เว็บพลังจิต ชวนกัน ทำบอร์ดให้ร่มเย็น ด้วยหลักธรรม หรือสุภาษิตต่างๆ ในกระทู้นี้/อื่นๆ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด, 23 เมษายน 2010.

แท็ก: แก้ไข
  1. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    เชิญสมาชิก มีข้อความที่ทำให้ร่มเย็นเชิญร่วมกันสร้างสรรค์ นำมาโพสต์ที่กระทู้นี้ ร่้วมกิจกรรมกุศลกัน

    ...........


    2.
    ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม

    ............

    <table cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>
    </td></tr></tbody></table>
    <center>พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

    </center> การค้นหาคำว่า “ ปิยวาจา

    ผลการค้นหาพบ 2 ตำแหน่ง ดังนี้ :-
    </pre>
    <table width="90%" align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" width="100%" bgcolor="darkblue">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <table width="600"><tbody><tr><td align="right">แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 2</td></tr></tbody></table> [186] สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)
    1. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)
    2. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)
    3. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
    4. สมานัตตตา<sup class="remark">*</sup> (ความมีตนเสมอ<sup class="remark">**</sup> คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)
    <small>----------------------------------------------</small>
    <small><sup class="remark">*</sup> ในปกรณ์ฝ่ายสันสกฤตของมหายานะ เป็น สมานารฺถตา = บาลี: สมานตฺถตา แปลว่า ความเป็นผู้มีจุดหมายร่วมกัน หรือความคำนึงประโยชน์อันร่วมกัน (having common aims; feeling of common good)</small>
    <small><sup class="remark">**</sup> คำแปลนี้ถือตามที่แปลกันมาเดิม แต่ตามคำอธิบายในคัมภีร์ น่าจะแปลว่า 'ความมีตนร่วม' (participation) โดยเฉพาะมุ่งเอาร่วมสุขร่วมทุกข์</small>

    ดู [11] ทาน 2; [229] พละ 4.

    <table class="ref" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td width="50%">D.III.152,232;
    A.II.32,248;
    A.IV.218.363. </td><td>ที.ปา. 11/140/167; 267/244;
    องฺ.จตุกฺก. 21/32/42; 256/335;
    องฺ.อฏฺฐก. 23/114/222;
    องฺ.นวก. 23/209/377.</td></tr></tbody></table>
    <table width="600"><tbody><tr><td align="right">แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 2</td></tr></tbody></table> [229] พละ 4 (ธรรมอันเป็นกำลัง, ธรรมอันเป็นพลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นต่อภัยทุกอย่าง — strength; force; power)
    1. ปัญญาพละ (กำลังปัญญา — power of wisdom)
    2. วิริยพละ (กำลังความเพียร — power of energy or diligence)
    3. อนวัชชพละ (กำลังสุจริต หรือ กำลังความบริสุทธิ์, ตามศัพท์แปลว่า กำลังการกระทำที่ไม่มีโทษ คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมบริสุทธิ์ เช่นมีความประพฤติและหน้าที่การงานสุจริต ไม่มีข้อบกพร่องเสียหาย พูดจริง มีเหตุผล มุ่งดี ไม่รุกรานให้ร้ายใคร ทำการด้วยเจตนาบริสุทธิ์ — power of faultlessness, blamelessness or cleanliness)
    4. สังคหพละ (กำลังการสงเคราะห์ คือ การยึดเหนี่ยวน้ำใจคนและประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี — power of sympathy or solidarity) สงเคราะห์ด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ
    4.1 ทาน (การให้ปัน โดยปกติหมายถึง ช่วยเหลือในด้านทุนหรือปัจจัยเครื่องยังชีพ ตลอดจนเผื่อแผ่กันด้วยไมตรี อย่างเลิศหมายถึงธรรมทาน คือ แนะนำสั่งสอนให้ความรู้ความเข้าใจ จนเขารู้จักพึ่งตนเองได้ — gift; charity; benefaction)
    4.2 เปยยวัชชนะ (พูดจับใจ, = ปิยวาจา คือ พูดด้วยน้ำใจหวังดี มุ่งให้เป็นประโยชน์และรู้จักพูดให้เป็นผลดี ทำให้เกิดความเชื่อถือ สนิทสนม และเคารพนับถือกันอย่างเลิศหมายถึง หมั่นแสดงธรรม คอยช่วยชี้แจงแนะนำหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม แก่ผู้ที่ต้องการ — kindly or salutary speech)
    4.3 อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ คือ ช่วยเหลือรับใช้ ทำงานสร้างสรรค์ ประพฤติการที่เป็นประโยชน์ อย่างเลิศหมายถึง ช่วยเหลือส่งเสริมคนให้มีความเชื่อถือถูกต้อง (สัทธาสัมปทา) ให้ประพฤติดีงาม (สีลสัมปทา) ให้มีความเสียสละ (จาคสัมปทา) และให้มีปัญญา (ปัญญาสัมปทา) — friendly aid; doing good; life of service)
    4.4 สมานัตตตา (มีตนเสมอ คือ เสมอภาค ไม่เอาเปรียบ ไม่ถือสูงต่ำ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ด้วย อย่างเลิศหมายถึง มีความเสมอกันโดยธรรม เช่น พระโสดาบันมีตนเสมอกับพระโสดาบัน เป็นต้น — equality; impartiality; participation)

