ชวนกันศึกษาพระไตรปิฏก เพื่อหลุดพ้นจากภัยพิบัติ(ของตนเอง)

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Troysan, 18 กรกฎาคม 2010.

  1. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    ด้วยเห็นว่าชาวพุทธเรายังมี มรดกอันล้ำค่าที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สั่งสอนไว้ดีแล้ว พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีมาอย่างยาวนาน มากมาย นานนับ 4 อสงไขยแสนกัป ยากยิ่งที่จะมีบุคคลใดในหมื่นแสนจักรวาล และในไตรภูมิ จะมีคุณสมบัติทัดเทียม เพียบพร้อมเสมอเหมือนพระองค์ได้ พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ตรัสรู้ชอบได้ด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ปราศจากจากกิเลสอาสวะทั้งปวง แม้หมู่เหล่าเทวดาทั้งหลาย และพระอินทร์ ผู้เป็นดั้งประมุขของเทวดาทั้งปวง หรือแม้แต่ท้าวมหาพรหม ผู้เป็นใหญ่ในพรหม ยังน้อบน้อม เคารพในคุณอันประเสริฐอันหาประมาณมิได้ของพระองค์ พวกเราทั้งหลายนับว่ามีสั่งสม บุญ บารมี มาดีแล้ว จึงได้อ่าน ได้ฟัง ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งมวล ได้ปวารณาตนให้เป็นผู้เข้าถึงซึ่งพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างแน้นแฟ้นดีแล้ว เราเป็นผู้ที่มิได้ลังเลสงสัยในคุณแห่งพระรัตนตรัยแม้แต่นิด เราเป็นผู้มั่นใจแล้วว่านี้ เป็นหนทางอันประเสริฐแท้ของเรา อันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว อันเป็นเครื่องอบรม ขัดเกลาจิตใจของเราให้ก้าวล่วงพ้นวัฎสังสารแห่งทุกข์นี้ได้โดยไว้ เราเห็นว่าทางอื่นใดนอกเหนือจาก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ล้วนแล้วแต่เป็นทางอ้อม มิใช่ทางตรง มิใช่ทางแห่งความพ้นทุกข์.




    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗

    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background="" border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>​



    คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐
    [๓๐] ทางมีองค์แปด ประเสริฐกว่าทางทั้งหลาย ธรรมอันพระอริยะเจ้าพึงถึง ๔ ประการประเสริฐกว่าสัจจะทั้งหลายวิราคธรรมประเสริฐกว่าธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้าและอรูปธรรมทั้งหลาย ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัศนะ ทางอื่นไม่มี เพราะเหตุนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินไปตามทางนี้แหละ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่าท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เราทราบชัดธรรมเป็นที่สลัดกิเลสเพียงดังลูกศรออก บอกทางแก่ท่านทั้งหลายแล้ว ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อนพระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกชนทั้งหลาย ดำเนินไปแล้วผู้เพ่งพินิจ จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารได้ เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์เมื่อนั้น เขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด เมื่อใด บุคคลพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้นเขาย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นี้เป็นทางแห่งความหมดจด บุคคลหนุ่มมีกำลัง ไม่ลุกขึ้นในกาลเป็นที่ลุกขึ้น เข้าถึงความเป็นคนเกียจคร้าน มีความดำริอันจมเสียแล้ว ชื่อว่าเป็นคนเกียจคร้าน คนเกียจคร้านย่อมไม่ประสพทางแห่งปัญญา บุคคลพึงตามรักษาวาจา พึงสำรวมดีแล้วด้วยใจ และไม่พึงทำอกุศลด้วยกาย พึงชำระกรรมบถ ๓ ประการนี้ให้หมดจด พึงยินดีมรรคที่ฤาษีประ-กาศแล้ว ปัญญาเพียงดังแผ่นดินย่อมเกิด เพราะความประกอบโดยแท้ ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพียงดังแผ่นดินเพราะความไม่ประกอบ บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนี้แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยอาการที่ปัญญาเพียงดังแผ่นดิน จะเจริญขึ้นได้ ท่านทั้งหลายจงตัดป่าอย่าตัดต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่ป่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายตัดป่าและหมู่ไม้ในป่าแล้ว จงเป็นผู้ไม่มีป่า เพราะกิเลสดุจหมู่ไม้ในป่าแม้ประมาณน้อยในนารีของนระ ยังไม่ขาดเพียงใด นระนั้นยังมีใจเกาะเกี่ยว ดุจลูกโคผู้ดื่มกินน้ำนม มีใจเกาะเกี่ยวในมารดาเพียงนั้น ท่านจงตัดความรักของตนเสีย ดุจบุคคลเด็ดดอกโกมุทอันเกิดในสรทกาลด้วยฝ่ามือ ท่านจงเพิ่มพูนทางสงบอย่างเดียว นิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว คนพาลย่อมคิดผิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูฝน จักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดูหนาว และฤดูร้อนดังนี้ ย่อมไม่รู้อันตราย มัจจุย่อมพาเอาคนผู้มัวเมาในบุตรและปสุสัตว์มีมนัสข้องติดในอารมณ์ต่างๆ เหมือนห้วงน้ำใหญ่พาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น เมื่อบุคคลถูกมัจจุผู้ทำซึ่งที่สุดครอบงำแล้ว บุตรทั้งหลายย่อมไม่มีเพื่อความต้านทานบิดาย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ถึงพวกพ้องทั้งหลายก็ย่อมไม่มีเพื่อความต้านทาน ความเป็นผู้ต้านทานไม่มีในญาติทั้งหลาย บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว พึงเป็นผู้สำรวมแล้วด้วยศีล พึงรีบชำระทางเป็นที่ไปสู่นิพพานพลันทีเดียว ฯ
    จบมรรควรรคที่ ๒๐
    ที่มา จากเวป 84000.org:cool:



