ทดลองอ่าน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร

ในห้อง 'พระไตรปิฎก เสียงอ่าน' ตั้งกระทู้โดย Kob, 28 พฤษภาคม 2010.

  1. Kob

    Kob เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2005
    โพสต์:
    6,161
    ค่าพลัง:
    +19,894
    <CENTER>๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร (๒๓)
    </CENTER>[๓๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
    สมัยหนึ่ง ท่านพระกุมารกัสสปเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วย
    ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป ลุถึงนครแห่งชาวโกศลชื่อเสตัพยะ ได้ยิน
    ว่า สมัยนั้น ท่านพระกุมารกัสสปอยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดด้านเหนือนครเสตัพยะ
    เขตนครเสตัพยะ ฯ
    ก็สมัยนั้น เจ้าปายาสิครองเสตัพยนครซึ่งคับคั่งด้วยประชาชน และหมู่
    สัตว์ สมบูรณ์ด้วยหญ้า ด้วยไม้ ด้วยน้ำ สมบูรณ์ด้วยธัญญาหาร ซึ่งเป็นราช
    สมบัติอันพระเจ้าปเสนทิโกศลพระราชทานปูนบำเหน็จให้เป็นส่วนพรหมไทย สมัย
    นั้น ทิฐิอันลามกเห็นปานนี้บังเกิดแก่เจ้าปายาสิว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี
    เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ ได้ทราบข่าวว่า ท่านพระกุมาร
    กัสสปสาวกของพระสมณโคดม เที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุ
    สงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป ลุถึงนครเสตัพยะแล้ว อยู่ ณ ป่าไม้สีเสียด
    ด้านเหนือนครเสตัพยะ เขตนครเสตัพยะ เกียรติศัพท์อันงามของท่านกุมาร
    กัสสปองค์นั้นขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต
    มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณดี เป็นทั้งพุทธบุคคล เป็นทั้งพระอรหันต์ ก็การได้
    เห็นพระอรหันต์ทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้ ครั้งนั้นพราหมณ์
    และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ พากันออกจากนครเสตัพยะเป็นหมู่ๆ บ่ายหน้าทาง
    ทิศอุดรไปยังป่าไม้สีเสียด ฯ
    [๓๐๒] สมัยนั้น เจ้าปายาสิ ทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ ณ ปราสาทชั้น
    บน ได้เห็นพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ พากันออกจากนครเสตัพยะ
    เป็นหมู่ๆ บ่ายหน้าไปทางทิศอุดร จึงเรียกนายนักการมาถามว่า พ่อนักการ
    พราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ พากันออกจากนครเสตัพยะเป็นหมู่ๆ บ่าย
    หน้าทางทิศอุดรไปยังป่าไม้สีเสียดทำไมกัน ฯ
    น. มีเรื่องอยู่พระองค์ พระสมณกุมารกัสสป สาวกของพระสมณโคดม
    เที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประมาณ ๕๐๐ รูป
    ลุถึงนครเสตัพยะแล้ว อยู่ ณ ป่าไม้สีเสียดด้านเหนือนครเสตัพยะ เขตนคร
    เสตัพยะ เกียรติศัพท์อันงามของท่านกุมารกัสสปองค์นั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า เป็น
    บัณฑิต เฉียบแหลม มีปัญญา เป็นพหูสูต มีถ้อยคำอันวิจิตร มีปฏิภาณดี เป็น
    ทั้งพุทธบุคคล เป็นทั้งพระอรหันต์ พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นพากันเข้าไปหา
    เพื่อดูท่านกุมารกัสสปองค์นั้น ฯ
    ป. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงเข้าไปหาเขา บอกเขาอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
    เจ้าปายาสิสั่งว่า ขอให้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน เจ้าปายาสิจะเข้าไปหาพระสมณ
    กุมารกัสสปด้วย เมื่อก่อน พระกุมารกัสสปได้ยังพราหมณ์และคฤหบดีชาวนคร
    เสตัพยะ ผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ให้เข้าใจว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่
    เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ พ่อนักการ
    ความจริงโลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี
    ทำชั่วไม่มี ฯ
    นักการรับพระดำรัสของเจ้าปายาสิแล้ว เข้าไปหาพราหมณ์และคฤหบดี
    ชาวนครเสตัพยะ แล้วบอกว่า ท่านทั้งหลาย เจ้าปายาสิรับสั่งว่า ขอท่าน
    ทั้งหลายจงรอก่อน เจ้าปายาสิจะเสด็จเข้าไปหาพระกุมารกัสสปด้วย ฯ
    ลำดับนั้น เจ้าปายาสิแวดล้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ
    เสด็จเข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปยังป่าไม้สีเสียด ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับท่าน
    พระกุมารกัสสป ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงประทับนั่ง
    ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฝ่ายพราหมณ์และคฤหบดีชาวนครเสตัพยะ บางพวกก็
    ถวายอภิวาท บางพวกก็ปราศรัย บางพวกก็ประนมอัญชลีไปทางท่านพระกุมาร
    กัสสป บางพวกก็ประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นิ่งอยู่ แล้วต่างก็นั่ง ณ ที่
    ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วเจ้าปายาสิ ได้ตรัสกะท่านพระกุมารกัสสปอย่างนี้ว่า
    ดูกรท่านกัสสป ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้า
    ไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ท่านพระกุมารกัสสปถวายพรว่า ดูกรบพิตร อาตมภาพได้เห็นแล้ว หรือ
    ได้ยินแล้วซึ่งบุคคลผู้มีวาทะอย่างนี้ ผู้มีทิฐิอย่างนี้ ดำริว่า ไฉนเล่า เขาจึงกล่าว
    อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบาก
    ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้
    บพิตรพึงทรงพยากรณ์ ตามที่ควรแก่บพิตร บพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
    พระจันทร์ และพระอาทิตย์นี้อยู่ในโลกนี้หรือในโลกหน้า เป็นเทวดาหรือมนุษย์ ฯ
    ป. ดูกรท่านกัสสป พระจันทร์และพระอาทิตย์นี้ อยู่ในโลกหน้า มิใช่
    โลกนี้ เป็นเทวดา ไม่ใช่มนุษย์ ฯ
    ก. ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี
    ทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๐๓] ป. ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้
    ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด
    เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ก. ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้
    ว่า โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่ว
    ไม่มี มีอยู่หรือ ฯ
    ป. มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    ก. เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของข้าพเจ้าในโลกนี้
    ที่เป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
    พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด สมัยอื่น
    คนเหล่านั้นป่วย ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก เมื่อใด ข้าพเจ้าทราบว่า บัดนี้ คนพวก
    นี้จักไม่หายจากป่วย เมื่อนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาคนพวกนั้น แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า
    ท่านทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลที่
    ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
    พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด เบื้องหน้า
    แต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก พวกท่านเป็น
    คนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูด
    เพ้อเจ้อ มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นผิด ถ้าคำของ
    สมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นจริง พวกท่านเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักต้อง
    เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ถ้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พวกท่านพึง
    เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกไซร้ พึงมาบอกเราด้วยวิธีไรว่า แม้เพราะเหตุนี้
    โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่
    พวกท่านแล พอเป็นที่เชื่อถือ พอเป็นที่ไว้ใจของเราได้ สิ่งใดที่พวกท่านเห็น
    สิ่งนั้นจักเป็นเหมือนดังเราเห็นเอง คนเหล่านั้นรับคำข้าพเจ้าแล้ว หาได้มาบอกไม่
    หาได้ส่งทูตมาไม่ ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ ข้าพเจ้ายังคงมี
    ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี
    ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๐๔] ก. ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตร
    ในข้อนี้ บพิตรพึงทรงพยากรณ์ตามที่ควรแก่บพิตร บพิตรจะสำคัญความข้อนั้น
    เป็นไฉน บุรุษในโลกนี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมาแสดงแก่บพิตรว่า ข้าแต่
    พระองค์ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์ พระองค์ทรงปรารถนาจะลง
    อาชญาอย่างใดแก่โจรผู้นี้ ขอได้ตรัสอาชญานั้นเถิด บพิตรพึงตรัสบอกบุรุษพวกนั้น
    อย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านจงเอาเชือกอย่างเหนียว มัดบุรุษนี้ให้มีมือไพล่หลัง
