ช่วยแนะนำด้วยครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Kritsakan, 10 พฤษภาคม 2017.

  1. Kritsakan

    Kritsakan สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7
    คือผมฝึกอานาฯครับ แล้วเวลามีความคิดเกิดขึ้นมานี่ให้เราโน้มสายตามาที่ลิ้นปี่หรอครับ ผมถามมาจากคุณ nopphakhan อ่ะครับ อานาฯนี่ต้องดูลมที่กระทบปลายจมูกใช่หรือปล่าวครับ แล้วต้องดูลมกระทบเข้าหรือออกด้วยปล่าวครับ แล้วเราจำเป็นต้องภาวนาด้วยป่าวครับ แล้วเรื่องแสงสว่างนี่ยังไงหรอครับผมไม่เคยเจอครับ เวลาอ่านของท่านอื่นก็งงอยู่มันคืออะไรกรอครับ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอยู่สมาธิขั้นไหนแล้ว ขอบคุณครับ
     
  2. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    คือถ้า มีจิตตั้งมั่น ไหว้พระสวดมนต์ จิตมีศีล ปกติ อยู่แล้ว...คือไม่ค่อยมีนิวรณ์(เรื่องความคิดฟุ้งซ่านทั้งหลายมากวนใจ)..ฝก็จะไปได้ดีนะ

    คืองี้ นั่งตัวตรง ..เอาสติจับที่ลมเข้าลมออก เข้าพุทธ ออกโท โดยไม่ต้องเกร็ง ทำตัวสบายๆ จากที่ จิตรู้ กายนั่ง กายยุบพอง กายปวดบ้าง อย่าสนใจ ให้สติจับที่ลมเข้าออก พร้อมพุทโธ...เท่านั้น...เท่านั้นนะ
    แล้ว ถ้าสติคุณ แนบแน่นกับ ลมเข้าออกได้จริง จนลืม กาย ลืมเวทนากาย ไปได้ จะเหมือนกายหายไป...เหลือเพียงลมเข้าออกเท่านั้น ที่สติรู้

    ทีนี้ พุทโธที่ภาวนาก็จะหายตาม...สติเราก็ยังรู้ จับที่ลมเท่านั้นนะ ห้ามคิด เด็ดขาด ให้รู้ตาม ลมเข้าออก ...จนกว่า ลมนั้นจะหายไป เบาไป เหมือนหายไป สติเราจะ มาจับเหลือแค่ที่รู จมูกที่ ลมผ่านเข้าออก เท่านั้น..ตอนนี้ กายหาย เวทนาหาย คำภาวนาหาย ลมหาย...รู้ที่ เย็น ที่รูตรงปลายจมูกเท่านั้น

    ให้สติรู้ ตรงนี้ไปเรื่อยๆ รักษาสภาวะ สงบ นี้ ไปเรื่อยๆ...จนกว่า..ตัวสติรู้นี้ มันจะ..เกิด..ปิติ อะไรสักแบบ ขึ้นมาเอง..ตอนที่ปิติเกิด ก็ให้รักษาสภาวะสงบนี้ ไปเรื่อยๆ อย่า วิตก วิจาร เด็ดขาด...จน คุณจะ..ผ่านปีตินี้ไปได้ นั่นแหล่ะ ถึงจะได้ คำตอบ..ที่คุณถามหา

    แต่..ถ้าหากคุณ มีวิตกวิจาร..แทรก ความคิดเพียงน้อยนิด..มันจะเป็น อุปทานแทรก พร้อม นิมิตร อย่างอื่น นะ อันนี้ ต้อง...ระวัง

    มันยากอยู่นะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 พฤษภาคม 2017
  3. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ที่ผมว่ามันยาก ก็ตรง

    ถ้าเป็นเด็ก ทำ มันจะไม่ค่อย มีนิวรณ์ อะไร มากวนจิตใจ
    แต่ถ้าผู้ใหญ่ทำ แล้ว มีเรื่องกังวล ในสมองเยอะ ปัญหาชีวิตเยอะ....อันนี้ต้องระวัง จะโดนนิวรณ์ มาลากให้ ไป วิตก วิจารณ์...อุปทาน หลงนิมิตร..ไปอีกทาง...นี่คือ สิ่งที่ต้องระวัง..จริงๆ
     
