ตนบุญยิ่งใหญ่แห่งล้านนา พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานปณิธานโพธิญาณ บรรจุพระเกศาครูบาเจ้าศรีวิช้ย อธิฐานจิตโดยพระเกจิอาจา

ในห้อง 'กระทู้เก่า' ตั้งกระทู้โดย โพธิมัณฑลัง, 19 กันยายน 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    ตนบุญยิ่งใหญ่แห่งล้านนา พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานปณิ

    พระครูบาเจ้าศรีวิชัยรุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย
    <O:p
    [​IMG]



    [​IMG]



    รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยแบบครูบาเจ้านั่งภาวนาตกลูกประคำ แตกต่างจากรูปหล่อรุ่นก่อนๆ ที่เคยจัดสร้างมานับว่าเป็นครั้งแรกแห่งการสถาปนารูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญชัย ประการสำคัญ บรรจุวัตถุมหามงคลล้ำค่าคือ พระเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัย ซึ่งหาได้ยากยิ่ง




    สืบทอดจากลูกศิษย์ใกล้ชิดครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้แก่ ครูบาเจ้าคำปัน ธัมเสน และ พ่ออุ้ยยวง ปัญญาวงศ์ และ อีกส่วนหนึ่งได้รับมอบจากครูบาเจ้าชัยยะวงศา เมื่อพระอาจารย์ประกอบบุญ ยังเป็นสามเณรอยู่ศึกษารับใช้ครูบาเจ้าชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม


    [​IMG]

    เส้นเกศา ตนบุญแห่งล้านนาพระครูบาเจ้าศรีวิชัย สิริวิชัยโย

    [​IMG]


    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ตนบุญยิ่งใหญ่แห่งล้านนา พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานปณิธานโพธิญาณ อย่างแท้จริง !

    มาแล้ว ตัวอย่าง สุดฮอต! รูปแบบตัวอย่างพระ ที่ไม่เคยเปิดเผยที่ไหนมาก่อนที่เวปพลังจิตที่แรกและที่เดียว พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ตนบุญยิ่งใหญ่แห่งล้านนา พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานปณิธานโพธิญาณ







    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ตนบุญยิ่งใหญ่แห่งล้านนา พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานปณิธานโพธิญาณ อย่างแท้จริง !



    เชิญร่วมงานทำบุญไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์๕) ประจำปี ๒๕๕๑<O:p
    ท่านสาธุเจ้าพระอาจารย์ ประกอบบุญ สิริญาโณ


    พิธีพุทธาภิเษกแผ่นโลหชนวมวลสารในการสร้าง
    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญชัย<O:p




    สมทบทุนสร้างวัดพระพุทธบาทหริภุญชัยห้วยทรายขาว<O:p




    วันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑<O:p

    ณ วัดมหาวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.

    <O:pคณะศิษย์สวาธุเจ้าพระประกอบบุญ สิริญาโณ ได้ร่วมแรงพลังศรัทธาในท่านพระอาจารย์ประกอบบุญ จัดงานทำบุญไหว้ครูบูรพาจารย์บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเป็นอาจาริยบูชาแด่พระครูบาอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>เจ้าทั้งหลายมี หลวงปู่ปานโสนันโท วัดบางนมโค, พระครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดบ้านปาง, พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี วัดผาหนาม, พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)



    พระครูบาเจ้าชัยยะวงศา วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม, พระครูบาเจ้าคำปัน ธัมมเสน ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกวันเสาร์ขึ้น๕ของทุกปี ตามปฏิปทาครูบาอาจารย์สั่งสอนสืบมา
    เนื่องด้วยคณะศิษย์ในปฏิปทาข้อวัตรปฏิบัติในองค์พระอาจารย์ประกอบบุญ ซึ่งเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระนักพัฒนายึดถือแบบแผนแนวทางตามที่ครูบาอาจารย์สั่งสอน ฝักใฝ่เพียรประกอบสร้างบุญกุศลวัตร บำเพ็ญบารมี เมตตาต่อคณะศิษย์พุทธบริษัทโดยทั่วไป มิได้เลือกชั้นวรรณะ ท่านริเริ่มช่วยเหลือสงเคราะห์ตามโอกาสที่ท่านสามารถจะทำได้อาทิเช่น ก่อสร้างถาวรวัตถุในพระพุทธศาสนา ทั้งวัดพระพุทธบาทหริภุญชัยห้วยทรายขาว และการก่อสร้างวัดต่างๆ อีกหลายแห่ง บริจาคสิ่งของแก่คนในถิ่นทุรกันดารและผู้ยากไร้ จัดมอบทุนส่งเสริมการศึกษาแก่เยาวชนนักเรียนนักศึกษาทุกปี เทศนาอบรมสั่งสอนธรรมแนะนำการปฏิบัติธรรม จนเป็นที่ประจักษ์แก่บรรดาคณะศิษย์พุทธบริษัท เกิดความศรัทธาปาสาทะเคารพนับถือในองค์ท่านพระอาจารย์ เป็นอย่างยิ่งจึงได้ร่วมกันจัดงานขึ้นประจำทุกปี จึงขอเชิญชวนท่านพุทธบริษัทร่วมงานไหว้ครูบูรพาจารย์ โดยท่านจะได้เข้าร่วมพิธีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา พิธีบวงสรวงบูชาเทพยาดา บูชาครูบาอาจารย์ พิธีครอบครู รับมอบยันต์เกราะเพชรอันศักดิ์สิทธิ์ เพื่อบังเกิดสิริมงคลเสริมดวงชะตาอำนาจวาสนาบารมี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2008
  2. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    [​IMG]





    กำหนดการ
    วัน เสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เสาร์ขึ้น ๕ เดือน ๑๐<O:p<O:p
    เวลา ๗.๓๙น. พิธีบวงสรวงบูชาครูบาอาจารย์ ครูบาเจ้าศรีวิชัย หลวงปู่ปาน หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (ฤาษีลิงดำ)<O:pเวลา ๑๐.๐๐น. พระมหาเถรานุเถระ หลวงปู่ครูบาเจ้าทั้งหลายนั่งอธิฐานจิต<O:pพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์สืบชะตาหลวง ปลุกเสกชนวนมวลสารนำฤกษ์ ในการสร้างรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย<O:pเวลา ๑๓.๐๐น. บูชาฤกษ์บวงสรวงเจริญกัมมัฏฐานสมาธิภาวนา รับมอบยันต์เกราะเพชร พิธีครอบครูครอบให้แก่คณะศิษย์เพื่อให้เกิดสิริมงคลความสำเร็จเจริญก้าวหน้าในการศึกษา การประกอบอาชีพให้สำเร็จสัมฤทธิ์ผล
    ครั้งแรกในประวัติศาสตร์แห่งการสร้างพระครูบาเจ้าศรีวิชัยจัดสร้าง สถาปนารูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย (หล่อโบราณเบ้าทุบ) บรรจุเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย อุดผงว่านมวลสาร ฝังตระกรุดเงินและ พระเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย สะหรี๋พันต้นย้อนยุคโดยนำพระเกสาครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบรรจุพร้อมมวลสารจากวัดที่พระครูบาเจ้ ศรีวิชัยได้สร้างบารมีธรรมบูรณะทุกอารามจำนวน ๑๐๙วัด <O:p<O:pคณะศิษย์พระอาจารย์ประกอบบุญได้จัดสร้าง รูปหล่อลอยองค์พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นมหาบารมีโพธิสัตว์ (หล่อโบราณเบ้าทุบ) อุดว่านมวลสารบรรจุเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย ฝังตระกรุดเงินและพระเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยพระสหรี๋พันต้นพันวัด ตามตำราสร้างประคำสะหรี๋พันต้นของครูบาเจ้าฯ <O:p
     
  3. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    ชนวนมวลสาระสำคัญในการจัดสร้าง
    พระครูบาเจ้าศรีวิชัยรุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญชัย<O:p









    [​IMG]









    <O:p
    โดยอารา<O:pธนาเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยที่รับมอบจากครูบาเจ้าคำปัน ธัมเสน และพ่ออุ้ยยวง ปัญญาวงศ์ ซึ่งเป็นศิษย์ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้อีกทั้งติดตามอุปัฐากรับใช้ใกล้ชิด จนกระทั่งครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพได้บูชาเก็บรักษาเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเป็นอย่างดีได้มอบเกศาให้พระอาจารย์ประกอบบุญ
    <O:p
    ชนวนหล่อสมเด็จองค์ปฐม วัดท่าซุง อธิฐานจิตโดยพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหนยานมหาเถระ(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) <O:pชนวนหล่อพระเจ้าเก้าตื้อ แผ่นจารโลหะ มวลสารเกสร ของหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม <O:pชนวนหล่อสมเด็จองค์ปฐมของ วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่วัดพระธาตุห้าดวง วัดพระพุทธบาทหริภุญชัย(ห้วยทรายขาว) วัดพระธาตุดอยพญากวางคำ ชนวนหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย เท่าองค์จริง
    <O:p
    ผงใบโพธิ์จำนวนพันต้นพันวัด ผงมวลสารจากที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ไปบูรณะก่อสร้าง๑๐๙วัด แผ่นยันต์๑๐๘ นะปถมัง สูตรตำราวัดสุทัศน์ ว่าน๑๐๘ เกสรดอกไม้พันดวง ดอกไม้ขันแก้วทั้งสามดอกไม้บูชาคาถาพัน<O:p


    แผ่นจารอักขระ ผงมวลสาร อธิฐานจิตโดยครูบาอาจารย์ สาย ครูบาเจ้าศรีวิชัย และจากพระเกจินับร้อยองค์ อาทิ

    <O:pครูบาเจ้าดวงดี วัดท่าจำปี, หลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ววัดศรีสว่าง หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน, หลวงปู่ทิม วัดพระขาว หลวงปู่ม่วง วัดยางงาม จ.ราชบุรี หลวงปู่สวัสดิ์ วัดศาลาปูน หลวงปู่ดี วัดเทพากร หลวงพ่อเอียด หลวงพ่อประสิทธิ วัดป่าหมูใหม่ หลวงพ่อเปลี่ยน วัดอรัญวิเวก หลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง, หลวงปู่ครูบาคำตั๋น วัดม่อนปู่อิ่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง หลวงปู่ครูบาบุญมา วัดศิริชัยนิมิต หลวงปู่ครูบาก๋องคำ วัดดอนเปา หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ครูบาคำ วัดศรีดอนตัน หลวงปู่ครูบาสิทธิ วัดปางต้นเดื่อ หลวงปู่ครูบาแก้วมา วัดร่องดู่ หลวงปู่สุภา ภูเก็ต หลวงปู่ครูบาเผือก วัดไชยสถาน หลวงปู่ครูบาอ่อน วัดสันต้นหวีด หลวงปู่ครูบาผดุง วัดป่าแพ่ง หลวงปู่บุญหนา วัดป่าโสตถิผล หลวงพ่ออุ้น วัดตาลกง หลวงพ่อตัดวัดชายนา หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อสาคร วัดหนองกรับหลวงพ่อรวย วัดตะโก หลวงพ่อเพิ่ม วัดป้อมแก้ว หลวงพ่อพูล วัดไผ่ล้อม หลวงพ่อพูน วัดบ้านแพน หลวงพ่อทวีศักดิ์(เสือดำ) หลวงตา วรงคต วัดพุทธพรหมปัญโญ หลวงปู่สังข์ วัดป่าอาจารย์ตื้อ หลวงพ่อบัวเกตุ วัดป่าแม่ปาง หลวงปู่ครูบาคำ วัดธรรมชัย ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง ครูบาคำปัน วัดนาแส่ง,ครูบาจันทร์แก้ว วัดวังไฮ ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย ครูบาสิงห์ วัดดอนแก้ว ครูบาคำ วัดไชยสถาน ครูบาศรีวัย วัดหนองเงือก ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล ครูบาจันทะรังษี วัดกู่เต้า ครูบาวชิระปัญญา วัดหัวข่วง ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน ครูบามนตรี วัดพระธาตุสุโทน หลวงแดง วัดไร่ จ.ปัตตานี พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ไพวัลย์ วัดหาดทรายแดง พระครูบานิกร วัดพระธาตุแกร่งสร้อย พระอารย์เกรียงศักดิ์ วัดบ้านปาง<!-- / message -->
     
  4. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    พิธีพุทธาภิเษกแผ่นโลหะชนวนมวลสารในการสร้าง
    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญชัย


    [​IMG]






    ครั้งที่๑ในงานถวายพระพุทธรูปประทานโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ฯ ทำบุญอายุพระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ประกอบบุญ สิริญาโณ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑<O:p

    รั้งที่๒ งานทำบุญไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์๕) ประจำปี วันเสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เสาร์ขึ้น ๕ ค่ำ
    [​IMG]

    ครูบาเจ้าคำปัน ธัมเสน ซึ่งเป็นศิษย์ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้อีกทั้งติดตามอุปัฐากรับใช้ใกล้ชิด จนกระทั่งครูบาเจ้าศรีวิชัยมรณภาพได้บูชาเก็บรักษาเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเป็นอย่างดีได้มอบเกษาให้พระอาจารย์ประกอบบุญ

    ครูบาเจ้าคำปัน ธัมเสน มรณะภาพ เมื่อปี2545 อายุพรรษา 92ปี พระอาจารย์ประกอบบุญ ได้ฝากตนเป็นศิษย์แต่เมื่อเป็นสามเณร



    <O:p<O:p

    [​IMG]

    ครูบาเจ้าดวงดี วัดท่าจำปี จารแผ่นทองมอบมวลสาร


    [​IMG]

    <O:p
    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาอินตา อินทปญฺโญ วัดวังทอง ต.เหมืองง่า อ.เมือง จ.ลำพูน อายุ 101 ปี

    ทั้ง2องค์เมตารับนิมนต์มางานพระอาจารย์ทุกครั้ง อธิฐานจิตเป็นกรณีพิเศษ




    [​IMG]
    หลวงปู่ครูบาคำ สังวโร วัดศรีดอนตัน

    หลวงปู่ครูบาคำ สังวโร วัดศรีดอนตัน จะมางานท่านอจารย์ทุกปี ก่อนท่านจะมรณภาพ ได้เมตตาอธิฐานจิตผงสหรี๋พันต้น มอบให้พระอาจารย์


    [​IMG]
    หลวงพ่อพูน วัดบ้านเเพน อยุธยา
    ท่านเป็นผู้สร้างตะกรุดดอกไม้ทองอันลือลั่นด้านเมตตาเเคล้วคลาดของอยุธยาเเละท่านเองสืบทอดตำราวัดประดู่ในทรงธรรม
    [​IMG]
    หลวงพ่อเฉลิม วัดพระญาติการาม อยุธยา
    ท่านสืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่ออั้น สายหลวงพ่อกลั่นวัดพระญาติ


    [​IMG]
    หลวงพ่ออุดม วัดพิชัยสงคราม อยุธยา

     
  5. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    <TABLE class=tborder id=post1497258 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt1 id=td_post_1497258 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน ผู้มอบเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย

    ครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน เกิดวันพุธ ที่ ๔ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๕ ปีชวด (ปีไจ้) ณ บ้านวังหลวง หมู่ ๑ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูนนามเดิม เด็กชายคำปัน วังเขียว บิดาชื่อ พ่อดวงแก้ว มาดาชื่อ แม่จันทร์เป็ง วังเขียว มีพี่น้องทั้งหมด ๗ คน
    <O:p๑.นายคำปัน วังเขียว (ครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน)
    <O:p๒.นายบุญมา ทังวัน
    <O:p๓.นายสม วังเขียว<O:p
    ๔.นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ป๋อ วังเขียว<O:p
    ๕.นาง<st1:personName ProductID="ยวง ปัญญาวงศ์" w:st="on">ยวง ปัญญาวงศ์</st1:personName><O:p
    ๖.นาง<st1:personName ProductID="ติ๊บ พรหมมูล" w:st="on">ติ๊บ พรหมมูล</st1:personName><O:p
    ๗.นางจันทร์ ปีคำ<O:p
    เด็ก เป็นเด็กเลี้ยงง่าย ร่างกายสมบูรณ์ อุปนิสัยเป็นคนขยันหมั่นเพียร ช่วยเหลืองานบ้าน การเรือน เลี้ยงวัวเลี้ยงควาย มีจิตใจโอบอ้อมอารี ซื่อตรง มั่นคง เด็ดเดี่ยว มีความกตัญญูต่อบิดา มารดา มีสัมมาคารวะต่อผู้เฒ่าผู้แก่ ชอบไปวัดทำบุญทำทาน กับพ่อแม่แต่เยาว์วัย ขณะนั้น ชื่อเสียงกิตติคุณของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้เลื่องลือว่าเป็นผู้ทรงศีลธรรม ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เป็นต๋นบุญ อาศัย จำพรรษาอยู่วัดบ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน มีศรัทธาสาธุชนหลั่งไหลไปกราบนมัสการทั้งชาวเขาเหลายเผ่า ชาวบ้านชาวเมืองทุกสารทิศต่างมุ่งหน้าไปชื่นชม บุญบารมีพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ในจำนวนนั้น เด็กชายคำปันได้ติดตามพ่อแม่ไปวัดบ้านปางหลายครั้ง จึงเกิดความประทับใจอย่างยิ่ง<O:p
    บิดามารดานำไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ณ วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน เพื่อศึกษาอักษรไทยลานนา ภาษาไทยกลาง ศึกษาพระธรรม เรียนคำขอบวช<O:p