    อย่างมั่นคง แล้วโกนศีรษะพาเที่ยวตระเวนไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก
    ด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงดัง แล้วออกทางประตูด้านทักษิณ แล้วตัดศีรษะเสียที่
    ตะแลงแกง ทางทิศทักษิณแห่งพระนคร บุรุษพวกนั้นรับพระดำรัสแล้ว พึงเอาเชือก
    อย่างเหนียวมัดบุรุษนั้นให้มีมือไพล่หลังอย่างมั่นคง แล้วโกนศีรษะพาเที่ยวตระเวน
    ไปตามถนนทุกถนน ตามตรอกทุกตรอก ด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงดัง แล้วออกโดย
    ประตูด้านทักษิณ แล้วให้นั่งที่ตะแลงแกง ทางทิศทักษิณแห่งพระนคร ดูกรบพิตร
    โจรจะพึงได้รับหรือหนอ ซึ่งความผ่อนผันในนายเพชฌฆาตว่า ขอท่านนายเพชฌ
    ฆาตจงรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่ มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ในบ้านหรือ
    นิคมโน้นแล้วจะมา หรือว่านายเพชฌฆาตจะพึงตัดศีรษะโจรผู้กำลังอ้อนวอนอยู่ ฯ
    ป. ดูกรท่านกัสสป โจรนั้นจะไม่พึงได้รับความผ่อนผันในนายเพชฌ
    ฆาตว่า ขอท่านนายเพชฌฆาต จงรอจนกว่าข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่ มิตร อำมาตย์
    ญาติสาโลหิต ในบ้านหรือนิคมโน้นแล้วจะมา ที่แท้นายเพชฌฆาตจะพึงตัดศีรษะโจร
    นั้นผู้กำลังอ้อนวอนอยู่ทีเดียว ฯ
    ก. ดูกรบพิตร โจรนั้นเป็นมนุษย์ยังไม่ได้รับความผ่อนผันในนายเพชฌ
    ฆาตผู้เป็นมนุษย์ว่า ขอท่านนายเพชฌฆาตจงรอจนกว่า ข้าพเจ้าจะได้ไปแจ้งแก่
    มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตในบ้านหรือนิคมโน้นแล้วจะมา มิตร อำมาตย์ ญาติ
    สาโลหิต ของบพิตร ที่เป็นคนฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มากไปด้วยความเพ่งเล็ง คิดปองร้ายผู้อื่น
    มีความเห็นผิด เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรกแล้ว
    จักได้ความผ่อนผันในนายนิรยบาลละหรือว่า ขอท่านนายนิรยบาลจงรอจนกว่าข้าพเจ้า
    จะไปบอกแก่เจ้าปายาสิ แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    มีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตร
    นี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    มีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๐๕] ป. ท่านกัสสป กล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้
    ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด
    เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ก. ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
    มีอยู่หรือ ฯ
    ป. มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    ก. เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต ของข้าพเจ้าในโลกนี้
    ที่เป็นคนงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากพูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง ไม่คิดปองร้าย
    ผู้อื่น มีความเห็นชอบ สมัยอื่นคนเหล่านั้นป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เมื่อใด
    ข้าพเจ้าทราบว่า บัดนี้คนพวกนี้จักไม่หายจากป่วย เมื่อนั้น ข้าพเจ้าไปหาคนพวก
    นั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้
    มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม
    งดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วย
    ความเพ่งเล็ง ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
    จะเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ พวกท่านเป็นคนงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติ
    ผิดในกาม งดเว้นจากพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วย
    ความเพ่งเล็ง ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ ถ้าคำของสมณพราหมณ์
    นั้นเป็นจริง พวกท่านเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์
    ถ้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พวกท่านพึงเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ไซร้
    พึงมาบอกเราด้วยวิธีไรว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    มีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ พวกท่านแล เป็นที่เชื่อถือ เป็นที่
    ไว้ใจของเราได้ สิ่งที่พวกท่านเห็น สิ่งนั้นจักเป็นเหมือนดังเราเห็นเอง คนเหล่านั้น
    รับคำข้าพเจ้าแล้ว หาได้มาบอกไม่ หาได้ส่งทูตมาไม่ ดูกรท่านกัสสป ปริยายนี้แล
    เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี
    เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๐๖] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมาจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษผู้เป็น
    วิญญูชนในโลกนี้บางพวก ย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกรบพิตร
    เปรียบเหมือนบุรุษจมแล้วในหลุมคูถจมมิดศีรษะเมื่อเป็นเช่นนั้น บพิตรพึงตรัสสั่ง
    บุรุษว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงช่วยกัน ยกบุรุษนั้นขึ้นจากหลุมคูถนั้น พวกเขารับพระ
    ดำรัสของบพิตรแล้ว จึงช่วยกันยก บุรุษนั้นขึ้นจากหลุมคูถนั้น บพิตรพึงตรัสบอก
    พวกเขาอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเอาซี่ไม้ไผ่ขูดคูถออกจากกายบุรุษนั้น
    ให้หมดจด พวกเขารับพระดำรัสของบพิตรแล้ว เอาซี่ไม้ไผ่ขูดคูถออกจากกายบุรุษ
    นั้นหมดจดแล้ว บพิตรพึงตรัสบอกพวกเขา อย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเอาดิน
    สีเหลืองขัดสีกายบุรุษนั้นสามครั้ง พวกเขารับพระดำรัสของบพิตรแล้ว เอาดิน
    สีเหลืองชัดสีกายบุรุษนั้นสามครั้ง บพิตรพึงตรัสสั่งพวกเขาอย่างนี้ว่าถ้าเช่นนั้น
    พวกท่านจงเอาน้ำมันชะโลมบุรุษนั้น แล้วกระทำการลูบไล้ด้วยจุณอย่างละเอียด
    ให้ผุดผ่องสิ้นสามครั้ง พวกเขาก็เอาน้ำมันชะโลมบุรุษนั้น แล้วกระทำการลูบไล้
    ด้วยจุณอย่างละเอียดให้ผุดผ่องสิ้นสามครั้ง บพิตรพึงตรัสบอกพวกเขาอย่างนี้ว่า
    ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงตัดผมและหนวดของบุรุษนั้น พวกเขาก็ตัดผมและหนวดของ
    บุรุษนั้น บพิตรพึงตรัสบอกพวกเขาอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงนำพวงดอกไม้
    เครื่องลูบไล้และผ้า ซึ่งล้วนมีราคามากเข้าไปให้แก่บุรุษนั้น พวกเขาก็นำพวงดอกไม้
    เครื่องลูบไล้และผ้า ซึ่งล้วนมีราคามากเข้าไปให้แก่บุรุษนั้น บพิตรพึงตรัสบอกพวก
    เขาอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเชิญบุรุษนั้นขึ้นสู่ปราสาท แล้วบำรุงด้วย
    กามคุณ ๕ พวกเขาก็เชิญบุรุษนั้นขึ้นสู่ปราสาท แล้วบำรุงด้วยกามคุณ ๕ ดูกรบพิตร
    บพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อบุรุษนั้นอาบน้ำแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว
    ตัดผมและหนวดแล้ว ประดับด้วยอาภรณ์ แก้วมณีแล้ว นุ่งผ้าขาวสะอาด ขึ้นสู่
    ปราสาทอย่างประเสริฐชั้นบน เพรียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ จะพึงมีความ
    ประสงค์ที่จะจมลงในหลุมคูถนั้นอีก บ้างหรือหนอ ฯ
    ป. หามิได้ ท่านกัสสป ฯ
    ก. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ฯ
    ป. เพราะหลุมคูถไม่สะอาด เป็นทั้งไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด
    ทั้งมีกลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ามีกลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด ทั้งปฏิกูล
    ทั้งนับว่าปฏิกูล ฯ
    ก. ฉันนั้นแหละ บพิตร พวกมนุษย์เป็นผู้ไม่สะอาด ทั้งนับว่าไม่สะอาด
    ทั้งมีกลิ่นเหม็น ทั้งนับว่ามีกลิ่นเหม็น ทั้งน่าเกลียด ทั้งนับว่าน่าเกลียด ทั้งปฏิกูล
    ทั้งนับว่าปฏิกูลของพวกเทวดา กลิ่นมนุษย์ย่อมฟุ้งไปในเทวดาตลอดร้อยโยชน์
    ก็มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบพิตร ที่เป็นคนงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
    ประพฤติผิดในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
    ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง ไม่คิดปองร้ายผู้อื่น มีความเห็นชอบ เบื้องหน้าแต่ตาย
    เพราะกายแตก ไปเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์แล้ว พวกเขาจักมาทูลพระองค์ได้ละหรือว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรม
    ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรม
    ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๐๗] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้ ข้าพเจ้า
    ยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิด
    ขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
    มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร
    ดูกรท่านกัสสป มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิตของข้าพเจ้าในโลกนี้
    ที่เป็นคนงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
    คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท สมัยอื่น คนเหล่านั้น ป่วยได้รับทุกข์
    เป็นไข้หนัก เมื่อใด ข้าพเจ้าทราบว่า บัดนี้ คนพวกนี้จักไม่หายจากป่วย