  4. Kritsakan

    Kritsakan สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 เมษายน 2017
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +7
  5. วรณ์นิ

    วรณ์นิ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 เมษายน 2016
    โพสต์:
    6,076
    ค่าพลัง:
    +3,024
    ดังนั้น การนั่งสมาธิ พระจึงหาสถานที่กลางป่าเขา วิเวก สงัด ไร้เสียงรบกวนใดใด...รักษาศีลให้ จิตใจร่างกาย สงบ เบา พ้นจากภาระทั้งปวง ก่อน
    แปลว่า เมื่อหมด กิจธุระใดใด ที่ร่างกาย และจิตใจ จะต้องทำได้แล้ว ค่อย นั่งสมาธิครับ...

    มีเคล็ด ในการ นั่งสมาธิ..เพื่อลดกำลัง ของสติ ของจิต ไม่ให้มีแรง ฟุ้งซ่าน...เพื่อความเป็นสมาธิ ได้เร็ว...คือ การ ถือศีลแปด ทานข้าวมื้อเดียว...กายใจจิต จะได้ อ่อนแรง จากความคิดฟุ้งซ่านได้ครับ
     
  6. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ไม่แนะนำให้คุณทำ

    ถามแล้วจะให้ทำยังไง

    ตอบ ไหว้พระสวดมนต์ ทำบุญแบบชาวพุทธทั่วๆไปไปก่อน ขณะเดียวกันก็ทำหน้าของตนไป ค่อยๆศึกษาหลักธรรมจากตำรับตำราที่ผู้เขียนมีภูมิรู้เรื่องพระพุทธศาสนาเสริมปัญญาด้านนี้ไปก่อน

    อย่าเพิ่งลงลึกถึงด้านจิตใจโดยตรง ดูที่เขาถกเถียงเรื่องจิต ใจ มโน วิญญาณกันดิ ยังหาสนามลงไม่ได้เลย ดังนั้น ถ้าคุณยังไม่เคยทำอย่าเพิ่งทำ ดูๆ สมช.พลังจิตถกเถียงกัน :p:D ไปก่อนสัก 10 - 20 ปี

    ด้วยความปรารถนาดีนะ :)
     
  7. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014

    จะอธิบายแต่ แสงสว่าง ที่เป็น อุปกิเลส นะครับ
    เพราะเวลาที่มันเกิดขึ้นมา ใน มโน หรือ จิต ของเรา
    มันจะมีแสงจ้ามาก แต่ไม่มีความร้อนแรงเหมือนแสงอาทิตย์
    พอมันเกิดขึ้นมา เราก็จะคิดไปว่า เราเป็นพระอรหันต์แล้ว
    มันก็จะเป็นตัวที่พาเราหลงออกนอกลู่นอกทาง
    พระบางรูป ปฏิบัติถึงตรงแล้ว ไม่ยอมไปไหนต่อ
    ไม่ยอมทำวิปัสสนาต่อ หลงมองแต่แสงนั้นอยู่ตลอดเวลา
    ไอ้ตรงที่ ไม่ยอมไปไหนต่อ นี่แหละที่เรียกว่า เครื่องขวางกั้น
    หรือ ตัวขวางกั้นการทำวิปัสสนา หรือ ตัวขวางกั้นมรรคผล
     
  8. nilakarn

    nilakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2011
    โพสต์:
    3,604
    ค่าพลัง:
    +3,014
    ส่วน การกำหนดลมหายใจ หรือ อานาปานสติ
    คือ การกำหนดที่ลมหายใจ เข้า และ ออก
    เมื่อมันออกไปคิดเรื่องอื่น มันไปในอดีต หรือ อนาคต
    ก็ให้เราดึงจิตกลับมาอยู่ที่ลมที่ปลายจมูก
    แค่นี้พอแล้วสำหรับผู้ที่ฝึกใหม่
    ตอนที่ดึงจิตกลับมาอยู่ที่ลมหายใจเข้าออกนี่แหละ
    จะเรียก การละนันทิ หรือ ความเพลิน หรือ
    ตามภาษาพระนักปฏิบัติ ที่ว่า อย่าดึงจิตออกนอก คือ
    อย่าปล่อยให้จิต มันท่องเที่ยวออกไปภายนอกกายของเรา
     
