองเดือน...หนึ่งเดือน...กึ่งเดือน นิโครธะ กึ่งเดือน
    จงยกไว้ บุรุษผู้รู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ฯลฯ เข้าถึงอยู่ตลอดเจ็ดวัน

    ฯลฯ
    การขอขมาเพื่อให้อดโทษ เป็นการกระทำเพื่อช่วยให้ผู้กระทำผิดได้คลายกังวลและ
    สบายใจเบาใจขึ้น แต่กรรมที่กระทำสำเร็จแล้วย่อมส่งผลได้ในอนาคตเมื่อได้โอกาส
    คำว่า อโหสิกรรม มีความหมายหลายอย่าง หมายถึง กรรมที่กระทำแล้วก็ได้ กรรมที่
    ไม่ให้ผลก็ได้ ตามคำถามคงหมายถึง การขอขมาโทษแก่ผู้มีคุณให้ท่านยกโทษให้
    ในขณะที่ได้กราบและกล่าวขอให้ท่านอดโทษให้ แล้วท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร ยกโทษ
    ให้ทุกอย่าง ทำให้ผู้เป็นลูกสบายใจ ไม่กังวลกับเรื่องที่เคยทำ ย่อมเป็นผลดีต่อลูก แต่
    มิได้หมายความว่ากรรมที่เคยกระทำแก่มารดาบิดาจะไม่ให้ผล.
    บุคคลที่เป็นคนดีและสามารถเจริญขึ้นได้นั้น คือ บุคคลที่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ
    แล้ว(รู้ว่าตัวเองทำผิด) แล้วแสดงโทษนั้นอย่างเหมาะสม(ขอขมา) แต่ไมได้หมายความ
    ว่าจะต้องเป็นพิธีการว่าต้องมีดอกไม้ เป็นต้น หากจิตเราบริสุทธิ์ ด้วยความเห็นโทษ
    จริงๆ ก็ขอโทษท่านได้ แม้จะไม่มีสิ่งใด วัตถุอะไรก็ตามเลย ดังนั้น การขอโทษในสิ่งที่
    ทำผิด จุดประสงค์ก็เพื่อสำรวมระวังกาย วาจาของเราต่อไป และทำให้บุคคลที่เราล่วง
    เกินสบายใจขึ้น คือ นึกถึงใจคนอื่นนั่นเองครับ พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เธอเห็นโทษ
    โดยความเป็นโทษแล้วแสดงโทษนั้น เพื่อสำรวมระวังต่อไป นี้เป็นความเจริญในธรรม
    วินัยนี้
    ปัญญามีลักษณะรู้ทั่ว รู้ชัด รู้ตามเป็นจริง
    ส่วนคำว่า เหตุผล โดยหลักพระธรรมหมายถึงสภาวธรรมที่มีจริงๆ ปัญญา เข้าไปรู้
    ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้เป็นเหตุ สิ่งนี้เป็นผล เช่น ตัณหา หรือ สมุทัย เป็นเหตุ ทุกข์ เป็น
    ผลที่เกิดจากเหตุ การรู้แจ้งพระนิพพานเป็นผลจากการอบรมเจริญเหตุ คืออริยมรรค
    หรือแม้แต่ขณะที่กำลังเห็นในขณะนี้ เป็นวิบาก เป็นผลของกรรม กรรมเป็นเหตุ
    ดังนั้นคำว่า เหตุผล ในภาษาของชาวบ้าน หรือของนักคิด เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่
    เหตุผลของผู้ตรัสรู้เป็นอีกอย่างหนึ่งครับ
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332
    ปชานาตีติ ปญฺญา ธรรมที่ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า
    ย่อมรู้ทั่ว. ถามว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย
    โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์ เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา
    เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้ ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้
    อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.
    ในการอบรมเจริญสติปัฏฐานควรรู้สภาพธรรมที่ปรากฏทุกทวาร ไม่มีการเลือก
    หรือเจาะจงว่าต้องเป็นเพียงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งหรือทวารใดทวารหนึ่งเท่านั้น
    เพราะลักษณะของปัญญาย่อมรู้ทั่ว
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 127
    ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า รู้ชัด, รู้ชัดอะไร ? รู้ชัดอริยสัจทั้งหลาย
    โดยนัย เป็นต้นว่า นี้ทุกข์ ดังนี้. ปัญญานั้นมีการแทงตลอดตามสภาวะ
    เป็นลักษณะ หรือมีการแทงตลอดไม่พลาดเป็นลักษณะ เหมือนการแทงตลอด
    ของลูกธนูที่ยิงไปด้วยธนูของผู้มีฝีมือ มีการส่องสว่างซึ่งอารมณ์เป็นรส
    เหมือนดวงประทีป มีความไม่ลุ่มหลงเป็นปัจจุปัฏฐานเหมือนผู้ชี้แจงอย่างดีแก่ผู้
    ไปป่าชื่อว่า ปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวในอวิชชา
    อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดตามภาวะเป็นลักษณะ หรือมีการ
    แทงตลอดไม่ผิดพลาดเป็นลักษณะ ดุจการแทงตลอดของลูกธนูของผู้ฉลาด
    มีความสว่างในอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีความไม่ลุ่มหลงเป็นปัจจุปปัฏฐาน-
    ดุจคนชำนาญป่าไปป่า ฉะนั้น
    พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ -หน้าที่ 332
    ปชานาตีติ ปญฺญา ธรรมที่ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่าย่อมรู้ทั่ว. ถาม
    ว่าย่อมรู้ทั่วซึ่งอะไร? ตอบว่า ย่อมรู้ทั่วซึ่งอริยสัจทั้งหลาย โดยนัยมีคำว่า นี้ทุกข์
    เป็นต้น แต่ในอรรถกถาท่านกล่าวว่า ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถว่า ย่อมให้รู้
    ถามว่า ย่อมให้รู้อะไร? ตอบว่า ย่อมให้รู้ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา.