    พละหมวดนี้ เป็นหลักประกันของชีวิต ผู้ประพฤติธรรม 4 นี้ย่อมดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ เพราะเป็นผู้มีพลังในตน ย่อมข้ามพ้นภัยทั้ง 4 คือ
    1. อาชีวิตภัย (ภัยเนื่องด้วยการครองชีพ — fear of troubles about livelihood)
    2. อสิโลกภัย (ภัยคือความเสื่อมเสียชื่อเสียง — fear of ill-fame)
    3. ปริสสารัชชภัย (ภัยคือความครั่นคร้ามเก้อเขินในที่ชุมนุม — fear of embarrassment in assemblies)
    4. มรณภัย (ภัยคือความตาย — fear of death)
    5. ทุคคติภัย (ภัยคือทุคติ — fear of a miserable life after death)

    ดู [186] สังคหวัตถุ 4

    <table class="ref" width="100%"><tbody><tr valign="top"><td width="50%">A.IV.363. </td><td>องฺ.นวก. 23/209/376.</td></tr></tbody></table>
     
  2. naknoi.b

    naknoi.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,042
    ค่าพลัง:
    +1,714
    คุณเตรียมตัวเดินทางแล้วหรือยัง...

    <O:p<O:pในนี้มีใครเตรียมตัวที่จะเดินทางกลับบ้านกันรึยัง! หากถามเว่าบ้านที่ไหนเราคงจะตอบแทนสูเจ้ามิได้..<O:p</O:p
    จิตยึดมั่นรักและจับมั่น ชอบและหรือมุ่งมั่นไปที่ใดที่นั่นย่อมคือบ้าน แต่บ้านต้องเป็นที่สว่าง สงบ ท้ายสุดมิมืดมน<O:p</O:p
    หากแต่บ้านที่เราจะกลับ มิใช่บ้านที่อยู่เพียงพักพิงเพื่อหาความสงบเพียงชั่วคราว แต่เป็นบ้านที่ให้ความสุขแบบบรมสุข...<O:p</O:p
    การเตรียมตัวมรณา(ตาย) ย่อมเป็นสิ่งที่ดีเพราะย่อมทำให้จิตที่ตั้งมั่นฝึกและฝนมาอย่างชำนาญการไม่วอกแวกและแส่ส่าย ท้ายสุด ไม่หลง! พอกล่าวถึงความตายบางคนกลัว ฮึ! จะกลัวอะไร แค่การเดินทางอีกครั้งใช่ว่าจะมิเคย..!<O:p</O:p
    สังสารวัฏฏะหมุนวนเป็นอยู่แบบนี้ มาไป-ไปมา ...<O:p</O:p
    พระท่านเคยสอน ให้ฝึกตาย และยึดมั่นคำบริกรรม จะพุทโธ ธัมโม หรือ สังโฆ จำและยึดให้มั่น เพราะถ้าถึงเวลาที่ต้องเดินทางจะสงบและได้ไปยังที่ๆสว่าง บางคนคิดว่าการตายเป็นหนทางที่ก้าวย่างสู่ห้วงแห่งนรกาล ท้ายสุดดับสิ้นไม่มีเชื้อ.. จริงหรือ? เดวะต่างมองว่าการคิดเฉกนี้ช่างเขลา การตายมิใช่การสิ้นสุดแห่งชีวะ(ชีวิต) หากแต่เป็นการเปลี่ยนถ่ายสภาวะหนึ่งไปยังอีกสภาวะหนึ่งต่างหากเล่า! การตาย คือการเริ่มต้นใหม่แห่งพลังชีวิต อุบัติ และหรือ จุติที่หมายถึงการเคลื่อนไหว พลังงานแห่งวิญญาณมีการสืบต่อการไปอย่างต่อเนื่องเป็นสัตตติ อย่างไม่ขาดสาย...<O:p</O:p
    มนุษย์มักมองแต่การเกิดแต่ละเลยหน้าที่ๆโลกได้หยิบยื่นมาให้ นั่นคือหน้าที่แห่งความตาย เมื่อถึงเวลาที่ต้องเดินทางจึงกลัว!<O:p</O:p
    จงฝึกที่จะเดินทาง สติ เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่หากสิ่งที่สำคัญที่สุด ฌาน อารมณ์แห่งความตั้งมั่นที่สงบจะนำพาพลังงานแห่งวิญญาณไปยังที่ๆ สว่าง และสงบ เพราะตราบใดที่เรายังไม่สามารถเหยียบบันไดขั้นแรกแห่งการเป็นอริยะได้(โสดา) สิ่งเดียวที่ควรพากเพียรให้ได้นั่นคือฌาน”<O:p</O:p
    ปล.วันนี้คุณเตรียมตัวเดินทางสู่ห้วงแห่งสนธยาก้าวอย่างสู่ห้วงแห่งมรณากาลแล้วหรือยัง หากยังจงระหว่างทางที่ท่านจะต้องเดินทางอาจเป็นหนทางสู่ห้วงแห่ง นรกาล”<O:p</O:p
    </O:p

