การฟ้อน ผีมด ผีเม็ง ของทางเหนือ

ในห้อง 'เรื่องผี' ตั้งกระทู้โดย satie, 11 พฤษภาคม 2007.

  1. satie

    satie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +383
    การฟ้อนผีมด – ผีเม็ง
    จะทำกันระหว่างเดือน 8-9 (เมษายน-พฤษภาคม) บางตระกูลก็กำหนดไว้ปีละครั้ง บางตระกูลก็ 3 ปี ต่อครั้ง บางตระกูลก็ไม่กำหนดแน่นอนแล้วแต่ความสะดวก
    ความหมายของคำว่าผีมด – ผีเม็ง ตามที่ได้ฟังผู้เฒ่าผู้แก่เล่ามาว่าผีมด หมายถึง ผีของมดที่ชอบอยู่ตามบ้านเรือน คอยเฝ้ารักษาให้บ้านเรือนอยู่เป็นปกติสุข มีความอบอุ่นใจเหมือนกับบ้านเมืองที่มีผีเสื้อบ้านผีเสื้อเมืองคอยปกปักรักษาอยู่ ดังนั้นถ้าตระกูลไหนมีการทำพิธีฟ้อนผีมด ชาวบ้านที่อยากได้เงินก็จะนำมดมาขายเป็นรัง ๆ บ้านที่อยู่ใกล้เคียงก็จะซื้อไว้ในราคาเป็นเฟื้อง (สมัยก่อน นำมาไว้ในบ้านของตน ประเพณีฟ้อนผีมด – ผีเม็ง ชาวบ้านทางภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งจะมีในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ส่วนจังหวัดอื่นในภาคเหนือไม่ค่อยจะปรากฎ ปัจจุบันนี้ได้เลือนหายไปมากแล้ว ยังมีปฏิบัติกันบ้างในชนบทเท่านั้นซึ่งนับว่าเป็นประเพณีเก่าแก่
    ส่วนผีเม็งนั้น สันนิษฐานว่าเป็นประเพณีมาจากมอญ เพราะสังเกตุได้จากการแต่งกายในเวลาเข้าทรงจะเป็นแบบการแต่งตัวของพวกมอญโบราณ พวกมอญนี้เองที่คนไทยภาคเหนือหรือล้านนาเรียกว่า “เม็ง” ดังนั้นการฟ้อนผีมด – ผีเม็ง ความหมายที่แท้จริงนั้นก็คือ การฟ้อนรำเพื่อเป็นการสังเวยหรือแก้บนผีบรรพบุรุษซึ่งอาจจะเป็นผีปู่ย่าตายายหรือบิดา มารดาที่ล่วงลับไปแล้ว เพราะถือกันว่า เมื่อพวกญาติพี่น้องตายไปแล้วดวงวิญญาณจะมารวมกันอยู่ที่หอผี จึงมักเรียกรวมกันไปว่า ฟ้อนผีมด – ผีเม็ง แต่ถ้าเป็นผีเม็ง เจ้าภาพจะสร้างหลังคาประจำพิธีเป็นรูปกระโจมภายในล้านบ้าน ในปะรำมีเครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ เช่น หัวหมู่ ไก่ต้มเป็นตัว เหล่า ขนม ข้าวต้มระพร้าว กล้วย อ้อย ข้าวตอกดอกไม้ ธูป เทียน ใส่ถาดหรือภาชนะไว้บนทิ้งหรือแท่นที่ยกขึ้นสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร มีราวสำหรับพาดผ้าหรือใช้พานใส่ผ้าก็ได้สำหรับถวายให้เจ้าผู้เข้าทรง โดยมีผ้าโส่งใหม่หลายผืน ผ้าคล่องบ่า ผ้าโพกศีรษะสีต่าง ๆ ไว้สำหรับผู้ประทับทรงจะได้ใช้ทั้งชายหญิง ถ้าผีเม็ง ตรงกลางปะรำจะมีผ้าขาวห้อยเอาไว้ปล่อยให้ยาวลาดพื้นปะรำ สำหรับให้ผู้ที่จะฟ้อนใช้มือจังโหนแล้วฟุบหน้าเพื่อผ้าจะได้แกว่งหมุนไปมา