    เมื่อนั้น ข้าพเจ้าเข้าไปหาคนพวกนั้นแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย มีสมณ
    พราหมณ์ พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า บุคคลที่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
    ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่ง
    ความประมาท เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถึงความ
    เป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ พวกท่านเป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์
    ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท
    ถ้าคำของสมณพราหมณ์พวกนั้นเป็นความจริง พวกท่านเบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์
    ถ้าเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก พวกท่านพึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถึงความ
    เป็นสหายกับเทวดาชั้นดาวดึงส์ไซร้ พึงมาบอกเราด้วยวิธีไรว่า แม้เพราะเหตุนี้
    โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่
    พวกท่านแล พอเป็นที่เชื่อถือ พอเป็นที่ไว้ใจของเราได้ สิ่งใดที่พวกท่านเห็น
    สิ่งนั้นจักเป็นเหมือนดังเราเห็นเอง คนเหล่านั้นรับคำข้าพเจ้าแล้ว หาได้มาบอกไม่
    หาได้ส่งทูตมาไม่ ดูกรท่านกัสสปปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความ
    เห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี
    ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๐๘] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้
    บพิตรพึงทรงพยากรณ์ตามที่ควรแก่บพิตร ร้อยปีของมนุษย์เป็นวันหนึ่งคืนหนึ่ง
    ของพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ สามสิบราตรี โดยราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง สิบสอง
    เดือนโดยเดือนนั้นเป็นปีหนึ่ง พันปีทิพย์โดยปีนั้น เป็นประมาณอายุของพวกเทวดา
    ชั้นดาวดึงส์ มิตรอำมาตย์ ญาติสาโลหิตของบพิตร ที่เป็นคนเว้นจากการฆ่าสัตว์
    ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐาน
    แห่งความประมาท เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
    ถึงความเป็นสหายกับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว ถ้าพวกเขาจักมีความคิดอย่างนี้ว่า
    รอเวลาที่พวกเราเพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณ ๕ บำเรออยู่ตลอดสองคืนสองวัน
    หรือสามคืนสามวันก่อน จะพึงไปทูลเจ้าปายาสิว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่
    เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ พวกเขาจะพึง
    มาทูลว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบาก
    ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ บ้างหรือหนอ ฯ
    หามิได้ ท่านกัสสป ด้วยว่า พวกเราถึงจะทำกาละไปนานแล้วก็จริง
    แต่ใครเล่าบอกความข้อนี้แก่ท่านกัสสปว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่า
    พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้ พวกเรามิได้เชื่อต่อท่านกัสสปว่า พวกเทวดา
    ชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้ ฯ
    ดูกรบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษตาบอดแต่กำเนิด ไม่พึงเห็นรูปสีดำ สีขาว
    สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีแดงฝาด รูปที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์
    และพระอาทิตย์ เขาจะพึงพูดอย่างนี้ว่า รูปสีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง
    สีแดงฝาด รูปที่เรียบ และไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ ไม่มี
    ผู้ที่เห็นรูปสีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีแดงฝาด รูปที่เรียบและ
    ไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่มี เราไม่รู้สิ่งนี้ เราไม่เห็นสิ่งนี้
    เพราะฉะนั้น สิ่งนั้นจึงไม่มี ดูกรบพิตร บุคคลเมื่อจะพูดให้ถูก จะพึงพูดดังนั้น
    หรือหนอ ฯ
    หามิได้ ท่านกัสสป รูปสีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง
    สีแดงฝาด รูปที่เรียบและไม่เรียบ รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์มีอยู่ ผู้ที่เห็น
    รูปสีดำ สีขาว สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีแดงฝาด รูปที่เรียบและไม่เรียบ
    รูปดาว พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็มีอยู่ ดูกรท่านกัสสป บุคคลนั้น เมื่อจะพูด
    ให้ถูก จะพึงพูดว่า เราไม่รู้สิ่งนี้ เพราะฉะนั้นสิ่งนั้นจึงไม่มี ดังนี้ หาได้ไม่ ฯ
    ฉันนั้นแหละ บพิตร บพิตรย่อมปรากฏเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด เหตุ
    พระดำรัสที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ก็ใครเล่าบอกความแก่ท่านกัสสปว่า พวกเทวดาชั้น
    ดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืนเท่านี้ พวกเรามิได้เชื่อต่อท่าน
    กัสสปว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอยู่ หรือว่าพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์มีอายุยืน
    เท่านี้ โลกหน้าบุคคลจะพึงเห็นเหมือนดังที่บพิตรทรงทราบด้วยมังสจักษุนี้ หามิได้
    ดูกรบพิตร สมณพราหมณ์พวกใดเสพเสนาสนะอันสงัดซึ่งอยู่ในป่า สมณพราหมณ์
    พวกนั้น เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปแล้วอยู่ในเสนาสนะนั้น
    ยังทิพยจักษุให้บริสุทธิ์ มีทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์แล้ว ย่อม
    แลเห็นทั้งโลกนี้ทั้งโลกหน้า และเหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น ก็โลกหน้า บุคคล
    จะพึงเห็นได้ด้วยประการฉะนี้แล หาเหมือนดังที่บพิตรทรงทราบด้วยมังสจักษุนี้ไม่
    ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลก
    หน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๐๙] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้ ข้าพเจ้า
    ก็ยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิด
    ขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรม
    ที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป ข้าพเจ้าได้เห็นสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ซึ่งเป็นผู้มีศีล
    มีกัลยาณธรรม ยังประสงค์จะมีชีวิตอยู่ ไม่ประสงค์จะตาย ยังปรารถนาความสุข
    เกลียดความทุกข์ ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า ถ้าท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มี
    กัลยาณธรรม พวกนี้จะพึงทราบอย่างนี้ว่า เมื่อเราตายไปจากโลกนี้แล้ว คุณงาม
    ความดีจักมีดังนี้ไซร้ บัดนี้ ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมพวกนี้
    พึงดื่มยาพิษ พึงนำมาซึ่งศาตรา พึงผูกคอตาย หรือพึงโจนลงไปในเหว ก็เพราะ
    เหตุที่ท่านสมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม พวกนี้ไม่ทราบอย่างนี้ว่า เมื่อเรา
    ตายไปจากโลกนี้แล้ว คุณงามความดีจักมี ฉะนั้น จึงยังประสงค์จะมีชีวิตอยู่ ไม่
    ประสงค์จะตาย ยังปรารถนาความสุข เกลียดความทุกข์ ดูกรท่านกัสสป ปริยาย
    แม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้า
    ไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๑๐] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวกย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา เรื่อง
    เคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งมีภริยาสองคน ภริยาคนหนึ่งมีบุตรอายุได้ ๑๐ ปี
    หรือมีอายุได้ ๑๒ ปี ภริยาคนหนึ่งตั้งครรภ์จวนจะคลอด ครั้งนั้น พราหมณ์นั้น
    ทำกาละแล้ว จึงมาณพนั้นได้พูดกะแม่เลี้ยงว่า แม่ ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน
    หรือทอง ทั้งหมดนั้นของฉัน แม่หามีส่วนอะไรในทรัพย์สมบัตินี้ไม่ ขอแม่
    จงมอบมรดกซึ่งเป็นของบิดาแก่ฉันเถิด เมื่อเขาพูดอย่างนั้นแล้ว นางพราหมณี
    กล่าวตอบมาณพนั้นว่า พ่อ ขอพ่อจงรอจนกว่าแม่จะคลอดเถิด ถ้าลูกที่คลอด
    ออกมาเป็นชาย เขาจักได้รับส่วนหนึ่ง ถ้าเป็นหญิง ก็จักเป็นบาทปริจาริกของพ่อ
    แม้ครั้งที่สอง มาณพก็ได้พูดกะแม่เลี้ยงอย่างนั้น ... แม้ครั้งที่สอง นางพราหมณีนั้น
    ก็ได้พูดกะมาณพนั้นอย่างนั้น ... แม้ครั้งที่สาม มาณพนั้นก็ได้พูดกะแม่เลี้ยงอย่าง
    นั้นว่า แม่ ทรัพย์ ข้าวเปลือก เงินหรือทองทั้งหมดนั้นเป็นของฉัน แม่หามี
    ส่วนอะไรในทรัพย์สมบัตินี้ไม่ ขอแม่จงมอบมรดก ซึ่งเป็นของบิดาแก่ฉันเถิด
    ลำดับนั้น นางพราหมณีนั้น ถือมีดเข้าไปในห้องน้อย แหวะท้อง เพื่อจะทราบ
    ว่าบุตรเป็นชายหรือหญิง นางพราหมณีได้ทำลายตน ชีวิต ครรภ์และทรัพย์สมบัติ
    เพราะนางพราหมณีเป็นคนพาล ไม่ฉลาด แสวงหามรดกโดยอุบายไม่แยบคาย
    ได้ถึงความพินาศ ฉันใด บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นคนพาล ไม่ฉลาด แสวง
    หาโลกหน้าด้วยอุบายไม่แยบคาย จักถึงความพินาศ เหมือนนางพราหมณีผู้เป็น
    คนพาล ไม่ฉลาด แสวงหามรดกโดยอุบายไม่แยบคาย ได้ถึงความพินาศ ฉะนั้น