  9. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    จขกท. ศึกษาความหมายบุญชัดๆ

    บุญ
    เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และทางใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม

    บาป ความชั่ว, ความร้าย, ความชั่วร้าย, กรรมชั่ว, กรรมลามก, อกุศลกรรมที่ส่งให้ถึงความเดือดร้อน, สภาพที่ทำให้ถึงคติอันชั่ว, สิ่งที่ทำจิตให้ตกสู่ที่ชั่ว คือ ทำให้เลวลง, ให้เสื่อมลง
     
  10. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ขยายความออกไปอีก


    บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม

    ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป

    ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า

    "กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด"

    "สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา"

    "การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ" ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศลหรือความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,)

    บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และมีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ “ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" (ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

    ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า "ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"

    คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอ้นมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

    พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับ บาป
     
  11. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ชาวบ้านดำเนินมรรคาด้วยการศึกษาบุญ

    ในคำสอนธรรมเพื่อให้เหมาะสำหรับคฤหัสถ์คือชาวบ้าน แทนที่ท่านจะนำระบบของมรรคมาจัดขั้นตอนในรูปของไตรสิกขา เป็น ศีล สมาธิ ปัญญา แต่ท่านจัดใหม่เหมือนดังจะให้เป็นไตรสิกขาฉบับที่ง่ายลงมา โดยวางรูปขั้นตอนใหม่ เป็นหลักทั่วไป ที่เรียกว่าบุญกิริยา หรือบุญกิริยาวัตถุ ซึ่งมีจำนวน ๓ ข้อ หรือ ๓ ขั้น เท่ากับไตรสิกขานั่นเอง แต่มีชื่อหัวข้อต่างออกไปเป็น ทาน ศีล ภาวนา

    สาระหรือเนื้อแท้ทั้งหมดของบุญกิริยาคือการทำบุญนั้น ก็คือการศึกษานั่นเอง

    ขอให้ดูพุทธพจน์ที่แสดงหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ ดังนี้

    "ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้...คือ ทานมัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ศีลมัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ภาวนามัย บุญกิริยาวัตถุ ๑ ...

    "ผู้ใฝ่อัตถะนั้น พึงศึกษาบุญนั่น ทีเดียว อันมีผลกว้างไกล มีความสุขเป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ สมจริยา (ความประพฤติเข้ากับธรรม หรือสมตามธรรม) ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิตเจริญธรรม ๓ ประการ อันก่อให้เกิดความสุข เหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกที่เป็นสุข ไร้การเบียดเบียน"

    จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักบุญกิริยาวัตถุว่ามี ๓ อย่าง คืออะไรบ้างแล้ว ก็ตรัสคาถาสรุป ทรงบอกให้รู้กันว่าจะทำอะไรกับบุญกิริยาวัตถุนั้น คือตรัสว่า พึงศึกษาบุญนั่นทีเดียว ขอย้ำพระดำรัสเป็นคำบาลีว่า "ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" ถ้านำคำทั้งสองมาสมาส (รวมเข้าด้วยกัน) ก็เป็น "บุญสิกขานั่นเอง
     
  12. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    หลักศึกษาบุญสำหรับชาวบ้านนี้ เน้นชีวิตด้านนอก และการประพฤติปฏิบัติพื้นฐานขั้นต้น ตรงข้ามกับฝ่ายบรรพชิตคือพระสงฆ์ ที่เน้นด้านใน และขั้นสูงขึ้นไป

    จะเห็นได้ชัดว่า หลักปฏิบัติขั้นต้นของไตรสิกขา รวมคลุมไว้ด้วยศีลคำเดียว แต่บุญกิริยาของชาวบ้าน ซึ่งเน้นด้านนอก ให้น้ำหนักแก่เรื่องการจัดการกับวัตถุ และการอยู่ร่วมสังคม จึงแยกขั้นต้นออกเป็น ๒ ข้อ โดยเอาเรื่องการจัดการวัตถุ คือทาน มาหนุนมานำศีล ขณะที่ของพระมีศีล แต่ของชาวบ้านมี ทาน และ ศีล