    </O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2010
  3. naknoi.b

    naknoi.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,042
    ค่าพลัง:
    +1,714
    ใครเคยนั่งสมาธิแล้วใจไม่นิ่ง.. พระท่านเรียกนิวรณ์ กันบ้าง บางคนบ่นก็ฉันสมาทานพระกัมฐานแล้วหนิทำไมใจถึงยังฟุ้ง..เจ้าประคุณมันไม่เกี่ยวอะรัยกันเลยกับการนั่งสมาธิ....แต่ก็อาจจะมีบางท่านศีลไม่พร้อม เราหมายถึงศีลด่างพร้อย ความบริสุทธิ์ของศีลยังไม่ดีพอ จึงทำให้การนั่งสมาธิแล้วจิตรวมกันช้าและหรือฟุ้ง!
    ลองดูใครก็ตามที่นั่งแล้วจิตไม่นิ่ง...ลองกำหนดลมหายใจดู ใช่อานาปานะสติ การกำหนดลมหายใจ แต่ของเราแตกต่าง เพราะของเรา เป็นแบบ โยคะ และหรือที่โยคี เค้าทำกัน การเดินปราณแบบโยคะ..
    ก่อนอื่นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกให้ลึกที่สุดจนเต็มปอด แล้วค่อยผ่อนลมออก ทำแบบนี้ซักสามครั้ง
    หลังจากนั้นกำหนด มโนภาพของลมหายใจให้เป็นลำแสงสีขาว ใครนึกไม่ออกลองนึกถึงหนังจีน ตอนที่พวกปีศาจดูพลังชีวิตของคน จะเป็นพลังงานแห่งเส้นแสงสีขาวออกทาง จมูก และ ปาก ...
    เมื่อกำหนดภาพได้แล้วก็สูดลมให้เต็มปอด กำหนดเป็นพลังสีขาวหมุนวนเป็นลูกแก้วอยู่ที่ช่องท้อง..กั้นลมหายใจไว้ซัก30วินาที หรือมากว่านั้น สำหรับเรา หนึ่งนาที แล้วค่อยๆผ่อนลมหายใจออก กำหนดภาพเป็นรูปของพลังงานสีขาวกระจายไปทั่วร่างกาย และเลยไปถึงกลางกระหม่อม ทางโยคะ เรียก ตำแหน่งนี้ว่าสหัลสราร คือ วิมานพระวิษณุ มีดอกบัว ยี่สิบกลีบ ...ทำกลับไปกลับมาซักสามครั้ง หรือมากกว่านั้นก็ได้หากคุณทำแล้วรู้สึกผ่อนคลาย...
    แล้วจะรู้ พลังงานแห่งชีวิตที่หมุนวน(ปราณ) นั้นทรงอาณุภาพเพียงใด...!
    การฝึกดังกล่าวหากฝึกอย่างชำนาญ เจ้าจะแข็งแรง ยังธาตุทั้งสี่ให้เกิดความสมดุล...เมื่อธาตุทั้งสี่บริบรูณย์
    สังขารย่อมแข็งแรง และอ่อนเยาว์... อริยะเจ้าผิวพรรณผ่องใส ดวงตาสดใส เพราะเหตุใด หากมิเพราะ ลมหายใจที่พิสุธิ์นี่หรอกหรือ....ของดีอยู่กับตน จงใช้ให้เกิดประโยชน์ จงอย่ารู้ค่าก็ต่อเมื่อจะเดินทางเข้าสู่มรณากาล..."<O:p</O:p
    คราใดที่ไม่มีลมหายใจอีกต่อไปเจ้าจะเสียดาย และครานั้น จะเสียใจที่ปล่อยเพลาให้ล่วงผ่านมาอย่างสูญเปล่าsleeping_rb<O:p</O:p
    <O:p</O:p<O:p</O:p
     