    ดูกรบพิตร สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม ย่อมจะไม่บ่มผลที่ยังไม่สุกให้
    รีบสุก และผู้เป็นบัณฑิตย่อมรอผลอันสุกเอง อันชีวิตของสมณพราหมณ์ผู้มีศีล
    มีกัลยาณธรรม แปลกกว่าคนอื่นๆ คือว่า สมณพราหมณ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม
    ดำรงอยู่สิ้นกาลนานเท่าใด ท่านย่อมประสพบุญมากเท่านั้น และปฏิบัติเพื่อ
    ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่คนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ
    ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ดูกรบพิตร
    โดยปริยายนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์
    ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๑๑] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้ ข้าพเจ้า
    ก็ยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    ไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี
    มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรกัสสป บุรุษของข้าพเจ้าในที่นี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมาแสดง
    แก่ข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ โจรผู้นี้ประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์ พระองค์
    ทรงปรารถนาจะลงอาชญาอย่างใดแก่โจรผู้นี้ ขอได้ตรัสบอกอาชญานั้นเถิด ข้าพเจ้า
    บอกบุรุษพวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงใส่บุรุษผู้นี้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในหม้อ
    แล้วปิดปากหม้อเสีย เอาหนังที่ยังสดรัด แล้วเอาดินเหนียวพอกเข้าให้หนา
    ยกขึ้นสู่เตาแล้วติดไฟ บุรุษพวกนั้นรับคำข้าพเจ้าแล้ว จึงใส่บุรุษนี้ซึ่งยังมีชีวิตอยู่
    เข้าในหม้อ แล้วปิดปากหม้อ เอาหนังที่ยังสดรัด แล้วเอาดินเหนียวพอกเข้า
    ให้หนา ยกขึ้นสู่เตาแล้วติดไฟ เมื่อข้าพเจ้าทราบว่าบุรุษนั้นทำกาละแล้ว จึงให้ยก
    หม้อนั้นลง กะเทาะดินออกแล้วเปิดปากหม้อค่อยๆ ตรวจดูว่า บางทีจะได้เห็น
    ชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง พวกเราไม่ได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ดูกรท่าน
    กัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี
    ทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจะขอย้อนถามบพิตรในข้อนี้ บพิตร
    พึงทรงพยากรณ์ตามที่ควรแก่บพิตร บพิตรบรรทมกลางวัน ทรงรู้สึกฝันเห็นสวน
    อันน่ารื่นรมย์ ป่าอันน่ารื่นรมย์ พื้นที่อันน่ารื่นรมย์ สระโบกขรณีอันน่ารื่นรมย์
    บ้างหรือ ฯ
    เคยฝัน ท่านกัสสป ฯ
    ในเวลานั้น หญิงค่อม หญิงเตี้ย นางพนักงานภูษามาลา หรือกุมาริกา
    คอยรักษาบพิตรอยู่หรือ ฯ
    อย่างนั้น ท่านกัสสป ฯ
    คนเหล่านั้นเห็นชีวะของบพิตรเข้าหรือออกบ้างหรือเปล่า ฯ
    หามิได้ ท่านกัสสป ฯ
    ดูกรบพิตร ก็คนเหล่านั้น มีชีวิตอยู่ ยังมิได้เห็นชีวะของบพิตรผู้ยังทรง
    พระชนม์อยู่ เข้าหรือออกอยู่ ก็ไฉนบพิตรจักได้ทอดพระเนตรชีวะของผู้ที่ทำกาละ
    ไปแล้ว เข้าหรือออกอยู่เล่า ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็น
    อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบาก
    ของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๑๒] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้นในปริยายนี้ ข้าพเจ้า
    ก็ยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    ไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรม
    ที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป บุรุษของข้าพเจ้าในที่นี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมา
    แสดงแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ โจรผู้นี้ประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์ พระองค์
    ทรงปรารถนาจะลงอาชญาอย่างใดแก่โจรผู้นี้ ขอได้ตรัสบอกอาชญานั้นเถิด ข้าพเจ้า
    บอกบุรุษพวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเอาตาชั่ง ชั่งบุรุษนี้ผู้ยังมีชีวิตอยู่
    แล้วเอาเชือกรัดให้ขาดใจตาย แล้วเอาตาชั่ง ชั่งอีกครั้งหนึ่ง บุรุษพวกนั้นรับคำ
    ข้าพเจ้าแล้ว เอาตาชั่ง ชั่งบุรุษนั้นผู้ยังมีชีวิตอยู่ แล้วเอาเชือกรัดให้ขาดใจตาย
    แล้วเอาตาชั่ง ชั่งอีกครั้งหนึ่ง เมื่อบุรุษนั้นยังมีชีวิตอยู่ย่อมเบากว่า อ่อนกว่า
    และควรแก่การงานกว่า แต่เมื่อเขาทำกาละแล้ว ย่อมหนักกว่า กระด้างกว่า และ
    ไม่ควรแก่การงานกว่า ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมี
    ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี
    ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๑๓] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวกย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เปรียบเหมือนบุรุษเอาตาชั่ง ชั่งก้อนเหล็กที่เผาไว้วันยังค่ำ ไฟติดทั่ว ลุก
    โพลงแล้ว ต่อมา เอาตาชั่ง ชั่งเหล็กนั้นซึ่งเย็นสนิทแล้ว เมื่อไรหนอ ก้อนเหล็ก
    นั้นจะเบากว่า อ่อนกว่า หรือควรแก่การงานกว่า คือว่า เมื่อไฟติดทั่ว ลุกโพลง
    อยู่แล้ว หรือว่าเมื่อเย็นสนิทแล้ว ฯ
    ดูกรท่านกัสสป เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น ประกอบด้วยไฟ ประกอบด้วยลม
    ไฟติดทั่ว ลุกโพลงแล้ว เมื่อนั้น จึงจะเบากว่า อ่อนกว่า และควรแก่การงานกว่า
    แต่เมื่อใดก้อนเหล็กนั้น ไม่ประกอบด้วยไฟ และไม่ประกอบด้วยลม เย็นสนิทแล้ว
    เมื่อนั้น จึงจะหนักกว่า กระด้างกว่า และไม่ควรแก่การงานกว่า ฯ
    ฉันนั้นแหละบพิตร เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ
    เมื่อนั้น ย่อมเบากว่า อ่อนกว่า ควรแก่การงานกว่า แต่ว่า เมื่อใด กายนี้
    ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่น และวิญญาณ เมื่อนั้น ย่อมหนักกว่า กระด้างกว่า
    ไม่ควรแก่การงานกว่า ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรม
    ที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ
    [๓๑๔] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้นในปริยายนี้ ข้าพเจ้า
    ก็ยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้น
    ไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้
    เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์
    ทำดีทำชั่วไม่มี มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป บุรุษของข้าพเจ้าในที่นี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมา
    แสดงแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ โจรผู้นี้ประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์ พระองค์
    ทรงปรารถนาจะลงอาชญาอย่างใด แก่โจรผู้นี้ ขอให้ตรัสบอกอาชญานั้นเถิด
    ข้าพเจ้าบอกบุรุษพวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงปลงบุรุษนี้จากชีวิต
    อย่าให้ผิวหนัง เนื้อเอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกชอกช้ำ บางทีจะได้เห็นชีวะ
    ของบุรุษนั้นออกมาบ้าง บุรุษพวกนั้นรับคำของข้าพเจ้าแล้ว ย่อมปลงบุรุษนั้นจาก
    ชีวิต มิให้ผิวหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก และเยื่อในกระดูกชอกช้ำ เมื่อบุรุษนั้น
    เริ่มจะตาย ข้าพเจ้าสั่งบุรุษพวกนั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงผลักบุรุษนี้ให้
    นอนหงาย บางทีจะได้เห็นชีวะของเขาออกมาบ้าง บุรุษพวกนั้นผลักบุรุษนั้นให้
    นอนหงาย พวกเรามิได้เห็นชีวะของเขาออกมาเลย ข้าพเจ้าจึงสั่งบุรุษพวกนั้นว่า
    ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงพลิกบุรุษนี้ให้นอนคว่ำลง จงพลิกให้นอนตะแคงข้างหนึ่ง
    จงพลิกให้นอนตะแคงอีกข้างหนึ่ง จงพยุงให้ยืนขึ้น จงจับเอาศีรษะลง จงทุบ
    ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาตรา จงลากมาข้างนี้ จงลากไป
    ข้างโน้น จงลากไปๆ มาๆ บางทีจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นออกมาบ้าง บุรุษ
    พวกนั้นลากบุรุษนั้นมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น ลากไปๆ มาๆ พวกเรามิได้เห็น
    ชีวะของเขาออกมาเลย ตาของเขาก็ดวงนั้นแหละ รูปก็อันนั้น แต่เขารู้แจ้ง
    รูปายตนะด้วยตาไม่ได้ หูก็อันนั้นแหละ เสียงก็อันนั้น แต่เขารู้แจ้งสัททายตนะ
    ด้วยหูไม่ได้ จมูกก็อันนั้นแหละ กลิ่นก็อันนั้น แต่เขารู้แจ้งคันธายตนะด้วยจมูก
    ไม่ได้ ลิ้นก็อันนั้นแหละ รสก็อันนั้น แต่เขารู้แจ้งรสายตนะด้วยลิ้นไม่ได้ กาย
    ก็อันนั้นแหละ โผฏฐัพพะก็อันนั้น แต่เขารู้แจ้งโผฏฐัพพายตนะด้วยกายไม่ได้
    ดูกรท่านกัสสป ปริยายนี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์
    ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๑๕] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวก ย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คนเป่าสังข์คนหนึ่ง ถือเอาสังข์ไปยังปัจจันตชนบท
    เขาเข้าไปยังบ้านแห่งหนึ่ง ยืนอยู่กลางบ้านเป่าสังข์ขึ้น ๓ ครั้ง แล้ววางสังข์ไว้ที่
    แผ่นดิน นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ลำดับนั้น พวกมนุษย์ในปัจจันตชนบท