    [๔๔] ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน ?
    ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ความวิจัย ความเลือกสรร ความวิจัยธรรม ความ
    กำหนดหมาย ความเข้าไปกำหนด ความเข้าไปกำหนดเฉพาะ ภาวะที่รู้ ภาวะ
    ที่ฉลาด ภาวะที่รู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความค้นคิด ความใคร่ครวญ
    ปัญญาเหมือนแผ่นดิน ปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญาเครื่องนำทาง ความ
    เห็นแจ้ง ความรู้ชัด ปัญญาเหมือนปฏัก ปัญญา ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา
    ปัญญาเหมือนศัสตรา ปัญญาเหมือนปราสาท ความสว่างคือปัญญา แสงสว่าง
    คือปัญญา ปัญญาเหมือนประทีป ปัญญาเหมือนดวงแก้ว ความไม่หลง ความ
    วิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ในสมัยนั้น อันใด นี้ชื่อว่า ปัญญาพละ มีในสมัยนั้น.
    โลกะ หรือ โลก หมายถึงสภาพธรรมที่แตกดับ
    ฉะนั้น โลกียปัญญา คือ ปัญญาที่รู้ความจริง
    คือ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่แตกดับ
    รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นแล้วดับไป.

    เพราะฉะนั้น ปัญญาระดับไหนก็ตาม ที่ไม่ประจักษ์โลกุตตรธรรม (นิพพาน)
    เป็นโลกียปัญญา ( ปัญญาเจตสิก)

    โลกียปัญญา
    หมายถึง ปัญญาที่ประจักษ์การเกิดดับของสภาพธรรม ซึ่งไม่ใช่นิพพาน
    เพราะนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับ.

    ฉะนั้น โลกียปัญญา ซึ่งเป็นปัญญาเจตสิก (เจตสิกปรมัตถ์)
    ต้องเป็นเจตสิกที่เห็นถูกเข้าใจถูกในสภาพธรรมตามลำดับตั้งแต่ขั้นการฟัง.