    </PRE>
     
  2. หนุมาน ผู้นำสาร

    หนุมาน ผู้นำสาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    13,705
    ค่าพลัง:
    +51,934
    *** หนทางหลุดพ้นทุกข์...อยู่ที่สัจจะตัวเดียว ****

    มรรค ฤาษี
    ศีล ฤาษี
    คือ สัจจะ

    - " หนุมาน ผู้นำสาร "
     
  3. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    เป็นที่น่าเสียดายที่เราโชคดีมีอริยะทรัพย์สมบัติอันล้ำค่า แต่ไม่ค่อยได้มีใครได้เปิดอ่าน...


    เหตุเสื่อมของพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า

    [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพน
    ชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้
    ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม
    แม้ฉัน
    ใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟังจักไม่เข้าไปตั้ง
    จิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา
    แต่ ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตร
    อันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มีอักษรอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวก
    ภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
    ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ
    [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้วอันลึก มีอรรถอันลึก
    เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธานฉันนั้นเหมือนกัน
    เพราะเหตุ
    ดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึง ศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
    มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสต
    ลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษ
    ดังนี้
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
    จบสูตรที่ ๗


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    หน้าที่ ๒๖๙/๒๘๘ หัวข้อที่ ๖๗๐ - ๖๗๒

     
  4. Nakamura

    Nakamura Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 กันยายน 2005
    โพสต์:
    2,002
    ค่าพลัง:
    +17,625
    ว่าด้วยภัยและความขลาดกลัว

    [๗๔๐] ชื่อว่า ความขลาดกลัว ในคำว่า และไม่หวั่นไหว ในเพราะความขลาดกลัว
    ความว่า ภัยก็ดี ความขลาดกลัวก็ดี โดยอาการก็อย่างเดียวกัน. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาค
    ตรัสว่า ภัย ความขลาดกลัวนี้นั้น ย่อมมีมาแน่. ภัยนั้นท่านกล่าวว่ามีวัตถุภายนอกเป็นอารมณ์
    คือ ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี เสือดาว หมาป่า โค กระบือ ช้าง งู แมลงป่อง
    ตะขาบ โจร คนที่ทำกรรมชั่ว คนที่เตรียมจะทำกรรมชั่ว. อนึ่ง โดยอาการอื่น ความกลัว กิริยา
    ที่กลัว ความหวาดหวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก อันเกิดแก่จิตในภายใน ความหวาดเสียว
    ความสะดุ้งแห่งจิต ภัยแต่ชาติ ภัยแต่ชรา ภัยแต่พยาธิ ภัยแต่มรณะ ภัยแต่พระราชา ภัยแต่โจร
    ภัยแต่ไฟ ภัยแต่น้ำ ภัยแต่ความติเตียนตน ภัยแต่ความติเตียนแห่งผู้อื่น ภัยแต่อาชญา ภัยแต่
    ทุคติ ภัยแต่เคลื่อน ภัยแต่จระเข้ ภัยแต่วังวน ภัยแต่ปลาร้าย ภัยแต่การเลี้ยงชีพ ภัยแต่ความ
    ติเตียน ภัยแต่ความครั่นคร้ามในประชุมชน ความขลาด ความหวาดหวั่น ความเป็นผู้มีขนลุก
    ความหวาดเสียว ความสะดุ้งแห่งจิต เรียกว่าภัย.