  4. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    <center> <table width="900" border="0"> <tbody><tr> <td valign="top" width="900"> หน้าบ้านจอมยุทธ >> หอพระไตร >> พุทธศาสนสุภาษิต >>
    </td> </tr> </tbody></table> </center>​
    <center> </center>​
    <center> <table id="table1" width="760"> <tbody><tr> <td valign="top" width="200">
    </td><td valign="top" width="560">
    [​IMG]
    คำสอนในพระพุทธศาสนามีองค์ 9 ประการ ที่เรียกว่า นวังคสัตถุศาสน์ ได้แก่ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม และ เวทัลละ พุทธศาสนสุภาษิต ได้มาจากเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในคำสอนดังกล่าว ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นเนื้อความสั้น ๆ ที่ทรงคุณค่า ให้ข้อคิด ข้อเตือนใจ ให้ผู้ที่ได้ศึกษาแล้ว มีความรู้ความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักธรรมประจำใจ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ ในแนวทางที่ถูกที่ควร ตรงทาง อันจะนำไปสู่ความสุข ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน แล้วยังเป็นการเสริมสร้างสันติสุข ในสังคมโลกอีกด้วย
    พุทธศาสนสุภาษิต คือ สุภาษิต ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรัสไว้ ซึ่งมีคุณค่าสูงส่ง สามารถใช้ได้ทั้งเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เตือนใจ หาคำตอบที่ดีสำหรับปัญหาที่สงสัย หรือ แม้แต่เตือน สติ ให้เรา หู ตา สว่าง เกิดปัญญาเข้าใจ ได้อุบายที่ดีในการดำเนินชีวิต การแก้ปัญหา และพ้นจากเครื่องเศร้าหมองได้
    พุทธศาสนสุภาษิต เป็นที่นิยมของหมู่ชนทั้งหลาย ถึงแม้จะต่างเชื้อชาติ ต่างศาสนาต่างก็มีสุภาษิตในหมู่ของตน คำสุภาษิตนั้น เป็นคำสั้นๆ จำได้ ไม่ยากเย็น อีกทั้งไพเราะ และมีความหมาย ลึก กินใจ มีคุณค่า และประโยชน์ แก่ พระภิกษุสงฆ์ สามเณร ผู้ที่อยู่ในวัยเรียน วัยทำงาน วัยครองเรือน วัยสูงอายุ หากมีเวลา ให้แก่พระศาสนาบ้าง เพียงอ่าน และท่องจำวันละบท ศึกษาให้เข้าใจ ทั้งนี้ก็เพื่อน้อมนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน จะบังเกิดประโยชน์แก่ตนเอง และ ผู้อื่นโดยทั่วไป​
    [​IMG]
    </td> </tr> </tbody></table> </center>​

    *** คัดลอกมาจาก หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต ฉบับสมบูรณ์ โดยธรรมสภาจัดพิมพ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 เมษายน 2010
  5. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และ ป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี

    หมวดธรรม
     
  6. ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    ทีมผู้ดูแลเว็บบอร์ด Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    3,277
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +6,490
    ควรทำแต่ความเจริญ อย่าเบียดเบียนผู้อื่น

    หมวดบุคคล
     
  7. naknoi.b

    naknoi.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,042
    ค่าพลัง:
    +1,714
    พลังงานแห่งวิญญาณ.ฤากับ..ขันธ์ที่ต้องแบกรับ*-*

    มนุษย์ มักกลัวโครงกระดูกของพวกเดียวกัน..แต่ทำไม่กระดูกสัตว์อื่นต่างไล่ล่าเพื่อหามาสุ่มตน..!
    กลัวผี! ประโยคที่มักจะได้ยินอยู่บ่อยครั้ง..น่าขัน ! มนุษย์กลัวพลังงานแห่งวิญญาณ ที่แม้แต่ตนเองก็ยังมี
    ผี..หากเรียกตาม ฟิสิกส์ โซฟิสหากเรียกตามรากศัพท์โบราณ. เป็นเพียงกลุ่มพลังงานหนึ่งเท่านั้น และนั้นก็เป็นความจริง ทางพุทธปรัชญาเรียกว่า วิญญาณ ในเซลย์ทุกเซลย์ นักวิทยาศาตร์ยังยอมรับกันแล้วว่า เมื่อแยกธาตุหรือองค์ประกอบของโมเลกุลลงจนถึงที่สุดแล้ว เราจะพบความว่าง! ที่สุดคือมวลแห่งพลังงาน คือว่างดังกล่าว...
    โครงร่างที่แบกหามกันไปไหนมาไหนด้วยทุกวันมันก็กระดุกผีเหมือนกัน..หากต่างกันตรงที่ ผีคนเป็น กับผีคนตาย...ใยต้องกลัว..อุปทาน! ถูก..! มนุษย์ถุกปลุกฝั่งสิ่งเหล่านี้มาแต่ครั้งบรรพกาล...ความรู้ ซึมซับ ซึมซาบ ท้ายสุด กำซาบ จนถึงกระมลละสันดาน! กลัวในสิ่งที่มิควรกลัว! หากเป็นเรื่องอื่นมนุษย์กล้า ...อกุศลกรรมมนุษย์ มักถูกชักนำให้ไหลลงสู่กระแสที่ต่ำ..กระทำจนเกิดเป็นความเคยชิน จึงมิรู้ ว่านั่น คือสิ่งที่ผิด!
    ดังนั้น พระท่านจึงสอน ศีล สมาธิ ท้ายสุดปัญญา สิ่งเหล่านี้จะนำพา เราให้หลุดพ้น จากบ่วงแห่งอวิชชา คือความไม่รู้ กระทั่งรู้แจ้ง ! ทำเถอะหนทางแห่งมรรคกำลังรอท่านทั้งหลายอยู่ หากวันนี้ไม่รีบเดินทาง... แล้วอีกกี่เพลาถึงจะเดินทาง เดินเถอะก่อนที่จะสายเกินไป...<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พุทธังสะระณังคัสฉามิ<O:p</O:p
    ธัมมังสะระณังคัจฉามิ<O:p</O:p
    สังฆังสะระณังคัจฉามิ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    บุญใดที่จะพึงบังเกิดจากการจารและบันทึกตัวอักษรนี้ของเรา..รฐนนท์ ..จงดลและบรรดาลให้เทวะ และ เดวะ พร้อมทั้งเทพดา นางฟ้าทั้งหลายที่ทรงปกปักษ์สวัสดิรักษาตัวของข้าพเจ้า จงมีส่วนในกุศลผลแห่งบุญในการให้ความรู้อันเป็นธรรมทานในครั้งนี้ด้วยเทอญ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    โอม! มหาทุรคา อุมาเทวี นมัส<O:p</O:p
    sleeping_rb<O:p</O:p
     
  8. naknoi.b

    naknoi.b เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,042
    ค่าพลัง:
    +1,714
    เกิดแล้วตาย เป็นที่หวังได้
    ตายแล้วก็ต้องเกิดเช่นกัน
    เที่ยงอยู่เช่นนี้ จนกว่า....พระนิพพาน
    นี่คือ มา-ไป และ ไป-มา


     

แชร์หน้านี้

Loading...