    ปัญญาขั้นฟัง เป็น มหากุศลจิตญาณสัมปยุตต์
    แต่ไม่ใช่ระดับมรรคมีองค์ ๘
    และไม่ใช่ระดับวิปัสสนาญาณ
    ไม่ใช่ปัญญาระดับที่มีนิพพานเป็นอารมณ์
    เมื่อใดที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ เมื่อนั้นเป็น โลกุตตรปัญญา.
    ปัญญา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นความเข้าใจถูกเห็นถูก เกิดขึ้นเป็นไปตามการ
    สะสม ไม่มีใครสามารถบังคับให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ ปัญญาจะเจริญขึ้นในทันทีทันใด
    โดยไม่ฟัง ไม่ศึกษาเลยนั้น ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้น การที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้
    ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ฟังเรื่องของสภาพธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริง บ่อย ๆ เนือง ๆ
    โดยที่ไม่ขาดการฟัง มีความมั่นคงในความเป็นจริงของสภาพธรรมว่า ธรรม เป็นธรรม
    ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ขณะที่มีความเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟัง
    ขณะนั้นเป็นจิต ที่ประกอบด้วยปัญญา เพราะเป็นความเข้าใจถูกในระดับขั้นฟัง เมื่อได้
    เหตุได้ปัจจัยที่สติจะเกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็น
    จริง สติก็เกิดขึ้นระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนั้นได้ ซึ่งเป็น
    อนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครเลย จึงต้องเริ่มด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง
    ว่า ธรรม คือ อะไร อยู่ที่ไหน ซึ่งแท้จริงแล้ว ธรรม ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย
    เพราะเป็นสิ่งที่มีจริง จึงควรค่าแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง
    ปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกียจิต ยังไม่ถึงระดับขั้นที่จะดับกิเลสได้อย่างเด็ดขาด
    เป็นโลกียปัญญา เมื่อปัญญาเจริญขึ้น คมกล้าขึ้น จนกระทั่งเกิดขึ้นพร้อมกับมรรค
    องค์อื่น ๆ ทำกิจประหารกิเลส ดับกิเลสตามลำดับมรรค (โสตาปัตติมรรค, สกทาคามิ-
    มรรค , อนาคามิมรรค, อรหัตตมรรค) และ มีนิพพานเป็นอารมณ์ ขณะนั้นเป็น
    โลกุตตรปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกุตตรจิต ครับ
    ผู้ที่จะเป็นพระอริยบุคคลนั้น ต้องอบรมเจริญโลกียปัญญา ซึ่งรู้
    ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม โลกียปัญญา ไม่ใช่การรู้วิธีสร้างเครื่องมือ
    วิทยาศาสตร์ต่างๆ การรู้อย่างอื่นที่ไม่ใช่การรู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรม
    นั้นไม่ใช่โลกียปัญญาในพระพุทธศาสนา
    โลกียปัญญา หมายถึง ปัญญาที่ไม่ใช่โลกุตตรปัญญา คือปัญญาที่เป็นไปกับโลกียจิต
    เช่น ความรู้เรื่องสัตว์มีกรรมเป็นของตน ความรู้นามรูปที่เกิดกับมหากุศล เป็นต้น ส่วน
    โลกุตตรปัญญา คือ ปัญญาที่เกิดกับโลกุตตรจิต เกิดขึ้นประหานกิเลส ตามลำดับมรรค
    ในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ จิตตุปปาทกัณฑ์ อธิบาย
    จูฟันตรทุกะ มีข้อความว่า ...
    ชื่อว่า “โลกียธรรม” เพราะประกอบในโลก โดยเหตุที่นับเนื่องอยู่
    ในโลกนั้น
    ชื่อว่า“อุตตรธรรม” คือ ธรรมอันยิ่งเพราะข้ามพ้นขึ้นจากโลกนั้น
    ชื่อว่า “โลกุตตรธรรม” เพราะข้ามขึ้นจากโลกนั้นโดยเหตุที่ไม่นับเนื่องอยู่ใน
    โลก