    ได้เกิดความตื่นเต้นว่า ท่านทั้งหลาย นั่นเสียงใครหนอ ช่างเป็นที่พอใจถึงเพียงนี้
    ควรแก่การงานถึงเพียงนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความเพลิดเพลินถึงเพียงนี้ ช่างจับจิตถึง
    เพียงนี้ ช่างไพเราะถึงเพียงนี้ พวกเขาต่างมาล้อมถามคนเป่าสังข์นั้นว่า พ่อ นั่น
    เสียงของใครหนอ ช่างเป็นที่พอใจถึงเพียงนี้ ... ช่างไพเราะถึงเพียงนี้ คนเป่าสังข์
    ตอบว่า ท่านทั้งหลาย นั่นคือสังข์ซึ่งมีเสียงเป็นที่พอใจถึงเพียงนี้ ... ช่างไพเราะ
    ถึงเพียงนี้ พวกเขาจับสังข์นั้นหงายขึ้นแล้วบอกว่า พูดซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์
    สังข์นั้นหาได้ออกเสียงไม่ พวกเขาจับสังข์นั้นให้คว่ำลง จับให้ตะแคงข้างหนึ่ง
    จับให้ตะแคงอีกข้างหนึ่ง ชูให้สูง วางให้ต่ำ เคาะด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วย
    ท่อนไม้ ด้วยศาตรา ลากมาข้างนี้ ลากไปข้างโน้น ลากไปๆ มาๆ แล้วบอกว่า
    พูดซิพ่อสังข์ พูดซิพ่อสังข์ สังข์นั้นหาได้ออกเสียงไม่ ลำดับนั้น คนเป่าสังข์
    ได้มีความคิดว่า พวกมนุษย์ปัจจันตชนบทเหล่านี้ ช่างโง่เหลือเกิน จักแสวงหา
    เสียงสังข์โดยไม่ถูกทางได้อย่างไรกัน เมื่อมนุษย์พวกนั้นกำลังมองดูอยู่ เขาจึง
    หยิบสังข์ขึ้นมาเป่า ๓ ครั้ง แล้วถือเอาสังข์นั้นไป มนุษย์ปัจจันตชนบทพวกนั้น
    ได้พูดกันว่า ท่านทั้งหลาย นัยว่าเมื่อใด สังข์นี้ประกอบด้วยคน ความพยายาม
    และลม เมื่อนั้น สังข์นี้จึงจะออกเสียง แต่ว่าเมื่อใด สังข์นี้มิได้ประกอบด้วยคน
    ความพยายามและลม เมื่อนั้น สังข์นี้ไม่ออกเสียง ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร
    เมื่อใด กายนี้ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ เมื่อนั้น กายนี้ก้าวไปได้
    ถอยกลับได้ ยืนได้ นั่งได้ สำเร็จการนอนได้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาได้ ฟังเสียง
    ด้วยหูได้ ดมกลิ่นด้วยจมูกได้ ลิ้มรสด้วยลิ้นได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายได้
    รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจได้ แต่ว่าเมื่อใดกายนี้ไม่ประกอบด้วยอายุ ไออุ่นและวิญญาณ
    เมื่อนั้น กายนี้ก้าวไปไม่ได้ ถอยกลับไม่ได้ ยืนไม่ได้ นั่งไม่ได้ สำเร็จการนอน
    ไม่ได้ เห็นรูปด้วยนัยน์ตาไม่ได้ ฟังเสียงด้วยหูไม่ได้ ดมกลิ่นด้วยจมูกไม่ได้
    ลิ้มรสด้วยลิ้นไม่ได้ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายไม่ได้ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจไม่ได้
    ดูกรบพิตร โดยปริยายของบพิตรนี้แล ต้องเป็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลก
    หน้ามีอยู่ เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นมีอยู่ ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วมีอยู่ ฯ








    <CENTER>จบ ภาณวารที่หนึ่ง
    </CENTER>[๓๑๖] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ในปริยายนี้
    ข้าพเจ้ายังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุด
    เกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    ดูกรบพิตร ก็ปริยายซึ่งเป็นเหตุให้บพิตรยังคงมีความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า
    แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่
    สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี มีอยู่หรือ ฯ
    มีอยู่ ท่านกัสสป ฯ
    เปรียบเหมือนอะไร บพิตร ฯ
    ดูกรท่านกัสสป บุรุษของข้าพเจ้าในที่นี้ จับโจรผู้ประพฤติชั่วหยาบมา
    แสดงแก่ข้าพเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ โจรผู้นี้ประพฤติชั่วหยาบต่อพระองค์
    พระองค์ทรงปรารถนาจะลงอาชญาอย่างใดแก่โจรผู้นี้ ขอได้ตรัสบอกอาชญานั้นเถิด
    ข้าพเจ้าได้บอกบุรุษพวกนั้นอย่างนี้ว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงเชือดผิวหนังของบุรุษ
    นี้ บางทีจะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นบ้าง พวกเขาเชือดผิวหนังของบุรุษนั้น พวก
    เรามิได้เห็นชีวะของเขาเลย ข้าพเจ้าจึงบอกบุรุษพวกนั้นว่า ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน
    จงเชือดหนัง เฉือนเนื้อ ตัดเอ็น ตัดกระดูก ตัดเยื่อในกระดูกของบุรุษนี้ บางที
    จะได้เห็นชีวะของบุรุษนั้นบ้าง พวกเขาตัดเยื่อในกระดูกของบุรุษนั้น พวกเรามิได้
    เห็นชีวะของเขาเลย ดูกรท่านกัสสป ปริยายแม้นี้แล เป็นเหตุให้ข้าพเจ้ายังคงมี
    ความเห็นอยู่อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี
    ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี ฯ
    [๓๑๗] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวกย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว ชฏิลผู้บำเรอไฟผู้หนึ่ง อยู่ในกุฎีอันมุงบังด้วยใบไม้ ณ
    ที่ชายป่า ครั้งนั้น ชนบทแห่งหนึ่งเป็นที่พักของหมู่เกวียนอยู่แล้ว หมู่เกวียนนั้น
    พักอยู่ราตรีหนึ่ง ในที่ใกล้อาศรมชฎิลผู้บำเรอไฟนั้น แล้วจึงหลีกไป ลำดับนั้น
    ชฎิลผู้บำเรอไฟนั้นมีความคิดขึ้นว่า ถ้ากระไร เราควรจะเข้าไปในที่ที่หมู่เกวียน
    นั้นพัก บางทีจะได้เครื่องอุปกรณ์อะไรในที่นั้นบ้าง ชฎิลผู้บำเรอไฟลุกขึ้นแต่เช้า
    เข้าไปยังที่ที่หมู่เกวียนนั้นพัก ครั้นแล้ว ได้เห็นเด็กอ่อนศีรษะโล้น เขาทิ้งนอน
    หงายไว้ที่ที่หมู่เกวียนนั้นพัก ครั้นเห็น ได้เกิดความคิดขึ้นว่า เมื่อเราพบเห็น
    อยู่ จะปล่อยให้มนุษย์ทำกาละเสียนั้น ไม่สมควรแก่เราเลย ถ้ากระไร เราควร
    จะนำทารกนี้ไปยังอาศรม แล้วเลี้ยงดูให้เติบโตขึ้น ชฎิลผู้บำเรอไฟ นำทารกนั้น
    ไปยังอาศรมแล้ว เลี้ยงดูให้เติบโตขึ้นแล้ว เมื่อทารกนั้นอายุย่างเข้า ๑๐ ปี หรือ
    ๑๒ ปี ชฎิลผู้บำเรอไฟ มีกรณียะบางอย่างในชนบทเกิดขึ้น เขาได้บอกทารกนั้น
    ว่า พ่อ เราปรารถนาจะไปยังชนบท เจ้าพึงบำเรอไฟ อย่าให้ไฟของเจ้าดับ ถ้า
    ไฟของเจ้าดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึงก่อไฟแล้วบำเรอไฟเถิด เขาสั่ง
    ทารกนั้นอย่างนี้แล้ว ได้ไปยังชนบท เมื่อทารกนั้นมัวเล่นเสีย ไฟดับแล้ว ทารก
    นั้นนึกขึ้นได้ว่า บิดาได้บอกเราไว้อย่างนี้ว่า พ่อ เจ้าพึงบำเรอไฟ อย่าให้ไฟของ
    เจ้าดับ ถ้าว่าไฟของเจ้าดับ นี้มีด นี้ฟืน นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึงก่อไฟแล้วบำเรอไฟ
    เถิด ถ้ากระไร เราควรจะก่อไฟแล้วบำเรอไฟ ทารกนั้นเอามีดถากไม้สีไฟ ด้วย
    เข้าใจว่า บางทีจะพบไฟบ้าง เขาไม่พบไฟเลย จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก
    แล้วผ่าออกเป็น ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐ ซีก ๒๐ ซีก แล้วเกรียกให้เป็นชิ้นเล็กๆ
    ครั้นแล้ว จึงโขลกในครก ครั้นโขลกแล้วจึงโปรยในที่มีลมมาก ด้วยเข้าใจว่า
    บางทีจะพบไฟบ้าง เขาไม่พบไฟเลย ลำดับนั้น ชฎิลผู้บำเรอไฟนั้น ทำกรณียะ
    นั่น ในชนบทสำเร็จแล้ว จึงกลับมายังอาศรมของตน ครั้นแล้วได้กล่าวกะทารก
    นั้นว่า พ่อ ไฟของเจ้าดับเสียแล้วหรือ ทารกนั้นตอบว่า ข้าแต่คุณพ่อ ขอประทาน
    โทษเถิด กระผมมัวเล่นเสียไฟจึงดับ กระผมนึกขึ้นได้ว่า พ่อได้บอกเราไว้อย่าง
    นี้ว่า พ่อ เจ้าพึงบำเรอไฟ อย่าให้ไฟของเจ้าดับ ถ้าไฟของเจ้าดับ นี้มีด นี้ฟืน
    นี้ไม้สีไฟ เจ้าพึงก่อไฟแล้วบำเรอไฟเถิด ถ้ากระไร เราควรจะก่อไฟแล้วบำเรอ
    ทีนั้น กระผมจึงเอามีดถากไม้สีไฟด้วยเข้าใจว่าบางทีจะพบไฟบ้าง กระผมมิได้พบ
    ไฟเลย จึงผ่าไม้สีไฟออกเป็น ๒ ซีก แล้วผ่าออกเป็น ๓ ซีก ๔ ซีก ๕ ซีก ๑๐
    ซีก ๒๐ ซีก แล้วเกรียกให้เป็นชิ้นเล็กๆ ครั้นแล้วจึงโขลกในครก ครั้นโขลก
    แล้ว เอาโปรยในที่มีลมมากด้วยเข้าใจว่า บางทีจะพบไฟบ้าง กระผมไม่พบไฟ
    เลย ลำดับนั้น ชฎิลผู้บำเรอไฟนั้นได้มีความคิดว่า ทารกนี้ช่างโง่เหลือเกิน ไม่
    เฉียบแหลม จักแสวงหาไฟโดยไม่ถูกทางได้อย่างไรกัน เมื่อทารกนั้นกำลังมองดู
    อยู่ ชฎิลนั้นหยิบไม้สีไฟมาสีให้เกิดไฟแล้ว ได้บอกทารกนั้นว่า เขาติดไฟกัน
    อย่างนี้ ไม่เหมือนอย่างเจ้าซึ่งยังเขลา ไม่เฉียบแหลม แสวงหาไฟโดยไม่ถูกทาง
    ดูกรบพิตร บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังทรงเขลา ไม่เฉียบแหลม ทรงแสวงหา
    ปรโลกโดยไม่ถูกทาง ขอบพิตรจงทรงสละคืนทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ขอบพิตร
    จงปล่อยวางทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ทิฐิอันลามกนั้นอย่าได้บังเกิดมีแก่บพิตร เพื่อ
    มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ
    [๓๑๘] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้ายังหาอาจ
    สละคืนทิฐิอันลามกนี้เสียได้ไม่ พระราชาปเสนทิโกศลก็ดี พระราชาภายนอกทั้ง
    หลายก็ดี ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า พญาปายาสิมีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำ
    ชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าจะสละคืนทิฐิอันลามกนี้ ก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้าได้
    ว่า พญาปายาสิช่างโง่เขลาเหลือเกิน ไม่เฉียบแหลม มีปรกติถือสิ่งที่ผิด ข้าพเจ้าก็