    บรรพชา<O:p
    อายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยมีพระครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์ และได้ติดตามอุปัฏฐากพระ ครูบาเจ้าศรีวิชัยในการจาริกแสวงบุญไปทุกที่ทุกแห่ง จนถึงคราวที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รับนิมนต์จากพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ให้โปรดเมตตาไปเป็นประธาน บูรณะ พระธาตุเจดีย์ สร้างพระวิหารหลวงวัดสวนดอก วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นช่วงที่สามเณรคำปัน อายุครบ ๒๑ ปี จึงได้เข้าสู่พิธีการอุปสมบท โดยมี พระครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นพระอุปัชฌาย์ พระเหลา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระจุ่มเป็นพระอนุสาวนาจารย์ ณ พัทธสีมาวัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ได้รับฉายานามว่า พระคำปัน ธมฺมเสน เมื่ออุปสมบทแล้วก็ได้ศึกษาจริยาวัตรพระธรรมวินัยเจริญรอยตามบารมีธรรมของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย ทั้งในด้านการประพฤติ ปฎิบัติและสรรสร้างพัฒนาศาสนสถาน ปูชนียสถาน ที่สำคัญๆทั่วถิ่นลานนา เมื่อครั้งพระครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เป็นประธานสร้างพระวิหารวัดวังหลวง อ.บ้านโฮ่ง ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของครูบาเจ้าคำปัน พระครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้เป็นพระอาจารย์ มอบให้ครูบาเจ้าคำปันดูแลรักษาวัดวังหลวง พ.ศ. ๒๔๗๗ ครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นประธานสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ ครูบาเจ้าคำปันได้มีส่วนสำคัญ นำพาคณะศรัทธาประชาชนในอำเภอบ้านโฮ่งและใกล้เคียง ร่วมสร้างทางจนสำเร็จ พ.ศ. ๒๔๘๑ เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ดับขันธ์ ณ วัดบ้านปาง ท่านครูบาคำปันได้ช่วยงานบำเพ็ญกุศลศพและได้ติดตามพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ขณะเป็นประธานบูรณะมณฑปรอยพระพุทธบาทตะเมาะ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
    ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ เกิดเหตุการณ์ตั้งข้อหาเป็นพระอุปัชฌาย์เถื่อน ท่านไปขออนุญาตบรรพชาสามเณร ๒ องค์ แต่พระครู อ.ดอยเต่า ไม่ยอมอนุญาตให้ ท่านครูบาเห็นว่าเตรียมการบวชไว้เรียบร้อยและถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ทุกประการ ท่านครูบาคำปันจึงได้บรรพชาให้สามเณรตามประเพณี พระครูเจ้าคณะอำเภอดอยเต่า บังคับสั่งให้ท่านสึกเป็นคฤหัสถ์ ท่านไม่อาจฝืนคำสั่งได้ ท่านครูบาจึงเปลี่ยนผ้าเหลืองเปลี่ยนมานุ่งผ้าขาว แต่ท่านไม่ได้กล่าวลาสิกขา คงประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมวินัยของพระภิกษุ บำเพ็ญสมณะธรรมมั่นคงอยู่ในพรหมจรรย์ ไม่หวั่นไหวในโลกธรรม คณะสงฆ์ศรัทธาสาธุชนทั้งหลายใคร่จะให้ท่านได้อุปสมบทนุ่งห่มไตรจีวรเหมือนพระสงฆ์ทั่วไป แต่ท่านครูบาคำปันปฏิเสธ เพราะเหตุการณ์ในอดีต ท่านถูกบังคับให้นุ่งขาวห่มขาว ท่านไม่มีความผิดทางพระวินัย การได้รับอุปสมบทเป็นพระภิกษุโดยพระครูบาศรีวิชัย เป็นพระอุปัชฌาย์ ยังบริสุทธิ์สมบูรณ์ พระครูบาเจ้าคำปัน ธมฺมเสน ท่านเป็นพระที่มีจิตใจเด็ดเดี่ยวเข้มแข็ง ประกอบด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง ปฎิบัติตามธรรมวินัย และคำ สั่งสอนของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัด เป็นผู้ศึกษาเล่าเรียนมามาก<O:pพ.ศ. ๒๕๐๒ ท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดพระธาตุห้าดวง พร้อมกับครูบาเจ้าชัยยะวงศา <O:pพ.ศ. ๒๕๐๔ ครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน ได้มาพำนักอยู่ที่อาราม พระพุทธบาทผาหนาม ต.ป่าไผ่ อ.ลี้ จ.ลำพูน ท่านได้นำศรัทธา ชาวบ้าน ชาว กระเหรี่ยงมาปรับปรุงแผ้วถาง สถานที่ เชิงเขา ดอยผาหนาม สร้างกุฎิ สาธารณูปโภคเพื่อเตรียมไว้ สำหรับเป็นที่พำนักพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี และกราบอาราธนานิมนต์พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี มารับถวายกุฎิ และเครื่องไทยทาน พร้อมพำนักเป็นประธานอยู่จำพรรษาในอารามพระพุทธบาทผาหนามแห่งนี้ ครูบาเจ้าคำปันได้รับมอบหมายจากครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ให้ท่านดูแลฝ่ายสร้างสรรค์พัฒนาเสนาสนะทั้งในวัดและสถานที่ต่างๆ อาทิ โฮงหลวง(กุฎิใหญ่) เสา ๔๐๐ ต้น วัดพระพุทธบาทผาหนาม ครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน ท่านเป็นฝ่ายดำเนินการสร้างตามแบบที่ครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีสั่งจนสำเร็จ นอกจากนี้ก็ได้ติดตาม พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีไปบูรณะปฏิสังขรณ์ สร้างศาสนสถาน ปูชนียสถานหลายแห่ง นอกจากนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญนำศรัทธาสาธุชนไปพัฒนาสร้างสรรค์งานสาธารณะประโยชน์สร้างถนนหนทาง สะพานข้ามแม่น้ำสถานีอนามัย และโรงเรียนให้เยาวชนได้ศึกษาเล่าเรียน ตลอดถึงได้สร้างที่ว่าการอำเภอลี้ จนกระทั่งพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี ได้อาพาธด้วยโรคชรา เพราะตรากตรำทำงานหนักในการจาริกแสวงบุญ ได้ถึงแก่มรณภาพลง <O:pเมื่อได้อาราธนาพระศพครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีกลับมาที่อาราม พระพุทธ-บาทผาหนาม ท่านครูบาเจ้าคำปัน และครูบาเจ้าชัยยะวงค์ศาได้ร่วมกันเป็นประธานบำเพ็ญกุศล สร้างเมรุประดิษฐานสรีระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีไว้ที่วัดพระพุทธบาทผาหนามจนถึงทุกวันนี้ ส่วนพระครูบาเจ้าขาวคำปัน ธมฺมเสน ก็ได้อยู่พำนักวัดพระพุทธบาทผาหนาม กับวัดพระธาตุหัวขัว ต.ทุ่งหัวช้าง อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นวัดที่ครูบาเจ้าศรีวิชัย พระอาจารย์องค์แรก เป็นผู้สร้างพระธาตุเจดีย์ เพื่อโปรดเมตตาศรัทธาสาธุชนชาวกะเหรี่ยง ท่านจะไปมาระหว่างสองวัดนี้เป็นประจำ จนถึงวัยชรา ตลอดเวลาท่านไม่ได้หยุดนิ่ง จะจาริกเจริญรอยตามพระบูรพาจารย์ นำศรัทธาสาธุชนไปบำเพ็ญกุศลสร้างบารมี บูรณะ สร้างสรรค์พัฒนา ทั้งงานสาธารณะ และพระศาสนา เป็นที่พึ่งแก่บรรดาศรัทธาประชาชนและชาวกะเหรี่ยง
    [​IMG]

    ครูบาจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง เมตตาจารชนวน มอบมวลสารให้แด่พระอาจารย์ประกอบุญ


    [​IMG]

    หลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง พรรษา 101 ปี
    หลวงปู่ครูบาผัด วัดหัวฝาย พรรษา 89 ปี พระอริยะเจ้าศิษย์ครูบาเจ้าพรหมา

    เมตตาจารชนวน มอบมวลสาร นั่งอธิฐานจิตมวลสารวาระแรก ในงานวันเกิดพระอาจารย์ประกอบบุญ

    พระมหาเถราจาร

    พระมหาเถราจารย์ เมตตาจารชนวน มอบมวลสาร นั่งอธิฐานจิตมวลสารวาระแรก
    ในงานถวายพระพุทธรูปประทานโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ฯ ทำบุญอายุพระอาจารย์<st1:personName alt=" border=" 0?></st1:personName>ประกอบบุญ สิริญาโณ วันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑<O:p

    [​IMG]

    ครูบาดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน 94พรรษา

    [​IMG]

    หลวงพ่อภัททันตะ ธัมมานันทะ อัครมหาบัณฑิต
    มหาบัณฑิต วัดท่ามะโอ จ.ลำปาง เมตตากับพระอาจารย์เป็นอย่างมาก 88พรรษา


    [​IMG]

    ครูบาเจ้าอินสม พระอริยะเจ้า วัดจอมทอง อ.แม่เสรียง จ.แม่ฮ่องสอน

    ครูบาศรีวัย มหาเถระชาวยองผู้เรืองวิทยาคม วัดหนองเงือก อ.ป่าซางจ.ลำพูน

    [​IMG]

    ครูบาเจ้าข่าย พระผู้บริสุทธิ์พ้นโลกธรรม แต่ซ่อนเร้นกาย 90พรรษา

    [​IMG]

    ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน ประพรมน้ำพุทธมนต์ในพิธี

    พิธีแต่ละวาระจะเข้มขลังยิ่งใหญ่ ท่านพระอาจารย์จะควบคุมทุกขั้นตอนอย่างละเอียด ตามตำราโบราณแห่งล้านนากว่าจะสำเร็จสร้าง ครูบาเจ้าศรีวิชัย ต้องจัดพิธีอีก2วาร
     
  6. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    รายนามพระเกจิอาจารย์ที่รับอาราธนา
    งานไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์๕) ประจำปี ๒๕๕๑อธิษฐานจิตปลุกเสกชนวนมวลสาร วัตถุมงคล พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์<O:p

    ณ พระวิหารพระรอดหลวง วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน<O:p

    วัน เสาร์ที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๑ เสาร์ขึ้น ๕ เดือน ๑๐<O:p
    1. หลวงปู่ครูบาเจ้าจันทร์แก้ว วัดศรีสว่าง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 95 พรรษา
    <O:p2. หลวงปู่ครูบาเจ้าดวงดี ยติโก วัดบ้านฟ่อน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 95 พรรษา
    <O:pหลวงปู่ครูบาอินตา วัดวังทอง 101พรรษา
    3. ครูบาข่าย วัดหมูเปิ้ง อ.เมือง จ.ลำพูน 89พรรษา
    <O:p4ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน 86พรรษา
    <O:p5. ครูบาพรรณ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อ.ลี้ จ.ลำพูน 81พรรษา
    <O:p6. ครูบาคำปัน วัดนาแส่ง อ.เกาะคา จ.ลำปาง 85 พรรษา
    <O:p7. ครูบาคำ วัดชัยสถาน อ.สารภี จ.เชียงใหม่ 81 พรรษา
    <O:p8. ครูอินสม วัดจอมทอง อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน 70 พรรษา
    <O:p9. ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ 62 พรรษา
    <O:p10 .ครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่<O:p1 60 พรรษา
    11ครูบาจันต๊ะรังษี วัดกู่เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 62 พรรษา
    <O:p12ครูบาวชิระปัญญา วัดหัวข่วงอ.เมืองจ.เชียงใหม่ 54 พรรษา<O:p
    13หลวงพ่อมหาสิงห์ วัดถ้ำป่าไผ่ 72 พรรษา
    14หลวงพ่อสนิท วัดห้วยบง 60 พรรษา
    ครูบาบุญมา วัดบ้านสา จ.ลำปาง 85 พรรษา<O:p
    <!-- / message --><!-- edit note -->
    <O:p
    <!-- / message --><!-- edit note --><O:p<O:p
    <!-- / message --><!-- edit note --><O:p<O:p<O:p<O:p


    มวลสาร วัดที่ครูบาเจ้าฯสร้าง


    1 วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    2.วัดบ้านกาน อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    3.วัดดอยก้อม อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    4.วิหารพระเจ้าทันใจ วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
    5.วัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูน
    6.พระธาตุม่าน อ.เมือง จ.ลำพูน
    7.พระวิหารวัดพระธาตุดอยแช่ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
    8.วัดวังหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    9.พระวิหาร วัดป่าปู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    10.วัดดอนแก้ว อ.ลี้ จ.ลำพูน
    11.พระธาตุจอมสวรรค์ อ.ลี้ จ.ลำพูน
    12.วัดพระธาตุ 5 ดวง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    13.วัดแม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน
    14.พระธาตุดอกคำ อ.แม่ทา จ.ลำพูน
    15.วัดพระธาตุดวงเดียว อ.ลี้ จ.ลำพูน
    16.วัดหนองป่าตึง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    17.วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    18.วัดทุ่งหัวช้าง อ.ลี้ จ.ลำพูน
    19.วัดแม่ป๊อก อ.ลี้ จ.ลำพูน
    20.พระบาท 3 ยอด อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
    21.วัดรมณียาราม(กู่ละมัก) อ.เมือง จ.ลำพูน
    22.วัดแม่เทย อ.ลี้ จ.ลำพูน
    23.วัดพระนอนม่อนช้าง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
    24.พระวิหาร พระอัฏฐารส วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
    25.วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    26.วัดสวนดอก อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    27.วัดศรีโสดา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    28.วัดสกิทาคา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    29.วัดอนาคามี อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    30.สร้างทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    31.วัดกู่เต้า อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    32.วัดหมื่นสาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    33.วัดป่าแดง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    34.วัดเชียงมั่น อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    35.วัดป่าจี้ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    36.วัดพระบาทแก้วข้าว อ.ฮอด จ.เชียงใหม่
    37.วัดพระบาทตะเมาะ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
    38.วัดพระนอนแม่ปูคา อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    39.วัดพระธาตุดอยผาตั้ง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่
    40.วัดดอยกู่ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
    41.วัดพระธาตุกลางใจเมือง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    42.วัดถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
    43.วัดพระธาตุดอยเกิ้ง อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่
    44.วัดพระพุทธบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
    45.วัดพระบาทย้างวิด อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    46.วัดพันหลัง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
    47.วัดข้าวแท่นน้อย อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
    48.วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
    49.วัดพระธาตุเวียงโด้ง อ.หางดง จ.เชียงใหม่
    50.วัดป่าขามหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
    51.วัดพระธาตุสบฝาง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
    52.วัดบ้านจันทร์ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
    53.วัดท่าตอน อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
    54.วัดม่วงเนิ้ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
    55.วัดดอนเจียง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    56.วัดสบเปิง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
    57.วัดดับภัย อ.เมือง จ.เชียงใหม่
    58.วัดศรีโคมคำ(พระเจ้าตนหลวง) อ.เมือง จ.พะเยา
    59.วัดพระธาตุจอมทอง อ.เมือง จ.พะเยา
    60.วัดพระธาตุดอยน้อย อ.เมือง จ.พะเยา
    61.พระธาตุปูขวาง อ.เมือง จ.พะเยา
    62.วัดบ้านแพดศรีบุญเรือง อ.เชียงคำ จ.พะเยา
    63.วัดเชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา
    64.วัดพระธาตุจอมไคร้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
    65.วัดลี อ.เมือง จ.พะเยา
    66.วัดพระธาตุขิงแกง อ.จุน จ.พะเยา
    67.วัดพระธาตุแช่โหว้ อ.ดอกคำใต้ จ.พะเยา
    68.วัดพระธาตุภูปอ อ.เมือง จ.พะเยา
    69.พระธาตุภูขวาง อ.เมือง จ.พะเยา
    70.วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย
    71.วัดพระธาตุปูล้าน อ.เทิง จ.เชียงราย
    72.วัดพระธาตุป่าแดง อ.เทิง จ.เชียงราย
    73.วัดป่าสัก อ.พาน จ.เชียงราย
    74.วัดพระธาตุจอมแว่ อ.พาน จ.เชียงราย
    75.วัดพระธาตุป่าแดด อ.เทิง จ.เชียงราย
    76.วัดพระธาตุปูแกง อ.พาน จ.เชียงราย
    77.วัดแม่เจดีย์ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
    78.วัดเจริญเมือง อ.พาน จ.เชียงราย
    79.วัดพระแก้วดอนเต้า อ.เมือง จ.ลำปาง
    80.วัดนาเอี้ยง อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
    81.วัดม่อนอักโขชัยคีรี อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    82.วัดพระเกิด อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
    83.วัดสบแพดทุ่งต้น อ.วังเหนือ จ.ลำปาง
    84.วัดผาแดงหลวง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    85.วัดพระบาท อ.เมือง จ.ลำปาง
    86.วัดพระธาตุดงนั่ง อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    87.วัดพระธาตุดอยงัว อ.เถิน จ.ลำปาง
    88.วัดพระธาตุกู่ไก่แก้ว อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
    89.วัดพระธาตุม่อนไก่แจ้ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
    90.วัดป่าแดง อ.เมือง จ.ลำปาง
    91.วัดพระธาตุสบเติมใน อ.เถิน จ.ลำปาง
    92.วัดป่าตาล อ.เถิน จ.ลำปาง
    93.วัดแจ้ซ้อน อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    94.วัดดอยนางแตน อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    95.พระธาตุแม่กึด อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
    96.วัดศรีลังกา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง
    97.วัดม่อนไก่เขี่ย อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง
    98.วัดพระธาตุดอยเต่าคำ อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง
    99.วัดพระธาตุจอมปิง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
    100.วัดดอยเกิ้ง อ.เมืองปาน จ.ลำปาง
    101.พระธาตุดอยซาง อ.เมือง จ.ลำปาง
    102.วัดสบลี้ อ.เมืองปาย จ.ลำปาง
    103.วัดน้ำรู อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
    104.วัดแม่ปิง อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
    105.วัดพระธาตุแก่งสร้อย จ.ตาก
    106 วัดกลางดง อ.ทุ่งสะเหลี่ยม จ.สุโขทัย(ศิษย์ไปสร้างให้ในนามครูบาเจ้าฯ)
    <!-- / message --><!-- edit note --><!-- / message --><!-- edit note --><!-- / message --><!-- / message --><!-- edit note -->
    <O:p
    พิธีพุทธาภิเษกเถราภิเษกสมโภชน์
    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นมหาบารมีโพธิสัตว์<O:p
    เดือน ธันวาคม ๒๕๕๑ ๓ วัน ๓ คืน
    ณ วัดมหาวัน อ.เมือง จ. ลำพูน

    <O:p
    เชิญนามวัดที่ครูบาเจ้าฯสร้างบูรณะ มาเป็นพระนาม ครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่นมหาบารมีโพธิสัตว์ ๑องค์ ๑พระนาม

    องค์ทองคำ ๙ องค์ อาทิ องค์บ้านปาง,องค์ดอยสุเทพ,องค์พระธาตุหริภุญชัย,องค์พระสิงห์

    ๑รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย เนื้อเงิน ฐานกว้าง 2.ซม.สูง 3ซม. บรรจุเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัย อุดผงว่านมวลสารฝังตะกรุดเงิน เท่าจำนวนวัดที่ครูบาสร้าง บรรจุดวงชาตายันต์โภคทรัพย์มหาลาภ จารึกพระนาม
    สร้าง ๑๙๙ องค์ บูชา ๔,๙๙๙ บาท

    ๒รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อนะวะ เต็มสูตรบรรจุเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยอุดผงว่านมวลสารฝังตะกรุดเงิน
    สร้าง <O:p๒๙๙ องค์ บูชา ๒,๙๙๙ บาท
    <O:p

    ๓ รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อทองทิพย์ บรรจุเกษา
    ครูบาเจ้าศรีวิชัย <O:pอุดผงว่านมวลสารฝังตะกรุดเงิน
    สร้าง ๒๙๙ องค์ บูชา ๒,๔๙๙บาท

    ๔รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยอุดผง ว่านมวลสารเนื้อเงิน(ไม่บรรจุเกษา)
    สร้าง ๙๙๙ องค์ บูชา ๑๙๙๙ บาท
    <O:p


    ๕รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อนวะโลหะ เต็มสูตรอุดผงว่านมวลสาร(ไม่บรรจุเกษา)สร้าง ๙๙๙ องค์ บูชา ๑,๔๙๙ บาท
    <O:p

    ๖รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อทองทิพย์ (ไม่บรรจุเกษา)
    สร้าง ๓๐๐๐ องค์ บูชา ๔๙๙ บาท

    ๗พระผงเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยสหรี๋พันต้น (ย้อนยุคปิดทอง) บรรจุเกศา ผงอังคาร ครูบาเจ้าศรีวิชัย ฝังตะกรุด เงิน
    สร้าง ๒๙๙ องค์ บูชา ๑,๙๙๙ บาท

    ๘พระครูบาเจ้าศรีวิชัยสหรี๋พันต้นพันโรยผงอังคาร <O:pฝัง ตะกรุดเงิน (ไม่บรรจุเกษา) สร้าง ๑,๙๙๙ องค์ บูชา ๒๙๙ บาท
    <O:p<O:p

    ๙พระครูบาเจ้าศรีวิชัยสหรี๋พันต้น(ไม่บรรจุเกษา)
    เนื้อว่าน สร้าง ๑๐,๐๐๐ องค์ บูชา ๑๒๙ บาท

    ๑๐ผ้ายันต์รูปรอยมือรอยเท้าพระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์
    สร้าง ๓,๐๐๐ ผืน บูชา ๑๙๙ บาท

    ๑๑เข็มกลัดพระครูบาเจ้าศรีวิชัย อุดผงว่านมวลสาร
    สร้าง ๓,๐๐๐ บูชา ๙๙ บาท

    วัตถุประสงค์
    เพื่อร่วมทอดกฐินสามัคคี วันที่ ๒ พฤษจิกายน ๒๕๕๑
    1. เพื่อสร้างสมเด็จองค์ปฐมปางมหาจักรพรรดิ์ ศาลาปฏิบัติธรรม<O:pวัดพระพุทธบาทหริภุญชัยห้วยทรายขาว
    2. สมทบทุนสร้างพระพุทธรูป วัดไม้สลี๋
    <O:p3. สมทบทุนสร้างศาลา วัดทุ่งปูน
    <O:p4. สมทบทุนสร้างวิหาร วัดจำขี้มด
    <O:p5. สมทบทุนมอบทุนการศึกษานักเรียนนักศึกษา
    6. สมทบทุนกิจการชมรมนักศึกษาจังหวัด ลำพูน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    <O:p<O:p

    สั่งจองตั้งแต่วันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
    <O:p<O:p

    สถานที่สั่งจอง
    <O:pต่างจังหวัดสั่งจองได้ที่
    กุฏิแขกแก้ว วัดมหาวัน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน<O:p
    0840458365 0844605662 0813879172 0862308845 โอนเข้าบัญชี ชื่อบัญชี พระประกอบบุญ สิริญาโณ ธนาคารนครหลวงไทยสาขาลำพูน ออมทรัพย์ เลขบัญชี 307-217424-0

    เชียงใหม่ สั่งจองที่
    วัดทุ่งปูน ต.สบเตี๊ยะ อ.จอมทอง<O:p
    คุณมงคล คุณอนุชา จายหลวง 0867322872
    คุณทิพยวัลย์ อ.สันป่าตอง
    ลำพูนสั่งจองได้ที่<O:p
    คุณพานิจ สายหยุด 053511157 0896378242
    นาย<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>จักรี ราชจินดา 0844605662
    <O:pคุณทยิดา ไชยสถาน 0813879172<O:p