    จิต เจตสิก รูป เป็นสังขารธรรม เป็นสภาพธรรมที่เกิดดับ แม้โลกุต-
    ตรจิตและเจตสิกที่มีนิพพานเป็นอารมณ์นั้นก็เกิดดับ แต่ที่จำแนกจิตเป็นโลกีย-
    จิตและโลกุตตรจิตนั้น ก็เพราะโลกุตตรจิตมีนิพพานเป็นอารมณ์โดยดับกิเลส
    (มัคคจิต) และโดยกิเลสดับแล้ว (ผลจิต)
    เมื่อจำแนกจิตเป็นประเภทโลกียะ และโลกุตตระนั้น จิตใดที่ไม่ประ-
    จักษ์แจ้งลักษณะของนิพพาน คือ ไม่มีนิพพานเป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็น “โลกีย-
    จิต” จิตใดมีนิพพานเป็นอารมณ์โดยดับกิเลส หรือมีนิพพานเป็นอารมณ์โดย
    ดับกิเลสแล้ว จิตนั้นเป็น “โลกุตตรจิต”
    หลังจากเป็นพระอรหันต์แล้ว เป็นผู้ที่ไม่มีกิเลสใด ๆ แล้ว จิตของพระ
    อรหันต์จึงมี ๒ ชาติ คือ ชาติกิริยา กับ ชาติวิบาก เท่านั้นครับ พระอรหันต์
    ยังมีโลกิยจิต เช่นจิตเห็น จิตได้ยิน จิตได้กลิ่น จิตลิ้มรส เป็นต้น แต่หลัง
    จากที่ได้เห็น หลังจากที่ได้ยิน เป็นต้น ไม่เกิดกิเลสใด ๆ ทั้งสิ้น ขณะ
    ที่จิตของพระอรหันต์ที่เป็นมหากิริยา นั้นประกอบด้วยปัญญา เป็นญาณสัม
    ปยุตต์ ก็มี ไม่ประกอบด้วยปัญญา เป็นญาณวิปปยุตต์ ก็มี หรือ แม้แต่ขณะ
    ที่เป็นภวังคจิต ก็มีปัญญาเกิดร่วมด้วย แต่ปัญญานั้นเกิดร่วมกับจิตชาติวิบาก
    จากความเข้าใจเบื้องต้น ปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกิยจิตเป็นโลกิย
    ปัญญา พระอรหันต์มีปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกิยจิต ส่วนโลกุตตรปัญญา
    เป็นปัญญาที่เกิดร่วมกับโลกุตตรจิตเท่านั้น ครับ
    สุตตมยปัญญา
    สุตฺต ( การฟัง ) + มย ( สำเร็จ ) + ปญฺญา ( ความรู้ทั่ว )
    ปัญญาที่สำเร็จจากการฟัง หมายถึง ปัญญาที่เกิดจากการได้ฟังมาจากบุคคลอื่น
    ( หรือการอ่านจากคัมภีร์ ) ไม่ได้เกิดจากการคิดนึกตามลำพังของตนเอง
    จินตามยปัญญา
    จินฺตา ( ความดำริ , ความนึกคิด ) + มย ( สำเร็จ ) + ปญฺญา ( ความรู้ )
    ปัญญาที่สำเร็จจากการคิดพิจารณา หมายถึง ปัญญาที่ไม่ได้ฟังจากผู้อื่น
    มา แต่สำเร็จโดยลำพังความคิดของตนเอง เช่น ปัญญาของพระโพสัตว์ที่พิจารณารู้
    ว่า เมื่อมีความเกิดก็ต้องมีความแก่ ความเจ็บ และความตายซึ่งเป็นทุกข์ ฉะนั้น
    ก็ต้องมีความไม่เกิด ความไม่แก่ ความไม่เจ็บและความไม่ตายซึ่งเป็นสุข จึงเริ่ม
    อบรมบารมีเพื่อถึงฝั่งแห่งพระนิพพานซึ่งเป็นบรมสุข หรือปัญญาของผู้ที่ใคร่ครวญ
    พิจารณาตามเหตุผลและมีความเห็น มีความเชื่อว่าบาปบุญมีจริง สัตว์ทั้งหลายเกิด
    มาจากกรรมและมีกรรมเป็นของๆ ตน ( กัมมสกตาญาณ )
    ปัญญา
    ป ( ทั่ว ) + ญา ธาตุ ( ในความรู้ ) = ปญฺญา
    ความรู้ทั่ว หมายถึง โสภณเจตสิกดวงหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะที่รู้สภาพธรรมตามความ
    เป็นจริง เกิดร่วมกับโสภณจิตที่เป็นญาณสัมปยุตต์ได้ทั้ง ๓ ชาติ คือ กุศลชาติ
    วิบากชาติ กิริยาชาติ ปัญญามีชื่อเรียกหลายชื่อ แต่ความหมายหรือสภาวธรรมเป็น
    อย่างเดียวกันคือ สัมมา ทิฏฐิ ญาณ สัมปชัญญะ อโมหะ วิชชา พุทธะ
    ปริญญา วิปัสสนา ปัญญินทรีย์ เป็นต้น