    แต่ทางด้านใน ที่เป็นระดับลึกสูงขึ้นไป ไตรสิกขาของพระแบ่งชัดเป็น ๒ คือ สมาธิ และปัญญา แต่บุญกิริยาของชาวบ้าน พูดรวมคลุมด้วยภาวนาคำเดียว และตามพุทธพจน์ ให้มุ่งที่เมตตาภาวนา คือเจริญเมตตา

    พูดอีกแบบหนึ่งว่า ชีวิตพระนั้น ไม่ค่อยเกี่ยวข้องกับวัตถุ ทานจึงมีบทบาทน้อย ดังนั้น ในไตรสิกขา จึงเอาทานไปผนวกหรือแอบไว้ในศีล (จะดูการจัดสรรวัตถุของพระก็ไปมองในวินัย)

    แต่ ชีวิตของพระนั้น มุ่งอุทิศแก่ด้านใน คือจิตใจและปัญญา ไตรสิกขา จึงจัดแยกการศึกษาพัฒนาด้านในนั้น ออกเป็น ๒ อย่างให้เด่นชัดขึ้นมา เป็นสมาธิ กับ ปัญญา (อธิจิตต์ และอธิปัญญา)

    ส่วนชีวิตของชาวบ้าน อยู่กับวัตถุโดยตรงเต็มที่ และการแสวงหาจัดการวัตถุนั้น ก็ ดำเนินไปท่ามกลางเพื่อนมนุษย์ร่วมสังคม ถ้าประพฤติปฏิบัติจัดการไม่ดี ทั้งวัตถุก็เสียหาย คนและสังคมก็เดือดร้อนวุ่นวาย จึงต้องยกทาน และศีล ขึ้นมาให้สำคัญโดดเด่น เป็นบุญกิริยา ๒ อย่างก่อน

    ส่วนการพัฒนาด้านใน ถึงแม้สำคัญ ก็ต้องจัดให้พอเหมาะแก่กำลัง เวลา เป็นต้น ที่เขาจะปฏิบัติได้ โดยเอาทั้งเรื่องจิตใจ และปัญญามารวมเป็นข้อเดียวกัน คือ ทั้งพัฒนาจิตใจ (จิตตภาวนา) และพัฒนาปัญญา (ปัญญาภาวนา) มารวมไว้เป็นภาวนาข้อเดียว และเพราะการอยู่ร่วมกันในสังคมเป็นลักษณะชีวิตของชาวบ้าน แม้แต่ภาวนานั้นก็จึงเน้นที่การเจริญเมตตา คือเมตตาภาวนา

    คำที่พูดกันสามัญว่า "ทำบุญ" ถ้าจะพูดให้ตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ ก็ต้องว่า "ศึกษาบุญ" คือให้ทำอย่างเป็นการฝึกฝนพัฒนา หมายความว่า บุญนี้เป็นคุณสมบัติ คือ ความดีงามความสามารถ ทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง รวมทั้งทางปัญญา เราต้องทำให้เพิ่มขึ้นและประณีตขึ้นเรื่อยๆ ให้เป็นการฝึกกาย ฝึกวาจา ฝึกจิตใจ และฝึกปัญญา ชีวิตของเราก็ประณีตงอกงามขึ้นเรื่อยๆ เป็นการพัฒนาชีวิต หรือพัฒนาตนเอง

    ดังที่กล่าวแล้ว มี บุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่าง คือ
    ๑. ทาน - การให้ เผื่อแผ่ แบ่งปัน
    ๒. ศีล - การประพฤติสุจริต มีความสัมพันธ์ที่ดี เกื้อกูล ไม่เบียดเบียนกัน
    ๓. ภาวนา - ฝึกอบรมพัฒนาจิตใจ พัฒนาปัญญา
     
  13. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ภาวนา - จิตใจ ชาวพุทธบ้านเรา ยังถกเถียงกันไม่ลงตัวเลย ยังไม่รู้ว่าจะเอาอิท่าไหนดี อิอิ แล้วจะไปทำกัมมัฏฐาน ไปทำอานาปานสติ ไปทำสติปัฏฐาน คิดดูว่าจะไปทางไหน จะออกหัวออกก้อย นี่พูดจริงๆนะ:D ส่งจิตออกนอก นี่ก็ยังไม่ลงตัว
     
