จงทำความเข้าใจ ในพระไตรปิฎก เขียนเองโดย telwada

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 22 มีนาคม 2009.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    จงทำความเข้าใจในพระไตรปิฎก
    ข้าพเจ้าเข้ามาเสวนา และเผยแพร่ ธรรมะ และการปฏิบัติ ในเวบธรรมะต่างๆ นาน หลายปี พบเห็น บุคคล และกลุ่มบุคคล บางกลุ่ม ที่ชอบนำเอา ความในพระไตรปิฎกมากล่าวอ้าง โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล และด้วยความอยากที่แสดงภูมิความรู้ของตัวตน แห่งเขาผู้นั้น
    พระไตรปิฎก แบ่งเป็น 3 ตะกร้า คือ

    ๑. พระวินัย ปิฎก คือ คัมภีร์ที่รวบรวมเอา ข้อห้าม ข้อละเว้น ข้อควรปฏิบัติ ในการครองเรือนเป็นภิกษุ หรือ ในการครองเรือน เป็นคฤหัสถ์
    อันได้แก่
    อกุศลกรรมบท หมายถึง ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ ก) กรรม ๓ ได้แก่ ๑) ปาณาติบาต การทำลายชีวิต ๒) อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ๓) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ข) วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔) มุสาวาท พูดเท็จ ๕) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ค) มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘) อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙) พยาบาท คิดร้ายเขา ๑๐) มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เทียบ กุศลกรรมบถ

    กุศลกรรมบท หมายถึง ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล, กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือก.กายกรรม ๓ ได้แก่ ๑.ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต ๒.อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เข้ามิได้ให้ ๓.กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกามข.วจีกรรม ๔ ได้แก่ ๔.มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ ๕.ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด ๖.ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ ๗.สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อค.มโนกรรม ๓ ได้แก่ ๘.อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา ๙.อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา ๑๐.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม

    วินัยสำหรับ ภิกษุ คือ ศีล ๒๒๗ ข้อ
    วินัย สำหรับ ภิกษุณี คือ ศีล ๓๑๑ ข้อ
    ศีล ๕, ศีล,๘, ศีล ๑๐


    ๒. สุตตันตปิฎก คือ คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ อันได้เล่าต่อๆกันเนื่องจากได้ฟังจากพระโอษฐ์ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งในส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นคำสอนหรือคำอธิบายในรายละเอียดของหลักธรรมต่างๆ สำหรับ ภิกษุ ผู้มีสมองสติปัญญาน้อย หรือ ปานกลาง

    ๓. อภิธรรม ปิฎก หมายถึง หมวดแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา ฝ่ายปรมัตถธรรม ว่าด้วยจิต เจตสิก รูป นิพพาน (จากพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับพระธรรมปิฎก) อภิธรรมปิฎกนี้ ความจริงแล้ว เป็นการอธิบายในรายละเอียด แห่ง ขันธ์ ๕ หมายความว่า ในขันธ์ ๕ คือ จิตวิญญาณ,รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร(การปรุงแต่ง) ล้วนต้องประกอบไปด้วย จิต เจตสิก รูป นิพพาน หรือจะเรียกว่า เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง หรือเป็นผล แห่งการได้สัมผัส รับรู้ เรียนรู้ หรือศึกษา ในวิชชาการด้านต่างๆ
    หรือหากจะกล่าว เป็นศัพท์ภาษาในยุคสมัยนี้ ก็คือ หลักวิชา วิทยาศาสตร์ ในทางพุทธศาสนานั่นเอง


    ดังนั้นข้าพเจ้าจึงได้อธิบายขยายความ พระไตรปิฎก เพื่อให้เป็นแนวทางในการศึกษา หาความรู้ และทำความเข้าใจในการสื่อความหมายของข้อความในพระไตรปิฎก เพื่อท่านทั้งหลายจะได้ไม่หลงเข้าใจกันผิดๆ เที่ยวยกเอาวรรค นั่น ตอนนี้ มากล่าว โดยความรู้เท่าไม่ถึงกาล ข้าพเจ้าไม่ได้ห้ามท่านทั้งหลายไม่ให้นำมากล่าว แต่ก่อนที่จะนำมาอวดอ้าง ก็ควรได้ศึกษา พิจารณา และคิดไตร่ตรอง ถึงข้อความนั้นๆว่า เขาสื่อการสอนถึงเรื่องอะไร หมายความว่าอย่างไร ไม่ใช่ยกเอามาอ้าง แบบ อวดอุตริฯ
    ขอให้ท่านทั้งหลายได้พิจารณาเถิด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2009
  2. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ศาสนา เป็นสิ่งจำเป็น และสำคัญอย่างย่ิงในการพัฒนาบุคคลากร หรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    ดังนั้น หลักการ หรือหลักธรรม ทางศาสนา จักต้อง เป็นที่ยอมรับของคนทั้งหลายว่าไม่สามารถหลีกเลี่่ยง หรือหนีพ้นจากหลักความจริง นั้นๆได้
    อีกทั้ง ศาสนา ยังเป็นปัจจัยประกอบที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างสภาพสภาะจิตใจในการทำงาน และการสังคมเป็นอยู่ร่วมกัน
    ความรู้ ความเข้าใจ ในหลักธรรมที่ถูกต้อง เป็นจริง จะช่วยเสริมสร้าง ความเจริญ เป็นตัวเร่ง หรือ เป็นเครื่องมือในการพัฒนาในทุกด้าน
    ที่สำคัญ ท่านทั้งหลาย ไม่ว่าจะมีกิจการใดใดอยู่ จงอย่าได้เข้าใจผิดคิดว่า หลักธรรมทางศาสนา จะเป็นสิ่งขัดขวาง อาชีพการงานของท่าน
    เพราะหลักการ หรือหลักธรรมทางศาสนาที่แท้จริงนั้น มิได้เป็นสิ่งขัดขวาง หรือเป็นเครื่องมือในการขัดขวาง หน้าที่การทำงานของท่านทั้งหลาย แม้แต่น้อย
    แต่หลักการ หรือหลักธรรมทางศาสนา จะช่วยเสริมสร้าง ความรู้ ความเข้าใจ มิให้ท่านทั้งหลายเกิดทุกข์ทางใจ และทางกาย อีกทั้งยังพัฒนาสภาพสภาวะจิตใจของท่านทั้งหลายให้รู้ ให้ตื่น ให้เบิกบาน ไม่มีการเบื่อหน่าย ท้อแท้
    ดังนั้น หากท่านท้งหลายได้ใส่ใจ ใฝ่่ศึกษา พิจารณา บทความต่างๆ ที่ข้าพจ้าได้สอนไป ก็จะเกิดความรู้ ความเข้าใจ และไม่มีผู้ใดหลีกหนี หรือหนีพ้น หลักธรรม หรือหลักการ ทางพุทธศาสนา คือ ไม่มีผู้ใดหนีพ้น หลักความจริง อย่างแน่นอน
     

แชร์หน้านี้

Loading...