    ร่วมทำบุญสั่งจองทางไปรณีย์ ธนาณัติสั่งจ่ายในนาม
    คุณจักรี ราชจินดา 2 หมู่ 3 วัดมหาวัน ต.ในเมือง อเมือง จ.ลำพูน 51000โทร. 0844605662 สั่งจ่าย ปณ. กรุณาช่วยค่าจัดส่ง EMS ครั้งละ 100 บาทด้วย


     
  7. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    [​IMG]

    ครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้ถือกำเนิดเมื่อวันอังคาร ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 9 (เหนือ) เดือนมิถุนายน 2421 ณ บ้านปาง ตำบลเม่ตืน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน บิดาชื่อ พ่อควาย มารดาชื่อ แม่อุสา
    ในคืนที่ท่านที่ถือกำเนิดได้เกิดเหตุอัศจรรย์ คือฝนได้ตกกระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบฟ้าร้องสนั่นหวั่นไหว สาเหตุดังกล่าวบิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า อ้ายฟ้าร้องหรืออินตาเฟือน (อินทร์ไหว) ท่านเติบโตท่ามกลางความยากจน แต่มีอุปนิสัยเมตตากรุณาต่อสัตว์ทั้งปวงละเว้นการเบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตตั้งแต่เด็กและมีกริยามารยาทเรียบร้อย วาจาไพเราะสำรวมในการพูด ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปาง เมื่ออายุ 18 ปี มีครูบาขัตติยะ วัดบ้านปางเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อเป็นสามเณร ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนสิกขาบท พระวินัย อักขระ ภาษาลานนา(ภาษาคำเมือง) สามเณรฟ้าร้องตั้งใจศึกษาด้วยความเป็นผู้มีปฎิภาณเฉลียวฉลาดมีความจำดี จึงสามารถเล่าเรียนสำเร็จรอบรู้เข้าใจในวิชาการต่างๆได้เป็นอย่างดี
    อุปสมบท
    เมื่ออายุสามเณรฟ้าร้องได้ 21 ปี ครูบาขัติยะได้จัดให้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีครูบาสุมโน วัดบ้านโฮ่งหลวง เป็นพระอุปัชฌาย์ ฉายา สิริวิชยฺโย เมื่อเป็นพระภิกษุท่านพยายามศึกษาและให้ความสนใจในการปฏิบัติธรรม จากการศึกษาเล่าเรียนจากครูบาขัติยะ แล้วท่านได้กราบลาท่านอาจารย์ไปศึกาต่อกับท่านครูบาอุปปาละ วัดพระธาตุดอยแต อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน พระศรีวิชัยไปกราบเป็นศิษย์ครูบาอุปปาละแล้วได้ตั้งใจศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฎฐานสมถะกัมมัฎฐาน 40 กอง คัมภีร์วิสุทธิมรรค เมื่อศึกษาจนเข้าใจได้กลับมาวัดบ้านปางไม่นาน ครูบาขัติยะได้อาพาธและมรณภาพลง ท่านครูบาศรีวิชัยจึงได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดต่อ ด้วยความที่ท่านครูบาชอบความสงบวิเวกท่านจึงได้ย้ายจากวัดบ้านปางเดิม ขึ้นไปสร้างวัดขึ้นใหม่ บนดอยบ้านปาง (วัดบ้านปางในปัจจุบัน) ด้วยการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดไม่ย่อท้อ ความเป็นผู้มักน้อย สันโดษ ความมีเมตตากรุณาเต็มเปี่ยม ศรัทธาชาวบ้านจึงบังเกิดจิตศรัทธาในครูบาเจ้าศรีวิชัยตั้งแต่ บัดนั้นเป็นต้นมา
    จากการมีผู้เคารพนับถือครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นจำนวนมาก ได้นำมาลูกหลานมาขอบวชเพื่อศึกษาธรรมะกับครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาเจ้าจึงทำหนังสือแจ้งกับเจ้าคณะอำเภอขออนุญาตแต่ไม่มีการตอบกลับ ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงได้ตัดสินใจบวชให้กุลบุตรเหล่านั้น วัดบ้านปางจึงเป็นศูนย์รวมพระเณรฆราวาสมากมาย
    ทางเจ้าคณะอำเภอจึงตั้งข้อหา โดยกล่าวหาว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยมีความผิดต้องอธิกรณ์สาเหตุมาจากการที่ครูบาเจ้าบวชพระภิกษุสามเณรไม่ถูกต้องเพราะครูบาไม่ใช่พระอุปัชฌาย์ และใช้เจ้าหน้าที่ตำรวจคุมตัวท่านครูบาไปที่วัดเจ้าคณะอำเภอลี้และส่งตัวท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยให้เจ้าคณะจังหวัดลำพูนในสมัยนั้น คือ พระครูญาณมงคล (ครูบาธรรมปัญญา) ได้สอบปากคำครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ตอบว่าได้ส่วหนังสือขออนุญาตไปแล้วแต่เงียบหาย และเวลาพรรษาใกล้เข้ามาทุกที เมื่อเจ้าคณะจังหวัดพระครูญาณมงคลพิจารณาเห็นว่า ท่านครูบาศรีวิชัยมีเจตนาบริสุทธิ์จึงให้ครูบาเจ้าพ้นข้อกล่าวหา ครูบาเจ้าจึงเดินทางกลับวัดบ้านปาง ส่วนชาวบ้านชาวเมืองต่างยิ่งพากันเลื่อมใสศรัทธาตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยมากยิ่งขึ้น
    ต้องอธิกรณ์ ครั้ง 2
    คณะสงฆ์เจ้าคณะอำเภอ มีคำสั่งด่วนให้เจ้าอาวาสทุกวัดเข้าประชุมมีเจ้าอาวาสหลายวัดไม่ไปร่วมประชุม รวมทั้งครูบาเจ้าศรีวิชัยด้วย เจ้าคณะอำเภอเลยหาความใส่โทษตั้งข้อกล่าวหาว่า ครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่สนใจต่อการปกครองของคณะสงฆ์และได้คุมตัวครูบาศรีวิชัยนำส่งเจ้าคณะจังหวัดลำพูน เพื่อสอบสวนปากคำครูบาเจ้า ท่านได้แก้ข้ออธิกรณ์ดังนี้ว่า ในเมื่อเจ้าคณะอำเภอยังไม่ตอบรับหนังสือแต่งตั้งความเป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย เพราะฉะนั้นท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าอาวาสที่สมบูรณ์ จึงไม่ไปร่วมประชุม เมื่อแก้ข้อกล่าวหา ท่านพระครูญาณมงคล ท่านเป็นพระที่มีความเมตตารุณา เห็นว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่มีความผิด ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงพ้นความผิดเป็นครั้งที่ 2 พร้อมทั้งแต่งตั้งท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์อย่างถูกต้อง
    ต้องอธิกรณ์ครั้งที่ 3
    เจ้าคณะอำเภอและเจ้าหน้าที่บางกลุ่ม คอยจะหาเรื่องครูบาเจ้าศรีวิชัยอยู่ตลอดเวลา เมื่อมีคำสั่งจากคณะสงฆ์ให้พระเถระในอำเภอลี้ไปร่วมประชุมฟังนโยบายพระราชบัญญัติคณะสงฆ์เพิ่มเติม แต่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ได้ไปร่วมประชุม เนื่องด้วยสาเหตุเพราะท่านครูบาทุ่มเทเวลาให้กับการบำเพ็ญเพียรภาวนาอีกทั้งกิจการในวัดมากมายต้องคอยเทศนาอบรม บรรดาพระภิกษุสามเณรและบรรดาประชาชนจำนวนมากอีกทั้งวัดบ้านปางอยู่ห่างจากอำเภอลี้ถึง 40 กิโลเมตร การเดินทางก็ลำบากทุรกันดารจึงไม่ได้ไปร่วมประชุม เจ้าคณะอำเภอจึงได้โอกาสตั้งข้อหากล่าวโทษครูเจ้าทำผิดต่อการปกครองและราชการ ทางจังหวัดได้ส่งตำรวจาควบคุมครูบาเจ้าศรีวิชัยมาเมืองลำพูน เจ้าคณะจังหวัดลำพูนพระญาณมงคล (ฟู ขัดแก้ว) เจ้าคณะจังหวัดองค์ใหม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวนและมีมติปลดครูบาเจ้าศรีวิชัยออกจากตำแหน่ง ทุกตำแหน่งและกักขังครูบาเจ้าศรีวิชัยไว้ที่วัดพระธาตุหริภุญชัย 1 ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงพ้นโทษกลับสู่วัดบ้านปางตามเดิม
    ต้องอธิกรณ์ครั้งที่ 4
    เจ้าคณะอำเภอลี้ ในสมัยนั้นมีหนังสือมาถึงให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย สำรวจอารามจดบัญชีรายชื่อพระภิกษุสามเณรหัววัดต่างๆในตำบลบ้านปาง ส่งให้เจ้าคณะอำเภอลี้ตามกำหนด เมื่อได้รับหมายแจ้งดังกล่าว ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ตอบว่าท่านถูกปลดจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและจ้าคณะหมวด (ตำบล) แล้ว ไม่มีอำนาจที่จะทำได้อคำสั่งแรกผ่านไป คำสั่งที่สอง คราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าคณะอำเภอลี้สั่งให้ทุกวัดทุกตำบลในความปกครองจัดทำซุ้มประตู จุดประทีป โคมไฟฉลองสมโภช เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยได้รับทราบเรื่องแล้ว พิจารณาเห็นว่าวัดบ้านปางเป็นอรัญวาสี วัดป่าวัดดอยไม่สามารถเข้าใจในการตกแต่ง จึงเปลี่ยนจากการตกแต่งจะฉลองสมโภชให้พระเถระในวัดประพฤติธรรมรักษาศีลเจิรญภาวนา สวดมนต์ทุกค่ำเช้า ถวายพระพรแด่พระประมุขของชาติแทน พอพระครูเจ้าคณะอำเภอและนายอำเภอทราบ มีความไม่พอใจจึงตั้งข้อกล่าวหาส่งไปถึงจังหวัด ทางเจ้าคณะจังหวัด (พระครูญาณมงคล) จึงมีหนังสือขับไล่ครูบาเจ้าศรีวิชัยออกจากเขตจังหวัดลำพูนภายใน 15 วัน และห้ามวัดในจังหวัดลำพูนทุกวัดรับครูบาเจ้าศรีวิชัยให้ที่อยู่อาศัยในวัดนั้นโดยเด็ดขาด
    หลังจากรับคำประกาศ ครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่สะทกสะท้านหวั่นไหว เพราะท่านไม่ได้ทำผิดพระธรรมวินัย พุทธบัญญัติข้อใด ท่านจึงไม่ปฏิบัติคำสั่งอันไม่เป็นธรรมทางจังหวัดจึงมีหนังสือเชิญตัวครูบาเจ้าเข้าเมืองลำพูน ครูบาเจ้าเดินทางเข้าเมืองลำพูนพร้อมพระภิกษุ สามเณร ศรัทธาประชาชนเป็นจำนวน 1 พันกว่าคน และถูกควบคุมตัวที่วัดพระธาตุหริภุญชัย ประชาชนพอทราบจึงพากันมากราบไหว้ครูบาเจ้ามากขึ้นทุกวัน ทางจังหวัดลำพูนจึงย้ายครูบาเจ้าไปควบคุมกักขัง ณ วัดศรีดอนชัย เป็นเวลา 3 เดือนและส่งตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยมายังกรุงเทพฯพร้อมทั้งข้อกล่าวหาที่คณะสงฆ์จังหวัดลำพูนตั้งให้ 8 ข้อคือ
    1. พระครีวิชัย ตั้งตัวเป็นอุปัชฌาย์เถื่อนทำการบวชพระภิกษุสามเณรจำนวนมาก โดยไม่ขออนุญาตตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครอง ร.ศ.121
    2. พระศรีวิชัยไม่ยอมอยู่ใต้บังคับบัญชาของเจ้าคณะแขวงลี้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายหัวเมืองลี้ ร่วมกับคณะแขวงเรียกประชุมเจ้าอธิการวัดต่างๆ เพื่อชี้แจงพระราชบัญญัติลักษณะการปกครอง ร.ศ.121 ปรากฏว่าเจ้าอธิการทุกวัดไปหมดยกเว้นแต่พระศรีวิชัย วัดบ้านปางไม่ไปร่วมประชุม
    3. เมื่อครั้งพิธีบรมราชาภิเษกพระบามสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เจ้าคณะแขวงลี้ได้ประกาศให้ทุกวัดตามประทีปโคมไฟ ทำซุ้มประตู ตีฆ้อง กลองเป็นการฉลองสมโภช วัดบ้านปางของพระศรีวิชัยไม่ปฏิบัติตาม
    4.เจ้าคณะแขวงลี้คือพระมหารัตนากร ไม่สามารถปกครองวัดในเขตอำเภอลี้ได้เพราะพระศรีวิชัยตั้งตัวเป็นผู้วิเศษชักชวนวัดต่างๆให้ขัดขืนต่อพระราชบัญญัคิ ร.ศ.121 ถึงแม้ว่าขอร้องต่อพระศรีวิชัยแล้ว แต่พระศรีวิชัยไม่ยอมปฏิบัติตาม
    5. เมื่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองให้เจ้าคณะแขวงลี้สำรวจจำนวนพระภิกษุสามเณรในวัดเขตอำเภอลี้ทุกวัด แต่วัดบ้านปางของพระศรีวิชัยไม่ยอมปฏิบัติตาม
    6. เจ้าคณะแขวงลี้นัดประชุมเจ้าอธิการวัดในเขตอำเภอลี้ เจ้าอธิการหลายวัดไม่ยอมประชุมโดยอ้างเอาอย่างพระศรีวิชัย
    7. พระศรีวิชัยตั้งตัวเป็นผู้วิเศษ เป็นเทวดามาเกิด มีดาบฝักทองคำ(ดาบสะหรีกัญชัย) ตกลงจากฟ้าสู่แท่นบูชา
    8. เดินท่ามกลางฝนแต่ไม่เปียก เดินสูงกว่าพื้นดิน 1 ศอกและเดินบน ผิวน้ำได้อันเป็นเหตุให้คนลุ่มหลงเป็นจำนวนมาก
    เมื่อท่านครูบาเจ้าถูกนำตัวเข้ากรุงเทพฯได้พักอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาชำระคดีของท่านครูบาเจ้า มีกรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์ พระญาณวราภรณ์ พระธรรมไตรโลกาจารย์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาคดีร่วมกัน มีความเห็นว่าพระครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่มีความผิด ได้นำเรื่องขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเจ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงมีพระวินิจฉัย ดังนี้
    ข้อ 1. พระศรีวิชัยตั้งตัวเป็นอุปัชฌาชย์เอาเอง บวชกุลบุตรไม่มีใบอนุญาต มีความผิดต่อคณะโดยแท้ เจ้าคณะลงโทษกักตัวพระศรีวิชัยไว้ได้อยู่ ส่วนกำหนด 2 ปีนั้นแรงเกินไป คดีเช่นนี้ตามธรรมเนียมที่เป็นมาเราเป็นผู้สั่งลงโทษเอง คดีนี้ ผู้แทนเจ้าคณะใหญ่หนเหนือสั่งตามลำพังตนเองก็ไม่ผิดดอก แต่ถ้าได้ขอคำสั่งของเราการลงโทษจัดเป็นไปตามความพอดี
    ข้อ 2 พระศรีวิชัยไม่อยู่ในความบังคับบัญชาของเจ้าคณะแขวงนั้น มีความผิดเฉพาะข้อที่สมควร เจ้าคณะแขวงจะลงโทษควรยกข้อนั้นขึ้นกล่าว
    ข้อ 3 เจ้าหน้าที่ ฝ่ายอาณาจักรเรียกประชุมสงฆ์เพื่อตักเตือนให้รู้ ระเบียบการคณะสงฆ์และทางราชการ คณะสงฆ์หมู่หนึ่งไม่ไปและไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้อง พระศรีวิชัยไม่ไปจะยกเอาเป็นความผิดมิได้
    ข้อ 4 ทางราชการป่าวร้องให้วัดทั้งหลายตามประทีป ตีฆ้อง กลองเป็นกิจอันจะพึงทำด้วยความมีแก่ใจ ทางราชการป่าวร้องก็เพียงนัดให้ทำ ถ้าเป็นการบังคับแล้ว ผิดทางไม่เป็นพระเกียรติยศพระศรีวิชัยไม่ทำตามไม่ควรยกเป็นความผิด
    ข้อ 5 วัดทั้งหลายขัดขืนต่อการปกครองของเจ้าคณะแขวง เจ้าคณะยกเป็นความผิดของพระศรีวิชัยนั้นหาถูกไม่ ชอบแต่จะเอาผิดแก่เจ้าอาวาสทั้งหลายนั่นเอง
    ข้อกล่าวหาทั้ง 5 ดูเป็นไปในต่างคราวกัน เจ้าคณะจักเอาโทษควรจะยกขึ้นว่าในคราวนั้นๆมาประมวลยกขึ้นว่าและลงโทษในคราวเดียวกันอย่างนี้ไม่เป็นหลักฐาน คนทั้งกลายจึงเห็นว่าข่มเหงพระศรีวิชัย อันที่จริงดูความผิดทางนั้นไม่ถนัดอันที่จริง ดูเหมือนระแวงตามที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาณาจักรว่า เป็นผีบุญจักยกความผิดทางนั้นไม่ถนัดจึงหยิบยกทางอื่นมาประมวลกันเป็นสาเหตุลงดทษเพื่อจะได้เอาตัวมากักไว้ เท่านั้นเอง พระศรีวิชัยมีคนติดตามมากอย่างนี้ไม่ได้ทำการอันชัดว่าเป็นความผิดทางอาวุธแผ่นดินหรือทางพระศาสนา ยังเอาโทษไม่ได้หรือถูกลงโทษไม่บังควร นอกจากผิดยุติธรรม คนทั้งหลายผู้สงสารย้อมเป็นความดีของเธอและนับถือเธอมากขึ้น ครั้งโบราณกาลเช่นนี้อันเป็นรุนแรงถึงเป็นเหตุตั้งศาสนาขึ้นใหม่ก็ได้เคยมีมาแล้ว
    ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 คณะกรรมการวินิจฉัยว่า พระศรีวิชัยไม่มีความผิด เจ้าคณะลงโทษเกินไปแต่ปล่องให้กลับไปตามลำพัง เข้ากับคณะไม่ได้จักเตร็ดแตร่ ควรจัดส่งขึ้นไป ถ้าควรเป็นเจ้าสำนักก็ควรให้เป็นไปตามเดิม ถ้าไม่ควรก็จงให้มีสังกัด อยู่ในวัดอื่นที่พระศรีวิชัยจะพึงเลือกได้ตามใจ กรมหมื่นชินวรสิริวัฒน์จงสั่งตามนี้
    เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัยพ้นความผิด ท่านครูบาได้นำดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เครื่องสัการะเข้าไปกราบสมเด็จพระสังฆราชเจ้าแล้วทูลลากลับ หลังจากที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยได้กลับมาวัดพระธาตุหริภุญชัย ความศรัทธาของมหาชนเพิ่มมากขึ้น ครูบาเจ้าได้บูรณะองค์พระธาตุหริภุญชัยและพระวิหารหลวงจนสำเร็จแล้วเดินทางกลับวัดบ้านปาง มีบรรดาภิกษุ สามเณร ศรัทธาประชาชนมากมายหลั่งไหลพากันมากราบครูบาเจ้าเพิ่มขึ้น ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ก่อสร้างพระธาตุวัดบ้านปางจนสำเร็จ
    ความเชื่อมั่น ความเคารพนับถือในตัวครูบาเจ้าศรีวิชัยมีมากมาย ชื่อเสียงได้ขจรขจายไปทั่วมณฑลพายัพ ตลอดจนชาวป่าชาวเขาเผ่าต่างๆให้ความนับถือครูบาเจ้าศรีวิชัย จากนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เป็นประธานในการ่อสร้างบูรณะ ศานวัตถุโบราณสถานที่สำคัญต่างๆ เป็นจำนวนมาก ตามคำอาราธนานิมนต์จากผู้ที่ศรัทธาครูบาเจ้าขอท่านไปนั่งหนัก ผลงานด้านพัฒนาก่อสร้างของครูบาเจ้าศรีวิชัยมีอยู่มากมาย หลายจังหวัดทั่วภาคเหนือ
    ผลงานชิ้นสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การสร้างถนนไปยังบนดอยสุเทพ การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพในสมัยนั้น รัฐบาลเคยคิดที่จะสร้างแต่หางบประมาณไม่ได้ เนื่องจากต้อองใช้เงินมหาศาล
    ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้เป็นประธานและมีครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ มานั่งหนักเป็นประธานร่วมอักท่านหนึ่ง การสร้างทางขึ้นดอยสุเทพ เริ่มในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 เวลา 10.00 น. ประชาชนเมื่อทราบข่าวต่างทยอยกันมาช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยสร้างทางครั้งนี้
    ผู้ที่เป็นกำลังสำคัญในการสร้างทาง คือ ครูบาอภิชัยขาวปี ได้นำชาวบ้านชาวเมืองลำพูนและชาวเขานับพันคนมาร่วมงาน พร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร ประชาชนจากจังหวัดต่างๆอีกเป็นจำนวนมาก ก็ด้วยบารมีธรรมของพระครูบาเจ้าศรีวิชัย การตัดถนนขึ้นดอยสุเทพมีระยะทางความยาวทั้งสิ้น 11 กิโลเมตร ได้สำเร็จลงเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2478 แล้วจัดให้มีการฉลองสมโภชอย่างยิ่งใหญ่ โดยที่ไม่ต้องเสียงบประมาณของรัฐบาลแม้แต่บาทเดียว
    ต้องอธิกรณ์ ครั้งที่ 5
    ตลอดระยะเวลาที่สร้างทาง มีศรัทธานำบุตรหลานไปขอบรรพชาและอุปสมบท ซึ่งครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ขัดศรัทธาและได้บวชให้ครูบาเข้าอภิชัยขาวปี ให้กลับมานุ่งผ้าเหลืองอีกครั้งหนึ่ง ทางคณะสงฆ์จึงกล่าวโทษต่อครูบาเจ้าว่า ครูบาเจ้าไม่อยู่ในความปกครองของคณะสงฆ์ บวชพระบวชเณรโดยไม่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชณาย์และ เรื่องการตัดไม้ทำลายป่าในการสร้างทาง เมื่อกิริยาของเจ้าคณะพระครูในเชียงใหม่แสดงต่อครูบาศรีวิชัย จึงทำให้เจ้าอาวาสวัด 60 วัดและพระสงฆ์ สามเณรในจังหวัดเชียงใหม่ไปเรียกร้องขอความเป็นธรรม เมื่อเจ้าคณะ พระครูไม่ยอมฟังเสียงเรียกร้องทัดทาน เจ้าอาวาสทั้งหมดและพระภิกษุ สามเณร ทั้งหลายจึงพร้อมใจกันขอลาออกจากการปกครองของคณะสงฆ์ ไม่ขอขึ้นอยู่กับคณะสงฆ์ เมื่อถามครูบาเจ้า ตอบว่า ไม่ทราบเรื่องไม่ได้บังคับให้ลาออก เจ้าอาวาสเหล่านั้นลาออกเอง เมื่อเรื่องราวเริ่มวุ่นวาย ครูบาเจ้าศรีวิชัยถูกนิมนต์ไปสอบสวนที่กรุงเทพฯอีกครั้งหนึ่ง
    ในระหว่างที่ถูกสอบสวนที่เชียงใหม่ มีพระเณร ถูกจับสึกมากมาย แต่ความศรัทธาเลือมใสในครูบาเจ้าศรีวิชัยหาน้อยไปไม่ การสอบสวนเป็นไปตามขั้นตอนใช้เวลา 6 เดือน 17 วัน เมื่อพิจารณาเป็นที่พอใจแล้ว พระครูบาศรีวิชัยพ้นข้อกล่าวหาและอนุญาตให้กลับภูมิลำเนาได้ หลังจากการพิจารณาคดีเสร็จคุณหลวงศรีประกาศไปเยี่ยมท่านที่กรุงเทพฯ ขอนิมนต์ไปช่วยบูรณะก่อสร้างสิ่งที่ยังไม่เสร็จที่เชียงใหม่ ท่านครูบาเจ้าได้ปฏิเสธและกล่าวอมตะวาจาว่า "ตราบใดที่นำแม่ปิงไม่ไหลล่องขึ้นเหนือจะไม่ขอเหยียบย่างแผ่นดินเมืองเชียงใหม่อีก" ท่านครูบาเจ้าได้กลับมาลำพูนและบูรณะก่อสร้างพระวิหารวัดบ้านปาง แต่ยังไม่ทันเสร็จได้ไปก่อสร้างวัดจามเทวี อ.เมือง จ.ลำพูนจนเสร็จ
    ครูบาเจ้าเกิดอาพาธด้วยโรคริดสีดวงทวาร ได้รักษาตัวที่วัดจามเทวีระยะหนึ่ง แล้วกลับไปรักษษตัวที่วัดบ้านปางต่อ อาการของครูบาเจ้าหนักมา พร้อมทั้งยังมีโรคปอดเข้าแทรก อาการจึงทรุดหนักลงอย่างรวดเร็ว พระครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ดับขันธ์ด้วยอาการอันสงบในเวลาเที่ยวคืน 5 นาที ตรงกับวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481 สิริรวมอายุ 61 ปี
    คณะศิษย์ได้อาราธราพระศพของครูบาเจ้า ขึ้นสู่ปราสาม 5 ยอดตั้งบำเพ็ญกุศลเก็บรักษาไว้ที่วัดบ้านปาง 2 ปี จึงได้อัญเชิญพระศพของครูบาเจ้าศรีวิชัยมาตึ้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจามเทวี เป็นเวลา นานถึง 7 ปี จึงมีกำหนดพระราชทานเพลิงศพในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2489
    พระครูบาศรีวิชัย ได้ชื่อว่าเนนักบุญแห่งลานนาไทยที่ยิ่งใหญ่ มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพสักการะทั่วประเทศ ท่านเป็นพระนักปฏิบัติที่เคร่งครัดมีความมักน้อยสันโดษถือความวิเวกสงวัด ท่านได้ออกธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นพระนักพัฒนา ก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม โบราณสถานที่ต่างๆ ท่านครูบาเจ้าบำเพ็ญปารมี แม้จะถูกกลั่นแกล้ง กล่าวโทษอยู่หลายครั้ง ท่านก็ไม่หวั่นไหว ตั้วใจบำเพ็ญบุญกุศลโดยไม่ย่อท้อ ความตั้งใจของท่านเพื่อปรารถนาพุทธภูมิเป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้วางแนวทางการปฏิบัติเอาไว้ให้บรรดาพระภิกษุ สามเณร ที่เป็นศิษย์ทั้งหลายได้ดำเนินรอยตามด้วย การที่พระครูบาศรีวิชัยได้กระทำคุณงามความดี เพื่อพุทธศาสนาและส่วนรวมมาตลอดชีวิต ท่านครูบาเจ้าจึงเป็นที่เคารพบูชาของประชาชนทั่วประเทศ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน


    ที่มา: หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์ห้า) พระประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน

    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2008
  8. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    ครูบาเจ้าอุปาละ ผู้สอนกัมมัฐฐานแก่ ครูบาเจ้าศรีวิชัย
    วัดพระธาตุดอยแต อ.เมือง จ.ลำพูน
    ครูบาอุปาละเดิมท่านอยู่ที่วัดปู่จา (วัดบูชา ต.บ้านแป้น ปัจจุบัน) ท่านเป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ออกธุดงควัตรเป็นกิจวัตรปฏิบัติมิได้ขาด ท่านครูบาได้ธุดงค์จาริกมาปฏิบัติธรรมกัมมัฎฐานอยู่ที่วัดกู่ระมัก (วัดรมณียาราม) ซึ่งเป็นวัดร้างและได้เริ่มคิดปฏิสังขรณ์ให้วัดนี้เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อีก ท่านได้อยู่ปฏิบัติบำเพ็ญธรรมที่วัดนี้ได้ไม่นานก็ธุดงค์จาริกต่อไปตามสถานที่ต่างๆ จนถึงวัดดอยคำ ได้เข้าปริวาสกรรมที่วัดดอยคำท่านเคยได้ทราบเรื่องราวของวัดพระธาตุดอยแตอยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อออกจากการเข้าปริวาสกรรมแล้ว จึงได้จาริกต่อมาที่วัดร้างพระธาตุ ดอยแตแห่งนี้ ท่านได้มองเห็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ถูกขุดค้นทำลายไปจึงอยากบูรณะวัดนี้ให้ดีขึ้นดังเดิม เพราะท่านเห็นว่าเป็นสถานที่สัปปายะเหมาะแก่การบำเพ็ญสมณะธรรมเป็นอย่างยิ่ง ท่านได้จำวัดอยู่ที่วัดร้างพระธาตุดอยแตนี้ระยะหนึ่ง จึงได้กลับไปที่วัดเดิมของท่านแล้วบอกกล่าวการบูรณะวัดพระธาตุดอยแต ให้ศรัทธาญาติโยมของท่านได้ทราบ ศรัทธาญาติโยมทางวัดกู่ระมัก ส่วนใหญ่ไม่อยากให้ท่านไป เพราะมีความศรัทธาเคารพรักในตัวท่านครูบายิ่งนัก แต่เมื่อเป็นความจำเป็น เป็นความประสงค์อย่างแรงกล้าของท่านที่ใคร่จะสร้างศาสนสถานแห่งนี้ให้เจริญรุ่งเรือง เป็นศูนย์กลางการศึกษาและปฏิบัติธรรมให้ได้ ศรัทธาชาวบ้านก็ไม่สามารถทัดทานได้ ท่านจึงเดินทางกลับมาที่วัดพระธาตุดอยแต โดยมีศรัทธาญาติโยมติดตามมาไม่มากนัก ท่านได้นำคณะเดินทางมายังวัดร้างพระธาตุดอยแตก็เป็นเวลาเย็นมากแล้ว จึงได้หยุดพักผ่อนเอาแรงในคืนนั้น หลังจากญาติโยมของท่านได้พักผ่อนนอนหลับกันแล้ว ท่านครูบาอุปาละท่านก็ได้ปฏิบัติกิจของท่านด้วยการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระเจดีย์ตลอดจนสถูปของท่าน ครูบาญาณะ แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติเมตตาภาวนาจนดึก ท่านได้ยินเสียงฝีเท้าเหมือนวัว ควาย ม้า มาวิ่งวนรอบบริเวณที่ท่านและคณะของท่านพักอยู่ ท่านได้ภาวนาแผ่เมตตาไปให้ จนในที่สุดเสียงนั้นก็หายเงียบไปตลอดทั้งคืนนั้นเพราะคุณธรรมกัมมัฏฐานของท่านมีมากจึงไม่มีเหตุอาเพทอันใดเกิดขึ้นอีกเลย ท่านครูบาอุปาละนอกจากจะเก่งในการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานแล้ว ท่านยังเก่งในด้านเวทมนตร์คาถาอาคมอีกด้วย พอวันรุ่งขึ้นท่านได้ทำพิธีหว่านน้ำหว่านทราย ทั่วบริเวณวัดร้าง เพื่อขจัดขับไล่สิ่งชั่วร้ายต่างๆ ให้หมดสิ้นไป แล้วให้ศรัทธาญาติโยมของท่านทั้งหลาย ช่วยกันแผ้วถาง ตัดต้นไม้ เครือเขาเถาวัลย์ในวัดร้างออก จากนั้นให้คนป่าวประกาศให้ชาวบ้านในแถบถิ่นนี้ที่เคยเป็นทายก ทายิกา ศรัทธาเก่าแก่ของวัดให้ทราบว่า ท่านครูบาอุปาละต้องการจะมาบูรณะวัดร้างพระธาตุดอยแตแห่งนี้ ให้ได้มีพระสงฆ์องค์เณรดังกาลก่อน และเป็นศูนย์รวมของศรัทธาประชาชนดั่งที่เคยเป็นมา เป็นสถานศึกษาของกุลบุตรทั้งหลาย เป็นที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อศรัทธาประชาชนได้ทราบต่างก็แสดงความยินดีปรีดาที่จะได้เห็นวัดพระธาตุดอยแตรุ่งเรืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง การบูรณะวัดพระธาตุดอยแตได้เริ่มขึ้น โดยมีศรัทธาประชาชนจากทั่วสารทิศได้มาช่วยกันบูรณะก่อสร้าง สิ่งปรักหักพังต่างๆ ให้ดีดังเดิม ในขณะเดียวกันครูบาอุปาละก็ได้สั่งสอนอบรม พระภิกษุสามเณรในสมัยนั้น โดยมีท่านครูบาอุปาละเป็นประธานสั่งสอน ทั้งการสอน หนังสือและการอบรมศีลธรรม จรรยาบรรณ การทำวิปัสสนากัมมัฏฐาน
    <O:pทางด้านประชาชน ท่านก็มีความสามารถ อบรมกล่อมเกลาให้รู้ถึง บาปบุญคุณโทษ ศรัทธาประชาชนทั้งหลาย ต่างก็อยากเลิกละกรรมทำบาปที่เคยทำกันมา เว้นจากการประทุษร้ายต่อชีวิตทั้งหลาย การยิงนก ตกปลา ล่าสัตว์ ได้ผ่อนหาย เบาบางลงไป โจรผู้ร้ายที่เคยลักเคยปล้นต่างก็หยุดการกระทำ ชาวบ้านชาวเมืองอยู่กันสุขสงบ การประพฤติตนนอกลู่นอกทางผิดผัวผิดเมียไม่มีเกิดขึ้น ทุกคนอยู่กันด้วย ความรักใคร่กลมเกลียว ไม่มีการฉ้อฉลหลอกลวง การพูดคุยบอกกล่าวเป็นไปด้วยความอ่อนโยนไม่มีการโกหกหลอกลวงให้เสียทรัพย์สิ่งของ คนที่ชอบเรื่องยาดองของเมาพากันเลิกละ ท่านครูบาได้สอนให้ทุกคนมีสติ ความระลึกนึกคิด ลดละการเสพสุรายาเมาต่าง ๆ ทำให้มีสติมั่นคง ไม่เลอะเลือน เป็นที่เคารพนับถือของผู้คนที่ได้พบเห็น<O:pศรัทธาประชาชนทั้งหลายเชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบาอุปาละ และปฏิบัติ

    <O:pตามคำสอนอบรมของท่าน นับว่า ความเจริญทางธรรมได้กลับคืนสู่สำนักวัดพระธาตุดอยแตอีกครั้งหนึ่ง กิตติศัพท์ของท่านครูบาอุปาละและวัดพระธาตุดอยแต ได้ขจรขจายไปไกลในช่วงนี้ จึงได้มีพระภิกษุและสามเณรมากมายที่มาเล่าเรียนศึกษา อยู่ที่วัดพระธาตุดอยแต กิตติศัพท์และปฏิปทา ความสามารถของท่านครูบาอุปาละโด่งดังไปถึงเมืองน่าน เชียงใหม่ ลำปาง เมืองลี้ มีพระภิกษุจากแดนไกลหลายรูปหลายองค์ เดินทางมาศึกษาและปฏิบัติธรรมกับท่านครูบาอุปาละ ที่วัดพระธาตุดอยแตเป็นระยะ ๆ<O:p<O:p
    สมัยนี้เองนักบุญแห่งลานนาไทย ท่านครูบาศรีวิชัย ท่านได้เริ่มเข้าสู่แดน<O:p
    แห่งผ้ากาสาวพัสตร์ ตั้งแต่เป็นสามเณร ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ ท่านครูบาศรีวิชัย ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ชื่อเสียงและปฏิปทาในการฝึกอบรมสั่งสอนของท่าน ครูบาอุปาละ ได้ทราบไปถึงครูบาขัติ วัดบ้านปาง อำเภอลี้ ซึ่งเป็นอาจารย์ของครูบาศรีวิชัย ดังนั้นเมื่อท่านครูบาศรีวิชัยได้อุปสมบทแล้ว ท่านครูบาขัติ จึงได้นำศิษย์ของท่านองค์นี้ดั้นด้นฝ่าดงพงพีจากเมืองลี้มาฝากให้เป็นศิษย์ของท่านครูบาอุปาละท่านครูบาศรีวิชัยได้ร่ำเรียนวิชาการต่างๆ ทั้งทางปริยัติและปฏิบัติกับท่านอุปาละ สำนักวัดพระธาตุดอยแตได้ปีกว่า ก็แตกฉานและชำนาญ ทั้งการเขียน อ่านและปฏิบัติธรรม ทั้งสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านครูบาอุปาละได้เป็นอาจารย์องค์ที่ ๒ ของครูบาศรีวิชัย อาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>องค์แรกคือ ครูบาขัติ ต่อมาท่านครูบาศรีวิชัยได้รับสมญานามจากประชาชนทั้งหลายว่า นักบุญแห่งลานนาไทย”<O:pวัดพระธาตุดอยแตได้เจริญเป็นอย่างมากในสมัยของท่านครูบาอุปาละในขณะที่การศึกษาเฟื่องฟูอยู่นี้ การก่อสร้างบูรณะซ่อมแซมถาวรวัตถุต่างๆ ก็ได้ดำเนินการควบคู่กันไป ซึ่งตรงกับสมัยของเจ้าดาราดิเรกไพโรจน์ (เจ้าดาวเรือง) เจ้าผู้ครองนครลำพูนองค์ที่ ๗ เจ้าดาวเรือง พร้อมด้วยเจ้านายฝ่ายเหนือ ได้มาเป็นประธานในการบูรณะวัดพระธาตุดอยแตในครั้งนี้ ยอดฉัตรซุ้มพระพุทธรูปก็กลับคืนดีดังเดิม <O:pท่านครูบาอุปาละ อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนามาตามปณิธานที่ท่านตั้งเอาไว้ ได้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี ไม่มีอุปสรรคอันใด ศาสนาของพระโคตมะเจ้า ได้เจริญรุ่งเรืองในแถบถิ่นนี้ในสมัยของท่านครูบาเจ้าอุปาละเป็นเจ้าอาวาส แต่แล้วกฏแห่งวัฎฎะสงสารก็ได้เวียนมาบรรจบ ท่านครูบาได้อยู่ เผยแพร่สัจจะธรรมของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ว่าไม่มีใครหนีพ้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ ท่านครูบาอุปาละก็เช่นกัน ท่านได้อาพาธป่วยเป็นไข้ป่า ทางศิษย์และศรัทธาทั้งหลาย ได้ทำการปรนนิบัติวัฏฐากหายาสมุนไพรต่างๆ มารักษา แต่อาการของท่านครูบาก็ไม่ดีขึ้น กลับทรุดลงไปเรื่อยๆ ในสมัยนั้นโรงพยาบาลก็ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก นอกจากหมอตามพื้นบ้านซึ่งบ้างก็รักษากันด้วยสมุนไพร และคาถาอาคมเท่านั้น ได้ทราบว่า ตุ๊หลวงวัดกู่เส้าท่านเก่งในการรักษาตามตำราที่ท่านเรียนมา จึงได้ขอให้ท่านจัดยาให้ แต่อาการของท่านครูบาอุปาละ ก็ไม่ดีขึ้น อาการยิ่งทรุดหนักลงไปเรื่อยๆ ทางศรัทธาญาติโยมรวมทั้งญาติโยมทางวัดเดิมของท่านที่มาช่วยดูแลปรนนิบัติท่านอยู่ เมื่อเห็นว่าหมดทางรักษาให้หายได้ จึงได้นิมนต์ให้ท่าน ครูบาย้ายจากวัดพระธาตุดอยแตกลับวัดเดิมของท่าน เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์-ร้าย ในที่สุดท่านก็กลับไปสู่วัดเดิม และได้มรณภาพที่นั่น ปัจจุบันนี้วัดพระธาตุดอยแต มีพระครูสุตสารประสิทธิ์ เป็นเจ้าอาวาส
    หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์ห้า) พระประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน

    <!-- / message -->
    จากหนังสือวันทามิภันเต แต่งเรียบเรียงโดย พระอาจารย์ประกอบบุญ <O:p
    <O:p<O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2008
  9. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    พระครูญาณมงคล (พระครูบาเจ้าธรรมะปัญญา)วัดศรีเมือยู้ ตำบลเวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน

    ผู้ช่วยแก้ไขอธิกรณ์ให้ครูบาเจ้าศรีวิชัย ถึง 2 วาระ

    กำเนิด<O:p
    พระครูญาณมงคล (ครูบาธรรมปัญญา) อดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมืองยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน เกิดที่ จ.เชียงใหม่ เชื้อสายของท่านเป็นคนเขิน (ชนกลุ่มน้อยเผ่าหนึ่ง) ซึ่งชาวเขินได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้ง มลฑลยูนาน เขตปกครองของประเทศจีน ปัจจุบันมาตั้งถิ่นฐานในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน ต้นตระกูลของครูบาธรรมปัญญาได้ตั้งครอบครัวอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ (แถบชุมชนประตูหายยา)
    <O:pบรรพชา<O:p
    ท่านครูบาธรรมปัญญา เข้าบรรพชาและอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่จำพรรษาที่วัดนันทาราม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ได้ศึกษาพระปริยัติ พระไตรปิฎก ภาษาบาลี บทสวดมนต์ต่าง ๆ จนแตกฉาน