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๙
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
    หน้าที่ ๓๕๑/๔๙๔ หัวข้อที่ ๗๓๘ - ๗๔๐


    ผู้ก้าวล่วงภัย ๕ ประการ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็กำลัง คือ การสงเคราะห์เป็นไฉน สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ คือ
    ทาน ๑ เปยยวัชชะ ๑ อัตถจริยา ๑ สมานัตตตา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมทานเลิศกว่าทาน
    ทั้งหลาย การแสดงธรรมบ่อยๆ แก่บุคคลผู้ต้องการ ผู้เงี่ยโสตลงสดับ นี้เลิศกว่าการพูดถ้อยคำ
    อันเป็นที่รัก การชักชวนคนผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศรัทธาสัมปทา ชักชวนผู้ทุศีลให้
    ตั้งมั่นดำรงอยู่ในศีลสัมปทา ชักชวนผู้ตระหนี่ให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในจาคสัมปทา ชักชวนผู้มีปัญญา
    ทรามให้ตั้งมั่นดำรงอยู่ในปัญญาสัมปทา นี้เลิศกว่าการประพฤติประโยชน์ทั้งหลาย พระโสดาบัน
    มีตนเสมอกับพระโสดาบัน พระสกทาคามีมีตนเสมอกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีตนเสมอ
    กับพระอนาคามี พระอรหันต์มีตนเสมอกับพระอรหันต์ นี้เลิศกว่าความมีตนเสมอทั้งหลาย นี้
    เรียกว่ากำลัง คือ การสงเคราะห์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล ฯ
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕
    ประการ ภัย ๕ ประการเป็นไฉน คือ อาชีวิตภัย ๑ อสิโลกภัย ๑ปริสสารัชภัย ๑ มรณภัย
    ๑ ทุคติภัย ๑
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นแลพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราไม่กลัวต่อภัย
    อันเนื่องด้วยชีวิต ไฉนเราจักกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิตเล่า เรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลัง
    ปัญญา กำลังความเพียรกำลังการงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล
    จึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คนเกียจคร้านจึงกลัวต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต คือ กลัวต่อภัย
    อันเนื่องด้วยชีวิตเพราะการงานทางกาย ทางวาจาและทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใครก็กลัว
    ต่อภัยอันเนื่องด้วยชีวิต เราไม่กลัวต่อภัย คือ การติเตียน ฯลฯ เราไม่กลัวต่อภัยคือการสะทก
    สะท้านในบริษัท ... เราไม่กลัวต่อภัยคือความตาย ... เราไม่กลัวต่อภัยคือทุคติ ไฉนเราจักกลัว
    ต่อภัย คือ ทุคติเล่าเพราะเรามีกำลัง ๔ ประการ คือ กำลังปัญญา กำลังความเพียร กำลัง
    การงานอันไม่มีโทษ กำลังการสงเคราะห์ คนที่มีปัญญาทรามแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติคนเกียจ
    คร้านแล จึงกลัวต่อภัยคือทุคติ คือ กลัวต่อภัยคือทุคติเพราะการงานทางกาย ทางวาจา และ
    ทางใจที่มีโทษ คนที่ไม่สงเคราะห์ใคร ก็กลัวภัยคือทุคติดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบ
    ด้วยกำลัง ๔ ประการนี้แล ย่อมก้าวล่วงภัย ๕ ประการนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕


    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๒๓
    พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
    หน้าที่ ๒๙๓/๓๗๙ หัวข้อที่ ๒๐๙

     
  5. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    อนุโมทนาค่ะเด่น
    คนเราหากจิตพ้นภัยพิบัติได้แล้ว เรื่องอื่นก็กลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ
    แต่หากยังไม่พ้นวังวนการล่อหลอกแห่งจิตตน เราก็พลาดกันได้ทั้งนั้น
    ฉะนั้นจงอย่าประมาท ทางที่จะนำพาให้เราหลุดออกมาจากหุบเหวแห่งจิตได้
    ครูบาอาจารย์ท่านตอกท่านย้ำให้ใช้สติ + ปัญญา ในการพิจารณา ให้เห็นตามจริง
    แม้จะมีพลั้งเผลอทำพลาดได้ เมื่อรู้สำนึก ก็จงใช้สติ ปัญญา เป็นตัวถากถางเส้นทาง
     