    จักยึดทิฐินั้นไว้ เพราะความโกรธบ้าง เพราะความลบหลู่บ้าง เพราะความตีเสมอ
    บ้าง ฯ
    [๓๑๙] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวก ย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว พ่อค้าเกวียนหมู่ใหญ่ มีเกวียนประมาณพันเล่ม ได้
    เดินทางจากชนบทอันตั้งอยู่ในบุรพทิศ ไปยังชนบทอันตั้งอยู่ในปัจจิมทิศ พ่อค้า
    เกวียนหมู่นั้นไปอยู่ หญ้า ฟืน น้ำ ใบไม้สด หมดเปลืองไปโดยรวดเร็ว ก็
    ในหมู่นั้นมีนายกองเกวียน ๒ คน คนหนึ่งมีพวกเกวียน ๕๐๐ เล่ม อีกคนหนึ่งมี
    พวกเกวียน ๕๐๐ เล่ม ลำดับนั้น นายกองเกวียน ๒ คน นั้นได้ปรึกษากันว่า
    หมู่เกวียนหมู่ใหญ่นี้มีเกวียนประมาณพันเล่ม พวกเราเหล่านั้นไปรวมกันอยู่ หญ้า
    ฟืน น้ำ ใบไม้สด หมดเปลืองไปโดยรวดเร็ว ถ้ากระไร พวกเราควรจะแยก
    หมู่เกวียนหมู่ใหญ่นี้ออกเป็น ๒ หมู่ คือหมู่หนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่ม อีกหมู่หนึ่งมีเกวียน
    ๕๐๐ เล่ม พ่อค้าเกวียนเหล่านั้นแยกหมู่เกวียนนั้นออกเป็น ๒ หมู่แล้ว คือหมู่
    หนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่ม อีกหมู่หนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่ม นายกองเกวียนคนหนึ่ง
    บรรทุกหญ้า ฟืน และน้ำเป็นอันมากแล้วขับหมู่เกวียนไปก่อน เมื่อขับไปได้สอง
    สามวัน หมู่เกวียนนั้นได้เห็นบุรุษผิวดำ นัยน์ตาแดง ผูกสอดแล่งธนู ทัดดอก
    กุมุท มีผ้าเปียก ผมเปียก แล่นรถอันงดงามมีล้อเปื้อนตมสวนทางมา ครั้นแล้ว
    จึงได้ถามขึ้นว่า ดูกรท่าน ท่านมาจากไหน ฯ
    ข้าพเจ้ามาจากชนบทโน้น ฯ
    ท่านจะไปไหน ฯ
    ไปยังชนบทโน้น ฯ
    ในหนทางกันดารข้างหน้า ฝนตกมากหรือ ฯ
    อย่างนั้นท่าน ในหนทางกันดารข้างหน้าฝนตกมาก หนทางมีน้ำบริบูรณ์
    หญ้า ฟืน และน้ำมีมาก พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน น้ำของเก่าเสียเถิด เกวียน
    เบาจากของหนักจะไปได้รวดเร็ว วัวเทียมเกวียนก็ไม่ลำบาก ลำดับนั้น นายกอง
    เกวียนเรียกพวกเกวียนมาบอกว่า บุรุษผู้นี้พูดว่า ในหนทางกันดารข้างหน้า ฝน
    ตกมาก หนทางมีน้ำบริบูรณ์ หญ้า ฟืน และน้ำมีมาก พวกท่านจงทิ้ง หญ้า
    ฟืน และน้ำของเก่าเสียเถิด เกวียนเบาจากของหนักจักไปได้รวดเร็ว วัวเทียม
    เกวียนก็ไม่ลำบาก ดังนี้ พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน น้ำของเก่าเสียเถิด จงขับหมู่
    เกวียนไปด้วยเกวียนเบาเถิด พวกเกวียนรับคำของนายกองเกวียนแล้ว ทิ้งหญ้า
    ฟืน น้ำของเก่า มีเกวียนเบาจากของหนัก ขับหมู่เกวียนไปแล้ว พวกเกวียน
    เหล่านั้น มิได้เห็น หญ้า ฟืน หรือน้ำ ในที่พักหมู่เกวียนตำบลแรก แม้ในที่
    พักหมู่เกวียนตำบลที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก แม้ในที่พักหมู่เกวียนตำบล
    ที่เจ็ดก็มิได้เห็น หญ้า ฟืน หรือน้ำ ถึงความวอดวายด้วยกันทั้งหมด มนุษย์หรือ
    ปศุสัตว์ที่อยู่ในหมู่เกวียนนั้น อมนุษย์กล่าวคือยักษ์กินเสียทั้งหมด เหลือแต่
    กระดูกเท่านั้น เมื่อนายกองเกวียนพวกที่สองรู้สึกว่า บัดนี้ หมู่เกวียนแรกนั้นออก
    ไปนานแล้ว จึงบรรทุกหญ้า ฟืน และน้ำไปเป็นอันมาก แล้วขับหมู่เกวียนไป
    เมื่อขับไปได้สองสามวัน พวกเกวียนนั้นเห็นบุรุษผิวดำ นัยน์ตาแดง ผูกสอดแล่ง
    ธนู ทัดดอกกุมุท มีผ้าเปียก ผมเปียก แล่นรถอันงดงามมีล้อเปื้อนตมสวนทาง
    มา ครั้นแล้ว จึงได้ถามขึ้นว่า ดูกรท่าน ท่านมาจากไหน ฯ
    ข้าพเจ้ามาจากชนบทโน้น ฯ
    ท่านจะไปไหน ฯ
    ไปยังชนบทโน้น ฯ
    ในหนทางกันดารข้างหน้า ฝนตกมากหรือ ฯ
    อย่างนั้นท่าน ในหนทางกันดารข้างหน้าฝนตกมาก หนทางมีน้ำบริบูรณ์
    หญ้า ฟืน และน้ำมีมาก พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน น้ำของเก่าเสียเถิด เกวียน
    เบาจากของหนักจักไปได้รวดเร็ว วัวเทียมเกวียนก็ไม่ลำบาก ลำดับนั้น นายกอง
    เกวียนเรียกพวกเกวียนมาบอกว่าบุรุษผู้นี้พูดว่า ในหนทางกันดารข้างหน้าฝนตกมาก
    หนทางมีน้ำบริบูรณ์ทั้งหญ้า ฟืน และน้ำมีมาก พวกท่านจงทิ้งหญ้า ฟืน น้ำของ
    เก่าเสียเถิด เกวียนเบาจากของหนักจักไปได้รวดเร็ว วัวเทียมเกวียนก็ไม่ลำบาก
    ดังนี้ ดูกรท่าน บุรุษนี้มิใช่มิตร มิใช่ญาติสาโลหิตของพวกเรา พวกเราจักเชื่อ
    บุรุษนี้ได้อย่างไร ท่านทั้งหลายไม่พึงทิ้งหญ้า ฟืน น้ำ ของเก่าเสีย จงขับเกวียน
    ไปพร้อมทั้งสิ่งของตามที่นำมาแล้วเถิด พวกเราจักไม่ทิ้งของเก่าของพวกเรา พวก
    เกวียนรับคำนายกองเกวียนนั้นแล้ว ขับเกวียนไปพร้อมทั้งสิ่งของตามที่ได้นำมา
    พากเกวียนเหล่านั้นมิได้เห็นหญ้า ฟืน หรือน้ำในที่พักเกวียนตำบลแรก แม้ในที่
    พักเกวียนที่ตำบลที่สอง ที่สาม ที่สี่ ที่ห้า ที่หก ที่เจ็ด ก็มิได้เห็นหญ้า ฟืน
    หรือน้ำ ได้เห็นแต่หมู่เกวียนที่ได้ถึงความวอดวายเท่านั้น ได้เห็นแต่กระดูกของ
    มนุษย์และปศุสัตว์ที่อยู่ในหมู่เกวียนนั้นเท่านั้น พวกนั้นถูกอมนุษย์คือยักษ์กินแล้ว
    ลำดับนั้น นายกองเกวียนเรียกพวกเกวียนมาบอกว่า นี้คือหมู่เกวียนนั้นได้ถึงแก่
    ความวอดวายแล้ว ทั้งนี้ เพราะนายกองเกวียนนั้นเป็นคนโง่เขลา ถ้าอย่างนั้น
    ในหมู่เกวียนของพวกเรา สิ่งของชนิดใดมีสาระน้อยจงทิ้งเสีย ในหมู่เกวียนหมู่นี้
    สิ่งของชนิดใดมีสาระมาก จงขนเอาไปเถิด พวกเกวียนพวกนั้นรับคำนายกอง
    เกวียนนั้นแล้ว จึงทิ้งสิ่งของชนิดมีสาระน้อยในเกวียนของตนๆ ขนเอาไปแต่สิ่ง
    ของมีสาระมากในเกวียนหมู่นั้น ข้ามทางกันดารนั้นไปได้โดยสวัสดี ทั้งนี้ เพราะ
    นายกองเกวียนนั้นเป็นคนฉลาด ดูกรบพิตร บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังทรง
    เขลา ไม่เฉียบแหลม ทรงแสวงหาปรโลกโดยไม่ถูกทาง จักถึงความวอดวาย
    เหมือนบุรุษนายกองเกวียนฉะนั้น ชนเหล่าใดจักสำคัญทิฐิของบพิตรว่า เป็นสิ่งที่
    ควรฟัง ควรเชื่อถือ แม้ชนเหล่านั้น ก็จักถึงความวอดวาย เหมือนพ่อค้าเกวียน
    พวกนั้น ฉะนั้น ขอบพิตรจงทรงสละคืนทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจง
    ปล่อยวางทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ทิฐิอันลามกนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่
    ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ
    [๓๒๐] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ยังหาอาจ
    สละคืนทิฐิอันลามกนี้เสียได้ไม่ พระราชาปเสนทิโกศลก็ดี พระราชาภายนอกทั้ง
    หลายก็ดี ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า พญาปายาสิ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า แม้
    เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์
    ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าจะสละคืนทิฐิอันลามกนี้ ก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้า
    ได้ว่า พญาปายาสิ ช่างโง่เขลาเหลือเกิน ไม่เฉียบแหลม มีปรกติถือสิ่งที่ผิด
    ข้าพเจ้าก็จักยึดทิฐินั้นไว้ เพราะความโกรธบ้าง เพราะความลบหลู่บ้าง เพราะ
    ความตีเสมอบ้าง ฯ
    [๓๒๑] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร บุรุษ
    ผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้ บางพวกย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว บุรุษผู้เลี้ยงสุกรคนหนึ่งได้ออกจากบ้านของตนไปยังบ้าน
    อื่น ได้เห็นคูถแห้งเป็นอันมากซึ่งเขาทิ้งไว้ในบ้านนั้น ครั้นแล้วเขาได้มีความคิดขึ้น
    ว่าคูถแห้งเป็นอันมากซึ่งเขาทิ้งไว้นี้ เป็นอาหารสุกรของเรา ถ้ากระไร เราควรขน
    คูถแห้งไปจากที่นี้ เขาปูผ้าห่มลงแล้ว โกยเอาคูถแห้งเป็นอันมาก แล้วผูกให้เป็น
    ห่อทูนศีรษะเดินไป ในระหว่างทาง เขาถูกฝนใหญ่แล้ว เขาเปรอะเปื้อนไปด้วย
    คูถตลอดถึงปลายเล็บ พาเอาห่อคูถซึ่งล้นไหลไปแล้ว พวกมนุษย์เห็นเขาแล้ว
    ได้พูดอย่างนี้ว่า พนาย ท่านเป็นบ้าหรือเปล่า ท่านเสียจริตหรือหนอ ไหนท่านจึง
    เปรอะเปื้อนไปด้วยคูถตลอดถึงปลายเล็บ จักนำเอาห่อคูถซึ่งล้นไหลอยู่ไปทำไม
    บุรุษนั้นตอบว่า พนาย ในข้อนี้ พวกท่านนั่นแหละเป็นบ้า พวกท่านเสียจริต
    ความจริง สิ่งนี้เป็นอาหารสุกรของเรา ดูกรบพิตร บพิตรก็ฉันนั้นเหมือนกัน น่า
    จะปรากฏเหมือนบุรุษผู้ทูนห่อคูถ ขอบพิตรจงสละคืนทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ขอ
    บพิตรจงปล่อยวางทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ทิฐิอันลามกนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อ
    มิใช่ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ
    [๓๒๒] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ยังหา
    อาจสละคืนทิฐิอันลามกนี้เสียได้ไม่ พระราชาปเสนทิโกศลก็ดี พระราชาภายนอก
    ทั้งหลายก็ดี ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า พญาปายาสิ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า แม้
    เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์
    ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าจักสละคืนทิฐิอันลามกนี้ ก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้า
    ได้ว่า พญาปายาสิ ช่างโง่เขลาเหลือเกิน ไม่เฉียบแหลม มีปรกติถือสิ่งที่ผิด
    ข้าพเจ้าก็จักยึดทิฐินั้นไว้ เพราะความโกรธบ้าง เพราะความลบหลู่บ้าง เพราะ