    พิธีกรรม ก่อนจะทำพิธีต้องมีการเตรียมสถานที่โดยการปะรำพิธี (ทางเหนือเรียกว่า “ผาม”) ถ้าเป็นการฟ้อนผีมดจะสังเกตุได้จากหลังคาแบบเรียบ (ผามเรียง) แต่ถ้าเป็นผีเม็ง หลังคาปะรำพิธีจะเป็นรูปกระโจมสูงผามนี้จะสร้างขึ้นภายในลานบ้าน ในปะรำมี เครื่องเซ่นสังเวยต่าง ๆ เช่น หัวหมู ไก่ต้มทั้งตัว เหล่า ขนม ข้าวต้มมะพร้าว กล้วย อ้อย ข้าวตอก ดอกไม้ ธูปเทียน ใส่ถาดหรือภาชนะไว้บนแท่นที่ยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร มีราวสำหรับพาดผ้าสำหรับถวายให้เจ้าผู้เข้าทรงโดยมีผ้าโสร้งใหม่หลายผืน ผ้าคล้องบ่า ผ้าโพกศีรษะสีต่าง ๆ ไว้ ผู้ประทับตรงจะได้ใช้ทั้งชายหญิง ถ้าเป็นพิธีฟ้อนผีเม็ง เครื่องเซ่นสังเวยจะเพิ่มบอกน้ำฮ้า (กระบอกปลาร้า) เข้าไปด้วย ทั้งนี้เพราะเม็งชอบกินปลาร้า และทำปลาร้าได้เก่ง เนื่องจากบ้านของพวกเม็งมักจะตั้งอยู่ริมแม่น้ำ ตรงกลางปะรำจะมีผ้าขาวผื่นยาวห้อยเอาไว้ปล่อยให้ยาวลาดพื้นปะรำ
    เมื่อสมาชิกมาพร้อมกันแล้ว ประมาณเก้าโมงเศษ เจ้าภาพก็จะจุดธูปเทียนที่หน้าหอผี ซึ่งปลูกไว้ในบ้านเป็นลักษณะคล้ายศาลเพียงตา ปลูกไว้ให้เป็นที่อยู่ของผี สตรีที่มีอาวุโสกในบ้านนั้น จะนำทำพิธีขอเชิญผีเข้าทรง มีการขอให้ผีที่มาเข้าทรงนั้นปกปักรักษาลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสูง เมื่อผีเข้าทรงแล้วก็จะมีการไต่ถามสารทุกข์สุกดิบซึ่งกันและกัน คนทรงจะเรียกลูกหลานว่า “เหลนน้อย” และมีการผูกข้อมือสู่ขวัญลูกหลาน พอสมควรแล้วจะมีการฟ้อน ผู้หญิงจะนำป้อนก่อนโดยเอามือไปเกาะที่ผ้าขาวปะรำที่ผูกไว้ โยนตัวไปมาขณะที่ฟ้อนก็จะมีดนตรีประกอบด้วย พวกผู้ชายจะมีการฟ้อนดาบ
    สำหรับเครื่องแต่งตัวนั้นนอกจากจะมีผ้าโสร่ง ผ้าโพกหัว ผ้าพากบ่าแล้วยังมีเสื้อแบบมอญและ
    อื่น ๆ อีก ผีมดและผีเม็งนั้นจึงมีวิธีการทำที่คล้ายคลึงกัน
    ครอบครัวที่นับถือผีมด-ผีเม็ง เขาจะสร้างศาลาทางทิศตะวันออกของบ้าน บางบ้านก็นับถือผีมด บางบ้านก็นับถือผีเม็ง ความแตกต่างของทั้งสองผีนั้นอยู่ที่สัญญลักษณ์กล่าวคือ ถ้าเป็นพิธีการ ฟ้อนผีเม็งจะมีกระบอกใส่ปลาร้า สังเวยผีบรรพบุรุษ แต่ถ้าฟ้อนผีมดจะไม่มี ส่วนกำหนดการและพิธีกรรมต่าง ๆ ก็เหมือนกันอยู่
    ประโยชน์และคุณค่าของการฟ้อนผีมด – ผีเม็ง
    1. เป็นการสร้างความสามัคคีพบปะคุ้นเคยกันในหมู่บ้าน
    2.เป็นการแสดงความกตัญญูรู้คุณอย่างหนึ่งที่รำลึกถึงบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
    3. เป็นที่พึ่งทางใจในกรณีที่ป่วยไข้แล้วมีการบนบานศาลกล่าวเอาไว้ เมื่อหายแล้วก็จัดพิธีฟ้อนเป็นการแก้บน
    4. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจอย่างหนึ่ง เพราะคนสมัยก่อนมีงานประจำก็คือ การทำไร่ทำนา ช่วงเดือน 9 (มิถุนายน) เป็นช่วงที่ว่างจากการงานพวกนี้จึงพากันจัดพิธีดังกล่าวขึ้น

    *** “เม็ง” ยังมีอยู่ที่หมู่บ้านหนองดู่ ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน จำนวนประมาณ 100 กว่าเรือน ลักษณะเม็งสังเกตุได้ง่าย คือ มีผิวกายดำและมีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นของตนเอง

    เรื่องราวดี ๆ จากหมู่บ้านคาถาอาคม....
     

แชร์หน้านี้

Loading...