  6. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พญาสีหมฤคราชออกจากที่อาศัยในเวลาเย็นแล้วเหยียดกาย แล้วเหลียวแลดูทิศทั้ง ๔ โดยรอบ แล้วบันลือสีหนาท ๔ ครั้งแล้วออกเดินไปเพื่อหากิน.... พวกสัตว์ดิรัจฉานทุกหมู่เหล่าได้ยินเสียงพญาสีหมฤคราชบันลือสีหนาท อยู่ โดยมากย่อมถึงความกลัว... พญาสีหมฤคราชมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายเช่นนี้แล
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพระตถาคตอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้นในโลกพระองค์ทรงแสดงธรรมว่า รูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ เหตุเกิดขึ้นแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ ความดับแห่งรูป... เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นดังนี้ แม้เทวดาทั้งหลายที่มีอายุยืน มีวรรณะมากด้วยความสุข ซึ่งดำรงอยู่ได้นานในวิมานสูง ได้สดับธรรมเทศนาของพระตถาคตแล้ว โดยมากต่างก็ถึงความกลัว ความสังเวช ความสะดุ้ง ว่าผู้เจริญทั้งหลายได้ยินว่าเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยง แต่เข้าใจว่าแน่นอน... ได้ยินว่า ถึงพวกเราก็เป็นผู้ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ติดยู่ในกายตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์ศักดานุภาพยิ่งใหญ่กว่าโลก กับเทวโลกเช่นนี้แล”
    สีหสูตร ขันธ. สํ. (๑๕๕, ๑๕๖)
    ตบ. ๑๗ : ๑๐๓-๑๑๔ ตท. ๑๗ : ๙๓-๙๔
    ตอ. K.S. ๓ : ๗๐-๗๑
    ที่มา เวปพลังจิต ห้องพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์
     
  7. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา (ความหมายรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง) อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง.... รูปราคะทั้งปวง...ภวราคะทั้งปวง.... อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ เปรียบเหมือนในถูดูใบไม้ร่วง ชาวนาไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก....เหมือนคนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวแล้วจับปลายเขย่า ฟาดสลัดออก เหมือนเมื่อพวงมะม่วงหลุดจากขั้ว มะม่วงทั้งหมดที่ติดอยู่กับขั้ว ย่อมหยุดไปตามขั้วนั้น เหมือนไม้กลอนแห่งเรือนยอดทุกอันชี้ไปสู่ยอด ทอดไปสู่ยอดประชุมลงที่ยอด เหมือนไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากใด ๆ เหมือนไม้จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นมีกลิ่นที่แก่นใคร ๆ เหมือนมะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกใด ๆ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนแสงพระจันทร์ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนในฤดูใบไม้ร่วงท้องฝ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้าย่อมส่องแสงและเปล่งแสงไพโรจน์กำจัดความมืดในอากาศทั่วไป....”
    สัญญาสูตร ขันธ. สํ. (๒๗๒)
    ตบ. ๑๗ : ๑๘๙-๑๙๐ ตท. ๑๗ : ๑๖๒-๑๖๔
    ตอ. K.S. ๓ : ๑๓๒-๑๓๓
    ที่มา เวปพลังจิต ห้องพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    “......ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุใดย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่ง (อาจจะมีชีวิตอยู่เพียงวันหนึ่งกับคืนหนึ่งเท่านั้น) (หรือ)... เราพึงเป็นอยู่ได้ตลอดวันหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่ฉันบิณฑบาตมื้อหนึ่ง (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำข้าวสี่ห้าคำกลืนกิน เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ประมาท เจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายช้า
    “ส่วนภิกษุใด ย่อมเจริญมรณัสสติอย่างนี้ว่า โอหนอ เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่เคี้ยวคำกลืนกิน (หรือ).... เราพึงเป็นอยู่ได้ชั่วขณะที่หายใจเข้าแล้วหายใจออก หรือหายใจออกแล้วหายใจเข้า เราพึงมนสิการคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค เราพึงกระทำกิจให้มากหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้เรากล่าวว่าเป็นผู้ไม่ประมาท ย่อมเจริญมรณัสสติ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แรงกล้า...เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้”
    มรณัสสติสูตร ที่ ๑ ฉ. อํ. (๒๙๐)
    ตบ. ๒๒ : ๓๓๘-๓๔๑ ตท. ๒๒ : ๓๑๕-๓๑๘
    ตอ. G.S. III : ๒๑๗-๒๑๙
    ที่มา เวปพลังจิต ห้องพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  9. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ในกำเนิดดิรัจฉานเหล่าใด บรรดามี ราชสีห์ ราชาแห่งสัตว์โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีพลัง มีความเร็ว และความกล้าหาญฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทั้งปวง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้”
    โกสลสูตร มหา. สํ. (๑๐๒๔ )
    ตบ. ๑๙ : ๓๐๑ ตท. ๑๙ : ๒๘๔
    ตอ. K.S. ๕ : ๒๐๒-๒๐๓
    ที่มา เวปพลังจิต ห้องพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์<!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end --><!-- google_ad_section_end -->
     
  10. Troysan

    Troysan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    59
    ค่าพลัง:
    +215
    สุริยูปมาสูตรที่ ๑
    ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ
    [๑๗๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่ขึ้นก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมา
    ก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข์นิโรธคามินีปฏิปทา(ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค). ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๙ .พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...