    <O:pท่านครูบาธรรมปัญญา ได้ย้ายจากวัดนันทารามมาเป็นเจ้าอาวาส จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีเมืองยู้ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๓๙ (สันนิษฐานว่าท่านคงมีญาติพี่น้องอยู่ที่แห่งนี้ เพราะมีชุมชนชาวเขินอาศัยอยู่ในพื้นที่กลุ่มหนึ่ง) หลังจากที่ท่าน ครูบาธรรมปัญญา ได้รับหน้าที่เจ้าอาวาส ท่านได้พัฒนาวัดศรีเมืองยู้ และสั่งสอนพระภิกษุ สามเณร จากคำบอกเล่าของลูกศิษย์ท่านหนึ่งซึ่งเสียชีวิตไปนานแล้ว ได้ ถ่ายทอดบอกไว้ว่า ท่านครูบาธรรมปัญญาทรงภูมิธรรมความรู้ในพระธรรมวินัย ท่านยังบำเพ็ญสมณะธรรม เจริญสมาธิภาวนาอยู่ทุกวันไม่เคยขาด มีสมณะจริยาวัตรอันสงบ ท่านครูบาสร้างศาลายาว (ศาลาจงกรม) ไว้สำหรับเดินจงกรม ซึ่งเป็นกิจวัตรข้อหนึ่งที่ท่านครูบาปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน จากการบำเพ็ญสมณะกิจเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวง บรรลุถึงความเป็นผู้หาอาสวะกิเลสมิได้แล้ว เป็นผู้มีความบริสุทธิ์ถึงที่สุด ครูบาธรรมปัญญาจึงได้รับความเคารพ เลื่อมใสจากชาวลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงเป็นจำนวนมาก ได้รับแต่งตั้งจากเจ้าหลวงเมืองลำพูนให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลำพูนองค์แรก และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูญาณมงคล ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐ – ๒๔๕๘ ในฐานะเป็นเจ้าคณะจังหวัดองค์แรกท่านได้ปกครองพระภิกษุสามเณรในจังหวัดลำพูน เป็นพระอุปัชฌาย์ ทำให้กิจการพระศาสนาเจริญก้าวหน้ามั่นคงไปตามลำดับ ท่านครูบาธรรมปัญญามีความยุติธรรม ยึดถือพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นที่ตั้ง จะเห็นได้ว่า ในสมัยที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้ถูกกลั่นแกล้งจากคณะสงฆ์และคนบางกลุ่มของอำเภอลี้ ตั้งข้ออธิกรณ์กล่าวหาครูบาเจ้าศรีวิชัยในครั้งที่ ๑ และ ครั้งที่ ๒ ครูบาธรรมปัญญาในฐานะเจ้าคณะพิจารณาข้อกล่าวหาแล้วลงความเห็นว่าครูบาเจ้าศรีวิชัยไม่ได้กระทำความผิดทางด้านพระธรรมวินัยแต่อย่างใด และเล็งเห็นความตั้งใจที่แน่วแน่และการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ของครูบาเจ้าศรีวิชัย ครูบาธรรมปัญญาจึงให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยพ้นจากความผิดและข้อกล่าวหาถึง ๒ วาระ จะเห็นได้ว่า ท่านครูบาธรรมปัญญาและครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นพระที่มีความประพฤติ ในข้อวัตรปฏิปทาและการบำเพ็ญสมณะธรรมเหมือนกัน ท่านครูบาธรรมปัญญา จึงรู้และเข้าใจในพระครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นอย่างดี ส่วนกรณีการกล่าวหาตั้งอธิกรณ์ครั้งที่ ๓ ถึงครั้งที่ ๕ ใส่ร้ายให้แก่พระครูบาเจ้าศรีวิชัย เรื่องวุ่นวายเดือนร้อนทั้งหลายได้เกิดขึ้นหลังจาก ครูบาธรรมปัญญาท่านได้มรณภาพไปก่อนแล้ว ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยของพระญาณมงคล (ฟู ขัดแก้ว) เจ้าคณะจังหวัด องค์ที่ ๒<O:p

    ท่านครูบาธรรมปัญญาอัจฉริยะภาพทางด้านความเป็นนักปราชญ์ โหราศาสตร์และวรรณศิลป์ ท่านได้แต่งหนังสือปีใหม่ อันว่าด้วยเรื่องการโคจรของดวงดาว วัน, เดือน,ปี คำนวณการเริ่มศักราชใหม่ การทำนาย ดินฟ้าอากาศ ธัญญาหาร และเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ ทางด้านวรรณกรรม ท่านครูบาเจ้าได้แต่งค่าวฮ่ำ เกี่ยวกับหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาไว้หลายบท เช่น ค่าวฮ่ำสังขาร ซึ่งเกี่ยวกับการพรรณาถึงสังขารธรรมท่านครูบาแต่งได้ไพเราะและซาบซึ้งยิ่งนัก และยังมีค่าวฮ่ำอีกหลายบทที่ท่านได้แต่งไว้<O:p

    มรณภาพ <O:p

    ท่านครูบาธรรมปัญญา ได้มรณะภาพ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ ศิริรวมอายุได้ ๖๗ ปีท่านครูบาธรรมปัญญา เป็นพระมหาเถระที่ทำประโยชน์แก่พุทธศาสนาและคณะสงฆ์จังหวัดลำพูน ในครั้งอดีต ได้นำประวัติของท่านมากล่าวเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงประวัติของท่านพอสังเขป ในฐานะพระผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบลอีกองค์หนึ่ง ซึงได้มรณะภาพไปนานถึง ๙๐ ปี แต่คุณความดีและผลงานของท่านได้ปรากฏให้เห็นถึงปัจจุบัน<O:p

    ค่าวฮ่ำสังขารแต่งโดย พระครูญาณมงคลอดีตเจ้าอาวาสวัดศรีเมืองยู้ เจ้าคณะจังหวัดลำพูน องค์ที่ ๑ อัตตะอัตตา ตนเรานี้นา หนาคืบหนึ่งสั้น ลวงสูงต่ำนั้น หามีพอวา ลวงกว้างนั้นนาศอกหนึ่งเป็นหมั้น ลวงสูงต่ำนั้น ตัวไผตัวมัน ตะโจมังสัง หนังห่อชิ้นไว้ ตับปอดและ ใส้ บ่มอยู่ภายใน เอ็นคาดเคียนไป เผียบเตียมต้นไม้ เครือเขาเกี้ยวไว้ ซุมซะซุมซาน มีน้ำเป็นยางเลือดลมแล่นขึ้น บ่เลิ๊กบ่ตื้น กู่เส้นเอ็นเรา เป็นตุ่มเป็นเป๋า เน่าหนองอยู่หั้น เป็นดีจ๊ะล้ำ เหม็นเน่าเต็มที อัฏฐิก็มี ดูกหลวงใหญ่น้อย เหมือนเอาเชือกร้อย กีมฮอกงัวควาย เตาะต่อหลวงหลาย คู้งอเหยียดไว้ วาโยจ่องไว้ คู้ไปคู้มา คู้แข้งเหยียดขา ย่างยืนเตียวได้ ในท้องปูมใส้ เต็มด้วยมลทิน ปากเคี้ยวขบกิน บ่อมีหว่างยั้ง ทั้งข้าวและน้ำ หมากเหมี้ยงปูยา มีแต่ตัณหา ใคร่กินใคร่ได้ เลี้ยงท้องปูมไส้ เป็นทุกข์พอมัน เมื่อปัญจะขันธ์ ยังอยู่ เที่ยงหมั้น เฒ่าแก่มานั้น รู้แผกผวนไป จักไปที่ไหน ได้กำไม้เท้า ชราคนเฒ่า หัวสั่นงอนงอน ผมก็ขาวผอน หนังก็เหี่ยวแห้ง ต๋งคางและแก้ม สวดว้ามวูมวาม มีรูปบ่งาม วรรณะผิวแห้ง อย่างเทียวก้มแง้น ดูกข้างหลังโคก สุดแต่ใค่หัว ก็เหมือนบี่ให้ ไผบ่ใคร่ไกล้ เขาว่าเหม็นคาว ผมดำแดงขาว ตามัวบ่แจ้ง หูก็หลึ่งแน่น ตีบติดตันไป เพื่อนปากฟู่ไกล+ บ่ยินบ่รู้ ไผบ่ใคร่อู้ หูเฒ่าบ่ยิน นั่งนอนอยู่กิน ปากจ๋านี่ได้ ลูกหลานฝูงใบ้ เขาก็ยังชัง คนเฒ่าปากหนำ บ่เยียะบ่อสร้าง มีแต่จ่มส้ามตังวันตังคืน สังมาดูยืน อายุคนเฒ่า ลูกหลาน หนุ่มเหน้า เขาว่าไปยาว คนเฒ่าสะหาว ตู๋ขี้คร้านเลี้ยง นั่งนอนอมเมี่ยง ดูดเบ้ายาควัน ลางคนก็ชัง ลางคนรักแท้ บ่เหมื้อนกันแล้ บุญไผบุญมัน องค์พระพุทธัง กล่าวไว้เป็นหมั้น การเป็นเยื่องนั้นกรรมหากพามา จิตตะวิญญาณ์ ดวงนี้เป็นเหง้า เป็นนายแต่เคล้า ขันธะทังมวลเถิงกาละควร อายุเสี้ยงหั้น มาเถิงปุ๋นอั้น บ่เป็นหยังมา ลูกหลานบุตต๋า นั่งนอนอยู่เฝ้า ถามปั๋นกินข้าว หัวสั่นงันงัน บ่อยากกินสัง ทังขบทังเคี้ยว ตาเหลือกปากเบี้ยว นอนกินน้ำยา บ่ถ้องถามหา งัวควายช้างม้า ทังผืนแผ่นผ้า เข้าของเงินคำใคร่ปากสักคำ ก็ยังบ่ได้ ยอแขนยกไว้ คู้ไปคู้มา อะโหทุกขา เป็นทุกข์แท้ไซร้ คำพระกล่าวไว้ ว่าสังขารา บ่ควรลาสา ประมาทแท้แท้ หมั่นกินหมั่นแก้ ไหว้นบคบยำ พระเจ้าพระธรรม ไว้เป็นที่จั้ง สังฆะเป็นหมั้น อย่าขาดสักวัน ไว้หื้อได้หันนิมิตภายหน้า ยามขันธ์ทั้งห้า มาดม้วยเมือมรณ์ หื้อได้เมือนอน ชั้นฟ้าอินทร์เนอ หื้อฟังคำสอนพระพุทธาเต๊อะ<O:p

    เป๋เป๋ป๋าป๋า ปุญญะกรรมา คนเราลุ่มฟ้า สหายกั่นกล้า มีไว้สองคน ทั้งเพิ้นทังต๋น เหมือนกั๋นชุผู้ คนใดกึดรู้ ค่อยอดบันเทา อย่าไปมัวเมา ต๋ามใจไคร่ได้ ไปแอ่วเซาะไซ้ ยังป๋าปะธรรม เซาะหาบาปกรรม ชุวันใจ้ใจ้ เลี้ยงท้องเลี้ยงไส้ คาบข้าวแลงงาย จักพาตัววาย สิบหายพายหน้า บ่ควรเซาะฆ่า สัตว์น้ำในดง ฝูงสัตว์และคน เหมือนกันนี้แล กลัวตายแท้แท้ ชีวิตไผมัน พาหมองหม่นเส้า ฟังธรรมพระเจ้า เทศน์เทศนา ได้ยังผะหญา ดวงคารส้อยร้อย หวานยิ่งกว่าอ้อย คือรสสะธรรม สหายใจดำ มันบ่มาไกล้ เราผาบแพ้ได้ ปัญจะมารัง กถาพุทธัง ยังคุณ
    <?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>พระเจ้า จักไหลเลื่อมเข้า ปกห่มค้ำชู มีใจมุทู สัตว์ตัวใหญ่น้อย บุญพระยอดสร้อย เตื่อมค้ำปกงำ บ่มีใจดำ ใจขาวเพียงฝ้าย เปรียบเหมือนไหมด้าย กลายเป็นไหมดำ ได้ละบาปกรรม ย้อนธรรมพระเจ้า ไหว้ทุกค่ำเช้า วิตักในทัย พิจารณาไป มันหากจักรู้ หมั่นฟู่หมั้นอู้ ผู้รู้คนดี หมั่นขัดหมั่นสี มักจักเลี่ยนเกลี้ยง พร้ามีดขึ้เหมี่ยง หมั่นฝนดีไป หื้อแปล๋งใจใส่ นบธรรมพระเจ้า ทังหนุ่มทังเฒ่า ใหญ่น้อยชายญิง ยามเมื่อท้วงติ๋ง ย่างเทียวไปได้ หื้อหมั่นไปไหว้ พระพุทธ์ธรรมา รักษาสิกขา ศีลแปดศีลห้า หื้อได้น้อมหน้า ไปสู่มรรคา วิสุทธิยา ทิฏฐีกังขา พ่ำเพงใจ้ใจ้ ภาวนาไว้ เป็นนิรันดร์เรือง เที่ยงจักรอดเมือง พระนิพพานแล ใคร่ถึงพระนิพพาน หื้อภาวนาเทอะ ฯลฯ<O:p


    หนังสือที่ระลึกในงานไหว้ครูบูรพาจารย์ (เสาร์ห้า) พระประกอบบุญ สิริญาโณ วัดมหาวัน จังหวัดลำพูน
    <!-- / message -->

    จากหนังสือวันทามิภันเต แต่งเรียบเรียงโดย พระอาจารย์ประกอบบุญ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2008
  10. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    ] CAKHQVKX.jpg

    CAUBMZED.jpg

    CAE7WTAZ.jpg

    วางศิลาฤกษ์102.jpg

    วางศิลาฤกษ์104.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 กันยายน 2008
  11. ครึ่งชีวิต

    ครึ่งชีวิต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,178
    ค่าพลัง:
    +15,103
    [​IMG] สาธุ ขอรับ
     
  12. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    [​IMG]



    พระครูบาเจ้าศรีวิชัย รุ่น มหาบารมีโพธิสัตว์หริภุญไชย สืบสานพระโพธิญาณบารมีครูบาเจ้าศรีวิชัย



    <!-- / message -->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2008
  13. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    1.พระผงสะหรี๋พันต้น
    สืบสานตำนานการสร้างตามตำรับครูบาเจ้าศรีวิชัย

    พระอาจารย์ประกอบบุญ พร้อมคณะศิษย์ยานุศิษย์ได้ประกอบพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์สืบชาตาหลวง ทำบุญประจำปี เพื่อถวายบูชาพระคุณครูบาอาจารย์ทั้งหลายอาทิองค์หลวงปู่ปานวัดบางนมโค พระครูบาเจ้าศรีวิชัย พระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี พระครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนา หลวงพ่อพระราชพรหมยานวัดท่าซุง พระครูบาเจ้าคำปันธัมมาสน ซึ่งตรงกับวันเสาร์ขึ้น ๕ ค่ำของทุกปี
    โดยเริ่มพิธีในวันที่ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๘(ขึ้น ๔ ค่ำ) เวลา ๑๙.๒๙ ประกอบพิธีพุทธาภิเษกมงคล พระสงฆ์สวดมนต์ตั๋นแบบลานนาโบราณพระมหาเถระนั่งแผ่เมตตาอธิษฐานจิตพระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ๕ กัณฑ์ สวดเบิกกวนข้าวทิพย์ประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ตลอดทั้งคืน
    วันเสาร์ที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๔๘ (ขึ้น ๕ ค่ำ)เวลา ๐๙.๑๙ ประกอบพิธีบวงสรวงบูชาพระรัตนตรัยพระครูบาอาจารย์เจ้าประกาศให้เทพพรหมเทวดา ดวงพระวิญญาณบูรพกษัตริย์มีพระนางเจ้าจามเทวีปฐมกษัตริย์แห่งหริภุญชัยนคร เป็นต้น เวลา ๐๙.๓๙ ประธานพระมหาเถระ จุดเทียนมหาชัยมงคล พระมหาเถระครูบาอาจารย์นั่งแผ่เมตตาอธิษฐานจิต พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ สืบชาตาหลวงฉลองสมโภชน์พระประธานในพระวิหาร พุทธาภิเษกพระสิงห์สหรี๋พันต้น และวัตถุมงคลต่างๆที่จัดสร้างขึ้น

    โดยพระอาจารย์ประกอบบุญ ได้ประกอบพิธีไหว้ครสวดสืบชาตาและพุทธาภิเษกพระสิงห์สะหรี๋พันต้น ณ วิหาร วัดมหาวัน อ.เมือง จังหวัดลำพูน ต่อหน้าพระประธานอายุกว่าพันสองร้อยปีและ พระพุทธสิกขี (แม่พระรอดที่เชื่อว่าสร้างจากแท่นศิลาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จนั่งประทับเทศนา)แวดล้อมด้วยพระเถรานุเถระผู้ทรงคุณทางจิต ร่วมอธิษฐานฤทธิ์ โดยพร้อมกัน คือ
    หลวงปู่คำ สังวโร วัดศรีดอนตัน อ.เมือง จ.ลำพูน ศิษย์อาวุโสสายครูบาเจ้าศรีวิชัย ผู้ที่เกศาธาตุของท่านกลายเป็นพระธาตุขณะที่ท่านยังทรงสังขารอยู่ (ประวัติของท่านอาจารย์ปริญญา ณ เชียงใหม่ ได้เขียนลงในนิตยสารอุณมิลิตแล้ว ท่านเป็นพระที่น่ากราบไหว้จริงๆครับ)
    หลวงปู่ ครูบาอินตา วัดวังทอง อ.เมือง จ.ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาบวร สุขบท วัดป่าซางน้อย อ.เมือง จ. ลำพูน ท่านเป็นพระกรรมฐาน ซึ่งเคบธุดงค์กับท่านหลวงปู่ครูบาพรหมจักรและครูบาสุรินทร์
    หลวงปู่ครูบาอินสม เจ้าคณะอำเภอสบเทย จ.แม่ฮ่องสอนพระเถระรูปนี้เชี่ยวชาญเตโชกสิณ เป็นพิเศษ
    หลวงปู่ครูบาจันทร์แก้ว วัดวังไฮ อ.เมือง จ.ลำพูน ศิษย์สายครูบาวัดบ้านยู้ พระเถราจารย์ยุคเก่าผู้ทรงอิทธิจิตสูงท่านเชี่ยวชาญศาสตร์ลานนามาก โดยเฉพาะเรื่องป้องกันข่ามคงท่านมีเชื่อเสียงมาก
    หลวงปู่ครูบาบุญเป็ง วัดทุ่งปูน อ.เมือง จ.ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาคำอ้าย(พระครูสิทธิวรญาณ) วัดศรีคำชมภู อ.เมือง จ.ลำพูน
    หลวงปู่ครูบาสิงห์ วิสุทโธ วัดถ้ำป่าไฝ่ อ.เมือง จ.ลำพูน ท่านปฏิบัติธรรมสายวัดท่าซุง จ.อุทัยธานี
    นอกจากนี้ท่านพระครูปัญญาธรรมวัฒน์ (ครูบาอินทร) วัดสันป่ายางหลวง จ. ลำพูนยัง อธิษฐานจิตปิดท้ายให้เป็นกรณีพิเศษอีก
    การอธิษฐานจิตวัตถุมงคลครั้งนี้แวดล้อมด้วยคณะสงฆ์สวดปริตมนต์ และเสริมชะตาตามแบบลานนาตลอดพิธีอธิษฐานจิต ซึ่งก่อนทำพิธีได้กระทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระเศียรพระประธานอุโบสถ วัดมหาวันที่มีอายุกว่าพันปี (ชำรุดตามเวลาพระอาจารย์ประกอบบุญเป็นแม่งานบูรณะ) คนที่มางานนี้ต่างอิ่มบุญอิ่มใจไปตามๆกันส่วนอิทธิวัตถุโดยเฉพาะพระสิงห์สะหรี๋พันต้นที่สร้างยากมากเพราะต้องใช้บารมีสูงที่จะรวบรวมได้พันวัดพันต้น นับเป็นประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญจริงๆที่สามารถสร้างได้รายละเอียดมวลสารจะนำเสนอต่อไป