  14. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    ชอบนักก็แถมให้ (ลิงค์ข้างล่าง) คือ จขกท. ตอบคำถามเป็นข้อๆ 6 ข้อ ดังนี้

    1. ที่คุณบอกว่า ฝึกสมาธินั้น คุณฝึกอย่างไร ฝึกด้วยวิธีไหน อาจารย์สอนคุณอย่างไร แล้วคุณทำไปอย่างไร ครับ

    ฝึกแบบอาณาปานสติ ตามลมหายใจ สูดลมหายใจยาวรู้ว่ายาว สั้นรู้ว่าสั้น ปกติรู้ว่าปกติ จนลมหายใจละเอียด แล้วหยุดจับที่ปลายจมูกเหมือนเป็นด่านเฝ้าดูลมหายใจเข้า และออก เขาสอนอีกเยอะแต่จำได้แค่นี้ ก็ทำตามนี้แหล่ะค่ะ
    แต่พอเจออะไรมากกว่านี้เลยไปไม่เป็น ....ขอไม่บอกชื่อผู้สอนค่ะ


    2. เล่าอาการที่คุณพบ ให้ละเอียดขึ้นหน่อย

    ประมาณวันที่สี่เริ่มลูกตาหมุนติ้ว อดทนนั่งจนหายไป วันต่อมาเหมือนมีคนจับหน้าตาเราบิดเบี้ยว เป็นแม้แต่ตอนออกจากสมาธิแล้ว ก็อดทนนั่งจนหายไป มีเห็นแสงสี ต่อมาเริ่มหูแว่วเหมือนคุยกับคนอื่นทางจิตได้
    กลับบ้านก็ตาฝาด เห็นธงวัด ธงชาติปักสลับบอกว่าต่อไปเราจะไปสร้างวัดตรงนี้


    3. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยมีอาการทางจิตมาก่อนหรือเปล่า

    ไม่เคย

    4. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยมีความทุกข์ใจมาก กลัดกลุ้มมากๆ จนอยากหาทางออก มีปัญหาในชีวิตมากๆ อะไรอย่างนี้บ้างหรือเปล่าครับ ถึงได้หาหนทางออกด้วยการมาฝึกสมาธิเพื่อให้พ้นจากความกลัดกลุ้มมากๆเหล่า นั้น

    มีใครบ้างไม่เคยมีปัญหาชีวิต จำได้ว่ากลุ้มมากสุดเมื่อสิบกว่าปีมาแล้ว หายแล้ว อภัยไปหมดแล้ว
    ดิฉันไม่ได้หาทางออกให้ชีวิตโดยการไปนั่งสมาธิ แต่ชอบตั้งแต่สมัยเรียนปีหนึ่งที่มหาลัย
    เคยบวชธรรมทายาทที่วัดธรรมกายตอนเป็นนักศึกษา แต่เดินออกมาเพราะไม่เชื่อคำสอนหลายอย่าง
    แต่ก็ชอบนั่งสมาธิ แต่งานยุ่งก็ไม่ได้นั่งอีก จนมาเริ่มอีกทีไม่นานนัก ตอนไปคราวนั้นเป็นครั้งที่สาม ไม่ได้กลุ้มอะไรแล้วไป แค่เคยชอบ อยากทำอีก เพราะมันสงบ เย็น เบาสบาย


    5. ก่อนการฝึกสิ่งที่คุณเรียกว่าฝึกสมาธินี้ คุณเคยไปเข้าตามสำนักทรงเจ้าเข้าทรง อะไรพวกนี้มาก่อนหรือเปล่า

    ดิฉันไม่เชื่อเรื่องพวกนี้เอาเลย จริงๆค่ะ

    6. ใครแนะนำคุณไปฝึกสมาธิตามที่บอกข้างต้น เขาเป็นใคร มีพื้นเพ ความเชื่ออย่างไรครับ

