ตอนจบโพชฌงค์ของผม..

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย supanon2011, 22 กรกฎาคม 2012.

  1. supanon2011

    supanon2011 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +84
    ตอนจบโพชฌงค์ของผม..

    [​IMG]

    จากตอนที่แล้วพูดถึงโพชฌงค์ 2 ข้อ ปกติในการปฏิบัติก็ใช้เท่านั้น หากถูกต้องตรงทางโพชฌงค์ข้ออื่นๆก็จะตามมา กลุ่มศิล-สมาธิ-ปัญญาที่กล่าวถึงพูดโดยสรุปก็คือ อริยะมรรคมีองค์8 ซึ่งเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดอริยะผล หากจะพูดโดยกว้าง ๆ คือ ศิลหมายถึงการไม่เบียดเบียน นั่นต้องมีองค์ธรรมรองรับ คือ เมตตา กรุณา เมตตากรุณาเมื่อมีอยู่ " ทาน" การให้ย่อมเป็นปกติสม่ำเสมอ เป็นการทำลายกิเลสคือ "โลภะ" และยังส่งผลให้กิเลสคือ "โทสะ" เกิดไม่ได้อีกด้วย เพราะเมตตาเป็นสิ่งตรงข้ามกับโทสะ ส่วนโมหะนั้นต้องเห็นทุกข์ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ละตัณหาความทยานอยากอันเป็นเหตุของทุกข์

    องค์ธรรมเรื่องนี้ก็คือ มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา ธรรมทุกอย่างมีใจเป็นหัวหน้ามีใจเป็นผู้นำสำเร็จได้ด้วยใจ เนื่องจากทุกข์สุขเกิดที่ใจ ดังนั้นเรื่องทุกข์และการดับทุกข์ต้องดูที่จิตที่ใจ การปฏิบัติใช้ "จิตตานุปัสสนามหาสติปัฏฐาน" ถ้าทำได้ก็จะส่งผลให้ความทุกข์ถูกละไป ในการดำรงค์ชีวิต การดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

    หากจะพิจารณาให้ลึกลงไปกว่านี้ ก็จะเห็นชัดเจนว่าเมื่อเราเกิดมามี ขันธ์-ธาตุ-อายตนะ จึงเป็นสิ่งที่รองรับทุกข์ทั้งปวง หาก ขันธ์-ธาตุ-อายตะไม่มี ความทุกข์ก็ไม่สามารถหยั่งลงได้ ขันธ์-ธาตุ-อายตนะ นั้นเป็นสิ่งปรุงแต่งขององค์ประกอบหลาย ๆ สิ่งมารวมตัวกัน ทั้งนี้รวมถึงปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนฌาภิสังขารด้วย เมื่อไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวโดยตัวของมันเอง มันจึงไร้อัตตา(นอกจากหลงผิดไปยึดถือว่าเป็น)

    ดังนั้นท่านจึงกล่าวว่า สรรพสิ่งอนิจจัง สรรพธรรมไร้อัตตา สรรพสิ่งสรรพธรรมนี้ไร้ซึ่งบุคคล ตัวตน เรา เขา และมีสภาวะที่ถูกเบียดเบียนบีบคั้น(ทุกขัง) จากธรรมชาติมีประการต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) ไม่มีสิ่งใดจีรังยั่งยืนให้ยึดมั่นถือมั่นได้ นี่คือสามัญลักษณะของมัน นิพพานความดับโดยไม่มีเชื้อหลงเหลืออยู่จึงเป็น "สันตินิรันดร์" ครูบาอาจารย์ทั้งหลายอันมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ได้เพียรพยายามสั่งสอนให้พวกเราพิจารณาสามัญลักษณะนี้ จนเป็น "ปกติจิตธรรมดาของมนุษย์" ถ้าจะเปรียบให้เห็นชัดในปัจจุบัน ก็คือการบังคับยวดยานในท้องถนนตอนแรกก็ต้องฝึกหัด พอชำนาญแล้ว คุยได้ เม้าท์ได้ คิดการคิดงานได้ อย่างพอเหมาะพอควร แม้ขับรถอยู่ เนื่องจากจิตมันจะระวังของมันเอง จุดประสงค์ที่เขียนของตอนนี้คือเป็นการแนะนำเล็กๆ เพื่อจุดประกายปัญญาของเด็กๆที่กำลังมุ่งมั่นตั้งใจมาในเส้นทางนี้ สามารถจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับตน..

    โดยผู้เฒ่าข้างวัด​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 กรกฎาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...