    ความตีเสมอบ้าง ฯ
    [๓๒๓] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร
    บุรุษผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้บางพวก ย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา ดูกร
    บพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว นักเลงสกาสองคนเล่นสกากัน คนหนึ่งกลืนกินเบี้ยแพ้
    ที่แล้วๆ มาเสีย นักเลงสกาคนที่สองได้เห็นนักเลงสกานั้นกลืนกินเบี้ยแพ้ที่แล้วๆ
    มา ครั้นแล้วได้พูดว่า ดูกรสหาย ท่านชนะข้างเดียว ท่านจงให้ลูกสกาแก่ข้าพเจ้า
    ข้าพเจ้าจักเซ่นบูชา นักเลงสกาคนนั้นรับคำแล้ว จึงมอบลูกสกาให้นักเลงสกานั้น
    ลำดับนั้น นักเลงสกา [คนที่สอง] เอายาพิษทาลูกสกาแล้วพูดกะนักเลงสกา
    [คนที่หนึ่ง] ว่า มาเถิดสหาย เรามาเล่นสกากัน นักเลงสกา [คนที่หนึ่ง] รับคำ
    นักเลงสกา [คนที่สอง] แล้ว นักเลงสกาเหล่านั้นเล่นสกากันเป็นครั้งที่สอง
    แม้ในครั้งที่สองนักเลงสกา [คนที่หนึ่ง] ก็กลืนกินเบี้ยแพ้ที่แล้วๆ มาเสีย นักเลง
    สกาคนที่สอง ได้เห็นนักเลงสกาคนกลืนกินเบี้ยแพ้ที่แล้วๆ มา แม้ครั้งที่
    สอง ครั้นแล้วได้พูดว่า
    [๓๒๔] บุรุษกลืนกินลูกสกาซึ่งอาบด้วยยาพิษ มีฤทธิ์กล้ายังหารู้
    สึกไม่ นักเลงชั่วเลวผู้น่าสงสารกลืนยาพิษเข้าไป ความเร่าร้อน
    จักมีแก่ท่าน ดังนี้ ฯ
    [๓๒๕] ดูกรบพิตร บพิตรก็อย่างนั้นเหมือนกัน น่าจะปรากฏเหมือน
    นักเลงสกา ขอบพิตรจงทรงสละคืนทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรงปล่อย
    วางทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ทิฐิอันลามกนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่ประโยชน์
    เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ
    [๓๒๖] ท่านกัสสปกล่าวอย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าก็ยังหาอาจ
    สละคืนทิฐิอันลามกนี้เสียได้ไม่ พระราชาปเสนทิโกศลก็ดี พระราชาภายนอกทั้ง
    หลายก็ดี ทรงรู้จักข้าพเจ้าว่า พญาปายาสิ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฐิอย่างนี้ว่า แม้
    เพราะเหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์
    ทำดีทำชั่วไม่มี ท่านกัสสป ถ้าข้าพเจ้าจักสละคืนทิฐิอันลามกนี้ ก็จักมีผู้ว่าข้าพเจ้า
    ได้ว่า พญาปายาสิ ช่างโง่เขลาเหลือเกิน ไม่เฉียบแหลม มีปรกติถือสิ่งที่ผิด
    ข้าพเจ้าก็จักยึดทิฐินั้นไว้ เพราะความโกรธบ้าง เพราะความลบหลู่บ้าง เพราะ
    ความตีเสมอบ้าง ฯ
    [๓๒๗] ดูกรบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักยกอุปมาถวายบพิตร
    บุรุษผู้เป็นวิญญูชนในโลกนี้บางพวก ย่อมทราบเนื้อความของคำพูดด้วยอุปมา
    ดูกรบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว ชนบทแห่งหนึ่งตั้งขึ้นแล้ว ครั้งนั้น สหายผู้หนึ่ง
    เรียกสหายมาบอกว่า มาไปกันเถิดเพื่อน เราจักเข้าไปยังชนบทนั้น บางทีจะพึง
    ได้ทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งในชนบทนั้นบ้าง สหายคนที่สองรับคำของสหาย [คน
    ที่หนึ่ง] แล้ว เขาทั้งสองเข้าไปยังชนบท ถึงถนนในบ้านแห่งหนึ่งแล้ว ได้เห็น
    เปลือกป่านที่เขาทิ้งไว้มากมายที่ตำบลบ้านนั้น ครั้นแล้วสหาย [คนที่หนึ่ง] ได้บอก
    สหาย [คนที่สอง] ว่า สหาย นี้เปลือกป่านเขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจง
    ผูกเอาเปลือกป่านไปมัดหนึ่ง และฉันจักผูกเอาเปลือกป่านไปมัดหนึ่ง เราทั้งสอง
    จักถือเอามัดเปลือกป่านไป สหายคนที่สองรับคำสหายคนที่หนึ่งแล้ว ผูกเอา
    เปลือกป่านไปมัดหนึ่ง สหายทั้งสองนั้นถือเอามัดเปลือกป่านเข้าไปยังถนนในบ้าน
    อีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นด้ายป่านที่เขาทิ้งไว้มากมาย ในตำบลบ้านนั้น ครั้นแล้วสหาย
    คนที่หนึ่งจึงบอกสหายคนที่สองว่า สหาย เราจะปรารถนาเปลือกป่านเพื่อประโยชน์
    อันใด นี้ด้ายป่าน ซึ่งเขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสีย
    เถิด และฉันก็จักทิ้งมัดเปลือกป่านเสีย เราทั้งสองจักถือเอามัดด้ายป่านไป สหาย
    คนที่สองตอบว่า สหาย มัดเปลือกป่านนี้ เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย
    เราไม่เอาละ ขอท่านจงทราบเถิด ฯ
    ลำดับนั้น สหายคนที่หนึ่งทิ้งมัดเปลือกป่านเสียแล้วถือเอามัดด้ายป่านไป
    สหายทั้งสองนั้นเข้าไปยังถนนในบ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นผ้าป่านที่เขาทิ้งไว้มาก
    มายที่ตำบลบ้านนั้น ครั้นแล้วสหายคนที่หนึ่งบอกสหายคนที่สองว่า สหาย
    เราจะปรารถนาเปลือกป่านหรือด้ายป่านเพื่อประโยชน์อันใด เหล่านี้ผ้าป่าน
    ซึ่งเขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสียเถิด และฉันก็จัก
    ทิ้งมัดด้ายป่านเสีย เราทั้งสองจักถือเอามัดผ้าป่านไป สหายคนที่สองตอบว่า สหาย
    มัดเปลือกป่านนี้เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอาละ ขอท่านจง
    ทราบเถิด ฯ
    ลำดับนั้น สหายคนที่หนึ่งนั้น ทิ้งมัดด้ายป่านแล้ว ถือมัดผ้าป่านไป
    สหายทั้งสองนั้นเข้าไปยังถนนในบ้านอีกแห่งหนึ่ง ได้เห็นเปลือกไม้โขมะ ได้เห็น
    ด้ายเปลือกไม้โขมะ ได้เห็นผ้าเปลือกไม้โขมะ ได้เห็นลูกฝ้าย ได้เห็นด้ายฝ้าย ได้
    เห็นผ้าฝ้าย ได้เห็นเหล็ก ได้เห็นโลหะ ได้เห็นดีบุก ได้เห็นสำริด ได้เห็นเงิน
    ได้เห็นทอง ที่เขาทิ้งไว้มากมายในถนนในบ้านนั้น ครั้นแล้วสหายคนที่หนึ่งจึงบอก
    สหายคนที่สองว่า สหาย เราจะปรารถนาประโยชน์อันใดกับเปลือกป่านหรือด้าย
    ป่าน หรือผ้าป่าน หรือเปลือกไม้โขมะ หรือด้ายเปลือกไม้โขมะ หรือผ้าเปลือกไม้
    โขมะ หรือลูกฝ้าย หรือด้ายฝ้าย หรือผ้าฝ้าย หรือเหล็ก หรือโลหะ หรือดีบุก หรือ
    สำริด หรือเงิน นี้ทองที่เขาทิ้งไว้มากมาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงทิ้งมัดเปลือกป่านเสีย
    เถิด และฉันก็จักทิ้งห่อเงินเสีย เราทั้งสองจักถือเอาห่อทองไป สหายคนที่สอง
    ตอบว่า สหาย มัดเปลือกป่านนี้เราเอามาไกลแล้ว ทั้งมัดไว้ดีแล้วด้วย เราไม่เอา
    ละ ขอท่านจงทราบเถิด ฯ
    ลำดับนั้น สหายนั้นทิ้งห่อเงิน ถือเอาห่อทองไป สหายทั้งสองนั้นเข้า
    ไปยังบ้านของตนๆ แล้ว ในเขาทั้งสองนั้น สหายผู้ถือเอามัดเปลือกป่านไป
    มารดาบิดา บุตรภริยา มิตรอำมาตย์ หาได้พากันยินดีไม่ และเขาไม่ได้รับความ-
    *สุขโสมนัสซึ่งเกิดจากเหตุที่ได้จากเปลือกป่านนั้นมา ส่วนสหายที่ถือเอาห่อทองไป
    นั้น มารดา บิดา บุตร ภริยา มิตร อำมาตย์ พากันยินดี และเขายังได้รับความ
    สุขโสมนัสซึ่งเกิดจากเหตุที่ถือเอาห่อทองนั้นมา ฯ
    ดูกรบพิตร บพิตรก็อย่างนั้นเหมือนกัน น่าจะปรากฏเหมือนบุรุษผู้ถือ
    มัดเปลือกป่าน ขอบพิตรจงทรงสละคืนทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ขอบพิตรจงทรง
    ปล่อยวางทิฐิอันลามกนั้นเสียเถิด ทิฐิอันลามกนั้นอย่าได้มีแก่บพิตร เพื่อมิใช่
    ประโยชน์ เพื่อความทุกข์ สิ้นกาลนานเลย ฯ
    [๓๒๘] ด้วยข้อความอุปมาข้อก่อนๆ ของท่านกัสสป ข้าพเจ้าก็มีความ
    พอใจยินดียิ่งแล้ว แต่ว่าข้าพเจ้าใคร่จะฟังปฏิภาณในการแก้ปัญหาที่วิจิตรเหล่านี้
    จึงพยายามโต้แย้งคัดค้านท่านกัสสปอย่างนั้น ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ ภาษิตของ
    ท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก เปรียบ
    เหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือส่องประ
    ทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูป ดังนี้ ฉันใด ท่านกัสสปประกาศ
    ธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ ข้าพเจ้านี้ขอ
    ถึงพระผู้มีพระภาคผู้โคดม พระธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอท่านกัสสป
    จงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป
    ข้าแต่ท่านกัสสปผู้เจริญ ข้าพเจ้าปรารถนาจะบูชามหายัญ ขอท่านจงชี้แจงวิธีบูชา
    ยัญ อันจะเป็นประโยชน์และความสุขแก่ข้าพเจ้าตลอดกาลนาน ฯ
    ดูกรบพิตร ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์ต่างๆ
    ต้องได้รับความพินาศ และปฏิคาหก เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจาผิด
    การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้ ย่อมไม่มีผล
    ใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่ เปรียบ
    เหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่หัก ที่เสีย ถูกลมและ
    แดดแผดเผาแล้ว อันไม่มีแก่น ยังไม่แห้งสนิท ลงในนาไร่อันเลว ซึ่งเป็นพื้น
    ที่ไม่ดี มิได้แผ้วถางตอและหนามให้หมด ทั้งฝนก็มิได้ตกชะเชย โดยชอบตามฤดู
    กาล พืชเหล่านั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือหนอ ชาวนาจะพึงได้รับ
    ผลอันไพบูลย์หรือ ฯ
    หาเป็นอย่างนั้นไม่ ท่านกัสสป ฯ
    ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร ยัญที่ต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่า
    สัตว์ต่างๆ ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจา
    ผิด การงานผิด เลี้ยงชีพผิด พยายามผิด ระลึกผิด ตั้งใจผิด เช่นนี้ ย่อมไม่มี
    ผลใหญ่ ไม่มีอานิสงส์ใหญ่ ไม่มีความรุ่งเรืองใหญ่ ไม่แพร่หลายใหญ่ ฯ