    ขณะที่ศึกษาคำสอนของพระผู้มีพระภาค จากการฟังหรือการอ่านด้วยความ
    เข้าใจ ขณะนั้นก็เป็นปัญญาขั้นการฟัง ( สุตตมยปัญญา )
    โปรดอ่านข้อความโดยตรง
    พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 214
    ............ จักษุ มี ๒ อย่าง คือ มังสจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑.
    ในจักษุทั้ง ๒ นั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ๑, สมันต-
    จักษุ ๑, ญาณจักษุ ๑, ทิพยจักษุ ๑, ธรรมจักษุ ๑.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเมื่อตรวจดูสัตวโลก ได้เห็น
    แล้วแลด้วยพุทธจักษุ ดังนี้ ชื่อว่า พุทธจักษุ.
    คำนี้ว่า สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า สมันตจักษุ ดังนี้ ชื่อว่า
    สมันตจักษุ.
    คำนี้ว่า ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้
    ชื่อว่า ญาณจักษุ.
    คำนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ เราได้เห็นแล้วแล ด้วยทิพยจักษุอัน
    บริสุทธิ์ ดังนี้ ชื่อว่า ทิพยจักษุ.
    มรรคญาณเบื้องต่ำ ๓ นี้มาในคำว่า ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี
    ไม่มีมลทิน เกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ธรรมจักษุ.
    ฝ่ายมังสจักษุ มี ๒ อย่าง คือ สสัมภารจักษุ ๑, ปสาทจักษุ ๑.
    ก้อนเนื้ออันใดตั้งอยู่ที่เบ้าตา พร้อมด้วยหนังหุ้มลูกตาภายนอก
    ทั้ง ๒ ข้างเบื้องต่ำกำหนดด้วยกระดูกเบ้าตา เบื้องบนกำหนดด้วยกระดูก
    คิ้ว ผูกด้วยเส้นเอ็นอันออกจากท่ามกลางเบ้าตาโยงติดไปถึงสมองศีรษะ
    สสัมภารจักษุ.
    ส่วนความใสอันใดเกี่ยวในสสัมภารจักษุนี้ เนื่องในสสัมภาร-
    จักษุนี้ อาศัยมหาภูตรูป ๔ มีอยู่, ความใสนี้ ชื่อว่า ปสาทจักษุ. ใน
    ที่นี้ ท่านประสงค์เอา ปสาทจักษุ นี้.
    ปสาทจักษุนี้นั้น โดยประมาณก็สักเท่าศีรษะเล็นอาศัยธาตุทั้ง ๔
    อาบเยื่อตาทั้ง ๗ ชั้น ดุจน้ำมันที่ราดลงที่ปุยนุ่น ๗ ชั้น อาบปุยนุ่น
    ทุกชั้นอยู่ฉะนั้น ให้สำเร็จความเป็นวัตถุและทวารตามสมควรแก่จิตใน
    วิถีมีจักขุวิญญาณจิตเป็นต้น ตั้งอยู่ ณ ตำแหน่ง เป็นที่เกิดขึ้นแห่ง
    สรีรสัณฐาน ที่อยู่ตรงหน้าในท่ามกลางแววตาดำที่แวดล้อมด้วยมณฑล
    ตาขาว แห่งสสัมภารจักษุนั้น.
    ธรรมชาติใดย่อมเห็น ฉะนั้น ธรรมชาตินั้นชื่อว่า จักษุ
    พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 3
    บทว่า จกฺขุ ได้แก่จักษุ ๒ คือ ญาณจักษุ ๑ มังสจักษุ ๑.
    ในจักษุ ๒ อย่างนั้น ญาณจักษุมี ๕ อย่าง คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ
    สมันตจักษุ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ. ในจักษุ ๕ ย่างนั้น ที่ชื่อว่าพุทธจักษุ
    ได้แก่ อาสยานุสยญาณและอินทริยปโรปริยัตตญาณ ซึ่งมาในพระบาลีว่า
    ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ. ที่ชี่อธรรมจักษุ ได้แก่มรรคจิต ๓ ผลจิต ๓
    ซึ่งมาในพระบาลีว่า วิรชํ วีตมลํ ธมฺมจกฺขุ อุทปาทิ ธรรมจักษุ
    ปราศจากกิเลสดุจธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้น. ที่ชื่อว่า สมันตจักษุ
    ได้แก่ สัพพัญญุตญาณ ที่มาในพระบาลีว่า ปาสาทมารุยฺห สมนฺตจกฺขุ
    สมันตจักษุขึ้นสู่ปราสาท. ที่ชื่อว่า ทิพยจักษุ ได้แก่ ญาณที่เกิดขึ้นด้วยการ
    ขยายอาโลกกสิณ ที่มาในพระบาลีว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา วิสุทฺเธน
    ด้วยทิพยจักษุอันหมดจด. ที่ชื่อว่า ปัญญาจักษุ ได้แก่ ญาณในการกำหนด
    สัจจะ ๔ ซึ่งมาในพระบาลีว่า จกฺขุ อุทปาทิ จักษุ ( ธรรมจักษุ )
    เกิดขึ้นแล้ว. แม้มังสจักษุ ก็มี ๒ อย่าง คือ สัมภารจักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑.
    ใน ๒ อย่างนั้น ว่าโดยสังเขป ชิ้นเนื้ออันชั้นของตาล้อมไว้ในกระบอกตา
    มีองค์ประกอบ ๑๓ อย่าง คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา
    สัมภวรูป ชีวิตรูป ภาวรูป จักษุปสาทรูป กายปสาทรูป. แต่เมื่อว่า
    โดยพิสดาร รูป ๙ เหล่านี้ คือ ธาตุ ๔ วรรณะ คันธะ รสะ โอชา
    สัมภวรูป ว่าด้วยอำนาจสมุฏฐาน ๔ (๙ x ๔ ) เป็นรูป ๓๖ รูป ที่มีกรรม
    เป็นสมุฏฐาน ๔ เหล่านี้ คือ ชีวิตรูป ๑ ภาวรูป ๑ จักษุปสาทรูป ๑
    กายปสาทรูป ๑ จึงรวมเป็นสสัมภารรูป ๔๐ นี้ชื่อว่า สสัมภารจักษุ.
    ก็ในสสัมภารจักษุรูปเหล่านี้ รูปใดที่สามารถเพื่ออันเห็นรูปที่ตั้งอยู่ในลูกตา
    ที่เห็นได้แวดล้อมด้วยแววตาดำที่กำหนดไว้ด้วยลูกตาขาว รูปนี้ ชื่อว่า ปสาท
    จักษุ.

