ธรรมคือ อะไร ตอนที่ ๙

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 13 มิถุนายน 2011.

แท็ก: แก้ไข
  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ธรรมะคือ อะไร ตอนที่ ๙
    ท่านผู้ใฝ่การเรียนรู้ ศึกษาในทางพุทธศาสนาทั้งหลาย ในตอนที่ ๙ นี้ ข้าพเจ้าจักได้อรรถาธิบาย และทำความเข้าใจเพื่อให้ท่านทั้งหลายได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เป็นธรรมชาติ เป็นหลักความจริงที่ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน ย่อมหลีกหนีไม่พ้น เพราะ "เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์" หรือ "สมุทัย อริยสัจ" นี้ในทางพระไตรปิฏก ได้กล่าวอธิบายไว้ อย่างลึกซึ้ง ครอบคลุม แต่เป็นเพียงการกล่าวถึง "ผล"แห่งสภาพสภาวะจิตใจ ที่เกิดจาก ขันธ์ ๕ นั่นหมายความว่า ผลที่เกิดจากขันธ์ ๕ อันเป็น"เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์" หรือ "สมุทัย อริยสัจ" ก็คือ
    ๑.กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่
    ๒.ภวตัณหา ความทะยากอยากในภพ อยากเป็นนั่นเป็นนี่
    ๓.วิภวตัณหา ความทะยานอยากในวิภพ อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ อยากพรากพ้นดับสูญไปเสีย
    ทั้ง กามตัณหา,ภวตัณหา,วิภวตัณหา ล้วนเป็นผลจาก ขันธ์ ๕ อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร จิตวิญญาณ อันเป็นผลที่เกิดขี้นจากการที่ได้รับการสัมผัสจาก อายตนะภายนอก คือ "รูป รส กลิ่น เสียง แสงสี โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์" ด้วยอายตนะภายใน คือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ "
    รูป,สัญญา,เวทนา,สังขาร,จิตวิญญาณ ทั้งหลาย ทั้งภายในตัวเรา และภายนอกตัวเรา ย่อมทำให้เกิด ย่อมเป็นที่ตั้ง แห่งความคิด ทำให้เกิด และเป็นที่ตั้ง แห่งการนึกถึง ทำให้เกิดและเป็นที่ตั้งแห่ง สรรพอาชีพทั้งหลาย ทำให้เกิดและ เป็นที่ตั้ง แห่ง การประพฤติ ทำให้เกิดและเป็นที่ตั้ง แห่ง การรู้คุณ และ การเจรจาติดต่อสื่อสาร ทำให้เกิด และเป็นที่ตั้ง แห่ง การครองเรือน และ ทาน คือ การให้ สิ่งที่ได้กล่าวไป ล้วนเป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์คือ สมุทัย อริยสัจ กล่าวคือ ย่อมเป็นเหตุที่ทำให้เกิด กามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหา
    ร่างกายของมนุษย์ ย่อมประกอบไปด้วย"ทวัตติงสาการ" หมายถึง อาการ ๓๒ , ส่วนประกอบที่มีลักษณะต่างๆ กัน ๓๒ อย่าง ในร่างกาย คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า (อุจจาระ) มันสมอง ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร (ปัสสาวะ); ในขุททกปาฐะ (ฉบับสยามรัฐ) เรียงลำดับมันสมองไว้เป็นข้อสุดท้าย; ทวัตดึงสาการ หรือ ทวดึงสาการ ก็เขียน (คัดจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต)
    และ อาการทั้ง ๓๒ นั้น ย่อมทำให้เกิดเป็นระบบการสัมผัสจากอายตนะภายนอก ด้วยอายตนะภายใน ซึ่งบุคคลจะเห็นรูป จะรู้ว่าเป็นรูปอะไรได้ ก็ย่อมเกิดด้วยมีรูปเหล่านั้น มีแสงสว่าง มีความรู้ มีความจำ มีความรู้สึก มีการปรุงแต่งแห่งอาการ ๓๒ มีการรับรู้อารมณ์ หรือ ธรรมชาติรับรู้อารมณ์ ดังนั้นในพระไตรปิฎก จึงได้อรรถาธิบายเอาไว้ว่า
    "ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไร เป็น ปิยรูปสาตรูป ในโลก
    จักขุ เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุนี้ เมื่อตั้งอยู่
    ก็ตั้งอยู่ที่จักขุนี้ โสตะ ฯลฯ ฆานะ ฯลฯ ชิวหา ฯลฯ กายะ ฯลฯ มโน เป็นปิยรูปสาตรูป
    ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมารมณ์นี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมารมณ์นี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนวิญญาณนี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่จักขุสัมผัสสชาเวทนานี้ โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสสชาเวทนานี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา ฯลฯ
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ รูปตัณหานี้เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ คันธตัณหา ฯลฯ รสตัณหาฯลฯ โผฏฐัพพตัณหา ฯลฯ
    ตัณหานี้เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
    ตัณหานี้ เมื่อเกิดก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิจารนี้
    ซึ่งล้วนเป็นคำกล่าวอันลึกซึ้ง ที่ผู้เล่าเรียน ผู้ศึกษา ผู้ท่องจำ ควรได้คิดพิจารณาให้เกิดความเข้าใจอย่างท่องแท้ ว่า "สมุทัย อริยสัจ" หรือ "เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์" นั้น แท้จริงแล้ว ควรหยิบยกเอาสิ่งใดขึ้นมาสอน หรืออธิบายให้กับผู้ศรัทธา ได้รับรู้ ได้เกิดความเข้าใจ
    เพราะในพระไตรปิฏกนั้น ยังมีการสอนบุคคลไว้ในหลายระดับ ในที่นี้ข้าพเจ้าเพียงได้อรรถาธิบายในภาพกว้าง คือ ระดับทั่วๆไป ใช้ได้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนไปถึงระดับพระสงฆ์ทั่วไป
    หากเป็นพระนักปฏิบัติ ทั้งหลาย ก็ควรได้ทำความเข้าใจในตอนที่ ๙นี้ และต้องทำความเข้าใจไว้ว่า หากท่านทั้งหลาย ยังมีความคิด หรือ การนึกถึง ตัณหาทั้ง ๓ อยู่ ยังมองรูป แล้วคิดอยู่ มองอาหาร แล้วยังคิดอยู่ พอใจอยู่ อาจจะโดยรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ก็ตามแต่ เหล่านั้น คือ "เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ คือ สมุทัย อริยสัจจ" นั่นเอง
    จบตอนที่ ๙
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์
    ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...