    ไปเอง เพราะศรัทธา ดิฉันเชื่อยากแต่พร้อมที่จะทดสอบจนเห็นเอง

    ดิฉันไม่ได้ขาดสติ และรู้ตัวเกือบตลอดเวลา (แต่มีบางครั้งที่ทำอะไรไม่รู้ตัวเลยแค่ช่วงเสี้ยวนาที) เพียงแต่สิ่งที่เห็นกับตา ได้ยินกับหู ทำให้ดิฉันเชื่อว่าจริง เพราะไม่เคยรู้ ว่าอาการหลงจากสมาธิทำให้เกิดได้ (อย่างนี้ คุณเรียกว่าขาดสติไหม ดิฉันคิดว่ามันเป็นการขาดความรู้มากกว่า แบบนี้ เขาเรียกอวิชชาทำให้บ้าได้ใช่ไหม)

    http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/10/Y9785609/Y9785609.html
     
  15. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    คนไม่เคยทำ ไม่เคยภาวนา ไม่เคยมีประสบการณ์ตรง จ้างก็เข้าใจ ต่อให้คิดจนหัวปูดเป็นลูกมะนาวก็คิดไม่ถึงคิดไม่ออก ดังนั้น ไม่เคยทำ อย่าสอนเขาทำเลย บาปเปล่าๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 พฤษภาคม 2017
  16. มาจากดิน

    มาจากดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2008
    โพสต์:
    5,913
    กระทู้เรื่องเด่น:
    10
    ค่าพลัง:
    +2,493
    อ่านคำตอบข้อ 2 ของผู้ปฏิบัตินั่นแล้ว ดูอาการวิปัสสนูปกิเลส ข้อ 1 ซึ่งเป็นเบื้องต้นนะ แต่สภาวะจะเอียดขึ้นๆ ตามกำลังของจิตที่เจ้าตัวทำการภาวนา สภาวะก็เกิดสลับไปมา (วนไปมา) ตามที่จิตเกิดดับ ไม่ใช่เกิดทีละข้อๆ 1-10 ตามหนังสือนะ ไม่ใช่ หนังสือกี่ร้อยปี ก็ 1 โอภาส อยู่อย่างนั้น แต่นามธรรม (จิต) ไม่ใช่

    ดู



    ธรรมุทธัจจ์ - วิปัสสนูปกิเลส อุปกิเลสแห่งวิปัสสนา, สภาวะที่ทำให้วิปัสสนามัวหมองข้องขัด, สภาพน่าชื่นชม ซึ่งเกิดแก่ผู้เจริญวิปัสสนาในขั้นที่เป็นวิปัสสนาอย่างอ่อน (ตรุณวิปัสสนา) แต่กลายเป็นโทษเครื่องเศร้าหมองแห่งวิปัสสนา โดยทำให้เข้าใจผิดว่าตนบรรลุมรรคผลแล้ว จึงชะงักหยุดเสีย ไม่ดำเนินก้าวหน้าต่อไปในวิปัสสนาญาณ วิปัสสนูปกิเลส ๑๐ คือ

    ๑. โอภาส แสงสว่าง ซึ่งรู้สึกงามเจิดจ้าแผ่ซ่านไปสว่างไสวอย่างไม่เคยมีมาก่อน

    ๒. ปีติ ความเอิบอิ่มใจ รู้สึกเต็มเปี่ยมไปทั่วทั้งตัว

    ๓. ญาณ ญาณหยั่งรู้ที่เฉียบแหลมคมกล้า รู้สึกเหมือนว่าจะพิจารณาอะไรเป็นไม่มีติดขัด

    ๔. ปัสสัทธิ ความสงบเย็น เกิดความรู้สึกว่าทั้งกายและใจสงบสนิท เบา นุ่มนวล คล่องแคล่ว แจ่มใสเหลือเกิน ไม่มีความกระวนกระวาย ความกระด้าง หนัก ความไม่สบาย หรือความรำคาญขัดขืนใดๆเลย

    ๕. สุข มีความสุขที่ประณีตละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างยิ่งแผ่ไปทั่วทั้งตัว

    ๖. อธิโมกข์ เกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าประกอบเข้ากับวิปัสสนา ทำให้จิตใจมีความผ่องใสอย่างเหลือเกิน

    ๗. ปัคคาหะ ความเพียรที่ประกอบกับวิปัสสนา ซึ่งพอเหมาะพอดี เดินเรียบ ไม่หย่อนไม่ตึง