    <!-- / message --><!-- / message --><!-- edit note -->

    พระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ ท่านได้เคยสร้างพระวัตถุมงคลที่ผ่านมาหลายรายการครับ เป็นที่แสวงหาของเหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์ เพราะมีประสบการณ์ที่เกิดขึ้นมากมายครับ อาทิเช่น
    1. พระผงสะหรี๋พันต้น ปี2548
    2. เหรียญสมเด็จปฐม รุ่น แผ่นดินไหว ปี2549
    3. พระรอดเนื้อดินสุดยอดมวลสาร ไหว้ครูปี2550 รุ่น เสาร์ 5 ชนะสิบทิศ
    4. เหรียญพระพิคเณศและท้ามสหัมบดีพรหม งานวันเกิด ปี 255
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 ตุลาคม 2008
  14. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    กัมมัฏฐานรอม

    รวบรวมโดยพระศรีวิชัยยานะภิกขุ ปางเมื่ออยู่วัดพระสิงห์หลวงนพบุรีเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๔๗๕<O:p
    <O:p

    กล่าวภาวนา<O:p
    โยคาวจร คฤหัสถ์และนักบวชจัดคิดน้อมจิตใจถือกัมมัฏฐานดั่งอั้นให้ตั้งจิตใจอ่อนน้อมละเอียดสุขุมดีแล้วแล ถ้าหากจักภาวนายังสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐานดังนี้ ให้ได้ขนขวายหาข้าวตอก ดอกไม้ เทียน ใส่ขัน แต่งเป็น ๕ โกฐาก(ส่วน) แล้วเอามาตั้งไว้ตรงหน้าพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ก็ดี ไหว้นบครบยำอันอ่อนน้อมด้วยศรัทธาเลื่อมใสยินดีแล้วให้นั่งคุกเข่าพนมมือขึ้นไหว้เป็นดั่งจุมดอกบัว ให้นิ้วมืออยู่ตรงกันแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์ ด้วยอาการทั้ง ๕ คือศอกทั้ง ๒ เข่าทั้ง ๒ หน้าผากให้ลงชิดพื้น เวลาไหว้อย่าให้นิ้วมือสานกัน แล้วให้ถือขันขึ้นเหนือคิ้วแล้วกล่าวคำขึ้นขัน ๕ สมมาแก้ว ๕ โกฐาก ว่าดังนี้<O:p
    โยขันดอก<O:p
    โย สันนิสิโน วรโพธิมุลเล มารังสะเสนัง มหัตติงวิชัยโย สัมโพธิมาคัญฉิง อนันตัญญาโณ โลกุตตโม ตัง ปันนะมามิพุทธัง อัฏฐังคิโก อริยปโถ ชนานัง วิโมกขะ ปเวสายะ อุชุกะมักโค อะยัง อะสันติกะโรปะนิยานิโกตัง ปันนะมามิธัมมัง สังโฆวิสุทโธ วะระทักขิเณยโย สันตินถะริโย สัปปะมะลัปปหิโน คุเนหิเนเกหิสะมิตธิปัตโต อะนาสะโว ตังปันนะมามิสังฆัง นะมามิพุทธังคุณะสาคะรันตัง นะมามิธัมมังมุนิราชะเทสิตัง นะมามิสังฆัง มุนิราชสาวะกัง นะมามิกัมมัฏฐานัง นิพพานาธิคะมุปายัง นะมามิ กัมมัฏฐานะ ทายะกาจะริยัง นิพพานะมัคคุเทสะกัง อัจจโยมะภันเต อัชฌะคัมมา ยถาพลัง ยถามุลลหัง ยถาอกุสลัง โยหังพุทธะ ธัมมะ สังฆะ กัมมฏฐานัง กัมมัฏฐานะ ทายะกาจะริยะ สังขาเตสุปัญจะสุรัตตเน สุอติเตวา ปัจจุปันเนวา อวิวา ยทิวาระโหวา กาเยนะวา วาจา ยะวา มนัสสาวา ปมาทังวา อคาระวังวา อกาสิมโสหังทิสวา ยถา ธัมมังปฏิกะโลมะ ตัสสเม ภันเตพุทธติรัตตนา ปัญจะกัง อนุกัมปัง อุปาทายะ ปฏิคัณหันตุ ขมันตุ อายะติง สังวารายะ อายะติงสัง วริสามิ นะปุนเนวัง กริจฉามิ (ให้ว่า ๓หนแล้วให้ว่าอิมังเม ปูชาคาระวะกัมมัง อเภชชะ อสาธาณะ โลกิยะ โลกุตตระ สัพพะสัมปัตตินัง มัคคะผละนิพพานาปัญจะ ปัจจโยโหตุ เม นิจจัง (ว่าเสร็จกราบลง ๑ หน แล้วว่า)<O:pอิติปิโส.....สวากขาโต.........สุปฏิปันโน.....ฯลฯ<O:p





    คำขอปีติ<O:p
    ถ้าหากว่าจักภาวนานั้น ที่ใดสงัดแก่หูแก่ตา ให้ไปอยู่ที่นั้น แล้วให้นั่งพับพะแนงเชิง คือให้เอาปลายเท้าขวาซุกเข้าเงื้อมน่องซ้าย เอาส้นเท้าซ้ายติดหน้าแข้งขวา ให้ขาทั้งสองลงติดอาสนะที่นั่ง ตั้งตัวให้ตรง แล้วประนมมือขึ้นติดหน้าผาก แล้วกล่าวคำขอเอาปีติว่า<O:p></O:p>
    สาธุ สาธุ พระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า พระกัมมัฏฐานเจ้า ครูบาอาจารย์เจ้า ผู้เป็นกัมมัฏฐานทายกะทั้งมวล เป็นที่พึ่งที่ระลึกแห่งผู้ข้า ผู้ข้าจักขอภาวนาพุทธานุสติกัมมัฏฐานเจ้า เอาปีติสมาธิธรรมเจ้าดวงประเสริฐ เพื่อให้หมดทุกข์สิ้นทุกข์แห่งผู้ข้าทั้งหลาย ขอพระพุทธเจ้าโปรดเอ็นดู กรุณาให้พุทธานุสติกัมมัฏฐานแก่ผู้ข้าแด่เทอญ ผู้ข้าภาวนาพุทธานุสติกัมมัฏฐานเจ้า อันประเสริญนี้แล้วขอจงให้ปีติสมาธิธรรมเจ้าดวงประเสริฐมาบังเกิดในจิตตะสันดานแห่งผู้ข้า ในอิริยาบถอันผู้ข้านั่งภาวนานี้แด่เทอะ<O:p></O:p>
    <O:p> </O:p>

    คำภาวนาพุทธคุณ<O:p></O:p>

    บุคคลผู้ใดจักภาวนาพุทธคุณเจ้า ให้เปล่งวาจากล่าว<O:p></O:p>
    อิติปิโส ภควา อรหังสัมมา สัมพุทโธ วิชชา จรณสัมปันโน สุคคโต โลกาวิทู อนุตตะโร ปุริสทัมมสารถิ สัตถา เทวา มนุสสานัง พุทโธ ภควาติ (ดังนี้ ๓ หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    โสภควา อิติปิ อรหัง (๓ หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    อรหังสัมมา สัมพุทโธ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัมมาสัมพุทโธ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    พุทโธ พุทโธ นึกบริกรรมไปไจ้ๆ ให้ได้ร้อยหนพันหนตามแต่ความอุตสาหะของแต่ละคนเทอะ บุคคลผู้นั้นจะได้อานิสงส์ ๕๖ กับแลฯ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    <O:p></O:p>


    <O:p></O:p>


    คำภาวนาธัมมคุณ<O:p></O:p>

    บุคคลผู้ใดจักภาวนา ธัมมคุณเจ้า ให้เปล่งวาจาว่า<O:p></O:p>
    สวากขาโต ภควตาธัมโม สันทิฏฐิโก อกาลิโก เอหิปสิโก โอปันนยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ ติ (ดังนี้ ๓ หน แล้วว่า)<O:p></O:p>
    สวากขาโต ภควตา ธัมโม (๓ หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    ภควโต ธัมโม (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    ธัมโม ธัมโม นึกบริกรรมไปไจ้ๆตามอุตสาหะของแต่ละคนเทอะ บุคคลผู้นั้นจักได้ผละอานิสงส์ ๓๘ กัปแลฯ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนาสังฆคุณ<O:p></O:p>

    บุคคลผู้ใดจักภาวนา สังฆคุณเจ้า ให้เปล่งวาจาว่า<O:p></O:p>
    สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ยายปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ยทิทังจัตตาริปุริสสะ ยุคคานิ อถปิสสะ ปุคคลานิ เอสะ ภควโต สาวกสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชุลีการะณิโย อนุตตรัง ปัณญักเขตตัง โลกัสสาติ ( ๓ หนแล้วว่า )<O:p></O:p>
    สุปฏิปันโน ภควตา สาวกสังโฆ ( ๓ หนแล้วว่า )<O:p></O:p>
    ภควโต สาวกสังโฆ ( ๓หนแล้วว่า )<O:p></O:p>
    สาวกสังโฆ สาวกสังโฆ นึกบริกรรมไปไจ้ๆ ตามอุตสาหะของแต่ละคนเทอะ บุคคลนั้นจักได้ผละอานิสงส์๑๔ กับแลฯ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนาเมตตาตนเอง<O:p></O:p>

    จักภาวนาเมตตาตนเองให้อยู่ดีมีสุข ให้เปล่งวาจาว่า<O:p></O:p>
    อหัง สุขิโตโหมิ อเวโรโหมิ สุขีอัตตานัง ปริหารามิ อนีโฆโหมิ สุขีอัตตานัง ปริหรามิ (๓ หนแล้วว่า ) อหัง สุกขิโตโหมิ นึกบริกรรมไปไจ้ๆ ตามอุตสาหะของแต่ละคนเทอะ<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนาพรหมวิหาร<O:p></O:p>

    จักภาวนาพรหมวิหารทั้ง ๔ ให้ภาวนาเมตตาสัตว์โลกทั้งหลายให้อยู่ดีมีสุข ให้เปล่งวาจาว่าดังนี้<O:p></O:p>
    ทัสสสุนิสา สุฏฐิตา สัพเพ สัตตา สุขิตาโหนตุ อเวราโหนตุ อัพยาปัชชา โหนตุ อนีฆา โหนตุ สุขีอัตตานัง ปริหารันตุ (๓หนแล้ว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา สุขิตาโหนตุ (บริกรรมไปเรื่อยๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอญ แล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา ทุกขปมูญชันตุ สัพเพปาณา ทุกขมูญชันตุ สัพเพภูตา ทุกขามูญชันตุ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา ทุกขาปมูญชันตุ (บริกรรมไปเรื่อยๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอะแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา ลัทธ สัมปัตติโต ลัทโธ ยัสสโต ลัทธ สุกขโต มาวิคโต โหนตุ ภิญโญ สัมปัตติ โหนตุ ภิญโญ สัมปัตติยา วุฑธิโหนตุ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา ลัทธ สัมปัตติโต มาวิคโต โหนตุ (บริกรรมไปเรื่อยๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอญ แล้วว่า) สัพเพ สัตตา ทุกขีวา สุขีวา ยถารุจิยาสุ ทุกขทุกขา มุญเจยยัง สัพเพ สัตตา กัมมสกา กัมมทายาทา กัมมยานิ กัมมพันธุ กัมมปฏิสรณา (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สัพเพ สัตตา กัมมสกา (บริกรรมไปไจ้ๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอะฯ)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนากาย คตาแลฯ<O:p></O:p>

    จักภาวนา กายคตา ให้เปล่งวาจา อัฏฐิ อิมัสมิง กาเย เกสาโลมา นักขา ทันตา ตโจ มังสัง นหารู อัฏฐิ อัฏฐี มิญชัง วักกัง หัตทยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง ปิหากัง ปัปพาสัง อันตัง อันตคุณณัง อุททริยยัง กริสัง ปิตตัง เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วสา เขโฬ สิงฆานิกา ลสิกา มุตตัง มัตถเก มัตถลุงคันติ ทวัตติงสา การัง (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    เกศา โลมา นักขา ทันตา ตโจ ตโจ ทันตา นักขา โลมา เกศา ปฏิกูลา ทุคันธา อสุภา เชกุจฉา อนิจจา ทุกขา อนัตตา วิปรินามธัมมา (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    อนิจจา ทุกขา อนัตตา วิปรินามธัมมา (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    ธัมมา ธัมมา (บริกรรมไปไจ้ ๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอะฯ)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนาทิฏฐิวิสุทธิญาณ ให้เปล่งวาจาว่าดังนี้<O:p></O:p>

    อิทัง พยามะมัตตัง กเฬวรัง นามรูปัง มัตตวิทัง พยามะมัตตัง กเฬวรัง รูปันนรักขณัง รูปัง นามะนะลักขะณัง นามัง อิทังนามะรูปัง อัณญมัณญัง นิสสิตัง ปังสกู ลัทธะสะทิสัง (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    รูปันนะลักขณัง รูปังนามะนะลักขณังนามัง (บริกรรมไปไจ้ๆให้ได้ร้อยทีพันทีตามอุตสาหะเทอะ)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนากังขาจักภาวนา กังขาวิตรณะ วิสุทธิ ให้เปล่งวาจา ดังนี้<O:p></O:p>

    อะเหตุกัง อัปปะจะยัง นามะรูปัง นุปัชชตินะปะวัตตะติสะหตุกัง ปันนะ สัปปัจจะยัง นามะรูปัง อุปัชฌติ ปะวัตตะติ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    สะเหตุกัง สัปปัจจยัง นามะรูปัง (บริกรรมไปไจ้ๆ ให้ได้ร้อยที พันที ตามอุตสาหะเทอะ)<O:p></O:p>
    <O:p></O:p>

    คำภาวนาไตรลักณ์ ( ๓ ไตร )จักภาวนาไตรลักขณวิปัสสนาเล่า ให้เปล่งวาจาว่าดังนี้<O:p></O:p>

    นามรูปัง อนิจจังขยัตเถนะ นิจจังวัตตังนิพพานนัง นามรูปังทุกขัง ภยัตเถนะสุกขัง วัตตะนิพพานนัง นามรูปัง อนัตตา อสาระกัตเถนะสารัง วัตตะนิพพานนัง (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    นามรูปัง อนิจจังขยัตเถนะ นามรูปังทุกขัง ภยัตเถนะ นามรูปัง อนัตตา อาสาระกัตเถนะ (๓หนแล้วว่า)<O:p></O:p>
    นามรูปัง อนิจจัง นามรูปังทุกขัง นามรูปัง อนัตตา (๓หนแล้วว่า) <O:p></O:p>
    นามรูปัง อนิจจัง นามรูปังทุกขัง นามรูปัง อนัตตา (บริกรรมในใจไปเรื่อยๆ ให้ได้ร้อยทีพันที ตามอุตสาหะเทอญ แล้วว่า)<O:p></O:p>
    นิจจัง วัตตะนิพานัง สุขัง วัตตะนิพพานัง สารัง <O:p></O:p>
    วัตตะนิพพานัง นิพพานังปรมังสุขัง (ถึงอันนี้แล้วว่า)<O:p></O:p>
    ออาทิติปทัง ตานตัง ยัสสติฐติ ปัณฑเร ทุกข สันตโร เอโสนิพพานัง ปาปุณณิสสติ (ว่า๓หนบุคคลผู้ได้ปฏิบัติตามนี้ก็เที่ยงว่าจักได้เข้าสู่นิพพานแน่แท้อย่าสงสัยแล)<O:p></O:p>
    ภาวนาพุทธนุสสติกัมมัฏฐาน ได้สัมปัตติ ได้นิพพาน<O:p></O:p>
    ภาวนาธัมมานุสสติ ได้สวรรค์เทวโลกแล<O:p></O:p>
    ภาวนาสังฆานุสสติกัมมัฏฐานเพื่อให้พ้นจาก สัพพทุกข์ สัพพภัย สัพพโรคาทั้งมวล ถ้าจุติตายบ่ได้เกิดในอบายคือนรก เป็นเปรต เป็นสัตว์เดรัจฉานในป่าในบ้าน จักได้ไปเกิดในสวรรค์เทวโลก เสวยสุขหาทุกข์ภัยโรคาไม่ได้เหตุว่าคุณffice:smarttags" /><?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ไตรรัตน แก้วเจ้า 3 ประการรักษาแล<O:p></O:p>
    เหตุดังนี้ผู้มีปัญญา ปรารถนาเพื่อให้เป็นสุขแก่ตนในชาตินี้และชาติหน้า ควรภาวนาพุทธคุณ ธัมมคุณ สังฆคุณ เพื่อรักษาตัวให้พ้นจากสัพพทุกข์ภัยมาก ให้ได้เสวยความสุขในภาวนี้ภาวภายหน้าตราบถึงนิพพานแท้จริงแล<O:p></O:p>
    ภาวนากายคตา คือ พิจารณาเกสา โลมา เป็นต้น ชื่อว่า ตอบแทนคุณบิดามารดา คือว่าพ่อและแม่แห่งตนด้วยการกระทำอันยิ่ง อนึ่งเล่าเป็นเหตุให้ตนเองได้ดูดกินน้ำอมตะรส คือ พลันได้ถึงนิพพาน อันบ่รู้ตายบ่รู้ฉิบหาย เฒ่าแก่ชรา เป็นอันแน่ว่าจักรำงับดับเสียยังทุกข์ทั้งมวลอันมีในวัฏฏสงสาร<O:p></O:p>
    อาจารย์เจ้ากล่าวว่า ผู้ใดไม่ได้เจริญภาวนา
     