    ดูกรบพิตร ส่วนยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือเหล่าสัตว์
    ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริชอบ
    เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ
    เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่
    เปรียบเหมือนชาวนาถือเอาพืชและไถไปสู่ป่า เขาพึงหว่านพืชที่ไม่หัก ไม่เสีย
    ไม่ถูกลมแดดแผดเผา อันมีแก่น แห้งสนิท ลงในนาไร่อันดี เป็นพื้นที่ดี แผ้ว
    ถางตอและหนามหมดดีแล้ว ทั้งฝนก็ตกชะเชยโดยชอบตามฤดูกาล พืชเหล่านั้น
    จะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์หรือหนอ ชาวนาจะพึงได้รับผลอันไพบูลย์หรือ ฯ
    เป็นอย่างนั้น ท่านกัสสป ฯ
    ฉันนั้นเหมือนกัน บพิตร ยัญที่มิต้องฆ่าโค แพะ แกะ ไก่ สุกร หรือ
    เหล่าสัตว์ต่างๆ ไม่ต้องถึงความพินาศ และปฏิคาหกก็เป็นผู้มีความเห็นชอบ ดำริ
    ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ
    เช่นนี้ ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ มีความรุ่งเรืองใหญ่ แพร่หลายใหญ่ ฯ
    [๓๒๙] ลำดับนั้น เจ้าปายาสิ เริ่มให้ทานแก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า
    คนเดินทาง วณิพกและยาจกทั้งหลาย แต่ในทานนั้นเธอได้ให้โภชนะเห็นปานนี้
    คือปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดองเป็นกับข้าว และได้ให้ผ้าเนื้อหยาบ มีชายขอดเป็น
    ปมๆ และมาณพชื่ออุตตระ เป็นเจ้าหน้าที่ในทานนั้น เขาให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ว่า
    ด้วยทานนี้ ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้ร่วมกันในโลก
    หน้าเลย เจ้าปายาสิได้ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว รับสั่งให้เรียกอุตตรมาณพมาแล้ว
    ได้ตรัสว่า พ่ออุตตระ ได้ยินว่า เธอให้ทานแล้วอุทิศอย่างนี้ทุกครั้งว่า ด้วยทานนี้
    ขอให้ข้าพเจ้าร่วมกับเจ้าปายาสิในโลกนี้เท่านั้น อย่าได้ร่วมกันในโลกหน้าเลย
    ดังนี้หรือ ฯ
    อย่างนั้น พระองค์ ฯ
    พ่ออุตตระ ก็เพราะเหตุไร เธอให้ทานแล้ว จึงอุทิศอย่างนั้นเล่า พ่ออุตตระ
    พวกเราต้องการบุญ หวังผลแห่งทานแท้ๆ มิใช่หรือ ฯ
    ในทานของพระองค์ยังให้โภชนะเห็นปานนี้ คือปลายข้าว ซึ่งมีน้ำผักดอง
    เป็นกับข้าว พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้องแม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงบริโภค
    อนึ่งเล่า ผ้าก็เนื้อหยาบ มีชายขอดเป็นปมๆ พระองค์ไม่ทรงปรารถนาจะถูกต้อง
    แม้ด้วยพระบาท ไฉนจะทรงนุ่งห่ม พระองค์เป็นที่รัก เป็นที่พอใจของพวก
    ข้าพระพุทธเจ้า พวกข้าพระพุทธเจ้าจะชักจูงผู้ซึ่งเป็นที่รัก เป็นที่พอใจไปด้วยสิ่ง
    ไม่เป็นที่พอใจอย่างไรได้ ฯ
    พ่ออุตตระ ถ้าอย่างนั้น เราบริโภคโภชนะชนิดใด เธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่ง
    โภชนะชนิดนั้นเป็นทาน เรานุ่งห่มผ้าชนิดใด เธอจงเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดนั้นเป็นทาน
    อุตตรมาณพ รับพระดำรัสเจ้าปายาสิแล้ว เริ่มตั้งไว้ซึ่งโภชนะชนิดที่เจ้าปายาสิเสวย
    และเริ่มตั้งไว้ซึ่งผ้าชนิดที่เจ้าปายาสิทรงนุ่งห่ม เพราะเหตุที่เจ้าปายาสิมิได้ทรงให้
    ทานโดยเคารพ มิได้ทรงให้ทานด้วยพระหัตถ์พระองค์เอง มิได้ทรงให้ทานโดย
    ความนอบน้อม ทรงให้ทานอย่างทิ้งให้ ครั้นสิ้นพระชนม์แล้ว เข้าถึงความเป็น
    สหายกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือ ได้วิมาน ชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ส่วน
    อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้น ให้ทานโดยเคารพ ให้ทาน
    ด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่
    ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือถึงความเป็นสหายกับพวกเทพชั้น
    ดาวดึงส์ ฯ
    [๓๓๐] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระควัมปติเถระไปพักกลางวันยังเสรีสก
    วิมานอันว่างเปล่าเนืองๆ ลำดับนั้น ปายาสิเทวบุตรเข้าไปหาท่านควัมปติถึงที่อยู่
    แล้วอภิวาท ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ท่านควัมปติได้กล่าวถามปายาสิเทว-
    *บุตรว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร ฯ
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าคือเจ้าปายาสิ ฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ โลกหน้า
    ไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดีทำชั่วไม่มี มิใช่หรือ ฯ
    เป็นความจริง ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า แม้เพราะ
    เหตุนี้ โลกหน้าไม่มี เหล่าสัตว์ผู้ผุดเกิดขึ้นไม่มี ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำดี
    ทำชั่วไม่มี แต่ว่า พระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสปได้ไถ่ถอนข้าพเจ้าออกจากทิฐิอันลามก
    นั้นแล้ว ฯ
    ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของท่าน ไปเกิด
    ที่ไหน ฯ
    ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อุตตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของข้าพเจ้านั้น ให้
    ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานด้วยความนอบน้อม มิได้ให้ทาน
    อย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่ร่วม
    กับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ส่วนข้าพเจ้ามิได้ให้ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วย
    มือของตน มิได้ให้ทานด้วยความนอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตาย
    เพราะกายแตก ก็เข้าถึงซึ่งความอยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมาน
    ชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ท่านควัมปติผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ท่านไปยังมนุษยโลก
    แล้วโปรดบอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานด้วยมือของ
    ตน จงให้ทานโดยความนอบน้อม จงอย่าให้ทานอย่างทิ้งให้ เจ้าปายาสิมิได้ให้
    ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วยมือของตน มิได้ให้ทานโดยความนอบน้อม ให้
    ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงความอยู่ร่วมกับพวกเทวดา
    ชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมานชื่อเสรีสกะอันว่างเปล่า ส่วนอุตตรมาณพ ซึ่งเป็น
    เจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้นให้ทานโดยเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้
    ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก
    เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่ร่วมกับพวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ ฯ
    ลำดับนั้น ท่านควัมปติมาสู่มนุษยโลกแล้ว ได้บอกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย
    จงให้ทานโดยเคารพ จงให้ทานด้วยมือของตน จงให้ทานโดยความนอบน้อม จง
    อย่าให้ทานอย่างทิ้งให้ เจ้าปายาสิมิได้ให้ทานโดยเคารพ มิได้ให้ทานด้วยมือของ
    ตน มิได้ให้ทานโดยความนอบน้อม ให้ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
    กายแตก เข้าถึงความอยู่ร่วมกับพวกเทพชั้นจาตุมหาราช คือได้วิมาน ชื่อเสรีสกะ
    อันว่างเปล่า ส่วนอุตรมาณพซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ในทานของเจ้าปายาสินั้น ให้ทาน
    โดยความเคารพ ให้ทานด้วยมือของตน ให้ทานโดยความนอบน้อม มิได้ให้
    ทานอย่างทิ้งให้ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คืออยู่
    ร่วมกับพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ฯ








    <CENTER>จบ ปายาสิราชัญญสูตร ที่ ๑๐







    </CENTER><CENTER>รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
    </CENTER>๑. มหาปทานสูตร ๒. มหานิทานสูตร ๓. มหาปรินิพพานสูตร
    ๔. มหาสุทัสสนสูตร ๕. ชนวสภสูตร ๖. มหาโควินทสูตร ๗. มหาสมัยสูตร
    ๘. สักกปัญหสูตร ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร ๑๐. ปายาสิราชัญญสูตร ทั้งหมด
    นี้รวมเรียกว่ามหาวรรค ฯ
    จบ มหาวรรค​
    <CENTER> </CENTER><CENTER> ที่มาเนื้อหา http://84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=6765</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>[MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.980063/[/MUSIC]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>ที่มาไฟล์เสียง [URL="http://palungjit.org/posts/33213[/SIZE][/URL]</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • playlist2.txt
      ขนาดไฟล์:
      400 bytes
      เปิดดู:
      148
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 พฤษภาคม 2010
  2. J.Sayamol

    J.Sayamol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 เมษายน 2008
    โพสต์:
    6,190
    ค่าพลัง:
    +21,530
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

แชร์หน้านี้

Loading...