    ๘. อุปัฏฐาน สติที่กำกับชัด มั่นคง ไม่สั่นไหว จะนึกถึงอะไร ก็รู้สึกว่าระลึกได้คล่องแคล่วชัดเจน เหมือนดังแล่นไหลไปถึงหมด

    ๙. อุเบกขา ภาวะจิตที่ราบเรียบ เที่ยง เป็นกลางในสังขารทั้งปวง

    ๑๐. นิกันติ ความพอใจติดใจที่สร้างความอาลัยในวิปัสสนา มีอาการ สุขุม ซึ่งความจริงเป็นตัณหาที่ละเอียด แต่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถกำหนดจับได้ว่าเป็นกิเลส ธรรมทั้งหมดนี้ (เว้นแต่นิกันติ ซึ่งเป็นตัณหาอย่างสุขุม) โดยตัวมันเอง มิใช่เป็นสิ่งเสียหาย มิใช่เป็นอกุศล แต่เพราะเป็นประสบการณ์ประณีตล้ำเลิศที่ไม่เคยเกิดมีแก่ตนมาก่อน จึงเกิดโทษ เนื่องจากผู้ปฏิบัติไปหลงสำคัญผิดเสียเองว่าเป็นนั่นเป็นนี่ เป็นฌานขั้นนั้นขั้นนี้
     
  17. ปราบเทวดา

    ปราบเทวดา ลอยลำ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2017
    โพสต์:
    6,258
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +4,762
    จะฝึกอย่างนั้นก้ได้ครับ

    สังเกตุรู้ลมที่กระทบเข้า ลมเข้าก็รู้ ลมออกก็รู้

    ส่วนจะมีคำบริกรรมหรือไม่มี ไม่ใช่สาระ

    สาระอยู่ที่ เราทำแล้ว มีความถนัด มีความคล่องตัวไหม
    หากมีคำบริกรรม ทำให้คล่องตัวขึ้น ก็บริกรรมทับไป
    หากรู้สึกขัดๆ ก็รู้ลมกระทบไป

    แรกๆจังหวะ มันอาจจะ เกรงบ้าง เพ่งบ้าง
    จะต้องหาจังหวะของตัวเองให้เจอ

    การทำบ่อยๆฝึกบ่อยๆ เราจะเห็นจังหวะตัวเอง
    ในการที่จะสังเกตุว่า เรารู้ลม เพ่งมากมั้ย ปล่อยมากมั้ย

    ฉะนั้น ทำอะไรก้ได้ ที่ทำแล้ว ต่อเนื่อง นั่งนานไม่ใช่สาระ

    สาระคือ ความต่อเนื่อง ของกรรมฐาน

    ความสงสัย จะเป็นตัวบั่นทอนกรรมฐาน
    เท่ากับยิ่งให้อาหารนิวรณ์ นิวรณ์มันก็มีกำลังกล้าเป็นอุปสรรคของฌาน

    จิตก็จะลงความสงบแบบแน่นเป็นฌานได้ช้า
    ยิ่งพยายามจะหาคำตอบความสงสัยของสมาธิ
    ในระหว่างที่เรา อ่อนในความเพียร จิตจะยิ่งไม่มีโอกาส ได้ฌาน
    ฉะนั้น หากสงสัย นี่อะไร เอ๊ะอะนี่ เมื่อไหร่ ให้กำหนดรุ้สงสัยพอ
    อย่าไปพยายามหาคำตอบ
    ให้มั่นคงกับกรรมฐานต่อไป


    วิธีทำในกรรมฐาน มันไม่มีอะไรมาก

    แค่ประโยคที่ว่า รู้แค่ลมเข้า รู้แค่ลมออก
    เพียงเท่านี้ หากทำแค่นี้อย่างยิ่งยวดไม่เปลี่ยนแปลง ต่อเนื่อง
    กรรมฐานคุณจะพัฒนาอีกเยอะครับ


    ส่วนแสงสว่าง เป้นแต่เพียงทางผ่านของฌานของสมาธิครับ
    อย่าเพิ่งไปสนใจมาก ต้องเจออยู่แล้ว ของการฝึกฌานฝึกสมาธิ
    ไม่ใช่เรื่องผิดหรือจะต้องกลัวอะไร
     

แชร์หน้านี้

Loading...