  15. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    ในโอกาสงานทำบุญประจำปีอายุวัฒนมงคล ปี2551 ที่บรรดาพุทธบริษัทลูกศิษย์ญาติโยมได้ร่วมกันจัดขึ้นได้บังเกิดสิ่งที่เป็นมหามงคลมหากุศลหลายประการ คือ ประการแรกได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากเจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายกทรงพระเมตตาทรงโปรดประทานพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน109 องค์ เพื่ออาราธนาบรรจุในพระพุทธรูป ทรงโปรดประทานพระนามพระพุทธรูป สมเด็จองค์ปฐมทรงเครื่องจักรพรรดิ ทรงถวายพระนามว่า พระพุทธรัตนาภรณ์นครเวียงชัย ทรงโปรดประทานพระพุทธรูปให้วัดต่างๆจำนวน 39 องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ นับเป็นสิริสวัสดิ์มิ่งมงคลสำนึกในพระเมตตาคุณที่แผ่คุ้มเกล้าแก่วัดพระพุทธบาทหริภุญชัยห้วยทรายขาวแก่เกล้ากระหม่อมพร้อมทั้งบรรดาพุทธบริษัท คณะศิษย์ทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเดช อำนาจกุศลบุญบารมีอันพึงปรากฎที่บรรดาบรรพชิตและฆราวาสได้สมัครสมานสามัคคีพร้อมกันจัดขึ้นขอน้อมเกล้าถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ในวโรกาสมหามงคลสมัยทรงเจริญพระชนม์พรรษา 80 พรรษาพร้อมทั้งบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ และน้อมถวายพระกุศลแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช พระผู้เป็นมิ่งขวัญฝ่ายพุทธศาสนจักร ในงานทำบุญปีนี้ได้จัดพิมพ์หนังสือ โสตัตถกีมหานิทาน เป็นธรรมบรรณาการมอบถวายแด่พระมหาเถรานุเถระพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทุกท่าน โสตัตถกีมหานิทาน เป็นตำราพระบาลีแต่งโดยพระมหาเถระชาวลังกามีนามว่าจุฬพุทธโฆส ได้แต่งตำราไว้ 2เ ล่ม ชื่อว่า ชาตัตถกีนิทาน และ โสตัตถกีนิทาน ความหมายของโสตัตถกีมหานิทานหมายถึง คำเทศนาอันยิ่งใหญ่ว่าด้วยที่ว่าแห่งพระพุทธเจ้า ซึ่งมีความหมายเช่นเดียวกันที่ว่า คำแห่งพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นหนังสือที่สำคัญอธิบายแนวทางในการบำเพ็ญบารมีแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงตรากตรำบำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อหวังโปรดเวไนยสัตว์รื้อขนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากโอฆสังสารเข้าสู่นิพาน เป็นระยะเวลานานแสนนานจำนวน 20 อสงไขยกัปป์อีกแสนมหากัปป์ จนกระทั่งพระองค์ได้ทรงออกมหาภิเนษกรม บำเพ็ญเพียรจนบรรลุอภิเษกสัมมาสัมโพธิญานระยะเวลาที่พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมีนั้น ได้ทรงเสียสละทรัพย์สมบัติอวัยวะ ชีวิต บุตรธิดา ภรรยา ให้เป็นทานบำเพ็ญทศบารมี หวัง สัพพัญญูตัญญาณ สิ่งเดียวเท่านั้น
    อีกทั้งหนังสือเล่มนี้หาอ่านได้ยากมาก ข้าพเจ้าเห็นเป็นพระคัมภีร์ที่เขียนด้วยภาษาล้านนามีอยู่หลายฉบับทั้งภาษาบาลีพร้อมคำแปล ที่ชัดเจนเห็นจะมีฉบับวัดสูงเม่นจังหวัดแพร่ของ ครูบามหาเถระกัญจนะ อรัญญวาสี ได้รจนาไว้และยังมีอีกหลายฉบับด้วยกัน นำมาแปลเป็นภาษาไทยครั้งแรก เพื่อแจกในงานออกพระเมรุ สมเด็จพุฒาจารย์(เสงี่ยม จนฺทสิริมหาเถระ) วัดสุทัศน์เทพวนาราม ปี2526 ต่อจากนั้นมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้นำมาตีพิมพ์ ข้าพเจ้าเห็นว่าถ้าพิมพ์เป็นภาษาล้านนาก็จะทำให้สาธารณะชนคนทั่วไปนั้นจะเข้าใจยาก ด้วยเป็นภาษาเก่าท้องถิ่น จึงนำฉบับพากย์ภาษาไทยแปลโดย( ร้อยตรีบรรจบ บรรณรุสิจ ป.ธ.๙ ,พ.ม,พธ.บ)มาเป็นต้นฉบับเพื่อให้เป็นที่เข้าใจโดยง่ายและกะทัดรัดได้ใจความ ขอท่านผู้สนใจโปรพิจารณาด้วยอุสาหะแล้วจะได้ประโยชน์อันมหาศาล ข้าพเจ้าขออนุโมทนาในกุศลเจตนาของคณะลูกศิษย์ทุกคนที่ช่วยกันจัดทำหนังสือแจกในงานบุญประจำปี เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาประกอบกับเวลาในการจัดทำมีน้อยและเร่งรัดเป็นอย่างมากย่อมมีส่วนแห่งการผิดพลาดบกพร่อง ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบในส่วนแห่งความผิดพลาดนั้นและกราบขอขมาอภัยต่อท่านเมธีชนคนผู้รู้ทุกท่านมา ณ ที่นี้ด้วย ประการหนึ่งนั้นโอกาสมงคลได้มาถึงเราท่านทั้งหลายอีกคราวหนึ่ง เมื่อบรรดาศิษย์ญาติโยมได้ร่วมใจกันจัดงานทำบุญประจำปีขึ้น ได้กราบอาราธนานิมนต์พระมหาเถรานุเถระ ครูบาอาจารย์ พระสุปฎิปันโนได้เมตตามาร่วมงานให้พวกเราได้บำเพ็ญบุญกุศลในบุญครั้งนี้ เป็นเหตุให้ได้บำเพ็ญสร้างทานไปสวรรค์ มีพระนิพานเป็นที่สุดในงานทำบุญมิได้ปรารถนาสิ่งใดนอกจากบุญกุศล หรือเพื่อจะให้มีอายุยืนยาวหรือปรารถนาความสุขจากพิธีกรรมใดๆ สำคัญอย่างยิ่งเป็นผลดีกับบรรดาท่านนักศีลนักบุญทุกท่าน ได้มาทำบุญกับพระปฎิบัติดีและปฎิบัติชอบ ส่วนตัวข้าพเจ้านั้นอีกไม่นานก็ต้องพังก็ต้องตาย สูญสลายไปในที่สุด ก็ไม่รู้ว่าจะเยื่อใยในโลกนี้ไปเพื่อประโยชน์อะไร แต่ในเมื่อเป็นคนก็ต้องทำประโยชน์แก่ส่วนรวม ลูกศิษย์บางคนขอเขียนประวัติส่วนตัวรวมทั้งผลงานลงในหนังสือเล่มนี้ด้วย แต่ตัวข้าพเจ้าเองได้ทักท้วงไว้เพราะเห็นว่าไม่มีประโยชน์สิ่งใดเท่าที่ควร เพราะที่ทำอยู่ทุกวันนี้ไม่ได้หวังทำไปเพื่อโฆษณาตัวเองให้คนทั่วไปได้ทราบ ความดีทำให้มากแต่อย่านำไปอวดเขาเลย สิ่งสำคัญประวัติและผลงานที่ทำอยู่นั้นก็มีเพียงเล็กน้อย ความดีมีเท่าหางอึ่งอย่าพึงไปบอกใครเพราะความชั่วยังมีอีกมาก ตราบใดที่ยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์เมื่อไร อย่าได้ไว้ใจตนเอง อย่าประมาทให้ระวังอย่าผิดไปจากพระธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่าให้เสียชื่อมาถึงพ่อแม่ครูบาอาจารย์จงบอกกับลูกศิษย์ไปอย่างนั้น ส่วนรูปภาพที่ได้ลงและเขียนบทความที่ได้ในหนังสือนั้นได้ลูกศิษย์เป็นผู้จัดทำ โดยเวลาในการจัดทำก็มีน้อย จึงมีบทความที่ส่งมาลงไม่ทันส่วนที่เหลืออีกหลายฉบับที่ลงไม่ทันในการจัดพิมพ์จึงขออภัย และจะนำมาลงพิมพ์ในโอกาสหน้า ถ้ายังมีชีวิตอยู่ถ้าไม่ได้ตายก็แล้วกันไป จึงขอทำความเข้าใจว่าข้าพเจ้าเป็นพระธรรมดาไม่มีคุณสมบัติอันใดเป็นกรณีพิเศษ ไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆเพราะถือว่าทรัพย์สมบัติทั้งหลายที่ได้รับมานั้นข้าพเจ้าถือว่าได้มาด้วยอาศัยบารมีของพระพุทธเจ้า เป็นทรัพย์สมบัติของพระพุทธเจ้าและศาสนา ควรจะนำไปทำให้เกิดประโยชน์กับพระพุทธศาสนาและสาธารณะประโยชน์ส่วนรวม ข้าพเจ้าไม่มีคุณวิเศษอันใด ข้าพเจ้าเป็นพระที่มีแต่หนี้พูดกันตามความจริงตรงนี้เพราะมีงาน สิ่งก่อสร้างที่จำเป็นหลายแห่ง ถือคติว่าทำไปก่อนแล้วจ่าย เพราะจะทำให้เราไม่ต้องเก็บสะสมเงินที่ญาติโยมถวายมา ที่สำคัญคือเป็นหนี้บุญคุณของพระพุทธเจ้า พระศาสนา ครูบาอาจารย์ และยังเป็นหนี้บุญคุณญาติโยมพุทธบริษัทคณะลูกศิษย์ทุกคนที่ได้ร่วมช่วยเหลือสนับสนุนดูแลมาตลอด ฉะนั้นข้าพเจ้าต้องใช้หนี้บุญคุณพุทธบริษัททำสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นสิ่งที่ดีงาม แก่ท่านทั้งหลายจนกว่าจะหมดแรงลมหายใจ แม้ว่าตายไปก็คงใช้หนี้กันไม่หมดแน่ ดังนั้นขอลูกศิษย์ทั้งหลายและญาติโยมทุกคนจงตั้งหมั่นอยู่ในคุณความดีที่พระพุทธเจ้าสอนให้รักษาสืบทอดปฎิปทาแนวทางปฏิบัติที่ครูบาอาจารย์นั้นได้สั่งสอนไว้ชำระพัฒนาจิตของตนให้สงบปราศจากความเศร้าหมองคือ อวิชาที่ครอบงำรักษา กายวาจาใจ รักษาธรรม สรรค์สร้างสิ่งที่ดีงามระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกขณะจิต ความเป็นพุทธจะปรากฎเบ่งบานขึ้นในใจทุกท่าน ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยบุญบารมีพระครูบาอาจารย์ทุกๆองค์พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยาน พระเดชพระคุณหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยวงศา อีกทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายบุญบารมีพระแม่เจ้าจามเทวี บุญกุศลและบุญที่เราท่านทั้งหลายได้ร่วมกันบำเพ็ญจงปกป้องอภิบาลให้ท่านทั้งหลายเจริญไปด้วยสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูลผลมีความสมหวังเจริญในธรรมทุกประการ

    <O:pพระประกอบบุญ สิริญาโณ<O:p

    นันท์ทัพพ์ ลีรัตนขจร<O:p
    ได้รู้จักท่านก็ประมาณ 13 ปีแล้ว ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นเณรอยู่พบกันกับท่านที่วัดทัพโพธิ์ทอง จ.ราชบุรีเมื่อตอนผมไปถือศีลบวชพราหมณ์ที่นั้นในช่วงตรงกับวันปีใหม่พอดีเป็นเวลา 3 วัน กับท่านแม่ชีระเบียบ ผู้ซึ่งเสียสละทุ่มกำลังกายกำลังใจเพื่อพุทธศาสนา โดยช่วงนั้นมีคนไปถือศีลทั้งผู้หญิงและผู้ชายอยู่ในวัดทัพโพธิ์ทอง ซึ่งเป็นวัดที่มีพระอาศัยอยู่จำนวนไม่มากนัก เนื่องจากค่อนข้างไกลจากตัวเมืองพอสมควร แต่ก็ยังขาดสถานที่ปฎิบัติธรรมของแม่ชีและผู้ที่จะมาถือศีลบวชพราหมณ์ที่เป็นผู้หญิง ต่อมาท่านแม่ชีระเบียบก็ได้ริเริ่มการก่อสร้างมหาเจดีย์และ สถานที่ปฎิบัติธรรมสำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วๆไป ซึ่งอยู่ตรงข้ามวัดทัพโพธิ์ทองขึ้น โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้, สอนสมาธิ,ฝึกปัญญา เพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชน และหมู่บ้านใกล้เคียงที่เป็นผู้หญิงในละแวกใกล้เคียง เพื่อที่จะมีที่ปฎิบัติธรรมที่สะดวก และเป็นสัดส่วนเพราะจะได้ไม่ไปทำความรบกวนให้กับบรรดาพระสงฆ์ในวัด จึงได้แยกออกมาก่อสร้างสถานปฎิบัติธรรมที่ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ผู้หญิงและเยาวชน รวมทั้งเด็กในวัยเรียนได้ถือศีลบวชชีพราหมณ์เพื่อนำไปปฎิบัติปรับใช้ในชีวิตปัจจุบันจากที่ได้พูดคุยกับท่านเณรเมื่อครั้งนั้นก็ได้ถามข้อสงสัยต่างๆ ที่ตนเองสงสัย และไม่เคยเรียนรู้เนื่องจากผมเป็นคนจีน ที่ไม่เคยทราบถึงวิธีปฎิบัติหรือคำสอนของพุทธศาสนา ตัวผมเป็นลูกคนจีนยึดถือประเพณีปฎิบัติแบบคนจีน ซึ่งคุณพ่อกับคุณแม่ก็ยังปฎิบัติตามประเพณีจีนอยู่จนถึงปัจจุบัน ผมได้เริ่มเรียนรู้หลักคำสอน และปฎิบัติขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ให้การเรียนรู้ต่างๆทุกแง่มุมของการอยู่ร่วมในสังคมตลอดจนวิธีการใช้ชีวิตที่เป็นสมดุลย์และไม่เป็นภัยหรือเป็นภาระกับสังคม ไม่เอาเปรียบเบียดเบียนสัตว์ หรือมนุษย์ด้วยกันไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวของตัวเองหรือพรรคพวกมากกว่าประโยชน์สุขของประเทศชาติและประชาชนในชาติ โดยครั้งนั้นท่านเณรได้สอนหลักการปฎิบัติให้กับผม โดยผ่านการพูดคุยกันธรรมดาๆ จากนั้นก็ได้ติดตามท่านเรื่อยมา หลังจากครั้งนั้นที่ดีใจกับท่านก็ที่ท่านได้อุปสมบท แรกๆ กังวลเพราะกลัวท่านรู้ในโลกมากไปและกำลังเป็นหนุ่มอยู่กลัวท่านจะไม่บวชพระ แต่เมื่อท่านเป็นพระแล้วท่านก็เริ่มมีวิธีคิดที่แตกต่างไปกับการที่เป็นเณรด้วยภาวะของการเป็นพระสงฆ์นั้นเป็นอะไรที่ต้องเสียสละอยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์ของสงฆ์ ซึ่งต้องใช้ความอดทนอย่างมากพร้อมที่จะเป็นแบบอย่าง และถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่นได้ สังเกตุได้จากวิธีคิดของท่านและการถามของท่านเมื่อครั้งที่เป็นเณรนั้นตลอดเวลาที่มาจำวัดที่บ้านคำถามมีมาให้ตอบอยู่ตลอดและที่รู้คือท่านเณรพยายามใฝ่ที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาเพื่อให้เกิดปัญญา กับครั้งเมื่อท่านเป็นพระแล้วนั้นคำถามและการใฝ่รู้ของเรื่องราวนั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมากหลังจากนั้นเมื่อท่านได้จำพรรษาที่วัดมหาวัน จ.ลำพูน ตั้งแต่รู้จักกับท่านนั้นจำได้ว่าท่านเป็นผู้ให้, ผู้เสียสละช่วยเหลือผู้อื่นทุกอย่างที่ท่านพึงจะช่วยได้ไม่ว่าเป็นคำพูด, คำสอน, แรงกาย, แรงใจ,แรงทรัพย์ท่านช่วยได้ท่านช่วยทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นญาติโยม, ตำรวจทหารตามชายแดน หรือพระภิกษุ สามเณรด้วยกันท่านช่วยเหลือทำบุญวัดต่างๆหลายวัดด้วยกัน ไม่เว้นแม้กระทั่งชนชาวเขา กระเหรียง , ไทยลื้อ, แม้ว โดยไม่แยกชาติกำเนิดท่านจะนำพาคณะไปช่วยเหลือสงเคราะห์เสมอ หลังจากที่ท่านได้จำพรรษาที่วัดมหาวัน แล้วเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ท่านก็ได้ตัดสินใจครั้งใหญ่ในชีวิตของพระสงฆ์ของท่านโดยการรับเป็นเจ้าอาวาสวัดร้างบนดอยห่างไกล ริเริ่มที่กำลังจะจัดสร้างเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมให้แก่บรรดาผู้สนใจในธรรมปฎิบัติในเขตเมืองลำพูน โดยสถานที่ที่ท่านไปทำนุบำรุงนั้นก็อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองน้ำไฟก็ไม่มีสภาพเป็นวัดป่าที่รกร้าง เคยมีพระมาจำพรรษาและก็จากไปเป็นระยะๆ ผมร่วมยินดีและมีความสุขกับท่านที่ท่านได้รับภาระอันยิ่งใหญ่ของท่านที่ตั้งใจจะสร้างสถานปฎิบัติธรรมขึ้นในสถานที่อันสงบเหมาะกับการปฎิบัติทั้งๆที่วัยวุฒิของท่านนั้นยังน้อย แต่คุณวุฒิและความตั้งใจอันดีของท่านนั้น เกินกว่าที่พระในพรรษาเดียวกันจะตั้งใจ แต่อีกใจหนึ่งก็กังวลและเป็นห่วงกลัวว่าท่านจะลำบากและต้องเหน็ดเหนื่อยมากเพราะรู้จักนิสัยของท่านว่าหากท่านตั้งใจจะทำอะไรแล้วนั้น แม้นว่าจะมีอุปสรรคอันใดเกิดขึ้นท่านก็จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคนั้นโดยไม่ย้อท้อแม้ยามเจ็บป่วยก็ตาม ซึ่งเป็นภาระกิจที่ต้องรับผิดชอบมากมาย หลายคนคงคิดว่าท่านอยู่วัดมหาวันก็สบายดีอยู่แล้ว ทำไมท่านถึงได้ไปสร้างวัดที่ห่างไกลไม่มีน้ำ ไม่มีไฟฟ้า และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆการที่จะบิณฑบาตรนั้นก็ลำบาก, หมู่บ้านละแวกใกล้เคียงก็ห่างไกล ไม่เหมือนอยู่ในวัดตัวเมือง บิณฑบาตรก็ง่ายคนมาหาก็ง่าย แต่...นี่แหละคือตัวตนของท่านอาจารย์ท่านจะชอบไปช่วยเหลือวัดที่ลำบากห่างไกลท่านด้วยความเป็นพระนักพัฒนาที่แท้จริงนั้นเองจะสังเกตได้จากที่ท่านไม่เคยหยุดนิ่งทำแต่งานตลอดเวลา และวางแผนงานตลอดเวลาเช่นกัน อาจจะเป็นเพราะว่าท่านได้รับการสั่งสอนจากครูบาท่านต่างๆ ที่ท่านได้เคยศึกษาและเรียนรู้เมื่อครั้งเป็นลูกศิษย์ ซึ่งท่านบอกเสมอว่า ครูบาอาจารย์ต่างๆที่ท่านเคยนับถือเคยรับใช้อยู่นั้น เป็นแบบอย่างที่ดีในการปฎิบัติและสอนให้ท่านรู้หน้าที่ที่อันพึงกระทำ ครูบาอาจารย์ต่างๆได้สอนวิธีปฎิบัติธรรมและหน้าที่ที่ต้องกระทำ (อันนี้ผมมารู้ในภายหลังว่าเมื่อครั้งท่านยังเป็นเณรอยู่นั้นท่านได้เป็นลูกศิษย์ของครูบาต่างๆที่เก่งในแต่ละสาขาวิชา ตลอดจนครูบาเหล่านั้นก็เป็นครูบาที่ปฎิบัติและเสียสละให้กับสังคมเหมาะสมกับการเอาเป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งท่านก็ได้เอาเยี่ยงอย่างครูบาอาจารย์ทั้งหลาย)หลายท่านที่ได้รู้จักท่านและบางท่านที่ยังไม่รู้จักท่าน ผมก็อยากจะแบ่งปันร่วมถ่ายทอดเรื่องราวของท่านบางส่วนเพื่อให้ท่านที่ยังไม่เคยรู้จักได้รู้จักถึงตัวท่านว่า ท่านเป็นพระนักปฎิบัติ, เป็นพระที่คอยช่วยเหลือโดยไม่เลือกปฎิบัติ,ไม่หวังผลตอบแทน เป็นพระนักพัฒนา เป็นพระที่มีสัมมาคาระวะเคารพพระผู้ใหญ่หรือพระที่มีพรรษามากๆ และสำคัญเป็นพระที่ควรแก่การยกย่องและสนันสนุน เพื่อธำรงค์ไว้ในพุทธศาสนาของเรา<O:p<O:p</O:p



    คณะศิษย์รุ่นเสี่ย<O:p

    ข้าพเจ้าเชื่อเหลือเกินว่าผู้ที่นับถือศาสนาพุทธเป็นผู้ที่โชคดีที่สุดเพราะนอกจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประกาศสัจธรรมคำสั่งสอนไว้ในพระไตรปิฎกเพื่อเป็นหลักในการดำรงชีวิต แล้วยังมีพระภิกษุสงฆ์คอยชี้แนะให้ปฎิบัติตามได้อย่างถูกต้องชีวิตของคนเรานี้เปรียบเทียบเสมือนการเดินทางตลอดระยะเวลาแห่งการเดินทางต้องพบกับความสุขและความทุกข์ โดยปกติข้าพเจ้าและเพื่อนๆมีความนับถือ เชื่อถือในพระพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ได้มีโอกาสมาช่วยเหลืองานพระศาสนากับพระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ (ตุ๊น้า) ก็ด้วยในตอนนั้นมีความสนใจในเรื่องพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ และเรื่องเกี่ยวกับพระธาตุต่างๆจึงอยากจะศึกษาหาความรู้ จึงได้ชักชวนเพื่อนๆเข้าไปเรียนถามเกี่ยวกับเรื่องราวของพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุซึ่ง พระอาจารย์<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ประกอบบุญ สิริญาโณ (ตุ๊น้า) ก็ได้ให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างดีและยังได้เมตตามอบพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุให้ข้าพเจ้าและเพื่อนๆนำมาบูชานับเป็นความปิตียินดีอย่างยิ่ง หลังจากนั้นมาข้าพเจ้าเพื่อนๆก็ได้มีโอกาสมาร่วมงานทำบุญกับพระอาจารย์ยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะขึ้นเหนือล่องใต้ไปทำบุญที่ไหน จนถึงปัจจุบันนี้ที่พระอาจารย์ประกอบบุญได้มาสร้างวัดพระพุทธบาทเจ้าหริภุญชัยห้วยทรายขาว นอกหนือจากนั้นก็ยังมีวัดต่างๆที่พระอาจารย์ประกอบบุญได้ไปร่วมสร้างและทำบุญอีกมากมาย ในเส้นทางธรรมะนั้น ผู้ที่ปรารถนาดำเนินรอยตามองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อุปสรรคขวากหนาม ย่อมเป็นเสมือนเงาที่เดินตามควบคู่กันไปเสมอ ประหนึ่งจะทดสอบความเข้มแข็งความหมั่นคงยึดหมั่นในพระศาสนา เพราะกว่าจะมาจนถึงวันนี้ ท่านพระอาจารย์ ประกอบบุญ ท่านได้ฝ่าฟันอุปสรรคมากมายอย่างสุดที่จะพรรณนาได้ และด้วยบารมีธรรม ความรักและเมตตา ความห่วงใย ของพระอาจารย์ประกอบบุญที่มีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายและคณะศิษย์ทุกๆคนตลอดเวลา จึงทำให้คณะศิษย์เคารพนับถือใน ตัวพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ประกอบบุญ สิริญาโณ">ประกอบบุญ สิริญาโณ</st1:personName> เป็นอย่างยิ่ง<O:p
    คณะศิษย์รุ่นเสี่ย<O:p
    หนทางแห่งความหลุดพ้นไม่มีต่ำสูง แต่ยานพาหนะทั้งหลายมีความแตกต่าง <O:pผู้มีปัญญาพึงเปรียบเทียบเช่นนี้แล้ว พึงเลือกเอายานที่ประเสริฐสูงสุด <O:p
    * โพธิจิตตสูตร *