    เอาบุญมาฝากได้ใส่บาตรแล้วน้อมจิตถวายเป็นสังฆทาน ตื่นแต่เช้ามาฟังธรรม
    สวดมนต์ นั่งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย ให้ธรรมะเป็นทาน
    เจริญอนุสติ 8 อย่าง ให้อภัยทาน อาราธนาศีล รักษาศีล สักการะพระธาตุ
    ถวายข้าวพระพุทธรูป อนุโมทนาบุญกับผู้ใส่บารตตอนเช้าตามถนนหนทาง
    กรวดน้ำอุทิศบุญ ให้อาหารแก่สัตว์ตามถนนหนทางทุกวัน และได้อฐิษฐานจิต
    และได้บำเพ็ญบารมีครบทั้ง 10 อย่างทุกวัน ตั้งแต่ทานบารมี ถึงอุเบกขาบารมี
    ครบทั้ง 10 อย่างและตั้งใจว่าจะฟังธรรม สวดมนต์ นั้งสมาธิ เดินจงกรม กำหนดอิริยาบทย่อย
    ศึกษาการรักษาโรค ศึกษาธรรม เจริญสมถะกรรมฐาน ขอให้อนุโมทนาบุญด้วย
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพสร้างศาลาโรงครัว
    ณ วัดป่าขุนเขาพินิจ
    บ้านหนองไม้งาม 2 ต.หนองไม้งาม
    อ. บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์
    โทร 086-258-0028
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 กุมภาพันธ์ 2010

แชร์หน้านี้

Loading...