    <O:p
    พระรัตนตรัยยิ่งใหญ่เหลือประมาณ<O:p
    เชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชน ต่างก็นับถือ ยกย่องพระรัตนตรัยไว้อย่างสูงสุดองค์แก้วทั้งสามประการคือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือแก้วอันประเสริฐ มีคุณหาประมาณมิได้ในห้วงชีวิตของข้าพเจ้าละครอบครัว ยืนหยัดมั่นคงขึ้นมาได้เพราะการยึดหมั่นถือมั่น และเอื้อเฟื้อทำนุบำรุงในดวงแก้วอันประเสริฐสามประการนี้ ข้าพเจ้ากล่าวกับใคร ที่ไหน เมื่อไหร่ ก็ยืนยันเช่นนี้มาตลอดเวลา มักมีคำกล่าวอ้างจากหลายๆคนว่า ไม่พร้อม ไม่มีเวลา ไม่มีโอกาส นั่นเป็นเพียงคำกล่าวอ้างหากมุ่งมั่นศรัทธา ให้เวลาเพียงเล็กน้อยในการเริ่มต้นศึกษา และปฏิบัติ จะเข้าใจดีว่าที่บอกไม่ ไม่และไม่หาเป็นไปตามที่คิด ข้าพเจ้ามีหลักคิดว่าในองค์แก้วอันประเสริฐสามประการนี้ พระสงฆ์เป็นหัวข้อที่จะสัมผัส ใกล้ชิด และอุปฏฐากดูแลได้ดี และสะดวกที่สุด ที่สำคัญในความคิดของข้าพเจ้าเห็นว่าพระสงฆ์คือกลไกสำคัญที่จะหนุนส่งให้ พระพุทธและพระธรรม มีความงดงามและยั่งยืนในจิตในใจ ของพุทธศาสนิกชน ยิ่งพระสงฆ์เจริญงอกงามมากขึ้นเท่าใด องค์แก้วอันประเสริฐอีกสองประการยิ่งสูงค่ามากขึ้นเป็นทวีคูณ
    ณ.วันนี้ข้าพเจ้าและครอบครัวมีความปลื้มปิติอยู่ตลอดเวลา ได้อาศัยบุญเก่าในแต่ปางก่อนมาเกื้อหนุนในภพนี้ชาตินี้ ทำให้พอมีกำลังทรัพย์ กำลังปัญญาตามอัตภาพ ได้ใช้เกื้อหนุน อุปัฎฐากพระสงฆ์ได้ ท่านพระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณคือหนึ่งในพระสงฆ์ที่ข้าพเจ้าและครอบครัวมีโอกาสดูแล อุปัฎฐาก แม้เพียงน้อยนิด แต่ก็ถือว่าได้สร้างบุญสร้างกุศล ต่อภพต่อชาติเพื่อให้ถึงที่หมายข้างหน้าคือพระนิพพาน
    ในฐานะที่เป็นศิษย์ในพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ประกอบบุญ สิริญาโณ">ประกอบบุญ สิริญาโณ</st1:personName> มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่เห็นมวลหมู่คณะศิษย์อีกหลายๆท่าน เป็นกำลังหลักในการจัดงานแสดงมุทิตาจิตต่อครูบาอาจารย์ในครั้งนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่าบุญกุศลที่หลายๆท่านได้ร่วมกันสร้าง จะเกื้อหนุนให้พระรัตนตรัยมีความเจริญงอกงาม ในหัวจิตหัวใจของพุทธศาสนิกชนอีกหลายเท่าทวีคูณ.
    <O:p
    ขอกราบนมัสการในคุณของพระรัตนตรัย
    สมชาย ศรีชยกร และครอบครัว<O:p


    พระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ประกอบบุญ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก">ประกอบบุญ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก</st1:personName>
    <st1:personName w:st="on" ProductID="ประกอบบุญ ที่ข้าพเจ้ารู้จัก"></st1:personName><O:pเมื่อเดือนเมษายน 2548 ข้าพเจ้าได้ย้ายจากจังหวัดแม่ฮ่องสอน มารับราชการในตำแหน่งอัยการจังหวัดลำพูน ได้ไปเที่ยวที่วัดมหาวัน กราบพระรอดหลวงและกราบนมัสการพระอาจารย์ประกอบบุญ สิริญาโณ ได้สนทนากับท่าน ท่านอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="มีความเมตตามาก ให้ข้อคิดคติธรรม">มีความเมตตามาก ให้ข้อคิดคติธรรม</st1:personName> และได้ช่วยเหลือข้าพเจ้าหลายประการ <O:pท่านเป็นพระที่เอากิจธุระในการพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่งเป็นพระดีมีปณิธานที่ข้าพเจ้ารู้จักและฝากตัวเป็นศิษย์จนถึงปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าได้เห็นประชาชนทั่วไปมีความศรัทธาท่านอาจารย์มาก ท่านเป็นพระผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวบ้านอย่างแท้จริง <O:pข้าพเจ้าจึงขอกราบนมัสการ ในวาระอายุครบรอบวันที่ 28 มีนาคม 2551 ขอให้ท่านจงเป็นศรีพระศาสนา เป็นผู้สืบทอดกิจทางพระพุทธศาสนาสืบไป.<O:pขอให้พ่อ แม่ พี่น้องและประชาชน จงมาช่วยกันสืบสานปณิธาณของพระอาจารย์ปรกอบบุญ สิริญาโณต่อไปด้วยเ<O:p
    ( นายสกล ปันต๊ะ )
    <O:pอัยการผู้เชี่ยวชาญ<O:pสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีปกครองเชียงใหม่ ๑<O:p
    ดิฉันได้มารู้จักพระประกอบบุญ สิริญาโณ ตั้งแต่ปลายปี 2548 ได้เคยร่วมทำบุญกับท่านหลายครั้ง ชื่นชม ศรัทธาท่านที่ได้ให้ความเมตตา ให้คติธรรม ปัดเป่าทุกข์ของชาวบ้าน( รวมทั้งข้าพเจ้าด้วย) ได้เห็นศรัทธาของมวลชนที่มาร่วมทำบุญกับท่านแล้วประทับใจ ที่ท่านได้เอาใจใส่ในกิจการพระพุทธศาสนา ทั้งในวัดชนบท และในเมือง ข้าพเจ้าประทับใจในจริยาวัตรของท่าน.<O:p
    .( นางณิชฐา เชื้อสะอาด )<O:p<O:p



    สวัสดีครับท่านผู้อ่านที่เคารพทุกท่าน ก็คงเป็นอีกวันหนึ่ง 28 มีนาคม ของวันคล้ายวันเกิดของท่าน พระประกอบบุญ สิริญาโณ พระผู้ดูแลและรักษาการสำนักสงฆ์ พระพุทธบาทห้วยทรายขาว ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จีงหวัดลำพูน ท่านได้เข้าไปดูแลและปฎิสังขรสิ่งถาวรวัตถุเมื่อปลายปี 2549 ถ้าผมจำไม่ผิด เมื่อครั้งแรกที่พบท่านในใจได้แต่คิดว่าไหวหรือไม่ที่ท่านจะเข้ามาดูแล สถานที่แห่งนี้เพราะพระกี่รูปไม่รู้กี่รูปล้วนแล้วอยู่ไม่นานที่ผ่านมาอีกประการหนึ่งดูเหมือนว่าท่านยังมีวัยวุฒิยังน้อยเกินไปที่จะมาดูแลสถานที่แห่งนี้แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาก็เป็นที่ยอมรับในส่วนตัวมาโดยตลอดและแสดงถึงแรงบุญแรงกุศลที่ท่านได้กระทำปฏิบัติเป็นที่ยอมรับศรัทธาสาธุชนผู้พบเห็นจึงได้เกิดสิ่งถาวรวัตถุขึ้นหลายๆ อย่างดังที่ท่านนักศีลนักบุญทั้งหลายได้พบได้เห็นที่ผ่านมา ในโอกาสที่เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านจึงขออ้างอิง คุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ในสากลภิภพ และกองบุญกองกุศลท่านที่ได้กระทำมาจงปกปักรักษา อภิบาลรักษาให้ท่าน ในโอกาสที่เป็นวันคล้ายวันเกิดของท่านจึงขออ้างอิงคุณพระศรีรัตนตรัย่ท่านได้กระทำปฏิบัติเป็นทมีอายุยืนยาวตลอดกาลนานเทอญ

    กราบนมัสการมาด้วยความยินดียิ่ง


    กำนัลไพฑูรย์ หล้าโสด

    กำนันตำบลศรีบัวบาน


    อภิวาทวันทาบูชาอจาริยคุณ<O:p



    ขอนอบน้อมแด่พระรัตนไตรและสิ่งศักสิทธิ์ทั้งหลายอันมีครูบาอาจารย์ทั้งหลายเป็นต้น ขอน้อมกราบถวายบูชาพระอาจารย์<st1:personName w:st="on" ProductID="ประกอบบุญ สิริญาโณ">ประกอบบุญ สิริญาโณ</st1:personName> อันเป็นครูบาอาจารย์เนื่องในโอกาสทำบุญมงคลอายุของพระอาจารย์ประกอบบุญ ในวาระนี้ กระผมในนามลูกศิษย์สายชมรมนักศึกษาจังหวัดลำพูน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กระผมขอกล่าวเป็นมาความของความผูกพัน ตัวกระผมเองและชมรมนักศึกษาจังหวัดลำพูน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มีต่อพระอาจารย์ประกอบบุญ ของพวกเราเริ่มต้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2550 กระผมได้มีแนวคิดที่จะสร้างพระรอดเพื่อแจกจายกับสมาชิกในชมรมและบุคคลทั่วไป จึงได้เข้าพบพระอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษา ซึ่งพระอาจารย์ได้ตอบตกลงและจัดสร้างให้จึงเป็นที่มาของ พระรอดมหาวันรุ่นเสาร์ห้า อุณาโลมซึ่งเป็นลายมือท่านเอง พร รอดรุ่นนี้ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันเสาร์ที่ 21 เดือน เมษายน 2550 ในพิธีไหว้ครูบูรพาจารย์ของท่านมีพระเกจิที่ทรงอิทธิจิตหลายท่านร่วมปลุกเสกและท่านได้นำมาเข้าพิธีที่กุฏิเพื่ออธิษฐานจิตเดี่ยวของท่านเองด้วยเป็นการเฉพาะ พระรอดรุ่นนี้จงศักสิทธิ์มีอภินิหารและประสบการณ์มากมายต่อผู้ที่ได้รับละอาราธนารติดตัว โดยฌฉพาะกลุ่มนักศึกษาที่ได้รับแจกไปต่างก็มีประสบการณ์ต่างๆกับกับตัวเอง เช่น ประสบการณ์จากกการแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นที่ฮือฮาและเป็นที่เสาะหากัน ซึ่งกระผมเองก็อาราธนาติดตัวไว้เสมอ คู่กับเหรียญสมเด็จองค์ปฐมรุ่นแรกของท่าน ซึ่งเหรียญรุ่นนี้ก็มีประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์มากมาย หลังจากที่ได้เป็นลูกศิษย์ก็ได้ติดตามพระอาจารย์มาอย่างใกล้โดยตลอด โดยพระอาจารย์ได้อมรมสั่งสอนและช่วยเหลือหลายๆอย่างและให้กำลังใจในการดำเนินชีวิตตลอดมา สำหรับตัวของข้าพเจ้าเองยังไม่เคยโดนท่านด่าท่านจะสอนและชี้นำแนวทางให้เสมอซึ่งการที่ได้อยู่ใกล้ชิดท่านก็ได้ทึ่งใน ฌาน ของท่านหลายครั้งซึ่งข้าพเจ้าเชื่อเลยว่าเป็นของจริงและแน่นอนที่สุดโดยสัมผัสด้วยตัวเองมาก็หลายครั้งเช่น มีอยู่ครั้งหนึ่งทางชมรมมีละครเวทีหนัว10 ซึ่งจัดที่โรงเรียนจักรคำคณาทรซึ่งในวันแสดงในช่วงเย็นมีฝนตกอย่างรุนแรงแบบไม่ลืมหูลืมตาทุกคนที่ทำงานต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าไม่รอดแน่งานนี้เพราะทำอะไรไม่ได้เลย ฝนที่ตกหนักในขณะนั้นทำให้น้ำเริ่มท่วมนองถนนกระผมจึงได้โทรหาพระอาจารย์ ซึ่งเป็นที่เพิ่งสุดท้าย ของกระผมได้กราบเรียนขอให้ท่านช่วยให้ท่านขอไม่ให้ฝนตก ท่านก็บอกว่างั้นจะลองทำให้ อีกสักครู่ท่านก็โทรมาบอกว่ารออีก15นาทีนะฝนจะหยุดตกผมก็แอบคิดในใจเหมือนกันว่าฝนตกอย่างนี้ รออีกสามปีจึงจะหยุดท่านก็บอกว่ารอดูก็แล้วกันท่านก็วางสายโทรศัทพ์ไปแทบไม่น่าเชื่ออีก 15 นาทีต่อมาฝนที่ตกลงมาดุจจะทำให้เมืองลำพูนป็นทะเลสาบก็หยุดแบบฉับพลันท้องฟ้าเปิดสว่างไสวและสามารถทำงานได้ สำเร็จทุกประการ<O:p

    ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้กระผมและบรรดาศิษยานุศิษย์ชมรมนักศึกษาจังหวัดลำพูน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอกราบคารวะบูชา พระอาจารย์ประกอบบุญ เป็นอย่างที่สุดที่มีคุณูประการต่อชมรมและมีพระคุณต่อกระผมเอง กระผมขอกราบอภิวาทวันทาบูชาอาจาริยคุณตลอดไป<O:p


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กันยายน 2008
  16. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    [​IMG]


    เส้นเกศาต๋นบุญแห่งล้านนา "เส้นเกศาที่เป็นมงคลสูงสุดของล้านนา"<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เส้นเกศาครูบาเจ้าศรีวิชัยถือได้ว่าเป็นสิ่งที่มงคลสูงสุดของชาวล้านนาคนเฒ่า-คนโบราณ จะให้เคารพเส้นเกศาครูบาเจ้าอย่างมากเส้นเกศาครูบาเจ้าเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ได้อีกแล้ว และเป็นสิ่งมงคลสูงสุด จนมีคํานิยามว่า " เส้นเกศาครูบาเจ้ามีค่ามากกว่าทองคํา" คนเฒ่า-คนโบราณจะนําเส้นเกศาไปบรรจุที่กระบอกไม้ไผ่และปิดรักปิดทอง ใส่น้ำหอมเพื่อให้เป็นสิริมงคลต่อชีวิตและเป็นสิ่งที่เคารพสูงสุดของคนที่เก็บรักษาไว้ส้นเกศาครูบาเจ้าถือได้ว่าเป็นสิ่งที่หวงแหงของชาวล้านนาอย่างมากๆๆคนเฒ่า-คนโบราณ"จะนําเส้นเกศาไปบรรจุพระเกศาเพื่อเป็นสิริมงคลต่อผู้สวมใส่และต้องการเผยแพร่กิติศัพย์ครูบาเจ้าให้รู้จักขจัดขจรไปและเป็นตัวแทนครูบาเจ้า รวมถึงสังฆานุสติด้วย"วิธีการทําพระเส้นเกศาของคนเฒ่า-คนโบราณจะนําดอกไม้ขันธ์แก้วทั้ง3(ดอกไม้พระรัตนตรัย)ผงใบลานตําให้เป็นสมุกและก็นํารักผสมให้เหนี่ยวและก็ผสมเส้นเกศาบางคนก็จุมรักและปิดทองถือได้ว่าเป็นการเก็บเกศาวิธีหนึ่ง"ลักษณะเส้นเกศาครูบาเจ้าจะออกสีน้ำผึ้งหรือสีแดงเพราะด้วยอายุเส้นเกศาและท่านไม่ค่อยฉันท์อาหารเส้นเกศาจึงบางเส้นเกศาครูบาเจ้าจะสั้นเพราะพระล้านนาจะโกนผมสองครั้งต่อเดือน"เส้นเกศาครูบาเจ้าถือเป็นสิ่งเปรียบเสมือนตัวแทนครูบาเจ้าดังนั้นชาวล้านนาจึงให้ความเคารพสูงสุดและเป็นสิ่งที่รักและหวงแหงข้าพเจ้าเชื่อว่าชาวล้านนารักครูบาเจ้ายิ่งกว่าสิ่งใดข้าพเจ้าเคยถามวัยรุ่นคนหนึ่งที่ไม่สนใจพระ ข้าพเจ้าถามว่ารู้จักครูบาศรีวิชัยมั่ยเขาตอบว่า"รู้จักสิ""ครูบาเจ้าเนี่ยเปรียบเสมือนส่วนรวมทางจิตใจของชาวล้านนาน่ะและเป็นที่เคารพสูงสุดของชาวล้านนา "คําตอบนี่ทําให้ข้าพเจ้าเชื่อว่าครูบาเจ้าเปรียบเสมือนสายเลือดของชาวล้านนาและผู้วางรากฐานธรรมะให้แก่ชาวล้านนา
     
  17. ลูกพ่อลิงดำ

    ลูกพ่อลิงดำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    3,427
    ค่าพลัง:
    +13,560
    โมทนาสาธุครับ

    รูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัยเนื้อนะวะ เต็มสูตรบรรจุเกษาครูบาเจ้าศรีวิชัยอุดผงว่านมวลสารฝังตะกรุดเงิน
    สร้าง <O:p๒๙๙ องค์ บูชา ,๙๙๙ บาท

    ขอจององค์หนึ่งน่ะครับบบบบบบบบบบบ
     
  18. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    104.jpg

    หลวงพ่อสิงห์กับพระอาจารย์บรวงสรวงงานไหว้ครูประจำปี

    DCAM0442.JPG

    DCAM0449.JPG

    DCAM0459.JPG

    รับประทานพระบรมสารีริกธาตุจากสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชฯ

    DSC00124.JPG

    DSC00158.JPG

    พระอาจารย์เป็นเจ้าภาพนำปิดทองคำเปลวร่างพระครูบาเจ้าอภิชัยขาวปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2008
  19. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    14.jpg

    พ่ออุ้ยยวง ปัญญาวงศ์ ศิษย์ผู้ติดตามจัดภัตตาหารถวายครูบาเจ้าศรีวิชัยได้มอบพระเกศาของครูบาเจ้าศรีวิชัยให้พระอาจารย์ประกอบบุญและมอบสมบัติของพ่อตาคือพ่อหนานกันทะและของพ่ออุ้ยยวงเอง ที่สืบทอดรับมอบจากครูบาเจ้าศรีวิชัยให้พระอาจารย์ประกอบบุญทั้งหมด

    พ่อหนานกันทะเคยเป็นรองเจ้าอาวาสวัดบ้านปางสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัยเป็นผู้สอนอักขระวิธีให้กับครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีเมือครูบาเจ้าอภิชัยขาวปีเป็นสามเณรต่อมาได้ลาสิกขามาแต่งกับแม่ของครูบาเจ้าคำปัน ท่านทังหลายคิดดูว่าสายตรงขนาดไหน

    พ่ออุ้ยยวงมีความศรัทธามีความสนิดสนมในพระอาจารย์ประกอบบุญมาก

    พ่ออุ้ยยวงเสียชีวิตปีที่แล้ว อายุ 97 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2008
  20. โพธิมัณฑลัง

    โพธิมัณฑลัง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +23
    DSC01633.JPG

    DSC01645.JPG

    หล่อรูปเหมือนครูบาเจ้าศรีวิชัย-หลวงปู่ปานของพระอาจารย์ประกอบบุญ

    วัดท่าซุง9.jpg
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 กันยายน 2008
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...